ตัวอย่างสวยๆ จากการตกแต่งบ้านด้วยกล้วยไม้ที่สวยงาม

ตื่นเช้าขึ้นมาเจอบรรยากาศฝนตกปรอยๆ แบบนี้ทำให้ไม่อยากที่จะออกไปไหนเลย แต่ก็หันไปเห็นเหล่ากล้วยไม้ที่แขวนอยู่ริมรั้วบ้านที่กำลังเขียวขจี ซึ่งแขวนและวางกระจัดกระจายมั่วไปหมด เหลียวมองแล้วจึงคิดที่จะจัดสวนกล้วยไม้ใหม่และด้วยพื้นที่บ้านนั้นยังพอมีว่างข้างๆ บ้านอยู่บ้างที่สามารถทำได้ ก็เลยหาไอเดียการจัดสวนกล้วยไม้ในบ้าน ซึ่งส่วนมากก็เจอการจัดกล้วยไม้แบบการประกวดจัดมา เต็มด้วยกล้วยไม้พันธุ์หายยาก ราคาแพงๆ ทั้งนั้น ซึ่งต้นดอกกล้วยไม้ของเราก็เป็นเพียงพันธุ์ธรรมดา ต้นราคาไม่กี่สิบ บางต้นก็ได้มาฟรีจากเพื่อนบ้าน จะให้จัดแบบนั้นก็คงไม่ไหวแน่

แต่โชคชะตายังเข้าข้างที่ยังพอมีผู้คนใจดีได้แบ่งปันการจัดสวนกล้วยไม้แบบง่ายๆ ซึ่งบางไอเดียนั้นก็เป็นการนำกล้วยไม้ไปประดับน้ำพุเล็กๆ ก็ดูสวยไม่ใช่น้อย บางไอเดียก็จัดเป็นแขวนไปเป็นแนวจากชายคาบ้าน บางไอเดียก็จัดเป็นสวนแนวตั้งสวยมากๆ เลย ซึ่งเห็นแล้วก็เก็บมาฝากให้เพื่อนๆ ที่ชอบกล้วยไม้ด้วย เผื่อมีใครที่ต้องการจะจัดสวนกล้วยไม้ใหม่ก็จะได้ดูเป็นไอเดียในการจัดสวนของตัวเอง

 

 

 

http://home.sanook.com/6005/

การขยายพันธุ์ กล้วยไม้

       การขยายพันธุ์กล้วยไม้เพื่อประโยชน์หลายประการคือ เพื่อเพิ่มปริมาณกล้วยไม้ให้มากขึ้น เพื่อให้กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงไว้นานจนเป็นกอใหญ่และมีสภาพทรุดโทรมให้กลับมีการเจริญเติบโตดีขึ้น และเพื่อเป็นการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ให้ได้กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่ดีขึ้น การขยายพันธุ์กล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธี แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ ซึ่งในแต่ละแบบแต่ละวิธีมีจุดมุ่งหมายและผลที่ได้แตกต่างกัน
การขยายพันธุ์โดยไม่มีการผสมเกสร
  หมายถึงการนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกล้วยไม้ที่ไม่ใช่ผลจากการผสมเกสรไปขยายพันธุ์ เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้ต้นใหม่ที่มีสายพันธุ์เหมือนต้นพันธุ์เดิมทุกประการ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์กล้วยไม้ต้นที่มีคุณลักษณะดีอยู่แล้ว เช่น มีความสวยงามเป็นพิเศษ หรือมีลักษณะที่เหมาะสมแก่การเป็นกล้วยไม้ตัดดอก
การเพาะเนื้อเยื่อ 

การเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้หรือที่เรียกกันว่า “การปั่นตา” เป็นการขยายพันธุ์กล้วยไม้ที่ทำให้ได้ต้นที่มีลักษณะพันธุ์เหมือนเดิมเป็นปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว โดยการนำเนื้อเยื่อจากส่วนต่างๆ ของกล้วยไม้ เช่น ตายอด ตาข้าง ปลายใบอ่อน มาเลี้ยงด้วยอาหารสังเคราะห์ ในสภาพปลอดเชื้อและมีการควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น แสง อุณหภูมิ ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตต้นที่ได้จากการขยายพันธุ์วิธีนี้อาจมีโอกาสกลายพันธุ์ไปในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลงแต่ก็พบได้ยาก ระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงนำไปปลูกได้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 10 เดือน แต่ส่วนใหญ่จะใช้เวลานานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยไม้ ความสมบูรณ์ของหน่อ เทคนิคในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สูตรอาหารสังเคราะห์ และสภาพแวดล้อม
การขยายพันธุ์โดยการผสมเกสรและเพาะเมล็ด 

    การขยายพันธุ์โดยการผสมเกสรนี้อาจทำให้ได้คุณภาพของกล้วยไม้ที่ผสมได้เปลี่ยนไปบ้างแต่ไม่มากนัก การขยายพันธุ์เพื่อเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของกล้วยไม้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องคัดเลือกพันธุ์ที่ดีมาผสมกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อนำแวนด้า 2 ต้น ต้นหนึ่งดอกใหญ่ แต่สีไม่สด ช่อดอกไม่ยาว ส่วนอีกต้นหนึ่งดอกเล็ก แต่สีสด ก้านช่อยาว นำมาผสมกัน เพื่อให้ได้กล้วยไม้ที่มีลักษณะดีขึ้น ดอกใหญ่ สีสด ก้านช่อยาวและเลี้ยงง่ายขึ้น แต่ผลที่ได้จะสำเร็จตามต้องการหรือไม่ต้องรอจนกระทั่งกล้วยไม้ที่ผสมใหม่นั้นออกดอก
การผสมพันธุ์กล้วยไม้ นอกจากต้องคำนึงถึงดอกกล้วยไม้ที่ต้องบานเต็มที่ การผสมพันธุ์ต้องทำตอนเช้า เวลาที่ไม่มีแสงแดด ฝนไม่ตกแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์หรือไม้ที่ใช้เขี่ยเกสรตัวผู้ต้องสะอาดปราศจากเชื้อรา เมื่อปัจจัยทุกอย่างพร้อมจึงเริ่มทำการผสมพันธุ์กล้วยไม้ โดยนำไม้จิ้มฟันที่สะอาดเขี่ยเกสรตัวผู้ของต้นที่ต้องการให้เป็นพ่อพันธุ์ซึ่งมีเรณูอยู่มากมายใส่ลงที่ยอดเกสรตัวเมียของต้นแม่พันธุ์ซึ่งเป็นแอ่ง ในแอ่งนี้มีน้ำเมือกเหนียวๆ ใสคล้ายแป้งเปียก เมื่อนำก้อนเกสรตัวผู้ใส่ลงไปแล้ว น้ำเมือกจะช่วยให้ก้อนเกสรตัวผู้ติดอยู่ได้ ก้อนเกสรตัวผู้ที่เป็นสีเหลืองจะละลายอ่อนตัวกลืนเข้ากับน้ำเมือก เรณูของเกสรตัวผู้แต่ละเม็ดจะงอกเป็นหลอดเข้าไปในก้านดอกหรือรังไข่ หลอดแต่ละหลอดจะเข้าไปผสมกับไข่ตัวเมีย ไข่นั้นจะเกิดเป็นเชื้อที่สมบูรณ์ แล้วรังไข่ก็จะพองโตเกิดเป็นฝัก ฝักของกล้วยไม้จะแก่ต้องใช้เวลานาน เช่น ฝักของกล้วยไม้สกุลหวายใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน ฝักของกล้วยไม้สกุลแวนด้าใช้เวลาประมาณ 7-8 เดือน แต่ถ้าเป็นฝักของฟ้ามุ่ยจะต้องใช้เวลาประมาณ 17-18 เดือน การเพาะฝักกล้วยไม้จะเพาะฝักแก่หรือฝักอ่อนก็ได้ ฝักอ่อนกล้วยไม้มีสีเขียวแต่พอเริ่มแก่จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเป็นสีน้ำตาลเมื่อแกจัด ขณะที่ฝักเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลืองต้องระวังไม่ให้ถูกน้ำ ฝักกล้วยไม้สุกจะมีสีเหลืองแบบมะนาวสุกแสดงว่าฝักสุก เก็บฝักไปเพาะได้ อย่ารอให้ฝักเป็นสีน้ำตาล เพราะฝักจะแตก
การเพาะฝักอ่อนต้องเป็นฝักอ่อนที่มีเชื้อสมบูรณ์แล้ว หลังจากผสมแล้ว ไข่จะกลายเป็นเชื้อที่สมบูรณ์ได้นั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยไม้ เช่น หวายประมาณ 45 วัน แวนด้าประมาณ 80-90 วัน หรือใช้เวลาประมาณ 1 ใน 3 ของระยะฝักแก่ ฝักอาจแก่เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่สิ่งแวดล้อม เช่น แสงสว่าง ความชุ่มชื้น และความสมบูรณ์ เป็นต้น
หลังจากการผสมพันธุ์กล้วยไม้จนได้ฝักแล้วจึงนำเมล็ดภายในฝักมาทำการเพาะเมล็ด ฝักแต่ละฝักมีเมล็ดจำนวนมากตั้งแต่ 1,000 – 4,000,000 เมล็ด เมล็ดกล้วยไม้มีลักษณะแตกต่างจากเมล็ดของพืชชนิดอื่นตรงที่มีขนาดเล็กมากจนแทบจะเป็นละออง เพราะภายในเมล็ดไม่มีอาหารสำหรับต้นอ่อนเหมือนเมล็ดพืชอื่นๆ จึงทำไห้เมล็ดกล้วยไม้มีขนาดเล็กมาก ตามธรรมชาติเมล็ดสามารถงอกได้โดยอาศัยเชื้อราบางชนิดที่อาศัยอยู่ตามรากกล้วยไม้ ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆ ให้เป็นอาหารแก่ต้นอ่อน ในสมัยก่อนจึงใช้วิธีหว่านเมล็ดจากฝักแก่ลงบริเวณโคนต้นของกล้วยไม้สกุลเดียวกัน แต่อัตราการงอกตามธรรมชาตินี้มีน้อยมาก ปัจจุบันใช้การเพาะเมล็ดในอาหารสังเคราะห์ ซึ่งมีธาตุต่างๆ ของกล้วยไม้ในปริมาณและสัดส่วนที่พอเหมาะ แต่อาหารดังกล่าวก็เป็นอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศด้วย ดังนั้นการเพาะเมล็ดกล้วยไม้จึงต้องเพาะในขวดเพาะ และอุปกรณ์ต่างๆ ในการเพาะต้องทำให้ปลอดเชื้อจุลินทรีย์ด้วย เพราะเชื้อจุลินทรีย์จะเข้าทำลายเมล็ดกล้วยไม้ได้
การเพาะเมล็ดกล้วยไม้อาจเพาะได้ทั้งเมล็ดจากฝักแก่และเมล็ดจากฝักอ่อน ข้อดีของการเพาะเมล็ดจากฝักอ่อน คือ ประหยัดเวลา ไม่ต้องรอจนฝักแก่ ต้นแม่พันธุ์ไม่โทรมเนื่องจากต้องเลี้ยงฝักนาน และป้องกันปัญหาฝักร่วงก่อนกำหนด แต่ข้อเสียของการใช้ฝักอ่อนคือต้องรีบเพาะทันทีหลังจากตัดฝักจากต้น มิฉะนั้นฝักจะเหี่ยวหรือเสีย แต่ถ้าเป็นฝักแก่หากเก็บไว้ในที่แห้งและเย็นจะสามารถเก็บได้นานเป็นปี 

