รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ทางกฎหมายฯ

Page 1

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ ทางกฎหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 1 ธันวาคม 2559 – 30 พฤศจิกายน 2560

ภายใต้การสนับสนุนทุน โครงการสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

นายไพสิฐ พาณิชย์กุล และคณะ ผู้รับผิดชอบโครงการ


โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ทางกฎหมาย เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน

คณะวิจัย อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล

หัวหน้าโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

นักวิจัย

นายเขมชาติ

ตนบุญ

นักวิจัย

นางสาวสรชา

สันตติรัตน์

นักวิจัย

นายชัชวิน

วรปัญญาภา

ผู้ช่วยนักวิจัย

นางสาวบงกช

ดารารัตน์

ผู้ช่วยนักวิจัย

นายปารณ

บุญช่วย

ผู้ช่วยนักวิจัย

นางสาววรรณา

แต้มทอง

ผู้ช่วยนักวิจัย

นางสาววัชลาวลี

คาบุญเรือง

ผู้ช่วยนักวิจัย

ศูนย์ศกึ ษาความเป็นธรรม คณะนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05

สารบัญ หน้า สารบัญ บทสรุปผู้บริหารและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

(1)

ส่วนที่ 1 ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ คนไร้บ้าน กับ การจัดการพื้นที่สาธารณะ

1-1

ส่วนที่ 2 การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนคนไร้บ้าน 1. บทบัญญัติกฎหมายที่รับรองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้าน 2. หลักการคุ้มครองและบังคับตามสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้าน

2-1 2-1 2-5

ส่วนที่ 3 สภาพปัญหาของคนไร้บ้าน 3.1 สภาพปัญหาของคนไร้บ้าน

3-1 3-1

ส่วนที่ 4 คนไร้บ้าน : สถานะทางกฎหมาย การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน และ ความขัดแย้ง 1. สถานะของคนไร้บ้านในประเทศไทย 2. ประเด็นการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพของคนไร้บ้าน 3. ประเด็นคนไร้บ้านและองค์กรอาชญากรรม 4. ประเด็นการจัดการความขัดแย้งของคนไร้บ้าน 5. ประเด็นการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของคนไร้บ้าน

4-1

ส่วนที่ 5 พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 และ พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 1. พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 2. พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 บทสรุป บรรณานุกรม

4-1 4-18 4-40 4-65 4-84 5-1 5-1 5-20 6-1 7-1


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 บทสรุปผู้บริหารและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คนไร้ บ้ านจั ด เป็ น กลุ่ ม ที่ เสี่ ย งที่ จ ะถู ก ละเมิ ด สิ ท ธิ แ ละด้ อ ยโอกาสในการเข้ า ถึ งบริ ก ารสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันสิทธิด้านต่างๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มที่ต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้​้าทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ ของนโยบายส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่ปราศจากการกระจายความมั่งคั่งมาเจือจุนเพื่อนมนุษย์ร่วม สังคม โดยเฉพาะสิทธิในที่อยู่อาศัยตามเป้าหมายการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและขจัดความยากจน มุ่งท้าให้ทุก คนมีปัจจัยการด้ารงชีพขั้นต่้าอย่างครบถ้วน ยิ่งไปกว่านั้นการขาดไร้ซึ่งเอกสารยืนยันสถานะตัวบุคคลและ ปราศจากภูมิล้าเนาที่ชัดเจนยังท้าให้สูญเสียสิทธิในการได้รับสวัสดิการจากบริการสาธารณะด้านต่างๆ รวมไป ถึงการรอนสิทธิเมื่อมิอาจใช้สิทธิในกลไกประกันสิทธิทั้งหลายได้ การพยายามขับเคลื่อนนโยบายสนับสนุนคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านในทางการเมืองสุ่มเสี่ยงที่จะไม่ได้รับ การตอบสนองจากภาครัฐหรือองค์กรธุรกิจ เนื่องจากมีปริมาณคนในแต่ละพื้นที่น้อยและไม่อาจตรวจสอบ ย้อนหลังได้ชัดเจนว่า เป็นพลเมืองตามภูมิล้าเนาใด จนเป็นสาเหตุให้กลุ่มผลประโยชน์มองข้ามความส้าคัญและ ไม่นับเป็นภารกิจทางการเมืองเพื่อแลกเปลี่ยนกับคะแนนเสียง อย่างไรก็ดี กลุ่มคนไร้บ้านจ้านวนน้อยที่อาจไม่ ถูกนับในทางเศรษฐกิจการเมืองก็ยังเป็นมนุษย์ที่ต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในฐานะปัจเจกชนที่รัฐพึง ให้หลักประกันสิทธิตามพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี เช่นเดียวกับบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ก้าหนดบทบาทของรัฐ บาล ราชการส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นให้มีบทบาทส่งเสริมสิทธิของคนไร้ที่พึ่ง กระนั้น การบังคับใช้กฎหมายต่างๆ แต่เดิมมีเจตนารมณ์ช่วยเหลือคนไร้บ้านและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนในพื้นที่สาธารณะกลับมิได้บังคับตามสิทธิที่กฎหมายได้ให้แนวทางไว้ น้าไปสู่การละเมิดสิทธิของไร้บ้าน อันเนื่องมาจากการจับกุมคุมขัง และพยายามกวาดล้างคนไร้บ้านออกจากพื้นที่สาธารณะ ภาวะความเสี่ยงของ คนไร้ บ้ านที่ ขาดเอกสารยื น ยั น ตั ว บุ ค คล หรือไม่อ าจตรวจสอบย้ อนภู มิ ล้ าเนาตามทะเบี ยนบ้านยิ่งซ้​้าเติ ม คนไร้บ้านให้อยู่อย่างหวาดกลัวต่อการด้าเนินคดีว่าเข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือกลายเป็น อาชญากรในสายตาเจ้า พนั ก งานของรั ฐ ก่ อเป็ น ความหวาดระแวงต่ อหน่ ว ยงานรัฐ จนผลั ก ไสให้ เข้าใกล้ องค์ กรอาชญากรรมและ กิจกรรมผิดกฎหมายในรูปแบบต่างๆ ท้าให้หมิ่นเหม่ต่อการเปลี่ยนสถานะเป็นอาชญากรทั้งที่เป็นเหยื่อของ องค์กรอาชญากรรมในหลายรูปแบบ อาทิ การถูกบังคับเป็นขอทาน หรือการค้ามนุษย์ การมองข้ามความหลากหลายของกลุ่มคนไร้บ้านโดยหน่วยงานรัฐย่อมน้าไปสู่การลิดรอนสิทธิของ คนไร้บ้านทั้งในลักษณะการกลายเป็นส่วนเกินของชุมชน เมื่อมีปัญหาความขัดแย้งก็ถูกตราบาปกดซ้​้าย้​้าว่าเป็น ฝ่ายผิดโดยมิได้มีมาตรการระงับข้อพิพาทที่เป็นธรรมกับกลุ่มเสี่ยงที่ด้อยอ้านาจต่อรองอย่างคนไร้บ้าน เมื่อต้อง เผชิญกับความรุนแรงหรือการกล่าวหาที่มิชอบด้วยกฎหมายกระบวนการยุ ติธรรมก็มิได้เข้าปกป้องเยียวยาตาม มาตรฐานที่พึงจะเป็น เรื่อยไปถึงการด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขทั้งในเชิงป้องกันก่อนและ เยียวยาจนกว่ารัฐจะมองว่ากลุ่มเป็นปัญหาและอาจแพร่ระบาดโรคอันตรายสู่สังคมจึงจะเข้ามาแก้ไข แม้จ ะมี พ ระราชบั ญ ญั ติ ก ารคุ้ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ งเป็น หลั ก ประกั นทางกฎหมายที่รองรับ อยู่แต่แ นว ทางการบั งคั บ ตามสิ ท ธิ ในกฎหมายยั งอยู่ ในลั ก ษณะสั งคมสงเคราะห์ หรื อการผลั ก ดั น คนออกจากพื้ น ที่ (1)


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 สาธารณะ แล้วรวบรวมไปอยู่ในสถานที่ซึ่งไม่ตรงตามความปรารถนาของคนไร้บ้าน การบังคับให้ท้ากิจกรรมที่ ไม่ตรงจริตความถนัด ไปจนถึงการขาดแคลนระบบจัดการที่ละเอียดอ่อนเพียงพอต่อการบริหารจัดการปัญหา รายกรณี ให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจ้าเป็นของแต่ละบุคคล เพื่อฟื้นฟูศักยภาพให้กับบุคคลจนสามารถ พัฒนาตนเองให้ยืนหยัดได้อย่างมีศักดิ์ศรีเต็มภาคภูมิ พระราชบัญญัติควบคุมการขอทานที่มีเป้าหมายป้องกันการค้ามนุษย์และแสวงหาประโยชน์จากกลุ่ม เสี่ ย งโดยองค์ก รอาชญากรรมก็ ถูก น้ าไปใช้อ ย่างคลาดเคลื่ อนไม่ต รงตามเจตนารมณ์ เนื่ อ งจากผู้ บั งคั บ ใช้ กฎหมายมิได้เข้าช่วยเหลือคนไร้บ้านหรือผู้ที่ถูกบังคับให้ขอทานแต่กลับจับกุมด้าเนินคดีในฐานะขอทาน ทั้งที่ รัฐต้องพยายามสืบสาวไปถึงต้นตอองค์กรอาชญากรรมแล้วน้าผู้ที่แสวงหาประโยชน์จากคนไร้บ้านมาด้าเนินคดี แล้วขยายผลไปสู่การต่อต้านการค้ามนุษย์อย่างเป็นระบบ ด้วยผลการวิเคราะห์ข้อกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและการท้างานของกลไกที่เกี่ยวข้อง ท้าให้เกิด องค์ความรู้ที่สามารถน้าไปส่งเสริมสิทธิกลุ่มคนไร้บ้านควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยงานวิจัยได้ สั งเคราะห์ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้ แก่ห น่ ว ยงานและองค์ก รที่ เกี่ยวข้องเพื่ อขับ เคลื่ อนประเด็น พั ฒ นา คุณภาพชีวิตคนไร้บ้านดังต่อไปนี้ 1. รัฐบาล 1. รัฐบาลควรมีความต่อเนื่องของนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัด การกลุ่มคนเปราะบาง ทางสังคม และคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งจะส่ งผลต่อการท้างานด้านบริการ วิชาการ รวมทั้งท้าให้ การท้างานในระดับ ปฏิบัติการเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง 2. การปรับปรุงร่างกฎหมายในปัจจุบันที่สอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหาของคนไร้ที่พึ่ง ท้าให้ คนไร้ที่พึ่งได้รับการคุ้มครองและพัฒนาที่ตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการของคนไร้ที่พึ่ง สามารถยืนหยัด ด้วยตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 3. รัฐบาลควรมีระบบการจัดสรรงบประมาณที่ สอดคล้องกับภารกิจ ของหน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้าน สวัสดิการของกลุ่มเปราะบางทางสังคม เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ในส่วนงานฟื้นฟูศักยภาพ และการท้างาน เชิงรุกในการจัดบริหารด้านสวัสดิการ ฟื้นฟู การเฝ้าระวัง ติดตามประเมินผล โดยค้านึงถึงความเป็นส่วนตัวอัน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของปัจเจกชน 2. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1. การพั ฒ นาปรับ ปรุ งบทบาทหน้ าที่ ของกระทรวงพั ฒ นาสั งคมและความมั่น คงของมนุ ษ ย์ จาก หน่วยงานปฏิบัติ การเป็น ทั้งหน่ วยงานปฏิบัติ การและนโยบายวิชาการ ซึ่งท้าให้สามารถจัดท้าข้อเสนอเชิง นโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของคนไร้ที่พึ่ง 2. การเก็บรวบรวมข้อมูลหรือจัดท้าข้อมูลของคนไร้บ้าน แล้วน้ามาประสานกับข้อมูลขององค์ก าร บริหารส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อท้าฐานข้อมูลในการช่วยเหลือคนไร้บ้านใน ด้านต่างๆ บนพื้นฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นประเด็นอ่อนไหวของคนไร้บ้านด้วย (2)


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 3. จัดท้านโยบายหรือระเบียบต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์กับคนไร้บ้าน อาทิ ให้สิทธิแก่ค นไร้บ้านในการเข้า ไปอยู่ในศูนย์พักพิงได้แม้ไม่มีบัตรประชาชน 4. การยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับคนไร้ที่พึ่ง เช่น การสร้างโอกาสและ ช่องทางในการเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ การพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพของเครือข่ายคนไร้ที่พึ่ง 5. การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ และ คนไร้ที่พึ่ง ซึ่งการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจควรมีการสื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายๆ ทาง และมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยเปิดพื้นที่ทาง ความคิ ด ให้ ก ลุ่ ม เปราะบาง คนไร้ ที่ พึ่ งกลุ่ ม ต่ า งๆ เข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการก้ า หนดทางเลื อ ก ทางออกที่ หลากหลายและสามารถน้าไปปฏิบัติใช้ได้จริง 6. การพัฒนาข้อมูลและระบบฐานข้อมูลของคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลประชากรกลุ่ม เปราะบาง หรือคนไร้ที่พึ่งที่หน่วยงานของรัฐ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง อีกทั้งข้อมูลแต่ละหน่วยงานไม่ตรงกัน ไม่ส ามารถน้ าไปใช้เพื่อการแก้ไขปั ญ หาคนไร้ที่พึ่งได้อย่างจริงจัง ดังนั้น ควรมีระบบการจัดการข้อมูล และ ฐานข้อมูลที่เป็นระบบเดียวกันทีทุกหน่วยงานสามารถน้าไปใช้ได้ และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของคน ไร้ที่พึ่ง อีกทั้งระบบฐานข้อมูลควรจะต้องสามารถเชื่อมโยง ปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อสถานการณ์ 7. การบู ร ณาการการท้ า งานเพื่ อ การแก้ ปั ญ หาคนไร้ ที่ พึ่ งของหน่ ว ยงานต่ า งๆ เพื่ อ เสริ ม สร้ า ง ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาคนไร้ที่พึ่ง ทั้งนี้เป็นการบูรณาการความร่วมมื อระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน หรือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาสังคม 8. การพัฒนาระบบคัดกรองคนไร้ที่พึ่งที่มีมาตรฐาน โดยผู้ปฏิบัติงานที่มาจากหลากหลายวิชาชีพ 9. การพั ฒ นาและสร้ างความเข้าใจเกี่ย วกั บ คนไร้ที่ พึ่ ง คนไร้บ้ าน ให้ กั บ บุ คลากรผู้ ป ฏิ บั ติ ห น้ าที่ เกี่ยวข้องกับคนไร้ที่พึง คนไร้บ้าน และการพัฒนาบุคลากรให้มีความช้านาญเฉพาะด้านที่จะรองรับบทบาท ภารกิจใหม่ที่เกิดจาก พ.ร.บ.คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และ พ.ร.บ.ขอทานฯ รวมไปถึงต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งความ ช้านาญเฉพาะด้านมีความจ้าเป็นต่อการปฏิบัติงาน 10. การเก็ บ รวบรวมข้อ มู ล รายงานสถานการณ์ ค นไร้ที่ พึ่ ง และจัด ท้ าข้อ มู ล รายงานสถานการณ์ คนไร้ที่พึ่ง โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงานการวิจัย ข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประมวลให้เห็นถึง สถานการณ์คนไร้ที่พึ่ง 11. การปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้ปฏิบัติงานที่มองว่าเป็นหน่วยงานรัฐที่มีอ้านาจหน้าที่หลัก เป็นการ สร้างเครือข่ายการท้างานร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ปัจจุบัน 12. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคม โดยการเปิดพื้นที่ให้กับ กลุ่มคนไร้ที่พึ่งได้มีโอกาสน้ าเสนอความเดือดร้อน ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญ หา รวมทั้งการมีกลไก หนุนเสริมให้เครือข่ายได้มีความพร้อมในการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น 13. การจั ดท้าระบบการติดตามสถานการณ์ ปัญ หาและการแก้ไขปัญ หาคนไร้ที่พึ่ งของหน่ วยงาน ภาครัฐ เพื่อให้การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนไร้ที่พึ่งสอดคล้องกับบริบท สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

(3)


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 3. กระทรวงสาธารณสุข 1. ส้านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขควรจัดตั้งกองทุน รักษาพยาบาลแก่ผู้ที่ไร้สถานะทางทะเบียน ซึ่งจะสามารถครอบคลุมคนไร้บ้ านที่ไม่มีบัตรประจ้าตัวประชาชน ได้อย่างทั่วถึง 2. การสนับสนุนให้เกิดกลไกสนับสนุนการจัดระบบสวัดิการด้านสุขภาพ รวมถึงกลไกการตรวจสอบ ก้ากับดูแล เฝ้าระวังด้านสุขภาพของคนไร้ที่พึ่ง 3. การจั ดท้ าความรู้ เผยแพร่ ให้ กั บ หน่ ว ยงานและภาคประชาสั งคมในการปฏิ บั ติ งานเฉพาะด้ าน สาธารณสุข เช่น การดูแลผู้ป่วยเรื่อรัง ผู้ป่วยจิตเวช 4. กระทรวงมหาดไทย 1. การใช้เทคโนโลยีในการเข้ามาใช้ในการพิสูจน์อัตลักษณ์ หรือความเป็นพลเมืองไทย โดยไม่ควรยึด โยงเฉพาะบัตรประชาชน เพื่อกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้านสามารถใช้สิทธิรับบริการขั้นพื้นฐานของรัฐได้ 2. จัดท้าระบบตรวจสอบข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์ที่เหมาะสมกับรูปแบบการเคลื่อนตัวของประชากร (ระบบตรวจสอบที่ง่ายต่อการเข้าถึง ลดขั้นตอนและเอกสาร ระบบการตรวจสอบ/ยืนยันตัวบุคคล/การพิสูจน์ สิทธิ) สามารถตรวจสอบย้อนจากพื้นที่ใดก็ได้ 3. จัดท้านโยบายที่ช่วยลดขั้นตอนหรือระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่ออ้านวยความสะดวกให้กับประชาชน และหน่วยงานระดับท้องถิ่น 4. ส่งเสริมงบประมาณและเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องการดูแลคนไร้บ้านแก่ท้องถิ่น 5. เก็บภาษีลาภลอยเพื่อเอามาเพิ่มงบประมาณให้แก่คนไร้บ้าน 6. การจัดระบบการจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูลคนไร้ที่พึ่ง และคนไร้บ้านที่มีสถานะทางทะเบียน และ การเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่น รวมทั้งการมีระบบการติดตามการคืนสถานะทางทะเบียนให้ กับคนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน 5. กระทรวงยุติธรรม 1. การเพิ่มบทบัญญัติการลงโทษแก่ผู้ที่แสวงหาประโยชน์จากคนไร้บ้าน 2. การก้าหนดบทลงโทษกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมาย และขยายนิยามการกระท้าที่ถือเป็น ความผิด เพื่อป้องกันการเลี่ยงกฎหมายและหยุดต้นตอของการกระท้าที่จะน้าไปสู่การหาผลประโยชน์จาก คนไร้บ้าน 3. ก้าหนดมาตรการที่ใช้ในการด้าเนินคดีแก่ผู้กระท้าความผิดต่อคนไร้บ้านหรือต่อผู้ด้อยโอกาสใน สังคมเป็ นการเฉพาะ เพื่อป้ องกันการสับสนของเจ้าหน้าที่ในการที่จะน้ากฎหมายมาบังคับใช้ (กฎหมายให้ เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจ ท้าให้เกิดความหลากหลายในการบังคับใช้กฎหมาย) และให้ทุกหน่วยงานด้าเนินการไป ในทิศทางเดียวกัน (4)


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 4. การเพิ่มกฎหมายการคุ้มครองส่วนบุคคลที่อยู่กับภาคเอกชน 5. ก้าหนดมาตรการเยียวยาในกรณีที่คนไร้บ้านตกเป็นผู้เสียหายหรือถูกละเมิดสิทธิ 6. ตารวจ 1. กรณีที่จับกุมคนไร้บ้านเพื่อด้าเนินคดีเกี่ยวกระท้าความผิดตาม พ.ร.บ.ขอทานฯ หรือกฎหมายที่มี โทษทางอาญาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้อหาใดให้เจ้าหน้าที่ต้ารวจใช้มาตรการกันตัวคนไร้บ้านไว้เป็นพยาน เพื่อ น้าไปสู่การจับกุมตัวองค์กรอาชญากรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ 2. การด้าเนินการที่เกี่ยวข้องกับคนไร้บ้าน ควรค้านึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม และ สิทธิและสวัสดิการตาม พ.ร.บ. คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ด้วย 7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1. ท้าฐานข้อมูลจ้านวนประชากรที่เข้าข่ายเป็นคนไร้บ้าน/คนไร้ที่พึ่ง (กลุ่มเสี่ยง) ที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยมี มาตรการคุ้มครองข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคนไร้บ้าน 2. ข้อมูลที่มีต้องสามารถแยกแยะคนตามความจ้าเป็นขั้นพื้นฐานได้ เพื่อน้ามาจัดท้านโยบายต่อไป 3. จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรบุคคลเข้าสนับสนุนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน หรือ ป้ อ งกั น คนมิ ให้ ต กอยู่ ในภาวะวิ ก ฤต โดยอาจอยู่ ในรู ป แบบหลั ก ประกั น ทางสั งคม หรื อ โครงการรองรั บ สถานการณ์ฉุกเฉินของกลุ่มเสี่ยงทั้งหลาย อาทิ เด็ก สตรี คนชรา ผู้ป่วยเรื้อรัง ตามโครงสร้างสังคมผู้สูงอายุ 8. องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) 1. น้าหลักประกันด้านสิทธิมนุษยชนเป็นฐานการเรียกร้องสิทธิโดยสามารถผลักดันข้อเสนอแนะเชิง นโยบายทั้งหลายตามแนวทางกระบวนการที่อ้างอิงสิทธิ (Rights-based Approach) เพื่อน้าไปสู่ การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 2. ใช้เป้าหมายการพัฒ นาอย่ างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals SDG) ที่มีหลายส่วนเกี่ยวข้องกับสิทธิในปัจจัยการด้ารงชีพขั้นพื้นฐานของคนไร้บ้านหลัก เป็น แนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างครบวงจรและมีผลผูกพันรัฐให้ปฏิบัติตาม เนื่องจากเนื้อหาของ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นรวบรมมาจากพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคีและ ให้สัตยาบันอยู่แล้ว

(5)


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ส่วนที่ 1 ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ คนไร้บ้าน กับ การจัดการพืน้ ที่สาธารณะ คนไร้บ้านเป็ นกลุ่มเสี่ ยงที่ด้อยสิทธิด้อยโอกาสอันเนื่องมาจากการมองข้ามโดยรัฐ หรือเป็น บุคคล/กลุ่มคน ซึ่งแนวทางการพัฒนาเมืองบนพื้นฐานของลัทธิเศรษฐกิจการเมืองจานวนมาก ต้องการ กาจัดออกจากพื้นที่สาธารณะ โดยการทาให้สังคมเห็นกลุ่มเขากลายเป็นอื่น (Otherness)1 ไม่ต่างจาก กลุ่มเสี่ยงอื่นๆที่คุ้นชินกันในการทางานพัฒนา ว่าด้วยความเป็นชายขอบ (Marginalized Groups) ของ กลุ่ มคนด้ อยโอกาสอัน เนื่ องมาจากวาทกรรมการพั ฒ นา ซึ่งเสี่ ยงว่าจะไม่มี ส่ วนร่ว มใน การกาหนด นโยบายสาธารณะ ลัทธิเศรษฐกิจการเมืองที่มองเห็นความสาคัญของเพื่อนมนุษย์ ได้ประกอบสร้างหลั กภราดร ภาพ หรือลัทธิภราดรภาพนิยมขึ้น เป็นหลักการสาคัญที่พยายามสานสัมพันธ์ของคนในสังคม ที่มีความ แตกต่างหลากหลายกัน ไปตามความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจสังคมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อผสานรอยร้าว ระหว่างบุคคลให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้อย่างเสมอภาค2 อันเป็นหลักประกันทางสังคมมิให้เกิด ความขัดแย้ง อันนาไปสู่การปะทะกันด้วยความรุนแรง และเป็นกุศโลบายสาคัญ ที่นาสังคมออกจาก วิกฤตความขัดแย้ง อันมีที่มาจากความเหลื่อล้า ให้ก้าวนาไปสู่สังคมที่ประชาชนสามารถแบ่งปันเฉลี่ย ทุกข์เฉลี่ยสุขร่วมกันได้ การกล่าวอ้างว่า คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน คนยากจน เป็นส่วนเกินของเมือง ต้องได้รับการปรับปรุง หรือจัดให้ อยู่ ในพื้น ที่เฉพาะ โดยกีดกันคนเหล่านั้นออกจากเมืองของระบบทุนนิยม โดยเฉพาะการ วางแผนพัฒนาเมืองของรัฐ ตามแนวทางเสรีนิยมใหม่ที่มองคนไร้บ้านเป็นคนที่ไม่ทาการผลิต หรือเป็น ผู้ป่วยทั้งทางกายหรือทางจิต เป็นภาระของสังคมนั้นอาจไม่ถูกต้อง เนื่องจากคนไร้บ้านก็ทาการผลิตใน ลักษณะของการใช้ชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของเมือง เปรียบเสมือนศิลปินที่ร่วมขีดเขียนและวาดภาพเมือง ให้ นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนได้เห็นแง่มุมที่แตกต่างหลากหลาย ไปจากตึกรามบ้านช่องที่แข็งทื่อไร้ชีวิต ซึ่งก็ นับเป็นแรงงานหรือศิลปินผู้ผลิตของสังคมนั้นเช่นกัน 3 ดังนั้นการพัฒนาหรือกาหนดทิศทางการบริหาร จัดการพื้นที่ส าธารณะ จึ งจ าเป็ น ต้องนับรวมคนไร้บ้านเข้าไปเป็นส่วนรวม และมีส่ วนร่ว มในการใช้ ประโยชน์ตลอดจนกาหนดโฉมหน้าของเมืองนั้นด้วย การปล่อยให้คนไร้บ้านเร่ร่อนไปในพื้นที่สาธารณะโดยไม่สนใจใยดี ไม่ต่างอะไรกับการปล่อยให้ มนุษย์คนนั้นเป็น “ชีวิตเปล่าเปลือย” ไร้หลักประกันและเครือข่ายทางสังคม ในการเป็นเบาะรองรับ ในยามคับขัน เพราะสิ่งสาคัญที่ ทาให้มนุษย์สามารถดารงชีพอยู่ได้ก็คือสังคม หากยังเชื่อว่ามนุษย์เป็น สัตว์สังคมและสังคมมีคุณค่าในการปกปักษ์รักษาสมาชิกที่อยู่ร่วมกันในสังคม ดังนั้นการจัดการสังคม แบบรวบรวมเอาทรัพยากร “ส่ วนรวม” มาจัดสรรให้ รองรับกับคนไร้บ้าน ที่อาจมีความสามารถใน

1

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2560). Perspective. เชียงใหม่: TURN. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล. (2558). ภราดรภาพนิยม ของ ปรีดี พนมยงค์ = Solidarisme. กรุงเทพฯ: ชนนิยม. 3 เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2560). AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ การเมืองของการปฏิวัติ. กรุงเทพฯ: ILLUMINATIONS. 2

1-1


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 การแสวงหาปัจจัยดารงชีวิตได้น้อยกว่า ให้พอมีหลักประกันพื้นฐานต่าสุดในการดารงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์4 ย่อมเป็นหน้าที่สาคัญของสังคมรัฐ การศึกษาคนไร้บ้านซึง่ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดพร้อมกับการเกิดเมือง จึงต้องแสดงให้เห็นความ เชื่อมโยงอย่างสลับซับซ้อน อันสะท้อนผ่านความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจการเมือง5 ที่ประชันขันแข่งกันอยู่ ในก่อรูปสร้างพื้นที่สาธารณะ (public space) ให้เปลี่ยนรูปกลายร่างไปตามการกระทาของกลุ่มต่างๆ เมืองและพื้นที่สาธารณะจึงมิควรถูกมองอย่างว่างเปล่าแบบสถานที่(place)ไร้ผู้คน แต่ต้องวิเคราะห์ผ่าน โครงการผลิตสร้าง “พื้น ที่เมือง” (Urbanization) ด้วยนโยบายและกิจกรรมจานวนมากของรัฐ ทุน และผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนั้น 6 เนื่องจากเมืองมีการผลิตของแรงงาน และในอีกสถานะหนึ่งแรงงานก็ คือ คนที่ผลิตสร้างพื้นที่ทางสังคมรูปแบบต่างๆให้เกิดขึ้นในเมืองนั้น อย่างไรก็ดี การมองเพียงรัฐเป็น หน่วยทางการเมือง แต่ไม่เห็นเบื้องหลังที่มีกลุ่มทุนผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนพื้นที่ ของเมือง ให้เอื้อ ต่อการผลิตหรือบริโภคโดยกลุ่มทุน7 หรือบรรษัท ย่อมทาให้ไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่มี ต่อคนไร้บ้าน อันเนื่องมาจากการพยายามเบียดขับออกจากพื้นที่สาธารณะโดยทุน ที่มองว่าคนไร้บ้านไร้ ประโยชน์ในเชิงการผลิตทางเศรษฐกิจ มิใช่ลูกค้าของบรรษัท และทาลายสุนทรียภาพทางสายตา/ผัสสะ ต่อภาพลักษณ์ของเมือง โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวและพาณิชย์ การมองปรากฏการณ์ ค นไร้ บ้ า นในพื้ น ที่ ส าธารณะ จึ งต้ อ งปรั บ กระบวนทั ศ น์ เสี ย ใหม่ ให้ สอดคล้องกับหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ที่ให้หลักประกันกับบุคคลทั้งหลายไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพ ใดๆ ว่าเขาจะต้องมีสิทธิในการดารงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี 8 แม้จะตกอยู่ในภาวะวิกฤตจนต้องมาอาศั ยใช้ ชี วิต อยู่ ในที่ ส าธารณะก็ ต าม การศึ ก ษาเมื อ งและคนที่ อ าศั ย อยู่ ในเมื อ งในยุ ค หลั งแผนพั ฒ นาแห่ ง สหั ส วรรษ จึ ง เริ่ ม มองการพั ฒ นาเมื อ งบนพื้ น ฐานของกระบวนการที่ อ้ า งอิ ง สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน (Human Rights –based Approach) เพื่อเสริมสร้างกาลังให้กับบุคคลทั้งหลายที่อยู่ในเมือง แม้จะเป็น ผู้เสียงเบา ไร้อานาจไร้พลังก็ตาม 9 ทั้งนี้ได้มีการศึกษาความพยายามในการบังคับตามกฎหมายสิทธิ มนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติกาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒ นธรรม ให้ มีผ ลสั มฤทธิ์จริงในการพัฒ นาเมืองเพื่ อคุณ ภาพชีวิตของบุคคลทั้งหลายใน

4

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2560). เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น ทฤษฎีมาร์กซิสต์ในศตวรรษที่ 21. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและ บริการวิชาการคณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 5 เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร. กาเนิดภูมิศาสตร์แรงงาน และอิทธิพลของนักภูมิศาสตร์สายแรดิคัล. ฟ้าเดียวกัน. 11(2). 2556, 26-35 6 เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร. พื้นที่ และการผลิตพื้ นที่ในการศึกษาภูมิศาสตร์ของทุน . วารสารฟ้ าเดียวกัน . 12(1). 2557, 64-72 7 เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร. วาระเรื่อง "เมือง" ในการศึกษาภูมิศาสตร์ทุนตามแนวมาร์กซิสต์. วารสารฟ้าเดียวกัน. 12(2-3). 2557, 52-66 8 Bantekas, I. Oette, L. 2nd Edition. (2016). International Human Rights Law and Practice. Cambridge UK: Cambridge University Press. 9 Oomen, B., Davis, M. F. & Grigolo, M. (editors). (2016). Global Urban Justice: The Rise of Human Rights Cities. Cambridge UK: Cambridge University Press.

1-2


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ชีวิตประจาวัน10 รวมถึงการผลักดันการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ให้บรรลุเป้าหมายแห่งการพัฒนา อย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนเมืองที่ถูกกลุ่มทุนยึดครองและผลิตสร้างพื้นที่เมือง ให้เอื้อต่อการผลิต และลัทธิบริโภคนิยมมายาวนานหลายศตวรรษนั้นไม่ง่ายดาย การพยายามสร้างเครือข่ายทางสังคมใน การเคลื่อนไหวประเด็นความเป็น ธรรมทางสัง คม11 หรือขับดันขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อ ปฏิวัติเมืองและทวงคืนสิทธิของประชาชนทุกหมู่เหล่า ในการมีชีวิตอย่างหลากหลายและมีส่วนร่วมใน การกาหนดอนาคตเมือง12 จึงต้องอาศัยฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิ 13 เนื่องจากการปฏิวัติอย่าง สันติและประหยัดเลือดเนื้อ ย่อมมิอาจปฏิเสธการเข้าไปมีส่วนร่วมวางผังและนโยบายเมืองผ่านระบบ บริห ารจัดการภาครัฐ เพื่อป้องกันการปะทะทางตรงระหว่างกลุ่มคนไร้บ้านกับกลุ่มทุน ซึ่งอาจสร้าง ผลกระทบให้เกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองกลุ่มอื่น สิ่งที่ต้องชี้ให้เห็นในงานวิจัยหรืองานศึกษาต่างๆเกี่ยวกับคนไร้บ้านคือ การสะท้อนให้เห็นสภาพ ชีวิตประจาวันของคนไร้บ้าน ทั้งที่ใช้ชีวิตในลักษณะปัจเจกชน หรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ว่ามีความเป็นอยู่ อย่างไร มีการผลิตแบบไหน กินอยู่อาศัยหลับนอนที่ใด วิถีชีวิตและรสนิยมต่างๆเป็นเช่น ไร14 ยิ่งทาให้ เห็ นรายละเอียดของชีวิต ของคนที่ไม่อาจเข้าถึงสินค้าหรือบริการที่จาเป็นต่อการดารงชีพได้ แม้จะ พยายามทามาหากินสายตัวแทบขาด 15 หรือจาต้องอยู่ในที่พักพิงชั่วคราวหรือย่านชุมชนแออัดเสื่อม โทรมที่เรียกว่าสลัม หรือนิคมเมืองต่างๆอย่างขัดสนและเสี่ยงภัยคุกคามหลากหลายประการ 16 ย่อมทา ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้าของการพัฒ นาเมือง และความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่เกิดขึ้น ยิ่งเห็นงาน ศึกษาแสดงให้ว่ารัฐไม่พยายามแก้ไขปัญหาของคนไร้บ้านอย่างเป็นระบบ หรือจัดการกับคนไร้บ้านอย่าง เสียมิได้เสมือนเป็นคนนอกสายตา17 ยิ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบกพร่องต่อการให้หลักประกันสิทธิมนุษยชน ต่อคนในเมืองนั้น และยังมีภารกิจให้ผลักดันอีกมากกว่าจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปรากฏการณ์คนไร้บ้านจึงเป็นสิวที่โผล่พ้นพรม ที่รัฐและทุนพยายามจะกลบเกลื่อนรากเหง้า ของปัญหาในการพัฒนาเมืองไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาวะของคนในเมือง ความเสื่ อมโทรมของระบบ นิเวศน์เมือง ซึ่งสะท้อนให้เห็นความล้มเหลวในการบริหารจัดการเมืองอย่างเรื้อรัง อาจจะกล่าวได้ว่า

10

Eslava, L. (2015). Local Space, Global Life: The Everyday Operation of International Law and Development. Cambridge UK: Cambridge University Press. 11 Harvey, D. (2010). Social Justice and the City. Georgia: University of Georgia Press. 12 Harvey, D. (2012). Rebel Cities: From the Right to the City to the Urban Revolution. London: Verso. 13 Mitchell, D. (2003). The Right to the City Social Justice and the Fight for Public Space. New York: The Guildford Press. 14 อนรรฆ พิทักษ์ธานิน. ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย. (2560) คน (ทาไม) ไร้บ้าน: รายงานสถานการณ์ความไม่ เป็นธรรม. กรุงเทพฯ: JustNet. 15 ออร์เวลล์, จอร์ จ. (2560). ความจนกับคนจรในปารีสและลอนดอน. แปลจาก Down and Out in Paris and London. แปลโดย บัญชา สุวรรณานนท์. กรุงเทพฯ: ไต้ฝุ่นสตูดิโอ. 16 Orwell, G. (1937).The Road to Wigan Pier. 17 บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2560). โลกของคนไร้บ้าน พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สานักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.

1-3


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 รูปลักษณ์ของเมืองสะท้อนการเมืองของคนในเมืองนั้น18 การถอดสลักวิกฤตต่างๆของสังคมจึงหนีไม่พ้น การแก้ปั ญหาทางสังคมของเมืองนั้นๆ 19 เนื่องจากเครือข่ายทางสังคมที่ ห ล่อหลอมและยึดโยงสังคม เอาไว้ย่อมเกิดจากทรัพยากรมนุษย์ที่อยู่ในเมืองเหล่านั้น 20 คนไร้บ้านจึงเป็นตัวละครแสดงแทนคนที่มี ทุนทางสังคมต่า อยู่ในภาวะเสี่ยงทางสังคมสูง เนื่องจากตกอยู่ในเงื่อนไขของความไม่มั่นคงของมนุษย์ รูปแบบต่างๆ องค์กรที่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน หรืออาจเข้ามาพัฒนาเมืองอย่างยั่นยืน ก็คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ออกแบบผ่านกฎหมายสูงสุดของรัฐ ทั้งมหานครขนาดใหญ่ที่มีลักษณะการ ปกครองตนเองสูง ไปจนถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ภายใต้การควบคุมจากรัฐบาลกลาง หรือ อาจจะมีอิสระในการบริหารจัดการท้องถิ่นสูง21 โดยโครงสร้างและอานาจหน้าที่ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ที่ทาหน้าที่บริหารจัดการเมืองนั้ น ก็แตกต่างกันไปตามประวัติศาสตร์ การปกครองของรัฐ โดยต้องวิเคราะห์ ทั้งการเมืองระดับ ชาติ และความสั มพันธ์ระหว่างการปกครองจากส่วนกลางและ ท้องถิ่น22 เนื่องจากการบริหารเมืองและคนในพื้นที่สาธารณะ เป็นภารกิจสาคัญพื้นฐานของการจัดการ ปกครองส่วนท้องถิ่น

18

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2560). เมืองกินคน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง. เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2560). เมือง: ย้อนคิด มุ่งสู่อนาคต. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง. 20 อานันท์ กาญจนพันธ์. (2560). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง. 21 เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2560). เหตุอยู่ที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง. 22 ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2560). เทศบาล พื้นที่ เมือง และกาลเวลา. กรุงเทพฯ: ศยามปัญญา. 19

1-4


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ส่วนที่ 2 การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนคนไร้บ้าน การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้าน จาเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของ บุคคล โดยมิคานึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใดๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคน ที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้ด้วยเหตุแห่งความ เป็นสิทธิมนุษยชนที่รัฐได้ประกาศเข้าผูกพันตนไว้ หลั ก กฎหมายสิ ท ธิม นุ ษ ยชนที่ จ าเป็ น ต่ อ การอ้ างอิ ง เพื่ อ สร้ างหลั ก ประกั น ให้ กั บ กลุ่ ม คนไร้บ้ า น ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ กฎหมายเชิงเนื้อหาที่มีบทบัญญัติรับรองสิทธิในหลักการ กับ หลักกฎหมายในเชิง วิธีการบังคับตามสิทธิให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติ 1. บทบัญญัติกฎหมายที่รับรองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้าน 1.1. กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน คนไร้บ้านไม่ว่าจะเป็นใครอยู่ที่ใดในโลกนี้ ย่อมได้รับการประกันสิทธิ ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน ซึง่ ถือเป็นมาตรฐานขั้นต่าสุดในการประกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์1 โดยประชาคมโลกได้สร้างระบบ ความสัมพันธ์ ในการปฏิบัติต่อกันของบรรดารัฐต่างๆผ่านปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่า รัฐทุกรัฐจะ ปฏิ บั ติ ต่ อพลเมื อ งของตนและพลเมื อ งโลกอย่ างไร ถึงแม้ว่ าจะมิ ได้ มี ผ ลบั งคั บ ทางกฎหมายเหมื อนอย่ าง สนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ แต่ก็มีพลังสาคัญทางศีลธรรม จริยธรรม และมีอิทธิพลทางการเมือง ทั่วโลก รวมถึงมีผลผูกพันรัฐในฐานะกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ที่รัฐต้องตระหนักถึงหรืออาจโดน เรียกร้องให้ต้องปฏิบัติตาม2 นอกจากนี้ยังเป็นแนวคิด ในการร่างรัฐธรรมนูญ ของบรรดาประเทศที่มีการร่าง รัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแทบทุกฉบับ ยังมีข้อความที่สอดคล้อง กับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะหมวดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และกลไกการ ประกันสิทธิเสรีภาพทั้งหลาย สิทธิของคนไร้บ้านในการได้รับประกันความมั่นคงทางสังคม และคุณภาพชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อันจาเป็นต่อการพัฒนาตนเองอย่างมีศักดิ์ศรีและยืดหยัดอยู่ได้อย่างเสรี ก็ได้มีการรับรองไว้ใน ข้อ 22 ของปฏิญญา3 ซึ่งข้อ 25 ได้ให้รายละเอียดของวัตถุแห่งสิทธิที่คนไร้บ้าน ต้องได้การประกันจากรัฐ 1

สหประชาชาติ. (1948). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. มี 30 ข้อ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1948 bantekas, I. & Oette, L. (2013). International human Rights: Law and Practice. Cambridge: Cambridge University Press, p.20 3 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 22 ในฐานะสมาชิกของสังคมด้วยความเพียรพยายาม ของชาติตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศและโดยการ สอดคล้องกับการระเบียบและทรัพยากรของแต่ละรัฐ บุคคลมีสิทธิในความมั่นคงทางสังคมและชอบที่จะได้รับผลแห่งสิทธิทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมซึ่งจาเป็นต่อศักดิ์ศรีและการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเสรีของตน 2

2-1


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ประกอบไปด้วยมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสาหรับสุขภาพ และความอยู่ดีของตนตลอดจนครอบครัว รวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล รวมถึงบริการสังคมที่จาเป็น และสิทธิในความมั่นคงใน กรณี ว่ า งงาน เจ็ บ ป่ ว ย ทุ พ พลภาพ เป็ น หม้ า ย อยู่ ในวั ย ชรา หรื อ การขาดปั จ จั ย ในการเลี้ ย งชี พ อื่ น ใด ในพฤติการณ์อันเกินจากที่ตนจะควบคุมได้4 นอกจากนี้ บุ คคลทั้งหลาย (พลเมืองโลก) ยังมีสิ ทธิได้รับประโยชน์จากระเบียบสังคมและระหว่าง ประเทศ อันจะอานวยให้การใช้สิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่ ดังปรากฏในการข้อ 28 หรือกล่าวให้ชัดเจน คือ ไม่ มี ข้ อ อ้ า งทางพรมแดนและเขตอ านาจใดจะมายกเว้ น “ศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ” ตามกฎบั ต รนี้ ไ ด้ สิทธิมนุษยชนจึงมีอยู่ในตัวบุคคลทุกที่และทุกเวลา ทั้งนี้ปฏิญญายังได้ชี้ให้เห็นถึงขอบเขตการใช้สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลมิให้ เกิดการล่วงล้ากล้าเกิน สิทธิของผู้อื่นไว้ในข้อ 29 โดยในวรรค (2) ยังกล่าวถึงขอบเขตการใช้สิทธิที่อาจถูกจากัดได้ ก็โดยการกาหนด แห่งกฎหมายเฉพาะ เพื่อความมุ่งประสงค์ให้ได้มาซึ่งการยอมรับ และการเคารพโดยชอบในสิทธิ เสรีภาพของ ผู้อื่น และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกาหนดอัน ยุติธรรมของศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชาติ และ สวัสดิการโดยทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย และในวรรค (3) ได้ห้ามมิให้ใช้ให้สิทธิขัดกับความมุ่งประสงค์และ หลั ก การของสหประชาชาติ นั่ น คื อ สั น ติ ภ าพ สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน และความมั่ ง คั่ ง ของมวลมนุ ษ ยชาติ ซึ่งขอบเขตตามข้อ 29 นี้เอง จะกลายเป็นขอบเขตที่นาไปสู่การถกเถียงเมื่อมีการบัง คับใช้สิทธิกับข้อเท็จจริง เสมอว่า หากต้องพิจารณาว่ากรณีนี้เป็นการใช้สิทธิของบุคคลจนเกิดขอบเขตแล้ว จะต้องให้รัฐจากัดสิทธิเพื่อ ป้องกันสิทธิของผู้อื่นแล้วหรือยัง อันเป็นปัญหาหลักในการบังคับตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน ยิ่ งไปกว่านั้ น ปฏิ ญ ญาสากลยั งได้ ว างหลั ก การ เมื่ อ เกิ ด ข้ อ ขั ด แย้ งสงสั ย เกี่ ย วกั บ การตี ค วามสิ ท ธิ มนุษยชนไว้ว่า หากมีปัญหาในการตีความปฏิญญาเพื่อบังคับใช้กับข้อเท็จจริง ก็ให้ยกข้อ 30 มาปรับใช้ ซึ่ง บทบัญญัติได้ระบุอย่างชัดเจนว่าข้อความต่างๆ ตามปฏิญญานี้ไม่เปิดช่องที่จะแปลความได้ว่าให้สิทธิใดๆ แก่รัฐ กลุ่มชนหรือบุคคลใดๆ ที่จะประกอบกิจกรรม หรือกระทาการใดๆ “อันมุ่งต่อการทาลายสิทธิและเสรีภาพ” ทั้งหลายที่ได้ระบุไว้ในบทบัญญัติฉบับนี้ นั่นหมายความว่ารัฐต้องระมัดระวังการออกกฎหมาย นโยบาย หรือมี มาตรการใดๆที่อาจขัดหรือแย้งต่อสิทธิที่ได้รับรองไว้โดยปฏิญญาสากล และรวมถึงสิทธิตามสนธิสัญญาด้าน สิทธิมนุษยชนอื่นๆที่เกี่ยวและรัฐไทยเป็นภาคีอยู่นั่นเอง เช่น กติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรม และกติกาฯสิทธิพลเมืองและการเมือง 1.2. สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี กติกาสิทธิพลเมืองและการเมือง สร้างหลักประกันเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับ คนไร้บ้านไว้ว่า การจากัดเสรีภาพทั้งปวง ไม่ว่าจะในกรณีอาญาหรือกรณีอื่นๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษา การควบคุมคนเข้าเมือง การเจ็บป่วยทางจิต คนเร่ร่อน ผู้ติดยาเสพติด แม้บทบัญญัติครอบคลุมบุคคลที่ถูก จากัดเสรีภาพโดยการจับกุมหรือคุมขัง รัฐภาคีต้องประกันการเยียวยาอย่างเป็นผล5

4

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 25 สหประชาชาติ. (1982). ความเห็นทั่วไปที่รับรองโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนลากับที่ 8, การประชุมสมัยที่ 16, แปล โดย มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ, ย่อหน้า 1-4 5

2-2


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 หน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จะต้องท าทุกวิถีทางเพื่ อประกัน ว่า กิจ กรรมของหน่วยงานสอดคล้ องกับการมีสิท ธิทางการเมืองและสิ ท ธิ พลเมืองอย่างแท้จริง หลักข้อนี้มีความหมายในทางละเว้นว่า องค์การระหว่างประเทศจะต้องหลีกเลี่ยงการเข้า ไปเกี่ยวข้องกับโครงการต่างๆ เช่น เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานซึ่งขัดแย้งกับมาตรฐานสากล หรือการส่งเสริม หรือสนับสนุนการเลือกปฏิบัติต่อปัจเจกบุคคลแต่ละคน หรือกลุ่ม ซึ่งตรงกันข้ามกับบทบัญญัติของกติกา หรือ เข้าไปเกี่ยวข้องกับการไล่ที่คนจานวนมาก หรือการบังคับโยกย้ายคนไปที่อื่น โดยไม่มีการให้การคุ้มครอง หรือ ค่าชดเชยที่เหมาะสม ส่วนในทางสนับสนุน หมายถึงว่าในกรณี ที่เป็นไปได้ องค์กรภายใต้ สหประชาชาติจะ รณรงค์ให้เกิดโครงการ หรือแนวทางต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดไม่เพียงแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือบรรลุ วัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่ระบุไว้กว้าง ๆ แต่ยังก่อให้ เกิดการส่งเสริมการมีสิทธิมนุษยชนให้มากที่สุดด้วย6 อย่างไรก็ดี สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเป็น “พันธกรณีเชิงบวก” (Positive Rights) ซึ่ง เรี ย กร้ อ งให้ รั ฐ ริ เริ่ ม ด าเนิ น มาตรการต่ างๆขึ้ น มา เพื่ อ เพิ่ ม พู น คุ ณ ภาพชี วิ ต ของบุ ค คล รัฐ จึ งจ าเป็ น ต้ อ งมี ทรัพยากรมารองรับซึ่งโดยนัยยะแห่ง ข้อ 2 ของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้ อนุญาตให้รัฐภาคี สามารถดาเนินมาตรการได้เป็นลาดับ ตามที่ทรัพยากรของแต่ละรัฐเอื้ออานวย ดังนั้นจึง ขึ้นอยู่กับแต่ละรัฐว่าจะมีเจตจานงมากน้อยเพี ยงไรในการบังคับใช้สิทธิ มากกว่าการมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย เด็ดขาด ซึ่งศาลอาจมีบทลงโทษหากไม่บังคับใช้สิทธิ7 ซึ่งการเกิดเจตจานงทางการเมืองของรัฐในการบังคับใช้ สิ ท ธิม นุ ษ ยชน อาจผลั ก ดัน ได้ ด้ ว ยการมี ส่ ว นร่ว มของภาคประชาชนในกระบวนการนิ ติ บั ญ ญั ติ หรือการ เรียกร้องผ่านกระบวนการทางกฎหมาย ทีร่ ัฐธรรมนูญของแต่ละรัฐเปิดช่อง รวมไปถึงการชี้ให้องค์กรที่ข้องเห็น ความส าคัญ ของสิ ทธิมนุ ษ ยชน ในฐานะที่เป็นสิ ทธิมนุษยชนตามกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับการต่อรองทาง การเมืองเพื่อแบ่งปันทรัพยากร มาจัดบริการสาธารณะและหลักประกันสิทธิทั้งหลายให้กับกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ใน ที่นี้คือ กลุ่มคนไร้บ้าน ซึ่งแม้มีปริมาณคนน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มเสี่ยงอื่น แต่เมื่อเป็นมนุษย์คนหนึ่งจึงต้องได้รับ การประกันสิทธิให้ดารงอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี เสมอภาคกับบุคคลอื่นๆ 1.3. เอกสารอื่นๆ ของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง กลุ่ ม คนไร้ บ้ านที่ จั ด เป็ น กลุ่ ม เสี่ ย งสู งสุ ด คื อ กลุ่ ม คนไร้บ้ านสู งอายุ กลุ่ ม เสี่ ย งนี้ ได้ รับ การเน้ น ย้ า ความสาคัญตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 เมื่อสมัชชาประชาชาติได้รับรองหลักการแห่งสหประชาชาติเพื่อผู้สูงอายุ ซึ่ง ด้วยลักษณะที่เป็นแผนงานจึงเป็นเอกสารที่สาคัญฉบับหนึ่งในบริบทปัจจุบัน หลักการเพื่อผู้สูงอายุฯนี้แบ่งเป็น 5 ส่วน ซึ่งสอดประสานอย่างใกล้ชิด กับ สิทธิที่ได้รับการรับรองในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่ไทยเป็นภาคี อันได้แก่ 8

6

สหประชาชาติ. (1989). ความเห็นทั่วไปที่รับรองโดยคณะกรรมการสิท ธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมลาดับที่ 1. การประชุมสมัยที่ 3. แปลโดย ศรีประภา เพชรมีศรี และ ปราณี เก้าเอี้ยน, ย่อหน้า 6 7 UN. (2002). E/CN.4/2002/58, p.13 8 สหประชาชาติ. (1989). ความเห็นทั่วไปที่รับรองโดยคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมลาดับที่ 1. การประชุมสมัยที่ 3. แปลโดย ศรีประภา เพชรมีศรี และ ปราณี เก้าเอี้ยน, ย่อหน้า 5

2-3


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05  “ความเป็น อิสระ” หมายถึง การดารงตนได้อย่างอิสระโดยสามารถเข้าถึง อาหาร น้า ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และการรักษาพยาบาลที่เพียงพอ นอกเหนือจากสิทธิพื้นฐานดังกล่าวนี้แล้ว ยังรวมถึง โอกาสในการทางานที่ได้ค่าตอบแทน และโอกาสในการศึกษาและการอบรม  สาหรับ “การมีส่วนร่วม” หมายความว่า ผู้สูงอายุควรมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการจัดทา และดาเนิน นโยบายที่จะมีผลกระทบถึงความเป็นอยู่ที่ดีของเขา กับทั้งควรสามารถแบ่งปันความรู้และทักษะกับ คนรุ่นเยาว์กว่า รวมถึงสามารถก่อตั้งสมาคมหรือกลุ่มขึ้นได้ด้วย  ในส่วนที่ขึ้นต้นว่า “การดูแล” นั้น ส่วนนี้หมายความว่า ผู้สูงอายุควรจะได้ประโยชน์จากการดูแลจาก ครอบครัว การดูแลสุ ขภาพ และควรมี สิ ทธิและเสรีภ าพขั้น พื้ นฐานเมื่ออยู่ในเคหสถาน และมีสิ่ ง อานวยความสะดวกในการดูแลรักษา  สาหรับ “การพัฒ นาตนเอง” นั้น หลักการก็คือผู้สูงอายุควรมีโอกาสในการพั ฒ นาศักยภาพของตน อย่างเต็มที่ โดยมีโอกาสที่จะได้รับทรัพยากรในการศึกษา ทางวัฒนธรรม จิตวิญญาณและสันทนาการ ที่มีอยู่ในสังคม และ  หลักการสุดท้าย คือ “ศักดิ์ศรี” กล่าวไว้ว่า ผู้สูงอายุควรจะมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและความมั่นคง ปลอดภัย ปลอดจากการถูกเอารัดเอาเปรีย บและการละเมิดทางร่างกายหรือจิตใจ ควรได้รับการ ปฏิบัติต่อด้วยความยุติธรรม โดยไม่คานึงถึงอายุ เพศ เชื้อชาติ หรือเผ่าพันธุ์ใด ๆ และต้องไม่ขึ้นอยู่กับ ความพิการ สถานะทางการเงินหรือสถานะอื่นใด และควรให้คุณค่าไม่ว่าคนเหล่านี้มีส่วนสนับสนุน ในทางเศรษฐกิจหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีเอกสารสาคัญของสหประชาชาติอีกหนึ่งฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นคงในชีวิตของคน ไร้บ้านอย่างยั่งยืน นั่นคือ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ 1.4. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals – SDGs) สหประชาชาติเล็งเห็นความสาคัญในการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้มีการออกเอกสารสาคัญ 2 ฉบับ ซึ่งเป็นกรอบการดาเนินงานด้านการของรัฐบาลต่างๆทั่วโลก โดยเอกสารทั้งสองจะถูกอ้างอิงถึงในการ ทางานพัฒนาของภาคประชาสังคมจานวนมาก แต่อาจมีรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐบางส่วนแย้งว่ าไม่มีผล บั ง คั บ ทางกฎหมาย นั่ น คื อ เป้ า หมายการพั ฒ นาแห่ ง สหั ส วรรษ (Millennium Development Goals MDGs) ซึ่งต่อมาได้พั ฒ นามาเป็ น เป้ าหมายการพั ฒ นาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) แม้ที่มาจะไม่มีลักษณะการให้ความเห็นชอบของรัฐ ในการสมัครใจเข้าร่วมผูกพันแบบสนธิสัญญา ทาให้ เอกสารทั้งสองไม่ใช่กฎหมายระหว่างประเทศที่ผูกพันรัฐโดยตรง แต่เนื้อหาทั้งหมดเป็นการนาหลักการสาคัญ ทั้งหลายที่อยู่ในกฎหมายสนธิสัญญาอื่นๆ ที่รัฐต่างๆได้มีผูกพันตนเองกับพันธกรณีเหล่านั้นอยู่แล้ว การอ้างอิง เอกสารทั้งสองนี้เพื่อเรียกร้องให้รั ฐปฏิบัติตาม ในลักษณะการสนับสนุนสิทธิของคนไร้บ้านให้บรรลุเป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นแนวทางในปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิท ธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคีนั่นเอง อาทิ เป้าหมายที่ 1 ของ SDGs ที่ต้องการขจัดความยากจนเพื่อให้บุคคลสามารถดารงตนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุ ษย์ อย่างยืน ก็สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 22 และ 25 ที่กล่าวไว้ข้างต้น และเป็นไปตาม กติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ข้อ 7 และ 11 2-4


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ดังนั้นการอ้างอิง เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา กฎหมายและนโยบายต่างๆเพื่อจัดบริการสาธารณะ และสร้างเครือข่ายทางสังคมเพิ่มเติมให้กับคนไร้บ้าน จึ ง เป็ น การกล่ า วอ้ า งอยู่ บ นฐานของกฎหมายสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนที่ รั ฐ ไทยเป็ น ภาคี และมี ผ ลผู ก พั น อยู่ ต าม พระราชบัญญัติให้ใช้บังคับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเหล่านั้นนั่นเอง 2. หลักการคุ้มครองและบังคับตามสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้าน 2.1. หลักสาคัญในการบังคับตามสิทธิมนุษยชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน การสร้ างมาตรการรองรับ ทางสั งคมให้ กับกลุ่ มเสี่ ยง ตามแนวทางของกฎหมายสิ ทธิมนุษ ยชนนั้ น สะท้อนออกมาในกระบวนการที่อิงสิทธิเป็นฐาน (A Rights-based Approach) โดยให้แนวทางที่สามารถเป็น กรอบส่งเสริม ให้มีการยอมรับสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง ที่รัฐต้องประกันสิทธิให้เพิ่มขึ้นเป็นลาดับ ซึ่งจะ นาไปสู่การบังคับตามสิทธิ ในฐานะที่เป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งบุคคลทั้งหลายพึงได้รับการคุ้มครอง โดยปราศจาก การเลือกประติบัติด้วยเหตุที่เป็นคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน หรือคนอาศัยในพื้นที่สาธารณะ หลักการที่สาคัญของ กระบวนการประกอบไปด้วย - หลักความรับผิด - หลักการห้ามเลือกประติบัติ - หลักความโปร่งใส - หลักการมีส่วนร่วม - หลักการส่งเสริมการมีส่วนร่วม กระบวนการดั งกล่ าวจะเป็ น การส่ งเสริมให้ ผู้ ที่ มีส่ ว นเกี่ยวข้องทั้ งหลายได้มีโอกาสเข้ามาร่ว มก าหนด นโยบาย บังคับใช้ และตรวจสอบ ส่งผลให้ปัจเจกชนหรือกลุ่มที่ได้รับความเสียหาย จากการเพิกเฉยหรือละเมิด สิทธิมนุษยชนสามารถอ้างให้รัฐ เคารพ ปกป้อง และเติมเต็มสิทธิมนุษยชนให้แก่ตนและกลุ่ม อันจะทาให้การ บั งคั บ ใช้ สิ ท ธิ มี ค วามก้ าวหน้ ามากยิ่ งขึ้ น 9 เริ่ม จากการเสริม สร้ างความมั่ น คงของคนไร้บ้ าน กลุ่ ม ชุ ม ชน เครือข่ายภาคประชาสังคม ไปสู่การตอบสนองของภาครัฐ ออกมาในรูปแบบของมาตรการที่อิงสิทธิ (Rightbased Approach) โดยการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน ต้องเริ่มกระบวนการจากประชาชนไปสู่การตอบสนอง ของภาครัฐ (ล่าง-บน) คือ เริ่มจากการเสริมสร้างความมั่นคงของปัจเจกชน กลุ่ม ชุมชน เครือข่ายประชาสังคม ไปสู่การตอบสนองของภาครัฐ ออกมาในรูปแบบกระบวนการที่อิงสิ ทธิมนุษยชน (Human Rights-based Approach) อันได้แก่การจัดให้มี10:  กฎหมาย  ยุทธศาสตร์และนโยบาย 9

FAO. (2004). IGWG RTFG /INF 4, p.2 จากคาอธิบายของ ศ.วิทิต มันตาภรณ์ ในการสัมภาษณ์ ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 10

2-5


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05        

การปฏิบัติและวิธีการดาเนินงาน โครงการและบริการสาธารณะ สถาบันหรือองค์กร ทรัพยากรบุคลากรและงบประมาณ การให้ข้อมูลความรู้และระบบการศึกษา การตรวจตราและประเมินผล การมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการส่งเสริมความเข้มแข็งของการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

การพัฒ นาสิ ทธิมนุ ษ ยชนของปั จเจกชน หรือกลุ่ มเสี่ ยงที่ อาจด้อยสิ ทธิต้องกระท าอยู่บนหลั กการ ดังต่อไปนี้ 2.2. หลักการห้ามเลือกประติบัติต่อคนไร้บ้าน (Non-Discrimination) สาระสาคัญของสิ ทธิมนุ ษยชนในฐานะสิ ทธิมนุษยชน คือ การห้ ามเลื อกประติบัติต่อบุคคลในการ เข้าถึงบริการสาธารณะ รวมทั้งวิธีการและสิทธิในการใช้ประโยชน์จากบริการสาธารณะ ด้วยเหตุแห่งความ แตกต่ า งทางเชื้ อ ชาติ สี ผิ ว เพศ ภาษา อายุ ศาสนา ความคิ ด เห็ น ทางการเมื อ ง ถิ่ น ก าเนิ ด ทางสั ง คม เชื้อชาติ ทรัพย์สิน การกาเนิด หรือ สถานภาพอื่นใด11 รวมทั้งสิทธิของบุคคลรุ่นใหม่ในอนาคต อันเป็นการบั่น ทอนหรือทาลายการได้มาหรือการใช้ประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างเสมอภาคและยั่งยืน ของประชาชน แม้ว่าจะมีทรัพยากรอยู่อย่างจากัด รัฐก็พึงแบ่งปันทรัพยากรออกไปอย่างเสมอภาค ไม่เลือก ประติบัติต่อกลุ่มใดกลุม่ หนึ่ง หากมีการละเมิดสาระสาคัญเช่นว่าถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน12 รัฐมีหน้าที่ในการออกกฎหมายหรือมาตรการใด เพื่อขจัดการเลือกประติบัติในรูปแบบต่างๆ ที่อาจ กระทบกระเทื อนต่อ การเข้าถึงสิ ทธิของบุ คคล อัน อยู่ในรูปของกฎหมาย (de jure) รวมถึง ขจัดการเลื อ ก ประติบัติในเชิงปฏิบัติ (de facto) ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเข้าถึงสิทธิของบุคคล โดยกลุ่มเสี่ยงที่มักจะ ประสบกับความยากลาบากในการใช้สิทธิมนุษยชน 13 อาทิ สตรี เด็ก ชนกลุ่มน้อย ชนพื้นเมือง ผู้ลี้ภัย ผู้พลัด ถิ่น แรงงานอพยพ นักโทษ และคนไร้สัญชาติ ไม่มีเอกสารราชการ หลักห้ามเลือกประติบัตินี้ได้เน้นย้ามาตั้งแต่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่าเป็นหลักการสาคัญ ของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ จนถึงกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในข้อ 2 วรรค 214 จึงเป็นการให้ห ลักประกันว่าบุคคลจะได้รับการคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม อย่างเสมอภาค

11

UN. (1999). E/C.12/1999/5, p.18 UN. (2002). E/CN.4/2002/58, p.14 13 FAO. (2004). IGWG RTFG/INF 3, p.10 14 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ 2 ………………….. 12

2-6


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 หลักการห้ามเลือกประติบัตินี้ได้รับการยอมรับว่ามีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย การออกกฎหมาย หรือ มาตรการใดๆของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จะเลือกประติบัติต่อ บุคคล หรือ กลุ่มบุ คคล อันเนื่องมาจากความแตกต่างที่กล่าวไว้ในข้างต้นมิได้ ดั งจะเห็ นได้จากกรณี ศึกษา ต่อไปนี้  คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้เน้นย้าหลักห้ามเลือกประติบัติ ในข้อแนะนาต่อ กฎหมายสิทธิประโยชน์ของผู้ว่างงานในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยแนะนาว่าให้รับรองสิทธิของบุรุษที่ แต่งงานแล้วเท่าเทียมกับสตรีที่แต่งงานแล้ว15  ศาลรัฐธรรมนูญแห่งอัฟริกาใต้ตัดสินว่า กฎหมายว่าด้วยความมั่นคงทางสังคม ที่ไม่รับรองบุคคลที่มีถิ่น พานักถาวรแต่มิได้มีสัญชาติอัฟริกาใต้ ในการเข้าถึงนโยบายความช่วยทางสังคม ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และมีคาสั่งให้แก้ไขกฎหมายให้รับรองสิทธิของคนกลุ่มนี้16  ศาลสูงแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้หลักประกันสิทธิในการเข้าถึงโครงการความช่วยเหลือของรัฐอย่างเท่า เทียมกันตามนัยยะแห่ง รัฐธรรมนูญแก้ไขฉบับที่ 14 ในที่สุดศาลมลรัฐเท็กซัสตัดสินให้รัฐต้องอนุญาต ให้เด็กทีเ่ ข้าเมืองผิดกฎหมาย สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้17  ศาลสูงแห่งแคนาดาตัดสินให้ มลรั ฐบริติชโคลัมเบียต้องจัดสิ่งอานวยความสะดวกให้แก่คนหูหนวก เพื่อสร้างหลักประกันว่า กลุ่มคนเหล่านี้สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้เท่าเทียมกับผู้อื่น18 จากกรณี ศึกษาข้างต้น แสดงให้ เห็ น ว่าสิท ธิมนุษยชนของปั จเจกชน แม้ เป็น สิท ธิทางเศรษฐกิจ สั งคม และ วัฒนธรรม ก็ต้องได้รับการคุ้มครองภายใต้หลักการห้ามเลือกประติบัติ แม้ศาลภายในจะยังไม่มีคาพิพากษา ออกมายอมรับหลักการในสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของคนไร้บ้านโดยชัดแจ้งก็ตาม แต่เนื่องจาก หลั ก การดั งกล่ าวเป็ น สาระส าคั ญ ในการบั งคั บ ใช้ สิ ท ธิท างเศรษฐกิ จ สั งคม และวัฒ นธรรม จึงต้ องน ามา ประยุกต์ใช้กับสิทธิของกลุ่มคนไร้บ้านได้ด้วย แต่การออกมาตรการที่เป็นพิเศษและแตกต่างเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือ ภาวะฉุกเฉิน หรือ ช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงใดเป็นพิเศษ เป็นสิ่งที่กระทาได้ เนื่องจากเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างมีเหตุผล เพื่อช่วยเหลือ กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม ที่มีความสามารถในการปกป้องตัวเองน้อยกว่าบุคคลอื่น อันเป็นพันธะกิจหลักที่รัฐ พึงกระทา และมนุษย์ควรกระทาบนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรมหรือภราดรภาพ

2. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันว่าสิทธิทั้งหลายที่ระบุไว้ในกติกานี้จะใช้ได้โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ในเรื่องเชื้อ ชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน กาเนิดหรือ สถานะอื่น 15 FAO. (2004). IGWG RTFG/INF 7, p.6 16 Ibid., p.6 17 Ibid., p.6 18 Ibid., p.6

2-7


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 2.3. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของคนไร้บ้านมิใช่สิทธิเด็ดขาด แต่รัฐไม่ควรละเมิด (NonRestrictive Rights) แม้สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จะมิใช่สิทธิเด็ดขาดดังเช่นสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมืองบางประการ เนื่องจากกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมมิได้กาหนดไว้ อย่างชัด แจ้งในบทบัญญัติ แต่กติกาและความเห็นทั่วไปของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฉบับ ที่ 12 ก็กาหนดให้รัฐต้อง ละเว้นการกระทาที่อาจละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน อาทิ การยกเลิกหรือระงับกฎหมายที่ตราไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิ มนุษยชน การขัดขวางมิให้บุคคลหรือกลุ่มชนใดเข้าถึง สิทธิโดยการเลือกประติบัติ ทั้งจากการออกกฎหมาย หรือบี บ บังคับในทางปฏิ บัติให้ เกิดการลิ ดรอนสิ ทธิขึ้น การขัดขวางความช่ว ยเหลือทางมนุษยธรรมในยาม ฉุกเฉิน การออกกฎหมายภายในหรือนโยบายที่ขัดต่อพันธกรณี ระหว่างประเทศ 19 ความย่อหย่อนในการ คุ้มครองกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมิให้ถูกอานาจรั ฐหรือบุคคลที่สามละเมิดสิทธิ การไม่อาจควบคุมการ กระทาของบุคคลที่สาม ในการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ เงื่อนไขเหล่านี้ล้วนแสดงถึง พันธกรณีของรัฐที่จะต้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของปัจเจกชน หลักการนี้ย่อมทาให้รัฐต้องหามาตรการทั้งภายในและระหว่างประเทศมารองรับ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไป ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยรัฐจะต้องคานึงถึง20 - ประสิทธิภาพของมาตรการในการสนองต่อพันธกรณี กล่าวคือ มาตรการที่นามาใช้ต้องทาให้สิทธิ มนุษยชนสามารถบังคับใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ - ประสิทธิผลในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของปัจเจกชน กล่าวคือ ต้องมีมาตรการที่ส่งเสริม สิทธิเนื่องจากสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒ นธรรม ต้องอาศัยนโยบายเชิงรุกของรัฐในการให้ หลักประกันสิทธิ - รัฐพึงผนวกสิทธิมนุษยชนเข้าในบริบทของกฎหมายภายในประเทศ เพื่อให้ปัจเจกชนสามารถเรียกร้อง สิทธิของตนได้ในระบบศาลภายในประเทศ นอกจากนี้ สิ ทธิมนุ ษยชนพึงได้รับ การเยียวยา ไม่เพี ยงแต่อาศัยกระบวนการทางศาลยุติธรรม แต่อาจ กระท าผ่ านการช่ว ยเหลื อด้านธุร การ เพื่อ อานวยความสะดวกในการเข้ าถึงกระบวนการยุติ ธรรมได้ เช่ น ค่าใช้จ่ายในการบริการทางกฎหมาย ในการบังคับตามสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อาจมีความแตกต่าง ไปจากสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอยู่บ้าง เนื่องจากมิได้มีบทบัญญัติชัดแจ้ง ว่าให้เป็นสิทธิเด็ดขาดที่รัฐ ต้องคุ้มครองตลอดเวลาไม่ว่าในยามใดก็ตาม แต่ความเห็นทั่วไปคณะกรรมาธิการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ฉบับที่ 9 ก็ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า การเยียวยาทางกฎหมายเป็นกระบวนการสาคัญในการรับรองสิทธิ แม้ จ ะมี บ างความเห็ น ที่ เสนอว่า เรื่ อ ง สิ ท ธิท างเศรษฐกิ จ สั งคม และวัฒ นธรรม น่ าจะอยู่ในการจั ด สรร ทรัพยากรของฝ่ายบริหารมากกว่าฝ่ายตุลาการ แต่หากคานึงถึงลักษณะของสิทธิมนุษยชนที่แบ่งแยกไม่ได้จะ พบว่าการปกป้ อ งคุ้ม ครองสิ ท ธิมนุ ษยชนเกี่ยวข้องกั บเขตอานาจของฝ่ ายตุล าการเป็ น อันมาก หากมี การ

19 20

UN. (1999). E/C.12/1999/5, para.19 UN. (1999). E/1999/22, paras.7-8

2-8


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 แบ่งแยกอย่างไม่คานึงถึงผลลัพธ์ข้างต้น ก็อาจเป็นการลิดรอนอานาจของฝ่ายตุลการในการปกป้องสิทธิของคน ไร้บ้านซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ด้อยโอกาสในสังคม21 เนื่องจากการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับการใช้อานาจอธิปไตยของรัฐ ดังนั้นรัฐอาจให้การ ยอมรับสิทธิผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ บริหาร ได้เช่นกัน ซึ่งการยอมรับสิทธิมนุษยชนอาจเป็นไปโดย ปริ ย ายมิ พั ก ต้ อ งพึ่ ง ค าพิ พ ากษาก่ อ นก็ ไ ด้ รั ฐ อาจมี ม าตรการใดๆทั้ ง ที่ อ ยู่ ใ นรู ป ของการออกกฎหมาย หรือ นโยบาย โครงการต่างๆ เพื่อเป็นการประกันสิทธิมนุษยชนของปัจเจกชน การตีความกฎหมายเพื่อบังคับใช้สิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ควรคานึงถึงการทาให้สิทธิมนุษยชนมี ผลบังคับใช้ตามกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของรัฐที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศให้มากที่สุด ฝ่ายตุลาการพึงตีความหรือพิจารณาสิทธิในทางที่เป็นคุณต่อสิทธิ เพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ประชาชนหาก ต้องได้รับการเยียวยาความเสียหาย อันเนื่องมาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยอานาจรัฐ22 2.4. การบังคับตามสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านในชั้นศาล (Justiciability of Human Rights) การมีผลบังคับใช้ของสิทธิมนุษยชนในชั้นศาลจึงเป็นตัวพิสูจน์ที่สาคัญว่า ในแต่ละมาตรการมีผลต่อ การเยียวยาสิทธิมนุษยชนจริงหรือไม่ การรองรับสิทธิมนุษยชนโดยคาพิพากษาศาล ย่อมแสดงให้เห็นถึงข้อ ผูกพันทางกฎหมายที่ตัวตนต่างๆ ซึ่งอยู่ภายใต้อาณัติของศาลต้องน้ อมรับนาไปปฏิบัติให้เกิดผลจริง อย่างไรก็ ตามมักมีข้อโต้แย้งว่าสิทธิมนุษยชนเป็นเพียงสิทธิทั่วไป ไม่มีน้าหนักมากพอในการนาไปกล่าวอ้างในชั้นศาล ในหัวข้อนี้จึงศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนในชั้นศาลว่า หากต้องการจะบังคับใช้สิทธิ มนุษยชนของคนไร้บ้านในชั้นศาลนั้น จะต้องมีมาตรการหรือกลไกใดบ้างเข้ามารองรับ แม้สิทธิมนุษยชนหลายประเภทจะมิใช่สิทธิเด็ดขาด ดังเช่นสิทธิพลเมื องและสิทธิทางการเมืองบาง ประการ เนื่องจากกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สั งคม และวัฒ นธรรมมิได้กาหนดไว้ แต่กติกาและ ความเห็นทั่วไปของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 12 ก็กาหนดให้รัฐต้องละเว้นการกระทาที่อาจละเมิด ต่อสิทธิมนุษยชน อาทิ การยกเลิกหรือระงับกฎหมายที่ตราไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การขัดขวางมิให้ บุคคลหรือกลุ่มชนใดเข้าถึงอาหาร โดยการเลือกประติบัติทั้งจากการออกกฎหมาย หรือบีบบังคับในทางปฏิบัติ ให้เกิดการลิดรอนสิทธิขึ้น การขัดขวางความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในยามฉุกเฉิน การออกกฎหมายภายใน หรือนโยบายที่ขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศ23 ความย่อหย่อนในการคุ้มครองกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มิให้ถูกอานาจรัฐหรือบุคคลที่สามละเมิดสิทธิ การไม่อาจควบคุมการกระทาของบุคคลที่สามในการละเมิดสิทธิ มนุษยชนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ เงื่อนไขเหล่านี้ล้วนแสดงถึงพันธกรณีของรัฐที่จะต้องคุ้มครองสิทธิ มนุษยชนของคนไร้บ้านเทียบเท่ากับสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ดังปรากฏในกรณีศึกษาต่อไปนี้  กรณีศาลสูงอินเดียมีคาพิพากษาในคดี PUCL ให้รัฐบาลต้องคานึงถึงสิทธิด้านอาหารของคนยากไร้ คน ไร้ บ้ าน ในฐานะที่ เป็ น ส่ ว นหนึ่ งของสิ ท ธิในการมี ชีวิต ของปั จเจกชน ถือ เป็ น การยอมรับ สิ ท ธิท าง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเทียบเท่ากับสิทธิพลเมืองและการเมืองอย่างชัดเจน เพราะนอกจาก 21

UN. (1999). E/1999/22, paras.10-15 Ibid., para.15 23 UN. (1999). E/C.12/1999/5, para.19 22

2-9


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 สิทธิมนุษยชนแล้ว ศาลยังขยายขอบเขตไปถึงสิทธิด้านการศึกษาด้วย โดยศาลย้าว่ าสิทธิทั้งหลายต้อง ได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน24 หลักการนี้ย่อมทาให้รัฐต้องหามาตรการทั้งภายในและระหว่างประเทศมารองรับ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตาม กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยรัฐจะต้องคานึงถึง25 - ประสิทธิภาพของมาตรการในการสนองต่อพันธกรณี กล่าวคือ มาตรการที่นามาใช้ต้องทาให้สิทธิ มนุษยชนสามารถบังคับใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ - ประสิทธิผลในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของปัจเจกชน กล่าวคือ ต้องมีมาตรการที่ส่งเสริม สิทธิเนื่องจากสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒ นธรรม ต้องอาศัยนโยบายเชิงรุกของรัฐในการให้ หลักประกันสิทธิ - รัฐพึงผนวกสิทธิมนุษยชนเข้าในบริบทของกฎหมายภายในประเทศ เพื่อให้ปัจเจกชนสามารถเรียกร้อง สิทธิของตนได้ในระบบศาลภายในประเทศ สิทธิมนุษยชนพึงได้รับการเยียวยาไม่เพียงแต่อาศัยกระบวนการทางศาลยุติธรรม แต่อาจกระทาผ่านการ ช่วยเหลือด้านธุรการเพื่ออานวยความสะดวกในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ เช่น สนับสนุนค่าใช้จ่ายใน การให้บริการทางกฎหมาย รัฐอาจดาเนินการเพิ่มเติมโดยการจัดให้มีกฎหมายภายใน หรือมีนโยบายรับรองกระบวนการที่อิงสิทธิ มนุษยชน และรัฐซึ่งมีสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติหรือผู้ตรวจการแผ่นดิน อาจรวมเอาสิทธิของคนไร้บ้านใน การได้รับบริการสาธารณะ และสวัสดิการอย่างเพียงพอเข้าไปอยู่เขตอานาจของตนด้วย รัฐซึ่งไม่มีสถาบันสิทธิ มนุษยชนระดับชาติหรือผู้ตรวจการแผ่นดิน ควรสนับสนุนให้จัดตั้งองค์กรดังกล่าวขึ้ น สถาบันสิทธิมนุษยชน ควรมีความเป็นอิสระ และทางานได้ด้วยตนเองเป็นอิสระจะการครอบงาของรัฐบาล สอดคล้องกับหลักการ ปารีส รัฐควรสนับสนุนองค์กรประชาสังคมและปัจเจกชน ให้ช่วยเหลือการดาเนินการตรวจตราของสถาบัน สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในเรื่องการยอมรับ สิทธิในการได้รับ ปัจจัยดารงชีพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้นเป็นลาดับ ด้วย26 จึงจะเป็นหลักประกันว่าปัจเจกชนจะสามารถเรียกร้องสิทธิของตนผ่านทางองค์การข้างต้นได้ ซึ่งเป็น การแสดงให้เห็นถึงผลทางกฎหมายของสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง ในการบังคับตามสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้าน ในส่วนที่เป็นสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อาจมีความแตกต่างไปจากสิ ทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอยู่บ้าง เนื่องจากมิได้มีบทบัญญัติชัดแจ้งว่าให้ เป็นสิทธิเด็ดขาด ที่รัฐต้องคุ้มครองตลอดเวลาไม่ว่าในยามใดก็ตาม แต่ความเห็นทั่วไปคณะกรรมาธิการสิทธิ ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ฉบับที่ 9 ก็ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า การเยียวยาทางกฎหมายเป็นกระบวนการ สาคัญในการรับรองสิทธิ แม้จะมีบางความเห็นที่เสนอว่า เรื่องสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม น่าจะ อยู่ในการจัดสรรทรัพยากรของฝ่ายบริหารมากกว่าฝ่ายตุลาการ แต่หากคานึงถึงลักษณะของสิทธิมนุษยชนที่ 24

FAO. (2004). IGWG RTFG /INF 7, p.12 UN. E/1999/22, paras.7-8 26 FAO. (2004). Voluntary Guidelines to Support the Progressive Realization of the Right to Adequate Food in the Context of National Food Security, para.18.1 25

2 - 10


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 แบ่งแยกไม่ได้ จะพบว่าการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ ยวข้องกับเขตอานาจของฝ่ายตุลาการเป็นอันมาก หากมีการแบ่งแยกอย่างไม่คานึงถึงผลลัพธ์ข้างต้น ก็อาจเป็นการลิดรอนอานาจของฝ่ายตุล าการในการปกป้อง สิทธิของกลุ่มเสี่ยงที่ด้อยโอกาสในสังคม 27 ดังนั้นจึงต้องมีการใช้อานาจของฝ่ายต่างๆในลักษณะ “หนุนเสริม” เพื่ออานวยประโยชน์ให้กับคนไร้บ้าน ในกรณีของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานต่าสุดของคนไร้บ้าน รัฐมีพันธกรณีในการหามาตรการที่จาเป็น รวมไปถึงการขอความช่วยเหลือระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนในยามฉุกเฉิน ทั้งในยามสงคราม และยามที่ประสบภัยธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่ารัฐมีหน้าที่ในการปกป้ องสิทธิมนุษยชนตลอดเวลา 28 ดังเช่น กรณีที่ศาลสามารถมีคาพิพากษาให้รัฐต้องดาเนินมาตรการเพื่อสร้างหลักประกันสิทธิให้แก่ประชาชนเพิ่มขึ้นอยู่ บ้าง อาทิ  กรณี คณะกรรมการสิทธิมนุ ษยชนและสิ ทธิประชาชนแห่ งอัฟริกา ได้ทาข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล ไนจีเรียให้หามาตรการปกป้องสิทธิมนุษยชนชุมชนชาวโอโกนี่ จากการคุกคามของกองกาลังทหารของ รัฐบาล29 ซึ่งเป็ น การแสดงให้ เห็ น ถึงผลทางกฎหมายของการคุ้มครองสิ ทธิมนุษยชนกระบวนการ ยุติธรรม เนื่องจากการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับการใช้อานาจอธิปไตยของรัฐ ดังนั้นรัฐอาจให้การยอมรับ สิทธิผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ บริหาร ได้เช่นกัน ซึ่งการยอมรับสิทธิมนุษยชนอาจเป็นไปโดยปริยายมิพัก ต้องพึ่งคาพิพากษาก่อนก็ได้ รัฐอาจมีมาตรการใดๆทั้งที่อยู่ในรูปของการออกกฎหมาย หรือ นโยบาย โครงการ ต่างๆ เพื่อเป็นการประกันสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้าน การตีความกฎหมายเพื่อบังคับใช้สิทธิ มนุษยชนภายในประเทศ ควรคานึงถึงการทาให้สิทธิมนุษยชนมี ผลบังคับใช้ตามกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของรัฐ ที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศให้มากที่สุด ฝ่ายตุลาการพึงตีความหรือพิจารณาสิทธิในทางที่เป็นคุณต่อสิทธิ เพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ประชาชนหาก ต้องได้รับการเยียวยาความเสียหาย อันเนื่องมาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยอานาจรัฐ30 แม้จะเป็นการยากที่ฝ่ายตุลาการจะแสดงบทบาทโดยตรงในการออกคาสั่ง หรือชี้ให้ฝ่ายบริหารหรือนิติ บั ญ ญั ติต้องพยายามอย่ างเต็ มที่ ในการให้ ห ลั กประกัน สิ ท ธิมนุ ษยชนเพิ่ มขึ้น เป็ นล าดับ แต่ ก็มีก รณี ที่ ศาล สามารถมีคาพิพากษารับรองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในชั้นศาล อาทิ  ศาลสูงสุดอินเดียมีคาสั่งให้รัฐบาลต้องหาหลักประกันสิทธิมนุษยชน เพื่อแบ่งปันอาหารไปสู่กลุ่มเสี่ยง หลังจากที่รัฐบาลอินเดียมีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านอาหารไปเป็นของเอกชน31  กรณี คณะกรรมการสิทธิมนุ ษยชนและสิ ท ธิประชาชนแห่ งอัฟริกา ได้ทาข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล ไนจีเรียให้หามาตรการปกป้องสิทธิมนุษยชนชุมชนชาวโอโกนี่ จากการคุกคามของกองกาลังทหารของ

27

UN. (1999). E/1999/22, paras.10-15 UN. (1999). E/C.12/1999/5, para.38 29 FAO. (2004). IGWG RTFG /INF 7, p.5 30 UN. (1999). E/C.12/1999/5, para.38 31 FAO. (2004). IGWG RTFG /INF 7, p.15 28

2 - 11


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 รั ฐ บาล 32 ซึ่ งเป็ น การแสดงให้ เห็ น ถึ งผลทางกฎหมายของพั น ธกรณี ข องรัฐ ในการบั งคั บ ใช้ สิ ท ธิ มนุษยชนในกระบวนการทางกฎหมาย จากการวิเคราะห์ ข้างต้นพบว่าหากสิทธิมนุษยชนมีผลบังคับใช้ในชั้นศาลแล้ว การดาเนินนโยบายและ จัดทาบริการสาธารณะของรัฐก็จะต้องคานึงถึงผลกระทบต่อคนไร้บ้าน ในประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างเลี่ยงมิได้ และยังเป็นการสร้างหลักประกันให้กับปัจเจกชนว่า หากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น คนไร้บ้านก็สามารถ เรียกร้องสิทธิของตนต่อรัฐหรือศาล ให้มีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ 2.5. พั น ธกรณี ของรั ฐ ในการให้ ห ลั ก ประกั น สิ ท ธิ ที่ ดี ที่ สุ ด เท่ า ที่ ท รั พ ยากรอ านวย (Progressive Realization with Maximum of its available Resource) สิท ธิมนุ ษยชนของคนไร้ บ้ านในการเข้าถึ งบริการสาธารณะ และสวัสดิการส่ วนใหญ่ เป็นสิ ทธิทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่มีลักษณะเป็นสิทธิเชิงบวก (Positive Rights) กล่าวคือ รัฐจะต้องมีกฎหมาย หรือมาตรการใดๆ ออกมาเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิ ในการดาเนินการเชิงรุกของรัฐนั้น จาเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องอาศัยทรัพยากรในการดาเนินงาน ดังนั้นในแต่ละรัฐจึงมีศักยภาพในการพัฒนาสิทธิได้ไม่เท่าเทียมกันนัก ฉะนั้ น รั ฐ จึ งต้ องใช้ ค วามพยายามมากที่ สุ ด ในการสร้างหลั ก ประกั น สิ ท ธิม นุ ษ ยชนให้ แก่ ป ระชาชนเท่ าที่ ทรัพยากรจะเอื้ออานวย33 หากรัฐไม่อาจสนองต่อความต้องการขั้นต่าสุด ที่บุคคลจะดารงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และรัฐไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการแสวงหาอาหาร เพื่อจัดสรรให้แก่กลุ่มเสี่ยง ก็ถือว่ารัฐได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน ความเห็นทั่วไปของคณะกรรมาธิการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ฉบับที่ 12 ได้กระตุ้น ให้รัฐควรดาเนิ นการอย่ างก้าวหน้าเป็น ลาดับ เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายด้านสิ ทธิในการมี ปัจจัยดารงชีพ อย่าง เพีย งพอ 34 ซึ่งรัฐ มีพั น ธะให้ ต้องด าเนิ น การเพื่ อบรรลุ เป้าหมายดังกล่ าวเร็วที่ สุ ดเท่ าที่ เป็ นไปได้ รัฐ ต้องให้ หลักประกันว่าบุคคลที่อยู่ภายใต้อาณัติตน จะมีโอกาสเข้าถึงอาหารที่จาเป็นขั้นต่าซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการ และปลอดจากสารพิษเพื่อพ้นจากความอดอยาก มาตรการที่รัฐจะต้องดาเนินการนั้น มีบางมาตรการรัฐต้อง ดาเนินการทันที ขณะที่บางมาตรการรัฐอาจดาเนินการในระยะยาว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสิทธิมนุษยชน เป็นลาดับ ในกรณีที่รัฐใดไม่อาจสนองความจาเป็นของประชาชนขั้นต่าสุด ในการหลุดพ้นจากความอดอยาก อันเนื่องมาจากการขาดแคลนทรัพยากร อันเป็นเหตุให้ไม่อาจจัดหาอาหารให้แก่ผู้ที่ไม่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ รัฐจะต้องพยายามใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ เท่าที่ทรัพยากรจะอานวย เพื่อสนองความความจาเป็นขั้นต่า เหล่านั้นอย่างเร่งด่วน หากเป็นกรณีที่เกินกว่ารัฐจะควบคุมได้ รัฐต้องพยายามแสวงหาความช่วยเหลือจาก ประชาคมโลก เพื่อประกันการจัดหาและการเข้าถึงอาหารที่จาเป็น 35 ซึ่งสามารถเทียบเคียงใช้กับการเข้าถึง ปัจจัยการดารงชีพอื่นๆ เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ฯลฯ การออกมาตรการต่างๆ มาเพื่อประกันสิทธิอย่างเหมาะสมนั้น หมายรวมถึง มาตรการทางบริหาร งบประมาณ การให้ความรู้ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนมาตรการอื่นๆ ที่ส่งเสริมการ 32

Ibid., p.5 UN. (1999). E/C.12/1999/5, para.17 34 Ibid., para.16 35 Ibid., para.17 33

2 - 12


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ยอมรับ สิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้นเป็น ลาดับ รูป แบบของรัฐบาลหรือระบบเศรษฐกิจใดๆ ที่แตกต่างกัน ไม่เป็น อุปสรรคต่อการออกมาตรการดังกล่าว รัฐสามารถเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวเองในการออกมาตรการได้ เพียงแต่มาตรการเช่นว่าต้องมีความเป็นประชาธิปไตย และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เนื่องจากสิทธิมนุษยชนมี ความเป็นกลาง ไม่แบ่งแยกออกจากบริบทของสังคม สามารถทาให้เป็ นจริงได้ไม่ว่ารัฐจะมีระบบเศรษฐกิจ การเมืองแบบใด ซึ่งเป็นการยืนยันความสัมพันธ์ของสิทธิมนุษยชนกับสิทธิในการพัฒนา 36 ดังที่กล่าวไปแล้วใน หัวข้อสถานะทางกฎหมาย ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ การส่งเสริมความก้าวหน้าในการยอมรับสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้นเป็ นลาดับจาเป็นต้องกาหนดเป้าหมาย ตัว ชี้วัด กรอบเวลา และทรั พ ยากรที่ ต้อ งใช้อ ย่างชัด เจน เพื่ อประโยชน์ ในการตรวจตรา ตรวจสอบ และ ประเมินผล มาตรการต่างๆ ที่รัฐดาเนินการ เกณฑ์ขั้นต่าที่รัฐพึงให้การรับประกันอาจศึกษา เทียบเคียงได้จากกรณีความจาเป็นขั้นพื้นฐาน ที่บุคคล พึงจะได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการทางโภชนาการในแต่ละวัน แม้ในพื้นที่ที่ทรัพยากรไม่เพียงพอหรือ อยู่ในภาวะฉุกเฉิน รัฐก็มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อนาความ ช่วยเหลื อและทรัพ ยากร เข้ามาแก้ไขปั ญ หาความขาดแคลนอาหารภายในประเทศของตน ความร่วมมื อ ระหว่างประเทศอาจอยู่ ในรูป แบบ ความช่วยเหลือทางวิชาการ ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ หรือ ควา ม ช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรงก็ได้ ความร่วมมือระหว่างประเทศนี้ย่อมต้องสอดคล้องกับสิทธิในการพัฒนาของ แต่ละประเทศ บนพื้นฐานแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นด้วย37 การบังคับใช้สิทธิมนุษยชนอาจมีอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ควรตีความสิทธิมนุษยชนไปในทางที่ถดถอย อันทาให้สาระสาคัญแห่งสิทธิต้องเสื่อมลงไป การบังคับใช้สิทธิต้องมีความยืดหยุ่น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ สังคมที่เป็นจริงของแต่ประเทศ เพื่อสร้างหลักประกันแห่งสิทธิให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีประสิ ทธิภาพที่สุด เท่าที่จะเป็นได้ มาตรการใดๆที่อาจทาให้สิทธิมนุษยชนเสื่อมลง รัฐจาต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและคานึงถึงองค์ รวมของสิทธิมนุษยชน ที่ยึดโยงอยู่ภายใต้บริบทของการใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่ แม้จะเป็นการยากที่ฝ่ายตุลาการจะแสดงบทบาทโดยตรง ในการออกคาสั่งหรือชี้ให้ฝ่ายบริหารหรือนิติ บั ญ ญั ติต้องพยายามอย่ างเต็ มที่ ในการให้ ห ลั กประกัน สิ ท ธิมนุ ษยชนเพิ่ มขึ้น เป็ นล าดับ แต่ ก็มีก รณี ที่ ศาล สามารถมีคาพิพากษาให้รัฐต้องดาเนินมาตรการ เพื่อสร้างหลักประกันสิทธิให้แก่ประชาชนเพิ่มขึ้นอยู่บ้าง อาทิ  ศาลสูงสุดอินเดียมีคาสั่งให้รัฐบาลต้องหาหลักประกันสิทธิมนุษยชน เพื่อแบ่งปันอาหารไปสู่กลุ่มเสี่ยง หลังจากที่รัฐบาลอินเดียมีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านอาหารไปเป็นของเอกชน38  กรณี คณะกรรมการสิทธิมนุ ษยชนและสิ ทธิประชาชนแห่ งอัฟริกา ได้ทาข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล ไนจีเรีย ให้หามาตรการปกป้องสิทธิมนุษยชนชุมชนชาวโอโกนี่ จากการคุกคามของกองกาลังทหาร ของรัฐบาล39 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงผลทางกฎหมายของพันธกรณีของรัฐ ในการให้หลักประกัน สิทธิเท่าที่ทรัพยากรเอื้ออานวย 36

