ไม้นิ้ว เอื้องมอนไข่ชมพู/มอนไข่เวียดนาม

ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยนิ้ว
ประเภทสินค้า : กล้วยไม้เวียดนามพันธุ์แท้หาพบยากในธรรมชาติ
ราคา : 100 บาท
ค่าจัดส่งEMS : ค่าจัดส่งขั้นต่ำ 80 – 100 บาท ในกรณีสั่งซื้อจำนวนมากทางเว็บไซค์จะส่งค่าสรุปรายการค่าจัดส่งไปพร้อมกับเมลสรุปรายการสินค้าครับ

Slide 1

เอื้องมอนไข้เวียดนาม หรือมอนไข่ชมพูเป็น กล้วยไม้ ในกลุ่มเดียวกันกับเอื้องมอนไข่ เอื้องมัจฉานุ เอื้องมอนไข่เหลื่ยม กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้ที่ มีถิ่นกำเนิดจาก เวียดนาม และบางส่วนของจีนตอนใต้ ลักษณะต้นจะผอมกว่าเอื้องมอนไข่ของไทย ดอกเป็นช่อแบบเดียวกันกับเอื้องมอนไข่ ดอกมีสีขาวอมชมพู จนไปถึงสีชมพูเข้มทั้งกลีบ ด้านในกลีบปากมีแต้มสีเหลืองเข้ม กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย ชอบเครื่องปลูกที่ชื้นแต่ไม่แฉะ และชอบแสงปานกลาง
กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงจากขวด ซึ่งมีการปรับตัวให้เลี้ยงง่ายเข้ากับสภาพแวดล้อม เลี้ยงได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศร้ิอน ในทุกพื้นที่ของไทย การปลูกเลี้ยงก็เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลหวายทั่วไป ใช้เครื่องปลูกที่ระบายน้ำได้ดี เช่นถ่านผสมกับกาบมะพร้าวสับ หรือรากเฟินชายผ้าสีดาหั่นเป็นชิ้น สถานที่ปลูก ควรมีแสงรำไร อากาศถ่ายเทสะดวก ให้น้ำวันละครั้งให้ชุ่ม ช่วงเช้าตรู่ หรือช่วงค่ำ บำรุงต้นด้วยการฉีดพ่น ปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำสูตรเสมอ21-21-21 อาจใช้สลับกับปุ๋ยสูตรตัวกลางตัวท้ายสูง16-21-27เป็นบางครั้ง ตามอัตราส่วนอาทิตย์ละครั้งหรืออาจเสริมด้วยปุ๋ยเม็ดละลายช้าสูตร3เดือน โรยเพียงเล็กน้อย(ประมาณ5-6เม็ด)บริเวณใกล้โคนต้น บนผิวหน้าของเครื่องปลูก -สารเคมีป้องกันเชื้อรา ฉีดพ่นสลับกันเป็นระยะ การดูแลที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ จะทำให้กล้วยไม้โตเร็ว แตกกอได้ดี และโตจนได้ขนาดสมบูรณ์ ก็จะ ออกดอกเป็นช่อสีหวานสวยงาม

http://www.orchidtropical.com/itemid139.php

การบำรุงดูแลรักษากล้วยไม้

การเจริญเติบโตของกล้วยไม้
การเจริญเติบโตของกล้วยไม้ทุกชนิด อาศัยปัจจัยตามธรรมชาติ 4 ประการ คือ
          1. แสงสว่าง (Light) ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง มีอิทธิพลต่อสีของใบกล้วยไม้ ความยาวของลำต้น และความเร็วในการออกดอก ถ้าแสงสว่างน้อยใบจะมีสีเขียวเข้ม ลำต้นสูงชะลูดแบบบาง เปราะ หักง่าย และจะออกดอกช้า
          2. ความชุ่มชื่น (Humidity) เป็นตัวลำเลียงสารต่าง ๆ ภายในเซลล์ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในเนื้อเยื่อ ต่าง ๆ ทำให้กล้วยไม้สดชื่น และคงรูปร่างอยู่ได้
          3. อุณหภูมิ (Temperature) มีผลต่อกระบวนการในการสังเคราะห์ด้วยแสงและการดูดน้ำของกล้วยไม้
          4. บรรยากาศ (Atmospheric Air)ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ในอากาศมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ก๊าซออกซิเจนที่กล้วยไม้หายใจก่อให้เกิดเป็นพลังงานที่นำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ต่าง ๆ อากาศเป็นสื่อถ่ายเทความชื้นและความร้อยหนาวให้แก่ต้นกล้วยไม้ด้วย ปัจจัยสำคัญเหล่านี้จะต้องมีความพอเหมาะ กับความต้องการของกล้วยไม้เป็นสำคัญ

การให้น้ำ
น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ต้นอ่อนและต้นที่โตแล้วจะต้องเป็นน้ำที่ใสสะอาดไม่มีตะกอนขุ่น ไม่มีกลิ่น มีความเป็นกรดอ่อน ถึงเป็นกลาง คือมีค่า pH ประมาณ 5-7 เพราะน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ จะช่วยละลายธาตุอาหารบางอย่าง เช่นพวกเกลือฟอสเฟตให้ต้นกล้วยไม้ดูดเอาไปใช้เป็นอาหารได้ดี และปริมาณเกลือแร่ต่าง ๆ ที่ละลายในน้ำมีน้อย น้ำฝนเป็นน้ำรดกล้วยไม้ที่ดีที่สุด รองลงไปคือน้ำประปา ส่วนน้ำบาดาลนั้นแต่ละท้องที่อาจจะมีเกลือแร่ต่าง ๆ เจือปนอยู่ไม่เหมือนกัน ควรตรวจสอบก่อนใช้ และอาจต้องกรองแยกสนิมเหล็ก รวมทั้งปรับค่า pH ให้พอเหมาะเสียก่อน หากใช้ไปแล้วประมาณ 2-3 ปี คุณภาพของน้ำบาดาลก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นได้ น้ำจากแม่น้ำ ลำคลองที่สะอาด ไม่มีขยะเจือปน ก่อนใช้ควรกรองหรือปล่อยให้ตกตะกอนและปรับระดับค่า pH ส่วนน้ำบ่อนั้นหากเป็นบ่อขุดใหม่อาจมีเกลือแร่ที่เป็นอันตรายต่อกล้วยไม้อยู่มาก ควรตรวจสอบก่อนใช้เช่นกัน