 https://sites.google.com/site/rommaneeyayoodee/kar-khyay-phanthu

เครื่องปลูกต้นกล้วยไม้/วัสดุปลูกกล้วยไม้/ภาชนะปลูกกล้วยไม้.

เครื่องปลูกกล้วยไม้ / วัสดุปลูกกล้วยไม้ / ภาชนะปลูกกล้วยไม้

     เครื่องปลูกกล้วยไม้นั้นมีเยอะมาก ๆ ครับ ซึ่งการใช้นั้นจะขึ้นอยู่กับกรณีด้วย เช่นอยากให้โปร่งก็ใช้ของที่ระบายน้ำดีถ้า อยากให้ชื้น ก็ต้องหาอะไรที่ระบายน้ำดีและสะสมความชื้นได้ดีไปพร้อม ๆ กัน โดยหลักๆแล้ว การปลูกกล้วยไม้เราจะเน้น เครื่องปลูกที่ระบายน้ำได้ดี มีความโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อุ้มน้ำจนเกินไป หากเครื่องปลูกของกล้วย ไม้อุ้มน้ำมาก ๆ แล้ว ผลที่ตามมาคือ กล้วยไม้จะเน่า และตายในที่สุดครับเรามาดูกันเลยดีกว่าว่าเราใช้อะไรปลูกกล้วยไม้ได้บ้าง

กาบมะพร้าวสับ

– วัสดุปลูกพื้นบ้านหาง่าย เหมาะสำหรับกล้วยไม้ทุกประเภท เสียอย่างเดียว ผุไว **คำเตือน ควรแช่น้ำและเปลื่ยนถ่ายน้ำหลายๆครั้งจนน้ำใส ก่อนใช้งาน มิฉะนั้นยางมะพร้าวจะชงักการเติบโตกล้วยไม้ของท่าน !

ถ่าน

– วัสดุปลูก หาง่าย ไม่อุ้มน้ำมาก ใช้ได้นาน เหมาะสำรับกล้วยไม้ทุกชนิด ก่อนนำมาใช้ให้ใช้กรรไกรตัดกิ่งหรือมีด สับให้มีขนาดเท่า ๆ กัน จะให้ดีควรตัดให้สวย ๆ เป็นก้อนสี่เหลี่ยมเหมือนลูกเต๋าจะดีมาก

โฟม

-วัสดุเหลือใช้หาได้ง่ายในท้องถิ่น หากขัดให้เป็นเม็ดเล็ก ๆ จะใช้ผสมกับเครื่องปลูกรองเท้านารีได้ หากตัดเป็น ก้อนสี่เหลี่ยมดังภาพ จะนำไปรองตะกร้าไม้นิ้วป้องกันรากพันตะกร้า และช่วงระบายอากาศในภาชนะให้โปร่งได้ดี หรือจะใช้หนีบ ไม้นิ้วก็ได้ ข้อดี ทนสุด ๆ ข้อเสีย ไม้ที่หนับโฟมจะผอม เพราะไม่ค่อยชื้นเอาเสียเลย อาจจะใช้สแฟ้กนั่มมอสหนีบแวมเพิ่มเข้าไปเวลาปลูกไม้นิ้วเพื่อช่วยเพิ่มความชื้นได้

สเฟกนั่มมอส

– วัสดุราคาตามเกรด ใช้ปลูกไม้กล้วยไม้นิ้วเป็นส่วนใหญ่ บางทีก็เอาไปใช้ผสมเป็นเครื่องปลูกรองเท้านารี วิธีใช้ แช่น้ำล้างเศษฝุ่นก่อนแล้วก็นำไปปลูกได้เลย ข้อดี อุ้มความชื้นได้เยี่ยมมาก ลูกไม้อ้วนสวย ข้อเสีย ผุไว และอุ้มน้ำมากเกินไปหาก รดน้ำมาก

รากชายผ้าสีดา / กระเช้าสีดาแห้ง

– วัสดุปลูกที่เลี้ยงกล้วยไม้ได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยื่ง สกุลหวายไทยได้เยี่ยมยอดที่สุด รักษาความชื้นและความโปร่งได้ดี วิธีนำมาใช้ ให้แช่น้ำล้างฝุนล้างไข่แมลงก่อน แล้วจึงหั่นมาใช้เป็นส่วน ๆ หากใส่ลงกระเช้า ระวัง อย่าใส่หนา ไม่งั้นอาจมีวัชพืชขึ้นมากมาย และรากกล้วยไม้อาจจะเน่าเพราะแน่นเกิน !

ออสมันดา

-เป็นรากของเฟินออสมันดา ปัจจุบันมีราคาแพงมากจึงหันมาใช้โฟมแทน ออสมันดามักใช้หนีบนิ้วลูกไม้นิ้ว เพราะโปร่งและเก็บความชื้นได้ปานกลางไม่แห้งเกินและแฉะเกิน ไม่แนะนำให้หามาใช้ เพราะแพงและหายาก(และต้องตัดทำลายต้นเพื่อเอารากมาขาย)หาอย่างอื่นแทนดีกว่า

พีทมอส

– นิยมใช้เป็นส่วนผสมเป็นเครื่อง ปลูกรองเท้านารีและกล้วยไม้ดินได้ หลายชนิดเนื่องจากให้ความชื้นได้ดี และ บางทีก็เอาไปผสมเป็นเครื่องปลูกหม้อข้าวหม้อแกงลิงด้วย และไม้ใบไม้กระถางต่างๆเช่นเฟินได้อีกด้วย !!

ขุยมะพร้าว

– นิยมใช้ผสมเป็นเครื่องปลูกรองเท้าแทนพีทมอส เนื่องจากพีทมอสมีราคาแพง ก่อนนำมาใช้ต้องแช่และถ่ายน้ำบ่อยๆก่อน หลายๆครั้งจนน้ำที่แช่ใส เพื่อเจือจางยางสีน้ำตาลในขุยมะพร้าว(สารเทนนิน)ก่อน

กรวดหยาบ

– ใช้ผสมกับเครื่องปลูกรองเท้านารีเพื่อให้เครื่องปลูกโปร่งขึ้น และใช้โรยกลบหน้ากระถางรองเท้านารีเพื่อไม่ให้ผิว เครื่องปลูกถูกน้ำชะล้างออกไปได้โดยง่าย ช่วยทำให้ความชื้นอยู่ได้นานข้อดีหาง่าย มีทั่วไป ข้อเสีย อาจเป็นที่อยู่ของแมลงเช่น มดได้

ทรายหยาบ

– ใช้ผสมเป็นเครื่องปลูกรองเท้านารี ช่วยให้เครื่องปลูกโปร่งมากขึ้น ระบายน้ำดีเก็บความชื้นได้มากขึ้น วิธีใช้ อย่าผสมมาก เพราะจะหนักและอุ้มน้ำมากเกินไป เอาพอหยาบ ๆ ก็เพียงพอแล้วครับ

ไฮโดรตรอน

– เป็นเม็ดดินเผา มักใช้ปลูกรองเท้านารี ใช้เป้นส่วนผสมหลักของเครื่องปลูก มี ราคาสูง ใช้กรวดหยาบแทน แต่ไฮโดรตรอนมีข้อดีกว่าหลาย ๆ อย่างคือ สะอาด โปร่ง น้ำหนักเบา และใช้ได้นาน ไม่ต้องเสียเวลาผสมเครื่องปลูกเอง มีข้อเสียบาง คือเมื่อใช้งานไปนานๆ มักเกิดราขาวและ พวกมดเล็กๆชอบเข้าไปทำรัง เพราะเม็ดไฮโดรตรอน โปร่งและเย็น

หินภูเขาไฟ

– ใช้ผสมเป็นเครื่องปลูกรองเท้านารี มีหลายขนาด ใช้ตามความเหมาะสม หินภูเขาไฟเป็นวัสดุนำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาค่อนข้างสูง ใช้ปลูกอะไรก็งามครับ หินภูเขาไฟมีองค์ประกอบของแร่ธาตุสูงไม่เป็นอันตรายกับต้นไม้ น้ำหนักเบาและลอยน้ำได้

ออสโมซิส

– เครื่องปลูกอีกชนิดที่หาได้ตามร้านค้าทั่วไป หาง่ายแถมฟรีถ้าเป็นเศษของเก่า หากนำมาซอยดั่งภาพจะใช้เป็นเครื่องปลูกรองเท้านารีครับ ช่วยเพิ่มความชื้นได้ดี แถมทนกว่าวัสดุที่เป็นกาบมะพร้าวเยอะ

แกลบเผา

– ใช้ผสมเป็นเครื่องปลูกรองเท้านารี และ กล้วยไม้ดิน รวมไปถึงไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิดทำให้เครื่องปลูกโปร่ง พอเวลาผ่านไปยังย่อยสลายเป็นธาตุอาหารได้อีกด้วย ราคาถูกหาซื้อได้ตามร้านค้าเกษตรทั่วไป

