กล้วยไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รองเท้านารีอินทนนท์

กล้วยไม้ป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รองเท้านารีอินทนนท์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphiopedilum villosum (Lindl.) Stein) เป็นกล้วยไม้มีลักษณะ พุ่มต้นกว้าง ในประเทศประมาณ 25-30 ซม. ใบกว้าง 3.5-4 ซม. ยาว 30-40 ซม. ใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ใต้ใบบริเวณโคนกาบใบ มีจุดประสีม่วง แตกหน่อได้ดี มักเจริญเติบโตเป็นกอใหญ่ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ขนาดประมาณ 10-12 ซม. ก้านดอกตั้งตรงยาว 10-12 ซม. กลีบดอกหนาเป็นมันเงา พื้นดอกสีเหลืองปนน้ำตาล กลีบบนบริเวณขอบมีสีเหลืองหรือขาว โคนกลีบบนสีน้ำตาลเข้ม กลีบในมีเส้นสีน้ำตาลเข้มแบ่งกึ่งกลางตามความยาวกลีบ กระเป๋าสีน้ำตาลเป็นมันเงา มีเส้นร่างแหสีน้ำตาล ฤดูการออกดอกในช่วง มกราคม – มีนาคม แหล่งที่พบพบในทำเลที่เป็นป่าดิบภูเขา ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่หนา โดยขึ้นอยู่สูงประมาณ 1200-1500 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นรองเท้านารีชนิดอิงอาศัย (Epiphytic) โดยพบขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ที่มีลักษณะเปลือกหนา มีการผุพังของเปลือกไม้ง่าย ปกคลุมด้วย มอส เฟิร์น ตะไคร่น้ำ อุ้มความชื้นได้ดี โดยหยั่งรากไปตามเปลือกไม้ ตามดอยสูงทางภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์ และดอยเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ดอยแม่อูคอจังหวัดแม่ห้องสอน และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณภูหลวงจังหวัดเลย พม่า อินเดีย ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

เอื้องใบหมาก

เอื้องใบหมาก

เอื้องใบหมาก (Coelogyne trinervรs Lindl.) เป็นเอื้องเทียนที่พบทั่วไป เลี้ยงง่าย โตเร็ว ออกดอกง่ายในหน้าฝน เป็นช่อ สวยงามทีเดียว แต่เหม็นเขียวมาก เรียกได้ว่าออกดอกเมื่อไหร่ได้กลิ่นเหม็นแต่ไกล ดังนั้นคงเดาได้ว่าแมลงที่มาผสมเกสร คงเป็นพวกแมลงวันและด้วงเสียมากกว่าผึ้งหรือผีเสื้อ ใครทนกลิ่นเหม็นไม่ได้ไม่ควรหามาเลี้ยงเด็ดขาด แต่ถ้าใครชอบเลี้ยงกล้วยไม้กลุ่มสิงโตละก็ คงไม่รู้สึีกแปลกอะไร กลิ่นคล้ายๆ สิงโตดอกไม้ไฟครับ

เอื้องนวลจันทร์

เอื้องนวลจันทร์

เอื้องนวลจันทร์ เอื้องนวลจันทร์ ชื่ออื่นๆ : เอื้องเหลืองพิศมร เอื้องเหลืองศรีสะเกษ เอื้องดินลาว หัวข้าวเหนียว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spathoglottis lobbii Lindl.

ลักษณะ : เป็นหัวขนาดเล็กสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ใบกว้าง 2 ซม. ยาว 20-30 ซม. ทิ้งใบร่วงหมดในฤดูร้อน ดอกเป็นช่อตั้งตรงราว 20-30 ซม. มีขนละเอียดปกคลุม ช่อละ 4-6 ดอก ออกรอบๆ ก้านช่อดอกโดยเรียงสลับกัน ดอกสีเหลือง กลีบนอกคู่ล่างมีเส้นสีม่วงประปราย ปลายปากดอกผายกว้างและมีร่อง โคนปากมีจุดและแถบสีแดง ขนาดดอก 2.5-3 ซม. ช่วงเวลาออกดอก พ.ค. – พ.ย. แหล่งที่พบ : ขึ้นตามพื้นดินขึ้นในทุ่งหญ้าและลานหินที่มีน้ำไหลผ่าน พบได้ทุกภาคของไทย แหล่งที่พบขึ้นเยอะ คือ ทุ่งโนนสน เขาสมอปูน ภูหินร่องกล้า และที่อื่นๆ ดอกนี้ถ่ายที่ ภูสอยดาว จ. อุตรดิตถ์ 11 ส.ค.