อุปกรณ์สำหรับให้น้ำกล้วยไม้ มีดังนี้
       (1) เครื่องพ่นน้ำขนาดเล็กแบบสูบลมด้วยมือ เหมาะสำหรับใช้พ่นน้ำแก่ลูกกล้วยไม้อ่อน
       (2) บัวรดน้ำชนิดฝอยละเอียด มีก้านบัวยาว เพื่อสามารถสอดก้านเข้าไปรดกระถางหรือกระเช้าซึ่ง
แขวนอยู่บนราวในเรือนกล้วยไม้ได้สะดวก
       (3) หัวฉีดต่อกับสายยาง หัวฉีดเป็นชนิดที่พ่นน้ำเป็นละอองฝอยมีแรงกระแทกต่ำ ใช้รดน้ำได้สะดวก รวดเร็ว เหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก
      (4) ระบบฝนเทียม ทำได้โดยการติดตั้งหัวฉีดพ่นน้ำเป็นฝอยไว้ทั่วเรือนกล้วยไม้เมื่อเปิดก๊อกหรือเดินเครื่องสูบน้ำ ก็จะมีฝอยน้ำทั่วโดยไม่ต้องใช้คนถือหัวฉีด ใช้เวลาน้อยแต่ควบคุมปริมาณการให้น้ำในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ให้มากน้อยได้ง่าย

วิธีการให้น้ำลูกกล้วยไม้
  ในกระถางหมู่หรือกระถางนิ้วนั้น ในระยะ 2-3 วันแรกยังไม่ควรให้น้ำเนื่องจากได้รับ
ความกระทบกระเทือนจากการนำออกจากขวดเพาะและการปลูก อาจทำให้รากหรือใบเน่าได้ง่าย หลังจากนั้นจึงพ่นน้ำเป็นละอองพอชื้น ๆ ด้วยเครื่องพ่นน้ำแบบสูบลมด้วยมือ วันละ 1-2 ครั้ง คือตอนเช้าและเย็น เมื่อนำกระถางหมู่หรือกระถางนิ้วไปไว้ในเรือนเลี้ยงกล้วยไม้แบบโปร่งแล้ว พ่นน้ำให้วันละ 2-3 ครั้ง ต่อมาเมื่อลูกกล้วยไม้เจริญเติบโตดี มีรากแข็งแรง และเดินได้ดีแล้วอาจจะรดด้วยบัวรดน้ำก็ได้

การให้ปุ๋ย
กล้วยไม้ต้องการปุ๋ยไปช่วยเสริมสร้างความเจริญเติบโตของส่วนต่าง ๆ เช่นเดียวกับพืชอื่น ๆ กล้วยไม้ที่อาศัยเกาะอยู่บนต้นไม้ก็จะได้อาหารจากเปลือกไม้ใบไม้ที่เน่าเปื่อยผุพังสลายตัวเป็นสารประกอบต่าง ๆ โดยการดูดซึมผ่านทางรากเข้าสู่ต้น แต่กล้วยไม้ที่นำมาปลูกไว้ในกระเช้าหรือกระถางไม่มีเปลือกไม้หรือใบไม้ เน่าเป็นอาหาร จึงจำเป็นต้องให้ปุ๋ย

ข้อควรพิจารณาในการให้ปุ๋ย มีดังนี้
      1. การเลือกใช้ปุ๋ย   เลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะกับชนิด และขนาดของกล้วยไม้และให้ถูกกับความประสงค์ของผู้ปลูก กล้วยไม้แต่ละชนิดต้องการปุ๋ยไม่เท่ากันกล้วยไม้ที่ปลูกในที่โล่งแจ้งและทนต่อแสงแดด เช่นกล้วยไม้สกุลหวาย ต้องให้ปุ๋ยมากกว่ากล้วยไม้ที่ปลูกในที่ค่อนข้างร่ม เช่นกล้วยไม้สกุลคัทลียา กล้วยไม้ที่ปลูกด้วยเครื่องปลูก เช่น กาบมะพร้าว ออสมันด้า เศษไม้ หรือปลูกให้ติดกับท่อนไม้ ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ สามารถสลายตัวให้ธาตุอาหารแก่กล้วยไม้ได้บ้าง ก็อาจจะให้ปุ๋ยน้อยกว่ากล้วยไม้ที่ปลูกด้วยถ่าน ก้อนหิน ก้อนกรวด หรือปลูกในกระเช้าไม้โดยไม่ใส่เครื่องปลูกเลย ลูกกล้วยไม้และกล้วยไม้ต้นใหญ่ก็ต้องการปุ๋ยไม่เหมือนกัน หรือผู้ปลูกต้องการให้กล้วยไม้ออกดอกเร็วขึ้น ราก ลำต้น ใบ เจริญเร็วขึ้น ก็ต้องเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสม
      2. น้ำ  น้ำที่ใช้ผสมกับปุ๋ยต้องเป็นน้ำสะอาด และต้องให้ปุ๋ยละลายในน้ำจนเต็มที่เสียก่อน จึงค่อยนำไปใช้ ้รดกล้วยไม้
      3. เวลา เวลาที่เหมาะสมกับการให้ปุ๋ย ตั้งแต่เช้าตรู่จะกระทั่งประมาณ 11.00 น. เนื่องจากแสงแดดจะช่วย ให้กล้วยไม้ใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้เต็มที่ วันใดที่ครึ่มฟ้าครึ่มฝน แม้ว่าถึงกำหนดให้ปุ๋ยก็ไม่ควรทำเนื่องจากจะ ไม่มีประโยชน์ต่อกล้วยไม้เท่าที่ควร และฝนอาจชะล้างปุ๋ยไปเสียหมดก็ได้
     4. ความถี่ในการให้ปุ๋ย   ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยไม้ สภาพเรือนกล้วยไม้เครื่องปลูกความเข้มของการ ให้ปุ๋ยแต่ละครั้ง เป็นต้น โดยทั่วไปจะให้ปุ๋ย 7-15 วันต่อครั้ง ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องแรงงานหรืออื่น ๆ ควรจะให้ปุ๋ยเข้มข้นน้อย ๆ แต่ให้บ่อยครั้งขึ้น
วิธีการให้ปุ๋ย
ดังนี้ ในระยะแยกลูกกล้วยไม้ลงกระถางหมู่หรือกระถางนิ้วไม่ควรให้ปุ๋ย อาจทำให้รากเน่าได้ ต้องรอจนกว่ารากเริ่มเกาะเครื่องปลูกแล้ว ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงให้ปุ๋ยสูตรที่เร่งการเจริญของราก คือปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูงกว่าไนโตรเจน เช่น สูตร 10-24-24 หรือสูตร 10-52-17 ละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นประมาณหนึ่งในสี่หรือครึ่งหนึ่งของคำแนะนำ โดยใช้เครื่องพ่นน้ำชนิดเป็นละออง พ่นน้ำปุ๋ยประมาณสัปดาห์ละครั้ง ควรให้ปุ๋ยตอนเช้าที่มีอากาศแจ่มใส ถ้าเห็นว่าลูกกล้วยไม้เจริญแข็งแรงดี รากเกาะเครื่องปลูกดีแล้ว อาจจะใช้ บัวรดน้ำปุ๋ยแทนการพ่นด้วยเครื่องพ่นก็ได้ เมื่อย้ายลูกกล้วยไม้ ้จากกระถานนิ้วไปปลูกในกระเช้าไม้ ในระยะแรกยังไม่ควรให้ปุ๋ย รอให้รากเริ่มเกาะเครื่องปลูกหรือภาชนะปลูกแล้ว จึงให้ปุ๋ยสูตรเร่งราก คือปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนต่ำกว่าธาตุฟอสฟอรัสและ โปแตสเซียมจนเห็นว่ารากเจริญแข็งแรงดี จึงเปลี่ยนปุ๋ยเป็นสูตรเร่งความเจริญเติบโตของใบและต้น คือปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าธาตุฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมหรือใช้สูตรที่มีเรโชเท่ากัน ทุก ๆ 7-15 วัน
      5. ปริมาณ   ควรให้ปุ๋ยในปริมาณและผสมน้ำตามส่วนที่ระบุไว้ในคำแนะนำ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าปริมาณปุ๋ยที่แนะนำจะเข้มข้นเกินไปหรือไม่ ก็ควรลดปริมาณปุ๋ยที่ผสมแต่ละครั้งลง และให้ปุ๋ยบ่อยครั้งขึ้นอุปกรณ์การให้ปุ๋ยก็เหมือนกับอุปกรณ์สำหรับใช้ในการให้น้ำกล้วยไม้นั่นเอง

