Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

Preview Dendrobium Orchid

เอื้องช้างน้าว Dendrobium pulchellum


ภาพ ช้างน้าว ดอกโทนสีออกแดง ที่สวนชิเนนทร
      ช้างน้าว หรือ เอื้องช้างน้าว เป็นกล้วยไม้ทนร้อนกลุ่ม Dendrobium หรือ หวาย ของบ้านเรานี่เองครับ ในพื้นที่ตามชนบทหรือพื้นที่ราบเขา หรือ ป่าแล้ง เรามักพบ ช้างน้าว ขึ้นเกาะอยู่ต้นไม้สูง แต่พิเศษไปกว่ากล้วยไม้สกุลหวายอื่น ๆ เรายังพบว่า ช้างน้าว ยังสามารถขึ้นเกาะบนผาหินสูงชันได้อีกด้วย !
     ลักษณะแสนพิเศษของ ช้างน้าว คือมีลำที่ยาวยื่นทอดออกไป ลำของ ช้างน้าว จะไม่ห้อยลงเหมือนกับเอื้องสายชนิดอื่น ๆ กลับกัน ช้างน้าว จะให้ลำที่แข็งทื่อ โน้มเอียงไม่เป็นสายคล้ายกับกิ่งไม้ขนาดใหญ่ที่มีใบทรงรีสลับซ้ายขวาเรียงตัวจนสุดลำ หน่อที่กำลังแตกใหม่ที่เราได้เห็นในปีนี้จะยังไม่ให้ดอกจนกว่าจะถึงปีถัดไป เมื่อหน่อแก่ตัวได้ที่กลายเป็นลำก้านที่ทอดยาวออกไปราวคันเบ็ด ช้างน้าว จะเริ่มทิ้งใบในช่วงต้นปี และอาจพักตัวอยู่ราว ๆ ๑-๒ เดือน หลังจากนั้น ช้างน้าว จะเริ่มแทงตาดอกในราว ๆ ช่วงเดือน กุมภาพันธุ์ – พฤษภาคม ดอกของ ช้างน้าว จะแทงออกในส่วนของปลายยอดสุดของลำลูกกล้วย ใน ๑ ลำ หาก ช้างน้าว มีลำต้นที่สมบูรณ์แล้วละก็มันสามารถให้ดอกได้มากถึง ๔ ช่อ ในขณะที่ปกติจะสามารถให้ดอกได้ราว ๆ ๑ – ๒ ช่อ ดอกของ ช้างน้าว มีลักษณะเป็นสายยาวลงมาจากปลายยอด มองคล้ายกับสายเบ็ดที่ร้อยตัวลงมาจากคานเบ็ดไม่ผิดเพี้ยน ขนาดของดอก ช้างน้าว มีขนาดใหญ่ พื้นดอกมีสีเหลืองอ่อน บางครั้งก็พบว่ามีสีแดงในบางต้น บนปากดอกนั้น ช้างน้าว จะมีตาสีดำที่กลมใหญ่เด่นแปลกตาและสวยงาม
ภาพ ลักษณะการแทงช่อ และช่อดอกของ ช้างน้าว
     ในวิทยาศาสตร์ ช้างน้าว มีชื่อว่า Dendrobium pulchellum และมันยังถูกเรียกอีกหลาย ๆ ชื่อในบ้านเราอีกด้วยครับ อาทิเช่น เอื้องคำตาควาย เอื้องตาควาย สบเป็ด และยังมีชื่อพิลึก ๆ ที่เราอาจจะไม่เคยได้ยินอีกเช่น ปะเหน่มีเพ้ย พอมียอเอ้ะ หากให้เดาละก็สองชื่อหลังนี้คงได้รับการแต่งจากชนชาวเขาอย่างแน่นอนเชียวครับ !
     ด้วยลักษณะที่ทนร้อนพิเศษนี้ ช้างน้าว ยังได้เป็นกล้วยไม้อีกชนิดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาเนิ่นนาน หนึ่งในลูกผสมของ ช้างน้าว ที่ได้รับความนิยมก็คือ Dendrobium Gatton Sunray (เดน-โดร-เบียม-แกต-ตัน-ซัน-เรย์) มันเป็นลูกผสมสีเหลืองสดใสตตาดำเด่นและมีดอกขนาดใหญ่ พ่อแม่ของไม้ชนิดนี้มาจาก เอื้องช้างน้าว หรือเอื้องตาควาย (Dendrobium pulchellum) เข้ากับ Dendrobium Illustra ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง เอื้องคำ ผสมเข้ากับ ช้างน้าว(Den. chrysotoxum x Den. pulchellum) นับได้ว่าเป็นไม้ที่ทำซ้อนกันถึง ๒ ชั้นเลยทีเดียวครับ


ภาพดอกของ Dendrobium Gatton Sunray ลูกผสมระหว่าง ช้างน้าว x Dendrobium Illustra

วิธีปลูกเลี้ยง ช้างน้าว
     ช้างน้าว เป็นกล้วยไม้เลี้ยงง่ายมากครับ และเป็นกล้วยไม้ที่ทนร้อนเก่งมากซะด้วย เราสามารถเลี้ยงเจ้า ช้างน้าว ให้มีดอกสวยงามได้ดังนี้
๑. นำกาบมะพร้าวที่ผ่านการแช่น้ำไว้แล้วอย่างน้อย ๒-๓ คืน มาเตรียมไว้ครับ ต้องแช่น้ำก่อนนะครับ ถ้าไม่แช่ กล้วยไม้จะโตช้า
๒. ถ้าเป็นไม้ดิบ ให้นำกาบมะพร้าวทุบให้เป็นแผ่น วางรองระหว่างขอนไม้กับ ช้างน้าว ที่เตรียมปลูก กาบมะพร้าวที่ชื้นได้ที่จะช่วยให้รากของช้างน้าวเดินไวขึ้น
๓. นำไปแขวนไว้ในที่ที่มีแสงส่องถึงอย่าร่มรำไรมากเกินไปเพราะอาจจะเน่าตายได้
๔. หากปลูกในกระถาง ให้นำถ่านกลบพื้นกระถางสักครึ่งหนึ่งก่อน แล้วค่อยนำมะพร้าวสับกลบทับลงไป หลังจากนั้นใช้กาบมะพร้าววางล้องรอบขอบกระถาง นำต้น ช้างน้าว ที่เตรียมไว้ ตั้งไว้ตรงกลาง แล้วค่อย ๆ กลบรากด้วยมะพร้าวสับชื้นเล็ก
***ระวัง อย่ากลบจนมิดโคนไม่เช่นนั้น ช้างน้าว จะเน่าได้ เอาพอบาง ๆ และจับช้างน้าวตั้งให้ได้ด้วยการหาไม้มาค้ำหรือลวดพยุง***
๕. หากเป็นไม้เพาะเลี้ยงจากฟาร์ม ให้ใช้มะพร้าวตุ้ม หุ้มราก แล้วใส่กระเช้ากลมได้เลยครับ


