realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (319)
 (394)
 (29)
 (12)
 (4)
 (19)
 (202)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (183)
 (85)
 (112)
 (106)
 (42)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (319)
 (394)
 (29)
 (12)
 (4)
 (19)
 (202)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (183)
 (85)
 (112)
 (106)
 (42)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

กัลปพฤกษ์ ทำเลทอง แห่งอนาคต

07 May 2015 21.5K

กัลปพฤกษ์ ทำเลทอง แห่งอนาคต

07 May 2015 21.5K
 

กัลปพฤกษ์ ทำเลทอง แห่งอนาคต

ถนนกัลปพฤกษ์ตัดขึ้นในเขตจอมทอง เขตภาษีเจริญ เขตบางขุนเทียน และเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2537 เพื่อขยายและเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างพื้นที่ตอนในจากถนนสาทรของกรุงเทพฯกับบริเวณรอบนอก เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดการจราจรในปี พ.ศ. 2545 กรมทางหลวงชนบทได้ใช้ชื่อถนนในเบื้องต้นว่า ถนนสายแยกตากสิน-เพชรเกษมไปถนนวงแหวนรอบนอก เนื่องจากถนนสายนี้มีจุดเริ่มต้นแยกจากถนนตากสิน-เพชรเกษม และไปสิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก สามารถไปสู่ 5 เส้นทางหลัก ได้แก่ สาทร ราชพฤกษ์ กาญจนาภิเษก พระราม 2 เพชรเกษม สำหรับผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ถือเป็นทำเลที่เหมาะในการอยู่อาศัย เพราะ ถ.กัลปพฤกษ์ เป็นตัวเชื่อมต่อหลายโซนเข้าด้วยกัน เช่น โซน CBD ย่านสาทร โซนอุตสาหกรรม พระราม 2 เพชรเกษม ที่สามารถเชื่อมไปถึงนครปฐมและสมุทรสาคร และเนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญนี้เอง
กรมทางหลวงชนบทจึงมีแผนการขยายถนนเป็น 6 เลน เพื่อรองรับการเจริญเติบโตที่มีมากขึ้นทุกขณะ ในส่วนของที่อยู่อาศัย ถ.กัลปพฤกษ์เป็นทำเลที่ราคาบ้านยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับราชพฤกษ์ แต่เนื่องจากต้นทุนในการซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจึงทำให้โครงการที่อยู่อาศัยใหม่ ๆ ทยอยเปิดตัวเพียงเล็กน้อย ผิดกับในฝั่งค้าปลีกที่มองเห็นกำลังซื้อของคนในย่านและพื้นที่ใกล้เคียง จึงมีทยอยเปิดตัวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดบริเวณต้นถ.กัลปพฤกษ์ก็มีข่าวว่าจะมีค้าปลีกขนาดใหญ่มาเปิด ซึ่งจะทำให้ย่านนี้น่าจับตามองมากขึ้นไปอีก

ราคาที่ดินกัลปพฤกษ์พุ่งสูงขึ้น 17.4%

เทียบราคาประเมินที่ดินในปี 2551-2554 และ 2555-2558 ในช่วงเขตจอมทอง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฝั่งตะวันตก บริเวณถ.วุฒากาศราคาขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 46% ในส่วนของถ.ถนนกัลปพฤกษ์ ราคาขึ้นมา 17.4% 

