การตรวจสอบการแสดงออกของยีนที่ต่างกันในกลีบดอกเอื้องดินใบหมากบางชนิดโดยเทคนิคดีดีอาร์ที-พีซีอาร์

Main Article Content

จตุพร อนุชัย
ณัฐา โพธาภรณ์
วีณัน บัณฑิตย์

บทคัดย่อ

เอื้องดินใบหมาก (Spathoglottis spp.) เป็นกล้วยไม้อีกสกุลหนึ่งที่มีจุดเด่นในเรื่องของสีดอกซึ่งเป็นที่นิยม ในตลาดทั้งในและต่างประเทศ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุกรรม ซึ่งควบคุมสีดอกกล้วยไม้ยังมีจำกัด งานวิจัยนี้จึงศึกษาการแสดงออกของยีนในเอื้องดินใบหมาก 3 ชนิด ได้แก่ Spathoglottis plicataS. affinis  และ S. petrei ด้วยเทคนิคดีดีอาร์ที - พีซีอาร์ เพื่อศึกษาการแสดงออกของยีนในกลีบดอกที่ระยะการเจริญที่แตกต่างกัน 3 ระยะคือ ระยะดอกตูม ระยะดอกตูมก่อนบาน และระยะดอกบาน  ในการคัดกรองไพรเมอร์ 58 ชนิด พบว่าไพรเมอร์แสดงเครื่องหมายดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับลักษณะดอกเอื้องดินใบหมากทั้ง 3 ชนิด  คือ OPD16, OPF14 และ OPAB19 ซึ่งแถบเครื่องหมายเหล่านี้คาดว่าจะมีศักยภาพในการบ่งชี้ความแตกต่างทางพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับสีดอกของเอื้องดินใบหมากได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรพิพรรธ แพรไพศาลกุล. 2549. การจำแนกยีนที่ต้านทานต่อเชื้อ Escherichia coli สาเหตุของโรคท้องร่วงในสุกรก่อนหย่านม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 57 หน้า.

ระพี สาคริก. 2516. การเพาะปลูกกล้วยไม้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, กรุงเทพฯ. 840 หน้า.

สิริณี ยอดเมือง. 2547. การศึกษาพันธุกรรมสีดอกกล้วยไม้ดินโดยใช้เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 147 หน้า.

สุรินทร์ ปิยะโชคุณากุล. 2545. จีโนมและเครื่องหมายดีเอ็นเอ ปฏิบัติการอาร์เอพีดีและเอเอฟแอลพี. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 116 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2551. ปริมาณและมูลค่าสินค้าเกษตรกรรมส่งออก พ.ศ. 2549-2550 (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http: //www.oae.go.th/oae/index2.php (21 Bunny 2553).

อบฉันท์ ไทยทอง. 2543. กล้วยไม้เมืองไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 461 หน้า.

Chen, Y., B. Wang, S. Weining and G. Daggard. 2004. Anchor primer associated problems in differential display reverse transcription polymerase chain reaction. Annal Biochem. 329: 145-147.

Liang, P. and A. Pardee. 1992. Differential display of eukaryotic messenger RNA by means of the polymerase chain reaction. Science 257: 967-971.

Maier, R. M., K. Neckermann, B. Hoch, N.B. Akhmerdov and H. Kossel. 1992. Identification of editing positions in the ndhB transcript from maize chloroplasts reveals sequence similarities between editing sites of chloroplasts and plant mitochondria. Nucleic Acids Res. 20: 6189- 6194.

Manoj, P., N. S. Banerjee and P. Ravichandran. 2008. Development of sex specific molecular marker in dioecious Piper longum L. plants by differential display. JATIT. 4: 459-465.

Park, M.J., S. Soo, P.O. Lim, H. Lee and J.C. Koo. 2009. Identification of differentially expressed genes in flower buds of Calanthe discolor and C. sieboldii. Plant Biol. 53: 24-31.

Yu, H. and C.J. Goh. 2000. Differential gene expression during floral transition in an orchid hybrid Dendrobium Madame Thong-in. Plant Cell Rep. 19: 926-931.