วัดจุฬามณี

วัดจุฬามณี

วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางใต้ตามถนนบรมไตรโลกนารถ ประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีมาก่อนสมัยสุโขทัย เคยเป็นที่ตั้งของเมืองสองแควเก่า ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงสร้างพระวิหารและเสด็จออกผนวชที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ. 2007 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน โดยมีข้าราชบริพาร ออกบวชตามเสด็จถึง 2,348 รูป มีโบราณสถานสำคัญคือ ปรางค์แบบขอมขนาดย่อม ฐานกว้าง 11 เมตร ยาว 18 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้าก่อเป็นแบบตรีมุข ตั้งบนฐานสูงซ้อนกันสามชั้น แต่ละชั้นย่อมุมไม้ยี่สิบ มีปูนปั้นประดับลวดลายตามขั้น ตอนล่างแถบหน้ากระดานและบัวหน้ากระดานเป็นลายหงส์ เหมือนกับองค์ปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี สมัยที่ยังสมบูรณ์อยู่มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ใกล้เคียงกันมีมณฑปพระพุทธบาทจำลองซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดให้สร้างขึ้น แผ่นจารึกหน้ามณฑปมีใจความสรุปได้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2221 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้ผ้าทาบรอยพระพุทธบาท สลักลงบนแผ่นหิน พระราชทานไว้เป็นที่กราบไหว้ของฝูงชน

วัดจุฬามณี

พระอุโบสถวัดจุฬามณี พระอุโบสถเป็นจุดหนึ่งของวัดที่สวยงามสะดุดตาแก่ผู้สัญจรไป-มา เมื่อได้พบเห็นก็อยากจะเข้ามาชม มาไหว้พระ แต่ปกติแล้ววัดไม่ได้เปิดให้เข้าชมครับ สิ่งสำคัญที่เปิดให้ประชาชนได้มาเข้าชมยังมีอยู่อีกหลายแห่ง ซึ่งเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ซึ่งจะกล่าวถึงต่อจากนี้ไป

วัดจุฬามณี

หน้าบันอุโบสถ ภาพนี้เป็นภาพจากด้านนอกของวัดซึ่งถ่ายโดยการยกกล้องให้สูงกว่ากำแพงวัด เอามาให้ชมกันว่าหากขับรถผ่านมาได้เห็นความสวยงามแบบนี้ ก็จะรู้สึกอยากเข้ามาไหว้พระและชมความงามส่วนอื่นๆ ของพระอุโบสถให้ทั่ว

วัดจุฬามณี

พระปรางค์วัดจุฬามณี เป็นโบราณสถานที่มีมาก่อนสมัยสุโขทัย เคยเป็นที่ตั้งของเมืองสองแควเก่า ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงสร้างพระวิหารและเสด็จออกผนวชที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ. 2007 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน โดยมีข้าราชบริพาร ออกบวชตามเสด็จถึง 2,348 รูป มีโบราณสถานสำคัญคือ ปรางค์แบบขอมขนาดย่อม ฐานกว้าง 11 เมตร ยาว 18 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้าก่อเป็นแบบตรีมุข ตั้งบนฐานสูงซ้อนกันสามชั้น แต่ละชั้นย่อมุมไม้ยี่สิบ มีปูนปั้นประดับลวดลายตามขั้น ตอนล่างแถบหน้ากระดานและบัวหน้ากระดานเป็นลายหงส์ เหมือนกับองค์ปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี สมัยที่ยังสมบูรณ์อยู่มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

วัดจุฬามณี

ใบเสมาโบราณ ใบเสมาที่วัดจุฬามณีทำด้วยหินชนวนสีเทาเข้ม มีขนาดกว้าง 80 เซนติเมตร สูง 120-140 เซนติเมตร ศิลปะสมัยอยุธยาเป็นใบเสมาคู่ปักรายรอบพระอุโบสถที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างขึ้นเพื่อใช้ทรงผนวชในปี พ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน ปัจจุบันใบเสมาส่วนใหญ่แตกหักชำรุดเสียหาย มีสมบูรณ์อยู่บ้างประมาณ 6 ใบ

ปัจจุบันทางวัดได้จัดสร้างศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปกลางใบเสมา แทนที่พระอุโบสถเดิม

วัดจุฬามณี

พระปรางค์วัดจุฬามณี มีบันไดทางขึ้น 2 ทาง ทางหนึ่งสร้างเป็นประตูหลอก อีกทางหนึ่งยังเข้าภายในได้ ปัจจุบันมีพระพุทธรูปบูชาขนาดเล็ก มีกระถางธูปและเชิงเทียนให้ประชาชนได้กราบไหว้ ส่วนยอดของพระปรางค์ได้ชำรุดเสียหายทั้งหมดภายในจึงเหมือนห้องที่ไม่มีหลังคา

วัดจุฬามณี

มณฑปพระพุทธบาทจำลอง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดให้สร้างขึ้น มณฑปเป็นมณฑปสูงมีพะไลโดยรอบ มีขนาด 5.5 x 5.5 เมตร ด้านหน้ามีประตูทางเข้าอยู่ทางทิศเหนือ ตัวอาคารมณฑปเหลือให้เห็นเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ส่วนหลังคาพังหายหมด ด้านหลังมีแผ่นศิลาจารึกเรื่องการสร้างรอยพระพุทธบาท ในจารึกกล่าวถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมีพระบรมราชโองการให้นำผ้าไปทาบรอยพระพุทธบาท ณ เขาสุวรรณบรรพต จำลองรอยพระพุทธบาทสลักลองบนแผ่นศิลา แล้วพระราชทานรอยพระบาทนี้ให้ไปประดิษฐานที่วัดจุฬามณี เพื่อไว้เป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาของฝูงชน

แผ่นศิลาจารึกด้านหลังมณฑปผมพยายามจะถ่ายให้เห็นอักขระด้านในแต่เนื่องจากมีแผ่นกระจกใสปิดไว้ทำให้เห็นเงาสะท้อนจากท้องฟ้าเลยไม่เห็นอักขระด้านในครับ แต่ถ้ามองใกล้ๆ มองดีๆ ก็จะเห็นได้ไม่ยาก

วัดจุฬามณี

วิหารหลวพ่อเพชร อยู่ระหว่างพระปรางค์และมณฑปพระพุทธบาทจำลอง ภายนอกสร้างแบบเรียบง่ายไม่มีการประดับมากนัก ในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ พระนามว่าหลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนศรัทธาอย่างมาก
ประวัติหลวงพ่อเพชร
หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปหินทรายขนาดใหญ่หน้าตักกว้าง 2.7 เมตร สูง 3.8 เมตร ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานรองรับองค์สูง 55 เซนติเมตร เดิมสมเด็จไตรโลกนาถ กษัตริย์แห่งกรุงศรีสัชนาลัยทรงผนวชที่วัดจุฬามณี และผู้ทรงสร้างไว้ ต่อมาได้ชำรุด อดีตเจ้าอาวาสนำปูนพอกไว้ทั้งองค์ เมื่อกระเทาะปูนออกจึงพบว่า พระพักตร์ชำรุด พระกรหัก ประชาชนจึงช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระหลวงพ่อเพชร พระพักตร์เปลี่ยนไปจากเดิม พระกรใหญ่ขึ้นด้วย ชาวบ้านเล่าว่าเดิมหลวงพ่อเพชร มีรูปแบบศิลปเชียงแสนคล้ายหลวงพ่อเพชรที่พิจิตร พระเนตร เม็ดพระศกเป็นเพชรที่ประชาชนนำมาประดับแวววาว ดังนั้นจึงนิยมเรียกว่า หลวงพ่อเพชร ต่อมาถูกขโมยมาแคะลักเพชรไป ประชาชนจึงช่วยกันอนุรักษ์ฯ เม็ดพระศกและพระเนตรเสียใหม่ จึงมีรูปแบบอย่างที่เห็นทุกวันนี้

Leave a comment