นางพญาเสือโคร่ง หรือ ซากูระเมืองไทย กับ ความงามบนเทือกเขาสูง

ชื่อภาษาอังกฤษ

Wild Himalayan Cherry

ชื่อวิทยาศาสตร์

prunus cerasoides

ความหมาย

เป็นพืชพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีความสูงเพียง 10-15 เมตร กิ่งก้านแตกออกเป็นแขนงจำนวนมาก ใบเดียว ด้วยกิ่งที่แตกออกเป็นจำนวนมาก ทำให้แม่ว่าต้นไม้ชนิดนี้จะมีขนาดที่ไม่ใหญ่นัก แต่ก็สามารถให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี ดอกสวยงาม

ความเชื่อ

นางพญาเสือโคร่ง ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Wild Himalayan Cherry ชื่อทางวิทยาศาสตร์ prunus cerasoides เป็นพืชที่อยู่ในสุกล  Prunus วงศ์ Rosaceae หรือ ดอกกุหลาบ คนในท่องถิ่นมักมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป เช่น ชาวเหนือเรียกว่า ฉวีวรรณ ชมพุภูพิงค์ ชาวกระเหรี่ยงเรียกว่า ซากูระดอย จนกลายเป็นที่มาของฉายา ซากูระเมืองไทย 

นางพญาเสือโคร่ง เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้เฉพาะพื้นที่สูงที่เป็นเทือกเขาเหนือระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 1,200-1,400 เมตร พื้นที่ทางภาคเหนือของไทย จึงนับว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างมากที่พืชชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง ในประเทศเพื่อนหรือพื้นที่ที่มีความสูงในระดับเดียวกันก็สามารถพบต้นนางพญาเสือโคร่งได้เช่นกัน อาทิเช่น รัฐชานและรัฐกะชีน ในพม่า รวมถึงบนเทือกเขาหิมาลัยในเขตประเทศอนเดียตลอดแนวในเขตรัฐอรุณาจัลประเทศไปจนถึงรัฐหิมาจัลประเทศ ซึ่งทั้งสองรัฐนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย 

ดอกนางพญาเสือโคร่ง ภาษาอังกฤษ
https://siamrath.co.th

ลักษณะของต้นนางพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่ง เป็นพืชพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีความสูงเพียง 10-15 เมตร กิ่งก้านแตกออกเป็นแขนงจำนวนมาก ใบเดียว ด้วยกิ่งที่แตกออกเป็นจำนวนมาก ทำให้แม่ว่าต้นไม้ชนิดนี้จะมีขนาดที่ไม่ใหญ่นัก แต่ก็สามารถให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี ดอกสวยงาม เหตุที่ได้ชื่อว่าเป็นซากูระเมืองไทย นั่นก็เพราะว่ามีดอกที่เป็นสีชมพูสวยเหมือนกับดอกซากูระ แต่นอกจากนางพญาเสือโคร่งจะมีสีพูแล้วยังมีดอกสีอื่น ๆ อีกด้วย เช่น สีขาว สีแดง เป็นต้น โดยดอกมักจะออกมาเผยให้เห็นคามสวยงามในช่วงเดือน มกราคม-กุมพาพันธ์ ทำให้ในแต่ละปีจะมรจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมเดินทางขึ้นเหนือในช่วงนี้เป็นจำนวนมาก เพื่อเยี่ยมชมความงามของพืชชนิดนี้

ผลของนางพญาเสือโคร่ง เป็นทรงกลมหรือทรงไข่ ขนาดประมาณ 1 ซม. ผลที่สุกจะมีสีแดงคล้ายเชอร์รี่ มีรสเปรียว มักไม่ได้รับความนิยมมากนักเนื่องจากอาทำให้เกิดอาการท้องเสีย

ประวัติต้นนางพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่งกับการท่องเที่ยวของภาคเหนือ

ภาคเหนือของไทย เป็นพื้นที่สูง มีอากาศเย็นและน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี ทำให้เป็นพื้นที่ที่ได้รับความนิยมจากเหล่านักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก อีกทั้ง การท่องเที่ยวเชิงเกษตรก็ได้รับความนิยมมากขึ้นด้วยเช่นกัน

อีกหนึ่งไฮไลหลักของช่วงเดือน มกราคา-กุมพาพันธ์ ที่เหล่านักท่องเที่ยวต้องเดินทางมาเยี่ยมชมก็คือ นางพญาเสือโคร่ง ที่มีเริ่มผ่านพ้นปีใหม่ ช่วงส่งท้ายฤดูหนาว ดอกของนางพญาเสือโคร่งจะเบ่งบานจนได้ที่ ทำให้เห็นถึงความสวยงามของพืชชนิดนี้ เมื่ออยู่รวมกันเป็นป่าใหญ่ทำให้ภูเขาทั้งลูกกลายเป็นสีชมพูไปจนสุดสายตา 