จุดเชื่อมต่อที่สำคัญ

เนื่องจากบนถ.กัลปพฤกษ์มีโครงการที่อยู่อาศัยและค้าปลีกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปริมาณรถหนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ ตามสถิติจากกรมทางหลวงชนบท บนถ.กัลปพฤกษ์มีปริมาณรถในปี 2553 ถึงประมาณ 2,000-3,000 คัน / ชม. ในอีก 5 ปี (2558) จะมีปริมาณรถเพิ่มเป็นประมาณ 3,000-4,000 คัน / ชม. จากสถิตินี้ทำให้มีแผนรองรับการเจริญเติบโตของย่าน และการจราจรที่นับวันจะหนาแน่นขึ้น ถึง 2 แผนด้วยกัน ได้แก่ การขยายถนนจาก 4 เลน เป็น 6 เลน และโครงการก่อสร้างสะพานยกระดับราชพฤกษ์ และสะพานกลับรถบนถนนกัลปพฤกษ์ กำหนดแล้วเสร็จ เดือนตุลาคม 2559 เพื่อช่วยระบายรถที่มาจากสะพานตากสินและสะพานกรุงเทพ เพิ่มช่องทางจราจร 3 ช่องทาง นอกจากนั้นแล้วบริเวณต้นถนนก็ยังเป็นจุดตัดของรถไฟฟ้าสายสีเขียว BTS สายสีลม-ตลาดพลู ส่วนต่อขยายสถานีบางหว้า ที่สร้างเสร็จแล้ว และรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค ที่จะสร้างเสร็จช่วงปี 2559

 

แผนที่ถนนกัลปพฤกษ์

 

ศักยภาพทำเลทอง

  จากไดอะแกรมแสดงให้เห็นว่า ถนนกัลปพฤกษ์สามารถเชื่อมต่อโซนหลัก ๆ ได้ถึง 4 โซน 1. โซน CBD บนถนนสาทร เป็นย่านธุรกิจหลัก มีอาคารสำนักงานมากมาย รวมถึงโรงเรียนชั้นนำในบริเวณใกล้เคียง เช่น รร.อัสสัมชัญ บางรัก, รร.เซนย์โยเซฟ คอนแวนต์, กรุงเทพคริสเตียน, รร.นานาชาติ Shrewsbury เป็นต้น 2.โซน คอนโดมิเนียม บริเวณถ.กรุงธนบุรี ใกล้กับสะพานสาทร มีรถไฟฟ้าสายสีเขียววิ่งขนานมากับถนนตลอดสาย ประกอบกับทำเลที่ใกล้สาทรมาก จึงมีคอนโดมิเนียมหลายโครงการ
  3.โซน SME และอุตสาหกรรม บนถนน เพชรเกษม, เอกชัย, พระราม 2 เป็นบริเวณที่มีโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงอาคารพาณิชย์มากมาย ประกอบกับสามารถเชื่อมต่อไปยังนครปฐมและสมุทรสาครได้  4.โซน คอมมูนิตี้ มอลล์ และบ้านราคาแพง บนถนนราชพฤกษ์ ซึ่งเป็นถนนที่เพิ่งเปิดใช้เมื่อปี 2543 เป็นโซนที่ที่ดินมีราคาพุ่งสูงอย่างรวดเร็วจนทำให้ที่อยู่อาศัยราคาขยับขึ้นตาม 
  บริเวณถ.กัลปพฤกษ์ถือว่าเป็นโซนที่ค้าปลีกค่อนข้างคึกคัก เพราะมีห้างสรรพสินค้า และคอมมูนิตี้ มอลล์ อยู่หลายแบรนด์ เช่น เทสโก้ โลตัส, แมคโคร ฟู้ด เซอร์วิส, เมโทร เวสต์ทาวน์, สำเพ็ง 2 นอกจากนั้นบริเวณถนนใกล้เคียง ก็มีห้างสรรพสินค้าอยู่หลายแห่ง เช่น เดอะมอลล์ ท่าพระ, เซ็นทรัล พระราม 2, เดอะมอลล์ บางแค, ซีคอน สแควร์ เป็นต้น 
  จากราคาประเมินที่ดินในช่วงปี 2555-2558 พบว่า หลายพื้นที่มีการปรับตัวขึ้นจากราคาที่ดินในปี 2551-2554 เช่น บริเวณถ.กัลปพฤกษ์ ราคาที่ดินขึ้น 17.4% จาก 34,000 เป็น 40,000 บ./ตร.ว. ถ.ราชพฤกษ์ ขึ้น 21% จาก 49,500 เป็น 60,000 บ./ตร.ว.  ถ.เอกชัย ราคาขึ้น38%จาก 42,500 เป็น 58,750 บ./ตร.ว. เป็นต้น 

