xs
xsm
sm
md
lg

พาราเซตามอล ผลร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นับตั้งแต่มี “ยาพาราเซตามอล” ถือกำเนิดวางแผงสู่ตลาดยาจนถึงตอนนี้ หลายๆ คนโดยส่วนใหญ่ ก็แทบจะจับยาชนิดนี้มาเป็นยารักษาอาการเบื้องต้นก่อน เพราะเชื่อว่า หากรับประทานยาชนิดนี้แล้ว สามารถบรรเทาอาการที่แสนจะแทบเจ็บปวดได้ราวกับสั่งได้ ดังนั้น ไม่แปลกใจเลยว่า ทุกวันนี้ เอะอะอะไรก็กินพาราแก้ปวดไปก่อนทุกทีไป

แต่เดี๋ยวก่อน หากคุณได้อ่านข้อความข้างล่างแล้ว บางทีอาจจะทำให้เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับ “ยาพาราเซตามอล” เลยก็ได้ เพราะจริงๆ แล้ว ยาชนิดนี้ หากรับประทานมากเข้าๆ หรือ เสพติดความบรรเทาแล้ว ไม่แน่ว่า อาจส่งผลร้ายให้กับผู้ทานอย่างที่คุณไม่คาดไม่ถึงเลย...

ข้อมูลคร่าวๆของ พิษ “ยาพาราเซตามอล”

จากรายงานขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา หรือ USFDA พบว่า ในช่วงปี ค.ศ. 1998-2003 พบการเกิดภาวะตับวายอย่างเฉียบพลัน จากยาดังกล่าว ร้อยละ 48 เพราะใช้ยาเกินขนาด

นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยตับเป็นพิษจากการใช้ยาพาราเซตามอล จำนวน 56000 ราย เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน 26000 ราย เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและ 458 ราย เสียชีวิต

อาการไม่พึงประสงค์จากการกินพาราเซตามอลผิดวิธี

- เกิดพิษต่อตับอย่างรุนแรง : ตับวายเฉียบพลันอันตรายถึงชีวิต
- ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง : หากกินในปริมาณมากและต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- เกิดปฎิกิริยากับยาอื่น : เช่น กินยาแก้หวัดพร้อมยาคลายกล้ามเนื้อทำให้ได้รับยาเกินขนาดเกิดตับอักเสบ หรือตับวายเฉียบพลัน
- เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง : แพ้ยาหรือผื่นคัน คลื่นไส้ อาเจียน และ ตับบวม

กินพาราเซตามอล อย่างไรให้ปลอดภัย

- กินเมื่อจำเป็น และอยู่ในปริมาณที่กำหนด : ครั้งละ 1-2 เม็ด (พาราฯ 1 เม็ด ปริมาณ 500 มิลลิกรัม) ไม่เกินวันละ 4 ครั้ง
- อย่ากินติดต่อกันเกิน 5 วัน
- ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบพบแพทย์
- ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ควรงดรับประทาน

ทั้งนี้ หากผู้บริโภคจะต้องรับประทานยาจริงๆ ไม่ควรทานด้วยความเคยชินต่อไป ซึ่ง ณ ตอนนี้ สามารถเลือกทานได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งกลุ่มยาสมุนไพรที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง กระบวนการผลิตได้ตามมาตรฐาน ก็เป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการทานยาแบบเดียวกันนี้ได้เช่นเดียวกัน

กำลังโหลดความคิดเห็น