UN. (1991). E/1991/23, paras.9-14 Ibid., paras.38-41 38 FAO. (2004). IGWG RTFG /INF 7, p.15 39 Ibid., p.5 37

2 - 13


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 พันธกรณีของรัฐในการให้หลักประกันสิทธิเท่าที่ทรัพยากรเอื้ออานวย มิได้หมายความว่ารัฐมิพักต้องเร่งรีบ ผลั กดั น มาตรการหากทรั พ ยากรมีอ ยู่ จ ากัด ความคิ ด ดังกล่ าวอาจถู กจากั ดลงได้ ดังที่ ค วามเห็ น ทั่ ว ไปของ คณะกรรมาธิการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ฉบับที่ 12 ระบุว่า “รัฐมีหน้าที่ในการดาเนินการ อย่างทันท่วงที ในการบรรเทาความอดอยากหิวโหย ในยามที่รัฐประสบภัยธรรมชาติ หรือ สาธารณภัยใดๆก็ ตาม”40 แม้รัฐจะมีทรัพยากรอยู่อย่างจากัด ก็ต้องพยายามแสวงหาทรัพยากรเพิ่มเติมจากความร่วมมือระหว่าง ประเทศนั่นเอง หากรัฐอ้างว่าได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เท่าที่ทรัพยากรจะอานวยแล้วแต่ไม่สามารถดาเนินการ ให้ บ รรลุ วัตถุป ระสงค์ได้เนื่ องจากเกิดเหตุสุดวิสั ย รัฐนั้นก็มีภ าระในการพิสู จน์ว่า เหตุสุ ดวิสัยดังกล่าวเป็ น เช่นนั้นจริง และรัฐก็ได้พยายามที่จะขอความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศแล้ว แต่ไม่สัมฤทธิ์ผล 2.6. พันธกรณีของรัฐในการบังคับตามสิทธิมนุษยชนภายในรัฐ นอกอาณาเขต และระหว่างประเทศ ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ได้เข้ามามีบทบาทในการดารงชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น กิจกรรมต่างๆของ มนุษย์มีลักษณะข้ามพรมแดนทางภูมิประเทศ ครอบคลุมไปทั่วทุกภูมิภาค การดาเนินกิจกรรมของตัวตนต่างๆ ทั้งที่เป็ นรัฐ และตัวตนอื่นที่มิใช่ รัฐ ล้วนมี ผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งการดาเนินการในหลายๆ ส่วนของ ตัว ตนเหล่ านี้ ก็มี ผ ลกระทบต่ อสิ ท ธิม นุ ษ ยชน รัฐ บาลของแต่ล ะประเทศมีห น้ าที่ ในการให้ ห ลั กประกัน ว่า ประชากรของตนจะไม่ตกอยู่ในภาวะลาบากยากแค้น ซึ่งหน้าที่นี้มีความสาคัญเป็นอันดับแรกของทุกๆรัฐชาติ รัฐต้องใช้ความพยายามเพื่อตอบสนองความจาเป็นพื้นฐานของประชาชนมากที่สุ ด เท่าที่ทรัพยากรในรัฐจะ อานวย แต่ในโลกปัจจุบันที่อานาจมิได้รวมศูนย์อยู่ที่รั ฐชาติเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป จึงมีความจาเป็นที่จะต้อง ขยายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชน ไปสู่ตัวตนอื่นที่มิใช่รัฐด้วย ทั้งองค์การระหว่างประเทศ และ บรรษัทข้ามชาติ41 เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ตัวตนเหล่านี้ใช้อานาจไปในทางมิชอบ อันอาจกระทบกระเทือนต่อ สิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านได้ ดังนั้นในวิจัยฉบับนี้จึงได้ขยายขอบเขตการพิจารณาพันธกรณีในการบังคับใช้ สิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุมไปเกินกว่าแนวคิดดั้งดั้งเดิม ที่จากัดอยู่เพียงการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนภายในรัฐ โดยได้พิจารณาไปถึง การบังคับใช้สิทธิมนุษยชนนอกอาณาเขต การบังคับใช้สิทธิมนุษยชนโดยองค์การระหว่าง ประเทศ รวมไปถึงการยอมรับสิทธิมนุษยชนโดยตัวตนอื่นที่มิใช่รัฐ พันธกรณีของรัฐในการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนภายในประเทศ เกิดขึ้นโดยผลของปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุ ษยชน และการให้สั ตยาบั น แก่ส นธิสั ญญาต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทาง เศรษฐกิจ สั งคม และวัฒ นธรรม ซึ่งความเห็ นทั่ ว ไปของคณะกรรมาธิก ารสิ ท ธิท างเศรษฐกิ จ สั งคม และ วัฒ นธรรม ฉบั บ ที่ 12 ได้ ชี้ให้ เห็ น ถึงพั น ธกรณี ของรัฐ ในการบั งคั บใช้ สิ ท ธิมนุ ษ ยชนว่า รัฐ บาลของแต่ล ะ ประเทศมีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และเติมเต็มสิทธิมนุษยชนของประชาชนภายในรัฐ42 พัน ธกรณี ของรัฐในการบั งคับใช้สิทธิมนุษยชนนอกอาณาเขต เดิมทีความรับผิดชอบของรัฐในการ คุ้มครองสิทธิมนุษยชน จะเน้นไปที่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนภายในรัฐ แต่ในปัจจุบันกระแส โลกาภิวัตน์ได้ทาให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ใกล้ชิดและรวดเร็วยิ่งขึ้น นโยบายของรัฐใดรัฐหนึ่งอาจ 40

UN. (2002). E/CN.4/2002/58, p.14 UN. (2006). E/CN.4/2006/44, p.8 42 Ibid., p.9 41

2 - 14


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ส่งผลกระทบต่อประชากรในอีกรัฐหนึ่งได้โดยง่าย ดังนั้นรัฐพึงคานึงเสมอว่าการออกมาตรการ หรือนโยบาย ของตนจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชนในรัฐอื่น ยกตัวอย่างเช่น นโยบายการค้าสินค้าเกษตร ระหว่างประเทศของประเทศพัฒนาแล้ว มักมีการอุดหนุนผู้ผลิตภายในประเทศ ทาให้เกิดการทุ่มตลาดสินค้า เกษตรในประเทศอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกาลังพัฒนา 43 ถือเป็นการดาเนินนโยบายของประเทศพัฒนา แล้ว ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศกาลังพัฒนา ตราสารระหว่างประเทศที่ เกี่ยวข้องกับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และความเห็นทั่วไปขององค์กรที่เกี่ยวข้องมิได้จากัดการ บังคับใช้สิทธิไว้เฉพาะภายในประเทศ แต่ในหลายๆครั้งได้แสดงให้เห็นถึงการบังคับใช้สิทธินอกอาณาเขตไว้โดย ปริ ย าย เช่ น การก าหนดให้ รั ฐ ต้ อ งหาความร่ ว มมื อ ระหว่ างประเทศ เพื่ อ ส่ ง เสริม การบั งคั บ ใช้ สิ ท ธิ ให้ มี ประสิ ทธิภ าพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกรณี ที่เกิดภัยพิบัติร้ายแรง จากการนาเสนอในการประชุมระหว่าง ประเทศหลายเวที องค์กรพัฒนาเอกชน และ นักวิชาการ ได้ชี้ให้เห็นว่า ในการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนกฎหมาย ระหว่างประเทศ ได้เปิดช่องทางให้รัฐมีพันธกรณีในการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนนอกอาณาเขตของตนด้วย โดย ในวรรคสองของ ข้อ 11(1) และ 11(2) แห่ งกติกาสากลว่าด้วยสิ ทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวั ฒ นธรรม กาหนดให้รัฐแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมิต้องคานึงถึงข้อจากัดทางอาณาเขตหรือเขตอานาจ ใดๆ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงกรอบพันธกรณีนอกอาณาเขต 44 แม้ในเบื้องต้นภาระหน้าที่ในการบังคับใช้ สิทธิมนุษยชนจะเป็นของรัฐบาลในแต่ละประเทศ แต่ห ากมีความจาเป็ นฉุกเฉิน หรือ ขาดแคลนทรัพยากร รัฐบาลของประเทศอื่น ๆ ก็สามารถให้ ความร่วมมือหรือส่งความช่วยเหลื อในรูปแบบต่างๆที่จาเป็ น ไปยัง ประเทศที่ประสบปัญหาได้ ในกรณีของความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หากรัฐเจ้าของดินแดน พยายามปิดกั้นการส่งความช่วยเหลือ อาจมีความผิดตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศด้วย ทั้งนี้ยังมี ความพยายามของหลายประเทศ ในการออกกฎหมายเอาผิ ดบรรษั ท เอกชนสั ญ ชาติ ตน ที่ ไปละเมิดสิ ท ธิ มนุษยชนในประเทศอื่นอีกด้วย พันธกรณีขององค์การระหว่างประเทศในการบังคับใช้สิทธิมนุษยชน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน ปัจจุบันได้อาศัยการผลักดันนโยบาย และระงับข้อพิพาทภายใต้กระบวนการขององค์ การระหว่างประเทศเป็น อย่างมาก ทั้งในส่วนที่อยู่ภายใต้เขตอานาจขององค์การสหประชาชาติโดยตรง และในส่วนที่เกี่ยวกับองค์การ ชานัญพิเศษอื่นๆ ในประเด็นสิทธิมนุษยชนองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทเกี่ยวข้องมากเป็นพิเศษ คื อ องค์ก ารระหว่างประเทศทางเศรษฐกิ จ ได้แ ก่ องค์ การการค้าโลก กองทุ น การเงิน ระหว่างประเทศ และ ธนาคารโลก องค์การเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการกาหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับระหว่างประเทศและ ภายในประเทศ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ตามจานวนสมาชิกที่เพิ่ม ขึ้น องค์การระหว่าง ประเทศด้านการเงินคือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก มีส่วนอย่างมากในการผลักดันให้ ประเทศลูกหนี้ขนาดเล็กปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจภายในประเทศของตน ทั้งการเปิดตลาดการค้าเสรี การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ และการแปรรูป รัฐวิสาหกิจ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ทั้งสิ้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจมากที่สุดก็คือ กลุ่มคนยากไร้เร่ร่อนในเมือง กลุ่ มผู้ ย ากไร้ในชนบท และกลุ่ ม ชนพื้ น เมื อง ซึ่งถือเป็ นกลุ่ มเสี่ ยงที่รัฐ พึ งตระหนักถึงให้ มากนั่นเอง เพราะ นโยบายเหล่านี้ทาให้การแบ่งปันอาหารและทรัพยากร เปลี่ยนไปอยู่ในการควบคุมของเอกชน ทาให้เกิดราคา ในการซื้อหา แต่กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ไม่มีกาลัง ทางเศรษฐกิจมากพอในการซื้อ ธนาคารโลกยังอาศัยวิธีการอนุมัติ เงิน ให้ แก่ โครงการต่างๆ ที่ มีลั กษณะเป็ น การสร้างสาธารณู ป โภคและสิ่ งก่ อสร้างขนาดใหญ่ ในชนบทของ 43 44

Ibid., p.11 Ibid., p.11

2 - 15


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ประเทศกาลังพัฒนา ซึ่งในหลายๆกรณีโครงการเหล่านี้ได้ผลักดันให้กลุ่มชนพื้นเมือง ต้องอพยพออกจากพื้นที่ และสู ญเสียที่ดินทากิน โดยไม่ได้รับค่าชดเชยอย่างเหมาะสม 45 องค์การการค้าระหว่างประเทศได้ผลักดัน นโยบายการค้าเสรีแบบลัทธิเสรีนิยมใหม่ ที่เน้นการเปิดตลาดของทุกประเทศให้รับการเคลื่อนไหวของสินค้า และบริการข้ามพรมแดน อย่างไรก็ดีผลของการบังคับใช้ข้อตกลงทางการค้าหลายฉบับ ก็ได้แสดงถึงความไม่ เท่าเทีย มกันทางการค้าที่เกิดขึ้น ระหว่างประเทศพัฒ นาแล้วกับประเทศกาลั งพัฒ นา เช่น ข้อตกลงสินค้า เกษตรที่ยั งไม่สามารถบั งคับให้ ป ระเทศพัฒ นาแล้ว ระงับการอุดหนุนผู้ผลิ ตภายในประเทศตนเองได้อย่าง สิ้นเชิง ทาให้การค้าสินค้าเกษตรในตลาดโลกบิดเบือนไป ไม่เป็นไปตามกลไกตลาดที่เป็นธรรม เป็นการสะท้อน ถึงระบบการค้าที่ไม่เท่าเทียมกันมีลั กษณะสองมาตรฐาน 46 การระงับข้อพิพาททางการค้าภายใต้องค์การ การค้าโลกในหลายๆ กรณี ยังไม่มีความชัดเจนนัก ขึ้นอยู่กับเหตุผลของแต่ละคดี ยากที่จะกาหนดบรรทัดฐาน ทาให้ป ระเทศที่ขาดทุน ทรัพย์ตามสถานการณ์ ได้ช้ากว่ามาก ในหลายๆคดีคาตัดสินมุ่งคุ้มครองการค้าเสรี มากกว่าจะคุ้มครองสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม การพยายามบรรจุประเด็นความมั่นคงด้า นอาหารเข้าไปใน ข้อตกลงก็ยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร จากการประชุมระหว่างประเทศในหลายเวที ได้พยายามหาลู่ทาง เพื่อกาหนดกรอบการดาเนินกิจกรรมขององค์การระหว่างประเทศ ให้ยอมรับสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น ดังที่ ปรากฏในมติที่ 60/165 ของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้เรียกร้องให้องค์การระหว่างประเทศ ส่งเสริมการยอมรั บ สิ ทธิม นุ ษยชนเพิ่มขึ้น เป็นล าดับ โดยเชิญ ชวนให้ องค์กรเหล่ านี้ส นั บสนุนนโยบายและ โครงการที่เป็นผลดีต่อสิทธิมนุษยชน และต้องตรวจตราว่าประเทศสมาชิกที่ได้รับความร่วมมือหรือช่วยเหลือ ในโครงการต่างๆจะบูรณาการสิทธิ มนุษยชนเข้าไปสู่โครงการเหล่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของกลุ่มเสี่ยงด้วย47 พัน ธกรณี ของบรรษัทข้ ามชาติในการยอมรับสิทธิมนุษยชน ท่ามกลางกระแสโลกาภิวั ตน์ตามลัทธิ เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ บรรษัทข้ามชาติถือว่า เป็นตัวตนที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิ จเป็นอย่าง มาก เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของทุนและเทคโนโลยี ทาให้มีศักยภาพในการเคลื่อนย้ายองค์กรไปประกอบการใน ดินแดนใดของโลกก็ได้ ในหลายๆกรณีบรรษัทข้ามชาติได้ย้ายไปหาแหล่งวัตถุดิบและตลาดใหม่ๆ ในประเทศ กาลังพัฒนา ที่มีระบบกฎหมายย่อหย่อนกว่าประเทศฐานผลิตเดิมของตน ทั้ งระบบกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายการตลาด กฎหมายป้องกันการผูกขาด กฎหมายคุ้มครองแรงงาน รวมไปถึงกฎหมายสิ่งแวดล้อมและ ผังเมือง ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดตุนการผลิตของตน และเป็นการง่ายที่จะครอบครองตลาดใหม่ๆที่การแข่งขันและ การควบคุมยั งไม่สู ง ในหลายๆครั้งจึ งเป็ น การเคลื่ อนย้ายทุ นเพื่ อหลี กเลี่ ยงความรับผิ ด ตามกฎหมายสิ ท ธิ มนุษยชน48 นโยบายของหลายบรรษัทได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิมนุษยชนของปัจเจกชน เช่น สภาพการจ้าง งาน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การแอบส่งเสริมนโยบายประพฤติมิชอบในวงราชการ รวมไปถึงการผูกขาด ตลาดและทรัพยากรของประเทศที่ตนเข้าไปตั้งฐาน ซึ่งเป็นการจากัดช่องทางทากินของเกษตรกรรายย่อย และ จากัดทางเลือกของประชาชน ยิ่งในยุคที่องค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจ แบบเสรีนิยมใหม่ ยิ่งทาให้บรรษัทข้ามชาติได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น ทั้งนโยบายการเปิดตลาดการค้าเสรี และ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ บรรษัทข้ามชาติเพียงไม่กี่บรรษัทสามารถครอบครองส่วนแบ่งตลาดสินค้าสาธารณะ และครอบครองวิสาหกิจเกี่ยวกับบริการขั้นพื้นฐานไปทั่วโลก ทาให้บริการ สินค้า และโครงข่ายขั้นพื้นฐานอยู่ 45

Ibid., pp.14-15 Ibid., p.15 47 Ibid. 48 Ibid., pp.16-17 46

2 - 16


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ในครอบครองของบรรษัท ผู้ยากไร้ไม่สามารถเข้าถึงปัจจัยเหล่านี้ได้ เนื่องจากมีราคาสูงขึ้นตามการกาหนดของ บรรษัท ทาให้เกิดแนวคิดที่จะควบคุมการดาเนินกิจการของบรรษัทข้ามชาติ ให้มีความรับผิดชอบทางสังคม และยอมรั บ สิ ท ธิม นุ ษ ยชนมากขึ้ น แต่เดิ ม ที่ การคุ้ม ครองอ านาจหน้ าที่ ของรัฐ บาลเพี ย งฝ่ ายเดี ยว แต่เมื่ อ สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนไป และส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน กฎหมายสิทธิมนุษยชนก็ต้องปรับตัวตามไป ด้วย พัฒ นาการของสิทธิมนุษยชนในการบังคับให้บรรษัทข้ามชาติยอมรับ และเคารพสิทธิมนุษยชนมีอยู่ 2 ทางคื อ ความรั บ ผิ ด โดยตรง และความรั บ ผิ ดโดยอ้ อ ม ในความรับ ผิ ด โดยตรงนั้ น ได้ มี ค วามพยายามของ สหประชาชาติ ในการร่างประมวลความรับผิดของบรรษัทข้ามชาติในการดาเนินกิจการที่อาจส่งผลกระทบต่อ สิทธิมนุษยชน แม้ประมวลดังกล่าวจะไม่สัมฤทธิ์ผลแต่ปัจจุบันสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ได้รับรองแนวทางใน การประกอบธุรกิจและสิทธิมนุษยชนออกมาประกาศใช้แล้ว ซึ่งอาจจะสร้างความรับผิดและแนวทางการบังคับ ใช้สิทธิต่อบรรษัทข้ามชาติได้มากขึ้น ส่วนความรับผิดโดยอ้อมนั้น ใช้กระบวนการของรัฐทั้งที่เป็นรัฐเจ้าของ สัญชาติบรรษัทและรัฐเจ้าของอาณาเขตที่บรรษัทข้ามชาติเข้าไปดาเนินการ เนื่องจากรัฐมีหน้ าที่ในการปกป้อง ปัจเจกชนมิให้บุคคลที่สามซึ่งในกรณีนี้ก็คือ บรรษัทข้ามชาติ กระทาการใดๆที่อาจละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนของ ปัจเจกชนได้49 นั่นคือ คนไร้บ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาต่างๆของรัฐและบรรษัท ย่อมได้รับการ คุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย พันธกรณีในการบังคับ ตามสิทธิมนุษยชนนั้นมีอยู่ 4 ระดับ โดยสามารถแยกพิจารณาเป็นหัวข้อตาม ลักษณะของพันธกรณี 3 ประเภท ดังนี้ ก. พันธกรณีในการเคารพ (Respect) พั น ธกรณี ในการเคารพ หมายถึ ง รัฐ ไม่ ควรละเมิ ด สิ ท ธิม นุ ษ ยชน หรือ ด าเนิ น การใดๆที่ อ าจเป็ น อุป สรรคต่อการเข้าถึงสิ ท ธิของประชาชนที่ มีอยู่ตามอาเภอใจ50 ไม่ว่าจะเป็ นการละเมิดกฎหมาย ยกเลิ ก มาตรการประกันสังคมที่มีอยู่ สร้างความลาบากให้แก่ประชาชนในการเข้าสู่ บริการสาธารณะ ขัดขวางการ ทางานของระบบตลาด หรือทาลายระบบการผลิตและกระจายสวัสดิการ รวมทั้งการรักษาความมั่นคงด้าน สังคมอื่นๆที่มีความสัมพันธ์และพึ่งพิงกั น กับสิ ทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นการรักษาความมั่นคงของมนุษย์ ไปด้วย หมายความว่า หากมีกฎหมายหรือมาตรการใดๆที่เป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนอยู่ก่อนแล้ว รัฐไม่ควรยกเลิก หรือละเมิดกฎหมายและมาตรการดังกล่าวตามอาเภอใจ พันธกรณีนี้มีลักษณะเป็นพันธะเชิงลบอยู่เหมือนกัน เนื่องจากมีลักษณะห้ามการกระทาของรัฐ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชน การละเมิดพั น ธกรณี ในการเคารพอาจเกิด ขึ้นได้โดย รัฐ ยกเลิ ก กฎหมายหรือมาตรการใดๆที่ เป็ น หลักประกันสิทธิมนุษยชนของบุคคลลงโดยปราศจากเหตุผล หรือ รัฐปล่อยปละละเลยให้มีการละเมิดกฎหมาย โดยนโยบายหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง หรือ ไม่ปฏิบัติตามมาตรการทั้งหลายที่รัฐออกมาเพื่อประกันสิทธิ เช่น ในยามฉุกเฉินรัฐได้อาศัยอาหารเป็นเครื่องมือ ในการบังคับฝ่ายตรงข้ามให้ยอมจานนทางการเมือง หรือ การ ปล่อยให้กองกาลังทหารของตนบุกเข้าทาลายพืชผลทางการเกษตร และที่อยู่อาศัยของประชาชนเพื่อทาให้ฝ่าย ตรงข้ามขาดเสบียงอาหารและที่พักอาศัยจนตาย กรณีศึกษาที่แสดงถึงการละเมิดพันธกรณีในการเคารพ ได้แก่

49 50

Ibid., p.17 UN. (1999). E/C.12/1999/5, p.28

2 - 17


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05  คดีโอโกนี่ รัฐบาลไนจีเรียได้ทาลายพืชผลทางการเกษตรของชนกลุ่มน้อย และผลักดันให้อพยพออก จากพื้นที51 ่  คดีรัฐบาลเปรูกับประชาชน รัฐบาลไม่ได้ส่งเงินสบทบเข้ากองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้ง ที่มีกฎหมายกาหนดไว้ และเป็ น การละเมิดอนุ สัญ ญาอเมริกัน ในส่ วนที่ ว่าด้วยสิ ทธิในการพัฒ นา คุณภาพชีวิตของประชาชน52 พันธกรณีในการเคารพสิทธิมนุษยชนในระดับต่างๆ มีดังต่อไปนี้ พันธกรณีของรัฐในการเคารพสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ รัฐพึงระลึกอยู่เสมอว่าสิทธิมนุษยชนมี ความจาเป็ นต่อการดารงชีพของประชาชนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นรัฐจึงไม่ควรยกเลิกมาตรการใดๆที่มีไว้เพื่อ ประกัน สิ ทธิมนุ ษยชนทิ้งเสี ย ตามอาเภอใจ ถือเป็น การจากัดการใช้อานาจตามอาเภอใจของรัฐบาลที่ อาจ กระทบกระเทือนต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชน ยกตัวอย่างเช่น ห้ามรัฐบังคับให้ประชาชนอพยพออกจากถิ่น ฐานละทิ้งที่ดินทากินของตน หรือสิ่งปลุกสร้างชั่วคราว ห้ามรัฐยกเลิกมาตรการประกันสังคมโดยที่ยังมิได้หา มาตรการอื่นๆมารองรับกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบ ห้ามรัฐยกเลิกกฎหมายควบคุมสารพิษ หรือ มลภาวะ ห้ามรัฐทาลายที่อยู่อาศัย พื้นที่ทางการเกษตรและพืชผล ปศุสัตว์ของพลเรือนในยามสงคราม และห้ามรัฐปิด กั้นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากความร่วมมือระหว่างประเทศ53 เส้นทางลาเลียงในประเทศ พันธกรณีของรัฐในการเคารพสิทธิมนุษยชนนอกอาณาเขต รัฐควรมีนโยบายและมาตรการภายใน ที่ ไม่นาไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศอื่น พันธกรณีนี้ไม่จาเป็นต้องใช้ทรัพยากรใดเลย เพียงแต่รัฐไม่ควรริเริ่มมาตรการใดๆ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนในประเทศอื่น ยกตัวอย่าง เช่น รัฐเล็งเห็นได้ว่า น้า และอาหาร เป็นปั จจัยหลักในการดารงชีพของมนุษย์ รัฐจึง ไม่ควรมีมาตรการคว่า บาตร หรือลงโทษทางเศรษฐกิจโดยใช้อาหารและน้าเป็นเครื่องมือ เพราะประชาชนผู้ด้อยโอกาสจะเป็นผู้ที่ ได้รับผลกระทบมากที่สุด การกาหนดนโยบายทางการค้าและการเกษตรก็เช่นกัน รัฐไม่ควรใช้นโยบายการ อุดหนุ น ที่อาจบิ ดเบื อนตลาด ที่ส ร้างความเดือดร้อนให้ แก่ ประชาชนในประเทศอื่น รวมถึงไม่ควรผลั กดัน นโยบายใดๆภายใต้องค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ ที่มีลักษณะไม่เป็นธรรม หรือ นโยบายที่อาจนาไปสู่ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศอื่น54 เช่น ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงการพัฒนาโครงสร้างขั้น พื้นฐาน ที่เกิดการไล่รื้อและขับไล่คนออกจากที่พักอาศัย พันธกรณีขององค์การระหว่างประเทศในการเคารพสิทธิมนุษยชน องค์การระหว่างประเทศควรให้ คาปรึกษา นโยบาย และแนวทางการพัฒนาที่ไม่นาไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ กองทุ น การเงิน ระหว่างประเทศและธนาคารโลก ไม่ควรผลั กดันกระบวนการเปลี่ ยนแปลงโครงสร้างทาง เศรษฐกิ จ ที่ อาจขับ ให้ ก ลุ่ มเสี่ ย งไปอยู่ ที่ ช ายขอบแห่ งการพั ฒ นา โครงการต่ างๆที่ อ นุ มั ติ ควรพิ จารณาถึ ง ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนของคนในพื้นที่ด้วย หากโครงการใดที่อาจสร้างผลกระทบก็ควรมี

51

FAO. (2004). IGWG RTFG /INF 7, p.7 Ibid., p.7 53 UN. (2006). E/CN.4/2006/44, p.9 54 Ibid., p.13 52

2 - 18


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 มาตรการมารองรับกลุ่มที่ได้รับความเสียหายด้วย องค์การการค้าโลกไม่ควรรับข้อเจรจาที่มีลักษณะไม่เป็น ธรรม55 เช่น การเจรจาลดการอุดหนุนของประเทศพัฒนาแล้วที่ไม่มีเจตจานงทางการเมืองที่แน่วแน่ พันธกรณีของบรรษัทข้ามชาติในการเคารพสิทธิมนุษยชน บรรษัทข้ามชาติควรประกอบกิจการภายใต้ กรอบของกฎหมายทั้งของประเทศเจ้าของสัญ ชาติ และประเทศที่เป็นฐานการผลิตของแต่ละสาขา หากมี แนวโน้มว่าการดาเนินธุรกิจของตน อาจก่อผลเสียต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศที่ตนเข้าไปลงทุน บรรษัทควรระงับเสีย หรือหามาตรการชดเชยความเสียหายให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม หากมี ประมวลหรือแนวทางควบคุมการประกอบการของบรรษัทข้ามชาติออกมาในอนาคต บรรษัทก็ควรรับไปเป็น แนวทางในการดาเนินการอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน ข. พันธกรณีในการปกป้อง (Protect) พันธกรณีในการปกป้ อง หมายถึง รัฐต้องดาเนินมาตรการที่เป็นหลักประกันว่า บุคคลที่สามจะไม่ กระทาการใดๆ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อสิทธิมนุษยชนของปัจเจกชน 56 เพื่อปกป้องคุ้มครองบุคคลหรือกลุ่ม เสี่ยงไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากเอกชน องค์กรธุรกิจ หรือแม้แต่ฝ่ายปกครองเอง รัฐต้องจัดตั้งองค์กรขึ้น เพื่อดาเนินการสืบสวนสอบสวน เพื่อให้การเยียวยาแก่ผู้เสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หากมีแนวโน้มว่า การดาเนินงานของบรรษัทเอกชน อาจสร้างความเสียหายต่อสิทธิมนุ ษยชนของบุคคลและกลุ่มเสี่ยงต่างๆ รัฐ อาจออกกฎหมายเพื่อป้องกันและจัดตั้งองค์กรขึ้นมา หรือให้อานาจแก่องค์กรใดบังคับใช้กฎหมายเพื่อทาการ สวบสวนข้อเท็จจริง หากมีการละเมิดและตัดสินได้ว่ามีความผิดจริงและเกิดความเสียหาย ผู้เสียหายก็จะได้รับ การเยียวยาอย่างทันท่วงที อันหมายความว่ารัฐต้องมีมาตรการเพื่อปกป้องบุคคลและกลุ่มเสี่ยงภัยต่างๆ มิให้ ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในกรณีนี้คือ กลุ่มคนไร้บ้าน การละเมิดพันธกรณีในการปกป้องอาจเกิดขึ้นได้ โดย รัฐมิได้หามาตรการใดๆ มาป้องกันการละเมิด สิทธิมนุษยชนของปัจเจกชน จากการกระทาของบรรษัทข้ามชาติ หรือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างย่อหย่อน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเสียหาย จากการดาเนินการของบรรษัทเอกชน เช่น รัฐไม่ยอมออกเอกสาร สิทธิในที่ทากินให้แก่ชนพื้นเมืองดั้งเดิม จนเป็นเหตุให้บรรษัทเอกชนเข้ามาแย่งที่ดินทากินและออกเอกสารสิทธิ ทับที่ทากินของชุมชนท้องถิ่น หรือ การปล่อยให้บรรษัทเอกชนเข้าไปไล่รื้อที่พักอาศัยของคนยากไร้ เพื่อนาไป ทาโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กรณีศึกษาที่แสดงถึงการละเมิดพันธกรณีในการปกป้อง ได้แก่  คดีโอโกนี่ รัฐบาลไนจีเรียปล่อยปละละเลยให้บริษัทน้ามันปล่อยกากน้ามั นและขยะสารพิษลงสู่ระบบ นิเวศน์ ทาลายแม่น้า ลาธาร สัตว์น้า พืชผลการเกษตร รวมไปถึงปศุสัตว์ จนเป็นเหตุให้ชนพื้นเมือง ชาวโอโกนี่อยู่ในภาวะทุพโภชนาการ57 และสูญเสียที่ดินทากิน  คดีรัฐบาลลัทเวียไม่ส่งเงินเข้าสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ใช้แรงงานในประเทศ และเก็บเงินจาก นายจ้ างไม่ ม ากพอทั้ งที่ รั ฐ ธรรมนู ญ บั ญ ญั ติ ไว้ จนเป็ น เหตุ ให้ ลู ก จ้างขาดหลั ก ประกัน ทางสั งคมที่ เพียงพอ58 เสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะสูญเสียหลักประกันทางสังคม พันธกรณีในการปกป้องสิทธิมนุษยชนในระดับต่างๆมีดังต่อไปนี้ 55

Ibid., p.16 UN. (1999). E/C.12/1999/5, para.15 57 FAO. (2004). IGWG RTFG /INF 7, p.8 58 Ibid., p.8 56

2 - 19


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 พันธกรณีของรัฐในการปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชนภายในประเทศ รัฐบาลควรออกกฎหมาย ควบคุมองค์กรหรือบรรษัทเอกชน ที่มีอานาจทางเศรษฐกิจหรืออิทธิพลทางการเมือง มิให้ละเมิดสิทธิมนุษยชน ของปั จ เจกชนหรื อ กลุ่ ม เสี่ ย งใดๆในประเทศ รั ฐ อาจกระท าโดยจั ด ตั้ งสถาบั น เฉพาะขึ้ น มา เพื่ อ สื บ สวน ข้อเท็จจริง และให้การเยียวยาปัจเจกชนที่ได้รับความเสียหาย หรือ ส่งเสริมการดาเนินงานขององค์กรพัฒนา เอกชน และช่วยเหลือปัจเจกชนให้เข้าถึงบริการทางการกฎหมาย และเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้การ ออกกฎหมายหรือมาตรการใดๆ เพื่อคุ้มครองปัจเจกชน ควรอยู่บนพื้นฐานไม่เลือกประติบัติ ยกตัวอย่างเช่น การออกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หรือ ข้อบังคับบรรจุภัณฑ์อาหารว่าให้ติดฉลากสินค้าตัดแต่งพันธุกรรม 59 หรือเป็นสินค้าที่เกิดจากระบบการค้า ที่เป็นธรรมไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม พันธกรณีของรัฐในการปกป้องสิทธิมนุษยชนนอกอาณาเขต รัฐควรควบคุมบุคคลที่สามที่อยู่ภายใต้ อาณัติของตนจะไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศอื่น ทั้งที่เป็นเอกชนภายในประเทศตนเอง และบรรษัทข้ามชาติ พันธกรณีนี้ได้ก่อตั้งหน้าที่ให้รัฐออกกฎหมาย มาควบคุมการดาเนินการของบรรษัทมิให้ ละเมิดสิทธิมนุษยชน ของประเทศที่บรรษัทเข้าไปประกอบการ 60 ยกตัวอย่างเช่น การออกกฎหมายความรับ ผิดทางสังคมของบรรษัท ห้ามมิให้บรรษัทของตนละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนท้องถิ่น เช่น ห้ามการ บังคับชนกลุ่มน้อยออกจากพื้นที่ทากิน ห้ามบรรษัทสนับสนุนการประพฤติมิชอบในวงราชการ ประเทศเจ้าของ สัญชาติ หรือ ประเทศแม่มีบทบาทเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความทัดเทียมทางอานาจและเทคโนโลยีมากกว่า ประเทศที่รับการลงทุน การบังคับใช้กฎหมายจึงจะมีประสิทธิภาพมากกว่า พันธกรณีขององค์การระหว่างประเทศในการปกป้องสิทธิมนุษยชน องค์การระหว่างประเทศควรสร้าง หลักประกันว่าหุ้นส่วนของตน ทั้งที่เป็นรัฐ บรรษัทข้ามชาติ หรือองค์กรเอกชนต่างๆ จะไม่ดาเนินงานไปในทาง ที่อาจละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การบังคับให้บรรษัทเอกชนที่รับ สัมปทานโครงการ ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศ ต้องประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อ สิทธิมนุ ษยชนเสมอ และหากสร้างผลกระทบต่อประชาชนในท้องถิ่น ก็พึงมีมาตรการมารองรับและมี การ ชดเชยความเสี ย หายอย่ างเหมาะสม องค์การการค้าโลกโดยเฉพาะองค์กรระงับ ข้อพิ พ าท ไม่ค วรตีความ บทบั ญ ญั ติ ขององค์กรไปในทางที่ คุ้ มครองการค้ าเสรี มากเสี ยจนกระทบกระเทื อ นต่อ สิ ท ธิมนุ ษ ยชนของ ประชาชน ทั้งในส่วนสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม61 พันธกรณีของบรรษัทข้ามชาติในการปกป้องสิทธิมนุษยชน เนื่องจากโดยสภาพแล้วบรรษัทข้ามชาติ ถือเป็นบุคคลที่สามตามนัยยะแห่งกฎหมาย ดังนั้นหน้าที่ของบรรษัทข้ามชาติในการปกป้องสิทธิมนุษยชน จึง อยู่ในลักษณะการปฏิบั ติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของปัจเจกชน ยกตั วอย่ างเช่น หากปรากฏว่ารัฐ บาลประเทศที่ต นเข้าไปลงทุน พยายามใช้กาลั งเข้าประหั ตประหารชน พื้นเมือง เพื่อบังคับขับไล่ออกจากพื้นที่ทากิน บรรษัทก็ควรยกเลิกสัญญา หรือ ระงับการลงทุนในประเทศนั้น เสีย หากสินค้าของตนใช้วัตถุดิบที่ตัดแต่งพันธุกรรม หรือละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ก็ควรติดฉลากให้ ผู้บริโภคในประเทศนั้นๆทราบ หรือแม้กระทั่งการเข้าไปรับสัมปทาน หรือเข้าซื้อกิจการที่เคยเป็นรัฐวิสาหกิจมา ก่อน บรรษัทก็ควรจัดบริการสาธารณะให้ออกมาตอบสนองความจาเป็นพื้นฐานของประชาชนด้วย ค. พันธกรณีในการเติมเต็ม (Fulfill) 59

UN. (2006). E/CN.4/2006/44, p.10 Ibid., p.13 61 Ibid., p.16 60

2 - 20


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 พันธกรณีในการเติมเต็ม หมายถึง รัฐควรดาเนินการเชิงรุกเพื่อบ่งชี้ว่ากลุ่มใดมีความเสี่ยงที่อาจถูก ละเมิดสิทธิ และต้องบังคับใช้นโยบายเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชน โดยอานวยความสะดวกและเพิ่ม ศักยภาพให้ แก่กลุ่ มเสี่ ย ง ในการเลี้ ย งดูตนอย่างมี คุณ ภาพชีวิตที่ ดี เมื่อ ใดก็ตามที่ บุ คคลไม่อ าจเข้ าถึงสิ ท ธิ มนุษยชนได้ด้วยความสามารถของตัวเอง ด้วยเหตุผลที่บุคคลไม่อาจควบคุมได้ เช่น ภัยพิบัติ รัฐมีหน้าที่จัดหา ทรัพยากร ที่พักอาศัยหรืออาหารให้แก่ปัจเจกชนโดยตรง 62 การปฏิบัติตามพันธกรณีนี้รัฐอาจดาเนินการได้ ทั้งการใช้วิธีการทางเศรษฐกิจให้เกิดการจ้างงานที่มีรายได้เหมาะสม หรือการปฏิรูปโครงสร้างการใช้ที่ดินและ ผังเมือง โดยเฉพาะการดาเนินมาตรการเพื่อตอบสนองความจาเป็นของกลุ่มเสี่ยง ที่ด้อยโอกาสในสังคม ใน รูปแบบของมาตรการทางสังคม เพื่อประกันสิทธิของกลุ่มเสี่ยง (Social Safety-Net) เช่น โครงการจัดสรรที่ทา กินและทรัพยากรให้แก่ผู้ที่ขาดแคลนที่ทากิน และที่อยู่อาศัย หากปัญหาอยู่ในภาวะร้ายแรง การเพิ่มโครงการ ช่วยเหลือด้านอาหารเป็นพิเศษให้แก่กลุ่มเสี่ยง โดยใช้วิธีการให้ความช่วยเหลือโดยตรง ในรูปแบบของการจัด ให้มีอาหาร เช่น โครงการอาหารกลางวันและนมสาหรับเด็ก หรือ มีโครงการช่วยเหลือด้านอาหารเพิ่มเติม ให้แก่ผู้ยากไร้และไม่มีที่ทากิน รวมถึงการขอความช่วยเหลือระหว่างประเทศ หากอยู่ในภาวะคุกคามต่อสิทธิ มนุ ษ ยชนอย่ า งรุ น แรงจากภั ย พิ บั ติ ต่ า งๆ อั น หมายความว่ า รั ฐ ต้ อ งริ เริ่ ม มาตรการใหม่ ๆ ขึ้ น เพื่ อ สร้ า ง หลักประกันสิทธิมนุษยชนให้มั่นคงยิ่งขึ้น การละเมิดพันธกรณีในการเติมเต็มสิทธิอาจเกิดขึ้นได้ โดยรัฐเพิกเฉยต่อความต้องการของกลุ่มเสี่ยงใน การเข้าถึงสวัสดิการทางสังคม หรือ รัฐไม่พยายามแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อนาทรัพยากรเข้า มาช่วยเหลือกลุ่มคนที่กาลังขาดแคลน เช่น รัฐเพิกเฉยต่อกลุ่มผู้ยากไร้โดยไม่จัดให้ มีมาตรการประกันสิทธิ มนุษยชน (Social Safety-Net) ให้แก่คนกลุ่มนี้ หรือ การปฏิเสธความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม หรือความ ช่วยเหลือด้านอาหารจากต่างประเทศในยามภัยพิบัติ แม้ประชาชนของตนจะอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหารก็ ตาม กรณีศึกษาที่แสดงถึงการละเมิดพันธกรณีในการเติมเต็มสิทธิ ได้แก่  คดี PUCL ในประเทศอินเดีย หลังการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านการเกษตร และการแบ่งปันอาหารไปสู่ เอกชน ทาให้เกิดภาวะอดอยากหิวโหยรุนแรงในรัฐโอริสสา เนื่องจากมลรัฐมิได้มีมาตรการประกันสิทธิ ของกลุ่ มเสี่ ยง (Social Safety-Net) ที่ เพียงพอ เพื่ อมารองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการแปรรูป รัฐวิสาหกิจ63  คดีสามผู้อพยพไร้สัญชาติเชื้อสายเช็ก กับ รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ รัฐบาลไม่เปิดโอกาสให้บุคคลทั้งสาม หางาน และไม่จัดหาทรัพยากรขั้นต่าสุดให้บุคคลทั้งสามเพียงพอต่อการดารงชีวิต64  การปิ ด กั้ น การช่ ว ยเหลื อ ด้ านมนุ ษ ยธรรมในยามสงคราม ที่ เคยเกิ ด ขึ้ น ในหลายพื้ น ที่ เช่ น อิ รั ก อัฟกานิสถาน และ  การไม่ยอมรับความช่วยเหลือด้านอาหาร ในยามประสบภัยธรรมชาติ จนประชาชนในประเทศขาด แคลนอาหารและที่อยู่อาศัย เช่น ตอนเกิดคลื่นยั กษ์ถล่มบริเวณประเทศริมชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย รัฐบาลพม่าปฏิเสธความช่วยเหลือและไม่แจ้งจานวนผู้ได้รับความเดือดร้อน 62

UN. (1999). E/C.12/1999/5, para.15 FAO. (2007). IGWG RTFG /INF 7, p.9 64 Ibid., p.9 63

2 - 21


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 พันธกรณีในการเติมเต็มสิทธิมนุษยชนในระดับต่างๆ มีดังต่อไปนี้ พั น ธกรณี ข องรั ฐ ในการเติ ม เต็ ม สิ ท ธิม นุ ษ ยชนภายในประเทศ รัฐ บาลควรหามาตรการเพิ่ ม เติ ม เพื่อสร้างหลักประกันสิทธิมนุษยชนที่ดีขึ้น ให้แก่ประชาชนในชาติ โดยต้องพยายามชี้ชัดว่ากลุ่มใดบ้างที่เป็น กลุ่มเสี่ยง เพื่อที่จะหามาตรการมารองรับ ได้สอดคล้องกับความจาเป็นของแต่ละกลุ่ม ทั้งที่เป็นมาตรการสร้าง ศักยภาพให้แก่กลุ่มเสี่ยง และมาตรการส่งเสริมการดารงชีพที่ ดีของกลุ่มเสี่ยง หากกลุ่มเสี่ยงเหล่านั้นอยู่ใน ภาวะขาดที่อยู่อาศัย ขาดอาหารและทุพโภชนาการอย่างร้ายแรง รัฐอาจจัดหาอาหารและความช่วยเหลือเข้า ไปให้โดยตรง65 และต้องคานึงถึงสภาวะทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมด้วย นั่นหมายความว่ารัฐต้องจัดให้มี มาตรการทางสังคม เพื่อประกันสิทธิให้แก่กลุ่มเสี่ยงทั้งในยามปกติ และยามฉุกเฉิน โดยอาศัยการวางแผนและ ข้อมูลที่ทันสมัย นอกจากนี้รัฐพึงคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากบุคคลที่สาม แล้วหามาตรการต่างๆมา เสริมสร้างระบบประกันสิทธิเดิมให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามนัยยะแห่งหลักความก้าวหน้าในการยอมรับ สิทธิเพิ่มขึ้น เป็ น ล าดั บ โดยค านึ งถึ งเป้ าหมายในการพั ฒ นาที่ ป ระชาคมโลกสร้ างขึ้ น เช่ น เป้ าหมายการพั ฒ นาแห่ ง สหัสวรรษ ควรมีการกาหนดวัตถุประสงค์และกรอบเวลาที่ชัดเจน เพื่อใช้ในการประเมินผล66 ซึ่งได้ยกระดับจน กลายเป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในภายหลังดังกล่าวไว้ในหัวข้อ 1.4 แม้รัฐจะขาดแคลนทรัพยากรก็ ควรแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาความมั่นคงทางสังคมและมนุษย์ของตน โดยอยู่บนหลัก ไม่เลือกประติบัติ (ทางเชื้อชาติ สัญชาติ ฯลฯ) พันธกรณีของรัฐในการเติมเต็มสิทธิมนุษยชนนอกอาณาเขต รัฐมีหน้าที่ตามกฎบัตรสหประชาชาติใ น การให้ความร่วมมือ และความช่วยเหลือระหว่างประเทศตาม ข้อ 55 และ 56 อยู่แล้ว 67 ดังนั้นรัฐที่พอมี ทรัพยากรจึงมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือประเทศกาลังพัฒนา ที่ร้องขอความช่วยเหลือ ทั้งในรูปแบบของการ ร่วมมือด้านข้อมูล การศึกษา และการช่วยเหลือด้านทรัพยากรโดยตรง แต่ความช่วยเหลือดังกล่าวควรอยู่ใน ขอบเขตของสภาพแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมสิทธิในการ พัฒนาอย่างยั่งยืนของทุกประเทศ ในยามฉุกเฉินรัฐต่างๆควรร่วมกันส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ไปยัง 65

UN. (2006). E/CN.4/2006/44, p.10. Ibid., p.11 67 กฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ 55 ด้วยความมุ่งหมายในการสถาปนาภาวการณ์แห่งเสถียรภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งจาป็นสาหรับความ สัมพันธ์ โดยสันติและโดยฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งหลาย โดยยึดความเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน และการกาหนด เจตจานงของตนเองของประชาชนเป็นมูลฐานสหประชาชาติจะต้องส่งเสริม ก. มาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น การมีงานทาโดยทั่วถึง และภาวการณ์แห่งความก้าวหน้าและพัฒนาการทาง เศรษฐกิจและสังคม ข. การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม อนามัยและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และความร่วมมือ ระหว่างประเทศทางวัฒนธรรมและการศึกษา และ ค. การเคารพโดยสากล และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพอันเป็นหลักมูลสาหรับทุกคนโดยไม่ เลือกปฏิบตั ิในเรื่องเชื้อชาติ เพศภาษา หรือศาสนา ข้อ 56 สมาชิกทั้งปวงให้คามั่นว่าตนจะดาเนินการร่วมกันและแยกกัน ในการร่วมมือกับองค์การฯ เพื่อให้บรรลุ ความมุ่ง ประสงค์ที่กาหนดไว้ใน ข้อ 55 66

2 - 22


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ประเทศที่ประสบภัย ทั้งนี้รัฐที่ให้การช่วยเหลือต้ องคานึงถึงผลกระทบต่อผู้ผลิต และตลาดภายในประเทศที่ ประสบภัย การช่วยเหลือในยามฉุกเฉินนี้ต้องไม่ทาลายความสามารถของรัฐผู้รับ ในการพัฒ นาประเทศให้ กลับมาพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต นอกจากนี้ข้อ 28 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติได้กาหนดให้รัฐสมาชิกมีส่วน ร่วมในระบบเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นรัฐทั้งหลายพึงส่งเสริมการเจรจา การค้าอย่างเป็นธรรม และส่งเสริมความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ ให้แก่ประเทศกาลังพัฒนา ด้วย เหนือสิ่งอื่นใดเป้าหมายของความร่วมมือ และการช่วยเหลือระหว่างประเทศ ต้องคานึงถึงความจาเป็ น ของกลุ่มเสี่ยงเป็นลาดับแรก68 พันธกรณีขององค์การระหว่างประเทศในการเติมเต็มสิทธิมนุษยชน องค์การระหว่างประเทศควรริเริ่ม มาตรการ และโครงการใหม่ๆเพื่ อให้ ความช่วยเหลือกลุ่ มเสี่ ยงในประเทศต่างๆ มาตรการช่วยเหลื อควรมี ลักษณะเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ และจัดตั้งระบบข้อมูลแผนที่เพื่อสร้างระบบเตือนภัย พิบัติ และภาวะเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่างๆในการหามาตรการ ป้องกัน และบรรเทาภัยพิบัติธรรมชาติได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ควรจัด ข้อมูลเสบียงคงคลัง เพื่อส่งอาหารและเครื่องใช้อุปโภคไปยังพื้นที่ที่ขาดแคลน ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ องค์การการค้าโลกควรผลักดันการลดการอุดหนุนภายในประเทศพัฒนาแล้ว และปรับปรุงกฎหมายให้มีการ แข่งขันอย่างเป็นธรรมมากขึ้น 69 ในการเจรจาการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก ที่มีระบบกฎหมายของตนเอง ควรผนวกเงื่อนไขความมั่นคงของมนุษย์ เข้าสู่ข้อตกลงทางการค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นช่องทางให้ประเทศกาลัง พัฒนาริเริ่มมาตรการใหม่ๆ ในการรักษาความมั่นคงทางสังคมภายในประเทศ โดยไม่ขัดต่อข้อตกลง พันธกรณีของบรรษัทข้ามชาติในการเติมเต็มสิทธิมนุษยชน บรรษัทข้ามชาติควรให้ความร่วมมือในการ จั ด ท าประมวลความรั บ ผิ ด ชอบทางสั งคมของบรรษั ท ข้ ามชาติ ทั้ งนี้ อาจอยู่ในรูป แบบการให้ ข้อ มูล หรือ นาเสนอประสบการณ์และแนวทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อจัดทาประมวลที่สมเหตุสมผล และสามารถบังคับใช้ สิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากบรรษัทจะต้องเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการละเว้น การดาเนินกิจกรรมที่อาจละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว บรรษัทควรตรวจสอบการดาเนินการของบรรษัท ว่าไม่ ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อสิทธิมนุษยชน ของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นนั้น 70 เช่น การเข้าไปปลูกพืชที่ใช้ น้ามากทาให้ดินแห้งจนชุมชนท้องถิ่นนั้นได้รับผลเสีย เกิดความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากร จนนาไปสู่การใช้กาลัง ปราบปรามขับไล่คนท้องถิ่นออกจากพื้นที่ ไปด้วย บรรษัทยังอาจริเริ่มมาตรการใหม่ๆที่ส่งเสริมสิทธิได้อีกด้วย เช่น การแจ้งสถานการณ์ละเมิดสิทธิในประเทศที่ตนเข้าไปลงทุน ให้แก่องค์การระหว่างประเทศทราบ การ ริเริ่มมาตรฐานดาเนิน การ ภายในขอบเขตการดาเนินงานของบรรษัท เช่น ยกระดับมาตรฐานการจ้างงาน สวัสดิการให้แก่พนักงานของตน และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของชุมชนรอบข้าง ให้ เหนือกว่ามาตรฐานของ ประเทศที่ตนเข้าไปลงทุน 2.7. พันธกรณีต่อกลุ่มเสี่ยง (Vulnerable Groups)

68

UN. (2006). E/CN.4/2006/44, p.14 Ibid., p.16 70 Ibid., p.18 69

2 - 23


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 รัฐมีพันธกรณีในการสร้างหลักประกันสิทธิมนุษยชนให้แก่กลุ่มเสี่ยง โดยต้องจัดหามาตรการส่งเสริมให้ กลุ่มเสี่ยงมีความสามารถทั้งทางกายภาพ และทางเศรษฐกิจ ในการเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอ และมีคุณภาพ แม้ในยามฉุกเฉิน รัฐก็ต้องให้ความสาคัญเป็นพิเศษกับการประกันสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง อันได้แก่ เด็ก สตรี ผู้ยากไร้ ผู้ประสบภัยธรรมชาติหรือภัยสงคราม ชนพื้นเมือง ผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้พิการ ฯลฯ รัฐมีพันธกรณีในการเคารพสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง โดยไม่ดาเนินการใดๆที่จะเป็นการลิดรอนสิทธิ ของกลุ่มเสี่ยง ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น รัฐควรรับรองกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินของกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ให้มี ผลตามกฎหมาย ทั้งการรับรองเอกสารสิทธิของบุคคล และการรับรองสิทธิของชุมชนโดยกฎหมาย และควร เปิดช่องให้กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ เข้าถึงการเยียวยาหากได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิ ทั้งนี้ หากมีกฎหมาย หรือมาตรการใดที่คุ้มครองสิทธิเช่นว่าอยู่แล้ว รัฐก็มิควรยกเลิกเสีย รัฐมีพันธกรณีในการปกป้ องสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง โดยหามาตรการใดๆ มาปกป้องกลุ่มเสี่ยง จากการกระทาของบุคคลที่สาม ที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่กลุ่มเสี่ยง รวมไปถึงการปกป้องสิทธิของกลุ่ม เสี่ยงในการเข้าถึงบริการสาธารณะ และการใช้สอยทรัพยากรที่จาเป็น เพื่อผลิตสวัสดิการให้เพียงพอทั้งในแง่ ปริ ม าณ และคุ ณ ภาพ เช่ น รั ฐ ควรออกกฎหมายและมี ม าตรการป้ อ งกั น มิ ให้ ก ลุ่ ม บุ ค คลใด เข้ า จั บ จอง ทรัพยากรธรรมชาติไปใช้อย่างไม่ยั่งยืน รัฐควรมีกฎหมายและมาตรการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มเสี่ยง ในการใช้ สอยทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันเพื่อผลิตอาหาร เช่น สิทธิชุมชนท้ องถิ่นเหนือทรัพยากรธรรมชาติ รัฐควรมี มาตรการควบคุ มการให้ ข้อมูล อย่ างถูกต้อง เช่น ออกกฎหมายคุ้ม ครองสิ ท ธิของผู้ บ ริโภค หรือ กฎหมาย การตลาด ที่ป้องกันมิให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์หลอกลวงผู้บริโภค รัฐควรมีมาตรการตรวจสอบความ มั่นคงของมนุษย์ ทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น หากมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านอาหารและที่อยู่อาศัย รัฐควร หามาตรการประกันสิทธิของกลุ่มเสี่ยงอย่างเพียงพอด้วย รัฐมีพันธกรณีในการเติมเต็มสิทธิของกลุ่มเสี่ยง โดยต้องให้ความสาคัญต่อการขยายมาตรการไปให้ ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยงตลอดเวลา เนื่องจากกลุ่มเสี่ยงแต่ละกลุ่มมีสภาพปัญหาที่แตกต่างหลากหลายกันออกไป ดังนั้ น รัฐจึงต้องปรับ มาตรการให้ สอดคล้ อง และรองรับกับความจาเป็นของแต่ล ะกลุ่ ม อย่างเหมาะสมอยู่ ตลอดเวลา มาตรการที่รัฐพึงกระทามีอยู่สองส่วน คือ มาตรการส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มเสี่ยงในยามปกติ เพื่อให้มีความสามารถในการเข้าถึงอาหารมากขึ้น เช่น การจัดสรรที่ดินให้ชุมชนเพื่อการเกษตรแบบสหกรณ์ใน ชนบท การส่งเสริมโครงการทางานเพื่อแลกอาหารในเมือง และ มาตรการรองรับผลกระทบที่เกิดกับกลุ่มเสี่ยง ในยามฉุกเฉิน เช่น การเตรียมเสบียงคลังสารองและเชื่อมเครือข่ายข้อมูลระหว่างประเทศ การส่งเสริมให้ ใช้ ทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืนและหลากหลาย จากพันธกรณีข้างต้นทั้งสามแสดงให้เห็นว่า รัฐต้องจัดให้มีมาตรการที่ห ลากหลายเพื่อประกั นสิทธิ มนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง โดยหลักใหญ่ใจความก็จะมีมาตรการพื้นฐานที่ต้องมีไว้เพื่อหลักการปฏิบัติงาน ได้แก่ มาตรการด้านข้อมูล รัฐควรจัดให้ มีข้อมูลและระบบแผนภูมิเกี่ยวกับความไม่มั่นคงของมนุษย์และ ความเสี่ยง (FIVIMS) ตามข้อผูกพันของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อบ่งชี้กลุ่มและครัวเรือนที่เสี่ยงเป็น พิเศษต่อภาวะความไม่มั่นคงด้านความยากจน ควบคู่ไปกับเหตุผลที่ทาให้เกิดภาวะไม่มั่นคงด้านอาหาร และที่ อยู่อาศัยของกลุ่มเหล่านั้น รัฐควรพัฒ นาและบ่งชี้มาตรการเพื่อแก้ไขดัดแปลงการจัดให้มีการเข้าถึง บริการ สาธารณะและสวัสดิการอย่างเพียงพอ ให้บังคับใช้ได้อย่างทันท่วงทีและเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

2 - 24


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 มาตรการด้านการวิจัย รัฐควรดาเนินการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในเรื่องความไม่มั่นคงของมนุษย์ ความเสี่ยง และภาวะขาดแคลนของกลุ่มต่างๆในสังคม แต่ละกลุ่มแยกกันไป ในการประเมินรูปแบบต่างๆของ การเลือกประติบัติ ที่อาจแสดงออกถึงการเพิ่มขึ้นของความไม่มั่นคงทางสังคม และความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่ มั่นคงของมนุษย์ขึ้น หรือการปรากฏภาวะขาดแคลนอย่างแพร่หลายในกลุ่มประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากขึ้น หรือเกิดขึ้นไปพร้อมกันทั้งสองอย่าง ด้วยเจตจานงที่จะขจัดและป้องกันสาเหตุต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคง ของมนุษย์และภาวะเสี่ยงทางสังคม มาตรการตรวจตราและประเมินผล รัฐควรจัดให้มีเกณฑ์คุณสมบัติที่โปร่งใสและไม่เลือกประติบัติ เพื่อ เป็นหลักประกันว่าการกาหนดกลุ่มเป้าหมาย ที่จะให้ความช่วยเหลือจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประกัน ว่าจะไม่มีบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือคนใดถูกกันออกจากกลุ่มเป้าหมาย หรือประกันว่าบุคคลที่ไม่ต้องการ ช่วยเหลือคนใดจะถูกรวมเข้ามาในกลุ่มเป้าหมาย ระบบความรับผิดและการปกครองที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่ง ส าคั ญ ในการป้ องกั น การรั่ ว ไหลและการทุ จริตประพฤติมิ ช อบ ปั จจัย ที่จ ะรวบรวมเข้ ามาพิ จ ารณา ได้แ ก่ สินทรัพย์และรายได้ของกลุ่มคนไร้บ้านและปัจเจกชน ภาวะทางโภชนาการ ที่อยู่อาศัยและสาธารณสุข และ กลไกต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอยู่ เนื่องจากการสร้างมาตรการต้องคานึงถึงความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มเสี่ยง ดังนั้นเราจึงต้อง พิจ ารณาถึงสภาพปั ญ หาและกรอบทางกฎหมายของแต่ ล ะกลุ่ ม เพื่ อน าไปสู่ การออกมาตรการที่ ส ามารถ ตอบสนองต่อความจาเป็นของกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ ก. ผู้ยากไร้ ผู้ยากไร้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เกิดจากความด้อยโอกาสในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ทาให้โอกาสในการ เข้าถึงอาหารทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจย่อมน้อยลงไปด้วย มาตรการในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มผู้ ยากไร้จึงต้องยึดกระบวนการที่อ้างอิงสิทธิเป็นพื้นฐาน สิทธิที่จะเน้นในที่นี้ก็คือ สิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้าน เนื่องจากเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สุดในการดารงชีพ หากแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ได้สิทธิอื่นๆ ก็จะพัฒนาอย่างมั่นคง มาตรการทางเศรษฐกิจและการพั ฒนา ถือเป็นแนวทางหลักในการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้ ยากไร้ รัฐอาจดาเนินการมาตรการผ่านทางการเพิ่มโอกาสในการทางาน ที่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอย่าง เพียงพอ หรือเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรมากขึ้น เนื่องจากสาเหตุหลักของความยากจนก็คือ การขาด แคลนโอกาสทางเศรษฐกิจ ทั้งที่อยู่ในรูปแบบการขาดที่ดินทากิน การขาดปัจจัยการผลิต การขาดความรู้และ เทคโนโลยีในการปรับปรุงการผลิต ทั้งนี้อาจจะเกิดจากการขาดแคลนตามธรรมชาติ หรือภาวะกดดันจากระบบ เศรษฐกิจ หรือ การเมือง เช่น การคุกคามสิทธิในการครอบครองปัจจัยการผลิตจากภาคอุตสาหกรรม กา ร ล้มละลายเนื่องจากมีความสามารถในการแข่งขันต่า และการถูกบังคับขับไล่ออกจากปัจจัยการผลิตของตนโดย การกดดันจากภาครัฐ ดังนั้นมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาในส่วนนี้ จึงน่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสทาง เศรษฐกิจให้แก่ผู้ยากไร้ ทั้งการจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ยากไร้เป็นรายๆไป หรือ การจัดสรรที่ดินให้ กลุ่มผู้ยากไร้ใช้ สอยทรัพยากรร่วมกันในฐานะสิทธิชุมชน หรือ การส่งเสริมระบบสหกรณ์การผลิต โดยที่รัฐจะต้องออกเอกสาร สิทธิหรือกฎหมายมารับรองสิทธิดังกล่าว เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่สิทธิของปัจเจกชนและชุมชน การดาเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปั ญหาความยากจนนี้ จะต้องตั้งอยู่บนหลัก ความเสมอภาค และไม่ เลือกประติบัติ การออกมาตรการหรือนโยบายใดๆ ต้องคานึงถึงหลักการทั้งสองผู้ที่จะได้รับประโยชน์ หรือมี ส่ วนร่ว มในโครงการจะต้ องเป็ น ผู้ ผ่ านเกณฑ์ ที่เป็ น ธรรมมีลั กษณะเป็ นการรับ หลั กการโดยกฎหมายหรือ 2 - 25


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ข้อกาหนด มากกว่าการเลื อกพื้นที่ลงไปแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการสร้างผลประโยชน์ให้แก่ประชาชน บางพื้นที่ มากกว่าจะเป็นการกระจายการพัฒนา ไปครอบคลุมประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมด หาก จาเป็นและอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน รัฐอาจให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่กลุ่มที่เดือดร้อนเป็นพิเศษ ผ่านโครงการ ช่วยเหลือรูปแบบต่างๆ ก็ได้ เนื่องจากเป็นการเลือกประติบัติที่มีเหตุผลในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ปัญหาความยากจนนอกจากจะมีสาเหตุมาจากการขาดโอกาสทางเศรษฐกิจแล้ว บางส่วนยังเชื่อมโยง กับสิทธิพลเรือน และสิทธิทางการเมือง เนื่องจากการดาเนินนโยบายของภาครัฐที่ ขาดธรรมาภิบาล และเกิด การทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ จะทาให้เกิดการรั่วไหลของงบประมาณ และทาให้ผลประโยชน์ส่งไปไม่ ถึงผู้ยากไร้ ดังนั้นรัฐจึงต้องส่งเสริมธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ในนโยบายการแก้ไข ปัญหาความยากจนด้วย รัฐ จึงควรสร้างกลไกความรับ ผิ ดขึ้ นมา เพื่ อเปิ ดช่องทางให้ ผู้ ที่ได้รับ ความเดือดร้อนเรียกร้องผ่ าน กระบวนการศาลได้ เพื่อเยียวยาความเสียหาย ที่อาจได้รับจากการละเว้นและเพิกเฉยของหน่วยงานรัฐ นอกจากนี้การพัฒนาระบบการผลิต และใช้สอยทรัพยากรทั้งระบบให้มีลักษณะพึ่งพาตนเองได้ ยัง เป็นแนวทางแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ยากไร้อย่างยั่งยืนด้วย ข. ผู้สูงอายุ แผนปฏิ บั ติก ารระหว่ างประเทศว่าด้ ว ยผู้ สู งอายุ ณ กรุงเวี ยนนา ค.ศ.1982 และ หลั ก การแห่ ง สหประชาชาติว่าด้วยผู้สูงอายุ ค.ศ.1991 ข้อ 1 ระบุว่า “ผู้สูงอายุควรสามารเข้าถึงอาหาร น้า ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และบริการทางสาธารณสุขที่เพียงพอ ด้วยการส่งเสริมให้มีรายได้จากการสนับสนุนของครอบครัว และชุมชน และด้วยการพึ่งพาตนเอง” นอกจากนี้ยังได้ให้แนวทางการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และสุขอนามัย ของผู้สูงอายุไว้ในข้อแนะนาที่ 12 และ1871 71

UN. (1991). United Nations Principles for Older Persons (a) Health and nutrition Recommendation 12 Adequate, appropriate and sufficient nutrition, particularly the adequate intake of protein, minerals and vitamins, is essential to the well-being of the elderly. Poor nutrition is exacerbated by poverty, isolation, maldistribution of food, and poor eating habits, including those due to dental problems. Therefore special attention should be paid to: - Improvement of the availability of sufficient foodstuffs to the elderly through appropriate schemes and encouraging the aged in rural areas to play an active role in food production; - A fair and equitable distribution of food, wealth, resources and technology; - Education of the public, including the elderly, in correct nutrition and eating habits, both in urban and rural areas; - Provision of health and dental services for early detection of malnutrition and improvement of mastication; - Studies of the nutritional status of the elderly at the community level, including steps to correct any unsatisfactory local conditions; - Extension of research into the role of nutritional factors in the ageing process to communities in developing countries.

2 - 26


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ตัวอย่างเป็นรูปธรรมของการส่งเสริมสิทธิคนไร้บ้านที่เป็นผู้สูงอายุ ในแนวทางการพัฒนาสิทธิเชิงบวก (Positive Rights) ได้ แ ก่ ข้ อ แนะน าที่ 12 ซึ่ ง รับ รองสิ ท ธิ ข องผู้ สู งอายุ ในการได้ รับ อาหาร ที่ มี คุ ณ ค่ า ทาง โภชนาการเพียงพอ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุ และตระหนักถึงอุปสรรคต่อการประกันสิทธิมนุษยชน ว่าเกิด จากความยากจน การทอดทิ้ งผู้ สู งอายุ ระบบแบ่ งปั น อาหารที่ แย่ และพฤติก รรมการบริโภคที่ ผิ ด สุขลักษณะ แผนปฏิบัติการได้กระตุ้นให้รัฐ ปรับปรุงนโยบายการพัฒ นาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อย่ างเหมาะสม เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิ ตอาหารให้ เพี ยงพอต่อความต้องการ พัฒ นาระบบแจกจ่ายอาหาร จัดสรรทรัพยากร รายได้ เทคโนโลยีให้กระจายไปอย่างเป็นธรรม ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้สูงอายุทั้งในเมือง และชนบทเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภค พัฒนาระบบสุขอนามัยและทันตกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ ศึกษาสุข ภาวะของผู้สูงอายุในชุมชน แล้วแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับเงื่ อนไขของแต่ละท้องถิ่น พัฒนาการวิจัยเข้าสู่ ระบบโภชนาการชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุในประเทศกาลังพัฒนา ซึ่งสามารถปรับใช้ แนวทางเหล่านี้กับสิทธิในสินค้า และบริการสาธารณะอื่นๆ เช่น น้า ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ฯลฯ ได้ด้วย ตัวอย่างการประกันสิทธิคนไร้บ้าน ในลักษณะสิทธิในเชิงลบ (Negative Rights) คือ ข้อแนะนาที่ 18 ได้ป กป้ องสิ ท ธิผู้ บ ริโภคของผู้ สู งอายุ โดยกาหนดให้ รัฐสร้างมาตรฐานความปลอดภั ยด้านอาหาร ส าหรับ ผู้บริโภคที่สูงอายุ ออกกฎหมายควบคุมบรรษัทอุตสาหกรรม ให้ระบุคาเตือนและผลข้างเคียงของอาหาร เพื่อ สร้างมาตรการป้องกันให้แก่ผู้สูงอายุ จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น แว่นตา หูฟัง เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพา ตนเองได้ ควบคุมการโฆษณา การให้ข้อมูลเท็จ และกิจกรรมทางการตลาด ที่อาจกระทบกระเทือนต่อการ บริห ารทรัพยากรของผู้สู งอายุ รัฐควรร่วมมือกับองค์กรภาคประชาชน ในการให้ ความรู้ด้านการบริโภคที่ เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ มาตรการเหล่านี้สามารถปรับใช้กับสิทธิอื่นๆของคนไร้บ้าน ที่รัฐต้องละเว้นการละเมิด หรือออกกฎหมายมาป้องปราม มิให้บุคคลที่สามละเมิดสิทธิกลุ่มคนไร้บ้านได้เช่นกัน รั ฐ ควรมี ม าตรการทั้ งทางเศรษฐกิ จ และสวั ส ดิ ก ารสั งคม เพื่ อ ประกั น สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนของผู้ สู งอายุ มาตรการที่นามาใช้อาจเป็นมาตรการทางตรง ผ่านการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ เพียงพอ หรือให้ความช่วยเหลือผ่านโครงการด้านอาหารโดยตรง หรืออาจใช้มาตรการส่งเสริมสวัสดิการสังคม Protection of elderly consumers Recommendation 18 Governments should: - Ensure that food and household products, installations and equipment conform to standards of safety that take into account the vulnerability of the aged; - Encourage the safe use of medications, household chemicals and other products by requiring manufacturers to indicate necessary warnings and instructions for use; - Facilitate the availability of medications, hearing aids, dentures, glasses and other prosthetics to the elderly so that they can prolong their activities and independence; - Restrain the intensive promotion and other marketing techniques primarily aimed at exploiting the meagre resources of the elderly. - Government bodies should cooperate with non-governmental organizations on consumer education programmes. The international organizations concerned are urged to promote collective efforts by their Member States to protect elderly consumers.

2 - 27


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ผ่านการสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เข็ มแข็ง เพื่อสนับสนุนผู้สูงอายุให้สามารถเข้าถึง บริการสาธารณะ และ สวัสดิการได้ทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ มาตรการทั้งหลายต้องยึดหลักการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตัวเองได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุดารงชีพ ในช่วงบั้นปลายชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง ค. ผู้ติดเชื้อเอชไอวีระยะสุดท้าย หรืออยู่ในภาวะโรคเอดส์ สิทธิมนุษยชนมีความสัมพันธ์กับปัญหาการแพร่กระจายของโรคติดต่อโดยตรง ของคนอาศัยอยู่ใน พื้นที่สาธารณะ เนื่องจากอาหารและยาเป็นปัจจัยสาคัญในการดารงชีพอย่างสมบูรณ์ในแง่สุขอนามัย ดังนั้น การเข้าถึงอาหารและยาอย่างเพียงพอทั้งในแง่ปริมาณ และคุณภาพ ก็จะลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้ มาก เนื่องจากการเข้าถึงอาหารและยาอย่างเพียงพอ จะลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อของกลุ่ม คนไร้บ้าน ได้มาก เช่น การค้าประเวณี การติดยาเสพติด ขณะเดียวกันหากผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถเข้าถึงอาหารและ ยาได้อย่างเพียงพอ อยู่ในภาวะโภชนาการสมบูรณ์ ก็จะลดความร้ายแรงของการเข้าสู่ภาวะโรคเอดส์ลงได้เยอะ เช่นกัน ดังนั้นการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการป้องกันและแก้ปัญหาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และอยู่ในภาวะ โรคเอดส์ทั้งทางตรงและทางอ้อม การออกโยบายหรือมาตรการใดๆเพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรืออยู่ ในภาวะโรคเอดส์ ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการห้ามไม่เลือกประติบัติ และไม่สร้างตราบาปให้แก่ผู้ติดเชื้อ ดังนั้นรัฐจึงต้องระมัดระวังเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และการปฏิบัติที่อาจกระทบกระเทือนต่อสภาพ จิตใจ และการดารงชีวิตในสังคมของผู้ติดเชื้อด้วย มาตรการที่เหมาะสมต่อกลุ่มคนไร้บ้านผู้ติดเชื้อเอดส์ควรมีลักษณะส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ต่อการดารงชีพของผู้ติดเชื้อ เช่น ระบบเกษตรแบบพึ่งพาตัวเองสาหรับชุมชน ระบบการแบ่งปันทรัพยากร เพื่อให้ผู้ติดเชื้อสามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตอาหารและบริการสาธารณสุข ได้ นอกจากนี้รัฐ ต้องขจัดระบบการกีดกันผู้ติดเชื้อทั้งที่อยู่ในรูปแบบของกฎหมาย และการปฏิบัติในชีวิตจริง นอกจากนี้รัฐยังควรส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมทางเพศ สาหรับ ผู้ติดเชื้อและผู้ที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มขึ้นของปัญหาและลดความร้ายแรง ของปั ญ หาลง ทั้ ง นี้ มี ข้ อ สั ง เกตว่ า สั ง คมแบบพึ่ ง พาตนเองมี โ อกาสเสี่ ย งต่ อ การติ ด เชื้ อ น้ อ ยกว่ า สั ง คม อุตสาหกรรม หรือ สังคมเกษตรแบบอุตสาหกรรม เนื่องจากชุมชนมีความเข้มแข็งมากกว่า มีกิจกรรมที่ระบาย ความเครียดได้มากกว่า และมีความมั่นคงทางสังคมมากกว่าจานวนเงินในกระเป๋า แต่อาจจะมีความยุ่งยากใน แง่การปรับคนไร้บ้านที่อยู่ในเมืองแบบอิสระ ให้เข้ามาดาเนินกิจกรรมและมีวิถีชีวิตร่วมชุมชน ฌ. ผู้พิการทุพพลภาพ คณะกรรมาธิการสิทธิ ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมได้ออกความเห็นทั่วไป ฉบับที่ 5 ว่าด้วย สิทธิของผู้พิการ โดยได้ตระหนักถึงปัญหาของคนไร้บ้านผู้พิการว่า ในหลายๆกรณีผู้พิการมีอุปสรรคในการ เข้าถึงปัจจัยพื้นฐานในการดารงชีพ แม้จะเป็นประเทศที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจสูงก็ตาม จึงได้มีการผลักดัน แผนปฏิบัติการระดับโลกว่าด้วยผู้พิการขึ้น ความเห็นทั่วไปฉบับดังกล่าวได้กระตุ้นให้ภาครัฐและเอกชน อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ในการประกันสิทธิที่ เป็นธรรมของผู้พิการตามขอบเขตที่สมควร ในประเด็นการจัดบริการสาธารณะ แม้ว่าบริการสาธารณะหลายๆ 2 - 28


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 อย่างจะถูกแปรรูปเป็นเอกชน แต่ก็ต้องวางกรอบการกากับดูแลให้มีมาตรฐาน รวมถึงต้องวางมาตรการในการ ยกระดับจิตสานึกของสังคมเกี่ยวกับผู้พิการ สิทธิ ความต้องการ ศักยภาพ และสิ่งที่ผู้พิการสามารถให้แก่สังคม ด้วย เพื่อให้เกิดการยอมรับสิทธิมนุษยชนของผู้พิการ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งนี้รัฐต้อง สนองตอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยยกเลิกกฎหมายหรือระบบการกีดกันใดๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงสิทธิ ของผู้พิการ รวมทั้งจัดให้มีงบประมาณที่เพียงพอ ทรัพยากรที่รัฐมีอยู่ต้องจัดสรรอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ละเลยต่อ กลุ่มผู้พิการ เพื่อให้ ผู้พิการสามารถเข้าถึ งบริการสาธารณะ และทรัพยากรการผลิตทั้งในระดับชุมชน และ ระดับประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นรัฐต้อมีมาตรการประกันสิทธิในการเข้าถึง บริการสาธารณะ และสวัสดิการอย่างเพียงพอ ของคนไร้บ้านผู้พิการ โดยจัดบริการสนับสนุนอื่นๆ เพื่อให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในการดาเนิน ชีวิตประจาวันอย่างเป็นอิสระ หากมีความจาเป็นพิเศษ รัฐอาจจัดให้มีบริการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ แก่ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นพิเศษก็ได้ หากบุคคลกลุ่มนั้นไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ คนไร้ บ้ านในฐานะบุ คคล จึ งต้องได้รับหลักประกันสิ ท ธิมนุษ ยชนจากรัฐ และรัฐ ย่อมต้องผลั กดั น มาตรการส่งเสริมสิทธิกลุ่มคนไร้บ้านให้เข้าถึงบริการสาธารณะ และสวัสดิการตามเป้าหมายของกฎหมายสิทธิ มนุษยชนที่รัฐไทยมีพันธกรณี โดยใช้แนวทางบังคับตามสิทธิที่ ได้กล่าวไว้ข้างต้น ทั้งในลักษณะการปรับปรุง แก้ไขกฎหมายเก่าให้ได้มาตรฐาน หรือออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของคนไร้บ้าน (de jure) รวมทั้งต้องขจัด การเลือกประติบัติในรูปแบบต่างๆ ต่อคนไร้บ้านที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติด้วย (de facto) โดยเฉพาะสิทธิเด็ดขาด (Restrict Rights) ที่รัฐต้องประกันให้ทุกที่ทุกเวลา มิพักต้องคานึงถึงสถานะทางกฎหมายของบุคคล

2 - 29


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ส่วนที่ 3 สภาพปัญหาของคนไร้บ้าน 1. สภาพปัญหาของคนไร้บ้าน คนไร้บ้านเป็นบุคคลที่ใช้พื้นที่สาธารณะในการดาเนินชีวิตประจาวัน ไม่ว่าจะใช้พื้นที่เพื่อเป็นที่ พักอาศัยพักผ่อนนอนหลับ หรือใช้ทามาหากินด้วยการรับจ้างทั่วไป เก็บของเก่า รวมถึงการขอทาน ทา ให้การเข้าไปใช้พื้นที่สาธารณะของคนไร้บ้าน มักจะถูกคนทั่วไปมองว่าเป็นคนที่ก่อให้เกิดภาระต่อสังคม เป็นปัญหาสังคม และมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรมต่างๆ เช่น การลักขโมย การค้าบริการทาง เพศ หรือยาเสพติด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ปัญหาของคนไร้บ้านไม่ได้มีเพียงปัญหาในด้านการใช้ พื้นที่สาธารณะเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อคนไร้บ้านอีกหลายประการ เช่น การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ เป็นต้น สาหรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนไร้บ้าน ทางทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แบ่งสภาพ ปัญหาของคนไร้บ้านออกเป็น 5 ประเด็น คือ (1) ปัญหาการเข้าถึงสถานะทางกฎหมายของคนไร้บ้าน (2) ปั ญหาด้านสุ ขภาพของคนไร้ บ้าน (3) ปัญหาความขัดแย้งและการรวมกลุ่มของคนไร้บ้าน (4) ปัญหาอาชญากรรมและการหาผลประโยชน์จากคนไร้บ้าน และ (5) ปัญหาการเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมของคนไร้บ้าน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.1 ปัญหาการเข้าถึงสถานะทางกฎหมายของคนไร้บ้าน ปัญหาการขาดบัตรประชาชนในการแสดงสถานะทางกฎหมายของคนไร้บ้าน ถือเป็นปัญหา สาคัญต่อการได้รับและเข้าถึงสิทธิอย่างเท่าเทียมกันของของคนไร้บ้าน เนื่องจากบัตรประชาชนเป็นสิ่งที่ สะท้อนถึงสิทธิ ที่บุคคลจะได้รับการรับรองว่าเป็น “บุคคลตามกฎหมาย” อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของ มนุษย์ภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน โดยรัฐมีหน้าที่ออกเอกสารแสดงตนหรือรับรองตัวบุคคล ตามลักษณะ ของจุดเกาะเกี่ยวระหว่างบุคคลกับรัฐไทย เพื่อเป็นการรับรองว่าบุคคลนั้นเป็นคนสัญชาติไทย และทาให้ บุคคลนั้นสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้เพื่อ จัดสวัสดิการให้แก่คนยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส หรือคนไร้บ้านแล้วก็ตาม แต่กฎหมายที่นามาบังคับใช้นั้น กลับไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้บ้านให้เบาบางลงไปได้ การขาดหลักฐานแสดงสถานภาพบุคคลและการขาดการติดต่อกับหน่วยงานราชการเป็น ระยะ เวลานาน ได้ส่งผลให้คนไร้บ้านถูกคัดรายชื่อออกจากระบบทะเบียนราษฎร์ของทางการ ส่งผลให้คนไร้ บ้านประสบปัญหาการเข้าไม่ถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานของรัฐ นอกจากนี้ การไม่มีบัตรประชาชนของคนไร้ บ้ านยั งเสี่ ย งต่อการประสบปั ญหาอี กหลายประการ ซึ่งเป็นปัญหาที่ เกิดจากการปฏิบัติ ห น้า ที่ ข อง เจ้าหน้าที่รัฐ

3-1


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 เมื่อไม่มีบัตรประชาชน คนไร้บ้านจะประสบปัญหาในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 4 ประการ คือ 1. สิทธิการรักษาพยาบาล 2. สิทธิการศึกษา 3. สิทธิการได้รับเบี้ยเลี้ยงยังชีพ และ 4. การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน หน่วยงานรัฐได้มีความพยายามที่จะช่วยเหลือคน ไร้ บ้ านให้ เข้ามาลงทะเบี ย นเพื่อทาบัตรประชาชน แต่มีเงื่อนประการส าคัญที่ คนไร้บ้านจะต้องใช้ หลักฐานประกอบการยืนยันตัวบุคคล และมีคนรับรองหลักฐานเหล่านั้นด้วย ซึ่งกระบวนการเหล่ านี้ สร้างภาระให้กับคนไร้บ้านในการหาหลักฐาน และบุคคลเพื่อยืนยันตัวตนของคนไร้บ้าน 1.2 ปัญหาด้านสุขภาพของคนไร้บ้าน บุคคลที่ต้องใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะโดยการเร่ร่อนและไร้ที่พึ่งเฉกเช่นคนไร้บ้าน ย่อมมีภาวะ เสี่ ย งด้านสุ ขภาพหลายประการ อาทิ การใช้ยาหรือสารเสพติด โรคติดต่อทางเพศสั มพันธ์ ปัญหา สุขภาพจิต ภาวะโรคซึมเศร้า รวมถึงภาวะเสี่ยงต่อการพิการ ทุ พพลภาพ และการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดย ภาวะความเจ็บป่วยเหล่านี้จะมักมีอาการที่รุนแรง และมีการรักษาที่ซับซ้อนมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจาก คนไร้บ้านมีข้อจากัดในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ทั้งนี้ ปัญหาของการเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเป็นปัญหาสาคั ญ โดยเฉพาะกับ “คนไร้บ้าน” ที่ถือเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสใน สังคม เนื่องจากสิทธิขั้นพื้นฐานในการรักษาพยาบาล ที่รัฐจะมอบให้แก่พลเมืองในรัฐนั้น ผูกติดอยู่กับ บัตรประชาชนหรือเอกสารยืนยันตัวตน ซึ่งเอกสารเหล่านี้ถือเป็นอุปสรรคสาคัญที่ทาให้คนไร้บ้าน ไม่ สามารถเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลของรัฐได้ ปัจจุบันมีคนไร้บ้านประมาณร้อยละ 25 ที่ไม่มีบัตรประจาตัวประชาชนหรือไม่มีเอกสารยืนยัน ตัวตนทางทะเบียน1 การไม่มีหลักฐานทางทะเบียนเช่นนี้ ทาให้คนไร้บ้านกลายเป็นกลุ่มคนด้อยโอกาส ที่ไม่สามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพของรัฐ อันถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสาหรับประชาชนทุกคนได้ และ เมื่อเข้าไม่ถึงสวัสดิการในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ทาให้ความเจ็บป่วยของกลุ่มไร้บ้านมีต้นทุนที่ต้องจ่าย ซึ่งคนไร้บ้านส่วนใหญ่มีอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอน เช่น เก็บของเก่ า รับจ้างทั่วไป พนักงานรักษาความ ปลอดภัย ฯลฯ หรือบางรายอาจไม่มีอาชีพใดๆ เลย ดังนั้น การจะหาเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลแม้ เพียงหลักสิบหรือหลักร้อยบาท จึงไม่ใช่เรื่องง่ายสาหรับคนไร้บ้าน นอกจากนี้การที่คนไร้บ้านใช้ชีวิตอยู่ บนพื้นที่สาธารณะ ยังทาให้คนไร้บ้านมีความเสี่ยงต่อการติดโรคต่างๆ มากกว่าคนทั่วไป คนไร้บ้านหลาย คนจึงต้องเสียชีวิตลงก่อนเวลาอันควร เนื่องจากความเจ็บป่วยที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ 1.3 ปัญหาความขัดแย้งและการรวมกลุ่มของคนไร้บ้าน ปัญหาความขัดแย้งที่พบในกลุ่มคนไร้บ้านมีในหลากหลายมิติ กล่าวคือ (1) มิติสาเหตุของความ ขัดแย้งที่ส่งผลให้บุคคลต้องกลายมาเป็นคนไร้บ้าน เนื่องจากการล่มสลายของสถาบันครอบครัว เช่น มี การใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ่อแม่หย่าร้าง พ่อหรือแม่มีครอบครัวใหม่และเด็กเข้ากับครอบครัวใหม่ ไม่ได้ และ (2) มิติในด้านพฤติกรรมความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มคนไร้บ้าน หรือคนไร้บ้านกับสังคม 1

สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). 8 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับคนไร้บ้าน. แผนงาน สนับสนุนองค์ความรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้าน. กรุงเทพ : สานักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ.