รากไม้แปรรูป / ขอนไม้

– ภาชนะปลูกกล้วยไม้เลียนแบบธรรมชาติ โยกย้ายได้สะดวก ข้อดี ดูเป็นธรรมชาติกว่าใส่กระเช้าแขวน

ขอนไม้แบบแผ่นแบน

– แผ่นไม้ นำมาปลูกกล้วยไม้ได้ แต่ไม่สวย เพราะแบน ดูไม่เป็นธรรมชาตินัก เอามาตอกตะปู ทำเป็นกระเช้าไม้ดีกว่าครับ

ขอนไม้แบบมีรอยหยัก

– ปลูกกล้วยไม้ได้หลายสกุล โดยเฉพาะกล้วยไม้รากอากาศต่างๆเช่นสกุลเข็ม หรือ แวนด้า ครับ เมื่อปลูกรวมๆกันหลายต้นในขอนไม้ จะสวยงามมากตอนมีดอก และรอยหยักบนพื้นผิวไม้ทำให้รากกล้วยไม้เกาะได้โดยง่าย ไม่ลื่นหลุดเวลาเจอฝนตกหนัก ๆ สวยกระทัดรัดเหมาะสำหรับคนชอบไม้แบบมีลวดลายครับ แต่มีข้อเสียคือ เป็นวัสดุจากป่า ต้องตัดทำลายกิ่งไม้ต้นไม้ และ เมื่อใช้ไปนานๆ1-2ปี เปลือกไม้ด้าน นอกจะผุ ร่อนออกมาเป็นแผ่น ทำให้ต้นกล้วยไม้หลุดร่วงจากขอนไม้ที่แขวนได้

กระถางนิ้ว

– ใช้อนุบาลกล้วยไม้หลังจากออกจากขวดได้พักหนึ่งแล้ว เราเรียกกล้วยไม้ที่อยู่ในกระถางชนิดนี้ว่า กล้วยไม้นิ้วครับ

กระถางพลาสติกก้นลึก

– นิยมใช้ปลูกหวาย และกล้วยไม้ที่เหมาะสมแล้วแต่เห็นควรพิจารณาครับ ไม่แนะนำให้ใช้ปลูกพวกแวนด้า ช้าง หรือชนิดใกล้เคียงเพราะดูไม่สวย หากต้นกล้วยไม้โตแล้วกระถางอาจพลิกกลับหัวกลับหางได้นะครับ ความสมดุลจะเสียตอนกล้วยไม้โต

กระถาง 4 นิ้ว และ ขนาดทรงอื่น ๆ

– ขนาด 4 นิ้ว นิยมปลูกกล้วยไม้สกุลแวนดา เข็ม ช้าง สิงโต และอื่น ๆ มากมายแล้วแต่ความเหมาะสม ส่วนขนาดใหญ่ ๆ มักปลูกจำพวกแกรมาโตครับ หรือพวกซิมบิเดียมรากอากาศเช่น กะเรกะร่อนเป็นต้น

กระเช้าไม้สัก / กระเช้าไม้

– ภาชนะปลูกกล้วยไม้ที่นิยมมาก มีความสวยงาม จะคงทนก็เฉพาะกระเช้าที่ทำมาจากไม้สักเท่านั้น ปัจจุบันไม้อะไรก็เอามาทำก็เลยทนบ้างไม่ทนบ้างปน ๆ กันไป ข้อเสียของมันคือ พอผ่านไประยะหนึ่ง จะเริ่มผุและพังในที่สุด

กระถางดินเผา

– ภาชนะยอดนิยมอีกแบบ รักษาความชื้นได้เยี่ยม แบบก้นลึกใช้ปลูกหวายสายน้ำครั่งแบบใหญ่ ๆ ปากกว้าง เอาไว้ปลูกรองเท้านารี ที่เหลือแล้วแต่ประยุกต์

     ทั้งหมดนี้ก็เป็นเครื่องปลูกหลัก ๆ เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ หลาย ๆ ท่านอาจจะประยุกต์ด้วยการปลูกในตะกร้าบ้าง ในฝาครอบพัดลมบ้าง ซึ่งก็ใช้ได้ทั้งนั้น แต่ในการปลูกกล้วยไม้แต่ละชนิดนั้นเราควร คำนึงถึงชนิดที่เราปลูกเพื่อความเหมาะสมกับภาชะที่ปลูกด้วย ภาชนะปลูกกล้วยไม้จะแตกต่างจากการปลูกต้นไม้ทั่วไปคือมีข้อห้ามว่า ห้ามเผื่อขนาดของกระถาง ถ้าเราเผื่อไว้ว่า อีกหน่อยกล้วยไม้คงโต ซื้อครั้งเดียวใหญ่เลยดีกว่านั้น คิดผิดแล้วครับ เพราะกระถางที่โตกว่ากล้วยไม้ จะเป็นภาชนะที่อุ้มความชื้นมากเกินไปมีผลทำให้กล้วยไม้เน่าตาย หรือติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายครับ ดังนั้น เราควรหาภาชนะปลูกที่เหมาะสมกับขนาดของต้น กล้วยไม้นะครับ

 

 

http://www.orchidtropical.com/articleid01.php

เทนนิคการเลี้ยงกล้วยไม้สำหรับมือใหม่

วิธีการปลูกกล้วยไม้เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าใช้วิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสม กล้วยไม้ก็ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จึงจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด เลือกภาชนะปลูกและเครื่องปลูก รวมทั้งวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ
ภาชนะปลูก     

ภาชนะที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้มีส่วนสำคัญต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้ ดังนั้นจึงควรจัดภาชนะปลูกให้เหมาะกับการเจริญของรากกล้วยไม้แต่ละประเภท ภาชนะสำหรับปลูกกล้วยไม้มีหลายชนิด ดังนี้

 

กระถางดินเผาทรงเตี้ย     เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 4-6 นิ้ว สูง 2-4 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถาง เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ มะพร้าวสับ วางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระถาง

กระถางดินเผาทรงสูง     เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 3-4 นิ้ว สูง 4-5 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถางแต่รูน้อยกว่ากระถางทรงเตี้ย เหมาะกับกล้วยไม้ที่ต้องการเครื่องปลูกหรือกล้วยไม้รากกึ่งอากาศ เช่น คัทลียา หวาย โดยปลูกด้วยกาบมะพร้าวอัดเรียงตามแนวตั้งจนแน่น ยึดรากและโคนกล้วยไม้ตรงกลางกระถางให้แน่น

กระเช้าไม้สัก     ทำจากไม้สักหรือไม้ชนิดอื่น นิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีขนาดตั้งแต่ขนาด 4×4 นิ้ว ถึง 10×10 นิ้ว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ มีต้นใหญ่ รากใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกด้วยกระเช้าไม้สักภายในไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ 2-3 ก้อนวางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระเช้า

กระเช้าพลาสติก     เป็นกระเช้าที่ทำจากพลาสติกสีดำ ราคาถูก มีหลายแบบ หลายขนาด แต่ที่นิยมใช้มี 2 ขนาด คือ ขนาดทรงเตี้ยใช้ปลูกกล้วยไม้แวนด้า และ ขนาดทรงสูงใช้ปลูกกล้วยไม้หวาย ลักษณะการปลูกเช่นเดียวกับกระถางดินเผาทรงเตี้ยและกระถางดินเผาทรงสูง

กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง     เป็นกระถางดินเผาชนิดเดียวกับที่ใช้ปลูกต้นไม้ทั่วไป มีรูระบายน้ำอยู่ที่ก้นกระถางเพียงรูเดียว ทั้งแบบทรงสูงทั่วไปและแบบทรงเตี้ย มีขนาดตั้งแต่ 4-10นิ้ว นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งดิน เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลเอื้องพร้าว สกุลคูลู และสกุลสเปโธกล๊อตติส

ท่อนไม้ที่มีเปลือก     โดยผูกกล้วยไม้ติดกับท่อนไม้ที่มีเปลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต ปลายหนึ่งของท่อนไม้ยึดติดกับลวดใว้สำหรับแขวนกับราว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลแวนด้า

ต้นไม้ใหญ่     โดยการปลูกยึดติดกับต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศและรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลหวาย สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากอากาศสามารถใช้ลวดหรือเชือกผูกติดกับต้นไม้ได้เลย แต่สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากกิ่งอากาศให้หุ้มด้วยกาบกะพร้าวทับอีกชั้นหนึ่ง ยึดกาบมะพร้าวด้วยตาข่ายหรือซาแลนอีกชั้นหนึ่ง

เครื่องปลูก    

วัสดุที่ใส่ลงไปในภาชนะที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ เป็นที่เก็บอาหาร เก็บความชื้น หรือปุ๋ยของกล้วยไม้ และเพื่อให้รากของกล้วยไม้เกาะ ลำต้นจะได้ตั้งอยู่ได้ เครื่องปลูกที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตของรากกล้วยไม้จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง เครื่องปลูกที่นิยมใช้มีดังนี้

ออสมันด้า     เป็นเครื่องปลูกที่ได้มาจากรากของเฟิร์น ลักษณะเป็นเส้นยาว สีน้ำตาลจนเกือบดำ ค่อนข้างแข็ง ก่อนที่จะใช้ต้องล้างให้สะอาด แล้วจึงอัดตามยาวลงไปในกระถาง ก่อนที่จะอัดลงในกระถางควรรองก้นกระถางด้วยกระเบื้องแตกหรือถ่านประมาณครึ่งหนึ่งของกระถาง เพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวกไม่ควรอัดออสมันด้าให้เต็มกระถาง ก่อนใช้ควรแช่น้ำหรือต้มเพื่อฆ่าเชื้อราเสียก่อน ออสมันด้าเป็นเครื่องปลูกที่ดี แต่ราคาค่อนข้างสูง สามารถเลี้ยงกล้วยไม้ได้เจริญงอกงามสม่ำเสมอ มีอายุการใช้งาน 2-3 ปี แต่มีข้อเสีย คือ มีตะไคร่น้ำขึ้นหน้าเครื่องปลูก และเกิดเชื้อราง่าย ออสมันด้าใช้ปลูกกล้วยไม้แบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา

กาบมะพร้าว    เป็นเครื่องปลูกที่นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้มาก เพราะหาง่าย ราคาถูก เหมาะที่จะใช้อัดลงในกระถางดินเผาสำหรับใช้ปลูกกล้วยไม้รากกึ่งอากาศเช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา วิธีทำคือใช้กาบมะพร้าวแห้งที่แก่จัดและมีเปลือก อัดตามยาวให้แน่นลงในกระถาง ตัดหน้าให้เรียบ แล้วใช้แปรงลวดปัดหน้าให้เป็นขน เพื่อให้ดูดซับน้ำดีขึ้น เครื่องปลูกกาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกที่ได้ความชื้นสูง เหมาะสำหรับกล้วยไม้ปลูกใหม่ เพราะจะทำให้ตั้งตัวเร็ว จึงทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามเร็วกว่าปลูกด้วยเครื่องปลูกชนิดอื่นๆ แต่มีข้อเสียคือมีอายุการใช้งานได้ไม่นาน คือมีอายุใช้งานได้เพียงปีเดียวเครื่องปลูกก็ผุ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือเกิดตะไคร่น้ำได้ง่าย เนื่องจากกาบมะพร้าวอมความชื้นไว้ได้มาก จึงควรรดน้ำให้น้อยกว่าเครื่องปลูกชนิดอื่น

ถ่าน     เป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง เพราะหาง่าย ราคาไม่แพง คงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยผุพังง่ายและดูดอมน้ำได้ดีพอเหมาะไม่ชื้นแฉะเกินไป ยังช่วยดูดกลิ่นที่เน่าเสียและทำให้อากาศบริสุทธ์อีกด้วย แต่มีข้อเสียคือมักจะมีเชื้อราอยู่ ในการใช้ถ่านเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลแคทลียา ควรใช้ถ่านป่นซึ่งเป็นก้อนเล็กๆ ผสมกับอิฐ หรือใช้อิฐหักรองก้นกระถางประมาณครึ่งกระถาง แล้วใช้ถ่านป่นใส่ทับข้างบนจนเต็มหรือเกือบเต็มกระถาง จากนั้นจึงเอากล้วยไม้ปลูกโดยวางทับไว้บนถ่านอีกชั้นหนึ่ง สำหรับถ่านที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ ถ้าเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กหรือยังเป็นลูกกล้วยไม้อยู่ เช่น มีขนาดสูงไม่เกิน 3 นิ้ว ควรใส่ถ่านก้อนเล็กๆ หรือใส่ถ่านป่นไว้บ้างพอสมควร แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดโดแล้วควรใส่ก้อนใหญ่ๆ ไว้ประมาณ 5-10 ก้อน เพื่อช่วยอุ้มความชุ่มชื้นไว้ให้กล้วยไม้ การที่ใส่ถ่านก้อนโตๆ จำนวนเล็กน้อยในการปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศก็เพื่อต้องการให้บริเวณภายในกระถางมีช่องว่างมากๆ และโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งเหมาะแก่ความต้องการหรือความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศ

ทรายหยาบและหินเกล็ด    การปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศโดยเฉพาะพวกสกุลหวาย มักใช้ทรายหยาบและหินเกล็ดที่ล้างสะอาดแล้วเป็นเครื่องปลูก โดยก้นกระถางใส่อิฐหักหรือหรือถ่านป่นไว้ ส่วนด้านบนใช้ทรายหยาบโรยหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วโรยทับด้วยหินเกล็ดหนาประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นจึงนำหน่อกล้วยไม้ที่แยกจากกอเดิมไปปลูกวางไว้บนหินเกล็ด แล้วมัดติดกับหลักเพื่อยึดไม่ให้ล้มจนกว่ากล้วยไม้ที่ปลูกใหม่นี้มีรากยึดเครื่องปลูกและตั้งตัวได้

อิฐหักและกระถางดินเผาแตก   อิฐหัก อิฐดินเผา และกระถางดินเผาแตก ใช้เป็นเครื่องปลูกรองก้นกระถางสำหรับปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ โดยมีออสมันด้า กาบมะพร้าว ถ่านป่น อย่างใดอย่างหนึ่งอัดหรือโรยไว้ข้างบน  เพื่อให้ด้านล่างของกระถางหรือภาชนะปลูกโปร่ง  อากาศถ่ายเทสะดวกและเป็นการช่วยในการระบายน้ำในกระถางได้ดีขึ้น

การให้น้ำและปุ๋ย

 

น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายสารอาหารต่างๆ เพื่อให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาดปราศจากเกลือแร่ที่เป็นพิษ มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 แต่น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่า pH ประมาณ 6.5 น้ำที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ในการเลี้ยงกล้วยไม้ถ้าน้ำมี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 หากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำนี้รดกล้วยไม้ เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำที่มีคุณสมบัติดีกว่า ควรทำให้น้ำมี pH อยู่ระหว่าง 6-7 ก่อน ดังนี้

น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ตุ่มหรือโอ่งไว้แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ค่อยๆ เทใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับ pH จนกระทั่งน้ำมีค่าpH อยู่ระหว่าง 6-7

น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 7 คือน้ำที่มีเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ เช่น แคลเซียมไบคาร์บอเนตปนอยู่ในน้ำแสดงว่าน้ำนั้นมีความเป็นด่างมากไม่เหมาะที่จะนำไปรดกล้วยไม้ วิธีแก้หรือทำให้น้ำนั้นมี pH อยู่ที่ 6-7 ก่อน โดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่มหรือโอ่งไว้ แล้วใช้ กรดไนตริก ค่อยๆ เทใส่ลงไป คนหรือกวนให้เข้ากันจนทั่ว จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7

 

การรดน้ำกล้วยไม้ปกติควรรดวันละครั้ง ยกเว้นวันที่ฝนตกหรือกระถางและเครื่องปลูกยังมีความชุ่มชื้นอยู่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดในเวลาที่แดดไม่ร้อนจัด เวลาที่เหมาะสมคือตอนเช้าเวลาประมาณ 6.00-9.00 น. เพราะนอกจากจะไม่ร้อนแล้วจะมีช่วงเวลาที่มีแสงแดดยาวนาน กล้วยไม้มีความจำเป็นต้องใช้แสงแดดไปช่วยในการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ฉะนั้นช่วงเวลากลางวันจึงเป็นเวลาที่กล้วยไม้ต้องใช้รากดูดความชื้นและนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากที่สุด การรดน้ำในเวลาเช้าจึงได้รับประโยชน์มากที่สุด ในการรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้เปียก เพื่อเป็นการชะล้างเศษปุ๋ยที่เหลือตกค้างซึ่งอาจเป็นพิษแก่กล้วยไม้ให้ไหลหลุดไป ไม่ควรรดน้ำแรงๆ หรือรดน้ำอยู่กับที่นานๆ ควรรดแบบผ่านไปมาหลายๆ ครั้งจนเปียกโชก ทั้งนี้เพื่อให้กระถางและเครื่องปลูกมีโอกาสดูดซึมอุ้มน้ำไว้เต็มที่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้ถูกเฉพาะรากกระถางและเครื่องปลูกเท่านั้น ไม่ควรรดน้ำให้ถูกเรือนยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ที่มีเรือนยอดใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลช้าง เพราะน้ำอาจตกค้างอยู่ที่เรือนยอดซึ่งอาจทำให้เกิดโรคยอดเน่าได้

ปุ๋ย  โดยทั่วไปนิยมใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในการปลูกกล้วยไม้ เพราะนอกจากจะละลายน้ำได้ดี สะดวกในการใช้ ยังมีธาตุอาหารครบถ้วนตามความต้องการของกล้วยไม้ด้วย ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับกล้วยไม้มี 3 ลักษณะ คือ ลักษณะเป็นน้ำ เป็นเกล็ดละลายน้ำ และเป็นเม็ดละลายช้า

ปุ๋ยน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารละลายอยู่ในรูปของของเหลว เมื่อต้องการใช้ต้องนำมาผสมกับน้ำตามส่วนที่ระบุบนฉลาก ข้อดีของปุ๋ยน้ำคือละลายง่าย กล้วยไม้สามารถดูดไปใช้ได้เลย ไม่ตกค้างอยู่ในเครื่องปลูก ซึ่งถ้ามีปุ๋ยตกค้างอยู่ในเครื่องปลูกมากอาจเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้

ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นผสมอยู่ตามสัดส่วน เมื่อจะใช้ต้องนำไปผสมกับน้ำตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะบรรจุปุ๋ย ปุ๋ยผงบางชนิดละลายน้ำได้ดี แต่บางชนิดละลายไม่หมด ปุ๋ยผงจึงไม่เหมาะสำหรับรดกล้วยไม้มากเท่ากับปุ๋ยน้ำ

ปุ๋ยเม็ดละลายช้า เป็นปุ๋ยชนิดเม็ดเคลือบที่ภายในบรรจุปุ๋ยไว้เพื่อให้ปุ๋ยค่อยๆ ละลายออกมาอย่างช้าๆ ปุ๋ยชนิดนี้จึงใส่เพียงครั้งเดียวจึงสามารถอยู่ได้นานหลายเดือน จึงทำให้ง่ายในการใช้ ประหยัดแรงงานไม่ต้องใส่บ่อยๆ แต่ปุ๋ยชนิดนี้มีราคาสูง และเหมาะกับกล้วยไม้ที่มีเครื่องปลูกอย่างกล้วยไม้ที่มีระบบรากดินและรากกึ่งอากาศ เช่น แวนด้า หวาย แคทลียา

เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการให้ปุ๋ยอยู่มาก เช่น ปุ๋ยจะเป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้ได้ต้องมีแสงสว่าง มีความอบอุ่น อุณหภูมิพอเหมาะและมีความชุ่มชื้นพอดี เป็นต้น แสงสว่างหรือแสงแดดที่เป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้คือแสงแดดในตอนเช้า ตั้งแต่เช้าจนถึง เวลาประมาณ 11.00 น. หลังจากนี้แสงแดดจะแรงและมีความร้อนสูงเกินไป การรดปุ๋ยในเวลาเช้า แสงแดดจะช่วยให้กล้วยไม้ได้ใช้ปุ๋ยได้เต็มที่ เพราะแสงแดดช่วยผลิตกำลังงานที่จะใช้ดูดปุ๋ยขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ การรดปุ๋ยควรรดสม่ำเสมออาทิตย์ละครั้ง เพื่อกล้วยไม้จะได้รับปุ๋ยหรืออาหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากวันที่ครบกำหนดให้ปุ๋ยอากาศครื้มฝนไม่ควรรดปุ๋ย เนื่องจากไม่มีแสงแดดช่วยกล้วยไม้ก็ไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และถ้าหากฝนตกปุ๋ยก็จะถูกชะล้างไปกับฝนโดยที่กล้วยไม้ไม่ได้รับประโยชน์จากปุ๋ยนั้นเลย จึงควรงดการให้ปุ๋ยในวันดังกล่าว และอาจเลื่อนการให้ปุ๋ยไปในวันถัดไป หรืออาจงดให้ปุ๋ยในอาทิตย์นั้นแล้วไปรดในอาทิตย์ถัดไปก็ได้

