RSS

สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี

29 ต.ค.

2.1

สามพันโบก แก่งหินขนาดใหญ่ในลำน้ำโขง ที่มีความสวยงาม ยิ่งใหญ่ตระการตาเมื่อได้มาเห็นเป็นครั้งแรก จนทำให้อดนึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลกอย่าง “แกรนด์แคนยอน” ดินแดนแห่งหินผาและหุบเหว ในรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้เลยทีเดียว สามพันโบก ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า หมู่ที่ 4 ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีลักษณะเป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง ที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นจากการกัดเซาะของน้ำ (Hole Point) ในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินที่อยู่ใต้บาดาลจะถูกกัดเซาะด้วยพลังของน้ำที่ไหลวน อย่างรุนแรง และกระจายเต็มพื้นที่มาเป็นเวลาหลายพันปี จนทำให้แก่งหินเหล่านี้เกิด “รู” หรือ “โบก” น้อย-ใหญ่ขึ้นมากกว่า 3,000 แอ่ง จนกลายเป็นที่มาชื่อของ “สามพันโบก” ที่ชาวบ้านใช้เรียกกันในเวลาต่อมา ซึ่งคำว่า “โบก” ในภาษาอีสานหรือภาษาลาวก็แปลได้ว่า “หลุม” นั่นเองและเมื่อฤดูแล้งมาถึง “สามพันโบก” จะโพล่ขึ้นมาเหนือพื้นน้ำให้เห็นคล้ายเป็นภูเขากลางลำน้ำโขง โชว์ความสวยงามวิจิตรตระการตา ซึ่งหินดังกล่าวจะมีลักษณะและรูปทรงที่แตกต่างกันไปมากมายหลายหลาก เช่น รูปดาว รูปเต่า รูปหนู รูปหัวสุนัข ฯลฯ และด้วยชั้นหินที่กินพื้นที่กว้างใหญ่มาก จึงดูคล้ายกับแกรนด์แคนยอน ประเทศสหรัฐอเมริกา จนมีผู้ขนานนามสถานที่แห่งนี้ว่า “แกรนด์แคนยอนเมืองสยาม สามพันโบกเมืองอุบล”

2.2

2.3

2.4

การท่องเที่ยวสามพันโบก นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือจากหาดสลึงที่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่าน “ปากบ้อง” จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง ซึ่งมีความกว้างเพียง 56 เมตร และ “หินหัวพะเนียง” เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอน ในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ “บ้านสองคอน”

2.5

ตำนานสามพันโบก
จากประติมากรรมหินทรายที่มีรูปร่างดงามแปลกตา ก่อเกิดตำนานเรื่องเล่าตำนานพญานาคชุดแม่น้ำโขง ทุ่งหินเหลื่อม หินหัวสุนัข และปู่จกปู

2.6

2.7

ตำนานหินหัวสุนัข ทางเข้าของสามพันโบก มีหินก้อนหนึ่งคล้ายหัวสุนัข ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันว่า

ตำนานที่ 1 เล่าว่าแต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรืองอำนาจประทับใจความงามของสามพันโบก จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเพิ่มเติม เมื่อมาแล้วพบขุมทรัพย์เป็นทองคำ จึงให้สุนัข เฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองจะออกมา เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติเกิดความโลภ กลัวเสนาจะได้ส่วนแบ่งจึงได้ออกไปทางอื่น สุนัขผู้ภักดีก็เฝ้ารออยู่ตรงนั้นจนตายในที่สุด
ตำนานที่ 2 เล่าว่าลูกพญานาคที่อยู่ในลำน้ำโขง ต้องการขุดช่องระบายน้ำเพื่อให้เกิดลำน้ำอีกสายหนึ่งและได้มอบหมายให้สุนัขเป็นผู้เฝ้าทางระหว่างการขุดจนกระทั่งสุนัขได้ตายลงกลายเป็นหินรูปสุนัขในที่สุด

SONY DSC

การท่องเที่ยวสามพันโบก

หากต้องการไปชมสามพันโบกเพียงอย่างเดียวก็สามารถขับรถไปที่นั่นเพื่อชมความงามได้เลย เพราะที่ สามพันโบก รถสามารถเข้าไปจอดที่นั่นได้ และอยากล่องเรือไปชมยังจุดอื่นๆด้วย สามารถติดต่อขอเช่าเรือได้ที่สามพันโบกได้เลย มีเรือคอยให้บริการมากมาย  ล่องเรือจากหาดสลึง เพื่อชมความสวยงามทั้งสามพันโบกและตามจุดต่างในบริเวณใกล้เคียง โดยจุดเริ่มต้น ของการล่องเรือหากนักท่องเที่ยวพักที่หาดสลึง ที่สองคอนรีสอร์ท แจ้งทางรีสอร์ทเพื่อให้จัดเตรียมเรือไว้ ราคา 700-1,000 บาท แล้วแต่ขนาดของเรือ โปรแกรมการล่องเรือ คือ เริ่มต้นที่หาดสลึงซึ่งเป็นจุดขึ้นเรือ หลังจากนั่นก็จะผ่านไปยัง “ปากบ้อง”จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง และผ่านไป ยังหาดหงส์ และไปสิ้นสุดที่สามพันโบก

2.19

2.20

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้กับสามพันโบก

ปากบ้อง เป็นจุดชมวิวที่หมู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่มหัศจรรย์มากมาย ซึ่งจะสัมผัสได้ยามที่แม่น้ำโขงลดระดับลงได้ที่ในยามฤดูแล้งราวเดือนพฤศจิกายน – มิถุนายน ตลอดระยะทางที่ไหลผ่านประเทศไทย ยาวกว่า 700 กิโลเมตร เป็นจุดที่แม่น้ำโขง แคบที่สุด “ปากบ้อง” เป็นหน้าผาหินที่เกิดจากรอยแยกตัวของแผ่นหินทรายเปลือกโลก ลักษณะเหมือนคอขวด ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้ 56 เมตร

