มรดกโลกในอาเซียน

มรดกโลกในอาเซียน

ประเทศไทย

                         45

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงตั้งอยู่ในประเทศไทย ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่ค้นพบในเอเซียตะวัน ออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นขั้นตอนสำคัญของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม สังคม และวิชาการของมนุษย์ รวมทั้งแสดงหลักฐานของการเกษตรกรรม แหล่งผลิตและการใช้โลหะในภูมิภาค
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า ๔,๓๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียง ได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็น บริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่ง หนึ่งในบรรดามรดกโลก

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง เป็นพิพิธภัณฑ์ แหล่งหนึ่งที่สำคัญที่เก็บรักษาศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียง ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี  การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง สามารถขับรถตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลูก็ จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

       

ดงพญาเย็น-เขาใหญ่

images

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดงใหญ่ ยูเนสโกประกาศเป็นมรดกโลกในชื่อ ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2548

ดงพญาไฟ
แหล่งมรดกโลก ผืนนี้ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งแต่เดิมเป็นป่าดงดิบทึบหนา ชาวบ้านเรียกทั่วไปว่า ดงพญาไฟ มีสัตว์มากมายทั้ง เสือ กระทิง และช้าง ชุกชุมไปด้วยไข้มาเลเรีย ไม่มีถนนหนทางตัดฝ่าผืนป่าดั่งเช่นในปัจจุบัน การ เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงยากลำบากอย่างยิ่ง หลายคนต้องเสียชีวิตด้วยไข้ป่า หรือสัตว์ป่า จนไม่ค่อยจะมีใครกล้าเข้ามาในดินแดนแถบนี้
ดงพญาเย็น
คำว่า ดงพญาเย็น มีชื่อครั้งแรกสมัย ร.4 โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งแทนชื่อเก่าที่เรียกกันทั่วไปว่า ดงพญาไฟ
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง เที่ยวตามทางรถไฟ ถึงป่าดงพญาไฟดังนี้
“ดง พญาไฟนี้ เป็นช่องสำหรับข้ามไปมาระหว่างเมืองสระบุรีกับมณฑลนครราชสีมา แต่โบราณ ไปได้แต่โดยเดินเท้า จะใช้ล้อเกวียนหาได้ไม่ ด้วยทางต้องเดินตามสันเขาบ้าง ตามไหล่เขาบ้าง คนเดินตามปกตินั้นตั้งแต่ตำบลแก่งคอย ต้องค้างคืนในป่านี้ถึง 2 คืนถึงจะพ้น”
“สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคยพระราชดำริไว้ว่าไม่ควรเรียกดงพญาไฟเพราะให้คนครั่นคร้าม จึงทรงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้เปลี่ยนชื่อจาก ′ดงพญาไฟ′ เป็น ′ดงพญาเย็น′ แต่คนหลายๆ คนก็ยังคงเรียกว่า ′ป่าดงพญาไฟ′ อยู่ดั่งเดิม”หลังสร้างทางรถไฟและถนนมิตรภาพ จากภาคกลางไปสู่ภาคอีสาน ดงพญาไฟก็ถูกผ่าออก ผู้คนเริ่มเคลื่อนย้ายเข้าไป แล้วถากถางป่าทำไร่ทำนา
นับตั้งแต่นั้นมาป่าที่เคยดุร้ายราวดงพญาไฟ ก็กลายเป็นป่าที่ร่มรื่นราวดงพญาเย็น

เขาใหญ่
เมื่อ ราว 70-80 ปีก่อน ชาวบ้านจากบ้านท่าชัย และบ้านท่าด่าน จ. นครนายก ขึ้นไปบุกเบิกพื้นที่ทำกินบริเวณริมหนองขิง กลางผืนป่าเขาใหญ่ อันเป็นทำเลดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ถากถางทำไร่พริกและนาข้าว
ยิ่งเวลาผ่านไปก็ยิ่งมีชาวบ้านจากจังหวัดรอบๆ มามากขึ้น จนพื้นที่ถูกถากถางไปราว 18,750 ไร่ หรือราว 30 ตารางกิโลเมตร ราว พ.ศ. 2465 จัดตั้งเป็น ต. เขาใหญ่ ขึ้นกับ อ. ปากพลี จ. นครนายก ชื่อ “เขาใหญ่” เริ่มต้นมีขึ้นตั้งแต่นั้นมา ทั้งที่ไม่มียอดเขาแห่งใดมีชื่อคำว่า “เขาใหญ่” เลย มีแต่เขาเขียว เขาร่ม เขาแหลม และเขาสามร้อยยอดเท่านั้น แล้วเป็นแหล่งซ่องสุมของเหล่าโจรผู้ร้าย ราว พ.ศ. 2475 ทาง จ. นครนายก ส่ง ปลัดจ่าง กวาดล้างโจรบนเขาใหญ่ นานนับเดือน แต่ตัวปลัดต้องเสียชีวิตด้วยไข้ป่า ผู้คนเชิดชูความกล้าหาญ จึงสร้างศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ให้ผู้คนกราบไหว้มาจนถึงปัจจุบันเมื่อปราบปรามโจรเสร็จ ทาง จ. นครนายก ให้ยกเลิก ต.เขาใหญ่ปล่อยเป็นทุ่งหญ้ารกร้างและป่าอย่างเดิมจึงยังเหลือให้เห็นเช่นปัจจุบันอุทยานแห่งชาติแห่งแรก
พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี นั่งเฮลิคอปเตอร์ตรวจราชการสำรวจป่าบริเวณเขาใหญ่ จึงมีคำสั่งให้กระทรวงเกษตร และกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันสำรวจเพื่อจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ และได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย เมื่อ พ.ศ. 2505 รัฐบาล ชุดต่อๆ มาได้ประกาศให้ป่าทับลาน ป่าปางสีดา และป่าตาพระยาเป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน (2524) อุทยานแห่งชาติปางสีดา (2525) และอุทยานแห่งชาติตาพระยา (2539) รวมทั้งประกาศให้ป่าดงใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อ ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ใน พ.ศ. 2539ทำให้พื้นที่ป่า บริเวณนี้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นระบบนิเวศตามธรรมชาติขนาดใหญ่ จนได้รับการขนานนามว่า “ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่” ประกอบด้วยพื้นที่คุ้มครอง หรือพื้นที่อนุรักษ์สภาพธรรมชาติ จำนวน 5 แห่งได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, อุทยานแห่งชาติทับลาน, อุทยานแห่งชาติปาง สีดา, อุทยานแห่งชาติตาพระยา, และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 3,845,082.53 ไร่ หรือ 6,152.13 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสระบุรี, นครนายก, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, และบุรีรัมย์ โดยเฉพาะด้านตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับผืนป่าบันทายฉมอร์ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์ของราชอาณาจักรกัมพูชา
มรดกโลก
อุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดงใหญ่ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่ว โลกให้ความสนใจ ยูเนสโกจึงประกาศเป็นมรดกโลกแหล่งมรดกโลก ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า
ต้นน้ำลำธาร
ผืน ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ และเป็นต้นน้ำลำธารสำคัญๆ ทั้งแม่น้ำนครนายก, แม่น้ำปราจีนบุรี,ลำตะคอง,ห้วยมวกเหล็ก,และแม่น้ำมูล(ไหลลงสู่แม่น้ำโขง)
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ผืน ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ป่า จำนวนไม่น้อยกว่า 2,500 ชนิด (หรือประมาณ 1 ใน 6 ของชนิดพันธุ์ที่ปรากฏในประเทศ) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น 16 ชนิด และมีสัตว์ป่ามากถึง 805 ชนิด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 112 ชนิด นก 392 ชนิด
และมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทิน บก รวมกัน 205 ชนิด โดยมี 9 ชนิดที่เป็นชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น ได้แก่ ตะพาบหัวกบหรือกราวเขียวหรือกริวดาว จิ้งจกหินเมืองกาญจน์ ตุ๊กแกเขาหินทราย กิ้งก่าภูวัว จิ้งเหลนด้วงตะวันตก จิ้งเหลนเรียวโคราช งูดินโคราช งูกินทากลายขวั้น และจระเข้น้ำจืด
ในจำนวนสัตว์ป่าที่พบทั้งหมดมี หลายชนิดที่มีความสำคัญในระดับโลก และมี 3 ชนิดพันธุ์ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ได้แก่ช้างป่าเสือโคร่งและวัวแดงนอกจากนี้ยังพบว่าสัตว์ป่ามีแนวโน้มสูญพันธุ์ไปจากโลกอาศัยอยู่ในผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ได้แก่ ลิงกังหรือลิงก้นแดง ชะนีมงกุฎ เม่นใหญ่ หมาไน หมีควาย เสือลายเมฆ กระทิง เลียงผา นกลุมพูแดง ไก่ฟ้าพญาลอนกยูงและนกฟินฟุต

tral2

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park.

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อ “นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร” ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534  จาก ยูเนสโก (UNESCO) เป็นมรดกโลกที่เป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ชาติไทยที่มีมานานกว่า  417 ปี   มีโบราณสถานที่เก่าแก่ทรงคุณค่า  และแสดงถึงความรุ่งเรืองของบรรพบุรุษไทยสมัยก่อนอยู่มากมาย จนในปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  ได้ถูกบูรณะปรับปรุงโครงสร้างให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้  และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ให้กับคนรุ่นใหม่

ภายในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์  มีโบราณสถานตั้งอยู่เป็นจำนวนมากกว่า  200  แห่ง  ทั้งพระราชวังโบราณหรือพระราชวังหลวง  ที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง  ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์  วิหารพระมงคลบพิตรเป็นสถานที่ตั้งพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  วัดพนัญเชิง  มีพระพุทธรูปนาม  พระพุทธไตรรัตนนายก   เป็น พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่มีอายุมากและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  นอกจากนี้ วัดเจ้าพญาไทหรือวัดใหญ่ไชยมงคล  วัดไชยวัฒนาราม  วัดพระราม  วัดมหาธาตุ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่สำคัญยิ่ง ของประเทศไทย

วัดภายในอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

วัดมเหยงคณ์

ตลาดน้ำกรุงเก่าวัดท่าการ้องอยุธยา1026

วัดท่าการ้อง

วัด ท่าการ้อง เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ท่ามกลางชุมชนอิสลาม 2 หมู่บ้านคือ บ้านท่ากับบ้านการ้อง อันเป็นวัดพุทธศาสนาที่อยู่ท่ามกลางชุมชนมุสสิม

วัด ท่าการ้องตั้งอยู่ที่บ้านท่า เป็นวัดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ นามว่า “พระพุทธรัตนมงคล” หรือที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อยิ้ม” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ขณะที่บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองและสงบสุข ดังจะเห็นได้จากพระพุทธลักษณะที่งดงามและพระพักตร์ที่มีความเมตตา

วัดสะตือ

วัดพิชัยสงคราม

วัดหน้าพระเมรุ

วัดแม่นางปลื้ม

วัดพนัญเชิงวรวิหาร

วัดกล้วย

วัดกษัตราธิราชวรวิหาร

วัดวรเชษฐาราม

วัดเชิงท่า

วัดสุทธาวาส วิปัสสนา

วัดช้างใหญ่

วัดบางนมโค

วัดธรรมาราม

วัดพรานนก

วัดนิเวศธรรมประวัติ

วัดลาดระโหง (ศูนย์วิปัสสนาภาษาอังกฤษ)

วัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนาราม Wat Chaiwatthanaram1000

วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตกของเกาะเมืองอยู่ตรงข้ามกับพระตำหนักสิริยาลัย ของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ตามประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า  สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2173  เพื่อเป็นอนุสรณ์อุทิศพระราชกุศล ถวายพระราชมารดา มีนามว่า “ นางอิน”  โดยจำลองแบบปราสาทนครวัด  ประเทศกัมพูชามาก่อสร้าง เมื่อครั้งที่เคยรบชนะกัมพูชา
วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดใหญ่ชัยมงคลมีประวัติที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างขึ้นในปี 1900  เพื่อถวายแด่พระสงฆ์ “คณะป่าแก้ว” ที่ได้ไปบวชเรียนมาจากสำนักสมเด็จพระวันรัตมหาเถระ ในลังกาทวีปและถวายนามว่า “ วัดป่าแก้ว “ พระสงฆ์ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญภาวนาเป็นสำคัญ พระเจ้าอู่ทอง จึงแต่งตั้ง “ สมเด็จพระวันรัต “ เป็นสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายขวา คู่กับ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ “ ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายซ้าย วัดป่าแก้วแห่งนี้ จึงได้ชื่อว่า “วัดเจ้าพญาไท “ ซึ่งหมายถึงวัดพระสังฆราช  แต่ด้วยวัดนี้เป็นพระอารามหลวง มีบริเวณกว้างขวาง และมีสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตรวมทั้ง “ พระเจดีย์ชัยมงคล “ เจดีย์องค์ใหญ่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างขึ้น  ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า “ วัดใหญ่ชัยมงคล “ มาจนทุกวันนี้

วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดตูม

วัดเสนาสนาราม

วัดราชประดิษฐาน

วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร

วัดพุทไธศวรรย์

วัดกุฎีดาว

วัดสมณโกฏฐาราม

วัดชุมพลนิกายาราม

วัดธรรมิกราช

วัดบรมวงศ์อิศรวราราม

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ อยุธยา 2

วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา  เป็นหนึ่งในวัดที่อยู่ในเขต อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ริมบึงพระรามด้านตะวันออก  หรืออยู่ใกล้กับวัดราชบูรณะ  เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเป็นพระอารามหลวง  เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ที่แสดงความชอบธรรมทั้งทางโลก (ราชอาณาจักร)และทางธรรม ( ศาสนาจักร)   ตามธรรมเนียมของการสร้างวัดมหาธาตุที่เริ่มขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อน แล้วเป็นตัวอย่างแก่อาณาจักรอื่นต่อมา เช่น เชียงใหม่  หริภุญชัย  ลำปาง  ศรีสัชนาลัย  พิษณุโลก  ละโว้  นครพนม  สุพรรณบุรี  นครปฐม  เพชรบุรี  และไชยา

วัดภูเขาทอง

วัดราชบูรณะ

วัดช้างใหญ่

วัดตาลเอน

วัดไก่

วัดบรมพุทธาราม

วัดพระราม

วัดโลกยสุธา

นอกจากนี้ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังมีวังช้างอยุธยา แล เพนียด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2540 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เดิมได้ตั้งชื่อว่า ปางช้างอยุธยา แล เพนียด และได้เปลี่ยนชื่อ ใหม่เป็น วังช้างอยุธยา แล เพนียด เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของและสถานที่ ที่อยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเป็นพื้นที่มรดกโลก

กิจกรรมที่ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมคือ

–          การได้ซื้ออาหารให้ช้าง  ให้นมช้างให้ขนมปัง

–          บันทึกภาพด้วยระบบดิจิตอล พร้อมอัดภาพให้พร้อม

–      นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการนั่งช้าง  เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการจะบันทึกภาพไว้  แล้วเข้าระบบคอมพิวเตอร์  เมื่อคุณกลับมาจากนั่งช้าง ก็จะได้ชมภาพบนจอภาพ  เมื่อมีความประสงค์จะอัดภาพ เป็นที่ระลึก  ก็เพียงสั่งภาพ  ภายใน 30 วินาที จะได้ภาพที่ประทับใจ
การบริการ และการท่องเที่ยว

จากกรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขาวเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทบุรีไปจังหวัดปทุมธานี จากนั้นใช้เส้นทางปทุมธานี – สามโคก – เสนา ทางหลวงหมายเลข 311 เลี้ยวขวาที่อำเภอ เสนา ทางหลวงหมายเลข 3263  เข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ใช้เส้นทาง กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

นครประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร

sukhothai-2

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ นครประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร  จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๑๕   เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔  ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย

คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก

ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” เป็น ต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชีย อาคเนย์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ เป็นเวลานานประมาณ ๒๐๐ ปี ด้วยความโดดเด่นนี้เองส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้น ทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยคุณค่าความโดดเด่นตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

หลักเกณฑ์ข้อที่ ๑
“เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรม ที่มีความงดงามและเป็นผลงานชิ้นเอกที่ได้รับการสร้างสรรค์จากอัจฉริยภาพด้าน ศิลปะอย่างแท้จริง”

หลักเกณฑ์ข้อที่ ๓
“เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยานหลักฐานแสดงขนบธรรมเนียม ประเพณีหรืออารยธรรม ซึ่งยังหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว”

โบราณวัตถุสถานที่ปรากฏอยู่ในเมืองประวัติศาสตร์ทั้ง ๓ เมืองนี้ แสดงให้เห็นถึงผลงานสร้างสรรค์อันล้ำเลิศของมนุษย์ ความงดงามอลังการของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสุโขทัย เป็นต้นแบบที่ส่งอิทธิพลให้ศิลปกรรมไทยในระยะต่อมา ความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และพระพุทธรูปลีลา เป็นสิ่งยืนยันถึงความสำเร็จของศิลปกรรมไทยยุคแรกนี้ได้เป็นอย่างดี
ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพัก มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น มีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพันไหลผ่าน ซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตรกรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองเก่าสุโขทัย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒  ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ ๒,๐๕๐ ไร่  ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ ได้ประกาศเขตเพิ่มเติมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น ๔๓,๗๕๐ ไร่   หรือ ประมาณ ๗๐ ตารางกิโลเมตร

 

tral5

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง

ประวัติความเป็นมา  

กรมป่าไม้ได้เข้าไปดำเนินการเพื่อจัดการป่าห้วยขาแข้งให้เป็นเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 แต่ในเวลานั้นทางราชการไม่สนับสนุนให้มีการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2515 เมื่อนโยบายทางราชการเปลี่ยนแปลงไป จึงได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังด้วยออกพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าห้วยขาแข้ง ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามกฏหมาย โดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 201 ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2515 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2529 ได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตเพิ่มเนื้อที่ให้มากขึ้น
สืบเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และสัตว์ป่าจนเป็นที่ยอมรับของนัก วิจัยชาวไทยและ ชาวต่างประเทศว่า เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ มีความหลากหลายของพันธุ์สัตว์และพรรณพืช ดังนั้นในปี พ.ศ.2534 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งรวมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ นเรศวรจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลก โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมรดกโลก ในการประชุมครั้งที่ 15 ณ เมืองคาร์เถจ ประเทศตูนีเซีย
สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งตั้งอยู่เชิงเขาหินแดง ริมห้วยทับเสลา ห่างจากตัวจังหวัดอุทัยธานีตามเส้นทางรถยนต์ 90 กิโลเมตร อาณาเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งครอบคลุมท้องที่ตำบลระบำ ตำบลป่าอ้อ อำเภอลานสัก ตำบลทองหลาง กิ่งอำเภอห้วยคต อำเภอบ้านไร่ ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี และตำบลแม่ละมุ้ง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 1,737,587 ไร่ หรือ 2,783.3 ตารางกิโลเมตร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เริ่มเป็นที่รู้จักเพราะได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม 2534 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย ห้วยขาแข้งมีพื้นที่ครอบคลุม 6 อำเภอ 3 จังหวัด คือ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ 3,609,375 ไร่ หรือ 5,775 ตารางกิโลเมตร