3-2


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ชุมชน เนื่องจากลักษณะความไม่เท่าเทียมกันของสังคม ชนชั้น เศรษฐกิจและวัฒนธรรม นาไปสู่ความ ขัดแย้ง การไม่มีบ้าน การนอนข้างถนน การแต่งตัวมอมแมม ฯลฯ เป็นสิ่งที่ทาให้คนไร้บ้านถูกตีตราว่า เป็นคนแปลกหน้าในสังคมที่ไม่ได้รับการยอมรับ และถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมกลุ่มทางสังคม การสารวจจานวนคนไร้บ้านในประเทศไทย พบว่า มีอยู่ประมาณ 30,000 คน โดยเฉพาะใน กรุงเทพมหานครมีจานวน 1,300 คน ซึ่งคนไร้บ้านจะกระจายตัวไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่ออาศัยหลับนอน ดาเนินกิจกรรมดารงชีวิตต่างๆ ไม่ว่ าจะเป็น เก็บของเก่า เร่ขายของจึงจะพบคนไร้บ้านได้ทั่วทุกพื้นที่ และชุมชน ไม่ว่าจะใช้เป็นเส้นทางสัญจรผ่านชุมชนต่างๆ การเข้าไปหาของเก่าตามถังขยะหน้าบ้านของ คนในชุมชน หรือ บางชุมชนมีคนไร้ บ้านมาอาศัยหลับนอนอยู่ อาจส่งผลการทะเลาะเบาะแว้ง หรือ ถูก คนในสังคมที่ไม่เข้าใจผลักไสไล่ส่ง และอาจมีการใช้กาลังประทุษร้ายต่อร่างกายและทรัพย์สินของคนไร้ บ้าน ในการรวมกลุ่ ม ของคนไร้ บ้ าน จะมีการรวมกลุ่ ม และท ากิจ กรรมร่ว มกัน โดยองค์ก รภาค ประชาชนหลายองค์กร มีการดาเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ เกี่ยวกับคนไร้บ้าน/คนไร้ที่พึ่ง แต่ มิได้จดทะเบียนหรื อไม่สามารถจดทะเบียนได้ ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามการรวมกลุ่ มขององค์ กร เหล่านี้ต่างเป็นการรวมกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ ส่งผลให้การรวมกลุ่มในลักษณะนี้จะไม่ได้รับการรับรอง ตามกฎหมาย และทาให้การรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องต่างๆ ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างเต็มที่ 1.4 ปัญหาอาชญากรรมและการหาผลประโยชน์จากคนไร้บ้าน กลุ่ มคนไร้ บ้ านถือได้ว่าเป็ น กลุ่ มคนอีกประเภทหนึ่งที่มักจะตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การค้ า มนุ ษย์ ในรู ป แบบขบวนการธุร กิจ ขอทาน หรือ การบังคับใช้แรงงานผิ ด กฎหมายบนเรือประมง ซึ่งคนไร้บ้านมักจะตกเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ของการกระทาผิดกฎหมายใน ลักษณะของขบวนการธุรกิจขอทาน การบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมายบนเรือประมง หรือการค้าประเวณี ลักษณะการหาผลประโยชน์จากคนไร้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการหาผลประโยชน์จากคนไร้บ้าน โดยตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ทาให้คนไร้บ้านได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การหาผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะ เช่น 1) การรับจ้างติดคุกเป็นการกระทาลักษณะหนึ่ง ที่เป็นการแสวงหา ประโยชน์จากอิสรภาพทางร่างกายของมนุษย์โดยมิชอบ โดยอาศัยความเหลื่อมล้าของสถานะทางสังคม ชักจูงให้ผู้ที่มีปัจจัยในการดารงชีพต่ากว่าสูญเสียอิสระภาพ เพื่อให้ตนรอดพ้นจากบทลงโทษที่จะได้รับ จากการกระทาที่ผิดกฎหมาย ซึ่งมักจะปรากฏในรูปแบบของข้อเสนอที่แลกเปลี่ยนด้วยจานวนเงิน กับ คารับสารภาพโดยผู้ที่ไม่ได้กระทาความผิด จะต้องรับโทษจากการกระทาความผิดนั้นแทน ซึ่งถือได้ว่า เป็นการกระทาที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนรูปแบบหนึ่ง 2) การรับจ้างชุมนุมทางการเมือง ในการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองในแต่ละครั้ง จานวน ตัวเลขของมวลชน ถือเป็นปัจจัยสาคัญที่ชี้วั ดความสาเร็จของการชุมนุม ทาให้มี การว่าจ้างให้บุคคลที่ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง หรือไม่ได้มีทัศนคติไปในทิศทางเดียวกันมาร่วมชุมนุม เพื่อเพิ่มฐานหรือจานวน ตัวเลขมวลชน กลุ่มคนไร้บ้านจึงถูกแสวงหาประโยชน์ว่าจ้างในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของฐาน ตัวเลขในการชุมนุม ซึ่งรูปแบบการให้ผลตอบแทนแก่คนไร้บ้านจะให้ประโยชน์ ผ่านการแจกน้า-อาหาร หรือแจกเงิน 3-3


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 3) การหาประโยชน์ในรูปแบบอื่น เช่น การแสวงหาประโยชน์จากทางร่ายกายของคนไร้บ้านที่ เรี ย กว่ า “หนู ท ดลองยา” โดยให้ ค นไร้ บ้ า นทดลองรั บ ประทานยาที่ บ ริ ษั ท ต่ า งๆ ผลิ ต ออกมาเพื่ อ ตรวจสอบคุณภาพและผลกระทบจากเวชภัณฑ์นั้น 1.5 ปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของคนไร้บ้าน วิถีชีวิตของคนไร้บ้านในการใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะในการอาศัยพักนอน หรือหาเลี้ยงชีพด้วย การหาและขายของเก่า ล้วนแล้วแต่ถูกควบคุม ดูแลในการจัดการให้เกิดความเรียบร้อยโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้น การใช้พื้นที่สาธารณะของคนไร้บ้านจึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ที่ออกมาควบคุมกิจกรรมในพื้นที่ สาธารณะ ทั้งกฎหมายระดับพระราชบัญญัติและกฎหมายของท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ หากคนไร้บ้านได้ ดาเนินกิจกรรมในพื้น ที่ส าธารณะ ในลักษณะที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมายหรือเกิน กว่า ที่กฎหมาย อนุญาตให้ทาได้ คนไร้บ้านย่อมได้รับโทษทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจาคุกหรือการปรับเป็นเงิน การแก้ไขปัญหาการกระทาความผิดในพื้นที่สาธารณะ ด้วยวิธีการลงโทษทางอาญาทั้งการ จาคุก หรือการปรับเป็นเงิน ไม่ว่าจะเป็น การค้ายาเสพติด การค้าบริการทางเพศ การขอทานของคนไร้ บ้าน อาจทาให้การกระทาความผิดเกิดขึ้นน้อยลงในพื้นที่เปิด แต่ จะทาให้เกิดพื้นที่นอกเหนือจากการ ควบคุมของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งกฎหมายหรือหน่วยงานรัฐเข้าไปจัดการไม่ถึง ทาให้การดาเนินชีวิตของคนไร้ บ้านในพื้นที่สาธารณะ ยิ่งเสี่ยงต่อการถูกละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์จากคนไร้ บ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ เมื่อคนไร้บ้านถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทาความผิด การเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมของคนไร้บ้าน กลับถูกจากัดทั้งในด้านของต้นทุนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ไปจนถึง การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมจากเจ้าหน้าที่รัฐ

3-4


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ส่วนที่ 4 คนไร้บ้าน : สถานะทางกฎหมาย การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน และ ความขัดแย้ง 1. สถานะของคนไร้บ้านในประเทศไทย คนไร้บ้าน ถูกอธิบายว่าเป็นรูปแบบของกลุ่มคนจนเมืองที่รุนแรงที่สุด 1 ที่อาศัยหลับนอนใน พื้นที่สาธารณะ ขาดที่พักพิงอย่างเป็นหลักแหล่ง คนเหล่านี้มีสาเหตุที่ทาให้กลายมาเป็นคนไร้บ้านที่ ต่างกัน ไม่ว่าจะเกิดจากปัญหาครอบครัวที่มีฐานะยากจน มีปัญหาเรื่องหนี้สิน ครอบครัวหย่าร้าง อาจ กล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่เดินออกจากสภาพปัญหาครอบครัวที่อยู่ในสภาวะอ่อนแอ นอกจากนี้ คนไร้ บ้านบางรายยังเป็นผู้พิการทางจิตซึ่งสร้างภาระให้กับครอบครัว จนกลายเป็นบุคคลที่ ถูกทอดทิ้งไร้ผู้ อุปการะ2 รวมถึงการไร้ญาติพี่น้อง ไร้บ้าน ไร้อาชีพ ปัญหาความยากจน ปัญหาการถูกล่อลวงจากที่หนึ่ง แล้วไปปล่อยทิ้งในอีกที่แห่งหนึ่งซึ่งห่างไกลจากภูมิลาเนา และยังมีกลุ่มคนที่สมัครใจออกมาใช้ชีวิตในที่ สาธารณะ เพราะไม่มีความสุขเมื่อต้องอาศัยอยู่ในบ้านตนเอง รวมถึงบรรดาผู้ต้องขังที่พ้นโทษ ได้รับการ ปล่อยตัวออกสู่สังคม แต่ไม่ประสงค์จะกลับไปยังภูมิลาเนาจึงเร่ร่อนไปโดยไม่มีหลักแหล่งและกลายเป็น คนเร่ร่อนไร้ที่พึ่งในที่สุด3 โดยกลุ่ มคนที่กลายมาเป็ น คนไร้บ้าน หรือคนเร่ร่อน ยังประกอบด้ว ยบุคคลและช่ว งอายุที่ แตกต่างกันไป เช่น เด็กเร่ร่อน ครอบครัวเร่ร่อน ผู้ติสุรา ผู้ป่วย ผู้ให้บริการทางเพศ ผู้ที่พ้นโทษจาก เรือนจาแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้ คนจนเมือง คนที่ใช้พื้นที่สาธารณะสาหรับหลับนอนชั่วคราว คนเร่ร่อนไร้บ้าน ชาวต่างชาติตกยาก และครอบครัวแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ต้องใช้พื้นที่ สาธารณะในการพักอาศัย4 ด้วยสภาพปัญหาเหล่านี้จึงทาให้คนกลุ่มนี้เข้ามาใช้พื้นที่สาธารณะเป็นที่พัก พิง และทาให้คนกลุ่มนี้กลายเป็นคนชายขอบของสังคม นอกจากกลุ่มคนไร้ บ้านสัญชาติแล้วยังพบว่า ปัจจุบันมีคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน และขอทานที่ เป็นมาจากประเทศเพื่อนมาเพิ่ม ขึ้น โดยจากการจัดระเบียบของกระทรวงการพัฒนาและความมั่นคง ของมนุ ษ ย์ (พม.) ในพื้ น ที่ ก รุ ง เทพมหานคร และปริ ม ณฑล พบคนไร้ บ้ า นจ านวนทั้ ง สิ้ น 105 คน แบ่งเป็นคนไร้ที่พึ่ง 51 ราย คนขอทาน 54 ราย แยกเป็นขอทานไทย 28 ราย และขอทานต่างด้าว 26

1

บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (๒๕๖๐). โลกของคนไร้บ้าน. นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. หน้า ๔ สุดารัตน์ แก้วกาเหนิด. (๒๕๕๙). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองคนเร่ร่อน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง คนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. ๒๕๕๗. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. หน้า ๑ 3 สุดารัตน์ แก้วกาเหนิด, หน้า ๑๓ 4 ประชาไท. “คุ ณ กั บ เขาเราเท่ า กั น ” กั บ การเริ่ ม ต้น “วั น ผู้ ใ ช้ ชีวิ ต ในที่ ส าธารณะ”, เผยแพร่ เ มื่ อ วั น จั น ทร์ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล: https://prachatai.com/journal/๒๐๑๓/๑๑/๔๙๕๖๕. สืบค้นวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. 2

4-1


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ราย5 ตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาของคนไร้บ้าน คนเร่ร่อนมิได้จากัดอยู่เฉพาะแต่คนสัญชาติ ไทยเท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการเคลื่อนย้ายเข้ามาค้าแรงงาน ที่มลี ักษณะการทางานของ กลุ่มนี้ มักจะเคลื่อนย้ายและปรับเปลี่ยนไปตามสภาพของงานเสมอ มักจะเป็นการทางานที่ไม่ประจา เพียงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ทาให้ส่วนหนึ่งของคนกลุ่มนี้ได้กลายมาเป็นคนไร้บ้าน ที่ขาดแคลนเงินทุนในการ ดารงชีวิต จึงทาให้ ต้องมีการพักอาศัยในพื้นที่สาธารณะ 6 ทั้งยังมีกรณีแรงงานข้า มชาติที่ มีลู กขณะ ท างานในประเทศไทย เด็ ก ที่ เ กิ ด มานั้ น ย่ อ มไม่ ไ ด้ รั บสั ญชาติ ไ ทยและสั ญ ชาติข องประเทศต้ นทาง เนื่องจากประเทศต้นทางไม่ให้การยอมรับ จึงทาให้เด็กกลุ่มนี้กลายเป็นเด็กชายขอบ ด้อยโอกาสในการ เข้าถึงสิทธิไม่ว่าจะด้านการศึกษาหรือการรักษาพยาบาล7 ที่แม้รัฐไทยจะมีกฎหมายหรือแนวนโยบายที่ อานวยสิทธิด้านการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติก็ตาม8 นอกจากนี้ ยังมีแรงงานอีกกลุ่มหนึ่งที่ลักลอบเข้าเมือง หรือเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย จึงทาให้ คนกลุ่มนี้ไม่มีเอกสารแสดงตัวตนตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2560 จึงทาให้คนกลุ่ มนี้ไม่ สามารถเข้าถึงสิทธิทางกฎหมายที่รัฐไทยจัดไว้ให้ อาทิ ประกันสังคม ประกันสุขภาพ รวมถึงสิทธิในการ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ช่องว่างดังกล่าวที่เกิดขึ้นจึงทาให้คนกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการค้าและถูกค้ามนุษย์ ที่จะกระทาโดยลาพังคนเดียว, ลักษณะครอบครัว, การบังคับให้เด็กไปขอทาน หรือมีลักษณะเป็นขบวน การค้ามนุษย์9 แม้ว่ารัฐไทยจะมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาการเข้าเมือง หรือการให้สถานะที่ถูกต้องตาม กฎหมายของแรงงานข้ามชาติ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 มีนโยบายที่ต้องการจะบริการจัดการแรงงาน ข้ามชาติทั้งระบบ กาหนดให้แรงงานข้ามชาติที่ทางานในประเทศไทยทั้งหมด ไม่จากัดว่าจะเคยขอ อนุญาตทางานหรือไม่ รวมถึงครอบครัวและผู้ติดตามขึ้นทะเบียนรายงานตัวต่อกระทรวงมหาดไทย โดย แรงงานกลุ่มนี้จะได้รับเลขประจาตัว 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยรหัส 00 และสามารถยื่นขอใบอนุญาตทางาน 5

มติชนออนไลน์. (๒๕๖๐). “พม.จัดระเบียบ ‘คนเร่ร่อน-คนขอทาน’ ๕ วัน จับแล้ว ๑๐๕ ราย กาชับ กทม.-ตารวจ ร่วมปฏิบัติการ”. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล: https://www.matichon.co.th/news/๔๘๖๑๖๓. สืบค้นวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐. 6 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (4) 7 ธนวัฒน์ มุ่งพาลชล. (๒๕๖๐). “สิทธิมนุษยชนของคนไร้สัญชาติที่กาเนิดจากแรงงานต่างด้าว”, ประชาไท. [ข้อมูล ออนไลน์] แหล่งข้อมูล: https://prachatai.com/journal/๒๐๑๗/๐๔/๗๐๙๒๘. สืบค้นวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐. 8 สานักนโยบายและแผนการศึกษา สานักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). นโยบายการจัด การศึกษาสาหรับเด็กด้อยโอกาส. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล: http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/684-file.pdf. สืบค้นวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐. 9 กรุงเทพธุรกิจ. (๒๕๖๐). “ตม.สระแก้ว กวาดล้างจับกุมแก๊งขอทานชาวเขมร”. [ข้อมูลออนไลน์ ] แหล่งข้อมูล: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/๗๖๐๑๐๕. สืบค้นวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. “จนท. (เจ้าหน้าที่ – ผู้เขียน)นากาลังเข้าไปถึงตลาดนัดชุมชนภายในวัดโคกสะแบงฯ พบว่ามีประชาชนและ พ่อค้าแม่ค้า ทาการค้าขายเลือกสิ้นค้ากันเป็นจานวนมาก ... และจนท. ก็สามารถจับกุมหญิงชาวกัมพูชากาลังถือขัน พลาสติกเดินสะกิดขอทานจากประชาชนที่มาเลือกซื้อสินค้าในตลาดนัดฯ ทาให้มีประชาชนบางส่ วนเกิดความราคาญ ต้องเดินหนี จนท. จึงแสดงตัวเข้าทาการควบคุมตัวไว้ได้จานวน ๕ คน เป็นหญิงสูงอายุชาวกัมพูชาจานวน ๔ คน และ เด็กหญิงชาวกัมพูชาอีก ๑ คน ตรวจสอบไม่มีเอกสารการเดินทางหรือเอกสารอนุญาตเข้ามาทางานในประเทศไทยแต่ อย่างใด”

4-2


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 จากกระทรวงแรงงานได้10 การมีเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมายยังส่งให้เข้าถึงสิทธิสวัสดิการ และได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมายของรัฐไทยในเรื่องสาธารณสุข และความปลอดภัยจากการทางาน อย่างไรก็ตามปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ผิดกฎหมายยังไม่ถูกแก้ไขอย่างจริงจัง เพราะมีแรงงาน บางส่วนที่ไม่ได้ดาเนินการขึ้น ทะเบียนดังกล่าว ทาให้ขาดเอกสารยืนยันตัวตนของแรงงานยังส่ งผล กระทบต่อการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล การเข้าถึง กระบวนการยุติธรรม และสาหรับเด็กที่เกิดจาก แรงงานกลุ่มนี้ก็กลายเป็นเด็กไร้สัญชาติ ถูกมายาคติของการเป็นคนชายขอบปิดกั้นโอกาสในการเข้าถึง การศึกษา ซึ่งอาจทาให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ ยาเสพติด อาชญากรรม ปัญหาทางสังคมหลายๆ ด้าน ตามมา11 แต่กระนั้นหากพิจารณาถึงความเป็นมนุษย์ของคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่งในประเทศไทย จะพบว่าในสายตากฎหมายจะพบว่าคนกลุ่มนี้ยังคงมีสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองเสมอ ดังต่อไปนี้ 1.1 สิทธิทางกฎหมายของคนไร้บ้าน คนไร้ที่พึ่ง คนขอทานในประเทศไทย สถานะความเป็ น มนุ ษย์ ใ นทางกฎหมายนั้น จะพบว่ามีทั้งกฎหมายระหว่า งประเทศ และ กฎหมายภายในประเทศรับรองสถานะอย่างสมบูรณ์ ด้วยความที่คนไร้บ้านเป็นมนุษย์เฉกเช่นเดียวกับ บุคคลทั่วไป ภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งถือเป็นเอกสารที่รับรองสิทธิของความเป็นมนุษย์และส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยประเทศ ไทย ได้เข้าร่วมปฏิญญาสากลฉบับนี้ที่มีการรับรองสถานะของมนุษย์ ว่าเกิดมามีอิสระและมีความเสมอ ภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ12 ทั้งยังรับรองว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ ความมั่นคงแห่ง บุคคล13 ย่อมมีความเสมอภาคกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับการความคุ้มครองของกฎหมาย อย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกประติบัต14 ิ นอกจากการยอมรับความเป็นมนุษย์ที่ปรากฏในปฏิญญาสากลฉบับดั งกล่าวแล้ว ประเทศไทย ได้ เ ข้ า ร่ ว มเป็ น ภาคี ข องกติ ก าระหว่ า งประเทศว่ า ด้ ว ยสิ ท ธิ พ ลเมื อ งและสิ ท ธิ ท างการเมื อ ง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR)ด้ ว ยการภาคยานุ วั ติ เมื่ อ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2540 การ เข้าร่วมดังกล่าว ส่งผลให้รัฐไทยมีพันธะกิจตามกฎบัตรสหประชาชาติ และมีหน้าที่ที่จะต้องส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนในด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างเท่าเทียม 10

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (7) เพิง่ อ้าง 12 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑ “มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และ ควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ” 13 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๓ “ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล” 14 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๗ “ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน โดย ปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันจาการเลือกปฏิบัติ อันเป็นการล่วง ละเมิดปฏิญญานี้และจากการยุยงให้มีการเลือกปฏิบัติดังกล่าว” 11

4-3


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 โดยภาพรวมแล้ ว รั ฐ จะต้องมีห น้ าที่ที่รับรองและประกันสิ ทธิเสรีภ าพของบุคคล และต้องไม่เลื อก ประติบั ติ ด้ว ยเหตุผ ลทางเชื้อชาติ สีผิ ว ภาษา ศาสนา ความคิดทางการเมือง สั ญชาติ สถานะทาง เศรษฐกิจ สังคม ถิ่นกาเนิด หรือสภาพอื่นใด นอกจากนี้ ในส่ ว นของสิ ท ธิ พ ลเมื อ งและสิ ท ธิ ก ารเมื อ ง กติ ก าระหว่ า งประเทศฉบั บ นี้ ไ ด้ กาหนดให้ ประชาชนสามารถมีสิทธิเสรีภาพในหลากหลายด้าน เช่น การห้ามบุคคลมิให้ถูกจับกุมตาม อาเภอใจ เสรีภาพในการโยกย้ายถิ่นฐาน ความเสมอภาคของบุคคลภายใต้กฎหมาย หรือสิทธิการได้รับ รองเป็นบุคคลตามกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิเด็ก ทั้งนี้การรับรองสิทธิของประชาชนของรัฐจะต้อง เป็นไปอย่างเสมอภาคกันตามกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน15 ฉะนั้ น การเข้าเป็ น ภาคีต่อปฏิญญาฉบับดังกล่าว ทาให้ ประเทศไทยต้องมีห น้าที่ปฏิบัติต่อ ประชากรในรัฐเช่นกัน โดยในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ที่ย่อมจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน 16 จึงทา ให้การให้บริการของรัฐที่มีต่อประชาชนภายในรัฐ ไม่สามารถที่จะเลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้17 ขณะเดียวกันสาหรับคนเร่ร่อนหรือคนไร้บ้าน ที่มีสถานะเป็นผู้ยากไร้ก็ย่อมจะต้องได้รับสิทธิด้าน การบริ การสาธารณสุ ขอัน เป็ น บริการขั้นพื้นฐานของรัฐ โดยไม่เสี ยค่าใช้ จ่าย 18 ทั้งนี้ รัฐ ยังมีห น้าที่ ส่งเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว ด้วยการจัดให้ประชาชนอยู่อาศัยอย่ างเหมาะสม และสร้าง เสริมพัฒนาการด้านสุขภาพให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี และรัฐจะต้องให้ความช่วยเหลือต่อเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสให้สามารดารงชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมทั้ง การบ าบั ด ฟื้น ฟู และเยี ย วยาผู้ ที่ ถูก กระท าโดยความรุน แรง 19 รวมทั้งต้องส่ งเสริ ม ให้ ป ระชาชนมี 15

คณะกรรมการสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนแห่ งชาติ . ___. “หลั ก กฎหมายระหว่ า งประเทศทั่ ว เกี่ ย วกั บ สนธิ สั ญ ญาด้ า นสิทธิ มนุษยชน”. (กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจากัด มิราเคิลครีเอชั่นอินเตอร์ พริ้นท์). หน้า ๑๕- ๑๘ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๔ “ศักดิศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๗ “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทามิได้” 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๔๗ “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติบุคคล ย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” 19 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๑ “รัฐพึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สาคัญของสังคม จัดให้ประชาชน มีที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีจิตใจ เข้มแข็ง รวมตลอดทั้งส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาให้ไปสู่ความเป็นเลิศและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน รัฐพึงส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพและความสามารถสูงขึ้น รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดารงชีวิต ได้อย่างมีคุณภาพ และคุ้มครองป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าวถูกใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมตลอดทั้ง ให้การบาบัด ฟื้นฟูและเยียวยาผู้ถูกกระทาการดังกล่าว

4-4


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ความสามารถในการทางานที่เหมาะสมกับวัย และต้องคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้รับความปลอดภั ย มี สุขอนามัยที่ดีในการทางาน 20 ในด้านกระบวนการยุติธรรมรัฐธรรมนูญยังได้รับรองสิทธิบุคคลว่ารัฐ จะต้องจัดการให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเป็นธรรม และไม่เลือกประติบัติ21 จะเห็นได้ว่า รัฐไทยได้เคารพและปฏิบัติต่อประชาชนในประเทศด้วยการยืนยันสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค การไม่เลือกประติบัติ และการฟื้นฟูเยียวยาผู้ด้อยโอกาสทางสังคมอย่างเต็มที่ ดังที่เห็น ได้จากการรับรองสิทธิที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม22 อันเป็นกฎหมายที่ต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ที่ตก อยู่ในสภาวะยากลาบากและจาเป็นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือ 23 โดยกาหนดให้มีองค์การสวัสดิการ สังคมจาเป็นต้องให้บริการแก่บุคคลเหล่านี้ ซึ่งต้องคานึงถึงเรื่องความจาเป็นในบริบทต่าง ๆ เช่น การ ให้บริการทางสังคม การศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การฝึกอาชีพ24 และต่อมา ในปี พ.ศ. 2557 ในการจัดสรรงบประมาณ รัฐพึงคานึงถึงความจาเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของเพศ วัย และสภาพ บุคคล ทั้งนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรม” 20 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๔ “รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทางานอย่างเหมาะสมกับศักยภาพและวัยและให้มีงานทา และพึงคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดีในการทางานได้รับรายได้ สวัสดิการ การ ประกันสังคม และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การดารงชีพ และพึงจัดให้มีหรือส่งเสริมการออมเพื่อการดารงชีพ เมื่อพ้นวัยทางาน รัฐพึงจัดให้มีระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดาเนินการ” 21 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๖๘ “รัฐพึงจัดระบบการบริการงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพเป็นธรรม และไม่เลือก ปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร รัฐพึงมีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงาใด ๆ รัฐพึงให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายที่ จาเป็ นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ หรือผู้ด้ อยโอกาสในการเข้ า ถึ ง กระบวนการยุติธรรม รวมตลอดถึงการจัดหาทนายความให้” 22 วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม เพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการ จัดสวัสดิการสังคมทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่น ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการ เสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมให้เป็นไปอย่างทั่วถึง เหมาะสม และเป็นธรรม 23 พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๓ “ในพระราชบัญญัตินี้ ... ‘ผู้รับบริการสวัสดิการสังคม’ หมายความว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในสภาวะยากลาบากหรือที่ จาต้องได้รับความช่วยเหลือ เช่น เด็ก เยาวชน คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ถูกละเมิดทาง เพศ หรือกลุ่มบุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการกาหนด...” 24 พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๕ “ในการจัดสวัสดิการสังคมขององค์การสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้รับสวัสดิการสังคมให้คานึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) สาขาต่าง ๆ ที่จะดาเนินการตามความจาเป็นและเหมาะสม เช่น การบริการทางสังคม การศึกษา สุขอนามัย ที่อยู่อาศัย การฝึกอาชีพ การประกอบอาชีพ นันทนาการ และกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น (๒) ลักษณะหรือรูแบบและวิธีการในการดาเนินการ เช่น การส่งเสริมการพัฒนาการสงเคราะห์ การคุ้มครอง การป้องกัน การแก้ไข และการบาบัดฟื้นฟู เป็นต้น

4-5


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 อันเป็นกฎหมายที่มีเป้าประสงค์ ที่ต้องการจะคุ้มครองดูแลให้คนไร้ที่พึ่ง 25 สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยมีปัจจัยขั้น พื้นฐานในการดารงชีวิต และมีสภาพร่างกายและจิตใจเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ รั ฐ ไทยยั งให้ ความส าคัญ แก่ ผู้ สู งอายุ ผู้ พิการ ผู้ ป่ว ยจิตเวช และเด็กโดยมี การ ประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 255126 ที่มุ่งบาบัดรักษาบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต ทั้งคุ้มครองความปลอดภัยของบุคคลนั้นและสังคม โดยมีสิทธิได้รับการบัดรักษาตามมาตรฐานทาง การแพทย์ โดยค านึ ง ถึ ง ศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ 27 ด้ า นผู้ สู ง อายุ ก าหนดให้ มี ก ารประกาศใช้ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ทาให้ผู้สูองอายุได้รับความคุ้มครอง รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุน ในด้านการบริการทางการแพทย์ การศึกษา ศาสนา การประกอบอาชีพ การจัดหาที่พักอาศัย รวมถึง เบี้ยยังชีพ และอื่นๆ แก่ผู้สูงอายุ 28 ด้านพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ในการจัดสวัสดิการสังคมตามวรรคหนึ่ง ให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรอื่นได้มีส่วนร่วมด้วย” 25 พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. ๒๕๕๗ มาตรา ๓ “ในพระราชบัญญัตินี้ “คนไร้ที่พึ่ง” หมายความว่า บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และให้รวมถึงบุคคล ที่อยู่ในสภาวะยากลากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด” 26 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๕๓ กาหนดให้บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการสิ่งอานวย ความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรีและความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอานาจหน้าที่ของคณะกรรมการผู้สูงอายุ แห่งชาติ สิทธิเรื่องเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ และอานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุมี สิทธิได้รับเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมจากรัฐ จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 27 พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑มาตรา ๑๕ “ผู้ป่วยย่อมมีสิทธิดังต่อไปนี้ (๑) ได้รับการบาบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ โดยคานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (๒) ได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบาบัดรักษาไว้เป็นความลับ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติ ไว้ให้เปิดเผยได้ (๓) ได้รับความคุ้มครองจากการวิจัยตามมาตรา ๒๐ (๔) ได้รับการคุ้มครองในระบบประกันสุขภาพและประกันสังคม และระบบอื่น ๆ ของรัฐ อย่างเสมอภาคและ เท่าเทียมกัน” 28 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๑ “ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (๑) การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สงู อายุเป็นกรณี พิเศษ (๒) การศึกษา ศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิต (๓) การประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม (๔) การพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน (๕) การอานวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือการ บริการสาธารณะอื่น

4-6


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 2550 ที่กาหนดให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิ และใช้ประโยชน์จากสิ่งอานวยความสะดวกอันเป็น สาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ไม่ ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การศึกษา การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ เบี้ยยังชีพ และด้านอื่น ๆ 29 และสิ่งสาคัญที่รัฐจัดสวัสดิการให้คือ การ (๖) การช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม (๗) การยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ (๘) การช่วยเหลือผู้สูงอายุซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมเหมือนถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ด้วยกฎหมาย หรือถูกทอดทิ้ง (๙) การให้คาแนะนา ปรึกษา ดาเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี หรือในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว (๑๐) การจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจาเป็นอย่างทั่วถึง (๑๑) การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจาเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (๑๒) การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี (๑๓) การอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด...” 29 พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ “คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการ และความช่วยเหลือจากรัฐ ดังต่อไปนี้ (๑) การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่า อุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกาหนด (๒) การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติตามความเหมาะสมใน สถานศึกษาเฉพาะหรือในสถานศึกษาทั่วไป หรือการศึกษาทางเลือกหรือการศึกษานอกระบบ โดยให้หน่วยงานที่ รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งอานวยความสะดวกสื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสาหรับคนพิการให้การ สนับสนุนตามความเหมาะสม (๓) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการที่มีมาตรฐาน การคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพื่อการมีงาน ทา ตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และบริการสื่อ สิ่งอานวยความสะดวกเทคโนโลยีหรือความ ช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทางานและประกอบอาชีพของคนพิการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานประกาศกาหนด (๔) การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป ตลอดจนได้รับสิ่งอานวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ ที่จาเป็นสาหรับ คนพิการ (๕) การช่วยเหลือให้เข้าถึงนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม การพัฒนาและบริการอันเป็นสาธารณะ ผลิตภัณฑ์ที่มีความจาเป็นต่อการดารงชีวิต การช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี ให้ เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกาหนด (๖) ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีสิ่ง อานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสาหรับคนพิการทุกประเภทตลอดจนบริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐหรือ เอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์ วิธี การและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารกาหนดในกฎกระทรวง (๗) บริการล่ามภาษามือตามระเบียบที่คณะกรรมการกาหนด (๘) สิทธิที่จะนาสัตว์นาทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นาทาง หรือเครื่องช่วยความพิการใด ๆ ติดตัวไปใน ยานพาหนะหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง และการได้รับสิ่งอานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ โดย ได้รับการยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าเช่าเพิ่มเติมสาหรับสัตว์ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยความพิการ ดังกล่าว

4-7


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 คุ้มครองและดูแลเด็ก ซึ่งรวมถึงเด็กเร่ร่อน 30 การจัดสวัสดิการแก่บุคคลเหล่านี้เป็นการแสดงให้เห็นถึง ความพยายามของรัฐ ที่จะให้ความสาคัญแก่ในทุกกลุ่มประชากร นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2559 รัฐไทยยังได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ปรับปรุงมาจากพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พุทธศักราช 2484 โดยมีการปรับให้การจัดสวัสดิก าร ระเบียบเกี่ยวกับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ทาการ ขอทานให้ดีขึ้น และด้านบทบัญญัติการควบคุมขอทาน ได้มีการแยกประเภทผู้ที่แสดงความสามารถออก จากการเป็นผู้ทาการขอทาน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาสังคมและคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลให้เหมาะสม มากยิ่งขึ้น31 ในสายตาของรัฐไทยได้มองเห็นและให้ความสาคัญต่อกลุ่มคนไร้บ้าน ผ่านการออกกฎหมายที่ ถือเป็นความพยายามในการจัดสวัสดิการของรัฐให้แก่กลุ่มคนไร้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศูนย์พักพิงใน แต่ล ะจั งหวัด หรื อการจั ดระบบสวัส ดิการในการดูแลทั้งด้านการศึกษา ฝึกหั ดอาชีพ หรือด้านการ รั ก ษาพยาบาลก็ ต าม แต่ ก ระนั้ น ภายหลั ง จากการประกาศใช้ พ ระราชบั ญ ญั ติ ค นไร้ ที่ พึ่ ง และ พระราชบัญญัติการควบคุมขอทานมาแล้วประมาณ 3 ปี กลับพบว่า จานวนคนไร้บ้านทั่วประเทศถูก คาดการณ์ว่ามีจานวนมากราว 30,000 คน32 โดยพบว่าปัญหาของคนไร้บ้านส่วนมากมีปัญหาด้าน สุขภาพ ที่มีปัญหาโรคประจาตัว ทั้งนี้คนไร้บ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะก็มีปัญหาความเสี่ยงด้าน สุขภาพเช่นกัน และปัญหาที่รองลงมาคือการขาดบัตรประชาชน ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิด้าน สาธารณสุขและการรักษาพยาบาล ปัญหาการขาดบัตรประชาชนนี้เอง ที่กลายเป็นสิ่งสาคัญสาหรับการ ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกับพลเมืองในประเทศทุกคน บัตรประชาชน ได้สะท้อนถึงสิทธิที่จะได้รับการรับรองความเป็นบุคคลตามกฎหมาย อันเป็น สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน ทาให้รัฐมีหน้าที่ออกเอกสารแสดงตนหรือรับรองตัว (๙) การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมกาหนดระเบียบ (๑๐) การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การมีผู้ช่วยคนพิการ หรือการจัดให้มีสวัสดิการอื่นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกาหนดในระเบียบ...” 30 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔ “ในพระราชบัญญัตินี้ ... “เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดู ได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพ ของตน...” 31 พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. ๒๕๕๙ “เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติควบคุมขอทานพุทธศักราช ๒๔๘๔ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว บทบัญญัติเกี่ยวกับการสงเคราะห์ผู้ทาการขอทานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สมควรให้มีการจัดระเบียบเกี่ยวกับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทาการ ขอทาน การควบคุมการขอทาน และแยกผู้แสดงความสามารถออกจากการเป็นผู้ทาการขอทาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการ แก้ปัญหาสังคมและคุมครองสวัสดิภาพของบุคคลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อีกทั้งสมควรกาหนดความผิดอาญาแก่ผู้ซึ่งหา ประโยชน์ จากความไม่ สมประกอบทางร่า งกาย ความอ่ อ นด้ อ ยทางสติปั ญญาหรื อสภาพจิ ตใจของบุ ค คลอื่ น จึ ง จาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 32 โพสต์ทูเดย์. (๒๕๖๐). “สสส. เผยสถานการณ์คนไร้บ้านทั่วประเทศกว่า ๓ หมื่นคน”. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล: http://www.posttoday.com/social/PR/๔๙๘๘๒๓. สืบค้นวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๐.

4-8


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 บุคคลตามลักษณะของจุดเกาะเกี่ยวระหว่างบุคคลกับรัฐไทย 33 เพื่อเป็นการรับรองว่าบุคคลนั้นเป็นคน สัญชาติไทย และทาให้บุคคลนั้นสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในแต่ละด้านของรัฐได้ ฉะนั้น แม้จะมี กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้เพื่อจัดสวัสดิการแก่คนยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส หรือคนไร้บ้ านก็ตาม แต่กลับ ไม่ได้ทาให้การแก้ไขปัญหาที่มีต่อคนไร้บ้านเบาบางลงไปได้ และไม่ได้ทาให้คนไร้บ้านเข้าถึงสิทธิในการ รักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง เนื่องจากปัญหาการไม่มีบัตรประชาชน ที่เป็นตัวแทนของความเป็นคนของรัฐ และเป็นบุคคลที่รัฐมีหน้าที่จะต้องให้ความคุ้มครองอย่างไม่เลือกประติบัติ ขณะเดียวกัน ปั ญหาของคนไร้บ้าน คนไร้ที่พึ่ง ขอทานเร่ร่อนที่เป็น คนข้ามชาติ หรือเด็กไร้ สัญชาติที่เกิดจากกลุ่มแรงงานเหล่านี้ ซึ่งล้วนไม่มีเอกสารเข้าเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถูกละเลย ทอดทิ้งจนทาให้กลายเป็น “คนชายขอบ” ยังเป็นปัญหาที่รัฐไทยไม่สามารถดาเนินได้อย่างครอบคลุม ดังนั้น ในประเด็นการศึกษาดังต่อไปนี้ จึงแสดงกรณีศึกษาที่สะท้อนถึงปัญหาการไม่มีเอกสารแสดง ตัวตน ซึ่งทาให้เห็นถึงการเสียสิทธิของคนไร้บ้านเมื่อไร้บัตรประชาชน หรือเอกสารแสดงตัวตน ทั้งนี้ ปัญหาของคนไร้บ้านมีลักษณะที่แตกต่างกัน จึงจะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. ปัญหาของ คนไร้บ้านสัญชาติไทย และ 2. ปัญหาคนไร้ที่พึ่งข้ามชาติ ดังนี้ 1.) ปัญหาของคนไร้บ้านสัญชาติไทย บัตรประจาตัวประชาชน ได้กลายเป็นหลักฐานชิ้นสาคัญที่รัฐไทยออกให้สาหรับประชาชน ภายในรัฐ เพื่อเป็นการจาแนกคนในรัฐหรือรับรองว่าเป็นคนสัญชาติไทย นอกจากนี้การมีบัตรประชาชน ยังเกี่ยวพันกับใช้บริการ หรือการเรียกร้องให้รัฐต้องมีหน้าที่ปฏิบัติดูแลคนในรัฐ ทั้งการเข้าถึงสิ ทธิขั้น พื้นฐานหรือสิทธิด้านอื่นๆ ของประชาชนไทย ยังผูกผันกับการใช้บริการขั้นพื้นฐานกับหน่วยงานของรัฐ ไทยอย่างเข้มข้น และในทางปฏิบัติประชาชนจะถูกเรียกร้องจากหน่วยงานของรัฐ ให้ต้องมีหลักฐานมา แสดงตัวตน หรือยืนยันเพื่อรับการบริการเสมอ เช่น การใช้สิทธิด้านสุขภาพกับโรงพยาบาล จะต้องมี การถามถึง “เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล” (identification paper) หรือบัตรประชาชนที่รัฐออกให้34 เพื่อยืนยันสถานะบุคคลก่อนเข้ารับการบริการ หรือแม้กระทั่งสิทธิในการศึกษาที่จะต้องมีการยื่นเอกสาร ใบสูติบัตร หรือสาเนาทะเบียนเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบของนักเรียนเสมอ และในทางกลับกัน หาก บุคคลใดขาดไร้ซึ่งบัตรประชาชน เอกสารแสดงตัวตน หรือเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลแล้ว เช่น คนไร้ บ้าน มักจะพบปัญหาและความยากลาบากในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่ บุคคลเหล่านั้นควรจะได้รับ เช่นกัน งานศึกษาของ อัจฉรา รักยุติธรรม ที่เน้นการศึกษาคนไร้บ้านที่อยู่อาศัยในศูนย์พักพิงสาหรับ คนไร้บ้าน ได้ทาให้เห็นถึงสาเหตุการไม่มีบัตรประจาตัวประชาชนของคนไร้บ้านว่า คนไร้บ้านส่วนมาก ไม่มีบั ตรประจ าตัว ประชาชน เพราะขาดการติ ดต่ อ กับทางบ้านและทางราชการนาน บางคนไม่ มี หลักฐานทางทะเบียน เพราะเติบโตในครอบครัวที่บ้านแตกสาแหรกขาด 35 การไม่มีบัตรประชาชนของ 33

กรกนก วัฒนภูมิ. (๒๕๕๙). “บัตรสักใบ” มันยังสาคัญเสมอ”, ใน วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี ที่ ๙ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม – ธันวาคม), หน้า ๒๐๘ 34 เพิ่งอ้าง, หน้า ๒๐๙ 35 อัจฉรา รักยุติธรรม. (๒๕๕๙). “คนไร้บ้านการเดินทางสู้ความโดดเดี่ยว”. เสนาะ เจริญพร (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจากัดภาพพิมพ์. หน้า ๑๙๔ -๑๙๕

4-9


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 คนไร้บ้านยังส่ งผลกระทบต่อสิ ทธิการดารงชีวิตในอีกหลายด้าน เช่น สิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิ การศึกษา หรือสิทธิสาหรับผู้สูงอายุที่จะได้รับเบี้ยคนชรา สิทธิในการทางาน เช่นเดียวกับรายงานการถอดบทเรียน การดาเนินงานมาตรฐานการจัดบริการคนไร้ที่พึ่งใน สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดย กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สะท้อนปัญหาการขาดบัตรประชาชนว่า ผู้ใช้บริการที่เข้า มาใช้บริการศูนย์พักพิงมีหลายกรณี ที่ไม่สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการวางแผน การให้บริการและ การเข้าถึงบริการ เพราะเนื่องมาจากการขาดหลักฐานเอกสารแสดงสิทธิ / รับรองสถานะตัวบุคคล (เลข บัตรประชาชน) เพื่อใช้บริการด้านสุขภาพตามสิทธิในการรักษาพยาบาล ตามหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้า36 ปัญหาการขาดไร้บัตรประชาชนหรือเอกสารแสดงตัวตนของคนไร้บ้าน จึงไม่สอดคล้องกับ หลักเกณฑ์ที่หน่วยงานภาครัฐกาหนดขึ้น เพื่อพิจารณาจัดสรรสวัสดิการให้ อาทิ กรณีการยื่นคาขอรับ การสงเคราะห์ของสานักคุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการที่กาหนดให้นักสังคม สงเคราะห์ หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายให้เป็นผู้ดาเนินการศึกษาพิจารณา วินิจฉัยปัญหา และติดตามผล กับให้เรียกหลักฐานต่างๆ เช่น ใบมรณะบัตร หรือสาเนาทะเบียนบ้านหรือใบรับรองแพทย์ หรือหนังสือ รับรองจากเรือนจา หรือเอกสารอื่นใดอย่างหนึ่งมาประกอบพิจารณาและเสนอความ37 นอกจากนี้ ยังคงมีรายงานข่าวจานวนหนึ่งที่สะท้อนปัญหาของคนไร้ บ้านที่ไม่มีบัตรประจาตัว ประชาชนว่า การขาดหลักฐานแสดงสถานภาพบุคคล และการขาดการติดต่อกับหน่วยงานราชการมา เป็นเวลานาน ส่งผลให้คนไร้บ้านถูกคัดรายชื่อออกจากระบบทะเบียนราษฎร์ของทางการ ซึ่งทาให้คนไร้ บ้านประสบปัญหาการเข้าไม่ถึงสวัสดิการของขั้นพื้นรัฐที่จัดไว้ให้ประชาชน นอกจากนี้การไม่มีบัตร ประชาชนของคนไร้บ้านยังเสี่ยงต่อการประสบให้เกิดปัญหาการถูกตรวจค้น หรือถูกจับกุมจากเจ้าหน้าที่ รัฐเช่นกัน38 จะเห็นได้ว่า การไม่มีบัตรประชาชนได้ส่งผลให้คนไร้บ้านขาดหนทางในการเข้าสิทธิที่รัฐ จัดเตรียมไว้ให้ และเพื่อให้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจน ผู้ศึกษาจึงจะยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่คน ไร้บ้านต้องประสบเมื่อไม่มีบัตรประชาชนออกเป็น 4 ประเด็น คือ 1. สิทธิการรักษาพยาบาล 2. สิทธิ การศึกษา 3. สิทธิการได้รับเบี้ยเลี้ยงยังชีพ และ 4. ทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนี้

1.1. กรณีศึกษาด้านสิทธิการรักษาพยาบาล

36

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (๒๕๕๙). “การถอดบทเรียนการดาเนินงานมาตรฐานการจัดบริการคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง”. กรุงเทพฯ : เจพริ้นท์. หน้า ๑๒๓ 37 สุดารัตน์ แก้วกาเหนิด. (๒๕๕๙). “ปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองคนเร่ร่อนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ ที่พึ่ง พ.ศ. ๒๕๕๗”. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. หน้า ๑๐๓ 38 Voicelabour.org. (๒ ๕ ๕ ๖ ). “ ค น ไ ร้ บ้ า น แ ร ง ง า น ที่ ถู ก ลื ม . [ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http://voicelabour.org/คนไร้บ้าน-แรงงานที่ถูกล/ . สืบค้นวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๐.

4 - 10


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 “ ‘ลุ งเจิ ด ’เป็ น ชายวัยใกล้ ห้ าสิ บ ทะเบียนประวัติ ของลุ ง ถู ก คัด ออกจาก ทะเบียนบ้านเดิมไปอยู่ในทะเบียนกลางของจังหวัดเชียงใหม่ 39 ลุงเล่าว่าพ่อแม่เคย เป็นคนยโสธรแต่ย้ายไปทางานที่กรุงเทพฯ ลุงเรียนจบ ม.6 ที่โรงเรียนบางกะปิ และ เคยเป็นช่างปูนในบริษัทก่อสร้างชื่อดังแห่งหนึ่ง เมื่อบริษัทได้งานรับเหมาก่อสร้างที่ จังหวัดเชียงใหม่เมื่อราวยี่สิบปีที่แล้ว ลุงเจิดได้ย้ายมาทางานที่เชียงใหม่ด้ว ยชีวิ ต ของลุงเจิดผกผันเพราะเกิดอุบัติเหตุขณะทางาน ลุงตกมาจากนั่งร้านก่อสร้าง ต้อง รักษาตัวอยู่นาน แต่สภาพร่างกายก็ไม่ได้กลับมาปกติได้เหมือนเดิม แม้จะยังคงเดิน ได้ แต่แข้งขาก็อ่อนแรง นั่งนานไม่ได้ และต้องนอนคว่า มิฉะนั้นกระดูก จะทั บ เส้นประสาททาให้ปวดหลัง ในช่วงที่บ ริษัทยังทางานก่อสร้างไม่เสร็จ ทางบริษัทได้ จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ แต่เมื่องานก่อสร้างสิ้นสุดลงบริษัทก็ย้ายกลับไป ลุงเจิด ต้องเลี้ยงตัวเองด้วยการเก็บของเก่าขายและอาศัยอยู่กับฝรั่งคนหนึ่ง ก่อนที่จะมาอยู่ ที่ศูนย์พักคนไร้บ้าน และขอทานหาเลี้ยงตัวเองเมื่อสภาพร่างกายย่าแย่ลงกว่าเดิม เอ็น เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ.) ที่เป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายคนไร้ บ้านในจังหวัดเชียงใหม่เล่าว่า ลุงเจิดอยากทาบัตรคนพิการเพื่อจะได้รับเบี้ยยังชีพ เขาช่วยค้นข้อมูลจากระบบทะเบียนทางการพบชื่อและเลขประจาตัว 13 หลักของ ลุง แต่ไม่ปรากฏภาพของลุงเจิดขึ้นมาในคอมพิวเตอร์ และทางการไม่ยอมรับให้ เจ้าหน้าที่ มพศ. เซ็นรับรองตัวตน ลุงเจิดจึงทาบัตรประชาชนไม่ได้ แต่ได้รับสิทธิ รักษาพยาบาลจากการที่ มพศ. ทาหนังสือขอความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาล มหาราชนครเชีย งใหม่ การเดินเรื่องกับ ทางเทศบาลนครเชีย งใหม่เ พื่ อ ท าบั ต ร ประชาชนยังไม่ทันมีความคืบหน้า แต่ลุงเจิดก็เสียชีวิตไปเสียก่อน”40 จากกรณีศึกษาข้างต้นเห็นได้อย่างชัดเจนว่า คนไร้บ้านเมื่อได้รับการดูแลจากศูนย์พักพิงก็ตาม แต่เมื่อจาต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ปัญหาการขาดเอกสารระบุตัวตนเช่นบัตรประจาตัวระชาชน หรือเลขประจาตัว 13 หลัก ได้ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาล ที่ทางโรงพยาบาล จาเป็นที่จะต้องใช้เป็นหลักฐานประกอบในการรักษา และยังคงต้องดาเนินกระบวนการผลักดันให้คนไร้ บ้ า นมี บั ต รประจ าตั ว ประชาชน ที่ จ ะต้ อ งใช้ ร ะยะเวลาสั ก พั ก ในการพิ สู จ น์ สิ ท ธิ จ ากทางราชการ นอกจากนี้กรณีศึกษานี้จะเห็นถึงความพยายามในการให้ความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ หรือพี่เลี้ยงของ เครื อข่ายคนไร้ บ้ าน ที่ส ะท้อนให้ เห็ นช่องทางในการผลั ก ดันให้ คนไร้บ้านได้รั บการรัก ษาพยาบาล ผ่ า นวิ ธี ก ารขอความอนุ เ คราะห์ จ ากโรงพยาบาล ซึ่ ง วิ ธี ก ารดั ง กล่ า วย่ อ มขึ้ น อยู่ กั บ ดุ ล ยพิ นิ จ ของ โรงพยาบาลเป็นรายกรณีไป 39

ทะเบียนบ้านกลาง คือ ทะเบียนที่สานักทะเบียนจัดทาขึ้นสาหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้ ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น เจ้าบ้านไปแจ้งย้ายบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านของตนเองแต่ไม่มีตัวตนออกจากทะเบียนบ้าน หรือ เจ้าบ้ายซื้อบ้านต่อจากผู้อื่นแล้วย้ายชื่อที่ค้างออกจากทะเบียนบ้ าน เป็นต้น เมื่อชื่อคนเหล่านั้นถูกย้ายออกจาก ทะเบียนบ้านโดยไม่มีที่ไปทาให้บุคคลนั้นกลายเป็นบุคคลตกหล่นไม่อาจมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปกติได้จึงต้องนาชื่อ บุคคลนั้นไปไว้ในทะเบียนบ้านกลาง 40 อัจฉรา รักยุติธรรม. (๒๕๕๙). “คนไร้บ้านการเดินทางสู้ความโดดเดี่ยว”. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจากัดภาพพิมพ์. หน้า ๕๗ – ๕๙

4 - 11


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 1.2. กรณีศึกษาด้านสิทธิการศึกษา จากการศึกษาจะพบว่า คนไร้บ้านจานวนหนึ่งจะมีลูกเกิดขึ้นก่อนและระหว่างเป็นคนไร้บ้าน และการเลี้ยงเด็กในสภาวะเช่นที่ยากไร้ และไม่มีที่อยู่อาศัยจึงทาให้มีคนไร้บ้านจานวนหนึ่งที่ฝากลูกไว้ กับสถานสงเคราะห์เด็กกาพร้า จึงทาให้ลูกของคนไร้บ้านบางคนประสบปัญหาในการศึกษาเล่าเรียน ดัง กรณีนี้ “ ‘หน่ อ ย’และ‘ชมพู่ ’ เด็ ก สาวรุ่ น ราวคราวเดี ย วกั น ที่ มั ก พบเจอตามสถานที่ ที่ เครือข่ายคนไร้บ้านไปจัดกิจกรรม ถือเป็นกรณีตัวอย่างด้านสิทธิการศึกษาที่ต่างกัน ได้ เ ป็ น อย่ า งดี เริ่ ม ต้ น จาก ‘หน่ อ ย’ก็ เ ป็ น เด็ ก อี ก คนที่ ต้ อ งออกมาจากสถาน สงเคราะห์ตอนที่เรียนอยู่ ป. 2 และเมื่อต้องการเข้าเรียนต่อในโรงเรียน จึงทาให้ หน่อยต้องติดขัดเรื่องเอกสารที่ต้องในการเข้าเรียน เพราะหน่อยไม่ได้ย้ายชื่อทาง ทะเบียนออกจากสถานสงเคราะห์ ทาให้เธอต้องหยุดเรียนพักใหญ่ และต่อมาจึง เลือกเข้าศึกษาในระบบนอกโรงเรียนจนตอนนี้เธอยังไม่จบชั้น ป.6 เพียงแค่อ่าน ออกเขียนได้บ้าง41 แต่สาหรับ ‘ชมพู่’ ความโชคดีของเธออยู่ตรงที่ชมพู่สามารถเรียนต่อเนื่องมา เรื่อยๆ เพราะไม่มีปัญหาเรื่องทะเบียนบ้านและเอกสารหลักฐานทางการเรียน จึงทา ชมพู่สามารถศึกษาต่อในโรงเรียนได้อย่างราบรื่น”42 ความแตกต่างของหน่อยและชมพู่ ได้ทาให้เห็นตัวอย่างของความสาคัญด้านเอกสารหลักฐานที่ ใช้แสดงตัวตน เพื่อให้ได้รับสิทธิในการศึกษา เพื่อที่จะสามารถศึกษาเล่าเรียนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัญหา การขาดหลักฐานยืนยันดังกล่าว แม้จะดูเป็นเพียงเอกสารที่เรื่องเล็กน้อย แต่ก็ถือเป็นหัวใจสาคัญที่ สถานศึกษาจะใช้เป็นเกณฑ์ในการรับเด็กเข้าศึกษา 1.3 กรณีศึกษาด้านสิทธิการได้รับเบี้ยเลี้ยงยังชีพ เบี้ยยังชีพ เป็นสวัสดิการที่รัฐกาหนดจัดสรรให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ซึ่งเป็นสิทธิที่มีรากฐานจาก รัฐธรรมนูญซึ่งกาหนดให้รัฐดูแลและอุปถัมภ์ให้กับประชากรกลุ่มนี้ แต่ในทางปฏิบัติกลั บพบว่า การ เข้าถึงสิทธิดังกล่าวยังคงมีข้อจากัดในเรื่องการแสดงหลักฐานยืนยันตัว ดังที่เกิดขึ้นกับกรณีของ “ลุง เครา” คนไร้บ้าน “‘ลุงเครา’ เป็นคนไร้บ้านคนหนึ่งที่ประสบกับปัญหาเรื่องบัตร ลุงเคราเล่าให้ฟังว่า ตอนเริ่มเป็นคนไร้บ้าน หลับนอนในพื้นที่สาธารณะ เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว บัตรที่แสดงตัวตนของลุงเคราหายไปทั้งหมด ไม่ว่า บัตรประชาชน บัตรทหารผ่าน ศึก ใบขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รวมถึงรถสิบล้ อ ซึ่งเป็นในขับขี่ตลอดชีพก็ไม่มี เหลือ ทาให้ขาดเครื่องมือมายืนยันสิทธิและตัวตนของลุงเครา โดยเฉพาะสิทธิทหาร ผ่านศึก ที่ได้มีสวัสดิการพิเศษทั้งทางสุขภาพและสังคม จนเมื่อเครือข่ายคนไร้บ้าน และมู ล นิ ธิ พั ฒ นาที่ อ ยู่ อ าศั ย ได้ พ าไปท าบั ต รประชาชน ท าให้ ลุ ง เครามี บั ต ร ประชาชนใบใหม่ นาห้อยคอไว้พกติดตัวตลอดเวลาเพื่อป้องกันการสูญหาย ซึ่งการ 41 42

เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๐๙. เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๑๐.

4 - 12


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 มีบัตรประชาชนนี้ ทาให้ลุงเคราสามารถไปดาเนินการทาบัตรทหารผ่านศึกที่จังหวัด ลพบุ รี ได้ ซึ่งลุ งเคราจะได้รับสวัสดิการทหารผ่ านศึก หากมีบัตรใบนี้การได้บัตร ประชาชนของลุงเครา อาจเปรียบได้ว่าเป็นการ ‘พลิกชีวิต’ ที่มาพร้อมกับสิทธิต่างๆ ที่โยงกับบัตรประชาชน ไม่ว่าเป็น สิทธิทางสุขภาพ สิทธิทางทหารผ่านศึก และสิทธิ ผู้สูงอายุ”43 จะเห็นได้ว่าความสาคัญของบัตรประชาชนได้กลายเป็นหลักฐานสาคัญอย่างมาก ที่หน่วยงานรัฐใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันสิทธิเพื่อจะได้รับการดูแลจากรัฐ ซึ่งบัตรเพียงใบ เดียวของลุงเครา ได้ทาให้ลุงสามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการของรัฐในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สิทธิการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ หรือทหารผ่านศึก และในทางกลับกันหากคนไร้บ้านที่เป็น ผู้สูงอายุที่ไม่มีบัตรประชาชนหรือเอกสารแสดงตัวอื่น ๆ ก็จะทาให้การเข้าถึ งสวัสดิการของรัฐ ยากเป็นไปได้ยากกว่า 1.4 ปัญหาจากทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐ ในปัจจุบันภาครัฐได้ตระหนักต่อสิทธิและปัญหาของคนไร้บ้านมากขึ้น โดยมีความพยายามที่ ช่วยเหลือให้คนไร้บ้านเข้ามาลงทะเบียนเพื่อทาบัตรประชาชน แต่กระนั้นด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า การ ลงทะเบียนเพื่อทาบัตรประชาชนใหม่ จะต้องมีการใช้หลักฐานประกอบยืนยันตัวบุคคล และต้องมีคน รับรองเป็นหลัก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์บางอย่างที่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ใช้เป็น เกณฑ์ ใ นการยอมรั บ พยานหลั ก ฐานเหล่ า นั้ น จึ ง มี ก รณี ศึ ก ษาอี ก หนึ่ ง กรณี ที่ ท าให้ ก ารจั ด ท าบั ต ร ประชาชนใบใหม่ของคนไร้บ้านไม่อาจลุล่วงสาเร็จได้ดังนี้ “ เช้าวันที่ 14 พฤษภาคม 2558 ที่ลานหน้าศาลหลักเมืองจังหวัดขอนแก่น คนไร้ บ้ า นหลายคนมาร่ ว มกิ จ กรรม ‘การพบปะคนไร้ บ้ า น จ.ขอนแก่ น ครั้ ง ที่ 3’ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายองค์กรร่วมพันจัดขึ้น และมีคาบอกต่อ ๆ กันว่า จะมีการทาบัตรประชาชนให้ หน่อย เยาวชนคนไร้บ้าน ทาหน้าที่รับลงทะเบียนเธอบอกให้คนไร้บ้านเขียนชื่อ ที่ อยู่ ของตนเองในใบลงทะเบียนผู้ที่ไม่มีบัตรประชาชนให้เขียนลงไปด้วยว่า “ไม่มี บัตร” จนกระทั่งถึงเวลาที่หลายคนรอคอย พี่อี๊ดประกาศให้ผู้ที่ไม่มีบัตรประชาชน ไปรวมตัวแล้วพากันเดินไปที่เต็นท์ของเทศบาล ‘ต้องมีหลักฐาน หรือไม่ก็มีคนมารับรอง’ เจ้าหน้าที่เทศบาลขอนแก่นคนหนึ่ งที่ เต็นท์กล่าวย้าหลายครั้ง ‘นี่บัตรหมดอายุมานานแล้ว ต้องมีคนมารับรองด้วยเหมือนกัน ’ เจ้าหน้าที่คนเดิม กล่าวกับคนไร้บ้านอีกราย พร้อมกับยื่นบัตรประชาชนเก่า ๆ ใบนั้นคืนให้ ลุงวัยหกสิบเศษเดินงกๆ เงิ่นๆ เข้าไปเจรจา ‘ผมเป็นคนที่นี้ อยู่ที่ขอนแก่นนี่ล่ะ’ แก พูดด้วยสาเนียงภาษาอีสาน 43

อ น ร ร พิ ทั ก ษ์ ธ า นิ น . (๒ ๕ ๕ ๘ ). “ ค น ไ ร้ บ้ า นแ ล ะ ค น ไ ร้ บั ต ร ” . [ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.aftershake.net/?p=๑๕๖๐. สืบค้นวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐.

4 - 13


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 เจ้าหน้าที่เทศบาลยังคงย้าคงเดิม ‘ต้องมีหลักฐานหรือมีคนมารับรอง’ ลุงได้แต่พยัก หน้าหงึกๆ แต่ดวงตาสับสนไร้ความหวัง ‘มีญาติไหม เคยเรียนหนังสือหรือเปล่า ทะเบียนบ้านมีไหม’ เจ้าหน้าที่ถาม ลุงพยักหน้า ‘เรียนจบ ป.4 ที่โรงเรียน...’ ลุงตอบ ‘ถ้าอย่างนั้นไปที่โรงเรียน ไปขอหลักฐานมา...’ ...ลุงผู้ต้องการทาบัตรประชาชนพยักหน้าแบบงงๆ แล้วค่อยๆ ถอยหลังออกมาจาก โต๊ะของเจ้าหน้าที่เทศบาล ในที่สุดผู้ไม่มีบัตรประชาชนทั้งหมด ทาได้เพียงการเขียนชื่อและนามสกุลรวมกันไว้ ในแผ่นกระดาษยับย่นใบหนึ่ง แล้วยื่นให้เจ้าหน้าที่เทศบาล เจ้าหน้าที่รับปากว่าจะ นาไปตรวจสอบให้ว่า ชื่อเหล่านั้นปรากฏอยู่ในทะเบียนราษฎร์หรือไม่เรื่องจบแค่นั้น ไม่มีกาหนดเวลา ไม่มีการนัดหมายว่าคนไร้บ้านซึ่งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง จะมารับ ฟังคาตอบจากเจ้าหน้าที่ได้ที่ไหนและเมื่อไหร่”44 จากกรณีศึกษาทั้งสี่กรณีสะท้อนปัญหาที่คนไร้บ้านต้องพบเจอเมื่อปราศจากบัตรประชาชน ไม่ ว่าจะเป็นด้านสิทธิการรักษาพยาบาล การศึกษาเล่าเรียน หรือการได้เบี้ยยังชีพ ที่แสดงให้เห็นว่าแม้จะมี กฎหมายออกมาเพื่ อ แก้ ไ ขปั ญหาคนไร้บ้ านด้า นที่ พั ก พิ ง อาศัย หรือการสร้างงานสร้ า งอาชี พ การ อานวยการด้ านสุ ข ภาพ หรื อการจั ดท าบั ตรประชาชนใบใหม่ ขึ้น ก็ ต าม การขาดไร้ บัต รประชาชน กลายเป็นอุปสรรคและเป็นปัจจัยสาคัญ ที่หน่วยงานของรัฐใช้เป็นสิ่งพิจารณาเป็นอันดับหนึ่ง ฉะนั้น ปัญหาของคนไร้บ้านนอกจากจะมีปัญหาทางสภาพจิตใจ สภาพแวดล้อมที่บีบบังคับให้พวกเขาต้อง ออกมาเป็นคนไร้บ้านแล้ว ปัญหาจากรัฐเองก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ลดทอนการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐ เช่น กัน ที่ทาให้ คนไร้ บ้ านต้องสู ญเสี ยสิ ทธิและโอกาส การได้รับสวัส ดิการอันพึงได้เหล่ านั้นในการ ดารงชีวิต ฉะนั้น การทางานของเจ้าหน้าที่รัฐผู้ซึ่งมีหน้าที่อานวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงจะต้อง คานึงถึงบริบทและเข้าใจสภาพความเป็นอยู่ของคนไร้บ้าน ที่มีเงื่อนไขจากัดมากกว่าประชาชนโดยทั่วไป 2) ปัญหาของคนไร้ที่พึ่งข้ามชาติ การที่ประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทย ไม่ว่าจะมาจากกรณีการเข้ามา เป็นแรงงาน อพยพถิ่นฐาน หรือการลักลอบเข้าประเทศ การเข้ามาด้วยวิธีต่างๆ เหล่านี้หากปราศจาก เอกสารแสดงตัวตนที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหากคนกลุ่มนี้กลายเป็นคนเร่ร่อน และขอทาน ย่อมจะ กลายเป็นกลุ่มที่ถูกเพ็งเล็ งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไทยอยู่เสมอ ช่องว่างดังกล่าวก่อให้ เกิดปัญหาด้ าน อาชญากรรมตามมาไม่ว่าจะเป็นปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาด้านยาเสพติด เป็นต้น นอกจากนี้ เด็กที่เกิดจากคนไร้บ้านข้ามชาติยังตกอยู่ในสถานะ “เด็กไร้สัญชาติ” ตามที่ได้กล่าว ไว้ในแล้วข้างต้นซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่อยู่ในสายตาของกฎหมายไทย เนื่องจากไม่ถูกนับว่าเป็นประชากรของ รัฐไทย ส่งผลให้เด็กที่เกิดจากคนกลุ่มนี้ไม่ได้รับสิทธิการเป็นพลเมือง และไม่ได้รับความคุ้มครองทาง กฎหมาย ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษซึ่งมีอาณาบริเวณติด กับชายแดน เช่น อาเภอ แม่สอด จังหวัดตาก ที่พบปัญหาการเข้ามาเร่ร่อนของกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อน 44

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (40), หน้า ๑๙๕ – ๑๙๖.

4 - 14


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 (ชาวพม่าและชนกลุ่มน้อย) ที่อพยพมาจากพม่า สิ่งที่ตามมากับการไม่ได้รับสิทธิและสวัสดิการของรัฐ ไทยส่งผลให้คนกลุ่มนี้มีความเป็นอยู่ที่ไม่ปลอดภัย ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจนามาซึ่งปัญหาโรคติดต่อ โรค ระบาด และปัญหาการค้ามนุษย์ ดังกรณีนี้ “ชุมชนหลังมัสยิด เป็นชาวมุสลิมที่อพยพมาจากพม่า อยู่ในชุมชนนี้มานาน แล้ว และกาลังที่จะต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น แต่กลุ่มนี้ส่วนมากแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว จะพากันมาขอเงินที่ซอยนานาในกรุงเทพฯ ซึ่งมีครอบครัวหนึ่งมาทางานในกรุงเทพ ตั้งแต่รุ่นแม่จนมารุ่นลูกกว่า 20 ปี และเพิ่งโดนจับในกรณีการค้า มนุษย์เมื่อปี พ.. 2556 เพราะเด็กที่ไปขายดอกไม้เป็นหลาน เมื่อตรวจ DNA ออกมาจึงพบว่าเป็น การค้ามนุษย์ ที่บังคับให้หลานทางาน ตามสภาพความเป็นจริง คนกลุ่มนี้รวมตัวกันอยู่ที่ชุมชนมีนบุรีซึ่งมีญาติที่เคย อยู่ในชุมชนแล้วแต่งงานมีครอบครัว จึงพักอาศัยอยู่ในชุมชนซึ่งตกกลางคืนก็จะพา ลูกหลานออกไปขายดอกไม้ ขายลูกอม หรือเด็กเล็กๆ ไปขอทาน ณ ซอยนานาซึ่ง เป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้เด็ก เหล่านี้ไม่ค่อยได้เรียนหนังสือ และเมื่อเด็กโตขึ้นแต่ละครอบครัวจะพาลูกไปทางาน ด้วย ส่วนมากจะเป็นงานเก็บขยะขาย รวมถึงเป็นกรรมกรก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมี กลุ่มเด็กผู้หญิงที่เข้ามาขอทานในพื้นที่กรุงเทพฯ แล้วขายบริการทางเพศ ส่งผลให้ เด็กภายในชุมชนเกิดการเรียนแบบ และใช้ชีวิตเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด เมื่อเด็กหญิงกลุ่มนี้กลับเข้ามาในชุมชนจึงมีโอกาสเสี่ยงที่เด็กเหล่านี้ จะพาโรคติดต่อทางเพศกลับเข้ามาด้วย”45 จากกรณีตัวอย่างข้างต้นได้สะท้อนให้เห็นปัญหาการเข้ามาในประเทศไทย ของประชากรจาก ประเทศเพื่อนบ้าน ที่ไม่มีเอกสารแสดงตัวตนอย่างถูกต้องตามกฎหมายของรัฐ เมื่อเข้ามาแล้วเกิดการ อพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อหาเลี้ยงชีพไปยังพื้นที่อื่น ทาให้เด็กจาเป็นที่จะต้องเร่ร่อนติดตามครอบครัว การที่ เด็กหรือครอบครัวของประชากรเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายของรัฐไทย ได้ทาให้คนกลุ่มนี้ กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ และปัญหาอาชญากรรมด้านอื่น ๆ ทั้งยังเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการแพร่ ระบาดของโรคซึ่งย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อสังคมไทย การเข้าไม่ถึงสิทธิด้านการศึกษาของกลุ่มเด็ก เร่ร่อนได้ส่งผลให้ เด็กเหล่านี้กลายเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์เช่นกัน แต่หากมีการจดขึ้น ทะเบียนหรือการออกแบบระบบที่เหมาะสมต่อการขึ้นทะเบียนของคนกลุ่มนี้ ย่อมเป็นช่องทางหนึ่งที่จะ ช่วยส่งเสริมทาให้คนกลุ่มนี้ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายของรัฐไทยมากยิ่งขึ้น และหากมีการพัฒนา ศักยภาพด้านการศึกษาร่วมกับ ระบบสาธารณสุข ดังเช่นโครงการสร้างเสริมสุขภาวะประชากรข้ามชาติ โดยระบบการศึกษา มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มยช.) ที่ผลักดันให้เด็กไร้สัญชาติเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อให้ได้เข้าถึงสิทธิด้านสาธารณะสุข 46ย่อมเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายเพราะเด็กกลุ่มนี้ย่อมจะสร้าง

45

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก. (๒๕๕๘). “โอกาสทางการศึกษาของเด็กเร่ร่อนแม่สอด”. [ข้อมูลออนไลน์ ] แหล่งข้อมูล: http://www.fblcthai.org/?name=news&file=readnews&id=๑๕. สืบค้นวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. 46 โพสทูเดย์. (2560). ระนองโมเดล เชื่อมโยงการศึกษาไทย-เมียนมา. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.posttoday.com/life/life/497343 สืบค้นวันที่ 14 ธันวาคม 2560

4 - 15


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 อนาคต และสังคมความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่สังคมไทย เพราะจะเป็นการลดปัญหาอาชญากรรม รวมถึง ปัญหาด้านอื่น ๆ ที่ตามมา 1.2 ข้อเสนอแนะ หากคุณค่าของความเป็นมนุษย์อยู่ที่การมองว่ามนุษย์ทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน การปฏิบัติต่อ บุคคลเหล่านั้นจะต้องมีความเสมอกันในฐานะความเป็นมนุษย์ แต่เมื่อมองสถานะของ “คนไร้บ้าน” ใน ความเป็นมนุษย์จะพบว่า นอกจากเขาเหล่านี้จะไม่มีที่อยู่อาศัยอย่างเป็นหลักแหล่ง และเป็นบุคคลที่ ต้องให้การช่วยเหลือ จึงทาให้สถานะของพวกเขาเหล่านี้กลายเป็นบุคคลที่อยู่ในสภาวะชายขอบของ สังคมที่ถูกมองว่าไร้คุณค่า และไร้ตัวตน ฉะนั้น การที่รัฐไทยรับรองสิทธิของคนไร้บ้านในไว้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ทั้งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 และพระราชบัญญัติควบคุม การขอทาน พ.ศ. 2559 กลายเป็ น สิ่ งสะท้อนว่ารัฐ ตระหนัก ถึงปั ญหาของคนไร้บ้า น และมีความ พยายามที่จะช่วยเหลือให้คนกลุ่มสามารถกลับเข้าสู่สังคมและดาเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 จะพบหน้าที่ของรัฐในการจัดสวัสดิการ ด้วยการกาหนดให้มีการจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในเขตพื้นที่ที่ให้ความคุ้มครอง โดยกาหนดให้กรม พัฒนาสวัสดิการ มีหน้าที่รับผิดชอบการดาเนินของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 47และกาหนดให้สถาน คุ้มครองคนไร้ ที่พึ่งมีอานาจในการ ส ารวจ ติดตาม สื บเสาะข้อมูล ของคนไร้ที่พึ่ง จัดหาที่พักอาศัย อาหาร ฯลฯ48 ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีที่รัฐพยายามจะจัดสรรสวัสดิการให้แก่คนไร้บ้าน แต่กระนั้นหน่วยงาน

47

พระราชบัญญัติคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. ๒๕๕๗ มาตรา ๑๓ “ในกรณีที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เห็นสมควรจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ในเขตพื้นที่ใด หรือเห็นสมควรให้สถานสงเคราะห์ใดที่ดาเนินการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเป็นสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้ เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาประกาศการจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ประกาศการจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้กาหนดเขตพื้นที่ที่ให้การคุ้มครองไว้ด้วย ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมีหน้าที่รับผิดชอบการดาเนินงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง” 48 พระราชบัญญัติคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. ๒๕๕๗ มาตรา ๑๔ “สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมีอานาจหน้าที่ในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ต่อไปนี้ (๑) สารวจและติดตามสภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ (๒) สืบเสาะข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งที่ขอรับการคุ้มครองหรือที่ถูกส่งตัวมายังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตาม มาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๒ และให้การคุ้มครอง รวมทั้งรับตัวคนไร้ที่พึ่งไว้ (๓) จัดให้มีที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ จัดให้มีการตรวจสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ฝึกอบรมและฝึกอาชีพ รวมทั้งอาชีพให้แก่คนไร้ที่พึ่ง (๔) ประสานงานเพื่อจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองคน ไร้ที่พึ่งประเภทนั้น (๕) ให้คาปรึกษา แนะนา และช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในด้านการดารงชีวิต ด้านกฎหมาย หรือด้านอื่น เพื่อให้ สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป (๖) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง (๗) ดาเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการกาหนด

4 - 16


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ภาครัฐต้องตระหนักเสมอว่า คนไร้บ้านมิใช่คนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เพราะมีคนไร้บ้านจานวน มากที่สามารถทางานหาเลี้ ยงชีพด้ว ยตนเอง แต่สิ่งที่คนไร้บ้านต้องการคือ การแก้ไขเยียวยาสิทธิ ที่ บกพร่องหรือขาดหายในการเข้ารับสิทธิขั้นพื้นฐานจากภาครัฐ ซึ่งตัวกลางในการเชื่อมให้คนไร้บ้าน สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้นั้นคือ “บัตรประชาชน” ที่จะทาให้คนกลุ่มนี้เข้าถึงการบริการจากรัฐ ได้อย่างเท่าเทียมกับคนในสังคมได้อย่างแท้จริง ฉะนั้น หากภาครัฐตระหนักถึงความสาคัญของปัญหา การสูญเสียบัตรประชาชนของคนไร้บ้านแล้ว คงจะเกิดกลไกความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐเข้ามา แก้ไขปัญหา พิสูจน์ ตรวจสอบสถานะบุคคลของคนไร้บ้ าน ซึ่งเป็นกลไกที่จะต้องดาเนินควบคู่ไปกับ กระบวนการฟื้นฟูดูแลซึ่งภาครัฐได้ดาเนินมาแล้ว เพื่อที่จะทาให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน ที่มีประสิทธิผลเพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้านแก้ไขปัญหาของคนไร้ที่พึ่งข้ามชาติ หลักการพื้นฐานในการดูแลประชาชนของรัฐ มักจะ จากัดอยู่เพียงการดูแลการดูแลตามสัญชาติของรัฐนั้น ๆ เสมอ แต่หากคานึงถึงความมีมนุษยธรรมและ การปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จะพบว่าการให้ความดูแลคุ้มครองด้านการบริการ สาธารณสุข การศึกษา การได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม เสมอภาค และเคารพศักดิ์ศรีความมนุษย์ ยัง เป็นหลักการพื้นฐานที่รัฐทุกรัฐ ควรจะปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และหากรัฐไทยให้ความสาคัญและ พยายามจัดสรรสิทธิและสวัสดิการให้กับคนเหล่านี้ย่อมจะส่งผลทางอ้อมที่สาคัญคือ การมีประชากรใน สังคมที่มีคุณภาพ ลดปัญหาอาชญากรรม ลดปัญหาโรคติดต่อและโรคระบาด ซึ่งจะเป็นการปกป้องและ พัฒนาสังคมไทยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต ทั้งนี้ หากรัฐไทยพยายามหาแนวทางการ แก้ไขปัญหาร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างระบบในการดูแลประชากรอาเซียนให้ได้รับความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็จะเป็นอีกทางหนึ่งในการแสวงหาทางออกต่อการลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทย

การปฏิบัติงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกาหนด ทั้งนี้ ให้คานึงถึง การส่งเสริมให้คนไร้ที่พึ่งสามารถดารงชีวิตอิสระในชุมชนและการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของคนไร้ที่พึ่ง ด้วย”

4 - 17


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 2. ประเด็นการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพของคนไร้บ้าน สิทธิด้านสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีความจาเป็นสาหรับมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ กายหรือสุขภาพจิต ต่างเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์ เมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้นระบบ การบริการสาธารณสุขของรัฐในเรื่องการรักษาพยาบาล จึงควรจะเป็นสิ่งแรกที่ประชาชนทุกคนสามารถ เข้าถึงได้ เพราะสิทธิด้านสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่รัฐมีหน้าที่ต้องจัดหาให้แก่ประชาชนของตน ไม่ ว่าจะในรูปแบบของสวัสดิการหรือหลักประกันสุขภาพก็ตาม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสิทธิด้านสุขภาพจะ สิทธิขั้นพื้นฐานที่ถูกรับรองไว้ในกฎหมาย ทั้งกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน แต่ในความ เป็นจริงยังมีประชาชนอีกจานวนหนึ่ง ที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขตามสวัสดิการ หรือระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของรัฐได้ คนไร้บ้านจัดอยู่ในกลุ่มประชาชนที่ต้องประสบปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิด้านสุขภาพ เนื่องจาก สิทธิในการรักษาพยาบาลของรัฐนั้น ผูกติดอยู่กับบัตรประจาตัวประชาชนหรือเอกสารยืนตัวบุคคลทาง ทะเบียนราษฎร ซึง่ ปัจจุบันมีคนไร้บ้านประมาณร้อยละ 25 ที่ไม่มีบัตรประจาตัวประชาชนหรือเอกสาร ยืนยันตัวตนทางทะเบียน49 การไม่มีหลักฐานทางทะเบียนดังกล่าว เป็นอุปสรรคสาคัญที่ทาให้คนไร้บ้าน ไม่ ส ามารถเข้ า ถึ ง สิ ท ธิ ใ นการรั ก ษาพยาบาลของตนเองได้ เมื่ อ เข้ า ไม่ ถึ ง สวั ส ดิ ก ารรั ฐ ในเรื่ อ งการ รักษาพยาบาลแล้ว ทาให้ความเจ็บป่วยของคนไร้บ้านมีต้นทุนที่ต้องจ่าย ซึ่งคนไร้บ้านส่วนใหญ่มีอาชีพที่ มีรายได้ไม่แน่นอน เช่น เก็บของเก่า รับจ้างทั่วไป พนักงานรักษาความปลอดภัย ฯลฯ หรือบางรายอาจ ไม่มีรายได้เลย ดังนั้น การจะหาเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล แม้เพียงหลักสิบหรือหลักร้อยบาทนั้น จึง ไม่ใช่เรื่องง่าย สาหรับคนที่มีต้นทุนทางสังคมน้อยกว่าคนทั่วไปอย่างคนไร้บ้าน นอกจากนี้วิถีชีวิตที่ต้อง ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สาธารณะตลอดเวลา ทาให้คนไร้บ้านมีความเสี่ยงสูงต่อการติดโรคต่างๆ มากกว่าคนมี บ้านทั่วไป มีคนไร้บ้านหลายคนที่ต้องจบชีวิตลงก่อนวัยอันควร เนื่องจากความเจ็บป่วยที่ไม่สามารถ เข้าถึงการรักษาได้ 2.1 สภาพปัญหาด้านสุขภาพของคนไร้บ้าน บุคคลที่ต้องใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะโดยการเร่ร่อนและไร้ที่พึ่งเฉกเช่นคนไร้บ้าน ย่อมมีภาวะ เสี่ยงด้านสุขภาพหลายประการ เช่น การมีโภชนาการที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพใน ระยะยาว การใช้ยาหรือสารเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาสุขภาพจิต ภาวะโรคซึมเศร้า รวมถึงภาวะเสี่ยงต่อการพิการ ทุพพลภาพ และการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยภาวะความเจ็บป่วยเหล่านี้จะมัก มีอาการที่รุนแรงและซับซ้ อนในการรักษามากกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากตัวผู้ป่วยเองมีข้อจากัดในการ เข้าถึงบริการทางการแพทย์ ทั้งนี้การเป็นบุคคลที่ไร้สถานะในการเข้ารับการรักษาพยาบาล ประกอบกับ ความยากลาบากทางเศรษฐกิจ บริบทเหล่านี้ส่งผลให้ปัญหาทางสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตของผู้ใช้

49

อนรรฆ พิทักษ์ธานิน และคณะ. (2560). 8 เรื่อของ ‘คนไร้บ้าน’ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ . นักข่าวพลเมือง. [ข้อมูล ออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.citizenthaipbs.net/node/20410 สืบค้นวันที่ 6 ธันวาคม 2560

4 - 18


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ชีวิตในพื้นที่สาธารณะมีความซับซ้อนและเรื้อรังมากขึ้น50 เนื่องจากคนไร้บ้านเป็นกลุ่มบุคคลที่มีวิถีชีวิต ที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย หรือเป็นโรคติดต่อต่างๆ สูง แต่กลับเป็นกลุ่มบุคคลที่เข้าไม่ถึงระบบ ประกันสุขภาพของรัฐได้อย่างที่ควร มูลนิธิกระจกเงาเปิ ดเผยว่า บุคคลที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่สาธารณะ สามารถแบ่งออกเป็น 2 คือ คนหายและคนป่วยจิตเวช ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

ประเภท51

1. มีอาการป่วยทางจิตแบบไม่รู้ตัวว่าตัวเองเดินไปไหน จึงกลายเป็นคนหาย ซึ่งบางครอบครัวก็ ออกตามหา แต่บางครอบครัวก็ไม่ได้ออกตามหา เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจน ไม่สามารถเข้าถึง กระบวนการติดตามคนหาย หรือการรักษาทางจิตเวชได้ 0. มีปัญหาทางครอบครัว เช่น ไม่เหลือคนในครอบครัวต้องอยู่ตัวคนเดียว ครอบครัวมองว่า ผู้ป่วยจิตเวชเป็นภาระ หรือบางคนไม่อยากเป็นภาระของคนในครอบครัว จึงออกมาใช้ชีวิตอยู่คนเดียว คนที่ ใ ช้ ชี วิ ต อยู่ ใ นพื้ น ที่ ส าธารณะและมี อ าการป่ ว ยทางจิ ต ทั้ ง ที่ เ ป็ น อยู่ ก่ อ นแล้ ว หรื อ เป็น ภายหลังจากการออกมาใช้ชีวิตข้างถนนเป็นเวลานานก็ตาม ทาให้คนไร้บ้านในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชจัดอยู่ ในข่ายของกลุ่มเสี่ยงพิเศษ ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน เนื่องจากผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนจะสูญเสีย ความสามารถในการดูแลตัวเอง ต่างจากคนไร้บ้านทั่วไปที่สามารถหาทางเอาชีวิตรอดในพื้นที่สาธารณะ ได้ในระดับหนึ่ง ผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนมักจะมีอาการพูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว หวาดระแวง เห็นภาพ หลอน หรือหูแว่ว กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จึงจาเป็นต้องได้รับยาและการช่วยเหลือฟื้นฟู เพื่อไม่ให้สภาพจิตใจ และอาการแย่ลงกว่าเดิม ซึ่งนายแพทย์สันติชัย ฉ่าจิตรชื่น รองผู้อานวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาล ศรีธัญญา เปิดเผยว่า โรคที่คนเร่ร่อนเป็นมากที่สุดจะเป็นโรคจิตเภท ซึ่งทาให้คนไข้มีความผิดปกติทาง จิตเวช และก่อให้ร่างกายเกิดความผิดปกติหลายด้าน ซึ่งในการเข้ารับการรักษาทางโรงพยาบาลจะ ตรวจสอบเลขบัตรประจาตัวประชาชน 13 หลักของผู้ป่วยก่อน ถ้าได้เลขบัตรประจาตัวประชาชนแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) และหากแพทย์ ประเมินว่าผู้ป่วยเป็นผู้พิการทางจิตเวช ก็จะได้รับสิทธิผู้พิการด้วย ดังนั้น สิ่งที่สาคัญคือจะต้องหาเลข บัตรประชาชนของผู้ป่วยเร่ร่อนให้ได้52 นอกจากนี้ ผลสารวจของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า คนไร้ บ้านเป็นกลุ่มประชากรที่มีปัญหาทางสุขภาพมากกว่าค่าเฉลี่ยของสังคมไทยโดยรวม อาทิ ปัญหาโรค ประจาตัว โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มคนไร้บ้านมีจานวนถึงร้อยละ 51 ขณะที่คนทั่วไปมี จ านวนอยู่ ที่ร้ อยละ 20 ปั ญหาสุ ขภาพจิตที่ไม่รุนแรง (ไม่เป็นอันตรายต่อสั งคม) มีคนไร้บ้านป่ว ย ประมาณร้อยละ 70 ในขณะที่คนทั่วไปมีจานวนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 17 โรคประจาตัว โดยเฉพาะโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDS) มีคนไร้บ้านป่วยจานวนร้อยละ 31 ขณะที่คนทั่วไปอยู่ที่ประมาณร้อยละ 22 50

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ . (2559). รายงานฉบับ สมบูรณ์ การถอดบทเรียนการดาเนินการมาตรฐานการจัดการบริการคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง. หน้า 41 42 51 ไทยรัฐออนไลน์. (2558). คนจรจัดเกลื่อนกรุง EP.1 เร่ร่อน VS ป่วยจิต เจาะมูลเหตุกาเนิดคนข้างถนน!?. [ข้อมูล ออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.thairath.co.th/content/541696 สืบค้นวันที่ 14 กันยายน 2560 52 เพิ่งอ้าง

4 - 19


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 และปัญหาสุขภาพช่องปากมีคนไร้บ้านป่วยในจานวนร้อยละ 70 ส่วนคนทั่วไปมีจานวนอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 5053 เป็นต้น ความยากลาบากของคนไร้บ้านที่กว่าจะเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพของรัฐ เห็นได้ชัดในกรณีของป้า ไข่ “ป้าไข่เป็นคนไร้บ้านที่ไม่มีบัตรประจาตัวประชาชน แต่ได้รับบัตรประจาตัวผู้ ที่ไม่มี สถานะทางทะเบียน หลังจากที่กรุงเทพมหานครได้เปิดให้มีการลงทะเบียน “คนไร้รากเหง้า”54 เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ได้บัตรมาในเดือนมีนาคม 2555 ป้าไข่จึงมีสิทธิในการเข้ารับการ รักษาพยาบาลและสิทธิขั้นพื้นฐานอื่นๆ เช้าวันหนึ่งฉันพบป้าไข่นั่งสูดยาดมอยู่หน้าบ้าน และ บ่นเรื่องอาการป่วยไข้ที่แกไม่ได้ไปหาหมอ ป้าไข่มีโรคประจาตัวคือโรคหอบหืด เมื่อเป็นหวัดจึง ต้ อ งรี บ รั ก ษาให้ ห าย “จะเอาเงิ น ที่ ไ หนไป อย่ า งต่ าต้ อ งมี สั ก สองสามร้ อ ย” แม้ จ ะมี สิ ท ธิ รักษาพยาบาลฟรีแล้ว แต่การต้องไปโรงพยาบาลยังหมายถึง การต้องมีเวลามากพอที่จะหยุด ทามาหากิน มีค่ารถ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ”55 จากกรณีของป้าไข่เห็น ได้ว่า เส้นทางในการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของคนไร้บ้านไม่ใช่ เรื่องง่าย ป้าไข่ต้องใช้ระยะเวลาเกือบ 1 ปีเต็มกว่าจะรับบัตรประจาตัว เพื่อยืนยันสิทธิของตน หากไม่มี การลงทะเบียนคนไร้รากเหง้า เปิดช่องทางให้คนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนเหล่านี้ ให้กลับเข้ามาใน ระบบอีกครั้ง คงจะเป็นเรื่องยากที่ป้าไข่และคนไร้บ้านคนอื่นๆ จะมีโอกาสมีชื่อทางทะเบียนราษฎรและ เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง เมื่อคนไร้บ้านเป็นประชากรชายขอบของการเข้าถึงสิทธิในระบบประกันสุขภาพ การเยียวยา รักษาความเจ็บป่วยของตนเองจึงไม่ใช่เรื่องง่าย โดยสิทธิด้านสุขภาพที่คนไร้บ้าน ต้องเสียไปจากการเข้า ไม่ ถึ ง ระบบประกั น สุ ข ภาพของรั ฐ นั้ น มี สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ห ลายประการที่ จ าเป็ นต่ อ ผู้ ใช้ ชีวิต ในพื้นที่ สาธารณะซึ่งไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการใดๆ ได้ เช่น การเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การคุมกาเนิด การดูแลสุขภาพหญิงมีครรภ์ การคลอดบุตร การยาต้านไวรัสเอดส์ การรักษาโรคเรื้อรัง ต่างๆ เช่น เบาหวาน ไต เอดส์ มะเร็ง ฯลฯ

53

สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2560). คนไร้บ้านกว่า 3 หมื่นคน ยังเข้าไม่ถึงสิทธิขั้น พื้ น ฐาน. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.thaihealth.or.th/Content/37004-คนไร้ บ้ า นกว่ า % 203%20หมื่นคน%20ยังเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน.html สืบค้นวันที่ 14 กันยายน 0962 54 คนไร้รากเหง้าในที่นี้หมายถึง บุคคลที่ไม่ปรากฏบุพการี หรือบุพการีทอดทิ้งตั้งแต่วัยเด็ก ไม่มีเอกสารทางทะเบียน ราษฎร และไม่มีเลขบัตรประจาตัวประชาชน 13 หลัก ทั้งที่เป็นผู้เกิดในประเทศไทย หรือคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ใน ประเทศไทยก่อนวันที่ 18 มกราคม 2548 55

อัจฉรา รักยุติธรรม. (2559). คนไร้บ้าน การเดินทางสู่ความโดดเดี่ยว. กรุงเทพฯ : สานักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), หน้า 73

4 - 20


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 2.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิด้านสุขภาพ กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิด้านสุขภาพ ตามปฏิญญาสากลว่าด้ว ยสิ ทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) อันเป็นกฎหมายแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน ที่รับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนทั่ว โลก ซึง่ เป็นหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของปัจเจกชน ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ร่วมลงนาม รับรองปฏิญญาสากลฉบับดังกล่าวด้วย ทาให้ประเทศไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อประชาชนภายในรัฐ อย่างเสมอภาคและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยไม่มีการเลื อกประติบัติ ตามหลักการของ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 56 ส่วนในด้านสิทธิสุขภาพนั้น ปฏิญญาสากลฉบับนี้ยังคุ้มครองให้ มนุษย์ทุกคน ว่ามีสิทธิที่จะมีสุขภาพที่ดีและมีหลักประกันในยามเจ็บป่วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องดูแลสุขภาพของประชาชนของตน57 นอกจากนี้ ประเทศไทยยัง ได้เข้าร่ว มเป็นภาคีส มาชิก ในสนธิสัญญาด้านสิ ทธิมนุษยชนของ สหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิด้านสุ ขภาพ (The Right to Health) ของพลเมือง 3 สนธิสัญญา ด้ว ยกัน คือ กติ การะหว่า งประเทศว่า ด้ วยสิทธิ พลเมือ งและสิ ทธิ ทางการเมื อง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) กติ ก าระหว่ า งประเทศว่ า ด้ ว ยสิ ท ธิ ท าง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม(International Convent on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR)และ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติใน ทุ ก รู ป แบบ (Convention on the Elimination of all Forms of Racial Discrimination – CERD)58 ซึ่งการเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาดังกล่าวได้ก่อให้เกิดพันธกรณีที่ประเทศไทยจะต้องปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาเหล่านั้น ถือเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของ ประเทศไทยนั่นเอง 56

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และ ควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ ข้อ 2 ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพทั้งปวงตามที่กาหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกไม่ว่า ชนิดใด อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือทางอื่น พื้นเพทางชาติหรือสั งคม ทรัพย์สิน การเกิด หรือสถานะอื่น นอกเหนือจากนี้ จะไม่มีการแบ่งแยกใดบนพื้ นฐานของสถานะทางการเมือง ทาง กฎหมาย หรือทางการระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนที่บุคคลสังกัด ไม่ว่าดินแดนนี้จะเป็นเอกราช อยู่ใน ความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเอง หรืออยู่ภายใต้การจากัดอธิปไตยอื่นใด 57 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 25 (1) ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสาหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนและของ ครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการสังคมที่จาเป็น และมี สิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือปราศจากการดารงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อ ม นอกเหนือการควบคุมของตน (2) มารดาและเด็กย่อมมีสิทธิที่จะรับการดูแลรักษาและการช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็กทั้งปวงไม่ว่าจะเกิดใน หรือนอกสมรส จะต้องได้รับการคุ้มครองทางสังคมเช่นเดียวกัน 58 คณะกรรมการสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนแห่ ง ชาติ . พั น ธกรณี ร ะหว่ า งประเทศ. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ที่ ม า : http://www.nhrc.or.th/Human-Rights-Knowledge/International-Human-Rights-Affairs/InternationalLaw-of-human-rights.aspx สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2560

4 - 21


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 กติ ก าระหว่ า งประเทศว่ า ด้ ว ยสิ ท ธิ พ ลเมื อ งและสิ ท ธิ ท างการเมื อ ง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) เป็นสนธิสัญญาที่ กล่าวถึงพันธกรณีข องรัฐ ด้านสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งหน้าที่ของบุคคลที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ มนุษยชนของพลเมืองในรัฐโดยรัฐภาคีจะต้องเคารพและประกันสิทธิของพลเมืองในรัฐอย่างเท่าเทียม กัน ห้ามมีการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการ เมือง สัญชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นกาเนิด หรือสภาพอื่นใด ซึ่ง ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี สมาชิกโดยการภาคยานุวัติของกติการะหว่างประเทศนี้เมื่อวันที่ 05 ตุลาคม พ.ศ. 0935 และมีผลใช้ บังคับกับประเทศไทยในวันที่ 05 มกราคม พ.ศ. 0902 โดยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองได้บัญญัติ ให้พลเมืองทุก คนมีสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมกันโดยปราศจากข้อจากัดอันไม่ควร59 และต้องไม่ มีการเลือกประติบัติทางกฎหมาย กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองถือว่า กฎหมายจะต้องเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิให้แก่ประชาชนทุกคน60 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิท ธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Convent on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR).ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของ สนธิสัญญานี้โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2542 และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยใน วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งกติการะหว่างประเทศฉบับนี้ ได้กล่าวถึงสาระสาคัญของสิทธิต่างๆ ได้แก่ สิทธิในการทางานและมีเงื่อนไขการทางานที่เหมาะสม เป็นธรรม สิทธิที่จะก่อตั้ งสหภาพแรงงาน และสิทธิที่จะหยุดงาน สิทธิที่จะได้รับสวัสดิการและการประกันด้านสังคม การคุ้มครองและช่วยเหลือ ครอบครัว สิทธิที่จะมีมาตรฐานชีวิตที่ดีพอเพียง สิทธิที่จะมีสุขภาวะด้านกายและใจที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ สิทธิในการศึกษา สิทธิในวัฒนธรรม และประโยชน์จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์61 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้กาหนดให้รัฐภาคี สมาชิกคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพแก่พลเมืองในรัฐ กล่าวคือ รัฐภาคีแห่งกติกานี้จะต้องรับรองสิทธิของ ประชาชนทุกคนให้ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่ดีตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้ 62 เพื่อเป็นการ 59

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 25 พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาส โดยปราศจากความแตกต่างดังกล่าวไว้ในข้อ 2 และโดย ปราศจากข้อจากัดอันไม่ควร (ก) ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจโดยตรง หรือผ่านทางผู้แทนซึ่งได้รับเลือกมาอย่างเสรี (ข) ในการที่จะออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระซึง่ มีการออกเสียงโดยทั่วไปและ เสมอภาคและโดยการลงคะแนนลับ เพื่อประกันการแสดงเจตนาโดยเสรีของผู้เลือก (ค) ในการที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตน ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค 60 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 26 บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันตาม กฎหมาย โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ ในกรณีนี้กฎหมายจะต้องห้ามการเลือกปฏิบัติใดๆ และต้องประกันการ คุ้มครองบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาคและเป็นผลจริงจังจากการเลือกปฏิบั ติด้วยเหตุผลใด เช่น เชื้อชาติผิวเพศ ภาษา ศาสนาความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใดเผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กาเนิด หรือสถานะอื่นๆ 61 62

