ข้างเคียง
5

สายพันธุ์กล้วยไม้

ายพันธุ์กล้วยไม้ต่างๆ เราได้พยายามรวบรวมรูป ลักษณะสายพันธุ์ วิธีการปลูกเลี้ยง เพื่อให้ทุกท่านได้ใช้เป็นความรู้เพื่อการต่อยอดในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้สวยงาม การผสมพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ที่ดีขึ้น ไม่ว่าท่านจะปลูกเลี้ยงเพื่องานอดิเรกหรือเป็นสวนกล้วยไม้ปลูกเพื่อจำหน่าย

DSC05949

กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีทั้งที่ชอบความชุ่มชื้นและที่ทนแล้ง ให้ดอกที่มีสีสันสวยงามแปลกตา มีขนาด รูปร่างและลักษณะหลากหลายเป็นอันมาก เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการและการปรับตัวอย่างสูงในหลายรูปแบบ เช่น สามารถเก็บน้ำและอาหารไว้ในส่วนต่างๆ ของลำต้นเพื่อใช้ในภาวะวิกฤติ สามารถพัฒนาอวัยวะที่เกี่ยวกับการ ผสมเกสรให้เหมาะสมกับพาหะต่างๆ อีกทั้งยังสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทำให้ สามารถกระจายพันธุ์ได้ในทุกภูมิภาคของโลกดำรงชีวิตอยู่รอดและเจริญเผ่าพันธุ์ได้แม้ในสภาพธรรมชาติ วิกฤติที่ไม่เอื้ออำนวยต่อพืชชนิดอื่น ลักษณะภายนอกของกล้วยไม้ เป็นสิ่งที่สำคัญ เพียงพอสำหรับการจำแนกกล้วยไม้ออกจากพืชวงศ์อื่น เนื่องจากมีหลายๆ ลักษณะที่โดดเด่นและแตกต่าง จากพืชชนิดอื่นๆ อย่างชัดเจน อาทิ รูปทรงของลำต้น ใบ ดอก ทั้งส่วนประกอบ ขนาด รูปร่าง สี และกลิ่น รูปร่าง ของฝัก เมล็ดที่มีขนาดเล็กเป็นฝุ่น ตลอดจนระบบราก หรือแม้แต่ถิ่นอาศัย ฯลฯ ที่ล้วนแต่แตกต่างกันไปนั้น สามารถใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกกล้วยไม้ ออกจากพืชวงศ์อื่นได้อย่างชัดเจน

การแบ่งกลุ่มกล้วยไม้ตามลักษณะที่ขึ้นอยู่ในสภาพธรรมชาติ

กล้วยไม้ไทยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มตาม สถานที่ขึ้นอยู่อย่างง่ายๆ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มกล้วยไม้อิงอาศัย (epiphytic orchids) ซึ่งมี จำนวนประมาณ 65% ของกล้วยไม้ทั้งหมด ได้แก่ กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium spp.) สกุลหวายแดง (Renanthera spp.) สกุลฟ้ามุ่ย (Vanda spp.) ฯลฯ และกลุ่มกล้วยไม้ดิน (terrestrial orchids) ประมาณ 35% อาทิ สกุลปัดแดง (Habenaria spp.) สกุลเอื้องสีลา (Tainia spp.) สกุลนกคุ้มไฟ (Anoectochilus spp.) สกุลเอื้องดินใบหมาก (Spathoglottis spp.) นอกจากนี้ในกลุ่มของกล้วยไม้ดินยังสามารถจำแนกย่อยเฉพาะออกไปได้อีกเป็น กล้วยไม้กินซาก (saprophytic orchids) เช่น สกุลเถาวัลย์พันดง (Galeola spp.) สกุลกล้วยปลวก (Aphyllorchis spp.) นอกจากนี้และยังพบกล้วยไม้ที่ขึ้น บนหิน (lithophytic orchids) ซึ่งมีทั้งที่เป็นกล้วยไม้ดินและกล้วยไม้อิงอาศัย เช่น สกุลม้าวิ่ง (Doritis spp.) ฯลฯ การที่กล้วยไม้สามารถขึ้นอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่ แตกต่างกันนี้ เนื่องจากมีวิวัฒนาการ และการปรับตัว ได้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมนั้นๆ มาเป็นเวลานาน จึงมี ระบบราก ลำต้น ใบ ดอก ฝัก เมล็ด ตลอดจนลักษณะ การเจริญเติบโตฯลฯ ที่ผิดแผกแตกต่าง

การแบ่งกลุ่มกล้วยไม้ตามลักษณะการเจริญเติบโต
กล้วยไม้สามารถจัดแบ่งตามลักษณะการเจริญเติบโตของลำต้น ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีการเจริญทางยอด และกลุ่มที่มีการเจริญทางข้าง

  • กลุ่มที่มีการเจริญทางยอด (monopodial) ได้แก่ ชนิดที่มีลำต้นชัดเจนแล้วเจริญขยายทางปลายยอดด้านเดียว อาทิ สกุลเข็ม (Ascocentrum spp.) สกุลกุหลาบ (Aerides spp.) สกุลพญาไร้ใบ (Chiloschista spp.) สกุลตีนเต่า (Gastrochilus spp.) สกุลหวายแดง (Renanthera spp.) สกุลไอยเรศ (Rhynchostylis spp.) สกุลเสือโคร่ง (Staurochilus spp.) และสกุลพลูช้าง (Vanilla spp.) ที่มีลำต้นยืดยาวออกไปได้หลายสิบเมตร ก็เจริญเติบโตด้วยวิธีนี้
  • กลุ่มที่มีการเจริญทางข้าง (sympodial) ได้แก่ กล้วยไม้ที่มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่แล้ว ก็สามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคนกอหรือตามลำข้อ อาทิ สกุลหางแมงเงา (Appendicula spp.) สกุลสิงโต (Bulbophyllum spp.) สกุลน้ำต้น (Calanthe spp.) สกุลกะเรกะร่อน (Cymbidium spp.) สกุลหวาย ( Dendrobium spp.) และว่านเพชรหึง (Grammatophyllum speciosum) ที่มีลำต้นใหญ่คล้ายลำอ้อย ฯลฯ

    ราก
    เป็นลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของกล้วยไม้ที่แตกต่างจากพืชชนิดอื่นชัดเจน โดยรากของกล้วยไม้มีลักษณะอวบน้ำ ส่วนใหญ่ที่เป็นรากอากาศนั้นจะไม่มีรากฝอย แต่มักมีเนื้อเยื่อหุ้มด้านนอกหนาคล้ายเป็นนวม เรียกว่า เวลาเมน (velamen) ซึ่งประกอบด้วยส่วนเนื้อเยื่อของเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ จึงสามารถดูดซับน้ำและแร่ธาตุ เข้าไปยังภายในเซลล์ของรากกล้วยไม้ได้ สามารถช่วยป้องกันการระเหยของน้ำในรากและการผ่านเข้าออกของ จุลินทรีย์ ซึ่งลักษณะของรากแบบนี้จะพบได้ทั้งในกล้วยไม้อิงอาศัยและกล้วยไม้ดิน นอกจากนี้ รากของกล้วยไม้ยัง
    สามารถพัฒนาไปทำหน้าที่อื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น การยึดเกาะ การดูดซับน้ำและความชื้นในอากาศ การสะสมอาหาร การสังเคราะห์อาหารด้วยแสง และเปลี่ยนเป็นหัวใต้ดินหรือไหลช่วยในการขยายพันธุ์

root

กล้วยไม้มีระบบรากคล้ายกับพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป แต่ได้มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต สภาพ แวดล้อม และถิ่นอาศัยที่กล้วยไม้นั้นขึ้นอยู่ อาทิ กล้วยไม้ดินบางชนิดมีรากช่วยสะสมอาหาร เช่น สกุล ว่านแผ่นดินเย็น (Nervilia spp.) สกุลนางอั้ว (Habenaria spp.) และสกุลนางตาย (Peristylus spp.) ฯลฯ หรือที่มีลักษณะเป็นหัวใต้ดิน คล้ายเหง้าหรือไหล ได้แก่ว่านจูงนาง (Geodorum spp.) บางชนิดในสกุลว่านช้างผสมโขลง (Eulophia spp.) และบางชนิดมีรากแตกออกเป็นกระจุกที่โคนลำต้น เช่น สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum spp.) และสกุลเอื้องสีลา (Tainia spp.) ฯลฯ

รากของกล้วยไม้อิงอาศัยเป็นรากอากาศ ไม่มีหน้าที่ในการสะสมอาหาร ทำหน้าที่หลักสำหรับการเกาะยึด แลกเปลี่ยนก๊าซ เพื่อการหายใจและช่วยทำหน้าที่สังเคราะห์อาหารด้วยแสง เช่น สกุลสิงโต (Bulbophyllum spp.) สกุลเอื้องหมาก (Coelogyne spp.) สกุลหวาย (Dendrobium spp.) ฯลฯ หลายชนิดมีรากอากาศแข็งแรง แตกออกเดี่ยวๆ ตามข้อใกล้โคนต้น ช่วยหยั่งยึดและพยุงลำต้น เช่น สกุลเข็ม (Ascocentrum spp.) สกุลไอยเรศ (Rhynchostylis spp.) สกุลเสือโคร่ง (Staurochilus spp.) สกุลฟ้ามุ่ย (Vanda spp.) นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชนิดที่มีลำต้นและใบลดรูป มีเพียง รากที่ทำหน้าที่หลักทุกอย่าง ทั้งการยึดเกาะ สร้างอาหาร ดูดซับความชื้น และแลกเปลี่ยนก๊าซ ได้แก่ สกุลพญาไร้ใบ (Chiloschista spp.) และสกุลเอื้องตีนตืด (Taeniophyllum spp.) ฯลฯ
DSC05944
ลำต้นหรือลำลูกกล้วย
กล้วยไม้หลายชนิด ได้ปรับโครงสร้างลำต้นให้เหมาะสมสำหรับการพยุงลำต้น การเก็บสะสมน้ำและอาหารเพื่อใช้ในสภาวะวิกฤติ โดยมีลำต้นโป่งพองหรือคล้ายอวบน้ำ เรียกว่า “ลำลูกกล้วย” (pseudobulb) และอวัยวะส่วนนี้เป็นส่วนที่ต้องเผชิญหรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมนานาประการโดยตรง จึงต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสม โดยพัฒนาเนื้อเยื่อภายในเป็นใยยาวและเหนียวหรือเป็นเสี้ยน ให้มีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นเหมาะสม กับที่ต้องถูกพัดด้วยแรงลม และให้สามารถทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหารได้ ส่วนบริเวณผิวนอกจะมีไขเคลือบหนา เพื่อลดการสูญเสียน้ำ และส่วนใหญ่มีสีเขียวของคลอโรฟีลล์ ทำให้สามารถสังเคราะห์ อาหาร ด้วยแสงได้อีกด้วย ลำต้นกล้วยไม้มีความผิดแผกกันไปทั้งขนาดและรูปร่าง ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดพันธุ์และสภาพแวดล้อม ที่กล้วยไม้นั้นขึ้นอาศัยอยู่ กล้วยไม้ไทยบางชนิดมีขนาดลำต้นเล็กเพียงประมาณ 1-2 มิลลิเมตร อาทิ สิงโตไข่ปลา (Bulbophyllum moniliforme) และเอื้องไข่ปลาดุก (Bulbophyllum subtenellum) หรือที่มีลำลูกกล้วยคล้าย รูปน้ำเต้าทรงสูง เช่น เอื้องข้าวเหนียวลิง (Calanthe rosea) หรือเป็นข้อๆ ต่อกันชัดเจน เช่น เอื้องลำต่อ (Pholidota articulata) จนถึงขนาดลำต้นยาว 2-5 เมตร เช่น ว่านเพชรหึงหรือหางช้าง (Grammatophyllum speciosum) ซึ่งแตกลำ เป็นกอใหญ่ขึ้นอยู่ตามคาคบไม้และจัดว่าเป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดลำต้นใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีกล้วยไม้ ที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาวได้ถึง 10-30 เมตร ได้แก่ พลูช้าง (Vanilla siamensis) กล้วยไม้ดินที่ไม่มีหัวหรือเหง้าสะสมอาหาร มักจะมีส่วน ลำต้นสั้น ไม่อวบอ้วน มีใบแผ่กว้างเพื่อเพิ่มพื้นที่รับแสง เช่น สกุลนกคุ้มไฟ (Anoectochilus spp.) และว่านน้ำทอง (Ludisia discolor) หลายชนิดมีลำต้นใต้ดินหรือเหง้า สำหรับการสะสมน้ำและอาหาร เช่น สกุลว่านจูงนาง (Geodorum spp.) และสกุลช้างผสมโขลง (Eulophia spp.) และอีกหลายๆ สกุลมีลำต้นอวบอ้วนเป็นลำลูกกล้วย เช่น สกุลเอื้อง น้ำต้น (Calanthe spp.) สกุลเอื้องลำไห (Plocoglottis spp.) สกุลเอื้องสีลา (Tainia spp.) สกุลเอื้องดินลาว (Spathoglottis spp.) และว่านพร้าว (Anthogonium gracile)  ส่วนชนิดที่ลำต้นสูงเรียว มีโครงสร้างที่เป็นแกนภายในประกอบ ด้วยเส้นใยยาวเหนียวหรือเป็นเสี้ยนที่ช่วยเสริมให้ลำต้น ยืดหยุ่นและ แข็งแรง ได้แก่ เอื้องดินใบไผ่ (Arundina graminifolia) เอื้องลิลา (Corymborkis veratrifolia) และสกุลเอื้องพร้าว (Phaius spp.) ฯลฯ
กล้วยไม้อิงอาศัยไม่มีรากหรือเหง้าที่ช่วยสะสมอาหาร แต่มีส่วนของลำต้นได้ช่วยทำหน้าที่นี้ จึงมัก อวบป่อง เป็นลำลูกกล้วยหรือลำยาวอวบอ้วน เช่น สกุลเอื้องหมาก (Coelogyne spp.) สกุลหวาย (Dendrobium spp.) สกุลก้านก่อ (Eria spp.) และโดยเฉพาะในสกุลสิงโต (Bulbophyllum spp.) หลายชนิดมีลำลูกกล้วยหลายลูกชัดเจนและ มีไหลเชื่อมต่อกัน
ใบและการเรียงตัวของใบ
หน้าที่หลักของใบ คือ การสังเคราะห์อาหารด้วยแสง ตลอดจนแลกเปลี่ยนก๊าซที่เกิดขึ้น ขณะดำเนินกระบวนการต่างๆ ภายในต้น ดังนั้นใบของกล้วยไม้ส่วนใหญ่จึงมีสีเขียวของรงควัตถุ คลอโรฟีลล์ และมีลักษณะที่ผ่านการปรับตัวขั้นสูงเพื่อช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในหลายๆ ด้าน เช่น มีใบที่อวบหนาเพื่อเก็บสะสมน้ำ ไว้ใช้อย่างเพียงพอและมีสารไขเคลือบหนาที่ผิวใบเพื่อช่วย ลดการคายน้ำ นอกจากนี้ กล้วยไม้ยังสามารถสังเคราะห์อาหาร ด้วยแสงได้โดยวิธีพิเศษ คือวิธี Crassulacean acid metabolism (CAM) กล้วยไม้ดินบางกลุ่มที่ขึ้นอยู่ตามที่ร่มชื้นหรือป่าดงดิบที่มีแสงน้อย จะเพิ่มพื้นที่รับแสงโดยมีแผ่นใบกว้าง มีลวดลายและสีสันผิดแผกไป เช่น สกุลนกคุ้มไฟ (Anoectochilus spp.) ว่านน้ำทอง (Ludisia discolor) และนางลับแล (Mischobulbum wrayanum) ฯลฯ

