วิหารล้านนา วัดประตูป่อง - เมืองเก่าลำปาง




เมืองเก่าลำปางหรือเขลางค์นคร ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ ฝั่งขวาของแม่น้ำวัง
สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1223 โดยพระสุพรหมฤษีสร้างถวายพระเจ้าอนันตยศกุมาร หรือ อินทรเกิงการ โอรสของพระนางจามเทวี
โดยได้พรานชื่อเขลางค์เป็นผู้หาที่ตั้งเมืองให้
ผังเมืองมีลักษณะคล้ายรูปหอยสังข์ เป็นเมืองคู่แฝดของเมืองหริภุญชัย
มีประตูเมืองสำคัญได้แก่ ประตูม้า ประตูผาป่อง ประตูท่านาง ประตูต้นผึ้ง ประตูป่อง ประตูนกกดและประตูตาล

... เมืองลำปางรุ่น 1 เรียกว่าเมืองเขลางค์ ...



ปลายสมัยหริภุญชัย พญามังรายตีหริภุญชัยได้
พญายีบาผู้ครองนครได้หนีมาขอให้พญาเบิกพระโอรสที่ครองเมืองเขลางค์ช่วย
แต่สุดท้ายพญาเบิกสู้ไม่ได้และถูกปลงพระชนม์ที่บ้านแม่ตาน ชนรุ่นหลังได้ขนานนามให้พระองค์เป็น เจ้าพ่อขุนตาน
พญายีบาหนีไปสองแควจนสิ้นราชวงศ์ยุคแรก
เขลางค์จึงตกอยู่ในอาณาจักรล้านนาของพญามังราย
ได้มีการขยายจากเมืองเขลางค์ยุคแรกลงมาทางใต้

... เมืองลำปางรุ่น 2 เรียกว่าเวียงละกอน ...



หลังบุเรงนองได้เชียงใหม่และล้านนาเป็นเมืองขึ้นของพม่า แต่ลำปางเป็นเมืองอิสระ
ท้าวหนานมหายศ เจ้าเมืองลำพูนในอาณัติพม่ายกทัพมาตีชนะเมืองลำปาง และตั้งศูนย์บัญชาการที่วัดพระธาตุลำปางหลวง
หนานทิพย์ช้างคนบ้านปงยางคกทำอุบาย และยิงท้าวมหายศตายได้
จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง ใน พ.ศ.2275 พระนามว่า เจ้าพระยาสุลวฤาชัยสงคราม

ครองเมืองลำปางอยู่ 27 ปี ก็ถึงแก่ทิวงคตในปี พ.ศ.2302
โอรสที่ยังมีชีวิตเหลืออยู่องค์เดียวคือ เจ้าฟ้าแก้ว จึงครองนครลำปางต่อ

เจ้าลิ้นก่าน โอรสของเจ้าเมืองลำปางที่เสียเมืองให้แก่ท้าวมหายศเข้ายึดอำนาจ
เจ้าฟ้าแก้วได้หนีไปพึ่งเจ้าเมืองแพร่ เมืองลำปางก็อยู่ในปกครองของเจ้าลิ้นก่าน

ปี พ.ศ.2304 พม่ากลับมีอำนาจอีก ได้ส่งกองทัพมายึดหัวเมืองต่างๆ ในล้านนา
ได้จัดการปกครองลำปางใหม่โดยให้เจ้าฟ้าแก้วขึ้นปกครอง
เจ้าลิ้นก่านไม่พอใจ พม่าจึงเข้ามาชำระความโดยการดำน้ำพิสูจน์ที่หน้าวัดปงสนุก
เจ้าลิ้นก่านแพ้ จึงถูกประหารชีวิต
พระเจ้าลิ้นก่านคงจะเป็นเจ้าสกุลล้านนาไทยองค์สุดท้ายที่อยู่ในเมืองลำปาง

เจ้าฟ้าแก้วก็ปกครองเมืองลำปางตลอดมา
ท่านมีโอรสทั้ง 7 พระองค์ที่ภายหลังได้ต่อสู้จนล้านนาเป็นอิสระจากพม่า
เป็นต้นสกุลเจ้าเชื้อเจ็ดตน หรือ พระราชวงศ์ทิพจักราธิวงศ์

โดย

เจ้ากาวิละ พระโอรสองค์แรกครองเมืองเชียงใหม่

เจ้าคำโสม พระโอรสองค์ที่สอง(พ.ศ.2325-2337) ครองเมืองลำปาง
ได้ขยายเมืองมาทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำวัง
ใช้ชื่อเรียกเมืองตามคำว่า ลัมภางค์ในตำนานพระเจ้าเลียบโลก อันหมายถึงปริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวง

... เมืองลำปางรุ่น 3 เรียกว่านครลำปาง ...