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (58) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

4 - 22


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ป้องกันและควบคุมโรคทั้งยังเป็นการสร้างหลักประกันการบริการทางแพทย์แก่ประชาชนทุกคนในยาม เจ็บป่วย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้ลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการ ขจั ด การเลื อ กปฏิ บั ติ ท างเชื้ อ ชาติ ใ นทุ ก รู ป แบบ (Convention on the Elimination of all Forms of Racial Discrimination – CERD) โดยการภาคยานุ วั ติ เมื่ อ วั น ที่ 08 มกราคม พ.ศ. 0906 ซึง่ มีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 07 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 0906 อนุสัญญานี้ได้ให้คาจากัด ความ คาว่า “การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ” ไว้ว่า หมายถึง การจาแนก การกีดกัน การจากัด หรือการ เอื้ออานวยพิเศษ เพราะเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย หรือชาติกาเนิด หรือเผ่าพันธุ์ โดยไม่รวมถึงการปฏิบัติที่ แตกต่างระหว่างบุคคลที่เป็นพลเมืองและไม่ใช่พลเมือง ตัวอย่างนโยบายของรัฐภาคีสมาชิก ที่มีขึ้นเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ เช่น การประกัน สิ ทธิอัน เท่าเทีย มกันของบุ คคลภายใต้ กฎหมาย ทั้งในด้านสิ ทธิพลเมือง สิ ทธิทาง การเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การเยียวยาเมื่อถูกละเมิด รวมถึงการให้ความสาคัญ ด้านมาตรการในการศึกษา และวัฒนธรรม63 อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ ทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ยังได้กาหนดให้ประเทศสมาชิกประกันสิทธิในการบริการสาธารณสุข และ การดูแลทางการแพทย์ให้แก่ประชาชนของตน ไม่ว่าจะจัดอยู่ในรูปแบบของประกันสังคมหรือสวัสดิการ รัฐก็ตาม64 เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ข้อ 12 1 .รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่ เป็นได้ 2. ขั้นตอนในการดาเนินการโดยรัฐภาคีแห่งกติกานี้ เพื่อบรรลุผลในการทาให้สิทธินี้เป็นจริงอย่างสมบูรณ์ จะต้องรวมถึงสิ่งต่างๆ ที่จาเป็นเพื่อ (ก) การหาหนทางลดอัตราการตายของทารกก่อนคลอดและของเด็กแรกเกิดและการพัฒนาที่มีประโยชน์ต่อ สุขภาพของเด็ก (ข) การปรับปรุงในทุกด้านของสุขลักษณะทางสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม (ค) การป้องกัน รักษาและควบคุมโรคระบาดโรคประจาถิ่น โรคจากการประกอบอาชีพและโรคอื่นๆ (ง) การสร้างสภาวะที่ประกันบริการทางแพทย์ และการให้การดูแลรักษาพยาบาลแก่ทุกคนในกรณีเจ็บป่วย 63 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (58) 64 อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ข้อ 5 เพื่อให้สอดคล้องตามพันธกรณีพื้นฐานที่ได้จัดวางไว้ตามข้อ 2ของอนุสัญญานี้ ซึ่งรัฐภาคีจะห้ามและ ขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ และจะต้องประกันสิทธิของทุกคนให้มีความเสมอภาคกันตามกฎหมาย โดยไม่จาแนกตามเชื้อชาติสีผิว หรือชาติหรือเผ่าพันธุ์กาเนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการใช้สิทธิดังต่อไปนี้ (ฉ) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (1)สิทธิในการมีงานทา ในการเลือกงานอย่างเสรีในการมีสภาพในการทา งานที่เหมาะสมและน่าพอใจใน การได้รับการคุ้มครองจากสภาพการตกงาน ในการไดรับค่าจ้างที่เท่าเทียมกันกับงานที่ทา ในระดับเดียวกันในการ ได้รับผลตอบแทนที่ยุติธรรมและน่าพอใจ (2) สิทธิในการจัดตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน (3) สิทธิในการมีที่อยู่อาศัย

4 - 23


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 เป้ า หมายการพั ฒ นา (Development Goals) แม้ ไ ม่ ใ ช้ ก ฎหมายระหว่ า งประเทศดั ง ที่ ไ ด้ นาเสนอไปแล้วข้างต้น แต่เป็น แนวทางที่รับมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนชน เนื้อหาของ เป้าการพัฒนาจึงสอดคล้องและเป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนชน กล่าวให้ชัดคือ การ ดาเนินยุทธศาสตร์ของรัฐให้สอดคล้องเป้าหมายการพัฒนา ย่อมเป็นการดาเนินไปตามปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชนชนนั่นเอง เป้ า หมายแห่ ง สหั ส วรรษ หรื อ Millennium Development Goals) MDGs ซึ่ ง เป็ น เป้ า หมายการพั ฒ นาระหว่ า งพ.ศ. 2543 ถึ ง พ.ศ. 2558 การประชุ ม สุ ด ยอดสหั ส วรรษของ สหประชาชาติ (Millennium Summit) เป็นวาระการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคนและลดช่องว่าง ในการพัฒนา และเมื่อเป้าหมายการพัฒนาตาม MDGs สิ้นสุดลงในพ.ศ. 2558 องค์กรสหประชาชาติ จึงได้เสนอเป้าหมายการพัฒนาฉบับใหม่ที่สืบเนื่องมาจาก MDGs เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งใช้เป็นทิศทางในการพัฒนาตั้งแต่พ.ศ. 0998 ถึง พ.ศ. 0973 ครอบคลุมระยะเวลา 19 ปี และประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายซึ่งครอบคลุมมากกว่า เป้าหมายการพัฒนาตาม MDGs โดยเป้าหมายที่ 3 ของ SDGs คือ การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มี เป้าหมายในการสร้างหลักประกันให้ทุกคนมีชีวิตที่มีคุณภาพที่ดี และส่งเสริมให้มีสุขภาวะที่ดีสาหรับคน ทุกเพศทุกวัย โดยมุ่งมั่นที่จะยุติการระบาดของโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคติดต่ออื่นๆ ให้ได้ ภายในพ.ศ. 0973 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และจัดให้มีการเข้าถึงยา และวัคซีนอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสาหรับทุกคน65 กล่าวได้ว่า กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ตลอดจนเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน ต่างให้การรับรองสิทธิด้านสุขภาพ (The Right to Health) ไว้เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิ ขั้นพื้นฐานที่รัฐต่างๆ พึงจัดหาให้แก่ประชาชนโดยทั่วกัน ซึ่ง เป็นการบัญญัติสิทธิภายใต้กรอบความคิด ทีว่ ่า สิทธิด้านสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกัน โดยถือว่า สุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สาคัญ ที่จะทาให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในด้านอื่นๆ ของตน และเป็นหลักประกันในการดารงอยู่ของบุคคลและรัฐ66 ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นหนึ่งในรัฐลง นามรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และยังเป็นรัฐ ภาคีสมาชิกของทั้งกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรม และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ จึง มีหน้าที่ต้องจัดวางกลยุทธ์และแผนนโยบายของรัฐ ให้สอดคล้องและเป็นไปตามกติกาสากลระหว่าง (0) สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขการดูแลทางการแพทย์การประกันสังคม และการบริการทางสังคม (9)สิทธิในการได้รับการศึกษาและการฝึกอบรม (6)สิทธิในการเข้าร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมอย่างเท่าเทียมกัน 65

United Nations Thailand. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย. [ข้อมูลออนไลน์ ] แหล่งข้อมูล : http://www.un.or.th/globalgoals/th/global-goals/good-health-and-well-being/ สื บ ค้ น วั น ที่ 7 ธั น วาคม 2560 66 สุวจี จันทร์ถนอม-กู๊ด. โครงการวิจัย การค้นหาแนวคิดเรื่องสิทธิและความเป็นธรรมในสุขภาพจากมุมมองทางสังคม และวัฒนธรรมเพื่อการปฏิรูปการดูแลสุขภาพในประเทศไทย. อ้างใน แสวง บุญเฉลิมวิภาส. นิติเวชศาสตร์และ กฎหมายการแพทย์. (กรุงเทพฯ: วิญญูชน), หน้า 163

4 - 24


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ประเทศดังกล่าว ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับเอาหลั กการในเรื่องสิทธิด้านสุขภาพตามกฎหมายระหว่าง ประเทศเข้ามา เป็ น ส่ ว นหนึ่ งของรั ฐ ธรรมนูญอันเป็ นกฎหมายสู งสุ ด และพระราชบัญญัติต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องเพื่อคุ้มครองสิทธิในสุขภาพขั้นพื้นฐานของพลเมืองภายในรัฐ กฎหมายภายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิด้านสุขภาพ เมื่อย้อนกลับมาดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิด้านสุขภาพภายในประเทศไทย จะพบว่าสิทธิ ด้านสุขภาพของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญของไทย มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่มีการบัญญัติให้สิทธิด้านสุขภาพแก่ประชาชน อย่างเสมอภาพกัน ทั้งยังมีการคานึงถึงสิทธิด้านสุขภาพของผู้ยากไร้เป็นการเฉพาะ โดยบัญญัติให้สิทธิ แก่ผู้ยากไร้ในการเข้ารับการรักษาพยาบาล จากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 67 ทาให้ประชาชนที่จัดอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ยากไร้สามารถเข้าถึงสวัสดิการด้านสุขภาพของรัฐได้ อย่างทั่วถึง เพราะการให้สิทธิด้านสุขภาพตามหลักการของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ ทาให้เกิด นโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แก่ประชาชน หรือที่รู้จักกันในโครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค” ตามมา ภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 0909 ต่อมาในสมัย ของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 สิทธิด้านสุขภาพของผู้ยากไร้ยังคงเป็นสิ่งที่รัฐตระหนักถึง จึงมีการ บัญญัติให้สิทธิในการรักษาพยาบาลแก่ผู้ยากไร้ ในสถานพยาบาลของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายไว้เช่นเดิม68 ที่สาคัญรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ยังมีการบัญญัติเพิ่มสิทธิด้านสวัสดิการรัฐให้แก่ประชาชนกลุ่ม

67

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 52 “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับ การรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของกฎหมาย การบริการทางสาธารณสุขของรัฐจะต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชนมีส่วนร่วมเท่าที่จะทาได้ การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ ตามกฎหมายบัญญัติ มาตรา 82รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ อย่างทั่วถึง 68

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

มาตรา 51 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและ ทันต่อเหตุการณ์

4 - 25


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 เสี่ยง อันได้แก่ เด็กและเยาวชน69 ผู้พิการหรือทุพพลภาพ70 คนไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่ การยังชีพ71 เป็นต้น โดยให้สิทธิแก่ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ สามารถได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ อย่างเหมาะสม แต่ในปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 สิทธิด้านสุขภาพของประชาชนถูกบัญญัติไว้ ในภาพรวมอย่ า งกว้ า งๆ คื อ ให้ รั ฐ มี ห น้ า ที่ ด าเนิ น การให้ ป ระชาชนได้ รั บ บริ ก ารสาธารณสุ ข ที่ มี ประสิทธิภาพอย่างทั่ว ถึง 72 โดยไม่มีการบัญญัติถึงสิทธิด้านสุ ขภาพของผู้ยากไร้ดั่งเช่นที่เคยมีมาใน รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 หรือ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ทาให้สิทธิด้านสุขภาพของผู้ยากไร้ และสิทธิในสวัสดิการรัฐของประชาชนกลุ่มเสี่ยงขาดหายไปจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน 69

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

มาตรา 52 เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ตาม ศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคานึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสาคัญ รับความคุ้มครองจากรัฐ ให้ปราศจากการใช้ความรุนเด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้แรง และการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม ทั้งมีสิทธิได้รับการบาบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว การแทรกแซงและการจากัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว จะกระทามิได้ เว้นแต่โดยอาศัย อานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่ อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของ บุคคลนั้น เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ มาตรา 55 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ 70

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 55 บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิ เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอานวยความ สะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ 71

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 55 บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่ เหมาะสมจากรัฐ 72

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 55 รัฐต้องดาเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้าง ให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการ พัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่ง ต้องครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรค การ รักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย รัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตรา 257 การปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องดาเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ ช. ด้านอื่น ๆ (4) ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการ และการ เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน

4 - 26


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ส่วนในกฎหมายลาดับรองอย่ างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิด้านสุขภาพของประชาชน นั้น พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 0909 เป็นกฎหมายสาคัญที่ทาให้เกิดการสร้าง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ ครอบคลุมสิทธิในการรักษาพยาบาลสาหรับประชาชนทุกคนในสังคม 73 ส่งผลให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วม ในระบบหลักประกันสุขภาพของรัฐที่มีมาตรฐานได้ อย่างทั่วถึง ภายใต้โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และมีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติเป็นกฎหมาย ที่ออกมาเพื่อสนับสนุนกลไกต่างๆ ในเรื่องสิทธิด้านสุขภาพของรัฐ 74 เช่น กลไกตามพระราชบัญญัติ 73

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2555 มาตรา 5 บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กาหนดโดย พระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการอาจกาหนดให้บุคคลที่เข้ารับการบริการสาธารณสุขต้องร่วมจ่าย ค่าบริการในอัตราที่กาหนด ให้แก่หน่วยบริการในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบริการ เว้นแต่ผู้ยากไร้หรือ บุคคลอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกาหนดไม่ต้องจ่าย ค่าบริการ ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่บุคคลจะมีสิทธิได้รับให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการประกาศ กาหนด มาตรา 6 บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา 5 ให้ยื่นคาขอลงทะเบียนต่อ สานักงานหรือหน่วยงานที่ สานักงานกาหนด เพื่อเลือกหน่วยบริการ เป็นหน่วยบริการประจา การขอลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจา การขอเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการ ประจาและหน้าที่ของหน่วย บริการประจาที่พึงมีต่อผู้รับบริการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และ เงื่อนไขที่คณะกรรมการกาหนด โดยคานึงถึง ความสะดวกและความจาเป็นของบุคคลเป็นสาคัญ ในกรณีที่บุคคลใดมีสิทธิเลือกหน่วยบริการเป็นอย่างอื่นตามหลักเกณฑ์การได้รับ สวัสดิ การหรือตามสิทธิที่ บุคคลนั้นได้รับอยู่ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มติคณะรัฐมนตรี หรือคาสั่งอื่นใด ให้การใช้สิทธิเข้ารับการ บริการสาธารณสุขในหน่วยบริการเป็นไปตามหลักเกณฑ์การ ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิของบุคคลนั้น มาตรา 7 บุคคลที่ได้ลงทะเบียนแล้ว ให้ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขได้จากหน่วยบริการประจาของตนหรือ หน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง หรือจากหน่วยบริการอื่นที่หน่วยบริการประจาของตนหรือ เครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องส่งต่อ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสมควร หรือกรณีอุบัติเหตุหรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิ น ให้ บุคคลนั้นมีสิทธิเข้ารับบริการจากสถานบริการอื่นได้ ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการกาหนด โดยคานึงถึงความสะดวกและ ความจาเป็นของผู้ใช้สิทธิรับบริการ และให้สถานบริการที่ให้บริการนั้นมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกาหนด 74 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 5 บุคคลมีสิทธิในการดารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ บุคคลมีหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการดาเนินการให้เกิดสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมตามวรรคหนึ่ง มาตรา 6 สุขภาพของหญิงในด้านสุ ขภาพทางเพศและสุ ขภาพของระบบเจริญ พั นธุ์ซึ่ งมี ความจาเพาะ ซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชี วิต ต้องได้รับการสร้างเสริม และคุ้มครองอย่างสอดคล้องและ เหมาะสม สุขภาพของเด็ก คนพิการ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาสในสังคมและกลุ่มคนต่างๆ ที่มีความจาเพาะในเรื่อง สุขภาพต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสมด้วย พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2551 มาตรา 15 ผู้ป่วยย่อมมีสิทธิดังต่อไปนี้ (1) ได้รับการบาบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ โดยคานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (0) ได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบาบัดรักษาไว้เป็นความลับ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติ ไว้ให้เปิดเผยได้

4 - 27


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กลไกตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) ฯลฯ เพื่อให้กลไกของกฎหมายเหล่านี้สามารถขับเคลื่อนไปได้ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ จึงเป็นกฎหมายที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ โดยพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของไทย ซึ่งจะอธิบายโดยละเอียดใน หัวข้อต่อไป 2.3 ระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย หลักคิดในเรื่องระบบประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นประเทศไทยสอดคล้องกับSDGs เป้าหมายที่ 3 ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและ ICESCR –ข้อที่ 12 ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยที่รั ฐ ไทยได้มีการเริ่ มการสร้ างระบบประกันสุ ขภาพให้ แก่ประชาชนตั้งแต่ พ.ศ. 0906 ในช่ว ง แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 7 พ.ศ. 0939 - 0935 และต่ อ เนื่ อ งมาจนถึ ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 0902 - 0900 แต่เมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ได้สิ้นสุดลง ยังมีประชาชนอีกประมาณร้อยละ 32 ของประเทศที่ยั งไม่ สามารถเข้าถึง หลักประกันสุขภาพใดๆ ในยามเจ็บป่วย ดังนั้น ในปี 0900 รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้ นโยบายการให้ระบบประกันสุขภาพถ้ วนหน้าภายใต้โ ครงการ 32 บาทรักษาทุกโรค ซึ่ง ในปัจจุบัน เปลี่ ย นเป็ น 32 บาทช่ว ยคนไทยห่ า งไกลโรค เพื่อแก้ปัญหาการเข้ าถึ ง บริ การสาธารณสุ ข ในกลุ่ ม ผู้ด้อยโอกาส75 โดยระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยแบ่งเป็น 3 ระบบด้วยกัน คือ 1. ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 2. ระบบประกันสังคม (3) ได้รับการคุ้มครองจากการวิจัยตามมาตรา 02 (0) ได้รับการคุ้มครองในระบบประกันสุขภาพและประกันสังคม และระบบอื่นๆ ของรัฐอย่างเสมอภาคและ เท่าเทียมกัน มาตรา 22 บุ ค คลที่ มี ค วามผิ ด ปกติ ท างจิ ต ในกรณี ใ ดกรณี ห นึ่ ง ดั ง ต่ อ ไปนี้ เ ป็ น บุ ค คลที่ ต้ อ งได้ รั บ การ บาบัดรักษา (1) มีภาวะอันตราย (2) มีความจาเป็นต้องได้รับการบาบัดรักษา มาตรา 23ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีลักษณะตามมาตรา 22 ให้แจ้งต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจโดยไม่ชักช้า มาตรา 25 เมื่อผู้รับผิดชอบดูแลสถานที่คุมขังหรือสถานสงเคราะห์ หรือพนักงาน คุมประพฤติ พบบุคคลที่ อยู่ ใ นความดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบตามอ านาจหน้ า ที่ มี พ ฤติ ก ารณ์ อั น น่ า เชื่ อ ว่ า บุ ค คลนั้ น มี ลั ก ษณะตามมาตรา 22 ให้ ดาเนินการส่งตัวบุคคลนั้นไปยังสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบาบัดรักษาซึ่งอยู่ใกล้โดยไม่ชักช้า เพื่อรับการตรวจ วินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นตามมาตรา 27 การส่งตัวบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกาหนด 75 ส า นั ก ง า น ห ลั ก ป ร ะ กั น สุ ข ภ า พ . ค ว า ม เ ป็ น ม า . [ ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ที่ ม า : https://www.nhso.go.th/frontend/page-contentdetail.aspx?CatID=MTA2OA==# สืบค้นวันที่ 13 กันยายน 2560

4 - 28


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 3. ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบนี้ให้ความคุ้ม ครองกลุ่มประชาชนในสัดส่วนที่ต่างกัน โดย ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เป็นระบบที่ให้ความคุ้มครองแก่ข้าราชการและครอบครัว ผู้ที่ ได้รั บ ความคุ้มครองในระบบนี้ มีประมาณ 9 ล้ านคน ส่ ว นระบบประกันสั งคมเป็นระบบที่ ให้ ความ คุ้มครองแก่ลูกจ้างหรือผู้ประกันตนจานวนประมาณ 12 ล้านคน ในขณะที่ระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติเป็นระบบที่ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนที่อยู่นอกเหนือจากสิทธิความคุ้มครองของสวัสดิการ ข้าราชการและระบบประกันสังคม ซึ่งประชาชนที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ระบบประกันสุ ขภาพ แห่งชาติมีมากถึงประมาณ 08 ล้านคน76 ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นระบบประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน ภายในประเทศมากที่สุดราว 48 ล้านคน โดยดาเนินการภายใต้หลักการ “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” หรือ “ดี ช่ ว ยป่ ว ย รวยช่ ว ยจน” มุ่ ง ให้ ค วามส าคั ญ ต่ อ การคุ้ ม ครองสิ ท ธิ ด้ า นสุ ข ภาพของประชาชนตาม รัฐธรรมนูญ โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากรสาธารณสุข และการ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุ ณภาพ และมี มาตรฐานในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพลเมืองกลุ่ มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ตามความ จาเป็น77 โดยสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ตั้งเป้าให้ “ทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทยได้รับ ความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้า ด้วยความมั่นใจ” และคาดหวังให้ระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติสามารถครอบคลุมทุกคนได้78 การสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชนจึงเป็นภารกิจที่รัฐจาต้องปฏิบัติตามทั้งในฐานะที่ เป็ น สิ ท ธิ ขั้ น พื้ น ฐานของประชาชน และเป็ น พั น ธะกรณี ร ะหว่ า งประเทศ สิ ท ธิ ด้ า นสุ ข ภาพตาม หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จึงเป็นสิทธิที่ประชาชนทุกคนควรมีโอกาสเข้าถึงได้ ทั้งนี้ระบบประกัน สุขภาพของประเทศไทย กองทุนสุขภาพแต่ละกองทุนจะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่ ต่างกัน กล่าวคือ ระบบประกันสังคมอยู่ภายใต้สานักงานประกันสังคม สังกัดกระทรวงแรงงาน ระบบ สวั ส ดิ ก ารรั ก ษาพยาบาลข้ า ราชการ อยู่ ภ ายใต้ ก ารบริ ห ารจั ด การของ กรมบั ญ ชี ก ลาง สั ง กั ด กระทรวงการคลัง และระบบระบบประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่ภายใต้สานักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติสังกัดกระทรวงสาธารณสุข79 ในปี ง บประมาณ 2559 กระทรวงสาธารณสุ ข ได้ รั บ ส่ ว นแบ่ ง งบประมาณทั้ ง สิ้ น 247,386.1021 ล้านบาท จากเงินงบประมาณทั้งประเทศราว 3 ล้านล้านบาท80 โดยที่งบประมาณ 76

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาแนวทางอภิบาลระบบ หลักประกันสุขภาพ. เสนอต่อ สานักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, หน้า 10 77 ส านั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ . (2559). รายงานการสร้ า งหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ประจ าปี งบประมาณ 2559, หน้า 3 78 เพิ่งอ้าง, หน้า 8 79 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (76), หน้า 10 80 ภาพรวมวงเงิ น ร่ า ง พ.ร.บ. งบประมาณ ปี 2560 กระทรวงสาธารณสุ ข . [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/4.2%20budget60%20%20270959%20v4.pdf สืบค้นวันที่ 7 ธันวาคม 2560

4 - 29


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ดังกล่าวถูกสรรให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ต้องดูแลประชาชนผู้มีสิทธิราว 49 ล้านคน จานวน 163,190.18 ล้านบาท81 และยังพบว่ามีประชากรในภาคเอกชน ที่ยังไม่ลงทะเบียนสิทธิอยู่ 0.03 ล้านคน (ร้อยละ 0.05) และมีบุคคลที่ไม่อยู่ในทะเบียนบ้าน (รอยืนยันสิทธิ) อีก 0.13 ล้านคน82 นอกจากนี้สัดส่วนของรายจ่ายด้านสุขภาพ ที่ใช้ในภาครัฐ มีแนวโน้มที่จะมากกว่ารายจ่ายด้านสุขภาพ ในภาคเอกชน83

แหล่งที่มา :รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจาปีงบประมาณ 2559 จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นถึง ความไม่สมดุลของการจัดสรรงบประมาณ ในระบบประกัน สุขภาพระหว่างข้าราชการและเอกชน ประกอบกับประการสาคัญคือ การไม่สามารถขึ้นทะเบียนเพื่อรับ สิทธิในระบบประกันสุ ขภาพแห่ งชาติ ทาให้ยังมีประชาชนอีกจานวนหนึ่งที่ไม่ส ามารถเข้า ถึง ระบบ ประกันสุขภาพของรัฐ ได้ เนื่องจากเป็นบุคคลที่ยังต้องรอการยืนยันสิทธิ เพราะไม่มีชื่ออยู่ในระบบ ทะเบียนราษฎร์ของรัฐ หรืออีกกรณีหนึ่งคือบุคคลนั้นยังไม่ได้ลงทะเบียนสิทธิ เช่น เป็นบุคคลที่ไม่มีบัตร ประชาชน หรือเอกสารยืนยันตัวตน เป็นต้น โดยสาเหตุหลักที่ทาให้ประชากรกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึง ระบบประกันสุขภาพของรัฐได้ นั้น เป็นผลมาจากการขาดหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ ทั้งนี้ เพราะ ระบบประกัน สุ ขภาพแห่ งชาติเป็น ระบบประกันสุ ขภาพที่มุ่งคุ้มครองคนไทยที่ มีเลขบัตรประจาตัว ประชาชน 13 หลักเท่านั้น ซึ่งปัญหาจากการเข้าไม่ถึงสวัสดิการด้านสุขภาพของรัฐ ในประชากรกลุ่มนี้ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้าในการเข้าถึ งสิทธิด้านสุขภาพของประชากร ทั้งที่สิทธิในหลักประกันสุขภาพ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ และสามารถเข้าถึงสิทธิได้อย่างเท่าเทียม กันในยามเจ็บป่วย

81

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (77), หน้า 8 - 9 เพิ่งอ้าง, หน้า 9 83 เพิ่งอ้าง 82

4 - 30


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 2.4 การเข้าไม่ถึงระบบประกันสุขภาพของคนไร้บ้าน พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 0909 ระบุให้คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับ บริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มี “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ขึ้น เพื่อดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุ ขของหน่วยบริการ และ ส่ ง เสริ ม ให้ ค นไทยสามารถเข้ า ถึ ง บริ ก ารสาธารณสุ ข ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพได้ อ ย่ า งทั่ ว ถึ ง ซึ่ ง “สิ ท ธิ หลักประกันสุขภาพ” หรือที่รู้จักกันในนาม “สิทธิ 30 บาท หรือสิทธิบัตรทอง” เป็นสิทธิตามกฎหมาย สาหรับคนไทยที่มีเลขบัตรประจาตัวประชาชน 13 หลัก ที่ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการข้าราชการ หรือสิทธิ ประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ หรือสิทธิอื่นๆ จากรัฐ84 สิทธิในระบบประกันสุขภาพดังกล่าว ถือเป็นสวัสดิการรัฐสาหรับประชาชนทุกคน แต่เอกสาร ประกอบการลงทะเบียนสาหรับผู้ต้องการใช้สิทธิหลักประกันสุภาพ อันได้แก่ 1. สาเนาบัตรประจาตัว ประชาชน สาหรับเด็กใช้สาเนาสูติบัตร (ใบเกิด) 0. สาเนาทะเบี ยนบ้าน หรือหนังสือรับรองการพัก อาศัยจริง เป็นอุปสรรค์สาคัญที่ทาให้ประชากรบางกลุ่มที่แม้จะเป็นคนไทย แต่กลับไม่สามารถเข้าถึง สิทธิในหลักประกันสุขภาพได้ เพราะขาดหลักฐานทางทะเบียนในการขอรับสิทธิของตน คนไร้บ้านหรือผู้ที่ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่ต้องประสบปัญหาด้านการ เข้าไม่ถึงสิทธิในระบบประกันสุขภาพ จากสาเหตุการขาดหลักฐานทางทะเบียน สอดคล้องกับรายงาน ของสานักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ระบุว่าปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิในการรักษาพยาบาล จากรัฐของประชาชน ส่วนใหญ่บุคคลทีไ่ ม่ได้รับการรับรองดังกล่าว มักจะเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึง่ ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน โดยปัญหาสาคัญที่ทาให้บุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ เนื่องมาจากการที่บุคคลเหล่านั้นไม่มีบัตรประจาตัวประชาชนและสาเนาทะเบียนบ้าน85 จากการสารวจ ของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพพบว่า ปัจจุบันมีคนไร้บ้านประมาณร้อยละ 25 ที่ ไม่มีบัตรประจาตัวประชาชน หรือไม่มีเอกสารยืนยันตัวตนทางทะเบียน86 เหตุผลที่คนไร้บ้านไม่มีบัตรประจาตัวประชาชน หรือเอกสารยืนยันตัวตนทางทะเบียนนั้น เป็น ผลมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตของคนไร้บ้าน ที่ส่วนใหญ่ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สาธารณะเป็นเวลานาน ทา ให้ขาดการติดต่อในระบบทะเบียนราษฎร เช่น บางคนเมื่อออกมาเป็นคนไร้บ้านแล้วก็ไม่ได้ ไปต่ออายุ บัตรประจาตัวประชาชนอีกเลย หรือบางคนไม่เคยมีบัตรประจาตัวประชาชนเลย เพราะออกจากบ้านมา ตั้งแต่เด็กโดยที่ยังไม่มีบัตรประชาชน หรือคนไร้บางคนถูกขโมยทรัพย์สินจนหมด ทาให้ไม่มีเอกสารไป ยืนยันตัวตนกับทางราชการ เพื่อขอทาบัตรประจาตัวประชาชนใหม่ได้ เป็นต้น87 สิ่งเหล่านี้ทาให้คนไร้ บ้านจานวนมากถูกคัดชื่อออกจากระบบทะเบียนราษฎร์ หรือ ยิ่งไปกว่านั้นบางคนถูกบุคคลอื่นนาชื่อไป สวมสิทธิเรียบร้อยแล้ว 84

ส านั ก งานประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ . (2556). 10 เรื่ อ งที่ ค วรรู้ สิ ท ธิ ห ลั ก ประกั น สุ ข ภาพ. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/PR/10%20%เรื่ อ งควรรู้ สิ ท ธิ ห ลั ก ประกั น ฯ% 20Update.pdf สืบค้นวันที่ 30 กันยายน 2560 85 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (80) 86 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (49) 87 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (55)

4 - 31


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 อีกหนึ่งปัญหาของคนไร้บ้าน ที่แม้จะมีบัตรประจาตัวประชาชน แต่ มีที่อยู่อาศัยในปัจจุบันไม่ ตรงกับภูมิลาเนาในบัตรประจาตัวประชาชน ทาให้ยากต่อการเข้าถึงสิทธิในการเข้าการรักษาพยาบาล ในเขตท้องที่ที่ตนเองอาศัย อยู่ได้ ดัง นั้น เมื่อรัฐใช้วิธีการควบคุมการเคลื่อนที่ของประชากร โดยนา ทะเบียนราษฎร์มาผูกกับสิทธิต่างๆ ของประชาชนเช่นนี้ ทาให้คนไร้บ้านกลายเป็นกลุ่มคนที่ถูกบังคับให้ ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลาบาก มากกว่าประชาชนทั่วไปในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าไม่ถึงสิทธิและ โอกาสต่างๆ ที่พลเมืองพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย88 ดังนั้น คนไม่มีบ้านหรือไม่มีเอกสารทางทะเบียนจึงถูก กีดกันไม่ให้ได้รับการบริการจากสวัสดิการของรัฐ และการถูกกีดกันการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน สิทธิด้านสุขภาพที่คนไร้บ้านต้องสูญเสียไปจากการเข้าไม่ถึงระบบประกันสุขภาพ ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพมีสิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุ ขที่อยู่ในหน่วยบริการตามระบบ จะ ได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข โดยแบ่งการคุ้มออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. บริการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค บริการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค สาหรับผู้ใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะได้รับคุ้มครองขั้นพื้นฐานที่ครอบคลุมการรักษาในหลายด้าน เช่น บริการวางแผนครอบครัว การ คุมกาเนิด การฉีดวัคซีน การตรวจหาโรคที่มีความเสี่ยง การรับยาต้านไวรัส เอชไอวีจากแม่สู่ลูก การ คลอดบุตร บริการทันตกรรม การตรวจรักษาโรคทั่วไป 89 การยกเว้นค่ายาและเวชภั ณฑ์ตามประกาศ ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การยกเว้นค่าห้องสามัญและค่าอาหารขณะพักรักษาตัว การจัดการส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ บริการแพทย์แผนไทย บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคน พิ ก าร ตามพระราชบั ญ ญั ติ ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต คนพิ ก ารแห่ ง ชาติ พ.ศ. 0992 เช่ น กายภาพบาบัด จิตบาบัด กิจกรรมบาบัด ฟื้นฟูก ารได้ยิน ฟื้นฟูการมองเห็น และรับอุปกรณ์เครื่องช่วย ตามประเภทความพิการได้ตามเกณฑ์ ที่สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกาหนด90 2. การรักษาพยาบาลในกลุ่มโรคเรื้อรัง สิทธิหลักประกันสุขภาพยังคุ้มครองการรักษาพยาบาลในกลุ่มโรคเรื้อรัง และมีค่าใช้จ่ายสูงตาม การวินิจฉัยทางการแพทย์อีกด้วย อาทิ91 โรคมะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งสามารถได้รับการดูแลรักษาตามสิทธิในหลักประกันสุขภาพ ดังนี้ 1. การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งตามที่แพทย์สั่ง 88

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (5), หน้า 13 – 32 การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา ตั้งแต่โรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด จนถึงการรักษา โรคเรื้อรัง โรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่าย สูง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ไตวายเรื้อรัง เอดส์ ผ่าตัดตาต้อกระจก ผ่าตัดหัวใจ ฯลฯ รวมถึงการฟื้นฟู สมรรถภาพตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 90 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (80) 91 เพิ่งอ้าง 89

4 - 32


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 0.การรักษาอาการทั่วไป และการรักษาเฉพาะทาง เช่น การผ่าตัด การฉายแสง การให้ยาเคมี บาบัด 3.การดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน (Palliative Care) 0.วัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (เฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษา ด้วยเคมีบาบัด) โรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรั งที่ลงทะเบียนใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ต้องเข้ารับการรักษาในหน่วย บริการตามสิทธิ เพื่อให้ คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด พิจารณาการให้บริการ ทดแทนไตที่เหมาะสมสาหรับผู้ป่วยในแต่ละราย โดยเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานในการรักษาของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้แก่ - การล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง - การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม - การผ่าตัดปลูกถ่ายไต สาหรับการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 3. การรักษาพยาบาลในกลุ่มโรคระบาด สิทธิในการรักษาในกลุ่มโรคระบาดนั้น ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ สามารถเข้ารับบริการและคาปรึกษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ หากตรวจเลือดและพบว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับ การประเมินเพื่อเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสตามข้อบ่งชี้ ทางการแพทย์ โดยไม่ ต้ อ งเสี ย ค่ า ใช้ จ่ า ยเช่ น กั น และผู้ ป่ ว ยเอดส์ ยั ง สามารถรั บ ยาต้ า นไวรั ส กั บ โรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการประจาตามสิทธิได้อีกด้วย 4.กรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ถ้ า ผู้ มี สิ ท ธิ ห ลั ก ประกั น สุ ข ภาพเกิ ด อุ บั ติ เ หตุ หรื อ ภาวะเจ็ บ ป่ ว ยฉุ ก เฉิ น สามารถใช้ สิ ท ธิ หลักประกันสุขภาพ เข้ารับบริการที่หน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ ตามความจาเป็นโดยไม่จ ากัดจานวนครั้ง และในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ผู้ป่วยสามารถเข้า รักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ โดยใช้บัตรประจาตัวประชาชนเพื่อแสดงตนในการเข้ารับ บริการ ซึ่งจะได้รับสิทธิในการรักษาโดยไม่ถูกปฏิเสธและไม่ต้องสารองจ่าย และหากผู้ป่วยเจ็บป่วย ฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตพ้นวิกฤติโรงพยาบาลที่ให้การรักษา จะส่งตัวผู้ป่วยกลับไปยังหน่วยบริการประจาตาม สิทธิของผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่พร้อมให้ การรักษาต่อไป โดยผู้ป่วยจะยังคงได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่าย ในการรับบริการสาธารณสุข ตามการ วินิจฉัยทางการแพทย์92 จะเห็ น ได้ว่า สิ ทธิในหลั กประกันสุขภาพของรัฐ ที่กล่าวมาแล้วนี้ ค่อนข้างครอบคลุ ม ถึงการ รักษาพยาบาลในหลายด้านและหลายโรคที่สาคัญ ซึ่งคนไร้บ้านเป็นกลุ่มประชากรที่มีปัญหาทางสุขภาพ 92

เพิ่งอ้าง

4 - 33


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 มากกว่าค่าเฉลี่ยของสังคมไทยโดยรวม คือมีปัญหาโรคประจาตัว โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อย ละ 51 ขณะที่คนทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 20 ปัญหาสุขภาพจิตที่ไม่รุนแรง (ไม่เป็นอันตรายต่อสังคม) มีคนไร้ บ้านป่วยประมาณร้อยละ 70 ในขณะที่คนทั่วไปอยู่ที่ประมาณร้อยละ 17 โรคประจาตัว โดยเฉพาะ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDS) มีคนไร้บ้านร้อยละ 31 ขณะที่คนทั่วไปอยู่ที่ประมาณร้อยละ 22 และ ปัญหาสุขภาพช่องปากมีคนไร้บ้านป่วยในจานวนร้อยละ 70 ส่วนคนทั่วไปอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5093 ผลกระทบจากการเข้าไม่ถึงสิทธิในการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพของรัฐ ทาให้คนไร้บ้านต้องสูญเสีย สิทธิด้านสุขภาพที่จาเป็นในการดารงชีวิต ไปจากเหลื่อมล้าและไม่เท่าเทียม ทั้งที่คนที่ใช้ชีวิตในพื้นที่ สาธารณะอย่างคนไร้บ้าน เป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรคต่างๆ มากกว่าคนที่ใช้ชีวิตปกติทั่วไปซึ่ง นายสิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา ยังได้กล่าวถึงปัญหานี้ไว้ว่า ระบบสวัสดิการของประเทศไทยที่มีอยู่ขณะนี้ ครอบคลุมเฉพาะผู้ที่มีบัตรประกันตนรักษาสุขภาพ อาทิ บัตรทอง บัตร 32 บาทรักษาทุกโรค แต่สิทธิในการรักษาอื่นๆ ไม่เกิดผล เนื่องจากระบบสวัสดิการต่างๆ ในประเทศไทยยังต้องอาศัยหลักฐานที่เป็นทางการจานวนมาก โดยเฉพาะบัตรประชาชน ซึ่งผู้ป่วยข้าง ถนนเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ไร้สิทธิดังกล่าว94 เห็นได้ชัดว่า ผู้ป่วยข้างถนน คนไร้บ้าน หรือคนไร้ที่พึ่งต่างเป็นกลุ่มบุคคลที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการ ด้านสุขภาพจากรัฐ โดยงบประมาณที่ภาครัฐต้องเสียไปอย่างมหาศาลเพื่อจัดทาระบบประกันสุขภาพ แห่งชาติแก่ประชาชนในแต่ละปีนั้น ไม่สามารถจัดสรรการบริการการด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนทุกคน ได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนที่ด้อยโอกาสในสังคม ทาให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ขาดโอกาสในการ เข้าถึงสิทธิในสุขภาพจากระบบประกันสุขภาพของรัฐหลายประการ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น 2.5 แนวทางการแก้ปัญหาในการเข้าไม่ถึงระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของคนไร้บ้าน ภาครัฐ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพ ศ.) เคยมีความพยายามในการคืนสิทธิให้แก่คนไร้บ้านกว่า 3,222 คน ที่ไม่มีบัตรประจาตัวประชาชน โดยมุ่งหวังให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ได้รับสิทธิในการศึกษา การทางาน และการรักษาพยาบาลอีกครั้งซึ่งเมื่อ วันที่ 08 มกราคม พ.ศ. 0998 ที่ผ่านมา จังหวัดขอนแก่นได้เริ่มโครงการนาร่องขึ้นเป็นที่แรก ใน โครงการ ‘ขอนแก่น’ คืนสิทธิคนไร้บ้าน”มีการจัดเวทีสื่อสาธารณะ เรื่อง “การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ของคนไร้บ้าน เรื่องบัตรประชาชน" โดยดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ ผู้อานวยการสานักสนับสนุนสุข ภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กล่าวว่า “สสส. มีเป้าหมายเพื่อลดความไม่เป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพประชากรกลุ่มเฉพาะ หรือกลุ่มชายขอบหลาย กลุ่ม อาทิ คนพิการ ผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล กลุ่มชาติพันธุ์ ซึง่ สาหรับคนไร้ บ้านทีเ่ รียกได้ว่าเป็นกลุ่มคนชายขอบ เข้าไม่ถึงโอกาสทางสังคมหลายๆ ด้านดังที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าถึง 93

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (53) สิทธิพล ชูประชง. ชีวิต‘ผู้ป่วยข้างถนน’สังคมตีตรา‘คนบ้า’ ถูกทิ้งขณะส่งร.พ.-หลุดระบบดูแลรักษา, [ข้อมูล ออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.tcijthai.com/news/0210/20/scoop/0109 สืบค้นวันที่ 31 มีนาคม 0962 94

4 - 34


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ได้ เช่น รถไฟฟรี เบี้ยคนพิการ เบี้ยผู้สูงอายุ การมีที่ อยู่อาศัย ฯลฯ สสส. จึงมุ่งให้คนไร้บ้านมีศักยภาพ ดูแลช่วยเหลือตนเอง สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่มนุษย์และคนไทยพึงมี โดยโครงการ นี้ได้นาร่องดาเนินงานใน 0 พื้นที่ คือ กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ เน้นทางานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานรัฐส่วนกลาง”95 สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้วางแผนการดาเนินงานคืนสิทธิให้แก่คนไร้ บ้ านโดยปรั บ การทางานร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานรัฐ ส่ ว นกลาง เพื่อลดขั้นตอนในการออกบั ตรประจ าตั ว ประชาชนคืนสิทธิแก่คนไร้บ้าน และเน้นการทางานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม แม้ โ ครงการคื น สิ ท ธิ แก่ ค นไร้ บ้ านจะฟั ง ดู เป็ น โครงการที่ ดี สร้ า งความหวั ง ในการมี บัต รประจาตัว ประชาชนและสิทธิต่างๆ ให้แก่คนไร้บ้านได้ แต่จากผลสารวจของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.)ในการดาเนินงานตามโครงการคืนสิทธิแก่คนไร้บ้าน ตั้งแต่ปี 2558-2560 พบว่า ในปัจจุบันยังมีคนไร้บ้านประมาณร้อยละ 25 ที่ไม่มีบัตรประจาตัวประชาชนหรือไม่มีเอกสารยืนยัน ตัวตนทางทะเบียน ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่องการไร้สถานะทางทะเบียนของคนไร้บ้านยังไม่หมดไป แม้ ภาครัฐจะพยายามออกโครงการมาช่วยเหลือก็ตาม คนไร้บ้านที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์และ เข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานยังคงมีอยู่เป็นจานวนมาก องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) 1. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ.) มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ในการเข้าไม่ถึงระบบประกันสุขภาพ แห่งชาติของกลุ่มคนไร้บ้าน โดยเสนอเป็นนโยบายต่อสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้จัดตั้งกองทุนรักษาพยาบาลแก่ผู้ที่ไร้สถานะทางทะเบียน ซึ่งจะสามารถครอบคลุมคนไร้บ้านที่ไม่มี บัตรประจาตัวประชาชน96ได้อย่างทั่วถึง 2. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช. ได้มีโครงการให้เงินสนับสนุนคนไร้บ้านที่มีการรวมกลุ่ม กัน เพื่อใช้ในการจัดหาที่อยู่อาศัย การทากิจกรรมและการจัดสวัสดิการ เริ่มจากศูนย์คนไร้บ้านสุวิทย์ วัดหนูที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งคนไร้บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ เองก็ได้รับเงินสนับสนุน จากสถาบันพัฒนา องค์กรชุมชนเช่นกัน โดยคนไร้บ้านในเชียงใหม่ได้เริ่มรวมตัวกันตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา มีสมาชิกที่มา จากหลากหลายแห่ง ตั้งแต่คนจากภาคกลาง เหนือ อีสาน เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน นครพนม ยโสธร ฯลฯ โดยเป็นการรวมกลุ่มกันของคนไร้บ้านบริเวณท่าแพ ช้างเผือก สามกษัตริย์ มีการ ประชุมกันทุกวันจันทร์ และทาโครงการธนาคารคนไร้บ้าน ซึ่งต่อมาในเดือนตุลาคม ปี 2590 สถาบัน พัฒนาองค์กรชุมชนได้สนั บสนุน งบประมาณ ให้มีการสารวจคนไร้บ้านในจังหวัด เชียงใหม่ พบว่ามี จานวน 196 คน และในปี 0993 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยจึงได้ร่วมกัน

95

สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). นาร่อง ‘ขอนแก่น’ คืนสิทธิคนไร้บ้าน. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.thaihealth.or.th/Content/27279-นาร่อง%20‘ขอนแก่น’%20คืนสิทธิคนไร้บ้าน% 20.html สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 0962 96 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (55), หน้า 164

4 - 35


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 จัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่คนไร้บ้านกลายเป็น “ศูนย์คนไร้บ้าน จังหวัดเชียงใหม่ ”97ที่เดิมเช่าตึกแถวอยู่ บริเวณช้างม่อย แต่ในปัจจุบัน ศูนย์คนไร้บ้าน จังหวัดเชียงใหม่ กาลังดาเนินการสร้างอย่างถาวรในที่ดิน ของตนเองบริเวณถนนวัวลาย ตาบลหายยา การรวมตัวกันของคนไร้บ้านทาให้เกิดโครงการ “สวัสดิการวันละบาท” ขึ้นโดยเป็นสวัสดิการ เพื่อค่าใช้จ่ายต่างๆ ของคนไร้บ้านที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ค่าน้า ค่าไฟในศูนย์คนไร้บ้าน ค่าเดินทางไป รักษาพยาบาล โดยคนไร้บ้านจะต้องจ่ายเงินเข้าสู้กองกลางของสวัสดิการ ทุกวันคนละหนึ่งบาท และ กองทุนคนไร้บ้านเชียงใหม่ เครือข่ายคนไร้บ้านสลัม 4 ภาค และศูนย์คุ้มครองคนไร้บ้านจะร่วมสมทบ อีกวันละบาทต่อคน โดยสวัสดิการวันละบาทนี้จะช่วยให้คนไร้บ้าน มีส่วนในการดูแลกันเองได้ภายใน กลุ่ม98 จากการสัมภาษณ์คุณวิเชียร ทาหล้า เจ้าหน้าที่ที่ทางานร่วมกับคนไร้บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ ได้สะท้อนให้ฟังว่า “แนวคิดสวัสดิการหนึ่งบาทของคนไร้บ้าน มาจากแนวคิดสวัสดิการของคนไร้บ้านที่เกิดขึ้นใน กรุงเทพมหานคร คนไร้บ้านมองว่าระบบสวัสดิการต่างๆที่รัฐก็ดี กฎหมายก็ดี เป็นผู้จัดสรรสวัสดิการให้ นั้น ไม่สอดคล้องกับการดาเนินชีวิตของคนไร้บ้าน ยกตัวอย่างเช่น โครงการ 32 บาทรักษาทุกโรคที่ ครอบคลุมแค่ค่ารักษาพยาบาล แต่ไม่ได้ครอบคลุมเกี่ยวกับค่าเดินทาง หรือค่าขนส่งคมนาคมที่คนไร้ บ้านจะต้องจาเป็นจะต้องมีค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้เพื่อการเดินทางไปรักษาพยาบาลเมื่อมีปัญหาสุขภาพ ซึ่ง ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของคนไร้บ้าน ที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สวัสดิการหนึ่งบาท จึงมีขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนไร้บ้านด้วยกัน ในการออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อจะ ไปรักษาสุขภาพที่โรงพยาบาล อีกด้านหนึ่งของสวัสดิการหนึ่งบาทของคนไร้บ้านนี้ มูลนิธิพัฒนาที่อยู่ อาศัย (มพศ.) ก็ได้เข้ามาช่วยเหลือสมทบด้วย คือ คนไร้บ้านจ่าย 1 บาท มพศ. ก็จ่ายให้อีก 1 บาท แต่ อย่างไรก็ตามสวัสดิการดังกล่าวก็ ยังไม่เพียงพอ มพศ. จึงได้จัดกิจกรรมขึ้นมาช่วยเหลืออีกหนึ่งกิจกรรม คือ การเก็บขยะรีไซเคิล เพื่อหารายได้เสริมในส่วนของกองกลางสวัสดิการนี้” กล่าวได้ว่า องค์กรพัฒนาเอกชนอย่างมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ต่างพยายามเข้ามาช่วยเหลือคนไร้บ้าน ให้สามารถพึงพาตนเองได้ ทั้งในด้านที่อยู่อาศัยและคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นของคนไร้บ้าน 2.6 บทสรุป ความเป็นจริงประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการรับรองในเรื่องสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนไว้ อย่างชัดเจน ภายใต้รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติลาดับรองอีกหลายฉบับ ทั้งรัฐบาลยังมีนโยบายการ สร้างระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า อันเป็นหลักประกันด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนทุกคนที่ไม่สามารถ เข้ า ไม่ ถึ ง สิ ท ธิ ใ นการรั ก ษาพยาบาลของรั ฐ จากระบบสวั ส ดิ ก ารอย่ า งอื่ น ได้ เช่ น ระบบสวั ส ดิ ก าร 97

Penguin Homeless. คนไร้บ้านเชียงใหม่ ร่วมกันจัดสวัสดิการเพื่อสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยและรายได้โดย การออมเงิน ปลูกผักอินทรีย์ขาย. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://penguinhomeless.com/homelesschiangmai-oganicfood/ สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 0962

4 - 36


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 รักษาพยาบาลข้าราชการ หรือระบบประกันสังคม ทาให้ประชาชนกลุ่มที่ไม่ได้รับความคุ้มครองดังกล่าว ถูกดึงกลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสุขภาพแห่ งชาติของรัฐได้อย่างทั่วถึง แต่เงื่อนไขภายใต้ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของรัฐ ในเรื่องบัตรประจาตัว ประชาชนและเอกสารทางทะเบียน ราษฎรกลับเป็นอุปสรรคสาคัญในการกีดกันคนบางกลุ่ม อาทิ คนไร้บ้าน หรือคนที่ไม่มีเอกสารทาง ทะเบียนราษฎร ฯลฯ ให้ออกห่างไปจากสิทธิด้านสุขภาพที่พวกเขาพึงมี ทาให้รัฐไทยกลายเป็นทั้งผู้ให้ สิทธิและผู้กีดกันสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนในคนเดียวกัน การอยู่ในพื้นที่สาธารณะในระยะเวลานาน เป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้คนไร้บ้านสุขภาพแย่ลง แต่ คนกลุ่มนี้กลับไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาล ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เพียงเพราะ ไม่มีบัตรประชาชน หรือเอกสารยืนยันตัวตนทางทะเบียนราษฎร การเข้าไม่ถึงสิทธิด้านสุขภาพของคน ไร้บ้านจึงกลายเป็นภาพสะท้อนของปัญหาในระบบสวัสดิการ และบริการสาธารณสุ ขของไทยที่ ไม่ สามารถครอบคลุมประชาชนได้อย่างแท้จริง

4 - 37


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 3. ประเด็นคนไร้บ้านและองค์กรอาชญากรรม ในปัจจุบันการค้ามนุษย์ถือ เป็นการกระทาในรูปแบบองค์อาชญากรรมรูปแบบหนึ่ง ที่มี การ พัฒนาขึ้นตามยุคสมัยจนทาให้เกิด ความซับซ้อนและยากที่จะแก้ไข ทาให้เกิดปัญหาที่ลุกลามจนส่งผล ต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งกลุ่มคนไร้บ้านก็ถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนอีกประเภทหนึ่งที่ มักจะตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ามนุษย์ในรูปแบบขบวนการธุรกิจขอทาน หรือ การบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมายบนเรือประมง ซึ่งคนไร้บ้านมักจะตกเป็น กลุ่มเป้าหมายหลั ก ของการกระทาผิดกฎหมายในลักษณะดังกล่าวเสมอ 1) องค์กรอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไป แม้การขอทานจะเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ ที่อาจไม่ได้ก่อความเดือดร้อนหรือ เสียหายต่อสังคม ในแง่ของความปลอดภัยต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน จึงเป็นที่นิยมกระทากันในหมู่คนไร้ บ้านที่ไม่มีต้นทุน ความสามารถ หรือ ทักษะในการประกอบอาชีพอื่น แต่ในทางภาพลักษณ์และความ เป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมนั้นมองว่าการขอทาน เป็นสิ่งที่เสื่อมเสียต่อภาพลักษณ์และความมั่นคง ของประเทศ จึงมีการระบุให้การกระทาในลักษณะขอทานเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย 98 และมีบทลงโทษทาง อาญาที่ไม่รุนแรงมานัก 99 ซึ่งปรากฏใน พระราชบัญญัติควบคุมขอทาน พ.ศ. 2559 แต่ยังไงก็ตาม นอกจากการขอทานโดยทั่วไปของเหล่าคนไร้บ้าน ที่ไม่ได้สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมแล้ว ยังมี ลักษณะการขอทานอีกประเภท ที่เป็นลักษณะการขอทานที่ผิดกฎหมายลักษณะอื่น และส่งผลกระทบ ในหลายด้าน นั้นคือการขอทานในรูปแบบธุรกิจ การขอทานในรูปแบบธุรกิจนั้น ถือเป็นกระทาที่มีลักษณะเข้าข่ายการค้ามนุษย์ประการหนึ่ง โดยปัญหาที่เกี่ยวกับ ธุรกิจขอทานถือเป็นปัญหาทางสังคม ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลผู้มีลักษณะเป็นคนไร้บ้าน ซึ่งมักจะถูกเชื่อมโยงกับการกระทาความผิดในรู ปแบบ ขอทานอยู่เสมอ โดยในส่วนของงานศึกษาเกี่ยวกับการธุรกิจขอทานบางส่วน อันเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ยังมีจานวนไม่มากนัก เนื่องจากพระราชบัญญัติ ควบคุมขอทาน พ.ศ. 2559 ได้ประกาศบังคับใช้ ภายในระยะเวลาไม่นานนัก งานศึกษาส่วนหนึ่งจึงเป็นการศึกษาในบริบทของกฎหมายเกี่ยวกับขอทาน 98

พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 มาตรา 13 ห้ามบุคคลใดทาการขอทาน การกระทาอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการขอทาน (๑) การขอเงินหรือทรัพย์สินจากผูอ้ ื่นเพื่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการขอด้วยวาจา ข้อความ หรือการแสดงกิริยาอาการ ใด (๒) การกระทาด้วยวิธีการใดให้ผู้อนื่ เกิดความสงสารและส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินให้ การแสดงความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรีหรือการแสดงอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินจาก ผู้ชมหรือผู้ฟัง การขอเงินหรือทรัพย์สินกันฐานญาติมิตร หรือการเรี่ยไรตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไร ไม่ถือ ว่าเป็นการขอทานตามพระราชบัญญัตินี้ 99 พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 มาตรา 19 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้ง จาทั้งปรับ

4 - 40


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ที่ถูกยกเลิกการบังคับใช้ไปแล้ว จึงต้องศึกษางานเหล่า นั้นในส่วนของลักษณะปัจจัย หรือเงื่อนไขบาง ประการทีเ่ กี่ยวข้องกับธุรกิจขอทาน ที่มีการเชื่อมโยงกับคนไร้บ้าน ในงานศึกษาของ สมศักดิ์ ชินอรุณชัย ศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายต่อขอทาน และผู้ถือ ประโยชน์ต่อขอทานในประเทศไทย ในบริบทของสังคมภายใต้กฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมการ ขอทาน พ.ศ. 2484 และ ประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 294 ลงวันที่ 27 พฤศจิการยน พ.ศ. 2515 (กฎหมายทั้ง 2 ฉบับถูกยกเลิกไปแล้วในปัจจุบั น) ซึ่งมองว่าได้มีการพัฒนารูปแบบขอทานจาก อาชีพที่ไม่มีกฎหมายรับรอง ไปสู่รูปแบบธุรกิจผิดกฎหมายที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยมีการจัดรูปแบบ และให้การอานวยความสะดวก กับผู้แสวงหาประโยชน์จากภายนอก ทาให้ผู้กระทาการขอทานบางส่วน นั้นถูก ล่อลวง ลักพา หรือถูกชักนามาบังคับให้ทาการของทาน จึงทาให้มีคนขอทานเข้าสู่ขบวนการ ธุรกิจขอทานทั้งโดยสมัครใจและไม่สมัครใจ 100 สมศักดิ์ ชินอรุณชัย มองว่ากฎหมายที่บังคับใช้ในช่วงเวลานั้น (2537) ไม่มีประสิทธิภาพหรือ มีไม่เพียงพอ ที่จะควบคุมและแก้ไขปัญหาขอทานในรูปแบบดังกล่าวได้ ประกอบกับการที่เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ได้ใส่ใจและบกพร่องต่อหน้าที่101 ทั้งนี้ เพราะแม้แต่ในกรณีที่ผู้ถือประโยชน์ ได้กระทาความผิดทาง อาญา ไม่ว่าจะเป็ น ความผิ ด ต่ อ เสรี ภ าพ หรือ ความผิ ด ต่ อ ร่ างกาย แม้บุคคลเหล่ านี้ จ ะสามารถถู ก ดาเนินคดีทางอาญาได้ แต่ก็ไม่ได้มีการเล็งเห็นถึงความสาคัญ หรือให้ความสาคัญกับ กฎหมายมาตรา เหล่านั้นแต่อย่างใด เพราะผู้กระทาความผิดมักไม่ถูกดาเนินคดี ซึ่งในกรณีนี้ สมศักดิ์ ได้ให้ข้อมูล ที่ น่าสนใจจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์ ว่า ผู้ที่ถือประโยชน์จากคนขอทานนั้นส่วน ใหญ่ยังไม่ถูกดาเนิน คดี เพราะคนขอทานส่วนใหญ่ที่ถูกจับกุมนั้น มักจะให้ปากคาไปในทานองที่ว่า กระทาการขอทานของตนนั้น กระทาโดยสมัครใจและไม่ได้ถูกข่มขู่ หรือบังคับมา เนื่องจากความเกรง กลัวต่ออิทธิพลของขบวนการธุรกิจขอทาน หรือ เกรงกลัวว่าจะขาดแหล่งอานวยสะดวกจากขบวนการ ธุรกิจขอทาน หากตนได้ออกจากสถานสงเคราะห์และกลับไปขอทานดังเดิม102 สิ่งที่ชี้ให้เห็น ถึงความเชื่อมโยงระหว่าง ขบวนการขอทานและคนไร้บ้านได้อย่างชัดเจน คือ นโยบายหรือมาตรการของรัฐที่มุ่งแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ผ่านกลุ่มคนไร้บ้าน อาทิ โครงการฟื้นฟู และพั ฒ นาศั ก ยภาพคนเร่ ร่ อ นเพื่ อ ป้ อ งกั น การถู ก ล่ อ ลวง ที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น โดยกรมพั ฒ นาสั ง คมและ สวัสดิการ อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์หลักคือการต่อต้านการค้ามนุษย์ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่ อ ให้ ค นเร่ ร่ อ นและกลุ่ ม เสี่ ย งได้ รั บ การคุ้ ม ครองสิ ท ธิ มี ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจเรื่ อ งสิ ทธิ สวัสดิการและสิทธิพลเมือง ในการป้องกันมิให้ถูกล่อลวงและตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ 2. เพื่อให้คนเร่ร่อนและกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงบริการ ตามความจาเป็นขั้นพื้นฐานในการดารงชีวิต รวมทั้งบริการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ สาหรับพัฒนาศักยภาพให้สามารถพึ่งตนเองได้ 3. เพื่อให้คนเร่ร่อนและกลุ่มเสี่ยงได้รับ การพัฒนาศักยภาพทักษะด้านอาชีพ สามารถประกอบ อาชีพและมีรายได้ 100

สมศักดิ์ ชินอรุณชัย. (2537). มาตรการทางกฎหมายต่อคนขอทานและผู้ถือประโยชน์จากคนขอทานในประเทศ ไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 1-2 101 เพิ่งอ้าง, หน้า 13-19 102 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (100), หน้า 42-44

4 - 41


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 4. เพื่อดาเนินการร่วมมือกับภาคีภาคต่างๆ ในการป้องกัน แก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนและสร้าง เจตคติของสังคมเชิงบวกในการให้โอกาสได้รับการพัฒนา 103 เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยทางรัฐ จึ งมีการประเมินความสาเร็จจาก ตัว ชี้วัดคือ จ านวนประชากรเป้ าหมายที่ได้รับการคุ้มครองและพัฒ นาศักยภาพ ซึ่ง มักจะมีผ ลลั พธ์ ความสาเร็จในอัตราที่สูง 104 ภายหลังจากที่ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) หรืออันดับต่าสุดของประเทศ ที่มีปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ ในรายงานประจาปี เรื่อง สถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) ที่ กระทรวงการต่างประเทศของสหรั ฐ อเมริกาได้จัดท าขึ้น ประเทศไทยถูกจัดให้ อยู่ในกลุ่ มดัง กล่ า ว ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 2 ปี (ปี 2557-2558)105 รัฐบาลไทยจึงได้ให้ความสาคัญต่อปัญหาการค้า มนุษย์มากยิ่งขึ้น โดยมีการประกาศให้การป้องกันปราบกรามการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง ขบวนการขอทาน ก็ ถื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ งที่ ส่ งผลต่ อ การจั ด อั นดั บ ดัง กล่ าว 106 โดยเฉพาะการ ปฏิบั ติงานของเจ้ าหน้ าที่ตารวจ ในแก้ไขปัญหาขบวนการขอทานที่พุ่งเป้าไปที่กลุ่ มคนไร้บ้าน (จะ กล่าวถึงในภายหลังในส่วนของทัศนคติของรัฐ) ดังนี้ เมื่อกฎหมายฉบั บ ที่บั งคับใช้อยู่ในช่ว งเวลานั้น ไม่ส ามารถแก้ไขปัญหาการขอทานที่ เชื่อมโยงกับการค้ามนุษย์ได้ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ไม่มีบทบัญญัติลงโทษแก่ผู้แสวงหาประโยชน์จาก ขอทาน จึงนาไปสู่การบัญญัติกฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมขอทาน พ.ศ. 2559 ขึ้นมาบังคับใช้ แทน กฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2484107 กฎหมายควบคุมการขอทานฉบับใหม่ได้บัญญัติเพิ่มเติมในส่วนของ “ผู้ที่แสวงหาประโยชน์จาก ขอทาน” ไว้ โดยกาหนดบทลงโทษทั้งการจาคุกและปรับ ต่อผู้ที่ทาการ ใช้ จ้าง วาน สนับสนุน ยุยง ส่งเสริม รวมไปถึงวิธีการอื่นๆ ที่ทาให้ผู้อื่นทาการขอทาน ทั้งนี้ แม้ในบทบัญญัติดังกล่าวจะได้กาหนดถึง 103

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนปฏิบัติราชการ (Action Plan) กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ( ตุลาคม 2557 - กันยายน 2558). [ข้อมูล ออนไลน์] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.bps.m-society.go.th/uploads/content/download/54c61cebe116b.doc สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 104 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สรุปผลประเมินความสาเร็จในภาพรวมของการดาเนินงาน ทุกนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.m-society.go.th/download/article/article_20130703112526.pdf สืบค้น วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 105 รายงานค้ามนุษย์ปี 58 สหรัฐอเมริกาจัดอันดับไทยอยู่บัญชีรั้งท้ายปีที่ 2 ติดต่อกัน. (2558). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://prachatai.com/journal/2015/07/60560 สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 106 นายกรัฐมนตรีประกาศ "การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์. (2558). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.thaigov.go.th/th/government-th1/item/91126-id91126.html สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 107 กม.ขอทานฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ 28 ก.ค.นี้ ลงโทษหนักมาเฟียหาผลประโยชน์. (2559). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.isranews.org/isranews-news/item/48001-kor27.html สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560

4 - 42


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ลักษณะการกระทาที่เป็นเหตุในการเพิ่มโทษไว้หลายรูปแบบก็ตาม แต่ยังคงมีข้อยกเว้นในส่วนของการ กระทาระหว่างบุพการีและผู้สืบสันดานในบางประการไว้108 นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติที่กล่าวไว้อย่าง ชัดเจนถึงเรื่อง “การแสดงความสามารถ” ว่า ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรีหรือการแสดงอื่น เพื่อการได้มา ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินจากผู้รับชมหรือผู้ฟัง รวมไปถึงการขอเงิน หรือทรัพย์สินกันฐานญาติมิตร หรือการ เรี่ยไรตามกฎหมาย ไม่ถือว่าเป็นการขอทานตามกฎหมายฉบับนี้109 อีกทั้งยังได้กาหนดขั้นตอนและ วิธีการในการขออนุญาตเจ้าหน้าที่ เพื่อกระทาการแสดงความสามารถดังกล่าวไว้ โดยไม่ได้บัญญัติถึง บทลงโทษในกรณีที่มีการฝ่าฝืนไว้ เพียงแต่มีข้อกาหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นใน เขตพื้นที่ มีอานาจสั่งให้หยุดหรือยกเลิกการกระทาดังกล่าวไว้เท่านั้น110 บทบัญญัติในลักษณะดังกล่าวยังคงถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจขอทาน หรือค้า มนุษย์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการกระทา ไปเป็นการบังคับให้ทาการแสดงหรือเรี่ยไร เพื่อหลีกเลี่ยงการ กระทาทีต่ ้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ประกอบกับปัจจัยบางประการที่ทาให้บุคคลไร้บ้านนั้นยินยอม กระทาตาม ทาให้กฎหมายฉบับดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหาขบวนการธุรกิจขอทาน และการค้า มนุ ษ ย์ ไ ด้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ฉะนั้ น การด าเนิ น การทางกฎหมายกั บ ขบวนการขอทาน จึ ง ต้ อ งน า พระราชบัญญัติ ค วบคุ มขอทาน พ.ศ. 2559 มาพิจารณาร่ว มกับ พระราชบัญญัติ ป้อ งกั น และ ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งภายหลังจากการประกาศให้การค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ นอกจากจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทานฉบับใหม่แล้ว ยัง ได้มีการประกาศใช้ 108

พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 มาตรา 22 ผู้ใดแสวงหาประโยชน์จากผู้ทาการขอทานโดยการใช้ จ้าง วาน สนับสนุน ยุยงส่งเสริม หรือกระทาด้วย วิธีการอื่นใดให้ผู้อื่นทาการขอทาน ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ ถ้าการกระทาความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทาดังต่อไปนี้ ผู้กระทาต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ (๑) กระทาต่อหญิงมีครรภ์ ผูส้ ูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้เจ็บป่วย (๒) ร่วมกันกระทาหรือกระทากับบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ... (๔) กระทาโดยผู้ปกครองหรือผูด้ ูแลของผู้ทาการขอทาน ... ความในวรรคหนึ่ง และวรรคสอง (๑) (๒) และ (๔) ไม่ใช้บังคับกับการกระทาระหว่างบุพการีและผูส้ ืบสันดาน 109 พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 มาตรา 13 วรรคท้าย การแสดงความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรีหรือการแสดงอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินจาก ผู้ชมหรือผู้ฟัง การขอเงินหรือทรัพย์สินกันฐานญาติมิตร หรือการเรี่ยไรตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไร ไม่ถือ ว่าเป็นการขอทานตามพระราชบัญญัตินี้ 110 พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 มาตรา 14 ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้แสดงความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรีหรือการแสดงอื่นใดตามมาตรา ๑๓ วรรคสาม ให้ผู้นั้นแจ้งเพื่อเป็นผู้แสดงความสามารถตามระเบียบที่คณะกรรมการกาหนด และเมื่อจะแสดง ความสามารถในพื้นที่ใด ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตพื้นที่นั้น เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตพื้นที่ได้รับแจ้ง แล้ว ให้ออกใบรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตพื้นที่ประกาศเป็นการทั่วไปเพื่อกาหนดเขต พื้นที่หรือสถานที่ใดอันเป็นที่สาธารณะ วันเวลา การใช้อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใด ให้ใช้ในการแสดงความสามารถ ผู้ใดกระทาการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตพื้นที่มีอานาจสั่งให้ผู้ นั้นหยุดหรือเลิกกระทาการดังกล่าวได้

4 - 43


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพิ่มเติมอีก 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้า มนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกั นและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยกาหนดให้มีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้พบเห็นเหตุการค้ามนุษย์ แจ้ง ข้อมู ล ต่อเจ้ าหน้ า ที่ข องรั ฐ และกาหนดมาตรการเพิ่ม อ านาจทางปกครองให้ แ ก่เ จ้าหน้า ที่ รวมทั้ ง ปรั บ ปรุ ง บทก าหนดโทษที่ เ กี่ ย วข้ อ งให้ เ หมาะสมยิ่ ง ขึ้ น 111 และ พระราชบั ญ ญั ติ ป้ อ งกั น และ ปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ที่มีการแก้ไขคานิยาม และเพิ่มลักษณะความผิด ฐานค้ามนุษย์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น และมีการปรับเพิ่มโทษปรับให้สูงขึ้นกว่าเดิม112 กฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ได้มีการบัญญัติถึงการกระทา ที่เป็นการค้ามนุษย์ไว้อย่างกว้างขว้าง รวมไปถึงการนิยามให้การกระทาความผิดฐานค้ามนุษย์ ว่ามีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม โดยสรุป นิยามของการกระทาได้เป็น 3 ส่วน คือ ลักษณะการกระทา วิธีการ และวัตถุประสงค์ ที่นาไปสู่การหา ประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคลอื่นไม่ว่าจะในรูปแบบใด และไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมสมัครใจหรือไม่ก็ ตาม โดยการกระทาที่ตรงกับนิยามคาว่า “ แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” คือ การค้าประเวณี การเอา คนลงเป็นทาส การนาคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ113 ทั้งนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวยัง ได้กาหนดบทลงโทษไว้สาหรับบุคคลและนิติบุคคล ในกรณีที่มีการกระทาที่มีลักษณะเป็นการค้ามนุษย์ หรือการกระทาอื่นใด ที่เป็นการเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ 114 โดยมีโทษสูงสุด ถึงขั้น ประหารชีวิต115 ซึ่งนอกจากบทลงโทษแล้ ว กฎหมายฉบับดังกล่ าวยังได้บัญญัติถึง มาตรการ เยียวยา ช่วยเหลือ และคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ไว้อีกด้วย116 ในส่วนของกรณีคนไร้บ้านที่ตกเป็นเหยื่อของการขบวนขอทาน เป็นเด็กที่มีอายุต่ากว่า 18 ปี ซึ่งมิได้ทาการสมรสนั้น ต้องนากฎหมาย พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาพิจารณาควบคู่ กับกฎหมาย 2 ฉบับข้างต้น โดยเฉพาะบทบัญญัติที่ห้ามมิให้มีการกระทา ที่เป็นการบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง 111

ประกาศแล้ว พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โทษหนักผู้ฝ่าฝืน. (2558). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่ ง ที่ ม า : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430208867 สื บ ค้ น วั น ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 112 รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายค้ามนุษย์ ฉบับที่ 3 เพิ่ม. (2560). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่ ง ที่ ม า : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=6807&filename=index สื บ ค้ น วั น ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 113 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ...การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิต หรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่นการเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะคล้าย ทาส การนาคนมาขอทาน การตัดอวัยวะเพื่อการค้า การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอัน เป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม 114 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 หมวด 6 115 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 9 ถ้าการกระทาผิดตามมาตรา ๕๒ หรือมาตรา ๕๓ วรรคสอง เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทา (๑) รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่แปดปีถึงยีส่ ิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือจาคุกตลอดชีวิต (๒) ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจาคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต 116 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 หมวด 4

4 - 44


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ส่งเสริม ยินยอม หรือ การอื่น ให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือเป็นเครื่องมือในการขอทาน หรือ การกระทาอื่นที่เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก117 อันเป็นบทบัญญัติที่กาหนดพฤติการณ์ การกระทาที่ถือเป็นความผิดกับเด็กที่มีอายุต่ากว่า 18 ปี แต่อย่ างไรก็ตาม แม้จ ะมีกฎหมายหลายฉบับที่บั งคับใช้แก่ กรณีดังกล่ าว แต่กลั บมี การนา กฎหมายไปบังคับใช้อย่างบิดเบือน ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยเฉพาะใน กฎหมาย พระราชบัญ ญัติ ค วบคุม ขอทาน พ.ศ. 2559 ที่มีการปรับปรุงแก้ไขให้ มีบ ทลงโทษแก่ผู้ แสวงหา ประโยชน์จากขอทาน เพื่อหยุดยั้งต้นตอของการกระทาที่นาไปสู่การขอทาน แต่ทว่าผู้บังคับใช้กฎหมาย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องยังคงนากฎหมายไปบังคับใช้เพียงแค่ลงโทษกลุ่มคนขอทานเท่านั้น ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูล ของ โครงการรณรงค์ยุติธุ รกิจเด็กขอทาน มูลนิธิ กระจกเงา พบปัญหาจากการบังคับใช้กฎหมายอีกประการ นั่นคือ ตัวเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายนั้น ยังมีความ สับสนว่าจะบังคับใช้กฎหมายฉบับใดเป็นหลัก ในการดาเนินคดีกับผู้ที่พาเด็กมาขอทาน เนื่องจากปัญหา ขอทานเด็กนั้นมีหลายกรณีด้วยกัน ทั้งกรณีค้ามนุษย์ บุพการีกระทากับผู้สืบสันดาน (ที่มีทั้งการบังคับ และเด็กสมัครใจมาทาการขอทาน) เด็กถูกทอดทิ้ง หรือ เป็นเด็กที่มาขอทานเพื่อประทังชีพ เอง ความ สับสนเหล่านี้ ได้ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตารวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบางแห่ง นากฎหมายที่มีอัตราโทษที่ รุนแรงเกินความจาเป็นมาบังคับใช้ แก่กรณี ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เจ้าหน้าที่ใช้เพียงดุลพินิจของตน แต่ ไม่ได้ น ากรณีศึกษาต่างๆ มาทาการวิเคราะห์ และกาหนดวิธีการหรือขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อให้ ทุก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ มูลนิธิกระจกเงาได้เสนอแนะให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาเด็กขอทาน ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการหารือถึงแนวทางการปฏิบัติ ให้เป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน เพื่อมิให้เกิดการลักลั่นในการบังคับใช้กฎหมาย และมีความเป็นระบบระเบียบมาก ยิ่งขึ้น 118 2) การบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมายบนเรือประมง นอกเหนื อจากขบวนการขอทานแล้ ว การค้ามนุษย์ที่มักจะเชื่อมโยงกับกลุ่ มคนไร้บ้ า นอี ก ประเภทหนึ่ งก็ คื อ การบั งคับ ใช้ แรงงานผิ ด กฎหมายบนเรื อ ประมง ซึ่งการหลอกไปใช้ แรงงานบน เรือประมงนั้น เป็นลักษณะการแสวงหาแรงงานในรูปแบบที่ผิดกฎหมาย และมักจะมีการสร้างเครือข่าย กับกลุ่มคนในสายอาชีพต่างๆ เพื่อเสาะหากลุ่มชายทั่ว ไป โดยไม่คานึงถึงสมัครใจ และอายุ เพื่อไป ทางานบนเรื่องประมง โดยมีการหักค่าหน้านายจากการทางานเหล่านั้น ซึ่ง กลุ่มคนไร้บ้านก็ตกเป็น กลุ่มเป้าหมายของการเสาะหาดังกล่าวเช่นกัน119 117

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 อนุ 5 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทาการ ดังต่อไปนี้

… (๕) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทาด้วยประการใดให้เด็กไปเป็น ขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็น เครื่องมือในการขอทานหรือการกระทาผิด หรือกระทาด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก … 118 มูลนิธิกระจกเงา เผยรายงานสถานการณ์ปัญหาเด็กขอทานรอบปี 59. (2560). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://prachatai.com/journal/2017/01/69505 สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 119 อาชีพสุดเสี่ยง‘แรงงานบนเรือประมง’ ถูกหลอก งานหนัก เฆี่ยนตี ไม่ได้ค่าแรง. (2559). [ข้อมูลออนไลน์].

4 - 45


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 จากการสารวจของ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์มูลนิธิกระจกเงา (2551) พบว่ามีผู้ เดินทางเข้ามาหางานทาในเมืองหลวงจานวนมาก ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการถูกบังคับให้ใช้แรงงานบนเรือประมง ซึ่งลักษณะพฤติกรรมของขบวนการค้ามนุษย์ จะเริ่มจาก การมองหาเหยื่อที่เดินทางเข้ามาหางานทาในกรุงเทพฯ เหยื่อที่ไม่มีงานทาและเหยื่อที่ไม่มีที่พักอาศัย เป็นหลักแหล่ง ขบวนการค้ามนุษย์กลุ่มนี้จะเข้าไปทาที่ตีสนิท พูดคุย ชักชวน และนาเสนอว่ามีงานให้ทา เป็ น งานสบาย รายได้ ดี ซึ่ ง ผู้ เ สี ย หายส่ ว นใหญ่มั ก จะหลงเชื่ อ ผลสุ ด ท้ า ยจึ ง ถู ก นาไปขายต่ อ ให้ กับ เรือประมงในราคาประมาณ 1-3 หมื่นบาทต่อหัว120 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนไร้บ้านของ อ.บุญเลิศ วิเศษปรีชา ที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือ ในชื่อเรื่องว่า “ โลกของคนไร้บ้าน ” นั้น ได้เล่าถึงประสบการณ์ของคนไร้บ้านที่ตกเป็นเหยื่อ การค้า มนุษย์บนเรือประมง โดยอธิบายถึงการถูกบุคคลที่แสดงตนว่าเป็นนายหน้าหลอกไปลงเรือประมง และ ให้ทางานในลักษณะงานที่หนักและได้ค่าแรงไม่ครบ เนื่องจากมีการหักค่าแรง คนไร้บ้านที่เผชิญกับ ประสบการณ์ดังกล่าว บางคนสามารถไหวตัวทันหลบหนีมาได้ ส่วนบางคนไม่สามารถหลบหนีมาได้ อีก ทั้งยังต้องประสบเหตุทาให้พิการ โดยเรือประมงไม่รับผิดชอบใดๆ เพียงแค่ นาตัวไปส่งให้กองทัพเรือ เท่านั้น121 อีกหนึ่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนั้น นที สรวารี นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ซึง่ ได้ทางานกับเด็กเร่ร่อนมาเป็นระยะเวลานาน ได้อธิบายว่าสถานการณ์เด็กเร่ร่อนในปัจจุบันนั้น กาลัง เลวร้ายลงเป็นอย่างมาก ด้วยสถานการณ์ที่เด็กเร่ร่อนจานวนมาก ถูกชักจูงเข้าสู่กระบวนการของธุรกิจ ผิดกฎหมายรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจค้ามนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการค้าบริก ารทางเพศจนถึงแรงงาน เถื่อน นที ให้ข้อมูลว่าเรื่องแรงงานทาสบนเรือประมงนั้น จะมีเรือประมง 2 ลา โดยลาหนึ่งจะมีการจด ทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ทาหน้าที่คอยส่งแรงงานทาสไปให้เรือ อีกลาหนึ่ง ที่จะลอยอยู่กลางทะเล ซึ่งวิธีการพาตัวเด็กขึ้นไปบนเรือก็จะมีด้วยกันหลายวิธี ตั้งแต่การมอมยาไปจนถึงการใช้กาลัง และเมื่อ ขึ้นไปอยู่บนเรือแล้ว เจ้าของเรือก็จะควบคุมเด็กเหล่านั้นด้วยวิธีต่างๆ ตั้งแต่การทรมานทุบตี การบังคับ ให้เสพยาเสพติด ไปจนถึงการนาผู้หญิงไปขายบริการทางเพศบนเรือ ทั้งนี้ กลุ่มค้ามนุษย์เหล่านี้จะอาศัย พื้นที่แถวฝั่งธน วงเวียนใหญ่ มหาชัย เป็นสถานที่ดาเนินการดังกล่าว นที ยังได้กล่าวอีกว่า ในแต่ละปีมักมีเด็กเร่ร่อนจานวนนับไม่ถ้วนหายไปจากท้องถนน ส่วนใหญ่ จะถูกนาเข้าสู่ กระบวนการค้ามนุ ษย์ ซึ่งเมื่อถูกใช้งานจนถึงระยะหนึ่งหรือจนแรงงานหมดแรงแล้ ว แรงงานเหล่านั้น จะถูกฆ่าด้วยการถีบลงเรือให้จมน้าตาย หรือในธุรกิจยาเสพติดก็มักจะปิดปากเด็ก เหล่านี้โดยการให้เสพยาจนเกินขนาดตาย หรือให้เสพยาจนมึนเมาแล้วผลักตกคลอง ให้เด็กช่วยตัวเอง ไม่ได้จนตายไปเอง ซึง่ เมื่อตารวจมาพบศพก็จะสรุปว่าเด็กเหล่านั้น เสพยาจนมึนเมาและตกคลองตายไป เอง โดย นที เองนั้ น ก็ไม่ทราบจ านวนเด็กเร่ร่อน ผู้ ตกเป็นเหยื่อของขนวนการค้ามนุษย์ ที่แ น่ น อน เนื่องจากเด็กเร่ร่อนส่วนใหญ่ที่หายไปแล้วนั้น มักจะไม่ได้รอดกลับมา อีกทั้งสาเหตุสาคัญที่ทาให้เด็ก แหล่งที่มา : http://www.tcijthai.com/news/2016/10/scoop/6454 สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 120 5 จุดเสี่ยงในกทม.แหล่งค้ามนุษย์ล่อลวงคนงาน. (2551). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่ ง ที่ ม า : http://www.mirror.or.th/autopagev4/show_page.php?topic_id=976&auto_id=10& TopicPk= สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 121 บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2546). โลกของคนไร้บ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. หน้า 77,138

4 - 46


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 เร่ร่อนเป็นเหยื่อของธุรกิจผิดกฎหมายเหล่านี้ เพราะเด็กเร่ร่อนเหล่านี้ไม่มีเอกสารทางราชการมาเป็น หลักฐานในการยืนยันตัวตน ไม่มีแม้แต่บัตรประชาชน เด็กส่วนใหญ่ออกเร่ร่อนตั้งแต่อายุ 12-14 ปี เมื่อแจ้งความกับตารวจก็มักจะไม่ได้รั บความสนใจ อีกทั้งบางครั้งยังมีปัญหาเรื่องสัญชาติ ดังนี้ แทนที่ เด็กจะได้รับการช่วยเหลือ กลับถูกเข้าใจผิดว่าเป็ นแรงงานต่างด้าว และถูกผลักดันออกนอกประเทศ แทน นอกจากนี้ นที ยังได้ถ่ายทอดประสบการณ์โดยตรงของ เพชร คนไร้บ้านที่ถูกหลอกลงเรือ และได้เล่าถึงประสบการณ์ที่เขาถูกติดต่อ ให้ทางานบนเรือหาปลาด้วยค่าตอบแทนที่น่าสนใจ แต่กลับ ถูกบังคับให้ทางานโดยไม่มีวันหยุดต่อเนื่องกันถึง 4 เดือน วันละมากกว่า 20 ชั่วโมง โดยต้องทางานทุก รูปแบบ ตั้งแต่หาปลาไปจนถึงเป็นกะลาสีเรือจาเป็น ทีแ่ ม้จะได้รับบาดเจ็บจากการทางานแต่ก็ยังต้องทา ต่อไป เพราะหากหยุดจะได้รับการลงโทษ ที่โหดร้ายและทารุณมากกว่าแผลที่ได้รับบาดเจ็บ บางครั้งมี การขู่ฆ่าและนาศพทิ้งลงทะเล หากไม่ทางานต่อโดยให้เหตุผลว่าเรือนั้นอยู่บนน่านน้าประเทศอื่น หาก เรียกให้ตารวจช่วย ก็จะโดนตารวจประเทศนั้นจับกุมอีก เพชร เล่าว่า หลังจากที่หนีออกมาได้ กลับถูก กลุ่มผู้ค้ามนุษย์พาไปทางานลักษณะดังกล่าวอีกครั้ง โดยการอุ้มพาตัวไปโดยไม่ได้ยินยอม และแม้จะทา การหนีก่อนขึ้นเรือเพื่อไปแจ้งตารวจ แต่ตารวจกลับนาตัวมาส่งให้กลุ่มค้ามนุษย์นั้นอีกครั้งเพราะรู้จักกัน เมื่อรู้ว่าตารวจไม่สามารถช่วยได้ จึงยอมกลับไปทางานอีกครั้งและได้หลบหนีออกมาในภายหลัง เพชร ยังได้ให้ข้อมูลอีกว่า กลุ่มผู้ค้ามนุษย์มักอาศัยพื้นที่แถววงเวียนใหญ่ และแถววัดดงมูลเหล็ก พระประแดง มองหาเด็กเร่ร่อน โดยทาทีเข้าไปชักชวนก่อนหนึ่งคน ถ้าเด็กไหวตัวทันก็จะพาพวก 4-5 คนเดินตาม บางครั้งก็อุ้มพาตัวไป หรือบางครั้งก็ใช้ปืน หรือมีดจี้ไป บางครั้งก็มอมยาให้หลับ เพื่อนาตัวไปขึ้นเรือ122 ในส่วนของกฎหมายระหว่างประเทศ แม้ใน ปี 2543 ประเทศไทยจะได้ลงนามเข้าร่วม ใน อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (United Nations Convention against Transnational Organized Crime ) และได้ร่ว มลงนามอีกครั้ ง ในปี 2544 ในพิธีสารเพิ่มเติมว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรี แ ล ะ เ ด็ ก ( Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons, Especially Women and Children) และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน พิธี สารว่า ด้วยการต่อต้า นการลักลอบขนผู้ โยกย้ายถิ่นฐานโดยทางบก ทะเล และอากาศ (Protocol Against the Smuggling of Migrants by Land, Sea and Air) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ การค้ามนุษย์ในรูปแบบการบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมาย บนเรือประมง โดยตรง และในปี 2556 ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีใน อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อ การต่ อ ต้ า นอาชญากรรมข้ า มชาติ ที่ จั ด ตั้ ง ในลั ก ษณะองค์ ก ร และ พิ ธี ส ารว่ า ด้ ว ยการป้ อ งกั น ปราบปรามและลงโทษ การค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก 123 แต่ไม่ได้ให้สัตยาบันใน พิธีสารว่า ด้ วยการต่ อต้ า นการลักลอบขนผู้โ ยกย้า ยถิ่น ฐานโดยทางบก ทะเล และอากาศ ส่ งผลให้ มีเพียง 122

นที สรวารี. (2555). คนเร่ร่อน กับความเสี่ยง โดนหลอกขึ้นเรือประมง. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.gotoknow.org/posts/165695 สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 123 พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาทรงยื่นสัตยาบันสารและพิธีสาร.... (2556). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http:// http://www.tijthailand.org/main/th/content/117.html สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560

4 - 47


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ข้อกาหนดในอนุสัญญาและพิธีสาร ที่มีการให้สัตยาบันเท่านั้นที่มีผลบังคับใช้ในประเทศไทยได้ ส่วนพิธี สารว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานโดยทางบก ทะเล และอากาศ ที่ ประเทศไทยได้ ลงนามแต่ไม่ได้ให้สัตยาบันนั้น ยังคงไม่มีผลบังคับใช้ ในประเทศ ประเทศไทยจึง มีฐานะเป็นเพียงรัฐ สังเกตการณ์ในปัญหาดังกล่าว และไม่สามารถใช้กลไกความร่วมมือตามพิธีสารฉบับดังกล่าวได้ ดังนี้ กฎหมายที่จะสามารถน ามาบังคับ ใช้ กับปัญหา การบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมายบนเรือประมง คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 เพียงฉบับเดียว ทาให้การป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบการบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมายนั้น ยังคงไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ 3) การค้าประเวณี การค้าประเวณีหรือการขายบริการทางเพศนั้น เป็นอาชีพที่นิยมในกลุ่มคนไร้บ้านบางกลุ่ ม โดยเฉพาะในกลุ่ ม คนไร้ บ้ านที่ ยั ง เป็ น เด็ ก หรื อเยาวชน เนื่องจากการเป็น สิ่ ง ที่ ทาได้ ง่า ย และได้ รั บ ค่าตอบแทนง่ายกว่า เมื่อเทีย บกับ การทางานแบบอื่น โดยใช้ เพียงแค่ ร่างกายของตนเอง ซึ่งมักจะ ก่อให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งในกลุ่มคนไร้บ้านเองและสังคมภายนอก เช่น การตั้งครรภ์ในขณะที่ยังไม่ พร้อม หรือ เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศ หรือ ภาพลักษณ์ของสังคม จากข้อมูล ของ ทศพล บัวศรี ผู้ ประสานงานมูลนิธิส ร้างสรรค์เด็ก ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเด็กเร่ร่อนในปี 2553 พบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว เด็กเร่ร่อนนิยมขายบริการกันมากขึ้น เพราะ สามารถหาเงินได้ง่าย เมื่อเทียบกับการรับจ้างทั่วไปหรือการเก็บขยะ โดยไม่ได้คานึงถึงโรคติดต่อหรือ ภาพลักษณ์ของตน ซึง่ เด็กที่ขายบริการส่วนมากจะเป็นเด็กผู้ชายอายุประมาณ 14-24 ปี 124 การค้าประเวณี มีกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติไว้นั้นคือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้าประเวณี พ.ศ. 2539 โดยได้กาหนดการกระทาผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีเป็นความผิดซึ่ง จะต้องได้รับโทษ โดยมีทั้งโทษปรับและโทษจาคุก ซึ่งครอบคลุมไปถึงตัวผู้ค้าประเวณี ผู้เป็นธุระจัดหา ล่อหรือชักพา บุคคลอื่น ไปค้าประเวณี รวมถึง ผู้เข้าไปใช้บริการด้วย125 และในกรณีของผู้ แสวงหา ประโยชน์นั้น ย่อมสามารถดาเนินการทางกฎหมายได้ โดยพิจารณาร่วมกับ พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้า มนุษย์ พ.ศ. 2551 ทาให้ในแง่ของกฎหมายในเรื่องการค้าประเวณีนั้น มี กฎหมายที่คลอบคลุม และเพียงพอต่อการยับยั้งและป้องกันการค้าประเวณี แต่ในทางปฏิบัติ การค้าประเวณียังคงมีให้เห็นกันอย่างทั่วไป โดยคนไร้บ้านยังคงตกเป็นเหยื่อ จากการค้ามนุษย์ในรูปแบบดังกล่าว และถึงแม้ในทุกปีจะมีการปราบปรามและจับกุมอย่างต่อเนื่อง แต่ ปัญหาการค้าประเวณีก็ยังคงไม่หมดไปหรือมีทีท่าว่าจะลดลง ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่มาจากการบังคับใช้ กฎหมายของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย จนทาให้มีการประกาศมาตรการลงโทษภายในหน่วยงานที่ รับผิดชอบต่อพื้นที่ ที่มีผลการปฏิบัติน้อยหรือไม่กวดขันจับกุม 126 124

ทศพล บัวศรี. อ้างถึงใน เด็กเร่ร่อนฮิตขายตัวพุ่ง. (2553). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.posttoday.com/analysis/report/34773 สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 125 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 126 บช.น.แถลงจับค้ามนุษย์ 5 ราย คาดโทษจนท.ละเลยสั่งช่วยราชการ 30 วัน. (2560). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_508640 สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560