ใบของกล้วยไม้มีรูปร่างต่างๆ หลายรูปแบบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญคือ แผ่นใบ และกาบใบ
แผ่นใบ (leaf blade) มีหลายรูปแบบและหลายลักษณะ ทั้งที่เป็น แผ่นบางซึ่งส่วนใหญ่พบในกลุ่มกล้วยไม้ดิน หรือเป็นแผ่นหนา อวบน้ำ เช่น สกุลเขี้ยวแก้ว (Trias spp.) หรือคล้ายแท่งกลม เช่น สกุลงูเขียว (Luisia spp.) สกุลเอื้องโมกข์  (Papilionanthe spp.) และหลายๆชนิดในสกุลก้างปลา (Cleisostoma spp.) หรือเป็นแผ่นกว้างแผ่ และค่อนข้างหนาเหนียว ซึ่งพบในกล้วยไม้ทั่วไป เช่น เอื้องแมลงปอ (Arachnis flosaeris) และสกุลสิงโต (Bulbophyllum spp.) หรือใบลดรูปมีขนาดเล็กเป็นเส้น เช่น สกุลพญาไร้ใบ (Chilochista spp.) กล้วยไม้ส่วนใหญ่มีใบสีเขียวแต่ในกล้วยไม้ดินบางสกุลมีใบ สีเข้มเกือบดำ เช่น สกุลนกคุ้มไฟ (Anoectochilus spp.) ว่านน้ำทอง (Ludisia discolor) หรือใบสีน้ำตาลอ่อนอมเขียว เช่น สกุลนางแอบ (Nephelaphyllum spp.) กล้วยไม้หลายๆ ชนิดมีการทิ้งใบเป็นช่วงสั้นๆ ในฤดูแล้ง หรือในระยะให้ดอก เช่น สกุลเอื้องสีลา (Tainia spp.) สกุลเอื้องน้ำต้น (Calanthe spp.) สกุลหวาย (Dendrobium spp.) และอีกหลายๆชนิดมีใบปรากฏอยู่ตลอดปี แต่กล้วยไม้กินซาก จะไม่มีใบหรือลดรูปจนสังเกตได้ไม่ชัดเจน การเรียงตัวของเส้นใบ ส่วนใหญ่เกือบจะทั้งหมดเป็น แบบเส้นขนานแต่มีหลายชนิดที่เป็นแบบร่างแหชัดเจน โดยเฉพาะ กล้วยไม้ดิน เช่น สกุลนกคุ้มไฟ (Anoectochilus spp.) สกุลประกายพรึก (Cheirostylis spp.) และว่านน้ำทอง (Ludisia discolor) ฯลฯ กาบใบ (leaf sheath) คือส่วนหนึ่งของใบที่อยู่ต่อจากแผ่นใบ ทำหน้าที่ห่อหุ้ม ป้องกันลำต้นและยึดใบไว้กับลำต้น บางชนิดหลุดร่วงไปเมื่อใบสมบูรณ์เต็มที่ บางชนิดก็มีปรากฏอยู่จนกระทั่งใบร่วง จำนวนใบที่พบส่วนใหญ่มีหลายใบ ออกเรียงสลับกันตลอดลำต้นและแน่นทางปลายยอด เช่น สกุลหวาย (Dendrobium spp.) หรือบางชนิดมีเพียงใบเดียวต่อหนึ่งยอดซึ่งมักจะพบในกล้วยไม้ที่มีขนาดเล็ก เช่น สกุลสิงโต (Bulbophyllum spp.) บางสกุลมี 2 ใบต่อหนึ่งยอด เช่น สกุลเอื้องหมาก (Coelogyne spp.) บางสกุลมีใบ 3-5 ใบ เช่น สกุลก้านก่อ (Eria spp.) ฯลฯ
ช่อดอกและการเรียงตัวของดอก
เมื่อเจริญสมบูรณ์เต็มที่ กล้วยไม้จะสร้างดอกเพื่อสืบพันธุ์ จุดที่ช่อดอกแตกออกมานั้น มีทั้งจากปลายยอด จากซอกใบใกล้ปลายยอด จากข้อตามลำต้น หรือที่โคนข้างลำต้น ช่อดอกมีทั้งที่เป็นช่อหรือดอกเดี่ยว ลักษณะ ช่อดอกมีทั้งตั้งขึ้นจนถึงห้อยลง กล้วยไม้ดินโดยส่วนใหญ่จะออกดอกเป็นช่อจากปลายยอด ได้แก่ สกุลนางอั้ว (Habenaria spp.) สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum spp.) สกุลนางอั้วสาคริก (Pecteilis spp.) สกุลนางตาย (Peristylus spp.) ที่ออกดอกตามข้อใกล้ปลายยอด อาทิ เอื้องลิลา (Corymborkis veratrifolia) บางชนิดในสกุลเอื้องพร้าว (Phaius spp.) หรือบางชนิดออกดอกจากโคนลำต้นหรือข้างลำลูกกล้วย เช่น สกุลนกแก้วปากหงาย (Acanthephippium spp.) สกุลเอื้องน้ำต้น (Calanthe spp.) และสกุลเอื้องสีลา (Tainia spp.) ฯลฯ กล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญทางยอด ส่วนใหญ่แตกช่อดอกออกตามข้อ โดยออกตรงข้ามกับใบ เช่น สกุลงูเขียว (Luisia spp.) สกุลเอื้องแมงมุม (Thrixspermum spp.) หรือออกตามซอกใบ เช่น สกุลเข็ม (Ascocentrum spp.) สกุลฟ้ามุ่ย (Vanda spp.) กล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญทางข้าง จะแตกช่อดอกได้หลายจุด เช่น ออกเป็นช่อจากโคนลำลูกกล้วย ได้แก่ สกุลสิงโต (Bulbophyllum spp.) สกุลกระสวย (Panisia spp.) สกุลกะเรกะร่อน (Cymbidium spp.) ฯลฯ หรือที่เป็นดอกออกเดี่ยวๆ จากโคนลำลูกกล้วย เช่น บางชนิดในสกุลสิงโต (Bulbophyllum spp.) หรือออกดอกเดี่ยวๆ  หรือเป็นช่อตามข้อใกล้ปลายยอดหรือที่ปลายยอด เช่น สกุลเอื้องหมาก (Coelogyne spp.) สกุลเอื้องกว่าง (Epigeneium spp.) สกุลเอื้องลำต่อ (Pholidota spp.) สกุลหวาย (Dendrobium spp.) และสกุลก้านก่อ (Eria spp.)
ลักษณะช่อดอกส่วนใหญ่เป็นแบบช่อกระจะ (raceme) เช่น สกุลสิงโต (Bulbophyllum spp.) สกุลประกายพรึก (Cheirostylis spp.) สกุลกะเรกะร่อน (Cymbidium spp.) สกุลหวาย (Dendrobium spp.) และสกุลแมงมุม (Thrixspermum spp.) หรือช่อแยกแขนง (panicle) เช่น บางชนิดในสกุลช้างดำ (Pomatocalpa spp.) บางชนิดในสกุลเอื้องจิ๋ว (Schoenorchis spp.) หรือช่อดอกคล้ายรูปพัดซึ่งพบในสกุลพัดโบก (Cirrhopetalum spp.) หรือช่อเป็นกระจุกแน่น (capitulum, head) เช่น บางชนิดในสกุลสิงโต (Bulbophyllum spp.) สกุลว่านจูงนาง (Geodorum spp.) หรือที่เป็นดอกเดี่ยว เช่น สิงโตสยาม (Bulbophyllum siamense) ฯลฯ
ดอก
กล้วยไม้เป็นพืชสมบูรณ์เพศ (hermaphrodite) มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ลักษณะดอกกล้วยไม้ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดที่ใช้ในการจำแนกหรือตรวจหาชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยไม้ แต่ละชนิด ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายทั้งในด้านสีสัน รูปร่าง ขนาด และกลิ่น ฯลฯ แต่โครงสร้างที่เป็นส่วน ประกอบหลักของดอกกล้วยไม้จะคล้ายคลึงกัน
กล้วยไม้ส่วนใหญ่มีแมลงเฉพาะชนิดเป็นพาหะในการถ่ายละอองเรณูและผสมเกสร มีทั้งผึ้ง ผีเสื้อกลางวัน ผีเสื้อกลางคืน แมลงปีกแข็ง และยุง ฯลฯ จึงมีการปรับตัวเพื่อให้พาหะเหล่านั้นเข้ามาผสมเกสรได้โดยง่าย นอกจากลักษณะโดยทั่วไปแล้ว รูปร่าง สี กลิ่นและการสร้างน้ำหวานในดอก ตลอดจนการปรับองศาของดอก ให้ตั้งในระดับต่างๆ ล้วนเป็นวิวัฒนาการอย่างสูงของกล้วยไม้ เพื่อให้แมลงเฉพาะชนิดมาผสมเกสรได้อย่างเหมาะ

ภาพลักษณะและส่วนประกอบของดอกกล้วยไม้ :

ส่วนประกอบที่สำคัญของดอกกล้วยไม้ได้แก่:

  • กลีบเลี้ยง (sepal) คือกลีบที่อยู่ชั้นนอกสุดหรือด้านหลังสุด ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนประกอบอื่นของดอกไว้ ขณะที่ดอกตูม โดยส่วนใหญ่แล้ว กลีบเลี้ยงของกล้วยไม้มีจำนวน 3 กลีบ รูปร่างและสีสันค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ยกเว้นในกลุ่มรองเท้านารีมีกลีบเลี้ยง 2 กลีบ
  • กลีบดอก (petal) คือวงกลีบชั้นในถัดจากกลีบเลี้ยง จำนวน 3 กลีบ มีกลีบหนึ่งเปลี่ยนรูป และสีสันแตกต่าง ออกไป เรียกว่า กลีบปากหรือกลีบกระเป๋า (lip, labellum) มักพบกลุ่มเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สร้างสารให้กลิ่น หรือผลิตน้ำหวานจะอยู่ที่ส่วนฐานของกลีบปากนี้
  • เส้าเกสร (column) เป็นส่วนประกอบที่อยู่ตรงกลางดอก เกิดจากการหลอมรวมกันของก้านเกสรเพศผู้ และ ก้านเกสรเพศเมีย ตำแหน่งของกลุ่มเรณู (pollinium) อยู่ด้านบน และยอดเกสรเพศเมีย (stigma) ที่ส่วนใหญ่ เปลี่ยนลักษณะแผ่ออกเป็นแอ่งใสและ เหนียวอยู่ด้านหน้าโดยมีจงอยเล็ก (rostellum) เป็นส่วนกั้น ในกล้วยไม้บางกลุ่ม เช่น สกุลหวาย (Dendrobium spp.) หรือสกุลก้านก่อ (Eria spp.) ส่วนโคนของเส้าเกสรจะยืดยาวออกไปอย่างชัดเจน ที่เรียกว่า “column foot”
  • จงอยเล็ก (rostellum) คือจงอยเกสรเพศเมีย ทำหน้าที่กั้นแบ่งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียไม่ให้เกิดการถ่าย เรณูในต้นเดียวกัน (self-pollination) และมีการปรับตัวเป็นพิเศษในธรรมชาติ คือ หากดอกไม่ได้รับการผสมหรือ ถ่ายเรณูข้ามดอก (cross-pollination) ในช่วงสุดท้ายเมื่อดอกใกล้โรย จงอยส่วนนี้จะเหี่ยวลงอย่างรวดเร็ว จนกลุ่มเรณู สัมผัสกับยอดเกสรเพศเมียและเกิดการผสมในดอกเดียวกันได้
  • เกสรเพศผู้ (stamen) ประกอบด้วย กลุ่มเรณู (pollinium) และฝาครอบกลุ่มเรณู (anther cap, operculum)
    กลุ่มเรณู (pollinium) คือลักษณะละอองเรณูของเกสรเพศผู้ที่อยู่รวมกัน คล้ายก้อนขึ้ผึ้ง รูปร่างอาจเป็นรูปกลม รูปรี คล้ายถุงบางใสหรือขาวขุ่น หรือเป็นเกล็ดเล็กๆจำนวนมาก ติดอยู่บนก้านรองกลุ่มเรณูสั้นๆ (stipe) หรือ บางชนิดไม่มีก้าน เช่น ในสกุลหวาย (Dendrobium spp.) ส่วนใหญ่ที่ปลายก้านจะมีติ่งเหนียว (viscidium) ติดอยู่ ทำหน้าที่คล้ายกาวช่วยยึดกลุ่มเรณูให้สามารถเกาะติดกับพาหะถ่ายเรณู (pollinator) ได้โดยง่าย กลุ่มเรณู โดยทั่วไปจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มบนก้านรองสั้นๆ เรียกรวมๆว่า ชุดกลุ่มเรณู (pollinaria)
  • ฝาครอบกลุ่มเรณู (anther cap, operculum) คือส่วนประกอบที่อยู่บนสุดของเส้าเกสร ทำหน้าที่บังหรือห่อหุ้ม
    กลุ่มเรณู ทำให้เกิดการผสมได้อย่างมีประสิทธิภาพเฉพาะพาหะที่เหมาะสมโดยสามารถเปิดได้ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอม หรือแรงจากภายนอกมากระทบ
  • เกสรเพศเมีย (pistil) ประกอบด้วยส่วนของยอดเกสรเพศเมียและรังไข่ โดยยอดเกสรเพศเมีย (stigma) เป็นแอ่งขนาดเล็กโดยทั่วไปมีลักษณะผิวฉาบบางๆ ด้วยน้ำหวานที่มีลักษณะใสเหนียว อยู่บริเวณด้านหน้าของเส้าเกสร
  • รังไข่ (ovary) อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าส่วนของวงกลีบดอก (inferior ovary) หรืออยู่ด้านหลังส่วนใหญ่ มีลักษณะแคบยาวโดยฝังตัวอยู่ใน ก้านดอกใกล้กับโคนดอก
  • ก้านดอก (peduncle) คือส่วนที่ทำหน้าที่ชูดอกและยึดดอกย่อยให้ติดกับก้านช่อดอก กล้วยไม้บางชนิด ไม่มีก้านดอก หรือขนาดสั้นมากจนดูไม่คล้ายเป็นก้านดอกฝักและเมล็ด

    เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว รังไข่จะเจริญเป็นผล ผลของกล้วยไม้เรียกว่า ฝัก (pods) ซึ่งมีรูปร่างหลากหลาย ทั้งรูปทรงกระบอกยาว รูปกลม รูปไข่หรือรูปรี เมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อฝักแก่ เมื่อแห้งหรือแก่จัดจะแตกออกตามยาว การติดฝักหรือที่เรียกว่าถือฝักของกล้วยไม้นั้นจะมีช่วงยาวนานไม่เท่ากัน เช่น สกุลเอื้องดินใบหมาก (Spathoglottis spp.) ประมาณ 1-2 เดือน สกุลหวาย (Dendrobium spp.) และสกุลเอื้องพร้าว (Phaius spp.) 4-12 เดือน สกุลฟ้ามุ่ยและสามปอย (Vanda spp.) 16-18 เดือน ฯลฯ
    จากปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ เป็นสาเหตุให้กล้วยไม้ต้องมีเมล็ดจำนวนมาก เพื่อให้มีบางส่วนสามารถเจริญ ดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้ เมล็ดกล้วยไม้จำนวนนับแสนหรือนับล้านเมล็ดเหล่านี้จะอัดแน่นอยู่ในฝัก เมื่อฝักแก่ และแตกออกจะมีเพียงไม่กี่เมล็ดที่จะปลิวและตกลงได้ในสถานที่เหมาะสมกับการงอกและเจริญเติบโตต่อไป