โดย มีการรวมพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเข้ามาด้วยทำให้ เป็นผืนป่าอนุรักษ์ต่อเนื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะอากาศที่ห้วยขาแข้งหากเป็นฤดูร้อนจะร้อนมาก ฤดูฝนมีฝนตกหนักตลอดทั้งวัน และมีฤดูหนาวสั้นมาก ห้วยขาแข้งได้เป็นมรดกโลกเพราะสภาพป่าของที่นี่มีความหลากหลาย ทางธรรมชาติประกอบด้วยป่าถึง 5 ใน 7 ชนิด ที่พบในเขตร้อนชื้น ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ก่อให้เกิดความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ บางชนิดเป็นสัตว์ที่หายากใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ควายป่า เลียงผา เสือดาว หมาใน ไก่ป่า นกยูงไทย และยังมีแมลงป่าพันธุ์ต่าง ๆ อีกมากมาย

ปกติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวที่เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ ทั่วไป เพราะพื้นที่นี้จัดเป็นเขตอนุรักษ์และมีความอ่อนไหวสูง ฉะนั้นการมีคนจำนวนมากเข้าไปอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านความไม่สมดุลของระบบ นิเวศได้ แต่อย่างไรก็ดีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งซึ่งได้กลายเป็นมรดกโลกและ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงเปิดจุดผ่อนปรนทั้งหมด 3 จุด ให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปศึกษาธรรมชาติได้แบบไม่ค้างคืน

ลักษณะภูมิประเทศ      โดยทั่วไปมีสภาพเป็นภูเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 200 – 1,650 เมตร เป็นต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายสาย ที่สำคัญที่สุด คือ ห้วยขาแข้ง ซึ่งไหลผ่านกลางพื้นที่และมีน้ำตลอดปี ทางซีกตะวันตกเป็นป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน จึงก่อให้เกิดลำธารสั้น ๆ หลายสายไหลลงห้วยขาแข้ง ทางซีกตะวันออกมีลำห้วยที่ใหญ่กว่า ได้แก่ ห้วยไอ้เยาะ ที่มีต้นน้ำมาจากเขานางรำและเขาเขียว ห้วยแม่ดีเกิดจากเทือกเขาน้ำเย็น ไหลลงสู่ลำห้วยขาแข้ง และห้วยทับเสลา ซึ่งมีต้นน้ำไหลมาจากเทือกเขาในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแนวเขตธรรมชาติของเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าทางด้านตะวันออกและไหลผ่านที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลงสู่แม่ น้ำสะแกกรัง   ชนิดป่าและพรรณไม้                 สภาพป่าส่วนมากยังสมบูรณ์ เนื่องจากไม่เคยผ่านการทำไม้มาก่อน บริเวณที่ลุ่ม ริมห้วยขาแข้งและห้วยใหญ่ ๆ เป็นป่าดงดิบชื้น ที่สูงขึ้นไปจะเป็นส่วนผสมระหว่างป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ บางแห่งจะมีไผ่รวกขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หรือกระจัดกระจายเป็นหย่อม ๆ บนยอดเขาสูงมาก ๆ จะเป็นป่าดิบเขา   สัตว์ป่า    ป่าห้วยขาแข้งเป็นป่าผืนใหญ่ที่มีเนื่อที่กว้างขวาง มีอาณาเขตบริเวณติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ที่เชื่อมโยงไปถึงประเทศพม่า สัตว์ป่าสามารถหลบหลีกไปถึงกันได้ จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม รวมทั้งบางชนิดที่หายากและ ใกล้จะสูญพันธุ์ ได้แก่ วัวแดง กวางควายป่า ช้างป่า กระทิง เก้ง หมูป่า ลิง ชะนี ค่าง สมเสร็จ เสือชนิดต่าง ๆ นกยูง ไก่ฟ้า ไก่ป่า นกหัวขวาน และนกชนิดอื่น ๆ อยู่กระจัดกระจายทั่วไป ซึ่งสามารถเห็นตัวและพบร่องรอยอยู่เสมอ   จุดเด่นที่น่าสนใจลำห้วยขาแข้ง ได้ชื่อว่าเป็นลำน้ำที่มีความสวยงามตามธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นลำน้ำสายใหญ่ให้น้ำตลอดปี นอกจากจะมีน้ำที่ใสแล้วบางตอนยังเกิดหาดทรายที่ขาวสะอาดทอดไปตามริมลำห้วย มีปลาชุกชุมมาก รวมทั้งสัตว์ป่าและสัตว์ปีกที่อาศัยอยู่ริมน้ำ ตอนที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ บริเวณสบห้วยไอ้เยาะไหลลงห้วยขาแข้ง
น้ำตกโจน เป็นน้ำตกที่มีน้ำตลอดปี เป็นส่วนหนึ่งของลำห้วยทับเสลาไหลผ่านช่องเขาแคบ ๆ และเปลี่ยนระดับฉับพลันก่อให้เกิดน้ำตกมีความสูงประมาณ 50 เมตร
วงตีไก่ เป็นปรากฏการณ์ประหลาดของธรรมชาติที่เกิดมีก้อนหินขนาดต่าง ๆ วางเรียงกันเป็นวง ๆ หลายวง มีชื่อทางเข้าคล้ายประตู 4 ด้าน  โป่งนายสอ ตั้งชื่อตามชื่อพรานป่าซึ่งเสียชีวิตเพราะถูกแรดทำร้าย อยู่ทางฝั่งขวาของลำห้วยขาแข้ง ตอนกลางของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีน้ำซับตลอดปี จึงมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก
โป่งพุน้ำร้อน เป็นโป่งใหญ่อยู่ทางตอนเหนือทางฝั่งซ้ายของลำห้วยขาแข้ง มีบ่อ น้ำพุร้อนอยู่ใกล้ ๆ สัตว์ป่าโดยเฉพาะกระทิง วัวแดง และกวาง มีชุกชุมมาก นอกจากนี้ยังมีโป่งต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อเสียงมากอีกหลายโป่ง เช่น โป่งแสนโต๊ะ โป่งตะคร้อ โป่งหญิง โป่งเจียว โป่งสมอ เป็นต้น

ประเทศลาว

เมืองหลวงพระบาง

Wat Xieng Thong, Luang Prabang

ตำนานเมืองหลวงพระบาง

แขวง หลวงพระบาง เดิมเป็นเมืองหลวงของลาว ในสมัยแรกเข้ามาอยู่สุวรรณภูมิ ภายหลังลาวแบ่งแยกออกเป็นหลายภาค หลวงพระบางเป็นเมืองหลวงของลาวภาคเหนือ ตามรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้เวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ปัจจุบันเมืองหลวงพระบางยังเคยเป็นที่ประทับของกษัตริย์ ซึ่งประชาชนเรียกองค์ท่านว่า “ สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งพระราชอาณาจักรลาว”

เมืองหลวงพระบาง ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายติดฝั่งแม่น้ำโขง มีแม่น้ำคานไหลลงบรรจบแม่น้ำโขงตอนเหนือเมือง ณ ปากน้ำตรงนั้นมีวัดโบราณของลาว คือ วัดเชียงทอง ตามคำบอกเล่าของชาวลาวว่า เดิมเป็นบ่อทองคำ และมีต้นไม้ทองใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ภายหลังโค่นลงเสีย และเอาดินถมบ่อทองสร้างวิหารครอบไว้ มีหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งใหญ่มากเรียกว่า “ ก้อนชวา” ตั้งอยู่ไร่นาข้าวเจ้า ซึ่งราษฎรสมัยก่อนต้องทำนาข้าวเจ้าไปถวายให้กษัตริย์เสวย ทางทิศใต้เมืองหลวงพระบางประมาณ 2 กิโลเมตร มีหมู่บ้านหนึ่งเรียกบ้านสังคะโลก หมู่บ้านนี้เดิมเรียกว่า “ เชียงดง” เพราะมีมีแม่น้ำดงผ่าน ทุกปีมีงานสรงน้ำพระพุทธรูป กษัตริย์ชาวลาวทุกองค์ต้องเสด็จไปร่วมพิธีที่นั่น หมู่บ้านเชียงดงหรือสังคะโลกเวลานี้มีประมาณ 120 หลังคาเรือน

นามต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับนามเมืองหลวงพระบางสมัยแรก เพราะประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารเมืองเรียกชื่อเมืองหลวงพระบางต่างๆ กัน คือ บางฉบับเรียกว่า “ เชียงคงเชียงทอง” บางฉบับว่า “ เชียงดงเชียงทอง” บางฉบับว่า ดินแดนลาว พวกขอมอยู่ก่อน พวกละว้าหรือข่าเข้ามาอยู่ภายหลัง บางฉบับว่าพวกขอมอยู่ที่หลัง พวกละว้าหรือลั๊วะอยู่ก่อน ไทยลาวเข้ามาภายหลังทั้งสองพวก แล้วขับไล่พวกนี้ไปอยู่ตามป่าตามเขา บางท่านว่านามผู้ปกครองเมืองหรือนามบุคคลซึ่งกล่าวถึงสมัยแรกตั้งเมืองหลวง พระบางเป็นนามขอม บางท่านว่าเป็นนามของพวกละว้า ผู้ที่ทราบภาษาลาว ได้อ่านพงศาวดารภาษาลาวออก สอบถามชาวเมืองประกอบแล้วจะทราบได้ว่า นามเหล่านี้เป็นนามภาษาลาวเป็นส่วนมาก ดังนาม “ อ้ายเจตไหเมียชื่อนางเกล้าใหญ่” ในหนังสือพงศาวดารฝ่ายไทยเขียนไว้ ที่ถูกควรเป็น “ อ้ายเจ็ดไห” ตามสำเนียงภาษาลาวและอักษรลาวเขียนไว้ “ นางเก๊าใหญ่” มากกว่า เพราะภาษาลาวไม่ใช้อักษร “ ล.” หรือ “ ร.” กล้ำ คำว่า “ เกล้า” ภาษาไทยแปลว่า “ หัว” หรือ “ ขมวดผม” แต่คำว่า “ เก๊า” เป็นภาษาลาว แปลได้หลายอย่าง จะยืนยันลงไปว่า นามกษัตริย์สมัยแรกเป็นขอมเพราะมีชื่อเป็นขอมทั้งนั้นยังนับไม่ได้ ตามพงศาวดารล้านช้างว่า โอรสขุนบรมองค์ที่ 1 นามขุนลอ ไปตั้งเมืองบริเวณเมืองชะวา (คือเมืองหลวงพระบาง) ชั้นแรกเรียกว่า บ้านเซ่า คำว่า “ เซ่า” ภาษาลาวแปลว่า “ หยุด” หรือ “ พัก” อาจจะหมายความว่าขุนลอ ยกไพร่พลลงมาเห็นทำเลตรงนั้นเหมาะจะสร้างเป็นเมืองหลวงจึงหยุดพัก ชั้นแรกยังไม่ได้ตั้งชื่อเมือง คงเรียกกันว่าบ้านเซ่า ไปพลางก่อน ต่อมาพลเมืองหนาแน่นเข้า เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เชียงดง เชียงทอง หากเชียงดงเป็นนามเดิมของหมู่ บ้านสังคะโลก ซึ่งมีน้ำดงไหลผ่านและเชียงทองนั้นหมายถึงปากแม่น้ำคานตอนไหลบรรจบแม่น้ำโขง ติดตัวเมืองหลวงพระบางทางเหนือและเป็นที่ตั้งวัดเชียงทองเวลานี้ คำว่า “ เชียงดงเชียงทอง” คงหมายถึง 2 เมืองติดกัน ต่อมาเมื่อได้เชิญพระบางมาจากเวียงจันทน์ ไปประดิษฐาน ณ เมืองเชียงดงเชียงทองแล้วจึงเปลี่ยนนามเมืองเป็น “ เมืองหลวงพระบาง” มาจนทุกวันนี้

พงศาวดารลาว ได้เล่าถึงเรื่องเมืองหลวงพระบางสมัยแรกดังนี้

“ นับแต่ขุนบูลม ลงมาตั้งเมืองหลุ่มได้ 205 ปี ขุนลอใหญ่มาได้ 23 ปี ก็ล่วงมาตั้งเมืองชะวาที่เชียงดงเชียงทอง อันเจ้ารัสสี (ฤาษี) แฮกหมายใส่หลักคำใส่หลักเงินไว้ ที่ก้อนก่ายฟ้าหั้นแล ยามนั้น ข่ากันฮางปู่มัน พระยานาคอยู่น้ำท่าผาติ่งสบอูหั้น ขุนลอจึงมาเลวแป้ (รบชนะ) ไล่เขาเมืองภูเลาภูคา จึงเป็นข่าเก่าบัดนี้แล อันนั้นแม่นข่ากันฮางแล ยังมีคนชุมหนึ่ง แม่เขาชื่อนางกางฮีผีเสื้อ พ่อเขานั้นเป็นคนเอากัน เป็นผัวเมียจึงมีลูก เขาใส่ชื่อลูกผู้พี่นั้น ชื่อขุนเค็ด ผู้น้องชื่อขุนคาน เขาอยากมาตั้งที่เชียงดงเชียงทอง บุญเขาน้อยมาตั้งบ่ได้ เขาจึงไปตั้งที่เชียงงวด อัน เฮาว่าขึงมวกบัดนี้แล บ่อนหั้นเปนบ้านเมืองเขา ขุนลอจุงไปเลวเอาแต่นั้นเขาก็เอารี้พลมาฮอดท้านขันหั้น ขุนลอก็ไปเลวได้ชนกัน ขุนลอก็เลวแป้ (รบชนะ) ไล่ไป ก็ได้ขุนเค็ดขุนคานที่เชียงงวด ทั้งพ่อทั้งลูกเอาไปจมน้ำเสียที่ดอนสิงหั้นแล เชื้อแถวขุนคานก็พ่ายหนีไปลี้ซ่อนอยู่หั้นแล แต่นั้นเจ้าขุนลอก็คืนมาฮอดเชียงดงเชียงทอง แล้วคนทั้งหลายจึงราชาภิเษกให้เป็นเจ้าแผ่นดินหั้นแล ” ตามข้อความข้างบน แสดงว่าเมืองชะวานั้นมีชนชาติข่านามว่า กันฮาง ตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ก่อน เมื่อขุนลอโอรสของขุนบรมเข้ามาก็ขับไล่พวกข่ากันฮางไปอยู่ตามป่า ตามภูเขาภูคา เป็นทาสของชาวลาวตราบทุกวันนี้ ยังมีชนพวกหนึ่งมีหัวหน้า 2 พี่น้อง ผู้พี่ขุนเค็ด ผู้น้องชื่อขุนคาน เป็นโอรสของนาง กางฮี ผีเสื้อ มีบิดาเป็นมนุษย์ ตั้งบ้านเมืองอยู่เชียงงวด (ขี้มวกหรือขึงมวก) ขุนลอยกไปรบชนะขับไล่พ่ายไป เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองเมืองศรีสัตนาคนหุตอุตตมราชธานี โดยเอา “ งอนหมื่นหลวงเท่าสบโฮบเป็นหางนาค เอาสบคานและน้ำของก้ำ (เฉียง) เหนือเป็นหัวนาค จึงได้ชื่อว่าเมืองศรีสัตตนาคเพื่อดังนั้น อันชื่อเมืองล้านช้างนี้เอานิมิต จึงเรียกว่าเมืองล้านช้างเพื่ออั้นแล” เมืองหลวงพระบาง จึงมีหลายชื่อ ชาวลาวปัจจุบันนิยมเรียกชื่อเดียวว่า เมืองหลวงพระบาง หมอมัคกิลวารีไปประเทศลาวเมื่อ พ.ศ. 2414 ได้เขียนไว้ว่า “ เมืองหลวงพระบางนี้มีลักษณะมั่นคงกว่าหัวเมืองไทยทั้งหลายที่อยู่ห่าง จากกรุงเทพฯ และเป็นเมืองต่างจากเมืองลาวทั้งปวง พลเมืองส่วนมากไม่ได้อยู่ในเมือง ทำเลการทำนาก็อยู่ห่างไกลเมืองออกไป ข้าวที่ส่งเป็นอาหารของชาวเมืองหลวงพระบางได้จากพวกชาวเขาที่ส่งส่วยเป็น ภาษีประจำ เมืองนี้ตั้งอยู่บนฝั่งโขง มีเนินเขาอยู่ตรงกลางสูงประมาณ 200 ฟุต มีสถูปเจดีย์อยู่บนยอด ลำน้ำแม่คานไหลผ่านตัวเมืองออกไปบรรจบแม่น้ำโขง”

ตำนานเมืองหลวงพระบางตอนต้น เล่าว่า เดิมเมืองหลวงพระบางนั้นเป็นเมืองผีเสื้อหรือยักษ์ มีพญายักษ์ตนหนึ่งชื่อ นันทา เมียชื่อมหาเทวี ลูกลาวชื่อนางกางฮี (นางเมรี) เขาเจ้าผัวนางตายก่อนเมีย จึงไปเป็นพระยาอินทปัตเกิดลูกชื่อ เจ้าพุทธเสน (พระรถ) มาเอานาง กางฮี เป็นเมีย มีลูกชายผู้หนึ่งชื่อ ท้าวพิสี มีลูกหญิงผู้หนึ่งชื่อนางพิไสย ผู้เฒ่าชาวเมืองหลวงพระบางเล่า ให้ฟังว่า บิดาของนางกางฮีจำแลงกายไปท่องเที่ยว ไปพบหนุ่มน้อยเจ้าพุทธเสนเข้า อยากให้ธิดาของตนลิ้มรสเนื้อมนุษย์ จึงลวงให้เจ้าพุทธเสนไปบ้านเมืองของตน และเขียนหนังสือถึงนางกางฮีว่า “ ถ้าไปถึงกลางวันให้กินกลางวัน ถ้าถึงกลางคืนจงกินกลางคืน” ปิดผนึกมอบให้เจ้าพุทธเสนเดินทางไปหาลูกลาวของตน เจ้าพุทธเสนเอาจดหมายผูกติดเชือกแขวนคอแล้วเดินทางรอนแรมขึ้นเขาข้ามห้วยลำ ธาน อดๆ อยากๆ ครั้นเดินทางมาถึงริมฝั่งโขง ณ ภูเขาลูกหนึ่งเรียกว่ ผาตัดแก้ (เวลานี้เรียกกับแก้ อยู่ใต้หลวงพระบาง) ก็นอนหลับไป เทพารักษ์รักษาป่าถิ่นนั้นมาเห็นจดหมายผูกแขวนไว้ที่คอของเจ้าพุทธเสน ก็สงสัยจึงลอบเปิดอ่านดู ทราบความแล้วเกิดสงสารจะตายเปล่าไม่เข้าที จึงเขียนข้อความให้ใหม่ว่า “ ไปถึงกลางวันหรือกลางคืนให้เอาเฮ็ดผัว” ครั้นเจ้าพุทธเสนตื่นขึ้นมาเดินทางเข้าต่อไปถึงสวนแถน (เวลานี้อยู่ใต้เมือง) ณ สวนนี้มีมะม่วงมะนาวพูดได้ ชาวพื้นเมืองเรียก มะม่วงรู้หาว มะนาวรู้โห่ ได้พบปะกับนาง กางฮี มอบหนังสือให้ ได้เสียเป็นผัวเมียกัน ครอบราชสมบัติเมืองหลวงพระบาง จนสิ้นพระชนม์ กลายเป็นภูเขา 2 ลูก อยู่ฝั่งเชียงแมนซึ่งตรงกันข้ามกับหลวงพระบาง เรียกภูท้าว ภูนาง ปัจจุบันนี้สุสานที่ฝังศพกษัตริย์ของเมืองลาวอยู่ใต้ภูท้าว เรียกป่าช้าหนองเงิน ภูนางนั้นเป็นรูปผู้หญิงนอน มีศีรษะ คอ หน้าอก และมีสระอยู่ 3 สระ ชาวพื้นเมืองนับถือกันมากไม่มีผู้ใดกล้าไปตัดฟันต้นไม้หรือขุดดิน