ทางแยกต่างระดับถ.ราชพฤกษ์ ถ.กัลปพฤกษ์

โครงการก่อสร้างสะพานยกระดับราชพฤกษ์ และสะพานกลับรถบนถนนกัลปพฤกษ์ กำหนดแล้วเสร็จ เดือนตุลาคม 2559 เพื่อช่วยระบายรถที่มาจากสะพานตากสินและสะพานกรุงเทพ ให้รถจากสะพานสาทร วิ่งถนนราชพฤกษ์ไปเพชรเกษมได้สะดวกมากขึ้น จุดที่เริ่มวางรากฐานเสาเข็มคือ ถนนราชพฤกษ์ ขาออก เลยสถานีรถไฟฟ้าวุฒากาศเบี่ยงซ้ายผ่านโค้งลงจากแล้มป์ ที่จะมุ่งหน้าถนนเพชรเกษม, บรมราชชนนี พอลงจากแล้มป์ได้เล็กน้อย ยังมี 2 ช่องจราจรเท่าเดิม แต่มีการเบี่ยงการเดินรถจากเดิม คือแทนที่จะเป็น 2 ช่องทางคู่ติดกัน ช่องทางจะเปลี่ยนไป คือให้รถวิ่งแยกอ้อมรากฐานเสาตอม่อ ออกไปซ้ายหรือขวา ฝั่งละ 1 ช่องทางจราจร 