สร้อยระย้า

สร้อยระย้า
สร้อยระย้า สร้อยระย้า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Otochilus albus Lindl. ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE ชื่ออื่นๆ :

ลักษณะ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปทรงกระบอกต่อกันดูคล้าย ไส้กรอก ใบ รูปใบหอก กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 14-18 ซม. ออกคู่ที่ปลายลำลูกกล้วย ดอก ออกเป็นช่อยาวห้อยลง 10-15 ซม. โคนช่อดอกมีกาบประดับเรียงซ้อนกัน ดอกมีจำนวน 20-25 ดอก ดอกสีขาว บานเต็มที่กว้าง 1 ซม. เส้าเกสรเรียวยาว การกระจายพันธุ์ และนิเ้วศวิทยา พบตามป่าดิบเขาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ ออกดอกเดือนพฤษภาคม

เอื้องสำเภางาม

เอื้องสำเภางาม

เอื้องสำเภางาม ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือและอีสานของไทย ,เวียดนาม ,เกาะไหหลำ พบขึ้นบนภูเขาสูง เอื้องสำเภางามเป็นซิมบิเดี้ยมชนิดที่ขึ้นกับพื้นดิน ใบยาวเหมือนใบกกใบหญ้า ช่อดอกยาวได้ถึง 120 ซม. ออกดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกมีขนาดใหญ่ สีชมพูอ่อน เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของลูกผสมต่างๆ จำนวนมาก สำหรับต้นนี้ถ่ายที่บริเวณใกล้ๆกับบริเวณที่กางเต๊นท์ ที่ภูหลวง จ.เลย ออกดอกในช่วงฤดูหนาว

เข็มแสด

เข็มแสด

เข็มแสด (Asctm. miniatum) ลักษณะต้นเตี้ยแคระใบหนา แข็งซ้อนติดกันแน่น ต้นมักสูงไม่เกิน 30 ซม. แต่กหน่อเป็นกอโต ขนาดใบกว่าง 1.5 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. ปกติสีเขียว แต่ถ้าได้แดดมากจะมีประสีม่วงบนใบมาก ก้านช่อแข็งตั้งตรงสูง ประมาณ 15 ซม. ดอกดกแน่นช่อ ช่อละประมาณ 50 ดอก ขนาด ดอกโต ประมาณ 1.5 ซม. ปลายกส้นเกสรเห็นเป็นจุดสีดำ สีส้มอ่อนไปจนถึงสีส้มแก่สดใสสะดุดตามาก พบขึ้นในป่าโปร่งแห้งแล้งทั่วไปในทุคภาพ ฤดูดอกในราวเดือน กุมภาพันธ์ถึง มีนาคม เลี้ยงง่ายออกดอกง่าย บองต้นออกดอกในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนอีกครั้งหนึ่งก็มี

รองเท้านารีสุขะกูล

รองเท้านารีสุขะกูล

รองเท้านารีสุขะกูล , รองเท้านารีปีกแมลงปอ

ลักษณะ : ใบยาวรีขนาด 10-12 x 2.5-3 ซม. ปลายแหลมและมีหยักแหลมตื้น แผ่นใบด้านบนลายเขียวอ่อนประสีเขียวแก่ ด้านล่างสีเขียวอ่อนอมเท่า ก้านช่อดอกสูง 18-30 ซม. สีม่วง มีขน ดอกในช่อ 1 ดอก ขนาด 5-8 ซม. กล้วยไม้ชนิดนี้พบเมื่อปี พ.ศ. 2507 โดยคุณประสงค์ สุขะกูล ปัจจุบันพบน้อยมาก และอาจใกล้สูญพันธุ์ในแหล่งธรรมชาติ ฤดูออกดอก : สิงหาคม – ตุลาคม แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตการกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะในประเทศไทย ที่มา : หนังสือกล้วยไม้เมืองไทย โดย รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง

เอื้องคำตาดำ

เอื้องคำตาดำ
ลักษณะต้น ลำต้นเป็นลำยาวรี มีสีเขียวอมเหลือง มีร่องเป็นแนวยาวไปตามลำต้น ใบเป็นรูปรี แผ่นใบค่อนข้างเหนียวและหนา ขนาดประมาณ 8-12 ซม. ในต้นลำหนึ่งมี 3-6 ใบ เรียงตัวเวียนสลับใกล้ยอด ลักษณะดอก ช่อดอกเกิดจากข้อใกล้ยอด ลักษณะช่อดอกจะโค้งงอลง ความยาวเกือบเท่าลำต้น ดอกมีสีเหลืองสด ช่อดอกจะค่อนข้างโปร่ง ขนาดดอก 2-3 ซม. ที่ปากจะมีลักษณะเหมือนขนอ่อนๆ และมีกลิ่นหอม ฤดูออกดอก มีนาคม – เมษายน แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้

เอื้องสายน้ำผึ้ง

เอื้องสายน้ำผึ้ง
เอื้องสายน้ำผึ้ง

เอื้องสายน้ำผึ้ง ชื่ออื่นๆ : เอื้องสายเหลือง เอื้องสายประสาท ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dendrobium primulinum Lindl. วงศ์ : ORCHIDACEAE เอื้องสายน้ำผึ้งเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีการเจริญทางข้าง ลำต้นกลมเป็นสายยาวโค้งลง ยาว 30-60 ซม. ลำต้นกลมเกือบจะเท่ากันตลอด บางต้นตรง บางต้นงอ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปใบหอก ยาว 8-10 ซม. เล็กลงไปทางยอด ปลายใบตัดเฉียง ใบที่อยู่กลางๆลำลูกกล้วยจะยาวกว่าใบที่อยู่ปลายลำ ดอกช่อ แบบช่อกระจะ ช่อดอกเกิดที่ข้อของลำลูกกล้วยที่ทิ้งใบแล้ว แต่ละช่อมีดอก1-2 ดอก ขนาดดอกประมาณ 5-7 ซม. ดอกมีกลิ่นหอม กลีบนอกและกลีบในรูปรีขนาด เกือบเท่ากัน สีม่วงหรือสีม่วงอ่อน ขอบกลีบดอกเรียบ กลีบปากรูปกรวยสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบปากบานออก ที่โคนกลีบสีม่วงกระจาย มีขนเล็กๆ กระจัดกระจายทั่วทั้งพื้นผิวด้านบนและด้านล่าง ขอบของกลีบปากเป็นขน ฝาปิดเกสรตัวผู้สีม่วง ผลแห้งแตก เมล็ดขนาดเล็ก ออกดอกเดือน กุมภาพันธุ์- มีนาคม การขยายพันธุ์ แยกต้น เพาะเมล็ด ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ ถิ่นกำเนิด ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย เนปาล ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เมียนมาร์ ไทย ลาว เวียตนาม จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย พบอยู่บนกิ่งไม้ในป่าผลัดใบและป่าดิบ ชอบแดด ภาคเหนือ ได้แก่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่เลย ภาคตะวันตกได้แก่ กาญจนบุรี ภาคกลางได้แก่ เพชรบรูณ์ พิษณุโลก อุทัยธานี

เอื้องกุหลาบพวงชมพู

เอื้องกุหลาบพวงชมพู (Aer. krabiensis) เป็น เอื้องกุหลาบที่เพิ่งพบกันเมื่อราว 10 ปีมานี้เอง และตั้งชื่อตามจัวหวัดที่พบครั้งแรก เป็นเอื้องกุหลาบขนาดย่อมและพบว่ามีขนาดเล็กแบบ miniature ด้วย คือเล็กกว่าต้นย่อมราวเท่าตัว และดอกเล็กกว่าด้วย ลักษณะทรงต้นเตี้ย ใบเล็กและหนาแข็ง กว้าง 1-2 ซม. ยาว 7-12 ซม. ถ้าเป็นชนิดต้นใบแผ่ แต่ถ้าเป็นชนิดต้นเล็กใบแคบเรียวยาวปลายโค้งใบออกซ้อยชิดกันพอประมาณก้านช่อ ดอกยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดของต้นคือยาวประมาณ 15-25 ซม. ปลายช่อดอกที่ตอนปลายอืกราว 10 ซม. เท่านั้น ดอกย่อมโตประมาณ 1.2-1.8 ซม. สีชมพูสดไปจนถึงสีม่วงแดงแก่พบขึ้นตามภูเขาหินปูนตามเกาะและชายฝั่งทะเลใน เขตจัวหวัดกระบี่ และพังงา