    เมล็ดกล้วยไม้ที่มีขนาดคล้ายแป้งหรือฝุ่นและมีจำนวนมากนี้ สามารถปลิวฟุ้งกระจายไปไกลด้วยลม แต่ภายในเมล็ดไม่มีอาหารสะสมสำหรับช่วยในการงอก จึงมีความสามารถในการงอกต่ำ ดังนั้นเมื่อปลิวไปแล้ว จึงต้องอาศัยแหล่งที่เมล็ดไปตกอยู่อย่างเหมาะสมจึงจะงอกได้ และเมื่อเริ่มงอกในเซลล์รากของต้นอ่อน ซึ่งมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก คือพวกไมคอร์ไรซา (mycorrhiza) อาศัยอยู่ จะช่วยทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์สาร ทำให้เกิด กระบวนการสร้างอาหารเพื่อใช้สำหรับการงอก และเจริญเติบโตต่อไปจนเป็นต้นสมบูรณ์ และอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพา
    อาศัย (symbiosis) ไปจนตลอดอายุขัยของกล้วยไม้นั้น

 

ข้างเคียง
2

วิธีการปลูกกล้วยไม้

 
วิธีการปลูกเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าใช้วิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสม กล้วยไม้ก็ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จึงจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด เลือกภาชนะปลูกและเครื่องปลูก รวมทั้งวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ
1.ภาชนะปลูก

ภาชนะที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้มีส่วนสำคัญต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้ ดังนั้นจึงควรจัดภาชนะปลูกให้เหมาะกับการเจริญของรากกล้วยไม้แต่ละประเภท ภาชนะสำหรับปลูกกล้วยไม้มีหลายชนิด ดังนี้

กระถางดินเผาทรงเตี้ย
or5_1
เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 4-6 นิ้ว สูง 2-4 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถาง เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ มะพร้าวสับ วางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระถาง

กระถางดินเผาทรงสูง
or5_2
เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 3-4 นิ้ว สูง 4-5 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถางแต่รูน้อยกว่ากระถางทรงเตี้ย เหมาะกับกล้วยไม้ที่ต้องการเครื่องปลูกหรือกล้วยไม้รากกึ่งอากาศ เช่น คัทลียา หวาย โดยปลูกด้วยกาบมะพร้าวอัดเรียงตามแนวตั้งจนแน่น ยึดรากและโคนกล้วยไม้ตรงกลางกระถางให้แน่น

กระเช้าไม้สัก
or5_3
ทำจากไม้สักหรือไม้ชนิดอื่น นิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีขนาดตั้งแต่ขนาด 4×4 นิ้ว ถึง 10×10 นิ้ว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ มีต้นใหญ่ รากใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกด้วยกระเช้าไม้สักภายในไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ 2-3 ก้อนวางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระเช้า

กระเช้าพลาสติก
or5_4
เป็นกระเช้าที่ทำจากพลาสติกสีดำ ราคาถูก มีหลายแบบ หลายขนาด แต่ที่นิยมใช้มี 2 ขนาด คือ ขนาดทรงเตี้ยใช้ปลูกกล้วยไม้แวนด้า และ ขนาดทรงสูงใช้ปลูกกล้วยไม้หวาย ลักษณะการปลูกเช่นเดียวกับกระถางดินเผาทรงเตี้ยและกระถางดินเผาทรงสูง

กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง
or5_5
เป็นกระถางดินเผาชนิดเดียวกับที่ใช้ปลูกต้นไม้ทั่วไป มีรูระบายน้ำอยู่ที่ก้นกระถางเพียงรูเดียว ทั้งแบบทรงสูงทั่วไปและแบบทรงเตี้ย มีขนาดตั้งแต่ 4-10 นิ้ว นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งดิน เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลเอื้องพร้าว สกุลคูลู และสกุลสเปโธกล๊อตติส

ท่อนไม้ที่มีเปลือก
or5_6
โดยผูกกล้วยไม้ติดกับท่อนไม้ที่มีเปลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต ปลายหนึ่งของท่อนไม้ยึดติดกับลวดไว้สำหรับแขวนกับราว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลแวนด้า

ต้นไม้ใหญ่
or5_7
โดยการปลูกยึดติดกับต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศและรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลหวาย สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากอากาศสามารถใช้ลวดหรือเชือกผูกติดกับต้นไม้ได้เลย แต่สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากกิ่งอากาศให้หุ้มด้วยกาบมะพร้าวทับอีกชั้นหนึ่ง ยึดกาบมะพร้าวด้วยตาข่ายหรือซาแลนอีกชั้นหนึ่ง
2.เครื่องปลูก

วัสดุที่ใส่ลงไปในภาชนะที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ เป็นที่เก็บอาหาร เก็บความชื้น หรือปุ๋ยของกล้วยไม้ และเพื่อให้รากของกล้วยไม้เกาะ ลำต้นจะได้ตั้งอยู่ได้ เครื่องปลูกที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตของรากกล้วยไม้จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง เครื่องปลูกที่นิยมใช้มีดังนี้

ออสมันด้า

เป็นเครื่องปลูกที่ได้มาจากรากของเฟิร์น ลักษณะเป็นเส้นยาว สีน้ำตาลจนเกือบดำ ค่อนข้างแข็ง ก่อนที่จะใช้ต้องล้างให้สะอาด แล้วจึงอัดตามยาวลงไปในกระถาง ก่อนที่จะอัดลงในกระถางควรรองก้นกระถางด้วยกระเบื้องแตกหรือถ่านประมาณครึ่งหนึ่งของกระถาง เพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวกไม่ควรอัดออสมันด้าให้เต็มกระถาง ก่อนใช้ควรแช่น้ำหรือต้มเพื่อฆ่าเชื้อราเสียก่อน ออสมันด้าเป็นเครื่องปลูกที่ดี แต่ราคาค่อนข้างสูง สามารถเลี้ยงกล้วยไม้ได้เจริญงอกงามสม่ำเสมอ มีอายุการใช้งาน 2–3 ปี แต่มีข้อเสีย คือ มีตะไคร่น้ำขึ้นหน้าเครื่องปลูก และเกิดเชื้อราง่าย ออสมันด้าใช้ปลูกกล้วยไม้แบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา

กาบมะพร้าว
106329
เป็นเครื่องปลูกที่นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้มาก เพราะหาง่าย ราคาถูก เหมาะที่จะใช้อัดลงในกระถางดินเผาสำหรับใช้ปลูกกล้วยไม้รากกึ่งอากาศเช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา วิธีทำคือใช้กาบมะพร้าวแห้งที่แก่จัดและมีเปลือก อัดตามยาวให้แน่นลงในกระถาง ตัดหน้าให้เรียบ แล้วใช้แปรงลวดปัดหน้าให้เป็นขน เพื่อให้ดูดซับน้ำดีขึ้น เครื่องปลูกกาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกที่ได้ความชื้นสูง เหมาะสำหรับกล้วยไม้ปลูกใหม่ เพราะจะทำให้ตั้งตัวเร็ว จึงทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามเร็วกว่าปลูกด้วยเครื่องปลูกชนิดอื่นๆ แต่มีข้อเสียคือมีอายุการใช้งานได้ไม่นาน คือมีอายุใช้งานได้เพียงปีเดียวเครื่องปลูกก็ผุ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือเกิดตะไคร่น้ำได้ง่าย เนื่องจากกาบมะพร้าวอมความชื้นไว้ได้มาก จึงควรรดน้ำให้น้อยกว่าเครื่องปลูกชนิดอื่น

ถ่าน
100765
ถ่านไม้จัดเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง เพราะหาง่าย ราคาไม่แพง คงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยผุพังง่ายและดูดอมน้ำได้ดีพอเหมาะไม่ชื้นแฉะเกินไป ยังช่วยดูดกลิ่นที่เน่าเสียและทำให้อากาศบริสุทธ์อีกด้วย แต่มีข้อเสียคือมักจะมีเชื้อราอยู่ ในการใช้ถ่านเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลแคทลียา ควรใช้ถ่านป่นซึ่งเป็นก้อนเล็กๆ ผสมกับอิฐ หรือใช้อิฐหักรองก้นกระถางประมาณครึ่งกระถาง แล้วใช้ถ่านป่นใส่ทับข้างบนจนเต็มหรือเกือบเต็มกระถาง จากนั้นจึงเอากล้วยไม้ปลูกโดยวางทับไว้บนถ่านอีกชั้นหนึ่ง สำหรับถ่านที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ ถ้าเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กหรือยังเป็นลูกกล้วยไม้อยู่ เช่น มีขนาดสูงไม่เกิน 3 นิ้วควรใส่ถ่านก้อนเล็กๆ หรือใส่ถ่านป่นไว้บ้างพอสมควร แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดโดแล้วควรใส่ก้อนใหญ่ๆ ไว้ประมาณ 5-10 ก้อน เพื่อช่วยอุ้มความชุ่มชื้นไว้ให้กล้วยไม้ การที่ใส่ถ่านก้อนโตๆ จำนวนเล็กน้อยในการปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศก็เพื่อต้องการให้บริเวณภายในกระถางมีช่องว่างมากๆ และโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งเหมาะแก่ความต้องการหรือความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศ

ทรายหยาบและหินเกล็ด
การปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศโดยเฉพาะพวกสกุลหวาย มักใช้ทรายหยาบและหินเกล็ดที่ล้างสะอาดแล้วเป็นเครื่องปลูก โดยก้นกระถางใส่อิฐหักหรือหรือถ่านป่นไว้ ส่วนด้านบนใช้ทรายหยาบโรยหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วโรยทับด้วยหินเกล็ดหนาประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นจึงนำหน่อกล้วยไม้ที่แยกจากกอเดิมไปปลูกวางไว้บนหินเกล็ด แล้วมัดติดกับหลักเพื่อยึดไม่ให้ล้มจนกว่ากล้วยไม้ที่ปลูกใหม่นี้มีรากยึดเครื่องปลูกและตั้งตัวได้

อิฐหักและกระถางดินเผาแตก

อิฐหัก อิฐดินเผา และกระถางดินเผาแตก ใช้เป็นเครื่องปลูกรองก้นกระถางสำหรับปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ โดยมีออสมันด้า กาบมะพร้าว ถ่านป่น อย่างใดอย่างหนึ่งอัดหรือโรยไว้ข้างบน เพื่อให้ด้านล่างของกระถางหรือภาชนะปลูกโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวกและเป็นการช่วยในการระบายน้ำในกระถางได้ดีขึ้น

3.วิธีการปลูก

การล้างลูกกล้วยไม้
kanpolk3
คือการล้างลูกกล้วยไม้จากการเพาะเนื้อเยื่อออกจากขวดเพาะแล้วล้างให้หมดเศษวุ้นอาหาร นำจุ่มลงในน้ำยานาตริฟินในอัตราส่วนน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 2,000 ส่วน แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พอจะปลูกลงในกระถางนิ้ว

การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก

ลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กให้ปลูกในกระถางหมู่หรือกระถางดินเผาทรงสูงขนาด 4-6 นิ้ว รองก้นกระถางด้วยถ่านขนาดประมาณ 1 นิ้วสูงจนเกือบถึงขอบล่างของกระถาง แล้วโรยทับด้วยออสมันด้าหนาประมาณ 1 นิ้ว ให้ระดับออสมันด้าต่ำกว่าขอบกระถางประมาณครึ่งนิ้ว ใช้มือข้างหนึ่งจับไม้กลมๆ เจาะผิวหน้าออสมันด้าในกระถางให้เป็นรูลึกและกว้างพอสมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับปากคีบ คีบลูกกล้วยเบาๆ เอารากหย่อนลงไปในรูที่เจาะไว้ ให้ยอดตั้งตรง แล้วกลบออสมันด้าลงไปในรูให้ทับรากจนเรียบร้อย ควรจัดระยะห่างระหว่างต้นให้พอดี กระถางหมู่ขนาดปากกว้าง 4 นิ้ว ปลูกลูกกล้วยไม้ได้ประมาณ 40-50 ต้น

การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่
kanpolk2

ลูกกล้วยไม้ที่ต้นใหญ่ให้ปลูกในกระถางขนาด 1 นิ้ว ใช้ไม้แข็งๆ ค่อยๆ แคะออสมันด้าในกระถางตามแนวตั้งออกมาใช้นิ้วมือรัดเส้นออสมันด้าให้คงเป็นรูปตามเดิม ค่อยๆ แบะออสมันด้าให้แผ่บนฝ่ามือ หยิบลูกกล้วยไม้มาวางทับ ให้โคนต้นอยู่ในระดับผิวหน้าตัดของออสมันด้าพอดี หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วรวบออสมันด้าเข้าด้วยกัน นำกลับไปใส่กระถางตามเดิม เสร็จแล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในเรือนเลี้ยงลูกกล้วยไม้ สำหรับลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กที่อยู่ในกระถางหมู่มาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป มีลำต้นใหญ่แข็งแรงพอสมควรแล้วควรย้ายไปปลูกลงในกระถางนิ้ว โดยนำกระถางหมู่ไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที ค่อยๆ แกะรากที่จับกระถางและเครื่องปลูกออก แยกเป็นต้นๆ นำไปปลูกลงในกระถางนิ้วเช่นเดียวกัน

การปลูกลงในกระเช้า

เมื่อลูกกล้วยไม้ในกระถางนิ้วมีรากเจริญแข็งแรงดี มีใบยาวประมาณข้างละ 2 นิ้ว ซึ่งจะใช้เวลาในการปลูกประมาณ 6-7 เดือน ก็นำไปลงปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 3-5 นิ้ว ด้วยการนำกระถางนิ้วไปแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้แกะออกจากกระถางได้ง่าย ใช้นิ้วดันที่รูก้นกระถาง ทั้งต้นและออสมันด้าจะหลุดออกมา มือข้างหนึ่งจับออสมันด้าและลูกกล้วยไม้วางลงตรงกลางกระเช้าที่เตรียมไว้ มืออีกข้างหนึ่งหยิบก้อนถ่านไม้ขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในช่องระหว่างออสมันด้ากับผนังของกระเช้าให้พยุงลำต้นได้ นำไปแขวนไว้ในเรือนกล้วยไม้

การย้ายภาชนะปลูก
kanpolk4
เมื่อลูกกล้วยไม้มีใบยาว 4-5 นิ้ว ควรจะย้ายไปปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 8-10 นิ้ว โดยสวมกระเช้าเดิมลงไปในกระเช้าใหม่เพื่อมิให้รากกระทบกระเทือน ใช้ก้อนถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ วางเกยกันโปร่งๆ หรือจะไม่ใช้เลยก็ได้ เนื่องจากกล้วยไม้ไม่ต้องการเครื่องปลูกที่แน่นและชื้นแฉะเป็นเวลานานๆ ถ้าไม่ต้องการสวมกระเช้าเดิมลงไปก็นำกระเช้าเดิมไปแช่น้ำก่อน เพื่อให้แกะรากที่จับติดกระเช้าออกได้ง่าย นำต้นที่แกะออกแล้ววางตรงกลางกระเช้า ให้ยอดตั้งตรง มัดรากบางรากให้ติดกับซี่พื้นด้านข้างของกระเช้า

