The Great Wave off Kanagawa 

       เราน่าจะเคยเห็นภาพคลื่นยักษ์นี้แน่ ไม่ว่าจากที่ไหนสักแห่ง รู้ไหมว่าภาพชิ้นนี้อายุไม่น้อยกว่า 200 ปีแล้ว และเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินมาหลายยุคหลายสมัย ไม่ว่า แวนโก๊ะ มอแน หรือศิลปะแนว Impressionism

Under the Wave off Kanagawa (Kanagawa oki nami ura), or The Great Wave Off Kanagawa 1823

       ภาพชิ้นนี้ เป็นผลงานศิลปะที่โด่งดังและเป็นผลงานศิลปะญี่ปุ่นที่โดนเด่นที่สุดในโลกชิ้นหนึ่ง ผลงานของ ‘ คัตสึชิกะ โฮกูไซ ’ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เกิดเมื่อปี 1760 ที่เมือง เอโดะ หรือ โตเกียว ในปัจจุปัน       

Portrait of Katsushika Hokusai by Keisai Eisen, before 1848

       ในตอนแรก ภาพพิมพ์นี้ถูกตีพิมพ์หลายพันฉบับและขายออกอย่างรวดเร็วในราคาถูกในญี่ปุ่นสมัยนั้น แม้ว่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่การค้าของญี่ปุ่นถูกจำกัดอย่างเข้มงวด แต่งานของโฮกูไซ ยังพิสูจน์แล้วว่าเป็นแรงบันดาลใจสำหรับศิลปินหลายคนที่ทำงานในยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 1900

       จริงๆ แล้ว ภาพ ‘ The Great Wave off Kanagawa ’ ไม่ใช่ภาพเดี่ยว แต่เป็นส่วนหนึ่งในภาพพิมพ์ชุด ‘ Thirty-six views of Mount Fuji ’ ซึ่งทำขึ้นระหว่างปี 1830-1833 ด้วยเทคนิคการพิมพ์ภาพด้วยแม่พิมพ์ไม้ ขนาดประมาณ 10 x 14 นิ้ว และอย่างที่เราเห็น ภูเขาไฟฟูจิไม่ได้จำเป็นต้องครอบคลุมทั้งเฟรมเสมอไป แต่เป็นภาพคลื่นยักษ์ที่เต็มไปด้วยภาระกำลังตระหง่าอยู่ตรงหน้า ก่อนจะพังลงไปยังหมู่เรือชาวประมงด้านล่าง ที่กำลังบ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นกับญี่ปุ่นในสมัยนั้น เรือลำน้อยที่กำลังเผชิญความผันผวนและพยายามฝ่าฟันในสถาณการณ์อันไม่มั่นคงที่ไม่อาจต้านกระแสโลกที่กำลังซัดเข้าหาทะเลญี่ปุ่น

The Golden Ratio brings order and harmony to a seemingly chaotic scene.

‘ The Great Wave off Kanagawa ’ เต็มไปด้วยการเล่นมุมมอง อย่างภูเขาที่ถูกทำให้เล็กเหมือนว่ามันจะถูกกลืนหายไปในเกรียวคลื่น หรือการเล่นทัศนวิสัยที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากละอองน้ำที่ซัดลงมา ดูเหมือนหิมะที่ตกลงมาบนยอดภูเขาไฟฟูจิ องค์ประกอบที่วางรอบภูเขาไฟ ทั้งความโค้งของคลื่น จุดที่เรือลงต่ำพอจะเห็นภูเขาไฟ และยอดสีขาวของคลื่นยักษ์ที่ช่วยขับเน้น ให้ภูเขาไฟฟูจิได้อย่างสวยงาม รวมถึงการจัดองค์ประกอบภาพที่สมดุลทั้งหลัก 9 ช่อง และ golden ratio 

 

       โฮกูไซสนใจในมุมเฉียง ความต่างของระยะใกล้และไกล และต่างระหว่างฝีมือมนุษย์กับธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้สามารถเห็นได้ในงาน ผ่านการเทียบเคียงของคลื่นขนาดใหญ่ที่บดบังภูเขาขนาดเล็กในระยะไกล เช่นเดียวกับการรวมของผู้ชายและเรือท่ามกลางคลื่นยักษ์อันทรงพลัง รวมถึงการใช้สีที่มีอิทธิพลจากศิลปะดัตช์ สีที่โดดเด่นของยุโรป นั่นคือสีน้ำเงินปรัสเซียน

 

       ไม่น่าเชื่อว่า ตอนนั้น โฮกูไซ จะอายุ 70 ปีแล้วและเส้นเลือดในสมองแตกเป็นอัมพาต ยังสามารถทำงานที่วิเศษชิ้นนี้ออกมาได้  โฮกูไซ เป็นศิลปินที่เก่งกาจมากกับการทำงานได้เหมือนออกมามีชีวิต เขามีความหลงใหลในธรรมชาติและมีคติการทำงานที่เข้มข้น เขาเคยเขียนไว้ในสมุดบันทึกว่า

       “ตอนฉัน 6 ขวบ ฉันเริ่มวาดจากชีวิต และกลายเป็นศิลปินในที่สุด ตอนอายุ 50 ฉันเริ่มสร้างงานที่นำมาซึ่งชื่อเสียง แต่สำหรับฉัน ไม่มีที่ทำก่อนอายุ 70 ที่ควรค่าความสนใจเลย ตอนอายุ 73 ฉันเริ่มเข้าใจเสียงนกและสัตว์ต่างๆ หมู่แมลง ปลา และต้นไม้ที่กำลังเจริมเติบโต ถ้าฉันยังทำต่อไป ฉันมั่นใจว่าจะเข้าใจธรรมชาติเมื่ออายุ 86 เพราะฉะนั้นตอนอายุ 90 ฉันจะสร้างงานที่แทรงตัวไปในธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน ตอนอายุ 100 ฉันจะเข้าใจมันอย่างที่สุด ตอนอายุ 130 140 หรือมากกว่านั้น ทุกจุดและเส้นที่ฉันวาดจะมีชีวิต ขอสวรรค์ดลบันดาลให้ชีวิตฉันยืนยาวพอ ว่าสิ่งที่ฉันพูด ไม่ใช่สิ่ง มดเท็จ ”

       คติของเขาสะท้อนออกมาในการทำงาน ที่ไม่เคยหยุดและพัฒนาอยู่เสมอระหว่างที่เขายังมีชีวิตอยู่ เขามีจิตวิญญาณที่เป็นศิลปินโดยแท้ ความอ่อนน้อมถ่อมตนที่ทำให้เขาเข้าใกล้ความงดงามของธรรมชาติ

        โฮกูไซ เสียชีวิตในวัย 89 ปี ฝากผลงานไว้มากมาย เราไม่รู้ว่า ถ้าโฮกูไซสามารถอยู่ได้ถึงตามที่เขาหวัง จะผลิตงานออกมาได้สุดยอดแค่ไหน แต่คลื่นยักษ์แห่งคานางาวะ ยังคงสาดกระเซ็นแรงบัลดานใจให้กับคลื่นลูกใหม่บนโลกแห่งงานศิลปะมาจนทุกวันนี้

References : 

https://www.metmuseum.org/art/collection/search/4543

https://www.katsushikahokusai.org/

https://artincontext.org/katsushika-hokusai/