xs
xsm
sm
md
lg

"แม่ฮ่องสอน"มากเสน่ห์ ชมแกะน้อยน่ารัก-ชอปผ้าทอชาวเขา ตามรอยพระราชดำริ "ปางตอง-ปางอุ๋ง-ศูนย์ศิลปาชีพ"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แกะและม้าในสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB (ทีเส็บ) ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ และองค์กรพันธมิตร จัด “โครงการประชุมเมืองไทย อิ่มใจ ตามรอยพระราชดำริ : น้ำพระทัยสู่ราษฎรไทยภูเขา” ที่ จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อเฉลิมฉลองปีมหามงคล 3 ปีติ ได้แก่ วาระครบรอบ 70 ปี ครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 88 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา
ศูนย์ศิลปาชีพ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
นายภูริพันธ์ บุนนาค ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศ TCEB กล่าวว่า จะส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้องค์กรต่างๆ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาปรับใช้ในการทำงานหรือชีวิตประจำวัน โดยผนวกกิจกรรมเชิงไมซ์เข้าไว้ในโปรแกรมด้วย อาทิ การจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน กิจกรรมซีเอสอาร์ การจัดประชุมสัมมนา รวมถึงการท่องเที่ยวก่อนหรือหลังงานประชุม (Pre-post tour) เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มศิลปาชีพ บริเวณชั้น 1
สำหรับเส้นทางศึกษาดูงานโครงการตามแนวพระราชดำริในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน จะพาไปเยี่ยมชมโครงการที่ทรงพระราชทานเพื่อช่วยเหลือแก่ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร และราษฎรไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน โดยจุดแรกที่จะไปเยี่ยมชม คือ “ศูนย์ศิลปาชีพ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในพระบรมราชินูปถัมภ์” ซึ่งเป็นศูนย์ศิลปาชีพแห่งแรกของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ห้องทรงงาน บริเวณชั้น 2
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยมราษฎร ที่บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 3 ต.ผาบ่อง อ.เมือง เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2523 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเพื่อทรงเยี่ยมราษฎรด้วย และได้ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานจัดสร้างหลุก หรือ กังหันน้ำ ผันน้ำจากแม่น้ำปายเข้ามาสู่แปลงเกษตรของราษฎร และเน้นให้ปลูกหม่อน เลี้ยงไหมเป็นกิจกรรมหลัก
ลานแสดงชุดและวิถีชีวิตของชนเผ่า บริเวณชั้น 3
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ให้คัดเลือกบุตรหลานของสมาชิกศิลปาชีพ เข้าไปฝึกอบรมการทอผ้าไหมที่กองศิลปาชีพด้วย ต่อมาในปีพ.ศ. 2538 ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานเงินของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ จัดซื้ออาคารและที่ดิน จำนวน 5 ไร่เศษ พระราชทานให้จัดตั้งเป็น “ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในพระบรมราชินูปถัมภ์”
ชาวบ้านที่กำลังทอผ้าในอาคารฝึกงานศิลปาชีพ
และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2548 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯทอดพระเนตรผลการดำเนินงานและทรงกระทำพิธีเปิดอาคารศิลปาชีพหลังใหม่ ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ โดยภายในเป็นอาคาร 3 ชั้น แบ่งเป็นพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ดังนี้
โรงวิจัยพันธุ์พืชในศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริ จ.แม่ฮ่องสอน (ศูนย์ฯ ปางตอง)
ชั้นที่ 1 เป็นห้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอนและกลุ่มศิลปาชีพกลุ่มต่าง ๆ ทั้งตุ๊กตาชาวเขา ผ้าทอ เครื่องจักสาน ของชำร่วย และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุในท้องถิ่น

ส่วนชั้นที่ 2 เป็นห้องทรงงาน และใช้เป็นสถานที่จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ รวมถึงเป็นที่ทำงานของคณะทำงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริจังหวัดแม่ฮ่องสอน

และชั้นที่ 3 เป็นพิพิธภัณฑ์ชนเผ่า 6 เผ่า ได้แก่ ลีซู ลาหู่ ม้ง ลัวะ ไทใหญ่และกะเหรี่ยง โดยมีการนำศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาแสดง การจำลองวิถีชีวิต เครื่องแต่งกายและข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และยังมีการจัดแสดงบ้านจำลองของชนเผ่าทั้ง 6 เผ่าอีกด้วย
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดแม่ฮ่องสอน
จากนั้นไปเยี่ยมชม “ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริ จ.แม่ฮ่องสอน (ศูนย์ฯ ปางตอง)” ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง ที่ในอดีตประชาชนที่อาศัยบริเวณนี้เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าง ๆ และชนกลุ่มน้อยผู้พลัดถิ่น ได้แก่ ม้ง, มูเซอ, ลีซอ, กระเหรี่ยง, ลัวะ, ไทยใหญ่ ซึ่งอาชีพหลักทั่วไปจะเป็นการทำไร่เลื่อนลอย การเลี้ยงสัตว์ หาของป่า รับจ้างขนยาเสพติด ให้แก่กลุ่มกู้ชาติต่างๆ บริเวณแนวชายแดน
แกะและม้าที่เลี้ยงในสถานีวิจัยพันธุ์สัตว์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีความห่วงใยราษฎรและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเป็นอย่างมาก จึงได้มีพระราชดำริให้กองทัพบกร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดให้มีโครงการนี้ขึ้น ในปี พ.ศ.2522 เป็นต้นมา
สบู่และโลชั่นจากรกแกะ
ศูนย์ฯ ปางตอง มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 5,400 ไร่ มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า ในระบบนิเวศน์ไม่ให้เสื่อมโทรม นอกจากจะเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ด้านการพัฒนาแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของเรือนประทับแรมนั่นคือ พระตำหนักปางตอง อีกด้วย
บรรยากาศในโครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)
ศูนย์ฯ ปางตอง ได้แบ่งพื้นที่การปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานต่างๆ อีก 11 ส่วน เช่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดแม่ฮ่องสอน กรมประมง ทดสอบการเลี้ยงปลา ได้แก่ ปลาสเตอร์เจียนและปลากดหลวง, สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน จัดทำฐานเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง เช่น แกะ ม้า และยังมีผลิตภัณฑ์ของศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริให้ได้อุดหนุนอีกด้วย
อ่างเก็บน้ำในโครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)
นอกจากนี้ยังมีโครงการเปิดเส้นทางท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติและเส้นทางจักรยานจากศูนย์ฯปางตอง เพื่อไปเที่ยวชมทัศนียภาพและความงามของ “โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)” เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินี ที่มีพระราชดำริให้รวบรวมราษฎรกลุ่มน้อยบริเวณนั้นให้อยู่เป็นชุมชน และพัฒนาความเป็นอยู่ ส่งเสริมอาชีพปลูกป่า สร้างอ่างเก็บน้ำ
ฟักทองที่ปลูกโดยชาวบ้านในโครงการธนาคารอาหารชุมชน
โดยมีพระราชประสงค์สร้างความมั่นคงตามแนวชายแดน เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้นและฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืนตลอดไป “ปางอุ๋ง” จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของแม่ฮ่องสอน ที่มีความสวยงาม ภายในอ่างเก็บน้ำ ที่รอบๆ เต็มไปด้วยป่าสนสองใบและสนสามใบ อีกทั้งยังมีอากาศเย็นสบายสดชื่นตลอดปี
ฟักทองสดๆ ที่เก็บจากต้นและนำมาจำหน่ายให้กับผู้มาเยี่ยมชม
จากนั้นเข้าเยี่ยมชม “โครงการธนาคารอาหารชุมชน (Food bank)” ที่เป็นโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรที่บ้านนาป่าแปก ใน ต.หมอกจำแป่ และทรงทราบถึงปัญหาการขาดแคลนอาหาร อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์
ชาวบ้านในหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว บ้านห้วยเสือเฒ่า
จึงมีพระราชประสงค์ให้มีการทำการเกษตรแบบหลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เพื่อเป็นแหล่งสะสมอาหารตามธรรมชาติ คณะทำงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ จ.แม่ฮ่องสอน จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการนี้ตามพระราชเสาวนีย์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 เป็นต้นมา เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่ผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองได้ และเหลือจำหน่ายในพื้นที่ใกล้เคียง
พระธาตุดอยกองมู
โดยได้ดำเนินการคัดเลือกราษฎรจำนวน 10 ครัวเรือนจากบ้านนาป่าแปก เป็นบ้านนำร่อง แล้วจึงขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียง และในปัจจุบันประชากรในพื้นที่นี้มีรายได้สม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี นอกจากการขายในชุมชนแล้วยังสามารถส่งผลผลิตไปขายให้กับชุมชนใกล้เคียงซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย
สะพานไม้ซูตองเป้
นอกจากการจัดกิจกรรมการจัดประชุมของทีเส็บ ที่ได้จัดเส้นทางตามรอยโครงการในพระราชดำริแล้ว ยังมีอีกหลายสถานที่ใน จ.แม่ฮ่องสอน ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและไม่ควรพลาดไปชมอีกด้วย เช่น หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว บ้านห้วยเสือเฒ่า, พระธาตุดอยกองมู พระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง, วัดจองกลางและวัดจองคำ วัดคู่แฝดแห่งเมืองแม่ฮ่องสอน หรือสะพานไม้ซูตองเป้ เป็นต้น
วัดจองคำและวัดจองกลาง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com

 

20 องค์กรรัฐจับมือสมาคมและภาคเอกชนในธุรกิจท่องเที่ยว จัดงาน ฟู้ดแอนด์โฮเทล ไทยแลนด์ 2016 หวังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทย คาดปีนี้มีผู้ร่วมงานกว่า 30,000 คน มูลค่าการค้าและเจรจาธุรกิจรวมถึง 4,000 ล้านบาท
20 องค์กรรัฐจับมือสมาคมและภาคเอกชนในธุรกิจท่องเที่ยว จัดงาน ฟู้ดแอนด์โฮเทล ไทยแลนด์ 2016 หวังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทย คาดปีนี้มีผู้ร่วมงานกว่า 30,000 คน มูลค่าการค้าและเจรจาธุรกิจรวมถึง 4,000 ล้านบาท
การท่องเที่ยวไทยโตต่อเนื่อง 20 องค์กรภาครัฐ สมาคม และเอกชนในธุรกิจและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวร่วมมือสร้างแนวทางพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทย พร้อมร่วมกันจัดงาน ฟู้ดแอนด์โฮเทล ไทยแลนด์ 2016 หวังใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือทางธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ด้านผู้จัดแสดงงานทั้งไทยและต่างประเทศสนใจเข้าร่วมงานกว่า 350 บริษัท และคาดว่ามีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 30,000 คน สร้างมูลค่าการค้าและการเจรจาธุรกิจรวมถึง 4,000 ล้านบาท
กำลังโหลดความคิดเห็น