Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Ebook ลิลิตพระลอ

Ebook ลิลิตพระลอ

Published by Guset User, 2022-12-15 12:56:04

Description: Ebook ลิลิตพระลอ

Search

Read the Text Version

ลิลิตพระลอ

โครงงานภาษาไทย การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e – book ) ส่งเสริมการอ่านวรรณคดีไทย ชื่อหนังสือ “ลิลิตพระลอ” ผู้จัดทำ ๑. นายปราชญ์ลาภ พรมตาไก้ ห้อง ม.๔/๑๔ เลขที่ ๒ ๒. นางสาวชนิสร พันธิมาตร ห้อง ม.๔/๑๔ เลขที่ ๒๕ ๓. นางสาวณัฐวดี เทศาราช ห้อง ม.๔/๑๔ เลขที่ ๓๑ ๔. นางสาวอัมพา แสงศาสตร์ ห้อง ม.๔/๑๔ เลขที่ ๓๒ ๕. นางสาวญาณิศา บุญสุภา ห้อง ม.๔/๑๔ เลขที่ ๓๖ ๖. นางสาวปริชญา พลโสภา ห้อง ม.๔/๑๔ เลขที่ ๓๙ ครู ที่ปรึกษาโครงงาน นางกรรณิการ์ พลพวก โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี รายงานนี้เป็นส่วนประกอบโครงงานวิชา ท๓๑๑๐๒ ภาษาไทย ระดับชั้ นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

คำนำ โครงงานภาษาไทย เรื่อง การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e – book ) ส่งเสริมการอ่านวรรณคดีไทย ชื่อหนังสือ ลิลิตพระลอ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้และข้อคิดที่ได้จากเรื่องลิลิตพระ ลอ ซึ่งถ่ายทอดมาจากชีวิตจริงอย่างเห็นได้ชัดเจน วรรณคดีเรื่องนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก ความโศกเศร้า จนกลายเป็น โศกนาฏกรรม อันเป็นเนื้อเรื่องของวรรณคดี ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าของไทยเพราะประพันธ์ ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ จุดเด่นคือ พรรณาอารมณ์ความรู้สึกที่ ลึกซึ้ง ว ร ร ณ ค ดี เ รื่ อ ง นี้ ไ ด้ รั บ ย ก ย่ อ ง จ า ก ว ร ร ณ ค ดี ส โ ม ส ร เ มื่ อ พ . ศ . ๒ ๔ ๕ ๙ ให้เป็นยอดแห่งลิลิต คณะผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษา เรื่องลิลิตพระลอขึ้น เพื่อทำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e – book ) ส่งเสริมการอ่านวรรณคดีไทย และเผยแพร่ต่อไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจหรือผู้ที่ต้องการศึกษา ได้ศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับลิลิตพระลอ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับผู้สนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับลิลิตพระลอ และได้รับ ความรู้จากโครงงานนี้ตามสมควร หากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำ ขอน้อมรับความผิดไว้ ณ ที่นี้ คณะผู้จัดทํา

สารบัญ ๑ ๒ ลิลิตพระลอ ๒ ประวัติผู้แต่งและสมัยที่แต่ง ๓ วัตถุประสงค์ในการแต่ง ๔ ลักษณะคำประพันธ์ ๑๒ เนื้อเรื่องย่อ ๑๓ ข้อคิดที่ได้ ๑๗ บทวิเคราะห์วรรณคดี ๑๙ คุณค่าของวรรณคดี บรรณานุกรม

ลิลิตพระลอ ลิลิตพระลอเป็นยอดของลิล ิต เพราะลิลิตพระลอมี อรรถรสที่มีความสมบูรณ์ครบทุกด้าน ทั้งความ บันเทิง ปรัชญาที่สะท้อนวิถีชีวิต ซึ่งมีลักษณะเด่น แสดงออกถึงความมีอำนาจ ความมีฤทธิ์ ความรัก ความหลง ความกตัญญู ความจงรักภักดี ความ พยาบาท ผูกอาฆาต ความเศร้าโศก และความตาย อันเป็นกฎอนิจจัง ๑

