ปลูกให้เป็นป่า แนวคิดและแนวปฏิบัติสำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน

Page 1

ปลูกให้เป็นป่า

ปลูกให้เป็นป่า แนวคิดและแนวปฏิบัติ สำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน

หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่

หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


จากพื้นที่เสื่อมโทรม

พืน้ ทีต่ น้ น้ำแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พ.ศ. 2541

เปลีย่ นเป็นป่า พืน้ ทีเ่ ดียวกันในปี พ.ศ. 2547

ในเวลาเพียง 6 ปี เราทำได้อย่างไร


ปลูกให้เป็นป่า แนวคิดและแนวปฏิบัติสำหรับ การฟืน้ ฟูปา่ เขตร้อน

“ไม้ยนื ต้นนัน้ จะช่วยให้อากาศมีความชุม่ ชืน้ เป็นขัน้ ตอนหนึง่ ของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทัง้ ยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พงั ทลายเมือ่ เกิดฝนตกอีกด้วย ซึง่ ถ้ารักษาสภาพป่าไม้ไว้ดแี ล้ว ท้องถิน่ ก็จะมีนำ้ ไว้ใช้ชว่ั กาลนาน” พระราชดำรัส พระราชทาน ณ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี วันที่ 14 เมษายน 2520

หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียบเรียงโดย สตีเฟน เอลเลียต, เดวิด บาเครสลีย,์ เจ. เอฟ. แม็กเวลล์ ซูซาน ดาวส์ และ สุทธาธร สุวรรณรัตน์ ภาพวาดโดย สุรตั น์ พลูคำ จัดรูปเล่มโดย รุง่ ทิวา ปัญญายศ สนับสนุนโดย Britain’s Darwin Initiative พิมพ์ครัง้ แรก 2549 ปลูกให้เป็นป่า

I


“ปลูกให้เป็นป่า” จัดพิมพ์ทง้ั ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนฉบับภาษาจีนกลาง ลาว และ เขมร ซึง่ ได้รบั การปรับให้เหมาะสม สำหรับแต่ละประเทศ จะตีพมิ พ์ในปี 2550 หนังสือเล่มนีไ้ ม่มลี ขิ สิทธิ์ และได้รบั การออกแบบเพือ่ ให้งา่ ยต่อการถ่ายเอกสารเพือ่ ให้ สามารถจัดทำเพิม่ และเผยแพร่ตอ่ ไปได้ ทัง้ นีใ้ นการนำข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือไปใช้ขอให้อา้ งถึงแหล่งทีม่ าดังนี้ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ , 2549. ปลูกให้เป็นป่า : แนวคิดและแนวปฏิบตั สิ ำหรับการฟืน้ ฟูปา่ เขตร้อน. ภาควิชาชีววิทยา, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย ผู้สนใจสั่งซื้อหนังสือเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ดร. สตีเฟน เอลเลียต หรือ ดร. สุทธาธร สุวรรณรัตน์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ : 053-943346 หรือ 053-943348 ต่อ 1134 -1135 โทรสาร : 053-892259 e-mail : forru@science.cmu.ac.th

ISBN 974-656-945-7 ภาพปก ป่าต้นน้ำแม่สาใหม่ถูกทำลายและใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมก่อนจะถูกทิ้งร้างและ ทำลายซ้ำด้วยไฟป่าจนเสื่อมโทรม กลาง - การใช้กระดาษแข็งคลุมโคนต้นกล้าเมื่อปลูกลงแปลง ช่วยลดการแข่งขันจากวัชพืช ล่าง - พืน้ ทีเ่ ดียวกัน 7 ปีตอ่ มาหลังจากปลูกด้วยพรรณไม้โครงสร้างกว่า 30 ชนิด บน -

คำอุทศิ หนังสือเล่มนีข้ ออุทศิ ให้แก่ หม่อมราชวงศ์สมานสนิท สวัสดิวฒ ั น์ (2475-2546) หรือทีร่ จู้ กั กัน ในหมูเ่ พือ่ นว่า นุนี นักธรรมชาติวทิ ยาผูอ้ ทุ ศิ ตนให้แก่ งานอนุรกั ษ์ธรรมชาติในประเทศไทย นุนี เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน พวกเราในการจัดตั้ง หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิสยั ทัศน์ของเธอทีเ่ ชือ่ มัน่ ว่าป่าในภาคเหนือของประเทศไทยสามารถจะถูก ฟื้นให้คืนมามีความสมบูรณ์ดังเดิมได้ และกำลัง ใจที่เธอมีให้ยังเป็นแรงใจในการทำงานของพวก เราเสมอมา

II

ปลูกให้เป็นป่า


สารบาญ

กิตติกรรมประกาศ สารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งสหราชอาณาจักร คำนำ บทที่ 1 การฟื้นฟูป่า - เพียงความเพ้อฝันหรือความเป็นจริง ตอนที่ 1 การตัดไม้ทำลายป่า ภัยคุกคามของโลก ตอนที่ 2 การฟื้นฟูป่า เผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ ตอนที่ 3 หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ตอนที่ 4 เผยแพร่แนวคิด บทที่ 2 ป่าภาคเหนือ ตอนที่ 1 ป่าไม่ผลัดใบและป่าผลัดใบ ตอนที่ 2 ป่าดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ ตอนที่ 3 ป่าผลัดใบ ตอนที่ 4 กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่าแต่ละชนิด บทที่ 3 การฟื้นตัวของป่า - เรียนรู้จากธรรมชาติ ตอนที่ 1 การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของป่า ตอนที่ 2 เมล็ด- จุดเริ่มต้นในการฟื้นตัวของป่า ตอนที่ 3 ความสำคัญของการกระจายเมล็ดพันธุ์ ตอนที่ 4 การทำลสยเมล็ด ตอนที่ 5 การงอก ตอนที่ 6 ต้นกล้า ตอนที่ 7 นิเวศวิทยาของไฟป่า ตอนที่ 8 ผู้อยู่รอด บทที่ 4 การเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติ ตอนที่ 1 การเร่งให้เกิดการฟื้นตัวตามธรรมชาติ ตอนที่ 2 ดูแลสิ่งที่มีอยู่ ตอนที่ 3 การเพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์ในพื้นที่ บทที่ 5 การฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง ตอนที่ 1 แนวคิดของพรรณไม้โครงสร้าง ตอนที่ 2 การคัดเลือกพรรณไม้โครงสร้าง ตอนที่ 3 การทดสอบพรรณไม้โครงสร้าง

V VII VIII 1

11

31

51

63

ปลูกให้เป็นป่า

III


บทที่ 6 เริ่มจากต้นกล้า ตอนที่ 1 การออกแบบและสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ ตอนที่ 2 เก็บเมล็ดพันธุ์ ตอนที่ 3 เตรียมผลและเมล็ด ตอนที่ 4 เพาะเมล็ด ตอนที่ 5 ย้ายกล้า ตอนที่ 6 การดูแลกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ ตอนที่ 7 การควบคุมคุณภาพ บทที่ 7 การปลูกป่า ตอนที่ 1 การเลือกพืน้ ที่ ตอนที่ 2 เตรียมปลูก ตอนที่ 3 วันปลูกป่า ตอนที่ 4 การดูแลกล้าไม้หลังปลูก ตอนที่ 5 การติดตามการฟืน้ ตัวของป่า บทที่ 8 การทำงานร่วมกับชุมชน : การวางแผนและดำเนินงานโครงการฟื้นฟูป่า ตอนที่ 1 แรงจูงใจเป็นพืน้ ฐาน ตอนที่ 2 ความร่วมมือเป็นสิง่ สำคัญ ตอนที่ 3 การวางแผนเป็นสิง่ จำเป็น บทที่ 9 พรรณไม้โครงสร้าง- สำหรับการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง ภาคผนวก บรรณานุกรม ดรรชนี

IV

ปลูกให้เป็นป่า

73

103

133

143 177 179 193


กิตติกรรมประกาศ หนังสือเล่มนีส้ ำเร็จเป็นรูปเล่มได้ดว้ ย ความร่วมมือร่วมใจของคนกลุม่ ใหญ่ ข้อมูลต่าง ๆ ที่บรรจุอยู่ในหนังสือรวบรวมมาจาก ผลงานวิจยั และการศึกษาของนักศึกษาและนักวิจยั ทีร่ ว่ มงาน กับหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2537 ผูเ้ รียบเรียงเป็นเพียงผูร้ วบรวมและเรียบเรียงข้อมูล ทีไ่ ด้มาจากงานวิจยั ทีต่ อ่ เนือ่ งยาวนานกว่าทศวรรษ ดังนัน้ ใน การอ้างอิงหนังสือเล่มนีข้ อให้ใช้นามผูเ้ ขียนเป็นหน่วยวิจยั การ ฟืน้ ฟูปา่ , 2549 หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตจากโครงการ “การศึกษาและอบรมเพือ่ ฟืน้ ฟูความหลากหลายทางชีวภาพของ ป่าเขตร้อน” ซึง่ ได้รบั การสนับสนุนจาก ดาร์วนิ อินนิธเิ อทีฟ แห่งสหราชอาณาจักร พวกเราขอขอบคุณดาร์วนิ อินนิธเิ อทีฟ ทีเ่ ป็นผูส้ นับสนุนในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ก่อตัง้ ขึน้ ในปี พ.ศ. 2537 โดยเป็น หน่วยงานในภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยา ลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. วิไลวรรณ อนุสารสุนทร ดร. สตีเฟน เอลเลียต และ ดร. เดวิด บาเครสลีย์ เป็นผูร้ ว่ มก่อตัง้ ภายใต้ความร่วมมือกับอุทยาน แห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พวกเราขอขอบคุณหัวหน้าอุทยาน ทุกท่านที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมของหน่วยวิจัยการฟื้นฟู ป่าอย่างต่อเนือ่ งมาโดยตลอด โดยเฉพาะ คุณประวัติ โวหารดี คุณอำพร พันมงคล คุณวิโรจน์ โรจนจินดา คุณสุชัย อมาภิญญา คุณไพบูลย์ เศวตมาลานนท์ คุณประเสริฐ แสนธรรม และ คุณอนันต์ ศรไทร หนังสือเล่มนีค้ งไม่สมบูรณ์ถา้ ขาดงานทีม่ คี ณ ุ ภาพจากนัก วิจยั ของเราทัง้ เก่าและใหม่ ได้แก่ ศิรพิ ร กอผจญ กิตยิ า สุรยิ า พุฒพิ งศ์ นวกิจบำรุง เชิดศักดิ์ เกือ้ รักษ์ เกริก ผักกาด นฤมล ตันทนา ทองหลาว ศรีทอง จำปี ปัญญาดิษฐ์ สมคิด คุณโกฑา กันยา ศรีทอง และเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยบริการการศึกษา ผูม้ สี ว่ นในการปรับปรุงร่างของหนังสือเล่มนี้ ได้แก่ ดร. สุทธาธร สุวรรณรัตน์ เนตรนภิศ จิตแหลม ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ คุณากร บุญใส สุดารัตน์ ซางคำ นริสา พงษ์โสภา และ รุง่ ทิวา ปัญญายศ ตลอดเวลากว่า 10 ปีทผ่ี า่ นมา หน่วยวิจยั ฯ ได้รบั แนว ความคิดใหม่ ๆ จากอาสาสมัครชาวต่างประเทศทีเ่ ข้ามาร่วม