2.9

2.10

หินหัวพะเนียง อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็น เกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขงรูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถ อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือประมาณ 500 เมตร เกาะหินใหญ่โผล่ขวางกลางลำน้ำโขง หินหัวพะเนียง มีรูปร่างคล้ายใบไถไม้ (ในภาษาถิ่น พะเนียงคือแท่นไม้ที่ใช้สวมใบไถเหล็ก) ชาวบ้านจึงเรียกว่า หินหัวพะเนียง แต่ลักษณะหินในบริเวณนี้บางกลุ่มจะเป็นช่อแหลมคม ซึ่งเกิดจากการปะทุขึ้นมาของหินทรายร้อนคล้ายหินภูเขาไฟ แต่ไม่ใช่แมกมาหรือลาวา เมื่อปะทุขึ้นมาปะทะกับกระแสน้ำเย็นจึงแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีลักษณะเป็นช่อเรียกว่า “หินหัวพะเนียง” เป็นเกาะกลางแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย

2.11

2.12

 

แก่งสองคอน เกิดจากการเกาะหินหัวพะเนียงกลางลำน้ำโขงซึ่งเป็นเกาะหินขนาดใหญ่รูปลักษณ์แปลกตาที่ขนาบข้างด้วย 2 แก่งน้ำโขง ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสายหรือสองคอน (ในภาษาถิ่นคอนแปลว่าแก่ง) จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน

2.13
หาดสลึง เป็นหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ตั้งอยู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 115 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลฯ – ตระการพืชผล – โพธิ์ไทร) ในฤดูแล้ง ประมาณมกราคม – มิถุนายน เมื่อน้ำในแม่น้ำโขงลดระดับลง จะมีหาดทรายที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง จากตำนานเชื่อกันว่า ชื่อหาดสลึง เกิดจากการที่คนมาเล่นน้ำช่วงสงกรานต์นานมาแล้ว ในสมัยที่ใช้เหรียญสลึง 1 สลึงสมัยนั้น มีค่าสามารถซื้อควายได้ 1 ตัว ตามนิสัยของคนไทยบางคนเมื่อมารวมกันมาก มักจะมีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ผู้ที่มาเล่นน้ำที่หาดแห่งนี้ได้ตั้งคำท้าทายความสามารถโดยมีเดิมพันว่า ณ กลางเดือนเมษายน เวลาเที่ยงวันถ้าใครสามารถเดินหรือวิ่งบนหาดได้ตลอดแนว (ยาว 860 เมตร) โดยไม่แวะพักระหว่างวิ่ง จะได้รับเงินเดิมพัน 1 สลึง นับตั้งแต่มีการเดิมพันมาไม่เคยมีใครได้รับรางวัลนี้เลย ชาวบ้านจึงขนานนามหาดแห่งนี้ว่า “หาดสลึง”

2.14
การตักปลาที่บ้านสองคอน ประเพณีตักปลา ในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ มีการ “ตักปลา” หน้าปากบ้อง เพราะเป็นการจับปลาที่แปลกประหลาดกว่าที่อื่นๆ ไม่ต้องใช้เหยื่อตกเบ็ดหรือทอดแห แต่ใช้สวิงขนาดใหญ่ด้ามยาวคล้ายสวิงจับแมลงขนาดใหญ่คอยตักปลาที่วายจากเวินน้ำกว้างจะแหวกว่ายผ่านปากบ้องทวนกระแสน้ำเพื่อขึ้นไปวางไข่ได้ร่วมกันจัดงาน “เทศกาลตักปลา” ช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก

2.15
หินหัวพะเนียง อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือ มีแก่งใหญ่ขวางกลางลำน้ำโขง ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่นจึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน และในบริเวณใกล้เคียงยังมีถ้ำที่มีความสวยงามในลำน้ำโขงประกอบด้วย ถ้ำนางต่ำหูกหาดหินสี แก่งสองคอน
ผาหินศิลาเลข ร่องรอยประวัติศาสตร์สมัยฝรั่งเศสเรืองอำนาจ ในแถบอินโดจีน ฝรั่งเศสได้นำเรือกลจักรไอน้ำขนส่งสินค้าระหว่าง หลี่ผี เวียงจันทน์อยู่ก่อนถึงหาดหงส์ ที่ฝรั่งเศสแกะสลักตัวเลขที่หน้าผาหิน สำหรับบอกระดับน้ำในแม่น้ำโขง เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ เนื่องจากหน้าที่น้ำหลากบริเวณนี้จะมีแนวหินโสโครกจำนวนมาก

2.16   2.17
หาดหงส์ เนินทรายแม่น้ำโขงขนาดมหึมาเกิดจากการพัดพาของน้ำและนำตะกอนทรายมาทับถมกันจนลักษณะพื้นที่เป็นพื้นทรายกว้างใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับทะเลทรายที่กว้างใหญ่ ช่วงเวลาที่นิยมมาเที่ยวหาดหงส์จะเป็นช่วงเวลาในยามบ่ายแก่ๆ ช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่สวยงามมาก เพราะแสงทองของดวงอาทิตย์จะกระทบกับทรายสีขาวระยิบระยับสวยงาม

 

แผนที่ : สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี 

2.18+

 

 

 

ที่มา : http://www.oceansmile.com/

 

 

ใส่ความเห็น