การตกแต่งกล้วยไม้ต้นใหญ่ก่อนปลูก

สำหรับกล้วยไม้ลำต้นใหญ่ที่ได้มาจากที่อื่นหรือจากการแยกหน่อ จะต้องตัดรากและใบที่เน่าหรือเป็นแผลใหญ่ๆ ทิ้งเสียก่อน รากบางส่วนที่ยังดีแต่ยาวเกินไป อาจตัดให้สั้นจนเกือบถึงโคนต้น แล้วทาแผลที่ตัดทุกแผลด้วยปูนแดงหรือยาป้องกันโรค เช่น ออร์โธไซด์ 50 ผสมน้ำให้เละมากๆ นำต้นกล้วยไม้ลงปลูกในกระเช้าไม้ซึ่งมีขนาดเหมาะสมกับลำต้น   นอกจากนั้นยังอาจนำกล้วยไม้ต้นใหญ่ไปผูกติดกับท่อนไม้หรือกระเช้าสีดา ให้บริเวณโคนต้นติดอยู่กับภาชนะปลูก ส่วนยอดอาจตั้งตรงทาบขึ้นไปหรือลำต้นโน้มไปข้างหน้าและส่วนยอดเงยขึ้น มัดลำต้นตรงบริเวณเหนือโคนต้นขึ้นไปเล็กน้อยให้ติดกับภาชนะปลูกด้วยเชือกฟางหรือลวด 1-2 จุดและมัดรากใหญ่ๆ ให้ติดกับภาชนะปลูกอีก 1-2 จุด เพื่อให้ติดแน่น อาจใช้กาบมะพร้าวกาบอ่อนชุบน้ำให้ชุ่ม มัดหุ้มบางๆ รอบโคนต้นกล้วยไม้เหนือบริเวณที่เกิดรากเล็กน้อยกับท่อนไม้ก็ได้ และนำท่อนไม้หรือกระเช้าสีดาไปแขวนบนราวเมื่อเกิดรากใหม่เกาะติดภาชนะปลูกดีแล้ว จึงตัดเชือกฟางหรือลวดออก

ข้างเคียง
1

การให้น้ำกล้วยไม้

 

มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายสารอาหารต่างๆ เพื่อให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาดปราศจากเกลือแร่ที่เป็นพิษ มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือค่า pH อยู่ระหว่าง 6–7 แต่น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่า pHประมาณ 6.5 น้ำที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ในการเลี้ยงกล้วยไม้ถ้าน้ำมี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 หากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำนี้รดกล้วยไม้ เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำที่มีคุณสมบัติดีกว่า ควรทำให้น้ำมี pH อยู่ระหว่าง 6-7 ก่อน ดังนี้

1.น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ตุ่มหรือโอ่งไว้แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ค่อยๆ เทใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับ pH จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7

2.น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 7 คือน้ำที่มีเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ เช่น แคลเซียมไบคาร์บอเนตปนอยู่ในน้ำแสดงว่าน้ำนั้นมีความเป็นด่างมากไม่เหมาะที่จะนำไปรดกล้วยไม้ วิธีแก้หรือทำให้น้ำนั้นมี pH อยู่ที่ 6-7 ก่อน โดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่มหรือโอ่งไว้ แล้วใช้ กรดไนตริก ค่อยๆเทใส่ลงไป คนหรือกวนให้เข้ากันจนทั่วจนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7

แหล่งหรือชนิดของน้ำ

1.น้ำฝน เป็นน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ที่สุด เนื่องจากไม่มีเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ปนอยู่ และมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ คือมีpH ประมาณ 6.5 ซึ่งเหมาะสมต่อความต้องการของกล้วยไม้มากที่สุด ข้อเสียในการใช้น้ำฝนคือการกักเก็บน้ำฝนให้ได้ปริมาณมากเพียงพอกับปริมาณของกล้วยไม้ต้องใช้เนื้อที่และภาชนะมาก

2.น้ำประปา เป็นน้ำที่ผ่านกรรมวิธีการตกตะกอนและได้รับการปรุงแต่งในด้านความสะอาดและความเป็นกรดเป็นด่างมาแล้ว เป็นน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ได้ดีรองมาจากน้ำฝน ข้อเสียของน้ำประปาก็คือจะมีคลอรีนซึ่งเป็นพิษต่อกล้วยไม้ปนอยู่ด้วย วิธีแก้โดยใส่น้ำประปาในตุ่มหรือภาชนะวางไว้กลางแดดอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้คลอรีนสลายตัวไปเสียก่อนจึงนำไปใช้รดกล้วยไม้ได้
3.น้ำบาดาล เป็นน้ำที่ได้จากการเจาะบ่อบาดาลลึกลงไปจากผิวดินจะมีฤทธิ์เป็นด่าง และมีสารเกลือแร่ต่างๆ เช่น แคลเซียมไบคาร์บอเนต เกลือแร่พวกนี้ทำให้ฟอสเฟตบางชนิดตกตะกอนภายในรากกล้วยไม้และทำให้รากกล้วยไม้ผุง่าย ดังนั้นก่อนนำไปใช้ควรกำจัดสารที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้เหล่านี้เสีย โดยต้องให้ค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 เสียก่อน หากไม่สามารถแก้ไขได้ไม่ควรนำไปใช้รดกล้วยไม้ เพราะจะทำให้กล้วยไม้ชะงักการเจริญเติบโตและอาจตายไปในที่สุด วิธีการปรับน้ำบาดาลโดยการผสมกรดฟอสฟอริก 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปีบ ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน จึงใช้รดต้นไม้ได้ และยังเป็นการเพิ่มปุ๋ยฟอสเฟตให้กับพืชอีกด้วย

1342OLYMPUS DIGITAL CAMERA1183429583

4.น้ำบ่อหรือน้ำคลอง เป็นน้ำที่มีดินหรือตะกอนทำให้น้ำขุ่นและมีสารเกลือแร่ต่างๆ ปนอยู่และมีฤทธิ์เป็นด่าง ถ้าน้ำไม่เน่าเสียมีกลิ่นเหม็น ก่อนนำไปใช้ควรทำการกรองให้น้ำใสและปรับปรุงคุณภาพให้ปราศจากสารเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ และทำให้มีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 ก่อนนำไปรดกล้วยไม้ แต่ถ้าน้ำเน่าเสียกลิ่นเหม็นมีเชื้อโรคไม่ควรนำไปรดกล้วยไม้เพราะโรคอาจระบาดต่อไปยังกล้วยไม้ได้ ข้อเสียของน้ำบ่อหรือน้ำคลอง คือ มื่อนำมาใช้รดกล้วยไม้มักจะทำให้เกิดตะไคร่น้ำจับกระถาง เครื่องปลูก และรากกล้วยไม้ได้ง่าย ซึ่งตะไคร่น้ำจะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ทำให้กล้วยไม้ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรและไม่สวยงามตามต้องการ

การให้น้ำ

วิธีการให้น้ำกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธี จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อายุของกล้วยไม้ และความสะดวกของผู้ปลูกเลี้ยงเอง ซึ่งวิธีการให้น้ำมีดังนี้

1.จุ่มน้ำ โดยตักน้ำใส่ภาชนะแล้วนำกล้วยไม้มาจุ่มลงในน้ำ การจุ่มน้ำมีข้อดีคือน้ำจะซึมไปทั่วทุกส่วนของเครื่องปลูก เหมาะกับกล้วยไม้ที่ไม่มีรากเกะกะ เช่น สกุลหวาย สกุลแคทลียา มีเครื่องปลูกแน่น เช่น กาบมะพร้าวอัด ออสมันด้าอัด หรือเครื่องปลูกหนัก เช่น อิฐ กรวด ถ้าเครื่องปลูกเบา เช่น ถ่าน ถ่านจะลอย การรดน้ำวิธีนี้เป็นการล้างเครื่องปลูกให้สะอาดอยู่เสมออีกด้วย ข้อเสียคือการจุ่มน้ำบ่อยๆ อาจทำให้ รากอ่อน หน่ออ่อน ไปกระทบกระแทกกับภาชนะที่ใส่น้ำได้ และถ้ากล้วยไม้มีโรคแมลงอาศัยอยู่ น้ำในภาชนะอาจเป็นพาหะให้โรคแมลงระบาดได้ง่าย และการให้น้ำวิธีนี้ไม่เหมาะกับปริมาณกล้วยไม้มากๆ เพราะเป็นวิธีที่ช้ามาก เหมาะกับกล้วยไม้จำนวนน้อย และปลูกเลี้ยงในที่ไม่ต้องการให้พื้นเฉอะแฉะ เช่นระเบียงบ้าน ริมหน้าต่าง เป็นต้น

2.ไขน้ำให้ท่วม โดยทำโต๊ะปลูกกล้วยไม้ที่ขังน้ำได้ เวลาจะให้น้ำก็ไขน้ำให้ขังเต็มโต๊ะ ทิ้งไว้จนเห็นว่าเครื่องปลูกดูดซับน้ำเพียงพอแล้วจึงไขน้ำออก วิธีนี้ทำได้รวดเร็วกับกล้วยไม้จำนวนมาก ไม่ทำให้กล้วยไม้ไม่บอบช้ำ แต่ป้องกันโรคระบาดจากแมลงได้ยาก

3.ใช้บัวรดน้ำ วิธีนี้มีข้อดีคือต้นทุนต่ำ ส่วนข้อเสียคือถ้ามีกล้วยไม้จำนวนมากจะต้องใช้เวลาในการรดน้ำมาก หรือถ้าขาดความระมัดระวังฝักบัว ก้านบัว อาจจะกระทบต้น กระทบดอกกล้วยไม้ ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำได้

4.สายยางติดหัวฉีด การใช้สายยางควรใช้หัวฉีดชนิดฝอยละเอียด การรดน้ำวิธีนี้สะดวก รวดเร็วและทุ่นแรง เหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก
OLYMPUS DIGITAL CAMERA12246829678W98TXtKQo

5.สปริงเกอร์ คือการใช้หัวฉีดติดตั้งอยู่กับที่แล้วพ่นน้ำเป็นฝอยให้กระจายไปทั่วบริเวณที่ต้องการ การรดวิธีนี้สะดวกสบายและรวดเร็วที่สุด ข้อเสียคือต้องลงทุนสูงและใช้ได้กับกล้วยไม้ที่มีความต้องการน้ำเหมือนๆ กัน ไม่เหมาะกับการเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนน้อย แต่หลากหลายชนิด

เวลาที่เหมาะสมแก่การให้น้ำ

การรดน้ำกล้วยไม้ปกติควรรดวันละครั้ง ยกเว้นวันที่ฝนตกหรือกระถางและเครื่องปลูกยังมีความชุ่มชื้นอยู่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดในเวลาที่แดดไม่ร้อนจัด เวลาที่เหมาะสมคือตอนเช้าเวลาประมาณ 6.00–9.00 น. เพราะนอกจากจะไม่ร้อนแล้วจะมีช่วงเวลาที่มีแสงแดดยาวนาน กล้วยไม้มีความจำเป็นต้องใช้แสงแดดไปช่วยในการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ฉะนั้นช่วงเวลากลางวันจึงเป็นเวลาที่กล้วยไม้ต้องใช้รากดูดความชื้นและนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากที่สุด การรดน้ำในเวลาเช้าจึงได้รับประโยชน์มากที่สุด
ในการรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้เปียก เพื่อเป็นการชะล้างเศษปุ๋ยที่เหลือตกค้างซึ่งอาจเป็นพิษแก่กล้วยไม้ให้ไหลหลุดไป ไม่ควรรดน้ำแรงๆ หรือรดน้ำอยู่กับที่นานๆ ควรรดแบบผ่านไปมาหลายๆ ครั้งจนเปียกโชก ทั้งนี้เพื่อให้กระถางและเครื่องปลูกมีโอกาสดูดซึมอุ้มน้ำไว้เต็มที่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้ถูกเฉพาะรากกระถางและเครื่องปลูกเท่านั้น ไม่ควรรดน้ำให้ถูกเรือนยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ที่มีเรือนยอดใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลช้าง เพราะน้ำอาจตกค้างอยู่ที่เรือนยอดซึ่งอาจทำให้เกิดโรคยอดเน่าได้

 

ข้างเคียง
3

โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้

ปัญหาที่สำคัญในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ก็คือ โรคและแมลงรบกวน โรคของกล้วยไม้มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรคและแมลงศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และขยายพันธุ์รวดเร็ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การป้องกันกำจัดได้ยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง โรคและแมลงศัตรูของกล้วยไม้ที่พบมีดังนี้
122518169812251824381225182348

1.โรคเน่าดำหรือยอดเน่า

โรคเน่าดำหรือยอดเน่า หรือ เรียกว่าโรคเน่าเข้าไส้ โรคนี้สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora
ลักษณะอาการ
โรคนี้สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน ถ้าเชื้อราเข้าทำลายที่ราก รากจะเน่าแห้ง ซึ่งมีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และตายในที่สุดถ้าเชื้อราเข้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย และถ้าแสดงอาการรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เมื่อผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามแนวยาวของต้น โรคนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นสูง
การป้องกันและกำจัด
ควรปรับสภาพเรือนกล้วยไม้ให้โปร่ง ไม่ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป ถ้าพบโรคนี้ในระยะเป็นลูกกล้วยไม้ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่ใดแล้วควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกเสียจนถึงเนื้อดี แล้วใช้ยาฉีดพ่น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราจะต้องใช้ชนิดที่สามารถป้องกันเชื้อราชนิดนี้โดยตรง เช่น ไดโพลาแทน, ริโดมิล, เทอราโซล สำหรับการใช้ยาประเภทดูดซึมมีข้อควรระวัง คือ อย่าให้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เชื้อราดื้อยา ควรผสมกับยาชนิดอื่น เช่น แมนโคเซป หรือใช้ยาสูตรที่ผสมมาให้เรียบร้อยแล้ว เช่น ริไดมิล เอ็มแซด หรืออาจใช้สลับกันระหว่างยาดูดซึมจะทำให้การป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะสารเคมีแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อราได้แตกต่างกัน

2.โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม

เป็นโรคที่จักกันดีในหมู่ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกเป็นขายต่างประเทศ บางอาจแสดงอาการระหว่างการขนส่ง เป็นมากกับกล้วยไม้สกุลหวายโดยเฉพาะหวายมาดาม หวายขาว หวายชมพูและหวายซีซาร์ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis

ลักษณะอาก
ปรากฏอาการบนกลีบดอกกล้วยไม้ อาการเริ่มแรกเป็นจุดขนาดเล็กสีน้ำตาลเหลือง เมื่อจุดเหล่านี้ขยายโตขึ้นจะเข้มเป็นสีสนิม มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.1–0.3 มิลลิเมตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวสวนกล้วยไม้นิยมเรียกว่า “โรคราสนิม” ลักษณะดังกล่าวจะปรากฎชัดเจนบนดอกหวายมาดาม แต่อาการบนหวายขาวจะเป็นแผลสีน้ำตาลไม่เป็นแผลสีสนิมชัดเจนอย่างบนหวายมาดาม โรคนี้ระบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะถ้ามีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือมีน้ำค้างลงจัด โดยจะระบาดติดต่อกันรวดเร็วทั่วทั้งรังกล้วยไม้และบริเวณใกล้เคียง

การป้องกันและกำจัด
หมั่นตรวจดูแลรังกล้วยไม้ให้สะอาดอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคาต้น เพราะจะเป็นแหล่งให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เก็บรวบรวมดอกที่เป็นโรคให้หมดแล้วนำไปเผาทำลายเสีย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรค หลังจากนั้นจึงฉีดพ่นสารเคมี เช่น ไดเทนเอ็ม 45, ไดเทนแอลเอฟหรือมาเน็กซ์ โดยในช่วงฤดูฝนควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น

