10 มิถุนายน 2562

ช่วงต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.2562 คลื่นความร้อนเข้มข้นสร้างความแห้งผากทางตอนเหนือของอินเดีย บางพื้นที่เผชิญกับอุณหภูมิที่สูงเกิน 45 องศาเซลเซียส(113 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันที่ 10 มิถุนายน คือวันที่ร้อนที่สุดของเดือนในกรุงเดลี อุณหภูมิแตะ 48 องศาเซลเซียส (118 องศาฟาเรนไฮต์)

แผนที่ด้านบนแสดงอุณหภูมิในวันที่ 10 มิถุนายน ในอินเดียและปากีสถาน ซึ่งเจอกับสภาพร้อนแล้งในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แผนที่ทำขึ้นจากแบบจำลอง Goddard Earth Observing System (GEOS) โดยเป็นอุณหภูมิอากาศที่ระดับ 2 เมตรจากพื้นผิว แบบจำลอง GEOS-5 เช่นเดียวกับแบบจำลองสภาพภูมิอากาศอื่นๆ จะใช้สมการทางคณิตศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของกระบวนการทางกายภาพ (เช่น น้ำฟ้าและกระบวนการเกี่ยวกับเมฆ) เพื่อคำนวณว่าชั้นบรรยากาศจะทำอะไร การวัดคุณสมบัติทางกายภาพจริงๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และลม จะนำเข้าสู่แบบจำลองเพื่อทำให้การทำ simulation ใกล้เคียงกับการวัดจริงๆ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

โดยทั่วไป เดือนพฤษภาคมและมิถุนายนจะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในภูมิภาคนี้ แต่คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมจำนวนเพิ่มขึ้น จากข้อมูลของกระทรวงวิทยาศาสตร์ ปีที่ร้อนที่สุด 15 อันดับแรกเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ปี พ.ศ.2561 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 6 ของอินเดีย นับตั้งแต่ที่เริ่มบันทึกอุณหภูมิในปี พ.ศ.2444

ในปี พ.ศ.2562 ฝนทิ้งช่วง ก่อนฤดูมรสุมพร้อมกับฤดูมรสุมที่ล่าช้าทำให้คลื่นความร้อนเกินจะทนทาน สภาพอากาศช่วงฤดูมรสุมมาล่าช้า 1 สัปดาห์จากการเคลื่อนตัวทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล ฝนฤดูมรสุมมาถึงตอนใต้ของอินเดียในราววันที่ 8 มิถุนายน (ช้ากว่าปกติประมาณ 7 วัน) กรุงเดลีมีอุณหภูมิลดลง อันนื่องมาจากฝนตกในวันที่ 11-12 มิถุนายน และมีพายุฝุ่น แต่ฤดูมรสุมยังไม่เกิดขึ้นทางตอนเหนือและตอนกลางของอินเดียจนถึงต้นเดือนกรกฎาคมนี้

นักอุตุนิยมวิทยาคาดว่าโดยรวมฤดูมรสุมจะเกิดขึ้นปกติ แต่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียและปากีสถานจะเกิดความแห้งแล้งกว่าปกติ

NASA Earth Observatory image by Joshua Stevens, using GEOS-5 data from the Global Modeling and Assimilation Office at NASA GSFC. Story by Kasha Patel.