ภาพ ช้างน้าว เผือก
     เมื่อรากช้างน้าวเริ่มเดินดี ควรเริ่มขยับ ช้างน้าว ให้ได้แสงมากขึ้น แสงจะเป็นปัจจัยช่วยให้ ช้างน้าว มีดอกตามฤดูกาลครับ และเพื่อที่จะได้เห็นดอกของ ช้างน้าว อย่างสมบูรณ์ที่สุด เราควรหมั่นพ่นปุ๋ยเกล็ดอย่างสม่ำเสมอ ทางสวนออร์คิดทรอปิคอล เรามักใช้สูตรปุ๋ยเสมอเช่น ๒๑-๒๑-๒๑ เป้นต้นครับ ระวังอย่ารดน้ำตอนสายมากเพราะน้ำที่ไปขังตามกาบใบอาจทำให้ ช้างน้าว เน่าได้ ยอดใหม่ของช้างน้างค่อนข้างบอบบาง ให้พึงระวังเป็นอย่างยื่งครับ หากรดน้ำสายและน้ำไปขังในยอดใหม่ เมื่อแสงแดดจัด ๆ อาจทำให้ยอดเน่าได้เลยครับ และเมื่อยอดเน่าเราก็จะอดดูดอกในปีต่อไปนั่นเอง !

 

บทความดีๆจาก http://www.orchidtropical.com/

กล้วยไม้สกุลแวนด้า Vanda

      หากเอ่ยถึง แวนด้า คงเป็นไปได้ยากที่จะไม่มีใครรู้จัก อย่างน้อย ๆ เราก็ต้องรู้จักกับเจ้าเอื้องฟ้ามุ่ย กล้วยไม้สกุล แวนด้า ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และกลายเป็นกล้วยไม้ที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มากที่สุดก็ว่าได้
     แวนด้า (Vanda) เป็นกล้วยไม้ที่อยู่ในประเภท “โมโนโพเดี้ยล” ครับ หมายถึง เป็นกล้วยไม้ที่ ไม่แตกกอ มีการเจริญเติบโตไปทางยอด ลักษณะทั่วไปของ แวนด้า คือ รากเป็นรากอากาศ ใบของ แวนด้า นั้นมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบจะเรียงตัวซ้อนสลับกัน ช่อดอกจะออกด้านข้างของลำต้นสลับกับใบ ช่อดอก แวนด้า นั้นยาวและแข็ง กลีบนอกและกลีบในมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน โคนกลีบแคบ และไปรวมกันที่โคนเส้าเกสร กลีบดอกในล่างด้านใต้มีเดือยแหลมยื่นออกมาเป็นส่วนท้ายของปากกระเป๋า ปากกระเป๋าของแวนด้าเป็นแบบธรรมดาแบนเป็นแผ่นหนาแข็ง และพุ่งออกด้านหน้า รูปลักษณะคล้ายช้อน หูกระเป๋าทั้งสองข้างแข็งและตั้งขึ้น สีสั้นของดอก แวนด้า เราอาจพบเห็นได้มากที่สุดคือ สีน้ำเงินเข้ม สีครามอ่อน สีชมพู สีเหลือง หรือแม้กระทั้งสีเขียว หรือ ดำก่ำ และยังมีอีกมากหมายหลายสีขนาดที่ว่าหากเดินหลงเข้าดงของดอก แวนด้า แล้วมันไม่ต่างอะไรจากบ้านขนมหวานของฮันเซลและเกรเทลทีเดียว !


♠ ภาพ ลักษณะใบของ แวนด้า
     ในโลกนี้ เราในฐานะชาวเอเชีย อาจเป็นผู้ที่โชคดีที่สุดก็ว่าได้ เพราะเราพบว่า แวนด้า ได้เติบโตและแพร่กระจายพันธุ์ในธรรมชาติของเอเชียราว ๆ ๔๐ ชนิด หากเราได้มีโอกาสไปยังประเทศ อินเดีย เราอาจจะได้พบกับ แวนด้า เทสเซลาต้า กล้วยไม้ที่ขึ้นชื่อว่าใกล้สูญพันธุ์และกลิ่นหอมแรง หรือ แวนด้า ไตรคัลเลอร์ ที่มีสีสันถึงสามสีบนพื้นดอกเดียว เมื่อลองสำรวจบนผืนเกาะฟิลิปินส์เราก็จะได้พบกับต้นกำเนิด แวนด้า สองสีหรือทูโทนอย่างเจ้า แวนด้าแซนเดอเรียน่า กล้วยไม้ที่ขึ้นชื่อบัญชีว่าเป็นกล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และเป็นพันธุ์ไม้ที่หวงแหนที่สุดของฟิลิปินส์ และในไทย เราเองก็มี แวนด้าฟ้ามุ่ย กล้วยไม้ที่ได้รับการยอมรับว่าสวยมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก นอกจากนี้ แวนด้ายังกระจายพันธุ์กว้างขวางไปตามประเทศต่าง ๆ อีก เช่น ศรีลังกา พม่า อินโดนีเซีย รวมไปถึง ทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ
     ในปัจจุบัน แวนด้า ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจำแนกประเภทของ แวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น ๔ ประเภท คือ
◙ แวนด้าใบกลม มีลักษณะของใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง สังเกตได้ที่ใบติดอยู่ห่างๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก แต่ดอกจะบานติดต้นอยู่คราวละ ๒ – ๓ ดอกเท่านั้น เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น ดอกข้างล่างจะโรยไล่กันขึ้นไปเรื่อยๆ การปลูกใช้ดอกจึงนิยมปลิดดอกมากกว่าตัดดอกทั้งช่อ
◙ แวนด้าใบแบน ลักษณะใบแผ่แบนออก เป็น แวนด้า ที่ปลายใบโค้งลงและจักเป็นแฉก ถ้าตัดมาดูหน้าตัดจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน
◙ แวนด้าใบร่อง มีรูปทรงของใบและลำต้นคล้ายใบแบนมากกว่าใบกลม แวนด้าประเภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งสิ้น โดยนำแวนด้าใบกลมมาผสมกับแวนด้าใบแบน
◙ แวนด้าก้างปลา มีรูปทรงของใบและลำต้น กิ่งใบกลมกับใบแบน กล้วยไม้กลุ่มนี้พบว่าเป็นหมันเสียส่วนใหญ่ จึงพบว่ามีจำนวนในธรรมชาติน้อยมาก


