เที่ยวพระธาตุดอยตุง

หากมาถึงเชียงรายแล้วสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่เราควรไปเยี่ยมเยือนและก็นับว่าเป็นสถานที่มีความสำคัญมากอันเป็นสถานที่สมเด็จย่าท่านประทับทรงงานอยู่เป็นประจำผมหมายถึง ดอยตุง ที่ดอยตุงนี้มีสถานที่สำคัญหลายๆจุดแต่่่ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเยี่ยมชมคือ วัดพระธาตุดอยตุงและพระตำหนักดอยตุง ส่วนตัวมาดอยตุงน่าจะสัก 4-5 ครั้งมีโอกาสเข้าชมพระตำหนักดอยตุงของสมเด็จย่า 2 ครั้งที่เหลือก็เดินเที่ยวรอบๆมาคราวนี้เป็นช่วงปีใหม่รถมากมายนัก ผมกับเปิ้ลหาที่จอดรถอยู่นานหลังได้ที่จอดรถแล้วเดินจะขึ้นไปพระตำหนักเจ้าหน้าที่บอกเดินไม่ไหวเป็นกิโล ผมเลยตัดสินใจไม่แวะที่พระตำหนักแต่สถานที่สำคัญอีกแห่งที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของคนดอยตุงและพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่มาดอยตุงแล้วควรไปกราบไหว้สักครั้งคือ วัดพระธาตุดอยตุง20141228_143746 20141228_135827 20141228_140220วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง)[1] (คำเมืองLN-Wat Phra That Doi Tung.png)หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร20141228_140617 20141228_140254 20141228_140217

ประวัติพระธาตุดอยตุง[แก้]

ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์(ปัจจุบันคืออำเภอแม่จันพระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุlส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาว 1,000 วาปักบนยอดเขาหากตุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงศ์มังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้20141228_135944 20141228_135922 20141228_135902

ความหมายของตุง[แก้]

ตุง นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนา หมายถึง ความเจริญรุ่งรุ่ง การมีชัยชนะ ในวัดจะมี รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่า เป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุงบูชาพระธาตุ สร้างมาประมาณ 1,000 ปีแล้ว พระบรมธาตุดอยตุงเป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
20141228_140556 20141228_141003 20141228_141136

ดังนัันหากมีโอกาสมาเยี่ยมเยือนเชียงราย ดอยตุง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและมีสถานที่ศักดิ์สิทธิคู่บ้านคู่เมืองเชียงรายและผู้คนมีมิตรไมตรีเหมาะมากสำหรับทุกๆท่าน