Tammas

Page 1

ธรรมาสน์ทรงปราสาท

เมืองน่าน

ธัญญ์ฐิตา แดงปะละ



ธรรมาสน์ ทรงปราสาท เมืองน่าน

ธรรมาสน์ เมืองน่าน

1


ธรรมาสน์ทรงประสาท เมืองน่าน ธรรมาสน์เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ในการแสดงธรรม หรือ เทศนาธรรม ธรรมาสน์จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อการยกระดับของผู้แสดงธรรม เพราะ พระธรรมเป็นของสูงต้องให้ความเคารพนับถือเนื่องจากเป็นคำ�สั่ง สอนของพระพุทธเจ้า และการที่พระสงฆ์ได้แสดงพระธรรมเพื่อสั่ง สอน อบรม ขัดเกลาจิตใจของอุบาสก อุบาสิกานั้นจะต้องมีพื้นที่เฉพาะ พระสงฆ์เพื่อให้การเทศน์นั้นน่าสนใจ เป็นจุดเด่นให้เกิดความตั้งใจใน การแสดงธรรมของพระสงฆ์ ธรรมาสน์จึงออกแบบให้มีโครงสร้างที่ สอดคล้องกับการใช้สอย กล่าวคือในอดีตนั้นไม่มีเครื่องกระจายเสียง เหมือนปัจจุบัน ดังนั้น การสร้างธรรมาสน์จึงมีการยกระดับพื้นที่ให้สูง กว่าระดับพื้นของผู้มาฟังอีกระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้เสียงที่พระสงฆ์เปล่ง ออกไปมีการ กระจายเสียงได้ไกลเพราะอยู่ที่สูงกว่า ผู้ฟังจึงสามารถ ได้ยินทั่วทุกคน การสร้างธรรมาสน์นั้นมีโครงสร้างขึ้นมาสำ�หรับการนั่งเพียงคนเดียว ฉะนั้นการออกแบบโครงสร้างจึงมีความกะทัดรัดงดงามให้มีความ เหมาะสมกับสถานที่การใช้งาน และรูปทรงของธรรมาสน์ก็มีจุดประสงค์ ในการสร้างคือ เพื่อป้องกันมิให้พระผู้เทศน์เกิดความประมาทในการ แสดงธรรม ส่วนบริเวณรอบธรรมาสน์ที่มีแผงกั้นทั้งสามด้านก็เพื่อ ปกปิดร่างกายของพระเนื่องจากในการเทศน์นั้นพระสงฆ์ไม่ต้องคุมผ้า ที่ตักก็ได้ถ้าเกิดอาการร้อน อันเป็นผลเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่มี ความร้อนชื้นและยังเป็นการสำ�รวม กาย วาจา ใจ ของพระสงฆ์ไม่ให้เห็น ผู้ฟังเพราะพระหนุ่ม สามเณร เมื่อพบเห็นหญิงสาวที่มาทำ�บุญอาจทำ�ให้ จิตใจฟุ้งซ่านได้ 2