งานกับเรา ได้แก่ ดาเนียล แบลคเบิรน์ อลัน สมิท แอน ซิลแคล์ ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร ดีเรค ฮิทธ์คอค เควิน วูดส์ จานิส เคอร์บ้ี ทิม เรย์เดน และ อมันดา บริคเดน โดยเฉพาะยุวฑูตของประเทศออสเตรเลีย เคอร์บ้ี โด๊ค และ ซูซาน ดาวส์ ซึง่ ช่วยหาข้อมูลทีเ่ ป็นประโยชน์ สำหรับบทที่ 9 ขอขอบคุณ ดร. เคท ฮาร์ทวิค สำหรับ การทำงานอย่างทุม่ เทในช่วงปีแรก ๆ ของการจัดตัง้ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ รวมถึง หม่อมราชวงค์สมานสนิท สวัสดิวฒ ั น์ และมาร์ค เกรแฮม ผูล้ ว่ งลับไปแล้ว พวกเรายังระลึกถึงความ ช่วยเหลือและแรงสนับสนุนที่ได้รับจากท่านทั้งสองเสมอ วิธกี ารฟืน้ ฟูปา่ ด้วยพรรณไม้โครงสร้างมีตน้ กำเนิดมาจาก รัฐควีนสแลนด์ ออสเตรเลีย พวกเราขอขอบคุณ ไนเจล ทัคเกอร์ และทาเนีย เมอร์ฟี ทีใ่ ห้การอบรมเจ้าหน้าทีข่ อง หน่วยวิจยั ฯ เกีย่ วกับเทคนิคดังกล่าว ณ อุทยานแห่งชาติ เลค อีชแฮม ในปี 2540 และขอขอบคุณ ดร. แนนซี ซี การ์วดู จากแนทเจอณ์ล ฮีสทรี มิวเซียม กรุงลอนดอน ทีใ่ ห้การ อบรมแก่เจ้าหน้าทีข่ องเราในช่วงก่อตัง้ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ความสำเร็จของโครงการฟืน้ ฟูปา่ นีค้ งจะเกิดขึน้ ไม่ได้ถา้ ขาด ความร่วมมือจากชาวบ้านแม่สาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การ จัดทำแปลงปลูกป่าสาธิตในพืน้ ทีข่ องหมูบ่ า้ น พวกเราขอขอบ คุณเน้ง ถนอมวรกุล และ นะโอ ถนอมวรกุล ผูด้ แู ลเรือน เพาะชำของหมู่บ้านและประสานงานระหว่างหน่วยวิจัยฯ กับ ชุมชน หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ก่อตัง้ ขึน้ ด้วยเงินทุนสนับสนุนจาก บริษทั ริชมอนเด้ (กรุงเทพ) และได้รบั ทุนสนับสนุนการทำ วิจยั จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการพัฒนาองค์ความรู้ และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพแห่งประเทศ ไทย โครงการอีเดน แห่งสหราชอาณาจักร บริษทั เซลล์ อินเตอร์เนชัน่ แนล รีนวิ เอเบิล แอนด์ กินเนส รวมทัง้ ผูส้ นับ สนุนอืน่ ๆ ได้แก่ สถานฑูตอังกฤษประจำประเทศไทย บริตชิ เคาซิล ฟากัส แอนสทรูเซอร์ เมมโมเรียล ทรัสต์ ปีเตอร์ นาธาน ทรัสต์ โรเบิรต์ ไคล์น ชาริทาเบิล ทรัสต์ บาบาร่า เอเวอราด ปอร์ ออร์คดิ คอรเซอเวชัน่ สโมสรโรตารีเคลป แลนด์ พอนดาน โปรเจค อลันและเทลมา คินเรด นอสทา ชาติคาวานิช อาร์ บัตเตอร์เวอร์ท และ เจมส์ ซี บอดวิว พวกเราขอขอบคุณทุกท่านมา ณ ทีน่ ้ี

ปลูกให้เป็นป่า

V


หนังสือเล่มนีเ้ รียบเรียงครัง้ แรกเป็นภาษาอังกฤษ โดย ดร. สตีเฟน เอลเลียต ดร. เดวิด บาเครสลีย์ และ ซูซาน ดาวส์ และ แปลเป็นไทยโดย ดร. สุทธาทร สุวรรณรัตน์ เจ เอฟ แม็กเวลล์ เป็นผูว้ นิ จิ ฉัยพืชทุกชนิดทีอ่ ยูใ่ นหนังสือ เล่มนี้ ภาพวาดประกอบโดย สุรตั น์ พลูคำ ยกเว้นภาพที่ ระบุไว้อย่างอืน่ ภาพถ่ายโดยเจ้าหน้าทีข่ องหน่วยวิจยั การ ฟืน้ ฟูปา่ คณะผูเ้ รียบเรียงขอขอบคุณทุกท่านทีย่ งั มิได้เอ่ย นามทีใ่ ห้การสนับสนุนแก่โครงการของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่

และการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้และยังไม่ได้เอ่ยนาม สิง่ ทีเ่ ขียนอยูใ่ นหนังสือเล่มนีเ้ ป็นความคิดเห็นของผูเ้ รียบ เรียงมิใช่ของผู้ให้ทุนสนับสนุนท้ายที่สุดนี้พวกเราขอขอบคุณ สถาบันวิจยั พืช้ สวนนานาชาติ (ปัจจุบนั ใช้ชอ่ื อีสต์ มอลลิง่ รีเสิรจ์ ) หน่วยงานของ ดร. เดวิด บาเครสลีย์ และ ภาควิชา ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทไ่ี ด้ให้ การสนับสนุนแก่หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าตลอดมา เน้ง ถนอมวรกุล ผูด้ แู ลเรือนเพาะชำ และผู้ประสานงานของบ้านแม่สาใหม่ กับต้นมะกักอายุ 5 ปี ในแปลงปลูกป่า

ดร. เดวิด บาเครสลีย์ ผูร้ ว่ ม ก่อตั้งและที่ปรึกษาทางวิชาการ ของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า

ทีมงานของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ (ต้นปี 2548) จากซ้ายไปขวา พนิตนาถ ทันใจ (นักวิจยั ) ดร. สตีเฟน เอลเลียต (ผูก้ อ่ ตัง้ ) ดร. วิไลวรรณ อนุสารสุนทร (ผู้ก่อตั้ง) เจ. เอฟ. แมกเวลล์ (นักพฤกษศาสตร์) ดร. สุทธาธร สุวรรณรัตน์ (หัวหน้าฝ่ายการศึกษา) รุง่ ทิวา ปัญญายศ (เลขานุการ) เชิดศักดิ์ เกือ้ รักษ์ (นักวิจยั ) เกริก ผักกาด (นักวิจยั ) สุดารัตน์ ซางคำ คุณากร บุญใส นริสา พงษ์โสภา (ฝ่ายการศึกษาในโครงการดาร์วิน) ซูซาน ดาวส์ (ยุวฑูตจากออสเตรเลีย)

VI

ปลูกให้เป็นป่า


สารจากรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงสิง่ แวดล้อมแห่งสหราชอาณาจักร พณฯ อีเลียต มอร์เลย์ การทำลายพืน้ ป่าเขตร้อนอาจเป็นภัยคุกคามทีร่ นุ แรงทีส่ ดุ ของพืชและสัตว์นานาพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกับเราบนโลกใบนี้ ถึงแม้วา่ ป่าเขตร้อนจะมีพน้ื ทีเ่ พียงร้อยละ 7 ของพืน้ ดินบน โลก แต่มากกว่าร้อยละ 50 ของพืชและสัตว์บนโลกอาศัย อยูใ่ นเขตนี้ คนในพืน้ ทีไ่ ด้รบั ประโยชน์จากป่าทัง้ ในแง่ของ การเก็บเกีย่ วของป่า การลดความเสีย่ งในการเกิดน้ำท่วม และภัยแล้ง รวมไปถึงเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเทีย่ ว แต่ใน ขณะนี้ป่าได้ลดลงอย่างรวดเร็ว รัฐบาลอังกฤษตระหนักดีถงึ ปัญหาดังกล่าว จึงได้จดั ตัง้ หน่วยงาน ดาร์วนิ อินนิธเิ อทีฟ (Darwin Initiative) ขึน้ ใน ปี พ.ศ. 2535 เพือ่ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานทีม่ คี วามเชีย่ วชาญของสหราชอาณาจักรกับประเทศที่ อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ขาดทรัพยากร ในการอนุรกั ษ์ความหลากหลายนัน้ ไว้ จนถึงปัจจุบนั หน่วย งานนีไ้ ด้ใช้ทนุ ถึง 35 ล้านปอนด์ ในการสนับสนุนโครงการ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่า 350 โครงการ ทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2545 ดาร์วนิ อินนิธทิ ฟี ได้ให้การสนับสนุน แก่ สถาบันวิจยั พืชสวนนานาชาติ (Horticulture Reasearch International) และหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ (FORRU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในโครงการ “การศึกษา และฝึกอบรมเพือ่ ฟืน้ ฟูความหลากหลายทางชีวภาพของป่าเขต ร้อน” โดยโครงการนีไ้ ด้ตง้ั หน่วยงานบริการการศึกษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูระบบ นิเวศป่าเขตร้อน สิง่ ทีถ่ กู บรรจุอยูใ่ นบทเรียนเป็นข้อมูล