ามแม่น้ำโขงนับจากใต้เมืองห้วย ทรายลงมายังเมืองหลวงพระบาง และใต้หลวงพระบางลงไปสุดแดนของแขวงนี้ มีเกาะแก่งอันตรายร้ายแรงมากมาย แต่ละแก่งมีชื่อและประวัตินิยายอันน่ากลัว เช่น ผาย่าเฒ่าใต้ปากทา มีก้อนหินอยู่ริมน้ำเป็นรูปหญิงแก่สีขาว เล่าว่า แม่เฒ่าชาวข่ามุจะไปเมืองหลวงพระบาง ล่องเรืองมาเรือล่มจมน้ำตาย กลายเป็นหินรูปหินย่าเฒ่าอยู่ตรงนั้นตราบจนบัดนี้

มรดกโลกหลวงพระบาง
ในระหว่างปี พ.ศ. 2536-2537 องค์การยูเนสโกเข้ามาสำรวจหลวงพระบางตามข้อเสนอให้เมืองนี้ได้เป็นมรดกโลก ด้วยชัยภูมิที่ค่อนข้างโดดเดี่ยวของเมืองหลวงพระบาง และด้วยการที่ฝรั่งเศสย้ายศูนย์กลางการบริหารปกครองไปอยู่ที่เวียงจันทน์ ยังผลให้ราชธานีเก่าแก่อย่างหลวงพระบางคงบรรยากาศแบบโบราณเอาไว้ได้จน กระทั่งทุกวันนี้ แม้ในยุคสงครามกลางเมืองอันยืดเยื้อ หลวงพระบางก็ไม่ได้รับความเสียหายใดๆ แต่การคุกคาม ที่แท้จริงนั้นเริ่มขึ้นในทศวรรษ 1990 เมื่อลาวเริ่มเปิดประเทศต้อนรับโลกภายนอกและการพัฒนาความเจริญอีกครั้ง โชดดีที่องค์การสหประชาชาติให้ความสนใจกับปัญหานี้และส่งคณะผู้แทนเข้ามาทำ การสำรวจ รายงานที่ได้รับทำให้ยูเนสโกประกาศยกย่องให้หลวงพระบางเป็น “ เมืองที่ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้อย่างดีที่สุดในเอเชียอาคเนย์” (The best preserved city in South-East Asia)

บริเวณเมืองเก่าหลวงพระบางระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำคานบนพื้นที่ 2 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมวัดเชียงทอง หอพิพิธภัณฑ์ วัดใหม่สุวันนะพูมาราม และพระธาตุพูสี ได้รับการ “ ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก” ในการประชุมคณะกรรมกรมรดกโลกครั้งที่ 19 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 ด้วยเงินช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์และบำรุงรักษาโบราณสถานจากองค์การสห ประชาชาติ เป็นเครื่องประกันอนาคตของหลวงพระบางได้เป็นอย่างดี

เป้าหมายหลักของยูเนสโกคือ การคงบรรยากาศแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของหลวงพระบาง ตลอดจนอนุรักษ์สถาปัตยกรรมทั้งของลาวและฝรั่งเศส รวมถึงประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ไว้ ในปี ค.ศ. 1998 ยูเนสโกได้ว่าจ้างสถาปนิกฝรั่งเศสสองคนกับสถาปนิกลาวอีกห้าคน ให้เข้ามาปฏิบัติภารกิจดังกล่าว ปัจจุบันพวกเขาได้คัดสิ่งปลูกสร้างที่เป็นโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ออกมาได้มากถึง 700 แห่ง ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนแบ่งแยกหมวดหมู่และทำเรื่องร้องขอการ คุ้มครองจากทางการ นอกจากนี้ ยังห้ามการปลูกตึกสูงหรือการพัฒนาความเจริญใดๆ อันจะสร้างความเสียหายให้กับสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมของเมืองหลวงพระบางอีก ด้วย

การพิจารณาให้สถานที่แห่งหนึ่ง แห่งใดเป็นมรดกโลกนั้น คณะกรรมการมรดกโลกมีเกณฑ์การพิจารณา 6 ข้อ โดยสถานที่นั้นต้องผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 1 ข้อ แต่เมืองหลวงพระบางนั้น ผ่านเกณฑ์พิจารณาถึง 3 ข้อได้แก่
เกณฑ์ ข้อที่ 1 : คือ หลวงพระบางถือเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านช้างมาแต่นับอดีต จวบจนปัจจุบันเมืองนี้ยังนับเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของประเทศลาวอยู่ และเป็นแหล่งของศิลปะรวมทั้งสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างที่โดดเด่นชัดเจน
เกณฑ์ ข้อที่ 2 : คือ หลวงพระบางมีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมยุคโคโลเนียลซึ่งยังคงสภาพค่อนข้าง สมบูรณ์อยู่ ถือเป็นแบบอย่างของเมืองซึ่งประกอบด้วยสถาปัตยกรรมยุคนี้ที่ชัดเจน • • เกณฑ์ ข้อที่ 3 : คือ ทำเลของหลวงพระบางแสดงถึงภูมิปัญญาในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และสะท้อนวัฒนธรรมในการจัดสรรทรัพยากรซึ่งยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องมากระ ทั่งปัจจุบัน ความเป็นมรดกโลกของเมืองหลวงพระบางที่เห็นเป็นรูปธรรมที่สุดคือ สถาปัตยกรรมของวัด และอาคารบ้านเรือนแบบโคโลเนียล

ห้องการมรดกโลกหรือตัวแทน ของคณะกรรมการมรดกโลกประจำเมืองหลวงพระบางได้จัดแสดงนิทรรศการ “ เฮือนลาวแปดหลัง” หรือสถาปัตยกรรมอาคารแปดแบบ ที่ทำให้หลวงพระบางได้รับเลือกเป็นมรดกโลกไว้ที่ เฮือนมรดกเชียงม่วน กลางเมืองหลวงพระบาง

วัดภูและเมืองแวดล้อมในเขตเมืองจำปาสัก

tral7

มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ได้เคยสร้างไว้เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย การดำรงชีพและพิธีกรรมต่าง ๆ หลักฐานวัฒนธรรมในอดีต เช่น ซากบ้านเรือน ซากโบสถ์วิหาร ศาสนสถาน ซากกำแพงคูเมือง สถานที่ประกอบพิธีกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต

การวิจัยข้ามวัฒนธรรมเป็นการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันหรือต่างกัน โดยเป็นสิ่งที่เปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างนักวิจัยเพื่อสะท้อนทัศนะในการมองวัฒนธรรมอื่นผ่านวัฒนธรรมตน นอกจากนี้การวิจัยข้ามวัฒนธรรมยังช่วยตรวจสอบปัจจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อปฏิกิริยาของบุคคลต่อความเปลี่ยนแปลง การศึกษากลุ่มวัฒนธรรมใดในระยะก่อน ระหว่างและหลังการอพยพไปสู่ประเทศอื่นทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหา ความวิตกกังวลและวิธีการจัดการและในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลง (นพวรรณ โชติบัณฑ์ , ดุษฎี โยเหลา , 29-45)

ปราสาทวัดพู ห่างจากตัวเมืองจำปาสัก(เมืองเก่า) ประมาณ 6 กิโลเมตร แขวงจำปาสักประเทศลาว จากหลักฐานการสร้างนักวิชาการเสนอว่า มีการสร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 6 ถึงศตวรรษที่ 12ถือว่าเป็นปราสาทหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดนอกจากนี้ ปราสาทวัดพูยังเป็นศาสนสถานที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมขอมโบราณที่ ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มริมน้ำโขงในเขตจำปาสัก

ถือ เป็นรากฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นการก่อร่างสร้างตัวซึ่งมีพัฒนาการทางสังคม วัฒนธรรมและรูปแบบศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์จากสังคมบุพกาลในอดีตที่มีการ ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายสู่สังคมแห่งอารยธรรมที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน ซึ่งนักวางผังในสมัยโบราณได้ปรับใช้ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ให้ตอบสนองต่อ แนวความคิดทางศาสนาและคติความเชื่อในลัทธิไศวนิกายของศาสนาพราหมณ์ฮินดูโดย ปราสาทวัดพูนี้นับได้ว่าเป็นต้นแบบสำคัญทางด้านสถาปัตยกรรมของยุคสมัยอัง กอร์วัดในประเทศกัมพูชา (เกรียงไกร เกิดศิริ, 2547)

หลังจากพุทธศตวรรษที่ 6หลักฐานทางโบราณคดีทำให้ทราบว่าชนชาติขอมเริ่มรวมตัวเป็นอาณาจักรหรือรัฐ มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 โดยพัฒนามาจากเมืองท่าที่ติดต่อค้าขายกับอินเดีย มีความเจริญภายใต้พื้นฐานของอารยธรรมอินเดีย ใช้ชื่อว่า อาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง หรือทางเวียดนามตอนใต้และแม่น้ำโขงตอนใต้หรือกัมพูชา จนถึงบางส่วนในบริเวณของภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย โดยมีเมืองออdแก้ว (ตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนาม) เป็นเมืองท่าในการติดต่อค้าขาย และมีราชธานีนามว่า“วยาธปุระ” ใกล้เขาบาพนมในประเทศกัมพูชา

อาณา จักรฟูนันมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทั้งกับอินเดียและจีน หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับอาณาจักรนี้ยังดูรางเลือนหาข้อสรุปไม่ได้แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่ากษัตริย์องค์สุดท้ายคือ รุทรวรมัน และนับถือศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับมาจากอินเดียเป็นหลัก มีการพบศิลาจารึกเกี่ยวกับการบูชายัญแก่เทพเจ้าในช่วงนี้ด้วยต่อมาในพุทธ ศตวรรษที่ 12 อาณาจักรเจนละ ซึ่งแต่เดิมเป็นรัฐหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณตั้งแต่เมืองจำปาศักดิ์-ภูกล้าว และในปัจจุบันคือบริเวณทางตอนใต้ของประเทศลาวและทางภาคเหนือของประเทศเขมร และราชธานีของอาณาจักรเจนละคือ เมือง “เศรษฐปุระ” อาณาจักรเจนละมีพื้นฐานอารยธรรมสืบต่อมาจากอาณาจักรฟูนันรวมทั้งการนับถือศาสนาพราหมณ์ด้วย

พระเจ้าภววรมัน ปฐมกษัตริย์ของเจนละได้ยึดวยาธปุระจากรุทรวรมัน ต่อมาพระอนุชาของภววรมันคือ พระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 ได้เข้ายึดฟูนันและปราบปรามได้ ทำให้อาณาจักรเจนละได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเดิมจนล่วงพุทธศตวรรษที่ 13 อาณาจักรเจนละได้ถูกกษัตริย์ชวาจากราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรชวาภาคกลางรุกราน จึงทำให้เจนละแตกออกเป็น ๒ ส่วนคือ เจนละบก และ เจนละน้ำ ส่วนของเจนละน้ำนั้นถูกชวายึดครองได้ นอกจากนี้อาณาจักรชวายังได้นำตัวรัชทายาทคือ เจ้าชายชัยวรมันที่ 2 ไปเป็นตัวประกันที่อาณาจักรชวาอีกด้วย ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่าตัวจำนำเพื่อรับรองความจงรักภักดีของอาณาจักรขอม

ต่อมาในปี พ.ศ. 1350 ชัยวรมันที่ 2 ได้ยกทัพขึ้นมาประกาศเอกราชจากอาณาจักรชวา และยังรวมอาณาจักรเจนละบกเจนละน้ำที่แตกแยกเข้าด้วยกัน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับอาณาจักรขอมใหม่ และขนานนามใหม่ว่า เมืองกัมโพชน์ตะวันออก โดยแยกตัวมาจากอาณาจักรลโวทย หรือละโว้ หรือปัจจุบันเรียกว่า ลพบุรี ซึ่งมีกัมโพชน์อยู่แล้ว โดยทรงเลือกตั้งราชธานีของเมืองกัมโพชน์ในบริเวณทางเหนือของทะเลสาบเขมร พระองค์ทรงขยายพระราชอำนาจขยายเข้าไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำ บริเวณภาคอีสานของประเทศไทยด้วยในจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ศีรษะเกษ

ลัทธิเทวราชาและการก่อสร้างปราสาทขอม

พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงสถาปนาลัทธิเทวราชา คือยกฐานะกษัตริย์ให้เป็นเทพเจ้าหรือเทวาราชา (Deva-Raja) เป็นกษัตริย์สูงสุด จึงเป็นการปูพื้นฐานระบบเทวราชาให้อาณาจักรอื่นๆเอาเป็นแบบอย่าง รวมถึงสยามของเราก็รับระบบนี้มาใช้ด้วยเช่นกัน ระบบเทวราชานี้มีส่วนทำให้พราหมณ์เข้ามามีบทบาทในราชสำนัก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญศิลปศาสตร์ต่างๆ และประกอบพิธีราชาภิเษกให้กับกษัตริย์

ลัทธิเทวราชาหรือระบบเทวราชา ต่างจากลัทธิไศวนิกายแลไวษณพนิกาย คือ ก่อนหน้านั้นกษัตริย์เป็นเพียงมนุษย์ที่นับถือเทพเจ้า แต่ลัทธิราชานั้นถือว่ากษัตริย์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเทพเจ้าคือเทพเจ้าแบ่งภาคลงมาจุติเป็นกษัตริย์นั่นเอง เมื่อกษัตริย์เสวยราชย์แล้วต้องกระทำ ๓ สิ่ง คือ

ขุดสระชลประทานหรือที่เรียกว่า บาราย นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขมรมีความยิ่งใหญ่ เพราะเนื่องจากเขมรก็ไม่นิยมตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำเท่าใดนัก ที่เมืองพระนครก็มีบารายขนาดใหญ่หลายบาราย เช่น บารายอินทรฏกะ มะละกอเต้นระบำ

กษัตริย์ต้องสร้างศาสนสถานบนฐานเตี้ยๆ อุทิศถวายบรรพบุรุษ หรือปราสาทขอมสร้างบนฐานเตี้ยๆเพียงชั้นเดียว เช่น ปราสาทพะโค ที่พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับบรรพบุรุษของพระองค์ นอกจากนี้ยังต้องสร้างศาสนสถานบนฐานเป็นชั้นหรือปราสาทขอมแบบยกฐานเป็นชั้นสูงหลายชั้นเพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า หากเป็นศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายก็จะประดิษฐานศิวลึงค์ของสัญลักษณ์แห่งองค์พระอิศวร หรือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกายก็จะประดิษฐานเทวะรูปพระวิษณุ และมีความเชื่อว่าเมื่อกษัตริย์สิ้นพระชนม์วิญญาณของพระองค์จะไปเสด็จรวมกับเทพเจ้าที่ปราสาทที่พระองค์สร้างไว้นั่นเอง เช่น พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ทรงสร้างปราสาทนครวัด อุทิศถวายแด่องค์พระวิษณุ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ก็มีพระนามว่า บรมพิษณุโลก

จากเหตุผลนี้เองที่เป็นประเพณีที่กษัตริย์เขมรทุกพระองค์จะต้องสร้างปราสาทขอมอย่างน้อยที่สุด ๒ หลัง ส่วนรูปแบบของปราสาทขอมนั้น ก็พัฒนารูปแบบมาจากศาสนสถานในประเทศอินเดียที่เรียกกันว่า ศิขร ซึ่งเป็นศาสนสถานของศิลปะอินเดียในภาคเหนือ และ วิมาน เป็นศาสนาสถานของอินเดียภาคใต้ นอกจากนี้ก็ยังได้รับอิทธิพลของ จันฑิ ศาสนาสถานในศิลปะชวาเมื่อครั้งที่อาณาจักรเจนละตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรชวาด้วย

ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้จึงก่อให้เกิดรูปแบบงานศิลปกรรมเขมรที่เรียกกันว่า ปราสาทขอม หรือก็คือ ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ที่มีความสวยงามและคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นอย่างยิ่ง และเนื่องด้วยปราสาทขอมเหล่านี้สร้างด้วยวัสดุที่เป็นอิฐ ศิลาทราย และศิลาแลง เป็นต้นซึ่งเป็นถาวรวัตถุจึงทำให้มีความคงทนจนถึงในปัจจุบัน

จึงไม่แปลกที่สามารถพบปราสาทแบบเขมร ในบริเวณทางตอนใต้ของประเทศลาว และแถบภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งมีปราสาทขอมอยู่มากมายด้วยเช่นกัน เนื่องจากในบางช่วงเวลาพระราชอำนาจของกษัตริย์ที่เมืองพระนครมีความเข้มแข็ง ทำให้อำนาจทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาโบราณที่มีเหนือดินแดนประเทศไทยขยายเข้ามา ด้วยเหตุนี้ปราสาทขอมจึงถูกสร้างขึ้นในดินแดนลาวและไทยด้วย

สถาปัตยกรรมปราสาทหินวัดพู

ปราสาทหินวัดพูถูกสร้างขึ้นบนฐานเป็นชั้นหรือปราสาทขอมแบบยกฐานเป็นชั้นสูงหลายชั้นบนภูเขาที่มีชื่อเรียกว่า ภูเกล้า เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า ในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย โดยปรากฏหลักฐานคือแท่นโยนีที่พบบริเวณรอบๆตัวปราสาท ประดิษฐานศิวลึงค์ของสัญลักษณ์แห่งองค์พระอิศวร หรือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกายก็จะประดิษฐานเทวะรูปพระวิษณุ และมีความเชื่อว่าเมื่อกษัตริย์สิ้นพระชนม์วิญญาณของพระองค์จะไปเสด็จรวมกับเทพเจ้าที่ปราสาท

