สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ (ภูเรือ)

สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ (ภูเรือ)

เกษตรที่สูงภูเรือ

เกษตรที่สูงภูเรือ
เกษตรที่สูงภูเรือ หรือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเลย 
+++อัพเดทภาพ เกษตรที่สูง ภูเรือ 2559 >>>http://www.xn--o3cwalj6fsde3e.com/2016/11/2559.html

ประวัติความเป็นมา
จังหวัดเลย มีลักษณะสภาพพื้นที่ภูเขาสลับซับซ้อน มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเหมาะสมต่อการเกษตรที่สูง ดังนั้นกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมายให้นายวิฑูรย์ รัตนา หัวหน้าสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวงเข้าบุกเบิกพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม เพื่อก่อตั้งสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ที่รอยต่อบ้านหินสอ บ้านโป่งกวาง ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2529

วัตถุประสงค์และหน้าที่รับผิดชอบ
1.วิจัยและพัฒนาพืชเฉพาะถิ่นและพืชพื้นเมือง
2.ศึกษาพันธุ์พืชที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมบนที่สูงภาคอิสาน
3.ศึกษาการเขตกรรมพืชที่มีศักยภาพและพืชที่ได้รับมอบหมายจากกรมวิชาการเกษตร
4.ศึกษาเทคโนโลยีเพื่อใช้พัฒนาการเกษตรที่สูง
5.ถ่ายทอดเทคโนโลยีแหล่งเรียนรู้สู่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ
6.เป็นแหล่งผลิตและขยายพันธุ์พืชสวนพันธุ์ดี
7.โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เกษตรที่สูงภูเรือ

สถานที่ตั้งและสภาพภูมิอากาศ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเลย (ภูเรือ) ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 85 หมู่ 6 บ้านหินสอ ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย มีความสูง 900-1000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความลาดเทของพื้นที่ 10-45% ลักษณะดินร่วนปนเหนียว มีค่า pH 4.0-4.5

สภาพภูมิอากาศ มีอากาศหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวจัด ในบางปีมีอุณหภูมิลดลงต่ำสุด -4 องศา เซลเซียส (ธันวาคม 2542) และ 2.5 องศา (มกราคม 2552) ทำให้เกิดน้ำค้างแข็งบนยอดหญ้า เรียกว่า แม่คะนิ้ง”
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยทั้งปี 17.0 องศา และสูงสุดทั้งปี 27.0 องศา ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,575 ม.ม.ต่อปี

เกษตรที่สูงภูเรือ

ปฏิทินการท่องเที่ยว
พ.ย. – ก.ย. ชมไม้ดอกเมืองหนาวนานาชนิด พืชผักเมืองหนาว มะคาเดเนียนัท สตรอเบอร์รี่
ธ.ค. – ม.ค. เทศกาลกินผักเมืองหนาว เห็ดหอมสด สตรอเบอร์รี่ มะคาเดเนียนัท จิบกาแฟสดอาราบิก้า และสัมพัส แม่คะนิ้ง
เม.ย. – ส.ค. ชมหน้าวัว ดาหลา ปทุมมา ชิมพลับ สาลี่ เกาลัดจีน หน่อไม้ไผ่หวานเมืองเลย
กิจกรรมตลอดทั้งปี เยี่มชมศึกษาดูงานเป็นกลุ่ม คณะ ในศูนย์เรียนรู้ และแปลงสาธิตการเกษตร

เกษตรที่สูงภูเรือ

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
1.สวนรุกชาติภูแปก
2.น้ำตกสองคอน น้ำตกปลาบ่า ต้ำน้ำป่าสัก
3.อุทยานแห่งชาติภูเรือ
4.เขตรักษาพันธุ?สัตว์ป่าภูหลวง
5.ชาโต้ เดอเลย
6.สวนลุงวุฒิ (ภูเรือฟลาวเวอร์เซ็นเตอร์)
7.พระธาตุศรีสองรัก (อำเภอด่านซ้าย)

เกษตรที่สูงภูเรือ

กิจกรรมการท่องเที่ยว
1.ชมแปลงไม้ผลเมืองหนาว เช่นเกาลัดจีน พลับ สาลี่ มะคาเดเนียนัท
2.ชมแปลงพืชผักเมืองหนาว เช่น บล๊กโคลี่ ปวยเล้ง โกลาบี้ แรดิซิโอ พลาสเล่ย์ คะน้าฮ่องกง สลัดต่างๆ และสตรเบอร์รี่
3.ชมไม้ดอกเมืองหนาว เช่น ทุ่งคริสต์มาส ทุ่งซัลเวีย พิทูเนีย ลิ้นมังกร แพนซี แกลดิโอลัส กุหลาบ
4.ชมโรงเรือนแสดงพืชพรรณที่หายาก พืชท้องถิ่น เฟิร์นและพืชใกล้เคียง หน้าวัว สับปะรดสี ลิลลี่ เยอบีร่า เบณจมาศ สับปะรดสี กล้วยไม้ป่า
5.เดินศึกษาธรรมชาติ ชมทัศนียภาพทะเลภูเขา โดยรอบศูนย์ฯ
6.แค๊มป์ปิ้ง กางเต้นท์ รอบกองไฟ
7.ประชุมสัมมนาบนเรือนแพในอ่างเก็บน้ำ
8.เทศกาลกินผักเมืองหนาว สตรอเบอร์รี่ มะคาเดเนียนัท

เกษตรที่สูงภูเรือ

สิ่งอำนวยความสะดวก
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเกษตรที่สูงเลย (ภูเรือ) สามารถรับนักท่องเที่ยวเข้าพักแรมได้ทั้งหมดประมาณ 300 คนต่อวัน มีจุดกางเต้นท์ ห้องสุขา มีห้องอาบน้ำชาย หญิง จำนวน 15 ห้อง

เกษตรที่สูงภูเรือ
เกษตรที่สูงภูเรือ

อัตราค่าที่พัก
-บ้าน VIP (A-Frame) 2 หลัง มีตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น
-บ้านภูเคียงดาว พักได้ 6 คน อัตรา 1000 บาทต่อคืน
-บ้านภูเคียงเมฆ พักได้ 6 คน อัตรา 1000 บาทต่อคืน
-บ้านธรรมดา
-บ้านพยับหมอก 8-10 คน เหมาจ่าย 100 บาท/คน/คืน
-บ้านอิงดอย  6 คน เหมาจ่าย 100 บาท/คน/คืน
-บ้านรัตนธารา 8-10 คน เหมาจ่าย 100 บาท/คน/คืน
-บ้านปุยเมฆ 6 คน เหมาจ่าย 100 บาท/คน/คืน
-บ้านดาวจรัสแสง 8-10 คน เหมาจ่าย 100 บาท/คน/คืน
-บ้านฟ้าเรืองรอง 15 คน เหมาจ่าย 100 บาท/คน/คืน
-เอกพยอม 20 คน เหมาจ่าย 100 บาท/คน/คืน
-เต้นท์พักแรม
-เต้นท์ใหญ่ ขนาด 4-6 คน หลังละ 300 บาท/คืน
-นำเต้นท์มาเอง (ค่าบำรุงรัษาสถานที่) หลังละ 100 บาท/คืน
-อัตราค่าอาหาร
-อาหารเช้า 70 บาท/คน (ข้าวต้ม+กาแฟ+ขนม)
-อาหารกลางวัน 70 บาท/คน (อาหาร 2 อย่าง)
-อาหารเย็น 140 บาท/คน (อาหาร 4 อย่าง)

เกษตรที่สูงภูเรือ

-สนใจติดต่อ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเลย (ภูเรือ)
ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
โทร 042-039891 ,042-039892

การเดินทางมาเที่ยวเกษตรที่สูงภูเรือ

เส้นทางที่1 จากกรุงเทพมหานคร ตามถนนพหลโยธิน หมายเลข 1 ผ่านสระบุรี ถึงสามแยกพุแค ให้เข้าทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านเพชรบูรณ์ หล่มสัก เข้าทางหวงหมายเลข 203 จากหล่มสัก จะผ่าน หล่มเก่า เข้าด่านซ้าย ภูเรือ ก่อนถึง ภูเรือ 8 กม.สามแยกบ้านกกโพธิ์ เลี้ยวขวาเข้าศูนย์ ระยะทาง 24 กม. รวมระยะทางทั้งหมด 490 กม.

เส้นทางที่ 2 จากขอนแก่น ตามถนนมลิวัลย์ หมายเลข 12 ผ่านชุมแพ เข้าทางหลวงหมายเลข 201 ตรงไปจนถึงจังหวัดเลย เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 203 ถนน เลย-หล่มสัก จนถึงภูเรือเลี้ยวซ้ายตรงสามแยกบริเวณ โรงเรียนชุมชนภูเรือ อีก25 กม.ถึงศูนย์ มีป้ายบอกตลอดทางรวมระยะทาง 280 กม.

ข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเลย
รูปภาพจาก : http://www.เที่ยวเลย.com
เรียบเรียงข้อมูลทั้งหมดโดย http://www.เที่ยวเลย.com