ประวัติผู้แต่งและสมัยที่แต่ง ทั้ งเรื่องผู้แต่งและปีที่แต่ง ไม่ปรากฏหลักการหรือข้อความระบุที่ ชัดเจน แต่อาจอาศัยเนื้อเรื่องที่ระบุถึงสงครามระหว่างไทยและเชียงใหม่ มาเป็นจุดอ้างอิง ซึ่งเดิมนั้ นเชื่อว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัย สมเด็จพระ นารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงกันมาจวบจนปัจจุบัน นักวิจารณ์วรรณคดีส่วนใหญ่ลง ความเห็นว่า ลิลิตพระลอแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาแน่ และเชื่อว่าเป็นไปได้ มากที่จะแต่งขึ้นก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงอ่านเป็นที่สำราญพระทัย ๒

ลักษณะคำประพันธ์ ลิลิตพระลอแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทโคลงกับร่าย โคลงมีทั้ งชนิด โคลงโบราณ โคลงดั้ น และโคลงสี่สุภาพ ส่วนร่ายมีทั้ งร่ายโบราณและ ร่ายดั้ นเช่นเดียวกับวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นโคลงสี่สุภาพที่ปรากฏ ในลิลิตพระลอ ก็ไม่ได้ปรากฏเป็นโคลงสี่สุภาพที่ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ ทั้ งหมด บางบทมีลักษณะผสมของโคลงสี่ดั้ นประปนอยู่ ฉันทลักษณ์ของโคลงดั้นและร่ายดั้น ๓

เ นื้ อ เ รื่ อ ง ย่ อ เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรู คู่อริไม่ ถูกกัน กษัตริย์เมืองสรวงพระองค์หนึ่งทรง พระนามว่า พระลอ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มี พระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏ ของหญิงทั้ งหลายและยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่ง ชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุ กร กษัตริย์พิชัยพิษณุกรมีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่พระนามว่า พระเพื่อน พระองค์น้องพระนามว่า พระแพง ๔

พระราชธิดาทั้ งสองพระองค์ทรงต้องพระทัยในพระ ลอยิ่งนัก ทั้ ง ๆ ที่ยังไม่เคยเห็น นางรื่นกับนางโรย สองพระพี่เลี้ยง รู้ความจริงด้วยความสงสารจึงทูล อาสาเข้าช่วยเหลือ ให้สมกับพระประสงค์พระพี่เลี้ยง ของนางทั้ งสองไม่รอช้า ส่งคนขับซอของราชสำนัก เข้าไปสืบความที่เมืองแมนสรวงทันที คนขับซื้อของ เวียงสรอง ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระลอ และได้ขับซอชม โฉมพระเพื่อนพระแพง ให้พระลอฟังทำให้พระลออยาก จะเห็นนางทั้ งสองเช่นกัน ๕

คนขับซอได้เดินทางกลับมาเฝ้าพระเพื่อนพระแพง พร้อมกับ ขับซอชมโฉมของพระลอให้พระนางทั้ งสองฟังเช่นกัน เมื่อ นางทั้ งสองได้ฟังถึงกับตกหลุมรักในทันที สั่ งให้พระพี่เลี้ยง ทั้ งสองเดินทางไปหาปู่เจ้าสมิงพราย เพื่อทำพิธีให้นางทั้ ง สองได้สมปรารถนากับพระลอ นางพี่เลี้ยงทั้ งสอง เดินทางไปพบปู่เจ้าสมิงพรายเพื่อ ทำเสน่ห์ ปู่เจ้าฯ นั้ นมีญานวิเศษทราบว่าทั้ งสามคนนั้ น มีกรรมร่วมกัน มาแต่ชาติปางก่อนจึงตกลงทำพิธีให้ คืนนั้ นระหว่างปู่เจ้าฯทำพิธีพระลอก็ทรงพระสุบินว่า มีเจ้าหญิงเลอโฉมสองนางมานอนเคียงข้าง ๖