วัดประตูป่อง
อยู่ในเขตเวียงละคอน ... เมืองลำปางรุ่น 2 ... นอกประตูป่องประตูเมืองลำปางรุ่น 1
ด้านหน้าของวัดประตูป่องเป็นลานโล่ง
ด้านขวาของลานเป็นอาคารชมรมผู้สูงอายุ
ด้านหลังของอาคารมีแนวกำแพงเก่าอยู่
เป็นแนวกำแพงเมืองยุค 2  ... ดูจากรูปร่างของก้อนอิฐ
ช่องประตูอยู่หลังอาคารชมรมผู้สูงอายุท่ามะโอ




กำแพงข้างวัดประตูป่อง







คือแนวกำแพงจากหลังวัดทอดมาด้านหลังอาคารชมรมผู้สูงอายุ




วัดประตูป่องสร้างเมื่อ พศ.2409 โดย เจ้าวรญาณรังษี ราชบุตรในพระเจ้าคำโสม ผู้ครองนครลำปาง




มองออกมาด้านนอกวัด




โบสถ์




วิหารน้อยหน้าโบสถ์ เพื่อนบอกว่ารูปพระอุปคุต
ตำนานว่า
พระเถระอุปคุตเมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
มีปฏิปทาไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตเรือนแก้วขึ้นในสะดือทะเล แล้วก็ลงไปอยู่ประจำ
เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือมีพิธีกรรมใหญ่ๆ หรือมีผู้นิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมาช่วยเหลือ ด้วยความเต็มใจ
ท่านเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพ และฤทธิ์เดชเกรียงไกร สามารถปราบพญามารและกำจัดสิ่งชั่วร้าย ที่จะมาทำลายพิธีกรรมใหญ่ ๆ มาแต่ครั้งโบราณ
จึงสร้างวิหารไว่ที่หน้าโบสถ์




เสาหงส์ และ ตุงกระด้าง
เป็นวัฒนธรรมที่ล้านนารับมาจากพม่า ที่สร้างเพื่อสำหรับถวายแด่พระรัตนตรัยอย่างถาวร
... ตุงแปลว่าธง กระด้างแปลว่าแข็งนิ่งอยู่กับที่ ...
มักถวายเป็นคู่ไว้หน้าพระประธานหรือหน้าอุโบสถ วิหาร บางแห่งทำไว้กลางลานวัดหรือใกล้พระเจดีย์




บันไดคชสีห์




บานประตูเทพพนม




หน้าบันหรือหน้าแหนบ รูปเทวดาและหม้อดอก




วิหาร

เป็นวิหารล้านนาแบบปิด หลังคาด้านหน้าซ้อน 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น
ผนังยกเก็จแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในเป็น ส่วนพระเจ้า พระสงฆ์ อุบาสก + อุบาสิกา







มกร ( มีเท้าหน้า) คายนาคเบือน




สิงห์ (คู่) เฝ้าวิหาร




บันไดมกรคายนาค
... มกรมีขา นาคไม่มีขา ...




ส่วนด้านหน้าที่ยกเก็จผนัง เดิมเป็นโถงระเบียงเปิดไม่มีผนัง ตามแบบวิหารล้านนา
วิหารปิดจึงไม่เขาชมด้านใน




หน้าแหนบหรือหน้าบัน เป็นลายสลักไม้ปิดทองประดับกระจก
โก่งคิ้ว (อยู่เหนือกรอบประตู) ลายไส้หมู เป็นเอกลักษณ์ของลำปางและพะเยา




ประตูข้าง ด้านหน้าวิหาร







คันทวย ... หนุมานขี่เมฆ?




บานประตูวิหารด้านข้างสำหรับพระสงฆ์




หน้าแหนบด้านหลังวิหารเป็นรูปหม้อดอก




เจดีย์




กุฏิ




และ หลวงพ่อเกษม ... ตนบุญแห่งนครลำปาง

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่