thailandlsta_tmo_201604

โดยทั่วไป เดือนเมษายนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นช่วงเวลาที่ร้อน แต่เดือนเมษายนปีนี้ (2559) ไม่ใช่เมษายนตามแบบฉบับทั่วไป ตลอดทั้งเดือน อุณหภูมิอากาศที่วัดบนพื้นผิวโลกพุ่งสูงขึ้นเกินกว่าค่าเฉลี่ย หนึ่งในนั้นคือประเทศไทยที่อุณหภูมิสูงทุบสถิติ

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงภาพความร้อนที่คล้ายคลึงกัน แผนที่ข้างบนแสดงถึงอุณหภูมิพื้นผิวโลกในเดือนเมษายน 2559 เทียบกับค่าเฉลี่ยในเดือนเดียวกันของปี 2543-2555 พื้นที่สีแดงคือพื้นที่ที่มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิระยะยาวร้อนกว่าราว 12 องศาเซลเซียสในบางพื้นที่ พื้นที่สีฟ้าเป็นพื้นที่ที่มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิระยะยาวต่ำกว่า แถบพิกเซลสีขาวเป็นพื้นที่ที่มีอุณหภูมิปกติ ส่วนพิเซลสีเทานั้นแสดงถึงพื้นที่ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่น่าจะมาจากการมีเมฆปกคลุมมากเกินไป แผนที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินี้มาจากข้อมูล Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) บนดาวเทียม Terra ขององค์การนาซา

จากการรายงานข่าว อย่างน้อยที่สุด มีเมือง 40 แห่งที่มีอากาศร้อนทำลายสถิติ ในวันที่ 28 เมษายน 2559 อุณหภูมิที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้นสูงสุดเท่าที่เคยมีการวัดกันมาในประเทศไทย โดยเพิ่มสูงถึง 44.6 องศาเซลเซียส

ไม่เพียงแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องเผชิญกับความร้อนที่ทวีความรุนแรงในเดือนเมษายน ในอินเดีย อุณหภูมิอากาศที่พื้นผิวสูงกว่าค่าปกติราว 4-5 องศาเซลเซียส มีคนอย่างน้อย 300 คนต้องเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับอากาศร้อนในช่วงเดือนเมษายนนี้  ปีก่อนหน้านี้ มีคนมากกว่า 2,500 คนต้องเสียชีวิตจาก คลื่นความร้อน ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าคลื่นความร้อนมรณะเท่าที่มีการบันทึกไว้

แหล่งที่มาข้อมูลและอ่านเพิ่มเติม