♠ ภาพ เข็มขาว กล้วยไม้ที่ใคร ๆ ก็เรียกชื่อต้นว่า เข็ม แต่จริง ๆ เป็น แวนด้า (Vanda lilacina) ครับ
     แวนด้า ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคงจะหนีไม่พ้น เอื้องฟ้ามุ่ย เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกใหญ่ สีสวย อีกทั้งยังหายากด้วยครับการเลี้ยง แวนด้า ใบแบนนั้นจำเป็นต้องโรงเรือนเพื่อช่วยในการลดทอแสงให้อ่อนลง แวนด้า ที่ดูเหมือนจะเลี้ยงง่ายที่สุดน่าจะเป็น แวนด้าใบกลม เนื่องจากเป็น แวนด้า ที่ทนร้อนเก่งและไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือนก็สามารถเลี้ยงได้โดยง่าย ส่วน แวนด้า ที่มีใบเป็นร่องหรือที่เราเรียกว่า แวนด้าใบร่อง นั้นเกิดจากลูกผสมระหว่าง แวนด้าใบกลม เข้ากับ แวนด้าใบแบนครับ ทั้งนี้ก็เพราะว่า แวนด้าใบแบนนั้นเลี้ยงค่อนข้างยาก จึงต้องนำมาผสมกับใบกลมเพื่อให้ลูกออกมาสามารถเลี้ยงได้ง่ายขึ้นและมีสีสวยบานทนขึ้นนั่นเองครับ

ลักษณะที่ดีของแวนด้านั้นกล่าวไว้ว่า
• ดอกฟอร์มต้องกลม อย่างฟ้ามุ่ยต้องพัฒนาให้กลม (แต่ปัจจุบัน ฟอร์มแบบบิน ๆ ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กันนะ)
• จำนวนดอกในก้านช่อ ๑ ก้าน ต้องมีจำนวนมากเข้าไว้ เช่นสามปอยขุนตานควรจะมีราว ๆ ๗ – ๘ ดอกเป็นต้น
• ก้านดอกสั้น หมายถึงเมื่อก้านดอกสั้นดอกจะกระจุกติดกับก้านช่อทำให้ดูเป็นพุ่มดอกสวยงามครับ
• ลวดลายบนดอกชัดเจน เช่น ฟ้ามุ่ยก็ต้องมีลายสมุกที่ชัดถึงจะสวยครับ
• ก้านช่อต้องแข็งและยาว เพื่อที่จะรับน้ำหนักของจำนวนดอกได้นั่นเองครับและยาวมากจำนวนดอกมาด้วยก็จะยิ่งสวยครับ


♠ ภาพ แวนด้า สามปอยขุนตาน เป็นแวนด้าพันธุ์แท้สายคุณชิเนนทร ที่มีจำนวนดอกถึง ๑๐ ดอกและมีคุณสมบัติครบถ้วนของลักษณะแวนด้าที่ดี
ลักษณะการปลูกเลี้ยง แวนด้า
     ก่อนอื่นต้องกล่าวก่อนว่า แวนด้า แต่ละชนิดนั้นชอบสภาวะอากาศแตกต่างกัน ถึงจะมีวิธีปลูกที่เหมือนกันแต่หากสภาวะโรงเรือนไม่เหมาะสมก็เฉาตายได้เหมือนกันครับ ทีนี้มาดูวิธีปลูกกันครับ
     • ส่วนใหญ่ แวนด้า เป็นกล้วยไม้รากอากาศครับ ดังนั้น ปลูกแบบใส่กระเช้าไม่ต้องใส่เครื่องปลูกก็ได้
     • การปลูก อาจจะใช้ฟิวมัดรากกับกระเช้าให้ไม่ให้ขยับได้ครับ
     • หลังจากนั้น นำอนุบาลไว้ในร่มรำไรหรือใต้แสลนอย่าถูกแสงมากจนกว่ารากจะเดินดี
     • แวนด้า ที่ออกขวดอาจจะผึ่งในตะกร้าสักระยะให้รากใหม่เดินแล้วค่อยหนีบนิ้วครับ
     • การหนีบนิ้วอาจจะใช้สเฟกนั่มมอส หรือ กาบมะพร้าวหนีบ
     • ไม้ใหม่รากยังไม่แข็ง อาจจะให้แต่น้ำหรือผสม บี๑ รดครับ
     • พอแข็งแรงดีก็ปรับเป็นให้ปุ๋ยสัปดาห์ละครัง เช่น ๒๑-๒๑-๒๑ เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นกล้วยไม้จะสวยหรือไม่สวยขึ้นอยู่กับความขยันของเราด้วยนะครับ หากขยัน แวนด้า ที่เราเลี้ยงก็จะให้ดอกสวยงามแต่หากไม่ละก็ แวนด้า ก็จะเฉาตายได้ครับ และก่อนจะนำ แวนด้า ชนิดไหนมาเลี้ยงควรจะศึกษาให้ดีก่อนเพราะบางชนิดเลี้ยงยากในพื้นราบเป็นต้นครับ

 

บทความดีๆจาก http://www.orchidtropical.com/

กล้วยไม้สกุลเข็ม Ascocentrum

      กล้วยไม้สกุลเข็ม (Ascocentrum) นับได้ว่าเป็นกล้วยไม้อีกชนิดของไทยที่ชอบแสงแดดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเข็มแสด ที่สามารถทนสภาพแสงได้ถึง 100% และยังเป็นสกุลเข็มที่ให้ดอกเก่งสีจัดและสวยงามมากชนิดหนึ่งของไทย
     ด้วยความทนร้อนที่น่าเหลือเชื่อประกอบกับสีสันที่โดดเด่นสะดุดตามาแต่ไกล กล้วยไม้สกุลเข็ม จึงเป็นที่นิยมในการทำลูกผสมเข้ากับกล้วยไม้สกุลแวนด้าที่ชอบอยู่อากาศเย็น กลายเป็นลูกผสมสีสดชื่อดังมากมายจนลือชา

กล้วยไม้สกุลเข็ม แม้เราจะเรียกชื่อเหมือนกับว่าเป็นอีกหนึ่งสกุลของกล้วยไม้ แต่แท้จริงแล้ว กล้วยไม้สกุลเข็ม เป็นกล้วยไม้ประเภทแวนดา (Vandaceous Orchid) ที่มีขนาดเล็ก เท่านั้นเองครับ