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ลักษณะเด่นของธรรมาสน์ทรงประสาท เมืองน่าน ธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยมที่ฐานก่ออิฐฉาบด้วยปูน ส่วนตัวธรรมาสน์ จนถึงยอดสุดจะทำ�จากไม้ทั้งหมดจะพบธรรมาสน์ลักษณะนี้อยู่ที่วัด พญาวัด วัดกู่คำ� วัดภูมินทร์ และวัดพญาภู ส่วนตัวธรรมาสน์นั้นก็จะมี ลักษณะที่โดดเด่นต่างกันออกไป ธรรมาสน์วัดพญาวัดใช้เทคนิคการฉลุเรื่องราวของพระพุทธเจ้าตอน เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มาเป็นแฝงกั้นธรรมาสน์ทั้งสามด้าน ธรรมาสน์วัดกู่คำ�มีการปั้นพญานาคไว้ตรงส่วนฐานทั้งสี่ของ ธรรมาสน์ใช้เทคนิคการประดับกระจกเป็นรูปกลีบบัว เรขาคณิต ธรรมาสน์วัดภูมนิ ทร์มีการปั้นลวดลายพรรณพฤกษาไว้ส่วนฐานผสม กับตัวธรรมาสน์ท่ใี ช้เทคนิคลายรดน�้ำซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างลาย ปูนปั้นประดับกระจกจืนกับลายรดน�้ำได้อย่างลงตัว ธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยมที่ท�ำจากไม้ทงั้ หลัง พบที่วัดศรีพันต้น ส่วนฐานมีการแกะสลักลายประดับด้วยกระจกสีส่วนยอดจะมีลักษณะ คล้ายรูปดอกบัวค�่ำซ้อนชัน้ กันขึ้นไปสวยงาม ที่วัดพระเกิดกับวัด ช้างเผือกจะใช้เทคนิคเหมือนกันทั้งรูปทรงธรรมาสน์รวมไปถึงเทคนิคการ ประดับตกแต่งจะตกแต่งด้วยปูนปั้นลายเชือกตัดขอบรอบกระจกที่ ประดับอยู่ ส่วนวัดช้างค�ำ้ เป็นธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยมที่มีลักษณะแตกต่าง ออกไปจากทุกวัดที่พบคือจะท�ำจากปูนทั้งหมดมีเพียงบันไดนาคเท่านัน้ ที่ ท�ำจากไม้รวมถึงลวดลายที่ประดับบนธรรมาสน์ส่วนใหญ่เป็นเทคนิคลาย ปูนปั้นทั้งหมด ธรรมาสน์ทรงแปดเหลี่ยมทำ�จากไม้ทั้งหลังใช้เทคนิคการลงรัก ปิดทองทั้งหลัง ส่วนฐานมีการแกะสลัก 12 ราศี และสิ่งที่น่าสนใจคือ บันไดนาคที่เป็นลำ�ตัวของนาคพันกันเป็นเกลียวในแต่ละขั้นบันไดขึ้นไป ธรรมาสน์ เมืองน่าน

3


ประโยชน์ในการใช้สอย นิยมให้พระภิกษุและสามเณรท�ำการเทศน์และนั่งบนธรรมาสน์ ส่วน คฤหัสถ์ เช่น ชี อุบาสก อุบาสิกา หากจะแสดงธรรมโดยกล่าวค�ำ สั่งสอนประชาชนจะนั่งธรรมาสน์ไม่ได้เพราะผิดจาตรีประเพณี ธรรมาสน์จงึ เป็นอาสนะส�ำหรับนั่งแสดงธรรม หรือ ธรรมาสน์แก้ว อาสนะแก้ว กระดานค�ำ มณเฑียรค�ำ แท่นเทศน์ แท่นธรรมาสน์ ปราสาท แก้ว เรียกกันตามภาษาท้องถิ่นในล้านนา

โครงสร้างของธรรมาสน์มี 3 ส่วน 1. ส่วนฐาน 2. ตัวธรรมาสน์ 3. ส่วนยอด

4

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ธรรมาสน์เมืองน่าน มี 10 แบบ


6

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ลักษณะที่ 1 ฐานของธรรมาสน์จะมีลักษณะ โครงสร้างฐานเป็นปูน ชั้นล่างจะมีฐานเขียง 2 ชั้น ต่อมาจะเป็นชุดฐานปัทม์ มีลูกแก้วอกไก่ 2 ชั้น ด้านบนเป็นบัวคว�่ำและฐานเขียง รับเสาของธรรมาสน์ ตัวธรรมาสน์จะมีลักษณะโครงสร้างเป็นไม้ เสามีลักษณะย่อมุม สิบสองประกอบไปด้วยเสา 12 ต้น มีแผงกั้นธรรมาสน์ 3 ด้าน เป็น ภาพเทวดา ใช้เทคนิคการฉลุไม้ ลงชาดและปูนปั้น ส่วนยอดของธรรมาสน์จะมีลักษณะเป็นแบบยอดทรงบายศรี ธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะของหลังคาประกอบไปด้วยชัน้ หลังคา 5 ชั้น มีหน้าบัน ช่อฟ้า นาคปัก อยู่ทงั้ 4 มุมของหลังคา พบที่วัด พญาวัด