โรคและแมลงศัตรู

 

ปัญหาที่สำคัญในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ก็คือ โรคและแมลงรบกวน โรคของกล้วยไม้มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรคและแมลงศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และขยายพันธุ์รวดเร็ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การป้องกันกำจัดได้ยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง โรคและแมลงศัตรูของกล้วยไม้ที่พบมีดังนี้ เพราะสารเคมีแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อราได้แตกต่างกัน

โรคเน่าดำหรือยอดเน่า    หรือเรียกว่าโรคเน่าเข้าไส้ โรคนี้สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora 

ลักษณะอาการ     โรคนี้สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน ถ้าเชื้อราเข้าทำลายที่ราก รากจะเน่าแห้ง ซึ่งมีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และตายในที่สุดถ้าเชื้อราเข้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย และถ้าแสดงอาการรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เมื่อผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามแนวยาวของต้น โรคนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นสูง

การป้องกันและกำจัด     ควรปรับสภาพเรือนกล้วยไม้ให้โปร่ง ไม่ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป ถ้าพบโรคนี้ในระยะเป็นลูกกล้วยไม้ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่ใดแล้วควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกเสียจนถึงเนื้อดี แล้วใช้ยาฉีดพ่น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราจะต้องใช้ชนิดที่สามารถป้องกันเชื้อราชนิดนี้โดยตรง เช่น ไดโพลาแทน, ริโดมิล, เทอราโซล สำหรับการใช้ยาประเภทดูดซึมมีข้อควรระวัง คือ อย่าให้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เชื้อราดื้อยา ควรผสมกับยาชนิดอื่น เช่น แมนโคเซป หรือใช้ยาสูตรที่ผสมมาให้เรียบร้อยแล้ว เช่น ริไดมิล เอ็มแซด หรืออาจใช้สลับกันระหว่างยาดูดซึมจะทำให้การป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น

โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม เกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis

ลักษณะอาการ     ปรากฏอาการบนกลีบดอกกล้วยไม้ อาการเริ่มแรกเป็นจุดขนาดเล็กสีน้ำตาลเหลือง เมื่อจุดเหล่านี้ขยายโตขึ้นจะเข้มเป็นสีสนิม มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.1-0.3มิลลิเมตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวสวนกล้วยไม้นิยมเรียกว่า “โรคราสนิม” ลักษณะดังกล่าวจะปรากฎชัดเจนบนดอกหวายมาดาม แต่อาการบนหวายขาวจะเป็นแผลสีน้ำตาลไม่เป็นแผลสีสนิมชัดเจนอย่างบนหวายมาดาม โรคนี้ระบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะถ้ามีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือมีน้ำค้างลงจัด โดยจะระบาดติดต่อกันรวดเร็วทั่วทั้งรังกล้วยไม้และบริเวณใกล้เคียง

การป้องกันและกำจัด     หมั่นตรวจดูแลรังกล้วยไม้ให้สะอาดอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคาต้น เพราะจะเป็นแหล่งให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เก็บรวบรวมดอกที่เป็นโรคให้หมดแล้วนำไปเผาทำลายเสีย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรค หลังจากนั้นจึงฉีดพ่นสารเคมี เช่น ไดเทนเอ็ม 45, ไดเทนแอลเอฟหรือมาเน็กซ์ โดยในช่วงฤดูฝนควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น

โรคใบปื้นเหลือง    สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora dendrobii

ลักษณะอาการ     จะเกิดบนใบของกล้วยไม้โดยเฉพาะที่อยู่โคนต้นก่อนโดยใบจะมีจุดกลมสีเหลือง เมื่อเป็นมากๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพลิกดูใต้ใบจะเห็นเป็นกลุ่มผงสีดำ ในที่สุดใบที่เป็นรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ พร้อมทั้งร่วงหลุดออกจากต้นในที่สุด ทำให้ต้นกล้วยไม้ทิ้งใบหมด

การป้องกันและกำจัด     ควรเก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย และรักษารังกล้วยไม้ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อเป็นการทำลายเชื้อและลดปริมาณของเชื้อราในรังกล้วยไม้ และฉีดพ่นด้วยยาเดลซีนเอ็มเอ็ก200, ไดเทนเอ็ม 45, เบนเลททุกๆ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

โรคแอนแทรกโนส    สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp.

ลักษณะอาการ     ใบจะเป็นแผลวงกลมสีน้ำตาลอมแดงหรือสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งขยายออกไปเป็นแผลใหญ่เห็นเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อที่เป็นแผลบุ๋มลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย กล้วยไม้บางชนิดมีขอบแผลเป็นเนื้อเยื่อสีเหลืองล้อมรอบแผล เช่น ลักษณะแผลของพวกแมลงปอ ฯลฯ บางชนิดแผลมีขอบสีน้ำตาลเข้มกว่าภายในและไม่มีขอบแผลสีเหลืองเลย เช่น แผลของกล้วยไม้ดินบางชนิด เนื้อเยื่อของแผลนานเข้าจะแห้งบางผิดปกติ ขนาดของแผลแตกต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อม บางแห่งมีเชื้อราอื่นมาขึ้นร่วมภายหลังทำให้แผลขยายกว้างออกไปจนมีลักษณะที่เป็นแผลวงกลมอย่างอาการเริ่มแรกกล้วยไม้ที่มีใบอวบอมน้ำมาก เช่น แคทลียา ลูกผสมแมลงปอ และกล้วยไม้ดินบางชนิดใบจะเน่าเปื่อยถ้าฝนตกชุก แต่โดยปกติจะเป็นแผลแห้งติดอยู่กับต้น

การป้องกันและกำจัด     โดยเก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสีย เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดต่อไป และฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อราทุกๆ 7-15 วันต่อครั้งส่วนฤดูฝนต้องฉีดพ่นเร็วกว่ากำหนด เช่น 5-7 วันต่อครั้ง เป็นต้น

โรคเน่าแห้ง    สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii

ลักษณะอาการ     โดยเชื้อราจะเข้าทำลายกล้วยไม้บริเวณรากหรือโคนต้นแล้วแพร่ไปยังส่วนเหนือโคนต้นขึ้นไป บริเวณที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อจะแห้งและยุ่ย ถ้าอากาศชื้นมากๆ จะเห็นเส้นใยสีขาวแผ่บริเวณโคนต้น ลักษณะที่เห็นได้ง่ายคือมีเม็ดกลมๆ ขนาดเล็กสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่ตามโคนต้น ในกล้วยไม้บางชนิดจะแสดงอาการที่ใบโดยจะทำให้ใบเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่ออากาศแห้งจะเหี่ยวและร่วงตายไปในที่สุดโรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน ซึ่งเชื้อราชนิดนี้จะมีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลกลมๆ ซึ่งทนต่อการทำลายของสารเคมีและสภาพแวดล้อมต่างๆ ทำให้มีชีวิตอยู่ได้นาน

การป้องและกำจัด     ควรดูแลรังกล้วยไม้เสมอ ถ้าพบว่าเป็นโรคนี้ควรเก็บรวบรวมใบแล้วเผาทำลายทิ้ง และราดทับหรือฉีดพ่นด้วยยากำจัดเชื้อรา เช่น เทอราโซลหรือไวตาแว

โรคเน่า สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas gladioli

ลักษณะอาการ     อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดช้ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือบนหน่ออ่อน ทำให้เนื้อเยื่อมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก คือใบจะพองเป็นสีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ ถ้าเอามือจับแต่เบาๆ จะเละติดมือและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งจะขยายลุกลามออกไปทั้งใบและหน่ออย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง

การป้องกันและกำจัด     ตัดหรือแยกส่วนที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ในช่วงที่มีฝนตกหนักควรมีหลังคาพลาสติกคลุมอีกชั้นหนึ่งสำหรับลูกกล้วยไม้หรือไม้ปลูกใหม่ เพื่อไม่ให้แรงกระแทกของเม็ดฝนทำให้กล้วยไม้ช้ำและเป็นสาเหตุให้เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย ไม่ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป เพราะจะทำให้อากาศระหว่างต้นไม่ถ่ายเท เกิดความชื้นสูงและง่ายแก่การเกิดโรค

นอกจากนี้การเร่งกล้วยไม้ให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงมากเกินไปจะทำให้ต้นและใบกล้วยไม้อวบหนา ซึ่งเหมาะแก่การเป็นโรคเน่าเละนี้มาก สำหรับยาเพื่อใช้กำจัดแบคทีเรียนิยมใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกสเตรปโตมัยซิน เช่น แอกริมัยซิน หรืออาจใช้ไฟแซน 20 หรือนาตริฟินก็ได้

โรคใบจุด สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phyllostictina psriformis 

ลักษณะอาการ     ในกล้วยไม้สกุลแวนด้า ลักษณะแผลเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมากบางครั้งแผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ เมื่อลูบดูจะรู้สึกสากมือ ซึ่งในเวลาต่อมาตุ่มนูนนี้จะแตกออกมีสปอร์จำนวนมาก ระบาดในฤดูฝนถึงฤดูหนาว ส่วนลักษณะอาการที่เกิดกับสกุลหวายจะแตกต่างจากสกุลแวนด้า คือ ลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน ขนาดแผลมีได้ตั้งแต่เท่าปลายเข็มหมุดจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 1 เซนติเมตร บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไป หรืออาจนูนขึ้นมาเล็กน้อยหรือเป็นสะเก็ดสีดำ เกิดได้ทั้งด้านบนใบและหลังใบ บางทีอาจมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือ บนใบจะมีอาการเป็นจุดกลมสีเหลือง เห็นได้ชัดเจน จุดกลมเหลืองเหล่านี้บางจุดจะมีสีดำบริเวณกลางและค่อยแผ่ขยายเป็นจุดกลมสีดำทั้งหมดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดปี

