0

บึงสีไฟ

TT143[1]

บึงสีไฟ  เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่  และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง และชมพระอาทิตย์ตก กลางบึ่งสีไฟ ในยามเย็น บึงสีไฟถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร  นอกจากนั้นภายในบึ่งสีไฟยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ พิจิตร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2527 มีเนื้อที่ 170 ไร่ เป็นสวนพักผ่อนริมบึงสีไฟ มีสะพานทอดลงน้ำสู่ศาลาใหญ่ที่จัดไว้เป็นที่พักย่อน  นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารปลาและชมอาทิตย์อัสดง

รูปปั้นพญาชาละวัน เป็นรูปปั้นจระเข้อยู่ด้านหน้าบึงสีไฟ ที่มีความยาวถึง 38 เมตร กว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร ภายในตัวจระเข้นี้ทำเป็นห้องประชุมขนาด 25-30 ที่นั่ง

สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะอาคารเป็นรูปดาวเก้าแฉก ยื่นลงไปในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลามากกว่า 20 ชนิด  และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ นอกจากนั้นตรงส่วนกลางของอาคารยังทำเป็นช่องเปิด สำหรับชมปลาในบึงสีไฟซึ่งมีพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ มาชุมนุมเป็นจำนวนมาก  เพื่อรอกินอาหารที่นักท่องเที่ยวโปรยให้กิน   สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ  อยู่ในความดูแลของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิจิตร เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ วันธรรมดาตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. วันหยุดราชการตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น.  โทร. 0 5661 1309 www.fisheries.go.th/if-phichit

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองจังหวัดพิจิตร จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ ที่ชาวบ้านผลิตขึ้นเอง เช่น เครื่องสานจากผักตบชวา ผ้าทอบ้านป่าแดง มะขาวแก้วสี่รส ฯลฯ เปิดจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยจะเปิดตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.

watthaluang
วัดท่าหลวงเป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ถนนบุษบา ใกล้ศาลากลางจังหวัดเก่า  วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก มีหน้าตักกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร ประวัติมีอยู่ว่า พระพิจิตร ซึ่งเป็นเจ้าเมืองอยากได้พระประธานมาประดิษฐานที่เมืองพิจิตร ในโอกาสที่ทัพกรุงศรีอยุธยาได้เดินทางผ่านเมืองพิจิตรเพื่อไปปราบขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ พระพิจิตรจึงได้ขอร้องแม่ทัพว่า เมื่อปราบขบถเสร็จแล้วให้หาพระพุทธรูปมาฝาก ดังนั้น เมื่อเสร็จศึก แม่ทัพนั้นจึงได้อาราธนาพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรลงแพลูกบวบล่องมาทางแม่น้ำปิง โดยฝากเจ้าเมืองกำแพงเพชรไว้ ต่อมาจึงได้อาราธนาหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถวัดนครชุมก่อน แล้วจึงย้ายมาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จนถึงปัจจุบัน  พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น.
อ้างอิง  http://www.teawtourthai.com/phichit/attraction.php
0

ขจรฟาร์ม (ฟาร์มนกกระจอกเทศ)

_()_1_~1

ขจรฟาร์ม (ฟาร์มนกกระจอกเทศ) 121 หมู่ 2 ตำบลวังงิ้ว ห่างจากตัวเมืองพิจิตรประมาณ 57 กิโลเมตร ไปทางอำเภอตะพานหินถึงบ้านเขาทราย แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 11 ไปอีก 12 กิโลเมตร ถึงแยกบางมูลนาก-นครสวรรค์ เลี้ยวขวาไปตามทางเดียวกับเหมืองแร่ยิบซั่มอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงแยกบ้านโคกสนั่น-บ้านตลิ่งชัน จะมีป้ายฟาร์มนกกระจอก เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร ภายในฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศไว้ประมาณ 1,000 ตัว นอกจากนี้ บริเวณรอบ ๆ ฟาร์ม ยังมีบ่อเลี้ยงจระเข้ นกยูง กวาง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. โทร. 0 5660 1004-5 โทรสาร 0 5660 1006 หรือ 0 2673 1153-4, 08 1657 434

1586_2006323DAA4_03-wadhuadong

วัดหัวดง ตั้งอยู่หมู่ 7 ตำบลหัวดง ทางตอนใต้ของตัวเมืองพิจิตรไปตามเส้นทางสายพิจิตร – ตะพานหิน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2413 ผูกพัทธสีมาครั้งแรก พ.ศ. 2468 มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อวันที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ได้พบพระรูปเหมือนหลวงพ่อเงินขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว เนื้อนวโลหะ(ทองเหลือง)แทรกขึ้นมาที่ต้นอินทนิลซึ่งมีอายุประมาณ 20 ปีเศษ หลวงพ่อเงินเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักและเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก

อ้างอิง   http://www.teawtourthai.com/phichit/attraction.php

0

จังหวัดพิจิตร

index-copy

พิจิตร” เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ พิจิตร

พิจิตร เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน มีความหมายว่า “เมืองงาม” ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีแม่น้ำน่านและแม่น้ำยมไหลผ่าน ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และในศิลาจารึกหลักที่ 8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า “เมืองสระหลวง” ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองโอฆบุรี” ซึ่งแปลว่า “เมืองในท้องน้ำ” ตามตำนานกล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็นผู้สร้างเมืองพิจิตร แต่จะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ นอกจากนี้ เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)

ในสมัยอยุธยา พิจิตรเป็นหัวเมืองชั้นตรี มีตำแหน่งเจ้าเมืองปรากฏตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนนาทหารหัวเมืองว่า ออกญาเทพาธิบดีศรีรณรงค์ฤๅไชยอภัยพิรียภาหะ ศักดินา 5,000 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์ระดับสูง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีหัวเมืองชั้นตรีเพียง 7 เมืองเท่านั้น คือ เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองนครสวรรค์ เมืองพัทลุง เมืองชุมพร เมืองจันทบูร และเมืองไชยา จึงนับว่าในสมัยโบราณ พิจิตรเป็นเมืองที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญสูง จนตำแหน่งเจ้าเมืองมีการตราไว้ในพระไอยการฯ ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงตราไว้

ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองดังเช่นเมืองอื่น ๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียง ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา