มีเรื่องสงสัยเกี่ยวกับโลกกับดวงอาทิตย์ครับ

1.ทำไมดวงอาทิตย์ติดไฟได้ ก้อในอวกาศไม่มี ออกซิเจน

2. ถ้าเราก่อกองไฟขึ้นมาแล้ว(ใช้เชื้อเพลิงหาได้ง่าย เช่น ไม้ ถ่าน ไรเงี้ยะ) แล้วความร้อนหรือพลังงานที่เกิดจะใช้แทนแสงอาทิตย์ในการให้พืชสังเคราะห์แสงได้หรือไม่
     ถ้าเกิดไม่ได้แล้วถ้าใช้เชื้อเพลิงที่มีส่วนประกอบเป็นดวงอาทิตย์จะทดแทนกันได้ไหม
     สมมุติว่ามีระยะห่างระหว่างแหล่งให้พลังงานกับพืชเหมาะสม

3. ทำไมคนที่อยู่แถว ๆ ขั้วโลกใ้ต้ ไม่เลือดคั่งในสมองตาย เพราะยืนตีลังกาคนละทิศ กับคนที่อยู่ขั้วโลกเหนือ (หัวคนทั้งสองขั้วโลกชี้ไปด้านตรงข้ามกัน)

4.จากที่เรียนมาภาพวาดระบบสุริยะ ดาวบริวาร อันไ้ด้แก่ โลก ดาวพุธ ศุกร์ ฯ อยู่ในระนาบเกือบจะเดียวกัน แล้วในความเป็นจริง ดาวบริวารอยู่ระนาบเกือบเดียวกันหรือเปล่า ทำไม ดาวพุธ ไม่โคจรจากเหนือไปใต้ดวงอาทิตย์   ดาวอังคารไม่โคจรจากซ้ายไปขวา

5. แรงที่กระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวบริวาร คือแรงโน้มถ่วงหรือแรงเหวี่ยงกันแ่น่ แล้วแรงนี้มันจะมีวันหมดไปไหม

ขอบคุณสำหรับคำตอบมาก ๆครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
1. ดวงอาทิตย์ไม่ติดไฟ แต่เป็นพลาสม่าร้อนจัดจากกระบวนการเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนกลาง
2. พืชไม่ได้ใช้ความร้อน(อินฟราเรด)ในการผลิตอาหาร ปกติจะใช้แสงช่วงที่ตามองเห็นมากกว่า (ช่วงสีแดงและน้ำเงิน)
ดังนั้นถ้าอยากจะทำก็ต้องเผาวัตถุหนึ่งๆให้ร้อนจัดมากเท่าๆผิวดวงอาทิตย์ มันถึงจะเปล่งแสงที่พืชใช้ได้ออกมา (ประมาณ 6000 องศาเซลเซียส)
3. แรงโน้มถ่วง
4. เกือบระนาบเดียวกันจริงครับ มีดาวพุธเอียงเยอะกว่าชาวบ้านหน่อย (7 องศาจากระนาบ) เพราะตอนกำเนิดระบบสุริยะ ฝุ่นและหินต่างๆหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นระนาบอยู่แล้วเนื่องจากแรงหนีศูนย์กลางในการหมุน
จะมีโคจรกลับทางก็แค่ดาวศุกร์ ซึ่งเราคาดว่ามาจากการชนกันวัตถุอื่น
5. แรงโน้มถ่วงครับ ตราบใดที่มีมวล แรงโน้มถ่วงก็มีเสมอ
ความคิดเห็นที่ 3
ตอบเป็นข้อ ๆ นะครับ

1.ทำไมดวงอาทิตย์ติดไฟได้ ก้อในอวกาศไม่มี ออกซิเจน
- เป็นเพราะดวงอาทิตย์ไม่ได้ติดไฟครับ คือไม่ได้ burning โดยใช้ออกซิเจนเหมือนเวลาเราเผาอะไรทั่วไป
ดวงอาทิตย์นั้น เป็นปฏิกิริยาฟิวชันจากแกนกลางของมัน ทำให้ไฮโดรเจนกลายเป็นฮีเลียม
และปลดปล่อยพลังงานออกมาจำนวนมหาศาล ส่งผ่านพลังงานนั้นจนถึงพื้นผิวของมันครับ
ปฏิกิริยานี้ ไม่ได้ใช้ออกซิเจนเลยครับ