ปราสาทแห่งนี้มีการสร้างต่อกันมาเรื่อยๆ เพื่อเป็นการสืบทอดศาสนาและอุทิศเพื่อศาสนา อาจแบ่งเป็นยุค(แบ่งตามวัตถุที่ใช้ในการสร้าง) คือ ยุคแรก ปราสาทสร้างขึ้นด้วยดินเผา สามารถพบหลักฐานได้บริเวณด้านซ้ายและด้านขวาของบันไดทางขึ้นปราสาท (หมายเลข 3ตามภาพผังวัดพู)ในปัจจุบันบริเวณดังกล่าวจะพบเพียงกองอิฐเท่านั้น นอกจากนี้ทางด้านหลังของปราสาทองค์ประธาน(เทวาลัย)ก็สร้างขึ้นด้วยอิฐ

ก่อนที่จะมีการต่อเติมด้วยหินทรายในยุคหลังๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นหลักฐานชั้นดีที่ทำให้เราทราบว่าปราสาทวัดพูมีการสร้างขึ้นตั้งแต่ยุคแรก (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6) ส่วนในยุคที่ 2 นั้นสร้างขึ้นจากหินทรายมีอาคารทรงปราสาทหลายหลังที่สร้างขึ้นด้วยหินทรายเช่น ปราสาทองค์ประธานที่มีการต่อเติมจากตัวปราสาทเดิมที่ก่อด้วยอิฐบันไดทางขึ้นปราสาท เสานางเรียง เป็นต้น ในยุคที่สองนี้นักโบราณคดีสันนิษฐานจากภาพสลักส่วนใหญ่ว่าอยู่ในยุคปาปวน หรือในช่วง พระเจ้าอุทยดิษยะวรมัน ที่2เป็นกษัตริย์ ในที่นี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อมีการสร้างปราสาทด้วยอิฐในยุคแรกแล้วจะไม่มีการสร้างต่อเป็นระยะเวลาร้อยๆปี แต่จากภาพสลักที่พบชี้ให้เห็นถึงการสร้างหรือศิลปกรรมที่พบเท่านั้นซึ่ง

รูป แบบปราสาทวัดพู อาคารตัวปราสาทประธาน(เทวาลัย) มีการสร้างและบูรณะในสมัยต่อๆมา อาคารหลังนี้เดิมใช้ในลัทธิพราหมณ์โดยจะประดิษฐานฐานโยนีและศิวะลึงค์ไว้ใน ตัวปราสาท นอกจากนี้ยังมีการต่อท่อสมสูตร มาจากน้ำธรรมชาติ ที่ชาวเมืองจำปาสักเรียกว่า น้ำเที่ยง

โดยจะให้น้ำไหลผ่านท่อสมสูตรเข้ารดศิวะลึงค์ตลอดปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการใช้พื้นที่ในการทำพิธีกรรมและแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนในยุคนั้นที่มีต่อปราสาทหินวัดพู ด้านบนของตัวปราสาทโล่งสันนิษฐานว่าคงจะใช้กระเบื้องในการมุงหลังคาแต่ในปัจจุบันไม่มีแล้ว ในปัจจุบันอาคารหลังนี้คราวหลังที่อาณาจักรล้านช้างแผ่ขยายอำนาจเข้ามาบริเวณนี้ จึงได้นำเอาศาสนาพุทธเข้ามาด้วย อาคารหรือเทวาลัยหลังนี้จึงกลายเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังที่เห็นในปัจจุบัน

ส่วนทางทิศใต้ของปราสาทองค์ประธานหรือเทวาลัยจะเป็นบรรณาลัย คือที่เก็บคัมภีร์หรือคำสอนทางศาสนา ทางทิศเหนือ ทิศใต้และทิศตะวันออกจะพบการแกะสลักหินให้มีลักษณะเหมือนบานประตู เรียกว่า ประตูหลอก อาคารบรรณาลัยนี้จะสามารถเข้าได้ด้านเดียวคือทิศตะวันตก

นอกจากนี้บริเวณก่อนทางขึ้นปราสาทยังพบปราสาทอีกสองหลังคือ โฮงท้าวและโฮงนาง สร้างด้วยหินทรายมีการแกะสลักลาดลายอย่างสวยงาม ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่าเป็นที่พักของข้าราชบริพาลที่ตามเสด็จพระมหากษัตริย์

ประติมากรรม

ในด้านประติมากรรมของปราสาทหินวัดพู อรวรรณ เพชรนาค ได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “คติความเชื่อและรูปแบบของภาพสลัก ปราสาทวัดพู” โดยศึกษาเกี่ยวกับศิลปะที่พบบนปราสาทหินวัดพูปราสาทวัดพูว่าเป็นที่ตั้งของศาสนสถานในอารยะธรรมโบราณโดยแบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ ๑) ยุคของอาณาจักรเจนละซึ่งนับถือเทพเจ้าและพิธีการบูชายัญ ๒)ยุคอาณาจักรขอมที่มีการสร้างปราสาทเป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ และ ๓)ในยุคอาณาจักรล้านช้างที่ได้ปรับเปลี่ยนปราสาทขอมให้กลายเป็นพุทธสถานของ นิกายเถรวาทจนถึงปัจจุบันอาคารต่างๆของปราสาทวัดพูได้สร้างขึ้นในยุคสมัยของ อาณาจักรขอมภายใต้ความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ และมีการก่อสร้างและต่อเติมอาคารในหลายยุคหลายสมัยด้านคติความเชื่อของภาพ สลักที่ปราสาทวัดพูนั้นแบ่งตามคติของการสร้างภาพสลักคือภาพสลักเล่าเรื่องใน ศาสนาพราหมณ์ที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อของลัทธิไศวนิกาย กับลัทธิไวษณพนิกายซึ่งปรากฏในรูปแบบของภาพสลักเล่าเรื่องทางประติมานวิทยา มีเนื้อหาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระนางอุมา พระอินทร์และฤาษี เรื่องราวที่เกี่ยวกับสัตว์ เช่น ช้างเอราวัณนาค ครุฑ หน้ากาล สิงห์ รวมถึงลวดลายพันธุ์พฤกษาประดับตกแต่งต่าง ๆรูปแบบของภาพสลักที่ปรากฎสวนใหญเป็นศิลปะแบบบาปวนตอนต้นที่ยังคงรักษารูป แบบบางประการของศิลปะแบบเกลียงไว้ แสดงถึงการก่อสร้างภายใต้ช่วงระยะเวลาที่ต่อเนื่องกันรูปแบบภาพสลักเล่า เรื่องที่ปราสาทวัดพูนั้น แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ

ได้แก่ ภาพสลักเล่าเรื่องอย่างแท้จริงโดยไม่มีส่วนประกอบอื่นมาปะปนและภาพสลักเล่า เรื่องท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษาที่มีการเล่าเรื่องอยู่ในบริเวณจุดกึ่งกลาง ของภาพโดยภาพสลักนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญในการแสดงความหมายในเชิงสัญลักษณ์ให้ปราสาทหินแปรเปลี่ยน เป็นดั่งสรวงสวรรค์ที่ประทับของเทพเจ้าอย่างสมบรูณ์

นิเวศวัฒนธรรม

ปราสาทวัดพูศูนย์กลางอำนาจและความมั่งคั่ง พ.ศ. 1000-1300 เป็นชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นศูนย์อำนาจในแถบนี้มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรเจนละ (Chenla) และอาณาจักรจาม (Champa) ให้ความสำคัญกับส่วนยอดของภูตั้งแหลมเป็นแท่งคล้ายกับลำลึงค์ มีการตั้งศาสนสถานขึ้นที่เชิงเขาและเรียกภูยอดลึงค์นี้ว่าลิงคปารวัต (Lingaparvata)หรือลิงคบรรพต ชาวบ้านเรียกกันว่าภูเก้าหรือภูเกล้า บางเอกสารเรียกภูควย เปรียบได้กับเขาไกรลาส (Kailasha) อันเป็นที่สถิตย์ของพระศิวะ และแม่น้ำโขงที่อยู่ทางด้านหน้าเปรียบเสมือนมหาสมุทร ประดุจแม่คงคา วัดพูสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับและที่สักการะพระศิวภัทเรศวร (Shiva Bhadresvara)

ที่เชิงเขาด้านหลังวัดมีน้ำจากเขาไหลซึมลงมาถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์เพราะเชื่อว่าน้ำไหลลงมาจากลิงคปารวัตบนยอดเขา สิ่งปลูกสร้างแรกเริ่มเกิดในราวศตวรรษที่ 10 และปรับปรุงใหม่ในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 และบุรณะต่อมาในสมัยของสุริยวรมันที่ 1 และ 2, และชัยวรมันที่ 7 ตามลาดับ

ปรากฏในจารึกว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 โปรดให้ทิวากร (Divakara) พราหมณ์ราชครูสร้างและตกแต่งเพิ่มเติม สระน้าอันหนึ่งเรียกชื่อตามท่านราชครูว่า ทิวากรตฏากะ (Divakaratataka) จากศิลาจารึกที่ค้นพบที่ปราสาทเขาพระวิหารระบุว่า ศิลาฤกษ์ได้นามาจากวัดพูจึงนับว่าวัดพูเป็นวัดแม่ของปราสาทเขาพระวิหาร

การใช้พื้นที่ทางวัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชน

พื้นที่ ปราสาทวัดพูในปัจจุบันชาวจำปาสักและชาวลาวยังถือว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ มีการกราบไหว้ขอพร รวมทั้งมีการผสานความเชื่อของศาสนาพราหมณ์เข้ากับศาสนาพุทธเช่น การนำรูปทวารบาลมากราบไหว้โดยเชื่อว่าเป็นพระยากำมะทาซึ่งเป็นลูกของท้าวคัช นามผู้สร้างเมืองจำปาสักในสมัยก่อนที่สมเด็จเจ้าราชครูขี้หอมจะพาเจ้าหน่อ กษัตริย์และไพร่พลลงมาสร้างบ้านแปลงเมืองและสถาปณาอาณานครจำบากนาคบุรีศรี ขึ้นในแถบนี้ รวมทั้งมีการใช้ปราสาทองค์ประธาน หรือเทวาลัยปรับเปลี่ยนเป็นพุทธสถาน โดยได้สร้างพระพุทธรูปเข้าไปประดิษฐานแทนที่ศิวะลึงค์

ทวารบาลที่ชาวจำปาสักเชื่อว่าเป็นพระยากำมะทา

นอกจากนี้ที่ปราสาทวัดพูยังมีการประกอบพิธีกรรมประจำปี คืองานบูชาปราสาทหินวัดพู ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจากพิธีกรรมนี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของชาวจำปาสักและชาวลาวมีต่อปราสาทหินวัดพู โดยถือว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมของชาวจำปาสักและชาวลาวอีกด้วย

มองมรดกทางวัฒนธรรมเชิงเปรียบเทียบ: ปราสาทเขาพระวิหาร

ปราสาทพระวิหารอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างชายแดนไทยและกัมพูชา ใกล้กับหมู่บ้านภูมิซรอลตำบลบึงมะลูอาเภอกันทรลักษ์จังหวัดศรีสะเกษห่างจากกลุ่มโบราณสถานในเขตเมืองพระนคร (Angkor) มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณเกือบ 200กิโลเมตรศาสนสถานแห่งนี้ได้รับการก่อสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน “ศิวลึงค์” อัน เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะเทพสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ตามลัทธิไศวะนิกาย เช่นเดียวกันกับปราสาทวัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาวจัดเป็นเทวสถานที่มีลักษณะเป็นเทวบรรพตหรือศาสนบรรพตซึ่งหมายถึง เทวสถานที่ประดิษฐานอยู่บนภูมิประเทศที่เป็นภูเขาเขาพระวิหารซึ่งเป็นที่ ตั้งปราสาทจึงมีความสำคัญในฐานะภูเขาศักดิ์สิทธิ์เสมือนหนึ่ง “เขาไกลาส” อันเป็นที่ประทับของ เทพเจ้าคือพระศิวะลักษณะทางศิลปกรรมส่วนใหญ่ที่ปรากฏเป็นองค์ประกอบ สถาปัตยกรรมของเทวสถานแห่งนี้แสดงให้เห็นลักษณะของรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบบาป วน เช่นเดียวกับปราสาทวัดพู มีการอัญเชิญพระภัทเรศวรมาประดิษฐานใหม่ที่นี่ (ศรีภัทเรศวรเป็นชื่อเรียกเดิมของปราสาทวัดพูแขวงจาปาสักสปป.ลาว) ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนที่อยู่รอบๆปราสาทวัดพูและชุมชนที่อยู่รอบๆปราสาทพระวิหาร

จารึกพระวิหาร๑ที่ประกาศเกียรติคุณ “ศรีสุกรรมากาเสตงงิ“ ผู้ทำรั้วล้อมกัมรเตงชคัตศรีศิขเรศวรและกัมรเตงชคัตศรีพฤทเธศวร “๓. อัญศรีสุริยวรมันเทวะเกี่ยวกับความจงรักภักดีของศรีสุกรรมากาเสตงงิ(๑) ขณะที่ทารั้วในกัมร-๔. เตงชคตศรีพฤทเธศวรพร้อมกับความขยันหมั่นเพียรของในเขาการเฝ้าบัญชีเมื่อความรุ่งเรืองของพระศิวะ(๒) ในกั –๕. มรเตงชคตศรีศิขรีศวรซึ่งปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน (ที่)พระยศสถิราวสานะและเป็นผู้ที่มีเครือญาติทาหน้าที่รักษา”จากจารึกปราสาทสระกำแพงใหญ่ที่กรอบประตูระเบียงคตมีทั้งหมด 33 บรรทัดเนื้อความย่อมีดังนี้พระ กัมรเตงอัญศิวทาสคุณโทษพระสภาแห่งกัมรเตงชคตศรีพฤทเธศวรเมืองสดุกอาพิลร่วม กับข้าราชการคนอื่นๆคือกัมรเตงอัญขทุรอุปกัลปดาบสพระกัมรเตงอัญศิขเรสวัตพระ ธรรมศาสตร์และพระกัมรเตงอัญผู้ตรวจการแต่ละปักษ์ซื้อที่ดินซึ่งติดกับตระพัง (สระน้า) เพื่อถวายให้แก่กัมรเตงชคตศรีพฤทเธศวรในวันวิศุวสงกรานต์ขึน 2 ค่าเดือน 5 มหาศักราช 964 (พ.ศ.1585)ปราสาทสระกำแพงใหญ่หรือกัมรเตงชคตศรีพฤทเธศวรเป็นศาสนสถานขอมที่น่าจะสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ช่วงเดียวกับการต่อเติมปราสาทเขาพระวิหารดังที่ปรากฏในจารึกปราสาทเขาพระวิหาร 1 ในราวปีพ.ศ.1581 ว่าศรีสุกรรมากาเสตงงินายช่างผู้สร้างแนวกาแพงที่ปราสาทเขาพระวิหารเป็นผู้สร้างแนวปราสาทสระกาแพงใหญ่ด้วยอีกไม่กี่ปีต่อมาคือราวปีพ.ศ.1585 พระกมรเตงอัญศิวทาสแห่งเมืองสดุกอาพิล

เนื้อความในจารึกหลักที่ K 380 และจารึกปราสาทพระวิหาร 4 (ศก 6) ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงพุทธศักราช 1580 โดยมีใจความสาคัญคือคุณงามความดีของ ศรีสุกรมา กัมเสตงิ ผู้ริเริ่มจัดทำรั้วทั้งหมดที่ พระกัมรเตงชะคัต ศรีศิขเรศวร (ศิวลึงค์ซึ่งประดิษฐาน ณ ปราสาทพระวิหาร) และพระกัมรเตงชะคัต ศรีพฤทเธศวร (ศิวลึงค์ซึ่งประดิษฐานณ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ 6) นอกจากการสร้างรั้วที่ปราสาทพระวิหาร (ซึ่งเป็นเทวสถานแห่งองค์ ศรีศิขเรศวร) กับที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ (ซึ่งเป็นเทวสถานแห่งองค์ ศรีพฤทเธศวร) แล้ว พระศรีราชปติวรมัน ยังกราบทูลเรื่องความดีอื่นๆ ที่ ศรีสุกรมา กัมเสตงิ ได้ดำเนินการคือ การพยายามจดบันทึกเวลาแสดงอภินิหาร (ศิวะเตชะ) ของ พระศรีศิขเรศวร ทั้งให้ญาติเขียนลำดับประวัติราชวงศ์กัมพูและให้หน่วยราชการเขียนประวัติเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน เริ่มตั้งแต่พระเจ้าศรุตวรมเทวะ จนถึงพระศรีสูรยวรมเทวะและให้เขียนประวัติของ พระศรีศิขเรศวร กับ พระศรีพฤทเธศวร ลงบนแผ่นศิลามอบไว้ที่ปราสาท พระเจ้าศรีสูรยวรมเทวะทรงพระราชทานพระราชทรัพย์และหมู่บ้าน วิเภทะ แก่ ศรีสุกรมา กัมเสตงิ จึงได้ชื่อว่าหมู่บ้าน กุรุเกษตร กล่าวคือเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านซึ่งเดิมมีนามว่าหมู่บ้าน วิเภทะ เป็น หมู่บ้าน กุรุเกษตร นักวิชาการเชื่อว่าหมู่บ้านกุรุเกษตร น่าจะได้แก่ชุมชนโบราณแห่งใดแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระวิหาร ซึ่งก็คือพื้นที่ในเขตตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอใกล้เคียง ใน จังหวัดศรีสะเกษ นั้น เอง ดังปรากฎพบหลักฐานไม่ว่าจะเป็นโบราณสถานเช่น ปราสาทโดนตวล ปราสาทตาหนักไทร ปราสาทเยอ ปราสาทภูฝ้าย โบราณวัตถุในแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง และจารึกขอมหลักอื่นๆ ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งล้วนแสดงให้เห็นลักษณะทางวัฒนธรรมในรูปแบบวัฒนธรรมขอม ที่กำหนดอายุได้ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา อันเป็นช่วงเวลาร่วมสมัยกับปราสาทพระวิหาร ต่อเนื่องจนถึงในช่วงเวลาต่อมาคือระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-18 ความโดยรวมจากจารึกเหล่านี้ จึงแสดงให้เห็นความสำคัญของปราสาทพระวิหารช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ที่มีต่อชุมชนโบราณบริเวณเชิงเขาพระวิหาร ตลอดจนชุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไปซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของปราสาทในบริเวณที่ราบลุ่มลาน้ามูล-ชี ตอนล่าง โดยเฉพาะชุมชนบริเวณแถบเมือง สดุกอาพิล อันเป็นที่ตั้งของปราสาทสระกำแพงใหญ่ ดังเนื้อความที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเทวสถานและชุมชนโบราณทั้งสองพื้นที่