ต้นนางพญาเสือโคร่ง ราคา

การปลูก ขยายพันธุ์ นางพญาเสือโคร่ง

แน่นอนว่าพืชที่มีความงานขายนี้ย่อมต้องเป็นที่สนใจของคนรักต้อนไม้ ที่ต้องการจะมีไว้ในครอบครอง แต่ทว่า ไม่ได้หมายความว่านางพญาเสือโคร่งจะสามารถเติบโตได้ทุกที่เหมือนกับพืชพันธุ์อื่น ๆ เพราะเคยมีหลายคนที่นำไปทดลองปลูกนอกพื้นที่แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจาก นางพญาเสือโคร่งเป็นพืชที่ต้องการอากาศเย็น และอยู่ใกล้แล่งต้นน้ำ อีกทั้งไม่เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ที่มีลมแรง เนื่องจากกิ่งก้านที่เปราะจะแตกหักได้ง่าย เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโต เพราะฉะนั้น นางพญาเสือโคร่งจึงเป็นพืชที่เหมาะสมกับทางภาคเหนือของไทยเท่านั้น และนอกจากที่พืชจะขยายพันธุ์ได้ด้วยตนเองแล้ว ชาวบ้านก็ได้มีกรช่วยปลูกเพื่อขยายพันธุ์ด้วยเช่นกัน ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  1. เม็ด เราสามารถเก็บเมล็ดของพืชมาขยายพันธุ์ได้ด้วยการคัดเมล็ดที่สมบูรณ์ แล้วนำลงดินปลูกที่เตรียมไว้ หมั่นลดน้ำ จนกว่าพืชจะงอก การใช้เมล็ดเป็นวิธีหลักที่มักนิยมทำกัน เนื่องจากได้ผลดีที่สุด
  2. ตอนกิ่ง วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากกิ่งของพืชที่เปราะเกินไปทำให้มีโอกาสที่จะได้นั้นค่อนข้างน้อย อีกทั้งพืชชนิดนี้มีความสูงถึง 10-15 เมตร จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำเช่นนั้น
ต้นนางพญาเสือโคร่ง กีี่ปีออกดอก

การเพาะปลูก

นำเมล็ดสุกที่ได้จากต้นมากตากแดด เพื่อให้ผลแห้ง หรือนำผลแห้งที่ล่วงตามพื้นก็ได้มาแช่น้ำไว้หนึ่งคืน หลังจากนั้นให้นำไปหย่อยในถาดเพาะปลูก หรือจะหว่านในดินก็ได้ และให้ลดน้ำ 3 วันต่อ 1 ครั้ง ไม่ควรให้ดินอุ้มน้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้เมล็ดเน่าเสีย หรือรากเน่า และเมล็ดพันธุ์จะเจริญเติบโตได้ช้า เมื่อต้นพันธุ์งอกให้ต้นพันธุ์ถูกแดดได้เพียง 50% เท่านั้น จนกว่าพืชจะแข็งแรง และพร้อมนำลงดินได้ทันที 

การดูแล

ทำแค่เพียบหมั่นลดน้ำและใส่ปุ๋ยนาน ๆ ครั้งก็เพียงพอ เนื่องจากพื้นดินทางภาคเหนือมีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่ได้ต้องเรื่องสารอาหารในดินที่ไม่พอเพียงแต่อย่างใด แต่หากเป็นพื้นที่อื่นก็ต้องหมั่นใส่ปุ๋ยลดน้ำสักเล็กน้อย

สรรพคุณ ของนางพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่งสรรพคุณทางการรักษาที่ชาวเผ่ามักนำมาใช้เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยดังต่อไปนี้

  1. รักษาอาการไอ คัดจมูก ลดน้ำมูก ด้วยการนำมาเปลือกมาเคียวสด หรือขยี้แล้วนำมาดม
  2. รักษาไข้หนาวสั่น โดยนำมาต้นกับน้ำสะอาดแล้วดื่ม
  3. แก้ท้องเสีย การการต้มคั้นน้ำ
  4. แก้อาการปวดเมื่อย ฟกช้ำ ข้อต่อต่าง ๆ ด้วยการน้ำเปลือกมาคั้นน้ำแล้วพอกบริเวณนั้น ๆ 

ทั้งนี้ ในใบก็สามารถนำมาใช้ทำยาได้ด้วยเช่นกัน แต่ทว่า ทั้งใบและเปลือกจะมีสรรพคุณในการรักษาเช่นเดียวกัน แต่ด้วยต้นที่สูงและความเข้มข้นของเปลือกที่มากกว่า จึงทำให้ชาวเขานิยมนำเปลือกมาใช้มากกว่า นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการพัฒนาทางเทคโนโลยีวงการแพทย์ได้เดินหน้าไปไกลมากแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องใช้การรักษาแบบในอดีต เนื่องจาก การจะใช้สมุนไพรจากนางพญาเสือโคร่ง มีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่เช่นนั้น อาจจะก่อให้เกิดโทษมากกว่าผลดีก็เป็นได้.

นางพญาเสือโคร่ง สรรพคุณ

ที่มา

https://rositacorrer.com

https://blog.arda.or.th

อยากให้มีเนื้อหาเรื่องอะไรเพิ่มเติม หรือมีความคิดเห็นอย่างไร เชิญคอมเม้นท์ไว้ได้เลยครับ