ตื่นเข้ามาก็คุ้มคลั่ งอยากจะออกไปตามหานางทั้ งสอง แม่ของพระองค์ได้เตือนสติว่าพระองค์มีมเหสีอยู่แล้ว ก่อนออกเดินทางพระลอเสด็จไปลาพระนางลักษณาวดี พระชายา พระนางคลี่พระเกศาเช็ดพระบาทพระลอ เป็นการอำลา ในที่สุดพระองค์ก็ออกเดินทางพร้อมพี่ เลี้ยงสองนาย นายแก้วและนายขวัญ ๗

ระหว่างเดินทางพระองค์มาหยุดพักที่ริมแม่น้ำส รอง ในครั้ งนั้ นได้สติยั้ งคิดว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้ นไม่ ถูกแต่ก็ยังไม่เปลี่ยนใจ ยังคงตั้ งหน้าตั้ งตาจะเดิน ทางต่อโดยระหว่างนั้ น ได้ตั้ งจิตอธิษฐานว่า หาก จะไม่เหลือชีวิตรอดกลับไปเมืองแมนสรวงขอให้ น้ำในแม่น้ำกลายเป็นน้ำวน ก็ปรากฏว่าหลังสิ้นคำ อธิษฐานน้ำกลับแปรเปลี่ยนเป็นสีแดง พระองค์ ท ร า บ ทั น ที ว่ า จ ะ ต้ อ ง จ บ ชี วิ ต ล ง ที่ เ มื อ ง นี้ แ น่ น อ น แ ต่ ก็ ยั ง ดั น ทุ รั ง ที่ จ ะ ไ ป ด้ ว ย อ า ร ม ณ์ ที่ เ ห นื อ เ ห ตุ ผ ล ๘

เมื่อปู่เจ้าฯทราบด้วยญานทิพย์ว่า พระลอเดินทาง มาถึงเมืองสรองแล้ว จึงได้ปล่อยไก่ฟ้าไปล่อพระ ลอให้ตามมาจนถึงอุทยานหลวง พระเพื่อนพระแพงตัดพ้อนางพี่เลี้ยงทั้ งสอง ที่ ไม่ยอมพาไปพบกับพระลอ ในที่สุดนางพี่เลี้ยง ก็พาพระเพื่อนพระแพงเสด็จชมสวน ๙

เวลาผ่านไป 15 วัน พระบิดาของเจ้าหญิงทั้ งสองทรง ทราบ ก็โกรธมากแต่พระลอได้กล่าวคำขอโทษ และให้ สัญญาว่า เมืองทั้ งสองจะเจริญสัมพันธไมตรีเป็นมิตร ที่ดีต่อกัน เสด็จพ่อจึงตกลงจะทำพิธีแต่งงานให้ ๑๐

แต่เมื่อความทราบถึงเจ้าย่า ความแค้นที่พระสวามี หรือเสด็จปู่ของ พระเพื่อนพระแพงเคยโดนพระบิดาของพระลอฆ่าตาย นั่ นทำให้ เจ้าย่าส่งทหารมาสังหารพระลอ ด้วยความรักทำให้พระเพื่อนและ พระแพงใช้ตัวบังลูกศรของเหล่าทหารจนเสียชีวิต ตัวพระลอเองก็ ต้องศรเช่นเดียวกัน ทั้ งสามคนนอนตายก่ายเกยกันอยู่บนเตียงนอน นั้ นเอง ส่วนเจ้าย่าก็โดนเสด็จพ่อของนางประหารชีวิต ใ น พิ ธี ศ พ พ ร ะ น า ง ลั ก ษ ณ า ว ดี พ ร ะ ม เ ห สี ที่ ถู ก ต้ อ ง ต า ม ก ฎ ห ม า ย ข อ ง พ ร ะ ล อ เสด็จมาร่วมพิธีพระนางทรงกรรแสงด้วยความเสียใจ เสร็จงานอัฐิธาตุ ของทั้ งสามถูกแบ่งเป็นสองส่วนส่วนหนึ่งบรรจุไว้ที่เมืองสรอง ส่วนอีก ส่วนพระนางลักษณาวดีได้นำกลับไปเมืองแมนสรวง ๑๑