อย่าง ไรก็ตาม แม้นัยของลักษณะแผนผังทางสถาปัตยกรรมและข้อมูลในจารึกจะบ่งชี้ความสัมพันธ์ ระหว่างปราสาทพระวิหารกับพื้นที่ชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ในเขตประเทศไทย ปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันข้อมูลแวดล้อมอื่นๆ โดยเฉพาะข้อมูลจากจารึกต่างๆ ทั้งจารึกที่พบ ณ ปราสาทพระวิหารเอง ตลอดจนจารึกที่พบในเขตประเทศกัมพูชาก็แสดงให้เห็นว่า ปราสาทพระวิหารมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์กับชุมชนขอมโบราณที่อยู่ในเขต ที่ราบรอบทะเลสาบเขมรด้วยเช่นกัน

การวิจัยข้ามวัฒนธรรม : ผนวกความรู้สองชุดให้เข้าใจในวัฒนธรรม

จากการที่ได้เข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว และเมืองสตรึงเตรง ประเทศกัมพูชา ทำให้กลุ่มข้าพเจ้าได้เห็นแนวทางและลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมที่มีความเชื่อมโยงและมีความสัมพันธ์กันในอดีต กล่าวคือความสัมพันธ์ของปราสาทวัดพู ประเทศลาวและปราสาทพระวิหาร คือเป็นปราสาทที่สร้างขึ้นสมัยใกล้เคียงกัน (ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา)  มีลักษณะทางศิลปกรรมแบบปาปวนเหมือนกัน สร้างบนภูเขาเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ คือพระศิวะเช่นเดียวกัน มีการนำวัตถุจากปราสาทแห่งหนึ่งไปไว้อีกแห่งหนึ่ง เป็นต้น จึงทำให้ทราบว่าความสัมพันธ์และอาณาเขตของอาณาจักรเขมรเคยรุ่งเรืองมาถึงแถบประเทศลาวและประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งในอดีตไม่ได้มีพื้นที่หรือเขตแดนที่แน่นอน หากใช้ปราสาทหรือศิลปะเป็นตัววัดว่าอาณาเขตมีขอบเขตถึงที่ใด ในปัจจุบันปราสาทหินวัดพูและปราสาทเขาพระวิหารกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของโลก ดังที่ ยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ปราสาททั้งสองแห่งเป็นมรดกโลก

ประเทศเวียดนาม

ป้อมปราการหลวงทังล็อง

 

y32-300x225

 

“พระราชวังทังลอง” (Imperial Citadel of Thang Long) ตั้งอยู่ในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เป็นพระราชวังเก่าแก่อายุกว่า 1,000 ปี สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หลีเหวีด (Ly Viet) เพื่อประกาศเอกราชอาณาจักรด๋ายเหวียด (Dai Viet) ชื่อของอาณาจักเวียดนามโบราณ ทั้งหมดสร้างขึ้นทับป้อมปราการเก่าของจีนตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 7 ที่เคยเป็นศูนย์กลางการปกครองและการทหารติดต่อกันนาน 13 ศตวรรษ ลักษณะรูปแบบการก่อสร้างเหมือนป้อมปราการของจีนในสมัยศตวรรษที่ 7 ซึ่งพระราชวังทังลองสร้างบนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในช่วงที่เวียดนามปกครอง ด้วยกษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ

ภายในปราการเก่ามีแต่ซากหักพังของพระราชวังโบราณแห่งอาณาจักรทังลองที่งด งามอันรอคอยการบูรณะและตกแต่งให้กลับมาสวยงามดังเดิม เพื่อ ให้ทุกคนได้เข้าไปชมความยิ่งใหญ่อันงดงาม และเตรียมการฉลองครบรอบปีที่ 1,000 การก่อตั้งเมืองหลวง ซึ่งทางการจะอนุญาตให้เข้าชมได้เฉพาะเขตโบราณสถานที่เป็นพระราชวังเก่า ในเขตปราการฮานอยอย่างจำกัด เนื่องจากยังมีการขุดค้นทางโบราณคดีอยู่ภายในนั้น

ป้อมปราการหลวงทังล็อง เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยราชวงศ์ลี้ แสดงอิสรภาพที่มีต่อชาวจีนของชาวไดเวียด พระราชวังนี้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและการศาสนามากว่า 13 ศตวรรษต่อเนื่องโดยตลอดป้อมปราการหลวงทังล็องได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกใน การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 34 เมื่อปี พ.ศ. 2553 ที่กรุงบราซีเลีย ประเทศบราซิล ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

– เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม

– เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

– เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ป้อมปราการของราชวงศ์โห่ (เวียดนาม: Thành nhà Hồ) เป็นป้อมปราการแห่งหนึ่งในประเทศเวียดนาม สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์โห่ (ค.ศ. 1400-1407) ตั้งอยู่ที่ตำบลเต็ยซาย (Tây Giai) อำเภอหวิญหลก (Vĩnh Lộc) จังหวัดทัญฮว้า ริมชายฝั่งเวียดนามเหนือตอนกลาง ปราสาทเต็ยโด (Tây Đô) มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวเหนือจรดใต้เท่ากับ 870.5 เมตร ตะวันออกจรดตะวันตกเท่ากับ 883.5 เมตร มีประตูสี่ด้าน ประตูหน้าคือประตูด้านทิศใต้ มีความสูง 9.5 เมตรและกว้าง 15.17 เมตร อีกสามประตูอยู่ทางทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันตก ตัวปราสาทสร้างขึ้นจากก้อนหิน ซึ่งแต่ละก้อนมีขนาดประมาณ 2 m x 1 m x 0.70 m นอกเหนือจากประตูแล้ว ตัวปราสาทเกือบทั้งหมดได้พังทลายไปแล้ว ป้อมปราการของราชวงศ์โห่ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ป้อมปราการของราชวงศ์โห่

 

anh nha ho

  ป้อมปราการของราชวงศ์โห่ (เวียดนาม: Thành nhà Hồ) เป็นป้อมปราการแห่งหนึ่งในประเทศเวียดนาม สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์โห่ (ค.ศ. 1400-1407) ตั้งอยู่ที่ตำบลเต็ยซาย (Tây Giai) อำเภอหวิญหลก (Vĩnh Lộc) จังหวัดทัญฮว้า ริมชายฝั่งเวียดนามเหนือตอนกลาง ปราสาทเต็ยโด (Tây Đô) มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวเหนือจรดใต้เท่ากับ 870.5 เมตร ตะวันออกจรดตะวันตกเท่ากับ 883.5 เมตร มีประตูสี่ด้าน ประตูหน้าคือประตูด้านทิศใต้ มีความสูง 9.5 เมตรและกว้าง 15.17 เมตร อีกสามประตูอยู่ทางทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันตก ตัวปราสาทสร้างขึ้นจากก้อนหิน ซึ่งแต่ละก้อนมีขนาดประมาณ 2 m x 1 m x 0.70 m นอกเหนือจากประตูแล้ว ตัวปราสาทเกือบทั้งหมดได้พังทลายไปแล้ว ป้อมปราการของราชวงศ์โห่ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โบราณสถานเมืองเว้

 

20130409133620

เมืองเว้ถูกสร้างเป็นเมืองหลวงของเวียดนาม ในปี คริสต์ศักราช ๑๘๐๒ (พุทธศักราช ๒๓๔๕) เมืองเว้ไม่เพียงแต่เป็นศูนย์กลางทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางศาสนาและวัฒนธรรมด้วย ภายใต้การปกครองของราชวงศ์เหงียน (Nguyen) จนถึงปี คริสต์ศักราช ๑๙๔๕ (พุทธศักราช ๒๔๘๘) แม่น้ำหอม (Perfume) ไหลคดเคี้ยวผ่านกลางเมืองหลวง เมืองอิมพิเรียล เมืองต้องห้าม(Forbidden Purple City) และเมืองชั้นใน ทำให้เมืองนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติงดงาม
เมืองเว้มีพรมแดนติดกับลาวทางทิศตะวันตก เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรจามปา จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 13 ดินแดนนี้จึงตกเป็นของเวียดนาม พระเจ้ายาลอง (Emperor Gia Long) หรือคนไทยรู้จักพระองค์ในชื่อว่า องเชียงสือ ผู้เคยเข้ามาขอความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อนำกำลังกลับไปต่อสู้กับกบฏไตเซินจนชนะ ได้สถาปนาราชวงศ์เหวียนขึ้นปกครองเวียดนาม ทรงรวมแคว้นทั้งทางเหนือและทางใต้เข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่น และเรียกดินแดนที่มีอาณาเขตตั้งแต่ชายแดนจีนทางเหนือจรดคาบสมุทรก่าเมาทาง ใต้ว่าประเทศเวียดนามเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศ ทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองทังลองหรือฮานอย เมืองหลวงเดิมมาอยู่ที่เว้ด้วย
สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองเว้ส่วนใหญ่จะเป็นป้อมปราการ พระราชวังหลวง และสุสานจักรพรรดิ หมู่โบราณสถานในเมืองเว้ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดก โลกในปี พ.ศ. 2536 เว้เป็นเมืองที่เงียบสงบและน่าค้นหา มีบุคคลที่มีชื่อเสียงจำนวนมากเกิดที่เมืองนี้ หรือได้เคยมาเยือนเมืองนี้ ปัจจุบันเว้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของ เวียดนาม

อ่าวฮาลอง

tral11

อ่าวฮาลอง หรือฮาลอง เบย์ ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ที่ไม่ควรพลาดเมื่อมีโอกาสไปเยือนเวียดนาม เพราะนอกจากจะได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จากองค์กรยูเนสโกแล้ว ที่นี่ยังมีความมหัศจรรย์อันงดงามของธรรมชาติอยู่อีกมากมาย ฮาลอง เบย์ เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ย ทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,500 ตารางกิโลเมตร และมีชายฝั่งยาว 120 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางตะวันออกประมาณ 170 กิโลเมตร มีชื่อตามการออกเสียงในภาษาเวียดนามเขียนได้ว่า “Vinh Ha Long” หมายถึง “อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง” ตำนานพื้นบ้านกล่าวไว้ว่า ในอดีตนานมาแล้วระหว่างที่ชาวเวียดนามกำลังต่อสู้กับกองทัพชาวจีนผู้รุกราน เทพเจ้าได้ส่งกองทัพมังกรลงมาช่วยปกป้องแผ่นดินเวียดนาม มังกรเหล่านี้ได้ดำดิ่งลงสู่ท้องทะเลบริเวณที่เป็นอ่าวฮาลองในปัจจุบัน ทำให้มีอัญมณีและหยกพุ่งกระเด็นออกมากลายเป็นเกาะแก่งน้อยใหญ่กระจายอยู่ ทั่วอ่าวเป็นเกราะป้องกันผู้รุกราน ทำให้ชาวเวียดนามปกป้องแผ่นดินได้สำเร็จ และก่อตั้งประเทศ ซึ่งต่อมาคือเวียดนามในปัจจุบัน บางตำนานก็กล่าวไว้ว่ามีสัตว์ในตำนานที่ชื่อว่า Tarasque อาศัยอยู่ที่ก้นอ่าวบริเวณ

อ่าวฮาลอง มีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะโผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน ถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าวคือ ถ้ำเสาไม้ หรือชื่อเดิมว่า Grotte des Merveilles ซึ่ง ตั้งชื่อโดยนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสที่มาเยี่ยมชมอ่าวเมื่อปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 ภายในถ้ำประกอบไปด้วยโพรงกว้าง 3 โพรง มีหินงอกและหินย้อยขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกัดบา และเกาะ Tuan Chau ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร บนเกาะมีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว ส่วนเกาะขนาดเล็กอื่นๆ บางเกาะก็มีชายหาดที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชม บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงและบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านีมักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตาเช่น เกาะช้าง เกาะไก่ชน เกาะหลังคา เป็นต้น

ด้วยความสวยงามและความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ของอ่าวฮาลอง ทำให้ที่นี่ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จากองค์กรยูเนสโกในปี 2537 การเดินทางไปยังอ่าวฮาลอง จากฮานอยมีรถบัสไปยังเมืองฮาลอง ซึ่งห่างออกไป 160 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง และจากสถานีรถบัสไปท่าเรืออ่าวฮาลองอีก 15 นาที จากนั้นไปต่อเรือที่ท่าเรือเฟอรี่ ซึ่งจะมีเรือไปยังเกาะกัดบา หรือจากฮานอยนั่งรถลงมาที่จังหวัดไฮฟอง จากสถานีรถบัสไปท่าเรือใช้เวลา 10 นาที มีเรือไฮโดรฟรอยไปยังเกาะกัดบา ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

เมืองโบราณฮอยอัน

tral12

เมืองโบราณฮอยอัน (Hoi An Ancient Town) ตั้งอยู่ที่ประเทศเวียดนาม เมืองนี้เป็นตัวอย่างของเมืองท่าในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสร้างตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕-๑๙ (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔) ที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดี อาคารต่าง ๆ และการวางผังถนน สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของพื้นเมืองและต่างประเทศ ซึ่งได้ผสมผสานกันไว้ได้อย่างมีเอกลักษณ์

ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์การยู เนสโกเมื่อปี 2542 พอๆกับอีกหลายแห่งที่ขึ้นทะเบียนในเวลาไม่ห่างกันนัก เช่นพระราชวังเว้ อ่าวฮาลองเบย์ นอกจากนี้กำลังแจ้งขอขึ้นทะเบียนอีกนับสิบๆแห่ง ต้องบอกว่าประเทศเวียดนามยังมีมรดกล้ำค่าที่รอเปิดตัวให้ชาวโลกได้รู้จักอีก มากมาย เหลียวมามองบ้านเรา จะมีอะไรเหลืออยู่หรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ และที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกไปแล้ว ก็ไม่ได้ใส่ใจเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นเขาใหญ่มรดกโลกที่เบื้องหลังมีการตัดไม้และล่าสัตว์เป็นว่าเล่น หรืออุทยานประวัติศาสตร์กรุงศรีฯ ก็ปล่อยให้สร้างเพิง สร้างร้านค้า อยู่เต็มหน้าวัดมงคลบบิตร นี่ยังดีทีมีกระแสข่าวจะถูกถอดถอน ไม่งั้นป่านนี้ อาจปล่อยให้ร้านค้าเข้ามาขายของกันข้างในพระอุโบสถแล้ว พูดไปก็ขายขี้หน้ายูเนสโกอยู่เหมือนกัน อีตอนขอขึ้นทะเบียนก็วิ่งกันตีนพลิก แต่พอเคาให้แล้วก็ไม่ใส่ใจใยดี ปล่อยให้รกรุงรังเป็นขยะเต็มโบราณสถาน ประจานกันไปทั้งประเทศ ว่า ” ความสกปรกรกรุงรัง อยู่คู่กับมรดกโลก”

ปราสาทหมีเซิน

38_200905251641551 a11

ปราสาทหมีเซิน (เวียดนาม: Mỹ Sơn) เป็นโบราณสถานในจังหวัดกว๋างนาม ภาคกลางของประเทศเวียดนามสร้าง ด้วยศิลปะจามโบราณในสมัยศตวรรษที่ 4 เพื่อใช้เป็นศาสนสถานสำหรับบูชาพระศิวะ ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู ได้จัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก หมี่เซินเคยเป็นนครศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญอันดับต้นๆของอาณาจักรจามปา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 – ศตวรรษที่ 15 ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 900ปี ทำให้โบราณสถานแห่งนี้เป็นที่รวบรวมลักษณะทางด้านศิลปกรรมที่หลากหลาย จัดเป็นกลุ่มโบราณสถานในศาสนาฮินดูที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดในอินโดจีน กลุ่มปราสาทหมีเซิน ตั้งอยู่บริเวณที่ราบต่ำ มีภูเขาโอบล้อม เนื้อที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยปราสาททั้งหมด 73 หลัง แต่ในช่วงสงครามเวียดนามทหารเวียดนามได้ใช้ปราสาทหมีเซินเป็นกองบัญชาการ ฝ่ายอเมริกันจึงได้นำเครื่องบินทิ้งระเบิดบริเวณนี้ โบราณสถานจำนวนมากถูกทำลายทำให้ปัจจุบันเหลือปราสาทเพียง 22 หลัง

อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง

5623126020130409130359

อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง (เวียดนาม:Vườn Quốc gia Phong Nha-Kẻ Bàng, อักษรจื๋อโนม:風牙者榜) เป็นอุทยานแห่งชาติของประเทศเวียดนามที่ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2546 ตั้งอยู่ในอำเภอ โบจักห์ และ อำเภอ มินห์หัว จังหวัดควงบินห์ และติดชายแดนประเทศลาว ห่างจาก ฮานอยมาทางใต้ประมาณ 500 กิโลเมตร เป็นกลุ่มหินปูนมีขนาดพื้นที่ 857.54 ตารางกิโลเมตร อุทยานนี้มีชื่อเสียงในความสวยงามของถ้ำที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และยังเป็นสถานที่ 1 ใน 2 ของโลกที่เป็นหินปูนที่มีลำธารใต้ดินขนาดใหญ่ [1] สวนพรมแดนลาว 140 กิโลเมตรทางเหนือของแพร่งแห่งชาติถนนที่ 1A และถนน 9 (เชื่อมต่อเวียดนาม, ลาวและไทยภาคอีสาน). ที่จอดรถมีมากกว่า 300 ถ้ำและถำกับรวมความยาว (หลังจากเมษายน 2009) 126 กิโลเมตร. ในเดือนเมษายน 2009, บริติชนักวิทยาศาสตร์ค้นพบใหม่ถ้ำแล้วพวกเขากล่าวว่ามันคือถ้ำใหญ่ที่สุดใน โลก. หายากหลายชนิดนี้อาศัยอยู่ในสวน.
มรดกโลก

อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บังได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 27 เมื่อปี พ.ศ. 2546 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทาง ธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได

ประเทศกัมพูชา

tral15m0912-50-1

นครวัดหรือปราสาทนครวัด ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ชื่อเดิมคือ Vrah Vishnulok (ปราสาทวิษณุโลก) หมายถึง”เทวาลัยของพระวิษณุ” และมีชื่อเรียกตามเอกสารโบราณของจีนว่า “เทวสถานหอมใบหม่อน” เป็นเทวสถานที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในโบราณสถานนครวัด มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกเพราะความตระการตาของตัวปราสาทและความประณีตของ หินสลัก ในขณะเดียวกันก็เป็นเทวสถานขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วยเมื่อ ค.ศ.1992 หลังจากที่องค์การสหประชาชาติคัดเลือกให้โบราณสถานนครวัดเป็นมรดกโลก ตามมาตร-ฐานการคัดเลือกมรดกทางวัฒนธรรม C (I) (III) (IV) แล้วนับจากนั้นมา นครวัดก็กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศกัมพูชา กว่าร้อยปีมานี้ ประเทศต่างๆ ใน
โลกได้ทุ่มเงินมูลค่ามหาศาลในการบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทหินแห่งนี้ เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของโลกให้คงอยู่ ปราสาทนครวัดได้กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของกัมพูชา เห็นได้จากการที่โครงร่างของปราสาทได้รับการประดับไว้บนธงชาติของประเทศ กัมพูชา