รองเท้านารีเหลืองเลย

รองเท้านารีเหลืองเลย
Paphiopedilum hirsutissimum (Lindl.ex Hook.) Stein var. esquirolei (Schltr.) Cribb สกุลย่อย Paphiopedilumรองเท้านารีเหลืองเลย หมู่ Paphiopedilum จำนวนโครโมโซม 2n=26

ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เวียดนาม และทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เช่น จังหวัดเพชรบูรณ์ เลย ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐-๑,๘๐๐ เมตร ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดินหรือพืชอิงอาศัย ต้น มีพุ่มใบขนาด ๒๘-๓๒ เซนติเมตรรองเท้านารีเหลืองเลย ใบ รูปแถบ รองเท้านารีเหลืองเลยกว้าง ๑-๒ เซนติเมตร ยาว ๒๘-๓๒ เซนติเมตร แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกตั้งตรง สีเขียว ยาว ๑๗-๒๕ เซนติเมตร และมีขนสีม่วงแดงปกคลุมจำนวนมาก เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด ๘-๑๐ เซนติเมตร กลีบนอกบนมีสีเหลืองอมเขียว หรือเขียวอ่อน มีจุดสีน้ำตาลอมม่วงจำนวนมาก โคนกลีบสีเหลือง ถัดมามีจุดประสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายกลีบสีชมพูและบิดเล็กน้อย ขอบกลีบบนย่นเป็นคลื่นและมีขนสั้นปกคลุม กระเป๋ามีสีเหลืองและจุดประสีม่วงกระจายทั่ว โล่สีเหลือง และมีจุดประสีน้ำตาลจำนวนมาก รูปทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด ๑ เซ็นติเมตร มีจุดสีขาวนวล ๓ จุด ฤดูออกดอก ธันวาคม – มีนาคม ลักษณะนิสัย ชอบอากาศเย็น ถ้านำมาปลูกในกรุงเทพฯ จะไม่ออกดอก

เอื้องแสดครั่ง

เอื้องแสดครั่ง

ชื่อวิทย์ Dendrobium unicum Seidenf. ชื่อไทย เอื้องครั่งแสด,เอื้องสายสีแสด ลักษณะทั่วไป ลำต้น ลักษณะเป็นลำลูกกล้วยเจริญเติบโตด้านข้าง ลำลูกกล้วยมีสีน้ำตาลเข้ม มีร่องตื้นๆตามยาว เป็นแท่งกลม สูงประมาณ 25-60 ซม. ใบ รูปขอบขนานแกมรูปรีแผ่นใบบาง ร่วงก่อนฤดูออกดอก ใบยาวประมาณ 3-8 ซม. กว้างประมาณ 1-2 ซม. ดอก ช่ออกเกิดตามข้อ ก้านช่อสั้น ช่อละ3-12 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคู่ข้างบิดตัวแล้วม้วนลงเมื่อบานขึ้น ดอกสีส้ม ปลายกลีบดอกสีขาว ปากสีขาว และมีเส้นสีม่วงออกแดง ดอกบานนานประมาณ 1 สัปดาห์ ราก เป็นแบบรากกึ่งอากาศ (Semi-epiphytic) ช่วงเวลาออกดอก กุมภาพันธ์ – เมษายน แหล่งที่พบในประเทศไทย ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ และป่าสน ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร ทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตและหมิ่นเหม่ต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง แหล่งแพร่กระจาย ไทย ลาว และฟิลิปินส์

เอื้องพญาไร้ใบ

เอื้องพญาไร้ใบ

เอื้องพญาไร้ใบ พญาไร้ใบ ช่อ ดอกค่อนข้างโปร่ง ยาว 10-25 ซม. ขนาดดอกประมาณ 1.5 ซม. ดอกบานใหม่สีเขียวอ่อนอมเหลือง ต่อมาสีเหลืองมากขึ้นและอาจมีแต้มจุดประในบางพันธุ์ ผิวกลีบด้านนอกมีขนสั้นนุ่มกระจาย ขอบกลีบเรียบ ดอกบานทนเช่นกัน ฤดูดอก มีนาคม-พฤษภาคม แหล่งที่พบในประเทศไทย พบตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณเกือบทุกภาคยกเว้นภาคกลาง เขตการกระจายพันธุ์ ภาคเหนือของอินเดีย เนปาล ภูฏาน สิกขิม จีน และพม่า