3.โรคใบปื้นเหลือง
122511949312251179461225117813
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora dendrobii พบมากในกล้วยไม้หวายปอมปาดัวร์ ระบาดมากตั้งแต่ช่วงปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ของเชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมและกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกล้วยไม้
ลักษณะอาการ
จะเกิดบนใบของกล้วยไม้โดยเฉพาะที่อยู่โคนต้นก่อนโดยใบจะมีจุดกลมสีเหลือง เมื่อเป็นมากๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพลิกดูใต้ใบจะเห็นเป็นกลุ่มผงสีดำ ในที่สุดใบที่เป็นรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ พร้อมทั้งร่วงหลุดออกจากต้นในที่สุด ทำให้ต้นกล้วยไม้ทิ้งใบหมด
การป้องกันและกำจัด
ควรเก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย และรักษารังกล้วยไม้ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อเป็นการทำลายเชื้อและลดปริมาณของเชื้อราในรังกล้วยไม้ และฉีดพ่นด้วยยาเดลซีนเอ็มเอ็ก 200, ไดเทนเอ็ม 45, เบนเลททุกๆ 7–10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

4.โรคแอนแทรกโนส
122528690012252868321225286788
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. เป็นโรคหนึ่งที่พบเสมอในกล้วยไม้สกุลออนซิเดี้ยม สกุลแคทลียา สกุลแวนด้า สกุลหวาย สกุลแมลงปอ ปอมปาดัวร์ และลูกผสมของกล้วยไม้สกุลต่างๆ เหล่านี้เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลมและฝนหรือน้ำที่ใช้รด
ลักษณะอาการ
ใบจะเป็นแผลวงกลมสีน้ำตาลอมแดงหรือสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งขยายออกไปเป็นแผลใหญ่เห็นเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อที่เป็นแผลบุ๋มลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย กล้วยไม้บางชนิดมีขอบแผลเป็นเนื้อเยื่อสีเหลืองล้อมรอบแผล เช่น ลักษณะแผลของพวกแมลงปอ ฯลฯ บางชนิดแผลมีขอบสีน้ำตาลเข้มกว่าภายในและไม่มีขอบแผลสีเหลืองเลย เช่น แผลของกล้วยไม้ดินบางชนิด เนื้อเยื่อของแผลนานเข้าจะแห้งบางผิดปกติ ขนาดของแผลแตกต่างกันแล้วแต่สภาพแวดล้อม บางแห่งมีเชื้อราอื่นมาขึ้นร่วมภายหลังทำให้แผลขยายกว้างออกไปจนมีลักษณะที่เป็นแผลวงกลม อย่างอาการเริ่มแรกกล้วยไม้ที่มีใบอวบอมน้ำมาก เช่น แคทลียา ลูกผสมแมลงปอ และกล้วยไม้ดินบางชนิดใบจะเน่าเปื่อยถ้าฝนตกชุก แต่โดยปกติจะเป็นแผลแห้งติดอยู่กับต้น
การป้องกันและกำจัด
โดยเก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสีย เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดต่อไป และฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อราทุกๆ 7–15 วันต่อครั้งส่วนฤดูฝนต้องฉีดพ่นเร็วกว่ากำหนด เช่น 5–7 วันต่อครั้ง เป็นต้น

5.โรคเน่าแห้ง
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii เป็นโรคที่พบตามแหล่งปลูกกล้วยไม้ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตอากาศร้อนชื้น ทำความเสียหายแก่กล้วยไม้หลายสกุล เช่น สกุลแวนด้า สกุลหวาย สกุลรองเท้านารีและสกุลออนซิเดี้ยม
ลักษณะอาการ
โดยเชื้อราจะเข้าทำลายกล้วยไม้บริเวณรากหรือโคนต้นแล้วแพร่ไปยังส่วนเหนือโคนต้นขึ้นไป บริเวณที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อจะแห้งและยุ่ย ถ้าอากาศชื้นมากๆ จะเห็นเส้นใยสีขาวแผ่บริเวณโคนต้น ลักษณะที่เห็นได้ง่ายคือมีเม็ดกลมๆ ขนาดเล็กสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่ตามโคนต้น ในกล้วยไม้บางชนิดจะแสดงอาการที่ใบโดยจะทำให้ใบเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่ออากาศแห้งจะเหี่ยวและร่วงตายไปในที่สุดโรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน ซึ่งเชื้อราชนิดนี้จะมีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลกลมๆ ซึ่งทนต่อการทำลายของสารเคมีและสภาพแวดล้อมต่างๆ ทำให้มีชีวิตอยู่ได้นาน
การป้องและกำจัด
ควรดูแลรังกล้วยไม้เสมอ ถ้าพบว่าเป็นโรคนี้ควรเก็บรวบรวมใบแล้วเผาทำลายทิ้ง และราดทับหรือฉีดพ่นด้วยยากำจัดเชื้อรา เช่น เทอราโซลหรือไวตาแวกซ์
6.โรคเน่าเละ

เป็นโรคที่รู้จักกันดีในหมู่นักเลี้ยงกล้วยไม้ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas gladioli เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับกล้วยไม้หลายสกุล เช่น สกุลแคทลียา สกุลรองเท้านารี สกุลออนซิเดี้ยม สกุลซิมบิเดี้ยม ฟาแลนด์น๊อฟซิส เป็นต้น มักจะเกิดในเรือนกล้วยไม้ที่มีความชื้นสูง
ลักษณะอาการ
อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดช้ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือบนหน่ออ่อน ทำให้เนื้อเยื่อมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก คือใบจะพองเป็นสีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ ถ้าเอามือจับแต่เบาๆ จะเละติดมือและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งจะขยายลุกลามออกไปทั้งใบและหน่ออย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง
การป้องกันและกำจัด
ตัดหรือแยกส่วนที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ในช่วงที่มีฝนตกหนักควรมีหลังคาพลาสติกคลุมอีกชั้นหนึ่งสำหรับลูกกล้วยไม้หรือไม้ปลูกใหม่ เพื่อไม่ให้แรงกระแทกของเม็ดฝนทำให้กล้วยไม้ช้ำและเป็นสาเหตุให้เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย ไม่ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป เพราะจะทำให้อากาศระหว่างต้นไม่ถ่ายเท เกิดความชื้นสูงและง่ายแก่การเกิดโรค นอกจากนี้การเร่งกล้วยไม้ให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงมากเกินไปจะทำให้ต้นและใบกล้วยไม้อวบหนา ซึ่งเหมาะแก่การเป็นโรคเน่าเละนี้มาก สำหรับยาเพื่อใช้กำจัดแบคทีเรียนิยมใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกสเตรปโตมัยซิน เช่น แอกริมัยซิน หรืออาจใช้ไฟแซน20 หรือนาตริฟินก็ได้

7.โรคใบจุดดำ

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phyllostictina psriformis พบมากในกล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลหวาย ทำให้ต้นกล้วยไม้มีการเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากใบมีการปรุงอาหารได้น้อย โรคนี้มีปัญหามากกับผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อจำหน่ายต้น
ลักษณะอาการ
ในกล้วยไม้สกุลแวนด้า ลักษณะแผลเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมากบางครั้งแผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ เมื่อลูบดูจะรู้สึกสากมือ ซึ่งในเวลาต่อมาตุ่มนูนนี้จะแตกออกมีสปอร์จำนวนมาก ระบาดในฤดูฝนถึงฤดูหนาว ส่วนลักษณะอาการที่เกิดกับสกุลหวายจะแตกต่างจากสกุลแวนด้า คือ ลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน ขนาดแผลมีได้ตั้งแต่เท่าปลายเข็มหมุดจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 1 เซนติเมตร บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไป หรืออาจนูนขึ้นมาเล็กน้อยหรือเป็นสะเก็ดสีดำ เกิดได้ทั้งด้านบนใบและหลังใบ บางทีอาจมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือ บนใบจะมีอาการเป็นจุดกลมสีเหลือง เห็นได้ชัดเจน จุดกลมเหลืองเหล่านี้บางจุดจะมีสีดำบริเวณกลางและค่อยแผ่ขยายเป็นจุดกลมสีดำทั้งหมดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดปี
การป้องกันและกำจัด
ทำได้โดยการรวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสียหรือฉีดพ่นด้วยยาไดเทนเอ็ม 45, ไดเทนแอลเอฟ หรือยาประเภทคาร์เบนดาซิม เช่น เดอโรซาล เป็นต้น

8.เพลี้ยไฟ
122511582512251158251225115469
เป็นที่รูจักกันดีในวงการผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ในชื่อว่า “ตัวกันสี” เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็กมาก มีความยาวประมาณ ½-2มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน หรือสีดำ ตัวแก่มีปีกซึ่งมีลักษณะแคบยาว มักจะพบเห็นตัวอ่อนเกาะบนกล้วยไม้ เพลี้ยไฟมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก ถ้าไม่สังเกตจะมองไม่เห็นตัว
ลักษณะอาการ
เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนๆ เช่น ตามยอด ตาและดอก มักพบเพลี้ยไฟเข้าทำลายกล้วยไม้ในฤดูร้อนและฤดูฝน ทำความเสียหายมากแก่กล้วยไม้ในระยะที่ดอกตูมและดอกกำลังบาน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ส่วนอาการที่ดอกบานเริ่มแรกจะเห็นเป็นรอยแผลสีซีดขาวที่ปากหรือกระเป๋า และตำแหน่งของกลีบดอกที่ซ้อนกัน ต่อมาแผลจะกลายเป็นสีน้ำตาลเรียกว่า “ดอกไหม้หรือปากไหม้” ดอกเหี่ยวแห้งง่าย

การป้องกันและกำจัด
อาจใช้พอสซ์ในอัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไวเดทแอล อัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ซีเอฟ 35 แอสที 10–15 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเลือกเวลาการฉีดในช่วงเย็นๆ

9.ไรแดงหรือแมงมุมแดง

เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของกล้วยไม้ โดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลหวาย ไรแดงเป็นศัตรูจำพวกปากดูดมีขนาดเล็กมาก แต่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นจุดสีแดงเล็กๆ เคลื่อนไหวได้ ไรแดงมีสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเหลืองอมเขียว สีเหลืองและส้ม รูปร่างค่อนข้างกลม มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มทางด้านใต้ใบ
ลักษณะอาการ
ไรแดงจะทำลายทั้งใบและดอก โดยจะดูดน้ำเลี้ยง ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ใบจะทำให้เกิดเป็นจุดด่าง ผิวใบไม่เรียบ มีสีเหลืองและค่อยๆ เป็นสีเข้มขึ้นจนถึงสีน้ำตาล ถ้ามีการทำลายมากๆ จะมองเห็นบริเวณนั้น
การป้องกันและกำจัด
ทำได้โดยเก็บใบและดอกที่ถูกทำลายไปเผาและใช้ยาเคลเธน อัตรา 30 ซีซี ฉีดพ่นทั้งต้น

10.โรคราดำ
122715206012271520341227151962
สาเหตุ เกิดจากเชื้อราดำหลายชนิด เช่น Copnodium sp.,Meliola sp.
ลักษณะอาการ
โรคราดำจะเกิดทั้งบนใบ ช่อดอก และผลอ่อน มีลักษณะเหมือนเขม่าหรือฝุ่นสีดำปกคลุมเป็นแผ่นสีดำ ซึ่งเมื่อแห้งอาจจะร่วงหลุดเป็นแผ่น
การป้องกันกำจัด
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากแมลงเป็นสาเหตุสำคัญ ดังนั้นในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอก ให้เข้าสำรวจแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอยในสวน หากพบในปริมาณสูง ทำการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดได้แก่ Carbaryl 85 WP. เพื่อกำจัดแมลงนี้ในช่วงก่อนมะม่วงจะออกดอกครั้งหนึ่งก่อน หากยังพบการทำลายของเพลี้ยจักจั่นก็ควรฉีดพ่นอีกครั้งในระยะดอกตูมใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา คือ เบนโนมิล ฉีดพ่นให้ทั่วต้น

 

 

 

ข้างเคียง
0

             ความเป็นมาของดอกกล้วยไม้ในประเทศไทย

nbh

กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย

จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงามของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวันตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเชียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดาข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ที่หายากและมีราคาแพงหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย

การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการกล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัดต่างๆ
ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวงแคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ในประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต
ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วยไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ
ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา

 

 

 

 

 

 

ข้างเคียง
0

กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี Paphiopedilum

art_429100 (1)

กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady’s Slipper) เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง
รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้นที่แท้จริงเรียกว่า ไรโซม (เหง้า) ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น รากออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมาก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย ใบมีขนาดรูปร่างต่างกันไป บางชนิดมีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น บางชนิดใบมีลาย บางชนิดใบไม่มีลายแต่เป็นสีเดียวเรียบๆ การออกดอกจะออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมีขนาดใหญ่สะดุดตา ส่วน

กลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกันและมีขนาดเล็กลงจนส่วนปากบังมิดหรือเกือบมิด กลีบคู่ในซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกางออกไปทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาของดอก ส่วนกลีบในกลีบที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น “กระเปาะ” คล้ายรูปรองเท้า กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสรตัวเมีย กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤกษาศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า “สตามิโนด” สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2 ข้างของเส้าเกสรข้างละ 1 ชุด ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ได้
โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซึ่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไป ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารี ที่สำรวจพบ ได้แก่

ชื่อไทย : รองเท้านารีอินทนนท์, เอื้องไข่ไก่, เอื้องอินทนนท์ (เชียงใหม่), เอื้องคางกบ, เอื้องแมลงภุ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum villosum(Lindl.)Stein
ลักษณะทั่วไป :  เป็นพันธุ์กล้วยไม้ที่พบเมื่อ พ.ศ.2396 มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณแถบที่มีอากาศชื้นและอุณหภูมิต่ำ เช่น ดอยอินทนนท์ และภูเขาสูง ลักษณะของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวสม่ำเสมอทั้งใบ ไม่มีลาย โคนใบส่วนใกล้กับเหง้ามีจุดสีม่วงประปราย และค่อยๆ จางหายตรงส่วนปลายใบ ใบยาวบางและอ่อน เป็นรองเท้านารีที่มีเกสรตัวผู้ต่างจากชนิดอื่นคือ เกสรตัวผู้จับตัวรวมเป็นก้อนแข็งค่อนข้างใส มีสีเหลืองไม่เป็นยางเหนียว
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนพฤศจิกายน – กุมพาพันธ์
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบเขาที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลปลานกลาง 1,200-1,500 เมตรแถบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก จังหวัดชัยภูมิ เชียงใหม่
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย จีนตอนใต้ ไทย พม่า
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

ชื่อไทย : รองเท้านารีเหลืองปราจีน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum concolor (Lindl.ex Banteman) fitzer
ลักษณะทั่วไป :  ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2402 มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ก้านดอกยาวมีขน อาจมี 2–3 ดอกบนก้านเดียวกันได้ กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง กลีบในกางพอประมาณ เมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่ พื้นดอกสีเหลืองอ่อน มีประจุดเล็กๆ สีม่วงประปราย กระเปาะสีเดียวกับกลีบดอก ปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลมและงอนปลายเส้าเกสรเป็นแผ่นใหญ่
ช่วงออกดอก : เมื่อต้นสมบูรณ์เต็มที่
แหล่งที่พบในประเทศไทย : สกลนคร สระบุรี โคราช ตราด กาญจนบุรี ประจวบรีขันธ์
เขตการกระจายพันธุ์ : จีน พม่า ลาว ไทย เวียดนาม กัมพูชา
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