4 - 48


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 3.1 ทัศนคติของรัฐต่อคนไร้บ้านและอาชญากรรม 1) ในทางกฎหมาย จะสังเกตได้ว่าใน พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่ได้กล่าวมาข้างต้น บัญญัติ คา ว่า “เด็กเร่ร่อน” ว่าเป็นการกระทาที่ต้องห้ามในหมวดหมู่เดียวกับ “การขอทาน” โดยได้นิยามคาว่า “เด็กเร่ร่อน” ไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับ “เด็กไร้บ้าน” กล่าวคือ เด็กที่ไม่มีบุพการีหรือผู้ปกครองดูแล หรือมีแต่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้ต้ องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ รวมไปถึงเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิต เร่ร่อนจนอาจจะเกิดอันตรายได้ 127 โดยรัฐไทยในปัจจุบัน มักจะใช้คาว่า “คนเร่ร่อน” เพื่อนิยามถึง บุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง อันเป็นลักษณะหนึ่งของกลุ่มคนที่เรียกว่าคนไร้ที่พึ่ง 128 การแสดงทัศนคติของรัฐต่อคนไร้บ้านผ่านบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ได้ปรากฏขึ้นครั้งแรกใน พระราชบั ญญัติ ฉบั บ ดังกล่ าว แต่ กฎหมายบางฉบับในอดีต ก็ ได้ มีการบัญญัติถึงบุ คคลที่มีลั ก ษณะ ใกล้เคียงกับคนไร้บ้าน โดยใช้คานิยามลักษณะอื่น อาทิ กฎหมายตราสามดวง ในส่วนของพระอัยการลักษณะพยานนั้น ได้ บัญญัติถึงบุคคลที่มีลักษณะ “คนไม่มีเรือนที่อยู่ ” เป็น 1 ใน 33 จาพวกพยานที่ต้องห้ามรับฟัง ด้วยเหตุผลที่ว่า คนจรจัดในลักษณะดังกล่าว มีฐานะทาง สั ง คมหรื อ มี อ าชี พ บางอย่ า งที่ไ ม่ ย อมรั บ ท าให้ ถ้ อ ยค าของบุ ค คลเหล่ า นี้ ไ ม่ น่า เชื่อ ถื อ และสั ง คมไม่ ยอมรับ129 แม้ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จะมีการบัญญัติ แก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ด้วยการตราพระราชบัญญัติเรื่องพยานบุคคลที่รับฟังได้เพิ่ม 11 จาพวก ซึง่ ทั้งหมดเคยเป็นพยานจาพวกต้องห้ามรับฟัง ทาให้พยานจาพวกต้องห้ามรับฟังเหลือเพียง 22 จาพวก เท่านั้น แต่ “คนไม่มีเรือนที่อยู่” ยังคงมีสถานะเป็นพยานต้องห้ามรับ ฟังเช่นเดิม130 จนกระทั่งมีการ ยกเลิกบทบัญญัติเรื่องพยานต้องห้ามรับฟังดังกล่าว ในพระราชบัญญัติลักษณะพยาน ร.ศ.113 และ เปลี่ ย นเงื่อนไขในการรั บ ฟังพยานหลั กฐาน เป็นคุณสมบัติ ทางร่างกายของพยานบุคคลแทนจนถึ ง ปัจจุบัน 131 พระราชบัญญัติดัดสันดานคนจรจัดและคนที่เคยต้องโทษหลายครั้ง ร.ศ. 127 มีใจความสาคัญในตอนต้นว่า 127

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 4 ... “เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดู ได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพ ของตน 128 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. คนไร้ที่พึ่ง. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://61.19.50.68/dsdw/page.php?module=service&pg=servicedetail&ser_id=1 สืบค้น วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 129 อภินันท์ ศรีศิริ. (2552). เปรียบเทียบแนวคิดและหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานตามกฎหมายตราสาม ดวงกับคดีอาญาไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 68,71 130 เพิ่งอ้าง, หน้า 95 131 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (129), หน้า 101

4 - 49


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 “มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ดารัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า เวลานี้มีคนบางจาพวกที่ปรากฏว่า มิได้ประกอบการทามาหาเลี้ยง ชีพอย่างใด และไม่มีหลักแหล่ง เที่ยวอาศัยนอนตามศาลาวัดบ้าง ตามโรงบ่อนบ้าง โดยมากเป็นคนที่ ประพฤติการชั่วฉกชิงวิ่งราว ลักทรัพย์ของสาธารณชน ต้องรับพระราชอาญาคนละหลายๆ ครั้งก็มี คน จาพวกเหล่านี้ สมควรที่จะมีที่ดัดสันดานให้กลับเป็นคนประพฤติดี ประกอบการทามาหาเลี้ยงชีพเป็น ประโยชน์แก่ตนต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้สืบไป”132 ถ้อยคาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ เกิดขึ้นในบริบทของยุคสมัยที่คนไร้บ้านที่ไม่มีที่ อยู่อาศัย และไม่ได้ประกอบอาชี พอื่นใด จึงถูกรัฐไทยในสมัยนั้นมองว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีพฤติกรรม ในทางที่ไม่ดีและเป็นอาชญากรรม จึงได้ทาการบัญญัติ เหตุเพิ่มโทษไว้หลายประการ เช่น การขับไล่ ออกไปอยู่หัวเมืองอื่น133 อย่างไรก็ตาม แม้ภายหลังจะมีการบัญญัติ พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ. 2479 เพื่อยกเลิ กกฎหมายฉบับ ดังกล่ าวแล้ ว แต่ยังคงมีข้อความที่ระบุว่า “นอกจากบทบัญญัติที่ เกี่ ย วกั บ คนจรจั ด ” 134ยกเว้ น ไว้ ซึ่ ง กฎหมายดั ง กล่ า วยั ง คงบั ง คั บ ใช้ จ นกระทั่ ง มี ก ารบั ญ ญั ติ พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. 2546 เพื่อยกเลิก กฎหมายฉบับดังกล่าว ร่วมกับกฎหมายฉบับอื่นที่ไม่เหมาะสมก็ช่วงเวลานั้นด้วย135 พระราชกฤษฎีกาควบคุมคนจรจัดและผู้ไม่ประกอบอาชีพ พ.ศ. 2485 เป็นกฎหมายที่มีการบัญญัติถึงบุคคลที่มีลักษณะเป็น “คนไร้บ้าน” ภายใต้นิยามคาว่า “คนจร จัด” ไว้อย่างชัดเจน ในความหมายที่ว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และไม่ ปรากฏการทามาหา เลี้ยงชีพอย่างไร136 โดยมีการบัญญัติถึงอานาจของเจ้าหน้าที่ในการเรียกตัว หรือจับกุมผู้ต้องสงสัยว่า เป็นคนจรจัดเอาไว้137 รวมถึงมีมาตรการฟื้นฟูเยียวยา ด้วยการส่งตัวไปยังกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อให้ มีการจัดหางานที่เหมาะสมกับบุคคลเหล่านั้น 138 ซึ่งหากพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าว จะพบว่าสังคม และรัฐไทยในช่วงเวลานั้นภายหลังจากการตั้งกรมประชาสงเคราะห์ รัฐเริ่มมีทัศนคติที่ยอมรับคนไร้บ้าน ในฐานะประชาชนมากขึ้น โดยแสดงออกผ่านมาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูตามกฎหมายดังกล่าว

พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557

132

คานา ใน พระราชบัญญัติดัดสันดานคนจรจัดและคนที่เคยต้องโทษหลายครั้ง รวมรวมโดย นายร้อยตารวจโท สเถียร วิชัยลักษณ์ 133 พระราชบัญญัติดัดสันดานคนจรจัดและคนที่เคยต้องโทษหลายครั้ง มาตรา 1 - 2 134 พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ. 2479 มาตรา 3 135 บัญชีท้ายพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๖ 136 พระราชกฤษฎีกาควบคุมคนจรจัดและผู้ไม่ประกอบอาชีพ พ.ศ. 2485 มาตรา 3 137 พระราชกฤษฎีกาควบคุมคนจรจัดและผู้ไม่ประกอบอาชีพ พ.ศ. 2485 มาตรา 4 138 พระราชกฤษฎีกาควบคุมคนจรจัดและผู้ไม่ประกอบอาชีพ พ.ศ. 2485 มาตรา 6

4 - 50


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 กฎหมายฉบั บ นี้ ถื อ ว่า เป็ น กฎหมายฉบั บหลั ง สุ ด ที่ มี การบั ญญั ติ ถึ งนิ ยามบุ ค คลที่ มีลั ก ษณะ เดียวกับคนไร้บ้านไว้ โดยนิยามให้อยู่ในกลุ่มบุคคลประเภท “คนไร้ที่พึ่ง” ซึ่งหมายความถึง บุคคลซึ่งไร้ ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ รวมถึงบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพา บุคคลอื่นได้139 ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ ได้บัญญัติขึ้น เพื่อกาหนดมาตรการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งใน รู ป แบบต่างๆ อย่ างเป็ น กิจ จะลั กษณะ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงมุมมองของรัฐ ไทยต่อคนไร้บ้าน ผ่ าน บทบัญญัติของกฎหมายที่พัฒนามาถึงช่วงเวลาปัจจุบัน 2) พฤติการณ์ของรัฐ คนไร้บ้านกับภาพลักษณ์ของประเทศ สิ่งที่สะท้อนทัศนคติของรัฐต่อคนไร้บ้านได้ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น มาตรการหรือนโยบายที่มีขึ้นต่อ คนไร้บ้าน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สนามหลวง ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่มักจะเป็นที่อยู่อาศัยของคน ไร้บ้านในกรุงเทพมหานครมาเนิ่นนาน โดยในปี พ.ศ. 2544 สมัย ที่ สมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการออก ประกาศโดยสานักงานเขตพระนคร ห้ามบุคคลเข้าไปใช้พื้นที่ตั้งแต่เวลา 23.00-05.00 น. และได้มี การตั้งเต็นท์ใกล้กับอนุสาวรีย์หมูข้างคลองหลอด เพื่อให้ คนไร้บ้านหรือคนที่มาจากต่างจังหวัดใช้เป็นที่ หลับนอนชั่วคราว ด้วยเหตุที่ไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นาเอเชีย-แปซิฟิก(เอเปค) จึงทา ให้กรุงเทพต้องปรับปรุงพื้นที่สนามหลวงทั้งหมด ต่อมาปี พ.ศ. 2548 ในสมัย อภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ประกาศ จัดระเบียบสนามหลวงรอบใหม่ โดยห้ามบุคคลใดๆ เข้าไปใช้พื้นที่ดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 23.00-05.00 น. มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548 เป็นต้นไป เพื่อแก้ปัญหาการค้าประเวณี ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาคนเร่ร่อน-คนจรจัด และหาบเร่แผงลอย140 ต่อมาภายหลังปี พ.ศ.2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้เข้ามาดารงตาแหน่งผู้ว่า ราชการกรุ งเทพมหานคร แม้เจ้ าหน้าที่รัฐ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่ส นามหลวงในยุคสมัยดังกล่าว บางส่วนจะพ้นวาระออกไปแล้วก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่รัฐใหม่ที่เข้ามาแทนยังคงนาทัศนคติที่มองคนไร้บ้าน เป็นปัญหา เฉกเช่นเดียวกับการกระทาผิดกฎหมายประเภทอื่น และยังคงมีการใช้มาตรการกวาดล้างคน

139

พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 มาตรา 3 ...“คนไร้ที่พึ่ง” หมายความว่า บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และให้รวมถึง บุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด 140 “สนามหลวง” มหากาพย์ไล่รื้อที่ไม่จบสิ้น(1). (2553). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000029105 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560

4 - 51


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ไร้บ้านในบริเวณดังกล่าวเป็นนโยบายหลัก 141 142 โดยเริ่มจากการใช้มาตรการทางกฎหมายภายใต้ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 เพื่อ จัดระเบียบสนามหลวง โดยมีเป้าหมายสาคัญที่จะกวาดล้างคนไร้บ้าน และผู้ชุมนุมทางการเมืองออกไป จากสถานที่ดังกล่าว 143 144 รวมถึงมีการปิดสนามหลวงกวาดล้างคนไร้บ้านด้วยเหตุอาศัยเหตุเรื่อง อาชญากรรม 145 งานวิจัยของ บุญเลิศ วิเศษปรีชา ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นนั้น มีเนื้อหาที่แสดงให้เห็ น ถึง ข้อมูล การปิ ดสนามหลวงในช่วงปี 2544 พบว่า ในระหว่างการประกาศปิดสนามหลวงนั้น มีการ แสดงออกในรูปแบบทัศนคติจากทางรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐ ผ่านการจัดกลุ่มคนเร่ร่อนไว้ให้อยู่ในประเภท เดียวกับโสเภณีและมิจฉาชีพ ประกอบกับการใช้คาเรียกว่า “จรจัด” เฉกเช่นเดียวกับ “หมาจรจัด” ของ ทางเจ้าหน้ า ระดับ สู งของรั ฐ หรื อผู้ ว่ าราชการ และให้ เหตุผ ลในการปิ ดสนามหลวงว่า เพื่อ ป้ อ งกั น อาชญากรรมหรื อการกระทาใดๆ ที่อาจจะเป็นเหตุแห่ งความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิ นของ ประชาชนทั่วไป และ การกวาดล้างคนเร่ร่อนออกจากสนามหลวง ก็เพื่อเป็นการปรับภูมิทัศน์บริเวณ สนามหลวง เพื่อให้เกิดความสวยงามและเหมาะสมกับการเป็นเมืองหลวงและสถานที่ท่องเที่ยว146 ในกรณี ดั ง กล่ า ว ปฐมฤกษ์ เกตุ ทั ต อาจารย์ ป ระจ าคณะสั ง คมวิ ท ยาและมานุ ษ ยวิ ท ยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงทัศนะ บนเวทีเสวนาเรื่อง "ปิดสนามหลวง (2) : แก้ไขปัญหาคน เร่ร่อน คนด้อยโอกาส และคนขายบริการได้จริงหรือ?" (2548) โดยมีใจความว่า "ประวัติศาสตร์การปิดสนามหลวงที่ผ่านมามักมีนัยยะเบื้องหลัง อย่างการปิด ครั้งแรกในสมัยที่คุณสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็เป็นการปิดเพื่อการ ประชุม APEC เป็นการกวาดล้างคนเหล่านี้ไปเก็บไว้ การปิดสนามหลวงครั้งที่ 2 ก็เพราะ รัฐบาลจะมีการจัดงานที่อ ยู่อาศัยสากล จึงมีการนาคนเหล่านี้ไปเก็บไว้เพื่อเป็นการหลบฝรั่ง ส่วน "ผลกระทบจากการปิดสนามหลวงทั้ง 3 ประเด็นใหญ่ (คนไร้บ้าน ผู้ที่ค้าขายในพื้นที่ สนามหลวง และผู้ขายบริการทางเพศ) ต่างมีจุดร่วมกัน คือเป็นประเด็นเรื่องคนจนเมือง เป็น 141

“สุขุมพันธุ”์ โวขอเวลา 2 ปี กวาด “คนเร่ร่อน-ขอทาน-ขายตัว” เกลี้ยงสนามหลวง. (2552). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9520000099917 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 142 พรุ่งนี้! ดีเดย์จัดระเบียบคนเร่ร่อน กทม. เล็งสนามหลวงทาตลาดนัดดอกไม้แทนปากคลอง. (2552). [ข้อมูล ออนไลน์ ] แหล่ ง ที่ ม า : http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9520000099295 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 143 ‘จัดระเบียบสนามหลวง’ ใครจะอยู่ ใครจะไป?. (2552). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000103084 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 144 แต่งโฉม สนามหลวง สวย สะอาด ปลอดสิ่งไม่น่ามอง ! แต่ซ่อนปัญหาไว้เบื้องหลัง ?. (2554). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่ ง ที่ ม า : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1312877457 สื บ ค้ น วั น ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 145 ปิดสนามหลวงเขตอิทธิพลเถื่อน หยุดอาชญากรรม-คนเร่ร่อน-หญิงขายตัว. (2552). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.ryt9.com/s/nnd/837454 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 146 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (121), หน้า 5-6

4 - 52


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ปัญหาในการสร้างวาทกรรมว่า คนพวกนี้ขี้เกียจ เพราะถ้าไม่ขี้เกียจมันไม่จน คนพวกนี้มันเป็น โจร เป็นคนบ้า ถ้าไม่บ้ามันไม่ทา เป็นการนาความเลวของมนุษยชาติไปห้อยคอคนพวกนี้ เป็น การสร้างภาพประทับใจให้คนรู้สึกกลัว เจ้าหน้าที่เองก็ติดภาพจากวาทกรรมเหล่านั้น ทาให้ ประพฤติกับพวกเขาอย่างรุนแรง เป็นการทาให้เขาเป็นอาชญากรทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ทา เป็นการ ผลั กดัน ให้ เขาออกไปจากสั งคม ก่อเกิดอาชญากรรมแห่ งความโกรธ ความเกลี ยด (Hate Crime) อย่างในต่างประเทศก็จะมีการไล่ทุบตีคนเร่ร่อน เพราะรู้สึกว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่ส่วนหนึ่ง ของสังคม ทั้งที่คนจนเป็นคนเลี้ยงเมือง ไม่อย่างนั้นอาหารจานละ 10 บาทจะมาจากไหน สังคมต้องเข้าใจว่าคนจนมีคุณูปการอย่างไรกับเมือง" 147 ในมิติด้านความงามและมุมมองด้า นความศักดิ์สิทธิ์ของสนามหลวง งานของ บุภาพร ต๊ะรังสี มองว่า การจากัดเวลาเปิด-ปิดสนามหลวงนั้นก็เพื่อเป็นการป้องกัน กลุ่มคนที่ไม่พึงประสงค์หรือกลุ่มคน ที่ไม่มีคุณสมบั ติที่จ ะเป็ น ส่ ว นหนึ่ งของคนกลุ่ มใหญ่ ไม่ให้ เข้าไปใช้ส อยพื้นที่ ส นามหลวงในทางที่ไม่ เหมาะสม คนเร่ร่อน หรือ คนไร้บ้าน ทีเ่ ป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนไม่พึงประสงค์เหล่านั้น จึงไม่มีคุณสมบัติ ที่จะสามารถเข้าไปใช้พื้นที่ใ นแบบของตนได้ เนื่องจากกิจกรรมของพวกเขาไม่สอดคล้องกับแนวคิด ที่ สนับสนุนสถานะพิเศษของสนามหลวง 148 นอกจากนี้ อีกหนึ่ ง การกระทาของรัฐ ที่ บ่งชี้ให้ เห็ น ถึง การจั ดกลุ่ มคนไร้ บ้าน ให้ อยู่ในกลุ่ ม เดียวกับการขอทาน ที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ภายใต้มุมมองของรัฐ นั้นคือภายหลังจากที่มี การประกาศ การป้องกันปราบกรามการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติในปี 2558 นั้น ก็เริ่มมีการกวาดล้างกลุ่ม บุคคลบางประเภทเพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว โดยขอทานคือกลุ่ มคนประเภทหนึ่งที่ถูกกวาดล้าง และในการกวาดล้างขอทานดังกล่าวนั้น กลุ่มคนไร้บ้าน หรือที่รัฐไทยใช้คาที่เรียกว่ าคนเร่ร่อนนั้น กลับ ถูกกวาดล้างไปด้วย แม้กลุ่มคนไร้บ้านเหล่านั้นอาจจะไม่ได้ทาการขอทานก็ตาม 149 150 การกวาดล้างของรัฐในรูปแบบที่พุ่งเป้าไปที่คนไร้บ้านลักษณะดังกล่าว ไม่ได้เกิดขึ้นภายหลัง จากที่มีการประกาศให้ การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ ในปี 2558 เป็นครั้ง แรกแต่อย่างใด แต่มาตรการในลักษณะดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเทศกาล หรือเนื่องในวาระ พิเศษ หรือเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุผลเรื่องภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว ปรากฏให้เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมืองท่อ งเที่ย วหลั กของประเทศ ซึ่งกลุ่ มคนไร้บ้านมักจะถูกกวาดล้ างไปพร้อมกับกลุ่ มผู้ ก ระท า ความผิดลักษณะอื่น ที่ถูกกล่าวอ้างว่าทาให้เสื่อมเสียภาพลักษณ์เสมอ เช่น

147

ปิดสนามหลวง" แก้ไขปัญหาคนเร่ร่อน คนขายบริการได้จริงหรือ?. (2548). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://prachatai.com/journal/2005/11/21610 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 148 บุภาพร ต๊ะรังสี. มิติความงาม พื้นที่สาธารณะ และการเมืองในพื้นที่สนามหลวง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ปี ที่ 38(2). หน้า 104 149 ผบช.น.แถลงกวาดล้างขอทานแก้ปัญหาค้ามนุษย์. (2558). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://goo.gl/zXjn9y สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 150 จับขอทานเมืองกรุง101คน สนองนโยบายค้ามนุษย์. (2558). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/642372 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560

4 - 53


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 - การกวาดล้ า งจั บ คนเร่ ร่ อ นและขอทานในกรุ ง เทพมหานคร ช่ ว งเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556151 และ ปี 2557152 - การจั ด ระเบี ย บคนเร่ ร่ อ นหลั ง การชุ ม นุ ม คนเสื้ อ แดง เพื่ อ ให้ ทั น การจั ด งานเฉลิ ม พระ ชนมพรรษา 5 ธันวาคม (2553)153 - การกวาดล้างจับกุมขอทาน คนเร่ร่อนจรจัด ให้หมดในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต สร้างภาพลักษณ์ เมืองท่องเที่ยวระดับโลกในช่วงวันวาเลนไทน์ (2555)154 - การกวาดล้างขอทานเร่รอนรับประชุมครม.สัญจรที่ภูเก็ต (2555)155 - การกวาดล้างจับกุมคนเร่ร่อนและผู้จาหน่ายสินค้า ที่ก่อความราคาญให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อ ขจั ดปั ญหานั กท่ อ งเที่ ย วเบื่ อ หน่ าย และเสริมสร้างความมั่น ใจเรื่ อ งความปลอดภัย ในเมืองพั ท ยา (2553)156 - การกวาด ล้าง บริเวณชายหาดเมืองพัทยา เพื่อทาการกวาดล้างและปราบปรามบุคคลเร่ร่อน และผู้ ใ ห้ บ ริ ก าร และค้ า ประเวณี โ ดยผิ ด กฎหมาย หลั ง จากได้ รั บ การร้ อ งเรี ย นจากนั ก ท่ อ งเที่ ย ว (2555)157 - กวาดล้างจับกุมแก๊งขอทาน และบุคคลเร่ร่อนจรจัดทั่วเมืองพัทยา (2556)158 151

ดส.ระดมจับคนเร่ร่อนและขอทาน ช่วงเทศกาลสงกรานต์. (2556). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.chaoprayanews.com/2013/04/10/ดส-ระดมจับคนเร่ร่อนและข/ สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 152 ผกก.ดส.ระดมกวาดล้างขอทานเร่ร่อนกว่า50คน. (2557). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=529534 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 153 กทม.เร่งเคลียร์เต็นท์แดงสนามหลวง เดินหน้าปรับภูมิทัศน์ระลอก 2. (2553). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000054224 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 154 ภูเก็ตดีเดย์กวาดล้างขอทาน 14 ก.พ. สร้างภาพเมืองท่องเที่ยวระดับโลก. (2555). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9550000017557 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 155 กวาดล้างขอทานรับครม.สัญจรภูเก็ต.... โลก. (2555). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.posttoday.com/local/south/140144 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 156 พัทยาระดมกวาดล้างคนเร่ร่อนก่อความราคาญให้นักท่องเที่ยว. (2553). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000176074 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 157 จ.ชลบุรี ตร.กวาดจับหญิงบริการร่วม 30 คนชายหาดพัทยา. (2555). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539359126 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 158 กวาดล้างจับกุมแก๊งขอทานและบุคคลเร่ร่อนจรจัดทั่วเมืองพัทยา. (2556[ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://th.pattayadailynews.com/กวาดล้างจับกุมแก๊งขอทานและบุคคลเร่ร่อนจรจัดทั่วเมืองพัทยา สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560

4 - 54


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 - จัดระเบียบสนามหลวง คัดกรองคนจรจัด เพื่อไม่ให้คนเหล่านี้เข้ามากินอยู่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ ให้คนเข้ามากราบสักการะ เบื้องหน้าพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอ ดุลยเดช จึงอาจจะดูไม่เหมาะสม (2559)159 3.2 กรณีคนไร้บ้านกับอาชญากรรม นอกจากการแสดงออกของรัฐผ่านบทบัญญัติกฎหมาย หรือการกาหนดนโยบายและมาตรการ ต่อคนไร้บ้านแล้ว การแสดงออกของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลความ สงบเรียบร้อยในสังคม เจ้าหน้าที่บางส่วนมักจะมีทัศนคติที่มองว่า คนไร้บ้านเป็นผู้ต้องสงสัยในการก่อ อาชญากรรม หรือการกระทาผิดกฎหมายในที่สาธารณะ โดยจะใช้การรวบรวมข้อมูลผ่านวาทะหรือ พฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกนาเสนอผ่านข่าว หรือบทความ งานวิจัยเรื่องคนไร้บ้านของ บุญเลิศ วิเศษปรีชา ได้นาเสนอข้อมูลข่าวซึ่งพาดหัวว่า “ตารวจล้อมคอก 7 สะพานอันตราย เสี่ยงปล้น-ข่มขื่น” มีเนื้อหาข่าวว่า “ตารวจ ยอมรับใต้สะพานกรุงเทพ อันตราย เผย 7 จุดที่ต้องระวัง ไม่เว้นแม้แต่ตึกร้างกลางกรุงอีกกว่า 500 แห่ง ที่เป็นแหล่งมั่วสุม “สมัคร” เหน็บต้องยิงขาพวกจรจัดเท่านั้นถึงแก้ปัญหาได้” บุญเลิศ ได้อธิบายว่ารายงานข่าวดังกล่าวนั้น สืบเนื่องมาจากกรณีที่มีหญิงสาวถูกฉุดไปข่มขื่น ในช่วงปี 2546 โดยเนื้อหาข่าวได้ระบุสถานที่จุดอันตราย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นที่พักของคนไร้บ้าน เป็น การสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกของคนทั่วไป ที่มีต่อคนไร้บ้านที่หลับนอนในที่มืดตามที่สาธารณะได้เป็น อย่างดี160 กรณีฆาตกรรมต่อเนื่อง ทาการฆ่าคนเก็บของเก่าและคนเร่ร่อน 4 ศพ ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ปี 2559 ที่แม้จะมีการจับตัวผู้ต้ องหาซึ่งเป็นชาวพม่าได้แล้ว161 แต่ในระหว่างทาการลงพื้นที่สืบสวน สอบสวนนั้ น เจ้ าหน้ าที่ต ารวจได้ พุ่ งเป้ า ไปที่ กลุ่ ม คนเร่ร่ อ น โดยเจ้าหน้าที่ ตารวจระดั บสู งผู้ มี ส่ ว น เกี่ยวข้องได้แสดงทัศนะกับเรื่องดังกล่าวว่า “จากเหตุการณ์ฆ่าปาดคอ 3 ศพที่เกิดขึ้นนี้ ทาให้ประชาชนหลายคนที่ อยู่ ใน พื้นที่เกิดเหตุมีความระแวงมากขึ้น เพราะยังจับตัวคนร้ายไม่ได้ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตารวจไม่ได้นิ่ง นอนใจ ได้ส่งชุดสืบสวนลงพื้นที่ ควานหาตัวคนร้ายโดยเฉพาะบุคคลเร่ร่อน ขอทาน ต่างๆที่อยู่ ในพื้น จึงประชุมจัดกาลังเจ้าหน้าที่ตารวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ออกมากวาดล้างขอทาน คนเร่ร่อน ไม่ให้มีในพื้นที่เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมลักเล็กขโมยน้อยให้หมดไป และป้องกันภัย อันตรายให้สังคมได้หน้าอยู่มากยิ่งขึ้น” 162 159

จนท.จัดระเบียบสนามหลวง-คัดกรองคนจรจัด-เตือนเซลฟี่ไม่เหมาะสม มีพระบรมมหาราชวังเป็นฉากหลัง. (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://morning-news.bectero.com/social-crime/03-Nov2016/90531 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 160 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (24), หน้า 102 161 จิมมี่ฆ่าเรียบ4ศพ ผลDNAโยงรายล่า. (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.thaipost.net/?q=จิมมี่ฆา่ เรียบ4ศพ-ผลdnaโยงรายล่า สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 162 ปทุมธานี – เจ้าหน้าที่กวาดล้างขอทานคนเร่ร่อนทาประวัติก่อนส่งกลับบ้าน. (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_37218 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560

4 - 55


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ทัศนคติดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนไร้บ้านนั้นถูกตั้งข้อสงสัยร่วมกับกลุ่ม ขอทานว่าเป็นผู้กระทาความผิด ซึ่งนอกเหนือจากรูปคดีแล้ว ยังมีการแสดงทัศนคติที่มองว่า คนไร้บ้าน เป็นต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรมอื่น ที่เป็นอันตรายในสังคมอีกด้วย อีกหนึ่งพฤติกรรมที่ตอกย้าถึงทัศนคติดังกล่าวก็คือ ในระหว่างการสืบคดีได้มีการกวาดล้างและ จัดระเบียบคนเร่ร่อน เพื่อทาการตรวจค้นและจัดทาประวัติ โดยมีการจัดระเบียบพื้นที่สาธารณะให้เป็น ระเบียบเรียบร้อย โดยเฉพาะบริเวณที่มีบุคคลจรจัดพักอาศัยอยู่ โดยมองว่าเป็นแหล่งเพาะอาชญากรรม และยาเสพติด สร้ างความไม่ป ลอดภัยแก่ ประชาชน 163 ซึ่งนอกจากพื้นที่เกิดเหตุแล้ ว ในช่ว งเวลา ดังกล่ าว ยั งมีการกวาดล้ างคนเร่ ร่ อนในเขตพื้นอื่ นทั่ว กรุงเทพ ถึง แม้จะไม่ได้มีการเชื่อมโยงกั บ คดี ดังกล่าวก็ตาม 164 165 166 การจัดระเบียบหรือกวาดล้างคนไร้บ้าน โดยอาศัยเหตุผลด้านการลดการเกิดอาชญากรรมใน พื้นที่นั้นมักจะเกิดขึ้นเสมอ แม้ในช่วงที่ไม่มีการก่ออาชญากรรมเชื่อมโยงไปสู่คนไร้บ้านก็ตาม ดังเช่นใน กรณีการช่วยเหลือคนไร้บ้าน ของเจ้าหน้าที่ตารวจในเขตพื้นบางซื่อ ในปี 2558 แม้จะมีเจ้าหน้าที่บาง คนที่มองว่าคนไร้บ้านไม่ใช่บุคคลที่ก่อเหตุอาชญากรรม และการช่วยเหลือนั้นเป็นไปเพื่อความเป็น ระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนไร้บ้านเองก็ตาม แต่ก็มีเจ้าหน้าที่บางคนที่ มีการแสดงทัศนคติว่าคนไร้บ้านนั้น อาจจะเป็นผู้ก่ออาชญากรรมเสียเอง โดยในกรณีดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ คนหนึ่งได้แสดงทรรศนะไว้ว่า "พวกเขาต้องอาศัยอยู่ตามป้ายรถเมล์ ตามท้องถนน ตากแดดตากฝน เสี่ยงกับภัยอันตรายต่างๆ นานา อีกทั้งภัยอาชญากรรมที่ อาจจะเป็นคนก่อขึ้นเอง หรือเป็นเหยื่อ ทางผู้ บัญชาการตารวจนครบาลจึงเล็งเห็นความสาคัญ…” 167 จะเห็นได้ว่าทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นไม่ได้มี ลักษณะเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด อาจจะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเอง หรือ โดยสถานการณ์และบริบท ของสภาพแวดล้อมก็มีส่วนสาคัญเช่นเดียวกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ บุญเลิศ วิเศษปรีชา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องคนไร้ บ้าน ได้ถ่ายทอดข้อมูลในสกู๊ปข่าวเรื่อง "แจกอาหารอย่างเดียวไม่ช่วยแก้ปัญหาคนไร้บ้าน" (2559) มี ใจความว่า

163

หาเบาะแสฆาตกรต่อเนื่อง 3 ศพ-ตร.ปทุมฯ ปล่อยแถว จัดระเบียบคนเร่ร่อน. (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.thairath.co.th/content/745957 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 164 สั่งตร.นครบาล ระดมกวาดล้าง ขอทาน คนเร่ร่อน คนวิกลจริตตามที่เปลี่ยว แก้ปัญหาอาชญากรรม. (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://prachatai.com/journal/2016/10/68310 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 165 ตารวจกวาดต้อน 19 คนเร่ร่อนย่านข้าวสาร ส่งเข้าสถานสงเคราะห์ หลังเกิดคดีฆ่าต่อเนื่อง. (2559). [ข้อมูล ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.matichon.co.th/news/319690 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 166 น.1 สั่งจัดระเบียบตรวจคนวิกลจริต-เร่ร่อน พบประสาน พม.เข้าดูแล. (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000102446 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 167 ลดปัญหาเร่ร่อน! ตร.บางซื่อ ช่วยคนไร้บ้าน อาบน้า-แต่งตัว ส่งหน่วยงานดูแล. (2558). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.thairath.co.th/content/533630 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560

4 - 56


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 “ผมเคยคุยกับคนไร้บ้านที่ถูกลักขโมยขึ้นโรงพักไปแจ้งตารวจ ตารวจไม่ค่อยใส่ใจ รับเรื่อง นี่คือเหตุผลที่ว่าทาไมคนไร้บ้านถึงตกเป็นเหยื่อได้ง่าย เพราะโจรจะรู้ว่าคนไร้บ้านเป็น อะไรไปก็ไม่มีใครสนใจ ตารวจเองยังระแวงว่าพวกเขาเป็นอาชญากรรม มีเหตุอะไรขึ้นก็พุ่งเป้าที่ ไปคนไร้บ้าน จับขึ้นโรงพัก ทาประวัติ แตกต่างจากคนไร้บ้านอีก ประเภทหนึ่ง ที่อาศัยหลับนอน จนคุ้นหน้าคุ้นตา ชาวบ้าน พวกนี้จะช่วยเป็นยามให้ สายตรวจในท้องที่จะรู้ว่า คนไร้บ้านที่อยู่ ประจาจะไม่ลักเล็ก ขโมยน้ อ ยช่ ว ยเป็ น หู เ ป็ น ตาให้ ด้ ว ย ผมมองว่ า จ าเป็ น มากที่ จ ะต้ อ งมี ความสัมพันธ์กับคนไร้บ้าน เพื่อลดความหวาดระแวง แล้วเราจะเห็นคนเป็นคน เห็นเขาเป็นมิตร มากขึ้น ไม่ใช่มองกันแต่แง่ร้าย” 168 ลักษณะที่แตกต่างกันของทัศนคติดังกล่าว ปรากฏให้เห็นในสภาพสังคมที่บริบทของคนไร้บ้าน นั้นต่างออกไป เช่น ในจังหวัดเชียงใหม่ จากการประมาณการณ์โดยทั่วไปมีจานวนประชากรและคนไร้ บ้านน้อยกว่ากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวง จากการสอบถาม สิบตรี รัฐศาสตร์ ตาสม เจ้าหน้าที่ ตารวจในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทาหน้าที่ประจาอยู่ที่ สถานีตารวจภูธรเมืองเชียงใหม่ สรุปความได้ว่า เหตุ ที่ได้รับแจ้งจากการกระทาความผิดของคนไร้บ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นคดีลหุโทษ ประเภท ขอทาน หรือ ก่อ ความเดือดร้อนราคาญ ซึ่งหากได้รับแจ้งก็จะทาการตักเตือนว่าหากกระทาซ้าอีกก็จะถูกจับ แต่ก็ยังคง ทาการจับตาเฝ้าระวังกลุ่มคนไร้บ้านเหล่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดการก่อเหตุในอนาคต โดยมีการกล่าวถึง ทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Windows Theory) ผ่านเหตุผลว่า หากทาการจับกุมจะทาให้เกิดปมใน จิตใจของผู้กระทาผิด จึงเลือกใช้วิธีการตักเตือนและให้โอกาสแทน และหากในกรณีที่มีการจับกุมก็ไปก็ จะปล่อยตัวภายหลังในเวลาไม่นานนัก เพราะคนไร้บ้านส่วนมากนั้นไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ ซึ่งพนักงาน สอบสวนส่วนใหญ่จะไม่คิดว่าคนไร้บ้านจะเป็นผู้ก่ออาชญากรรมร้ายแรง และไม่อยากจะจับกุมหากไม่ใช่ โทษร้ายแรง169 3.3 การแสวงหาผลประโยชน์จากคนไร้บ้าน 1) รับจ้างติดคุก การรับจ้างติดคุกนั้นถือเป็นการกระทาลักษณะหนึ่ง ที่เป็นการแสวงหาประโยชน์จากอิสรภาพ ทางร่างกายของมนุษย์โดยมิชอบ โดยอาศัยความเหลื่อมล้าของสถานะทางสังคม ชักจูงให้ผู้ที่มีปัจจัยใน การดารงชีพต่ากว่าสูญเสียอิสรภาพ เพื่อให้ตนรอดพ้นจากบทลงโทษที่จะได้รับจากการกระทาที่ผิด กฎหมาย ซึ่งมักจะปรากฏในรูปแบบของข้อเสนอ ที่แลกเปลี่ยนด้วยจานวนเงินกับคารับสารภาพ โดยผู้ ที่ไม่ได้กระทาความผิด จะต้องรับโทษจากการกระทาความผิดนั้นแทน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการกระทาที่ ละเมิดสิทธิมนุษยชนรูปแบบหนึ่ง ในสกู๊ปข่าวของ ทีมล่าความจริง (2559) ได้นาเสนอว่า การรับจ้างติดคุกนั้นไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานแล้ว และมีทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดห่างไกล โดยได้นาเสนอข้อมูลที่ ได้รับมาจากเจ้าหน้าที่ตารวจชุดสืบสวนนครบาลว่า การรับจ้างติดคุกแทนในรูปแบบขบวนการนั้นมีอยู่ 168

บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2559). แจกอาหารอย่างเดียวไม่ช่วยแก้ปัญหาคนไร้บ้าน. (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.posttoday.com/analysis/interview/465097 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 169 เจ้าหน้าที่ตารวจ สิบตรี รัฐศาสตร์ ตาสม. (2560). สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560.

4 - 57


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 จริง โดยเฉพาะในบ่อนการพนัน หรือ แผงขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งถ่ ายทอดผ่านประสบการณ์การ จับบ่อนการพนันขนาดใหญ่ของเจ้าหน้าที่สายสืบดังกล่าว ซึ่งได้พบวิธีการที่นายบ่อนใช้ในการจัดหาคน ติดคุกแทน คือเมื่อถูกเจ้าหน้าที่จับกุมนั้น ในแต่ละบ่อนจะมี "นักวิ่ง" คอยวิ่งเคลียร์กับเจ้าหน้าที่ และ จัดหาคนมารับจ้างติดคุกแทนนั กพนัน ทั้งเปลี่ยนตัวผู้ต้องหา เปลี่ยนบัตรประจาตัวประชาชน โดย กระบวนการทั้งหมดต้องเรียบร้อยก่อนที่ร้อยเวรจะลงบันทึกประจาวัน นอกจากนั้นทีมล่าความจริง ยัง ได้ อ้างข้อมูล ของมูล นิ ธิอิส รชน ที่ ชี้ให้ เห็ นว่ามีผู้ มีส่วนร่วมในขบวนการรับจ้างติดคุก ประกอบด้วย ผู้กระทาผิดตัวจริง ผู้รับจ้าง และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนรู้เห็นตั้งแต่ชั้นจับกุมไปจนถึงขั้นตอนการส่ง ฟ้อง170 โดยในสกู๊ปข่าวดังกล่าว นที สรวารี เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน ได้ให้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ คนไร้บ้านว่า อาชีพรับจ้างติดคุกนั้นมีคนเร่ร่อนเข้าไปอยู่ในขบวนการดังกล่าวจานวนไม่น้อย ส่วนใหญ่ เป็นคดีความที่เกิดในกรุงเทพมหานครหรือในเขตเมือง โดยมีการมาติดต่อให้ไปติดคุกแทนในคดีละเมิด ลิขสิทธิ์ เช่น การขายซีดีเถื่อน หรือคดีลักลอบเล่นการพนัน เมื่อมีการจับกุมผู้ค้าซีดีหรื อนักพนันตัวจริง ก็จะมีการจัดหาคนเร่ร่อนมา "สมอ้าง" เป็นผู้กระทาผิด เพื่อรับโทษและติดคุกแทน โดยได้กล่าวว่า “เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับคดีพวกนี้จะคุ้นชินกับคนเร่ร่อน จะมีการบอกกล่าวเจรจาให้มาติดคุกแทน เพราะคนที่ทาผิดตัวจริงไม่อยากให้ประวัติเสีย ก็จะมีการต่อรองหาคนมาติดคุกแทน ราคาอยู่ที่หลักพัน ติดคุก 1-2 วัน แล้วก็เปรียบเทียบปรับ คนที่กระทาผิดตัวจริงเป็นคนจ่ายเงิน แต่ไม่ต้องเสียประวัติ" โดย กล่าวอีกว่า "ค่าจ้างของคนเร่ร่อนที่ไปติดคุกแทน เท่าที่เคยคุย ราคาอยู่ที่ 3-5 พันบาท เพราะเป็นคดีไม่ ร้ายแรง คนที่รับงานพวกนี้ไม่มีขาจร ส่วนใหญ่เป็นขาประจา เจ้าหน้าที่เองก็รู้จักดี"171 สกู๊ปข่าวเรื่อง “รับจ้างติดคุก” อาชีพสะท้อนความเหลื่อมล้า กับช่องโหว่ของ กบก.ยุติธรรม” ของ ธนธรณ์ แซ่อึ้ง (2556)ได้นาเสนอกรณีคนไร้บ้านที่รับจ้างติดคุกแทนผู้กระทาความผิดตัวจริง 3 เหตุการณ์ คือ กรณีของ นายดา คนไร้บ้านคนแรก ที่รับจ้างติดคุกแทนในข้อหาจาหน่ายซีดีลามก อนาจาร ด้วยจานวนเงินเพียง 500 บาท ซึ่ง ได้เปิดเผยขั้นตอนการรับจ้างติดคุก ว่า ทุกครั้งจะมีคนขี่ จักรยานยนตร์มาตะโกนด้วยถ้อยคาว่า “ซีดีๆ ไปไหม” โดยเป็นถ้อยคาที่เข้าใจกันในกลุ่มผู้รับจ้างติดคุก แทนว่ามีการจ้างให้ไปติดคุกในข้อหาขายซีดีลามกอนาจาร และเมื่อไปถึงร้านซีดี ผู้จ้างจะให้ถือถุงซีดีวิ่ง บ้าง หรือบางครั้งเจ้าหน้าที่ก็จัด หาซีดีไว้เป็นหลักฐานแล้ว หลังจากนั้นก็ไปที่สถานีตารวจและทาเรื่อง สอบพยานหลักฐานตามปกติ โดยนายดาเล่าว่า “พอไปถึงโรงพัก ผมก็รับสารภาพ ตารวจก็จะบันทึก ข้อมูลทุกอย่าง โดยใช้ชื่อ-นามสกุลจริง ตามบัตรประชาชน และจะติดคุก 1 คืน เพื่อรอส่งตัวไปที่ศาล พอขึ้นชั้นศาล จะมีคนมาประกันตัว จากนั้นเขาให้ค่าจ้าง บางครั้งที่หน้าศาล บางครั้งก็ไปเอาที่ร้าน” คนไร้บ้านคนต่อมา เล่าว่าเคยได้รับจ้างไปติดคุกในคดีการพนัน โดยมีนายหน้าจากบ่อนมาเรียก ตัว เมื่อไปถึงที่บ่อนแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้เล่นพนันซึ่งเป็นหลักฐานการจับกุมถูกจัดเตรียมไว้หมด เขามีหน้าที่ ให้ร้อยเวรจดชื่อนามสกุลและไปโรงพัก โดยเจ้าของบ่อนจะให้เงินสดติดตัวไว้ เมื่อศาลตัดสินให้เสีย ค่าปรับก็จ่ายค่าปรับเอง ส่วนเงินที่เหลือก็ถือเป็นค่าจ้าง ครั้งล่าสุดได้เงินมาจานวน 2,000 บาท โดยให้ เหตุผลในการกระทา ที่แม้จะถูกตั้งคาถามถึงความเสี่ยงในกรณีที่ถูกจับและได้รับโทษนักกว่าเดิมว่า ไม่มี ใครอยากทาเพราะมันเสี่ยง แต่ไม่ทาก็ไม่มีอะไรกิน และคนไร้บ้านคนสุดท้ายได้เล่าถึงประสบการณ์ที่ 170

ทีมล่าความจริง. (2559). ผ่าขบวนการ "รับจ้างติดคุก". [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล :http://www.now26.tv/view/94663 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 171 เพิ่งอ้าง

4 - 58


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ครั้งหนึ่งเคยไปรับจ้างติดคุกข้อหาขายซีดีลามกอนาจาร แต่กลับไม่มีใครมาเสียค่าปรับให้ จึง ต้องติดคุก ประมาณ 20 วัน และถึงแม้ออกมาแล้ว เจ้าของร้านจะให้ค่าจ้าง 2,000 บาทก็ตาม แต่เขาก็ไม่คิดจะ ทาอีก โดยกล่าวว่า “แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นทาให้ผมเข็ด และไม่ไปรับจ้างแบบนี้อีก”172 นอกจากนี้ สกู๊ปข่าวของ ธนธรณ์ แซ่อึ้ง ยังได้ให้ข้อมูลที่อ้างจากทัศนคติของบุคคลที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญในแง่มุมต่างๆ ดังนี้ นที สรวารี เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน มองว่าการรับจ้างติดคุกเป็นหนทางหนึ่งของคนเร่ร่อนใน การหาเลี้ยงชีพให้อยู่รอด ซึ่งแบ่งได้เป็น หนึ่ง การรับจ้างเข้าไปอยู่ในคุกโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นตัว เงิน แต่แลกกับการอยู่ในพื้นที่ที่มีอาหารมีเสื้อผ้าให้ กับ สอง การรับจ้างติดคุกแบบได้ค่าตอบแทนเป็น เงิน โดยเหตุผลที่คนไร้บ้ านรั บจ้างติดคุกในลั กษณะดังกล่ าวก็เพราะต้นทุนทางสังคมต่า ขาดความ น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่มีความรู้ทางกฎหมาย จึงไม่ทราบว่าการกระทานั้นจะเป็นการทาให้ เสียประวัติ หรือไม่ทราบว่าคดีจะสิ้นสุดเมื่อใด วันชัย สอนศิริ ผู้เคยประกอบอาชีพทนายความ ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากการเผยแพร่ความรู้ทาง กฎหมาย นั้นมองว่า สาเหตุหลักที่คนเร่ร่อนยอมแลกอิสรภาพตัว เองกับค่าตอบแทนเพียงเล็ ก น้ อย นั้นคือการขาดความรู้ด้านกฎหมาย ทาให้คนถูกเอาเปรียบและต้องเผชิญกับ ความเสี่ยงในการตกเป็น จาเลยในข้อหาอื่น ที่หากพวกเขาถูกจับได้ว่ารับจ้างถูกจับ -รับจ้างติดคุกแทนผู้กระทาผิดตัวจริง วันชัย ยังได้กล่าวอีกว่า คนเร่ร่อนส่วนมากคิดว่า การประกันตัวคือคดีสิ้นสุดเพราะไม่รู้กฎหมาย ซึ่งความจริง แล้วเขาจะถูกออกหมายจับ แต่ส่วนมากไม่มีใครลงไปจับ เพราะคนเร่ร่อนไม่อยู่เป็นที่ หรือถ้าเจ้าที่รู้เห็น ก็ไม่ตามจับ เพราะกลัวเรื่องขึ้นสู่ชั้นศาลแล้วเสี่ยงถูกจับได้ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความบิดเบี้ยวของ กระบวนการยุติธรรมชั้นต้น ที่เกิดจากการทุจริตโดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย และความเหลื่อมล้าที่ คนรวยอาศัยโอกาสในความอ่อนด้อยทางสังคม ทางด้านเศรษฐกิจและความรู้ของคนที่ด้อยกว่า เพื่อ ผลประโยชน์แก่ตนเอง นอกจากนี้ วันชัย ยังได้ให้ข้อมูลถึงมาตรการการลงโทษตามกฎหมายว่า กรณีรับจ้างติดคุกนั้น เป็นความผิดตามกฎหมายด้วย หากถูกจับได้คนเร่ร่อนนั้นอาจจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ในหลายๆ กรณี อาทิ มาตรา 137 ฐานแจ้งความเท็จ หรือมาตรา 167 ฐานติดสินบนเจ้าพนักงาน ส่วนผู้จ้างจะมีความผิดตามมาตรา 189 ฐานช่วยผู้อื่นกระทาผิด หรือมาตรา 267 ฐานแจ้งให้พนักงาน จดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารราชการ ส่วนคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ยังมีความผิดตาม ป. อาญา มาตรา 177 ฐานเบิกความเท็จ หรือมาตรา 180 ฐานให้การเท็จ วันชัย ยังกล่าวว่า กรณีรับจ้าง ติดคุก หากมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาทิ ตารวจ เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ก็มีอาจมีความผิดตาม มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มาตรา 201 ฐานรับสินบน หรือมาตรา 177 ฐานะเบิกความเท็จ ในส่วนช่องโหว่ของมาตรการทางกฎหมายนั้น จากการให้ข้อมูลของ ร.ต.ท. นพดล บัวปรอท กล่าวว่า เหตุผลที่ทาให้อาจมีการจับตัวผู้ต้องหาผิดตัว เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 87 กาหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ควบคุมผู้ต้องหาผู้ถูกจับไว้เกินกว่า 48 ชั่วโมง และหากเป็นผู้ที่ 172

ธนกรณ์ แซ่อึ้ง. (2556). “รับจ้างติดคุก” อาชีพสะท้อนความเหลื่อมล้า กับช่องโหว่ของ กบก.ยุติธรรม. [ข้อมูล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.isranews.org/isranews-scoop/22819-1-sp-997_22819.html สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560

4 - 59


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ถูกจ้างมาจริง เมื่อขึ้นโรงพักก็มักจะสารภาพ พอทาประวัติเขียนสานวนเรียบร้อย ก็ต้องส่งเรื่องไปที่ศาล ทาให้ตารวจไม่มีเวลามาพิสูจน์ว่าใช่ตัวจริงหรือไม่ อีกทั้งในกรณีที่รับจ้างติ ดคุกโดยใช้ชื่อปลอม หลายๆ กรณีพบว่าผู้ถูกจับอ้างว่าไม่ได้พกบัตรประชาชน ซึ่งระบบการสืบค้นทะเบียนราษฎร์ในเวลาดังกล่าว ยัง ไม่สามารถตรวจสอบจากหน้าคนได้ ทาได้เพียงตรวจสอบประวัติเท่านั้น เพราะฉะนั้นปัญหาที่แท้จริงคือ จานวนคนเร่ร่อนที่ไม่ได้ลดลง และต้องดารงชีวิตด้ วยการรับจ้างติดคุก ซึ่งเป็นปัญหาที่หน่วยงานรัฐที่ เกีย่ วข้องควรจะทาการทบทวน ในมุมมองด้านสิทธิมนุษยชน กรรมสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติ นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ มองว่า อาชีพรับจ้างติดคุก ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนเร่ร่อนหรือคนไร้บ้านอย่างแน่นอน เพราะ พวกเขาทาด้วยความไม่รู้ถึงหลักกฎหมาย ทาไปด้วยความจาเป็น คนเร่ร่อนอาจมองว่าไม่ได้ถูกละเมิด สิทธิ เพราะได้เงิน หรือมีที่ให้อยู่ มีข้าวให้กิน ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะตามหลักสิทธิมนุษยชนถือเป็น ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่มองว่าคนเป็นวัตถุที่สามารถซื้อขายได้ โดยได้ กล่าวผ่านแนวคิดสิทธิ มนุษยชนว่า แม้ในกรณีคนเร่ร่อนรับจ้างติดคุก ในแง่กฎหมายถือว่ามีความผิด แต่ในหลักสิทธิมนุษยชน แล้ว รัฐควรจะแยกให้ออกระหว่างผู้ที่จงใจละเมิดและทาผิดกฎหมาย กับผู้ที่ต้องอยู่ในสภาพที่ยอม จานน ฉะนั้นการใช้กฎหมายจึงต้องมองถึงหลักสิทธิมนุษยชนด้วย รัฐต้องแก้ไขต้นตอสาเหตุที่ทาให้เขา ถูกละเมิด และต้องบังคับใช้กฎหมายไปเอาผิดคนที่จงใจบิดเบือนความจริง173 รายงานการวิจั ย โครงการถอดบทเรียนรูปแบบช่ว ยเหลื อเด็กเร่ร่อน กรณีครูข้างถนนและ บ้านพักสาหรับเด็ก โดย นางสาวทองพูล บัวศรี และ นางแววรุ้ง สุบงกฎ (2552) ที่ทาการลงพื้นที่ สารวจข้อมูลพบว่า ในพื้นที่แทบสะพานพุทธ เด็กเร่ร่อนจะมีการรับจ้างติดคุกแทน โดยใช้ศัพท์เรียก แทนว่า ไป “ช่วยราชการ” โดยไปรับผิดแทนเจ้าของ โดยเฉพาะร้านซีดีเถื่อน เพราะมีอาหารการกินที่ โรงพัก เมื่อออกมาแล้วจะได้รับค่าจ้าง 10 วัน ได้ประมาณ 1,000-1,500 บาท174 อีกทั้งยังมีการ นาเสนอ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กไร้บ้านกับเจ้าหน้าที่ตารวจว่ามีความคุ้นเคยกันพอสมควร เนื่องจากมี การเผชิญหน้ากันบ่อยๆ แต่เด็กมีความรู้สึก ที่ไม่ดีกับตารวจ เนื่องจากมีตารวจบางคนทาการไถเงินจาก พวกเขา บางครั้งเด็กไม่ได้กระทาความผิด แต่ก็ถูกจับไปโดยอาจเสียค่าปรับ หรือหากสนิทกันตารวจก็ อาจให้ทาความสะอาดที่สานักงานให้ หรือบางคนก็มีการรับจ้างติดคุกแทนโดยเฉพาะเรื่องการขาย ซีดี175 2) รับจ้างชุมนุมทางการเมือง การชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองในแต่ละครั้งนั้น ฐานหรือจานวนตัวเลขของมวลชน ถือเป็น ปัจจัยสาคัญที่ชี้วัดความสาเร็จของการชุมนุม ดังนั้นในบ้างครั้งจึงมีการว่าจ้างให้บุคคลที่ไม่ได้มีความ เกี่ยวข้อง หรือไม่ได้มีทัศนคติไปในทิศทางเดียวกันมาร่วมชุม นุม เพื่อเพิ่มฐานหรือจานวนตัวเลขมวลชน ซึง่ มักจะปรากฏข้อเท็จจริงว่า การชุมนุมในระดับใหญ่หลายครั้ง ทีม่ ักจัดตั้งขึ้นในบริเวณพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนไร้บ้าน ประกอบกับการที่กลุ่มคนไร้บ้านถูกมองว่าเป็นผู้ว่า งงานหรือมี 173

เพิ่งอ้าง นางสาวทองพูล บัวศรี และ นางแววรุ้ง สุบงกฎ. (2553). รายงานการวิจัยโครงการถอดบทเรียนรูปแบบช่วยเหลือ เด็กเร่ร่อน กรณีครูข้างถนนและบ้านพักสาหรับเด็ก. มูลนิธิสาธารณสุข. หน้า 21 175 เพิ่งอ้าง, หน้า 205 174

4 - 60


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 รายได้น้อย จึงทาให้กลุ่มคนไร้บ้านมักจะถูกแสวงหาประโยชน์ จากการเป็นฐานตัวเลขของการชุมนุม ลักษณะดังกล่าว ผ่านทางกุศโลบายการแจกน้า-อาหารหรือการว่าจ้างในรูปแบบดังกล่าวเสมอ สกู๊ปข่าวเรื่อง “รับจ้างติดคุก-ม็อบ-หนูทดลองยา” โดย ธนธรณ์ แซ่อึ้ง (2556) ได้ทาการ นาเสนอประสบการณ์การรับจ้างชุนนุมของคนไร้บ้านผู้หนึ่ง ที่ได้เล่าว่า เคยรับจ้างไปอยู่ในกลุ่มผู้ชุน นุม โดยมีนายหน้ามาหารับคนไปนั่งโบกธงหรือตะโกนตามแกนนาหรือผู้ชุมนุมคนอื่นๆ ซึง่ ค่าจ้างหลังโดนหัก ค่านายหน้าวันหนึ่งได้ 100-300 บาท แต่จะได้รับเงินแบบผลัดวัน เช่น มาวันจันทร์จ่ายวันอังคาร เหมือนบังคับ ถ้าอยากได้เงินอีกวันต้องมา โดยได้เปิดเผยอีกว่า ไม่ใช่คนไร้บ้านทุกคนที่ถูกจ้างไป แต่คน ไร้บ้านบางคนนั้นไปด้วยความเต็มใจ บ้างไปอาศัย ทานอาหาร อาบน้า ฟรี รวมถึง นาเอาของที่แจกฟรี มาทาการขายต่อ แต่จะกลับในช่วงเวลาที่เริ่มมืด เพราะยังคงเกรงกลัวอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น176 การรายงานข่าว ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส TPBS ในช่วงการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในปี 2552 ได้นาเสนอข้อมูลจากคนไร้บ้านที่ มี ป ระสบการณ์ ใ นการรั บ จ้ า งเข้ า ไปร่ ว มกั บ การชุ ม นุ ม ดั ง กล่ า ว คนไร้ บ้ า นรายแรก ได้ ถ่ า ยทอด ประสบการณ์ว่า ตนเคยเข้าไปร่วมชุมนุมโดยได้รับเงินครั้งละ 200 บาท และหากอยู่ต่อในเวลากลางคืน ก็จะได้เพิ่มอีกครั้งละ 200 บาท โดยลักษณะงานคือเข้าไปนั่งฟังการปราศรัย โดยบางครั้งก็ไม่เต็มใจฟัง เพราะไม่ได้สนใจเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง แต่บางครั้งก็มีการไปนั่งฟังการปราศรัยโดยไม่ได้รับการ ว่าจ้าง เพราะต้องการเข้าไปทานอาหารฟรี คนไร้บ้านรายที่สอง ได้ให้ข้อมูลว่า ตนได้เข้าไปทาการขาย แผ่นพลาสติกให้กลุ่มผู้ชุมนุมใช้รองนั่ง ระหว่างนั้นได้รับฟังการปราศรัยซ้าไปซ้ามา ทาให้ซึมซับความ ขัดแย้งทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนั้นยังมีการนาเสนอข้อมูลที่อ้างว่า มีคนไร้บ้านอีก หลายคนที่เข้าไปร่วมชุมนุมเพียงเพื่อต้องการเพื่อน และอาหารฟรี เป็นประจา จนทาให้คล้อยตาม เรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดในที่ชุมนุม ในการรายงานข่าวดังกล่าว สมพร หารพรม เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยให้คนไร้บ้าน ได้ ให้ทรรศนะที่น่าสนใจโดยกล่าวว่า การที่คนไร้บ้านเข้าร่วมชุมนุม นอกจากการแสวงหาประโยชน์จาก การดารงชีวิตและแสวงหากาไรแล้ว การเข้าร่วมชุมนุมยัง ทาให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วมและมีบทบาทใน สังคม เริ่มมีการแลกเปลี่ยนทั ศนะทางการเมืองกับผู้อื่น เนื่องจากตอนที่อาศัยอยู่สนามหลวงตามปกติ นั้น พวกเขารู้สึกถูกรังแก และรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า แต่การเข้าร่วมดังกล่าวนี้ ทาให้พวกเขารู้สึกเท่าเทียม และมีคุณค่ามากขึ้น177 ความสัมพันธ์ระหว่างคนไร้บ้านกับการชุมนุมทางการเมือง ปรากฏในทัศนคติของผู้นาประเทศ ที่มักจะมองว่าคนไร้บ้านนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมในแต่ละครั้ง เช่น ในปี 2549 ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้แสดงความคิดเห็นว่า กลุ่มผู้ที่ออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวขับไล่และล้มล้าง รัฐบาลของตนนั้นมีทั้งกลุ่มคนที่รับจ้างและกลุ่มคนเร่ร่อน จึงต้องให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ 176

ธนกรณ์ แซ่อึ้ง. (2556). เปิดอาชีพแปลกคนเร่ร่อน ‘รับจ้างติดคุก-ม็อบ-หนูทดลองยา’. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/21503-lldddlw.html สื บ ค้ น วั น ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 177 รายงานข่าวจากทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส TPBS. (2553). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=QttIVWM_XTM สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560

4 - 61


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 มั่นคงของมนุษย์ร่วมกับตารวจนครบาล นาคนเร่ร่อนเหล่านี้ไปบาบัดฟื้นฟู เพราะคนเร่ร่อนเหล่านี้ไม่ มี อะไร ใครจ้างหรือให้ไปไหนก็ไป178 อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าร่วมชุมนุมดังกล่าวจะส่งผลดีต่อกลุ่มคนไร้บ้านในบางประการ แต่ก็ ยังคงส่งผลกระทบในระยะยาวกับสังคม นั่ นคือการเพิ่มจานวนคนไร้บ้านในพื้นที่ ภายหลังจากการ ชุมนุมเสร็จสิ้น ในปี 2557 มูลนิธิอิสรชนได้เปิดเผยข้อมูลผลสารวจคนเร่ร่อนปี 2556 พบว่าคนไร้บ้านมี อัตราเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นปีละ 100 คน แต่ปี 2556 นั้นเพิ่มขึ้นจากปีก่อน กว่า 200 คน โดยระบุว่าปัจจัยชุมนุมทางการเมือง ส่งผลให้คนเร่ร่อนมีจานวนมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจาก การตกค้างของคนที่มาร่วมชุมนุมทางการเมืองที่ยังคงมีอยู่ขณะนั้น เมื่อทาการสารวจพบว่ามีคนเร่ร่อน หน้าใหม่ที่เดินทางมาจากภาคใต้เป็นจานวนมาก เมื่อสอบถามจึงทราบว่าเป็นการเดินทางมาเพื่อร่วม ชุมนุมทางการเมือง และไม่อยากกลับบ้าน179 นที สรวารี ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า การตกค้างของคนกลุ่มผู้ชุมนุมในปี 2557 นั้น ไม่ได้มีเฉพาะการชุมนุมที่เพิ่งเกิดขึ้น ในปี 2556-2557 เท่านั้น แต่พบว่ามีการสะสมและตกค้างมา เกือบทุกๆ การชุมนุม ตั้งแต่ปี 2516 ปี 2519 ปี 2535 และปี 2546 ซึ่งจากการสอบถามคนไร้บ้าน ที่ตกค้างจากการชุมนุมครั้งก่อนๆ พวกเขายังคงสามารถเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างแม่นยา โดย นที ยัง ได้กล่าวอีกว่า จากการทางานในพื้นที่มากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา จากการชุมนุมใหญ่ 3-4 ครั้ง ก็จะพบว่า มีคนตกค้างอยู่ตลอด ฉะนั้นแล้ว การชุมนุมในแต่ละครั้งควรจะตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และผู้ ที่พาคนเหล่านี้มาชุมนุม ก็ไม่ควรปฏิเสธความรับผิดชอบเชิงสังคม180 3) การหาประโยชน์ในรูปแบบอื่น นอกจากการหาประโยชน์จากคนไร้บ้านที่นาเสนอไปข้างต้นนั้น ยังมีการแสวงหาประโยชน์จาก ทางร่ายกายของคนไร้บ้านอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า “หนูทดลองยา” โดยมีการเปิดเผยในบทความ สกู๊ป ข่าวเรื่อง “รับจ้างติดคุก-ม็อบ-หนูทดลองยา” ของ ธนธรณ์ แซ่อึ้ง ได้มีการนาเสนอว่า อาชีพทดลองยา เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่คนเร่ร่อนใช้ทามาหาเลี้ยงชีพ โดยได้เปิดเผยประสบการณ์ของคนไร้บ้านผู้หนึ่งที่เคย ยึดอาชีพนี้มากว่า 6 ปี ซึ่งมีทัศนคติว่าการกระทาดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือรักษาคนให้หายจากความ เจ็บป่วยได้หลายชีวิต คนไร้บ้านดังกล่าวได้เล่าว่า ครั้งแรกที่เริ่มทางาน เกิดจากการอยากตรวจสุขภาพ จึงไปเจาะเลือดเพื่อทาการตรวจ แต่เมื่อไปถึงหมอกลับให้ยามารับประทาน และได้ทาการจดชื่อประวัติ ของเขาและบอกให้มากินยาทุกวัน วันละ 1 เม็ด โดยจะได้เงินวันละ 70 บาท และถ้าภายในหนึ่ง อาทิตย์มากินยาตามนัดโดยไม่ขาด จะได้โบนัส 400 บาท โดยมีการเจาะตรวจเลือดทุก 3 เดือน และ ได้เล่าอีกว่าคนที่ไปลองยานั้นมีทั้งคนที่เป็นโรคเอดส์และไม่เป็น เพราะถึงเวลาเจาะเลือดหมอจะเอาไป 178

“แม้ว” เดือดซัดม็อบแค่คนเร่ร่อน-พวกโกงแบงก์รวมหัวไล่ สั่งรื้อคดีฟัน. (2549). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000007219 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 179 สถิติคนเร่ร่อนปี 56 พุ่ง พบการ์ด กปปส.ใช้บริการทางเพศแบบไม่ใส่ถุงยาง. (2557). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.thairath.co.th/content/409433 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 180 สารวจคนเร่ร่อนตกค้าง “ม็อบการเมือง”. (2557). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.thairath.co.th/content/409475 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560

4 - 62


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 เปรียบเทียบปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น แต่หมอก็ไม่ได้แจ้งให้ทราบว่ายานั้นมีสารอะไรบ้าง หรือกินเพื่ออะไร ใน ตอนแรกก็มีอาการกลัว เพราะอาทิตย์แรกที่กินรู้สึกอ่อนเพลียและท้องเสีย 1 อาทิตย์ แต่หลังจากกินไป เรื่อยๆ ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในระหว่างนาเสนอข่าวก็ยังแข็งแรงดีและโครงการนี้ก็ยกเลิกไปแล้ว181 จากการลงสารวจภาคสนามโดยการสอบถามข้อมูลคนไร้บ้าน ในโครงการพัฒนาศักยภาพนัก สื่อสาร โดย มูลนิธิพิพิธภัณพ์แรงงานไทย (2558) พบว่า กระบวนการหลอกลวงคนไร้บ้านนั้นเกิดขึ้น ในหลายรูปแบบ เช่น หลอกให้คนไร้บ้านที่มีบัตรประชาชนไปซื้อรถมอเตอร์ไซค์ โดยจ่ายค่าจ้างตอบ แทน แต่กลายเป็นหนี้เมื่อคนที่ให้ ออกรถไม่ยอมผ่อนรถต่อ หลอกให้เปิดบัญชีธนาคาร หรือรั บจ้าง ทดลองยาต้านไวรัส ได้ค่าจ้างวันละ 120 บาท ซึง่ คนไร้บ้านบางคนทดลองยาจนตัวเหลือง อีกอาชีพคือ รับจ้างติดคุกแทน เมื่อมีคดีความ ไม่ว่าจะเป็นคดี ยาเสพติด หรือเล่นการพนัน หรือกลัวเสียงานเมื่อโดน ตารวจจับก็จะมาจ้างคนไร้บ้านไปติดคุกแทน คนไร้บ้านบางคนถูก จับในคดีร้ายแรงต้องติดคุกโดยไม่มี ความผิด และยังถูกตารวจจับตาดูพฤติกรรม182 นอกจากนั้ น ยั งมีการแสวงหาประโยชน์ใ นเชิงนามธรรม นั้นคือการสร้างชื่อเสี ยงผ่ า นการ ช่วยเหลือคนไร้บ้านจนทาให้เกิดผลเสีย มากกว่าประโยชน์ต่อคนไร้บ้าน โดยในสกู๊ปข่าวเรื่อง "แจก อาหารคนไร้ บ้ าน" เมื่อความปรารถนาดีกลายเป็นความเดือดร้อน?....” โดย อิน ทรชัย พาณิ ชกุล (2559) เปิดเผยว่า หลังจากรถหมูแดง ของมูลนิธิกระจกเงา ได้เริ่มเข้าไปแจกอาหาร เครื่องดื่ม ขนม นมเนย และยารักษาโรคแก่คนไร้บ้าน ภายใต้โครงการ Food for Friends ณ ลานคนเมือง ย่านเสา ชิงช้า ทุกคืนวันจันทร์ 20.00-22.00 น. ในปี 2557 นั้น โครงการนี้เรียกเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวาง วีรกรรมดังกล่าวได้จุดกระแสและเรียกความสนใจจากสังคมได้ไม่น้อย ปลุกกระแสให้ดารา คนดัง ผู้ใจ บุญทั้งหลาย หลั่งไหลเข้ามาบริจาคของกันอย่างล้นหลาม กระทั่งจานวนคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นตามจานวนผู้ ที่มาแจก จนส่งผลกระทบทาให้ที่ตามมาคือ ปัญหาทิ้งขยะเรี่ยราดสกปรก ขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง กิน เหล้าเมาเสียงดัง ทะเลาะวิวาทกันภายในกลุ่มคนไร้บ้าน สร้างความเดือดร้อนราคาญให้ชาวบ้านที่อาศัย อยู่ละแวกนั้นเป็นอย่างมาก 183 ซึง่ ปัญหาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของคนไร้บ้านทั้งสิ้น ในกรณีนี้ บุญเลิศ วิเศษปรีชา (2559) ได้ให้ความเห็นไว้ว่าการแจกอาการนั้นเป็นการกระทา ที่ไม่ผิดแต่ไม่ใช่การแก้ปัญหาคนไร้บ้านที่แท้จริง ควรจะมีกิจกรรมอย่างอื่น เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยน ข้อมูลด้วย เพื่อให้ทราบถึงปัญหา เพื่อนาไปสู่การแก้ไขปัญหาในระยะยาว184 อีกหนึ่งการแสวงหาประโยชน์จากคนไร้บ้านโดยใช้เหตุผลทางศีลธรรมนั้น อยู่ในรูปแบบการใช้ แรงงานเพื่อแลกเปลี่ยนที่อยู่อาศัยหรืออาหาร อันเป็นการกระทาที่ อยู่นอกเหนือการกากับดูแลทาง กฎหมาย นั่นคือการทางานให้กับวัด ซึง่ เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าวัดนั้นมักเป็นสถานพักพิงของคนไร้บ้าน และตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัดนั้น ได้กาหนดให้เจ้าอาวาสมี อานาจสั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรื อพานักอาศัยในวัด ทางาน หรือให้ทาทัณฑ์บน หรือให้ขอ 181

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (176) นักสื่อสารแรงงานกับชีวิตคนไร้บ้าน. (2558). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://voicelabour.org/นักสื่อสาร-ศึกษาชีวิตคน/ สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 183 "แจกอาหารคนไร้บ้าน" เมื่อความปรารถนาดีกลายเป็นความเดือดร้อน?.... . (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.posttoday.com/local/scoop_bkk/457969 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 184 เพิ่งอ้าง 182

4 - 63


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ขมาโทษ เมื่อบรรพชิตหรือคฤหัสถ์นั้นประพฤติผิดคาสั่งเจ้าอาวาสได้185 ซึง่ ย่อมตีความได้ว่า คนไร้บ้าน ที่อาศัยอยู่ในวัด มีฐานะเป็นคฤหัสถ์ที่พานั กอาศัยในวัด จึงต้องอยู่ภายใต้อานาจการสั่งการของเจ้า อาวาส ถื อ เป็ น การเปิ ด โอกาสให้ เ กิ ด การแสวงหาประโยชน์ ด้ า นแรงงาน จากคนไร้ บ้ า นโดยไม่ มี ค่าตอบแทน 3.4 กฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเด็นคนไร้บ้านและองค์กรอาชญากรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเด็นคนไร้บ้านและองค์กรอาชญากรรมในระดับระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้ให้ สั ตยาบั น เข้าร่ว มเป็นภาคีใน อนุสัญญาสหประชาชาติเ พื่อการต่อต้า น อาชญากรรมข้ า มชาติ ที่ จั ด ตั้ ง ในลั ก ษณะองค์ ก ร ( United Nations Convention against Transnational Organized Crime ) และ พิธี สารเพื่อป้องกัน ปราบปรามและลงโทษ การค้า มนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons, Especially Women and Children, supplementing the United Nations Convention against Transnational Organization Crime) ต่อผู้แทนเลขาธิการสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในปี 2556 ทาให้อนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับมีผลบังคับใช้ในประเทศไทยนับตั้งแต่ช่วงเวลา ดังกล่าว 186 ซึ่งถือเป็นการให้สัตยาบันที่ทิ้งช่ว งห่ างจากระยะเวลาที่ทาการลงนาม มากกว่า 10 ปี (ประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะ องค์กร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2543 และพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เสริมอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544) การให้สัตยาบันดังกล่าวจึง เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยในปัจจุบันนั้น มีการตื่นตัวและให้ความสาคัญกับการแก้ปัญหา องค์กรอาชญากรรม ในรูปแบบการค้ามนุษย์อยู่มากพอสมควร อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ถือ เป็นการกาหนดกรอบความร่วมมือทางกฎหมายที่กาหนดมาตรฐานในระดับสากล ที่เกี่ยวกับการต่อต้าน อาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งการค้ามนุษย์ก็ถือเป็นการกระทาที่เข้าข่ายดังกล่าว โดยมีการกาหนดขอบเขต การบังคับใช้ในด้านการป้ องกัน การสืบสวนและการดาเนินคดีเกี่ยวกับฐานความผิดที่กาหนดไว้ ใน อนุสัญญาดังกล่าว โดยได้มีการระบุถึงการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐภาคี ในหลายรูปแบบ พิ ธี ส ารเพื่ อ ป้ อ งกั น ปราบปราม และลงโทษการค้ า มนุ ษ ย์ โดยเฉพาะสตรี แ ละเด็ ก มี วัตถุประสงค์หลั กเพื่ อป้ องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็นพิธีสารเพิ่มเติมในส่ว นของการต่ อ ต้ าน อาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร โดยมุ่งเน้นไปที่สตรีและผู้ที่มีสถานะเป็นเด็ก เน้นย้าถึง การให้ความสาคัญกับปัญหาการค้ามนุษย์ และกาหนดให้การกระทาที่เป็นการค้ามนุษย์เป็นการกระทา ทีม่ ีความผิดทางอาญา โดยได้กาหนดมาตรการในคุ้มครอง และช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ อีก หลายประการ

185 186

อนุ 3 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (123)

4 - 64


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 นอกจากนั้ น ยั งมีลั กษณะของความร่ว มมื อระหว่ างประเทศในการแก้ไ ขปั ญหาดั งกล่ า วที่ ประเทศไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในระดับ ทวิภาค หรือ ภูมิภาค ประกอบด้วย 187 188 - อนุสัญ ญาแรงงานฉบับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฉบับที่ 29 และ 106 ว่าด้วยการเกณฑ์ แรงงานหรือแรงงานบังคับ และการยกเลิกแรงงานฉบับที่ 13 ว่าด้วยอายุขั้นต่าที่อนุญาตให้จ้างงานได้ ฉบับที่ 182 ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก - ประเทศไทยได้มีความตกลงกับ ประเทศ กัมพูชา ลาว เวียดนาม และเมียนมาร์ โดยจัดทา บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขจัดการค้าเด็กและสตรีและการช่วยเหลือเหยื่อของการค้า มนุษ ย์ ( MOU on Bilateral Cooperation for Eliminating Trafficking in Children and Women and Assisting Victims of Trafficking) - จัดทาบันทึกความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข่าวสารสาหรับการ ป้องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์ (Memorandum of Cooperation between the Government of Japan and Thailand concerning the Exchange of Information for the Purpose of Preventing and Combating Trafficking in Persons) - จัดทาบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน เพื่อลด ความเสี่ ย งของการค้ามนุ ษย์ ในภาคแรงงาน ซึ่งประเทศไทยมีความตกลงในลั กษณะนี้กับประเทศ อิสราเอล และกาลังอยู่พิจารณาร่างความตกลงกับประเทศบังกลาเทศ - เข้า ร่ วมประชุ มในระดั บรั ฐ มนตรี ข องประเทศในภู มิ ภ าคเอเชี ย แปซิ ฟิ ก เกี่ยวกั บ การ ลักลอบขนคนเข้าเมือง การค้า มนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติกระบวนการบาหลี (Regional Ministerial Conference on People Smuggling, Trafficking in Persons and Related Transnational Crime - Bali Process) - จัดทาบันทึกความเข้าใจระดับพหุภาคีระหว่างประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง - ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี ใน ASEAN Declaration Against Trafficking in Persons Particularly Women and Children ในปี 2547 ซึ่งมุ้งเน้นเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย การคัด แยกเหยื่อออกจากผู้กระทาผิด และการกาหนดบทลงโทษที่รุนแรงแก่ผู้กระทาผิดฐานค้ามนุษย์ - ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทาง อาญาของภู มิ ภ าคอาเซี ย น (The Treaty on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters among Like-Minded ASEAN Member Countries) ในปี 2556 - ประเทศไทยกาลังพิจารณาร่วมกับชาติอาเซียนในการจัดทา อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วย การค้ามนุษย์ (ASEAN Convention on Trafficking in Persons) 187

การดาเนินความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์. (2557). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่ ง ที่ ม า : http://www.mfa.go.th/main/th/issues/9894-การค้า มนุษ ย์ . html สื บ ค้ น วั น ที่ 27 กุ ม ภาพั นธ์ 2560 188 ศิบดี นพประเสริฐ. (2558). การค้ามนุษย์ในไทย. จุลสารความมั่นคง มิถุนายน 2558 ฉบับที่ 158. หน้า 2528

4 - 65


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 4. ประเด็นการจัดการความขัดแย้งของคนไร้บ้าน 4.1 สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในคนไร้บ้าน ในประเด็นเรื่องของความขัดแย้งในคนไร้บ้านนั้น พบว่า ปัญหาความขัดแย้งที่พบในกลุ่มคนไร้ บ้านนั้นมีในหลากหลายมิติ ซึ่งโดยสาเหตุหลักคือ ความขัดแย้งเนื่องจาก ระบบความสัมพันธ์ ที่ล้มเหลว และ คนไร้บ้านถูกสร้างความเป็นอื่น (otherness) เนื่องจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง นาไปสู่ปัญหาความ รุนแรง รูปแบบความขัดแย้งที่พบในคนไร้บ้าน ซึ่งจะแบ่งเป็นประเด็นได้ดังนี้ 1. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มของคนไร้บ้านเอง เกิดจากกรณีการสร้างวัฒนธรรมระหว่างคนไร้บ้านเอง งานศึกษาของบุญเลิศ พบว่า ในกลุ่มคน ไร้บ้านก็ได้มีการแบ่งกลุ่มชนชั้นกันเองด้วย คือ กลุ่มระดับกลาง คือ คนไร้บ้านที่ประกอบอาชีพขายของ เก่า กลุ่มระดับล่างคือ ชนชั้นพื้นฐาน คือ กลุ่มคนไร้บ้านพวก “ผี” ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนไร้บ้านที่ไม่มีงาน ประจา และมีกลุ่มหนึ่งที่ถูกจัดประเภทเป็นชนชั้นล่างสุด คือ กลุ่ม “คนเดินชนตังค์” คือ กลุ่มคนไร้บ้าน ที่อาศัยการได้เงินมาจากการขอเงิน หรือ ขอทาน โดยกลุ่มนี้จะไม่ได้รับการยอมรับ และถูกกีดกันไม่ให้ เข้าร่วมกลุ่มของคนไร้บ้าน189 0. ความขัดแย้งที่เกิดกับสังคมภายนอก พฤติกรรมความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในคนไร้บ้านและสังคมนั้น เกิดจากลักษณะความไม่เท่าเทียม กันของสังคม ชนชั้น เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรม ได้นาไปสู่ความขัดแย้ง เนื่องจากการเข้ากันไม่ได้ จึง สร้างวัฒนธรรมของตนขึ้นมาใหม่ โดยได้รับการยอมรับกันเองในกลุ่ม ซึ่งวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้น อาจจะสอดรั บ กับ วัฒ นธรรม หรื อขัดแย้งกันก็ได้เช่น การไม่มีบ้าน การนอนข้างถนน การแต่งตั ว มอมแมม ฯลฯ เป็นสิ่งที่ทาให้คนไร้บ้านถูกตีตราว่าต่างจากบุคคลทั่วไป ก่อให้เกิดความแปลกแยก และ นาไปสู่ความขัดแย้ง 3. ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ของสถาบันครอบครัวคือสาเหตุในการเป็นคนไร้บ้าน กลายเป็นคนไร้บ้านเนื่องจากความขัดแย้ง เช่น เนื่องจากความขัดแย้งภายในครอบครัวนาไปสู่ การล่ ม สลายของสถาบั น ครอบครั ว 190 จากรายงานการวิ จั ย โครงการถอดบทเรี ย นรู ป แบบการ ช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน กรณีครูข้างถนนและบ้านพักสาหรับเด็ก191 พบว่า เด็กเร่ร่อนที่ออกมาใช้ชีวิตนอก บ้านสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ปัญหาครอบครัว เช่น มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ่อแม่หย่าร้าง พ่อ หรือแม่มีครอบครัวใหม่และเด็กเข้ากับครอบครัวใหม่ไม่ได้ 189

บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2552). โลกของไร้บ้าน. กรุงเทพ: ศูนย์มานุษยวิทยา, หน้า 122-125,149 เพิ่งอ้าง, หน้า 63 191 ทองพูล บัวศรี และ แววรุ้ง สุบงกฎ. (2553). รายงานการวิจัยโครงการถอดบทเรียนรูปแบบช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน : กรณีครูข้างถนนและบ้านพักสาหรับเด็ก. ชุดโครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการกาหนดนโยบายสาธารณะ ด้านสิทธิที่เชื่อมโยงกับสุขภาวะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.), หน้า 2-3 190

4 - 65


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 0. พฤติกรรมความขัดแย้งจนนาไปสู่ความรุนแรงของคนไร้บ้าน จากการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและสุขภาพ พบว่าเด็กในช่วงวัยรุ่นที่ออกจากบ้านมาก่อนที่ จะได้การดูแลจากมูลนิธิ สังคมสังเคราะห์ล้วนเคยผ่านความรุนแรงไม่ว่าจะเป็น ชกต่อย ทะเลาะวิวาท เนื่องจากอยู่ในช่วงวัยคึกคะนองก็เป็นสาเหตุหนึ่ง และ มีพฤติกรรมที่มักจะมีปัญหาและความขัดแย้งกับ ผู้อื่นได้ง่าย 192 มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก บางคนตั้งตนเป็นมาเฟีย ทาให้เกิดเหตุการณ์การทะเลาะเบาะ แว้งกัน193 สอดคล้องกับงานศึกษาของเกี่ยวกับความขัดแย้ง ซึ่งนาไปสู่การจับกุมคนไร้บ้านเด็กและ วัยรุ่น พบว่า เด็กและวัยรุ่นกลุ่มนี้มีปัญหาเรื่องของความยากจนและปัญหาครอบครัวแตกแยก 194 4.2 แนวคิดในการจัดการความขัดแย้ง มาตรการในการจัดการความขัดแย้งของคนไร้บ้าน 1.1) การจัดการความขัดแย้งโดยวิธีใช้ความรุนแรง 1. การบีบบังคับ (Forcing) วิธีนี้จะใช้ได้ผลเมื่อคู่กรณีมีอานาจ (power) ที่ไม่เท่ากัน โดย ฝ่ายที่ด้อยกว่ามักจะยินยอมแต่ไม่ได้หมายถึงยอมรับหรือเห็นด้วย ซึ่งการแก้วิธีนี้ใช้ได้ระยะสั้นเท่านั้น โดยมุ่งลดผลที่ตามมาไม่ได้ลดที่เหตุของปัญหา เช่น กรณีศึกษาของบุญเลิศ ที่กลุ่มคนไร้บ้านต่อต้าน สังคมสังเคราะห์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ แม้จะถูกจับตัวไป แต่สุดท้ายก็กลับมาอยู่ดี หรื อพยายาม หลบหนีเจ้าหน้าที่ของรัฐ195 ซึ่งผู้เขียนได้เคยลงไปสัมภาษณ์คนไร้บ้าน และถามว่า เหตุใดจึงไม่ไปอยู่ที่ บ้านที่รัฐจัดให้ ซึ่งได้คาตอบมาหลายทาง เช่น ไม่อยากไปอยู่ เพราะที่นั่นไม่ให้ดื่มเหล้า หรือ บางคนไม่ อยากไปอยู่เพราะชอบอิสระ หรือมีกระทั่งพอถามคาถามเหล่านี้ก็เดินหนีกลุ่มผู้เขียนไปเลย เห็นได้ว่าคน ไร้บ้านบางกลุ่มไม่ได้เห็นด้วยกับวิธีการในการให้ความช่วยเหลือของรัฐ จึงต่อต้านและไม่ยอมรับความ ช่วยเหลือจากรัฐ แต่ในทางกฎหมายนั้น ตามพระราชบัญญัติคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 0997 เป็นมาตรการใน เชิงบังคับ กล่าวคือ คนไร้บ้านบางคนที่ไม่ได้เข้าไปอยู่ในสถานคุ้มครองคนไร้บ้านโดยยินยอม การอาศัย หลับนอนยังที่สาธารณะก็อาจกระทาผิดตามกฎหมายท้องถิ่น ในเรื่องการอาศัยหลับนอนในที่สาธารณะ มี ข้อกาหนดว่า หากคนไร้ บ้ านไม่ป ฏิบัติตามเงื่อนไขของสถานคุ้มครอง ก็จะส่ งตัว คนไร้บ้านมายั ง เจ้าหน้าที่ให้ดาเนินการตามกฎหมาย เนื่องจากมีความผิดเรื่องอาศัยหลับนอนในที่สาธารณะ ซึ่งคนไร้ บ้าน คนเร่ร่อนที่ไม่อยากเข้าศูนย์คุ้มครองก็มีความเสี่ยงที่ถูกมาตรการนี้ใช้บังคับ

192

ภาวนา บุญมุสิก,ปรีย์กมล และรัชนกุล ศิริพร ขัมภลิขิต , (2554) พฤติกรรมสุขภาพและความต้องการการดูแล เรื่องสุขภาพของวัยรุ่นเร่ร่อน, Thai journal of nursing council Vol.26 special issue Jan-Mar 2011, หน้า 89 193 อินทรชัย พานิชกุล . (2559). “แจกอาหารคนไร้บ้าน” เมื่อความปรารถนาดีกลายเป็นความเดือดร้อน. [ข้อมูล ออนไลน์ ] แหล่ งข้ อ มู ล : http://www.posttoday.com/local/scoop_bkk/457969 สื บ ค้ น วั น ที่ 16 กั น ยายน 2560 http://www.posttoday.com/local/scoop_bkk/457969 194 Horowitz V. Sandra, Boardman K.Susan,and Redlener Irwin. (2537). Constructive Conflict manager and coping in Homeless Children and adolescent, Journal of social Issues, Vol.50,No.1 195 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (189), หน้า 80

4 - 66


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 2. การใช้กาลัง วิธีการนี้จะเห็นในการจัดการความขัดแย้งของคนไร้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการ วิวาทของคนไร้บ้านและคนไร้บ้านด้วยกันเอง หรือ กับบุคคลอื่น ที่มักจะใช้กาลังเพื่อจัดการปัญหา และ ลงเอยด้วยการบาดเจ็บและปัญหาบานปลาย 1.2) การจัดการความรุนแรงโดยไม่ใช้ความรุนแรง 1. ใช้ความร่วมมือ รัฐมีการออกกฎหมายมากมายเพื่อให้คนไร้บ้าน อยู่ในสังคมได้อย่าง สันติสุขไม่ว่า จะเป็นการจัดตั้งศูนย์ที่พักพิงแก่คนไร้บ้าน จัดตั้งองค์กรในการช่วยเหลือคนไร้บ้าน ซึ่ง โครงการต่างๆ ส าเร็ จ ได้ด้ว ยดีก็โ ดยอาศัยความร่ว มมือของไร้บ้านเป็นส าคัญ ที่มีการส ารวจความ ต้องการคนไร้บ้านเพื่อคนไร้บ้านอย่างแท้จริง เช่น ในส่วนของรัฐได้จัดสร้างบ้านสร้างโอกาส 3 แห่งคือ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และ นนทบุรี196 โดยเป็นสิทธิของคนไร้บ้าน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการ ประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอสาหรับการมีที่พักอาศัยเป็นของตนเอง รวมไปถึงการจัดตั้งศูนย์ คุ้มครองและพักพิงแก่คนไร้บ้านทั่วประเทศ โดยการจัดทาสวัสดิการแก่คนไร้บ้านดังนี้ ช่วยลดปัญหา และความขัดแย้งที่จะเกิดในอนาคต หรือ เมื่อมีคดีเกิดจากความขัดแย้งขึ้น ซึ่งมาตรการนี้เป็นมาตรการ ที่จะได้ผลและไม่เกิดความรุนแรง ต่อเมื่อเกิดจากความยินยอมของคนไร้บ้านในการเข้าสู่กระบวนการ คุ้มครองโดยรัฐ ซึ่งไม่เกิดกับทุกกรณี 4.3 กรณีความขัดแย้งระหว่างคนไร้บ้านและชุมชน คนในสังคมมักจะมีมุมมองที่ไม่ดีต่อคนไร้บ้าน และมักจะมองว่าเป็นปัญหาสั งคม ทั้งไม่ได้รับ การยอมรับ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา คนไร้บ้านคือ ปัญหาสังคมที่สั่งสมเรื้อรังยาวนาน คนไร้บ้านจะถูก มองว่า เป็นคนเกียจคร้าน เฉื่อยชา และ มีชีวิตอยู่เพื่อรอสวัสดิการจากรัฐ โดยเบียดเบียนเงินจากภาษีที่ ต้องจ่ายเพื่อนามาใช้ในปัญหาคนไร้บ้าน 197 ทาให้คนไร้บ้านได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีจากคนในสังคม ซึ่ง หากจะอธิบายผ่านแนวคิด เรื่องทุนนิยม ในประเด็นความขัดแย้งของคนไร้บ้านและชุมชนผ่านมุมมอง ของคาร์ล มาร์ก (Karl Marx)198 สามารถอธิบายได้ว่า ในสังคมนั้นมีมนุษย์อยู่ 2 ชนชั้น คือ ชนชั้น นายทุนและ ชนชั้นแรงงาน ชนชั้นนายทุนมักจะเอาเปรียบชนชั้นแรงงาน กีดกันแรงงานออกจากความ จาเป็นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น อาหาร หรือ ที่อยู่อาศัย ขณะที่ ชนชั้นแรงงาน เชื่อว่า นายทุนจะสามารถ เป็นหลักประกันในความกินอยู่ที่ดีของตนได้ แต่ความจริงแล้วนายทุนนั้นมุ่งนึกถึงแต่การสร้างความมั่ง คั่งซึ่งชนชั้นแรงงานเป็ นเพียงผลประโยชน์ของนายทุนเท่านั้น โดยภายใต้ทฤษฎีความขัดแย้ง ผู้คน จานวนมากในระบอบทุนนิยมนิยามความมั่งคั่ง คือ สิ่งซึ่งได้รับผ่านการศึกษา การอุทิศตนเพื่องานหนัก 196

มงคล ยะภักดี . (2552). คนไร้บ้าน : การจัดบริการด้านที่พักอาศัยชั่วคราว. [ข้อมูลออนไลน์ ] แหล่งข้อมูล : https://www.gotoknow.org/posts/267536 สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 2560 197 Ultius. (2560). An Analysis of Homelessness Using the Conflict Theory. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.ultius.com/ultius-blog/entry/an-analysis-of-homelessness-using-theconflict-theory.html สืบค้นวันที่ 20 กันยายน 2560 198 Marvelous-Essays Blog. Applying the Conflict Theory to the Issue of Homelessness. (2560). [ข้อมูล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://marvelous-essays.com/blog/applying-the-conflict-theory-to-the-issueof-homelessness.html สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 2560

4 - 67


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ซึ่งคนจนและคนไร้บ้านถูกมองว่าเป็นผู้ที่เฉื่อยชา เกียจคร้าน ขาดการศึกษา และเชื่อว่ากลุ่มเหล่านี้ ต้องการสวัสดิการจากรัฐ ซึ่งมาจากน้าพักน้าแรงของพวกเขาจากการจ่ายภาษี ซึ่งมาร์กอธิบายโดย ทฤษฎีความขัดแย้งว่า ระบอบทุนนิยมและ คนไร้บ้าน คือผลลัพธ์จากความไม่พอใจที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ระหว่างคนที่มี และ ไม่มี ซึ่งความแตกต่างของอานาจระหว่างชนชั้นนั้นถูกอธิบายในสังคมทุนนิยม และ ทั่วทุกประเทศที่ถูกปกครองโดยกลุ่มผู้มั่งคั่ง ซึ่งสามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ผ่านการแข่งขันและอานาจ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระบอบทุนนิยมนั้น สามารถใช้อธิบายถึงความขัดแย้งของคนไร้บ้านและคนในสังคม ในประเทศไทย คนไร้บ้านนั้นจะพบเห็นได้โดยทั่วไปโดยกระจายตัวไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่ออาศัย หลับนอน ดาเนินกิจกรรมดารงชีวิต ไม่ว่าจะเป็น เก็บของเก่า เร่ขายของ เราจึงจะพบคนไร้บ้านได้ทั่ว ทุกพื้นที่และชุมชน ไม่ว่าจะใช้เป็นเส้นทางสัญจรผ่านชุมชน การเข้าไปหาของเก่าตามถังขยะหน้าบ้าน ของคนในชุมชน หรือ บางชุมชนมีคนไร้บ้านมาอาศัยหลับนอนอยู่ ดังนั้น สิ่งที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือ ความขัดแย้ง อีกทั้งคนไร้บ้านถือเป็นประชากรกลุ่มที่มีความเปราะบางอยู่แล้ว จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิด การความขัดแย้ง เช่น ทะเลาะเบาะแว้ง หรือ ถูกคนในสังคมที่ไม่เข้าใจผลักไสไล่ส่ง และบางครั้งเป็นไป ในลักษณะการใช้กาลัง ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ทั้งคนไร้บ้านเป็นผู้กระทาความผิด และเป็นเหยื่อ ในการให้ความช่วยเหลือของรัฐนั้น ได้มมี าตรการในการช่วยเหลือคนไร้บ้านในการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรม ซึ่งในบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560199 คนไร้บ้าน ถือเป็ น ผู้ ย ากไร้ ซึ่งรั ฐ จะต้องให้ ความช่วยเหลื อทางด้านกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาทนาย ให้ คาแนะนาปรึกษาเกี่ยวกับการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และการกระทาความผิดที่พบในคนไร้บ้าน มักจะเป็นความผิด ในความผิดต่อชีวิตและร่างกายและทรัพย์สิน ได้แก่ ความผิด ฐานทาร้ายร่างกาย (มาตรา 295-300) ซึ่งอาจร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต (มาตรา 288-291) หรือ คนไร้บ้านบางกลุ่มก็มี นิสัยลักเล็กขโมยน้อย ซึ่งอาจมีความผิดฐานลักทรัพย์ (มาตรา 334) ตามประมวลกฎหมายอาญา 200 ดังตัวอย่างในกรณีศึกษานี้ 199

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 68 รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบตั ิ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็วและไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร รัฐพึงมีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยเคร่งครัด ปราศจากจากการแทรกแซงหรือครอบงาใดๆ รัฐพึงให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายที่ จาเป็ นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้ อยโอกาสในการเข้ า ถึ ง กระบวนการยุติธรรม รวมตลอดถึงการจัดหาทนายความให้ 200 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 059 ผู้ใดทาร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทาความผิด ฐานทาร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจา มาตรา 056 ผู้ใดกระทาทาความผิดฐานทาร้ายร่างกาย ถ้าความผิดนั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 085 ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ มาตรา 057 ผู้ใดกระทาความผิดฐานทาร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทาร้ายรับอันตรายสาหัส ต้อง ระวางโทษจาคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี อันตรายสาหัสนั้นคือ (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (0) เสียอวัยวะสืบพันธุ์

4 - 68


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 1) กรณีศึกษาการเดินนับแจงสารวจคนไร้บ้าน จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวัน ที่ 16-17 กุมภาพัน ธ์ 2560 ผู้ เขียนได้มีโ อกาสเดิ น แจงนั บเพื่ อส ารวจข้ อ มู ล สถิ ติ จานวนของคนไร้บ้านจังหวัดเชียงใหม่ผ่านการสังเกตและสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม ในพื้นที่ขนส่ง ช้างเผือก จังหวัดเชียงใหม่ ปัญหาที่พบในเรื่องความขัดแย้งของคนไร้บ้านและชุมชน มีข้อเท็จจริงคือ คนไร้บ้านได้มีปัญหากับคนในชุมชน จากการสอบถามพบว่า คนไร้บ้านได้ทาร้ายร่างกายหญิงคนหนึ่งซึ่ง อาศัยอยู่บริเวณขนส่งช้างเผือก และในวันดังกล่าวเวลากลางคืนได้มีกลุ่มวัยรุ่นและชายฉกรรจ์เข้ามาหา (3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรือ อวัยวะอื่นใด (0) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (9) แท้งลูก (6) จิตพิการอย่างติดตัว (7) ทุพพลภาพ หรือ เจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต (8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ เกินกว่ายี่สิบวัน มาตรา 055 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะ เป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่รบั อันตรายสาหัส โดยการกระทาในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึง่ ปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทาไปเพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดย ชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ มาตรา 322 ผู้ใดกระทาโดยประมาท และการกระทานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษ จาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ มาตรา 088 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จาคุกตลอดชีวิต หรือจาคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี มาตรา 085 ผู้ใด (1) ฆ่าบุพการี (0) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทาการตามหน้าที่ หรือ เพราะเหตุที่จะกระทา หรือได้กระทาการตามหน้าที่ (3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในกาที่เจ้าพนักงานนั้นกระทาตามหน้าที่ หรือ เพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วย หรือได้ช่วยพนักงานดังกล่าวแล้ว (0) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (9) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือกระทาทารุณโหดร้าย (6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือ เพื่อความสะดวกในการที่จะกระทาความผิดอย่างอื่น หรือ (7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทาความผิดอื่น เพื่อปกปิด ความผิดอื่นของตน หรือ เพื่อหลักเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทาได้ ต้องระวางโทษประหารชีวิต มาตรา 052 ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทาร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจาคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 085 ผู้กระทาต้องระวางโทษ จาคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี มาตรา 051 ผู้ใดกระทาโดยประมาท และการกระทานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษ จาคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ไปโดยทุจริตนั้น ผู้นั้นกระทาความผิดฐาน ลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท

4 - 69


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 เรื่องคนไร้บ้านซึ่งผู้เขียนและกลุ่มกาลังสัมภาษณ์ และสอบถาม ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในการที่คนไร้บ้าน ทาร้ายผู้หญิง โดยมีท่าทีคุกคามและหาเรื่อง จนกลุ่มผู้สัมภาษณ์ได้เข้าไปไกล่เกลี่ยจนกระทั่งชายสองคน ได้จากไป แต่ก็ได้ฝากบอกว่า “อย่ามาให้เห็นที่นี่อีก ไม่งั้นโดนแน่” และก่อนที่ผู้เขียนและกลุ่มจะได้ออก จากพื้นที่ตรงนั้น พบว่า ชายวัยรุ่นคนนั้น กาลังขี่รถจักรยานยนต์ ไปรอบๆ บริเวณขนส่งช้างเผือกมีท่าที เหมือนกาลังตามหาบางอย่าง ซึ่งจากการสังเกตเบื้องต้นขณะเข้าสัมภาษณ์คนไร้บ้านคนดังกล่าวพบว่า คนไร้บ้านคนนั้น มีอาการป่วยทางจิต และเป็นคนไร้บ้านซึ่งอยู่ในกลุ่ มที่เห็ นควรจะต้องได้รับ ความ ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 2) กรณีศึกษา ปฏิสัมพันธ์ของคนไร้บ้านและชุมชน จากสถิติการสารวจจานวนคนไร้บ้านในประเทศไทยพบว่ามีอยู่ประมาณ 32,222 201 เฉพาะ คนไร้บ้านในกรุงเทพมหานครปี พ.ศ.2557 พบว่า มีจานวนคนไร้บ้านอาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ จานวน 3,249 คน กระจายตัวไปตามเขตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เขตพระนคร จตุจักร บางซื่อ ปทุมวัน สัมพันธ์วงศ์ โดยส่วนใหญ่พบบริเวณสนามหลวง เป็นเพศชายถึงร้อยละ 60 และ ร้อยละ 10-20 ของคนไร้บ้านที่ พบเป็นผู้ป่วยจิตเวช 202 อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่เป็นข่าวสะเทือนขวัญในช่วงปลายปี พ.ศ. 2559 ที่พบศพคนเร่ร่อนที่เก็บ ของเก่าขายถูกฆาตกรรมต่อเนื่องกว่า 5 ราย ทุกรายที่พบเป็นศพล้วนมีสถานะเป็นคนเร่ร่อน ทาให้ทั้ง ชาวบ้านและคนเร่ร่อนเองต่างหวาดผวา 203 จากข้อมูลเชิงปริมาณข้างต้น และข่าวซึ่งเป็นข้อมูลที่เผยแพร่สาธารณะ เหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทาให้ บุ คคลทั่ว ไปมองภาพของคนไร้บ้ านไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นคดีใหญ่ที่มีคาว่า “คนไร้บ้าน” มา เกี่ยวข้องรวมถึงข้อมูลสถิติที่พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชในกลุ่มคนไร้บ้านด้วย ทาให้ค นในชุมชนที่มีคนไร้บ้าน อาศัยอยู่ หรือ คนที่พบเห็นบางคนที่ไม่เข้าใจมีความหวาดกลัวและรังเกียจคนไร้บ้าน แต่ในความเป็น จริงแล้วความหวาดกลัวที่ชาวบ้านหรือชุมชนมีต่อคนไร้บ้าน เป็นความเชื่อที่ผิด จากบทความของไทยรัฐ ออนไลน์ เรื่ อง คนจรจั ดเกลื่ อนกรุ ง เร่ร่อน VS ป่ว ยจิต เจาะมูล เหตุกาเนิดคนข้างถนน ได้ล งพื้นที่ สัมภาษณ์ นายสิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งเปิดเผยว่า แม้จะมี คนไร้บ้านจานวนหนึ่งเป็นผู้ป่วยจิตเวชซึ่งต้องควรได้รับยาทุกวัน คนเหล่านี้คือ คนไร้บ้านในกลุ่มที่ควร ได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน แต่กระนั้น พฤติกรรมของคนไร้บ้านกลุ่มนี้ ไม่ได้มีพฤติกรรมที่รุนแรง และก่อเหตุร้าย ส่วนมากจะเป็นในลักษณะที่พูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว ไม่ทาร้ายใคร ส่วนพฤติกรรม ก้าวร้าว รุนแรง และคุ้มคลั่งจะพบเห็นได้ ในกลุ่มคนที่เสพยาเสพติดมากกว่า สอดคล้องกับสถิติการ สารวจคนคนไร้บ้านในกรุงเทพฯ พบว่ากลุ่มคนไร้บ้านเป็นกลุ่มบุคคลที่เสี่ยงจะถูกทาร้าย มากกว่าจะ เป็นผู้ก่อความรุนแรง โดยคนไร้บ้านร้อยละ 32.5 เคยมีประสบการณ์ช่วงใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ตกเป็น 201

ปิ ย วรรณ อร. (2558). เข้ า ใจและให้ โ อกาสคนไร้ บ้ า น เรื่ อ งเล่ า ภาคี สสส. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ งข้ อ มู ล : /Content/28652%27เข้าใจให้โอกาส%27%20คนไร้บ้าน.html สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2560 202 ไทยรัฐออนไลน์. (2558). คนจรจัดเกลื่อนกรุง EP.1 เร่ร่อน VS ป่วยจิต เจาะมูลเหตุกาเนิดคนข้างถนน. [ข้อมูล อ อ น ไ ล น์ ] . แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.thairath.co.th/content/541696http://www.thairath.co.th /content/541696 สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 2560 203 มติชนออนไลน์. (2559). เขย่าขวัญ ชาวบ้านกลัวหลังพบศพที่ !5 คนเร่ร่อนถูกฆ่าตายสะพานลอยนวมินทร์ 92. ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://www.matichon.co.th/news/324654 สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 2560

4 - 70


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 เหยื่อของการละเมิดและความรุนแรงจากคนในสังคม เช่น ผู้ใช้สารเสพติด วัยรุ่นที่คึ กคะนอง หรือ อันธพาล204 ในงานของบุญเลิศก็ได้มีคาอธิบายในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน205 กล่าวคือ การที่คนเข้าใจภาพว่าคน ไร้บ้านที่นอนข้างถนนในที่มืดและเปลี่ยว ทาให้คนมองว่าสถานที่ที่คนไร้บ้านอาศัยหลับนอนอยู่เป็น พื้นที่ที่สามารถเกิดอาชญากรรมได้ทุกรูปแบบนั้น แต่ในความเป็นจริง สถานที่ดังกล่าว ก็เป็นคนสถานที่ ที่คนไร้บ้านหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกัน เช่น สถานีรถไฟที่คนไร้บ้านเข้าไปอาศัยหลับนอน ซึ่งในเวลานี้ก็ได้มี กรณีที่คนไร้บ้านถูกขับไล่จากการรถไฟจากแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร โดยข้อเท็จจริงคือ การ รถไฟแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ ไม่อนุญาตให้คนไร้บ้านเข้ามาอาศัยหลับนอนค้างคืน ภายใน บริเวณชานชาลาสถานีรถไฟหัวลาโพง ทาให้คนไร้บ้านต้องออกมานอนข้างนอก จนมีผู้พบเห็นและถ่าย ลงโซเชียลมีเดีย พร้อมวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจไม่ปลอดภัย พร้อมทั้งเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงมาจัดการ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยั งนายสิริ พงษ์ กลั่นศิริ ที่ปรึกษาผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึง สาเหตุที่ออกประกาศ ห้ามไม่ให้คนไร้บ้านเข้ามาอาศัยหลับนอนอีกต่อไป พบว่า สาเหตุนั้นมาจากก่อน หน้านี้มีคนที่เป็นผู้โดยสาร ที่เดินทางโดยรถไฟจานวนมากร้องเรียนว่า กลุ่มคนไร้บ้านนั้น ไม่มีระเบียบ และก่อความเดือดร้อนราคาญ เช่น กีดขวางตามทางเดิน การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มีการจัด ระเบียบเพื่อรักษาความปลอดภัย ซึ่งมาตรการนี้มีมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2558 206 และหลังจากการ จัดระเบียบแล้วพบว่า จานวนของคนไร้บ้านมีจานวนน้อยลง แต่ก็ยังมีบ้างที่ยังมาวนเวียนอยู่บริเวณ สถานีรถไฟ จะเห็ น ได้ ว่ า ชุ ม ชนนั้ น มองภาพคนไร้ บ้ า นไม่ ดี และ มองว่ า เป็ น ปั ญ หาสั ง คม ที่ ก่ อ ความ เดือดร้อนราคาญ ซึ่งจากการสอบถามจากการรถไฟฯ ในทาการสอบถามส่วนของคนไร้บ้าน ที่เข้ามา อาศัยหลับนอนในสถานีรถไฟ พบว่า กลุ่มคนดังกล่าว ไม่อยากกลับบ้านของตนเอง เนื่องจากมีปัญหาไม่ มีเงิน จึงเข้ามาอาศัยที่สถานีรถไฟ เห็นว่า มาตรการการขับไล่คนไร้บ้านออกจากบริเวณสถานี ไม่ได้มีที่ พักอาศัยชั่วคราวมารองรับ ในการที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ทาให้กลุ่มคนไร้บ้านย้ายออกไปข้างนอก บริเวณสถานีรถไฟแทน จึงไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง 4.4. มาตรการในการจัดการปัญหาคนไร้บ้านโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน คนไร้ บ้ านในภาวะปั จ จุบั น ถูกมองว่าเป็นปัญหาสังคม เช่น ปัญหาในเรื่องการจัดการพื้นที่ ตัวอย่างในกรณีศึกษา การไล่ที่ของสถานีรถไฟ หรือ ปัญหาอาชญากรรม ซึ่งมีผลต่อ ความปลอดภัยต่อ ชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อให้คนไร้บ้านสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง 204

อนรรฆ พิทักษ์ธานิน อ้างถึงใน รณภูมิ สามัคคีคารมย์ . (2559). นิยาม และมายาคติกับความเป็นจริงของคนไร้ บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การสารวจข้อมูลทางประชากรเชิงลึกของคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ เกี่ยวเนื่อง นิยาม และมายาคติกับความเป็นจริงของคนไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล :https://www.facebook.com/Penguinhomeless/photos/ms.c.eJwzNTc3NDUwMrQ0NDIxsLTU M4XwjYxMTM1NjI0AZJoGRQ~-~-.bps.a.577100559129065.1073741829.197235950448863 /577150219124099/?type=3&theater สืบค้นวันที่ 20 กันยายน 2560 205 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (185), หน้า 92 206 Live ไทยรัฐเจาะประเด็น. (2560). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/clip/112207 สืบค้นวันที่ 20 กันยายน 2560

4 - 71


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 เสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้มีจัดกิจกรรมโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ และเครือข่ายภาคประชาสังคม ในการพัฒนากลไกระดับพื้ นที่เพื่อแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน อย่างยั่งยืน ในโครงการ “ดึงศักยภาพท้องถิ่น คืนสิทธิคนไร้บ้าน”207 โดยได้เริ่มในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีหลักการคือ ให้ชุมชนท้องถิ่น คือผู้ที่มีบทบาทมากที่สุด เพราะความยั่งยืนที่แท้จริงคือ การสร้าง สังคม และครอบครัวที่อบอุ่น ร่วมกันแก้ไขปัญหา คนไม่หนีออกชุมชนโดยเฉพาะเด็ก ซึ่งเป็นอนาคตของ ชาติ การขับเคลื่อนในภาพรวมจะทา 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือการร่วมกับภาคประชาสังคม โดย ดาเนินการเรื่องของบัตรประจาตัวประชาชน ซึ่งพบว่าคนไร้บ้านจานวนมากไม่มีบัตรประชาชน ที่อาจ มาจากหลายสาเหตุ ทั้งนี้การมีบัตรประชาชนเป็นสิ่งสาคัญ เพราะช่วยให้คนไร้บ้านสามารถเข้าถึงสิทธิ และสวั ส ดิการขั้น พื้นฐานของรัฐ ได้ แต่ ปัญหาคือ โดยปกติ ในการจะทาบัตรประชาชน ต้ องเป็นผู้มี สัญชาติไทยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน แต่การที่คนไร้บ้านซึ่งอาจพลัดถิ่นมา แม้มีสัญชาติไทย แต่ก็มี ปัญหาในเรื่องเอกสารทางทะเบียน เมื่อมีหน่วยงานมาช่วยประสานงานในเรื่องการทาบัตรประชาชน ให้แก่คนไร้บ้าน สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การรักษาพยาบาล หรือ การออกสิทธิออกเสียงในคนไร้บ้านก็จะ พึงมีในฐานะของประชาชนไทย ในกรณีบุคคลที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์อัตลัก ษณ์ ซึ่ง จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เคยเดินแจงสารวจคนไร้บ้าน พบว่า คนไร้บ้านส่วนใหญ่มีสัญชาติไทย มีทั้งมีบัตรประชาชนและไม่มีบัตรประชาชน ส่วนที่สอง เนื่องจากพบว่าคนไร้บ้านมีข้อมูลส่วนตัวน้อย มาก อาจเป็นเพราะย้ายที่อยู่ไม่มีหลักแหล่ง และบางคนไม่ ต้องการเปิดเผยตัวตน มีการจัดทีมที่เข้ามา ช่ว ยแก้ปั ญหาในส่ ว นนี้ และทาให้ คนไร้บ้านกลั บเข้ามาในชุมชนได้ ส่ ว นที่ 3 คือ การผลั กดัน ด้าน นโยบาย โดยให้เกิดการบูรณาการนโยบาย สถานการณ์คนไร้บ้านในประเทศไทย ต้องยอมรับว่ามิใช่ปัญหาที่แก้ได้ในเร็ววัน และคนไร้บ้าน ก็ยังคงมีอยู่ในสังคมไทยสืบเนื่องไป ดังนั้น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการให้ความช่วยเหลือคนไร้บ้าน ดังเช่น โครงการแจกอาหารแก่คนไร้บ้านของหน่วยงานต่างๆ เป็นมาตรการเบื้องต้นในการให้ความ ช่วยเหลือคนไร้บ้าน เช่น ปรากฏการณ์ “รถหมูแดง”208 จากมูลนิธิกระจกเงาที่ เริ่มเข้าไปแจกอาหาร เครื่องดื่ม ขนม และยารักษาโรคแก่คนไร้บ้าน ภายใต้โครงการ Food for Friends ณ ลานคนเมือง ย่าน เสาชิงช้า ทุกคืนวันจันทร์ 20.00 - 22.00 น. เรียกเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวาง เหตุการณ์ดังกล่าวจุด กระแสให้ผู้คนมากหน้าหลายตาแห่กันเข้าไปบริจาค ส่งผลให้จานวนคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นจากหลักสิบเป็น ร้อย จากแวะเวียนมาเฉพาะวันที่มีการแจกของกลายเป็นปักหลักรอคอยไม่ไปไหน ผลกระทบตามมาคือ ปัญหาที่สั่งสมไว้ไม่ว่าเป็นทิ้งขยะเรี่ยราดสกปรก ขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง กินเหล้าเมาเสียงดัง เป็นเหตุ ให้เกิดความราคาญแก่คนในละแวกนั้น และผู้เดินสัญจรไปมา งานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งของคนไร้บ้านมีปรากฏออกมาอย่างต่อเนื่องเห็น ได้จากงานศึกษาของ สิทธิพล ชูประจง 209 หัวหน้าโครงการได้กล่าวและยอมรับว่า โครงการแจก 207

ภาวิณี เทพคาราม. (2558). ดึงศักยภาพท้องถิ่น คืนสิทธิคนไร้บ้าน, สสส. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.thaihealth.or.th/Content/07381 สืบค้นวันที่ 19 กันยายน 2560 208 "ร ถ ห มู แ ด ง " เ มื่ อ ล า น ค น เ มื อ ง ไ ม่ ต้ อน รั บ ค น ไ ร้ บ้ า น. 2559. [ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.posttoday.com/local/scoop_bkk/414624 สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 2560 209 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (153)

4 - 72


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 อาหารแก่คนไร้บ้านพบปัญหาเกิดขึ้นหลายประการ เนื่องจากการจัดการที่ไม่ดีไม่ว่าจะเป็น เรื่องขยะ ที่ พบว่ามีการทิ้งขยะเรี่ยราด หรือ เกิดเหตุการณ์ที่คนไร้บ้านจานวนมาก ต่างเฝ้ารอแจกอาหารจึงปักหลัก อยู่บริเวณดังกล่าว และ บางคนอาศัยหลับนอนอยู่บริเวณหน้าบ้านของคนชุมชน ขับถ่ายไม่เป็นที่เป็น ทาง บางกลุ่ มตั้งวงดื่มสุ ร าและก่อเหตุทะเลาะวิว าท ทาให้ ข้าวของชาวบ้านเสี ยหาย อีกทั้ง ยังพบ พฤติกรรมกลุ่มมาเฟีย ทีม่ ีคนไร้บ้านบางคนตั้งตนเป็นมาเฟีย จัดการระเบียบการแจกอาหารโดยใช้ความ รุนแรง มีการเรียกผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นให้พวกของตนได้รับของก่อน หรือ นาของที่ได้รับมานาไป ขายต่ออีกทอด และบ่ อยครั้งเกิดการปะทะคารมกับเจ้าหน้าเนื่องจากชักช้า และไม่ได้ดั่งใจ นามาซึ่ง ความรุนแรงในบางครั้ง สิทธิพล ชูประจง ยังพบว่า เป็นปรากฏการณ์หนึ่งซึ่งทาให้ชุมชนบริเวณย่านเสาชิงเกิดความ เดือดร้อน ราคาญ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ที่บางครั้งมีปฏิปักษ์กับคนไร้บ้าน การแจกอาหารให้แก่คนไร้บ้าน ในโครงการต่อมาจะได้ถือปรากฏการณ์นี้เป็นบทเรียน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีกในโครงการอื่นๆ ในเรื่องของการแจกอาหารแก่คนไร้บ้าน บุญเลิศ วิเศษปรีชา210 ได้ให้ข้อเสนอว่า การแจก อาหารนั้นไม่ผิด แต่ควรกิจกรรมอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย บุญเลิศได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการแจกอาหาร คนไร้บ้านไว้ว่า “ผมอยากให้ก้าวพ้นคาว่าแจกของ เปลี่ยนเป็นคุณมานั่งฟังเขาดีกว่า จะได้เรียนรู้อะไรจากชีวิต ของเขากลับไป มากกว่าแจกอาหารแล้วกลับบ้าน การแจกอาหารทาได้แต่ต้องทาอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย ควรทาให้การแจกอาหารนั้นเป็นเครื่องมือ ที่จะนาไปสู่การทาให้คนมาแจกได้เจอกับคนไร้บ้าน ได้เข้าอก เข้าใจปัญหาที่แท้จริง คิดถึงการแก้ไขปัญหาในระยะยาว การแจกอาหารก็เหมือนทาบุญ แต่พอพูดว่าจะ ทายังไงให้คนไร้บ้านมีที่อยู่อาศัย คนจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก ซับซ้อน เป็นไปไม่ได้ ซึ่งเราควรมาบริหาร จัดการตรงนี้ ทาให้ไปไกลกว่าการแจกอาหารไปวันๆ” อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือคนไร้บ้านด้วยวิธีการแจกอาหารนั้นมีข้อดี เนื่องจากไม่มีความ ยุ่งยากในการจัดเตรียม และเป็นการให้ความช่วยเหลือได้รวดเร็ว แต่ก็ไม่ต่างจากการแก้ปัญหาระยะสั้น สิ่งที่ควรให้ความสาคัญคือ การแก้ปัญหาระยะยาว และตั้งคาถามว่าทาอย่างไรให้คนไร้บ้านมีที่อยู่อาศัย สามารถทามาหาเลี้ยงตนเองหรือครอบครัวได้อย่างเป็น กิจจะลักษณะ ซึ่งเป็นผลดีในระยะยาวมากกว่า และมาตรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือคนไร้บ้าน ไม่ใช่ทุกวิถีทางที่จะเกิดผลดี และตอบโจทย์ของปัญหา ซึ่งในอนาคตก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนมาตรการ โดยศึกษาจากมาตรการที่ ได้ผลดี และ มาตรการที่ไม่ได้ผล 4.5 ความขัดแย้งของคนไร้บ้านกับนโยบายพัฒนาเมือง (ระบบทุน) คนไร้บ้านเป็นกลุ่มประชากรที่พบได้ทั่วโลก ส่วนมากจะพบในเมืองใหญ่และเจริญแล้ว จาก สถิติจานวนคนไร้บ้านในเมืองใหญ่ มีมากที่สุดในเมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ รองลงมาคือ นิวยอร์ก

210

"แจกอาหารอย่ า งเดี ย วไม่ ช่ ว ยแก้ ปั ญ หาคนไร้ บ้ า น ". (2559). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.posttoday.com/analysis/interview/465097 สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2560

4 - 73


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ลอสแองเจลลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา มอสโก ประเทศรัสเซีย ตามลาดับ211 ซึ่งสาเหตุในการทาให้คน กลายมาเป็นคนไร้บ้านนั้น แตกต่างกันไปในแต่ ประเทศ แต่ที่คล้ายกัน ก็คือ ผลจากปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัวบางประเทศ ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ แต่ที่น่าชวนคิด คือ เหตุใดคนไร้บ้านจึงมัก พบในเมืองใหญ่ โดยจุดร่วมของเมืองเหล่านี้คือ เป็นเมืองใหญ่และเข้าถึงการพัฒนาเมือง และ เมื่อ กล่าวถึงวาทกรรมการพัฒนานั้น สิ่งที่จาเป็นนามาใช้เป็นแนวคิดในการศึกษา คือ SDGs (Sustainable development goals) คือ วาระการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. 2558 คือ การจัดทาเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนโดยองค์การสหประชาชาติ (United nation) โดยในเป้าหมายที่สามารถนามาปรับใช้เพื่อแก้ไข ปัญหาคนไร้บ้าน มี 3 เป้าหมายที่จะได้นามาปรับใช้เพื่อจัดการกับปัญหาคนไร้บ้านอย่างยั่งยืน คือ เป้าหมายที่ 1 คือ ขจัดความยากจน 212 ในสถานการณ์ความยากจนของโลกนั้น พบว่ากว่า 800 ล้านคน ยังขาดการเข้าถึงสิ่งจาเป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 25 (1)213 ได้กาหนดถึงการเข้าถึงมาตรฐานการครองชีพ และ ปัจจัยที่จาเป็นในการดารงชีวิต แต่คนไร้บ้าน นั้น พบว่าขาดการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน คือ ที่อยู่อาศัย ดังนั้น การที่คนไร้บ้านมักจะอาศัยอยู่ ในเมืองใหญ่ และ เป็นเมืองที่ค่าครองชีพสูงในประเทศนั้นๆ แน่นอนว่า การเข้าถึงสิทธิอาศัยของคนไร้ บ้าน ถูกจากัดด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นสาคัญ แต่ทั้งนั้นการที่จะเข้าถึง ปัจจัยการดารงชีพอย่างอื่น นั้น คนไร้บ้านจาเป็นที่จะต้องอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น อาหารที่คนไร้บ้านอาจใช้วิธีการขอทาน หรือ รับอาหารที่แจกฟรี หรือ การเข้าถึงการประกอบสัมมาชีพ ที่จะมีโอกาสมากกว่าหากอยู่ในเมืองใหญ่ ทา ให้ปัญหาคนไร้บ้านเป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข ดังนั้น การที่จะแก้ไขปัญหาคนไร้บ้านนั้น จาเป็นที่ จะต้องแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อให้สามารถเข้าถึงปัจจัยขั้ นพื้นฐานที่หลากหลายมากขึ้น และมี โอกาสที่จะหลุดพ้นจากการเป็นคนไร้บ้าน เป้าหมายที่ 11 214 การจัดการพื้นที่ในเมืองอย่างอย่างยืน ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น การ เติบโตอย่างรวดเร็วของเมือง ในประเทศที่กาลังพัฒนาทาให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากร จากชนบทเข้า มาในเมืองเพื่อมาเสาะแสวงหาโอกาส และในการพัฒนาเมืองนั้นสิ่ง ที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปด้วยคือ การ 211

โ ส ภ ณ พ ร โ ช ค ชั ย .( 2559) . แ ก้ ปั ญ ห า ค น เ ร่ ร่ อ น อ ย่ า ง ไ ร ดี . [ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1609.ht m สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2560 212 เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development goals) เป้าหมายที่ 1 คือ ขจัดปัญหาความยากจนในทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ภายในปี ค.ศ.2030 รวมไปถึง การ สร้างความเชื่อมั่นแก่คนยากจนและกลุ่มคนเปราะบางและถูกปกป้องจากสังคม และเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการขั้น พื้นฐาน รวมถึงการป้องกันภัยพิบัติ ไม่ว่า ภัยธรรมชาติ หรือ ภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับ ผลกระทบจากความขัดแย้ง 213 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 25 (1) ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชี พอั นเพีย งพอสาหรั บสุข ภาพและความอยู่ดีข องตนและครอบครั ว รวมทั้ง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การดูและรักษาทางการแพทย์ และบริการทางสังคมที่จาเป็น และมีสิทธิใน หลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือปราศจากการดารงชีพอื่นในสภาวะ แวดล้อมนอกเหนือ การควบคุมของตน 214 เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development goals) เป้าหมายที่ 11 ในการสร้างความเป็นเมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน ทาให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของ มนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างยั่งยืน

4 - 74


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 พัฒนาสาธารณูปโภค เพื่อรองรับบริการสาธารณะให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากร ที่หลั่งไหล เข้ามาในเมือง ซึ่งการสร้างสาธารณูปโภคเหล่านี้ ล้วนเป็นการที่รัฐต้องเข้าจัดการพื้นที่ ทาให้อาจส่งผล กระทบต่อประชาชน เช่น ถูกเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างถนน ดังนั้น จึงจาเป็นที่จะต้องมีการทาประชา พิจารณ์ และ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่ งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ได้ให้ ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และจนมาถึง รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ก็ได้บัญญัติถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการที่เป็นส่วนหนึ่งของ รายงานการประเมินผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน215 อีกทั้งยังต้องคานึงถึงสิทธิมนุษยชนคือ สิทธิขั้นพื้นฐานสาหรับมนุษย์ทุกคนโดยไม่เลือกประติบัติ โดยใช้คุ้มครองร่วมกับสิทธิเสรีภาพที่ประกาศ จากรัฐ (Freedom from The State) และสิทธิและเสรีภาพที่กาหนดบังคับใช้โดยผ่านรัฐ (Freedom though The State) 216 เช่ น สิ ท ธิ ใ นการได้ รั บ การสงเคราะห์ ช่ ว ยเหลื อ ให้ ส ามารถมี ที่ พั ก อาศั ย ที่ เหมาะสม หรือ สิทธิที่จะมีเสรีภ าพหรือได้รับอิสระจากการถูกขับไล่เชิงบังคับ ที่ดาเนินการโดยรัฐ นอกจากนั้น สิทธิมนุษยชนได้ถูกให้ความสาคัญโดยกฎหมาย ระดับกฎหมายทั้งกฎหมายภายในประเทศ เขตท้องถิ่นและระดับนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายขั้นลาดับต่างๆ ระเบียบข้อบังคับ มาตรการต่า งๆ นั้น จะต้องอยู่บนแนวพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เป็นหลักประกันได้ว่า บุคคลผู้เป็นมนุษย์ทุกคน นั้นต้องได้รับการปฏิบัติ และได้รับการคุ้มครองสิทธิต่างๆ ตามสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันการถูกละเมิด หรือปฏิเสธสิทธิ รวมถึง การดาเนินตามหลักการที่ต้องไม่ถูกเลือกประติบัติ (Non-Discrimination)

215

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า "การดาเนินโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทามิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและ ประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่ งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระ ซึ่ง ด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดาเนินการดังกล่าว" รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 98 “การด าเนิ น การใดของรั ฐ จะอนุ ญ าตให้ ผู้ ใ ดด าเนิ น การ ถ้ า การนั้ น อาจมี ผ ลกระทบต่ อ ทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือ ส่วนได้เสียสาคัญอื่นใดของประชาชนหรือ ชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐต้องดาเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุม ชนที่ เกี่ยวข้องก่อน เพื่อนามาประกอบการพิจารณาดาเนินการหรือ อนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รั บข้อมูล คาชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการดาเนินการหรือ อนุญาตตามวรรคหนึ่ง ในการดาเนินการหรืออนุญาตตามวรรคตามวรรคหนึ่ง รัฐต้องระมัดระวังให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพน้อยที่สุด และต้องดาเนินการให้มีการเยียวยาความเดือดร้อนหรือ เสียหายให้แก่ประชาชนหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า” 216 สุเทพ เอี่ยมคง. (2556). สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://wiki.kpi.ac.th/ index.php?title=สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย สืบค้นวันที่ 20 กันยายน 2560

4 - 75


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 หรือไม่กีดกันให้เป็นบุ คคลอื่น (Excluded) หรือ ทาให้ถูกกลายเป็นบุคคลชายขอบ (Marginalized Groups) 217 จากการพัฒนาประเทศไทยในเวลาที่ผ่านมา ทาให้คนจากชนบทอพยพหลั่งไหลเข้ามาหางาน ทาในเมือง ทาให้เกิดการประกอบสร้างเป็นคนไร้บ้าน เนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งเป็นผลมาจาก การพัฒนาเศรษฐกิจ มีการอพยพจากชนบทเข้าสู่เมือง เนื่องจากนโยบายการพัฒนาเมืองที่เอื้อเฉพาะ “ในเมือง” ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย หรือ อัตราการจ้างงานที่มาก เป็นต้น คนจนซึ่งกระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ตามพื้นที่รอบนอกจึงถูกกีดกันจากทรัพยากรของเมือง และ ระบบสวัสดิการไม่สามารถเข้าถึงได้ ทาให้เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่เมืองและเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ จน กลายมาเป็นคนไร้บ้าน ถือได้ว่า บริบทของเมืองเอื้อให้เกิดคนไร้บ้าน เดิมทีการอพยพช่วงแรกเริ่มก็ได้มี การบุกเบิกที่ดินสร้างบ้านเรือน ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่รวมกันเป็นย่านชุมชนแออัดหรือสลัม แทรกอยู่ตาม ความเจริญของเมือง ต่อมาเมื่อมีการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ตัวเมืองมากขึ้น และการเสาะแสวงหาที่อยู่อาศัย นั้นก็เป็นสิ่งที่ยากลาบากขึ้นตามกาลเวลา ที่ดินมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ทาให้คนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาในช่วง หลังไม่สามารถเสาะแสวงหาที่อยู่อาศัยได้ จึงมีการปรับตัว เกิดชุมชนใต้สะพาน กระทั่งมีคนจนเมือง รูปแบบใหม่ที่ต้องอาศัยหลับนอนในที่สาธารณะแทน “บ้าน” นานเป็นเดือน เป็นปี กล่าวคือ คนไร้บ้าน นั่ น เอง 218 ปั ญ หาส าคั ญ ที่ ท าให้ ก ลายเป็ นคนไร้ บ้ า น คื อ ไม่ ส ามารถจ่ า ยค่ า ที่ อ ยู่ ไ ด้ 219 จึ ง อาศัยที่ สาธารณะเป็นที่พักหลับนอน แม่น้าหรือวัด กลายเป็นที่ชาระล้างร่างกาย เสื้อผ้า ผลลัพธ์จากการพัฒนาเมืองที่ทาให้คนกลายมาเป็นคนไร้บ้านอีกประการหนึ่งคือ การพัฒนา อย่างไม่หยุดยั้งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้าทางสังคม เป็นผลจากการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียม บางคน ผิดหวัง ล้มเหลวจากการเข้ามาทาในเมือง และ เมื่อกลายมาเป็นคนไร้บ้านก็มีความเป็นไปได้ยาก ที่จะ กลับตัวขึ้นมาเป็นปกติอีกครั้ง ซึ่งจะได้ใช้แนวคิดอธิบายดังนี้ คนไร้บ้าน ถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนชายขอบของสังคม พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร220 ได้ นิยามคาว่า “คนชายขอบ” คือ คนด้อยโอกาส ตรงข้ามกับ คนไม่ด้อยโอกาส คือ คนที่อยู่ในศูนย์กลาง ของการพัฒนาที่ได้รับความเอาใจใส่จากสังคมและรัฐ มนุษย์ที่ไม่ด้อยโอกาสย่อมมี “ต้นทุน” ที่บริโภค และอุปโภคได้อย่างความเท่าเทียมกับบุคคลอื่นๆ โดยจะจาแนกธรรมชาติของความด้อยโอกาสที่ทาให้ มนุษย์ตกเป็นคนชายขอบไว้ 3 กรณีด้วยกัน กล่าวคือ 1. ความด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม 0. ความด้อยโอกาสทางการศึกษา และ 3. ความด้อยโอกาสทางกฎหมาย คนไร้บ้าน คือ คนที่ด้อยโอกาสทางสังคมที่มักจะด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ ซึ่งในขณะเดียวกัน คนที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ มัก ด้อ ยโอกาสทางสั ง คม การเปลี่ ยนแปลงของสั งคมที่มี การพั ฒ นา 217

กร ม พั ฒ นา สั งค ม แ ล ะ สวั ส ดิ ก า ร กร ะ ทร วงกา ร พั ฒ นา สั งค ม แ ละ ค วาม มั่ นคงของม นุ ษ ย์ และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2559). รายงานฉบับสมบูรณ์ การถอดบทเรียนการดาเนินงานมาตรฐานการจัดบริการคน ไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง . กรุงเทพฯ : เจพริ้นท์, หน้า 36-37 218 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (185), หน้า 185 219 เพิ่งอ้าง, หน้า 84 220 พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตร. (2551). คนชายขอบ (Marginal People) ในความหมายของ ICCPR Country Report. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.gotoknow.org/posts/ 020503 https://www.gotoknow.org/posts/204923 สืบค้นวันที่ 24 กันยายน 2560

4 - 76


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 เศรษฐกิจก็ส่งผลกระทบต่อคนไร้บ้านด้วย เช่น เหตุการณ์ในปีพ.ศ. 0900 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในการจั ดประชุม APEC ในสมัย รั ฐ บาลของนายสมัคร สุ นทรเวช ได้มีการจัดระเบียบบ้านเมืองให้ สวยงามเพื่อต้อนรับ แขกบ้ านแขกเมือง คนไร้บ้านคือ กลุ่ มคนที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากส่งผลต่อ ภาพลักษณ์ของประเทศ จึงได้มีการจัดระเบียบโดยการกักขังคนไร้บ้านไว้ที่เดียวกัน 221 หรือ ประเทศ อื่นๆในเอเชีย อย่างเวียดนามก็ได้มีการจัดระเบียบคนไร้บ้านโดยใช้วิธีการที่รุนแรง ในรายงานของ ฮิวแมนไรซ์วอชเปิดเผยว่า รัฐบาลเวียดนามได้จัดระเบียบโดยการยัดข้อหา และ กักขังเด็กเร่ร่อนข้าง ถนน 222 โดยเหตุการณ์เหล่ านี้ สะท้อนถึง ภาพการมองเห็ นถึงปัญหาคนไร้บ้านอย่างตื้นเขินว่า คือ ปัญหาที่ส่งผลต่อความสวยงามของประเทศ แต่ไม่ได้มองถึงปัญหาที่ แท้จริงว่า กลุ่ มคนเหล่านี้คือสิ่ง สะท้อนถึงความล้มเหลวของการบริหารประเทศ และรัฐไม่ได้ให้ความสนใจที่จะแก้ปัญหาอย่างแท้จริง และผลกระทบที่ ก ลุ่ ม คนไร้ บ้ า นได้ รั บ จากการพั ฒ นาอี ก ประเด็ น คื อ ในเรื่ อ งการจั ด สร้ า ง สาธารณู ป โภคพื้ น ฐาน (infrastructure) เพื่ อ สอดรั บ กั บ การพั ฒ นาเมื อ ง ซึ่ ง โดยปกติ ใ นโครงการ การจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานโดยรัฐโครงการใหญ่ๆ จะต้องมีการจัดทา EIA เพื่อประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EHIA ในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพก่อนมีการทาโครงการต่างๆ เพื่อ รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของประชาชน ในเรื่ อ งที่ มี ผ ลกระทบชีวิ ตของประชาชนทุ ก คน โดยการจัดทา ประชาพิจารณ์ โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสีย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.0992 ในเรื่อง กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคน ไร้บ้านคือ กลุ่มคนไร้บ้านซึ่งมีหลากหลายกลุ่ม อาจจะเข้ามาอาศัยอยู่พื้นที่ที่กาลังมีการจัดทาประชา พิจารณ์ เพื่อสร้างโครงการใดโครงการหนึ่ง เช่น ถนน โรงไฟฟ้า แต่กลุ่มคนไร้บ้านไม่เคยมีส่วนร่วมใน การทาประชาพิจารณ์ ทั้งที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือเป็นสมาชิกในชุมชน ซึ่งย่อมได้รับผลกระทบใน การจัดสร้างโครงการต่างๆของรัฐ อาจจะเนื่องจากเหตุผลการไม่มีสัญชาติ หรือ เป็นผู้พลัดถิ่นมาจากที่ อื่นจึงไม่มีทะเบียนในท้องที่ที่อาศัยอยู่ตามความเป็นจริง จึงไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และ เป้าหมายที่ 16223 คือการส่งเสริมสันติสุข ควบคู่กับการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยอยู่ บนฐานของนิ ติธ รรม (Rule of law) เนื่องจาก การอยู่ร่วมกันอย่างสันตินั้นมีความจาเป็นที่จ ะต้ อง ตระหนักถึง หากต้องการที่ประสบความสาเร็จในวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยทุกคนต้องเป็นอิสระ จากความกลัวจากความรุนแรง ความขัดแย้ง และรู้สึกปลอดภัยไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ไม่มีการแบ่งแยก ซึ่ง การที่จะเข้าถึงเป้าหมายของความยุติธรรม และ สันติภาพนั้นสิ่งที่สาคัญคือ รัฐ ประชาสังคม และ ชุมชนทางาน ควรทางานร่วมกันช่วยกันแก้ปัญหา ลดความขัดแย้ง ต่อต้านการทุจริต มุ่งที่จะลดความ รุนแรงทุกรูปแบบ 221

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (185), หน้า4 แฉเวี ย ดนามกวาดเด็ ก ข้ า งถนนโรยหน้ า ประชุ ม เอเปก . (2549). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000140347 สื บ ค้ น วั น ที่ 20 กันยายน 2560 223 เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development goals) เป้าหมายที่ 16 สันติและความยุติธรรมส่งเสริมสังคมทีมีความสงบสุข ไม่มีการแบ่งแยกเพื่อการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน ให้มีความยุติธรรมสาหรับทุกคนและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่พึ่งของส่วนรวมและเป็นที่ยอมรับในทุก ระดับ 222

4 - 77


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 การสร้างสันติสุข สงบสุขนั้น บุคคลทุกคนจาต้องมีสิทธิที่จะดาเนินชีวิตอย่างมี อิสรเสรี มีความ ปลอดภัย และไม่ถูกเลือกปฏิบัติในการเข้าถึงความยุติธรรม ซึ่งประเด็นเรื่องดังกล่าวก็ได้บัญญัติไว้ใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้วย 224 แต่สถานการณ์ของคนไร้บ้าน พบว่าความปลอดภัยเชิง กายภาพของคนไร้บ้าน มักจะอยู่ภายในภาวะถูกคุกคาม เนื่องจากขาดพื้นที่ที่ปลอดภัยในการดารงชีวิต อยู่ บุคคลไร้ที่พึ่งจึงดาเนินอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นอันตรายถูกก่ออาชญากรรม และถูกทาร้ายได้ โดยง่าย225 ในด้านของสิทธิในการไม่ถูกเลือกปฏิบัติของบุคคลไร้ที่พึ่ง ซึ่งมีสิทธิได้รับความเท่าเทียมและ อิสระจากการถูกเลือกปฏิบัติอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แต่ในความเป็นจริงคนไร้ที่พึ่งส่วนใหญ่ มักจะถูกตีตรา (stigmatization) ถูกเลือกปฏิบัติในหลายลักษณะทั้งในการให้ ทางานทา การเข้าถึง บริการสุขภาพ การเข้าถึงการศึกษาหรือการฝึกอบรม รวมถึงการถูกเอาไปเปรียบเทียบเทียบกับ บุคคล กลุ่มอื่นในสังคม ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุทาให้เกิดความขัดแย้งในกลุ่มคนไร้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการ ตกอยู่ความเสี่ยงของวังวนความขัดแย้ง การถูกเลือกปฏิบัติจากสังคมและคนรอบข้าง จึงแสดงออกมา ให้ปรากฏเห็นในความขัดแย้งรูปแบบต่างๆ 4.6 การรวมกลุ่มของคนไร้บ้าน 1) สิทธิในการเรียกร้องของกลุ่ม การรวมกลุ่ มนั้ น เป็ น สิ ทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน ทั้งบัญญัติเป็นมาตรฐานไว้ ใ น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal declaration of Human right) 226 และจากแนวคิด ตามปฏิญญาสากลดังกล่าว เป็นฐานคิดในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ว่าระดับไหน ดังที่ ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.0962 227 ในการรวมกลุ่มของคนไร้บ้าน เกิดจากการที่เกิดความขัดแย้งระหว่างสังคม และคนไร้บ้าน ไม่ ว่าจะเป็น การพัฒนาเมืองตามนโยบายรัฐ และคนไร้บ้านถูกไล่ที่อยู่อาศัยหลับนอนของเขา อาจจะ เนื่องมาจากการพัฒนาภูมิทัศน์ของเมือง หรือ การเวนคืนพื้นที่เพื่อสร้างสาธารณูปโภค การถูกไล่ที่หรือ

224

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 3 บัญญัติว่า “ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพและความมั่นคงแห่งบุคคล” ข้อ 7 บัญญัติว่า “ทุกคนเสมอกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันจากการเลือกปฏิบัติใดๆอันเป็น การล่วงละเมิดปฏิญญา และจากการยุยงให้เลือกปฏิบัติดังกล่าว” 225 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (217), หน้า 48. 226 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal declaration of Human right) ข้อ 20 “ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการร่วมประชุมและการตั้งสมาคมโดยสันติ” 227 ดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2560 มาตรา 42 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือ หมู่คณะ อื่น โดยการจากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ เพื่อการ ป้องกันหรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด”

4 - 78


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 เวนคืนพื้นที่อาจสร้างความไม่พอใจแก่คนไร้บ้าน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้จึงทาให้เกิดการรวมตัวกันขึ้น ของคนไร้บ้าน 2) สภาพปัญหาในเรื่องการรวมกลุ่มของคนไร้บ้าน คนไร้บ้านก็ถือเป็นกลุ่มคนที่เป็นสมาชิกของสังคม ดังนั้น ในกลุ่มคนไร้บ้านเองก็ได้การรวมกลุ่ม และมีกิจกรรมร่วมกัน ซึ่ง รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองสิทธิของการรวมกลุ่มไว้ ในรูปแบบของ สมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือ หมู่คณะอื่น แต่ในทางปฏิบัติมีการออกกฎหมายลาดับรอง หรือ ข้อบังคับซึ่งเป็น การจากัดเสรีภ าพการรวมกลุ่ ม เช่ น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช ย์ มี การ กาหนดให้ต้องจดทะเบียนต่อหน่วยงานของรัฐในการรวมกลุ่มแบบนิติบุคคล ซึ่งเป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมาย แต่ในความเป็นจริง องค์กรภาคประชาชนหลายองค์กรมีการดาเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณะ ประโยชน์ แต่มิได้จดทะเบียนหรือไม่สามารถจดทะเบียนไม่ว่า จะด้วยเหตุใด ดังนั้น การรวมกลุ่มใน ลักษณะนี้จะไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย เช่นเดียวกับ การรวมกลุ่มในคนไร้บ้าน เครือข่ายสลัมสี่ ภาค เป็นต้น อีกประเด็นปัญหาของภาวะคนไร้ที่พึ่ง คนเร่ร่อน กับ สิทธิที่จะมีอิสรภาพในการเคลื่อนย้าย หรือมีการรวมตัว ในการบุคคลไร้ที่พึ่งมีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายตนเองไปที่ใดในบริเวณสาธารณะก็ได้ แต่ใน ความเป็นจริงกลุ่มบุคคลเหล่านี้ มักถูกกาหนดขอบเขตสถานที่ ถูกดาเนินการจัดระเบียบ ถูกคุกคามหรือ ดาเนินการในเชิงลบจากสมาชิกกลุ่มอื่นในสังคม เช่น ถูกไล่ที่ ถูกขับไล่จากชุมชน และไม่มีสิทธิและเสียง ในสังคม228 แม้คนไร้บ้านจะไม่ได้รับการยอมรับในสังคม แต่ สถานการณ์คนไร้บ้านในปัจจุบันในเรื่องการ รวมกลุ่ม ถือว่ากาลังเจริญเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนใหญ่จะเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องใน เรื่องสิทธิอาศัย ซึ่งในกลุ่มคนไร้บ้านก็ได้มีการรวมกลุ่มกัน และได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ดัง กรณีศึกษาดังนี้ กรณีศึกษาการรวมกลุ่มเครือข่ายคนไร้บ้าน “สลัมสี่ภาค” กลุ่มเครือข่ายสลัมสี่ภาค คือ องค์กรภาคประชาชนที่มาจากการรวมตัวกันของผู้เดือดร้อนด้าน สิทธิที่อยู่อาศัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปที่ดินเมืองเพื่อสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของคนจน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนจนเมืองให้ดีขึ้น รวมถึงการมีส่วนร่วมผลักดันเชิงนโยบายที่เป็นธรรมทาง สังคมโดยเครือข่ายสลัม 0 ภาคมีเครือข่ายสมาชิกประกอบด้วยสมาชิก 1. ศูนย์รวมพัฒนาชุมชน 0. กลุ่มพัฒนาชุมชนใต้สะพาน 3. เครือข่ายชุมชนริมทางรถไฟสายใต้-ตะวันตก 0. เครือข่ายสลัมพระราม3 9. เครือข่ายคนไร้บ้าน

228

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 214, หน้า 44-46

4 - 79


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 6. เครือข่ายชุมชนเพื่อการพัฒนา 7. เครือข่ายฟื้นฟูประชาสร้างสรรค์ 8. เครือข่ายพัฒนาสิทธิชุมชนภาคใต้ โดยเครือข่ายคนไร้บ้านก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครือข่ายสลัมสี่ภาค โดยห้วงเวลาที่ผ่านมา การเคลื่อนไหวของเครือข่ายสลัม 0 ภาคซึ่งเป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิอาศัย ที่ผ่านมาได้มีการ ออกมาเคลื่อนไหวในเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อออกมาแสดงสิทธิและความเห็นของคนในเครือข่ายไม่ว่าจะ เป็น เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 0962 ที่เครือข่ายสลัม 0 ภาค รวมตัวกันประมาณ 92 คน ได้เข้า ยื่นหนังสือปลัดกระทรวงคมนาคม เพื่อเรียกร้องให้แก้ปัญหาที่อยู่อาศัย ให้ชุมชนในที่ดินของการรถไฟ แห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยมีข้อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ให้ยุติการขยายถนนเลียบทาง รถไฟจรัญสนิทวงศ์ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนบริเวณดังกล่าว หรือ เหตุการณ์ที่เครือข่ายสลัม 0 ภาค ได้ออกมาเคลื่อนไหวให้รัฐบาลหยุดไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นต้น นอกจากจะเคลื่อนไหว ด้านสิทธิที่อยู่อาศัยแล้ว ยังเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่น เครือข่ายสลัม 0 ภาคร่วมมือกับนิสิตนักศึกษา ออกแถลงการณ์ "หยุดจับกุมประชาชนที่เห็นต่าง: ปล่อยตัวคนเห็นต่างทันที ” เนื่องจากขัดกับหลักสิทธิ มนุษยชน เห็นได้ว่า เครือข่ายคนไร้บ้านในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบ จากเดิมที่เน้นอาศัยอยู่ ปัจเจกมีปฏิสัมพันธ์เฉพาะบางพวกบางกลุ่ม แต่ในปัจจุบันสถานการณ์การรวมกลุ่มของคนไร้บ้านเป็นไป ในทางที่ดีขึ้น และมีการเคลื่อนไหวและแสดงออกอยู่เป็นประจา ถือเป็นนิมิตหมายอันดีในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนไร้บ้ านได้ดีกว่า การออกกฎหมายบังคับใช้เพื่อจัดการควบคุมปัญหาคนไร้ บ้าน แทนที่การใช้ร่วมมือและฟังเสียงถึงความต้องการที่แท้จริงของคนไร้บ้าน 4.7 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความขัดแย้งของคนไร้บ้าน สถานการณ์คนที่ไร้พึ่งในประเทศไทยพบว่า มีหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักคือ ปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ซึ่งคนไร้ที่พึ่งนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีสุ่มเสี่ยง ในการที่จะเกิดปัญหาความขัดแย้ง เนื่องจากมีความเปราะบาง โดย “รายงานการวิจัย การถอดบทเรียนการดาเนินงานมาตรฐานการจัดบริ การคนไร้ ที่พึ่ง ในสถานคุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ง ”229 ซึ่งได้อธิบายถึงสภาวการณ์ข องคนไร้ที่ พึ่ ง กับสิ ท ธิ มนุษยชน ในส่วนของคนไร้ที่พึ่ง คนเร่ร่อนกับสิทธิด้านความปลอดภัยและการถูกได้รับปฏิบัติระดับ บุคคล โดยอ้างอิงตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 68 รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ " เป็นธรรม และไม่เลือกปดิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และ ไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร รัฐพึงมีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถปดิบัติหน้าที่ได้ โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซง หรือ ครอบงาใดๆ

229

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ (010), หน้า 45-47

4 - 80


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 งให้ความช่วยเหลือทางก้หมายที่จาเป็นและเหมาะสมกับผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาสในการ รัฐพึ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมตลอดถึงการจัดหาทนายความให้" มาตรา 71 วรรคสาม “รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และคุ้มครองป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าวถูกใช้ ความรุนแรงหรือ ปดิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมตลอดทั้งให้การบาบัด ฟื้นฟู เยียวยาผู้ถูกกระทาการ ดังกล่าว” พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 มาตรา 3 กาหนดให้คนไร้ที่พึ่ง หมายถึง “บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การ ยังชีพ และให้รวมถึงบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้” โดยกฎหมายได้นิยามตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง กาหนดประเภทหรือ ลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ ข้อ 3 “ประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ เป็นคนไร้ที่พึ่ง ได้แก่ 1) บุคคลที่ประสบความเดือดร้อน หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่มีความยากลาบากในการดารง ชีพเนื่องจากเหตุหัวหน้าครอบครัวหรือบุคคลที่เป็นหลักในครอบครัว (ก) ตาย (ข) ทอดทิ้งสาบสูญหรือต้องโทษจาคุก (ค) ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยร้ายแรงจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (ง) ไม่สามารถดูแลครอบครัวได้ด้วยเหตุอื่นใด 2) คนเร่ร่อน หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่ออกมาจากที่พักอาศัยเดิม มาอยู่ในที่สาธารณะ หรือ มาใช้ชีวิตแบบครอบครัวใหม่ในที่สาธารณะ และทั้งสองกลุ่มอาจจะย้ายที่พักไปเรื่อยๆ หรืออาศัย อยู่ที่ใดที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อดารงชีวิตประจาวันในที่สาธารณะนั้นๆ 3) บุคคลซึ่งอาศัยที่สาธารณะเป็นที่พักนอนชั่วคราว หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่มาทาภารกิจ บางอย่างและไม่มีที่พักอาศัย ไม่มีเงินเช่าที่พัก 4) บุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนราษ้รแต่ไร้สัญชาติ หมายถึง บุคคลที่ถูกบันทึกทางทะเบียน ราษ้ร ของรัฐใดรัฐหนึ่งแต่มิได้รับการรับรองในสถานะคนสัญชาติโดยรัฐนั้นหรือรัฐอื่นใด ที่ประสบ ปัญหาการดารงชีพ 5) บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษ้ร หมายถึง คนไร้รัฐซึ่งอาจจะเป็นคนที่เกิดในประเทศ ไทยหรือนอกประเทศไทยก็ได้แต่มีเหตุทาให้ตกหล่นจากทะเบียนราษ้รทั้งของประเทศต้นทางและของ ประเทศไทย ที่ประสบปัญหาการดารงชีพ” มาตรา 22 “ในกรณี ที่ บุ ค คลใดถู ก กล่ า วหาว่ า กระท าความผิ ด เกี่ ย วกั บ การพั ก อาศั ย ในที่ สาธารณะตามก้หมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหากเจ้าหน้าที่ตามก้หมาย หรือ ข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น 4 - 81


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 เห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะเป็นคนไร้ที่พึ่งและสมควรได้รับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ส่งตัวคนไร้ที่พึ่งนั้นไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ทั้งนี้โดยความ ยินยอมของคนไร้ที่พึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่อาจให้ความยินยอมได้ และให้เจ้าหน้าที่ระงับการดาเนินคดีไว้ ชั่วคราวจนกว่าจะได้รับแจ้งตามวรรคสอง ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งไม่ปดิบัติตามเงื่อนไขของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ ง ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่ พึ่งแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตามก้หมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นพิจารณาดาเนินคดีต่อไป ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งได้ปดิบัติตามเงื่อนไขของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่ พึ่งแจ้ งให้ เจ้ าหน้ าที่ตามก้หมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นยุติ การดาเนินคดี และให้ ถือว่าสิ ทธินา คดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลก้หมายวิธีพิจารณาความอาญา” กฎหมายได้บัญญัติถึงการให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลตามนิยามความของ “คนไร้ที่พึ่ง” ซึ่งใน สถานการณ์จริงนั้น กลุ่มคนไร้บ้านซึ่งเป็นบุคคลตามคานิยามของคนไร้ที่พึ่ง และ กลุ่มคนไร้ บ้านเองก็ การจัดประเภทของกลุ่มคนไร้บ้านเองด้วย ซึ่งหนึ่งในประเภทของคนไร้บ้านซึ่งไม่ได้อยู่ตามความหมาย ของคนไร้ที่พึ่ง คือ คนไร้บ้านกลุ่มขอทาน ซึ่งการขอทานนั้นตามกฎหมายที่บัญญัตินั้น มีความผิดตาม กฎหมายอาญา ซึ่งในจุดนี้ถือเป็นความทับซ้อนกันของกฎหมายที่ประกาศใช้ ข้อบัญญัติท้องถิ่น : ข้อบัญญัติตาบล เรื่อง การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2550 ข้อ 37 ห้ามมิให้ผู้ใดยืน นั่ง หรือ นอนบนราวสาธารณะ หรือ นอนในที่สาธารณะ ข้อ 49 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ 9 ข้อ 14 ข้อ 36 ข้อ 37 หรือข้อ 38 หรือไม่ปดิบัติตามประกาศ เจ้า พนักงานท้องถิ่นที่ได้ประกาศตามข้อ 44 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 มาตรา 13 ห้ามบุคคลใดทาการขอทาน การกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการขอทาน (1) การขอเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการขอด้วยวาจา ข้อความหรือ การแสดงกิริยาอาการใดๆ (2) การกระทาด้วยวิธีการใดให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินให้ การแสดงความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรีหรือการแสดงอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินหรือ ทรัพย์สินจากผู้ชมหรือผู้ฟัง การขอเงินหรือทรัพย์สินกันฐานญาติมิตร หรือการเรี่ยไรตามก้หมายว่า ด้วยควบคุมการเรี่ยไร ไม่ถือว่าเป็นการขอทานตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 15 เมื่อปรากดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้ใดกระทาการฝ่าฝืนมาตรา 13 วรรคหนึ่งให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งตัวผู้ซึ่งฝ่าฝืนนั้นไปยังสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อทาการคัดกรอง และหากการคัดกรองพบว่าผู้ทาการขอทานเป็นเด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือ ทุพพลภาพ ที่ต้ องดาเนิ น การตามก้หมายเฉพาะ ให้ พนัก งานเจ้ าหน้าที่ ประสานกับ หน่ ว ยงาน ที่ เกี่ยวข้องตามก้หมายเฉพาะเพื่อดาเนินการตามอานาจหน้าที่ต่อไป 4 - 82


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 มาตรา 16 เมื่อปรากดจากการคัดกรองว่าผู้ทาการขอทานไม่ใช่บุคคลตามมาตรา 15 แต่เป็น บุคคลซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ไม่มีญาติมิตรอุปการะเลี้ยงดูและไม่มีทางเลี้ยงชีพอย่างอื่นหรืออยู่ ในสภาวะยากลาบาก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 19 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 13 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่ เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจาทั้งปรับ

4 - 83


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 5. ประเด็นการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของคนไร้บ้าน 5.1 คนไร้บ้านในพื้นที่สาธารณะ กับ การจัดระเบียบของรัฐ คนไร้บ้าน เป็นบุคคลที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ย่อมเกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่สาธารณะใน การดาเนินชีวิตประจาวัน เช่นการใช้ที่สาธารณะเป็นที่พักผ่อนนอนหลับ เป็ นที่พักอาศัย รวมถึงเป็น สถานที่ในการทามาหาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บขยะหรือของเก่า การจัดการสิ่งของก่อนนาไปขาย และการ ขอทาน แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว การใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะจะเป็นสิทธิของประชาชนที่ต่างมีร่วมกัน แต่การกระทาบางประการในพื้นที่สาธารณะเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย โดยที่คนไร้บ้านบางคนได้ใช้ พื้นที่สาธารณะเลี้ยงชีพด้วยวิธีการนอกกฎหมายอย่างการค้ายาเสพติด รวมไปถึงการค้าบริการทางเพศ นอกจากนั้นคนบ้านยังมีโอกาสที่จะถูกคุกคามหรือละเมิดได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นถูกทาร้าย ข่มขืนหรือ กลั่นแกล้งรังแก กระทั่งถูกฆาตกรรมด้วยเหตุจากความเกลียดชังก็ได้ 5.1.1 พื้นที่สาธารณะกับการดารงชีวิต สิ่งที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปคือ การพบเห็นคนไร้บ้านอาศัยพื้นที่สาธารณะเป็นที่หลับนอน นอกจากนี้กิจกรรมหรือกิจวัตรของคนไร้บ้าน ที่มักปรากฏให้พบเห็นคือ การหาของเก่าแล้วนาไปขาย เพื่อนาเงินมายังชีพ เมื่อหาของเก่าได้จะสะสมไว้เป็นจานวนทีละมากๆ ปัญหาที่ตามมาคือคนไร้บ้านไม่ มีสถานที่หรือที่ดินเป็นของตนเองแน่นอนเป็นหลักแหล่ง ทาให้บางรายต้องจัดการสิ่งของ หรือของเก่าที่ ตนหามาได้ ด้วยการวางไว้ในบริเวณที่ที่ปลอดภัย230ซึ่งอาจลุกลามไปยังถนน ทางสัญจรสาธารณะ การนอนในพื้นที่สาธารณะ และอาชีพเก็บของเก่าของคนไร้บ้าน จึงเกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่ สาธารณะในการขัดแยกของก่อนน าไปขาย ซึ่งสัมพันธ์กับกฎหมายของรัฐ ที่พยายามจัดการความ สะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง อันมีสาระสาคัญของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการ ห้ามวางสิ่งของหรือกองวัตถุใด ๆ บนถนน231และนอนในที่สาธารณะ232 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 0939 นอกจากจะกาหนดข้อห้ามและอัตราโทษ ยังให้อานาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่ จับกุม รวมถึงดาเนินคดีกับผู้กระทาความผิดที่ไม่เชื่อฟังคาตักเตือน233 และให้อานาจแก่ประชาชนทั่วไปในฐานะ ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แจ้งความกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานได้ 5.1.2 ขอทาน นอกจากนี้กิจกรรมในการดารงชีพ ที่สัมพันธ์กับการใช้พื้นที่สาธารณะอีกประการ ของคนไร้ บ้านและอาจรวมถึงคนที่แสดงตัวว่าเป็นคนไร้บ้าน คือ การขอทาน เนื่องจากการขอทานต้องอาศัยผู้คน 230

บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2552). โลกของคนไร้บ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน(, หน้า 135-140 231 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ .ศ.2535 มาตรา 19 “ห้ามมิให้ผู้ใดตั้ง วาง หรือกองวัตถุใด ๆ บนถนน …” 232 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 37 “ห้ามมิให้ผู้ใดยืน นั่ง หรือนอนบนราวสะพานสาธารณะ หรือนอนในที่สาธารณะ…” 233 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ 0939 .ศ.มาตรา 44 “…ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจหน้าที…่ ตักเตือนผู้กระทาความผิดหรือสั่งให้ ผู้กระทาความผิดแก้ไข…จับกุมผู้กระทาความผิดซึ่งไม่เชื่อฟังคาตักเตือนและดาเนินคดีตามพระราชบัญญัติน”ี้

4 - 84


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ที่สัญจรผ่านไปมาในพื้นที่สาธารณะต่างๆในการขอทาน ไม่ว่าจะเป็น สะพานลอย สถานที่ราชการ หรือ ตลาด หนึ่งในวิธีการในการหาเลี้ยงชีพของคนไร้บ้านบางกลุ่ม ที่เป็นสร้างความลาคานให้แก่บุคคล ทั่วไป อันเป็นการสร้างภาพทางลบให้แก่คนไร้บ้านที่มีอาชีพประจานั่นคือ การหาเงินด้วยวิธีการเข้าไป ขอเงินกับบุคคลผู้เดินสัญจรไปมา หรือ อยู่ตามที่สาธารณะ กระทั่งการนั่งขอทานที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น ร้องเพลงเพื่อแลกกับการได้เงิน อย่างไรก็ตามไม่อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าคนขอทานทั้งหมดเป็นคนไร้บ้าน เพราะคนขอทานบางส่วนอยู่ในกระบวนการค้ามนุษย์ที่เกิดกว่าการจากัดความของคาว่าคนไร้บ้าน234 คาว่าขอทานตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 หมายถึง การขอเงิ นหรือ ทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการขอด้วยวาจา ข้อความ หรือการแสดงกิริยาอาการใด และ การกระท าด้ ว ยวิ ธี ก ารใดให้ ผู้ อื่ น เกิ ด ความสงสารและส่ ง มอบเงิ น หรื อ ทรั พ ย์ สิ น ให้ 235 ซึ่ ง มี ความหมายไปในทิศทางเดียวกับ การชนตัง ที่กลุ่มคนไร้บ้านได้นิยามการขอทานไว้ อย่างไรก็ตามหากพนักงานเจ้าหน้าที่พบเห็นการกระทาดังกล่าว มีอานาจส่งตัวคนไร้บ้านที่ทา การขอทานหรือชนตัง เข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต236เพื่อรับ การช่วยเหลือ บาบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการฝึกอาชีพให้แก่ผู้ทาการขอทาน มิเช่นนั้นอาจต้องโทษจาคุก และหรือปรับ237 และหากพบว่าเป็นขอทานเป็นเด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือ ทุพพลภาพพนักงานเจ้าหน้าที่ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายเฉพาะเพื่อดาเนินการตาม อานาจหน้าที่ต่อไป238 5.1.3 เลี้ยงชีพด้วยเรือนร่าง นอกจากการเก็บของเก่าขาย รับจ้างรายวัน หรือแม้กระทั่งชนตังหรือขอทานแล้ว อาชีพหนึ่งที่ คนไร้บ้านจาเป็นต้องทาเพื่อหาเงินมาประทังชีวิตในแต่ละวัน คือ การขายบริการทางเพศ คนไรบ้านที่มา ขายบริการทางเพศ มักจะทาด้วยความจาเป็น รูปร่างหน้าตาของบุคคลเหล่านั้น ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการ ดึงดูดผู้รับบริการ อายุทมี่ าก ส่วนหนึ่งขายบริการทางเพศเพราะต้องการเงินไปใช้เกี่ยวกับยาเสพติด บาง คนไม่เคยเสพก็ต้องเสพเพื่อให้มีความกล้าในการขายบริการทางเพศ239 234

อัจฉรา รักยุติธรรม .(0995( .คนไร้บ้าน การเดินทางสูค่ วามโดดเดี่ยว .กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, หน้า 57 พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 0995 มาตรา 13 “...การกระทาอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการขอทานการขอเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อนื่ เพื่อ... การกระทาด้วยวิธีการใดให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินให้...เลี้ยงชีวิต…” 236 พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 0995 มาตรา 16 “เมื่อปรากฏจากการคัดกรองว่าผูท้ าการขอทานเป็นบุคคลซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ไม่มีญาติมิตร... างอื่น หรืออยู่ในสภาวะยากลาบาก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้บุคคลดังกล่าวอุปการะเลี้ยงดูและไม่มีทางเลี้ยงชีพอย่ เข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพ…ตามระเบียบที่อธิบดีกาหนด” 237 พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ .ศ.2559 มาตรา 19 “…ผู้ทาการขอทานผู้นั้นไม่ยอมรับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต และได้ออกไปจากสถานคุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยไม่ได้รบั อนุญาต ต้องระวางโทษ…” 238 พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ .ศ.2559 มาตรา 19 “...หากการคัดกรองพบว่าผู้ทาการขอทานเป็นเด็ก หญิงมีครรภ์ ผูส้ งู อายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพล ภาพ ที่ต้องดาเนินการตามกฎหมายเฉพาะ…” 239 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 230, หน้า 103 235

4 - 85


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 การหาเงินหรื อหารายได้ กรณีของเด็ก โดยทั่วไปแล้วเด็กจะยู่รวมกันเป็นกลุ่ ม หางานหรือ รับจ้างเพื่อประทังชีวิต เช่นขายพวงมาลัย บางรายเมื่อโตขึ้นจะเข้าสู่วงจรยาเสพติดและการขายบริการ ทางเพศ ในบางกรณีต้องถูกถ่ายวิดีโอในขณะมีกิจกรรมทางเพศ 240 บางกรณีอาจมีการรวมกลุ่มหาเงิน เพื่อนาเงินมาเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวด้วยการขายบริการทางเพศ หากเงินหมดก็ไปใช้ชีวิตข้างนอก 241 และเข้าสู่วงจรเดิม ในสังคมคนไร้บ้านที่เป็นเด็กและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ที่อยู่ภายใต้การนาของเด็กชาย เด็กหญิง จะเป็นเหมือนสมบัติของกลุ่ม ถูกใช้เป็นเครื่องระบายอารมณ์ทางเพศของกลุ่ม โดยเฉพาะกับเด็กหญิงที่ เพิ่งเข้ามาในกลุ่ม รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือในการเลี้ยงชีพของกลุ่ม ด้วยการขอร้อ งกึ่งบังคับจากกลุ่ม ให้ ขายบริการทางเพศเพื่อนาเงินที่ได้จุนเจือกลุ่ม242 แม้ว่าคนไร้ บ้ าน จะมีความจาเป็นในการขายบริการทางเพศ พระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 0935 ได้กาหนดให้การกระทาในลักษณะเป็นการเข้าติดต่อ ชักชวน แนะนาตัว ติดตาม หรือรบเร้าบุคคลตามที่สาธารณะหรือที่ใดๆ เพื่อการค้าประเวณีอันเป็นการเปิดเผย และน่ า อั บ อาย หรื อ เป็ น ที่ เ ดื อ นร้ อ นร าคาญแก่ ส าธารณชน ให้ เ ป็ น การกระท าที่ ผิ ด กฎหมาย 243 นอกจากนี้ยังรวมถึงการโฆษณาการขายบริการทางเพศนั้นด้วย244 ทั้งนี้หากเป็นบุคคลอายุยังไม่เกิน 18ปี และไม่เคยต้องคดีหรือโดนจาคุกมาก่อน ให้พนักงาน สอบสวนในกรณีที่ได้เปรียบเทียบปรับแล้ว แจ้งกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเพื่อดาเนินการจัดส่งตัวผู้ นั้นไปเพื่อรับการดูแลในสถานแรกรับที่มีเขตรับผิดชอบ 245 กรณีเป็นบุคคลอายุมากกว่า 18 ปี ให้ถาม ความสมัครใจก่อนจะดาเนินการให้ความดูแลหรือคุ้มครองตามกฎหมาย246 5.1.4 ลักขโมย ยาเสพติด สังคมตีตราสู่เส้นทางอาชญากร และความเกลียดชัง 240

เด็กเร่ร่อนฮิตขายตัวพุ่ง. (2553). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.posttoday.com/analysis/ สืบค้นวันที่ 3077325 มกราคม 2560 241 ปิยนาถ ประยูร, หนูเพียร แสนอินทร์ และ กิ่งกาญจน์ ศรีปริญญาศิลป์. (2554). ครูข้างถนน คนเคียงข้าง พ่อ พระ นักบู๊ พ่อเป็นครู เด็กเรียกแม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธสิ าธารณสุขแห่งชาติ, หน้า 37 242 สมพงษ์ จิตระดับ. (2550). วัฒนธรรมเด็กเร่ร่อนในท้องถนน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 7-9 243 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 0935 มาตรา9 “ผู้ใดเข้าติดต่อ ชักชวน แนะนาตัว ติดตาม หรือรบเร้าบุคคลตามถนนหรือสาธารณสถาน หรือกระทาการ ดังกล่าวในที่อื่นใด เพื่อการค้าประเวณีอันเป็นการเปิดเผยและน่าอับอายหรือเป็นที่เดือนร้อนราคาญแก่สาธารณชน ต้องระวางโทษ...” 244 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 0935 มาตรา7 “ผู้ใด...กระทาให้แพร่หลายด้วยวิธใี ดไปยังสาธารณะ...เพื่อการค้าประเวณีของตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวาง โทษ...” 245 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 0935 มาตรา 33 “ในกรณีที่ผู้กระทาความผิด..เป็นบุคคลอายุยังไม่เกินสิบแปดปี และไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูก ดาเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดทีม่ ีโทษจาคุก หรือต้องคาพิพากษาให้จาคุก ให้พนักงานสอบสวนในกรณีที่ ได้เปรียบเทียบคดีแล้วแจ้งกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” 246 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 33 “กรณีตามวรรคหนึ่งหากเป็นบุคคลอายุกว่าสิบแปดปี ถ้าบุคคลนั้นประสงค์ที่จะได้รับการคุ้มครองและ พัฒนาอาชีพในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ *เพื่อ ดาเนินการจัดส่งตัวผู้นั้นไปเพื่อรับการดูแลในสถานแรกรับที่มีเขตรับผิดชอบ...”

4 - 86


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 วิธีการหายรายได้อีกวิธีการหนึ่ง แต่เป็นงานที่ไม่ถูกกฎหมายของกลุ่มคนไร้บ้าน เช่นการลัก ทรัพย์ ตั้งแต่การลักเล็กขโมยน้อย จนไปถึงลักษณะการการหยิบฉวยเอาทรัพย์สินของคนไร้บ้านด้วยกัน เองหรื อคนทั่ว ไป หรื อการสอยเสื้อผ้ าที่ตากอยู่ตามบ้านเรือน หรือลั กรองเท้าที่ถอดไว้ตามสถานที่ สาธารณะ เพื่อนาไปขายเป็นของเก่าหรือเป็นของมือสองบ้าง ทั้งนี้การขายของมือสองก็มีความเสี่ยง ที่ จะเป็นการได้มาซึ่งของที่มาการการกระทาความผิด และการประกอบอาชีพขายของเก่าจากการหาของ ตามสถานที่ต่างๆ อาจนาไปสู่การทาลายทรัพย์สินเพื่อให้ได้ของเก่าเช่นกัน บางกรณีเป็นการชิงทรัพย์ ด้วยการทุบตีศีรษะผู้เสียหาย เพื่อให้สิ่งของมา247 การประกอบอาชีพลักเล็กขโมยน้อยเช่นนี้ ส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มคนไร้บ้านเอง ซึ่งกลุ่มคนไร้บ้าน ที่หาเงินประทังชีวิตด้วยวิธีการที่สังคมเรียกว่า “อาชญากร” มักเป็นคนไร้บ้านที่ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง มี การย้ายพื้นที่ตลอด และปรากฏว่ามีพฤติกรรมเช่นนี้อยู่บ่อยๆ แต่ยังไม่ถูกดาเนินคดีหรือยังจับตัวไม่ได้ หรืออาจพบในคนไร้บ้านที่พ้นโทษมาแล้ว แต่มีไม่มากเนื่องจากเข็ดหลาบ248 บางครั้งอาจเลยเถิดไปมากกว่าการลักเล็กขโมยน้อย กล่าวคือมีการทาลายทรัพย์สินเพื่อเข้าไป ในยังสถานที่นั้นเพื่อหลับนอน หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของที่ต้องการ เช่นในกรณีที่คนเร่ร่อน ได้ลอบเข้า ไปในบ้านผู้เสียหาย ทาการลักทรัพย์และวางเพลิงบ้านดังกล่าวจนทาให้มีผู้เสียชีวิต ก่อนหลบหนีไป249 อีกทั้งการนอนในที่สาธารณะของคนไร้บ้าน ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นการเข้าไปในอาณา บริเวณซึ่ง มีการหวงกันหรือหวงห้าม ทั้งจากเอกชนหรือราชการ เนื่องจากสถานที่บางแห่งมีการเปิดปิด เป็นเวลา หรือมีลักษณะคล้ายกับไม่มีเจ้าของหวงกัน บางครั้งอาจถูกเจ้ าของหรือผู้ดูแลพื้นที่ขับไล่ออก จากพื้นที่นั้นๆ250เป็นเหตุให้การใช้ชีวิตของคนไร้บ้านสุ่มเสี่ยง หรือเกี่ยวพันกันการถูกดาเนินคดีใน ข้อหาบุกรุก นอกจากการเลี้ยงชีพด้วยการลักเล็กขโมยน้อยแล้ว และดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นถึงการเลี้ยงชีพ ด้วยการค้าบริการทางเพศ ทั้งสองต่างมีความเป็นไปได้ที่คนไร้บ้านในกลุ่มนี้จะมีความสัมพันธ์กับยาเสพ ติด ทั้งในแง่ของการเสพย้อมใจก่อนลงมือ หรือ อยู่ในกระบวนการค้ายาเสียเอง251 ทั้งนี้ยังพบว่าคนไร้บ้านบางคนเข้าสู่วิถีชีวิตคนไร้บ้าน เพราะต้องออกจากงานรับจ้างหรืองาน ประจา เนื่องจากที่ทางานไม่สบายใจ ที่จะทางานร่วมกับบุคคลที่เคยต้องคดียาเสพติดมาก่อน จนทาให้ บุคคลดังกล่าวออกเก็บของเก่าขาย ใช้ชีวิตแบบคนไร้บ้าน252 คนไร้บ้านบางคนถูกคนในสังคมรังเกียจ ไม่ยอมรับ เช่นถูกมองอย่างรังเกียจ หรือเดินหนีเพราะ พบเห็นรอยสักที่มือ หรือเอามือมาปิดบริเวณคอหรือสร้อยคอ บางคนเคยต้องคดีใหญ่ถูกจาคุกอยู่หลาย สิบปีเมื่อพ้นโทษออกมาสังคมเปลี่ยนไปไม่สามารถกลับสู่สังคมปกติได้ จาเป็นต้องออกมาใช้ชีวิตข้าง นอก ยิ่งไปกว่านั้น บางคนถูกปฏิเสธหรือรังเกียจ เพราะการใช้สิทธิของผู้พ้นโทษ ในการโดยสารรถ 247

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 241, หน้า 61 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 230, หน้า 75-77 249 ตีนแมวจรจัด ลักทรัพย์-เผา ย่างสลด1ศพ! ร้านสูทเตาปูน. (2558). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.thairath.co.th/content/541260 สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560 250 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 234, หน้า 68 251 รวบหนุ่มเร่ร่อนขนยาบ้า ทีมข่าวอาวาากรรม .เมมด 047ปูน .(2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/Crime/Viewnews.aspx?NewsID=9590000012369 สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 252 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 230, หน้า 75 248

4 - 87


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ประจาทาง หรือ รับประทานอาหาร เมื่อแสดงบัตรจะถูกปฏิเสธหรือถูกรังเกียจจากผู้คน เช่น ผู้คนเดิน ออกห่าง ทาท่ารังเกียจ หรือไม่ร่วมนั่งเก้าอี้หรือโต๊ะเดียวกัน253 อาจกล่าวได้ว่า การเข้าสู่วิถีชีวิตคนไร้บ้านอาจมาจากปัจจัยของการเป็นผู้พ้นโทษ ผู้ซึ่งเคย กระทาความผิดอาญาถูกลงโทษตามกฎหมายแล้ว ผู้พ้นโทษจะถูกสังคมตีตรา ว่ าเป็นบุคคลเบี่ยงเบน จากสังคมปกติ เป็นบุคคลที่อันตรายไม่น่าคบหา นาไปสู่การถูกปฏิเสธจากที่ทางาน ครอบครัว และ สังคมและทาให้เขาเหล่านั้นต้องออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับครอบครัว ชุมชนดังเดิมของ ตน อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่า ผู้พ้นโทษทุกคนจะต้องเข้ าสู่ชีวิตคนไร้บ้าน และคนไร้บ้านเป็นผู้ พ้นโทษเสียทีเดียว นอกจากนี้พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ หรือในอินเตอร์เน็ต สามารถพบเห็นข่าวคราวการกระทา ความผิดทางอาญา ที่อาจเกี่ยวโยงกับคนไร้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นข่าวการวางเพลิงเผาสะพานไทย-เบลเยียม 254จากความประมาทเลินเล่อหรือเจตนาของคนไร้บ้าน คนเร่รอนก่อเหตุข่มขืนหรือกระทาอนาจาร 255 หรือในกรณีของกลุ่มคนไร้บ้านที่ทาอาชีพเช็ดกระจกบังหน้า การบังคับข่มขู่ผู้ใช้รถให้รับบริการจาก ตน256 อาจเป็นเหตุที่ทาให้สังคมมองว่าคนไร้บ้านเป็นภัยต่อสังคม สมควรได้รับการต่อต้านและกาจัด ห่างจากสังคม กระทั่งคนไร้บ้านตกเป็นผู้เสียหายเสียเอง เช่น กรณีที่พบศพคนไร้บ้านถูกฆ่าอย่างทารุณ แล้วทิ้งไว้257 คนไร้บ้านถูกจุดไฟเผาทั้งเป็นจากกลุ่มวันรุ่น258 หรือตกเป็นเหยื่อของฆาตกร 259 ในแง่ของผู้กระทาผิด ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายทีคุ้มครองหรือ ประกันสิทธิของบุคคลที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทั้งในฐานะที่ตกเป็นผู้เสียหายและต้อง กระทาความผิ ด ที่ต้องเข้าสู่ กระบวนการยุติธ รรมทางอาญาผ่ านกระบวนการนี้ทั้งสิ้ น ซึ่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นไปตามแนวทางที่ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และรัฐธรรมนูญไทยกาหนดไว้ในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิใน กระบวนการยุติธรรม หลักการโดยเบื้องต้นที่คุ้มครองบุคคลเมื่อจะต้องสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา เมื่อคนไร้บ้านตกเป็นผู้เสียหาย ย่อมมีสิทธิในฐานะผู้เสียหายในทางอาญาเช่นเดียวกับที่บุคคล ในรัฐไทยทั่วไปมีสิทธิ เบื้องต้นคือการร้องทุกข์ต่ อพนักงานสอบสวนให้ดาเนินคดีอาญา รวมถึงบุคคลที่ กฎหมายอนุญาตให้ดาเนินฟ้องคดี ถอนฟ้องหรือยอมความแทนคนไร้บ้านได้แล้วแต่กรณี 253

เพิ่งอ้าง, หน้า 77 รวบคนเร่ร่อนเผาสะพานไทย-เบลเยียม สารภาพทิ้งก้นบุหรี่จนไฟลุกลาม. (2567). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://news.ch0.com/detail/227583/จับคนเร่รอ่ นเผาสะพานไทย_เบลเยียม.html 9597777712369 สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2567 255 เจาะประเดมน Special : ภัยคนเร่ร่อน ก่อเหตุทาอนาจาร-ข่มขืน.ลุกลาม. (2560). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://news.ch7.com/detail/241739 สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560 256 กวาดจับ 39 คนเร่ร่อน-ขอทาน ตัดไฟต้นลม ‘นักเลงเวมดกระจก-ทาไฟไหม้สะพาน’. (2560). : แหล่งที่มา : http://www.thairath.co.th/content/885886สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560 257 อีกศพ! หาิงเร่ร่อนเปลือยท่อนล่างถูกมัดมือ-แทง ใต้สะพานข้ามแยกลาดพร้าว. (2559). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/content/048296 สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2567 258 แฉแก๊งค์วัยรุ่นราดน้ามัน .จุดไฟเผาคนเร่ร่อนกลางกรุง-(2557). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.posttoday.com/local/bkk/0952 มกราคม 09 สืบค้นเมื่อ 329703 259 เขย่าขวัา วาวบ้านกลัวหลังพบศพที่ !5 คนเร่ร่อนถูกฆ่าตายสะพานลอยนวมินทร์92 .(2559). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.matichon.co.th/news/324654 สืบค้นเมื่อ 0952 มกราคม 09 254

4 - 88


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ส่วนความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติด ในกรณีที่เป็นผู้เสพ ปัจจุบันพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติด เมื่อเป็นผู้เสพหรือผู้มีไว้ครอบครองเพื่อเสพตามกฎหมาย เมื่อถูกจับกุมต้องส่งไปฟื้นฟู สมรรถภาพ ภายใน 03 ชั่วโมง นับแต่มาถึงที่ทาการของพนักงานสอบสวน 260 หากพบว่าการเสพและ มีไว้ในครอบครอบเพื่อจ าหน่ ายหรื อจาหน่ายในภายหลัง เพื่อให้ ตนเองถูกส่ งไปฟื้นฟูเพื่อเลี่ ยงการ ดาเนินคดี จะไม่มีสิทธิได้รับการฟื้นฟู261 5.2 การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของคนไร้บ้าน คนไร้บ้านคือบุคคลที่ออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ย่อมเกี่ยวข้อง กับการใช้พื้นที่สาธารณะในการดาเนินชีวิตประจาวัน เช่นการใช้ที่สาธารณะเป็นที่พักผ่อนนอนหลับ เป็นที่พักอาศัย รวมถึงเป็นสถานที่ในการทามาหาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บขยะหรือของเก่า การจัดการ สิ่งของก่อนนาไปขาย ที่ลุกล้าเข้าไปในที่ทางสาธารณะ และการขอทาน การขอทานเป็นการหารายได้ทางหนึ่งของคนไร้บ้าน บางคนอาจนิยามว่าเป็นการหาเงินที่ก่อ ความราคาญแก่ผู้คนทั่วไป และอาจถูกมองอย่างเหมารวมว่าเป็นกิจกรรมหารายได้จากความสงสาร หรือเป็นการเรี่ยไรเงินอย่างเป็นกระบวนการ โดยที่ผู้ขอทานไม่ได้ไร้ที่พึ่งอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามยังมี การขอทานที่เป็นหนทางหนึ่งในการดารงชีพของคนไร้บ้านบางกลุ่มซึ่งไร้ที่พึ่งแล้วจริงๆ การขอทานของ คนไร้บ้านจึงเป็นการเลี้ยงชีพที่คาบเกี่ยวระหว่าง การก่อความราคาญและเป็นภาพที่ไม่จาเริญตา ต่อ สังคม และกิจกรรมอันช่วยต่อชีวิตให้กลุ่มคนไร้บ้าน วิถีชีวิตของคนไร้บ้านในการใช้ชีวิตในที่สาธารณะเป็นที่หลับนอน หาเลี้ยงชีพด้วยการหาและ ขายของเก่า ล้วนแล้วแต่ถูกควบคุมโดยการจัดการเป็นเรียบร้อยโดยรัฐ เพราะแม้ว่าพื้นที่สาธารณะ ประชาชนต่างมีสิทธิใช้ร่วมกัน แต่ ต้องใช้บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิของบุคคลอื่นและต้องร่วมกัน รักษาสาธารณะสมบัตินั้น ดังนั้นการใช้พื้นที่สาธารณะของคนไร้บ้าน จึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ออกมา ควบคุมกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะ ทั้งกฎหมายระดับพระราชบัญญัติและกฎหมายของท้องถิ่นแต่ละ พื้นที่ ในขณะที่การขอทานซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนไร้บ้านบางส่วนก็ถูกควบคุมโดยรัฐเช่นเดียวกัน การใช้พื้นที่สาธารณะและการขอทานของคนไร้บ้าน หากได้ดาเนินไปในลักษณะที่เป็นการ ละเมิดต่อกฎหมายหรือเกินที่กฎหมายอนุญาตให้ทาได้ คนไร้บ้านที่เป็นบุคคล “ไร้ที่พึ่ง” ย่อมได้รับโทษ 260

พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 0909 มาตรา 15 “ผู้ใดต้องหาว่ากระทาความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง...ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ ในระหว่างถูกดาเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มโี ทษจาคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจาคุกตามคา พิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนาตัวผูต้ ้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผตู้ ้องหานั้นมาถึงที่ทา การของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคาสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสจู น์การเสพหรือการติดยาเสพติด เว้น แต่มีเหตุสดุ วิสัย... ให้ศาลพิจารณาส่งตัวไปควบคุมเพื่อตรวจพิสูจน์ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผูต้ ิดยาเสพ...โดยคานึงถึง อายุ เพศ และลักษณะเฉพาะบุคคลประกอบด้วย แล้วให้ศาลแจ้งคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทราบ...ในระหว่างที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องดาเนินการ ฝากขังหรือขอผัดฟ้องตามกฎหมาย” 261 พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 0909 มาตรา 02 “ถ้าปรากฏว่าผูต้ ้องหา...เพื่อให้ตนเองได้รับการส่งตัวไปฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ตดิ ยาเสพติดและไม่ต้องถูก ดาเนินคดีในข้อหาฐานเสพและมีไว้ในครอบครอง ...ผู้นั้นไม่มสี ิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผูต้ ิดยาเสพติดตาม พระราชบัญญัตินี้ ...ดาเนินคดีต่อไปตามกฎหมาย…”