งานวิจยั ของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ทีท่ ำต่อเนือ่ งมา ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2537 ซึง่ แสดงให้เห็นว่าเราสามารถจะสร้างป่าทีม่ ี เรือนยอดหนาทึบได้ภายในเวลาเพียง 3-5 ปี โดยการปลูก พรรณไม้ทอ้ งถิน่ ประมาณ 30 ชนิด ทีไ่ ด้รบั การคัดเลือก แล้วว่าสามารถควบคุมวัชพืชได้และดึงดูดสัตว์ป่าที่ช่วยกระ จายเมล็ดพรรณไม้เข้ามาในพื้นที่ซึ่งจะช่วยเร่งการฟื้นตัวของ ความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการนีจ้ ะเป็นส่วนหนึง่ ทีช่ ว่ ยให้ประชาชนเข้ามามีสว่ น ร่วมในการฟืน้ ฟูปา่ ทีเ่ คยอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยมากขึน้ โดยผ่านการจัดอบรมและกิจกรรมให้ความรู้รูปแบบต่าง ๆ ทำให้โครงการปลูกป่าทีม่ อี ยูเ่ ดิมมีประสิทธิภาพสูงขึน้ นอก จากนัน้ ยังเป็นการกระตุน้ ให้ชมุ ชนในท้องถิน่ มีสว่ นร่วมในการ ฟืน้ ฟูปา่ พืน้ ทีข่ องตนเองอีกด้วย ในปี 2547 ผมได้มโี อกาสไปยังชุมชนบ้านแม่สาใหม่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้เห็นว่าโครงการนีไ้ ด้สร้าง ทัง้ จิตสำนึกในการฟืน้ ฟูปา่ ให้กบั ชุมชนไปพร้อม ๆ กับการ พัฒนาเทคนิควิธีการที่สามารถนำไปใช้ได้จริง หนังสือ “ปลูกให้เป็นป่า” เป็นส่วนหนึง่ ของโครงการนี้ ใน หนังสือได้รวบรวมแนวทางง่าย ๆ ในการนำผลงานการวิจัย ของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าไปประยุกต์ใช้จริง เหมาะสำหรับ ผู้ที่จะมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าของประเทศไทย ผมมีความ ยินดีอย่างยิง่ ทีด่ าร์วนิ อินนิธเี อทีฟ ได้มสี ว่ นในการสนับ สนุนในการเผยแพร่หนังสือเล่มนีซ้ ง่ึ ไม่เพียงเป็นข้อแนะนำใน การฟื้นฟูป่าของประเทศไทยเท่านั้น ต่ยังสามารถนำไปเป็น ตัวอย่างสำหรับประเทศอืน่ ๆ ได้ตอ่ ไปด้วย

รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงสิง่ แวดล้อม พณฯ อีเลียต มอร์เลย์ สนทนากับคุณมนัสหัวหน้าหมู่บ้านแม่สาใหม่ และท่านฑูต อังกฤษ คุณเดวิด ปอลล์ ในระหว่างเยีย่ มชมการดำเนินงาน ของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ 2547

ปลูกให้เป็นป่า

VII


คำนำ

ศาสตราจารย์ ดร. วิสทุ ธิ์ ใบไม้ โครงการพัฒนาองค์ความรูแ้ ละศึกษานโยบาย การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT)

เช่นเดียวกับประเทศในเขตร้อนอืน่ ๆ ประเทศไทยกำลัง ตกอยูใ่ นวิกฤตการณ์การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อผืนป่าที่เคยมีอยู่ถูกแผ้วถางเพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และพืน้ ทีส่ ำหรับการพัฒนาอืน่ ๆ ความสมบูรณ์ของพืช พรรณและสัตว์ป่าย่อมลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยตระ หนักดีถงึ ปัญหาดังกล่าว โครงการพัฒนาองค์ความรูแ้ ละ ศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) จึงได้ถกู จัดตัง้ ขึน้ ในปี พ.ศ. 2538 เพือ่ ให้การสนับ สนุนทำวิจยั เกีย่ วกับการอนุรกั ษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง ยัง่ ยืน ตัง้ แต่ปี 2541 โครงการ BRT ได้ให้การสนับสนุน แก่ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ในการวิจยั และพัฒนาวิธกี ารทีด่ ที ส่ี ดุ ใน การพลิกฟืน้ ผืนป่าเสือ่ มโทรมให้กลับมาเป็นป่าทีม่ คี วามหลาก หลายทางชีวภาพสมบูรณ์อกี ครัง้ โครงการวิจยั ดังกล่าวประสบ ความสำเร็จเป็นอย่างดี หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าได้จัดตั้งเรือน เพาะชำเพื่อการทดลองและแปลงปลูกป่าสาธิตที่แสดงให้เห็น ว่าระบบนิเวศป่าสามารถฟื้นตัวได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ ปีดว้ ยวิธี “พรรณไม้โครงสร้าง” นกและสัตว์เลีย้ งลูกด้วย

VIII ปลูกให้เป็นป่า

นมหลากหลายชนิดได้กลับเข้ามาในผืนป่าที่ปลูกขึ้นใหม่นี้ พร้อมกับนำเอาเมล็ดพรรณไม้ชนิดอืน่ ๆ อีกกว่า 60 ชนิด จากบริเวณใกล้เคียงกลับเข้ามาในพื้นที่ หนังสือเล่มนีไ้ ด้นำเสนอข้อมูลทีเ่ ป็นประโยชน์จากงานวิจยั ดังกล่าวในรูปแบบทีเ่ ข้าใจได้งา่ ยเพือ่ ให้ผทู้ ส่ี นใจสามารถนำไป ปฏิบตั ไิ ด้จริงด้วยความเชือ่ ทีว่ า่ ป่าทีถ่ กู ทำลายสามารถฟืน้ ฟูได้ หนังสือเล่มนี้ได้ให้แนวทางในการฟื้นฟูความหลากหลายทาง ชีวภาพบนพืน้ ทีเ่ สือ่ มโทรม โดยการสร้างพืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสม สำหรับการดำรงชีวิตให้แก่พืชและสัตว์นับพันชนิด นอกจากแนวปฏิบตั ใิ นการฟืน้ ฟูปา่ หนังสือเล่มนีย้ งั ได้ให้ความ รูพ้ น้ื ฐานเกีย่ วกับชนิดป่าและกระบวนการเปลีย่ นแปลงแทนทีท่ ม่ี ี ในระบบนิเวศป่าจึงทำให้ผอู้ า่ นสามารถนำความรูไ้ ปประยุกต์ให้เข้า กับแต่ละท้องถิน่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนังสือเล่มนีเ้ ป็น แหล่งความรูส้ ำหรับผูท้ ห่ี ว่ งใยในผืนป่าและความหลากหลาย ทางชีวภาพของไทยในทุกระดับ ไม่วา่ จะเป็นเด็กนักเรียนผูท้ ่ี ร่วมกิจกรรมปลูกป่าเป็นครั้งแรก หรือ หน่วยงานราชการที่ รับผิดชอบในการฟื้นฟูป่าในระดับชาติ ผมมีความภูมใิ นที่ BRT ได้มสี ว่ นในการสนับสนุนโครง การวิจัยที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับหนังสือเล่มนี้และหวังว่าทุก ท่านที่ได้อ่านจะได้รับแรงบันดาลใจให้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟู พื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยเรา ต่อไป


ปลูกให้เป็นป่า

IX


บทที่ 1

การฟื้นฟูป่า-เพียงความเพ้อฝันหรือความจริง ******************************** การตัดไม้ทำลายป่าภัยคุกคามโลก การฟืน้ ฟูปา่ เผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ เผยแพร่แนวคิด “สิง่ ทีผ่ มมักพูดอยูเ่ สมอก็คอื ป่าเราเก็บไว้เฉย ๆ ก็เป็นการอนุรกั ษ์ทเ่ี ราได้รบั ประโยชน์ โดยทีเ่ ราไม่จำเป็นต้องตัดมาใช้ ต้นไม้ให้อากาศ ให้นำ้ ..นีเ่ ป็นการใช้ใช่ไหม ใช้โดยที่เราไม่ต้องไปตัดเอาส่วนของมันมาใช้” สืบ นาคะเสถียร


โครงการความร่วมมือของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ สถาบันวิจยั พืชสวนนานาชาติ และ ดาร์วนิ อินนิธเิ อทีฟ ในระหว่างปี 2545 ถึง 2548 โครงการความร่วมมือดังกล่าวได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูป่าให้แก่ชุมชน NGO รวมไปถึงครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ บทเรียนและกิจกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดล้วนเป็นข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยอันยาวนานของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ทำให้ชมุ ชนสามารถริเริม่ โครงการฟืน้ ฟูปา่ ได้ดว้ ยตนเอง คูม่ อื ปลูกป่าเล่มนีม้ งุ่ ทีจ่ ะถ่ายทอดประสบการณ์เหล่านัน้ ไปยังผูท้ ส่ี นใจต่อไป

กิจกรรมที่จัดร่วมกับโรงเรียนต่าง ๆ กว่า 180 ครั้ง ได้เปิดโอกาสให้ นักเรียนกว่า 9,000 คน ได้รู้จักหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (บน)

การอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร 19 ครัง้ ผูเ้ ข้าร่วมกว่า 500 คน ได้เรียนรูว้ ธิ กี าร คืนความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่พน้ื ทีป่ า่ ปลูกด้วยวิธพี รรณไม้ โครงสร้าง (บน)

นักเรียนจากหลายประเทศทั่วโลกได้เรียนรู้วิธีการเพาะกล้าไม้ ในเรือนเพาะชำ (ซ้าย) ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง (บน)

ผูเ้ ข้าร่วมในโครงการได้รบั ข่าวสารของ หน่วยวิจยั ฯ อย่างสม่ำเสมอ (ซ้าย) ผ่านจดหมายข่าว (ทั้งไทยและ อังกฤษ) ทีอ่ อกทุก 3 เดือน