 

ที่มาจาก http://kluaymai.freetzi.com/spirit.html

กล้วยไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รองเท้านารีอินทนนท์

กล้วยไม้ป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รองเท้านารีอินทนนท์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphiopedilum villosum (Lindl.) Stein) เป็นกล้วยไม้มีลักษณะ พุ่มต้นกว้าง ในประเทศประมาณ 25-30 ซม. ใบกว้าง 3.5-4 ซม. ยาว 30-40 ซม. ใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ใต้ใบบริเวณโคนกาบใบ มีจุดประสีม่วง แตกหน่อได้ดี มักเจริญเติบโตเป็นกอใหญ่ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ขนาดประมาณ 10-12 ซม. ก้านดอกตั้งตรงยาว 10-12 ซม. กลีบดอกหนาเป็นมันเงา พื้นดอกสีเหลืองปนน้ำตาล กลีบบนบริเวณขอบมีสีเหลืองหรือขาว โคนกลีบบนสีน้ำตาลเข้ม กลีบในมีเส้นสีน้ำตาลเข้มแบ่งกึ่งกลางตามความยาวกลีบ กระเป๋าสีน้ำตาลเป็นมันเงา มีเส้นร่างแหสีน้ำตาล ฤดูการออกดอกในช่วง มกราคม – มีนาคม แหล่งที่พบพบในทำเลที่เป็นป่าดิบภูเขา ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่หนา โดยขึ้นอยู่สูงประมาณ 1200-1500 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นรองเท้านารีชนิดอิงอาศัย (Epiphytic) โดยพบขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ที่มีลักษณะเปลือกหนา มีการผุพังของเปลือกไม้ง่าย ปกคลุมด้วย มอส เฟิร์น ตะไคร่น้ำ อุ้มความชื้นได้ดี โดยหยั่งรากไปตามเปลือกไม้ ตามดอยสูงทางภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์ และดอยเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ดอยแม่อูคอจังหวัดแม่ห้องสอน และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณภูหลวงจังหวัดเลย พม่า อินเดีย ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

เอื้องใบหมาก

เอื้องใบหมาก

เอื้องใบหมาก (Coelogyne trinervรs Lindl.) เป็นเอื้องเทียนที่พบทั่วไป เลี้ยงง่าย โตเร็ว ออกดอกง่ายในหน้าฝน เป็นช่อ สวยงามทีเดียว แต่เหม็นเขียวมาก เรียกได้ว่าออกดอกเมื่อไหร่ได้กลิ่นเหม็นแต่ไกล ดังนั้นคงเดาได้ว่าแมลงที่มาผสมเกสร คงเป็นพวกแมลงวันและด้วงเสียมากกว่าผึ้งหรือผีเสื้อ ใครทนกลิ่นเหม็นไม่ได้ไม่ควรหามาเลี้ยงเด็ดขาด แต่ถ้าใครชอบเลี้ยงกล้วยไม้กลุ่มสิงโตละก็ คงไม่รู้สึีกแปลกอะไร กลิ่นคล้ายๆ สิงโตดอกไม้ไฟครับ

เอื้องนวลจันทร์

เอื้องนวลจันทร์

เอื้องนวลจันทร์ เอื้องนวลจันทร์ ชื่ออื่นๆ : เอื้องเหลืองพิศมร เอื้องเหลืองศรีสะเกษ เอื้องดินลาว หัวข้าวเหนียว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spathoglottis lobbii Lindl.

ลักษณะ : เป็นหัวขนาดเล็กสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ใบกว้าง 2 ซม. ยาว 20-30 ซม. ทิ้งใบร่วงหมดในฤดูร้อน ดอกเป็นช่อตั้งตรงราว 20-30 ซม. มีขนละเอียดปกคลุม ช่อละ 4-6 ดอก ออกรอบๆ ก้านช่อดอกโดยเรียงสลับกัน ดอกสีเหลือง กลีบนอกคู่ล่างมีเส้นสีม่วงประปราย ปลายปากดอกผายกว้างและมีร่อง โคนปากมีจุดและแถบสีแดง ขนาดดอก 2.5-3 ซม. ช่วงเวลาออกดอก พ.ค. – พ.ย. แหล่งที่พบ : ขึ้นตามพื้นดินขึ้นในทุ่งหญ้าและลานหินที่มีน้ำไหลผ่าน พบได้ทุกภาคของไทย แหล่งที่พบขึ้นเยอะ คือ ทุ่งโนนสน เขาสมอปูน ภูหินร่องกล้า และที่อื่นๆ ดอกนี้ถ่ายที่ ภูสอยดาว จ. อุตรดิตถ์ 11 ส.ค.