ข้อคิดที่ได้ เพื่อให้ตระหนักเห็นโทษภัย ของกิเลสต่างๆ ทั้งรัก โลภ โกรธ หลง ชี้ให้เห็นอารมณ์และกิเลสของมนุษย์ นั้ นมีอำนาจใหญ่หลวงนัก สามารถลิขิตชีวิตของตนเอง ได้ถ้าหากเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์ ย่อมหลงไปตาม อำนาจกิเลสต่างๆ แล้วนำไปสู่การทำสิ่งไม่ดี ทางเสื่อม และภัยอันตรายต่างๆมาสู่ตนเองได้ ข้อคิดที่นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 1. ชีวิตคู่ที่ไม่ได้เกิดจากความรักความเต็มใจย่อมไม่ยั่งยืน 2. ความอาฆาตพยาบาทเป็นหนทางที่นำไปสู่ความสูญเสีย 3. โลกนี้ไม่เที่ยง แต่สิ่งที่เที่ยงแท้คือกฎแห่งกรรม 4. บิดามารดาย่อมรักลูกมากกว่าสิ่งใด 5. การเป็นผู้นำที่ดี 6. ไม่ควรใช้อารมณ์เหนือเหตุผล ๑๒

บทวิเคราะห์วรรณคดี ๑. คุณค่าด้านเนื้อหา ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาแสดงถึงปรัชญาสะท้อนวิถี ชีวิต ซึ่งมีลักษณะเด่น แสดงออกถึงความมีอำนาจ ความมีฤทธิ์ ความ รัก ความหลง ความกตัญญู ความจงรักภักดี ความพยาบาท ผูก อาฆาต ความเศร้าโศก และความตาย อันเป็นกฎอนิจจัง โดยเนื้อหา ของลิลิตพระลอ มีคุณค่าเป็นอย่างมากในเชิงคำสอนต่าง ๆ ที่สามารถ นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น เมื่อวิเคราะห์ถึงแก่นของเนื้อหาที่เป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา เกี่ยวกับ \" ความพยาบาท \" โดยใช้อารมณ์และความพยาบาทเหนือ เหตุผล โดยกวีเลือกใช้ เจ้าย่าของพระเพื่อน พระแพง ที่มีความแค้น พยาบาทต่อพระลอ เพราะบิดาของพระลอได้ไปปลงพระชนม์เจ้าปู่ ของพระเพื่อน พระแพง เจ้าย่าจึงสั่งให้ทหารฆ่าพระลอเสีย ด้วยเหตุ ความพยาบาทอาฆาตของเจ้าย่านี้ ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมความรักที่ ไม่มีใครอยากให้เกิด คือ พระลอ พระเพื่อน และพระแพง ได้เสียชีวิต พร้อมกันถึง ๓ คน ดังบทประพันธ์ที่ว่า \" ข่าวขจรไปถึงย่า ย่าไปว่าไปวอน อ้าภูธรธิบดี ลูกไพรีใจกาจ ฆ่า พระราชบิดา แล้วลอบมาดูถูก ประมาทลูกหลานเรา จะให้เอาจง ได้ อย่าไว้ช้าดัสกร เราจะให้ฟอนให้ฟัน เราจะให้บั่นให้แล่ ทุก กระแบ่จงหนำใจ วอนเท่าใดก็ดี \" ๑๓