ธรรมาสน์ เมืองน่าน

7


8

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ลักษณะที่ 2 ฐานของธรรมาสน์เป็นปูนชัน้ ล่างจะมีฐานเขียงใหญ่ 2 ชั้น ชัน้ ต่อมาเป็นบัวคว�่ำต่อด้วยฐานเขียง 1 ชั้น ต่อด้วยบัวคว�่ำ มีลูกแก้วอกไก่ ต่อด้วยบัวหงายและฐานเขียงขนาดเล็ก 1 ชัน้ ขนาด ใหญ่ 1 ชัน้ ชั้นฐานเขียงขนาดเล็ก 1 ชัน้ ชัน้ บนสุดเป็นบัวคว�่ำ รับเสา ธรรมาสน์ มีการประดับตกแต่งโดยใช้เทคนิคปูนปั้นเขียนสีและประดับ กระจก ตัวธรรมาสน์ จะมีลักษณะโครงสร้างเป็นไม้ เสามีลักษณะย่อมุม สิบสองประกอบไปด้วยเสา 12 ต้น มีแผงกั้นธรรมาสน์ 3 ด้าน เป็นภาพเทวดา ใช้เทคนิคการฉลุไม้ ลงชาดลงและปูนปั้น ส่วนยอดของธรรมาสน์จะมีลักษณะเป็นแบบยอดทรงบายศรี มี โครงสร้างลักษณะของหลังคาเป็นไม้ ธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะ ของหลังคาประกอบไปด้วยชัน้ หลังคา 7 ชัน้ มีหน้าบัน ช่อฟ้า นาคปัก อยู่ทั้ง 4 มุมของหลังคา ประดับด้วยนาคมุมละสามตัว ส่วนยอดมี ลักษณะเป็นมงกุฎการตกแต่งด้วยปูนปั้นลวดลายพรรณพฤกษา พบที่ วัดวิหารช้างคํา้

ธรรมาสน์ เมืองน่าน

9


10

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ลักษณะที่ 3 ฐานของธรรมาสน์ทำ�ด้วยปูน ส่วนฐานชั้นล่างเป็น ฐานเขียง 2 ชั้น ชั้นบนจะเป็นบัวควํ่า มีลูกแก้วอกไก่ ต่อด้วยฐานเขียง 2 ชั้น ชั้นต่อมาเป็นบัวหงายบัวควํ่า รองรับเรือนเทศน์และเสาธรรมาสน์ มี การปั้นพญานาคเป็นฐานทั้ง 4 ทิศของธรรมาสน์ มีการใช้เทคนิคปูนปั้น และประดับกระจกจืนกับกระจกสี ตัวธรรมาสน์จะมีลักษณะ โครงสร้างเป็นไม้ เสามีลักษณะย่อมุม สิบสองประกอบไปด้วยเสา 12 ต้นด้านละ 3 ต้น มีไม้กั้นกลางธรรมาสน์ 3 ด้านเป็นไม้กั้นระหว่างกึ่งของธรรมาสน์ ส่วนกลาง ประดับลวดลาย ประจำ�ยาม ใช้เทคนิคการแกะสลักประดับกระจก และเขียนสี ส่วนยอดของธรรมาสน์จะมีลักษณะเป็นแบบยอดทรงปราสาท มี โครงสร้างลักษณะของหลังคาเป็นไม้ ธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะ ของหลังคาประกอบไปด้วยชั้นหลังคา 5 ชั้น มีหน้าบัน ช่อฟ้า นาคปัก อยู่ทั้ง 4 มุมของหลังคา ประดับด้วยนาค ส่วนยอดบนสุดมีลักษณะ เป็นฉัตร พบที่วัดกู่คำ�

ธรรมาสน์ เมืองน่าน

11


12

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ลักษณะที่ 4 ฐานของธรรมาสน์เป็นปูนครอบด้วยไม้ฉลุอีกที ล่างสุด มีฐานเขียงขนาดใหญ่ 1 ชั้น ต่อด้วยชั้นเล็กๆ 2 ชั้น ชั้นต่อไปเป็น ฐานเขียง 1 ชั้น ชั้นถัดไปเป็นบัวควํ่า ชั้นต่อมาเป็นชุดฐานปัทม์ มี ลูกแก้วอกไก่ ต่อมาเป็นฐานเขียง 2 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นบัวควํ่ารองรับตัว เรือนเทศน์ มีการใช้เทคนิคลงชาด ปูนปั้นและเขียนสี ประดับตกแต่ง ด้วยกระจกจืน ตัวธรรมาสน์จะมีลักษณะ โครงสร้างเป็นไม้ เสามีลักษณะย่อมุม สิบสองประกอบไปด้วยเสา 12 ต้น ด้านละ 3 ต้น ปรากฏหิ้งธรรม ระหว่างส่วนตัวของธรรมาสน์ มีไม้กั้นกลางธรรมาสน์ 3 ด้านเป็น แผงกั้นของธรรมาสน์ ภาพพันพฤกษา ใช้เทคนิคลายรดนํ้า ส่วนยอดของธรรมาสน์จะมีลักษณะเป็นแบบยอดปราสาท มี โครงสร้างลักษณะของหลังคาเป็นไม้ ธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะ ของหลังคาประกอบไปด้วยชั้นหลังคา 3 ชั้น มีหน้าบัน ช่อฟ้า นาคปัก อยู่ทั้ง 4 มุมของหลังคา ประดับด้วยนาคมุมละสามตัว ส่วนยอดมี ลักษณะเป็นมงกุฎ พบที่วัดภูมินทร์