สร้อยระย้า

สร้อยระย้า
สร้อยระย้า สร้อยระย้า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Otochilus albus Lindl. ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE ชื่ออื่นๆ :

ลักษณะ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปทรงกระบอกต่อกันดูคล้าย ไส้กรอก ใบ รูปใบหอก กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 14-18 ซม. ออกคู่ที่ปลายลำลูกกล้วย ดอก ออกเป็นช่อยาวห้อยลง 10-15 ซม. โคนช่อดอกมีกาบประดับเรียงซ้อนกัน ดอกมีจำนวน 20-25 ดอก ดอกสีขาว บานเต็มที่กว้าง 1 ซม. เส้าเกสรเรียวยาว การกระจายพันธุ์ และนิเ้วศวิทยา พบตามป่าดิบเขาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ ออกดอกเดือนพฤษภาคม

เอื้องสำเภางาม

เอื้องสำเภางาม

เอื้องสำเภางาม ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือและอีสานของไทย ,เวียดนาม ,เกาะไหหลำ พบขึ้นบนภูเขาสูง เอื้องสำเภางามเป็นซิมบิเดี้ยมชนิดที่ขึ้นกับพื้นดิน ใบยาวเหมือนใบกกใบหญ้า ช่อดอกยาวได้ถึง 120 ซม. ออกดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกมีขนาดใหญ่ สีชมพูอ่อน เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของลูกผสมต่างๆ จำนวนมาก สำหรับต้นนี้ถ่ายที่บริเวณใกล้ๆกับบริเวณที่กางเต๊นท์ ที่ภูหลวง จ.เลย ออกดอกในช่วงฤดูหนาว

เข็มแสด

เข็มแสด

เข็มแสด (Asctm. miniatum) ลักษณะต้นเตี้ยแคระใบหนา แข็งซ้อนติดกันแน่น ต้นมักสูงไม่เกิน 30 ซม. แต่กหน่อเป็นกอโต ขนาดใบกว่าง 1.5 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. ปกติสีเขียว แต่ถ้าได้แดดมากจะมีประสีม่วงบนใบมาก ก้านช่อแข็งตั้งตรงสูง ประมาณ 15 ซม. ดอกดกแน่นช่อ ช่อละประมาณ 50 ดอก ขนาด ดอกโต ประมาณ 1.5 ซม. ปลายกส้นเกสรเห็นเป็นจุดสีดำ สีส้มอ่อนไปจนถึงสีส้มแก่สดใสสะดุดตามาก พบขึ้นในป่าโปร่งแห้งแล้งทั่วไปในทุคภาพ ฤดูดอกในราวเดือน กุมภาพันธ์ถึง มีนาคม เลี้ยงง่ายออกดอกง่าย บองต้นออกดอกในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนอีกครั้งหนึ่งก็มี

รองเท้านารีสุขะกูล

รองเท้านารีสุขะกูล

รองเท้านารีสุขะกูล , รองเท้านารีปีกแมลงปอ

ลักษณะ : ใบยาวรีขนาด 10-12 x 2.5-3 ซม. ปลายแหลมและมีหยักแหลมตื้น แผ่นใบด้านบนลายเขียวอ่อนประสีเขียวแก่ ด้านล่างสีเขียวอ่อนอมเท่า ก้านช่อดอกสูง 18-30 ซม. สีม่วง มีขน ดอกในช่อ 1 ดอก ขนาด 5-8 ซม. กล้วยไม้ชนิดนี้พบเมื่อปี พ.ศ. 2507 โดยคุณประสงค์ สุขะกูล ปัจจุบันพบน้อยมาก และอาจใกล้สูญพันธุ์ในแหล่งธรรมชาติ ฤดูออกดอก : สิงหาคม – ตุลาคม แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตการกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะในประเทศไทย ที่มา : หนังสือกล้วยไม้เมืองไทย โดย รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง

เอื้องคำตาดำ

เอื้องคำตาดำ
ลักษณะต้น ลำต้นเป็นลำยาวรี มีสีเขียวอมเหลือง มีร่องเป็นแนวยาวไปตามลำต้น ใบเป็นรูปรี แผ่นใบค่อนข้างเหนียวและหนา ขนาดประมาณ 8-12 ซม. ในต้นลำหนึ่งมี 3-6 ใบ เรียงตัวเวียนสลับใกล้ยอด ลักษณะดอก ช่อดอกเกิดจากข้อใกล้ยอด ลักษณะช่อดอกจะโค้งงอลง ความยาวเกือบเท่าลำต้น ดอกมีสีเหลืองสด ช่อดอกจะค่อนข้างโปร่ง ขนาดดอก 2-3 ซม. ที่ปากจะมีลักษณะเหมือนขนอ่อนๆ และมีกลิ่นหอม ฤดูออกดอก มีนาคม – เมษายน แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้

เอื้องสายน้ำผึ้ง

เอื้องสายน้ำผึ้ง
เอื้องสายน้ำผึ้ง

เอื้องสายน้ำผึ้ง ชื่ออื่นๆ : เอื้องสายเหลือง เอื้องสายประสาท ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dendrobium primulinum Lindl. วงศ์ : ORCHIDACEAE เอื้องสายน้ำผึ้งเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีการเจริญทางข้าง ลำต้นกลมเป็นสายยาวโค้งลง ยาว 30-60 ซม. ลำต้นกลมเกือบจะเท่ากันตลอด บางต้นตรง บางต้นงอ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปใบหอก ยาว 8-10 ซม. เล็กลงไปทางยอด ปลายใบตัดเฉียง ใบที่อยู่กลางๆลำลูกกล้วยจะยาวกว่าใบที่อยู่ปลายลำ ดอกช่อ แบบช่อกระจะ ช่อดอกเกิดที่ข้อของลำลูกกล้วยที่ทิ้งใบแล้ว แต่ละช่อมีดอก1-2 ดอก ขนาดดอกประมาณ 5-7 ซม. ดอกมีกลิ่นหอม กลีบนอกและกลีบในรูปรีขนาด เกือบเท่ากัน สีม่วงหรือสีม่วงอ่อน ขอบกลีบดอกเรียบ กลีบปากรูปกรวยสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบปากบานออก ที่โคนกลีบสีม่วงกระจาย มีขนเล็กๆ กระจัดกระจายทั่วทั้งพื้นผิวด้านบนและด้านล่าง ขอบของกลีบปากเป็นขน ฝาปิดเกสรตัวผู้สีม่วง ผลแห้งแตก เมล็ดขนาดเล็ก ออกดอกเดือน กุมภาพันธุ์- มีนาคม การขยายพันธุ์ แยกต้น เพาะเมล็ด ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ ถิ่นกำเนิด ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย เนปาล ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เมียนมาร์ ไทย ลาว เวียตนาม จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย พบอยู่บนกิ่งไม้ในป่าผลัดใบและป่าดิบ ชอบแดด ภาคเหนือ ได้แก่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่เลย ภาคตะวันตกได้แก่ กาญจนบุรี ภาคกลางได้แก่ เพชรบรูณ์ พิษณุโลก อุทัยธานี