บทวิเคราะห์วรรณคดี ๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๒.๑ การใช้ถ้อยคำ ลิลิตพระลอ ผู้ประพันธ์มีความสามารถในการเลือกใช้คำที่สื่อถึง อารมณ์ ความรู้สึกได้อย่างลึกซึ้งและงดงาม เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและฐานะตัวละคร ดังเช่นบทประพันธ์ที่ว่า \" เจ็บรักเจ็บจากช้ำ เจ็บเยียว ยากนา เจ็บใคร่คืนหลังเหลียง สู่หย้าว เจ็บเพราะลูกมาเดียว แดนท่าน เจ็บเร่งเจ็บองค์ท้าว ธิราชร้อนใจถึง ลูกฤๅ ฯ \" จากบทประพันธ์ มีการกล่าวย้ำคำว่า \"เจ็บ\" ของพระลอ ที่แสดงถึงความเจ็บและ ความเดียวดายที่ได้ห่างจากเมืองและครอบครัว \" ไล่ฟอนฟันผันแทง แวงวัดตัดหัวขา ดูมหึมาทั้งสาม งามเงื่อนดังราขสีห์ ครวีอาวุธองอาจ เอิบอำนาจบมิกลัว ยิ้มแย้มหัวเล่นพลาง กางกรรอนรำรบ น้าวพิภพสำทับ เขาขับกันเข้ารบรอบ ดุจหอบฟางทอดไฟ เขาอยู่แต่ไกลบมิ ใกล้ ให้โทรมยิงสามกษัตริย์ ธก็เอาดาบวัดกระจัดกระจาย \" จากบทประพันธ์ มีการเลือกใช้คำว่า \"ฟอนฟันผันแทง\" \"แวงวัดตัดหัวขา\" \"กางการ รอนรำรบ\" เพื่อให้ผู้อ่านเกินจินตภาพในกิริยาท่าทางการเคลื่อนไหวของทหารที่ พยายามตามฆ่าหมายจะเอาชีวิตของพระลอ เพื่อแก้แค้นให้เจ้าย่า ๒.๒ การใช้โวหาร ลิลิตพระลอ เลือกใช้โวหารที่ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพชัดเจน เช่น \"ตาเหมือนตามฤคมาศ พิศคิ้วพระลอราช ประดุจแก้วเกาทัณฑ์ ก่งนา ฯ\" มีการใช้โวหารอุปลักษณ์ ในการเปรียบเทียบ ดวงตาของพระลอ ว่าเป็นตามฤค มาศ และคิ้วพระลอเหมือนดั่งแก้วเกาทัณฑ์ \"เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้ ทุกเรือน อกแผ่นดินดูเหมือน จักขวํ้า บเห็นตะวันเดือน ดาวมืด มัวนา แลแห่งใดเห็นนํ้า ย่อมนํ้าตาคน ฯ\" มีการใช้อติพจน์ คือการกล่าวเกินจริง โดยกวีได้ประพันธ์ถึงความโศกเศร้า ของไพร่ฟ้าราษฎรต่อการจากไปของทั้ง ๓ พระองค์ ชาวเมืองได้น่ำไห้จนเหมือน แผ่นพสุธาจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ตะวัน เดือนก็มืดฟ้ามัวดิน ในแหล่งน้ำแหล่งใดก็มี แต่น้ำตาของผู้คน ๑๔