การฟืน้ ฟูปา่ มิใช่เพียงการปลูกต้นไม้ การอนุรกั ษ์ นกทีท่ ำหน้าทีก่ ระจายเมล็ดพันธุน์ บั เป็นสิง่ สำคัญ ยิง่ ในการฟืน้ ฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ชมรม อนุรกั ษ์นกบ้านแม่สาใหม่จงึ ถูกจัดตัง้ ขึน้ เพือ่ ให้เด็ก ๆ ที่ เคยเป็นคนล่านกหันกลับมา ชืน่ ชมและช่วยกันอนุรกั ษ์ นกเหล่านัน้ แทน


ก า ร ฟื้ น ฟู ป่ า **************

การฟืน้ ฟูปา่ - เพียงความเพ้อฝันหรือความเป็นจริง “ถ้าหากเรายังคงตัดป่าและทำลายระบบนิเวศสำคัญ เช่น ป่าดิบชืน้ และแนวประการัง ซึง่ เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพด้วยอัตราเร็วเท่ากับปัจจุบนั ชนิดพันธุข์ องพืชและ สัตว์บนโลกจะถูกทำลายลงมากกว่าครึง่ หนึง่ ภายในศตวรรษที่ 21” E.O. Wilson นักชีววิทยาผูเ้ ริม่ ใช้คำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ”

ตอนที่ 1 - การตัดไม้ทำลายป่า...ภัยคุกคามของโลก การลดลงของป่าไม้ผลกระทบทีไ่ ม่อาจ หลีกเลีย่ ง ตัง้ แต่มนุษย์ได้ตขี วานเล่มแรก ป่าไม้ได้ถกู รุกรานทำลาย เพือ่ นำพืน้ ทีม่ าใช้ทำการเกษตรและตัง้ เมืองรวมทัง้ เป็นแหล่ง ไม้ฟนื และผลผลิตอืน่ ๆ ในอดีตการทำไม้สว่ นใหญ่อยูใ่ น อัตราทีธ่ รรมชาติสามารถฟืน้ ตัวเองได้ แต่การเพิม่ ขึน้ ของ ประชากรในปัจจุบนั ทำให้ความต้องการใช้ปา่ ไม้และผลผลิต อืน่ ๆ จากป่าเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วจนกระทัง่ ป่าไม่สามารถที่ จะฟืน้ ตัวได้ทนั เขตร้อนเป็นพืน้ ทีท่ ม่ี ปี ญ ั หาการลดลงของพืน้ ทีป่ า่ รุนแรงทีส่ ดุ ถึงแม้วา่ ป่าเขตร้อนนัน้ ครอบคลุมพืน้ ทีเ่ พียง ร้อยละ 16.8 ของโลก (FAO, 2001) แต่พน้ื ทีส่ ว่ นนีเ้ ป็นแหล่ง ที่อยู่ของพรรณพืชและสัตว์มากกว่าครึ่งบนโลก (Wilson, 1988) การตัดไม้ทำลายป่านอกจากจะส่งผลให้พน้ื ทีป่ า่ ลดลง แล้วยังทำให้พื้นที่ที่เหลืออยู่ถูกตัดแบ่งเป็นผืนเล็ก ๆ ไม่ ต่อเนือ่ ง พืน้ ทีเ่ หล่านีส้ ว่ นใหญ่มขี นาดไม่ใหญ่พอทีจ่ ะรองรับ การดำรงอยูท่ ง้ั ของพืชและสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ สัตว์เลีย้ ง ลูกด้วยนมและนกขนาดใหญ่ เมือ่ สิง่ มีชวี ติ บางชนิดสูญพันธุ์ ไปจากพื้นที่ย่อมส่งผลให้สายใยอาหารที่ประกอบด้วยสาย สัมพันธ์อนั ซับซ้อนของสิง่ มีชวี ติ ในป่าเขตร้อนล่มสลายตาม ไปด้วย พันธุพ์ ชื หลายชนิดไม่สามารถขยายพันธุต์ อ่ ไปได้ เนือ่ งจากขาดสัตว์ทท่ี ำหน้าทีผ่ สมเกสรหรือกระจายเมล็ดพันธุ์ จำนวนของสัตว์กินพืชซึ่งเคยถูกควบคุมด้วยผู้ล่าอาจเพิ่ม จำนวนขึน้ จนก่อให้เกิดปัญหาต่อประชากรพืชอาหารของมัน เมื่อสิ่งมีชีวิตที่เป็นกลไกสำคัญของระบบนิเวศตายไปความ หลากหลายของป่าเขตร้อนย่อมจะลดลงและอาจเปลีย่ นสภาพ ไปเป็นพื้นที่ซึ่งปกคลุมด้วยวัชพืชเพียงไม่กี่ชนิด การบุกรุก ทำลายพืน้ ทีป่ า่ เขตร้อนนีจ้ งึ เป็นสาเหตุของการสูญพันธุค์ รัง้ ใหญ่ ทีส่ ดุ ตัง้ แต่เริม่ มีสง่ิ มีชวี ติ กำเนิดขึน้ บนโลก (Wilson, 1992)

ป่าอันอุดมไปด้วยพืชพรรณและสัตว์นานาชนิดนี้เป็น แหล่งทรัพยากรสำคัญสำหรับชุมชนในท้องถิน่ ทัง้ ยาสมุนไพร พืชอาหาร น้ำผึง้ หน่อไม้และเห็ด ล้วนเป็นผลผลิตทีม่ ใี ห้เก็บ เกีย่ วได้ตลอดทัง้ ปี อย่างไรก็ตามผลผลิตทีไ่ ด้จากป่าเหล่านี้ ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในชีวิตประจำวันและไม่ได้ถูกนำมาขาย มูลค่าของมันจึงไม่ได้รับความสนใจจากหน่วยงานของรัฐซึ่ง เป็นผูก้ ำหนดนโยบายในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่า ใน ปัจจุบนั ถึงแม้วา่ ดัชนีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเพิม่ สูง ขึน้ แต่สำหรับชาวบ้านทีอ่ ยูก่ บั ป่าแล้ว สถานการณ์กลับแย่ลง เพราะชาวบ้านต้องเริม่ จ่ายเงินเพือ่ ซือ้ ของจากตลาดแทนของที่ เคยเก็บเกีย่ วได้จากป่าดังทีเ่ คยเป็นในอดีต ป่าเขตร้อนยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิง่ แวด ล้อมในแง่ตา่ ง ๆ เช่น สัตว์ผลู้ า่ ของศัตรูพชื ทีอ่ าศัยอยูใ่ นป่า ช่วยควบคุมศัตรูพชื ในพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมข้างเคียง ค้างคาว และแมลงที่มีถิ่นอาศัยในป่าทำหน้าที่สำคัญในการผสมเกสร พืชพรรณต่าง ๆ โดยเฉพาะไม้ผล ในแต่ละปีปา่ เขตร้อนผลิต ใบไม้ปริมาณมากซึง่ ถูกย่อยสลายและสะสมอยูใ่ นชัน้ ดินหนา ผลผลิตจากป่าแหล่งทรัพยากร ของชุมชนในท้องถิน่

ปลูกให้เป็นป่า 3


ก า ร ฟื้ น ฟู ป่ า *************

การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิด การพังทลายของดิน อุทกภัย และแผ่นดินถล่ม

ทีอ่ ดุ มไปด้วยสารอินทรีย์ ชัน้ ดินนีส้ ามารถอุม้ น้ำไว้ได้ใน ปริมาณมหาศาล ในฤดูฝนชัน้ ดินเหล่านีจ้ ะอุม้ น้ำเก็บไว้ลด ความเสีย่ งในการเกิดน้ำท่วม ส่วนในฤดูแล้งน้ำจะค่อย ๆ ซึมออกมาสูล่ ำธารตลอดทัง้ ปี นอกจากนีป้ า่ ไม้ยงั ช่วยดูดซับ คาร์บอนไดออกไซด์อนั เป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดภาวะโลก ร้อนโดยดึงคาร์บอนมาเก็บไว้ในเนือ้ ไม้แทน ทัง้ ผลผลิตจากป่าและประโยชน์ทางนิเวศวิทยาดังทีก่ ล่าว มานัน้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิง่ ทีแ่ สดงถึงคุณภาพในการดำรงชีวติ ของมนุษย์ซง่ึ สิง่ เหล่านีก้ ำลังจะสูญหายไปพร้อม ๆ กับพืน้ ทีป่ า่ ทีล่ ดลง

พืน้ ทีป่ า่ เขตร้อนลดลงเร็วแค่ไหน ตอไม้ สัญลักษณ์ ของการทำลายป่า

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ทำการ ประเมินพื้นที่ป่าเขตร้อนที่เหลืออยู่โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม พบว่า พืน้ ทีป่ า่ เขตร้อนธรรมชาติ 1 บนโลก ลดลงจาก 12,156 ล้านไร่ เหลือเพียง 11,269 ล้านไร่ ในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปี (2533-2543) โดยประมาณ 62.5 ล้านไร่ ได้ถกู เปลีย่ น เป็นพื้นที่ปลูกไม้เศรษฐกิจ ในขณะที่อีก 887.5 ล้านไร่ เปลีย่ นไปใช้ประโยชน์อน่ื ๆ ในช่วงเวลาเดียวกันมีพน้ื ทีป่ า่ ทีเ่ คยถูกทำลายเพียง 62.5 ล้านไร่เท่านัน้ ทีฟ่ น้ื ตัวกลับมาเป็นป่าเขตร้อน ดังนัน้ ในแต่ละ ปีเราสูญเสียพื้นที่ป่าธรรมชาติไปโดยเฉลี่ยถึง 88.7 ล้านไร่ (ประมาณร้อยละ 0.7) ในปี 2543 พืน้ ทีป่ า่ ธรรมชาติของประเทศไทยเหลือเพียง 61.3 ล้านไร่ (ร้อยละ 19.3 ของพืน้ ทีท่ ง้ั ประเทศ) และถึงแม้วา่ สัมปทานการทำไม้ทง้ั หมดได้ถกู ยกเลิกตัง้ แต่ปี 2532 แต่อตั รา การลดลงของพื้นที่ป่าในช่วงปี 2538-2543 ยังสูงถึง 1.6 ล้านไร่ตอ่ ปี (ร้อยละ 2.3 ของพืน้ ทีป่ า่ ในปี 2538) (FAO,1997, 2001) ซึ่งถ้ามองย้อนกลับไปจนถึงปี 2504 ประเทศไทย ของเราได้ ส ู ญ เสี ย พื ้ น ที ่ ป ่ า ไปมากกว่ า สองในสามแล้ ว (Bhumibamon, 1986) -------------------------------------------------------1