เอื้องกุหลาบพวงชมพู

เอื้องกุหลาบพวงชมพู (Aer. krabiensis) เป็น เอื้องกุหลาบที่เพิ่งพบกันเมื่อราว 10 ปีมานี้เอง และตั้งชื่อตามจัวหวัดที่พบครั้งแรก เป็นเอื้องกุหลาบขนาดย่อมและพบว่ามีขนาดเล็กแบบ miniature ด้วย คือเล็กกว่าต้นย่อมราวเท่าตัว และดอกเล็กกว่าด้วย ลักษณะทรงต้นเตี้ย ใบเล็กและหนาแข็ง กว้าง 1-2 ซม. ยาว 7-12 ซม. ถ้าเป็นชนิดต้นใบแผ่ แต่ถ้าเป็นชนิดต้นเล็กใบแคบเรียวยาวปลายโค้งใบออกซ้อยชิดกันพอประมาณก้านช่อ ดอกยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดของต้นคือยาวประมาณ 15-25 ซม. ปลายช่อดอกที่ตอนปลายอืกราว 10 ซม. เท่านั้น ดอกย่อมโตประมาณ 1.2-1.8 ซม. สีชมพูสดไปจนถึงสีม่วงแดงแก่พบขึ้นตามภูเขาหินปูนตามเกาะและชายฝั่งทะเลใน เขตจัวหวัดกระบี่ และพังงา

รองเท้านารีเหลืองเลย

รองเท้านารีเหลืองเลย
Paphiopedilum hirsutissimum (Lindl.ex Hook.) Stein var. esquirolei (Schltr.) Cribb สกุลย่อย Paphiopedilumรองเท้านารีเหลืองเลย หมู่ Paphiopedilum จำนวนโครโมโซม 2n=26

ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เวียดนาม และทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เช่น จังหวัดเพชรบูรณ์ เลย ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐-๑,๘๐๐ เมตร ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดินหรือพืชอิงอาศัย ต้น มีพุ่มใบขนาด ๒๘-๓๒ เซนติเมตรรองเท้านารีเหลืองเลย ใบ รูปแถบ รองเท้านารีเหลืองเลยกว้าง ๑-๒ เซนติเมตร ยาว ๒๘-๓๒ เซนติเมตร แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกตั้งตรง สีเขียว ยาว ๑๗-๒๕ เซนติเมตร และมีขนสีม่วงแดงปกคลุมจำนวนมาก เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด ๘-๑๐ เซนติเมตร กลีบนอกบนมีสีเหลืองอมเขียว หรือเขียวอ่อน มีจุดสีน้ำตาลอมม่วงจำนวนมาก โคนกลีบสีเหลือง ถัดมามีจุดประสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายกลีบสีชมพูและบิดเล็กน้อย ขอบกลีบบนย่นเป็นคลื่นและมีขนสั้นปกคลุม กระเป๋ามีสีเหลืองและจุดประสีม่วงกระจายทั่ว โล่สีเหลือง และมีจุดประสีน้ำตาลจำนวนมาก รูปทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด ๑ เซ็นติเมตร มีจุดสีขาวนวล ๓ จุด ฤดูออกดอก ธันวาคม – มีนาคม ลักษณะนิสัย ชอบอากาศเย็น ถ้านำมาปลูกในกรุงเทพฯ จะไม่ออกดอก

เอื้องแสดครั่ง

เอื้องแสดครั่ง

ชื่อวิทย์ Dendrobium unicum Seidenf. ชื่อไทย เอื้องครั่งแสด,เอื้องสายสีแสด ลักษณะทั่วไป ลำต้น ลักษณะเป็นลำลูกกล้วยเจริญเติบโตด้านข้าง ลำลูกกล้วยมีสีน้ำตาลเข้ม มีร่องตื้นๆตามยาว เป็นแท่งกลม สูงประมาณ 25-60 ซม. ใบ รูปขอบขนานแกมรูปรีแผ่นใบบาง ร่วงก่อนฤดูออกดอก ใบยาวประมาณ 3-8 ซม. กว้างประมาณ 1-2 ซม. ดอก ช่ออกเกิดตามข้อ ก้านช่อสั้น ช่อละ3-12 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคู่ข้างบิดตัวแล้วม้วนลงเมื่อบานขึ้น ดอกสีส้ม ปลายกลีบดอกสีขาว ปากสีขาว และมีเส้นสีม่วงออกแดง ดอกบานนานประมาณ 1 สัปดาห์ ราก เป็นแบบรากกึ่งอากาศ (Semi-epiphytic) ช่วงเวลาออกดอก กุมภาพันธ์ – เมษายน แหล่งที่พบในประเทศไทย ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ และป่าสน ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร ทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตและหมิ่นเหม่ต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง แหล่งแพร่กระจาย ไทย ลาว และฟิลิปินส์

เอื้องพญาไร้ใบ

เอื้องพญาไร้ใบ

เอื้องพญาไร้ใบ พญาไร้ใบ ช่อ ดอกค่อนข้างโปร่ง ยาว 10-25 ซม. ขนาดดอกประมาณ 1.5 ซม. ดอกบานใหม่สีเขียวอ่อนอมเหลือง ต่อมาสีเหลืองมากขึ้นและอาจมีแต้มจุดประในบางพันธุ์ ผิวกลีบด้านนอกมีขนสั้นนุ่มกระจาย ขอบกลีบเรียบ ดอกบานทนเช่นกัน ฤดูดอก มีนาคม-พฤษภาคม แหล่งที่พบในประเทศไทย พบตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณเกือบทุกภาคยกเว้นภาคกลาง เขตการกระจายพันธุ์ ภาคเหนือของอินเดีย เนปาล ภูฏาน สิกขิม จีน และพม่า