นสมัยราชวงศ์พระนครช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ดำริว่าจะสร้างเทวสถานหินขนาดใหญ่บนที่ราบ เพื่อเป็นนครหลวงให้แก่ราชวงศ์พระนคร และเป็นวัดหลวงประจำอาณาจักรไปพร้อมกัน จึงดำริ
ให้สร้างปราสาทนครวัดขึ้นโดยระดมกำลังคนและกำลังทรัพย์ทั้งประเทศ และใช้เวลาไปราว 35 ปีจึงจะเสร็จสิ้น

ปราสาทหินนครวัดนับเป็นจุดสูงสุดทางสถาปัตย-กรรมดั้งเดิมของเขมร โดยหลอมรวมโครงสร้างพื้นฐานด้านการก่อสร้างศาสนสถานของเขมรสองอย่างเข้าด้วยกัน คือ ปรางค์และระเบียงคด ฐานของพระปรางค์ประธานนั้นเป็นแท่นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนสามชั้น ล้อมรอบด้วยระเบียงคด ความสูงของแต่ละชั้นมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาลตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ถัดจากฐานปรางค์ขึ้นไปเป็นยอดปรางค์ห้ายอดเรียงกันเหมือนกลีบดอกไม้ ยอดปรางค์หนึ่งยอดตรงกลางและอีกสี่ยอดล้อมรอบ เป็นสัญลักษณ์แทนยอดเขาทั้งห้าของเขาพระสุเมรุ นอกเทวสถานยังมีคูน้ำล้อมรอบ แทนทะเลสีทันดรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุอยู่

นครวัด (เขมร: អង្គរវត្ត) เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึง ปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร

ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม

ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดสู่สายตาชาวโลกนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา ที่จริงชาวกัมพูชาไม่เคยละทิ้งนครวัดไปเพราะหลังจากมีการย้ายเมืองหลวงมา อยู่ที่พนมเปญแล้ว ชาวบ้านก็ได้เขาไปตั้งรกรากภายในเขตนครวัดเรื่อยมา ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก

ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ

ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก และแรงงากเกนคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง

ปราสาทนครวัด มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี

หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก ราว 50 องศา แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลง มา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาทนครวัด

ทางด้านกำแพงชั้นนอกรอบปราสาทนั้น มีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระ สุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,635 นาง ที่ทั้งหมดแต่งกายและทรงผมไม่ซ้ำกันเลย

200px-Angkorwat36
มีภาพจำหลักหินด้านหนึ่งเป็นภาพกองทัพสยาม ที่ส่งไปช่วยรบกับพวกจามมีอักษรจารึกไว้ว่า “สยำ กุก” ปัจจุบันถูกเอาออกไปแล้วน่าจะหมายถึงกองทัพสยามจากลุ่มแม่น้ำกก คือกำลังที่มาจากเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนหรือจากสุพรรณบุรี และคำว่า “ โลว” สันนิษฐานว่าเป็นกองทัพจากเมืองละโว้

นครธม (เขมร: អង្គរធំ) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ

จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ อีก 3 ด้าน

ปราสาทพระวิหาร

viharn03viharn01 viharn02

ปราสาทพระวิหาร (​เขมร: ប្រាសាទ​ព្រះវិហារ; เปรี๊ยะ วิเฮียร์ – วิหารศักดิ์สิทธิ์; อังกฤษ: Temple of Preah Vihear) เป็นปราสาทหินตามแบบศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก (ภาษาเขมรว่า พนมดงเร็ก หมายถึง ภูเขาไม้คาน) สูงจากระดับทะเลปานกลาง 657 เมตร ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร หมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเคยเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทที่สะดวกที่สุด

ปราสาทพระวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบเขมร สร้างตามแนวเหนือใต้ซึ่งผิดแปลกไปจากปราสาทขอมส่วนใหญ่ ไทยและกัมพูชามีประวัติพิพาทเหนือตัวปราสาทเป็นเวลานานแล้ว ใน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาท (ดู คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505) และวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในประเทศกัมพูชา

ปราสาทแห่งนี้มีชื่อเรียกเก่าสุดว่า ภวาลัย ในรายงานของกรมวิชาการ และมีชื่ออื่น ได้แก่ ศรีศิขรีศวร, วีราศรม และตปัสวีนทราศรม เมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า “ปราสาทพรหมวิหาร” ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า “ปราสาทพระวิหาร”] ส่วนนามของปราสาทพระวิหารตามที่ปรากฏในศิลาจารึกคือ “ศีรศิขเรศวร” แปลว่า ภูเขาแห่งพระอิศวร] ซึ่งเกิดจากการสมาสกันของคำว่า “ศิขร” (ภูเขา) และ “อิศวร”

บางครั้ง ชาวกัมพูชาเรียกปราสาทว่า “พนมพระวิหาร” (ភ្នំព្រះវិហារ) ขณะที่ชาวไทยมักเรียกว่า “เขาพระวิหาร” ราว พ.ศ. 2551 คำว่า “เขา” ได้ถูกละไว้ในชื่อเพื่อแสดงถึงความแตกต่างระหว่างตัวปราสาทและเนินเขาซึ่ง ปราสาทสร้างขึ้น ซึ่งจำแนกได้เป็น “เขาพระวิหาร” และ “ปราสาทพระวิหาร”

ปราสาทพระวิหารประดิษฐานอยู่บนผาเป้ยตาดีของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ณ ละติจูดที่ 104 องศาตะวันออก 41 ลิปดา ในอดีต ผาเป้ยตาดีอยู่ในเขตหมู่บ้านภูมิซร็อล ตำบลเสาธงชัย (เดิมขึ้นกับ ตำบลบึงมะลู) อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากอำเภอเมืองศรีสะเกษ 110 กิโลเมตร ทั้งนี้ ปราสาทตั้งอยู่ห่างจากปราสาทนครวัดในเมืองพระนคร ไป 140 กิโลเมตร และห่างจากกรุงพนมเปญไป 320 กิโลมตร

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่เคยชี้ขาดว่าเขตแดนไทย-กัมพูชาดังกล่าวมีเส้นอยู่ตรงจุดใด ศาลฯ ชี้ขาดเพียงว่า กัมพูชามีอธิปไตยทางดินแดนเหนือ ปราสาทพระวิหาร แต่ก็มีชาวไทยบางคนเข้าใจว่า ศาลฯ ชี้ขาดแต่ตัวปราสาทเท่านั้น ไม่รวมถึงอาณาบริเวณอันเป็นที่ประดิษฐานปราสาทแต่อย่างใด

ในอดีตการเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารจะใช้ทางขึ้นจากฝั่งไทย โดยทางการไทยและทางการกัมพูชามีรายได้จากการท่องเที่ยวร่วมกัน แต่ปัจจุบันมีความตรึงเครียดระหว่างแนวชายแดนประชาชนทั่วไปจึงไม่สามารถขึ้น ไปชมประสาทจากทางประเทศไทยได้อีก กัมพูชาได้สร้างถนนคอนกรีตยาว 3 กิโลเมตรไต่เขาขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารสำเร็จแล้ว และเป็นทางที่ประชาชนทั่วไปใช้ขึ้นไปชมปราสาทได้ในปัจจุบันผ่านทางประเทศ กัมพูชา

ปราสาทพระวิหารมีลักษณะเป็นแบบศิลปะบันทายศรี ลักษณะบางส่วนคล้ายคลึงกับพระวิหารของปราสาทนครวัด รูปรอยแกะสลักบนปราสาทสันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย มีพระศิวะเป็นเทพสูงสุดของศาสนา เชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะที่ทรงประทับบนยอดเขาไกรลาส ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาลปราสาทพระวิหารจึงสร้างบนหน้าผาเป้ยตาดี ทำให้ปราสาทแห่งนี้เปรียบเหมือนการค่อย ๆ ก้าวไปสู่ที่ประทับของพระศิวะ ซึ่งแทนด้วย “ยอดเป้ยตาดี”] หากมองจากข้างล่างผาจะเห็นตัวปราสาทเหมือนวิมานสวรรค์ลอยอยู่บนฟากฟ้าโดยมีแผ่นดินเขมรต่ำ (ขแมร์กรอม) ประหนึ่งมหาสมุทรรองรับอยู่เบื้องล่างตัวปราสาทประกอบด้วยสถาปัตยกรรมต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ปราสาทประธาน ระเบียงคด โคปุระ อาคารรูปกากบาท วิหาร บรรณาลัย และบันไดนาคพร้อมทางเดิน

ปราสาทพระวิหารมีลักษณะแผนผังที่ใช้แกนเป็นหลัก โดยจัดวางผังหันไปทางทิศเหนือ ซึ่งแตกต่างจากปราสาทอื่น ๆ ซึ่งตามปกติมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อันเนื่องจากภูมิศาสตร์เป็นเครื่องกำหนดแล้ว ก็น่าจะเกิดจากปัจจัยอื่นบางประการที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับดินแดนเขมรสูง ในอดีต ตัวปราสาทประธานเป็นจุดศูนย์กลางล้อมรอบด้วยระเบียงคดทั้งสี่ด้าน ปราศจากบรรณาลัยขนาบเบื้องหน้า การวางผังที่กำหนดตำแหน่งอาคารมีความสมบูรณ์ลงตัวตั้งแต่แรกเริ่มของการก่อ สร้าง โดยไม่มีการแก้ไขต่อเติมบริเวณลานชั้นในภายหลัง วัสดุตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายและหินดาน โดยเทคนิคการก่อสร้างทำโดยนำก้อนศิลาทรายซึ่งตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดไล่ เลี่ยกันวางซ้อนกันขึ้นไปตามรูปผังที่กำหนดไว้ โดยอาศัยน้ำหนักของแท่งศิลาทรายแต่ละก้อนกดทับกันเพียงอย่างเดียว มีส่วนยึดจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น

ภูมิหลังทางสังคม

ปราสาทพระวิหารคือมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ มิใช่ของประเทศหรือกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เพราะมีความเกี่ยวข้องกับชนหลายเผ่าพันธุ์ และหลายคติความเชื่อในอดีตนั้น เทือกเขาพนมดงรักเป็นสถานที่ติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างที่ราบสูงโคราชกับที่ ราบเขมรต่ำ การสถาปนาปราสาทพระวิหารเป็นแหล่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนท้องถิ่นและ ผู้นับถือศาสนาฮินดูมีขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2

ตามจารึกศิวะสักติ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงกำหนดหลายพื้นที่บริเวณเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภวาลัยแห่งเขาพระวิหาร เป็นเขตของเจ้าพื้นเมืองของตระกูลพระนางกัมพูชาลักษมี พระมเหสีของพระองค์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างศาสนสถานบนเขาพระวิหารต่อมา พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 โปรดให้สถาปนาพระภัทเรศวรแห่งลิงคปุระไว้ ณ ยอดเขาพระวิหารด้วย อันเป็นการให้ความสำคัญแก่เขาพระวิหารในฐานะภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตของ บรรพบุรุษของชนชาติจามและขอมนอกจากนี้ ยังทรงทำให้ปราสาทเป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อ พิธีกรรมเกี่ยวกับบรรพบุรุษ และประเพณีสักการบูชาอันพ้องกับเทศกาลของเกษตรกร ความนิยมในการประกอบพิธีกรรมที่ปราสาทพระวิหารนำไปสู่การขยายตัวของชุมชน ใกล้เคียงตามจารึกกล่าวไว้ว่าพระองค์ส่ง “ทิวากรบัณฑิต” มาบวงสรวงพระศิวะทุกปี นอกจากนี้ยังมีชุมชนโดยรอบที่พระมหากษัตริย์ทรงอุทิศไว้ให้รับใช้เทวสถาน ชุมชนที่มีชื่อในจารึกอย่างเช่น กุรุเกษตร, พะนุรทะนง เป็นต้น ต่อมาปราสาทพระวิหารได้กลายเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญสำคัญในรัชสมัยพระเจ้าสุริ ยวรมันที่ 2 ตาม”เอกสารประวัติกัมพุพงศ์ และองค์กรแห่งพระราชการ พร้อมทั้งพระประวัติของพระเจ้าแผ่นดินองค์อื่น”

การก่อสร้าง

ปราสาทพระวิหารประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก เทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกสร้างขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้นเมื่อนครหลวงของอาณาจักรขอมอยู่ใกล้ คือ ที่นครวัด นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบบางประการในรูปแบบศิลปะของปราสาทบันทายศรี ตามหลักจารึกที่ค้บพบ 3 หลักคือ จารึกศิวะศักติ จารึกหมายเลข K380 และ K381 เชื่อว่าเริ่มก่อสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1432-1443) และเป็นรูปร่างเมื่อในสมัยพระเจ้ายโศวรมัน ซึ่งสถาปนาศรีศิขเรศวร ในปี พ.ศ. 1436แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ของปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (มีพระนามจารึกที่กรอบประตูโคปุระชั้นที่ 2 ว่า “สูรยวรรมเทวะ” และปีที่สร้างแล้วเสร็จในสมัยของพระองค์ตามจารึกคือ พ.ศ. 1581) และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ตามลำดับ ปราสาทพระวิหารสร้างด้วยศิลาทรายซึ่งสกัดจากบริเวณเทือกเขาพนมดงรักนี้ และวัสดุก่อสร้างอื่น ได้แก่ อิฐเผาและ “ไดทะมะป้วก” (ดินเหนียวคล้ายหิน) ปัจจุบันปราสาทหลงเหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง แต่ทว่ายังมีอาคารปราสาทเหลืออยู่อีกหลายแห่ง

ประเทศฟิลิปปินส์

โบสถ์สถาปัตยกรรมบารอกแห่งฟิลิปปินส์

X8753006-31tral17a6

โบสถ์บารอกแห่งฟิลิปปินส์ …โบสถ์ทั้ง ๔ หลังซึ่งหลังแรกสร้างโดยชาวสเปนในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ (พุทธศตวรรษที่ ๒๑) นั้นตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ซานตามาเรีย ปาโออาย และมิอากาโอ รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์คือการแสดงความเป็นบาโรคของยุโรปโดย ช่างฝีมือชาวจีนและฟิลิปปินส์

เมืองประวัติศาสตร์วีกัน

20130409163612tral19

วีกัน หรือ บีกัน (อีโลกาโน: Bigan; ตากาล็อก: Vīgân) เป็นเมืองมรดกโลกในประเทศฟิลิปปินส์ เมืองโบราณวีกันจัดเป็นหนึ่งในเมืองที่สวยที่สุด ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเกาะลูซอน ในจังหวัดอีโลโกสซูร์ (Ilocos Sur) ทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1999 เป็นเมืองที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสมัยอาณานิคมของสเปนไว้ ได้อย่างดี ผังเมืองเป็นรูปแบบเมืองการค้าของยุโรปในเอเชีย ที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมจีนและวัฒนธรรมยุโรปได้อย่างกลมกลืน ตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำอาบรา (Abra) ติดกับทะเลจีนใต้ บริเวณที่เป็นเขตอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำโกวันเตส (Govantes) และแม่น้ำเมสตีโซ (Mestizo) มีโบราณสถานที่เป็นโบสถ์เก่าแก่สมัยอาณานิคม เช่น มหาวิหารวีกัน (Cathedral of Vigan) เมืองวีกันมีประชากร 47,246 คน

อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา

tral20

อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โตปรินเซซา (อังกฤษ: Puerto Princesa Subterranean River National Park; ตากาล็อก: Pambansang Liwasang Ilog sa Ilalim ng Lupa ng Puerto Princesa) เป็นอุทยานแห่งชาติของประเทศฟิลิปปินส์ ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี ค.ศ. 1992 และได้รับการจัดเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติในปี ค.ศ. 1999

อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โตปรินเซซา ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาเซนต์พอล ทางตอนเหนือของเกาะปาลาวัน ประเทศฟิลิปปินส์ ห่างจากเมืองปวยร์โตปรินเซซา เมืองหลวงของเกาะปาลาวันทางตอนเหนือประมาณ 50 กิโลเมตร

ณ ที่นี้ถือเป็นแม่น้ำใต้ดินที่ มีความยาวที่สุดในโลก (ประมาณ 8.2 กิโลเมตร) ลอดผ่านถ้ำหินปูนของเทือกเขาเซนต์พอล ที่มีอายุกำเนิดมานานกว่า 20 ล้านปี ก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ โดยในภายในถ้ำจะประกอบด้วยหินงอกหินย้อยต่าง ๆ ที่มีลักษณะเหมือนรูปร่างต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของผู้พบเห็น เช่น หัวสิงโต, เห็ด, เทียนไขเล่มยักษ์ หรือพระแม่มารี ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญของการเข้าชม การเข้าชมต้องใช้วิธีการล่องเรือพายเข้าไป และใช้ไฟฉายส่อง เพราะภายในถ้ำไม่มีการติดตั้งไฟอย่างถาวร

ก่อนที่จะเข้าสู่ถ้ำ ต้องเดินผ่านเส้นทางชมธรรมชาติซึ่งเป็นป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยป่าไม้นานาชนิด และสัตว์ป่าหายากชนิดต่าง ๆ เช่น ลิงแสม, นกเงือกปาลาวัน เป็นต้น และภายในถ้ำก็เป็นแหล่งอาศัยของค้างคาวจำนวนมาก

การเข้าชม จะเข้าชมได้เพียง 1.2 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือจะปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม ด้วยเหตุผลของการอนุรักษ์ และจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว

อัตราค่าเข้าชมคนละ 150 เปโซ ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของเกาะปาลาวัน อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โตปรินเซซาได้รับการประกาศให้เป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลก เมื่อปี ค.ศ. 2011 ร่วมกับป่าแอมะซอน, อ่าวหะล็อง, น้ำตกอีกวาซู เป็นต้น

นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์(Rice Terraces of the Philipine Cordilleras)

tral21

นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ที่เกาะลูซอนตอนเหนือ ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์  โดยชาวพื้นเมืองอิฟูเกา (Ifugao) ที่สร้างนาขั้นบันไดแห่งนี้มากว่า 2,000 ปีแล้ว ด้วยเครื่องมือที่เรียบง่ายและแรงงานคน ซึ่งลูกหลานชาวนาสืบเชื้อสายมาจากชาว Ifugao ในปัจจุบันก็ยังคงยึดอาชีพทำนาเช่นเดียวกับบรรพบุรุษของพวกเขา โดยความรู้นี้ได้ถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และ การแสดงออกของประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ และความสมดุลของสังคมที่ละเอียดอ่อน ได้ช่วยกันสร้างสรรค์ความงามของภูมิทัศน์ ซึ่งแสดงถึงความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