4

ปลูกให้เป็นป่า

พื้นที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่มากกว่าร้อยละ 10 ไม่รวมพื้นที่ป่าปลูก


ก า ร ฟื้ น ฟู ป่ า **************

ตอนที่ 2 การฟืน้ ฟูปา่ เผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพที่สูญหายไปพร้อมกับการ ทำลายพื้นที่ป่าเขตร้อนนี้จะสามารถฟื้นคืนกลับมาได้หรือไม่ เรามีความหวังแค่ไหนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ป่าไม้เป็น ทรัพยากรทีส่ ามารถฟืน้ ตัวสูส่ ภาพเดิมได้ตามธรรมชาติ การ ฟืน้ ตัวของระบบนิเวศป่าโดยธรรมชาติอาจกินเวลาเป็นศตวรรษ แต่ถา้ เราเข้าใจถึงกลไกการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ และช่วยเร่ง กระบวนการนัน้ ให้เกิดเร็วขึน้ การฟืน้ ตัวของป่าอาจเกิดขึน้ ได้ภายในเวลาไม่กส่ี บิ ปี เทคนิควิธงี า่ ย ๆ ทีก่ ล่าวถึงในหนังสือ เล่มนีจ้ ะแสดงให้เห็นว่าการฟืน้ ฟูปา่ เขตร้อนนัน้ ไม่ใช่เพียงความ เพ้อฝันแต่เป็นสิง่ ทีส่ ามารถทำได้จริง

ปลูกป่าหรือฟืน้ ฟูปา่ “การปลูกป่า” หมายถึงการสร้างพืน้ ทีส่ เี ขียวโดยการปลูก ต้นไม้ชนิดใดก็ได้ลงบนพืน้ ทีท่ เ่ี คยถูกทำลาย การปลูกป่าจึง เป็นได้ตง้ั แต่พน้ื ทีป่ ลูกป่าชุมชน การทำวนเกษตร รวมไปถึง การปลูกไม้เศรษฐกิจต่าง ๆ ด้วย ส่วนการฟืน้ ฟูปา่ หมายถึง การสร้างพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลายให้มสี ภาพใกล้เคียงกับพืน้ ทีป่ า่ ที่ เคยมีอยูเ่ ดิมให้มากทีส่ ดุ ในประเทศเขตร้อนการปลูกไม้เศรษฐกิจเป็นรูปแบบการ สร้างพืน้ ทีป่ า่ ทีพ่ บมากทีส่ ดุ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทวีปเอเซีย จาก ข้อมูลในปี 2543 ประมาณร้อยละ 62 ของพืน้ ทีป่ ลูกต้นไม้ของ โลกอยูใ่ นทวีปเอเซีย ซึง่ คิดเป็นร้อยละ 20 ของพืน้ ทีป่ า่ ทัง้ หมด ของเอเซีย ประเทศไทยเองจัดอยูใ่ นอันดับที่ 8 ของประเทศทีม่ ี พืน้ ทีป่ ลูกป่าสูงสุดของโลก โดยพืน้ ที่ 1 ใน 3 ของพืน้ ทีส่ ี เขียวในประเทศไทยประมาณ 31.25 ล้านไร่ เป็นพืน้ ทีป่ ลูกสน ยูคาลิปตัสและยางพารา การปลูกไม้เศรษฐกิจเหล่านี้ยังมีความจำเป็นเพื่อตอบ สนองความต้องการไม้และเยือ่ กระดาษทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ไม้ปลูกเหล่านีช้ ว่ ยลดปริมาณความต้องการไม้จากป่าธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการปลูกป่าในลักษณะนี้ไม่สามารถสร้างสภาพ พืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสมสำหรับการดำรงชีวติ ของพืชและสัตว์นานาชนิด ทีเ่ คยอยูใ่ นระบบนิเวศป่าธรรมชาติได้ ดังนัน้ การฟืน้ ฟูปา่ ใน พืน้ ทีท่ ป่ี ลูกป่าเพือ่ การอนุรกั ษ์ความหลากหลายทางชีวภาพจึงมี ความเหมาะสมมากกว่า -----------------------1 ปัจจุบนั หน่วยงานดังกล่าวขึน้ กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา่ และพันธุพ์ ชื

ในการฟื้นฟูป่าเราไม่สามารถที่จะปลูกพืชทุกชนิดหรือนำ สัตว์ทกุ ชนิดทีเ่ คยมีอยูใ่ นพืน้ ทีก่ ลับมาได้พร้อม ๆ กันทีเดียว เนือ่ งจากในพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ยงั ไม่มขี อ้ มูลทีส่ มบูรณ์เกีย่ วกับชนิด ของพรรณไม้และสัตว์ตา่ ง ๆ ทีเ่ คยอาศัยอยู่ การฟืน้ ฟูปา่ จึง มุง่ เน้นทีจ่ ะสนับสนุนกระบวนการพัฒนาตัวเองของระบบนิเวศ ป่าด้วยการฟืน้ ฟูโครงสร้างและการทำงานของระบบนิเวศโดย การปลูกพืชทีม่ คี วามสำคัญต่อระบบนิเวศดัง้ เดิม ความสำเร็จ ของการฟืน้ ฟูปา่ สามารถวัดได้จากจำนวนชัน้ เรือนยอดของต้น ไม้ที่เพิ่มขึ้น จำนวนของชนิดสิ่งมีชีวิตที่กลับเข้ามาในพื้นที่ โดยเฉพาะชนิดทีห่ ายากหรือมีความสำคัญต่อการดำรงอยูข่ อง ระบบนิเวศและคุณภาพของดินทีด่ ขี น้ึ เป็นต้น การฟืน้ ฟูปา่ จึงจัดเป็นการปลูกป่าที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากการ ปลูกป่าชนิดอืน่ ๆ (Elliott, 2000)

พืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสมต่อการฟืน้ ฟูปา่ การฟื้นฟูป่าเหมาะกับพื้นที่ปลูกป่าเพื่อการอนุรักษ์ เช่น การปลูกป่าเพือ่ อนุรกั ษ์สตั ว์ปา่ รักษาสภาพสิง่ แวดล้อมเพือ่ การท่องเทีย่ วเชิงอนุรกั ษ์ หรือการปลูกป่าเพือ่ ให้ชมุ ชนใช้สอย เก็บเกีย่ วผลผลิตต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การฟืน้ ฟูปา่ ทีถ่ กู ทำลายในพื้นที่อนุรักษ์ นับตั้งแต่ปี 2503 กรมป่าไม้1 ได้ประกาศจัดตั้งอุทยาน แห่งชาติและเขตอนุรกั ษ์พนั ธุส์ ตั ว์ปา่ 138 แห่ง ครอบคลุมพืน้ ที่ มากกว่าร้อยละ 15 ของประเทศ (Elliott & Cubitt, 2001) อย่างไรก็ตามพืน้ ทีภ่ ายในเขตอนุรกั ษ์เหล่านีห้ ลายแห่งมีสภาพ เป็นเพียงป่าเสือ่ มโทรมทีเ่ คยผ่านการสัมปทานไม้หรือเคยเป็น พืน้ ทีเ่ กษตรกรรมเดิม พืน้ ที่ เหล่านี้ต้องได้รับการฟื้นฟูให้ กลับสู่สภาพเดิมก่อนจึงจะ สามารถเป็ น แหล่ ง พั ก พิ ง ของเหล่าพรรณพืชและ สัตว์ปา่ ได้

ตอไม้ สามารถแตกยอด ใหม่ได้อกี ครัง้

ปลูกให้เป็นป่า 5


ก า ร ฟื้ น ฟู ป่ า *************

วิธพี รรณไม้โครงสร้างคืออะไร ทุกคน ปลูกต้นไม้ได้

การฟืน้ ฟูปา่ จำเป็นต้องปลูกต้นไม้หรือไม่ การศึกษากระบวนการฟื้นตัวตามธรรมชาติของป่าทำให้ ทราบว่าปัจจัยใดทีเ่ ป็นข้อจำกัดหรือเป็นประโยชน์ตอ่ การฟืน้ ฟูปา่ (ดูบทที่ 3) ทำให้สามารถจัดการพืน้ ทีไ่ ด้อย่างเหมาะสม เพือ่ ลดอุปสรรคจากปัจจัยเหล่านัน้ ได้ดขี น้ึ เช่น การกำจัด วัชพืช การใส่ปยุ๋ ให้แก่กล้าไม้ธรรมชาติ การป้องกันไฟ และ การป้องกันพืน้ ทีจ่ ากปศุสตั ว์ วิธกี ารเหล่านีร้ วมเรียกว่า “การเร่ง การฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ” (ดูบทที่ 4) เป็นวิธกี ารทีล่ งทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพสูง อย่างไรก็ตาม วิธเี หล่านีจ้ ะใช้ได้เฉพาะ กับต้นไม้หรือต้นกล้าทีม่ อี ยูใ่ นพืน้ ทีแ่ ล้วเท่านัน้ ซึง่ ในพืน้ ทีป่ า่ เสือ่ มโทรมพรรณไม้ทเ่ี หลืออยูต่ ามธรรมชาตินน้ั เป็นเพียงส่วน น้อยของพืชพรรณอันหลากหลายของป่าเขตร้อน ดังนัน้ การ ฟื้นฟูพื้นที่ให้มีความหลายหลายทางชีวภาพเหมือนเดิมอาจ ต้องปลูกต้นไม้เสริมบางส่วน อย่างไรก็ตามการปลูกต้นไม้ ทุกชนิดลงในพื้นที่ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นในการฟื้นฟูป่าเพราะการ ปลูกต้นไม้จำนวนนับร้อยชนิดทีเ่ คยอยูใ่ นพืน้ ทีน่ น้ั ดูเป็นสิง่ ที่ ไม่สามารถเป็นไปได้ในทางปฏิบตั ิ

แต่สง่ิ ทีส่ ำคัญไม่ยง่ิ หย่อนไปกว่ากัน คือการติดตามการเจริญเติบโตของ ต้นไม้เพื่อเรียนรู้ข้อบกพร่องและนำ ไปปรับปรุง