สิงโตธานีนิวัต

สิงโตธานีนิวัต
วงศ์ย่อย : Epidendroideae ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bulbophyllum dhaninivatii Seidenf. ชื่อไทย : สิงโตกำมะหยี่ สิงโตกำมะหยี่หรือสิงโตธานีนิวัตินี้ ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแด่กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร (พระองค์เจ้าธานีนิวัต) ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็กทิ้งใบหลังจากมีดอก หัวกลมหรือรูปไข่ ขนาดประมาณ 1 ซม. ใบ : ใบรูปรี แผ่นใบบางและอ่อน มี 2 ใบต่อลำลูกกล้วย ขนาดกว้าง 1.5 – 2 ซม. ยาว 4-7 ซม. ดอก : ก้านช่อสั้น ทั้งช่อขนาดกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5 – 2.5 ซม. ดอกขนาดประมาณ 5 มม. กลีบกางออกจากกันเล็กน้อย ขอบกลีบงุ้มเข้า ด้านนอกมีขนนุ่ม ฤดูดอก : พฤศจิกายน – ธันวาคม แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามป่าดิบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป เขตการกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะในประเทศไทย เขียนโดย นกสีฟ้า ที่ 11:27 หลังเที่ยง ป้ายกำกับ: สกุล Bulbophyllum

เอื้องสายน้ำผึ้งลาว

เอื้องสายน้ำผึ้งลาว 

เอื้องสายน้ำผึ้งลาว. เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย Den. anosmum ลำ ลูกกล้วยห้อยลงเป็นสายยาว ใบรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลม ดอกเดี่ยวออกตามข้อ ดอกกว้าง 4-5 เซนติเมตร สีม่วงอ่อน กลีบปากรูปทรงกลมปลายแหลม โคนกลีบปากม้วนเข้าหากันและมีแต้มสีม่วงเข้มทั้งสองด้าน ผิวกลีบด้านในมีขนปกคลุม ผิวด้านนอกมีขนเฉพาะขอบกลีบ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ช่วงออกดอกมักผลัดใบ พบทางภาคใต้

เหลืองจันทบูร

เหลืองจันทบูร 

เหลืองจันทบูร แม้ จะไม่โดดเด่นมากนักในบรรดากล้วยไม้ทั้งหลาย แต่ด้วยความที่เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของประเทศไทยทำให้ตัวของมันเองทรงคุณ ค่ายิ่งนักกล้วยไม้หวายเหลืองจันทบูร มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dendrobiumfriedericksianum Rchb.f อยู่ในวงศ์Orchidaceae เช่น เดียวกับพวกเอื้องปากนกแก้ว เอื้องเงินแดง เอื้องดอกมะขาม เอื้องคำปอน เป็นต้น กล้วยไม้สกุลหวายถือว่าเป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธ์ุทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับกล้วยไม้หวายเหลืองจันทบูรเป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบจังหวัด จันทบุรีปกติกล้วยไม้หวายเหลืองจันทบูรมีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้ว ค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำอาจยาวถึง 75 เซนติเมตรเส้นผ่านศูนย์กลางต้น 1-1.5เซนติเมตร เมื่อต้นแก่จะเป็นสีเหลือง ฤดูกาลออกดอกตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน จะออกดอกตามข้อของลำต้น โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ปลายต้นขนาด 3.5 – 5.5เซนติเมตร กลีบดอกเป็นมัน ออกดอกทนประมาณ 3-4 สัปดาห์กล้วยไม้ชนิดนี้มี 2 พัน ธ์ุ คือ พันธ์ุที่มีดอกสีเหลืองล้วน ออกดอกแรกๆจะมีสีเหลืองอ่อนแล้วค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบโคนปากมีขน พันธุ์นี้จะหายาก ทำให้มีราคาแพงกว่าพันธุ์ที่มีแต้มสีม่วงแดง 2 แต้ม บริเวณโคนกลีบปากกลีบดอกชั้นในมีสีเหลืองโศก ปากสีเข้ม ในคอปากมีสีม่วงแดง โคนปากมีขนเช่นเดียวกัน

 

 

http://pirun.ku.ac.th/~b5510302356/ttt.html ขอบคุณที่มาของเว็ปไซต์

กล้วยไม้ภาคเหนือ

กล้วยไม้ไทย มีความหลากหลาย มากมาย ทั้งชนิดที่เพิ่งค้นพบใหม่ และยังไม่ค้นพบ หรือค้นพบแล้วยังไม่ได้ตั้งชื่อก็มีอีกมาก เราลองมาทำความรู้จักกล้วยไม้ในธรรมชาติ ที่ค่อนข้างพบเห็นได้ทั่วไป ระหว่างเดินทางในป่า จะได้รู้จักเอาไว้……
ภาพแรก.. สิงโตสยาม……… พบมากที่ภูหลวง

สิงโตใบพาย…….. พบมากที่ภูหลวงเช่นกัน……. ชอบขึ้นบนหิน ฤดูดอก มกราคม ถึง มีนาคม

ช้างกระ มีเกือบทุกภาคทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้…… ฤดูดอก ช่วง ธันวาคมถึง มกราคม

เอื้องช้างน้าว พบมากทางภาคเหนือ และภาคอิสาน ฤดูดอก กุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม
เอื้องดอกมะเขือ………….. พบมากทางภาคตะวันออกแถบระยอง จันทบุรี สระแก้ว และตราด ฤดูดอกเมษายน ถึงพฤษภาคม

เสือโคร่ง พบทั่วไปทุกภาค ฤดูดอก กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน

ช้างเผือก พบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ และพบในธรรมชาติน้อยมาก…. ฤดูดอก ธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์
ช้างพลาย……… แหล่งที่พบมากคือ เขาใหญ่ และป่าแถบภาคตะวันออก แต่ปัจจุบันนี้ พบได้น้อยมากในธรรมชาติ ฤดูดอก ธันวาคม ถึงกุมภาพันธ์

รองเท้านารีอินทนนท์ พบมากทางภาคเหนือ และภาคอิสาน รูปที่ถ่ายนี้ ถ่ายมาจากเขต ภูหลวง ฤดูดอก พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์