กล้วยไม้สกุลเข็ม มีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลช้าง สกุลแวนดา สกุลกุหลาบ มีลำต้นสั้น การเรียงตัวของใบเป็นแบบซ้อนทับกัน รูปร่างของใบแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบที่หนึ่งใบแบน ใบค่อนข้างจะอวบน้ำ และแบบที่สองเป็นแบบใบกลม แต่มีร่องลึกทางด้านบนของใบ รากเป็นระบบรากอากาศ ช่อดอกจะออกที่ตาตามข้อของลำต้นระหว่างใบต่อใบ ช่อดอกตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกหลายดอก ดอกมีขนาดเล็ก ดอกหันหน้าออกรอบด้าน กลีบนอกและกลีบในของดอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ปากขยับไม่ได้ ใต้ปากมีเดือยเป็นถุงยาว เดือยมีขนาดสั้นกว่ารังไข่และก้านดอก เส้าเกสรอ้วนสั้นไม่มีฐาน กลุ่มเรณูกลมมี 2 ก้อน กล้วยไม้สกุลเข็ม ทุกชนิดดอกมีรูปร่างคล้ายกันแต่แตกต่างกันในเรื่องสี ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสีสดใส เช่น สีแดงอมส้ม สีม่วง สีส้ม หรือสีเหลืองอมส้ม เมื่อต้นกล้วยไม้มีอายุมากขึ้น หรือเมื่อยอดหักหรือยอดเน่าตาที่อยู่ด้านล่าง ๆ ของลำต้นจะแตกหน่อออกมา ทำให้เกิดมีหลาย ๆ ยอดได้ด้วยลักษณะและสีสันที่สดใสของดอกดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่า กล้วยไม้สกุลเข็ม เป็นราชินีของกล้วยไม้ประเภทแวนดาแบบกระเป๋า

Highslide JS

ภาพตัวอย่างของ กล้วยไม้สกุลเข็ม แสด

จากการสำรวจพบว่า กล้วยไม้สกุลเข็ม ที่มีอยู่ในโลกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคพื้นทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย เนปาล ศรีลังกา จีน พม่า ไทย ประเทศในแถบอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เมื่อได้พิจารณาทางหลักภูมิศาสตราของอาณาบริเวณที่ปรากฏกล้วยไม้เหล่านั้นตามธรรมชาติแล้ว ก็น่าจะกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของแหล่งกำเนิด กล้วยไม้สกุลเข็ม สำหรับในประเทศไทยนั้นปรากฏว่า กล้วยไม้สกุลเข็ม มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปทุกภาคบางภาคอาจมี กล้วยไม้สกุลเข็ม หลายชนิด แต่บางภาคอาจมีเพียงชนิดเดียว
     ในประเทศไทยเราพบว่ามี กล้วยไม้สกุลเข็ม ปรากฏตามธรรมชาติอยู่ 4 ชนิด คือ เข็มแดง (Ascocentrum curvifolium) เข็มม่วง (Ascocentrum ampullaceum) เข็มแสด (Ascocentrum miniatum) และแอสโคเซ็นตรัม เซมิเทอเรตติโฟเลียม (Ascocentrum semiteretifolium – ยังไม่มีชื่อภาษาไทย)

 
ลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิดHighslide JS

ภาพตัวอย่างของ เข็มแดง

ดอกของเข็มแดงบนต้นไม้
ภาพตัวอย่างเข็มแดงจากเว็บ flickr.com โดยคุณ b_inxee

เข็มแดง (Ascocentrum curvifolium) ถิ่นกำเนิดของเข็มแดงในประเทศไทย คือบริเวณเริ่มตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ต่ำลงไปถึงจังหวัดตากและกาญจนบุรี พบในป่าที่มีระดับความสูง 100-300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในฤดูฝนความชื้นในอากาศค่อนข้างสูง แต่ในฤดูแล้วความชื้นในอากาศอาจจะลดลงเหลือเพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์ ในต่างประเทศพบว่าเข็มแดงมีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย ผ่านมาทางประเทศพม่าจนถึงประเทศไทย ลำต้นของเข็มแดงเมื่อสูงถึงประมาณ 20 เซนติเมตร มักจะพบว่าโค้งลงเพราะทรงตัวไม่ได้ และจะมีหน่อเกิดขึ้นทางส่วนล่าง ๆ ของลำต้น ใบค่อนข้างแคบ โค้ง เรียว และยาวที่สุดในบรรดา กล้วยไม้สกุลเข็ม ทุกชนิดที่พบในประเทศไทยด้วยกัน ความยาวของใบประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ค่อนข้างจะอวบน้ำ ใบเป็นสีเขียวอ่อน อ่อนกว่าสีของใบเข็มม่วงและเข็มแสดในระหว่างฤดูแล้วขอบของใบจะปรากฏเป็นจุดสีม่วงขึ้นประปราย และเมื่อความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้นจุดสีม่วงบนใบก็จะมีหนาแน่นยิ่งขึ้น ฤดูออกดอกอยู่ในระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ต้นที่กำลังให้ดอกอาจมีดอก 3-4 ช่อในเวลาเดียวกัน ต้นที่โต ๆ จะให้จำนวนช่อดอกมากขึ้น ช่อดอกตั้งตรง แข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นรูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ดอกโตประมาณ 1.5 เซนติเมตร หรือกว่านั้น กลีบดอกบานเปิดเต็มที่ดอกมีสีแดงอมสีส้มสดใส บานทนนับเป็นสัปดาห์
Highslide JS

ภาพตัวอย่างของ เข็มม่วง

ลักษณะของต้นและดอกของเข็มม่วง
ดอกของเข็มม่วง
ดอกเข็มม่วง ที่สวนชิเนนทร
ดอกของเข็มม่วง ที่สวนชิเนนทร
เข็มม่วงเผือก ดอกสีขาว ที่สวนชิเนนทร

เข็มม่วง (Ascocentrum ampullaceum) เข็มม่วงปรากฏตามธรรมชาติในประเทศไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และต่ำลงไปถึงจังหวัดกาญจนบุรี พบอยู่ในบริเวณเดียวกันกับเข็มแดง แต่อยู่ในระดับความสูงมากกว่าเข็มแดง ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ภูฏาน เนปาล พม่า จีน และลาว ตเข็มม่วงมีทรงต้นตั้งแข็งอาจมีความสูงได้ถึง 25 เซนติเมตร ใบเป็นประเภทใบแบน ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ใบค่อนข้างแข็ง ไม่โค้งมากนัก ปลายใบตัดและเป็นฟันแหลม ๆ ไม่เท่ากันหลายฟัน ใบมีสีเขียวคล้ำ ในช่วงที่สภาพอากาศแห้งแล้งจะปรากฏจุดสีม่วงเล็ก ๆ บนใบโดยทั่วไป โดยเฉพาะใบที่อยู่ใกล้ ๆ ยอด ยิ่งแห้งแล้งมากจุดสีม่วงจะยิ่งเด่นชัดขึ้น ช่อดอกยาวประมาณ 15 เซนติเมตร เป็นช่อตั้งรูปทรงกระบอก มีดอกประดับแน่นช่อ ประมาณช่อละ 30 ดอก ก้านช่อค่อนข้างสั้น
Highslide JS