ธรรมาสน์ เมืองน่าน

13


14

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ลักษณะที่ 5 ฐานมีโครงสร้างเป็นไม้ ชัน้ ล่างมีฐานเขียง 5 ชั้น เป็น ฐานเขียงขนาดใหญ่ 1 ชัน้ ขนาดเล็ก 3 ชัน้ ต่อมาเป็นบัวคว�่ำ ต่อมาเป็น ฐานเขียง ต่อด้วยลูกแก้วอกไก่ ชัน้ บนเป็นบัวคว�่ำ ต่อมาเป็นฐานเขียง 1 ชั้น รองรับตัวเรือนเทศน์ มีการใช้เทคนิคการแกะสลัก เขียนสี และ ประดับกระจก ตัวธรรมาสน์จะมีลักษณะ โครงสร้างเป็นไม้ เสามีลักษณะย่อมุม สิบสองประกอบไปด้วยเสา 12 ต้นด้านละ 3 ต้น มีแผงกั้นธรรมาสน์ 3 ด้าน เป็นแผงกัน้ ขึ้นมาครึ่งหนึ่งระหว่างธรรมาสน์ ลวดลายเทพพนมกับ หม้อบูรณฆะฏะ ส่วนเพดานมีดาวเพดาน ใช้เทคนิคลงรักปิดทอง ตัดเส้นและแกะสลัก ส่วนยอดของธรรมาสน์จะมีลักษณะเป็นแบบยอดทรงมงกุฎ มี โครงสร้างลักษณะของหลังคาจะเป็นไม้ ธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะของหลังคาประกอบไปด้วยชัน้ หลังคา 3 ชัน้ มีหน้าบัน ช่อฟ้า นาคปัก กลีบขนุน อยู่ทงั้ 4 มุมของหลังคา ส่วนยอดมีลักษณะเป็นทรง คล้ายไม้กระบองการตกแต่งด้วยการแกะสลักลงรักและเขียนสี ลวดลายพรรณพฤกษาและดอกประจ�ำยาม พบที่วัดศรีพันต้น

ธรรมาสน์ เมืองน่าน

15


16

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ลักษณะที่ 6 ส่วนฐานมีโครงสร้างเป็นไม้ ชัน้ ล่างเป็นฐานเขียง 4 ชั้น ชั้นต่อมาเป็นบัวคว�่ำ มีลูกแก้วอกไก่ ต่อมาเป็นบัวหงาย ตามด้วย ฐานเขียง 4 ชัน้ ชั้นบนสุดเป็นบัวควํ่ารับเสาของตัวเรือนเทศน์ มีการใช้ เทคนิคลงชาด ปูนปั้น และประดับกระจก ตัวธรรมาสน์จะมีลักษณะ เสาเรียงกันประกอบไปด้วยเสา 24 ต้น ด้านละ 6 ต้น ปรากฏหิ้งธรรมระหว่างส่วนกลางของธรรมาสน์ ไม่มี แผงกั้นกลางธรรมาสน์ 3 ด้านของธรรมาสน์ ใช้เทคนิคปูนปั้น ประดับกระจก ลายเรขาคณิตและดอกไม้ ส่วนยอดของธรรมาสน์จะมีลักษณะเป็นแบบยอดทรงบุษบก มี โครงสร้างลักษณะของหลังคาเป็นไม้ ธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะ ของหลังคาประกอบไปด้วยชัน้ หลังคา 3 ชัน้ มีหน้าบัน ช่อฟ้า นาคปัก อยู่ทั้ง 4 มุมของหลังคา ส่วนยอดมีลักษณะเป็นกลีบขนุน พบที่ วัดช้างเผือก