ภาพการก่อสร้างทางแยกต่างระดับบนถนนราชพฤกษ์-กัลปพฤกษ์ ในช่วงเดือน เม.ย. 2558 

การขยายถนนกัลปพฤกษ์

ถนนกัลปพฤกษ์ หรือ ถนนตากสิน-เพชรเกษม เดิมนับวันยิ่งกลายเป็นทำเลที่อยู่อาศัยยอดฮิตในโซนตะวันตกของกทม. ท่ามกลางการขยายตัวของเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ขยายสู่ย่านนี้มากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการจราจรหนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากที่อยู่อาศัยทั้งโครงการบ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ทั้งเก่าและ เกิดใหม่มีตลอดแนว 2 ฝั่งถนน จากข้อมูลของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ปัจจุบันถนนกัลปพฤกษ์มีปริมาณการจราจรที่ประมาณ 2,000-3,000 คัน/ชั่วโมง และในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 4,000-5,000 คัน/ชั่วโมง 
ถนนเดิมขนาด 4 ช่องจราจรจึงไม่เพียงพอรองรับการใช้รถใช้ถนนที่เพิ่มขึ้นทุกวัน กรมทางหลวงชนบทในฐานะเจ้าของพื้นที่ ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท เอพซิลอน จำกัด และบริษัท อินทิเกรเทด เอนจิเนียริ่ง  คอนซัลแทนท์ จำกัด สำรวจออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) โครงการขยายถนนกัลปพฤกษ์ ผลการศึกษาพบว่าโครงการนี้มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการ ล่าสุดบริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างดำเนินโครงการต่อในขั้นตอนการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะทราบรายละเอียดโครงการรวมทั้งวงเงินค่าก่อสร้างและรูปแบบการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามเบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 500-600 ลบ. (ซึ่ง ณ ขณะนี้ ปี 2558 ก็ยังรองบประมาณจากกรมทางหลวงชนบทอยู่) สภาพปัจจุบันของถนนกัลปพฤกษ์มีขนาด 4 ช่องจราจร (ไป 2 ช่องจราจร กลับ 2 ช่องจราจร) ปริมาณรถจึงค่อนข้างหนาแน่น แม้กรมทางหลวงชนบทจะแก้ปัญหาด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกบริเวณถนนสุขาภิบาล 1 และสะพานข้ามทางแยกซอยกำนันแม้นแล้ว แต่ช่วยบรรเทาปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น สาเหตุมาจากการขยายตัวของชุมชน โดยเฉพาะโครงการที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์บริเวณ 2 ฝั่งถนนกัลปพฤกษ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการ เดินทางผ่านถนนกัลปพฤกษ์เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนการจราจรติดขัดคับคั่งมาก เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว กรมทางหลวงชนบทจึงมีแผนที่จะขยายช่องจราจรบนถนนกัลปพฤกษ์เพิ่มเติมอีกข้างละ 1 ช่องจราจร จากเดิม 4 ช่องจราจร เป็น 6 ช่องจราจร (ไป 3 ช่องจราจร  กลับ 3 ช่องจราจร) เพื่อให้การเดินทางสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น แนวเส้นทางโครงการเริ่มตั้งแต่จุดตัดทางแยกต่างระดับถนนกาญจนาภิเษกไปตามถนนกัลปพฤกษ์ทางทิศตะวันออกข้ามทางแยกถนนสุขาภิบาล 1 ทางแยกซอยกำนันแม้น จะขยายสะพานข้ามทางแยก และสะพานข้ามคลองบางระแนะคลองบางประทุน และคลองรางบัวจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณจุดตัดทางแยกต่างระดับสวนเลียบ บริเวณถนนราชพฤกษ์ตัดกับถนนกัลปพฤกษ์ ระยะทางรวม 7 กม. นอกจากขยายช่องจราจรเพิ่มอีก 2 ช่องจราจรแล้ว จะมีบางช่วงต้องปรับปรุงสะพานข้ามคลองเดิม คือ สะพานคลองบางโคลัด ฝั่งขาออก จากสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมุ่งหน้าไปยังถนนกาญจนาภิเษก บริเวณจุดซึ่งเป็นทางลงจากสะพานข้ามแยกกำนันแม้น จากปัจจุบันเป็นสะพานขนาด 2 ช่องจราจร จะขยายเป็น  3 ช่องจราจร เพื่อให้โครงสร้างสอดรับกับการขยายถนนกัลปพฤกษ์ นอกนั้นเป็นการปรับปรุงรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ เช่น ทางเดินเท้า และการจัดภูมิทัศน์บริเวณสะพานข้ามทางแยกถนนสุขาภิบาล 1 และสะพานข้ามทางแยกซอยกำนันแม้น

Metro West Town

Metro West Park เป็น community mall ที่พัฒนาโดย We Retail ในเครือ Property Perfect โดยเป็น mall ขนาด 21,400 ตร.ม. บนพื้นที่ 10.45 ไร่ ประกอบด้วย140 ร้านค้า ใน concept 'Tree of Life' ที่อยู่ติดถ.กัลปพฤกษ์ ฝั่งขาเข้าเมือง ประกอบด้วยร้านค้า ร้านอาหาร Super Market สถานที่เรียนพิเศษ 7-11 มีผู้เช่าที่เป็น magnet เช่น Mc Donald's 
นอกจากนั้นยังมี Super Market MaxValu ขนาดพื้นที่ 800 ตร.ม. เปิดบริการ 24 ชม. ซึ่งถือเป็นขนาดกลาง โดยพื้นที่ดินของโครงการนี้ ด้านในจะเป็น residential ที่ develop มาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว คือ โครงการคอนโดฯ 8 ชั้น ประมาณ 20 อาคาร กว่า 5,000 ครัวเรือน ซึ่งขายหมดไปแล้ว รวมถึงโครงการทาวน์โฮมด้วย ในตอนนี้ก็กำลังเปิดขายคอนโดฯโครงการใหม่ คือ The Lake Sathorn-Wuttakat 8 ชั้น 15 อาคาร ราคาประมาณ 1.5 ลบ.
Metro West Town มีพื้นที่ 21,400 ตร.ม. 3 ชั้น ได้แก่ ชั้น 1 : Super Market, ร้านอาหาร, Coffee Shop, ร้านค้าแฟชั่น ชั้น 2 : โรงเรียนสอนพิเศษ, ร้านอาหาร, ธนาคาร, ลาน event ชั้น 3 : สถาบันเสริมความงาม, ร้านอาหาร
ภาพถ่ายจากสถานที่จริง
Mc Donald's ในสาขานี้มีความพิเศษ ตรงที่มี Mc Stop คือ จุดที่ลูกค้าสามารถสั่งอาหารได้โดยไม่ต้องลงจากรถโดยจะมีพนักงานออกมารับออเดอร์ เข้าไปสั่งอาหาร และออกมารับเงินจากลูกค้า (ซึ่งต่างกับแบบ drive thru ที่ต้องขับวนรอบอาคาร) 
พื้นที่เช่าโซนด้านหน้า ยังอยู่ในระหว่างก่อสร้าง 