บทวิเคราะห์วรรณคดี ๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) ๒.๓ ลีลาการประพันธ์ ลิลิตพระลอ ปรากฏลีลาการประพันธ์ ดังนี้ - เสาวรจนี คือบทชมความงาม ซึ่งชมความงามของพระลอ ดังบทประพันธ์ \" รอยรูปอินทรหยาดฟ้า มาอ่าองค์ในหล้า แหล่งให้คนชม แลฤๅ ฯ พระองค์กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ โฉมผจญสามแผ่นแพ้ งามเลิศงามล้วนแล้ รูปต้องติดใจ บารนี ฯ ฦๅขจรในแหล่งหล้า ทุกทั่วคนเที่ยวค้า เล่าล้วนยอโฉม ท่านแล ฯ\" - นารีปราโมทย์ คือบทโอ้ลม เกี้ยวพาราสีหรือบทปลอบใจ ตอนพระนางลักษณาวดีทูล ทัดทาน พระลอจึงตรัสตอบและปลอบใจนางว่าโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง แต่บาปบุญยังเที่ยง แท้ เป็นดั่งเงาติดตัว ตามแต่บาปบุญที่ก่อเกื้อรักษาลูก ดังบทประพันธ์ \" สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้ คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่น อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อรักษา ฯ \" - พิโรธวาทัง คือบทโกรธ ด่าทอ ต่อว่า ตอนเจ้าย่าทรงโกรธ เมื่อรู้ว่าพระลอเป็นลูกของ คนที่ปลงพระชนม์ผัวตัวเอง ดังบทประพันธ์ \" ข่าวขจรไปถึงย่า ย่าไปว่าไปวอน อ้าภูธรธิบดี ลูกไพรีใจกาจ ฆ่าพระราชบิดา แล้วลอบ มาดูถูก ประมาทลูกหลานเรา จะให้เอาจงได้ อย่าไว้ช้าดัสกร เราจะให้ฟอนให้ฟัน เราจะ ให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนำใจ วอนเท่าใดก็ดี \" - สัลลาปังคพิสัย คือบทโศกเศร้า เสียใจ คร่ำครวญ ตอนที่ พระเพื่อน พระแพง พระลอ ตาย สมเด็จดาราวดีแม่ของพระเพื่อน พระแพง ก็ทรงเสียใจเป็นอย่างมาก เหมือนจะ ขาดใจ ดังบทประพันธ์ \" ส่วนสมเด็จดาราวดี พระชนนีรู้ข่าว ทะทึกท่าวทรุดสยบ ซรบซรอนลงฟะฟั่ น สั่นหฤ ไทยทะทาว ชาวแม่ถนอมพระองค์ แล้วธก็ทรงคานหาม ไห้ตามเสด็จเดียรดาษ ถึง ปราสาทสองศรี ภัควดีอ่อนละลวย ระทวยดุจวัลทองท่าว นํ้าตาคล่าวหลั่งหลาม ชูคาน หามธขึ้น ถึงพ่างพื้นเรือนรัตน์ เห็นสามกษัตริย์สิ้นชนม์ ธก็ทอดตนตีอก ผกกลิ้งเกลือกไป มา \" ๑๕

บทวิเคราะห์วรรณคดี ๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) ๒.๔ การเล่นเสียง เช่น การเล่นเสียงพยัญชนะ ดังบท ประพันธ์ \" ลางลิงลิงลอดไม้ ลางลิง แลลูกลิงลงชิง ลูกไม้ ลิงลมไล่ลมติง ลิงโลด หนีนา แลลูกลิงลางไหล้ ลอดเลี้ยวลางลิง ฯ ๓. คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม ๓.๑ การปกครอง ลิลิตพระลอแสดงให้เห็นถึงลักษณะการปกครองสมัยโบราณ เมืองทั้งหลาย ต่างก็เป็นอิสระต่อกัน มีเจ้าผู้ครองนคร ดังเช่นเมืองสรองและเมืองสรวง ๓.๒ ชีวิตความเป็นอยู่ ลิลิตพระลอสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่และสภาพสังคมสมัยนั้น เช่น การตั้งครรภ์และเลี้ยงลูก นอกจากจะกล่าวถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงสภาพของสังคม เช่น การ นับถือผี เชื่อไสยศาสตร์ มีการทำเสน่ห์ เป็นต้น ดังร่ายว่า “ผีบันดาลไฟคละคลุ้ม ให้ควัน กลุ้มเวหา ด้วยแรงยาแรงมนต์” ๓.๓ ความเชื่อในศาสนา ลิลิตพระลอ ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อในพุทธศาสนา เช่น ความเชื่อใน กฎแห่งกรรม ๓.๔ ขนบธรรมเนียมประเพณี วรรณคดีเรื่องนี้เป็นเรื่องทางภาคเหนือ จึงมีวัฒนธรรม ประเพณีทางภาคเหนืออยู่มาก เช่น การขับซอยอยศและยังมีประเพณีการทำศพในสมัย โบราณ ดังเช่น การทำศพของพระลอ พระเพื่อนพระแพง เป็นต้น ๓.๕ คติธรรม ลิลิตพระลอให้คติธรรมในการดำเนินชีวิตหลายประการ เช่น กล่าวถึงธรรมะ ของผู้ใหญ่ ดังเช่นในร่ายว่า “อย่าให้ยากแก่ใจไพร่ ไต่ความเมืองจึงตรง ดำรงพิภพให้เย็น ดับเข็ญนอกเข็ญใน” ๑๖