2. ถ้าเราก่อกองไฟขึ้นมาแล้ว(ใช้เชื้อเพลิงหาได้ง่าย เช่น ไม้ ถ่าน ไรเงี้ยะ) แล้วความร้อนหรือพลังงานที่เกิด
จะใช้แทนแสงอาทิตย์ในการให้พืชสังเคราะห์แสงได้หรือไม่
     ถ้าเกิดไม่ได้แล้วถ้าใช้เชื้อเพลิงที่มีส่วนประกอบเป็นดวงอาทิตย์จะทดแทนกันได้ไหม
     สมมุติว่ามีระยะห่างระหว่างแหล่งให้พลังงานกับพืชเหมาะสม
- พืชจะรับเอาแสงความยาวคลื่นช่วง 400 - 700 นาโนเมตรไปใช้ในการสังเคราะห์แสงครับ
คลอโรฟิลล์ของพืชจะดูดเอา quantum ของสีน้ำเงินและสีแดงเป็นส่วนใหญ่ไปใช้
ดังนั้น เราจะต้องพิจารณาไปที่ "ความยาวคลื่นของแสง" เป็นหลักครับ
จะเป็นพลังงานจากอะไรก็ได้ ขอให้มีแสงสว่างเพียงพอและมีความยาวคลื่นที่เหมาะสม
ไม่เจาะจงว่าจะต้องกำเนิดจากดวงอาทิตย์ เอาจากหลอดไฟก็ได้
** การสังเคราะห์แสงนั้น ไม่ได้เอาพลังงานความร้อนไปใช้นะครับ
พืชจับเอาโฟตอนจากแสงไปใช้ **

3. ทำไมคนที่อยู่แถว ๆ ขั้วโลกใ้ต้ ไม่เลือดคั่งในสมองตาย เพราะยืนตีลังกาคนละทิศ กับคนที่อยู่ขั้วโลกเหนือ
(หัวคนทั้งสองขั้วโลกชี้ไปด้านตรงข้ามกัน)
- 555555 ฮาดีนะครับ
ที่เลือดไม่คั่งหัวตาย เพราะว่า "แรงโน้มถ่วง" จะส่งออกมาจากใจกลางของโลกครับ
ดังนั้น ทุกจุดบนทรงกลมโลกจะได้รับแรงโน้มถ่วงเท่ากัน โดยเป็นการดึงดูดลงไปสู่ใจกลางโลก
(หากจะเลือดคั่งตาย เค้าก็จะต้องหล่นลงมาก่อนซิครับ เพราะเท้าไม่ได้ยึดอะไรใว้
อ้าว .. แล้วหล่นไปใหนล่ะ ?)

ตามภาพนี้ ทุก ๆ จุดบนโลกจะมีแรงดึงดูดกระทำสู่ศูนย์กลางของโลก


4.จากที่เรียนมาภาพวาดระบบสุริยะ ดาวบริวาร อันไ้ด้แก่ โลก ดาวพุธ ศุกร์ ฯ อยู่ในระนาบเกือบจะเดียวกัน แล้วในความเป็นจริง ดาวบริวารอยู่ระนาบเกือบเดียวกันหรือเปล่า ทำไม ดาวพุธ ไม่โคจรจากเหนือไปใต้ดวงอาทิตย์   ดาวอังคารไม่โคจรจากซ้ายไปขวา
- ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะโคจรรอบดวงอาทิตย์เกือบระนาบ 0 องศา ครับ
แตกต่างกันนิดหน่อยตามภาพล่างนี้ (มีระบุองศาของแต่ละดวง)


5. แรงที่กระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวบริวาร คือแรงโน้มถ่วงหรือแรงเหวี่ยงกันแ่น่ แล้วแรงนี้มันจะมีวันหมดไปไหม
- แรงนี้เรียกว่า "แรงโน้มถ่วง" (Gravity) ครับ
แรงนี้เป็นหนึ่งใน 4 แรงตามธรรมชาติ ไม่มีวันหมดไปครับ ตราบใดที่ดวงอาทิตย์ยังไม่สลายไป
ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ไม่มีวันสลายไปเลยนะ เพราะดวงอาทิตย์เมื่อสิ้นอายุขัย กลายเป็นดาวแคระห์ขาวแล้ว
จะอยู่ไปอีกเกือบอายุจักรวาลเลยทีเดียว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่