6

ปลูกให้เป็นป่า

วิธกี ารพรรณไม้โครงสร้างได้รบั การพัฒนาขึน้ ครัง้ แรกใน รัฐควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย โดยพิสูจน์ให้เห็นว่า การปลูกต้นไม้ที่คัดเลือกอย่างดีเพียงไม่กี่ชนิดสามารถทำให้ ป่าเสือ่ มโทรมกลับมาเป็นระบบนิเวศทีม่ คี วามหลากหลายทาง ชีวภาพสูงได้ในระยะเวลาอันสัน้ (Goosem and Tucker, 1997; Tucker, 2000) การฟืน้ ฟูปา่ ด้วยวิธนี จ้ี ะปลูกต้นไม้ 20-30 ชนิดปะปนกัน ต้นไม้เหล่านีจ้ ะช่วยฟืน้ ฟูโครงสร้างและ การทำงานของระบบนิเวศ ต้นไม้ทป่ี ลูกต้องดึงดูดสัตว์เข้ามา ในพืน้ ที่ เพือ่ ให้มกี ารนำเมล็ดพันธุจ์ ากป่าข้างเคียงเข้ามาในพืน้ ที่ นอกจากนัน้ สภาพของพืน้ ทีท่ เ่ี ริม่ มีตน้ ไม้ขน้ึ ปกคลุมนีม้ อี ากาศ ทีเ่ ย็นกว่า ความชืน้ สูงและปราศจากวัชพืชเป็นสภาพทีเ่ หมาะสม สำหรับการงอกของเมล็ดพันธุแ์ ละการเจริญเติบโตของต้นไม้ (ดูบทที่ 5) วิธีนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในการฟื้นฟูป่าของ ออสเตรเลียแต่วธิ กี ารดังกล่าวจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน ประเทศไทยได้หรือไม่ยงั เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งค้นคว้าหาคำตอบต่อไป


ก า ร ฟื้ น ฟู ป่ า **************

ตอนที่ 3 - หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ในปี พ.ศ. 2537 เจ้าหน้าทีแ่ ละนักศึกษากลุม่ เล็ก ๆ ของ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มทำการศึกษาวิจัยดูความเป็นไปได้ในการประยุกต์วิธี พรรณไม้โครงสร้างมาใช้ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมในภาคเหนือของ ประเทศไทย โครงการนีไ้ ด้รบั ทุนสนับสนุนจากบริษทั ริช มอนเด้ (กรุงเทพฯ) จำกัด และการสนับสนุนทางวิชาการจาก มหาวิ ท ยาลั ย บาสแห่ ง สหราชอาณาจั ก ร และได้ จ ั ด ตั ้ ง หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ร่วมกับอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพปุย กรมป่าไม้ ซึง่ ประกอบด้วยสำนักงานและเรือนเพาะชำ เพื่อการวิจัย ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เรือนเพาะชำระดับชุมชน การศึกษาในอาคารหอพรรณไม้ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานวิจยั ของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ เทคนิคและคำแนะนำที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจาก ข้อมูลทีส่ ง่ั สมจากประสบการณ์การทำงานตลอด 10 ปี ของ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ตัง้ แต่การคัดเลือกชนิดของต้นไม้ทม่ี ี

ความเหมาะสมในการเป็นพรรณไม้โครงสร้างจากต้นไม้ทม่ี อี ยู่ มากกว่า 600 ชนิดในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย (Maxwell and Elliott, 2001) ตลอดจนการศึกษาเกีย่ วกับฤดูตดิ ดอก ออกผลของต้นไม้กว่า 100 ชนิด เพือ่ ให้ทราบถึงระยะเวลา ทีเ่ หมาะสมในการเก็บเมล็ดของต้นไม้แต่ละชนิด ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการฟืน้ ฟูปา่ เริม่ ต้นจากกล้าไม้ท่ี มีคณ ุ ภาพ ดังนัน้ เราจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิธกี าร ผลิตกล้าไม้ภายในเรือนเพาะชำค่อนข้างมากเพือ่ ให้ได้กล้าไม้ท่ี มีคณ ุ ภาพ (Blakesley et.al., 2000) พรรณไม้ทอ้ งถิน่ มากกว่า 400 ชนิด ได้ผา่ นการทดสอบเพือ่ ดูอตั ราการงอก (Blakesley et.al., 2002) บางชนิดสามารถงอกได้งา่ ย แต่อกี หลายชนิด มีอตั ราการงอกต่ำมาก จึงต้องทดลองใช้วธิ กี ารต่าง ๆ เพือ่ กระตุ้นให้เกิดการงอกของเมล็ดสูงขึ้น (Kopachon, 1995, Siangpectch 2001, Chaiyasirinrod, 2001) สำหรับต้นไม้ ที่ไม่สามารถเพาะจากเมล็ดได้อาจใช้วิธีปักชำและขุดย้ายกล้า ธรรมชาติจากป่าโดยตรง นอกจากนี้ยังมีการทดสอบชนิดของภาชนะปลูกและดิน ปลูกที่ทำให้กล้าไม้มีอัตราการรอดสูงและมีการเจริญดีที่สุด ด้ ว ย (Zangkum, 1998, Jitlam, 2001)

การทดลองที่เรือนเพาะชำทำให้ ทราบถึงผลของสภาพแวดล้อม ต่อการพักตัวและการงอกของ เมล็ดพรรณไม้ทอ้ งถิน่ กว่า 400 ชนิด

ปลูกให้เป็นป่า 7


ก า ร ฟื้ น ฟู ป่ า *************

ทีห่ น่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ต้นกล้าทีถ่ กู เพาะขึน้ ได้รบั การติดตามเก็บข้อมูล ตัง้ แต่เริม่ งอกจนกระทัง่ โตพร้อมทีจ่ ะนำไปปลูก

ต้นไม้แต่ละชนิดติดผลในช่วงเวลาทีแ่ ตกต่างกัน ต้นกล้า ยังมีอัตราการเจริญเติบโตไม่เท่ากันด้วย แต่กล้าไม้ทั้งหมด ต้องโตได้ขนาดทีจ่ ะนำไปปลูกพร้อม ๆ กันในช่วงต้นฤดูฝน ดังนัน้ งานวิจยั หลักในเรือนเพาะชำคือการพัฒนาวิธที เ่ี หมาะสม ในการเร่งกล้าไม้ให้มขี นาดโตพอทีจ่ ะปลูกภายในฤดูกาลปลูก ที่ 1 หรือ 2 หลังจากเก็บเมล็ดพันธุแ์ ล้ว (ดูบทที่ 6) จากความต้องการดังกล่าวจึงมีการพัฒนาตารางการผลิต กล้าไม้ของพรรณไม้ทอ่ี าจใช้เป็นพรรณไม้โครงสร้างได้ขน้ึ ด้วย

วิธีการดูแลกล้าไม้ที่ได้รับการพัฒนา จากการวิจยั อย่างต่อเนือ่ ง ได้รบั การทดสอบเพื่อนำไปใช้กับ เรือนเพาะชำของชุมชน

8

ปลูกให้เป็นป่า

(Kuarak et al., 2000, Elliott et al., 2002, Blakesley et al., 2000) ต้นไม้ทอ่ี าจใช้เป็นพรรณไม้โครงสร้างหลายชนิดถูกนำไป ทดลองปลูกในแปลงปลูกป่าเพือ่ ทดสอบความสามารถในการ เจริญเติบโตในพืน้ ทีป่ ลูก (Elliott et al., 2002) มีการติด ตามตรวจสอบอัตราการรอดชีวิตและอัตราการเจริญเติบโต รวมไปถึงความสามารถในการให้ร่มเงาการแก่งแย่งกับวัชพืช ตลอดจนความสามารถในการฟืน้ ตัวหลังจากถูกไฟไหม้ นอก จากนีย้ งั มีการนำเอาวิธที างวนวัฒนวิทยามาใช้ในการดูแลกล้า ไม้ เพือ่ ทดสอบว่าวิธใี ดจะช่วยเร่งการเจริญของต้นไม้ทป่ี ลูก ได้ เช่น การกำจัดวัชพืชหลากหลายวิธี การคลุมดิน การใส่ปยุ๋ เป็นต้น (Elliott et al., 2000) (ดูบทที่ 7) คุณสมบัติสำคัญในการเป็นพรรณไม้โครงสร้างข้อหนึ่ง ได้แก่ การดึงดูดสัตว์ปา่ ซึง่ เป็นผูน้ ำเมล็ดพันธุเ์ ข้ามาในพืน้ ที่ ดังนัน้ ต้นไม้ทป่ี ลูกไปแล้วควรต้องมีการติดตามผลอย่าง ต่อเนือ่ งว่าเริม่ ติดดอกออกผล และเริม่ ทีด่ งึ ดูดสัตว์เข้ามาใน พืน้ ทีเ่ มือ่ ไร นอกจากนัน้ ยังมีการศึกษาการเปลีย่ นแปลงของ ความหลากหลายของพืชพืน้ ล่าง นก (Chantorn, 1999) และ สัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมทีเ่ ข้ามาในพืน้ ทีด่ ว้ ย ผลงานวิจยั ทีส่ ำคัญอีกอย่างหนึง่ คือ การคัดเลือกพรรณไม้ ที่ช่วยฟื้นฟูโครงสร้างและการทำงานของระบบนิเวศป่าได้เร็ว ขึ้นและสามารถเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติและความหลาก หลายทางชีวภาพของพืน้ ทีไ่ ด้ดี ในบทที่ 9 จะกล่าวถึงพรรณไม้ท่ี ได้รบั การทดสอบแล้วว่าใช้เป็นพรรณไม้โครงสร้างได้ดี พร้อม ทัง้ วิธกี ารปลูกพรรณไม้เหล่านัน้