คุณค่าทางวรรณคดี 1. ด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นวรรณคดีที่ใช้ถ้อยคำได้อย่าง ไพเราะ ปลุกอารมณ์ร่วมได้ทุกอารมณ์ เป็นวรรณคดีที่มี อิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ๆ มากอย่างบทเสียงลือเสียงเล่า อ้างที่ว่า “เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่ วหล้า สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่ สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ” แปลความว่า มีเสียงร่ำลืออ้างถึงอะไรกัน เสียงนั้ นยกย่องเกียรติของใครทั่ วทั้ งพื้นหล้าแผ่นดิน พี่ทั้ ง สองนอนหลับใหล จนลืมตื่นหรือพี่ พี่ทั้ งสองจงคิดเอาเอง เถิด อย่าได้ถามน้องเลย บทนี้เขานับเป็นบทครู ที่ วรรณคดียุคต่อมาต้องนำมาเป็นแบบอย่าง 2. ด้านพระศาสนา ได้ให้แง่คิดทางศาสนาอย่างเช่นความ ไ ม่ เ ที่ ย ง แ ท้ แ น่ น อ น ข อ ง ชี วิ ต ซึ่ ง เ ป็ น ข อ ง แ น่ ยิ่ ง ก ว่ า แ น่ เ สี ย อีก ๑๗

3. ในด้านการปกครอง จะเห็นว่าการปกครองใน สมัยนั้ น ต่างเมืองต่างก็เป็นอิสระ เป็นใหญ่ ไม่ขึ้นแก่ กัน แต่สามารถมีสัมพันธไมตรีกันได้ 4. ในด้านประวัติศาสตร์ ลิลิตพระลอได้ให้ความรู้ใน ทางประวัติศาสตร์ของไทยได้ในแง่มุมต่าง ๆ โดย เฉพาะทำให้รู้เรื่องราวความเป็นมาของเมืองสรวง และเมืองสรองอันได้แก่ ลำปางและแพร่ 5. ในด้านวิถีชีวิต ได้มองเห็นถึงความเป็นอยู่ของคน ไทยสมัยนั้ นที่ยังเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มากมีการ นับถือผีสางนางไม้ แม้ปัจจุบันก็ยังมีอยู่ ๑๘

บรรณานุกรม \"นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่องลิลิตรพระลอ.\" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก:https://w2help.com/ [ม.ป.ป.] สืบค้น ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ \"คุณค่าของลิลิตพระลอ.\" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/site/lilitphralx52/khxmul-phu-cad- tha/khunkha-laea-prayochn/khunkha-khxng-li-lit-phra-lx [ม.ป.ป.] สืบค้น ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ \"ลิลิตพระลอ.\" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://th.m.wikipedia.org/wiki/ ลิลิตพระลอ [ม.ป.ป.] สืบค้น ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ \"ลิลิตพระลอ วัชรญาณ\" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://vajirayana.org/ [ม.ป.ป.] สืบค้น ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ ๑๙

ลิลิตพระลอ “เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่ วหล้า ลืมตื่น ฤาพี่ สองเขือพี่หลับใหล อย่าได้ถามเผือ” สองพี่คิดเองอ้า ลิลิตพระลอเป็นยอดของลิลิต เพราะลิลิตพระลอมีอรรถรสที่ มีความสมบูรณ์ครบทุกด้าน ทั้งความบันเทิง ปรัชญาที่ สะท้อนวิถีชีวิต ซึ่งมีลักษณะเด่น แสดงออกถึงความมีอำนาจ ความมีฤทธิ์ ความรัก ความหลง ความกตัญญู ความจงรัก ภักดี ความพยาบาท ผูกอาฆาต ความเศร้าโศก และความ ตาย อันเป็นกฎอนิจจัง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook