เรียนรู้เรื่องราวในอดีตของอุทัยธานี ผ่านพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานี

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่สามารถเรียนรู้เรื่องราวจังหวัดอุทัยธานีจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจากที่นี่..พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานี

_dsf1493xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1506xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1508xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95

ในอดีตอาคารแห่งนี้ก่อนที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เคยเป็น “โรงเรียนเบญจมราชูทิศ” ที่ได้รับชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) อันมีความหมายถึงสร้างเพื่ออุทิศให้พระมหากษัติรย์องค์ที่ 5 เป็นอาคารไม้มี 2 ชั้น ภายในแบ่งเป็นห้องเรียนต่าง ๆ ภายหลังได้ยุบรวมกับโรงเรียนอุทัยทวีเวท เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่มาเป็น “อุทัยวิทยาคม” ซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อที่ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นคนตั้ง จึงทำให้ชาวอุทัยฯ บางคนรู้สึกเสียดายที่ชื่อพระราชทานจาก รัชกาลที่ 6 หายไป แล้วหลังจากนั้นก็ได้บูรณะให้เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานี และตามห้องเรียนก็เปลี่ยนเป็นแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แตกต่างกันออกไป

_dsf1452%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1455%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1509xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95

ในชั้นที่ 1 ห้องแรกจะเป็นห้องที่ทำให้ผู้ที่มาเยี่ยมรู้จักกับสถานที่แห่งนี้คือ ” ห้องประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ฯ” ตั้งแต่กำเนิดจนถึงปัจจุบัน ภายในจะเป็นบรรยากาศที่จะทำให้ทุกคนคิดถึงสมัยเด็ก จากสื่อการเรียนการสอนสมัยก่อน รูปภาพโรงเรียน นักเรียน และครูในสมัยที่ยังเป็นโรงเรียน อุปกรณ์การเรียนในสมัยนั้น ในสมัยนั้นนักเรียนเขียนตัวเขียนภาษาอังกฤษได้สวยและมีระเบียบมาก ทำให้อยากย้อนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งนึง

_dsf1502xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1527xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1473%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1516xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95

ห้องถัดมาเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพของชาวอุทัยฯ กันบ้างกับห้องที่มีชื่อว่า ” ห้องอาชีพของคนจังหวัดอุทัยธานี” ห้องนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิถีการดำรงชีวิตของชาวอุทัยธานี เนื่องจากจังหวัดอุทัยธานีอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำ ลำคลองไหลผ่านหลายสาย จึงทำให้การทำนาเป็นที่แพร่หลายในจังหวัดนี้ ในส่วนก็จะมีเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆในการทำนา และการทอผ้าที่เป็นที่แพร่หลายในจังหวัดอุทัยธานีจะมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า อาจทำให้ผู้ที่มารับชมสนใจอยากลองทำนาหรือทอผ้าเพื่อเข้าใจในวิถีชีวิตของชาวอุทัยฯ ก็เป็นได้

_dsf1511xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95

และห้องสุดท้ายเป็นห้องที่ขาดไม่ได้เลย เพราะห้องนี้เป็นห้องที่เกี่ยวกับวีรบุรษที่ชื่อว่า นายสืบ นาคะเสถียร ผู้อุทิศชีวิตเพื่อปกปักษ์รักษาป่าไม้ของไทย เมื่อครั้งอดีตสมัยที่นายสืบ ยังมีชีวิตอยู่มีเจตนารมณ์ที่จะรักษาพื้นป่าที่มีชื่อว่า “ห้วยขาแข้ง” จึงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ทำให้ห้องนี้มีชื่อเรียกว่า “ห้องมรดกโลกห้วยขาแข้ง”

_dsf1523xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1530xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1477%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1457%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1458%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95