การป้องกันและกำจัด     ทำได้โดยการรวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสียหรือฉีดพ่นด้วยยาไดเทนเอ็ม 45, ไดเทนแอลเอฟ หรือยาประเภทคาร์เบนดาซิม เช่น เดอโรซาล เป็นต้น

เพลี้ยไฟ

ลักษณะอาการ     เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนๆ เช่น ตามยอด ตาและดอก มักพบเพลี้ยไฟเข้าทำลายกล้วยไม้ในฤดูร้อนและฤดูฝน ทำความเสียหายมากแก่กล้วยไม้ในระยะที่ดอกตูมและดอกกำลังบาน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ส่วนอาการที่ดอกบานเริ่มแรกจะเห็นเป็นรอยแผลสีซีดขาวที่ปากหรือกระเป๋า และตำแหน่งของกลีบดอกที่ซ้อนกัน ต่อมาแผลจะกลายเป็นสีน้ำตาลเรียกว่า “ดอกไหม้หรือปากไหม้” ดอกเหี่ยวแห้งง่าย

การป้องกันและกำจัด     อาจใช้พอสซ์ในอัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไวเดทแอล อัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ซีเอฟ 35 แอสที 10-15 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเลือกเวลาการฉีดในช่วงเย็นๆ

ไรแดงหรือแมงมุมแดง

ไรแดงเป็นศัตรูจำพวกปากดูดมีขนาดเล็กมาก แต่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นจุดสีแดงเล็กๆ เคลื่อนไหวได้ ไรแดงมีสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเหลืองอมเขียว สีเหลืองและส้ม รูปร่างค่อนข้างกลม มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มทางด้านใต้ใบ

ลักษณะอาการ  ไรแดงจะทำลายทั้งใบและดอก โดยจะดูดน้ำเลี้ยง ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ใบจะทำให้เกิดเป็นจุดด่าง ผิวใบไม่เรียบ มีสีเหลืองและค่อยๆ เป็นสีเข้มขึ้นจนถึงสีน้ำตาล ถ้ามีการทำลายมากๆ จะมองเห็นบริเวณนั้น

การป้องกันและกำจัด  ทำได้โดยเก็บใบและดอกที่ถูกทำลายไปเผาและใช้ยาเคลเธน อัตรา 30 ซีซี ฉีดพ่นทั้งต้น

 

ขอขอบคุณ http://theerapongphoosee53010211125.blogspot.com/2012/09/4-6-2-4-3-4-4-x-4-10-x-10-2-3-2-4-10-3.html

กล้วยไม้ป่าภาคใต้

ประสบการณ์สองปีเศษที่ใช้ชีวิตอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย จึงมีโอกาสได้สำรวจและรับความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ป่าของไทยที่มีถิ่นอาศัยในเขตภาคใต้ของไทยเพิ่มขึ้น ภาคใต้ของไทยหมายถึงช่วงจังหวัดชุมพรลงไปจนถึงพรมแดนมาเลเซีย สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับกับหุบเขา มีเกาะรายล้อมอยู่สองฟากฝั่งทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,800-2,000 มิลลิเมตรต่อปี โดยช่วงกระจายของฝนมีมากกว่า 6 เดือนต่อปี และที่สำคัญคือไม่มีฤดูหนาว

ภาคใต้ของไทยน่าจะเป็นพื้นที่ที่มีการกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้พันธุ์แท้ที่สมบูรณ์จุดหนึ่ง ที่พบได้ง่ายและมากที่สุดเห็นจะเป็น “กะเรกะร่อน” (Cymbidium aloifolium) กล้วยไม้ชนิดนี้พบการกระจายตัวทั่วทุกภาค และในภาคใต้ก็พบทุกจังหวัด ที่มากที่สุดผมคิดว่าน่าจะอยู่ในเขต อ.ท่าฉางต่อกับ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เพียงแหงนหน้าสังเกตบนต้นตาลข้างทางหรือตามคันนาก็พบแล้ว น่าแปลกใจไม่น้อยว่ากล้วยไม้ชนิดนี้มีความสัมพันธ์ในการดำรงชีพกับตาลอย่างใกล้ชิด อีกชนิดหนึ่งคือ “กะเรกะร่อนปากเป็ด” (Cymbidium finlaysoniana) รูปลักษณะของใบคล้ายคลึงกับชนิด aloifolium ต่างตรงที่ดอกใหญ่กว่า มีกลีบสีเหลืองอมเขียว ปากสีขาวแซมแดงม่วง กล้วยไม้ชนิดนี้มีถิ่นอาศัยเฉพาะในภาคใต้เท่านั้น

กลุ่มกล้วยไม้ที่กำลังถูกรุกรานมากที่สุดได้แก่ กล้วยไม้รองเท้านารี (Paphiopedilum) รองเท้านารีเป็นกล้วยไม้ประจำถิ่น ชนิดที่พบพบทางภาคใต้ก็จะไม่พบที่ภาคอื่น ที่สถานีวิจัยข้าว จังหวัดกระบี่ จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นเรือนรวบรวมกล้วยไม้ป่าที่ถูกชาวบ้านและพ่อค้าลักลอบเก็บไปขาย เมื่อศุลกากรหรือเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุมได้ก็จะนำมารวบรวมไว้ที่นี่ ที่ผมชอบมากที่สุดคือ “รองเท้านารีเหลืองกระบี่” (Paphiopedilum exul) เพราะรูปทรงสวย สีเหลือง ขาว กระน้ำตาล เป็นกล้วยไม้สัญลักษณ์ประจำจังหวัดกระบี่ “รองเท้านารีขาวสตูล” (Paphiopedilum niveum) พบในเขตจังหวัดสตูลและตรัง โดยเฉพาะตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน ที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่นิยมเดินป่าพบรองเท้านารีขึ้นอยู่ข้างทางขณะเดินป่าที่ไม่สมบูรณ์นัก แต่ยังอุตส่าห์พบ “รองเท้านารีขาวชุมพร” (Paphiopedilum godefroyae) ซึ่งพบย้ำนักย้ำหนาให้แกเลี้ยงให้รอด ถ้าเก็บมาจากป่าแล้วมาเลี้ยงตายล่ะน่าดู รองเท้านารีขาวชุมพรสามารถเจริญเติบโตได้ที่ในที่ที่ความชื้นค่อนข้างสูง และแสงแดดส่องไม่จัดเกินไปนัก กล้วยไม้อีกชนิดที่น่าห่วงว่าจะสูญพันธุ์ก็คือ “เอื้องปากนกแก้ว” (Dendrobium cruentum) ซึ่งก็พบได้เฉพาะทางภาคใต้ของไทยเท่านั้น แต่ปัจจุบันก็ยากเต็มที กล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารีและเอื้องปากนกแก้วที่กล่าวมาจัดอยู่ในกลุ่มพืชใกล้สูญพันธุ์ (Endanger species)

กล้วยไม้พระเอกอีกชนิดหนึ่งที่อยากกล่าวถึงคือ “ว่านเพชรหึง” บ้างก็เรียกว่า “หางช้าง” (Grammatophyllum speciosum) ลำลูกกล้วยคล้ายลำอ้อย ขนาดโตเต็มที่สูงถึง 2-3 เมตร ดอกใหญ่เป็นช่อสีเหลืองส้มอมเขียว กระน้ำตาล เป็นที่ต้องการของตลาดกรุงเทพและต่างประเทศมาก ราคาสูงถึงสี่ห้าพันบาท กอเล็กๆ ก็ในราวสองสามร้อยบาทขึ้นไป ที่จังหวัดกระบี่ชาวบ้านมักปลูกกล้วยไม้ชนิดนี้ไว้ที่หน้าบ้าน สอบถามดูในป่าก็ใกล้สูญพันธุ์เต็มที หนังสือบางเล่มกล่าวว่ากล้วยไม้ชนิดนี้เป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่บ้านเขาสามหน่วยและบ้านนาน้ำเค็ม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ในที่ลุ่มนา พบ “ยี่โถปีนังหรือไม้จิ้มฟันควาย” (Arunida graminifolia) ดอกสีม่วงอมชมพูคล้าย Cattleya แต่ผมว่าสวยกว่า เพราะ Cattleya ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ผมชอบของไทยมากกว่า ที่สำคัญยี่โถปีนังออกดอกได้ตลอดปี นิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ

กล้วยไม้อีกชนิดที่มีการดำรงชีพอย่างน่าพิศวง คือกล้วยไม้ที่มีการใช้ชีวิตแบบผู้ย่อยสลาย (Saprophytic orchids) กล้วยไม้ในกลุ่มนี้ต้องอาศัยเชื้อรา Mycorrhiza สลายธาตุอาหาร แล้วกล้วยไม้จึงนำเอาสารเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารและช่วยในการงอกของเมล็ด ปัจจุบันกล้วยไม้กลุ่มนี้ก็หาดูยากเต็มทีเพราะไม่ได้ออกดอกให้เห็นตลอดปี Saprophytic orchids ส่วนใหญ่อยู่ในอนุวงศ์ (Sub family) Epidendroideae และจะเจริญเติบโตได้ในป่าทึบที่สมบูรณ์เท่านั้น บริเวณเทือกเขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช เป็นแหล่งที่พบกล้วยไม้กลุ่มนี้มากที่สุด “เอื้องคีรีวง” (Didymoplexiopsis khiriwongensis) ที่พบบนเขาหลวง ชูเฉพาะช่อดอกเหนือผิวดิน ไม่มีส่วนของสีเขียวหรือ Chlorophyll ดอกเล็กสีขาว ขอบปากมีสีส้มอมเหลือง ขณะนี้กำลังขออนุมัติตั้งชื่อวิทยาศาสตร์และรับรองพันธุ์ อีก 2 ชนิดที่พบเฉพาะบนเขาหลวงคือ Lecanochis multiflora และ Cyrtosia plurialata ซึ่งไม่มีรายละเอียด เพราะผมก็ไม่เคยเห็น อีกชนิดหนึ่งที่ทราบมาว่าพบที่เขาทุ่ง จ.ชุมพร อยู่ในสกุล Didymoplexis กำลังเสนอรับรองพันธุ์เช่นกัน

