วัดมิ่งเมือง

25 เม.ย. 2561      5290 views

แชร์ทั้งหมด 6 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

วัดมิ่งเมือง จังหวัดเชียงราย วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง อยู่ใจกลางเมืองเชียงราย พบหลักฐานว่ามีอายุประมาณ 800 ปีซึ่งยาวนานเท่ากับการสร้างเมืองเชียงรายเลยทีเดียว ที่เที่ยวอินเทรนด์ ซึ่งมี “พระธาตุมิ่งเมือง” เป็นปูชนียสถานสำคัญ

พระธาตุเจดีย์ศิลปะแบบล้านนา ที่ได้รับเคารพสักการะจากชาวเชียงรายเป็นอย่างมาก วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ด้านข้างติดถนนบรรพปราการ ประวัติ วัดมิ่งเมือง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2513 เป็นวัด ไทใหญ่ สมัยก่อนมีชุมชนไทยใหญ่อยู่เรียกว่า วัดเงี้ยว หรือ วัดช้างมูบ (ช้างมอบ) การก่อสร้างตามชาวบ้านศรัทธาเล่าว่า ผู้สร้างวัดมิ่งเมือง ชื่อ ตะแม่ศรี มีศักดิ์เป็นมเหสีของพ่อขุนฯ เป็นชาวพม่า เวลานี้มีการบูรณะเจดีย์โบราณของวัด พบจารึกบนแผ่นเงินจารึกเป็นภาษาพม่า แปลออกมาเป็นผู้สร้างจากเจดีย์ โบราณในวัด ภาษายังมีปรากฏอยู่เป็นศิลปะผสมระหว่างพม่าและล้านนา ที่สำคัญถ้าหากเป็นจริงอย่างจารึก วัดนี้ก็มีอายุเท่ากับเมืองเชียงราย และมีหลักฐานที่สำคัญหลายชิ้นที่บอกว่า เป็นวัดที่ชาวพม่าสร้างไว้ก่อน วัดมิ่งเมืองอยู่ติดกับประตุไก่ดำ เพี้ยนมาเป็นสี่แยกสะพานดำ หรือคนเมืองเชียงราย เรียกสี่แยกขัวดำ ส่วนหลักฐานอื่นถือว่าเป็น วัตถุโบราณของวัดมีบ่อน้ำโบราณ เรียกว่าบ่อน้ำช้างมูบ เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่มีซุ้มครอบไว้บนหลังช้างหมอบ ชาวบ้านผ่านไปมาก็เรียกว่าช้างมูบ และเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดจ้างมูบ 

ปัจจุบัน วัดมิ่งเมือง นอกจากจะเป็นวัดที่น่าศึกษาด้านโบารณคดีศิลปะล้านนาผสมผสานศิลปะพม่าแล้ว ยังเป็นวัดที่พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวทั่วไปแวะเวียนมาเที่ยวชมสักการะเป็นประจำทุกวัน อีกอย่างวัดดังกล่าวอยู่ใกล้หอนาฬิกา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย

 

สถานที่ตั้ง  : 2415 ถนน เรืองนคร ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย เชียงราย 57000

วัน/เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน 8:00-17:00 น.

การเดินทาง : จากห้าแยกพ่อขุนฯ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนศรีเกิด จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าถนนธนาลัย ตรงไปเรื่อย ๆ จะบรรจบกับถนนไตรรัตน์ เลี้ยวซ้ายอีก 50 เมตร วัดอยู่ทางขวามือ

โทร / แฟ็กซ์ :: 053-711089

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :: วัดมิ่งเมือง ถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย ด้านข้างติดถนนบรรพปราการ

 


แหล่งที่มา :