Grand Bangkok Boulevard

บนถ.กัลปพฤกษ์ มีการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลากหลายรูปแบบ ช่วงต้นถนนบริเวณสถานีวุฒากาศจะเป็นกลุ่มคอนโดมิเนียม เช่น The Key, The Lake, Aspire ทาวน์โฮมหรืออาคารพาณิชย์ เช่น บ้านกลางเมือง, Signature ไปจนถึงโครงการระดับ Luxury ที่เปิดมาตั้งแต่ช่วงก่อสร้างถนนอย่าง แกรนด์ รอยัล นิศาชล, Golden Legend โครงการที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว (2557) อย่าง Grand Bangkok Boulevard สาทร ตั้งอยู่บน ถ.กัลปพฤกษ์ ช่วงแยกบางบอน 1 ถัดมาจากสำเพ็ง 2 ฝั่งขาเข้าสาทรทำให้สะดวกทั้งการมุ่งหน้าเข้าสาทร เลี้ยวซ้ายไปเพชรเกษม เลี้ยวขวาไป เอกชัย-บางบอน หรือกลับรถไปออกเส้นกาญจนาฯ พระราม 2 ถือว่าเข้า-ออกง่าย ไปได้หลายเส้นทาง Grand Bangkok Boulevard สาทรแห่งนี้ เป็นคฤหาสน์ 2-3 ชั้น พื้นที่สวนส่วนกลางกว่า 3 ไร่ ภายในโครงการดูเป็นระเบียบเรียบร้อยเพราะสายไฟฟ้าอยู่ใต้ดินทั้งหมด ในเรื่องความปลอดภัย (ถือว่าเป็นเรื่องที่โดดเด่นสำหรับ SC Asset) มี Double Gate ควบคุมการเข้า-ออก + Access Card + รปภ.+สัญญาณกันขโมย ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ มีคฤหาสน์ 3 ชั้น 5 ห้องนอน 6 ห้องน้ำ เป็น product ที่เห็นไม่มากนัก น่าจะเป็นการตอบโจทย์ได้ดีครอบครัวที่มีสมาชิกมาก ซึ่งน่าจะมี demand อยู่พอสมควร ราคาเริ่มต้นของโครงการอยู่ที่ 17 ลบ. 
ตัวอย่างบ้าน 464 ตร.ม. - 5 ห้องนอน 6 ห้องน้ำ - 2 ห้องรับแขก - 2 ส่วนพักผ่อน - 1 ส่วนทานอาหาร - 1 ครัวไทย - 1 ห้องแม่บ้านพร้อมห้องน้ำ - 3 ที่จอดรถ
  ภาพถ่ายจากสถานที่จริง