ภาพตัวอย่างเข็มแสด

ช่อดอกของเข็มแสด
ลักษณะของลำต้นและการแทงช่อของเข็มแสดที่อาศัยบนต้นไม้
ฟอร์มของดอกเข็มแสดในธรรมชาติ
ฟอร์มดอกเข็มแสดทั่วไป
เข็มแสดต้น AM ที่สวนชิเนนทร

เข็มแสด (Ascocentrum miniatum) เข็มแสดเป็น กล้วยไม้สกุลเข็ม ที่พบว่ามีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติไปทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ทางภาคเหนือพบที่จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่จังหวัดนครราชสีมา เลย อุดรธานี ชัยภูมิ มุกดาหาร ต่ำลงไปทางภาคกลางพบที่จังหวัดจันทบุรี ทางภาคใต้พบที่จังหวัดพังงา และสตูล ในลักษณะภูมิประเทศทั้งที่ราบและที่เป็นภูเขา เนื่องจากกล้วยไม้ชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติกว่างขวาง จึงสามารถปลูกเลี้ยงให้เจริญงอกงามและออกดอกได้สม่ำเสมอตามฤดูกาลในทุกภาคของไทย ลำต้นของเข็มแสดสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ต้นที่เจริญเติบโตมาก ๆ อาจสูงถึง 30 เซนติเมตร และมีหน่อที่โคนต้นหลายหน่อ ใบยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.0-1.5 เซนติเมตร โค้งเล็กน้อย ใบซ้อนชิดกันใบมีสีเขียวแก่ มีลักษณะหนา อวบน้ำ ปลายใบหยักเป็นฟันแหลม ๆ เล็กน้อยอาจจะมีจุดสีม่วงคล้ำบนแผนใบและขอบใบเมื่อกระทบสภาพแห้งแล้งเช่นเดียวกับเข็มแดงและเข็มม่วง ช่อดอกเป็นแบบช่อตั้ง ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ประมาณช่อละกว่า 50 ดอก ก้านช่อยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกโตประมาณ 1.5 เซนติเมตร ก้านดอกยาวเรียวมีความยาวประมาณ 1.0 เซนติเมตร กลีบนอกและกลีบในของดอกมีขนาดประมาณ 3 x 6 มิลลิเมตร ปากกระเป๋าและเดือยยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร กลีบดอกค่อนข้างหนา ผิวเนื้อกลีบ (Texture) เป็นมันมีสีส้มสดใส หรือสีเหลืองส้มสะดุดตามาก ฤดูออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ดอกบานทนไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์
เข็มชมพู (Ascocentrum semiteretifolium)เข็มชมพู เป็น กล้วยไม้สกุลเข็ม ชนิดเดียมที่มีใบเป็นแบบใบกลม แต่มีร่องลึกทางด้านบนของใบ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย พบที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ในระดับความสูง 1,800-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใบกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกสีม่วงอ่อน
     เนื่องจากกล้วยไม้ชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะของต้นและสีของดอกไม่เป็นที่สนใจของบรรดานักกล้วยไม้ทั่วๆ ไป ประกอบกับเป็นกล้วยไม้ที่ค่อนข้างจะหายาก ทำให้ไม่มีผู้นิยมปลูกเลี้ยงกันมากนัก

กล้วยไม้สกุลเข็ม ชนิดสุดท้ายนี้ นับได้ว่าเป็นกล้วยไม้หายากมากชนิดหนึ่งของไทย ในอดีตผมเองได้พบกับ กล้วยไม้สกุลเข็ม ชนิดนี้เพียงครั้งเดียวขณะเดินทางอยู่บริเวณทุ่งหญ้าซาวานาที่กิ่วแม่ปานบนยอดดอยอินทนนท์ ขนาดลำต้นนั้นเล็กเกาะบนยอดไม้สูงโปร่ง ต้นตั้งตรงรับแสงแดด 100% เต็ม หากนำเข็มชนิดนี้มาปลูกเลี้ยงในพื้นราบ จะพบว่า กล้วยไม้จะค่อย ๆ ตาย เนื่องจากนิสัยชอบแสงแดดที่จัดแต่ไม่ชอบอากาศร้อน การนำเข็มชนิดนี้มาปลูกบนพื้นราบที่อากาศร้อนและต้องได้รับแสงแดดเต็มที่นั้นเป็นไปไม่ได้ จึงไม่ขอแนะนำให้หามาเลี้ยงครับ