ชื่อไทย : รองเท้านารีเมืองกาญจน์, กล้วยไม้ร้องเท้านารีฤๅษี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum parishii(Rchb.f.)Strin
ลักษณะทั่วไป :  ค้นพบเมื่อ พ.ศ.2402 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดกาญจนบุรีและกำแพงเพชร เป็นกล้วยไม้อากาศเกาะอยู่ตามต้นไม้มีลักษณะเด่น คือ มีกลีบในคู่บิดเป็นเกลียวเป็นสายยาวกว่ากลีบนอกประมาณสามเท่าตัว
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมิถุนายน – กันยายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ขึ้นอิงอาศัยตามต้นไม้ในป่าดิบทางภาคตะวันตก
เขตการกระจายพันธุ์ : จีนตอนใต้ พม่า
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

ชื่อไทย : รองเท้านารีเหลืองตรัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum godefroyae (godefroy-Lebeuf) Stein
ลักษณะทั่วไป :  ใบค่อนข้างหนา รูปรีแกมขอบขนาน ขนาด 7-10*2.5-3 ซม.ปลายหยักมนตื้น ด้านบนสีเขียว ประเป็นขีดแถบขาว ด้านล่างมีแต้มสีม่วงค่อนข้างทึบ แผ่นใบกางออกเกือบอยู่ในแนวระนาบ ก้านช่อยาว 6-8ซม.สีม่วงแดง มีขนสั้นนุ่ม ดอกในช่อ 1-2 ดอก ขนาดประมาณ 6 ซม. ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2419 ขึ้นตามโขดหิน ถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเกาะรัง จังหวัดชุมพร ลักษณะเด่น คือ ใบลาย ท้องใบสีม่วง ปลายมนคล้ายรูปลิ้น ก้านดอกสีม่วงมีขน ดอกโตสีครีมเหลือง กลีบนอกบนรูปกลม ปลายยอดแหลมเล็กน้อย กลีบในสองข้างกลมรี ปลายกลีบเว้า ประจุดลายสีน้ำตาลจางตรงโคนกลีบแล้วค่อยจางออกตอนปลาย ปากกระเปาะขาวไม่มีลาย
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมีนาคม – สิงหาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามหมู่เกาะชายฝั่งตะวันตกทางภาคใต้ บริเวรจังหวัดพังงา กระบี่
เขตการกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะภาคใต้ของประเทศไทย
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

ชื่อไทย : รองเท้านารีอ่างทอง, รองเท้านารีช่องอ่างทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum angthong
ลักษณะทั่วไป :  คาดว่าเป็นลูกผสมของรองเท้านารีขาวสตูลกับรองเท้านารีเหลืองตรังที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหมู่เกาะบริเวณอ่าวไทย เช่น หมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ปลายใบมน ด้านบนสีเขียวคล้ำประลาย ด้านใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกยาวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กขนาดไม่สม่ำเสมอ การประจุดกระจายจากโคนกลีบ พื้นกลีบดอกสีขาว กลีบค่อนข้างหนา
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนเมษายน – สิงหาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : เกาะสมุย เกาะอ่างทอง
เขตการกระจายพันธุ์ : มีการกระจายพันธุ์บริเวณหมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

ชื่อไทย : รองเท้านารีสุขะกูล, รองเท้านารีปีกแมลงปอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum sukhakulii schoser & senghas
ลักษณะทั่วไป : ใบรียาวขนาด 10-12×2.5-3 ซม.ปลาบแหลมและมีหยักแหลมตื้นแผ่นในด้านบนลายสีเขียวอ่อนประสีเขียวแก่ด้านล่างสีเขียวอมเทา ก้านช่อสูง 18-30 ซม.สีม่วงมีขนดอกในช่อ กลีบเลี่ยงบนรูปรี สีเขียวอ่อนและมีเส้นสีเขียวเรียนขนานกับปลายกลีบแหลม กลีบดอกยาว กว่าทุกกลีบปลายกลีบแหลม กลีบดอกสีเขียว และมีจุดสีม่วงเป็นจำนวลมาก กลับปากเป็นถุงลึกสีม่วงแดง ขอบกลีบเรียบไม่ม้วนเข้าด้านใน ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2507 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดเลยบนยอดภูหลวง กล้วยไม้พันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีคางกบ แต่มีรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ พื้นกลีบสีเขียวมีจุดสีม่วงประปรายทั่วกลีบ ปลายกลีบดอกแหลม พื้นกลีบมีสีทางสีเขียวถี่ๆ ลายทางจากโคนดอกวิ่งไปรวมที่ปลายกลีบ กลีบในกางเหยียด ขอบกลีบมีขนเช่นเดียวกับบริเวณโคนดอก
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนสิงหาคม – ธันวาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบที่สู.จากระดับน้ำทะเลปลานกลาง 1,000 เมตรไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะในประเทศไทย
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

81_1_97882_เหลืองกระบี่
ชื่อไทย : รองเท้านารีเหลืองกระบี่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum exul (Ridl.) Rolfe
ลักษณะทั่วไป : กล้วยไม้ดิน ลำต้นสั้นและแตกกอ ใบค่อนข้างหนารูปขอบขนาน ขนาด 10-20×1.5-1.8 ซม.ปลายหยักแหลมตื้นใบสีเขียวเรียวทั้งสองด้านและกางออก เป็นแนวรัศมี ดอกเดี่ยว ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 ซม. สีเขียว หรือสีเขียวอมม่วงเข้มหลายแต้ม กลีบดอกสีน้ำตาลเหลือง โคนกลีบอาจมีจุด ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น กลีบกระเป๋าสีน้ำตาลเหลืองขอบด้านบนไม่ม้วนเข้าหากันค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2435 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบเกาะพงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะพังงา และจังหวัดชุมพร ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวไม่มีลาย ใบแคบและหนา ผิวเป็นมัน เส้นกลางใบเป็นรอยลึกรูปตัววี ก้านดอกแข็ง ดอกใหญ่ กลีบดอกนอกบนเป็นรูปใบโพธิ์กว้าง สอบตรงปลาย กลีบดอกสีขางไล่จากโคนกลีบ แนวกลางของกลีบเป็นสีเหลืองอมเขียวประด้วยจุดสีม่วง กลีบในสีเหลืองแคบและยาวกว่ากลีบนอก กระเปาะสีเหลืองเป็นมัน
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนเมษายน – พฤษภาพาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ขึ้นตามซอกหินหรือหน้าผาใกล้ทะเล
เขตการกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะในภาคใต้ที่ชุมพรและกระบี่
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

ชื่อไทย : รองเท้านารีเหลืองพังงา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum godenefroyae var.leucochilum
ลักษณะทั่วไป :  ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2435 ถิ่นกำเนิดอยู่บนภูเขาหินปูนแถบฝั่งทะเล ในจังหวัดภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายกับรองเท้านารี “เหลืองตรัง” แต่รองเท้านารีเหลืองพังงาจะมีสีครีมออกเหลือง และที่กระเปาะมีจุดประเล็กๆ สีน้ำตาล
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนเมษายน – สิงหาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามหมู่เกาะฝั่งตะวันตกทางภาคใต้ บริเวณจังหวัดพังงา กระบี่
เขตการกระจายพันธุ์ : ไม่มีข้อมูล
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

ชื่อไทย : รองเท้านารีคางกบ เอื้องคางกบ รองเท้านารีแมงภู่ เอื้องคางคก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum callosum (Rchb.f.)Strin
ลักษณะทั่วไป : กล้วยไม้ดิน ลำต้นสั้นและแตกกอ ใบรูปขอบขนาน ค่อนข้างบางขนาด 10-15*2-2.5 ซม.ปลายแหลมและหนักเป็นสามแฉกตื้น ผิวใบด้านบนลายเขียวสลับขาวเป็นแถบและหย่อมๆหลังใบด้านหลังเขียวลายไม่ชัด แผ่นใบกลางออกเป็นแนวรัศมี ออกดอกเดี่ยวที่ปลายยอด ก้านดอกตั้งตรงสีม่วงเข็ม ก้านช่อยาว 15-20 ซม. มีขน กลีบเลี้ยงบนแผ่กว้างสีขาวและมีสีเขียวแกมม่วงแดงตามยาว กลีบดอกรูปขอบขนาดโค้ง ขอบกลีบมีตุ่มสีน้ำตาล เข้มเป็นมันและมีขน กลีบกระเป๋าสีม่วงแดงแกมน้ำตาล ดอกบาน เต็มที่กว้าง 6-8 ซม.ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2428 ถิ่นกำเนิดอยู่ทั้งภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และบริเวณอ่าวไทยตามเกาะต่างๆ ลักษณะเด่น คือ คล้ายรองเท้านารีฝาหอย แต่แตกต่างตรงที่ปลายกลีบนอกบนของรองเท้านารีคางกบเรียวยาวแหลมกว่า ริมกลีบในเป็นคลื่นหรือพับม้วน กระเปาะมีเม็ดสีดำติดอยู่
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ตามพื้นดินตามป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลปานกลาง 500- 1,300 เมตร
เขตการกระจายพันธุ์ : มาเลเซีย
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

ชื่อไทย : รองเท้านารีฝาหอย, เอื้องผึ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum bellatulum (Rchb.f.) Strin
ลักษณะทั่วไป :  ใบค่อนข้างหนา รูปขอบขนานมีลายคล้ายหินอ่อนขนาด 6-15*2.5 ซม.ปลายหยักมนด้านบนสีเขียวแต้มประขาวหรือเขียวอ่อน ด้านล่างสีม่วงประนวลแผ่ใบกางออกไปทางแนวระนาบ ดอกเดียว ก้านช่อดอกสั้น ขนาด4-5 ซม.ขนาดดอกประมาณ 6 ซม.กลีบดอกยาวกว้างและกว้างกว่ากลีบเลี่ยง บนกลีบซ้อนทับกัน กลีบปากเป็นถุงขอบกลีบด้านบนม้วนเข้าด้านในทั้งกลีบเลี่ยง กลีบดอกและกลีบปากสีขาวครีมจนถึงถึงสีครีม แต่ละกลีบมีขนกำมะหยี่ปกคลุมทั้งสองด้านและมีจุดสีม่วงเข็มกระจายทั่วกลีบ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2431 ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหุบเขาในเขตพม่าต่อชายแดนไทยตอนเหนือแถบจังหวัดลำพูน และเขตอำเภอเชียงดาว ภาคใต้ เช่น หมู่เกาะอ่างทอง และเกาะช้างในจังหวัดพังงา เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ใบใหญ่ปลายมน ใบลายสีเขียวแก่และเขียวอ่อนใต้ท้องใบสีม่วงแดง ก้านดอกสั้นมีขน กลีบดอกนอกกว้างมนกลมปลายกลีบคุ้มลงด้านหน้า กลีบในทั้งสองกว้างมนรูปไข่ คุ้มออกด้านหน้า กลีบนอกและกลีบในเกยกันทำให้แลดูลักษณะดอกกลมแน่น กลีบดอกสีขาวนวล ประจุดสีม่วงจากโคนกลีบ กระเปาะมนกลมคล้ายฟองไข่นก Plover (ซึ่งเป็นที่มาของรองเท้านารีฝาหอยที่เรียกว่า “Plover Orchid”)
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนเมษายน – สิงหาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ขึ้นตามซอกหินหรือโคนต้นไม้ในป่าดิบชื้นทางภาคเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : พม่า จีน ลาว
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

ชื่อไทย : รองเท้านารีขาวสตูล, รองเท้านารีหนวดฤๅษี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum niveum  (Rchb.f.) Strin
ลักษณะทั่วไป :  กล้วยไม้ดิน ลำต้นสั้นและแตกกอ ใบรูปขอบขนานกว้าง 2-2.5 ซม.ยาว 8-10 ซม.ผิวด้านบนใบเขียวแก่สลับเขียวอมขาว หลังใบสีเขียวหรือมีประสีม่วงประปราย ปลายหยักมนไม่เท่ากัน แผ่นใบกางออกในแนวเกือบระนาบ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด จำนวน 1-3 ดอก ก้านช่อตั้งตรง ยาว 5-7 ซม.สีเขียวหรือสีเหลืองอมม่วงมีขนสั้นนุ่ม ขนาดดอก 4-6 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลืองอ่อนหรือเข้ม มีประสีเลือดหมูกระจายทั่วทั้งดอก ผิวมีขนละเอียดนุ่ม ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2411 ถิ่นกำเนิดอยู่ตามเกาะแถบภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ ใบมีลายสีเขียวคล้ำ ปลายมนพอสมควร ใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกแข็งยาวเรียวมีทั้งสีม่วงและเขียวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กปลายกลีบบานคุ้มมาข้างหน้า ดอกสีขาวเป็นมัน กลีบในประจุดสีม่วง กระเปาะรูปกลมเหมือนไข่สีเดียวกับกลีบคือ ขาว
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมิถุนายน – กันยายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบชื้นทางภาคตะวันตก
เขตการกระจายพันธุ์ : จีนตอนใต้ พม่า
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

ชื่อไทย : รองเท้านารีเหลืองเลย, รองเทานารีคอขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum esquirolei
ลักษณะทั่วไป :  ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2455 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบภูเขาในภาคอีสาน เช่น เลย เพชรบูรณ์ เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ใบยาว กลีบดอกด้านบนสีแดงเข้มออกน้ำตาล ขอบกลีบสีเหลืองอมเขียว ปลายกลีบบีบเข้า กลีบในเป็นสีขมพูแดง กระเปาะสีคล้ายกลีบดอก
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนธันวาคม – มีนาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ขึ้นตามซอกหินหรือซอกหินในที่ร่มทางภาคเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดียทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พม่า จีนตอนใต้
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

–          Endangered

ข้างเคียง
0

กล้วยไม้สกุลช้าง Rhynchostylis

0d724acb4dfd0aab00ec83b5380aae43

จากการสำรวจพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างที่มีอยู่ในโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศในแถบอินโดจีน อินเดีย ศรีลังกา ภาคใต้ของหมู่เกาะในทะเลจีน และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก สำหรับในประเทศไทยพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างมีกระจายพันธุ์อยู่ทุกภาคของประเทศ บางภาคอาจมีกล้วยไม้สกุลช้างชนิดหนึ่งแต่อาจไม่มีอีกชนิดหนึ่ง กล้วยไม้สกุลช้างที่พบตามธรรมชาติเพียง 4 ชนิด คือ ช้าง (Rhynchostylis gigantea) ไอยเรศหรือพวงมาลัย (Rhynchostylis retusa) เขาแกะ (Rhynchostylis coelestis) และช้างฟิลิปปินส์ (Rhynchostylis violacea) สำหรับ 3 ชนิดแรกมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง ส่วนช้างฟิลิปปินส์มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์

