ทำไมลำไส้ถูกเปรียบเป็นสมองที่ 2 ของมนุษย์

ลำไส้คือสมองที่สอง

ลำไส้คือสมองที่ 2 ประโยคนี้อาจได้ยินมาหลายแล้ว แต่ก็ยังไม่รู้ความหมายจริงๆ สักที ว่าทำไมเป็นแบบนั้นใช่ไหมครับ เราเลยขอสรุปความสามารถสุดว้าวของลำไส้ ที่หลายคนอาจจะยังรู้ไม่หมด นอกจากจากเรื่องที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบย่อย

เหตุผลที่ลำไส้ถูกเปรียบเป็นสมองที่ 2

  • ลำไส้ทำงานและตัดสินใจเองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องให้สมองสั่งการ ตั้งแต่ควบคุมระบบย่อย เปลี่ยนเป็นสารอาหารและดูดซึมส่งไปให้อวัยวะส่วนต่างๆ ถ้าจุลินทรีย์ไม่สมดุลคือมีตัวแย่มากกว่าตัวที่ดี ลำไส้จะไม่แข็งแรง จนเกิดปัญหากับระบบย่อยและการดูดซึมได้
  • ลำไส้ทำหน้าที่ต้านโรคภัย และขับสารพิษ ยกตัวอย่างตอนที่เรามีอาการท้องเสีย นั่นคือการที่ลำไส้พยายามขับสารพิษออกจากร่างกาย หลังจากส่งข้อมูลไปที่ระบบภูมิคุ้มกันว่ามีสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายเข้ามา ซึ่ง 70% ของเซลล์ภูมิคุ้มกันก็จะอยู่ในลำไส้ของเรานี่เอง
  • ลำไส้ทำหน้าที่ควบคุมด้านอารมณ์และพฤติกรรม เนื่องจากฮอร์โมนสำคัญที่ส่งผลต่อการทำงานของหลายๆระบบร่างกาย รวมถึงสภาวะทางอารมณ์ ที่มีชื่อว่า “เซโรโทนิน” กว่า 95% อยู่ในลำไส้ ถ้าลำไส้สุขภาพไม่ดีก็ส่งผลให้เซโรโทนินลดลง ส่งผลให้การปรับอารมณ์ การนอน การจดจำ และการเรียนรู้ ทำได้แย่ลงได้
  • ลำไส้ส่งผลต่อการเติบโตและพัฒนาการในร่างกาย นอกจากทำหน้าที่ย่อยอาหาร โดยเฉพาะประเภทที่เอนไซม์ในร่างกายไม่สามารถย่อยได้ จุลินทรีย์ดีหรือโพรไบโอติกในลำไส้ ยังเป็นตัวหลักในการผลิตสารอาหารที่ส่งเสริมการเติบโตของร่างกาย เช่น วิตามินบี12 วิตามินเค โฟเลต

    โดยธรรมชาติแล้ว ถึงแม้ว่าลำไส้จะเก่งแค่ไหน แต่ถ้าเราไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพลำไส้ให้แข็งแรง โดยการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ชนิดดีอย่างโพรไบโอติก ให้มีมากพอที่จะควบคุมชนิดร้ายไว้ได้ ลำไส้ก็จะค่อยๆอ่อนแอลง การทำงานกับระบบอื่นๆก็รวนไปด้วย ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมที่ค่อยๆแย่ลงไม่ต่างกันนะครับ
บทความแนะนำ
พาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว เพราะอาการลำไส้รั่ว ใครท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ รีบเช็คตัวเองเลย
โยเกิร์ตที่คุณทาน อาจไม่มีโพรไบโอติกที่คุณต้องการอยู่ในนั้น
เคล็ดลับแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุวัยทอง พร้อมทางลัดดูแลสุขภาพระยะยาวด้วยโพรไบโอติก
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโพรไบโอติก (Probiotic) ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
อาการกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาด้วยโพรไบโอติกได้อย่างไร
กินโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทำอย่างไร ควรกินโพรไบโอติกตอนไหนดีที่สุด
เพิ่มสารแห่งความสุขและความสงบ เซโรโทนินด้วยการปรับปรุงสุขภาพลำไส้
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร เลือกอย่างไร กินอย่างไร รู้ก่อนสุขภาพดีก่อน (Update: November 2023)
ขับถ่ายปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องกินโพรไบโอติกด้วยหรือ?
อาการคัน ตกขาว ที่ช่องคลอด อาจเกิดจากการเสียสมดุลแบคทีเรียดีหรือโพรไบโอติก
ผายลมบ่อยระหว่างวัน ตดมีกลิ่นเหม็นกว่าปกติ เกิดจากอะไร
วิทยาศาสตร์เบื้องหลัง ประสิทธิภาพ Tactiva โปรไบโอติก: ผลการวิจัยในเชื้อโปรไบโอติกในแต่ละตัว
แปรงฟันบ่อย เเล้วทำไมยังมีกลิ่นปาก!?? ไปหาคำตอบจากเรื่องนี้กันครับ
บทความอื่นๆ

ส่วนลดพิเศษ 30% สำหรับสมาชิก

ลูกค้าเก่าเพียงล็อกอิน เพื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้า และลูกค้าใหม่สมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาสั่งซื้อ รับรหัสส่วนลดไปเลยทันที 30% หรือทักแอดมินไปทางไลน์เพื่อขอส่วนลด 30% ได้ทันที
*สงวนสิทธิ์ 1 ท่านต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น