สำเภางาม…….. พบมากที่ภูหลวง…….. และพบเฉพาะภูเขาสูง ฤดูดอก ธันวาคม ถึงเมษายน

เรือนกล้วยไม้

โรงเรือนแบบมาตรฐาน
โรงเรือนขนาดเล็ก

โรงเรือนแบบมาตรฐาน

เริ่มที่วางแปลนการใช้งานของส่วนก่อน เป้าหมายการปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ของเราเป็น แบบการยกต้นจำหน่าย การสร้างโรงเรือนเราควรจะแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 5 ส่วน โดยส่วนแรก 20% ควรเป็น พื้นที่เลี้ยงไม้นิ้ว ไม้ตะกร้า หรือลูก ไม้ให้เขาอยู่บริเวนกลาง โรงเรือนหรือใกล้ตาเราที่สุดซึ่งจะเป็น พื้นที่ที่ค่อนข้างมีความชื้น สูงสุด ในโรงเรือน และถูกเอาใจใส่ดีที่สุด ส่วนที่สองให้กันไว้อีก 20% เพื่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กล้วยไม้ ส่วนที่สามให้พื้นที่มากสุดคือ 60% จะเป็นพื้นที่สำหรับเลี้ยงไม้พล(ไม้พลย่อมาจากไม้พลทหาร) เป็นไม้ที่เราเลี้ยงเพื่อทำปริมาณและทำการตลาด ี่ต้องใช้พื้นที่มากสุดเพราะสวนเราจะอยู่ได้หรือ ไม่ได้ก็ที่กล้วยไม ้ชุดนี้เป็นหลัก

ต้องบอกศัพท์ช่างกันก่อน
– ท่อ GSP ย่อมาจาก Galvanized Steel Pipe ก็คือท่อน้ำประ ปาสมัยก่อนที่มีสีเงินๆ ปกติจะมีความหนาด้วยกัน 3 ขนาด น้ำเงิน หนาสุด เหลืองหนาปานกลาง ส่วนสีแดงหรือเขียวจะบางเวลาเลือก ใช้แขวนกล้วยไม้ ควรใช้คาดสีเหลืองแต่หาก เป็นคานด้านบนควรเลือกสีน้ำเงินจะแข็งแรงปลอดภัยดีที่สุด
– เส้นผ่า ศก.ของท่อหรือเหล็กทั้งหลาย ขนาด 1 นิ้ว แบ่งได้เป็น 8 หุน  ดังนั้น ท่อขนาด นิ้วก็คือท่อ 4 หุน
– ตีนช้าง คือส่วนของเสาที่มีลักษณะแผ่ออกเพื่อให้เกิดความมั่น คงเวลาวางเสา
– ซาแลน คือ ตาข่ายพลาสติกพรางแสง มีขนาดมาตรฐานที่ใช้ ประจำคือม้วนหนึ่ง หน้ากว้าง 2.0 เมตร ยาว 100.0 เมตรต่อม้วน  ที่ใช้กันควรจะเลือกที่ 60-70%
– การถอดแบบ คือการถอดปริมาณวัสดุที่ใช้งาน
– เหล็กเส้น เป็นเหล็กที่ขึ้นรูปเป็นเส้น มีความยืดหยุ่นตัวพอสมควร สามารถดัดงอได้ ปกติจะใช้ผูกยึดเป็นแกนกลางของงาน คสล. หรือคอนกรีตเสริมเหล็กต่างๆ  เส้นหนึ่งหากจำไม่ผิดยาวประมาณ 10 เมตร ที่เราจะนำมาใช้ที่นี่ขนาด 3 หุน หรือ 3/8 นิ้ว

ทางแนวทิศตะวันออกตะวันตกใช้แป๊ปใหญ่กว่าสาเหตุก็เพราะเราจะใช้รับน้ำหนักของคานเสริมด้านล่างซึ่งจะเป็นตัว รับน้ำหนักกระเช้าหรือกระถาง กล้วยไม้ทั้งยึดให้หัวเสาต่างๆกลายเป็นเสมือนขาโต๊ะรับแรงดึงซึ่งกัน และกันทำ ให้เสาต่างๆ ตั้งตรงได้โดยไม่เอียงสรุปจาก ภาพเราจะวาง แป๊ปปะปา GSP ขนาด 4 หุน ที่ใช้แขวนกล้วยไม้

สำหรับเสาปูน จะเลือกใช้ขนาด 4 x 4 นิ้ว ยาว 3.5 เมตร ดูภาพเสาที่ ฝังลงไปใน
ดิน 0.5 เมตร ก้นหลุมจะเทด้วยคอนกรีตผสมสาเหตุที่ไม่เทกลบตีนช้าง แต่เทแผ่เรียบๆ ไว้หากในอนาคตเราต้องการย้ายโรงเรือนก็ย้ายได้สะ ดวกขึ้นแต่ถ้าคิด ว่าที่นี้คือที่ถาวรใน การสร้างโรงเรือนกล้วยไม้ก็ควรเทกลบตีนช้างไปเลยก็จะแข็งแรงยิ่งขึ้น

เมื่อฝังเสาเสร็จก็จะเป็นแบบนี้

มาดูรายละเอียดที่หัวเสากัน จากภาพวาดจะเห็นว่ามีการวางท่อแป๊ป 1-1/2 นิ้ววางบนหัวเสาเลยและขีดสองขีดที่โผล่จากหัวเสาก็คือเหล็กโผล่ที่บอกว่า เราควร สั่งร้านวัสดุก่อสร้างว่าอยาก ได้เสาหล่อแบบนี้ความจริงมักจะมีปัญหาอีกข้อที่มักจะเจอเสมอ คือเสาหน้าสี่ที่เราจะใช้นี้มักจะมี ขนาดความยาวสูงสุดส่วนใหญ่อยู่ที่ 3.0
เมตรและมักจะมี ีลักษณะที่หัวเป็นบ่าสำหรับ ไว้ยึดคานเหล็กพร้อมจะเจาะรูมาไว้ให้เราพร้อมดังนั้นหาก ไม่ได้เสาลักษณะนี้ จะเปลี่ยนเป็นหน้าห้านิ้ว (5 x 5นิ้ว) ก็ได้แต่ต้นทุนก็จะเพิ่มตามไปด้วย เจ้าเหล็กที่โผล่มาสองขีดนั้นความจริงโผล่ทั้งหมดสี่ขีด เพราะอยู่ฝั่งตรงข้ามท่อ อีกสองขีดสำคัญก็คือเราจะทำการเชื่อมเจ้าเหล็กที่โผล่ให้ยึดติดกับตัวแป๊ปนิ้วครึ่ง จากนั้นเราจึงจะวางท่อแป๊ป 1 นิ้ว ข้างบนแล้วเชื่อมทั้งหมดติดกัน เท่านี้เราก็จะได้ลักษณะโรงเรือนที่มีเสาเหมือนขาโต๊ะแล้ว