ก า ร ฟื้ น ฟู ป่ า **************

การทำงานร่วมกับชุมชน งานอีกส่วนหนึง่ ของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ คือการตรวจสอบ ว่าเทคนิควิธตี า่ ง ๆ ทีไ่ ด้รบั การพัฒนาจากงานวิจยั ของเรานัน้ จะได้รับการยอมรับและนำไปใช้โดยชาวบ้านหรือไม่เพราะ นอกจากเทคนิควิธกี ารทีไ่ ด้รบั การทดสอบตามหลักวิชาการแล้ว การฟืน้ ฟูปา่ ยังต้องการการสนับสนุนอย่างต่อเนือ่ งจากชุมชน ในพืน้ ทีท่ ง้ั ในรูปของแรงงานและทุนทรัพย์ โครงการฟืน้ ฟูปา่ ที่ จะประสบความสำเร็จได้กต็ อ่ เมือ่ ทัง้ ผูน้ ำและสมาชิกในชุมชน มีความเข้าใจถึงความสำคัญ เห็นถึงประโยชน์ของการฟืน้ ฟู ระบบนิเวศ และมีแรงจูงใจมากพอทีจ่ ะให้ความร่วมมือกับ โครงการในระยะยาว แปลงปลูกป่าของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ได้ถกู จัดตัง้ ขึน้ โดย ได้รบั ความร่วมมือจากชาวบ้านหมูบ่ า้ นแม่สาใหม่ ชุมชนม้ง ทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย เรือ่ งราวความ สัมพันธ์ระหว่างหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ และชาวบ้านแม่สาใหม่ ทีไ่ ด้รว่ มมือกันผสานการเรียนรูท้ างวิทยาศาสตร์เข้ากับความ ต้องการของชาวบ้านในพืน้ ทีไ่ ด้ถกู บรรยายไว้ในบทที่ 8

หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ได้ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านแม่สาใหม่ ในการจัดตัง้ เรือนเพาะชำเพือ่ ทดสอบว่า ชาวบ้านทีไ่ ม่มคี วามรู้ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จะสามารถเพาะเลี้ยงกล้าไม้ตามวิธี การของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ได้หรือไม่ เรือนเพาะชำแห่ง นีน้ อกจากจะเป็นแหล่งผลิตกล้าไม้ทใ่ี ช้สำหรับการฟืน้ ฟูปา่ ของ แม่สาใหม่แล้วการทำงานร่วมกับชาวบ้านแม่สาใหม่ยังได้ก่อ ให้เกิดความรูแ้ ละแนวทางปฏิบตั มิ ากมายในการวางแผนการ ดำเนินงานในโครงการฟืน้ ฟูปา่ ซึง่ รายละเอียดดังกล่าวจะ กล่าวไว้ในบทที่ 8 นอกจากนี้ เรือนเพาะชำและแปลงปลูกป่าบ้านแม่สาใหม่ ยังได้กลายเป็นแหล่งเรียนรูท้ ม่ี คี ณ ุ ค่าสำหรับการอบรมและให้ ความรูเ้ กีย่ วกับการฟืน้ ฟูปา่ ข่าวความสำเร็จของโครงการที่ แพร่สะพัดออกไปทำให้จำนวนผูส้ นใจเข้าเยีย่ มชมผลงานของ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ เพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง จนกระทัง่ เจ้า หน้าทีไ่ ม่สามารถตอบสนองความต้องการในการให้คำปรึกษา และการฝึกอบรมได้เพียงพอ หน่วยงานใหม่ของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ จึงได้ถกู จัดตัง้ ขึน้ เพือ่ ทำหน้าทีส่ ง่ เสริมทางด้านการ ศึกษาโดยเฉพาะ

พ.ศ. 2543 แปลงปลูกป่าของหน่วย วิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ทีห่ มูบ่ า้ นแม่สาใหม่ ได้รบั รางวัลกิจกรรมบำรุงรักษา ต้นไม้ดเี ด่นจากกรมป่าไม้

ปลูกให้เป็นป่า 9


ก า ร ฟื้ น ฟู ป่ า *************

ตอนที่ 4 เผยแพร่แนวคิด ในปี พ.ศ. 2545 หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ร่วมกับสถาบัน วิจยั พืชสวนนานาชาติ (HRI) แห่งสหราชอาณาจักร ได้รบั การ สนับสนุนจาก ดาร์วิน อินนิธิเอทีฟ (Darwin Initiative) ให้ดำเนินงานในโครงการ “การศึกษาและฝึกอบรมเพื่อการ ฟืน้ ฟูความหลากหลายทางชีวภาพของป่าเขตร้อน” เพือ่ จัดตัง้ ทีมงานฝ่ายการศึกษาเพือ่ ให้บริการจัดกิจกรรมให้แก่โรงเรียน จัดประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารและให้ความรูแ้ ก่ชมุ ชน การจัดทำ หนังสือ “ปลูกให้เป็นป่า” เล่มนีก้ เ็ ป็นส่วนหนึง่ ของงานภายใต้ โครงการดังกล่าว หนังสือเล่มนีเ้ ป็นสือ่ กลางในการถ่ายทอดเทคนิควิธซี ง่ึ ได้รบั การพัฒนาจากข้อมูลงานวิจยั และผ่านการใช้งานจริงในระดับ ชุมชนมาแล้วไปยังผูท้ ส่ี นใจ การฟืน้ ฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน หนังสือเล่มนีไ้ ด้นำมาทดลองใช้และปรับปรุงในการประชุมเชิง ปฏิบตั กิ ารหลายครัง้ ทีจ่ ดั ขึน้ โดยหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ สำหรับ องค์กรพัฒนาเอกชน เจ้าหน้าทีร่ ฐั ครู และชาวบ้าน

มุง่ หมายของหนังสือ ปลูกให้เป็นป่า หนังสือเล่มนีไ้ ด้รวบรวมหลักการพืน้ ฐานและเทคนิคทีใ่ ช้ ในการฟืน้ ฟูปา่ เอาไว้ เพือ่ เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับหน่วยงาน ทีต่ อ้ งการฟืน้ ฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนโดยเฉพาะอย่างยิง่ ข้อมูล พรรณไม้โครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับภาคเหนือของประเทศ

ไทย (ดูบทที่ 9) อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนีไ้ ม่ได้เขียนขึน้ เพือ่ หน่วยงานในประเทศไทยเท่านัน้ วิธกี ารพรรณไม้โครงสร้าง นีส้ ามารถนำไปปรับใช้กบั พืน้ ทีอ่ น่ื ๆ ได้โดยคัดเลือกพรรณไม้ ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่ หนังสือเกีย่ วกับการปลูกป่าส่วนใหญ่จะเน้นทีก่ ารปลูกไม้ เศรษฐกิจ โดยไม่ได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของป่าในการ เป็นแหล่งอนุรกั ษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือการรักษา สภาพแวดล้อม หนังสือเล่มนีจ้ งึ มุง่ เน้นให้เห็นถึงความสำคัญ ของการฟืน้ ฟูระบบนิเวศของป่า และการอนุรกั ษ์ความหลาก หลายทางชีวภาพเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันข้อมูลในหนังสือ ยังสามารถนำไปปรับใช้กบั ป่าชุมชนหรือการทำเกษตรกรรมได้ วิธกี ารทีอ่ ยูใ่ นบทที่ 6 และ 7 สามารถใช้สำหรับการดูแลต้นไม้ ในการปลูกป่าทุกรูปแบบ พรรณไม้โครงสร้างหลายชนิดทีอ่ ยู่ ในบทที่ 9 เป็นพรรณไม้ทม่ี กี ารปลูกในป่าชุมชนหรือวนเกษตร อยูแ่ ล้ว อีกหลายชนิดเป็นไม้โตเร็วทีอ่ าจพัฒนาเป็นไม้สำหรับ สวนป่าในอนาคตได้ หนังสือเล่มนีย้ งั ให้ขอ้ คิดในการบูรณา การการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพกับการจัดการ พื้นที่ปลูกป่าเพื่อเศรษฐกิจเข้าไว้ด้วยกัน การเพิ่มขึ้นของประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจ อาจทำให้การตัดไม้ทำลายป่าเป็นสิง่ ทีห่ ลีกเลีย่ งไม่ได้ แต่ ป่าทีถ่ กู ทำลายนัน้ สามารถฟืน้ ตัวขึน้ มาใหม่ได้โดยใช้เทคนิคที่ ได้รบั การพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง บวกกับความเข้าใจในคุณค่า ของป่าไม้และความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการฟื้นฟูป่า เราจึง หวังอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างอนาคต ทีด่ ขี น้ึ สำหรับป่าเขตร้อนบนโลกใบนี้

เรือนเพาะชำของหน่วย วิจัยการฟื้นฟูป่า เป็นทั้ง ห้องเรียนและห้องวิจัย

10

ปลูกให้เป็นป่า


บทที่ 2

ป่าภาคเหนือ *****************************

ป่าไม่ผลัดใบและป่าผลัดใบ ป่าดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ ป่าผลัดใบ กลยุทธ์ในการฟืน้ ฟูปา่ แต่ละชนิด


ป่าดิบ (EGF) ไม้พื้นล่าง เช่น Phlogacanthus curviflorus (ล่าง) เป็นไม้ทนร่มสามารถ ดำรงชีวติ อยูใ่ ต้เรือนยอดทีม่ ดื ทึบได้

ไม้อิงอาศัยเช่น Aeschynanthus hosseusii (บน) ขึ้นไปเจริญเติบโต บนเรือนยอดของต้นไม้เพือ่ ให้ได้รบั แสงเพียงพอ พืชในวงศ์จำปีจำปาเป็นลักษณะ เฉพาะของป่าไม่ผลัดใบในรูป คือผลของ Manglietia garrettii

Sapria himalayana (กระโถนฤาษี) (ซ้าย) ไม่ต้องใช้แสงแต่ดึงสารอาหาร จากรากของเถาวัลย์ (Tetrastigma spp.) มาใช้แทน

พบในพืน้ ทีส่ งู กว่า 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ความ หลากหลายทางชีวภาพสูงและเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ด้านพื้นป่า มีแสงน้อย เนื่องจากเรือนยอดที่หนาทึบของไม้ใหญ่

Rhododendron vietchianum (กายอม) (ขวา) ไม้พุ่มที่อาศัยบนไม้อื่น

ป่าไม่ผลัดใบผสมสน (EG-Pine) บริเวณสันเขาที่สูงกว่า 1,000 เมตร และได้รับอิทธิพลจากไฟ สนอาจกลายเป็นไม้เด่นใน ป่าไม่ผลัดใบ ไม้พน้ื ล่างมีจำนวนไม่มากชนิดนักและเป็นชนิดทีพ่ บขึน้ อยูก่ บั สนโดยเฉพาะ