สิงโตธานีนิวัต

สิงโตธานีนิวัต
วงศ์ย่อย : Epidendroideae ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bulbophyllum dhaninivatii Seidenf. ชื่อไทย : สิงโตกำมะหยี่ สิงโตกำมะหยี่หรือสิงโตธานีนิวัตินี้ ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแด่กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร (พระองค์เจ้าธานีนิวัต) ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็กทิ้งใบหลังจากมีดอก หัวกลมหรือรูปไข่ ขนาดประมาณ 1 ซม. ใบ : ใบรูปรี แผ่นใบบางและอ่อน มี 2 ใบต่อลำลูกกล้วย ขนาดกว้าง 1.5 – 2 ซม. ยาว 4-7 ซม. ดอก : ก้านช่อสั้น ทั้งช่อขนาดกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5 – 2.5 ซม. ดอกขนาดประมาณ 5 มม. กลีบกางออกจากกันเล็กน้อย ขอบกลีบงุ้มเข้า ด้านนอกมีขนนุ่ม ฤดูดอก : พฤศจิกายน – ธันวาคม แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามป่าดิบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป เขตการกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะในประเทศไทย เขียนโดย นกสีฟ้า ที่ 11:27 หลังเที่ยง ป้ายกำกับ: สกุล Bulbophyllum

เอื้องสายน้ำผึ้งลาว

เอื้องสายน้ำผึ้งลาว 

เอื้องสายน้ำผึ้งลาว. เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย Den. anosmum ลำ ลูกกล้วยห้อยลงเป็นสายยาว ใบรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลม ดอกเดี่ยวออกตามข้อ ดอกกว้าง 4-5 เซนติเมตร สีม่วงอ่อน กลีบปากรูปทรงกลมปลายแหลม โคนกลีบปากม้วนเข้าหากันและมีแต้มสีม่วงเข้มทั้งสองด้าน ผิวกลีบด้านในมีขนปกคลุม ผิวด้านนอกมีขนเฉพาะขอบกลีบ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ช่วงออกดอกมักผลัดใบ พบทางภาคใต้

เหลืองจันทบูร

เหลืองจันทบูร 

เหลืองจันทบูร แม้ จะไม่โดดเด่นมากนักในบรรดากล้วยไม้ทั้งหลาย แต่ด้วยความที่เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของประเทศไทยทำให้ตัวของมันเองทรงคุณ ค่ายิ่งนักกล้วยไม้หวายเหลืองจันทบูร มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dendrobiumfriedericksianum Rchb.f อยู่ในวงศ์Orchidaceae เช่น เดียวกับพวกเอื้องปากนกแก้ว เอื้องเงินแดง เอื้องดอกมะขาม เอื้องคำปอน เป็นต้น กล้วยไม้สกุลหวายถือว่าเป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธ์ุทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับกล้วยไม้หวายเหลืองจันทบูรเป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบจังหวัด จันทบุรีปกติกล้วยไม้หวายเหลืองจันทบูรมีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้ว ค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำอาจยาวถึง 75 เซนติเมตรเส้นผ่านศูนย์กลางต้น 1-1.5เซนติเมตร เมื่อต้นแก่จะเป็นสีเหลือง ฤดูกาลออกดอกตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน จะออกดอกตามข้อของลำต้น โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ปลายต้นขนาด 3.5 – 5.5เซนติเมตร กลีบดอกเป็นมัน ออกดอกทนประมาณ 3-4 สัปดาห์กล้วยไม้ชนิดนี้มี 2 พัน ธ์ุ คือ พันธ์ุที่มีดอกสีเหลืองล้วน ออกดอกแรกๆจะมีสีเหลืองอ่อนแล้วค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบโคนปากมีขน พันธุ์นี้จะหายาก ทำให้มีราคาแพงกว่าพันธุ์ที่มีแต้มสีม่วงแดง 2 แต้ม บริเวณโคนกลีบปากกลีบดอกชั้นในมีสีเหลืองโศก ปากสีเข้ม ในคอปากมีสีม่วงแดง โคนปากมีขนเช่นเดียวกัน

 

 

http://pirun.ku.ac.th/~b5510302356/ttt.html ขอบคุณที่มาของเว็ปไซต์

ใส่ความเห็น