จุดเด่นของที่นี่ คือเป็นสุดยอดทั้งในเรื่อง “ความสูง” เนื่องจากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,500 เมตร และ “ความเอียงของพื้นที่” จุดที่ลาดชันมากที่สุดเอียงถึง 70 องศา และครอบคลุมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีระบบการทำเขื่อนกั้นน้ำและการระบายน้ำที่ซับซ้อน โดยใช้เพียงท่อที่ทำจากไม้ไผ่เป็นตัวกั้นน้ำให้ผืนนาขั้นบันไดทั้งหมดมีน้ำ ท่วมขังเพียงพอสำหรับการทำนาข้าวอันน่าทึ่งนี้ได้ตลอดมา

นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2538

นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ที่เกาะลูซอนตอนเหนือของ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  โดยชาวพื้นเมืองอิฟูเกา (Ifugao) ที่สร้างนาขั้นบันไดแห่งนี้มากว่า 2,000 ปีแล้ว ด้วยเครื่องมือที่เรียบง่ายและแรงงานคน ซึ่งลูกหลานชาวนาสืบเชื้อสายมาจากชาว Ifugao ในปัจจุบันก็ยังคงยึดอาชีพทำนาเช่นเดียวกับบรรพบุรุษของพวกเขา โดยความรู้นี้ได้ถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และ การแสดงออกของประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ และความสมดุลของสังคมที่ละเอียดอ่อน ได้ช่วยกันสร้างสรรค์ความงามของภูมิทัศน์ ซึ่งแสดงถึงความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

จุดเด่นของที่นี่ คือเป็นสุดยอดทั้งในเรื่อง “ความสูง” เนื่องจากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,500 เมตร และ “ความเอียงของพื้นที่” จุดที่ลาดชันมากที่สุดเอียงถึง 70 องศา และครอบคลุมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีระบบการทำเขื่อนกั้นน้ำและการระบายน้ำที่ซับซ้อน โดยใช้เพียงท่อที่ทำจากไม้ไผ่เป็นตัวกั้นน้ำให้ผืนนาขั้นบันไดทั้งหมดมีน้ำ ท่วมขังเพียงพอสำหรับการทำนาข้าวอันน่าทึ่งนี้ได้ตลอดมา

นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2538

 

อุทยานปะการังทับบาทาฮา

tarl22 000083959

Tubbataha Reef เป็นแนวหินที่มีชื่อเสียงสำหรับการดำน้ำลึกของฟิลิปปินส์ แนวหินเกิดขึ้นจากเกาะปะการังสองเกาะ คือ North Atoll and South Atollที่มีร่องน้ำลึกกว้าง8ก.ม อยู่คั่นระหว่างกลาง2เกาะ ซึ่งในเขตที่ได้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติในโลกมีแค่ 150 แห่ง แต่มีแค่ 9 แห่ง ที่เป็นมรดกโลกทางทะเล และTubbataha นี่แหละที่เป็น 1 ใน 9 มรดกโลกทางทะเล

 ประเทศมาเลเซีย

มรดกทางโบราณคดี หุบเขาเล็งก็อง

“แหล่งโบราณคดีหุบเขาเล็งกอง” (Archaeological Heritage of the Lenggong Valley) มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งล่าสุดของมาเลเซียปี 2555/2012 แหล่งโบราณคดีหุบเขาเล็งกอง ตั้งอยู่ในหุบเขาเล็งกองอันเขียวชอุ่ม รวมแหล่งโบราณคดี 4 แห่งในสองกลุ่ม ซึ่งมีอายุเวลายาวเกือบสองล้านปีเข้าด้วยกัน โดยแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ ถือเป็นหนึ่งในแหล่งที่มีการบันทึกเรื่องราวของมนุษย์ยุดต้นในสถานที่เดียว ที่ยาวนานที่สุดและเก่าแก่ที่สุดนอกทวีปแอฟริกา มีลักษณะเป็นแหล่งในที่โล่งและถ้ำที่เป็นพื้นที่ผลิตเครื่องมือหิน อันเป็นหลักฐานทางเทคโนโลยีสมัยแรก จำนวนของแหล่งที่พบในพื้นที่ที่มีขอบเขตสัมพันธ์กันของพื้นที่ทั้ง 4 แห่งนี้ ทำให้สามารถคาดคะเนปรากฏการก่อตัวขึ้นของประชากรขนาดใหญ่ กึ่งเร่ร่อน กึ่งตั้งหลักปักฐานกับวัฒนธรรมที่เหลือให้เห็นอยู่ของสมัยหินเก่า หินใหม่ และยุคโลหะ

tral22

อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู

4tral23

อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (Gunung Mulu National Park) เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ในบนเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ติดกับชายแดนของประเทศบรูไน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายในด้านชีววิทยาและธรณีวิทยาเป็นอย่างมาก มีพันธุ์พืชกว่า 3,500 ชนิด และมีพันธุ์ปาล์มกว่า 109 ชนิด
ในด้านธรณีวิทยาเป็นภูมิประเทศแบบ Karst หรือภูมิประเทศแบบหินปูน มีพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ หน้าผาสูงชัน ยอดแหลม มักพบรอยแตกกว้างซึ่งกลายเป็นถ้ำในแนวดิ่งหรือแนวเฉียง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นโพรงยาว ปากถ้ำแคบ ภายในถ้ำกว้าง ผนังและเพดานถูกปกคลุมด้วยหินงอกหินย้อยและ เกิดถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในอุทยานแห่งนี้ คือ “ถ้ำซาราวัค แซมเบอร์” (Sarawak chamber) ซึ่งมีความยาว 700 เมตร กว้าง 396 เมตร และสูง 80 เมตร คำนวณพื้นที่แล้วสามารถบรรจุเครื่องบิน Boeing 747 จำนวนหลายลำได้เลยทีเดียว
อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2543

อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู

tral24

อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู หรือที่เรียกในภาษามาเลย์ว่า Taman Negara Kinabalu เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกๆในมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2507 และเป็นสถานที่แห่งแรกในมาเลเซียที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 เนื่องจากถือว่าเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของรัฐซาบาห์ บนเกาะบอร์เนียว ทางตะวันออกของมาเลเซีย มีพื้นที่ 754 ตารางกิโลเมตร อยู่รอบๆภูเขาคินาบาลูซึ่งสูง 4,095.2 เมตร และเป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนเกาะบอร์เนียว

ภายในอุทยานเป็นแหล่งที่อยู่ของพันธุ์พืชและสัตว์หลากหลายชนิด โดยแบ่งเขตแหล่งที่อยู่ออกตามสภาพทางภูมิศาสตร์ออกได้เป็น 4 เขต ได้แก่ ป่า lowland dipterocarp ป่าสนเขา ทุ่งหญ้าบนที่สูง และพุ่มไม้บนยอดเขา บริเวณภูเขาเป็นแหล่งที่พบกล้วยไม้และพืชกินแมลงหลายสายพันธุ์ ที่มีชื่อเสียงคือสายพันธุ์ Nepenthes rajah และยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ประจำถิ่นอีกมากมาย เช่น ปลิงแดงยักษ์คินาบาลู ไส้เดือนยักษ์คินาบาลู นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าคินาบาลู

เมืองประวัติศาสตร์มะละกาและจอร์จทาวน์

tral25

มะละกา (อังกฤษ: Malacca; มาเลย์: Melaka) เป็นเมืองเอกของรัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย ในอดีตที่นี่เป็นเมืองท่าสำคัญที่เติบโตจนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นเส้นทางเดินเรือค้าขายระหว่างชาติตะวันตกและตะวันออกต่อมามะละกาได้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกทั้งโปรตุเกส, เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ อาคารในมะละกาจึงมีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมท้องถิ่น กับเจ้าอาณานิคมนั้น ๆ ซึ่งในปัจจุบันได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 มะละกาและจอร์จทาวน์ถูก ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ เนื่องจากมีภูมิสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่ไม่ซ้ำใครทั้งในตะวันออกกลางและ เอเชียตะวันออกเฉียง

ประเทศอินโดนีเซีย

ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมเมืองบาหลี: ระบบชลประทานการจัดการน้ำแบบสุบัก

1   5

บาหลีเป็นเกาะเกาะหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย ที่มีความสวยงามด้วยธรรมชาติที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวกับวัฒนธรรมที่ไม่ เหมือนใคร ซึ่งได้สืบทอดต่อกันมาเป็นเวลานับพันปี มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก เช่น วัดและวัง ซึ่งมีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ชายหาดที่สวยงามและขาวสะอาด รวมทั้งผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และการดำเนินชีวิตของคนบาหลีด้วยวิธีการกสิกรรมแบบดั้งเดิม บาหลีกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทั่วโลกรู้จัก
บาหลีเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าออสโตรนีเชียน (Austronesian) ที่อพยพมาจากถิ่นฐานเดิมบนเกาะไต้หวัน โดยใช้เส้นทางทางทะเลผ่านภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล วัฒนธรรมและภาษาของชาวบาหลีจึงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับ ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และโอเชียเนีย (Oceania) มีการขุดพบเครื่องมือที่ทำจากหินมีอายุ กว่า 3,000 ปีได้ที่หมู่บ้านเจะเก๊ะ (Cekik) ที่อยู่ทางตะวันตก รวมทั้งที่ตั้งถิ่นฐานและหลุมฝังศพของมนุษย์ในยุคหินใหม่ (Neolithic) ถึงยุคสำริด และโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุกว่า 4,000 ปี จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ซิตุส ปุรบา ลากา (Museum Situs Purbalaka) ที่เมืองกิลิมานุ (Gilimanuk) อีกด้วย ประวัติของบาหลีก่อนการเผยแผ่ศาสนาฮินดูเข้ามายังหมู่เกาะอินโดนีเซียโดยพ่อ ค้าชาวอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 7 เป็นที่รู้กันน้อยมากอย่างไรก็ตามบาหลีเริ่มเป็นเมืองค้าขายที่คึกคัก ตั้งแต่ 200 ปีก่อนคริสตกาลการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบาหลีที่เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏในศิลาจารึกที่ขุดค้นพบใกล้หาดซานูร์ (Sanur) รวมทั้งจารึกบนแผ่นโลหะ เทวรูปสำริด และหินสลักที่แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธและฮินดู บริเวณรอบๆภูเขากุนุง คาวี (Gunung Kawi) และถ้ำกัว กะจะห์ (Goa Gajah)

ภูมิวัฒนธรรมเขตบาหลีนี้แสดงให้เห็นถึงหลักการถ้อยทีถ้อยอาศัยอันสร้าง ความสมดุลและความกลมกลืนระหว่างมนุษย์ ศาสนาและธรรมชาติจนก่อให้เกิดรูปแบบกสิกรรมขั้นบันไดอันยั่งยืนและรังสรรค์ ภูมิประเทศอันโดดเด่น

ระบบสุบักเป็นวิธีชลประทานแบบดั้งเดิมบนเกาะบาหลีที่เกิดขึ้นในราวคริสต์ ศตวรรษที่ 10 มีลักษณะเป็นสถาบันทางสังคมและศาสนาเปรียบเทียบๆได้กับ “สหกรณ์ชาวบ้าน” ที่ผนวกศาสนา ความเชื่อ เทคโนโลยีการเกษตร วัฒนธรรมละการเมืองท้องถิ่นไว้ด้วยกัน โดยกำหนดให้มีพื้นที่ซึ่งมีขอบเขตคล้ายหมู่บ้าน ปกครองโดยคนในพื้นที่มี “อุทกอาราม” หรือ วัดน้ำ เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการน้ำ

ส่วนประกอบที่สำคัญคือ เครือข่ายทางขนส่งน้ำที่ซับซ้อนและอุโมงค์ที่สร้างโดยการเจาะหินและต่อไม้ ไผ่เพื่อส่งน้ำซึ่งบางสายยาวกว่ากิโลเมตร ต้องสร้างและดูแลโดยช่างฝีมือโดยเฉพาะในการนำน้ำเข้าไปสู่นาขั้นบันไดชั้นบน สุดของเนินเขาก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่นาข้าวเบื้องล่าง

หลักการที่สำคัญที่สุดของระบบสุบักคือ  ปรัชญาไตรหิตครณะ หรือหลักความสมดุลกลมกลืน 3 ประการ อันเป็นหลักการสร้างความสงบสุขแก่ชีวิตที่รับมาจากศาสนาฮินดูในอินเดีย ประกอบด้วยความสมดุลและความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า มนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ

1. อุทกอารามหลวงปุระ ตามัน อายุน (The Royal Water Temple of Pura Taman Ayun)

เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีสถาปัตยกรรม ที่โดดเด่นต่างจากวัดน้ำแห่งอื่น สร้างขึ้นในคริสต์วรรษที่ 17 เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของกษัตริย์เม็งวีในอดีต กำแพงประตูวัดก่อด้วยหินสูง มีประตูเล็กหลายบานที่สลักเสลางดงาม หลังคาปูด้วยหญ้าอลัง อลัง มีคูน้ำล้อมรอบวัดราวสรวงสวรรค์กลางกระแสธารา

2

2. ภูมิทัศน์สุบักแห่งลุ่มน้ำปาเกอรีซัน(The subak Landscape of the Pakerisan Watershed)

ประกอบไปด้วยสุบักหลายแห่ง เช่น สุบักแห่งหมู่บ้านกูลูบ สุบักแห่งหมู่บ้านตัมปะซีรังและแหล่งกูนุง กาวี เป็นบริเวณที่มีการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้โบราณ ทั้งยังปรากฏวัดและศาสนสถานเรียงรายตามขอบผาริมฝั่งแม่น้ำ

อันแสดงชีวิตของ ชาวบาหลีที่ยึดถือตามหลักไตรหิตครณะ

3

3.ภูมิทัศน์(The subak Landscape of  Catur Angga Batukaru)

ประกอบด้วยกลุ่มสุบัก ราว 15 แห่ง ระบบสุบักที่มีความโดดเด่นในภูมิทัศน์แห่งนี้ได้แก่ สุบักแห่งหมู่บ้านจาตีลูวีห์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดและสวยที่สุดในบาหลี และยังเป็นหมู่บ้านเดียวที่ปลูก ปาดีบาหลีหรือข้าวพัน

ธุ์ท้องถิ่นที่มีลำต้นสวยสง่า

อุทยานแห่งชาติโคโมโด

อุทยานแห่งชาติโคโมโด (อินโดนีเซีย: Taman Nasional Komodo) เป็นอุทยานแห่งชาติในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ใกล้หมู่เกาะซุนดาน้อย ระหว่างจังหวัด East Nusa Tenggara และ West Nusa Tenggara อุทยานประกอบด้วยเกาะใหญ่ 3 เกาะ คือ เกาะโคโมโด เกาะริงกา และเกาะปาดาร์ รวมทั้งยังมีเกาะเล็กๆอีกมากมาย ซึ่งเกาะเหล่านี้กำเนิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟ มีพื้นที่รวมทั้งหมด 1,817 ตารางกิโลเมตร (ส่วนที่เป็นแผ่นดิน 603 ตารางกิโลเมตร) มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 4,000 คน ก่อตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่ออนุรักษ์มังกรโคโมโด ภายหลังยังจัดเป็นพื้นที่สำหรับอนุรักษ์สัตว์ป่าและสัตว์ทะเลชนิดอื่นๆอีกด้วย ใน พ.ศ. 2534 อุทยานได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก

กิจกรรมดำน้ำเป็นที่นิยมในอุทยานแห่งชาติโคโมโด เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลสูง มีสัตว์ทะเลอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ฉลามวาฬ ปลาพระอาทิตย์ กระเบนราหู กระเบนนก ม้าน้ำแคระ ปลากบตัวตลก ทากเปลือย หมึกวงแหวนสีฟ้า ฟองน้ำ เพรียงหัวหอม และปะการัง

ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ทางอุทยานได้รับการสนับสนุนจาก The Nature Conservancy (TNC) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจากสหรัฐอเมริกา มีการวางแผนการจัดการอุทยานใหม่ร่วมกัน และนำไปใช้ในปี พ.ศ. 2543 เพื่อรับมือกับปัญหาการใช้ทรัพยากรทั้งทางบกและทางทะเลที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัญหาของทรัพยากรทางทะเลส่วนใหญ่เริ่มมาจากชุมชนชาวประมงและบริษัทเชิง พาณิชย์ภายนอกอุทยาน แต่อย่างไรก็ตาม การควบคุมและจำกัดการใช้ทรัพยากรจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ที่อาศัยอยู่ใน บริเวณอุทยาน ซึ่งมีทางเลือกในการดำรงชีวิตน้อยนอกจากต้องรอรับสิ่งที่ทางอุทยานจัดหาให้ จึงมีแผนการวางแนวทางเลือกในการดำรงชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดการ อุทยาน แต่ชุมชนภายในอุทยานยังต้องการได้รับผลประโยชน์ตามมาตรฐานที่ตรงกับความต้อง การของพวกเขา

อุทยานแห่งชาติโคโมโดได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • (vii) – เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (ix) – เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา

 

20130111133321

อุทยานแห่งชาติลอเรนซ์

       มรดกโลกโดยยูเนสโก อุทยานแห่งชาติโลเรนซ์ (Lorentz National Park) ในประเทศอินโดนีเซีย เป็นอีกหนึ่งในมรดกโลกของ UNESCO ที่อยู่ในอาเซียน โดยขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี 1999

 อุทยานแห่งชาติลอเรนซ์ เป็นอุทยานที่มีพื้นมากถึง 2.5 ล้านเฮคเตอร์ และเป็นพื้นที่เพียงแห่งเดียวในโลกที่มีการเชื่อมพื้นที่ยอดเขาที่มีหิมะปกคลุม กับสิ่งแวดล้อมซึ่ง มีพื้นที่ติดกับทะเลเขตร้อนและพื้นที่ชุ่มน้ำ และที่ดูจะโดดเด่นที่สุดในเขตพื้นที่ของอุทยานก็คือ ยอดเขา Puncak Jaya หรือบางครั้งจะเรียกว่า Carstensz หรือ Carstensz Pyramid เป็นยอดเขาที่มี ความสูงถึง 4,884 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในอินโดนีเซียมาก หรือสูงที่สุดในเกาะนิวกินี และในเขตมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกล้อมรอบไปด้วยธารน้ำแข็ง และหิมะจำนวนมาก แต่เนื่องจากปัจจุบันโลกของเราได้ร้อนขึ้นไปในทุกๆที ไม่แน่ว่าในอนาคตธารน้ำ แข็งแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจจะละลายไปในไม่ช้านี้แน่นอน