ธรรมาสน์ เมืองน่าน

17


18

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ลักษณะที่ 7 ฐานของธรรมาสน์มโี ครงสร้างเป็นไม้ ชัน้ ล่างเป็นบัวควํ่า ขนาดเล็ก ถัดมาเป็นลูกแก้วอกไก่ขนาดเล็ก ต่อมาเป็นฐานเขียงขนาด ใหญ่ 1 ชัน้ ชั้นบนเป็นฐานกลีบบัวหงาย ต่อมาเป็นฐานเขียง 4 ชัน้ ต่อด้วยชุดฐานปัทม์ มีลูกแก้วอกไก่ บนสุดเป็นฐานเขียง 2 ชั้น รับเสา ตัวเรือนเทศน์ มีการใช้เทคนิคการแกะสลักและประดับกระจก ตัวธรรมาสน์จะมีลักษณะโครงสร้างเป็นไม้ เสามีลักษณะเรียงกัน ประกอบไปด้วยเสา 24 ต้น ด้านละ 6 ต้น ปรากฏหิ้งธรรมระหว่างส่วน กลางของธรรมาสน์ ไม่มแี ผงกัน้ กลางธรรมาสน์ 3 ด้านแต่มแี ผงกั้น เล็กๆที่มีลักษณะคล้ายระเบียง ใช้เทคนิคแกะสลักปูนปั้นและ ประดับกระจก ส่วนยอดของธรรมาสน์จะมีลักษณะเป็นแบบยอดทรงปราสาท มี โครงสร้างลักษณะของหลังคาเป็นไม้ ธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะ ของหลังคาประกอบไปด้วยชัน้ หลังคา 4 ชัน้ มีหน้าบัน ช่อฟ้า นาคปัก อยู่ทั้ง 4 มุมของหลังคา ส่วนยอดมีลักษณะเป็นมงกุฎ มีการตกแต่ง ลวดลายพรรณพฤกษา ลักษณะส่วนยอดของธรรมาสน์ปราสาทนี้พบที่ วัดหัวข่วง

ธรรมาสน์ เมืองน่าน

19


20

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ลักษณะที่ 8 ฐานมีโครงสร้างเป็นไม้ ชัน้ ล่างเป็นฐานสิงห์ ชั้นต่อมา เป็นฐานเขียง 4 ชั้น ต่อมาเป็นบัวควํ่า มีลูกแก้วอกไก่ ต่อมาเป็น บัวหงาย ตามด้วยฐานเขียง 4 ชัน้ ชั้นบนสุดเป็นบัวควํ่ารับเสา ลักษณะ ย่อมุมไม้สบิ สอง รับตัวเสาของธรรมาสน์ ตัวธรรมาสน์จะมีลักษณะเสาเรียงกันประกอบไปด้วยเสา 24 ต้น ด้านละ 6 ต้น ปรากฏหิ้งธรรมระหว่างส่วนกลางของธรรมาสน์ มี แผงกั้นกลางธรรมาสน์ 3 ด้านของธรรมาสน์ ใช้เทคนิคปูนปั้น ประดับกระจก ลายเรขาคณิตและลายเชือก ส่วนยอดของธรรมาสน์จะมีลักษณะเป็นแบบยอดทรงปราสาทมี โครงสร้างลักษณะของหลังคาเป็นไม้ ธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยมลักษณะ ของหลังคาประกอบไปด้วยชัน้ หลังคา 4 ชัน้ มีหน้าบัน ช่อฟ้า นาคปัก อยู่ทั้ง 4 มุมของหลังคา ส่วนยอดมีลักษณะเป็นมงกุฎการตกแต่ง ลวดลายพรรณพฤกษา พบที่วัดพระเกิด