กล้วยไม้สกุลช้างมีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว มีลักษณะแตกต่างไปจากกล้วยไม้สกุลอื่นๆ คือ มีลำต้นสั้น แข็งแรง ใบแข็ง หนาค่อนข้างยาว อวบน้ำ เรียงชิดกันอยู่บนลำต้น ใบเป็นร่อง หน้าตัดของใบรูปตัววี สันล่างของใบเห็นได้ชัด ใบอาจมีเส้นใบเป็นเส้นขนานสีจางๆ หลายๆ เส้นตามความยาวของใบ ปลายใบหยักมนหรือเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน รากเป็นระบบรากอากาศ มีขนาดใหญ่ แขนงรากใหญ่ ปลายรากมีสีเขียวซึ่งสามารถปรุงอาหารด้วยวิธีสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ช่อดอกอาจห้อยลงหรือตั้งขึ้น ความยาวของช่อดอกเกือบเท่าๆ กับความยาวของใบ ดอกมีเป็นจำนวนมากแน่นช่อดอก กลีบนอกและกลีบในของดอกแผ่ออก อาจมีจุดหรือไม่มีจุดสีม่วงหรือสีน้ำเงินก็ได้ ขนาดของกลีบนอกโตกว่ากลีบใน เส้าเกสรสั้น ปากไม่มีข้อพับ ปลายปากไม่หยัก หรือหยักเป็นลอนเล็กๆ 3 ลอน ปลายปากชี้ตรงไปข้างหน้า ปากเชื่อมต่อกับฐานสั้นๆ ของเส้าเกสร จึงดูเหมือนว่าไม่มีฐานของเส้าเกสร เดือยของดอกแบน ชี้ตรงไปข้างหลัง มีอับเรณู 2 ก้อน แยกออกจากกัน ออกดอกปีละครั้ง บ้างต้นอาจมีดอกครั้งละหลายๆ ช่อ

ชื่อไทย : ช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis gigantea
ลักษณะทั่วไป :  กล้วยไม้ช้างมีรูปร่างใหญ่โตกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน ใบหนา แข็ง ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตรกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ปลายใบเป็นแฉก 2 แฉก มน และสองแฉกของใบไม่เท่ากัน รากเป็นรากอากาศ มีขนาดใหญ่ ปลายรากมีสีเขียว ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกโค้งลง ช่อดอกยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ช่อละ 25-60 ดอก ขนาดดอกประมาณ 2.5-3.0 เซนติเมตร กลีบนอกคู่ล่างกว้างยาวพอๆ กันกับกลีบนอกบน ส่วนกลีบในเรียวกว่ากลีบนอก เดือยดอกอยู่ในลักษณะเหยียดตรงไปข้างหน้า ปลายแผ่นปากหนา แข็งและปลายสองข้างเบนเข้าหากัน ปลายปากมี 3 แฉก สองแฉกข้างมน แฉกกลางมนและมีขนาดเล็กกว่ามาก ใกล้โคนปากด้านบนมีสันนูนเตี้ยๆ 2 สัน ดอกมีกลิ่นหอมฉุน หอมไกล กล้วยไม้ช้างเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากเนื่องจากเลี้ยงได้ง่าย ออกดอกทุกปี การที่กล้วยไม้ชนิดนี้ได้ชื่อว่า “ช้าง” อาจมาจากสองกรณีคือ ลักษณะที่มีลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกใหญ่กว่ากล้วยไม้ชนิดอื่น อีกกรณีหนึ่งอาจเป็นเพราะดอกตูมของกล้วยไม้ชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายหัวช้างและมีเดือยดอกคล้ายกับงวงช้าง
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ และบานทนได้ประมาณสองหรือสามสัปดาห์
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : กล้วยไม้ช้างมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พม่า ทางตอนใต้ของจีน ประเทศในแถบอินโดจีน อินโดนีเซีย และหมู่เกาะทะเลจีนใต้ สำหรับในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในแถบภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น หนองคา มุกดาหาร สกลนคร เลย นครราชสีมา ต่ำลงมาจนถึงตอนเหนือของภาคกลาง เช่น นครสวรรค์ ชัยนาท และภาคตะวันออก เช่น ปราจีนบุรี และแถบจังหวัดกาญจนบุรี พบขึ้นกระจายทั่วไปในป่าที่มีระดับความสูงประมาณ 260-350 เมตรจากระดับน้ำทะเล
สถานภาพ :

–                    พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–                    ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
92cc2c7f6a937fd5e5cf40a12d1778fa

ชื่อไทย : ช้างกระ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis gigantean (Lindl.) Ridl.
ลักษณะทั่วไป :  ต้นตั้งตรงเอนเล็กน้อย รากใหญ่และยาว ใบใหญ่ หนา อวบ และเหนียวขนาด 15-30 x 4-6 (ถึง 8) เซนติเมตร เรียงตัวยาวสลับซ้ายขวาค่อนข้างถี่ ช่อดอกทอดตัวเอนลงเล็กน้อยหรือเอนโค้งลง ยาวใกล้เคียงกับความยาวของใบ ดิกในช่อค่อนข้างหนาแน่นบานทนเป็นสัปดาห์ ขนาดดอก 2- 2.5 เซนติเมตร กลิ่นหอมฟุ้งกระจาย กล้วยไม้ชนิดนี้มีหลายสายพันธุ์ มีชื่อเรียนตามสีของดอก ทุกพันธุ์มีกลิ่นหอม แต่พันธุ์ที่ปลูกง่ายคือช้างกระ
ช่วงออกดอก :  ประมาณเดือนธันวาคม – กุมพาพันธ์ (ช่วงฤดูหนาว)
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : พบเกือบทุกภาคของประเทศไทย (ยกเว้นภาคใต้)
สถานภาพ :

–                    พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–                    ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
89751bc4e0f5a561edb13f0aff53c3e9

ชื่อไทย : ช้างเผือก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis gigantean  (Lindl.) Ridl.
ลักษณะทั่วไป :  กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นอวบตั้งตรงหรือเอนเอียงเล็กน้อย ใบรูปขนานออกเรียงสลับกันระนาบเดียวกันผ่าใบหน้าและเหนียว มีลายเป็นเส้นสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวเข็มตามความยาวของใบ ขนาดใบกว้าง 5- 7 เซนติเมตร ยาว 25-40 เซนติเมตรดอกออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกช่อดอกค่อนข้างหนาแน่นโค้งเอนลง ดอกมีสีขาวทั้งดอก มีกลิ่นหอมมากเวลาสาย
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนธันวาคม – กุมพาพันธ์ (ช่วงฤดูหนาว)
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : พบตามภาคตะวันออกของไทย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถานภาพ :

–                    พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–                    ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

     5bd0ee0149f882c2dfdf1dbe170f04f1
ชื่อไทย : ช้างแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis gigantean(Lindl.)Ridl.
ลักษณะทั่วไป :  กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นอวบตั้งตรงหรือเอนเอียงเล็กน้อย ใบรูปขอบขนาน ออกเรียนสลับระนาบเดียวกัน แผ่นใบหนาและเหนี่ยวมีลายเป็นเส้นสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวเข้มตามความยาวของใบ ขนาดใบกว้าง 5-7 เซนติเมตร ยาว 25-40 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อรูปทรงกระบอก ช่อดอกค่อนข้างหนาแน่น โค้งลง ดอกมีแดงเข็มทั้งดอก มีกลิ่นหอมมากเวลาสาย
ช่วงออกดอก :  ประมาณเดือนธันวาคม – มีนาคม (ช่วงฤดูหนาว)
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของไทย พม่า ลาว จีนตอนใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
สถานภาพ :

–                    พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–                    ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

ชื่อไทย : ช้างพลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis(Lindl.)Ridl.
ลักษณะทั่วไป :  กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นตั้งตรงเล็กน้อย ใบหนาและแข็งแผ่นใบมีสีเขียว ขอบใบเรียว ปลายใบแยกออกเป็นสองแฉก เห็นเส้นกลางใบเป็นล่องชัดเจน ขนาดใบกว้าง 5 -7 เซนติเมตร ยาว 25-40 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกห้อยลง แต่ละช่อจะมีดอกห้อยหนาแน่น กลีบเลี้ยงละกลีบดอกจะมีพื้นสีขาว มีแต้มสีชมพุแดง เป็นถบกว้างกว่าช้างกระ กลีบปากสีชมพูแดง ดอกมีกลิ่นหอมเวลาสาย
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนธันวาคม – กุมพาพันธุ์
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ :ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกของไทย, จีน  และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถานภาพ :

–                    พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–                    ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

     577064
ชื่อไทย : ช้างดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pomatocalpa spicatum Breda
ลักษณะทั่วไป :  ลำต้น เจริญปลายสูง 7- 10 เซนติเมตร ลำต้นสั้น ใบรูปขอบขนานปลายใบเว้ากว้าง 2- 3 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อจากซอกใบข้างลำต้นมี่หลายช่อ แต่ละชื่อยาว 8- 13 เซนติเมตร มักทอดขนานกับพื้นหรือห้อยลง ดอกย่อยมีจำนวลมากเรียนแน่น กลีบเลี่ยงและกลีบดอกสีเหลือง มีประสีน้ำตาลแดง กลีบปากสีจางมีเดือยขนานใหญ่ ปลายกลีบปากเป็นติ่ง ดอกบานเต็มที่กว้าง 0.6 เซนติเมตร
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนสิงหาคม – ตุลาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถานภาพ :

–                    พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–                    ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

7b0770a462965cc9df9f0953fa48b168
ชื่อไทย : ไอยเรศหรือพวงมาลัย  หางกระลอก  เอื้องพวงหางฮอก(ภาคเหนือ)  อัยเรศ(กรุงเทพมหานคร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis retusa (L.)Blume
ลักษณะทั่วไป :  ไอยเรศมีลำต้นใหญ่แข็งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้าง แต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า ใบยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร มีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง ปลายใบมีลักษณะเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก โค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านช่อยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตรมีดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 150 ดอก มากกว่ากล้วยไม้ช้าง รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พวงมาลัย” ต้นใหญ่ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกขนาดมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน แผ่นปากมีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไปข้างหน้า มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ไอยเรศที่มีดอกสีขาว ไม่มีสีม่วงปะปนอยู่เลย เรียก “ไอยเรศเผือก” ซึ่งหาได้ยากไอยเรศปลูกเลี้ยงได้ง่าย ให้ดอกทุกปี และชอบแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้าง การปลูกอาจเกาะไว้กับกิ่งไม้หรือท่อนไม้ ไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดด หรือจะปลูกลงกระเช้าไม้ แขวนไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดดเพียงพอ ควรให้ได้รับแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้างเล็กน้อย และควรปลูกในเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม เนื่องจากช่วงต้นฤดูฝนจะทำให้ต้นและรากเติบโตดี
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนเมษายน- พฤษภาคม
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ :ไอยเรศเป็นกล้วยไม้ป่าพันธุ์แท้ที่มีถิ่นกำเนิดกระจายไปทั่วประเทศไทยและในประเทศศรีลังกา เนปาล ภูฎาน พม่า จีน ประเทศแถบอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และหมู่เกาะบอร์เนียว ในประเทศไทยพบในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 150-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล
สถานภาพ :

–                    พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–                    ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

1062411180071280
ชื่อไทย : เอื้องไอยเรศเผือก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis retusa (L.)Blume “alba”
ลักษณะทั่วไป :  กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นขนาดใหญ่แข็งแรง และมักห้อยลงเล็กน้อย ใบรูปขอบขนาน ออกเรียนสลับซ้ายขวา ลักษณะใบแคบยาวและเหนียว ปลายใบตัดเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน ดอก ออกเป็นช่อรูปทรงกระบอก ช่อดอกยาวโค้งลง ดอกย่อยเรียนตัวค่อนข้างหนาแน่น กลีบเลี้ยง กลีบดอก และกลีบปากมีสีขาวทั้งหมด
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนเมษายน – กรกฎาคม (ฤดูร้อน-ต้นฤดูฝน)
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : พบมากทั่วทุกภาคของไทย พม่า จีนตอนใต้ มาเลเซีย  อินโดจีน ศรีลังกา และอินเดีย
สถานภาพ :

–                    พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–                    ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
1250560656

ชื่อไทย : เขาแกะ  เอื้องขี้หมา  เขาควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis coelestis (Rchb.f.) Rchb. F. ex .H.J. Veitch
ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวในสกุลช้างที่มีลักษณะช่อดอกตั้งขึ้น ใบมีลักษณะแบนคล้ายแวนด้า ยาวประมาณ 15เซนติเมตร และบางกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โคนใบซ้อนกันเป็นแผง ใบโค้งสลับกันในทางตรงกันข้าม ด้วยลักษณะนี้เองจึงได้ชื่อว่า “เขาแกะ” ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ดอกมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอกทั้งกลีบนอกและกลีบในมีพื้นสีขาว มีแต้มสีม่วงครามที่ปลายกลีบทุกกลีบ ฐานของแผ่นปากและครึ่งหนึ่งของแผ่นปากที่ต่อกับฐานมีสีขาว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของแผ่นปากเป็นสีม่วงครามเช่นเดียวกับที่ปลายกลีบแต่สีเข้มกว่า ปากของเขาแกะคล้ายกับปากของไอยเรศ สีม่วงครามของเขาแกะบางต้นอาจมีสีต่างออกไป เช่น มีสีม่วงมากจนเกือบแดง เรียกว่า “เขาแกะแดง” บางต้นมีสีไปทางสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน บางต้นดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ เรียกว่า “เขาแกะเผือก” ซึ่งค่อนข้างหาได้ยาก เดือยดอกยาวกว่าและแคบกว่าของไอยเรศ ปลายของเดือยดอกโค้งลง ดอกบานทนประมาณสองสัปดาห์ เขาแกะเป็นกล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนแล้งได้ดี ชอบแสงแดดและอากาศถ่ายเทมากกว่าไอยเรศและช้าง อาจปลูกติดไว้กับต้นไม้ ท่อนไม้ หรือปลูกลงกระเช้าไม้ เนื่องจากปลูกเลี้ยงได้ง่าย ช่อดอกตั้ง สีของดอกเป็นสีม่วงครามหรือใกล้ไปทางสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีที่หาได้ยากในกล้วยไม้ทั่วๆ ไป จึงนิยมนำเขาแกะไปผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้ชนิดอื่นอีกหลายชนิดโดยเฉพาะกล้วยไม้ในสกุลใกล้เคียงกับกล้วยไม้สกุลแวนดา เพื่อพัฒนาเป็นกล้วยไม้ตัดดอกหรือเป็นกล้วยไม้ประเภทสวยงาม
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนเมษายน – มิถุนายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย: พบตามป่าผลิใบหรือป่าดิบแล้ง ยกเว้นภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : เขาแกะมีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย มักพบขึ้นในป่าโปร่งผลัดใบ ทั้งในภูมิภาคที่เป็นภูเขาและที่ราบ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถานภาพ :

–                    พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–                    ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

ข้างเคียง
0

กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซีส Phalaenopsis

art_429098

กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซีสปลูกเลี้ยงกันในประเทศไทยมานานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีผู้สนใจมากนักเนื่องจากดอกมีขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลนี้กำลังเป็นที่สนใจของผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั่วไป ทั้งนี้ก็เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ได้ถูกปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนทำให้สวยงามทั้งรูปทรงดอกและสีของดอก ดอกกลมใหญ่ กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง ก้านช่อยาว เหมาะสำหรับปักแจกัน ต้นหนึ่งออกดอกได้หลายช่อ แต่ละพันธุ์ออกดอกต่างเดือนกัน บางชนิดออกดอกในเดือนที่ตลาดต้องการดอกไม้ตัดดอก จึงทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ตัดดอกสนใจการเลี้ยงกล้วยไม้สกุลนี้มากขึ้น

กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ชวา สุมาตรา มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลนี้อยู่ 2-3 ชนิด เช่น เขากวาง กาตาฉ่อ ขนาดของดอกมีใหญ่และเล็กตามลักษณะของพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันอยู่ในขณะนี้เป็นพันธุ์ลูกผสม ที่มีการปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนดอกกลมใหญ่ ลักษณะของลำต้นทรงเตี้ยตรง การเจริญเติบโตเป็นแบบโมโนโพเดี้ยล ใบอวบน้ำ ค่อนข้างหนาแผ่แบนรูปคล้ายใบพาย ดอกกลมใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ 5-8 ซม. กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง มองดูดอกแล้วงาม ทั้งฟอร์มดอกและสี ก้านช่อยาว บางช่อยาวถึง 80 ซม. ช่อหนึ่งมีหลายดอก เรียงไปตามก้านช่ออย่างมีระเบียบ บางต้นแยกออกเป็นหลายช่อ ดอกบานทน ถ้าบานอยู่กับต้นสามารถบานอยู่ได้นานเป็นเดือน เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายสามารถเจริญงอกงามและออกดอกให้ได้ดีในสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ กัน นอกจากนี้ยังสามารถผสมข้ามสกุลกับสกุลกล้วยไม้สกุลต่างๆ ได้หลายสกุล เช่น ผสมกับสกุลแวนด้า ผสมกับสกุลอะแรคนิส ผสมกับสกุลเรแนนเทอร่า เป็นต้น
การปลูกกล้วยไม้ฟาแลนอปซีสลงกระถางหรือกระเช้าไม้ ควรตั้งต้นกล้วยไม้ตรงกลางให้โคนต้นส่วนเหนือรากอยู่ต่ำกว่าระดับขอบภาชนะปลูกเล็กน้อย การวางต้นกล้วยไม้สูงเกินไปจะทำให้รากกล้วยไม้ได้รับความชื้นไม่เพียงพอ แต่ถ้าปลูกต่ำเกินไปกล้วยไม้ก็จะอยู่ในสภาพที่ชื้นหรือแฉะเกินไป การใส่เครื่องปลูกควรใส่แค่กลบรากเท่านั้น อย่าใส่เครื่องปลูกมากเกินไปจนกระทั่งสูงขึ้นมากลบส่วนของส่วนโคนต้นเพราะอาจจะทำให้โคนต้นแฉะและโคนใบเน่าได้ การปลูกควรปลูกก่อนเข้าฤดูฝนคือประมาณเดือนมีนาคม ถ้าปลูกในฤดูฝนอากาศมีความชื้นสูงและกล้วยไม้กำลังอวบน้ำ อาจทำให้ใบและยอดเน่าได้

คลิกดูรูป

ชื่อไทย : เขากวางอ่อน,  เอื้องม้าลายเสือ, เอื้องตะเข็บ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phalaenopsis cornucervi (Breda) Bl. & Rchb. f.
ลักษณะทั่วไป :  กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นสูง 4-7 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1- 1.5 เซนติเมตร ผิวสีเทาเงินมันเล็กน้อย ขึ้นเป็นกระจุกแน่น ตามข้อมีแอ่งบุ๋มซึ่งเป็นตำแหน่งที่เกิดช่อดอก ใบ แผ่นใบรูปรีแกมรูปใบหอก ขนาด 8-10x 1 เซนติเมตร ดอก ช่อดอกเกิดตามข้อใกล้ยอดก้านช่อสั้น ดอกในช่อ 2- 4 ดอก ก้านดอกยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร ขนาดดอกประมาณ 1 เซนตอเมตร บานทน 1-3 วัน พบบ่อยมาก
ช่วงออกดอก : กรกฎาคม – สิงหาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย  : ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณในทางภาคเหนือและภาคตะวันตก
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

คลิกดูรูป

ชื่อไทย : กาตาฉ่อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phalaenopsis decumbens Holtt.
ลักษณะทั่วไป : ออกดอกเป็นช่อ 8-10 ดอก กลีบสีขาว โคนมีจุดหรือขีดสีม่วง โคนและปลายกลีบดอกกระดก         ขึ้น สีขาว ด้านโคนสีม่วง ดอกขนาด 4-6 ซม.
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม (เกือบตลอดปี)
แหล่งที่พบในประเทศ : ตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทย
เขตการกระจายพันธุ์ : ไม่มีข้อมูล
สถานภาพ : ไม่มีข้อมูล

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

 

 

ข้างเคียง
0

กล้วยไม้สกุลเข็ม Ascocentrum

3b1e6f8edf3fb19c6c91fd493da9f780

กล้วยไม้สกุลเข็มได้สมญาว่าเป็น “ราชินีของกล้วยไม้แวนด้าแบบมินิหรือแบบกระเป๋า” เพราะเป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเล็กทั้งขนาดต้น ช่อดอก ขนาดดอก และมีดอกที่มีสีสดใสสะดุดตามากกว่ากล้วยไม้อื่นๆ ในธรรมชาติพบกล้วยไม้สกุลนี้กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลงไปถึงอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จัดเป็นกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอ มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลช้าง สกุลแวนด้า สกุลกุหลาบ มีลำต้นสั้น ใบเรียงแบบซ้อนทับกัน รากเป็นระบบรากอากาศ ออกดอกตามข้อของลำต้นระหว่างใบ ช่อดอกตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอก จัดเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้าที่มีดอกขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลเข็มแท้อยู่ 4 ชนิดคือ เข็มแสด เข็มแดง เข็มม่วง และเข็มหนู แต่ที่มีบทบาทสำคัญในการผสมปรับปรุงพันธุ์ คือ เข็มแดง เข็มแสด และเข็มม่วง

คลิกดูรูป           คลิกดูรูป

ชื่อไทย : เอื้องเข็มแดง, เอื้องม้าก่ำ.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ascocentrum curvifolium (Lindl.) Schltr
ลักษณะทั่วไป :  ใบมีสีเขียวอ่อน ค่อนข้างอวบน้ำ ใบแคบ โค้ง เรียว ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ในฤดูแล้งขอบใบจะปรากฏจุดสีม่วงประปรายและจะหนาแน่ขึ้นเมื่อแล้งเพิ่มมากขึ้น ดอกสีแดงอมส้ม ดอกโตประมาณ 1.5 เซนติเมตรช่อดอกรูปทรงกระบอก ตั้งตรง แข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกแน่นช่อ บานทนนับเป็นสัปดาห์
ช่วงออกดอก : ประมาณกุมพาพันธ์- เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย  : ที่ระดับความสูง 100-300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามป่าดิบแล้งหรือป่าเบญจพรรณในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก
เขตการกระจายพันธุ์: พบอินเดียตอนเหนือ ศรีรังกา พม่า และลาว
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

คลิกดูรูป           คลิกดูรูป

ชื่อไทย : เอื้องเข็มแสด, ทุ่งสุวรรณ, เอื้องมันปู, เอื้องฮ่องคำ, เอื้องเหลืองพระฝาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ascocentrum miniatum (Lindl.) Schltr
ลักษณะทั่วไป :  เข็มแสดมีลำต้นไม่สูงนัก ใบเรียงซ้อนกันแน่น ใบอวบหนา ปลายใบเป็นฟันแหลม และโค้งเล็กน้อย ใบสีเขียวแก่ และอาจมีสีม่วงบ้างเล็กน้อย เมื่อมีสภาพอากาศแห้งแล้ง ใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกมีกลีบหนา ผิวกลีบเป็นมันสีส้มหรือสีเหลืองส้ม ขนาดดอกโตประมาณ 1–1.5 เซนติเมตร ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกแน่นช่อ ช่อหนึ่งอาจมีมากกว่า 50 ดอก
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามธรรมชาติในทุกภาคของประเทศไทย(ยกเว้นภาคตะวันตก) ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย
เขตการกระจายพันธุ์ : อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

คลิกดูรูป                         คลิกดูรูป

ชื่อไทย : เอื้องเข็มม่วง, เอื้องเขาแกะใหญ่, เอื้องขี้ครั่ง, เอื้องครั่งฝอย, เขาแกะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ascocentrum ampullaceum (Roxb.) Schltr.
ลักษณะทั่วไป :  เข็มม่วงมีลำต้นตั้งแข็ง ใบแบนกว้าง ปลายตัดและมีฟันแหลมๆ ไม่เท่ากันทลายฟัน ต้นสูง 4-10 ซนติเมตร ใบยาวประมาณ 5-12 x 1.5-2  เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ใบสีเขียวคล้ำ ในฤดูแล้งใบจะมีจุดสีม่วงเล็กน้อย ดอกสีม่วงแดง ก้านดอกสั้นเป็นสีเดียวกับดอก เดือยดอกยาวดอกโตประมาณ 2 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งตรงรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกแน่น ช่อหนึ่งมีประมาณ 30 ดอก มักออกดอกบริเวณส่วนล่างของลำต้นดอกบานทนประมาณ 2 สัปดาห์
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนกุมพาพันธ์ – พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามป่าดิบแล้งทางภาคเหนือและภาคตะวันตก
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดียวตอนเหนือ ภูฏาน เนปาล เทือกเขาหิมาลัยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พม่า จีน ลาว
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

คลิกดูรูป

ชื่อไทย : เอื้องเข็มชมพู, เข็มหนู, กุหลาบดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ascocentrum semiteretifolium Seidenf.
ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้ที่มีใบเป็นแบบใบกลม มีร่องลึกทางด้านบนของใบ ใบกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร มีดอกสีม่วงอ่อนช่อดอกตั้งหรือเอนเล็กน้อย ยาวใกล้เคียงใบ ดอกในช่อโปร่ง ขนาดดอก 0.6-1เซนติเมตร กล้วยไม่ชนิดนี้พบน้อยมาก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย ลักษณะของต้นและดอกไม่เป็นที่นิยมของนักปลูกเลี้ยง
ช่วงออกดอก :  ประมาณมีนาคม – เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ระดับความสูง 1,800-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นกล้วยไม้ที่ค่อนข้างหายากและตามป่าดิบแล้งในภาคเหนือ
การกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะในปนะเทศไทย
สถานภาพ :

–          พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518

–          ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

กล้วยไม้สกุลเข็มเป็นกล้วยไม้ที่ดอกมีสีสันสดใส มีช่อดอกแข็งชูตั้งขึ้นเป็นรูปทรงกระบอก ดอกแน่นเป็นระเบียบ สามารถให้ดอกพร้อมกันได้หลายช่อ ปลูกเลี้ยงง่าย จึงนิยมนำกล้วยไม้สกุลเข็ม (Ascocentrum) ผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลแวนด้า (Vanda) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมแอสโคเซ็นด้า (Ascocenda) ซึ่งจะทำให้ได้กล้วยไม้ที่มีสวยงามขึ้น ออกดอกดกขึ้น ดอกบานทนและปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น
ลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับแรก

หมายถึงแอสโคเซ็นด้าที่เกิดจากการผสมระหว่างแวนด้ากับเข็มโดยตรง เป็นแอสโคเซ็นด้าที่มีสายพันธุ์แวนด้าและเข็มอย่างละครึ่ง แอสโคเซ็นด้าระดับแรกมีคุณสมบัติเด่นอยู่หลายประการ เช่น สีของดอกที่สดใสสวยสะดุดตา สำหรับรายละเอียดต่างๆ เช่นจุดประ หรือแต้มสีต่าง ที่ปรากฏบนดอกแวนด้าจะเลือนลางหรือเหลือเพียงจุดละเอียดประปรายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดของดอกจัดอยู่ในประเภทดอกขนาดกลาง (intermediate type) ช่อดอกรูปทรงกระบอกตั้ง มีจำนวนดอกภายในช่อมากกว่าแวนด้า แอสโคเซ็นด้าระดับนี้จะมีนิสัยเลี้ยงง่าย โตเร็ว และให้ดอกตลอดทั้งปีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เช่น

1.แอสโคเซ็นด้า คาธี เออนี่ (Ascoda Kathy Arne) เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้า เจเนท ฟูกูโดะ (V. Janet Fukudo) กับ เข็มแดง (Asctum currvifolium)

2.แอสโคเซ็นด้า เมม จิม วิลกินส์ (Ascoda Mem Jim Wilkins) เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้า เจนนี่ ฮาชโมโตะ (V. Jennie Hashimoto) กับ เข็มแดง (Asctum curvifolium)

3.แอสโคเซ็นด้า ฟลอริด้า ซันเซต (Ascoda Florida Sunset) เป็นลูกผสมระหว่างแวนด้า เจฟฟรีย์ (V.Feffrey) กับ เข็มแดง (Asctum curvifolium)

4.แอสโคเซ็นด้า ครายเซ่ เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้าลาเม็ลเลต้า กับ เข็มแสด

5.แอสโคเซ็นด้า สาคริก เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้าเซนเดอร์เรียน่า กับ เข็มแสด

6.แอสโคเซ็นด้า เบบี้ บลู (Ascda Baby Blue) เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้า เซอรูเลสเซ็นส์ หรือ ฟ้ามุ่ยน้อย (V. coerulescens) กับเข็มม่วง
ลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับสอง

หมายถึงลูกผสมเอสโคเซ็นด้าที่เกิดจากการใช้แอสโคเซ็นด้าระดับแรกที่ปลูกเลี้ยงจนออกดอกแล้วมาผสมกลับไปหาแวนด้าใบแบนหรือเข็มอีกที ลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับสองที่เกิดจากการผสมกลับไปหาแวนด้าพบว่า มีขนาดต้นโตขึ้น ขนาดดอกใหญ่ขึ้น บางต้นมีขนาดดอกเท่าแวนด้า ส่วนลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับสองที่เกิดจากการผสมกลับไปหาเข็มพบว่า ต้นมีขนาดและรูปทรงเล็กลง ทั้งขนาดดอกก็เล็กลงกว่าแอสโคเซ็นด้าระดับแรก แต่สีดอกจะดูสดใสสะดุดตาขึ้น สำหรับลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับสองมีดังนี้

1.แอสโคเซ็นด้า มีด้าแซนด์ (Ascda. Medasand) เป็นลูกผสมระหว่างแอสโคเซ็นด้า มีด้า อาร์โนลด์ (Ascda. Meda Anold) กับ แวนด้า แซนเดอร์เรียน่า (V. Sanderiana)

2.แอสโคเซ็นด้า จิ้ม ลิ้ม (Ascda. Jim Lim) เป็นลูกผสมระหว่าง แอสโคเซ็นด้า มีด้า อาร์โนลด์ (Ascda. Meda Arnold) กับ แวนด้า เบนโซนิอิ (V. bensonii)

3.แอสโคเซ็นด้า บีวิทเชด (Ascda. Bewitched) เป็นลูกผสมระหว่าง แอสโคเซ็นด้า มีด้า อาร์โนลด์ (Ascda. Meda Arnold) กับ แวนด้า บิล ซัตตัน (V. Bill Sutton)

4.แอสโคเซ็นด้า ซาราวัค (Ascda. Sarawak) เป็นลูกผสมระหว่าง แอสโคเซ็นด้า มีด้า อาร์โนลด์ (Ascda. Arnold) กับ แวนด้าบอร์เนียว(V. Borneo)

5.แอสโคเซ็นด้า ลิเลียน ยูริโกะ นิวิอิ (Ascda. Lilian Yuriko Nivei) เป็นลูกผสมระหว่างแอสโคเซ็นด้า โอฟิเลีย (Ascda. Ophelia) กับ แวนด้าบอสชิอิ (V. Boschii)

6.แอสโคเซ็นด้า แยบ กิม ไฮ (Ascda. Yap Kim Hei) เป็นลูกผสมระหว่าง แอสโคเซ็นด้า โอฟิเลีย (Ascda. Ophelia) กับ แวนด้า เซอรูเลีย หรือ ฟ้ามุ่ย (V. coerulea)