กล้วยไม้ป่าที่พบว่าชาวบ้านเก็บมาจากป่ามาปลูกเลี้ยงที่บ้านกันมากอีกชนิดคือ “ไอยเรศ” หรือ “พวงมาลัย” หรือ “หางกระรอก” (Rhynchostylis retusa) แล้วแต่จะเรียกกัน กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นกล้วยไม้ในสกุลช้างเพียงชนิดเดียวที่พบในภาคใต้ ดอกเป็นช่อห้อยลง มีกลิ่นหอม ชอบแสงแดดจัด อีกชนิดหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในสกุลกุหลาบ ซึ่งเป็นชนิดเดียวที่พบทางภาคใต้คือ “กุหลาบกระบี่” หรือ “พวงชมพู” (Aerides krabiensis) โดยพบในเขตจังหวัดกระบี่และพังงา โดยลักษณะใบแคบ หนา รูปตัววี มักเห็นการแตกกอมาก

ที่จังหวัดระนอง ในเขตอำเภอกระบุรี ละอุ่น และกะเปอร์ เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านกำลังบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำสวนกาแฟ หรือไม่ก็ปาล์มน้ำมัน เพราะฉะนั้นเมื่อเราได้เดินทางเข้าหมู่บ้าน ก็จะพบว่าหน้าบ้านถูกประดับประดาไปด้วยต้นกล้วยไม้ป่าที่ได้ติดไม้ติดมือกลับมาเมื่อเขาเข้าไปตัดไม้ในป่า “เอื้องหมาก” (Spathoglottis plicata) กล้วยไม้ดินใบจีบคล้ายหมากชูดอกสีม่วงอมชมพู “เอื้องแปรงสีฟัน” (Dendrobium secundum) ก็พบเห็นได้ง่ายเช่นกัน “ขี้นกกระยางหรือหวายตะมอย” (Dendrobium cruentum) พบได้ไม่ยากเช่นกัน ดอกสีขาวปากแต้มเหลือง มีกลิ่นหอม แต่หากตั้งใจดมตรงๆ จะมีกลิ่นออกสาบๆ สำหรับจังหวัดชุมพรซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของกล้วยไม้สกุลม้าวิ่งซึ่งพบสองชนิดคือ Doritis pulcherrima และชนิดพันธุ์ที่พบเฉพาะ จ.ชุมพร คือ var.chumpornensis ซึ่งคนเก่าคนแก่ที่นี่เล่าให้ฟังว่าเมื่อสมัยก่อนพบกล้วยไม้พันธุ์นี้อาศัยอยู่ตามเชิงเขาในเขต อ.ท่าแซะ และ อ.ปะทิว เป็นจำนวนมหาศาล แต่เมื่อป่าถูกทำลายลงมากจึงเป็นกล้วยไม้ที่เริ่มหายาก ผมพบกล้วยไม้ชนิดนี้ในที่ราบใกล้ชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ในเขต อ.ทุ่งตะโก ขึ้นดาษดื่นยังกับวัชพืชบนเครื่องปลูกคือทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง ภาวนาว่าอย่าให้ชาวบ้านแถวนั้นอย่าได้รู้ว่ามันเป็นกล้วยไม้ มิฉะนั้นคงจะมีการเก็บเพื่อนำมาขายกันหมด ในพื้นที่ผืนกันนี้พบกล้วยไม้ดินชนิด Bromheadia finlaysoniana ซึ่งขึ้นอยู่ไม่น้อยทีเดียว ปัจจุบันกล้วยไม้ชนิดนี้ก็หายากเต็มที เป็นเพราะดอกมีสีขาวสะอาดสีน้ำนม ปากสีเหลืองและม่วงมีกลิ่นหอมอ่อนๆ สำหรับกล้วยไม้สกุลนี้ที่มีรายงานพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้นชนิดอื่นๆ ก็เช่น Bromheadia alticola หรือ “กลีบขาว” ในเขตที่ลุ่มมีน้ำไหลผ่านพบ Thrixspermum amplexicaule หรือ “เอื้องพรุ” ขึ้นปะปนอยู่กับกอหญ้า กล้วยไม้ชนิดนี้มีการดำรงชีพค่อนข้างแปลกจากกล้วยไม้ธรรมดาก็คือ โคนต้นจะอยู่ในน้ำ ลำต้นขนาดก้านไม้ขีดไฟ เจริญเติบโตแบบ Monopodial ดอกสีน้ำเงินอมม่วง นอกจากนี้ยังมีกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่พบกระจายพันธุ์มากอีกสกุลหนึ่งคือ สิงโตกลอกตา (Bulbophyllum) และที่พบเพียงภาคใต้เท่านั้นได้แก่ “สิงโตเหลือง” (Bulbophyllum vaginatum) ซึ่งพบได้ตั้งแต่ชุมพรยันนราธิวาส Bulbophyllum lilacinum พบที่จังหวัดพังงาเพียงที่เดียว ”ตุ๊กตา” (Bulbophyllum modestum) ซึ่งพบในป่าลุ่ม ป่าพรุ หรือเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 800 เมตรขึ้นไป “สิงโตก้ามปูแดง” (Bulbophyllum patens) เคยพบที่นครศรีธรรมราช ตรัง และจังหวัดชายแดนติดประเทศมาเลเซีย

ยังมีกล้วยไม้อีกหลายชนิดที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของไทยมีโอกาสดำรงชีพในภาคใต้ของไทย บ้างก็สูญพันธุ์ไม่มีโอกาสให้ลูกหลานชื่นชมอีกแล้ว บ้างก็กำลังถูกคุกคามอย่างหนักซึ่งคาดว่าอีกไม่ช้า ถ้าไม่มีกฎหมายใดที่เข้มแข็งเพียงพอที่จะลงโทษมนุษย์ผู้เห็นแก่ตัวเหล่านั้นลงได้ กล้วยไม้สายพันธุ์แท้อีกไม่ต่ำกว่า 10 พันธุ์ น่าจะสูญพันธุ์ในอีกไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า

กล้วยไม้ทางด้านภาคเหนือ

กล้วยไม้ไทย มีความหลากหลาย มากมาย ทั้งชนิดที่เพิ่งค้นพบใหม่ และยังไม่ค้นพบ หรือค้นพบแล้วยังไม่ได้ตั้งชื่อก็มีอีกมาก เราลองมาทำความรู้จักกล้วยไม้ในธรรมชาติ ที่ค่อนข้างพบเห็นได้ทั่วไป ระหว่างเดินทางในป่า จะได้รู้จักเอาไว้……
ภาพแรก.. สิงโตสยาม……… พบมากที่ภูหลวง

สิงโตใบพาย…….. พบมากที่ภูหลวงเช่นกัน……. ชอบขึ้นบนหิน ฤดูดอก มกราคม ถึง มีนาคม

ช้างกระ มีเกือบทุกภาคทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้…… ฤดูดอก ช่วง ธันวาคมถึง มกราคม

เอื้องช้างน้าว พบมากทางภาคเหนือ และภาคอิสาน ฤดูดอก กุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม
เอื้องดอกมะเขือ………….. พบมากทางภาคตะวันออกแถบระยอง จันทบุรี สระแก้ว และตราด ฤดูดอกเมษายน ถึงพฤษภาคม

เสือโคร่ง พบทั่วไปทุกภาค ฤดูดอก กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน

ช้างเผือก พบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ และพบในธรรมชาติน้อยมาก…. ฤดูดอก ธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์
ช้างพลาย……… แหล่งที่พบมากคือ เขาใหญ่ และป่าแถบภาคตะวันออก แต่ปัจจุบันนี้ พบได้น้อยมากในธรรมชาติ ฤดูดอก ธันวาคม ถึงกุมภาพันธ์

รองเท้านารีอินทนนท์ พบมากทางภาคเหนือ และภาคอิสาน รูปที่ถ่ายนี้ ถ่ายมาจากเขต ภูหลวง ฤดูดอก พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์

สำเภางาม…….. พบมากที่ภูหลวง…….. และพบเฉพาะภูเขาสูง ฤดูดอก ธันวาคม ถึงเมษายน

ไม้รุ่น เอื้องช้างน้าว

ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยไม้พันธุ์แท้
ประเภทสินค้า : สินค้าแนะนำ
ราคา : 120 บาท
ค่าจัดส่งEMS : กรณีสั่งซื้อ 1-2 ต้น คิดค่าจัดส่ง 80 บาท , 3 ต้นขึ้นไป คิดค่าจัดส่ง 100 บาท

กล้วยไม้พันธุ์แท้ เอื้องช้างน้าว ชุดนี้เป็น ช้างน้าว ของทางสวนเพื่อนบ้านของเราเองครับ พอดีทางสวนกำลังคัดแบ่งจำหน่ายส่งออกต่างประเทศครับ ขนาดลูกไม้กำลังอวบสวยเห็นแล้ว ก็ทนไม่ไหวจึงขอแบ่งมาจำหน่ายส่วนหนึ่งครับ สำหรับช้างน้าวนั้นเป็นกล้วยไม้ที่ทนร้อนมาก ๆ ครับ เขาสามารถทนร้อนได้แม้กระทั่งแสงแดด 100% เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายมาก ให้ดอกปีละ 1 ครั้งคือช่วงฤดูร้อน ดอกจะเป็นช่อห้อย ยาวลงมาจากปลายลำเหมือนอย่างที่เห็นตามภาพด้านบนครับ บางต้นก็มีสีสวยเข้มสด บางต้นก็มีพื้นดอกเป็นสีเหลืองนวลอ่อน ๆ และทุกต้นจะมีตาสีดำเข้มแต้มตรงปาก ช้างน้าว เลยมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เอื้องคำตาควาย ครับ
ช้างน้าว ชุดนี้เป็นกล้วยไม้เมล็ดที่เพาะพันธุ์โดยฟาร์ม สามารถเลี้ยงได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย เป็นกล้วยไม้ทนร้อนครับ ชอบแสงแดดมาก ๆ ลักษณะของดอกที่จะให้อาจจะแตกต่างกัน เล็กน้อย แต่โดยรวม ดอกจะมีสีสันคล้ายกับภาพด้านบนที่นำมาเป็นตัวอย่างครับ ชุดนี้คัดต้นอวบ ๆ สวย ๆ จำหน่ายเท่านั้นครับ ขนาดต้นกำลังงามเชียวครับ คาดว่าปีหน้าคงเริ่มทยอยให้ดอกกันแล้วครับ

