ลักษณะดอก

เกือบหน้าแตก เพราะดอกไม้สีเหลืองๆ นี่เอง .. เคยไปได้ยิน ใครๆ เขาพูดถึงดอกไม้สีเหลือง ว่าสุพรรณิกา ..เรานึกว่ามีแบบเดียว ..กัน ไม่ได้สังเกต จำแต่ ว่าเหลืองอร่าม เต็มต้น ใช่แน่เลย ..

อยู่มาวันหนึ่ง ของที่บ้านมันมีดอกขึ้นมา รู้ไหมว่า มารู้ก็ตอนดอก มันร่วงลงมาพื้นเหลืองๆ คือ ไม่มีเวลาเงยมองข้างบน

.. จะเอามาทำบล็อก ก็ต้องหารายละเอียด .. ไปดูข้อมูล สุพรรณิกา ..อ่ะๆๆ ดอกมันไม่ใช่ นี่นะ ..ของเรา มันเป็นกลีบๆ แยกกันเหมือน กุหลาบพันปีเลย

ไม่รู้จะทำไง หาจากอากู๋ ว่า ดอกไม้สีเหลืองๆ.. อ๋อๆๆ ได้เรื่องเลย ..ดูไปหลายดอก ก็เจอ อันนี้แหละแบบของเรา .. มันชื่อ เหลืองปรีดียาธร นี่เอง

..ทีนี้สังเกตไม่ยาก เลย เวลาเห็นเต็มต้น ..ดูที่ดอก อย่างเดียวไม่พอ ..ต้องดูใบด้วย ใบ เขาจะเป็น แบบนี้

แต่บางที คุณ แทบไม่เห็นใบเลยนะเพราะ บางต้น ดอกเต็มเลย ไม่มีใบ เพราะ ถ้า ออกดอกดก จริงๆ ใบจะร่วงหมด เหมือนลีลาวดี ที่ตอนออกดอก ใบก็ โรย ..แต่ของที่บ้าน ยังไม่ถือ ว่าดก..ได้ชัดสุด แค่เน้ย เพราะ ซูมๆๆ จากข้างบนต้น..

เวลาร่วง เกลื่อนสนามหญ้า .. สวยดี

มาดู ความแตกต่าง ของดอกเหลือง ๆ กันค่ะ.ไหนๆ ก็ไหนๆ
. สุพรรณิกา ดูง่าย ดอกใหญ่..เป็นกลีบซ้อนกันกลีบซ้อนกัน มีสองแบบ กลีบหนา และกลีบบาง แต่ไม่ต่างกันดูง่าย . นี่อ่านมานะคะ..อันนี้ รูป จากเน็ต ..

แต่เหลืองปีดียาธร กับเหลืองอินเดียนี่ แทบแยกไม่ออก ..
ดอกของเหลืองอินเดีย.. จะกลีบน้อยกว่า ..ขอบคุณ เจ้าของภาพด้วยนะคะ..

แต่ที่ต่างกัน คือใบ ค่ะ ..เรา สังเกต ตรงนี้ง่ายกว่า ..
เปรียบเทียบให้ดู ระหว่างดอก กะใบ ..

ซ้ายมือ คือ ..เหลืองอินเดีย..

ข้อมูล จาก วิกิพีเดีย

เหลืองปรีดียาธร ..

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabebuia argentea Britt.

ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ชื่ออื่นๆ : Silver trumpet tree, Tree of gold, Paraguayan silver trumpet tree

ลักษณะ :
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ผลัดใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 4-7 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบหนา คล้ายหนัง สีเขียวเหลือบเงิน โคนและปลายใบมน ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแตร ผลเป็นผลแห้งแตก สีเทา เมล็ดแบน มีปีก จำนวนมาก

การกระจายพันธุ์ : ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อน (ปารากวัย อาร์เจนตินา บราซิล) ออกดอก มกราคม – มีนาคม การปลูกเลี้ยง ดินร่วน แสงแดดจัด น้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

ใส่ความเห็น