กล้วยไม้ลูกผสมของสกุลเข็ม กล้วยไม้สกุลเข็ม นอกจากดอกจะมีสีสันสดใสสะดุดตามากกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นในประเภทแวนดาด้วยกันแล้ว ยังมีช่อดอกแข็มชูตั้งขึ้นเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกประดับแน่นช่ออย่างเป็นระเบียบ ตามปกติในต้นเดียวกันจะให้ดอกพร้อมกันหลาย ๆ ช่อ เป็นกล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงได้ง่าย นักผสมพันธุ์กล้วยไม้จึงจัดการผสม กล้วยไม้สกุลเข็ม ข้ามสกุลกับกล้วยไม้ในประเภทแวนดา เช่น กล้วยไม้สกุลแวนดา สกุลช้าง สกุลรีแนนเธอราผลปรากฏว่าได้ลูกผสมที่มีสันสวยงามผิดเพี้ยนแตกต่างกันไป ออกดอกยิ่งขึ้น ดอกบานทนยิ่งขึ้น มีดอกตลอดทั้งปีไม่เป็นฤดูกาล และปลูกเลี้ยงง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแอสโคเซ็นดา ซึ่งมีสายเลือดของสกุลเข็ม
กล้วยไม้สกุลเข็ม ผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลแวนดา เกิดเป็นกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแอสโคเซ็นดา (Ascocenda)
กล้วยไม้สกุลเข็ม ผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลช้าง เกิดเป็นกล้วยไม้ลูกผสมสกุลรินโคเซ็นตรัม (Rhynchocentrum)
กล้วยไม้สกุลเข็ม ผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลรีแนนเธอรา เกิดเป็นกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแอริโดเซ็นตรัม (Anridocentrum) เป็นต้น
กล้วยไม้สกุลแอสโคเซ็นดาที่ปลูกเลี้ยงกันแพร่หลายมากก็เป็นลูกผสมระหว่างเข็มแดงกับกล้วยไม้สกุลแวนดาประเภทใบแบนเป็นส่วนใหญ่ เช่น กล้วยไม้แอสโคเซ็นดา มีดา อาร์โนลด์ (Ascocenda Meda Arnold) ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างกล้วยไม้แวนดา รอธไชล์เดียนา (Vanda Rothschildiana) กับเข็มแดง แต่ละต้นให้ดอกที่มีสีสันแตกต่างกัน ตั้งแต่สีแดงไปจนถึงสีน้ำเงินและกล้วยไม้ลูกผสมเหล่านี้ได้มีการผสมกลับไปกลับมาอีกหลายระดับ ระหว่างกล้วยไม้สกุลแอสโคเซ็นดากับเข็มแดง หรือระหว่างกล้วยไม้สกุลแอสโคเซ็นดากับกล้วยไม้สกุลแวนดาต้นเดิม หรือต้นอื่น ทั้งนี้เพื่อให้สีของดอกสดใสยิ่งขึ้นหรือดอกมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่อดอกยาวขึ้น หรือมีลักษณะแปลก ๆ ใหม่ ๆ อย่างอื่นมากขึ้นอีก

ยังมีกล้วยไม้อีกหนึ่งชนิดที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “เข็มขาว” จริง ๆ แล้วเข็มขาวเป็นกล้วยไม้กลุ่มสกุล แวนดา ครับ ไม่ใช่ เข็ม Ascocentrum

บทความดีๆจาก www.orchidtropical.com

ไม้นิ้ว เอื้องจำปาน่าน Dendrobium sulcatum

 

ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยไม้พันธุ์แท้ 

      เอื้องจำปาน่าน เป็น กล้วยไม้ ไทยสกุลหวายพันธุ์แท้ใน กลุ่มเอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องมัจณานุ และเอื้องมอนไข่ กล้วยไม้ในกลุ่มนี้มีลักษณะเด่นที่ช่อดอกห้อยย้อย ลงมาเป็นพวงมี ดอกดกและมีกลิ่นหอม เอื้องจำปาน่านเป็นชนิดเดียวในกลุ่มนี้ที่มีลำลูกกล้วย หรือลำต้นต้นมีความสูงปานกลาง มีลักษณะแบน เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากกล้วยไม้ หวายไทยในกลุ่มนี้ ชนิดอื่นๆ จำปาน่านมีช่วงฤดูดอกในช่วงเดือนกุมภา-เมษายน ลักษณะช่อดอกมีขนาดประมาณ๓ซม.ช่อดอกแน่น ก้านดอกสั้น ดอกสีเหลืองเรียงชิดกันเป็นกระจุก ที่กลีบปากด้านในมีเส้นแต้มขีดสีน้ำตาลแดงเข้ม หากในต้นที่สมบูรณ์มากๆ สามารถให้ดอกได้๑o-๒o ดอกในช่อ กล้วยไม้ ชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์ ในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาวและจีน และเวียดนาม
      การปลูกเลี้ยงเช่นเดียวกับเอื้องมอนไข่ เหมาะสำรับปลูกในภาชนะแขวน ชอบที่ร่มรำไรไม่ควรปลูกในที่แสงจัด เพราะอาจทำให้ใบเหลืองหรือใบไหม้ได้เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่ใบบาง วัสดุปลูกที่เหมาะสม ควรเก็บความชื้นได้ดีพอควรแต่ไม่แฉะัหรืออุ้มน้ำมากจนเกินไป เพราะเอื้องจำปาน่าน มีรากขนาดเล็ก หากเครื่องปลูกแฉะมากอาจทำให้รากและโคนเน่าได้ ในช่วงฤดูหนาว ควรปรับระยะการรดน้ำให้พอเหมาะเว้นช่วงให้ กล้วยไม้ ได้พักตัว เพราะในธรรมชาติเป็น กล้วยไม้ ชนิดที่มีวงรอบการเจริญเติบโตในหน้าฝน และมีช่วงระยะเวลาที่ต้น กล้วยไม้ชลอการเจริญเติบโต อย่างชัดเจนในฤดูที่อากาศแห้ง และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดต่ำลง การรดน้ำวันละครั้งในช่วงปรกติ และอาจเว้นวัน ในช่วงฤดูหนาว การให้ปุ๋ยสามารถใช้ได้ทั้งปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำ ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง หรือปุ๋ยเม็ดละลายช้า

กล้วยไม้นิ้ว เอื้องจำปาน่าน Dendrobium sulcatum

 

 
ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยไม้พันธุ์แท้ 

      เอื้องจำปาน่าน เป็น กล้วยไม้ ไทยสกุลหวายพันธุ์แท้ใน กลุ่มเอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องมัจณานุ และเอื้องมอนไข่ กล้วยไม้ในกลุ่มนี้มีลักษณะเด่นที่ช่อดอกห้อยย้อย ลงมาเป็นพวงมี ดอกดกและมีกลิ่นหอม เอื้องจำปาน่านเป็นชนิดเดียวในกลุ่มนี้ที่มีลำลูกกล้วย หรือลำต้นต้นมีความสูงปานกลาง มีลักษณะแบน เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากกล้วยไม้ หวายไทยในกลุ่มนี้ ชนิดอื่นๆ จำปาน่านมีช่วงฤดูดอกในช่วงเดือนกุมภา-เมษายน ลักษณะช่อดอกมีขนาดประมาณ๓ซม.ช่อดอกแน่น ก้านดอกสั้น ดอกสีเหลืองเรียงชิดกันเป็นกระจุก ที่กลีบปากด้านในมีเส้นแต้มขีดสีน้ำตาลแดงเข้ม หากในต้นที่สมบูรณ์มากๆ สามารถให้ดอกได้๑o-๒o ดอกในช่อ กล้วยไม้ ชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์ ในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาวและจีน และเวียดนาม
      การปลูกเลี้ยงเช่นเดียวกับเอื้องมอนไข่ เหมาะสำรับปลูกในภาชนะแขวน ชอบที่ร่มรำไรไม่ควรปลูกในที่แสงจัด เพราะอาจทำให้ใบเหลืองหรือใบไหม้ได้เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่ใบบาง วัสดุปลูกที่เหมาะสม ควรเก็บความชื้นได้ดีพอควรแต่ไม่แฉะัหรืออุ้มน้ำมากจนเกินไป เพราะเอื้องจำปาน่าน มีรากขนาดเล็ก หากเครื่องปลูกแฉะมากอาจทำให้รากและโคนเน่าได้ ในช่วงฤดูหนาว ควรปรับระยะการรดน้ำให้พอเหมาะเว้นช่วงให้ กล้วยไม้ ได้พักตัว เพราะในธรรมชาติเป็น กล้วยไม้ ชนิดที่มีวงรอบการเจริญเติบโตในหน้าฝน และมีช่วงระยะเวลาที่ต้น กล้วยไม้ชลอการเจริญเติบโต อย่างชัดเจนในฤดูที่อากาศแห้ง และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดต่ำลง การรดน้ำวันละครั้งในช่วงปรกติ และอาจเว้นวัน ในช่วงฤดูหนาว การให้ปุ๋ยสามารถใช้ได้ทั้งปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำ ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง หรือปุ๋ยเม็ดละลายช้า