หากท่านสนใจในรายการกล้วยไม้ของเรา ท่านสามารถติดต่อหาเราได้โดย 3 ช่องทางด้านล่างต่อไปนี้
1. คลิ๊กไปยังหน้า contact เพื่อกรอกรายละเอียดสินค้าส่งเข้าหาเราโดยตรง
2. ท่านสามารถส่งอีเมล์หาเราได้ที่ orchidtropical.sale@gmail.com พร้อมส่งรายละเอียดสินค้าที่ท่านสนใจ
3. ติดต่อทางโทรศัพท์ที่ พีรยุทธ์ Call : 092-9425-536
***กรณีไม้นิ้ว ไม้รุ่น และไม้แบ่งลำ ไม่ว่าจะสั่งซื้อเพียง 1 ต้น เล็กหรือใหญ่ ทางเราก็ยินดีจัดส่งให้ครับ***
***กรณีไม้ขวด สั่งซื้อเพียง 1 ขวด ทางเราก็ยินดีจัดส่งให้เช่นกันครับ ! ***

 

สวนกล้วยไม้ที่แนะนำของจังหวัดอุดรธานี

สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์

 

ตั้งอยู่ที่ซอยกมลวัฒนา ถนนรอบอุดร-หนองสำโรง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เลยแยกถนนเลี่ยงเมืองไปเล็กน้อย ทางซ้ายมือจะมีทางแยกเข้าหนองสำโรงประมาณ 500 เมตร และเห็นป้ายบอกทางเข้าสวนกล้วยไม้ทางด้านซ้ายมือ สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ เป็นสวนกล้วยไม้ที่ผลิตกล้วยไม้กลิ่นหอมพันธุ์ใหม่ของไทยซึ่งใช้เวลาในการค้นคว้า และผสมพันธุ์ระหว่างแวนด้า (Vanda) โจเซฟฟินแวนเบอร์โร (Josephine Van Berrow) ได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่สมาคมกล้วยไม้โลก ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2531 ชื่อพันธุ์ Udon Sunshine Orchid หรือพันธุ์นางสาวอุดรซันไฌน์ ซึ่งมีการนำไปสกัดทำน้ำหอมในชื่อเดียวกันไปจำหน่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4224 24755

การเดินทางไปสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ อุดรธานี

ติดต่อสอบถาม:

ททท.สำนักงานอุดรธานี 0 4232 5406-7
http://www.tourismthailand.org/udonthani

ทางเข้าสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์

ทางเข้าสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ การเดินทางมายังสวนกล้อวยไม้หอมแห่งนี้เริ่มต้นจากตัวเมืองอุดรธานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 มุ่งหน้าไปหนองคาย เพียง 5 กิโลเมตร (เลยแยกทางเลี่ยงเมืองไป ประมาณ 500 เมตร) จะมีป้ายบอกทางเข้าสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ เมื่อเลี้ยวเข้าไปแล้วจะมีร้านสหกรณ์และหนองน้ำเล็กๆ มีห้องน้ำบริการนักท่องเที่ยว เนื่องมาจากเป็นสวนสาธารณะ ส่วนบ้านที่เป็นสถานที่สวนกล้วยไม้อยู่ตรงข้ามร้านสหกรณ์ มองภายนอกเหมือนบ้านคนทั่วๆ ไป ภายในมีสุนัขเลี้ยงอยู่แต่เจ้าของบ้านบอกให้เข้าไปได้เพราะหมาไม่กัดครับ (แต่ก็สร้างความกลัวให้เราไม่น้อยเหมือนกัน)

สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์

สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ ปกติเวลาเราเดินทางไปยังสวนกล้วยไม้ ก็จะมีการตั้งชื่อแตกต่างกันไปสำหรับที่อุดรธานีสิ่งหนึ่งที่สะดุดหูอยู่ก็คือชื่อที่ตั้งว่า “สวนกล้วยไม้หอม” เมื่อเดินเข้ามาภายในอาจจะดูแตกต่างจากสวนกล้วยไม้แห่งอื่นๆ (เทียบกับที่แอร์ออคิด นครปฐม) อย่างหนึ่งก็คือแปลงกล้วยไม้ที่หาดูไม่ค่อยจะมีแบบนี้เท่าไหร่ จะเห็นเพียงการแขวนกล้วยไม้ให้เราเดินชม อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ ก็คือกลิ่นของกล้วยไม้ที่หอมไปทั่วบริเวณ ได้กลิ่นตั้งแต่เดินเข้าสวนเลยทีเดียว

advertize

แปลงกล้วยไม้

แปลงกล้วยไม้ ที่นี่มีการเพราะปลูกเพื่อการเก็บดอกกล้วยไม้ส่งไปยังโรงงานน้ำหอมแห่งหนึ่งเพื่อทำการสกัดน้ำหอมที่มีชื่อว่า “มิสอุดรซันไฌน์” สกัดจากกล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่ได้ผสมขึ้นเป็นผลสำเร็จโดย นายประดิษฐ์ คำเพิ่มพล ในปี พ.ศ.2520 เป็นการปรับปรุงสายพันธุ์ “Miss Udorn Sunshine” หรือ “นางสาวอุดรซันไฌน์” ระหว่างแวนด้า สามปอยดงกล้วยไม้ป่าของไทย และแวนด้า โจเซฟฟิน แวนเบอร์โรว์ ได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่สมาคมกล้วยไม้โลกประเทศสหราชอาณาจักร นางสาวอุดรซันไฌน์ จะมีกลิ่นหอมในช่วงเช้าจนถึงเวลาประมาณบ่ายสองโมง การมาเที่ยวชมที่สวนกล้อวยไม้แห่งนี้ควรมาในช่วงสายๆ จนถึงเลยเที่ยงไม่มากนัก จะได้กลิ่นหอมรัญจวนของกล้วยไม้ชนิดนี้ทั่วบริเวณทั้งหมด

กล้วยไม้นางสาวอุดรซันไฌน์

กล้วยไม้นางสาวอุดรซันไฌน์ ปกติจะมีรอบในการออกดอกประมาณ 3-4 เดือน เรามาที่นี่ในเดือนมกราคม ผู้ดูแลสวนบอกว่า นางสาวอุดรซันไฌน์ จะออกดอกอีกครั้งในช่วงเดือน มีนาคม สำหรับวันนี้เราจึงเห็นต้นกล้วยไม้สีเขียวไปทั่วทั้งแปลง และมีดอกให้เห็นเพียงไม่กี่ดอกเท่านั้น

กล้วยไม้รูปแมลง

กล้วยไม้รูปแมลง กล้วยไม้ชนิดนี้มีช่อสวยงามสดใส ถ่ายรูปมาดอกเดียวแบบขยายใหญ่ดูเหมือนมีหน้าตาเป็นแมลงชนิดหนึ่ง

advertize

กล้วยไม้สวย

กล้วยไม้สวย นอกเหนือจากนางสาวอุดรซันไฌน์ ที่สวนกล้วยไม้แห่งนี้ยังมีกล้วยไม้อีกหลายสายพันธุ์ให้เราได้ชม เลือกซื้อเลือกหากันไปปลูกครับ เพราะที่นี่ไม่ได้ขายเพียงแค่ดอก หรือตัดดอกส่งโรงงานน้ำหอมเท่านั้น ยังเพาะพันธุ์กล้วยไม้มากมายจำหน่ายทั้งต้นให้เอาไปเลี้ยงไปดูแลกันที่บ้าน ให้กลื่นหอมทั่วบ้านได้เหมือนกับที่นี่

กล้วยไม้สวย

กล้วยไม้สวย

กล้วยไม้สวย

กล้วยไม้สวย

ร้านจำหน่ายของที่ระลึก

ร้านจำหน่ายของที่ระลึก เป็นส่วนหนึ่งในบ้านอยู่มุมด้านหน้าถัดจากสวนกล้วยไม้ออกไปไม่กี่ก้าวเข้าไปดูกันดีกว่าครับ

ห้องพักผ่อน

ห้องพักผ่อน เข้ามาในร้านของที่ระลึกสวนกล้วยไม้อุดรซันไฌน์ มีมุมสำหรับนั่งพักผ่อน มีเครื่องดื่มจำหน่าย

น้ำหอมนางสาวอุดรซันไฌน์

น้ำหอมนางสาวอุดรซันไฌน์ อีกด้านหนึ่งของร้านที่ระลึก มีตู้กระจกหลายชั้นวางสินค้าหลายอย่าง สิ่งที่เป็นจุดเด่นของที่นี่ก็ต้องเป็นน้ำหอม มีแบบทดลองกลิ่นให้ด้วยครับ ลองฉีดดูปรากฏว่าหอมตลอดวันเลยทีเดียว

น้ำหอมนางสาวอุดรซันไฌน์

น้ำหอมนางสาวอุดรซันไฌน์ เมื่อดูแบบทดลองกลิ่นบนตู้แล้วคราวนี้มาดูบรรจุภัณฑ์ของน้ำหอมที่ออกแบบมาอย่างสวยงาม มี 3 กลิ่นด้วยกัน สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ แม้ว่าจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางมากนักสำหรับชาวไทย แต่ที่นี่เป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาชมและซื้อน้ำหอมกลับไปเป็นจำนวนมาก การออกแบบบรรจุภัณฑ์ก็ดูดีได้มาตรฐานน่าใช้ครับ

เรือนไทยจิ๋ว

เรือนไทยจิ๋ว นอกเหนือจากการขายน้ำหอมที่นี่ก็มีของฝากอีกหลายอย่างวางจำหน่ายในตู้เดียวกัน

กระเป๋าผ้าสุดหรู

กระเป๋าผ้าสุดหรู ผลิตภัณฑ์สวยๆ ยังมีอีกมากมาย ถ้าไปอุดรธานีครั้งหน้า อย่าลืมเวะสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ด้วยนะครับ

แก้ไขล่าสุด 2017-02-12 20:03:56 รับชม 28439

แผนที่ สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ และสถานที่ใกล้เคียง 

เส้นทางไปสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ อุดรธานี