ส่วนต่อมาจะเป็นชั้น 2 ห้องแรกจะมีกลิ่นอายความเก่าของอุปกรณ์ทั้งหมดเพราะสิ่งที่เก็บไว้ในห้องนี้ล้วนแต่มีอายุอันยาวนาน ทั้งนั้นจึงได้มีชื่อว่า “ห้องวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี” ในห้องนี้จะเป็นห้องที่รวมอุปกรณ์ต่างๆ ในสมัยก่อนที่แสดงถึงวิวัฒนาการของอุปกรณ์นั้น ๆ อาทิ เครื่องโรเนียวที่เก่าได้อีก เครื่องพิมพ์ดีดที่ไม่เคยเห็น หรืออุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่ไม่ผลิตแล้วในสมัยนี้ เป็นต้น และยังรวมไปถึงศาสตราวุธที่ใช้สู้รบในสมัยก่อนที่เก็บมาเป็นเวลานาน คนที่ชอบของเก่าหรือของโบราณจะต้องรักห้องนี้อย่างแน่นอน

_dsf1539xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1535xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1531xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1554xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1555xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95

ห้องต่อมาเป็น “ห้องอุทัยธานีกับยุคทวาราวดี” ห้องนี้เป็นห้องแปลกกว่าห้องอื่น ๆ เพราะภายในห้องจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ในส่วนแรกเกี่ยวกับแหล่งสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอุทัยธานี ส่วนที่ 2 จัดแสดงความเป็นอยู่อย่างไทยในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้จากพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลนั้น ชุดขุนนางโบราณ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในสมัยรัชกาลนั้น ส่วนที่ 3 เกี่ยวกับสมัยยุคทวารวดีที่อยู่ในอาณาเขตจังหวัดอุทัยธานี ในส่วนนี้จัดแสดงเกี่ยวกับรูปปั้นพระพุทธรูป เสมา ศิลาที่มีการลงชื่อไว้ เครื่องบดยา เครื่องปั้นดินเผา ที่สร้างขึ้นในสมัยทวาราวดี

_dsf1468%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1532xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1469%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95

ถัดมาอีกหนึ่งห้อง ห้องนี้ได้มีชื่อว่า “พระเกจิเมืองอุทัยธานี” เมื่อคุณได้ก้าวเข้าไปในห้องนี้จะรู้สึกได้ถึงความขลังจากบรรยากาศภายในห้อง ข้างในจะรวมพระพุทธรูปเก่า จัดวางบนโต๊ะหมู่บูชา และประวัติพระเกจิชื่อดังของจังหวัดอุทัยธานีให้ได้รับชม หากว่าคุณเป็นคนสนใจด้านความศรัทธาที่มีต่อพระเกจิเมืองอุทัยฯ ห้องนี้ต้องไม่ควรพลาด

_dsf1543xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1548xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95

ห้องสุดท้ายจะทำให้คุณตื่นเต้นที่สุดคือ “ห้องอุทัยธานียุคก่อนประวัติศาสตร์” เป็นห้องที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับยุคก่อนประวัติศาสตร์ ภายในประกอบไปด้วยโครงกระดูกมนุษย์จริง ๆ เครื่องปั้นดินเผา อาวุธในการล่าสัตว์ในยุคนั้น และภาพเหตุการณ์ที่พบเจอโครงกระดูกจัดแสดงเรื่องราวอย่างเป็นหมวดหมู่

_dsf1572xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1566xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1562xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1564xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95_dsf1560xt2%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95

และที่ไม่น่าพลาดอีกอย่างหนึ่งคือ ตึก “ขุนกอบกัยกิจ” ที่อยู่ใกล้ๆ กัน ภายในตกแต่งเป็นบรรยากาศร้านกาแฟแบบโบราณ รวบรวมของเก่ามากมายอย่างเช่น ภาพถ่าย และหนังสือเก่าในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่หาชมที่ไหนไม่ได้

อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สภาพบางส่วนค่อนข้างทรุดโทรม อันเนื่องมาจากขาดงบประมาณในการดูแล หากใครสนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ติดต่อล่วงหน้าได้ที่ โทร. 0 5652 0526 เข้าชมฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย

แผนที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจังหวัดอุทัยธานี

Leave a comment