สำเพ็ง2

สำเพ็ง 2 สาทร-กัลปพฤกษ์ Center เป็นแหล่งการค้าปลีก-ส่ง ขนาดใหญ่ แห่งใหม่บน 2 ฝั่งของถ.กัลปพฤกษ์ พื้นที่รวมกว่า 200 ไร่ พัฒนาโดยบริษัท J.S.P. พื้นที่โครงการติดถนน สาทร-กัลปพฤกษ์-กาญจนาภิเษก-เอกชัย-พระราม2 เป็นอาคาร ร้านค้า และ พื้นที่เช่า รวมกว่า 1,200 ร้านค้า พื้นที่จอดรถกว่า 4,000 คัน  รวมถึงมีการขยายทางเดินรถเมล์สาย 9 ให้ผ่านมายังหน้าโครงการสำเพ็ง 2 และวกกลับเข้าเมืองด้วย
ภาพถ่ายจากสถานที่จริง
ภาพด้านหน้าโครงการสำเพ็ง 2 ฝั่งขาเข้าเมือง 
ภาพด้านในโครงการสำเพ็ง 2 (เฟส 4) ด้านขาออกเมือง เป็นอาคารสูง 4 ชั้น หน้ากว้าง 8 ม. ลึก 13-15 ม. ถนนภายในโครงการกว้างถึง 17 ม.
   

New retail

บริเวณต้นถ.กัลปพฤกษ์ขาเข้าเมือง ใกล้อู่รถเมล์ มีข่าวว่ามีบริษัทค้าปลีกรายใหญ่กำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อมาซื้อที่ดินบริเวณดังกล่าว ขนาดเกือบ 60 ไร่ จึงอาจสร้างเป็นพื้นที่ retail ขนาดใหญ่ที่ serve คนในพื้นที่กัลปพฤกษ์ ราชพฤกษ์ เทอดไท ในอนาคต

รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว สายสีลม-บางหว้า

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเขียวเข้ม เริ่มต้นจากสถานีสยาม ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท มุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตก ไปยังสถานีสนามกีฬาแห่งชาติเพียงสถานีเดียว และมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ ตามแนวถ.ราชดำริ ถ.สีลม ถ.นราธิวาสราชนครินทร์ และถ.สาทร ก่อนจะข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตามแนวตากสิน และตามแนวถ.กรุงธนบุรีและถ.ราชพฤกษ์ ไปสิ้นสุดที่สถานีบางหว้า เป็นสถานีสุดท้าย สร้างแล้เสร็จตั้งแต่ 2556 โดยมีสถานีทั้งสิ้น 13 สถานี ระยะทาง 14.67 ก.ม.

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค

ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 15.9 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินมีลักษณะทางวิ่งอุโมงคู่รางเดี่ยว ในช่วงหัวลำโพง - ท่าพระ ระยะทาง 5.4 กม. มีสถานีใต้ดินจำนวน 4 สถานี และทางวิ่งยกระดับในช่วงท่าพระ - บางแค ระยะทาง 10.5 กม. มีสถานียกระดับจำนวน 7 สถานี โครงการจะเริ่มต้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพง เป็นเส้นทางใต้ดินตามแนวถนนพระราม 4 ผ่านถนนเจริญกรุง วังบูรพา ถนนสนามไชย ลอดใต้แม้น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณปากคลองตลาด ลอดใต้คลองบางกอกใหญ่ ถนนอิสรภาพ แล้วเปลี่ยนเป็นเส้นทางยกระดับมีลักษณะเป็นทางวิ่งรางคู่บนเสาตอม่อบริเวณบนเกาะกลางถนนเข้าสู่สี่แยกท่าพระ ซึ่งจะมีสถานีร่วมกับโครงการฯ สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ไปตามแนวถนนเพชรเกษม ผ่านบางไผ่ บางหว้า บางแค และสิ้นสุดสายทางที่บริเวณวงแหวนรอบนอกถนนกาญจนาภิเษก
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (319)
 (394)
 (29)
 (12)
 (4)
 (19)
 (202)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (183)
 (85)
 (112)
 (106)
 (42)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon