พุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา

ผู้แต่ง

  • พระครูวิโรจน์อินทคุณ (เอกชัย อินฺทโชโต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วารีญา ม่วงเกลี้ยง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธศาสนา, ประชาชน, ประเทศศรีลังกา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มุ่งเน้นในการศึกษา 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเทศศรีลังกา 2. พุทธศาสนาในประเทศศรีลังกาและ 3. แนวโน้มพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา

ผลจากการศึกษาพบว่า 1. ประเทศศรีลังกา มีทรัพยากรที่มีค่ามาก เป็นดินแดนพุทธศาสนา แต่การต่อสู้กับพวกทมิฬ ยังมีอยู่ไม่ได้ขาดตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีหลายศาสนาที่ต้องการแย่งชิงฐานศรัทธาหรือผู้นับถือในศาสนานั้น ๆ 2. พุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา ในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช หลังจากการทำสังคายนา ครั้งที่ 3 พระองค์ได้ทรงจัดส่งสมณทูตประกาศพุทธศาสนา สายที่เดินทางไปศรีลังกา(เกาะสิงหล) มีพระมหินทเถระ เป็นหัวหน้าสาย พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะผู้เป็นสหายของพระเจ้าอโศกมหาราช ศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้มอบถวายมหาเมฆวัน สร้างเป็นวัดชื่อว่า วัดมหาวิหาร จึงเกิดมีพระภิกษุและภิกษุณีเป็นจำนวนมากถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองของพุทธศาสนาในยุคนั้น
3. แนวโน้มพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา ต้องอาศัยปัจจัยหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองที่เกิดจากในประเทศและต่างประเทศล้วนเป็นบ่อทำลายพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา ถ้าผู้นำประเทศมีความนับถือศรัทธาอย่างแท้จริงและเข้าถึงหลักธรรม มีรูปแบบที่ชัดเจนในการทำนุบำรุงพุทธศาสนา ก็จะเกิดความรุ่งเรืองคล้าย ๆ กับประเทศไทย

References

ชูศักดิ์ ทิพเกสร. (2508). พุทธศาสนาในศรีลังกา. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2551). พุทธศาสนากับสังคมการเมืองในศรีลังกา. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.matichon.co.th/newspaper-cover

ปิยนารถ บุนนาค. (2534). ประวัติศาสตร์และอารยธรรมของศรีลังกาสมัยโบราณถึงก่อนสมัยอาณานิคม และความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างศรีลังกากับไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2528). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ศิวพร.

พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์. (2525). ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างไทยกับลังกา ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

แม่กองบาลีสนามหลวง. (2553). เรื่องสอบบาลี. กรุงเทพฯ: อาทร การพิมพ์.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2560). บทบาทของลังกาทวีปในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาต่อพุทธศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

วอนเดอร์ฟูลแพคเกจ. (2565). การนับถือศาสนาในประเทศศรีลังกา. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, https://www.wonderfulpackage.com/article/v/415/

วัดญาณเวศวัน. (2565). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.watnyanaves.net/en/book-reading/289/11

Manorama, Y. (1996). Yearbook of India. India: Malayala Manorama.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-08