พอทำเสร็จก็จะมีลักษณะการต่อที่หัวเสาเป็นดังนี้

หลังจากได้โรงเรือนเป็นเสมือนโต๊ะๆ หนึ่งที่มีเสาเป็นขาโต๊ะ เราก็มาถึงขั้นตอนสำคัญนั่นก็คือการวางคานย่อยเพื่อรับท่อแป๊ปที่ใช้แขวน กล้วยไม้ คานย่อยของเราจะใช้ท่อแป๊ปขนาด 3/4 นิ้ว หรือขนาด 6 หุนส่วนท่อแป๊ปที่เราใช้แขวนกล้วยไม้เราก็ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ 1/2 นิ้ว หรือ 4 หุน การวางระดับแขวนกล้วยไม้บางครั้งเราก็ควรจะตอบตัวเองให้ ได้ก่อน ว่าเรากำลังจะเลี้ยงกล้วยไม้หากเลี้ยงแคทลียาก็แขวนที่ระดับ 2.00-2.20 เมตร จากพื้นดิน ส่วนถ้าเลี้ยงแวนด้าหรือแอสโค เอาสูงขึ้น มาอีกหน่อยเป็น 2.10-2.30 เมตร ก็น่าจะพอดี

มาถึงอีกจุดหนึ่งที่ถือเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ในโรงเรือนโดยเฉพาะเป็นจุดแรกสำหรับการเริ่มต้นเลี้ยงกล้วยไม้ของเรา จริงๆนั่นก ็คือโต๊ะเลี้ยงไม้นิ้ว ปัจจุบันมีการผลิตแผ่นตะแกรงพลาสติกสำหรับเลี้ยงไม้นิ้วออกมา จาก โรงงานฉีด พลาสติกมากมาย ราคาก็ไม่แพงด้วย ราคาขายปลีกก็ตั้งแต่ 25-40 บาท ต่อแผ่น ขึ้นอยู่กับความหนา และพื้นที่จำหน่ายด้วยขนาดแผ่นตะแกรงก็มักจะมีขนาด ใกล้เคียงกัน ก็มีขนาด 36 x 64 เซนติเมตร มีช่องทั้งหมด 112 ช่อง การวางแผ่นตะแกรง ส่วนใหญ่ก็จะวางให้ด้านกว้างหันชนกัน ดังนั้นจึงเป็นเสมือนหน้ากว้าง ของโต๊ะไม้นิ้ว ประมาณ 120-130 เซนติเมตร เป็นระยะที่กำลังดีสามารถเอื้อมมือไปดูแลไม้นิ้วที่อยู่ บริเวณกลางโต๊ะได้ แล้วขาโต๊ะจะใช้อะไรทำดี งานนี้มีหลายรูปแบบ ที่เห็นมากๆ ปัจจุบันนี้ก็ใช้ท่อนคอนกรีตขนาด 2 x 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1.00-1.20 เมตร ท่อนหนึ่ง ราคา 12-18 บาท หาซื้อได้คงเฉพาะแถบร้านวัสดุก่อสร้างแถวนครปฐมหรือ ราชบุรี นำสองต้นฝังส่วนหนึ่งลงดินหรือเทคอนกรีตยึดขาไว้เลยก็ได้  เหลือระยะสูงจากพื้นดิน ขึ้นมา 75-85 เซนติเมตร นำอีกท่อนมาผูกดังในภาพ เท่านี้ก็ได้ขาโต๊ะแล้ว จากนั้นก็นำ ท่อแป๊ป 4 หุนมาวางเรียง 4 เส้น ยึดกับท่อนคอนกรีตด้วยลวดขาว จากนั้นก็วางตะแกรง พลาสติกเลี้ยงไม้นิ้วลงไปก็เสร็จเรียบร้อย

โต๊ะไม้นิ้วที่สร้างขึ้น ไม่เฉพาะวางไม้นิ้ว จะเอาตะแกรงออกขึงซาแลนให้ตึง แล้วใช้
ปลูกแอสโคแซนด้า หรือแวนด้าออกขวดใหม่ๆ แบบดำนาก็ได้ หรือจะนำไป ใช้วางพวกตะกร้าหรือตะแกรงผึ่งไม้ออกขวดก็ได้เช่นกัน

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยู่จังหวัดไกลๆ หาท่อนคอนกรีตขนาดที่บอกไม่ได้จะใช้ไม้ท่อน
หน้าสอง ขนาด 2 x 2 นิ้ว แทนท่อนคอนกรีตก็ได้ แต่อาจต้องทำการปรับเปลี่ยน
หากไม้เริ่มผุหรือเริ่มแตกบวม ส่วนใหญ่ก็ประมาณ 3-5 ปี


โรงเรือนขนาดเล็ก

1. ขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร ช่วงห่างเสา 3 เมตร สูงจากพื้นถึงซาแลน 3.5 เมตร
2. แบ่งได้เป็นห้องโรงเรือนอนุบาล ขนาด 3X6 เมตร ด้านบนมุงสังกะสีใส เพื่อป้องกันน้ำฝนมาทำให้
ต้นกล้วยไม้เน่า และให้แสงรอดผ่านได้ จากภาพอยู่ด้านซ้ายมือของท่านครับ
3. เหลือเป็นที่แขวนกระเช้า ขนาด 6X6 เมตร ช่วงห่างของราวแขวน 25 เซนติเมตร ถ้าต้องการประหยัดเงินแนะนำให้ใช้เหล็กดำ มาทาสีกันสนิม

รวมแบบโรงเรือนกล้วยไม้ขนาดย่อม

แปลนด้านหน้าโรงเรือน ด้านซ้ายเป็นโรงเรือนอนุบาล มีโต๊ะปักซาแลนสูงจากพื้นประมาณ 85 เซนติเมตร

จากด้านบนของโรงเรือน

มองจากหลังคาโรงเรือน

ใต้พื้นโรงเรือนปูด้วยทรายหยาบเพื่อช่วยรักษาความชื้นให้
กล้วยไม้ในโรงเรือน

รายการวัสดุคร่าวๆที่ใช้ บวกเพิ่มค่าปั๊มน้ำ 3000 บาท ค่า ซาแลนซื้อยกม้วน จะถูกกว่า ราคาม้วนละพันว่าบาท  แต่วัสดุบางอย่างสามารถดัดแปลงให้ถูกกว่านี้ได้

http://kluaymai.freetzi.com/house.html

กล้วยไม้บ้าน

มาไขข้อสงสัยให้คนปลูกกล้วยไม้มือสมัครเล่น…มันจะจริงเหมือนอย่างที่เราวิจารณ์กันมั้ย ไชยพันธุ์ คุ้มวิเชียร คนปลูกกล้วยไม้มืออาชีพ จากฟาร์มกล้วยไม้แอ

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/608852