กล้วยไม้นิ้ว เอื้องนางลม (Dendrobium peguanum)

 

 
ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยไม้พันธุ์แท้ 

      กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นกล้วยไม้สกุลหวายไทยขนาดเล็กแคระ เป็นกล้วยไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันตกของไทย ชื่อวิทยศาสตร์ ของเอื้องนางลม นี้ตั้งตาม ชื่อเมืองเปกู (Pegu) ในประเทศพม่า สันนิฐานว่าน่าจะตั้งชื่อตาม สถานที่ค้นพบครั้งแรก
      ลักษณะเป็นกล้วยไม้อิงอาัศัย พบอยู่บนคาคบไม้ ในป่าดิบแล้ง ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลื่ยนแปลงของฤดูกาลชัดเจน กล้วยไม้ชนิดนี้ ลักษณะลำลูกกล้วยอ้วนป้อมสูงเพียง๑-๒ นิ้ว เมื่อโตเต็มที่ ก้านดอกออกที่ข้อบนส่วนปลาย ก้านดอกสั้นดอกแน่นเป็นกระจุกสีขาวกลีบปากสีน้ำตาลแดง ดอกมีกลิ่นหอม เอื้องนางลม จะเจริญเติบโตแทงหน่อใหม่และสร้างลำต้นเก็บสะสมอาหารในช่วงร้อน-ฤดูฝน และเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวมักจะทิ้งใบพักตัวและออกดอกตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ ปัจจุบัน กล้วยไม้ชนิดนี้อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม จนใกล้สูญพันธุ์ จากแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ
      การปลูกเลี้ยง มักนิยมปลูกใส่กระถางขนาดเล็ก หรือปลูกติดไม้แขวน ชอบแสงค่อนข้างมาก อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรใช้วัสดุปลูกที่อุ้มน้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้รากและโคนเน่าง่าย ควรลดความถี่ในการให้น้ำลงเมื่อถึงช่วงพักตัว เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่ในธรรมชาติเจริญเติบโตและกระจายพันธุ์ในป่าแล้ง กล้วยไม้ชนิดนี้ จึงเป็นชนิดที่ทนต่อสภาพ อากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดี อีกชนิดหนึ่ง สามมารถปลูกเลี้ยงได้ง่ายทุกภูมิภาคของไทย

กล้วยไม้ขวด กุหลาบแม่เมยxกุหลาบมาลัยแดง (Aer.rosea X Aer. multiflora)

 

 
ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยไม้พันธุ์แท้ 

      กล้วยไม้ขวดชุดนี้เป็นลูกผสม ชั้นต้นกล้วยไม้ไทยในสกุลเอื้องกุหลาบ ระหว่างเอื้องกุหลาบแม่เมย(กุหลาบน่าน) กับเอื้องกุหลาบมาลัยแดง ทั้งคู่เป็นกล้วยไม้ทีมีกลิ่นหอมดอกขนาดเล็กก้านดอกยาว มีจำนวนดอกในช่อมาก ดอกเป็นช่อห้อยสีพื้นดอกเป็นสีชมพู ต้นพ่อพันธุ์กุหลาบมาลัยแดง มีลักษณะกลีบดอกที่หนา บานทนมากว่าหนึ่งสัปดาห์ขึ้นไป กล้วยไม้ ลูกผสมชุดนี้ น่าจะเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกดกเรียงเป็นระเบียบ มีดอกสีโทนชมพูและมีกลิ่นหอมไม่ต่างจากต้นพ่อแม่พันธุ์มากนัก กล้วยไม้ไทยลูกผสมชุดนี้ เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงปลูกเลี้ยงง่าย ทนสภาพอากาศร้อนได้ดี ชอบแสงร่มรำไร ความชื้นปานกลาง อากาศถ่ายเทสะดวก การดูแลเช่นเดียวกับสกุลช้างหรือแวนด้า

กล้วยไม้นิ้ว เอื้องสายหลวงฟิลิปปินส์เผือก(โอโน่เผือก) x เอื้องสายน้ำนม(Den.anosnum alba xDen.cretaceum)

 

 
ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยไม้สกุลหวายลูกผสม 
      กล้วยไม้นิ้ว ชุดนี้เป็น กล้วยไ้ม้ไทยลูกผสมในสกุลหวาย ระหว่าง เอื้องสายหลวงฟิลิปินส์เผือก (โอโน่เผือก) กัับ เอื้องสายน้ำนม(Den.anosmum var.alba x Den.cretaceum) ข้อดีของทั้งคู่คือมีดอกดอกและมีกลิ่นหอม โดยสายหลวงฟิลิปินส์ นอกจากจะเป็นกล้วยไม้ที่มีกลิ่นหอมแล้วดอกยังมีความสวยงาม และะบานทน เป็นสัปดาห์ กล้วยไม้ต้นพ่อแม่พันธุ์ทั้งคู่เป็น กล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย และโตไวมากๆครับเพราะ เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ลูกไม้ที่ได้น่าจะให้ดอกสีขาว ที่กลีบปากขนาดใหญ่ อาจมีลายหรือแต้มสีเหลืองในกลีบปาก
      การปลูกเลี้ยงใช้หลักการปฏิบัติ แบบ กล้วยไม้สกุลหวายทั่วไป นิยม ปลูกใส่ภาชนะแขวน หรือปลูกติดไม้ ควรใช้วัสดุปลูกที่เก็บความชื้นพอควรและระบายน้ำได้ดี เช่นกาบมะพร้าวสับ หรือแผ่นรากเฟินชายผ้าสีดา กล้วยไม้หวายไทยลูกผสม ชนิดนี้ ปลูกได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับลม แสงรำไรปานกลาง ไปจนถึงสภาพแสงค่อนข้างมาก ลักษณะนิสัยของกล้วยไม้หวายไทย มักจะทิ้งใบและพักตัว หรือชลอ อัตราการเจริญเติบโต ในช่วง ก่อนออกดอก ดังนั้น ในฤดูหนาว ในช่วงเดือน พฤศจิกายน- ปลายเดือนกุมภาพันธ์ แนะนำให้ลดปริมาณการให้น้ำ จากทุกวันตอนเช้าตรู่ หรือตอนค่ำ มาเป็นรดวันเว้นวันก็ได้ครับ