ธรรมาสน์ เมืองน่าน

21


22

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ลักษณะที่ 9 ส่วนฐานของธรรมาสน์จะมีลักษณะเอวคอด โครงสร้าง ฐานเป็นไม้แปดเหลี่ยม ชั้นล่างมีฐานเขียงขนาดใหญ่ 1 ชัน้ ชั้นบนเป็น บัวคว�่ำขนาดเล็ก ต่อมาเป็นฐานเขียง 3 ชั้น ชั้นต่อมาเป็นบัวควํ่าขนาด เล็ก ถัดไปด้านบนเป็นบัวหงาย ต่อด้วยฐานเขียง 3 ชั้น ต่อมาเป็นบัวคว�่ำ ส่วนด้านบนสุดเป็นเป็นฐานเขียงขนาดเล็ก 2 ชัน้ รองรับเสาของตัว เรือนเทศน์ มีการใช้เทคนิคลงชาด และลายรดน�้ำ ตัวธรรมาสน์จะมีลักษณะ โครงสร้างเป็นไม้แปดเหลี่ยมเสามี มุมละต้นประกอบไปด้วยเสา 8 ต้นด้านละ 1 ต้นมีแผงไม้ปิดระหว่างส่วน กลางเสา 4 มุมของธรรมาสน์ ไม่มแี ผงกั้นกลางธรรมาสน์ ใช้เทคนิคการ ลงรักปิดทอง ส่วนยอดของธรรมาสน์จะมีลักษณะเป็นแบบยอดทรงมงกุฎ มี โครงสร้างลักษณะของหลังคาเป็นไม้ ธรรมาสน์ทรงแปดเหลี่ยม ลักษณะ ของหลังคาประกอบไปด้วยชัน้ หลังคา 6 ชัน้ มีนาคปัก ช่อฟ้า กลีบขนุน อยู่ทั้ง 8 มุมของหลังคา ประดับด้วยนาคปักมุมละสามตัว ส่วนยอดมี ลักษณะเป็นฉัตรบนสุดเป็นดอกบัวบานตกแต่งด้วยการลงรักปิดทอง ลวดลายพรรณพฤกษา พบที่วัดสวนตาล

ธรรมาสน์ เมืองน่าน

23


24

ธรรมาสน์ เมืองน่าน


ลักษณะที่ 10 ฐานของธรรมาสน์มีโครงสร้างไม้ ชั้นล่างเป็นฐานเขียง 3 ชั้น ชั้นต่อมาเป็นชุดฐานปัทม์ มีลูกแก้วอกไก่ ต่อมาจนถึงชั้นบนสุด เป็นฐานเขียง 5 ชั้น ลักษณะฐานย่อมุม รองรับต้นเรือนเทศน์ มีการใช้ เทคนิคลงชาด ลงรักปิดทอง ตัวธรรมาสน์จะมีลักษณะ โครงสร้างเป็นไม้ เสามีลักษณะย่อมุม สิบสองประกอบไปด้วยเสา 12 ต้นด้านละ 3 ต้น เป็นลวดลาย ดอกพุดตาน แผงกั้นกลางธรรมาสน์ 3 ด้านเป็นภาพเทพพนม ใช้ เทคนิคลงรักปิดทอง ส่วนยอดของธรรมาสน์จะมีลักษณะเป็นแบบยอดทรงบายศรี มี โครงสร้างลักษณะของหลังคาเป็นไม้ ธรรมาสน์ทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะ ของหลังคาประกอบไปด้วยชั้นหลังคา 3 ชั้น มีหน้าบัน ช่อฟ้า นาคปัก อยู่ทั้ง 4 มุมของหลังคา ส่วนยอดมีลักษณะเป็นมงกุฎ มีการตกแต่งด้วย ลวดลายพรรณพฤกษา พบที่วัดพญาภู

ธรรมาสน์ เมืองน่าน

25


ธรรมาสน์ทรงปราสาท เมืองน่าน มีการประดับตกแต่งหลายวิธี เช่น การแกะสลักไม้ การฉลุไม้ การประดับกระจก การลงรักปิดทอง การเขียนสี ปูนปั้น ลงชาด และการเขียนลายรดน�้ำ ลวดลายที่ปรากฏบนตัวธรรมาสน์ทรงปราสาท ส่วนใหญ่เป็นลวดลายพรรณพฤกษา ลายเทวดา ลายพญานาค

ธรรมาสน์ ท รงปราสาท เมื อ งน่ า น ภาพและเนื้ อ เรื่ อ ง © 2014 (พ.ศ. 2557) โดย ธั ญ ญ์ ฐิ ต า แดงปะละ 540310115 สงวนลิ ข สิ ท ธิ์ ต ามพระราชบั ญ ญั ติ พิ ม พ์ ค รั้ ง แรก เดื อ นตุ ล าคม พ.ศ. 2557 จั ด พิ ม พ์ โ ดย ภาควิ ช าศิ ล ปะไทย คณะวิ จิ ต รศิ ล ป์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ออกแบบและจั ด รู ป เล่ ม โดย ธั ญ ญ์ ฐิ ต า แดงปะละ โดยใช้ ฟ อนต์ TH Niramit AS New 16 pt. หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ป็ น ผลงานทางวิ ช าการจั ด ท� ำ ขึ้ น เพื่ อ ส่ ง เสริ ม และต่ อ ยอดศั ก ยภาพการศึ ก ษา ภายในภาควิ ช าศิ ล ปะไทย คณะวิ จิ ต รศิ ล ป์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.