อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์ /ร.ร. สิริภัจจ์ การแพทย์แผนไทย

Posts tagged ‘ต้นลำโพง’

ลำโพง

                                               ลำโพง  

ชื่อในประเทศไทย   ลำโพง,ลำโพงแดง,ลำโพงดำ,ลำโพงกาสลัก,ลำโพงขาว,มะเขือบ้า,เล่าเอี้ยงฮวย(จีน)

                                           วงค์      SOLANACEAE

ลำโพงแดง   Daturu Futuosa                                    ลำโพงแดง    Datura  Alba Nees

ลำโพง เป็นไม้ยืนต้นล้มลุก ต้นสูงประมาณ ๒เมตร      ใบโตคล้ายใบมะเขือใบค่อนข้างกลม   ที่สะโพกใบยักสูงข้างหนึ่ง ตำ่ข้างหนึ่ง ดอกสีขาวอมเหลืองอมม่วง  บานเป็นปากแตรและซ้อนกัน ๒-๓  ดอกงามน่าดู มีผลออกตามง่ามกิ่ง ผลโตขนาดผลมะเขือเปราะ มีหนามเต็มทั้งผล  เมล็ดเหมือนเมล็ดมะเขือ  ความจริงลำโพงก็เป็นมะเขืออีกชนิดหนึ่งนั่นเอง   ลำโพงเป็นไม้ที่ปลูกเพาะขี้นได้ง่ายตามที่ลุ่มตำแฉะ  ฉะนั้นจึงมีขี้นใที่ทั่วๆไปทุกแห่ง  ลำโพงของไทยเรามีสอง ชนิด คือ ตนิดต้อนแดงจนเกือบดำ เรียกว่า ลำโพงแดง  (ลำโพงกาสลัก)  ส่วนชนิดลำต้นเขียว กิ่งก้านสีเขียว เรียกว่า   ลำโพงขาว

   ประโยชน์ทางยา  ในแพทย์ตำบลกล่าวว่า   รากลำโพง  รสเมา  หวาน เล็กน้อย  แก้พิษฝีกาฬทั้งปวง

                            แพทย์ตามชนบท ใช้รากของลำโพง ฝนทาภายนอก เป้นยาดับพิษร้อน  แก้พิษฝี  แก้ปวดบามอักเสบ ภายใยใช้รากสุมเป็นถ่านรับประทาน เป็นยาเย็น  แก้ไข้เซื่อมซึมและไข้กาฬ  เมล็ดใช้คั่วพอหมดน้ำมัน ปรุงรับประทานเป็นยาเย็น แก้พิษไข้   ไข้ที่ทำให้ระส่ำระส่าย  น้ำมันของเมล็ดลำโพงใช้ทาแก้ฆ่าเชื้อโรค  แก้กลาก ,เกลื้อน,หิด,เหา, จำพวกที่มีตัวทั้งสิ้น ดอกหั่นตากแห้งใช้มวนกับยาสูบแก้หอบหืด   ใบตำพอกฝีทำให้ฝียุบ  แก้ปวดบวมอักเสบ เมล็ดลำโพงมีสารอัลคอลอยด์ ชื่อ Atropine 

ลำโพงบางชนิดเคยใช้ทำ Scopolamine

     เมล็ดลำโพงดิบๆ รับประทาน ๑-๓ เมล็ด ทำให้เกิดความทรงจำได้ดี   ฉะนั้นพวกนักเทศน์  นักบวช นักธรรม ที่ต้องการความทรงจำชอบรับประทาน ก่อนที่รีบประทานให้เอาเมล็ดลำโพงแห้ง  ของลำโพงแดงโรยลงในขันน้ำ ถ้าเมล็ดไหนมีน้ำมากก็จะหมุน เพราะมีน้ำมันอุ้มเมล็ดอยู่ ก็มักจะเลือกเอาเมล็ดนั้นถือว่าแรงดี  

      เมล็ดลำโพง รับประทานมากๆ เป็นยาพิษทำให้ตาแข็ง  หายใจไม่สะดวก พูดไม่ออกถึงจะรักษาหายก็ทำให้เป็นคนวิกลจริต ฉะนั้นทางภาคเหนือ จึงเรียกต้นไม้นี้ว่ามะเขือบ้า   

      ในไทยเภสัชกล่าวว่า   Datura Stramonium และ Datura Fatula  เป็นพันธุ์ของลำโพงชนิดหนึ่งซึ่งน่าจะมีในประเทศไทยเราได้ะหมือนกันเพราะลำโพงในประเทศเรามีหลายพันธุ์เหมือนกัน  เช่นชนิดริมดอกสีเหลือง,สีม่วงอ่อน,ม่วงแก่ ดอกไม่ซ้อนและซ้อน ๒ ชั้นบ้าง ๓ ชั้นบ้าง,ต้นแดงเรื่อๆ ,ต้นเขียวก็มี

      ในเมล็ดลำโพงมีสารอัลกาลอยด์อยู่ประมาณ ๐.๑ -๐.๕ เปอร์เซนต์  ที่สำคัญคือ  ไฮออสไซยามิน ประกอบด้วยสารอาโทรปินและไฮอ๊อสซีนเล็กน้อย  นอกจากนี่นมีนน้ำมันมีน้ำมันฝิกซด ๑๕-๓๐ เปอร์เซนต์  มีกรดคาตูริคอยู่ด้วย ส่วนใบมีอัลกอลอยด์อยู่

๐.๓-๐.๕ เปอร์เซนต์   มีอัลกอลอย์ทีสำคัญเดียวกับเมล็ด ใช้โดยมากสำหรับแก้อาการกระตุกรัดตัวของหลอดลมในโรคหืด