ที่ตั้งอุทยาน

ประเทศ  จังหวัดปาปัว  อินโดนีเซีย     ประเภท มรดกทางธรรมชาติ

ประวัติการจดทะเบียน

จดทะเบียน    2542 (คณะกรรมการสมัยที่ 23)

อุทยานแห่งชาติโลเรนซ์ คือพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีสภาพแวดล้อมหลากหลายมากที่สุดในโลก ตั้งแต่แหล่งชุ่มน้ำริมทะเล ป่าฝนเขตร้อนจนถึงภูเขาหิมะ นอกจากนั้นยังได้ขุดพบฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งเป็นหลักฐานอย่างดีเยี่ยมที่แสดงถึงความหลายหลายทางชีวภาพตั้งแต่ยุค บรรพกาล

อุทยานแห่งชาติโลเรนซ์ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะ กรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 23 เมื่อปี พ.ศ. 2542 ที่เมืองมาร์ราเกช ประเทศโมร็อกโก ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

(viii) – เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทาง ธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได

(ix) – เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา

(x) – เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่ว โลกให้ความสนใจด้วย

tral28

กลุ่มวัดพรัมบานัน

จันดีปรัมบานัน (อินโดนีเซีย: Candi Prambanan) หรือ จันดีราราจงกรัง (อินโดนีเซีย: Candi Rara Jonggrang) คือเทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในเขตชวากลาง ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตาไป ทางตะวันออกประมาณ 18 กิโลเมตร ตัววัดนั้นสร้างขื้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1390 แต่หลังจากสร้างเสร็จได้ไม่นาน ตัววัดก็ถูกทอดทิ้งและถูกปล่อยให้ทรุดโทรมตามกาลเวลา จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) จึงได้มีการเริ่มบูรณะวัดขึ้นมา การบูรณะของสิ่งก่อสร้างหลักสิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953)

ในปัจจุบัน พรัมบานันถูกยกย่องให้เป็นมรดกโลกและนับได้ว่าเป็นหนึ่งในศาสนสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ตัววัดโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมและความใหญ่โตของปรางค์ซึ่งมีความสูงถึง 47 เมตร

ปราสาทหินพรัมบานันได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ภายใต้ชื่อ “กลุ่มวัดปรัมบานัน” เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • (i) – เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (iv) – เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

วัดพรัมบานัน หรือเป็นที่รู้จักสำหรับคนท้องถิ่นว่า โรโร จองกรัง (Roro Jonggrang) ถือว่าเป็น 1 ในวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่จะมีแท่นบูชาหลัก 3 ที่ ซึ่งอุทิศให้แก่ เทพเจ้าฮินดู 3 องค์ ได้แก่ พระพรหม พระศิวะและ พระวิษณุ สำหรับผู้มาเยี่ยมชมและนักท่องเที่ยวทั้งหลายนั้นจะได้รับอนุญาตให้เข้าชม เป็นบางส่วนเท่านั้น เพราะบางส่วนได้รับความเสียหายจากในอดีต แต่ที่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง คือการชมพระอาทิตย์ขึ้นบริเวณหลังวัดแห่งนี้ เวลาประมาณตี 5 ที่เหมาะที่สุดในการชม

tral29

แหล่งมนุษย์ดึกดำบรรพ์ซังงีรัน

Sangiran Early Man Site

แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน มรดกโลก

อินโดนีเซีย : ปีที่ขึ้นทะเบียน 1996

แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน *

มรดกโลกโดยยูเนสโก

ประเทศ  จังหวัดชวากลาง  อินโดนีเซีย

ประเภท  มรดกทางวัฒนธรรม

เกณฑ์พิจารณา       (iii) (iv)

ประวัติการจดทะเบียน

จดทะเบียน            2539 (คณะกรรมการสมัยที่ 20)

แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน คือแหล่งขุดค้นมนุษย์ชวาที่ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกของประเทศอินโดนีเซีย ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936)

มรดกโลก

แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรันได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุม คณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่เมืองเมรีดา ประเทศเม็กซิโก ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

(iii) – เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

(iv) – เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน คือแหล่งขุดค้นมนุษย์ชวา ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2479 ถือว่าเป็นแหล่งขุดค้นที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งต่อการศึกษาวิวัฒนาการของ มนุษย์ ครื่งหนึ่งของซากฟอสซิลมนุษย์โบราณจากทั่วโลกได้รับการค้นพบที่นี่ ประกอบด้วยฟอสซิล Meganthropus palaeo และ Pithecanthropus erectus/Homo erectus ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 1 ล้าน 5 แสนปีมาแล้วที่ตั้งแหล่งโบราณคดีขุดค้นพบตั้งแต่ปี คริสต์ศักราช ๑๙๓๖-๑๙๔๑ (พุทธศักราช ๒๔๗๙-๒๔๘๖) พบฟอสซิลมนุษย์ และต่อมาก็พบฟอสซิลของ Meganthropus erectus/Homo erectus จำนวน ๕๐ ซาก โดยครึ่งหนึ่งเป็นฟอสซิลมนุษย์ เป็นที่อยู่อาศัยมาในอดีตราว ๑ ล้านปีครึ่ง ซังงีรันเป็นสถานที่สำคัญที่ทำให้เราเข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์มากขึ้น

มรดกป่าฝนเขตร้อนเกาะสุมาตรา

tral31 248px-Man_of_the_woods

มรดกของป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา คือชื่อแหล่งมรดกโลกของประเทศอินโดนีเซียที่ตั้งอยู่บนเกาะสุมาตรา ประกอบด้วยเขตอุทยานแห่งชาติ 3 แห่งได้แก่ อุทยานแห่งชาติกุนุงลูเซอร์ (Gunung Leuser) อุทยานแห่งชาติเครินซีเซบลัต (Kerinci Seblat) และอุทยานแห่งชาติบูกิตบาริซานเซลาตัน (Bukit Barisan Selatan)เป็นถิ่นที่อยู่ของพืชกว่า 10,000 สายพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 200 สายพันธุ์ และนก 580 สายพันธุ์ ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 สายพันธุ์ไม่สามารถพบได้ที่อื่น รวมทั้งลิงอุรังอุตังสุมาตรา

อุทยานแห่งชาติทั้ง 3 แห่งได้ร่วมกันขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ “มรดกของป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา” ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 28 เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่เมืองซูโจว ประเทศจีน ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • (vii) – เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (ix) – เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
  • (x) – เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่ว โลกให้ความสนใจด้วยอุทยานแห่งชาติอูจุง คูลอน
  • 123อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน (Ujung Kulon National Park) ตั้งอยู่ปลายเกาะชวาด้านตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย เขตอุทยานแห่งชาติมีเนื้อที่ประมาณ 782 ตารางกิโลเมตร ได้รับการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติเมื่อปี ค.ศ. 1980 มีสัตว์แปลก ๆ มากมาย เช่น แรดชวา วัวแดง ชะนีชวา ค่าง และสุนัขป่าอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอนได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
    • (vii) – เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
    • (x) – เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่ว โลกให้ความสนใจด้วย

    แรด เป็นสัตว์กีบคี่ มีกีบข้างละสามกีบ หนักราว 1.5-2 ตัน สูงราว 160-175 เซนติเมตร ความยาวหัว-ลำตัว 300-320 เซนติเมตร หางยาว 70 เซนติเมตร ตามลำตัวมีสีเทาหม่น มีเอกลักษณ์สำคัญคือมีนอซึ่งเป็นตอแหลมขึ้นที่เหนือจมูก นอแรดส่วนใหญ่ยาวไม่ถึง 15 เซนติเมตร นอที่ยาวที่สุดที่เคยพบยาว 25 เซนติเมตร แรดตัวเมียตัวใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ไม่มีนอ หรือมีเพียงฐานนอนูนขึ้นมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ริมฝีผากบนแหลมเป็นจงอยช่วยในการหยิบเกี่ยวยอดไม้มากินได้ หนังหนามีรอยพับจนดูเป็นเหมือนชุดเกราะ มีรอบพับข้ามลำตัวสามรอย คือที่ท้ายทอย หัวไหล่ และสะโพก ลักษณะทั่วไปคล้ายแรดอินเดีย แต่รูปร่างเล็กกว่า หัวเล็กกว่ามาก และมีรอยพับของหนังที่คอน้อยกว่า

    แรดเป็นสัตว์ที่ถือสันโดษมาก หากินโดยลำพังเสมอ ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์หรือช่วงที่แม่ยังเลี้ยงดูลูก แรดชอบอาศัยอยู่ในป่าฝนที่แน่นทึบ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ มีปลักโคลนอยู่ทั่วไป ชอบอาศัยในป่าต่ำ แต่ก็เคยมีรายงานพบในที่สูงกว่า 1,000 เมตร อาหารหลักคือใบไม้ ยอดอ่อน และผลไม้สุก เป็นต้น

    แรดตัวเมียมีเขตหากินกว้างประมาณ 2.5-13.5 ตารางกิโลเมตรและซ้อนเหลื่อมกัน ตัวผู้มีเขตหากินกว้างกว่าคือราว 21 ตารางกิโลเมตร

    แรดมีสายตาไม่ดี แต่มีหูและจมูกดีมาก

    ในอดีตแรดเคยหากินอยู่ทั่วพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่เบงกอลมาทางตะวันออกจนถึงพม่า ไทย กัมพูชา ลาว เรื่อยไปจนถึงเวียดนาม ทางใต้ก็แผ่คลุมพื้นที่ตลอดคาบสมุทรมลายู รวมถึงเกาะสุมาตราและชวา ทางเหนือก็มีเขตหากินไปไกลถึงมณฑลหูหนานและเสฉวน เมื่อราว 150 ปีก่อน ยังพบอยู่ในสามพื้นที่ ได้แก่ชนิดย่อย inermis อยู่ในเบงกอลจนถึงอัสสัมและพม่า ปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ชนิดย่อย annamiticus พบอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออกของไทย กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนชนิดย่อย sondaicus พบอยู่ในเทือกเขาตระนาวศรีเรื่อยลงไปในคาบสมุทรมลายู สุมาตรา และชวา

    ปัจจุบันแรดได้สูญหายไปจากพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่แล้ว คงเหลืออยู่เพียงสองที่เท่านั้นคือที่คาบสมุทรอูจุงคูลอนทางตะวันตกของเกาะ ชวา และอีกที่หนึ่งซึ่งเพิ่งพบเมื่อปี 2531 คือริมแม่น้ำดองไนในจังหวัดลัมดองของเวียดนาม ซึ่งพบเพียงไม่ถึง 20 ตัวเท่านั้น

    ในช่วงทศวรรษ 1960 จำนวนประชากรแรดในอุทยานแห่งชาติอูจุงคูลอนเหลือน้อยมากเพียง 20-30 ตัวเท่านั้น แตหลังจากการคุ้มครองอย่างเข้มงวดของทางการอินโดนีเซียทำให้จำนวนเริ่มมาก ขึ้นจนมีอยู่ประมาณ 50 ตัว ส่วนในพื้นที่อื่นมีรายงานว่าพบเห็นบ้างแต่มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่ยืน ยันได้คือในปี พ.ศ. 2531 ที่นายพรานล่าแรดได้และส่งกระดูกไปฮานอย

    แรดตัวเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ราว 3-4 ปี ไม่มีฤดูผสมพันธ์ที่แน่นอน คาบการเป็นสัดนานราว 16 เดือน ออกลูกครั้งละตัว ลูกแรดจะดูดนมแม่เป็นเวลาหนึ่งหรืออาจนานถึงสองปี และกว่าแม่แรดจะผสมพันธุ์อีกครั้งก็ห่างจากคราวก่อนถึง 4-5 ปี

    แรดประสบภัยคุกคามหลายด้าน ภัยที่ร้ายแรงที่สุดคือการล่า แรดที่ต้องการอย่างมากของตลาดยาจีน อวัยวะทุกส่วนของแรดนำไปใช้เป็นส่วนประกอบยาจีนได้ทั้งหมด โดยเฉพาะนอ ในเกาหลีใต้ มีการนำนอแรดไปรักษาโรคหลายชนิด ตั้งแต่ หวัด ลมชัก ลมอัมพาต จนกระทั่งเอดส์

    ในประเทศเวียดนาม ชาวบ้านเผ่าสเตียงและ เชามาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่พบแรดหลายบ้านมีปืนไว้ล่าสัตว์ใหญ่เป็นอาหาร เป็นประจำ และพร้อมจะฆ่าแรดได้ทุกเมื่อที่พบเห็น ด้วยราคาค่าหัวแรดที่สูงลิบ แรดจึงถูกมองว่าเป็นเงินก้อนใหญ่มากกว่าสัตว์ป่าที่ควรอยู่คู่ป่า นอแรดมีราคาในตลาดในตะวันออกไกลมีค่ามากถึง 60,000 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม ลูกค้าหลักคือ จีน เยเมน ไต้หวัน และเกาหลีใต้

    ภัยที่คุกคามอีกอย่างที่มีต่อแรดก็คือการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ทั้งจากประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น และจากการทำไม้ อย่างไรก็ตามการคุกคามนี้ยังอยู่ในการควบคุมจากการประกาศให้เป็นเขตคุ้มครอง

    การที่ประชากรแรดเหลือน้อยมากในจังหวัดลัมดองทำให้ไม่มีความหลากหลายทาง พันธุกรรมและเพิ่มโอกาสในการผสมพันธุ์ในสายเลือด การขาดความหลากหลายทางพันธุ์กรรมทำให้ลูกหลานแรดปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ จากการศึกษาแรดห้าตัวที่ตายในในอุทยานแห่งชาติอูจุงคูลอนระหว่างปี 2524-2525 พบว่าตายจากการติดเชื้อไวรัส สิ่งนี้ยิ่งเป็นการยืนยันว่าประชากรที่น้อยนิดเปราะบางต่อโรคภัยธรรมชาติ อย่างไร

    ในประเทศอินโดนีเซีย แรดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายตั้งแต่ปี 2474 และอุทยานอูจุงคูลอนก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์แรดโดยเฉพาะ ในเวียดนาม แรดได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายท้องถิ่นที่อนุมัติโดยกระทรวงป่าไม้ ไซเตสบรรจุชื่อแรดไว้ในบัญชีหมายเลข 1 ตั้งแต่ปี 2520 ห้ามการค้าขายระหว่างประเทศ ในประเทศไทย แม้จะไม่พบแรดมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว แต่แรดก็ยังเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวน 15 ชนิดของไทย

    สัตว์ในตระกูลแรดมีทั้งสิ้น 5 ชนิด นอกจากแรดแล้วยังมี กระซู่ แรดอินเดีย แรดขาว และแรดดำ สัตว์ในตระกูลแรดอาจเรียกเหมารวมกันว่า แรด ดังนั้น เมื่อเอ่ยถึงแรดคำเดียว อาจหมายถึงแรดชนิดใดชนิดหนึ่งในห้าชนิดนี้ หรืออาจหมายถึงแรดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinoceros sondaicus นี้ก็ได้ ด้วยเหตุนี้การเอ่ยเพียงคำว่า แรด จึงอาจเกิดความกำกวมขึ้นได้ วิธีหนึ่งที่นิยมใช้ในการเลี่ยงความกำกวมก็คือ เมื่อเอ่ยถึงแรดที่หมายถึง Rhinoceros sondaicus จะเรียกว่า แรดชวา แทนซึ่งเป็นชื่อที่ถอดความมาจากชื่อภาษาอังกฤษ (Javan Rhinoceros)

กลุ่มวัดบุโรพุทโธ

tral18

บุโรพุทโธสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป

บุ โรพุทโธ ตั้งอยู่ใจกลางเกาะชวา อยู่ห่างจากเมืองยอกยากาตาร์ (Yogyakata) ของอินโดนีเซีย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่14 ในสมัยของกษัตริย์ราชวงศ์ไศเรนทรา แห่งอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งสมัยนั้นหมู่เกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอินเดีย ทั้งด้านการค้าและวัฒนธรรม ทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านความเชื่อของฮินดูและพุทธเป็นอย่างมาก แต่กษัตริย์ของศรีวิชัย ซึ่งเป็นชาวฮินดู เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และชนชาวศรีวิชัยส่วนใหญ่ก็นับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ทำให้เกาะชวา เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรีวิชัยนี้มหาสถูปบุโรพุทโธ อันงดงามนั้นรังสรรค์ขึ้นด้วยความรักความศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นต่อพระพุทธ ศาสนาของชนชาวศรีวิชัย ประติมากรรมแต่ละชิ้นได้รับการจัดวางอย่างงดงามลงตัวและมีความหมายอันมีนัย ถึงธรรม ธรรมชาติ หรือจักรวาล บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกัน  มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 55,000 ตารางเมตร  แต่ละด้านมีบันไดและซุ้มประตูขึ้นสู่มหาเจดีย์ ซึ่งมีทั้งหมด10 ชั้น ชั้น 1-6 มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนชั้นที่ 7-10 มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม   ส่วนฐานของบุโรพุทโธประกอบด้วยขั้นบันไดใหญ่ 4 ขั้น กำแพงรอบฐานมีภาพสลักประมาณ 160 ภาพ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ที่ยังข้องอยู่ในกาม ผูกพันกับความสุข สนุกสนาน ความปรารถนาทางโลกอันไม่รู้จบ ส่วนนี้จัดอยู่ในขั้นกามภูมิ

ในส่วนที่สอง คือส่วนบนของฐานนั้น ผนังทั้งด้านนอกด้านในมีรูปสลักเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดกต่างๆ ประมาณ1,460 ภาพในส่วนนี้ถือเป็นขั้นรูปภูมิ คือขั้นตอนที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลสทางโลกมาได้บางส่วน

ส่วนที่สามคือส่วนของฐานกลมที่มีเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ จำนวน 72 องค์ แต่ละองค์บรรจุด้วยพระพุทธรูป ตั้งเรียงรายอยู่ 3 ระดับ โอบล้อมพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สุดยอดของบุโรพุทโธ จำนวน 72 นั้น หากพิจารณาในทางธรรมแล้วหมายถึง รูป 18 เจตสิก 52 จิต 1 นิพพาน 1 และฐานพระเจดีย์ที่เป็นรูปบัวผลิบานนั้นบ่งบอกถึงการรู้ตื่นและเบิกบาน ส่วนพระเจดีย์องค์ใหญ่นั้นภายในไม่ได้บรรจุสิ่งใดไว้ อาจสื่อให้เห็นถึง ความว่าง อันถึงที่สุดของนิพพานแล้ว ย่อมไร้ลักษณ์ ไร้รูปรอยใดๆ ในส่วนนี้ถือเป็นขั้นอรูปภูมิ ที่มนุษย์ไม่ผูกพัน กับทางโลกอีกต่อ

บรมพุทโธได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัย สามัญครั้งที่ 15 ภายใต้ชื่อ “กลุ่มวัดบรมพุทโธ” เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

1 . เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์

2.  เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม

3. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ใส่ความเห็น