กล้วยไม้นิ้ว ช้างสารภี Acampe rigida

 

ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยไม้พันธุ์แท้

     ช้างสารภี เป็นกล้วยไม้ ขนาดใหญ่ ใบหนา ถึงแม้จะมีชื่อ เหมือนกล้วยไม้สกุลช้าง แต่ กล้วยไม้ชนิดนี้ อยู่ในสกุล อแคมเป (Acampe) ชื่อสกุลตั้งขึ้นจากรากศัพท์ภาษากรีกโบราณ สื่อความหมายถึงลักษณะใบที่หนาแข็ง ของกล้วยไม้ในสกุลนี้ ถิ่นฐานการกระจายพันธุ์ อยู่ในแถบแอฟริกาเขตร้อน แอฟริกาใต้ เกาะมาดากัสก้า และ เอเซีย ในประเทศไทยมีอยู่4-5สายพันธุ์ โดย ช้างสารภีเป็น กล้วยไม้ชนิดที่ต้นและดอกใหญ่ทีสุดในสกุลนี้
      ช้างสารภีเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ในป่าระดับต่ำและป่าดิบเขา เป็นกล้วยไม้ที่มีดอกขนาดเล็กเมื่ิเทียบกับขนาดต้น แต่ดอกดก เรียงเป็นชั้น อยู่บนก้านดอกที่ยาวออกมาจากด้านข้างลำต้น ในต้นที่สมบูรณ์ อาจมีช่อดอกได้มากว่าสามช่อขึ้นไป กลีบดอกหนามาก พื้นดอกสีเหลือง มีลายบั้งสีน้ำตาลแดง รูปทรงดอกคล้ายกลีบลำดวน ดอกมีกลิ่นหอมแรง เป็นกล้วยไม้ที่ดอกบานทนนานอีกชนิดหนึ่ง ฤดูดอกบานในช่วงเดือน ตุลาคม-มกราคม
     การปลูกเลี้ยงดูแลรักษาง่าย เพราะเป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโต ได้ในที่ที่อากาศร้อน สามารถปลูกเลี้ยงได้ทุกภูมิภาคของไทย การดูแลเช่นเดียวกับกล้วยไม้ ในสกุลแวนด้า หรือสกุลเข็ม ชอบสภาพแสงและความชื้นปานกลาง นิยมปลูกในภาชนะแขวน วัสดุปลูกสามารถใช้ถ่าน กาบมะพร้าว หรือวัสดุที่ปลูกที่โปร่งระบาย น้ำและอากาศได้ดี การให้น้ำ วันละครั้ง ตอนเช้า หรือช่วงค่ำ สถานที่ปลูก ควรมีแสงรำไร อากาศถ่ายเทสะดวก ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ อาจใช้สลับกับปุ๋ยสูตรตัวกลางตัวท้ายสูง ตามอัตราส่วนอาทิตย์ละครั้ง สารเคมีป้องกันเชื้อรา ฉีดพ่นสลับกันเป็นระยะเดือนละ๑-๒ ครั้ง การดูแลที่เหมาะสม จะทำให้กล้วยไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และออกดอกสวยงามครับ

• WORDPRESS BEST ON CHROME

ช่วงโฆษณา by โครมครับ lol

แรง ไว เร็ว ไม่กินสเปค โครมเท่านั้น โหลดเลยอย่ารอช้า

www.google.co.th/chrome

                           เนื่องจากบล็อคนี้เป็นบล็อคเพื่อการศึกษาตามหลักสูตรที่คุณอาจารย์สั่งให้ทำ ทั้งนี้ บล็อคนี้จะอธิบายถึงกล้วยไม้สกุลต่างๆที่เจ้าของบล็อคชื่นชอบเป็นที่สุด

                        เริ่มกันดีกว่ากับดอกกล้วยไม้ที่เจ้าของบล็อคชื่นชอบที่สุด กับกล้วยไม้ตระกูลเดนโดรเบี่ยม (Dendrobium)

GP-03 DENDROBIUM ORCHID !!! ….

เดนโดรเบี่บมออร์ขิดหรือกล้วยไม้สกุลหวาย ที่คอกันดั้มต้องรู้จักชื่อกันอยู่แล้วนั่นเอง

แต่เข้าสาระกันก่อนดีกว่า…..

File:Dendrobium-parishii.jpg

 

กล้วยไม้สกุลหวาย Dendrobium

กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์

กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบซิมโพเดียล คือ มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่และเป็นกอ ใบแข็งหนาสีเขียว ดอกมีลักษณะทั่วไปของกลีบชั้นนอกคู่บนและคู่ล่างขนาดยาวพอๆ กันโดยกลีบชั้นนอกบนจะอยู่อย่างอิสระเดี่ยวๆ ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะมีส่วนโคน ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไปทางด้านหลังของส่วนล่างของดอกประสานเชื่อมติดกับฐานหรือสันหลังของเส้าเกสร และส่วนโคนของกลีบชั้นนอกคู่ล่างและส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันจะปูดออกมา มีลักษณะคล้ายเดือยที่เรียกว่า “เดือยดอก” สำหรับกลีบชั้นในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่างๆ กันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้นั้นๆ

กล้วยไม้หวายป่าของไทยมีสีสวยงาม ก้านช่อสั้น สำหรับกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็นกล้วยไม้อยู่ในป่าของไทย มีหลายชนิดอันได้แก่พวก “เอื้อง” ต่างๆ เช่น

 

เหลืองจันทบูร  เหลืองจันทบูร Den. friedericksianum

เอื้องเงินแดง  เอื้องเงินแดง Den. cariniferum

เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย  เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย Den. anosmum

เครดิต : wikipedia, panmai

และอีกมากมาย ซึ่งเจ้าของบล็อคจะอธิบายในภายภาคหน้า….