4 - 89


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ทันทางกฎหมาย ด้วยการจาคุกและหรือการปรับเป็นเงิน ทว่าการลงโทษคนไร้บ้านที่เป็นบุคคลซึ่งไร้ที่ พึ่งพิงในสังคม ด้วยโทษจาคุก อันเป็นโทษที่ต้องการแยกบุคคลที่เป็นอาชญากรออกจากสังคมเพื่อการ ขัดเกลาสภาพจิตใจ จะเหมาะสมกับการนามาใช้กับคนไร้บ้านที่กระทาละเมิดต่อกฎหมาย เพียงเพราะ วิถีดารงชีวิตของคนไร้บ้านอยู่ในสภาพที่ไม่ได้มีตัวเลือกนั้นเท่านั้นหรือ ประกอบกับการลงโทษด้วยการ ปรับเป็นเงินกับบุคคลที่มีทรัพย์สินในการประคองชีพอันน้อยนิดหรือแถบจะไม่มีเลย จะสามารถแก้ไข ปัญหาที่ต้นตอได้จริงหรือ นอกจากนี้คนไร้บ้านบางคนอาจใช้พื้นที่สาธารณะ เป็นหนทางในการหารายได้ที่ได้ผลตอบแทน สูงกว่าการขายของเก่าหรือการขอทาน จากงานหรือสิ่งผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการลักเล็กขโมยน้อย การค้ายาเสพติด จนไปถึงการค้าบริการทางเพศ ทั้งนี้ไม่ว่าการหาเลี้ยงชีพของคนไร้บ้านจะเป็นงานที่ ต้องห้ามด้วยกฎหมายหรือไม่ ย่อมเกิดทรัพย์สินเป็นของตัวเองขึ้นแม้จะมีไม่มากแต่ก็มีเพื่อการดารงชีวิต คนไร้ บ้ านเองจึ งเสี่ ย งที่จ ะตกเป็ น เหยื่ออาชญากรรมได้เช่นกัน จากการถูกลั กขโมย การถูกทาร้าย ร่างกายเพื่อเอาทรัพย์สินจากมิจฉาชีพหรือคนไร้บ้านด้วยกันเอง จนไปถึงการเผชิญความเสี่ยงต่อชีวิตใน งานบริการทางเพศจากการทารุณ กรรม การตกเป็นเยื่ออาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (Hate Crime( ที่มักจะพบในรูปแบบของการทาร้ายร่างกายคนไร้บ้าน เพื่อสนองความเกลียดชังโดยคนทั่วไปที่ มองว่าคนไร้บ้านมีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากตนและสังคม 5.2.1 กรอบแห่งกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อคนไรบ้าน การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของคนไร้บ้าน จากการใช้พื้นที่สาธารณะเช่นการ จัดการทรัพย์สินก่อนนาไปขายของเก่า และได้มีการละเมิดต่อกฎหมายโดยมีการกองไว้ที่บริเวณทาง สาธารณะหรือลุกลามไปยังท้องถนน การนอนในพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงการขอทานของคนไร้บ้าน ที่ มักถูกการปราบปราบโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากเกิดการละเมิดบทบัญญัติกฎหมายขึ้น รวมไปถึงการ ละเมิดและถูกละเมิดสิทธิอื่นๆเช่น ถูกทาร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ เช่นเดียวกับพลเมืองของรัฐทุกคน คนไร้บ้านย่อมมีศักดิ์ศรีและสิทธิในความเป็นมนุษย์ที่จะ ได้รับการคุ้มครองในหลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค และการไม่เลือกปฏิบัติ262 ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในฐานะผู้ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นหรือต่อกฎหมาย หรือใน ฐานะผู้ เ สี ย หายเอง กฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ กระบวนการยุ ติ ธ รรมย่ อ มต้ อ งอยู่ ภ ายใต้ ห ลั ก การใน กระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้เป็นไปตามมาตรฐานองค์การสหประชาชาติ ตามปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็น กติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และปฏิญญาว่าด้วยหลักพื้นฐานเกี่ยวกับการอานวยความยุติธรรมแก่ผู้ได้รับความ เสียหาย จากอาชญากรรมและการใช้อานาจโดยมิชอบ รวมไปถึงกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ข้อที่ 16 ด้วย

262

“หลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” เป็นหลักพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนมีมาโดยกาเนิด ไม่มีผู้ใดสามารถพราก ไปจากบุคคลหนึ่งๆได้ “หลักความเสมอภาค” ที่มนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพ และมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบตั ิและคุม้ ครอง อย่างเสมอกัน ซึ่งสอดคล้อกับ “หลักการไม่เลือกประติบัต”ิ อันเป็นหลักประกันหลักความเสมอภาค กล่าวคือ มนุษย์ จะต้อถูกปฏิบตั ิ ด้วยมาตรฐานเดียวกันทั้งสิ้น ไม่มีเกณฑ์วัดใดที่จะทาให้บุคคลต้องด้อยหรือเหนือกว่าบุคคลหนึ่งๆ ไม่ ว่าจะเป็น เพศ ความเชื่อ เชื้อชาติ การศึกษา เศรษฐกิจ

4 - 90


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติลาดับที่ 99 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 0035 ต่อมาที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรอง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 0051 โดย ประเทศไทยออกเสียงสนับสนุน ประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิก ต้องนาหลักการของปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน ไปปรับใช้ในประเทศ ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ที่วางหลักการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ให้เป็นไปตามมาตรฐานองค์การสหประชาชาติ ทั้งนี้ ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ที่อาจเกี่ยวกับ คนไร้บ้าน มีดังต่อไปนี้ 1) กติ ก าระหว่ า งประเทศว่ า ด้ ว ยสิ ท ธิ พ ลเมื อ งและสิ ท ธิ ท างการเมื อ ง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) โดยหลั ก การที่ ก ฎหมายระหว่ า งประเทศ ดังกล่าวได้วางไว้ ที่เกี่ยวข้องกับการวางกรอบกระบวนการยุติธรรม ที่เป็นเหมือนกรอบของกระบวนการ ยุติธรรม โดยสามารถพบเห็นได้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา และกฎหมายอื่นๆที่มีลักษณะเป็นกฎหมายอาญา ซึ่ง ICCPR มีสาระสาคัญคือรัฐ ต้องเคารพ ไม่เลือกประติบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่างของมนุษย์ โดยประกันสิทธิว่าบุคคลที่ถูกละเมิด จะได้รับการเยียวยา และไม่ว่า มีสถานะทางสังคม เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรมแบบใด ก็จะได้รับสิทธิ พลเมืองและการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน 263 2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESCR) กฎหมายระหว่างประเทศนี้ เกี่ยวข้องโดยทั่วไปเกี่ยวข้อกับการประกันสิทธิในการทางาน สิทธิในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิในด้าน การศึกษา สิ ทธิด้านสุ ขภาพ สิ ทธิในวัฒ นธรรมของพลเมือง ซึ่งในส่ ว นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาในคนไร้บ้าน เป็นส่วนที่รัฐจะต้องประกั นสิทธิแก่พลเมือง ไม่เลือกประติบัติด้วยเหตุ แห่งความแตกต่างของมนุษย์264 ซึ่งพลเมืองของรัฐมีสิทธิที่จะหาเลี้ยงชีพของตนอย่างเสรี และได้รับการ ปกป้องสิทธินั้น ซึ่งรัฐอาจต้องจัดให้มีคาแนะนาหรือส่งเสริมทางวิชาชีพ แก่ผู้ที่เขาถึงโอกาสในการเลี้ ยง ชีพได้ไม่เท่าเทียมบุคคลอื่น265 3) ปฏิญญาว่าด้วยหลักพื้นฐานเกี่ยวกับการอานวยความยุติธรรมแก่ผู้ได้รับความเสียหาย จากอาชญากรรมและการใช้อานาจโดยมิชอบ (Declaration of Basic Principle of Justice for Victims of Crime and Abuse of Power) เป็ น ข้ อ ตกลงระหว่ า งประเทศที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สิ ท ธิ 263

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 2 “รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับทีจ่ ะเคารพและประกันแก่ปัจเจกบุคคลทั้งปวงภายในดินแดนของตนและ ภายใต้เขตอานาจของตนในสิทธิทงั้ หลายที่รับรองไว้ในกติกานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกใดๆ อาทิ ทรัพย์สิน ... กาเนิด หรือสถานะอื่นๆ” 264 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ 2 “รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับทีจ่ ะเคารพและประกันแก่ปัจเจกบุคคลทั้งปวงภายในดินแดนของตนและ ภายใต้เขตอานาจของตนในสิทธิทงั้ หลายที่รับรองไว้ในกติกานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกใดๆ อาทิ ทรัพย์สิน ... กาเนิด หรือสถานะอื่นๆ” 265 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ 6 “รัฐภาคีให้คาทางเทคนิคและวิชาชีพและโครงการฝึกอบรม นโยบายและเทคนิคที่จะทาใ...ห้บรรลุผลในการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างสม่าเสมอ”

4 - 91


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 มนุษยชนในกระบวนการทางอาญา แม้จะไม่ใช่ตราสารหลัก แต่ได้บัญญัติหลักการในการคุ้มครองผู้ ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมและการใช้อานาจโดยมิชอบ ในการได้รับการปฏิบัติด้วยความเห็น อกเห็นใจ เคารพในศักดิศรีความเป็นมนุษย์ ได้ รับเยียวยาในลักษณะค่าสินไหมทดแทนอย่างเพียงพอ เหมาะสม ผ่านกระบวนการยุติธรรมย่างรวดเร็ว ประหยัด เป็นธรรม และเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้ภายใต้กรอบของสหประชาชาติที่นอกจากจะมีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้ว ยัง มีว าระการพัฒ นาภายหลั งปี พ.ศ. 0993 (post-0219 development agenda) ที่มุ่งเน้น “การ พั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น ” ในการจั ด ท าเป้ า หมายการพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น (Sustainable Development Goals– SDGs) ทั้ง17 ข้อ ที่ใช้เป็นกรอบในการดาเนินนโยบายของประเทศภาคีสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งใน SDGs ข้อที่ 16266 ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก ทางานร่วมกับรัฐบาลและ ชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาคงอย่างยั่งยืน รัฐไทยจึงต้องดาเนินนโยบายที่เกี่ยวกับกระบวนการ ยุติธรรมที่เป็นไปตามหลักการของเป้าหมายดังกล่าว เมื่อพิจารณาในระดับนโยบายได้มีการจัดทา (ร่าง(ยุทธศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. 0952-0975 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.0952 หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 59 เพื่อกาหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนต้องทาตาม ซึ่งในยุทธศาสตร์ ที่ 0 ว่าด้วยการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ที่มุ่งเน้นให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมใน เรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยต้องมีการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่เปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถ จัดการทรัพยากรด้วยตนเอง และการสร้างความสมานฉันท์ในสังคมที่สนับสนุนให้เกิดความเสมอภาคใน การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ด้วยการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อกฎหมายให้ลดความเหลื่อมล้า รวมถึง การให้โอกาสแก่กลุ่มคนผู้ดอยโอกาสให้พัฒนาตนเองและแสดงศักยภาพของตนเองด้วยตัวเองได้267 ขณะเดียวกันตามระบบกฎหมายภายในของไทย จะพบว่าได้มีการอนุวัติการเอาหลักการใน ข้อตกลงหรือตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย นอกจากจะบัญญัติรับรองเรื่อง สิทธิและเสรีภาพ ส่วนบุคคล และความเสมอภาคไว้แล้ว ยังได้บัญญัติเกี่ยวกับ “สิทธิในกระบวนการยุติธรรม” ไว้เป็นการ เฉพาะได้บัญญัติไว้ 3 มาตรา คือ มาตรา 25268 ในเรื่องการได้รับการได้รับการเยียวยาในผู้เสียหาย

266

สาระสาคัญของ SDGs ข้อที่ 16 “...มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ พร้อมทางานร่วมกับรัฐบาลและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน การส่งเสริมการปกครองด้วยกฎหมายและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เป็น กุญแจสาคัญในกระบวนการนี้เช่นเดียวกับการลดอาวุธผิดกฎหมาย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประเทศกาลังพัฒนาใน สถาบันการปกครองทั่วโลก” 267 ร่างกรอบยุทธศาสตร์แห่งชาติระยะ 20 ปี. (2559). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.thaigov.go.th/uploads/document/66/2017/01/pdf/20year-may59.pdf สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2560 268 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ0952.ศ.มาตรา 05 “...บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิที่จะได้รบั การเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่... กฎหมายบัญญัต”ิ

4 - 92


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 มาตรา28269 และ29270 ในเรื่องกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอันชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับ มาตรา68 แห่ งหมวดที่ 6 ว่าด้ว ยแนวนโยบายแห่ งรัฐ 271 ที่รัฐ ต้องกาหนดแนวนโยบาย ที่มุ่งเน้น กระบวนการยุติธรรมตามหลักความยุติธรรมสากล บุคคลต้องได้การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่าง เท่ า เที ย มเป็ น ธรรม ถู ก ปฏิ บั ติ ต่ อ ด้ ว ยความมี ม นุ ษ ยธรรมและอยู่ ภ ายใต้ ก ฎหมายที่ เ ป็ น ธรรม ซึ่ ง สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในข้อที่ 7 ไปจนถึงข้อที่ 11272 ประกอบกับ ICCPR ในข้อที่2 9 10 และ14273 ICESCR ในข้อที่ 2 และ 6 และปฏิญญาว่าด้วยหลักพื้นฐานเกี่ยวกับการ อานวยความยุ ติธ รรมแก่ผู้ ได้รั บ ความเสียหาย จากอาชญากรรมและการใช้อานาจโดยมิช อบ โดย กฎหมายลาดับรองลงมา ต้องรับเอาหลักการของกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศไปใช้ 5.2.2 มาตรฐานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา นอกจากประเทศไทยได้เข้าร่วมผูกพันต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ด้านสิทธิมนุษยชนของ สหประชาชาติ ที่คอยเป็นกรอบคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมดังที่กล่าวไป แล้วนั้น ยังมีมาตรฐานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมประชุมและเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม โดยมาตรฐานองค์การสหประชาชาติฯที่มีทั้งสิ้น 23 ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลักในการมุ่งคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ให้กระบวนการ ยุติธรรมเป็นไปตามมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิของประชาชน ในฐานะที่เป็นผู้เสียหาย ผู้ถูกกล่าวหา ผู้กระทาความผิด ตลอดจนพยาน ในมาตรฐานที่ว่าด้วยการต่อต้านการปฏิบัติหรือการลงโทษที่เป็นการ 269

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.0952มาตรา 03 “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย...การจับและการคุมขังบุคคลจะกระทามิได้ …การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทามิได้” 270 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ0952.ศ.มาตรา 05 “บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทาการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทานั้นบัญญัติเป็นความผิด และกาหนดโทษ....” 271 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ 0952.ศ.มาตรา 53 “รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มปี ระสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือก ปฏิบัติ มารถปฏิบัตหิ น้าที่ได้ โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงหรือในกระบวนการยุติธรรม ให้สา...มีมาตรการ... ... พึงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จาเป็นและเหมาะสมแก่ผยู้ ากไร้หรือผู้ด้อยโอกาส..ครอบงาใดๆ” 272 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 7 -11 “ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน โดย ปราศจากการเลือกปฏิบัติใด...บุคคลจะถูกจับกุม กักขัง หรือเนรเทศตามอาเภอใจไม่ได้...มีสทิ ธิที่จะได้รบั การเยียวยา... นธรมีสิทธิในความเสมอภาค อย่างเต็มที่ในการได้รบั การพิจารณาคดีที่เป็รมและเปิดเผยจากศาลที่อิสระและไม่ลาเอียง ในการพิจารณากาหนดสิทธิและหน้าที่ของตนและข้อกล่าวหาอาญาใดต่อตนมีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อน... ...ว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์” 273 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 9 “บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกาย บุคคลจะถูกจับกุมหรือควบคุมโดยอาเภอใจ มิได้บุคคลจะถูกลิดรอนเสรีภาพของตนมิได้...” ข้อ 10 “บุคคลทั้งปวงที่ถูกลิดรอนแสรีภาพต้องได้รับการประติบัตดิ ้วยความมีมนุษยธรรม และความเคารพ ในศักดิ์ศรีแต่กาเนิดแห่งความเป็นมนุษย์...” และ ข้อ 10 “บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันในการพิจารณาของศาลและคณะตุลาการบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิ... ...ได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม”

4 - 93


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มาตรฐานขั้นต่าในกระบวนการที่กระทา ต่อเด็กและเยาวชน การป้องกันการสอบสวน และ การบังคับให้หายสาบสูญ เป็นต้น เมื่อคนคนไร้บ้านนั้นตัวเล็กและเสียงไม่ดัง การกระทาและการมีอยู่ ของพวกเขาไม่ค่อยเป็นที่ได้ รับรู้ของผู้คนในสังคม หากคนไร้บ้านคนหนึ่งหายไปจากชุมชนหนึ่งๆ ในวันรุ่งขึ้นวิถีชีวิตในชุมชนที่จอแจ ยังคงดาเนินต่อไปเช่นเดิม จนกว่าจะมีการพบเห็นเขาคนนั้นอีกครั้งทว่าในสภาพไม่มีลมหายใจแล้ว คน ไร้บ้านจึงมีโอกาสที่จะถูกละเมิดสิทธิได้อยู่เสมอ เพราะปราศจากความสนใจและใส่ใจของสังคม กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิ ทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ จึงอาจไม่เพียงพอต่อการ คุ้มครองสิทธิ ในกรณีของผู้ที่ตกอยู่ในสถานะเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมาก เช่น ในคน ไร้บ้านที่ไม่กล้ามีปากเสียงกับเจ้าหน้าที่ของรั ฐ เพราะกลัวจะถูกปราบปรามออกจากพื้นที่ คนไร้บ้านที่ เป็นเด็ก เยาวชน หรือบุคคลที่ถูกครอบงาได้ง่ายเพราะด้อยในประสบการณ์ คนไร้บ้านที่ถูกชุมชนตีตรา เหมารวมว่าเป็นตัวปัญหา มาตรฐานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นอีกแนวทางในการ ก าหนดมาตรฐานในกระบวนการยุ ติ ธ รรม ให้ อ ยู่ ใ นแนวทางที่ จ ะไม่ เ ป็ น การเลื อ กประติ บั ติ ใ น กระบวนการยุติธรรมต่อกลุ่มเสี่ยง เพราะความแตกต่างเพราะอคติและการตีตราของสังคม และความ ด้อยในประการณ์ของเด็กและเยาวชน คนไร้บ้านเป็นกลุ่มเสี่ยงเพราะอคติและการตีตราของสังคม เมื่อสังคมมองอย่างเหมารวมว่ าคน ไร้บ้านเป็นต้นตอของปัญหาอาชญากรรม เพียงเพราะสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่เป็นไปตามระดับมาตรฐาน ของสังคม รอยสักตามร่างกาย และข่าวสารที่นาเสนอว่าคนไร้บ้านก่ออาชญากรรม 274 เมื่อเกิดการ กระทาความผิดขึ้นคนไร้บ้านจึงอาจถูกเพ่งเล็งจากคนในท้องที่ ซึ่งต่างเห็นพ้องให้กันคนไร้ บ้านออกไป จากชุมชน จึงไม่ใช่เรื่องประหลาดใจของคนในชุมชน หากคนไร้บ้านถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ตารวจ แล้วหายไปจากชุมชนชั่วคราวหรือถาวรแล้วแต่กรณี หรือถูกซ้อมทาร้ายตามอาเภอใจ เพราะเงาหมอก ของการตีตราดังกล่าว ที่บดบังความเป็นมนุษย์ของคนไร้บ้าน ในขณะเดียวกันเด็กและเยาวชนคนไร้บ้าน ก็พลอยได้ถูกการตีตราว่าเป็นตัวปัญหาเช่นกัน ยิ่ง ไปกว่านั้น การกระทาความผิดเล็กๆน้อยๆของเด็กที่ไม่ใช่อาชญากรร้ายแรง อย่างการทาลายทรัพย์สิน การทะเลาะวิวาท ที่เกิดจากการอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่อานวยต่อพัฒนาการที่ดี และขาดการอบรมสั่ง สอนที่เหมาะสม ฝันร้ายอาจต้องกลายจริงของเขาเหล่านั้นในอนาคต เพราะเรื่องราวเก่าๆได้ตีตราเด็ก หรือเยาวชนผ่านประวัติอาชญากรรม หรือแฟ้มข่าวผ่านวิธีการทางสื่อสารมวลชน มาตรฐานองค์การสหประชาชาติฯ ในปฏิญญาว่า ด้วยการคุ้มครองบุคคลให้พ้น จากการ กระทาอันทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่เป็นการทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือลด ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์275 เป็นการป้องการการลงโทษหรือทรมานตามอาเภอใจรูปแบบหนึ่ง เพราะ มุ่งเน้นให้ “การทรมาน” ในกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งคาสารภาพหรือข้อสนเทศ ที่ได้กระทา โดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ในตาแหน่งทางการ เป็นการความผิดทาอาญา ซึ่งแม้จะได้ กระทาโดยอ้างว่ากระทาไปโดยหน้าที่ ก็ไม่สามารถมารถนามายกเว้นความรับผิดได้ ภายใต้การกากับ 274

อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 230, หน้า 75 กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, ชาติ ชัยเดชสุริยะ และ ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์ .มาตรฐานองค์การสหประวาวาติว่าด้วย กระบวนการยุติธรรมทางอาาา .กรุงเทพฯ: เดือนตุลา, หน้า 30-31 275

4 - 94


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ดูแลและสอบสวนของคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน 276 ตามหลักการในการสอบสวนหรือแสวงหา หลักฐานอย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับการกระทาทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่เป็นการ ทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์277 เพื่อให้รัฐเกิดความรับผิดชอบ เยียวยา ผู้ถูกละเมิด ป้องกันการเกิดการละเมิดซ้า โดยคาร้องเรียนนั้นจะได้รับพิจารณาอย่างรวดเร็ว และมี ประสิทธิภาพ โดยต่อมาประเทศไทยได้เข้าผูกพันและให้สัตยาบันต่อ อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการ ทรมาน และการกระทาอื่น ๆ ที่โ หดร้ า ย ไร้ มนุษยธรรม หรื อที่ย่ายีศักดิ์ศ รี (The Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT) เมื่อวันที่ 0 ตุลาคม 0992 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 0992 ปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนให้พ้นจากการถูกใช้กาลังบังคับให้สูญหาย278 เป็น อีกหนึ่งในมาตรฐาน ที่มุ่งเน้นให้การทาให้บุคคลสาบสูญระหว่างกระบวนการยุติธรรมทางอาญา แม้จะ เป็นเพียงชั่วขณะหนึ่งและปรากฏตัวในภายหลังก็ตาม ต้องได้รับการสืบสวนติดตามในกระบวนพิจารณา โดยไม่ได้รอให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้ที่สูญหายอย่างเป็นประจักษ์ แต่เดิมเป็นเพียงความผิดฐานกักขัง หน่วงเหนี่ยวเท่านั้นซึ่งภายหลังประเทศไทยได้เข้าผูกพันต่อ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการ คุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - CED) เมื่ อ วั น ที่ 5 มกราคม 0999 อยู่ระหว่างดาเนินการให้สัตยาบัน กฎมาตรฐานขั้นต่ าขององค์การสหประชาชาติว่า ด้วยการบริ หารกระบวนการยุติธรรม สาหรับเยาวชน279 และ แนวทางขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันการกระทาความผิด ของเยาวชน280 ได้เน้นย้าแนวทางในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาว่า จะต้องแตกต่างกับบุคคลที่เป็น นิเสธของเด็กหรือเยาวชน ภายใต้ หลักความได้สัดส่วนของผู้กระทาความผิดที่เป็นเด็กและพฤติการณ์ และความพอเหมาะพอดี เน้นการอบรมและพัฒนามากกว่าการลงโทษ หรือตีตราเด็ก เนื่องจากเด็ก จะต้องพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การป้องกันการกระทาความผิดในเด็กด้วยวิธีการดังกล่าว จึงเป็น การลดการอาชญากรรมในสั งคมไปด้วย นอกจากนี้ยังให้ความสาคัญกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ประวัติอาชญากรรมเด็ก ที่อาจส่งผลต่อการตีตราในอนาคต และการสื่อสารมวลชนต้องพิจารณาความ เป็นส่วนตัวของเด็กและเยาวชน และการตีตราเด็กเป็นสาคัญ 5.3 คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพิงด้วยกฎหมายเพื่อคนไร้ที่พึ่ง การแก้ไขปัญหาการกระทาความผิดในพื้นที่สาธารณะ ด้วยวิธีการลงโทษทางอาญาทั้งการ จาคุก หรือการปรับเป็นเงิน ไม่ว่าจะเป็น การค้ายาเสพติด การค้าบริการทางเพศ การขอทานของคนไร้ บ้าน คงไม่ใช่วิธีการที่ยั่งยืนในการจัดการปัญหาเหล่านั้น อาจทาให้การกระทาความผิดเกิดขึ้นน้อยลงใน พื้ น ที่ เ ปิ ด แต่ ก ลั บ เพิ่ ม มากขึ้ น ในพื้ น ที่ ที่ ก ฎหมายหรื อ รั ฐ เข้ า ไปจั ด การไม่ ถึ ง การแก้ ไ ขปั ญ หาใน 276

อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทาอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ายีศกั ดิ์ศรี ข้อ 17 และ 20 277 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 275, หน้า 255 278 เพิ่งอ้าง, หน้า 244-254 279 เพิ่งอ้าง, หน้า 77-97 280 เพิ่งอ้าง, หน้า 188-196

4 - 95


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 กระบวนการยุติธรรมอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะให้เกิดสังคมสมานฉันท์ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม นโยบายหรือกฎหมายนามาแก้ไขปัญหาจาเป็นต้องลดความลดความเหลื่อมล้าจากสภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของ “ประชากร” ด้วยการสร้างโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม พร้อมกับ สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาตัวตนเองของประชาชนในการหาเลี้ยงชีพ อย่างเท่าเทียมและไม่ถูก เลือกประติบัติด้วย 5.3.1 พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพ.ศ. 2557 เมื่อคนไร้บ้านได้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ บ้านเมือง พ.ศ. 2535 หรือมีการค้าบริการทางเพศในที่สาธารณะ ตลอดจนคนไร้บ้านที่ค้ายาเสพติด เป็นตัวอย่างหนึ่งของการกระทาความผิดเกี่ยวกับการพักอาศัยในที่สาธารณะตามกฎหมาย ทั้งนี้หาก บุ คคลละเมิดต่อกฎหมายที่ควบคุม หรือกฎหมายท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการนี้ บุคคลที่อยู่ในสภาพของ “บุคคลไร้ที่พึ่ง” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพ.ศ. 2557 การลงโทษหรือวิธีการจัดการย่อม เป็นไปตามกฎหมายอย่างหลังนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพ.ศ. 0997 ต้อ งการจะพัฒนามาตรฐานการดารงชีพของ คนในสังคม ที่ประสบปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ จนไม่สามารถดาเนินชีวิตอย่างคนทั่วไปได้ เช่นการไม่มี ที่อยู่ การขาดรายได้ที่เพีย งพอต่อการยังชีพแก่คนไร้ที่พึ่ง 281 โดยคนไร้ที่พึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ หมายถึง บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และให้รวมถึงบุคคลที่อยู่ในสภาวะ ยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้282 นอกจากนี้ยังรวมถึงคนไร้บ้าน ในความหมายของคนเร่ร่อน ด้วย283 จุดเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพ.ศ. 0997 คนไร้บ้าน และกฎหมายอื่นๆ คือ มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เป็นกรณีของคนไร้บ้านซึ่งเป็นคนไร้ที่พึ่งตาม พระราชบัญญัตินี้ ได้กระทาความผิดตามกฎหมายหนึ่งซึ่งเป็น กระทาความผิดเกี่ยวกับการพักอาศัยในที่ 281

หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 0997 “เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้...คนไร้ที่พึ่งเป็นบุคคลที่ประสบปัญหาในสังคมขาดความ มั่นคงในการดารงชีวิต...สมควรต้องคุ้มครองให้คนไร้ที่พึ่งสามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข มีปัจจัยพื้นฐาน ในการดารงชีวิต และมีสภาพร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกับบุคคลทัว่ ไป โดยกาหนดวิธีการคุม้ ครองไว้อย่างชัดเจนและ เหมาะสม...” 282 พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพ.ศ. 0997 มาตรา 3 “คนไร้ที่พึ่ง หมายความว่า บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มรี ายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และให้รวมถึงบุคคลที่ อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด” 283 ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเรื่อง กาหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลาบาก และไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ “ประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้เป็นคนไร้ที่พงึ่ ได้แก่ ... (2) คนเร่ร่อน หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่ออกมาจากที่พักอาศัยเดิม ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม มาอยู่ในที่ สาธารณะ หรือบุคคลที่ออกมาจากที่พักอาศัยเดิมมาตั้งครอบครัวหรือมาใช้ชีวิตแบบครอบครัวใหม่ในที่สาธารณะ และ ทั้งสองกลุ่มอาจจะย้ายที่พักไปเรื่อย ๆ หรืออาศัยอยู่ที่ใดที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อดารงชีวิตประจาวันในที่ สาธารณะนั้น ๆ (3) บุคคลซึ่งอาศัยทีส่ าธารณะเป็นที่พักนอนชั่วคราว หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยทีม่ าทาภารกิจบางอย่าง และไม่มีที่พักอาศัย ไม่มีเงินเช่าทีพ่ ัก...”

4 - 96


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 สาธารณะตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น การดาเนินการก็จะเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้คือการ จัดให้มีการคุ้มครองคนไร้พี่พึ่ง ณ สถานที่ที่รัฐจัดให้ เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพ.ศ. 0997 มีทั้งส่วนที่เป็นการ ปราบปราบควบคุมคนไร้บ้าน ดังที่กฎหมายบัญญัติให้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้ าที่จัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยัง สถานคุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ ง หรื อ ศู น ย์ คุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ ง ทั้ ง ในกรณี ที่ พ บเห็ น เองหรื อ ได้ รั บ แจ้ ง จาก ประชาชน284 และในกรณีที่คนไร้บ้านไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศูนย์ คนไร้บ้านก็อาจถูกดาเนินคดีต่อไป การส่งคนไร้บ้านไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง อาจมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้อยู่ในสถานที่ที่เป็นหลักแหล่ง มีระบบระเบียบเหมาะสมตาม สุขลักษณะ เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ตามที่บัญญัติกฎหมายนี้ไว้ในหมวดที่ว่าด้วยการคุ้มครองคนไร้ที่ พึ่ง ทั้งนี้ การกระทาที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่จัดส่งคนไร้บ้านไปยังสถานที่ต่างๆ เหมือนภาพด้านลบ ที่ส่งผลต่อความรู้สึกไม่ดีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และสถานที่ๆคนไร้บ้านถูกส่งไปคุ้มครอง โดยมองว่าคน ไร้บ้านต้องถูกปราบปรามจากพื้นเหมือนเคย ทั้งจากสายตาของคนไร้บ้านเองและผู้คนทั่วไปที่พบเห็น แม้ถ้อยคาตามกฎหมายจะบัญญัติว่าเป็นการคุ้มครองคนไร้บ้านก็ตาม นอกจากนั้นแล้ว การจัดแจงให้คนไร้บ้านไปอยู่ ณ สถานที่ที่เรียกว่า “ศูนย์” หรือสถานที่รวม ของกลุ่มคน ที่สังคมมองว่าเป็นชายขอบของสังคม ทาให้คนไร้บ้านบางคนไม่ยอมรับและมองว่าการ ช่วยเหลือดังกล่าวเป็นการกระทาด้านลบ ที่ตีตราพวกให้พวกเขาเป็นคนนอกจากสังคม นอกจากนี้แม้ การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจะเป็นการการจัดสวัสดิการสังคม ส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ แต่การเปลี่ยน สภาพแวดล้อมของคนไร้บ้านอย่างสิ้นเชิง อย่างน้อยที่สุดคือการตัดขาดจากกลุ่มสังคมที่เคยพบปะ ติดต่อกัน สิ่งที่ต้องคานึงต่อไปคือ การปรับตัวของคนไร้บ้านให้เข้ากับสังคมหรือสภาพแวดล้อมใหม่ที่รัฐ กาหนดให้ ขณะที่รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา สานักงานสวัสดิการเพื่อคนไร้บ้านของนครนิวยอร์ก (NYC Department of Homeless Services หรือ DHS) มีการจัดตั้งศูนย์ในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ แต่ นอกจากจะมีการช่วยเหลือฟื้นฟูให้คนไร้บ้านได้มีโอกาสในการมีอาชีพแล้ว สภาพแวดล้อมเดิมที่คนไร้ บ้านคุ้ยเคยก็มีความสาคัญ DHSได้จัดตั้งศูนย์ฯขึ้นมากกว่า 200 แห่งทั้งจากหน่วยงานของรัฐ และจาก เอกชนภายใต้การควบคุมของ DHS285 ให้ครอบคลุมเนื้อที่ของเมือง เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะสามารถจัดแจง ให้คนไร้บ้านเข้าอยู่ในศูนย์ที่ใกล้กับแหล่งที่อยู่เดิมของคนไร้บ้านได้ 286 ทั้ ง นี้ ใ นอี ก ด้ า นหนึ่ ง พระราชบั ญ ญัติ คุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ ง พ.ศ. 0997 ก็ เ ป็ น กฎหมายหรือ กระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ก้ากึ่งว่าจะควบคุมหรืออานวยสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ดังที่กฎหมาย ได้พยายามคุ้มครองคนไร้บ้านที่ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดเกี่ยวกับการพักอาศัยในที่ สาธารณะ ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งคนไร้บ้านอาจไม่ต้องถูกดาเนินการตามกฎหมายนั้นๆ 284

พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพ.ศ. 0997 มาตรา 02 “...ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ให้คาปรึกษา แนะนา และช่วยเหลือ ตลอดจนจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังสถาน คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง” 285 Diamond, S. DEPARTMENT OF HOMELESS SERVICES. [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่ข้อมูล : http://www.nyc.gov/html/ops/downloads/pdf/mmr/dhs.pdf สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 0952 286 คนไร้บ้าน…แห่งมหานครนิวยอร์ก ด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์. (0999(. [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=5992222251971 สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 0952

4 - 97


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 ให้ยุติการดาเนินคดี และให้ถือว่าสิทธินาคดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา ในกรณีที่คนไร้บ้านยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ส่งตัวคนไร้บ้านไปยังสถานคุ้มครอง ทั้งนี้หาก คนไร้บ้านไม่ยินยอมไปยังสถานคุ้มครอง ก็จะต้องถูกดาเนินคดีตามกฎหมายนั้นๆ การที่คนไร้บ้านยินยอมไปยังสถานคุ้มครองโดยแลกกับการไม่ ต้องถูกดาเนินคดีในกฎหมาย เฉพาะ ดูเหมือนเป็นการจัดแจงตาแหน่ง หรือควบคุมคนไร้บ้านทางอ้อม แต่ในขณะเดียวกันยังเป็นการ อานวยสิทธิแก่คนไร้บ้านในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ในเคารพความสมัครใจที่จะการรับความ คุ้มครอง ว่าจะอยู่ภายใต้หลักการดาเนิ นคดีอย่างคนทั่วไปที่ทาผิดกฎหมายเฉพาะ หรือได้รับการปฏิบัติ อย่างคนไร้บ้าน ที่มีความพร้อมในทางสังคมและเศรษฐกิจที่ไม่ถึงระดับมาตรฐานซึ่งสังคมตั้งไว้ อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพ.ศ. 0997 ยังครอบคลุมการคุ้มครอง สิทธิคนไร้ที่พึ่งที่ไ ม่ใช่บุค คลสัญชาติไ ทย กล่าวคือ คนไร้บ้านที่เป็นกลุ่มคนไร้สัญชาติไม่ว่าจะไม่มี สถานะทางทะเบี ยนหรื อมีสถานะทางทะเบียนแต่ไร้สัญชาติ ก็จะได้รับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตาม พระราชบัญญัตินี้ แสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัตินี้ในทางหนึ่ง นอกจากที่จะให้ความสาคัญต่อสิทธิของ บุคคลในรัฐแล้ว ยังให้ความสาคัญต่อสิทธิในความเป็นมนุษย์ของมนุษยชาติ เป็นการปฏิบัติต่อเพื่อน มนุษย์โดยไม่นาเรื่องชนชาติ หรือชาติกาเนิดมาแบ่งแยก หากมีข้อโต้เถียงเรื่องความสิ้นเปลือ งของ ทรัพยากรที่รัฐต้อนามาใช้จัดสรรแก่คนที่ไม่มีสัญชาติไทย ต้องไม่ลืมว่าคนไร้บ้านที่แม้ไม่มี สัญชาติไทยก็ ได้ทาหน้าที่ชาระภาษีให้แก่รัฐเช่นเดียวกันพลเมืองไทย ในการชาระภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นรายได้ของ ภาครัฐในการจัดเก็บภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่มสร้างรายได้สูงสุดแก่รัฐในบรรดาการเก็บภาษีทุกประเภท 287 จากการอุปโภคบริโภคของเขาเหล่านั้น ทั้งนี้กฎหมายจะมีประสิทธิภาพก็ต้องขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของ พนักงานของเจ้าหน้าที่ ที่ต้องปราศจากอคติและคานึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์เป็นสาคัญ 5.3.2 พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามในการจัดระเบียบการบนพื้นที่สาธารณะ ด้วยการแยกการ ขอทานจากคนไร้ที่พึ่งพิงที่แท้จริงอย่างคนไร้บ้าน กับการขอทานที่เป็นธุรกิจ หรือองค์กรอาชญากรรม ด้วยพระราชบัญญัติควบคุมการขอทานพ.ศ. 2559 ในแง่ของการจัดระเบียบการขอทานที่มาจากคนไร้ บ้าน หากพิจารณาตามเหตุผลของการร่างพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559288 เหตุผล หลักนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาสังคม และคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น จากการ กาหนดให้มี“การคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ”เพิ่มเติมนอกจากโทษทางอาญา จึงมีลักษณะเป็น การมุ่งคุ้มครองคนไร้บ้านมากกว่าจะเป็นการปราบปราม พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 0995 มาตรา 16 ได้ให้อานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ส่ง ตัวคนไร้บ้านที่ทาการขอทาน เข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งหมายถึง การช่วยเหลือ การบาบัดรักษา การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการฝึกอาชีพให้แก่ผู้ทาการขอทาน ในขณะ 287

ผลการจัดเกมบรายได้ของรัฐบาลปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ.2559. (2567). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://dataservices.mof.go.th/Dataservices/GovernmentRevenue สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2567 288 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 0995 “โดยที่พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พุทธศักราช 0030 ได้ใช้บังคับมานานแล้ว บทบัญญัติเกีย่ วกับ การสงเคราะห์ผู้ทาการขอทานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน…เพื่อเป็นการ แก้ปัญหาสังคมและคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลให้เหมาะสม”...

4 - 98


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 0995 ที่จะมีผลเป็นการปราบปรามกับคนไร้บ้านก็ต่อเมื่อ คน ไร้บ้านทาการชนตังหรือขอทานโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้ และคนไร้บ้านที่พยายามหลบเลี่ยงไม่ ยอมเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งหากต้องการให้เป็นการคุ้มครองสิทธิคนไร้บ้าน ในทางปฏิบัติย่อมเลือกใช้วิ ถีทางที่รอมชอม กับคนไร้บ้าน การใช้โทษทางอาญาไม่ว่าเป็นเป็นการจาคุก และหรือโทษปรับ คงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ ต้นเหตุและยั่งยืน เพื่อจะนาบุคคลออกจากท้องถนนซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการลดจานวนคนไร้บ้านและ ปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้วิธีการรอมชอมที่มุ่งส่งเสริม ฟื้นฟู คนไร้บ้าน ประกอบกับอาศัยความร่วมมือ กับประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนในการทาความเข้าใจพระราชบัญญัตินี้เพื่อแนวทางปฏิบัติที่ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีผู้เสนอว่าควรนาพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและพระราชบัญญัติผู้สูงอายุมา ปรับใช้ด้วยอย่างจริงจัง เพราะแม้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 0995 มาตรา 15 จะ กาหนดให้เจ้าหน้าที่ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายเฉพาะ เมื่อพบว่าเป็นขอทานเป็นเด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพ แต่พระราชบัญญัตินี้ก็ไม่ได้เป็นหลักประกัน ว่า กลุ่มเสี่ยงดังกล่าวจะได้รับสวัสดิการอย่างเพียงพอและเท่าเทียม หากไม่มีการนาพระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็กและพระราชบัญญัติผู้สูงอายุมาปรับใช้ด้วยอย่างจริงจัง289 การที่ภาครัฐได้ดาเนินการจัดระเบียบคนขอทานไปแล้วบางส่วนในช่วงต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล โดยได้คัดกรองการขอทานที่มีแนวโน้มจะเป็นการค้ามนุษย์กับ การขอทานที่เป็นคนไร้บ้านออกจากกัน การขอทานอย่างหลังเจ้าหน้าที่ได้ทาการส่งไปช่วยเหลือฟื้นฟู ต่อไป290 เป็นสัญญาณที่ดีในการใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 0995 เชิงคุ้มครองให้สิทธิ กับคนไร้บ้านในการแก้ไขปัญหาปากท้องของคนไร้บ้าน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไปอย่างยั่งยืน 5.3.3 พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม นอกจากคนไร้บ้านจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมผ่านพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 0997 และพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 0995 แล้ว คนไร้บ้านยังอาจเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมจากตกเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา หรือการเป็นผู้กระทาความผิดทางอาญาเสียเอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากฎหมายจะให้สิทธิต่อคนไร้บ้านในการดาเนินคดีทางอาญาอย่างรวดเร็ว โปร่งใส และมีสิทธิในการ มีทนายแก้ต่างหรือต่อสู้คดีความ ตลอดจดมีสิทธิ ขอปล่อยตัวชั่วคราวกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทา ความผิด แต่การเข้าถึงสิทธิดังกล่าวกลับเป็นไปได้ยาก เมื่อการดาเนินการทางคดีอาญามีค่าใช้จ่ายเข้า มาเกี่ ย วข้ อ ง เงิ น ซึ่ ง เป็ น ปั จ จั ย ต้ น ๆที่ ค้ น ไร้ บ้ า นขาดแคลนกั บ กลายเป็ น ปั จ จั ย หนึ่ ง ในการน าเข้ าสู่ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงเป็นการปิดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของคนไร้ บ้านตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นกระบวนการ พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรมเป็นไปตามปฏิญญาว่าด้วยหลักพื้นฐานเกี่ยวกับการอานวย ความยุติธรรมแก่ผู้ได้รับความเสียหาย จากอาชญากรรมและการใช้อานาจโดยมิชอบ เป็นกฎหมายหนึ่ง ที่จะนาบุคคลเข้าสู่กระบวนยุติธรรม ในลักษณะการอานวยสิทธิ โดยพระราชบัญญัตินี้กาหนดให้จัดตั้ง 289

เปิดร่างพ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน: แยกวนิพกออกจากขอทาน-ค้ามนุษย์มีโทษหนัก. (2558). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://ilaw.or.th/node/3034 สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2567 290 พม.จัดระเบียบ “คนเร่ร่อน-คนขอทาน” 5 วันจับแล้ว 175 ราย กาวับ กทม.-ตารวจร่วมปฏิบัติการ.(2558). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.matichon.co.th/news/486163 สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน

4 - 99


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 29-22100-95 กองทุนยุติธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสาหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนใน การดาเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจาเลย การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ ทางกฎหมายแก่ประชาชน291 โดยไม่จากัดว่าบุคคลผู้ร้องขอความช่วยเหลือจะต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น การขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนในการดาเนินคดี ซึ่งประกอบไปด้วย ค่าจ้างทนายความ ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดาเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราว การถูกละเมิด สิทธิมนุษยชนหรือการได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงการสนับสนุนโครงการให้ ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน292 อย่างไรก็ตามการจะขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน ต้องเป็นผู้เสียหายจากการป้องกันโดย ชอบด้วยกฎหมายหรือ เป็นจาเลยที่ถู กคุมขังตามคาพิพากษาเกินกาหนด หรือเป็นจาเลยที่มีสิทธิได้รับ ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่ จาเลยในคดีอาญา และถูกคุมขังในระหว่างสอบสวน หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีอื่นใดตามที่ คณะกรรมการเห็นสมควร293 แม้ว่าการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมจะมีข้อจากัดอยู่บ้าง แต่ก็อานวยสิทธิแก่คน ไร้ บ้ านที่เป็ น ผู้ ไร้ ที่พึ่งพิงได้ร ะดับ หนึ่ ง เป็นการเปิดโอกาสให้ ประชาชนในรัฐ ได้เข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงโดยไม่แบ่งแยกระหว่างชนชั้น หรือฐานะของแต่ละบุคคล

291

พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม มาตรา 9 “เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อ…การช่วยเหลือประชาชนในการดาเนินคดี...การขอปล่อยชั่วคราว...การช่วยเหลือ ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน” 292 พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม มาตรา 9 “กองทุนยุติธรรม...มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสาหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนในการ ดาเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราวผูต้ ้องหาหรือจาเลย การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ ประชาชน” 293 ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุตธิ รรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิ มนุษยชนหรือผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 0995 ข้อ 5 “ผู้ขอรับความช่วยเหลือจากการกระทาในกรณีดังต่อไปนี.้ ..เป็นผู้เสียหายจากการป้องกันโดยชอบด้วย กฎหมาย เป็นจาเลยที่ถูกคุมขังตามคาพิพากษาเกินกาหนด เป็นจาเลยที่มสี ิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตาม กฎหมายว่าด้วยค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา และถูกคุมขังในระหว่าง สอบสวน การละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร”

4 - 100


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 ส่วนที่ 5 พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 และ พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 1. พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 1.1 สาระสาคัญของพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 (1) มีการกาหนดคานิยาม “คนไร้ที่พึ่ง” หมายความถึง บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มี รายได้เพียงพอแก่การยังชีพ บุคคลที่มีฐานะยากจน บุคคลที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ และให้รวมถึง บุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลาบาก และไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้1 (2) กาหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง - กาหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง อันประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการโดยตาแหน่งจานวน 11 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีแต่งตั้งจานวนไม่เกิน 11 คน โดยอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยคณะกรรมการมีอานาจเสนอนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับ การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา2

1

พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 มาตรา 3 “คนไร้ที่พึ่ง” หมายความว่า บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และให้รวมถึงบุคคล ที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด “การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง” หมายความว่า การจัดสวัสดิการสังคม การเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและ จิตใจ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างโอกาสในสังคม การ พัฒนาคุณภาพชีวิต การสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีงานทาและมีที่พักอาศัยและการป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็น ธรรมต่อคนไร้ที่พึ่ง 2 พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 มาตรา 5 ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นรองประธาน กรรมการ ปลั ด กระทรวงการคลั ง ปลั ด กระทรวงมหาดไทย ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม ปลั ด กระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อานวยการสานักงบประมาณ ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกินสิบเอ็ดคน เป็นกรรมการ ให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการแต่งตั้งข้าราชการของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาสังคม หรือการจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งไม่เป็นข้าราชการที่มีตาแหน่ ง หรือเงินเดือนประจา พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยใน จานวนนี้ต้องแต่งตั้งจากผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์จานวนสองคนและผู้แทนองค์กรสวัสดิการชุมชนจานวนสอง คน

5-1


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 - กาหนดให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ทาหน้าที่เป็นสานักงานเลขานุการของ คณะกรรมการ รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม และกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการ (3) กาหนดให้มีสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง3 - กาหนดให้มีการจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดย กาหนดให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมีอานาจหน้าที่ในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เช่น สารวจและติ ดตาม สภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่ง จัดให้มีที่พักอาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม บริการทางการแพทย์ และ ฝึกอบรมอาชีพแก่คนไร้ที่พึ่ง - กาหนดให้กระทรวงการพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ สนับสนุนด้าน การเงิน หรือด้านอื่น ๆ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการ ชุมชน องค์กรเอกชนอื่นที่จัดให้มีการดาเนินการในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือศูนย์ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง4 (4) กาหนดให้มีการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง - การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในด้านต่างๆ ได้แก่ การจัดสวัสดิการสังคม การส่งเสริมและ สนับสนุนการสร้างโอกาสในสังคม การเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต , การส่ งเสริ มการศึ กษาและอาชี พ การสนั บสนุ นให้ คนไร้ ที่ พึ่ งมี งานท าและมี ที่ พั กอาศั ย และการ รักษาพยาบาลการป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อคนไร้ที่พึ่ง - กาหนดแนวทางให้คนไร้ที่พึ่งมีสิทธิขอรับการคุ้มครองจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยพิจารณาให้ความคุ้มครองหรือความช่วยเหลือตามความเหมาะสมของ สภาพและปัญหา - กาหนดให้มีการช่วยเหลือเท่าที่จาเป็นในเบื้องต้นแก่คนไร้ที่พึ่ง ที่มีกฎหมายเฉพาะ คุ้มครองและส่งตัวไปรับบริการจากหน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายนั้น - กาหนดให้จัดทาข้อตกลงเข้าร่วมการอบรมเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ การ ประกอบอาชีพและทางาน ซึ่งหากคนไร้ที่พึ่งปฏิเสธการจัดทาข้อตกลงหรือฝ่าฝืนข้อตกลง สถานคุ้มครอง คนไร้ที่พึ่งอาจงดให้การคุ้มครองบางประการแก่คนไร้ที่พึ่งผู้นั้นได้

3

พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 มาตรา 13 ในกรณีที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เห็นสมควรจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งใน เขตพื้นที่ใด หรือเห็นสมควรให้สถานสงเคราะห์ใดที่ดาเนินการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเป็นสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้เสนอ ต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาประกาศการจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ประกาศการจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้กาหนดเขตพื้นที่ที่ให้การคุ้มครองไว้ด้วย ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมีหน้าที่รับผิดชอบการดาเนินงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 4 พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 มาตรา 15 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กร สาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนาหรือกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง จัดให้มีการ ดาเนินการในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือมีส่วนร่วมในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

5-2


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 1) ประเภทและลักษณะของบุคคลที่ตกอยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ 1. บุคคลที่ประสบความเดือดร้อน บุคคลสัญชาติไทยที่มีความยากลาบากในการดารงชีพ เนื่องจากเหตุหัวหน้าครอบครัวตาย ทอดทิ้ง สาบสูญ ต้องโทษจาคุก ประสบอุบัติเหตุ หรือไม่อาจดูแล ครอบครัวได้ด้วยเหตุอื่นใด 2. คนเร่ร่อน บุคคลสัญชาติไทยที่ออกมาจากที่พักอาศัยเดิม ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม มาอยู่ใน ที่สาธารณะหรือบุคคลที่ออกมาตั้งครอบครัวในที่สาธารณะ และอาจจะย้ายที่พักไปเรื่อยๆ 3. บุค คลซึ่งอาศัย ที่ส าธารณะเป็น ที่ พักนอนชั่ วคราว บุคคลสั ญชาติไทยที่ม าท าภารกิ จ บางอย่างและไม่มีที่พักอาศัย ไม่มีเงินเช่าที่พัก 4. บุค คลที่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรแต่ยังไร้ สัญชาติ บุคคลที่ถูกบันทึกทางทะเบียน ราษฎรของรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่มิได้รับการรับรองในสถานะคนสัญชาติโดยรัฐนั้นหรือรัฐอื่นใดที่ประสบ ปัญหาการดารงชีพ 5. บุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร คนไร้รัฐซึ่งอาจจะเป็นคนที่เกิดในประเทศไทยหรือ นอกประเทศไทยก็ได้ แต่มีเหตุทาให้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร ทั้งของประเทศต้นทางและของ ประเทศไทยที่ประสบปัญหาการดารงชีพ 2) โครงสร้างการดาเนินงานตามกฎหมาย 1.กลไกการบริหารการบังคับใช้กฎหมาย 1.1 คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยตาแหน่ง 11 คน ประกอบด้วย ประธาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

รองประธาน

ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

กรรมการ

ปลัดกระทรวงการคลัง

ปลัดกระทรวงมหาดไทย

ปลัดกระทรวงยุติธรรม

ปลัดกระทรวงแรงงาน

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้อานวยการสานักงบประมาณ เลขานุการ

ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ

อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

ผู้ช่วยเลขานุการ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการแต่งตั้งข้าราชการของกรมไม่ เกิน 2 คน

5-3


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 ทั้งนี้ กาหนดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 11 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสั งคม และความมั่นคงของมนุษย์ แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และไม่เป็นข้าราชการที่มีตาแหน่งหรือ เงินเดือนประจา พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่ เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของ รัฐ ในด้านต่างๆ คือ ด้านคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านพัฒนาสังคม หรือ ด้านจัด สวัสดิการสังคม ในจานวนไม่เกิน 11 คน ต้องแต่งตั้งจาก ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ 2 คน และ ผู้แทน องค์กรสวัสดิการชุมชน 2 คน อานาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 1) เสนอนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อ พิจารณาและมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับไปดาเนินการ 2) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีให้มีหรือปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือ มติคณะรัฐมนตรี ที่สนับสนุนนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 3) ประกาศกาหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคล ที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่ อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ เพื่อให้การคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ 4) ประกาศกาหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 5) ประกาศกาหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 6) ประกาศกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสนับสนุนการดาเนินการแก่ หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบัน ศาสนา กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือกลุ่มบุคคล เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 7) ประกาศกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการร้องเรียนตามมาตรา 27 8) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กร สวัสดิการชุมชน และองค์กรภาคเอกชนอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน 9) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 10) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกาหนด ให้เป็นอานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย 1.2 สานักงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 1. รั บ ผิ ด ชอบงานธุ ร การ งานประชุ ม และกิ จ การต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วกั บ งานของ คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ และรวบรวมข้อมูล ศึกษา วิจัย และพัฒนางานเกี่ยวกับการคุ้มครอง คนไร้ที่พึ่ง 2. ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัส ดิการ ชุมชน และองค์กรภาคเอกชนอื่น เพื่อดาเนินการจัดทานโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่

5-4


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 พึ่งเสนอต่อคณะกรรมการ และดาเนินการให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครอง คนไร้ที่พึ่ง 3. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดของนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับ การ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 2. กลไกระดับการปฏิบัติ 2.1 สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 1. คณะกรรมการคุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ ง ประกาศการจั ด ตั้ ง สถานคุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ ง ตามที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ 2. คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกาหนดเขตพื้นที่ให้การคุ้มครองของสถานคุ้มครองคนไร้ที่ พึ่ง อานาจหน้าที่ของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 1. สารวจและติดตามสภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ 2. สืบเสาะข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่ง ขอรับการคุ้มครองหรือที่ถูกส่งตัวมายังสถานคุ้มครองคน ไร้ที่พึ่ง ตามมาตรา 02 หรือมาตรา 00 และให้การคุ้มครอง รวมทั้งรับตัวคนไร้ที่พึ่งไว้ 3. จัดให้มีที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสม ถูกสุขลักษณะ จัดให้มีการตรวจ สุขภาพกายและสุขภาพจิต ฝึกอบรมและฝึกอาชีพ รวมทั้งหาอาชีพให้แก่คนไร้ที่พึ่ง 4. ประสานงานเพื่อจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในกรณีทมี่ ีกฎหมายเฉพาะเพื่อ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งประเภทนั้น 5. ให้คาปรึกษา แนะนา และช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในด้านการดารงชีวิต ด้านกฎหมาย หรือ ด้าน อื่น เพื่อให้สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป 6. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 7. ดาเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการกาหนด ภารกิจในการสนับสนุนให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดาเนินงานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 1. ให้กระทรวงสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กร สวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชน สถาบันศาสนา กลุ่มคนไร้ที่ พึ่ง จัดให้มีการดาเนินการในลักษณะ เดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือมีส่วนร่วมในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 2. กรณีที่องค์กรข้างต้น ดาเนินการได้ตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกาหนด ให้ กระทรวง พิจารณาสนับสนุนด้านการเงินหรือด้านอื่นๆ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ กาหนด

5-5


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 2.2 ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 1. ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ได้แก่ สานักงานพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์จังหวัด ศูนย์พัฒนาสังคมประจาจังหวัดหรือส่วนราชการอื่นตามที่ปลัดกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กาหนด (มาตรา 18) ปัจจุบันมีการประกาศจัดตั้งศูนย์คุ้มครอง คนไร้ที่พึ่ง จานวน 36 จังหวัด 2. ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจัดให้มีขึ้น (มาตรา 16) 3. หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชน สถาบันศาสนากลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือกลุ่มบุคคลที่จัดให้มีการดาเนินการในลักษณะเดียวกับศูนย์คุ้มครอง คนไร้ที่พึ่ง (มาตรา 17) อานาจหน้าที่ของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 1. สารวจและติดตามสภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่ง 2. สืบเสาะข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่ง ที่ขอรับการคุ้มครองหรือที่ถูกส่งตัวมายังศูนย์คุ้มครอง คนไร้ที่พึ่ง ตามมาตรา 20 หรือมาตรา 22 และให้การคุ้มครองในเบื้องต้นแก่คนไร้ที่พึ่ง รวมทั้งรับตัว คนไร้ที่พึ่งไว้ 3. ประสานงานเพื่อจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 4. ให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมอบหมาย หรือตามที่ศูนย์คุ้มครอง คนไร้ที่พึ่งเห็นสมควร ภารกิจในการสนับสนุนให้ภาคส่วนที่ดาเนินงานในลักษณะศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้กระทรวงสนับสนุนด้านการเงินหรือด้านอื่นๆ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ น องค์กร สาธารณประโยชน์องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนสถาบันศาสนา กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง ที่จัดให้มี การด าเนิ น การในลั ก ษณะเดี ย วกั บ ศู น ย์คุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ ง ตามหลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร และเงื่ อ นไขที่ คณะกรรมการกาหนด 3. วิธีการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 1. คนไร้ที่พึ่งมีสิทธิขอรับการคุ้มครองจากสถาน / ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งได้ 2. กาหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่พบเห็นหรือได้รับแจ้งเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งมีหน้าที่ให้คาแนะนา ปรึกษา ช่วยเหลือ และจัดส่งไปยังสถาน / ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ทั้งนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องเป็น บุคคลผู้ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตาม พ.ร.บ. 3. การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งแต่ละรายให้สถาน / ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้พิจารณาตามความ เหมาะสม และสภาพปัญหาของคนไร้ที่พึ่งแต่ละราย และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ กาหนด 5-6


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 4. กรณีบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทาผิดเกี่ยวกับการพักอาศัยในที่สาธารณะ ถ้าเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น เห็นว่าบุคคลนั้นมีลักษณะเป็นคนไร้ที่พึ่งและสมควรได้รับการคุ้มครอง ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ส่งตัวไปยังสถาน / ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ทั้งนี้ โดยความ ยินยอมของคนไร้ที่พึ่ง เว้นแต่คนไร้ที่พึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่อาจให้ความยินยอมได้ และให้เจ้าหน้าที่ระงับ การดาเนินคดีไว้ชั่วคราว ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กาหนด ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมีอานาจหน้าที่แจ้ง ให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัตินั้นยุติการดาเนินคดี แต่หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขก็ให้สถาน คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัตินั้นดาเนินคดีต่อไป 5. กรณีคนไร้ ที่ พึ่ ง เป็ น บุ คคลซึ่ง มี กฎหมายเฉพาะให้ การคุ้ม ครองอยู่ แล้ ว ให้ ส ถาน/ศู น ย์ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้ความช่วยเหลือเท่าที่จาเป็นในเบื้องต้น แล้วจัดส่งคนไร้ที่พึ่งผู้นั้นไปยังหน่วยงานที่ รั บ ผิ ดชอบตามกฎหมาย เว้น แต่กรณีมีเหตุจาเป็นและสมควรเพื่ อประโยชน์ข องคนไร้ ที่ พึ่ง สถาน คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจะดาเนินการรับตัวคนไร้ที่พึ่งผู้นั้นไว้ในความดูแลต่อไปก็ได้ 6. มีการกาหนดให้คนไร้ที่พึ่งที่จะเข้าอยู่อาศัยในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ต้องจัดทาข้อตกลง ในการเข้าร่วมฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ การประกอบอาชีพและทางาน และอาจจัดทาข้อตกลงในการ ขอรับการคุ้มครองอื่นด้วยก็ได้ แต่หากคนไร้ที่พึ่งผู้ใดปฏิเสธการจัดทาข้อตกลงหรือฝ่าฝืนข้อตกลง สถาน คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอาจงดให้การคุ้มครองบางประการแก่คนไร้ที่พึ่งผู้นั้น 7. ระหว่างการฝึกอาชีพหรือเริ่มต้นประกอบอาชีพ คนไร้ที่พึ่งอาจได้รับเงินช่วยเหลือในการยัง ชีพ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกาหนด 8. สถาน / ศูนย์คุ้มครองคนไร้ ที่พึ่งต้องปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลของคนไร้ที่พึ่ง เว้นแต่เปิดเผย ตามที่กฎหมายกาหนด 9. กรณีคนไร้ที่พึ่งไม่ได้รับการคุ้มครอง หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากสถาน /ศูนย์ คุ้มครองคนไร้ ที่พึ่ง อาจร้ องเรี ย นต่อคณะกรรมการได้ ตามหลั กเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ กาหนด 3) ประกาศที่เกี่ยวข้องกับคนไร้ที่พึ่ง โดยคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง5 1. ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง กาหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคล ที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 กาหนดให้คนไร้ที่ พึ่ง หมายถึง “บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และให้รวมถึงบุคคลที่อยู่ใน สภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด” โดย คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง อาศัยอานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 (3) ออกประกาศ 5

กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์. สรุปสาระสาคัญของอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557. [ข้อมูล ออนไลน์], แหล่งที่มา: www.bsws.go.th/attach/f1-t1493363768.doc

5-7


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 กาหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ จานวน 5 ประเภท ดังนี้ 1) บุคคลที่ประสบความเดือดร้อน หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่มีความยากลาบาก ในการดารงชีพเนื่องจากเหตุหัวหน้าครอบครัวหรือบุคคลที่เป็นหลักในครอบครัว (ก) ตาย (ข) ทอดทิ้ง สาบสูญ หรือต้องโทษจาคุก (ค) ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยร้ายแรงจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (ง) ไม่สามารถดูแลครอบครัวได้ด้วยเหตุอื่นใด 2) คนเร่ร่อน หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่ออกมาจากที่พักอาศัยเดิม มาอยู่ในที่ สาธารณะ หรือมาใช้ชีวิตแบบครอบครัวใหม่ในที่สาธารณะ และบุคคลทั้งสองกลุ่มอาจจะย้ายที่พักไป เรื่อยๆ หรืออาศัยอยู่ที่ใดที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อดารงชีวิตประจาวันในที่สาธารณะนั้นๆ 3) บุคคลซึ่งอาศัยที่สาธารณะเป็นที่พักนอนชั่วคราว หมายถึง บุคคลสัญชาติไทย ที่มาทาภารกิจบางอย่างและไม่มีที่พักอาศัย หรือไม่มีเงินเช่าที่พัก 4) บุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรแต่ไร้สัญชาติ หมายถึง บุคคลที่ถูกบันทึก ทางทะเบียนราษฎรของรัฐใดรัฐหนึ่งแต่มิได้รับการรับรองในสถานะคนสัญชาติโดยรัฐนั้นหรือรัฐอื่นใด ที่ ประสบปัญหาการดารงชีพ 5) บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร หมายถึง คนไร้รัฐซึ่งอาจจะเป็นคนที่เกิด ในหรือนอกประเทศไทยก็ได้ แต่มีเหตุทาให้ตกหล่นจากทะเบียนราษฎรทั้งของประเทศต้นทาง และของ ประเทศไทยที่ประสบปัญหาการดารงชีพ 2. ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง กาหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง อาศัยอานาจตามความในมาตรา 9 (4) แห่งพระราชบัญญัติ การคุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ ง พ.ศ. 2557 จึ ง ออกประกาศเพื่ อ ก าหนดหลั ก เกณฑ์ ใ นการปฏิ บั ติ ง านกั บ กลุ่ มเป้ าหมายคนไร้ ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยกาหนดไว้ 9 หลักเกณฑ์ ดังนี้ 1) การจั ด สวัสดิ การสังคม กาหนดให้ มีการจัดสวัส ดิการที่คนไร้ที่พึ่งที่พึงมีพึงได้ รวมทั้งปัจจัย 4 อันจะทาให้สามารถดารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ 2) การเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ กาหนดให้มีการประเมินคนไร้ที่พึ่ง และครอบครั ว การคัดกรอง บ าบั ด และพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจผ่ านจิตบาบัด กายภาพบาบั ด กิจกรรมบาบัด อาชีวบาบัด ฯลฯ 3) การรักษาพยาบาล กาหนดให้มีการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาลในระดับ เบื้องต้นตามสิทธิการประกันสุขภาพเท่าที่มี

5-8


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 4) การส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ กาหนดให้มีการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ฝึกทักษะ อาชีพตามที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจ โดยส่งเสริมให้สื่อ สถานศึกษา ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการจัด กิจกรรมเพื่อคนไร้ที่พึ่ง 5) การส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การสร้ า งโอกาสในสั ง คม ก าหนดให้ ส ถาน/ศู น ย์ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ส่งเสริมโอกาสในชีวิต ในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานของชีวิต และสนับสนุนให้วิสาหกิจ เพื่อสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสในสังคมให้แก่ คนไร้ที่พึ่ง 6) การสนับสนุนให้คนมีงานทา กาหนดให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อการส่ง คนไร้ ที่พึ่งกลับคืนสู่ชุมชน และสังคม 7) การพัฒนาคุณภาพชีวิต กาหนดให้ กลุ่ มเป้าหมายสามารถเข้าถึงข้อมูล ในการ สมัครงาน และสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ เข้ามาสนับสนุนเรื่องตาแหน่งงานให้แก่คนไร้ที่พึ่ง 8) การสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีที่พักอาศัย กาหนดให้มีการจัดหาที่พักชั่วคราว หรือ สนับสนุนให้องค์กรภาครัฐหรือเอกชนจัดหาที่พักอาศัยแก่คนไร้ที่พึ่ง 9) การป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่มีธรรมต่อคนไร้ที่พึ่ง กาหนดให้งดเว้นการ กาหนดนโยบาย กฎระเบียบ มาตรการ โครงการ ที่จะนาไปสู่การเลือกปฏิบัติแก่คนไร้ที่พึ่ง 3. ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติงานของสถาน คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง อาศัยอานาจตามความในมาตรา 9 (5) แห่งพระราชบัญญัติ การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ออกประกาศเพื่อกาหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานของสถาน คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยแบ่งออกเป็น 5 มาตรฐาน ดังนี้ 1) มาตรฐานด้ านการให้บริการ โดยมีกระบวนการการให้บริการที่ชัดเจน ทั้งในด้านการ จัดเตรียมที่พักอาศัย การจัดอาหารและยา การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการจัดให้มีผู้ดูแลประจาวัน 2) มาตรฐานด้านการเสริมสร้างความรู้ โดยมีการอานวยความสะดวกในด้านการศึกษาตาม อัธยาศัย และช่องทางต่างๆ ในการสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ 3) มาตรฐานด้านการฝึกอาชีพและการจัดหาอาชีพ โดยมีการสนับสนุนการฝึกฝนทักษะการ ใช้ชีวิตประจาวัน การฝึกฝนทักษะอาชีพ และการสนับสนุนช่องทางด้านอาชีพแก่คนไร้ที่พึ่ง 4) มาตรฐานด้านการประสานเครือข่ายและการดาเนินงานกับหน่วยงานภายนอก โดยมี ความพร้อมในการประสานงานกับชุมชน สังคม องค์กรสาธารณประโยชน์อื่นๆ ตลอดจนประสานทีม สหวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 5) มาตรฐานด้านอาคารสถานที่และความปลอดภัย โดยมีอาคารสถานที่และการจัดการพื้นที่ มีการแบ่งสัดส่วนที่เหมาะสม ปลอดภัย พร้อมต่อการใช้งาน รวมทั้งมีการปรับปรุงสภาพแวดล้ อมให้ เหมาะกับการฟื้นฟูสมรรถภาพในด้านต่างๆ

5-9


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 4. ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการร้องเรียนกรณีคน ไร้ที่พึ่งไม่ได้รับการคุ้มครอง หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากสถาน / ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง อาศัยอานาจตามความในมาตรา 9 (7) แห่งพระราชบัญญัติ การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 จึงออกประกาศเพื่อกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการร้องเรียนกรณี ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากสถาน/ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ดังนี้ การร้องเรียนต้องร้องเรียนเรื่องการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมของสถาน / ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือเจ้าหน้าที่ของสถาน / ศูนย์คุ้มครองฯ เท่านั้น โดยผู้ที่มีสิทธิร้องเรียนสามารถร้องเรียนเป็นหนังสือ หรื อ ด้ ว ยวาจา เพื่ อ ให้ ค ณะกรรมการด าเนิ นการวิ นิจ ฉัย และเปิ ด โอกาสให้ คู่ ก รณี ชี้แ จงและแสดง พยานหลักฐานประกอบคาชี้แจงของตนตามควรแก่กรณี โดยให้การพิจารณาของคณะกรรมการเป็นที่ สิ้นสุด 5. ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง กาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การสนับสนุนการดาเนินการแก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือกลุ่มบุคคล เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง อาศัยอานาจตามความในมาตรา 9 (6) ประกอบมาตรา 15 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 จึงออกประกาศเพื่อกาหนด หลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร และเงื่ อ นไขการสนั บ สนุ น การด าเนิ น การแก่ ห น่ ว ยงานของรั ฐ องค์ ก ร สาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือ กลุ่มบุคคล เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ดังนี้ 1) ให้ ห น่ ว ยงานในสั ง กั ด กระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ สนับสนุนให้องค์กรต่างๆ จัดให้มีการดาเนินการในลักษณะเดียวกับสถาน/ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือ ให้มีส่วนร่วมในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้คาปรึกษา แนะนา ช่วยเหลือ และอานวยความสะดวกแก่ องค์กรในด้านต่างๆ 2) องค์กรที่มีการดาเนินการในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและเป็นไป ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกาหนด หรือองค์กรที่มีการดาเนินการในลักษณะ เดียวกับศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอาจได้รับการสนับสนุนด้านการเงินหรือด้านอื่นๆ ด้วย 3) การขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อกรมพัฒนา สังคมและสวัสดิการ ในจังหวัดอื่นให้ยื่นต่อสานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เพื่อ นาเสนอต่อกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการฯ 4) ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการฯ พิจารณาการสนับสนุนเงินอุดหนุน แล้วแจ้งผล การพิจารณาให้องค์กรทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ 5) องค์กรที่ได้รับเงินอุดหนุนต้องรายงานผลการปฏิบัติง านและการใช้จ่ายเงิน ตาม แบบที่อธิบดีกาหนด หากองค์กรไม่สามารถดาเนินการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่กาหนด ให้อธิบดีหรือผู้ ซึ่งอธิบดีมอบหมายระงับการจ่ายเงินไว้ก่อน แล้วตรวจสอบเพื่อดาเนินการต่อไป

5 - 10


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 6) องค์กรจะต้องยินยอมให้ มีการตรวจเยี่ยมการดาเนินการตามที่ได้รับเงินอุดหนุน หรือให้เข้าตรวจเอกสารเกี่ยวกับบัญชีทะเบียนและหลักฐานอื่นๆ รวมถึงสอบถามหรือสัมภาษณ์บุคคลที่ เกี่ยวข้องได้ด้วย 7) องค์กรอาจขอรั บการสนับสนุนจากกองทุนในการกากับดูแลของกระทรวงการ พัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เพื่ อดาเนินการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กองทุนนั้นกาหนด 8) การขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อกรมพัฒนา สังคมและสวัสดิการ และจังหวัดอื่นให้ยื่นต่อสานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จั งหวัด เพือ่ นาเสนอกรมพัฒนาสังคม 9) ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พิจารณาคัดกรองและพัฒนาโครงการที่ขอรับ การสนับสนุน แล้วส่งเรื่องต่อไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบกองทุนนั้นต่อไป 10) ให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ รักษาการตามประกาศนี้ 6. ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เรื่อง การจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และ การกาหนดเขตพื้นที่ที่ให้การคุ้มครอง คณะกรรมการคุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ ง อาศั ย อ านาจตามความในมาตรา 13 ประกอบมติ คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 จึงออกประกาศให้สถานสงเคราะห์ ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จานวน 11 แห่ง โดยมีเขตพื้นที่ให้ การคุ้มครอง ดังนี้ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 1. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี

เขตพื้นที่ที่ให้การคุ้มครอง จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน จังหวัดแพร่ 2. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งสันมหาพน จังหวัดพะเยา จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลาปาง จังหวัด ลาพูน จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัด ตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดนครปฐม จังหวัดปราจีน 3. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัด ตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดนครปฐม จังหวัดปราจีน 4. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระแก้ว

5 - 11


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

เขตพื้นที่ที่ให้การคุ้มครอง

5. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งวังทอง

จังหวัดกาแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดพิจิตร จังหวัด พิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์

6. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกุ่มสะแก

จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดเพชรบุรี จังหวัด สมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดราชบุรี จังหวัด สุพรรณบุรี

จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา 7. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งบ้านเมตตา จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสกลนคร จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลาภู จังหวัดอุดรธานี 8. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทับกวาง

จังหวัดชัยนาท จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัด ลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดอุทัยธานี

9. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ประจวบคีรีขันธ์

จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดระนอง

จังหวัดนครพนม จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมุกดาหาร 10. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งปรือใหญ่ จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอานาจเจริญ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด 11. สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งคนไร้ที่พึ่ง นราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง ภาคใต้ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดยะลา จังหวัด สงขลา จังหวัดสตูล 7. ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง หลักเกณฑ์การ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 3 และ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ออกประกาศเพื่อกาหนดหลักเกณฑ์ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ 6 หลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดารงตาแหน่งตามที่รัฐมนตรีประกาศกาหนด (2) บุคคลอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ (2.1) คุณสมบัติ (ก) มีสัญชาติไทย (ข) อายุไม่ต่ากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ 5 - 12


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 (ค) เป็นผู้สาเร็จการศึกษาไม่ต่ากว่าปริญญาตรี และเคยปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเป็น ผู้สาเร็จการศึกษาต่ากว่าปริญญาตรี และเคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและ การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานของ รัฐ หรือองค์กับเอกชนที่ปฏิบัติงานการจัดสวัสดิการและการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง (2.2) ลักษณะต้องห้าม (ก) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (ข) เป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือบุคคลล้มละลาย (ค) ถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน (ง) เคยได้รับโทษจาคุก เว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษหรือกระทาโดยประมาท (จ) เป็นบุคคลที่แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต (3) เป็ น ผู้ ผ่ า นการอบรมความรู้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ การคุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ ง ตาม หลักสูตรที่กรมกาหนด (4) การยื่ น ขอเพื่ อ แต่ ง ตั้ ง เป็ น พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ข องภาคเอกชน ซึ่ ง อยู่ ใ นเขต กรุงเทพมหานครให้ยื่น ขอต่ออธิบดี สาหรับจังหวัดอื่นให้ยื่นขอต่อพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีหรือพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด แล้วแต่กรณี (5) ให้ผู้ได้รับการตั้งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่มีบัตรประจาตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมีอธิบดี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ออกบัตร (6) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พ้นจากตาแหน่ง เมื่อ (1) ตาย (2) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบาเหน็จบานาญข้าราชการ (3) ลาออก (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4 (5) รัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องต่อหน้าที่ หรือ หย่อนความสามารถ 8. ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 3 และ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ออกประกาศเพื่อแต่งตั้งให้ผู้ดารง ตาแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557

5 - 13


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 (1) อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (2) รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (3) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (4) ผู้เชียวชาญเฉพาะด้านพัฒนาสังคม (5) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสังคมสงเคราะห์ (6) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (7) ผู้อานวยการกองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต (8) ผู้อานวยการกองกิจการนิคมสร้างตนเองและพัฒนาชาวเขา (9) ผู้อานวยการกองกิจการอาสาสมัครและภาคประชาสังคม (10) ผู้ปกครองสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง (11) ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเอง (12) ผู้อานวยการศูนย์พัฒนาชาวเขา (13) ผู้อานวยการศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง (14) หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขอทานและคนไร้ที่พึ่ง (15) ผู้อานวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิต ผู้ ด ารงต าแหน่ ง ตามค าสั่ ง นี้ ก่ อ นจะปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ต้ อ งผ่ า นการอบรมเกี่ ย วกั บการ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามหลักสูตรที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกาหนด เว้ นแต่ผู้ดารงตาแหน่งบริหาร ระดับสูง ตาแหน่งบริหารระดับต้น ตาแหน่งอานวยการสูง ตาแหน่งเชี่ยวชาญ หรือเทียบเท่าขึ้นไป 9. ประกาศกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อาศัยอานาจตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่ พึ่ ง พ.ศ. 2557 ออกประกาศหลั ก สู ต รการฝึ ก อบรมบุ ค ลากรเพื่ อ เป็ น พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ต าม พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 โดยแบ่งออกเป็น 8 หัวข้อ ดังนี้ (1) ความเป็นมา สถานการณ์ และแนวคิดพื้นฐานในการปฏิบัติงานกับคนไร้ที่พึ่ง (2) พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง (3) กระบวนการดาเนินการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและศูนย์ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง (4) กระบวนการประสานส่งต่อและการทางานกับชุมชน (5) ความรู้เบื้องต้นในการทางานกับผู้ป่วยจิตเวช 5 - 14


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 (6) บทเรียนการทางานขององค์กรพัฒนาเอกชนในการทางานกับคนไร้บ้านและผู้ใช้ ชีวิตในที่สาธารณะ (7) การสรุปและประเมินผล 10. ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ ที่พึ่ง เรื่ อง กาหนดประเภทหรื อลักษณะของ บุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ พ.ศ. 2559 การกาหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคล ที่อยู่ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคล อื่นได้เป็นคนไร้ที่พึ่ง ได้แก่ (1) บุคคลที่ประสบความเดือดร้อน หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่มีความยากลาบากใน การดารงชีพ เนื่องจากเหตุหัวหน้าครอบครัวหรือบุคคลที่เป็นหลักในครอบครัว (ก) ตาย (ข) ทอดทิ้ง สาบสูญ หรือต้องโทษจาคุก (ค) ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยร้ายแรงจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (ง) ไม่สามารถดูแลครอบครัวได้ด้วยเหตุอื่นใด (2) คนเร่ร่อน หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่ออกมาจากที่ พักอาศัยเดิม ไม่ว่าด้วยเหตุ ใดๆ ก็ตาม มาอยู่ในที่สาธารณะ หรือบุคคลที่ออกมาจากที่พักอาศัยเดิมมาตั้งครอบครัวหรือมาใช้ชีวิต แบบครอบครัวใหม่ในที่สาธารณะ และบุคคลทั้งสองกลุ่มอาจจะย้ายที่พักไปเรื่อยๆ หรืออาศัยอยู่ที่ใดที่ หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อดารงชีวิตประจาวันในที่สาธารณะนั้นๆ (3) บุคคลซึ่งอาศัยที่สาธารณะเป็นที่พักนอนชั่วคราว หมายถึง บุคคลสัญชาติไทยที่มา ทาภารกิจบางอย่างและไม่มีที่พักอาศัย ไม่มีเงินเช่าที่พัก (4) บุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรแต่ยังไร้สัญชาติ หมายถึง บุคคลที่ถูกบันทึก ทางทะเบียนราษฎรของรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่มิได้รับการรับรองในสถานะคนสัญชาติโดยรัฐนั้นหรื อรัฐอื่นใดที่ ประสบปัญหาการดารงชีพ (5) บุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร หมายถึง คนไร้รัฐซึ่งอาจจะเป็นคนที่เกิดใน ประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ได้ แต่มีเหตุทาให้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร ทั้งของประเทศต้น ทางและของประเทศไทยที่ประสบปัญหาการดารงชีพ 11. ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเรื่อง กาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การสนับสนุนการดาเนินการแก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือกลุ่มบุคคล เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2559 การกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสนับสนุนการดาเนินการแก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือกลุ่มบุคคล เพื่อให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเป็นไปอย่างทั่วถึง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพตาม เจตนารมณ์ของกฎหมาย ให้คนไร้ที่พึ่งสามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขและสามารถพึ่งพา 5 - 15


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 ตนเองได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยอาศัยอานาจตามความในมาตรา 9 (6) ประกอบมาตรา 15 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 กาหนดให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สนับสนุนให้ องค์กรต่างๆ จัดให้มีการดาเนินการในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ ที่พึ่ง หรือมีส่วนร่วมในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยให้หน่วยงานมีหน้าที่ให้คาปรึกษา แนะนาช่วยเหลื อ และอานวยความสะดวกแก่องค์กรในด้านต่างๆ เช่น ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจน ประสานหน่วยงานและดาเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง องค์กรที่จัดให้มีการดาเนินการในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและเป็นไปตาม มาตรฐานการปฏิบัติงานที่คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกาหนด อาจได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน หรือด้านอื่น ทั้งนี้ วงเงินและรายการที่ให้การสนับสนุนให้พิจารณาตามความจาเป็นและเหมาะสม ตาม หลักเกณฑ์ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการประกาศกาหนด 4) สภาพปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 1. ปัญหาเชิงโครงสร้าง ปัญหาของบทบัญญัติว่าด้วยการให้ความหมายของคนไร้ที่พึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 1.1 การนิยาม “คนไร้ที่พึ่ง” พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง มาตรา 3 ได้นิยาม “คนไร้ที่พึ่ง” ว่า “บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และให้รวมถึงบุคคลที่อยู่ ในสภาวะยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกาหนด” การให้นิยามดังกล่าว เป็นการนิยามคนไร้ที่พึ่งไว้อย่างกว้าง ทาให้ต้องมีการใช้ดุลยพินิจในการ พิจารณาว่าบุคคลใดบ้างที่เป็นคนไร้ที่พึง ซึ่งได้มีการกาหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะ ยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ จานวน 5 ประเภท คือ 1) บุคคลที่ประสบความเดือดร้อน 2) คนเร่ร่อน 3) บุคคลซึ่งอาศัยที่สาธารณะเป็นที่พักนอนชั่วคราว 4) บุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร แต่ไร้สัญชาติ และ 5) บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร แม้จะมีการกาหนดประเภทและลักษณะของบุคคล ที่อยู่ในสภาวะลาบากและไม่อาจพึ่งคนอื่น ได้ แต่ในการพิจารณาว่าบุคคลใดเป็นบุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัย และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ตาม นิยามที่กฎหมายให้ไว้นั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบ อีกทั้ง ลักษณะของคน ไร้ที่พึ่งยังมีความหลากหลายและซับซ้อน เช่น บุคคลที่มีที่อยู่รวมกันในชุมชนแออัด ใต้ทางด่วน ใต้ สะพาน บริเวณริมทางรถไฟ ริมแม่น้า และมีการหารายได้โดยการเร่ขายของ เก็บของเก่าเพื่อยังชีพ บุคคลกลุ่มนี้จะได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือ ภายใต้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 0997 ได้อย่ างไร ดังนี้ แม้จ ะมี การนิ ยามคนไร้ ที่ พึง ไว้ อย่ างกว้ าง เพื่อให้ เจ้าหน้ าที่ รัฐ สามารถใช้ ดุลยพินิจให้ความช่วยเหลือได้ แต่การใช้ดุลยพินิจ เพื่อให้คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มนั้น อาจจะเป็นไปด้วยความยากลาบากในการพิจารณาและคุ้มครองคนไร้ที่พึง 5 - 16


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 ปัญหาลาดับแรกที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 คือ เรื่องการให้ความหมายของคนไร้ที่พึ่ง เพราะหากไม่มีการให้ความหมายคนไร้ที่พึ่ง ไว้อย่างชัดเจน จะทา ให้ไม่สามารถคุ้มครองและช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งได้อย่างทั่วถึง และการให้ความหมายของคนไร้ที่พึงยัง อาจทับซ้อน กับความหมายของบุคคลที่ได้รับการช่วยเหลือจากกฎหมายฉบับอื่นด้วย เช่น บุคคลที่ไม่มี ที่อยู่อาศัย แต่ใช้ความสามารถทางดนตรีหารายได้และขอทานในพื้นที่สาธารณะ บุคคลดังกล่าวจะต้อง ได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือตามกฎหมายฉบับใด การให้คานิยามหรือการให้ความหมายของคนไร้ที่พึ่ง จึงมีความสาคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 1.2 ที่มาของคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ประกอบไปด้ ว ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน พร้อมด้วยกรรมการที่มา จากข้าราชการระดับ สู ง 10 คน และกรรมการผู้ ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐ มนตรีแต่ งตั้ง ไม่ เกิน 7 คน จาก บทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า คณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมีอัตราส่วนของข้าราชการเกินกว่าครึ่ง และยังไม่มีสัดส่วนของภาคประชาชนที่จะเข้ามาร่วมเป็นกรรมการ มีเพียงสัดส่วนจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ รั ฐ มนตรี แ ต่ ง ตั้ ง ซึ่ ง ไม่ อ าจรั บ รองได้ ว่ า จะเป็ น ตั ว แทนของภาคประชาชน เนื่ อ งจากการแต่ ง ตั้ ง ผู้ ทรงคุณวุฒิ ตามพระราชบั ญญัติกาหนดไว้อย่างกว้างๆ ว่า “...ให้ แต่งตั้งจากผู้ มีความรู้และความ เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง การสังคมเคราะห์หรือการจัดสวัสดิการสังคม...” ดังนี้ การแต่งตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิ ดังกล่าวเป็นอานาจตามกฎหมายของรัฐมนตรี จึงเป็นที่กังวลว่ากรรมการที่มาจากการ แต่งตั้งจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในภาครัฐมากกว่าภาคประชาชน 1.3 สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง การจั ดตั้ง สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง อาจเกิดได้ส อง ลักษณะ กล่าวคือ (1) การจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งขึ้นใหม่ และ (2) การยกระดับสถานสงเคราะห์ คนไร้ที่พึ่งที่มีอยู่เดิมให้เป็นสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยการบริหารจัดการตามโครงสร้างการทางาน ของคณะกรรมการ อีกทั้งยังมีการกาหนดให้คณะกรรมการสามารถให้การรับรองศูนย์ดาเนินงานด้าน การจัดสวัสดิการให้คนไร้ที่พึ่ง ขององค์การภาคประชาสังคมที่มีอยู่ก่อน เป็นสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ชั่วคราวได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมี การจัดตั้งสถานคุ้มครองหรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งขึ้นมาเพื่อรองรับ และคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง แต่เมื่อเทียบสัดส่วนสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง กับจานวนคนไร้ที่พึ่ง แล้วยังไม่ เพียงพอ อีกทั้งระบบการบริหารจัดการสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ยังไม่สามารถคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งได้ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจะบริหารจัดการโดยคณะกรรมการ ภายใต้กระทรวงพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ทาให้การบริหารจัดการอาจไม่สอดคล้องและครอบคลุมกับความต้องการของคน ไร้ที่พึ่ง นอกจากนี้ยังไม่มีการกระจายอานาจในส่วนโครงสร้างการบริหารจัดการไปสู่ระดับท้องถิ่น ซึ่งมี ความใกล้ชิดกับคนไร้ที่พึ่งทั้งในมิติความสัมพันธ์เชิงพื้นที่และมิติการบริหารจัดการ 1.4 คนไร้ที่พึ่งไม่มีสิทธิเลือกการเข้าสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งได้อย่างอิสระจริงหรือ เมื่อคนไร้ ที่ พึ่ง ถู ก กล่ าวหาว่า ได้ก ระท าความผิ ด เกี่ ยวกับ การพั ก อาศั ย ในที่ส าธารณะตาม กฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น จะถูกส่งตัวไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยความยินยอมของคนไร้ที่ 5 - 17


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 พึ่ ง เอง ซึ่ ง หากคนไร้ ที่ พึ่ ง ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามเงื่ อ นไขของสถานคุ้ ม ครอง ก็ จ ะถู ก ส่ ง กลั บ มาให้ เ จ้ าหน้าที่ ดาเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับความผิดเรื่องการอยู่อาศัยในที่สาธารณะ6 การบังคับใช้กฎหมายเรื่องการส่งตัวคนไร้ที่พึ่งเข้าสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนั้น แม้จะระบุให้ คนไร้ที่พึ่งสามารถแสดงความประสงค์ถึงการที่จะเข้าสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ได้ และเมื่อคนไร้ที่พึ่งไม่ ประสงค์จะเข้าสถานคุ้มครอง หรือเข้าไปแล้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสถานคุ้มครอง คนไร้ที่พึ่งอาจถูก เจ้าหน้าที่ดาเนินการตามกฎหมาย เกี่ยวกับความผิดเรื่องการอยู่อาศัยในที่สาธารณะก็ตาม แต่เนื่องจาก ลักษณะพฤติกรรมของคนไร้ที่พึ่งหลายๆ กลุ่ม ที่มีอาชีพในการเก็บของเก่า หรือเร่ขายของ ซึ่งมีความ จาเป็นต้องอยู่ใกล้ กับสถานที่ที่จะสามารถประกอบอาชีพได้สะดวก หากไปอยู่สถานคุ้มครองอาจไม่ สามารถเก็บของเก่าหรือเร่ขายของได้แล้ว เมื่อรวมถึงทัศนคติของคนไร้ที่พึ่งที่ยังมองว่าสถานคุ้มครองมี สภาพคล้ายสถานกักกัน และยังต้องอยู่ปะปนกับผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต 7 ทาให้การบังคับใช้กฎหมาย เรื่องการส่งตัวคนไร้ที่พึ่งเข้าสถานคุ้มครอง ไม่ประสบผลสาเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 0997 ยังได้กาหนดให้กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์สนับสนุนด้านการเงินหรือด้านอื่นๆ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา หรือกลุ่มคนไร้ ที่พึ่ง โดยจัดให้มีการดาเนินการในลักษณะเดียวกันกับสถานคุ้ มครองคนไร้ที่พึ่ง8 แต่มิได้กาหนดให้ทุก องค์กร ที่จั ดให้ มีการดาเนิ น การในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือมีส่ วนร่วมในการ

6

พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 มาตรา 22 “ในกรณีที่บุคคลใดถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดเกี่ยวกับการพักอาศัยในที่สาธารณะตามกฎหมายหรื อ ข้อบัญญัติท้องถิ่น หากเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นเห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะเป็นคนไร้ที่พึ่ง และสมควรได้รับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ส่งตัวคนไร้ที่พึ่งนั้นไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ทั้งนี้ โดยความยินยอมของคนไร้ที่พึ่งเว้นแต่คนไร้ที่พึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่อาจให้ความยินยอม ได้ และให้เจ้าหน้าที่ระงับการดาเนินคดีไว้ชั่วคราว จนกว่าจะได้รับแจ้งตามวรรคสอง ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งแจ้งให้ เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นพิจารณาดาเนินคดีต่อไป ในกรณีที่คนไร้ที่พึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งแจ้งให้ เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นยุติการดาเนินคดี และให้ถือว่าสิทธินาคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 7 บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2557, 9 ตุลาคม). ร่าง พ.ร.บ.คนไร้ที่พึ่ง: คุ้มครองหรือซ้าเติม. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://prachatai.com/journal/2014/10/55899 8 พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 มาตรา 15 “ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กร สาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนาหรือกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง จัดให้มีการ ดาเนินการในลักษณะเดียวกับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือมีส่วนร่วมในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ในกรณีที่การดาเนินการขององค์กรตามวรรคหนึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ กาหนดตามมาตรา 14 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อาจพิจารณาให้การสนับสนุนด้านการเงิน หรือด้านอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกาหนด”

5 - 18


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ต้องมีการรับรองมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสวัสดิการสังคมแต่อย่างใด องค์กรเหล่านั้นจึงอาจดาเนินการไปโดยไม่ถูกตามหลักการจัดสวัสดิการสังคมได้ 2. ปัญหาเชิงอานาจหน้าที่ การนามาตรการทางอาญามาใช้บังคับในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ก่อให้เกิดปัญหาในเชิงการใช้ อานาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบด้านการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐหากขาด ความเข้าใจในปัญหาของกลุ่ม คนไร้ที่พึ่งอย่างแท้จริงแล้ว อาจส่งผลให้เจ้าหน้าที่ มองคนไร้ที่พึ่งเป็น ปัญหาของสังคมที่ควรจากัดหรือกาจัดออกจากสังคม โดยสร้างมาตรการบังคับให้คนไร้ที่พึ่งกลายเป็น ผู้กระทาผิด เพื่อสร้างความชอบธรรมในการควบคุมตัวและส่งไปยังสถานสงเคราะห์ได้ การให้ความ ช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งจึงควรเป็นไปโดยสมัครใจ และตรงตามความต้องการของคนไร้ที่พึ่งมากกว่าการส่ง คนไร้ที่พึ่งเข้าไปยังสถานคุ้มครองทั้งหมด ความเข้าใจและทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ปฏิบัติงานในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเป็นสิ่งสาคัญ ในการแก้ปัญหาคนไร้ที่พึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ใช้อานาจตามกฎหมาย คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จึงจาเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหาของคนไร้ที่พึ่ง คนไร้ที่พึ่ง ไม่ใช่อาชญากรที่จะถูกนาไปอยู่ในสถานที่คุ้มครองโดยความไม่สมัครใจ หากเจ้าหน้าที่ รัฐมีความเข้าใจ สภาพปั ญ หาของคนไร้ ที่ พึ่ ง แต่ ล ะกลุ่ ม ก็ จ ะสามารถมี ม าตรการแก้ ไ ขปั ญ หาคนไร้ ที่ พึ่ ง ได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของคนไร้ที่พึ่ง 3. ปัญหาเชิงความสัมพันธ์กับกฎหมายอื่น การแก้ปัญหาคนไร้ที่พึ่งไม่มีสามารถนาพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 0997 มา บังคับใช้เพียงลาพังได้ แต่จะต้องมีการบูรณาการใช้กฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้า สร้างความเป็น ธรรมและคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งการใช้กฎหมายคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอาจจะใช้กฎหมายอื่นๆ หนุนเสริมได้ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริ มการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 และ พระราชบัญญัติควบคุ มการ ขอทาน พ.ศ. 0995 3.1 พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัด สวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือการให้การช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งนั้น ถือเป็นการจัดสวัสดิการสังคม อย่างหนึ่งที่รัฐควรให้การสนับสนุนและตรวจสอบการดาเนินการ เพื่อให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือการ ให้การช่วยเหลือ คนไร้ที่พึ่งให้เป็นไปตามมาตรฐาน และยังเป็นการสนับสนุนให้ท้องถิ่นและชุมชนได้ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในรูปแบบของสังคมสวัสดิก าร ดังนั้น การกาหนดมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคม หรือหากหน่วยงานหรือองค์กรใดมีความประสงค์จะดาเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม จึงควร ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมก่อน อันจะส่งผลให้การ สนับสนุนต่างๆ ของรัฐ ที่จ ะมอบแก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กร สวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนาหรือกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง อันเป็นองค์กรที่ มีอานาจ 5 - 19


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 หน้าที่ในการจัดสวัสดิการให้กับคนไร้ที่พึ่ง จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคมตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 ด้วย 3.2 พระราชบัญญัติ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 และ พระราชบัญญัติค วบคุมการ ขอทาน พ.ศ. 2559 การส่ ง คนไร้ ที่ พึ่ ง และคนขอทานที่ เ ป็น ผู้ พิ ก าร ผู้ สู ง อายุ และเด็ ก เพื่ อ คุ้ ม ครองและพั ฒ นา คุณภาพชีวิต จะมีการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับร่วมกัน เช่น (1) กรณี ค นไร้ บ้ า นและคนขอทานเป็ น เด็ ก จะมี ก ารบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายร่ ว มกั น คื อ พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 (มาตรา 22), พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 (มาตรา 13,15) และ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 (2) กรณี ค นไร้ บ้ า นและคนขอทานเป็ น คนพิ ก าร จะมี ก ารบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายร่ ว มกั น คื อ พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 (มาตรา 22), พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 (มาตรา 13,15) และ พระราชบัญญัติส่ งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 0992 (3) กรณี ค นไร้ บ้ า นและคนขอทานเป็ น ผู้ สู ง อายุ จะมี ก ารบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายร่ ว มกั น คื อ พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 (มาตรา 22), พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 (มาตรา 13,15) และ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 2. พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 2.1 สาระสาคัญของพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 การตราพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 0995 เป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2484 ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน การขอทานมีลักษณะของการแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จากผู้ซึ่งอาศัยความพิการทาง ร่างกาย สติปัญญา ความสามารถหรือสภาพจิตใจของบุคคลอื่น ส่งผลให้เกิดความเสียหายและความ สงบเรียบร้อยของประเทศเป็นอย่างมาก จึงต้องมีการจัดระเบียบควบคุมขอทานให้ชัดเจนและเหมาะสม ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกาหนดให้บุคคลซึ่งกระทาการใดๆ ให้ผู้อื่นกระทาการขอทานตามสถานที่ต่างๆ ได้รับ โทษทางอาญา เพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลดังกล่าว ไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหา ประโยชน์ของผู้อื่น พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 0995 มีทั้งหมด 06 มาตรา โดยมีการกาหนดคา นิ ย ามค าว่ า “การคุ้ ม ครองและการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ให้ ห มายความว่ า “การช่ ว ยเหลื อ การ บาบัดรักษา การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการฝึกอาชีพให้แก่ผู้ทาการขอทาน” และยัง กาหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมการขอทาน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพั ฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์เป็นประธานโดยมีหน้าที่เสนอนโยบาย มาตรการควบคุมการขอทาน คุ้มครองและพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้ ท าการขอทาน แนวทางการป้ อ งกั น และแก้ ไขปั ญหา และดาเนิน การกั บผู้ แสวงหา

5 - 20


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 ผลประโยชน์จากการขอทานออกระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการแสดงความสามารถและ การช่วยเหลือผู้ทาการขอทาน 1) สาระสาคัญของพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 1. ห้ามมิให้บุคคลทาการขอทาน โดยการขอทานจะมีความผิดต้องโทษจาคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ แต่เมื่อสอบสวนพบว่าผู้ทาการขอทานนั้นเป็น เด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพ ที่ไม่สามารถเลี้ยงชีพอย่างอื่นได้ ให้ละ เว้นจากโทษดังกล่าว และส่งตัวเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. กาหนดให้การเล่นดนตรีและการแสดงความสามารถอื่นใดในที่สาธารณะ หรือกลุ่ม วณิพก โดยขอรับทรัพย์ตามแต่ผู้ชมหรือผู้ฟังจะสมัครใจให้ การขอเงินหรือทรัพย์สินกันฐานญาติมิตร หรือการเรี่ยไรตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไร มิให้ถือเป็นการขอทาน แต่ต้องแจ้งต่อเจ้า พนักงานท้องถิ่นในเขตพื้นที่นั้น และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกาหนด 3. ห้ามมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลบังคับให้ผู้อื่นมาเป็นขอทาน หากพบมีโทษจาคุกไม่ เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ และหากพบว่ามีการบังคับให้ต่างชาติ เด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนเจ็บป่วย และคนพิการ มาขอทานจะมีโทษจาคุกเกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ 4. กาหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมดูแลการขอทาน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานกรรมการ เพื่อบูรณาการการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การควบคุมการขอทานและคุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทาการขอทาน แนวทางการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการขอทาน การดาเนินการกับผู้แสวงหาประโยชน์จากการขอทาน เป็นต้น พระราชบัญญัติควบคุมการขอทานถือเป็นกลไกสาคัญอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหาสังคม และลดความเหลื่อมล้า และจะเป็นจุดเริ่มต้นให้การขอทานลดน้อยลงจนหมดไปจากสังคมไทยได้ในที่สุด แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องการขอทานยังรวมถึงเรื่องสวัสดิการที่ยังเข้าไม่ถึงอย่างเพียงพอและเท่า เทียม การมีกฎหมายควบคุมการขอทานฉบับใหม่ จึงไม่ได้เป็นหลั กประกันว่าจะแก้ปัญหาได้ อ ย่า ง แท้จริง หากต้องขึ้นอยู่กับผู้ใช้กฎหมายว่าจะนาไปปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด และควรมีการบังคับใช้ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องควบคู่กัน ไปด้วย เช่น พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษ ย์ พระราชบั ญ ญั ติ ก ารคุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ ง พระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองเด็ ก พระราชบั ญ ญั ติ ผู้ สู ง อายุ พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร เป็นต้น ตลอดจนการบูรณาการจากหน่วยงานทุกภาคส่วนในการ แก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง 2) ระเบียบคณะกรรมการควบคุมการขอทานที่เกี่ยวข้องกับคนไร้บ้าน 1. ระเบียบคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ว่าด้วยการจาแนกลักษณะผู้ทาการขอทาน กับผู้แสดงความสามารถ พ.ศ. 2559 การกาหนดนิยาม “การขอทานด้วยการกระทาให้ผู้อื่นเกิดความสงสาร” หมายความว่า การ กระทาเพื่อให้ ผู้ อื่นเกิดความสงสารไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้ นั้นมอบเงิน หรื อ 5 - 21


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 ทรัพย์สินแก่ตนซึ่งการกระทาดังกล่าวมิได้เป็นการแสดงความสามารถ การขอกันฉันญาติมิตร หรือเป็น การเรี่ยไรตามกฎหมายว่าด้วยการเรี่ยไร “การแสดงความสามารถ” หมายความว่า การกระทาใดที่ผู้ได้รับการจดแจ้งให้เป็นผู้แสดง ความสามารถเพื่อแสดงแก่ผู้ชมหรือผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรีหรือการแสดงอื่นใด ซึ่งทาให้ผู้ชม หรือผู้ฟังเกิดความพึงพอใจต่อการแสดงนั้น โดยส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินให้เป็นการตอบแทน การกาหนดความหมายลักษณะของการกระทาที่เป็นการขอทาน ได้แก่ (1) การขอเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อเลี้ยงชีวิต (2) การขอทานด้ ว ยการกระท าเพื่ อ ให้ ผู้ อื่ น เกิ ด ความสงสารและส่ งมอบเงิ น หรือ ทรัพย์สินให้ ซึง่ มีลักษณะ ดังนี้ (1) แสดงให้ผู้อื่นเห็นถึงความพิการ ความเจ็บป่วย มีบาดแผล หรือเป็นโรค เรื้อรัง (2) แสร้งทาเป็นคนพิการ คนเจ็บป่วย มีบาดแผล หรือเป็นโรคเรื้อรัง (3) นาเด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา คนพิการ คนเจ็บป่วย มีบาดแผล หรือเป็น โรคเรื้อรังมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อทาให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินให้ (4) การใช้สัตว์ไม่ว่าจะเป็นปกติ พิการ เจ็บป่วย มีบาดแผล หรือเป็นโรค เรื้อรัง เพื่อทาให้ผู้อื่นเกิดความสงสาร โดยมีเจตนาใช้สัตว์นั้นเป็นเครื่องมือในการขอทาน การแสดงความสามารถของผู้แสดงความสามารถ ต้องมีลักษณะ ดังนี้ (1) การแสดงดนตรี การแสดงละคร การแสดงทางนาฏศิลป์ การแสดงงาน ศิลปะอื่นใดการแสดงกายกรรม มายากล กีฬา หรือการนาสัตว์มาแสดงความสามารถ (2) การร้องเพลงไม่ว่าจะมีหรือไม่มีดนตรีประกอบ (3) การแต่งกายหรือตกแต่งร่างกายอันเป็นศิลปะเพื่อแสดงแก่ผู้ชม 2. ระเบียบคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ว่าด้วยการแจ้งของผู้ประสงค์จะแสดง ความสามารถต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พ.ศ. 2559 คณะกรรมการควบคุมการขอทาน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 9 (4) และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 กาหนดให้ผู้มีบัตรประจาตัวผู้แสดงความสามารถ ที่ประสงค์จะแสดงความสามารถในพื้นที่ใด ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตพื้นที่นั้นด้วยตนเองหรือ วิธีการอื่นใด และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตพื้นที่ได้รับแจ้งแล้ว ให้ออกใบรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน โดยเร็ว ทั้งนี้ การแจ้งเพื่อแสดงความสามารถ ผู้มีบัตรประจาตัวผู้แสดงความสามารถอาจมีหนังสือ แต่งตั้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะดาเนินการแทนตนได้ ในกรณีที่ผู้แสดงความสามารถ ประสงค์จะแสดงความสามารถเป็นหมู่คณะ สามารถดาเนินการแต่งตั้ งบุคคลตามวรรคหนึ่งดาเนินการ แทนตนได้ 5 - 22


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 3. ระเบียบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ว่าด้วยการเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนา คุณภาพชีวิตในสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต พ.ศ. 2560 พระราชบั ญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 มาตรา 27 ได้กาหนดให้ รัฐ มนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอานาจประกาศจัดตั้งสถานคุ้มครองและพัฒนา คุณภาพชีวิต โดยได้ประกาศให้สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของกรมพัฒนา สังคมและสวัสดิการ เป็นสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้อธิบดีกาหนดระเบียบการเข้ารับ การคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงมีการกาหนดนิยาม การคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนี้ “การคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ” หมายความว่า การช่วยเหลือ การบาบัดรักษาการ ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการฝึกอาชีพให้แก่ผู้ทาการขอทาน “สถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ” หมายความว่า สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศจัดตั้งไว้ สาหรับให้การคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 “ผู้รับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ” หมายความว่าผู้ทาการขอทานที่ยอมปฏิบัติตาม การดาเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายเฉพาะหรือยอมเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาใน สถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ตามความในมาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ทั้ ง นี้ ผู้ ที่ จ ะเข้ า รั บ การคุ้ ม ครองและพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ตามระเบี ย บนี้ ต้ อ งมี คุ ณ สมบั ติ ดังต่อไปนี้ 1. เป็นผู้กระทาการขอทาน มีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทานพ.ศ. 2559มาตรา 13 และสมัครใจยอมเข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต 2. เป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป 3. เป็นผู้ประสบความเดือดร้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 1) เป็นบุคคลซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพได้ 2) ไม่มีญาติอุปการะเลี้ยงดู 3) ไม่มีทางเลี้ยงชีพอย่างอื่น 4) อยู่ในสภาวะยากลาบาก การพ้นสภาพผู้รับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต อาจจะเกิดขึ้นโดยสาเหตุดังต่อไปนี้ 1) ผู้รับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้รับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพ ชีวิต ตามแผนการคุ้ม ครองและพัฒ นาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ให้ อยู่ในดุล พินิจ ของผู้ อ านวยการสถาน คุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต

5 - 23


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 2) หลบหนี อ อกจากสถานคุ้ ม ครองและพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต หรื อ ออกจากสถาน คุ้มครองและพัฒ นาคุ ณภาพชีวิต โดยไม่ได้รับอนุญ าตจากผู้ อานวยการสถานคุ้ มครองและพั ฒ นา คุณภาพชีวิต 3) บิดา มารดา หรือญาติพี่น้องขอรับตัว โดยที่ผู้อานวยการสถานคุ้มครองและพัฒนา คุณภาพชีวิตพิจารณาเห็น ควรคืนสู่ครอบครัว โดยต้องทาบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการคุ้มครองและ พัฒนาคุณภาพชีวิต 4) ถึงแก่ความตาย 5) ถู ก ด าเนิ น คดี ท างอาญาและส่ ว นราชการที่ เ กี่ ย วข้ อ งขอรั บ ตั ว ไปควบคุ ม เพื่ อ ดาเนินการตามกฎหมาย 2.2 สภาพปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติ ควบคุมขอทาน พ.ศ. 2559 1. ปัญหาเชิงโครงสร้าง กฎหมายควบคุมการขอทานฉบับใหม่ได้บัญญัติเพิ่มเติมในส่วนของ “ผู้ที่แสวงหาประโยชน์จาก ขอทาน” ไว้ โดยกาหนดบทลงโทษทั้งการจาคุกและปรับต่อผู้ที่ทาการ ใช้ จ้าง วาน สนับสนุน ยุยง ส่งเสริม รวมไปถึงวิธีการอื่นๆ ที่ทาให้ผู้อื่นทาการขอทาน9 อีกทั้งยังได้กาหนดขั้นตอนและวิธีการในการ ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ เพื่อกระทาการแสดงความสามารถดังกล่าวไว้ แต่ไม่ได้บัญญัติถึงบทลงโทษในกรณี ที่มีการฝ่าฝืนไว้ เพียงแต่มีข้อกาหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตพื้นที่ มีอานาจ สั่งให้หยุดหรือยกเลิกการกระทาดังกล่าวไว้เท่านั้น10 การบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 0995 อาจเป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้ ประกอบธุรกิจขอทาน หรือค้ามนุษย์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการกระทา ไปเป็นการบังคับให้ทาการแสดง หรือเรี่ยไร เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทาที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ประกอบกับปัจจัยบางประการที่ ทาให้บุคคลไร้บ้านนั้นยินยอมกระทาตาม จึงทาให้กฎหมายควบคุมการขอทาน ไม่สามารถแก้ไขปัญหา ขบวนการธุรกิจขอทานและการค้ามนุษย์ได้อย่างแท้จริง พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน ได้กาหนด ‘ห้ามไม่ให้บุคคลใดทาการขอทาน’ โดยมีการ ระบุนิยามของคาว่า “ขอทาน” ไว้ชัดเจนว่า “การขอทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยวาจา ข้อความ หรือแสดง กิริยาอาการใด ด้วยวิธีการใดโดยไม่ได้ตอบแทนด้วยการกระทา หรือทรัพย์สินใด รวมทั้งการกระทา เพื่อให้ ผู้ อื่น เกิด ความสงสารและมอบทรั พย์สิ น ให้ โดยไม่มีการตอบแทนด้ว ยการท างานหรื อ ด้ ว ย ทรัพย์สิน ถือเป็นการขอทานทั้งสิ้น ”11 อีกทั้งยังมีการกาหนดบทลงโทษสาหรับผู้ที่ทาการขอทาน โดย

9

พระราชบัญญัติควบคุมขอทาน พ.ศ. 0995 มาตรา 00 พระราชบัญญัติควบคุมขอทาน พ.ศ. 0995 มาตรา 10 11 พระราชบัญญัติควบคุมขอทาน พ.ศ. 0995 มาตรา 13 “ห้ามบุคคลใดทาการขอทาน การกระทาอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการขอทาน 10

5 - 24


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือจาคุก 1 เดือน หรือทั้งจาทั้งปรับ 12 และสาหรับผู้แสวงหาประโยชน์ จากการขอทาน จ าคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ 13 อีกทั้งยั งมี บทลงโทษสาหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทาผิด โดยจาคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ บทลงโทษสาหรับผู้ฝ่าฝืนกระทาการขอทาน เป็นมาตรการที่ควบคุมไม่ให้มีการดาเนินการ ขอทาน แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ขอทานทุกคนที่จะมีกาลังจ่ายเงินค่าปรับ หากขอทานคนใดต้องเข้าสู่ กระบวนการตรวจสอบ และเข้าข่ายเป็นบุคคลยากลาบาก ซึ่งได้แก่คนไทยพิการ ชรา หรือไร้อาชีพ ฯลฯ ก็มีสิทธิได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 1614 แต่จะถูกส่งไปเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต 15 ซึ่งกรณีที่ผู้ทาการขอทานยอมเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ในสถานคุ้มครองและพัฒนา คุณภาพชีวิตแล้ว ต่อมาผู้ทาการขอทานผู้นั้นไม่ยอมรับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตและได้ ออกไปจากสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยไม่ได้รับอนุญาตต้องได้รับโทษ กล่าวคือ หาก ขอทานถูกตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นผู้กระทาการขอทานและให้ต้องเข้าการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตในสถานคุ้มครองแล้ ว จะต้องเข้ารับการคุ้มครองฯ อย่างหลี กเลี่ ยงไม่ได้ เป็นมาตรการบังคั บ ผู้กระทาการขอทาน ซึ่งการกาหนดบังคับผู้กระทาการขอทานในลักษณะดังกล่าวอาจจะเป็นการทา ละเมิดต่อสิทธิส่วนตัว และสิทธิเสรีภาพในการตัดสินใจของผู้กระทาการขอทานได้ (1) การขอเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการขอด้วยวาจา ข้อความหรือการแสดง กิริยาอาการใด (2) การกระทาด้วยวิธีการใดให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินให้การแสดงความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรีหรือการแสดงอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินจากผู้ชมหรือผู้ฟัง การขอเงินหรือ ทรัพย์สินกันฐานญาติมิตร หรือการเรี่ยไรตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไร ไม่ถือว่าเป็นการขอทานตาม พระราชบัญญัตินี้” 12 พระราชบัญญัติควบคุมขอทาน พ.ศ. 0995 มาตรา 19 “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 13 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจาทั้งปรับ” 13 พระราชบัญญัติควบคุมขอทาน พ.ศ. 0995 มาตรา 22 “ผู้ใดแสวงหาประโยชน์จากผู้ทาการขอทานโดยการใช้ จ้าง วาน สนับสนุน ยุยงส่งเสริม หรือกระทาด้วย วิธีการอื่นใดให้ผู้อื่นทาการขอทาน ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ” 14 พระราชบัญญัติควบคุมขอทาน พ.ศ. 0995 มาตรา 16 เมื่อปรากฏจากการคัดกรองว่าผู้ทาการขอทานไม่ใช่บุคคลตามมาตรา 15 แต่เป็นบุคคลซึ่งไม่สามารถ ประกอบอาชีพได้ ไม่มีญาติมิตรอุปการะเลี้ยงดูและไม่มีทางเลี้ยงชีพอย่างอื่น หรืออยู่ในสภาวะยากลาบาก ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่จัดให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้ การเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกาหนด 15 การคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต มีกระบวนการดาเนินงาน ดังนี้ 1. คัดกรองผู้ทาการขอทานที่เป็น เด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุคนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพ ไปรับการ คุ้มครองฯตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่ถ้ามีกรณีจาเป็น อาจไม่ส่งไปรับการคุ้มครองตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องใจให้อยู่รับ การคุ้มครองตามกฎหมายนี้ 2. กรณีผู้ทาการขอทานไม่ใช่ บุคคลตามข้อ 1 แต่เป็นผู้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ไม่มีญาติอุปการะไม่มี ทางเลี้ยงชีพอื่น หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลาบากก็ให้ได้รับการคุ้มครองฯตามกฎหมายนี้ 3. ถ้าผู้ทาการขอทานปฏิบัติตามเงื่อนไขในการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่กาหนดก็ให้พ้นผิด

5 - 25


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 ปัญหาเชิงโครงสร้างอีกประการหนึ่ง คือ กรณีความไม่ชัดเจนของการขึ้นทะเบียนนักแสดงหรือ ผู้แสดงความสามารถ ซึง่ ต้องไปขึ้นทะเบียนที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ศาลากลาง หรือ สานักงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) ในแต่ละจังหวัด เพื่อตรวจสอบและประกาศพื้นที่ในการ แสดงความสามารถ แต่ ใ นทางปฏิ บั ติ ยั ง ไม่ มี ค วามแน่ ชั ด ในเรื่ อ งสถานที่ ขึ้ น ทะเบี ย น คุ ณ สมบั ติ ระยะเวลาในการเล่น ฯลฯ หรือหากขึ้นทะเบียนแล้ว สามารถแสดงได้กี่ครั้งภายในระยะเวลาเท่าไร รวมทั้งยังไม่มีการประกาศเขตพื้นที่ที่สามารถทาการแสดงได้ไว้อย่างชัดเจน 2. ปัญหาเชิงอานาจหน้าที่ แม้จะมีการบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมขอทาน พ.ศ. 0995 ที่มีบทลงโทษแก่ ผู้ แสวงหาประโยชน์จากขอทาน เพื่อหยุดยั้งต้นตอของการกระทาที่ นาไปสู่การขอทาน แต่ผู้บังคับใช้ กฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ยังคงนากฎหมายไปบังคับใช้เพียงแค่ลงโทษกลุ่มคนขอทานเท่านั้น ซึ่งการ บังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ พบว่า การทางานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กับการควบคุมการขอทาน ไม่สามารถทางานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่มี อานาจตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน เป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึง่ มีพียงหน้าที่รับผิดชอบแต่ ไม่มีอานาจในการตัดสินใจจับกุมหรือให้ความช่วยเหลือ เช่น หากต้องการที่ จะจับกุมนายหน้าหรือเข้าช่วยเหลือเด็ กขอทาน ก็ยังต้องมีเจ้าหน้าที่ตารวจประกบไปด้วยเสมอ เพื่อไป ใช้อานาจของเจ้าหน้าที่ตารวจซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอานาจตามกฎหมาย อีกทั้ง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยัง ขาดความเข้ า ใจ และยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ การปรั บ ทั ศ นคติ ที่ มี ต่ อ กลุ่ ม คนประเภทต่ า งๆ เช่ น ผู้ ใ ช้ ชี วิ ต ในที่ สาธารณะ คนไร้ที่พึ่ง โดยเจ้าหน้าที่มองว่าบุคคลกลุ่มต่างๆ ทุกคนเป็นขอทานทั้งหมด16 นอกจากนี้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน ยังกาหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งตัวผู้ที่ทาการ ขอทานที่เป็นเด็ก ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพ ผู้เจ็บป่วยซึ่งไม่สามารถประกอบ อาชีพได้ คนไม่มีญาติมิตรอุปการะเลี้ยงดูและไม่มีการเลี้ยงชีพอย่างอื่น หรือผู้ซึ่งอยู่ในสภาวะยากลาบาก ไปรับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์และให้พ้นจากความผิด แต่สภาพความเป็นจริงเจ้าหน้าที่จะใช้ อานาจหน้าที่ส่งผู้กระทาการขอทานไปยังสถานสงเคราะห์เพื่อให้สถานสงเคราะห์ดาเนินการต่อไป หาก ผู้กระทาการขอทานไม่ประสงค์จะเข้าสถานสงเคราะห์ ก็อาจถูกดาเนินคดีและมีบทลงโทษตามกฎหมาย กาหนด อย่างไรก็ตาม มีความกังวลอย่างยิ่งที่พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน จะถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการขูดรีดและขมขู่แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทาการขอทาน เช่น การดาเนินการใดๆ ก็ตามเพื่อ ไม่ให้เข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต

16

นลัทพร ไกรฤกษ์. (2559, 11 เมษายน). รายงาน: ขอทานกาลังจะหายไปจากริมถนน? ด้วย พ.ร.บ.ควบคุม ขอทานฉบับใหม่. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://prachatai.com/journal/2016/04/65200

5 - 26


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 95-22100-29 3. ปัญหาเชิงความสัมพันธ์กับกฎหมายอื่น การดาเนินการทางกฎหมายกับขบวนการขอทาน จะมีการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายโดยการ นาบทบัญญัติพระราชบัญญัติควบคุมขอทาน พ.ศ. 0995 มาพิจารณาร่วมกับ พระราชบัญญัติ ป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 0991 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ โดยกาหนดให้มีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้พบเห็นเหตุการค้ามนุษย์แจ้งข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ของ รัฐ และกาหนดมาตรการเพิ่มอานาจทางปกครองให้แก่เจ้าหน้าที่ รวมทั้งปรับปรุ งบทกาหนดโทษที่ เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น17 ทั้งนี้ การบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมขอทาน เพื่อการแก้ไขปัญหาขอทานจะต้องมีการนา กฎหมายอื่ น ๆ มาบั ง คั บ ใช้ ค วบคู่ กั น ด้ ว ย เช่ น พระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองเด็ ก พ.ศ. 2546 และ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เนื่องจากผู้กระทาการขอทานไม่ได้มีเพียงผู้ใหญ่เท่านั้น ยังมีการ บังคับให้เด็ก หรือผู้สูงอายุขอทานอีกด้วย การแก้ปัญหาขอทานจึงต้องมีการบูรณาการใช้กฎหมายหลาย ฉบับ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกันในการแก้ปัญหา การใช้พระราชบัญญัติควบคุมขอทานเพียงอย่างเดียวย่อมไม่ สามารถแก้ปัญหาขอทานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพได้

17

หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์. ประกาศแล้ว พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โทษหนักผู้ฝ่าฝืน. [ข้อมูล ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1032028867

5 - 27


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 บทสรุป คนไร้ บ้ านเป็ น เสี ย งที่ ไม่ถู ก นั บ การใช้พ ลั งในลั ก ษณะกลุ่ มก้ อ นทางการเมื อ งเพื่ อ เรีย กร้อ ง ประโยชน์จากผู้มีอานาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ 1) มีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่งไม่ชัดเจน ในบางกรณีอาจมีภูมิลาเนาตามเอกสารราชการแต่เป็ นพื้นที่ อื่น ต่างจังหวัด มิใช่ประชากรในทะเบียนราษฎร์ของพื้นที่ซึ่งตนใช้ชีวิตอยู่ในแต่ละวัน 2) ไม่มีเอกสารยืนยันสถานะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการสูญหาย ละทิ้ง หรือเป็นผู้ตกสารวจในการทาง ทะเบียนราษฎร์ ไปจนถึงการเป็นคนสัญชาติอื่นหรือไม่อาจยืนยันได้เลยว่ามีสัญชาติใด อย่ างไรก็ดี คนไร้บ้ าน คนเร่ร่อน คนอยู่ในพื้ น ที่ส าธารณะเหล่ านี้ ล้ ว นเป็ น “บุ คคล” ตาม กฎหมายต้องได้รับการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานไม่แตกต่างจากบุคคลอื่น เพียงแต่สิทธิทางการเมืองตาม สถานะของสัญชาติอาจแตกต่างกันไปบ้าง กล่าวคือ คนที่ไม่มีสัญชาติไทยอาจไม่ได้รับการประกัน สิทธิ ทางการเมือง เช่น การลงรับสมัครเลือกตั้ง การลงคะคะแนนเสียง หรือการมีส่วนร่ วมทางการเมือง โดยตรงในบางประเภท แต่สิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐานอื่นๆ ยังต้องได้รับการประกันอยู่ แม้จะเป็น “สิทธิ ของคนเดียว” หรือ “สิทธิของคนส่วนน้อย” ไม่ใช่กลุ่มคะแนนเสียงทางการเมืองที่รัฐต้องการก็ตาม เช่น สิทธิเด็ดขาดในชีวิต เนื้อตัวร่างกาย ปลอดการทรมาน เสรีภาพในทางความคิดความเชื่อลัทธิและศาสนา สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในเกียรติยศชื่อเสียงความเป็นส่วนตัว เพศ และครอบครัว สิทธิอีกกลุ่มที่อาจมีข้อสนเท่ห์และอาจถกเถียงกันต่อไปได้ คือ สิ ทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ซึ่งเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่และเวลาของสถานการณ์ที่คนไร้บ้าน เผชิ ญ อยู่ และมี ส่ ว นกาหนดนิ ย ามความหมายให้ กั บ “ชีวิต ของคนไร้บ้ าน” จะได้ ก ล่ าวถึงต่อ ไปใน ภายหลัง เพราะยังมีรายละเอีย ดที่ ต้องพิจารณาอย่างเชื่อมโยงกั บเงื่อนไขส าคัญ อีกประการนั่น คือ ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อส่งเสริมสิทธิเหล่านี้ ในส่วนแรกจะวิเคราะห์ถึง สิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐาน ที่รัฐจาเป็นต้องให้หลักประกันกับคนไร้บ้าน โดยปราศจากการเลือกประติบัติไม่ว่าจะเป็นสัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความแตกต่างทางลัทธิความเชื่อและการเมืองใดๆทั้งสิ้น สิทธิในกลุ่มนี้ถือเป็นสิทธิติดตัวของบุคคลมา ตั้งแต่กาเนิดรัฐมิอาจพรากไปได้ เพียงแต่รัฐต้องไม่ละเมิดเพิกถอน และเพิ่มหลักประกันให้ เช่น การมี กฎหมาย ระเบียบ และนโยบายที่รับรองสิทธิ การมีโครงการและมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิ การ ฝึกอบรมและจัดสรรบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเมื่อต้องจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคนไร้บ้าน เป็นต้น สภาพปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับคนไร้บ้านนั้นเชื่อมโยงกับสถานภาพที่สุ่มเสี่ยงด้อยอานาจของตัว คนไร้บ้านรายบุคคล ไปจนถึงกลุ่มคนไร้บ้านที่อยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ ส่วนเรื่องขบวนการขับเคลื่อน ประเด็นสาธารณะของกลุ่มคนไร้บ้าน จะวิพากษ์ในภายหลังพร้อมกับเรื่องสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม สถานะของคนไร้บ้านนั้นเสี่ยงต่อการถูก “เหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ” และเมื่อ ประสบภัยต้องการเรียกร้องสิทธิช่วยเหลือเยียวยา อาจไม่ได้รับการตอบสนองเพราะรัฐหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องมองด้วยสายตาที่ “เลือกประติบัต”ิ

6-1


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 กลุ่มปัญหาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้โดยตรง คือ เรื่องการเชื่อมโยงคนไร้บ้านเข้า กับองค์กรอาชญากรรม “แบบเหมารวม” การไม่อาจแยกแยะได้ว่ากลุ่มคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน คนในพื้นที่ สาธารณะ กลุ่มใด คนไหนเป็ น อาชญากร เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอาชญากรรม หรือเป็นเหยื่อของ อาชญากรรม ย่อมส่งผลกระทบร้ายแรงต่อตัวคนไร้บ้าน เนื่องจากการไม่รับการปกป้องคุ้มครอง และ เสี่ยงต่อการถูกจดจ้องหรือจับกุมเป็นอาชญากรรม ย่อมส่งผลต่อความไว้วางใจของคนไร้บ้า นต่อการ สร้างความสัมพันธ์กับรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน การสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับคนไร้บ้านที่มีลักษณะ บังคับเก็บ ปราศจากความยินยอมพร้อมใจจากเจ้าตัว นอกจากจะเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวและ ข้อมูลส่วนบุ คคลแล้ว ยังเป็ นการทาลายความไว้วางใจขั้นพื้นฐานไปเสี ยด้วย “ความสมัครใจ” และ “ความรักษาความลับ” จึงต้องเป็นหลักการขั้นต้นของการทางานด้านข้อมูลและการข่าว ความอ่อนด้อยของประสิทธิภาพในการหาข่าว และการจัดเก็บข้อมูล และการปกป้องมิให้มีการ นาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวคนไร้บ้านไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์ หรือนาไปสู่ก ารละเมิดสิทธิ ย่อมทาให้คนไร้ บ้านและกลุ่มไม่ไว้วางใจรัฐ ไม่สามารถประสานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อราชการ และการวางแผนแก้ไข ปัญหาอย่างเป็นระบบ ถือเป็นรากของปัญหาที่ต้องการทิศทางและกรอบที่แน่ชัดในเบื้องต้น เพื่อป้องกัน ผลสะเทือนที่ จะมีต่อไปในอนาคต และกระทบต่อกระบวนการขั บ เคลื่อนการแก้ไขปัญ หาทั้งระบบ เพราะเป็นที่รับรู้ว่าการเข้าถึงข้อมูลของคนไร้บ้านต้องวางอยู่บนพื้นฐานของ “ความไว้ใจ” หาไม่แล้วก็ จะเจอแต่ข่าวลวง ข้อมูลเท็จ ปัญหาที่หนักหน่วงยิ่งกว่า คือ การใช้คนไร้บ้านเป็นอาชญากรสมมติแต่ต้องได้รับโทษทัณฑ์จริง นาไปสู่การเสียประวัติต่อเนื่ อง และตกอยู่ใต้อาณัติของรัฐและผู้มีอานาจ การสร้างหลักประกันสิทธิใน กระบวนการยุติธรรม การจัดหาทนายที่ปรึกษาเพื่อต่อสู้คดีอาญา หรือการลด ละ เลิกนโยบายการ จับกุมคนไร้บ้านเพื่อเพิ่มยอดประสิทธิผลการทางานของภาครัฐต้องยุติ เนื่องจากขัดกับสิทธิในการปลอด จากความรับผิ ดทางอาญาหากมิได้กระทาการอย่างสิ้นเชิง เช่นเดียวกับ การบีบให้คนไร้บ้านเป็นสาย รายงานข่ าว หรือ ซั ดทอดบุ ค คลอื่ น ในฐานะพยาน ก็ ต้อ งได้ รับ การทบทวนทั้ งในแง่ก ารใช้ ส ายข่ าว ประเภทนี้ และการรับฟังพยานเหล่านี้ในกระบวนการยุติธรรม หากรัฐสามารถแยกแยะกลุ่มบุคคลได้ชัดเจนแล้ว จะนาไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องการใช้ ประโยชน์จากคนไร้บ้านได้ดีขึ้น อาทิ องค์กรอาชญากรรมที่กักขังหน่วงเหนี่ยวทาร้ายคนเพื่อบังคับให้ เป็นขอทาน การบังคับคนไร้บ้านให้กลายไปเป็นผู้ใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมเสี่ยงภัยอันตราย และ การบังคับขืนใจให้ขายบริการทางเพศ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่รัฐไทยได้ให้ สัตยาบั น และประกาศต่อประชาคนโลกว่าจะต่ อต้านการค้ามนุษ ย์อย่างเข้มข้น ดังนั้นการปรับ การ ทางานด้านการข่าว และการประกันสิทธิในกระบวนการยุติธรรม จะทาให้ช่วยปกป้องเหยื่อ และนา ผู้กระทาความผิด/องค์กรอาชญากรรมมาลงทาได้ ด้วยพยานหลักฐานที่มีการประสานข่าวจากกลุ่มคนไร้ บ้านที่ไว้วางใจรัฐมากขึ้น เมื่อมองปัญหาคนไร้บ้านลงมาในระดับชีวิตประจาวันทั่วไป จะพบว่าปัญหาที่คนไร้บ้านเผชิญ ส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในความขัดแย้งเล็กๆน้อยๆ สืบเนื่องจากการอยู่ในพื้นที่สาธารณะที่อาจกระทบกระทั่ง กั บ ผู้ อื่ น ที่ อ ยู่ ในพื้ น ที่ ใกล้ เคี ย งกั น หรื อ การประกอบอาชี พ เล็ ก ๆน้ อ ยๆที่ อ าจสร้ า งผลกระทบต่ อ ผู้ป ระกอบการรายอื่นๆ เมื่อเกิดปั ญหา “คนไร้บ้าน” มักตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบเพราะอคติบาง ประการจากสายตาของสังคมหรือที่อันตรายไปกว่านั้น คือ การเลือกประติบัติจากเจ้ าพนักงานที่ต้อง 6-2


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ผดุงความยุติธรรมบนหลักความเสมอภาคต่อบุคคลแม้จะมีความแตกต่างหลากหลายไป การชี้ขาดระงับ ข้อพิพาทเบื้องต้น หรือทาสานวนส่งฟ้อง อาจทาให้คนไร้บ้านต้องตกไปอยู่ฝั่งฝ่าย “จาเลย” ที่มีความ ลาบากในชีวิตประจาวันและสุ่มเสี่ยงที่จะสูญเสียเสรีภาพไปเนื่องจากเข้าไม่ถึงหลักประกันเพื่อยื่นขอ ปล่ อยตัวชั่วคราว(การประกัน ตัว) เพราะขาดทั้งทุนทางเศรษฐกิจ(ทรัพย์ประกัน) และทุนทางสั งคม (บุคคลค้าประกัน) การจัดกระบวนการช่วยเหลือเมื่อต้องเผชิญกับความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษา กฎหมายเบื้องต้นของรัฐ การเข้าถึงกองทุนหลักทรัพย์ข องจาเลยในคดีอาญา หรือการได้ใช้ประโยชน์ จากทนายอาสาที่มีคุณภาพ ย่อมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องประกันให้ นอกจากนี้การเร่งรัดติดตามตัวผู้ละเมิดสิทธิคนไร้บ้านอย่างร้ายแรง เช่น ฆาตกรรม ทาร้าย อุ้ม หาย ย่อมเป็นการสร้างความมั่นคงในการดารงชีวิตให้กับคนทั้งสังคมมิใช่แค่กลุ่มคนไร้บ้านเท่านั้น และ เนื่ องจากคนไร้ บ้ านอยู่ ในภาวะเสี่ ยงต่อการถูกคุกคามสู งเพราะอยู่ในพื้ นที่ส าธารณะ รัฐ จึงอาจต้อง ผลักดันมาตรการส่งเสริมและเฝ้าระวังภัยให้กับคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะมากขึ้นหากไม่สามารถ จั ดสวัส ดิ การที่ อยู่ อ าศั ย พั ก หลบภั ย ที่ เพี ย งพอให้ กั บ ประชาชน นอกจากนี้ การเข้ า ถึ งกระบวนการ ยุติ ธ รรมของคนไร้ ในกรณี อื่ น ๆ เช่น เป็ นผู้ เสี ยหายจากคดี เกี่ยวทรัพ ย์ ถู กลั กขโมย ยักยอก ข่ม ขู่ กรรโชก ก็พึงได้รับการตอบสนองนาไปสู่การเยียวยาได้ตามกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น กล่าวอย่างถึงที่สุดเมื่อคนไร้บ้านประสบปัญหา หรือต้องการจะเรียกร้องสิทธิอันใดก็ตาม คู่กรณี หรือหน่วยรัฐมักจะถามย้อนไปถึง “สถานะบุคคล” เสมอ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับคนไร้บ้าน ท่ามกลางสถานการณ์ของคนย้ายถิ่นและข้ามพรมแดนอย่างมโหฬารในปัจจุบัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ จะต้องทาให้ปมเงื่อนไขแรกสุดถูกแก้ไ ปก่อน เพื่อนนาไปสู่การยืนอย่างมั่นใจของตัวคนไร้บ้านเอง คน รอบข้างที่สัมพันธ์กับกลุ่มคนไร้บ้าน และหน่วยงานรัฐผู้รับผิดชอบก็จะพร้อมแก้ปัญหาในประเด็นเฉพาะ ต่างๆได้อย่างหนักแน่นขึ้น ปัญหาปลีกย่อยที่อาจต้องใส่ใจในรายละเอียดมากขึ้น อาทิ ปัญหาการแจ้ง เกิดของบุตรหลานคนไร้บ้านที่ไม่มีภูมิลาเนาชัด เจน หรือไม่อาจพิสูจน์สัญชาติได้ ปัญหาการเสียสถานะ บุคคลจากการสวมสิทธิทางทะเบียนราษฎร์ รวมถึงการบ่งชี้เพื่อให้สิทธิเพิ่มเติมแก่คนไร้บ้านที่เป็นผู้ พิการ ยิ่งไปกว่านั้นการสร้างมาตรการเฝ้าระวังภัยคุกคามต่อคนเร่ร่อนในกลุ่ มเสี่ยงภัยสูง เช่น เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ก็จาต้องวางมาตรการรองรับปัญหาที่เคยถูกหลบ ซ่อนบิดบังเอาไว้ ด้วยเหตุที่คนไร้บ้าน ถูกมองข้าม หรือถูกรัฐที่ต้องการพัฒนาเมืองไปสู่สังคมศิวิไลซ์ไร้ผู้ ด้อยพัฒ นา แล้ วพยายามซุกซ่อนปั ญ หาไว้ไม่ยอมแก้ ไข เพราะต้องการแสดงออกให้ คนในสั งคมอื่น มองเห็นแต่ด้านที่สวยงาม อย่างไรก็ตาม คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยาม ศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับ สถานการณ์ยุ่งยากต่างๆเพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่าต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึง การเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้าน ก็ด้วยเหตุที่คนไร้บ้านนั้นเป็นยิ่งกว่าคะแนนเสียงที่ไม่ ถูกนับ เพราะในสายตาของผู้มีอานาจหรือหน่วยงานจาไม่น้อยจัดให้เป็น กลุ่มที่ไม่มีปากมีเ สียง หรือใน บางนโยบายกลับจาเพาะให้กลุ่มคนไร้บ้านกลายเป็นส่วนเกิน มะเร็ง หรือสิ่งรกหูรกตา โดยเฉพาะรัฐที่ กาลังพยายามเปลี่ยนสภาพเมือง ปรับพื้นที่สาธารณะให้กลายเป็นทุนทางสายและความงามเพื่อดึงดูด เม็ดเงินเข้ามาผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว 6-3


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 สภาพปั ญ หานี้ เชื่อมโยงกับมิติ การวิเคราะห์ และแก้ไขปัญ หาสิทธิ ทางเศรษฐกิจ สั งคม และ วัฒนธรรม ที่ต้องมองการประชันขันแข่งของกลุ่มคนหลากหลายในสังคม ในการแย่งชิงทรัพยากรมา จัดสรรปั น ส่ วนให้ เป็ น ประโยชน์ กับ กลุ่ มต่างๆ อย่างเสมอภาค ไม่กีดกันกลุ่ มใดออกจากระบวนการ ตัดสินใจเพื่อกาหนดอนาคตของสังคมนั้นๆ เพื่อป้องกันการเข้าไม่ถึงทรัพยากรจนไม่อาจพัฒนาตนเองได้ และติดกับดักความยากจนด้อยพัฒนาอย่างถาวรจากรุ่นตนไปสู่รุ่นถัดไป ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ กาลังพัฒนาทั่วโลก และถูกเร่งให้ทวีคูณความรุนแรงด้วยแผนพัฒนาพื้นที่เมืองระดับโลก ให้ตอบสนอง การผลิตในแนวทางของเสรีนิยมใหม่ และทาให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลายเป็นสินค้าและบริการเพื่อขายได้ใน ตลาดโลก โดยอาจละทิ้งคุณค่าต่างๆในสังคม เช่น สิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคน กลุ่มอื่น เมื่อด้านหนึ่ งของรัฐ ต้องผลั กดั นให้ เมือ งเป็น ฐานของการผลิ ตในระบบทุ นนิ ยม ก็ต้ องสร้าง หลักประกันไปพร้อมกันว่าประชากรของเมืองนั้นจะยังคงทางานผลิตสินค้าและบริการต่อไปได้ไม่หยุดยั้ง ดั่งสายพานการผลิ ตเครื่องยนต์ของโรงงาน ในอีกด้านรัฐจึงมีห น้าที่ ดูดซับรายได้ที่เกิดขึ้นให้ มาเป็ น งบประมาณ เพื่อจัดสรรสวัสดิการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพลเมืองในรัฐ สร้างเสริมหลักประกันทาง สังคมและชีวิตให้กับประชาชนของเมืองนั้นๆ คาถามที่สาคัญต่อกลุ่มคนไร้บ้าน คือ ตาแหน่งแห่งที่ของคนไร้บ้านในแผนพัฒนาเมือง และสิทธิ ของคนไร้บ้านในการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ในมิติของการวางแผนพัฒนาเมืองท่ามกลางกระแสพัฒนาแบบเสรีนิยมโลกาภิวัฒน์ เมื่อเมือง ต้องเน้นไปที่การพัฒนาให้มีความสวยงามตระการตา รองรับความคาดหวังของนักท่องเที่ยว โดยรัฐและ กลุ่มทุนท่องเที่ยวและพาณิชย์มักมีแนวโน้มที่จะมองว่า คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน คนที่อาศัยในที่สาธารณะ โดยปราศจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เป็นส่วนเกินไม่จาเป็นต้องให้การรับรองการมีที่ยื นอยู่ในพื้นที่ หรือ ต้ อ งย้ ายคนเหล่ านี้ อ อกไปอยู่ น อกเมื อ ง หรื อ จ ากั ด พื้ น ที่ ไว้ในบริเวณซึ่ งผู้ กุ ม อ านาจในการก าหนด แผนพัฒนาวางไว้ โดยปราศจาการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ “กาหนดอนาคตตนเอง” ของ “กลุ่มคนไร้ บ้าน” การกาหนดนิยาม “ความสะอาด ความสวยงาม” ของเมืองท่องเที่ยวที่ไม่มีคนไร้บ้านอยู่ในวง ถกเถียงนั้ นย่ อมจากัดพื้น ที่ และขอบเขตการเข้าไปเบียดแทรกอาศัยอยู่ใ นพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นกลยุทธ์ที่ภาครัฐและเอกชนที่ต้องการผูกขาดอานาจการตัดสินใจ จึงอยู่ในลักษณะกีดกันคนไร้บ้าน โดยอาศัย “ความไม่ชั ดเจนของสถานะบุคคล” อีกเช่นเคย ซึ่งอาจเป็นคาตอบของคาถามพื้นฐานว่า ทาไม การแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของคนไร้บ้าน จึงเป็นเรื่องยากและต้องใช้ระยะเวลายาวนาน กว่า จะได้สถานะทางทะเบียนราษฎร์ในแต่ละกรณี นอกจากนี้ข้อจากัดจากระบบกฎหมายทรัพย์สินและที่ดินไทย ที่ไม่เปิดพื้นที่ให้กับการจัดการ แบบกรรมสิทธิ์ร่วม การบริหารจัดการโดยชุมชน หรือที่เคยรับรองโดยรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าด้วย สิทธิ ชุมชน ก็ถูกปฏิเสธด้วยงานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหากลุ่มคนไร้บ้าน บางกลุ่มจะมีพื้นที่ และอยู่รวมกันเป็นชุมชนมาอย่างต่อเนื่องบ้างแล้วก็ตาม มิพักต้องพูดถึงการด้อยสิทธิเ มื่ออยู่อาศัยใน พื้นที่ซึ่งอยู่ในการครอบครองของเอกชน ที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องดาเนินคดีบุกรุก หรือบังคับขับไล่ การทาประชาพิจารณ์ในแผนพัฒนาโครงการ/พื้นที่ต่างๆ จึงต้องคานึงถึงการมีอยู่ของกลุ่มคนไร้บ้านด้วย 6-4


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการอ้างสิทธิและอานาจในการจัดการพื้นที่อย่างไม่ลงรอยนี้นาไปสู่ การใช้ความรุนแรง และข้อพิพาทระหว่างคนไร้บ้านกับเจ้าของพื้นที่อยู่บ้าง แม้ไม่ปรากฏเป็นปัญหา ขยายใหญ่ ก็เนื่องด้วยความด้อยกาลังของคนไร้บ้านเอง ที่ตกอยู่ในสถานะผู้เสียเปรียบและเสี่ยงที่จะถูก ทาร้าย ขับไล่ หรือต้องโทษทางอาญา และโดนบังคับคดีในทางแพ่งให้ออกากพื้นที่ การขาดกระบวนการ จัดการความขัดแย้งทั้งในช่วงบ่มเพาะความรุนแรง ช่วงความขัดแย้งประทุ หรือช่วงบรรเทาเยียวยาข้อ พิพาท เพื่อนาไปสู่การสมานฉันท์ให้คนไร้บ้านอยู่ในพื้นที่ได้ ด้วยความปรองดองกับคนอื่นๆในพื้นที่ จึง เป็นสิ่งทีต่ ้องการการออกแบบต่อไป เมื่อมองกลับมาในมุมการดูแลประชากรของรัฐ/เมือง การเปลี่ยนเมืองที่เคยอยู่อาศัยร่วมกัน ของคนหลากหลายกลุ่ม ให้เป็นพื้นที่ซึ่งเหมาะกับการท่องเที่ยวได้สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้ หลายเมืองท่องเที่ยวมากว่าทศวรรษแล้ว แต่ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจนั้ นถูกผันมาเป็นงบประมาณที่รองรับ คนที่ถูกผลักออกจากพื้นที่แล้วหรือไม่ ยังคงเป็นข้อสงสัยอยู่เสมอ คนไร้บ้านจานวนมากอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคติดต่อร้ายแรง หรือการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เนื่ องจากเข้าไม่ถึงบริการด้านสาธารณสุ ขของรัฐ บางกรณี อาจเข้าถึงได้บ้างแต่ เมื่ อย้ายพื้ นที่ก็กลั บ สูญเสียสิทธิไปอีกเนื่องจากเงื่อนไขต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับภูมิลาเนา การผูก สิทธิกับสถานพยาบาลในเชิง พื้นที่ เนื่องด้วยประเทศไทยยังไม่มีลักษณะการประกันสุขภาพถ้วนหน้าแบบไร้ข้อจากัดในเชิ งพื้นที่ และ ปัญหาจะยิ่งหนักขึ้นหากเป็นคนไร้บ้านที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์ บทสะท้อนจากคนไร้บ้านที่ต้องการ “มีชีวิตที่อยู่รอดปลอดภัย” แล้วขยับขยายไปจน “ยืนอยู่ บนลาแข้งตัวเองได้อย่างมั่นคง” นั้น ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและผู้ประกอบการในพื้นที่ ใน เชิงรับรองสถานะทางกฎหมายของกิจกรรมทางเศรษฐกิ จ ที่คนไร้บ้านพอจะมีศักยภาพทาได้ เช่น การ ต้องเสี่ยงกับคดีอาญาทุกครั้งที่ไปเก็บขยะหรือของเก่าบ่อยครั้งของคนไร้บ้าน เมื่อมีคดีก็ขาดองค์กรจัดตั้ง ที่สามารถยืนยันเป็นพยานที่มาของขยะและของเก่า ต่อเมื่อกลุ่มคนไร้บ้านอยู่รวมกันเยอะจนจาเป็นต้องจัดสร้างที่อยู่อาศัยอย่างถูกสุขลักษณะ ก็ ต้องการงบประมาณสนั บสนุ น จากหน่ว ยงานด้านพัฒ นาที่อยู่อาศัย แต่ก็ยังคงติดเพดานการจัดการ ภายใต้กรอบกฎหมายที่ดินและทรัพย์ของไทย คือต้องมีการซื้อหามาในลักษณะที่ดินเอกชนแล้วจัดสร้าง ขึ้นเป็นทรัพย์ของนิติบุค คล ดังนั้นอานาจเด็ดขาดจึงอยู่ที่หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ และตัวบุคลากรที่ เป็นตัวจักรสาคัญในการคัดกรองคนเข้าหรือไล่คนออกจากที่พักอาศัย อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้เช่นเคย รวมถึงการมีปัญหาซ้าซ้อนจากการด้อยสิทธิของบุคคลไร้สัญชาติ และการกีดกันบุคคลที่เคยต้องโทษใน คดีอาญา เป็นต้น การพัฒ นาขั้น สูงเชื่อมโยงกับการพัฒ นาทักษะอาชีพ ที่ยังไม่มีมาตรการส่ งเสริมที่ชัดเจนนัก อย่างไรก็ตามประเด็นที่ขาดเสียมิได้ คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการศึกษาของบุตรหลานคนไร้ บ้าน ที่อยู่ในสภาพเร่ร่อน ไร้ภูมิลาเนา เสี่ยงต่อการไม่ได้รับการศึกษาจากสถาบันและทางเลือกพัฒนา ทั้งหลาย

6-5


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 การแก้ปัญหาโดยไม่เน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นสตรี เด็ก และเยาวชน ย่อมเป็นการปล่อยปละ ละเลยไม่ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม เพราะนี่คือ กลุ่มคนที่จะกลายเป็นพลังสาคัญในอนาคตอันใกล้ หาไม่แล้วคน กลุ่มนี้ก็อาจจาใจต้องเข้าสู่วงจรของตลาดมืดและอาชญากรรม ทั้งการค้าประเวณี บังคับใช้แรงงานทาส อาชญากรรับจ้าง หรือผู้แพร่โรคติดต่อร้ายแรงโดยที่ไม่ยอมจากัดผลกระทบ สืบเนื่องจากการต้องการแก้ แค้นสังคม และไม่แยแสต่อเพื่อนมนุษย์ที่ไม่เห็นหัวตัวเองอีกต่อไป

6-6


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05

บรรณานุกรม หนังสือ ตารา และ เอกสารภาษาอังกฤษ Bantekas, I. Oette, L. 2nd Edition. (2016). International Human Rights Law and Practice. Cambridge UK: Cambridge University Press. Diamond, S. DEPARTMENT OF HOMELESS SERVICES. . [Online information]. Retrieved September 15, 2017, from http://www.nyc.gov/html/ops/downloads/pdf/mmr/dhs.pdf Eslava, L. (2015). Local Space, Global Life: The Everyday Operation of International Law and Development . Cambridge UK: Cambridge University Press. FAO. (2004). IGWG RTFG /INF 4. FAO. (2004). IGWG RTFG /INF 7. FAO. (2004). Voluntary Guidelines to Support the Progressive Realization of the Right to Adequate Food in the Context of National Food Security. Harvey, D. (2010). Social Justice and the City. Georgia: University of Georgia Press. Harvey, D. (2012). Rebel Cities: From the Right to the City to the Urban Revolution. London: Verso. Horowitz V. Sandra, Boardman K.Susan,and Redlener Irwin. (2537). Constructive Conflict manager and coping in Homeless Children and adolescent, Journal of social Issues, Vol.50, No.1 Mitchell, D. (2003). The Right to the City Social Justice and the Fight for Public Space. New York: The Guildford Press. Oomen, B., Davis, M. F. & Grigolo, M. (editors). (2016). Global Urban Justice: The Rise of Human Rights Cities. Cambridge UK: Cambridge University Press. Orwell , G. (1937). The Road to Wigan Pier.

7-1


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 หนังสือ ตารา เอกสารภาษาไทย กรมพั ฒ นาสั ง คมและสวั ส ดิ ก าร กระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ . (2559). รายงานฉบับสมบูรณ์ การถอดบทเรียนการดาเนินการมาตรฐานการจัดการบริการคนไร้ที่พึ่งใน สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง. กรมพั ฒ นาสั ง คมและสวั ส ดิ ก าร กระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . (2559). รายงานฉบับสมบูรณ์ การถอดบทเรียนการดาเนิน งาน มาตรฐานการจัดบริการคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง. กรุงเทพฯ : เจพริ้นท์. กรมพั ฒ นาสั ง คมและสวั ส ดิ ก ารกระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2559). “การถอดบทเรียนการดาเนินงานมาตรฐานการจัดบริการ คนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง”. กรุงเทพฯ :เจพริ้นท์. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, ชาติ ชัยเดชสุริยะ และ ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์ .มาตรฐานองค์การสหประชาชาติว่า ด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา .กรุงเทพฯ: เดือนตุลา. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2560). AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ การเมืองของการปฏิวัติ. กรุงเทพฯ: ILLUMINATIONS. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2560). Perspective. เชียงใหม่: TURN. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2560). เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น ทฤษฎีมาร์กซิสต์ในศตวรรษที่ 21. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการคณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. ___. “หลักกฎหมายระหว่างประเทศทั่วเกี่ยวกับสนธิสัญญาด้าน สิทธิมนุษยชน”. (กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจากัด มิราเคิลครีเอชั่นอินเตอร์ พริ้นท์). ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล. (2558). ภราดรภาพนิยม ของ ปรีดี พนมยงค์ = Solidarisme. กรุงเทพฯ: ชน นิยม. ทองพูล บัวศรี และ แววรุ้ง สุบงกฎ. (2553). รายงานการวิจัยโครงการถอดบทเรียนรูปแบบช่วยเหลือ เด็กเร่ร่อน นางสาวทองพูล บัวศรี และ นางแววรุ้ง สุบงกฎ. (2553). รายงานการวิจัยโครงการถอดบทเรี ยน รูปแบบช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน กรณีครูข้างถนนและบ้านพักสาหรับเด็ก. มูลนิธิสาธารณสุข. บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2546). โลกของคนไร้บ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2560). โลกของคนไร้บ้าน พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สานักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน. บุภาพร ต๊ะรังสี. มิติความงาม พื้นที่สาธารณะ และการเมืองในพื้นที่สนามหลวง. วารสารมหาวิทยาลัย ศิลปากร ปีที่ 38(2). ปิยนาถ ประยูร, หนูเพียร แสนอินทร์ และ กิ่งกาญจน์ ศรีปริญญาศิลป์) .2554 .(ครูข้างถนน คนเคียง ข้าง พ่อพระ นักบู๊ พ่อเป็นครู เด็กเรียกแม่. กรุงเทพฯ. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2560). เมืองกินคน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง. 7-2


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2560). เทศบาล พื้นที่ เมือง และกาลเวลา. กรุงเทพฯ: ศยามปัญญา. สถาบั น วิจั ย เพื่อการพัฒ นาประเทศไทย. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒ นาแนวทาง อภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพ. เสนอต่อ สานักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพ ไทย. สมพงษ์ จิตระดับ) .2550 .(วัฒนธรรมเด็กเร่ร่อนในท้องถนน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมศักดิ์ ชินอรุณชัย. (2537). มาตรการทางกฎหมายต่อคนขอทานและผู้ถือประโยชน์จากคนขอทาน ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สหประชาชาติ. (1948). ปฏิญญาสากลว่าด้ว ยสิ ทธิมนุษยชน. มี 30 ข้อ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สหประชาชาติ . (1982). ความเห็นทั่วไปที่รับรองโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนลากับที่ 8, การ ประชุมสมัยที่ 16, แปลโดย มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ. สหประชาชาติ. (1989). ความเห็นทั่วไปที่รับรองโดยคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมลาดับที่ 1. การประชุมสมัยที่ 3. แปลโดย ศรีประภา เพชรมีศรี และ ปราณี เก้าเอี้ยน. สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). 8 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับคนไร้บ้าน. แผนงานสนั บ สนุ น องค์ ค วามรู้ เ พื่ อ การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาวะและคุ ณ ภาพชีวิ ต ของคนไร้ บ้ าน. กรุงเทพ : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ส านั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ . (2559). รายงานการสร้ า งหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ งชาติ ประจาปีงบประมาณ 2559. สุดารัตน์ แก้วกาเหนิด. (2559). “ปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองคนเร่ร่อนตามพระราชบัญญัติ คุ้ ม ครองคนไร้ ที่ พึ่ ง พ.ศ. 2557”. วิ ท ยานิ พ นธ์ นิ ติ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต คณะนิ ติ ศ าสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. สุวจี จันทร์ถนอม-กู๊ด. โครงการวิจัย การค้นหาแนวคิดเรื่องสิทธิและความเป็นธรรมในสุขภาพจาก มุมมองทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการปฏิรูปการดูแลสุขภาพในประเทศไทย. อ้างใน แสวง บุญ เฉลิมวิภาส. นิติเวชศาสตร์และกฎหมายการแพทย์. (กรุงเทพฯ: วิญญูชน) อนรรฆ พิทักษ์ธานิน. ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย. (2560) คน (ทาไม) ไร้บ้าน: รายงานสถานการณ์ ความไม่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ: JustNet. อภินันท์ ศรีศิริ. (2552). เปรียบเทียบแนวคิดและหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานตามกฎหมาย ต ร า ส า ม ด ว ง กั บ ค ดี อ า ญ า ไ ท ย ใ น ปั จ จุ บั น . วิ ท ย า นิ พ น ธ์ นิ ติ ศ า ส ต ร์ ม ห า บั ณ ฑิ ต . มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ออร์เวลล์, จอร์จ. (2560). ความจนกับคนจรในปารีสและลอนดอน. แปลจาก Down and Out in Paris and London. แปลโดย บัญชา สุวรรณานนท์. กรุงเทพฯ: ไต้ฝุ่นสตูดิโอ. อั จ ฉรา รั ก ยุ ติ ธ รรม. (2559). “คนไร้ บ้ า นการเดิ น ทางสู้ ค วามโดดเดี่ ย ว”. เสนาะ เจริ ญ พร (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจากัดภาพพิมพ์. 7-3


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 อั จ ฉรา รั ก ยุ ติ ธ รรม. [2559]. “คนไร้ บ้ า นการเดิ น ทางสู้ ค วามโดดเดี่ ย ว”. เสนาะ เจริ ญ พร (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจากัดภาพพิมพ์. อานันท์ กาญจนพันธ์. (2560). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและ เมือง. เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2560). เมือง: ย้อนคิด มุ่งสู่อนาคต. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง. เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2560). เหตุอยู่ที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง. บทความ วารสาร กรกนก วั ฒ นภู มิ . (2559). “บั ต รสั ก ใบ” มั น ยั ง ส าคั ญ เสมอ”, ใน วารสารนิ ติ สั ง คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม). หน้า 208. เกรี ย งศั ก ดิ์ ธี ร ะโกวิ ท ขจร. ก าเนิ ด ภู มิ ศ าสตร์ แ รงงาน และอิ ท ธิ พ ลของนั ก ภู มิ ศ าสตร์ ส ายแรดิคัล . ฟ้าเดียวกัน. 11(2). 2556. หน้า 26-35. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร. พื้นที่และการผลิตพื้นที่ในการศึกษาภูมิศาสตร์ของทุน. วารสารฟ้าเดียวกัน . 12(1). 2557. หน้า 64-72. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร. วาระเรื่อง "เมือง" ในการศึกษาภูมิศาสตร์ทุนตามแนวมาร์กซิสต์. วารสาร ฟ้าเดียวกัน. 12(2-3). 2557. หน้า 52-66 ศิบดี นพประเสริฐ. (2558). การค้ามนุษย์ในไทย. จุลสารความมั่นคง มิถุนายน 2558 ฉบับที่ 158. หน้า 25-28 เอกสารออนไลน์ [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://prachatai.com/journal/2016/10/68310 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 Marvelous-Essays Blog. Applying the Conflict Theory to the Issue of Homelessness. (2560). [ข้อมูลออนไลน์ ] แหล่งข้อมูล : https://marvelous-essays.com/blog/applyingthe-conflict-theory-to-the-issue-of-homelessness.html สื บ ค้ น วั น ที่ 16 กั น ย า ย น 2560 MDGs กับการพัฒนาประเทศในอนาคต เพื่อเตรียมการจัดทารายงานผลตามเป้าหมายการพัฒนาแห่ง สหัสวรรษ ปี 2558. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://social.nesdb.go.th/social/Portals/0/Documents/MDG%20Pullman%20050 92557%20NESDB%20all_190.pdf สืบค้นวันที่ 7 ธันวาคม 2560

7-4


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 Penguin Homeless. คนไร้บ้านเชียงใหม่ ร่วมกันจัดสวัสดิการเพื่อสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยและ ร า ย ไ ด้ โ ด ย ก า ร อ อ ม เ งิ น ป ลู ก ผั ก อิ น ท รี ย์ ข า ย . [ ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : https://penguinhomeless.com/homeless-chiangmai-oganicfood/ สื บ ค้ น วั น ที่ 18 กันยายน 2560 Ultius. ( 2560) . An Analysis of Homelessness Using the Conflict Theory. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.ultius.com/ultius-blog/entry/an-analysis-ofhomelessness-using-the-conflict-theory.html สืบค้นวันที่ 20 กันยายน 2560 United Nations Thailand. เป้ า หมายการพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น ของประเทศไทย. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.un.or.th/globalgoals/th/global-goals/good-health-andwell-being/ สืบค้นวันที่ 7 ธันวาคม 2560 Voicelabour.org ข่าวแรงงาน. (2556).“คนไร้บ้าน แรงงานที่ถูกลืม”. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งสืบค้น: http://voicelabour.org/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A3% E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8% 99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B 8%81%E0%B8%A5/. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2560. 5 จุ ด เสี่ ย งในกทม.แหล่ ง ค้ า มนุ ษ ย์ ล่ อ ลวงคนงาน. (2551). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] . แหล่ ง ที่ ม า : http://www.mirror.or.th/autopagev4/show_page.php?topic_id=976&auto_id=10 & TopicPk= สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 เจาะประเด็น Special : ภัยคนเร่ร่อน ก่อเหตุทาอนาจารข่มขืน-.ลุกลาม .(2560). [ข้อมูลออนไลน์ .[ แหล่งที่มา :http://news.ch7.com/detail/241739 สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560 เด็กเร่ร่อนฮิตขายตัวพุ่ง. (2553). [ข้อมูลออนไลน์ .[แหล่งที่มา : http://www.posttoday.com/analysis/ สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560 แจกอาหารคนไร้บ้าน" เมื่อความปรารถนาดีกลายเป็นความเดือดร้อน?.... . (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.posttoday.com/local/scoop_bkk/457969 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 แจกอาหารอย่ า งเดี ย วไม่ ช่ ว ยแก้ ปั ญ หาคนไร้ บ้ า น". (2559). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.posttoday.com/analysis/interview/465097 สื บ ค้ น วั น ที่ 18 กั น ยายน 2560 แฉเวี ย ดนามกวาดเด็ ก ข้ า งถนนโรยหน้ า ประชุ ม เอเปก. (2549). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000140347 สืบค้นวันที่ 20 กันยายน 2560 แฉแก๊งค์วัยรุ่นราดน้ามัน .จุดไฟเผาคนเร่ร่อนกลางกรุง-(2557). [ข้อมูลออนไลน์ .[แหล่งที่มา : http://www.posttoday.com/local/bkk/สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2560 305748 7-5


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 แต่งโฉม สนามหลวง สวย สะอาด ปลอดสิ่งไม่น่ามอง ! แต่ซ่อนปัญหาไว้เบื้องหลัง ?. (2554). [ข้อมูล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http: // www. matichon. co. th/news_detail. php?newsid =1312877457 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 แม้ว เดือดซัด ม็ อบแค่ค นเร่ ร่ อน-พวกโกงแบงก์รวมหั ว ไล่ สั่ งรื้อคดีฟัน. (2549). [ข้อมูล ออนไลน์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http: / / www. manager. co. th/ Politics/ ViewNews. aspx?NewsID =9490000007219 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 โพสต์ทูเดย์. (2560). “สสส. เผยสถานการณ์คนไร้บ้านทั่วประเทศกว่า 3 หมื่นคน”. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล: http://www.posttoday.com/social/PR/498823. สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2560. โสภณ พรโชคชั ย .(2559). แก้ ปั ญ หาคนเร่ ร่ อ นอย่ า งไรดี . [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_annou ncement1609.htm สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2560 ไ ท ย รั ฐ เ จ า ะ ป ร ะ เ ด็ น . ( 2560( . [ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] . แ ห ล่ ง ที่ ม า : https://www.thairath.co.th/clip/112207 สืบค้น วันที่ 20 กันยายน 2560 ไทยรั ฐ ออนไลน์ . (2558). คนจรจั ด เกลื่ อ นกรุ ง EP.1 เร่ ร่ อ น VS ป่ ว ยจิ ต เจาะมู ล เหตุ ก าเนิ ด คน ข้างถนน. [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://www.thairath.co.th/content/541696 http://www.thairath.co.th /content/541696 สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 2560 ไทยรัฐออนไลน์. (2558, 26 พฤศจิกายน). คนจรจัดเกลื่อนกรุง EP.1 เร่ร่อน VS ป่วยจิต เจาะมูลเหตุ ก า เ นิ ด ค น ข้ า ง ถ น น ! ?. [ ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : https: / / www.thairath.co.th/content/541696 สืบค้นวันที่ 14 กันยายน 2560 กทม.เร่งเคลียร์เต็นท์แดงสนามหลวง เดินหน้าปรับภูมิทัศน์ระลอก 2. (2553). [ข้อมูลออนไลน์]. แ ห ล่ ง ที่ ม า : http: / / www. manager. co. th/ QOL/ ViewNews. aspx?NewsID =9530000054224 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 กม.ขอทานฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ 28 ก.ค.นี้ ลงโทษหนักมาเฟียหาผลประโยชน์ . (2559). [ข้อมูล ออนไลน์ ] . แหล่ ง ที่ ม า : http://www.isranews.org/isranews-news/item/48001kor27.html สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 กรณีครู ข้างถนนและบ้ านพักส าหรับ เด็ก. ชุดโครงการพัฒ นาการมีส่วนร่วมในการกาหนดนโยบาย สาธารณะ ก ร ม พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ส วั ส ดิ ก า ร . ค น ไ ร้ ที่ พึ่ ง . [ ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http://61.19.50.68/dsdw/page.php?module=service&pg=servicedetail&ser_id=1 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 กระทรวงการต่างประเทศ. (2558). เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs). [ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.mfa.go.th/main/th/ issues/42456 เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ.html สืบค้นวันที่ 7 ธันวาคม 2560 7-6


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนปฏิบัติราชการ (Action Plan) กระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ( ตุลาคม 2557 กั น ย า ย น 2558) . [ ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : https: / / www. bps. msociety.go.th/uploads/content/download/54c61cebe116b.doc สื บ ค้ น วั น ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สรุปผลประเมินความสาเร็จในภาพรวมของการ ดาเนินงานทุกนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [ข้อมูลออนไลน์]แหล่งข้อมูล : https://www.m-society.go.th/download/article/article_ 20130703112526.pdf สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 กรุ งเทพธุร กิจ . (2560). “ตม.สระแก้ว กวาดล้ างจับกุ ม แก๊ง ขอทานชาวเขมร”. [ข้อมูล ออนไลน์ ] แหล่งข้อมูล: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/760105. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560. กวาดจับ ขอทาน ตัดไฟต้นลม-คนเร่ร่อน 93’นักเลงเช็ดกระจกทาไฟไหม้สะพาน-’. (2560). [ข้อมูล ออนไลน์ .[แหล่งที่มา :http://www.thairath.co.th/content/885886สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560 กวาดล้ า งขอทานรั บ ครม.สั ญ จรภู เ ก็ ต .... โลก. (2555). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] . แหล่ ง ที่ ม า : http://www.posttoday.com/local/south/140144 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 กวาดล้างจับกุมแก๊งขอทานและบุคคลเร่ร่อนจรจัดทั่วเมืองพัทยา. (2556[ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://th.pattayadailynews.com/กวาดล้างจับกุมแก๊งขอทานและบุคคลเร่ร่อนจรจัดทั่ว เมืองพัทยา สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนา สั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ . สรุ ป สาระส าคั ญ ของอนุ บั ญ ญั ติ ต ามพระราชบั ญ ญั ติ ก าร คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557. [ข้อมูลออนไลน์], แหล่งที่มา: www.bsws.go.th/attach/f1t1493363768.doc การดาเนินความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์. (2557). [ข้อมูล ออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.mfa.go.th/main/th/issues/9894-การค้ามนุษย์.html สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 คณะกรรมการสิ ทธิ มนุ ษ ยชนแห่ งชาติ . พันธกรณีระหว่ า งประเทศ. [ข้อมูล ออนไลน์] แหล่ งที่มา : http: / / www. nhrc. or. th/ Human- Rights- Knowledge/ International- Human- RightsAffairs/International-Law-of-human-rights.aspx สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2560 คนไร้บ้าน…แห่งมหานครนิวยอร์ก ด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์. (2555). [ข้อมูลออนไลน์ .[ แหล่งที่มา :http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID สืบค้นวันที่ 15 กันยายน 2560

7-7


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 จ.ชลบุรี ตร.กวาดจับหญิงบริการร่วม 90 คนชายหาดพัทยา. (2555). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539359126 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 จนท.จัดระเบียบสนามหลวง-คัดกรองคนจรจัด-เตือนเซลฟี่ไม่เหมาะสม มีพระบรมมหาราชวังเป็นฉาก หลัง. (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://morning-news.bectero.com/socialcrime/03-Nov-2016/90531 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 จั ด ระเบี ย บสนามหลวง’ ใครจะอยู่ ใครจะไป?. (2552). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000103084 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 จั บ ขอทานเมื อ งกรุ ง 101คน สนองนโยบายค้ า มนุ ษ ย์ . (2558). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] . แหล่ ง ที่ ม า : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/642372 สื บค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 จิ ม มี่ ฆ่ า เ รี ย บ 4 ศ พ ผ ล DNAโ ย ง ร า ย ล่ า . ( 2 5 59) . [ ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.thaipost.net/?q=จิ ม มี่ ฆ่ า เรี ย บ4ศพ-ผลdnaโยงรายล่ า สื บ ค้ น วั น ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ดส.ระดมจับคนเร่ร่อนและขอทาน ช่วงเทศกาลสงกรานต์. (2556). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.chaoprayanews.com/2013/04/10/ดส-ระดมจับคนเร่ร่อนและข/ สืบค้น วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ตารวจกวาดต้อน 13 คนเร่ร่อนย่านข้าวสาร ส่งเข้าสถานสงเคราะห์ หลังเกิดคดีฆ่าต่อเนื่อง. (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.matichon.co.th/news/319690 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ตีนแมวจรจัด ลักทรัพย์เผา ย่างสลด1ศพ! ร้านสูทเตา-ปูน .(2558). [ข้อมูลออนไลน์ .[แหล่งที่มา : http://www.thairath.co.th/content/541260 สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560 ทศพล บั ว ศรี . อ้ า งถึ ง ใน เด็ ก เร่ ร่ อ นฮิ ต ขายตั ว พุ่ ง . (2553). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.posttoday.com/analysis/report/34773 สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 ที ม ล่ า ความจริ ง . (2559). ผ่ า ขบวนการ "รั บ จ้ า งติ ด คุ ก ". [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล :http://www.now26.tv/view/94663 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ธนกรณ์ แซ่อึ้ง. (2556). “รับจ้างติดคุก” อาชีพสะท้อนความเหลื่อมล้า กับช่องโหว่ของ กบก.ยุติธรรม. [ข้อมูลออนไลน์ ] แหล่งข้อมูล : https://www.isranews.org/isranews-scoop/22819-1sp-997_22819.html สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ธนกรณ์ แซ่อึ้ง. (2556). เปิ ดอาชีพแปลกคนเร่ร่ อน ‘รับจ้างติดคุก -ม็อบ-หนูทดลองยา’. [ข้อมู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/21503lldddlw.html สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 7-8


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ธนวัฒน์ มุ่งพาลชล. (2560). “สิทธิมนุษยชนของคนไร้สัญชาติที่กาเนิดจากแรงงานต่างด้าว”, ประชา ไท. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://prachatai.com/journal/2017/04/70928. สืบค้นวันที่ 8 ธันวาคม 2560. น.1 สั่งจัดระเบียบตรวจคนวิกลจริต -เร่ร่อน พบประสาน พม.เข้าดูแล. (2559). [ข้อมูลออนไลน์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http: / / www. manager. co. th/ Crime/ ViewNews. aspx?NewsID =9590000102446 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 นที สรวารี. (2555). คนเร่ร่อน กับความเสี่ยง โดนหลอกขึ้นเรือประมง. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.gotoknow.org/posts/165695 สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 นลัทพร ไกรฤกษ์. (2559, 11 เมษายน). รายงาน: ขอทานกาลังจะหายไปจากริมถนน? ด้วย พ.ร.บ. ค ว บ คุ ม ข อ ท า น ฉ บั บ ใ ห ม่ . [ ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ที่ ม า : https://prachatai.com/journal/2016/04/65200 นั ก สื่ อ ส า ร แ ร ง ง า น กั บ ชี วิ ต ค น ไ ร้ บ้ า น . ( 2558) . [ ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http://voicelabour.org/นักสื่อสาร-ศึกษาชีวิตคน/ สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 นายกรัฐมนตรีประกาศ "การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์. (2558). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.thaigov.go.th/th/government-th1/item/91126-id91126.html สื บค้น วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 บช.น.แถลงจับค้ามนุษย์ 5 ราย คาดโทษจนท.ละเลยสั่งช่วยราชการ 30 วัน. (2560). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_508640 สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2557, 9 ตุลาคม). ร่าง พ.ร.บ.คนไร้ที่พึ่ง: คุ้มครองหรือซ้าเติม. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งที่มา : https://prachatai.com/journal/2014/10/55899 บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2559). แจกอาหารอย่างเดียวไม่ช่วยแก้ปัญหาคนไร้บ้าน. (2559). [ข้อมูล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.posttoday.com/analysis/interview/465097 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ปทุมธานี – เจ้าหน้าที่กวาดล้างขอทานคนเร่ร่อนทาประวัติก่อนส่งกลับบ้าน. (2559). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_37218 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ประกาศแล้ว พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โทษหนักผู้ฝ่าฝืน. (2558). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่ งที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430208867 สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 ประชาไท. “คุณกับเขาเราเท่ากัน” กับการเริ่มต้น “วันผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ”, เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์ ที่ 4 พฤศจิ ก ายน พ.ศ. 2556. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://prachatai.com/ journal/2013/11/49565. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560. 7-9


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ปิ ด สนามหลวง" แก้ ไ ขปั ญ หาคนเร่ ร่ อ น คนขายบริ ก ารได้ จ ริ ง หรื อ ?. (2548). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] . แหล่งที่มา : http://prachatai.com/journal/2005/11/21610 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ปิดสนามหลวงเขตอิทธิพลเถื่อน หยุดอาชญากรรม-คนเร่ร่อน-หญิงขายตัว. (2552). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.ryt9.com/s/nnd/837454 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ปิยวรรณ อร. (2558). เข้าใจและให้โอกาสคนไร้บ้าน เรื่องเล่าภาคี สสส. [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://www.thaihealth.or.th/ สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2560 ผกก.ดส.ระดมกวาดล้ า งขอทานเร่ ร่ อ นกว่ า 50คน. (2557). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] . แหล่ ง ที่ ม า : http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=529534 สื บ ค้ น วั น ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ผบช.น.แถลงกวาดล้ า งขอทานแก้ ปั ญ หาค้ า มนุ ษ ย์ . (2558). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] . แหล่ ง ที่ ม า : http://goo.gl/zXjn9y สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปี พ .ศ.2558 ถึง พ.ศ.2559.) 2560 .([ข้อมูลออนไลน์]. http://dataservices.mof.go.th/Dataservices/GovernmentRevenue สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2560 พม จัดระเบียบ.“คนเร่ร่อนคนขอทาน-” .ตารวจร่วมปฏิบัติการ-วันจับแล้ว 105 ราย กาชับ กทม. 5 (2558). [ข้อมูลออนไลน์ :แหล่งที่มา .[https://www.matichon.co.th/news/486163 สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาทรงยื่นสัตยาบันสารและพิธีสาร.... (2556). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http:// http://www.tijthailand.org/main/th/content/117.html สื บ ค้ น วั น ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 พรุ่งนี้! ดีเดย์จัดระเบียบคนเร่ร่อน กทม. เล็งสนามหลวงทาตลาดนัดดอกไม้แทนปากคลอง. (2552). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx? NewsID=9520000099295 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 พัทยาระดมกวาดล้างคนเร่ร่อนก่อความราคาญให้นักท่องเที่ยว. (2553). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000176074 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 พั น ธุ์ ทิ พ ย์ กาญจนะจิ ต รา.) 2551(. คนชายขอบ (Marginal People) ในความหมายของ ICCPR Country Report. [ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.gotoknow.org /posts/204923 สืบค้นวันที่ 24 กันยายน 2560 ภาพรวมวงเงินร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ ปี 2560 กระทรวงสาธารณสุข. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/4.2%20budget60%20%202 70959%20v4.pdf สืบค้นวันที่ 7 ธันวาคม 2560 7 - 10


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ภาวนา บุญมุสิก,ปรีย์กมล และรัชนกุล ศิริพร ขัมภลิขิต, (2554) พฤติกรรมสุขภาพและความต้องการ การดู แ ลเรื่ อ งสุ ข ภาพของวั ย รุ่ น เร่ ร่ อ น, Thai journal of nursing council Vol.26 special issue Jan-Mar 2011, หน้า 89 ภาวิ ณี เทพค าราม. (2558). ดึ ง ศั ก ยภาพท้ อ งถิ่ น คื น สิ ท ธิ ค นไร้ บ้ า น, สสส. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ งข้อมูล : http://www.thaihealth.or.th/Content/27381 สื บค้นวันที่ 19 กันยายน 2560 ภูเก็ตดีเดย์กวาดล้างขอทาน 14 ก.พ. สร้างภาพเมืองท่องเที่ยวระดับโลก. (2555). [ข้อมูลออนไลน์]. แ ห ล่ ง ที่ ม า : http: / / www. manager. co. th/ South/ ViewNews. aspx?NewsID =9550000017557 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 มงคล ยะภั ก ดี . (2552). คนไร้ บ้ า น : การจั ด บริ ก ารด้ า นที่ พั ก อาศั ย ชั่ ว คราว. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.gotoknow.org/posts/267536 สื บ ค้ น วั น ที่ 16 กั น ยายน 2560 มติชนออนไลน์. (2559). เขย่าขวัญ ชาวบ้านกลัวหลังพบศพที่ !5 คนเร่ร่อนถูกฆ่าตายสะพานลอยนวมิ นทร์ 92. ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] . แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.matichon.co.th/news/324654 สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 2560 มติชนออนไลน์. (2560). “พม.จัดระเบียบ ‘คนเร่ร่อน-คนขอทาน’ 5 วัน จับแล้ว 105 ราย กาชับ ก ท ม . - ต า ร ว จ ร่ ว ม ป ฏิ บั ติ ก า ร ” . [ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.matichon.co.th/news/486163. สืบค้นระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560. มูลนิธิกระจกเงา เผยรายงานสถานการณ์ปัญหาเด็กขอทานรอบปี 59. (2560). [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่ ง ที่ ม า : https://prachatai.com/journal/2017/01/69505 สื บ ค้ น วั น ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 มูล นิ ธิส ร้ างสรรค์ เด็ ก. (2558). “โอกาสทางการศึ ก ษาของเด็ ก เร่ร่ อ นแม่ ส อด”. [ข้อมูล ออนไลน์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.fblcthai.org/?name=news&file=readnews&id=15. สื บ ค้ น วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560. “รถหมู แ ดง" เมื่ อ ลานคนเมื อ งไม่ ต้ อ นรั บ คนไร้ บ้ า น. 2559. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.posttoday.com/local/scoop_bkk/414624 สื บ ค้ น วั น ที่ 16 กั น ย า ย น 2560 รวบคนเร่ร่อนเผาสะพานไทย .เบลเยียม สารภาพทิ้งก้นบุหรี่จนไฟลุกลาม-(2560). [ข้อมูลออนไลน์ .[ แหล่งที่มา :http://news.ch7.com/detail/220583/จับคนเร่ร่อนเผาสะพานไทย_เบลเยียม. html 9590000012369 สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560 รวบหนุ่มเร่ร่อนขนยาบ้า เม็ด. ทีมข่าวอาชญากรรม 040ปูน .(2559). [ข้อมูลออนไลน์ .[แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/Crime/Viewnews.aspx?NewsID=9590000012369 สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 7 - 11


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 รั ฐ บาลประกาศใช้ ก ฎหมายค้ า มนุ ษ ย์ ฉบั บ ที่ 3 เพิ่ ม . (2560). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] . แหล่ ง ที่ ม า : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=6807&filename=index สื บ ค้ น วั น ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 ร่ า ง ก ร อ บ ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ แ ห่ ง ช า ติ ร ะ ย ะ 20 ปี . (2559). [ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น ] แ ห ล่ ง ที่ ม า : http://www.thaigov.go.th/uploads/document/6 6 / 2 0 1 7 / 0 1 / pdf/2 0 yearmay59.pdf. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2560 รายงานข่ า วจากทางสถานี โ ทรทั ศ น์ ไ ทยพี บี เ อส TPBS. (2553). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : https://www.youtube.com/watch?v=QttIVWM_XTM สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 รายงานค้ามนุษย์ปี 58 สหรัฐอเมริกาจัดอันดับไทยอยู่บัญชีรั้งท้ายปีที่ 2 ติดต่อกัน. (2558). [ข้อมูล ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://prachatai.com/journal/2015/07/60560 สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 ลดปั ญหาเร่ ร่ อน! ตร.บางซื่ อ ช่ว ยคนไร้บ้าน อาบน้า-แต่งตัว ส่ งหน่ว ยงานดูแล. (2558). [ข้อมูล ออนไลน์ ] แหล่ งข้อมูล : http://www.thairath.co.th/content/533630 สื บค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 สถิติคนเร่ร่อนปี 56 พุ่ง พบการ์ด กปปส.ใช้บริการทางเพศแบบไม่ใส่ถุงยาง. (2557). [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.thairath.co.th/content/409433 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 สนามหลวง” มหากาพย์ ไ ล่ รื้ อ ที่ ไ ม่ จ บสิ้ น (1). (2553). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000029105 สืบค้น วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2560, 3 มิถุนายน). คนไร้บ้านกว่า 3 หมื่น ค น ยั ง เ ข้ า ไ ม่ ถึ ง สิ ท ธิ ขั้ น พื้ น ฐ า น . [ ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.thaihealth.or.th/Content/37004-คนไร้บ้านกว่า%203%20หมื่นคน%20 ยังเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน.html สืบค้นวันที่ 14 กันยายน 2560 สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). นาร่อง ‘ขอนแก่น’ คืนสิทธิคนไร้บ้าน. [ข้อมูล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.thaihealth.or.th/Content/27279-น าร่ อ ง%20‘ ขอนแก่น’%20คืนสิทธิคนไร้บ้าน%20.html สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 2560 สานักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2556). 10 เรื่องที่ควรรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพ. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่ งข้อมูล : https://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/PR/10%20%เรื่องควรรู้สิ ท ธิ หลักประกันฯ%20Update.pdf สืบค้นวันที่ 30 กันยายน 2560 ส า นั ก ง า น ห ลั ก ป ร ะ กั น สุ ข ภ า พ . ค ว า ม เ ป็ น ม า . [ ข้ อ มู ล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ที่ ม า : https://www.nhso.go.th/frontend/page-contentdetail.aspx?CatID=MTA2OA==# สืบค้นวันที่ 13 กันยายน 2560

7 - 12


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 ส ารวจคนเร่ ร่ อ นตกค้ า ง “ม็ อ บการเมื อ ง”. (2557). [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.thairath.co.th/content/409475 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 สิทธิพล ชูประชง. ชีวิต‘ผู้ป่วยข้างถนน’สังคมตีตรา‘คนบ้า’ ถูกทิ้งขณะส่งร.พ.-หลุดระบบดูแลรักษา, [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.tcijthai.com/news/2014/04/scoop/4145 สืบค้นวันที่ 31 มีนาคม 2560 สุ เ ทพ เอี่ ย มคง. (2556). สิ ท ธิ แ ละเสรี ภ าพของชนชาวไทย. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E 0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80 %E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8% 9E%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B 8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2 สืบค้นวันที่ 20 กันยายน 2560 สุขุมพันธุ์” โวขอเวลา 2 ปี กวาด “คนเร่ร่อน-ขอทาน-ขายตัว” เกลี้ยงสนามหลวง. (2552). [ข้อมูล อ อ น ไ ล น์ ] แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล : http: / / www. manager. co. th/ Qol/ ViewNews.aspx?NewsID=9520000099917 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์. ประกาศแล้ว พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โทษหนัก ผู้ฝ่าฝืน. [ข้อมูลออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430208867 หาเบาะแสฆาตกรต่อเนื่อง 9 ศพ-ตร.ปทุมฯ ปล่อยแถว จัดระเบียบคนเร่ร่อน. (2559). [ข้อมูล ออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.thairath.co.th/content/745957 สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 อนรรฆ พิทักษ์ธ านิ น และคณะ. (2560, 2 มิถุนายน). 8 เรื่อของ ‘คนไร้บ้าน’ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ . นั ก ข่ า ว พลเมื อ ง . [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อมู ล : https://www.citizenthaipbs.net /node/20410 สืบค้นวันที่ 6 ธันวาคม 2560 อนรรฆ พิทักษ์ธานิน อ้างถึงใน รณภูมิ สามัคคีคารมย์. (2559). นิยาม และมายาคติกับความเป็นจริง ของคนไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การสารวจข้อมูลทางประชากรเชิงลึกของคนไร้บ้านใน เขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง นิยาม และมายาคติกับความเป็นจริงของคนไร้บ้านใน พื้นที่กรุงเทพมหานคร. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล :https://www.facebook.com/ Penguinhomeless/photos/ms.c.eJwzNTc3NDUwMrQ0NDIxsLTU M4XwjYxMTM1 NjI0AZJoGRQ~-~-.bps.a.577100559129065. 1073741829.1972359504 48863 /577150219124099/?type=3&theater สืบค้นวันที่ 20 กันยายน 2560 อนรรฆ พิ ทั ก ษ์ ธ านิ น . (2558). “คนไร้ บ้ า นและคนไร้ บั ต ร”. [ข้ อ มู ล ออนไลน์ ] แหล่ ง ข้ อ มู ล : http://www.aftershake.net/?p=1560. สืบค้นวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560.

7 - 13


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 อาชีพสุ ดเสี่ ย ง‘แรงงานบนเรื อประมง’ ถูกหลอก งานหนัก เฆี่ยนตี ไม่ได้ค่าแรง. (2559). [ข้อมูล ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.tcijthai.com/news/2016/10/scoop/6454 สืบค้น วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 อินทรชัย พานิชกุล. (2559). “แจกอาหารคนไร้บ้าน” เมื่อความปรารถนาดีกลายเป็นความเดือดร้อน. [ข้อมูลออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.posttoday.com/local/scoop_bkk/457969 สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 2560 กฎหมาย Recommendation 12 Recommendation 18 UN. (1991). E/1991/23. UN. (1991). United Nations Principles for Older Persons UN. (1999). E/1999/22. UN. (1999). E/C.12/1999/5. UN. (2002). E/CN.4/2002/58. UN. (2006). E/CN.4/2006/44. UN. E/1999/22. กฎบัตรสหประชาชาติ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเรื่อง กาหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะ ยากลาบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ. 2479 พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559

7 - 14


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน รหัสโครงการ 59-00124-05 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติดัดสันดานคนจรจัดและคนที่เคยต้องโทษหลายครั้ง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ .ศ.2545 พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๖ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ .ศ.2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือผู้ถูก ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2559 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทาอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ายี ศักดิ์ศรี ข้อ 17 และ 20 สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ตารวจ สิบตรี รัฐศาสตร์ ตาสม. (2560). สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560.

7 - 15


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.