ในป่าสนมักพบไม้ในกลุ่มก่อ (Fagaceae) ขึ้นอยู่ด้วย ในภาพด้านบนคือ Castanopsis argyrophylla

การถากต้นเพือ่ เก็บไม้เกีย๊ ะและยางสนทำให้ตน้ สน อ่อนแอลงและถูกเข้าทำลายได้ง่าย (บน) Impatiens violaeflora (เทียนดอย) (บน) ไม้พื้นล่าง ทีพ่ บในป่าไม่ผลัดใบผสมสนออกดอกในช่วงพฤศจิกายน ป่าไม่ผลัดใบผสมสนที่เชียงดาวที่ระดับ 1,200 เมตร


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *****************************

ป่าภาคเหนือ เมือ่ แผ่นทวีปอินเดียเคลือ่ นทีเ่ ข้าชนเอเซีย เมือ่ 50 ล้านปีกอ่ น ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยขึน้ มาเท่านัน้ ยังทำให้เกิด แนวเทือกเขาขยายออกไปทางตะวันออกและทางใต้ เหตุการณ์ทางธรณีวทิ ยาดังกล่าวทำให้ภมู ปิ ระเทศทางเหนือของประเทศ ไทยมีลกั ษณะทีป่ ระกอบด้วยหุบเขาขนาดใหญ่ทถ่ี กู กัน้ ด้วยภูเขาสูงชันตามแนวเหนือใต้มคี วามสูงตัง้ แต่ 300 เมตรในทีร่ าบจนถึง 2,565 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ณ จุดสูงสุดบนดอยอินทนนท์ ความแตกต่างของภูมปิ ระเทศนีท้ ำให้ชนิดของป่าทีข่ น้ึ ปกคลุมอยู่ มีความแตกต่างกันด้วย และนัน่ ยังหมายถึงแหล่งทีอ่ ยูท่ ห่ี ลากหลายของสัตว์ปา่ นานาชนิด จึงไม่ใช่เรือ่ งแปลกทีภ่ าคเหนือของ ประเทศไทยจะเป็นภูมปิ ระเทศทีม่ คี วามหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยพบสัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมอย่างน้อย 150 ชนิด และพบนกถึง 383 ชนิด หอพรรณไม้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีตวั อย่างพรรณไม้ทเ่ี ก็บจากภาคเหนือของประเทศไทยมากกว่า 3,450 ชนิด โดย 1116 ชนิดในนัน้ เป็นไม้ยนื ต้น ถึงแม้ปา่ ทีอ่ ยูใ่ กล้ ๆ กันมักมีพรรณไม้หลาย ๆ ชนิดทีเ่ หมือนกัน แต่ในแต่ละพืน้ ทีก่ จ็ ะมีพชื ที่ เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ดังนัน้ เมือ่ วางแผนฟืน้ ฟูปา่ จึงควรคำนึงถึงความแตกต่างดังกล่าวด้วย

ทำไมต้องรู้จักชนิดป่า การฟืน้ ฟูปา่ มีจดุ มุง่ หมายเพือ่ เร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ ของระบบนิเวศป่าให้กลับไปมีสภาพที่ใกล้เคียงกับสภาพดั้ง เดิมให้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ จึงจำเป็นต้องทราบถึง

สภาพป่าเดิมของพื้นที่เพื่อกำหนดเป้าหมายการฟื้นฟูได้ถูก ต้อง ทำให้ทราบว่าควรปลูกต้นไม้ชนิดใดบ้างบนพืน้ ทีแ่ ต่ ละแปลงทีต่ อ้ งการฟืน้ ฟู เมือ่ จุดมุง่ หมายแรกของการฟืน้ ฟู ป่าคือการอนุรกั ษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สิง่ ทีบ่ ง่ ชีถ้ งึ ความสำเร็จก็คอื การพบสิง่ มีชวี ติ ทีค่ ล้ายคลึงกับทีเ่ คยพบ เดิมในพืน้ ทีป่ า่ ฟืน้ ฟู

แผนภาพด้านล่างแสดงพื้นที่ที่พบป่าชนิดต่าง ๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย EGF = ป่าไม่ผลัดใบหรือป่าดิบ, PINE = ป่าสน , MXF = ป่าผสมผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ, BB-DF = ป่าผลัดใบผสมไผ่ (ป่าสักที่เคยถูกทำลาย), DOF = ป่าผลัดใบผสมก่อ (Maxwell and Elliott (2001))

EGF PINES PINES

1,000 m

ระดับความสูง

MXF

DOF BB-DF

350 m

ระดับความสูง

แห้งมาก-----------------------แห้ง-----------------------------ชื้น-----------------------ชื้นมาก ถูกรบกวน/ทำลายมาก--------------------------------------------ถูกรบกวนน้อย

ปลูกให้เป็นป่า 13


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *************************** *

ตอนที่ 1 ป่าไม่ผลัดใบและป่าผลัดใบ ป่าในภาคเหนือของประเทศไทยสามารถแบ่งคร่าว ๆ ออกได้ 2 กลุม่ คือ ป่าดิบหรือป่าไม่ผลัดใบซึง่ พบอยูป่ ระมาณ 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลและป่าผลัดใบทีพ่ บในพืน้ ที่ ทีต่ ำ่ กว่า ปัจจัยหลักทีก่ ำหนดลักษณะพืน้ ทีป่ า่ ทัง้ สองชนิดนี้ ก็คอื ความชืน้ ของดิน ในพืน้ ทีเ่ ขตร้อนซึง่ มีชว่ งฤดูแล้งทีข่ าดแคลนน้ำต้นไม้มกั ทิง้ ใบเพือ่ รักษาชีวติ รอด ในช่วงเวลาดังกล่าว ป่าไม่ผลัดใบพบ อยูเ่ ฉพาะบริเวณทีป่ ริมาณน้ำในดินมีเพียงพอทีจ่ ะหล่อเลีย้ ง ต้นไม้ได้ตลอดทัง้ ปีเท่านัน้ ส่วนป่าผลัดใบจะเจริญเติบโตอยู่ ในพืน้ ทีท่ ด่ี นิ ไม่สามารถอุม้ น้ำไว้ได้เพียงพอสำหรับต้นไม้ใน ฤดูแล้ง พืชแต่ละชนิดมีอตั ราการลำเลียงน้ำขึน้ จากดินหรือทีเ่ รียก ว่าอัตราการคายน้ำค่อนข้างคงที่ กระบวนการนีเ้ ป็นกลไกใน การลำเลียงธาตุอาหารจากรากไปยังใบทีเ่ กิดขึน้ จากการระเหย ของน้ำจากเซลล์ในใบพืชและการแพร่ของไอน้ำผ่านปากใบ สูบ่ รรยากาศภายนอก เมือ่ ความชืน้ ในดินลดต่ำลงกว่าระดับ ทีพ่ ชื ต้องใช้ในการคายน้ำเป็นเวลานาน ต้นไม้อาจทิง้ ใบเพือ่

ป้องกันการสูญเสียน้ำและรักษาระดับน้ำในราก ลำต้น และ กิ่งก้านไว้ในระดับที่เพียงพอสำหรับการเกิดเมแทบอลิซึม (กระบวนการทางชีวเคมี) ทีจ่ ำเป็นต่อการดำรงชีวติ จนกว่าฝน จะตกลงมาเพือ่ เพิมความชืน้ ให้แก่ดนิ อีกครัง้ ดังนัน้ ปริมาณน้ำทีเ่ หลืออยูใ่ นดินจึงเป็นปัจจัยสำคัญทีก่ ำ หนดว่าป่าในพื้นที่นั้นจะเป็นป่าผลัดใบหรือป่าไม่ผลัดใบส่วน ปัจจัยพืน้ ฐานทีม่ ผี ลต่อปริมาณน้ำในดินของพืน้ ทีไ่ ด้แก่ ความ สูงจากระดับน้ำทะเล ถึงแม้วา่ ความสูงไม่มผี ลต่อพืช แต่ ความชืน้ ของดินนัน้ ขึน้ กับระดับความสูงของพืน้ ที่ เมือ่ ความสูงของพืน้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ ปริมาณน้ำฝนทีไ่ ด้กจ็ ะเพิม่ ขึน้ ด้วย อากาศร้อนสามารถอุม้ ไอน้ำไว้มากเมือ่ เคลือ่ นทีผ่ า่ น ภูเขาและเคลือ่ นทีส่ งู ขึน้ ชนกับอากาศทีเ่ ย็นกว่า อากาศเย็นซึง่ มีความสามารถในการอุ้มน้ำน้อยกว่าจะทำให้ไอน้ำบางส่วน กลัน่ ตัวลงมาเป็นฝน ในทางตรงกันข้ามอุณหภูมจิ ะลดลงตาม ระดับความสูง (ประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ทุก ๆ ความ สูงทีเ่ พิม่ ขึน้ 100 เมตร)และ ในทีส่ งู น้ำจะระเหยจากดินน้อยลง ขณะเดียวกันอัตราการคายน้ำของพืชก็ลดต่ำลง ดังนัน้ บนที่

ปาไมผลัดใบ/ปาดิบ ปริมาณน้ําในดิน

ผลผลิตปฐมภูมิ สูงตลอดทั้งป

เพียงพอสําหรับการคายน้ํา เรือนยอด

ตลอดฤดูแลง

หนาทึบ ความชื้น ความสามารถในการ

การสูญเสียน้ําจากการ ระเหยและการคายน้ํา

อุมน้ําของดิน

ปริมาณแสงที่ระดับพื้นลาง

สูง

ต่ํา

ต่ํา ปริมาณน้ําฝน อุณหภูมิ

สูง

สังคมพืชพื้นลาง

ต่ํา

ชื้น ติดไฟยาก ไฟไมคอ ยเขา ทําใหมีการ

ระดับความสูงจาก สารอินทรียใ นดิน น้ําทะเล สูง สูง

14

ปลูกให้เป็นป่า

สะสมสารอินทรีย


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *****************************

สูงปริมาณน้ำฝนทีต่ กลงสูด่ นิ จึงสูงกว่าในขณะทีอ่ ตั ราการสูญ เสียน้ำน้อยกว่าพืน้ ทีร่ ะดับต่ำ ดินของป่าไม่ผลัดใบยังมีปริมาณ สารอินทรียท์ ไ่ี ด้จากเศษซากใบไม้ทเ่ี กิดขึน้ ตลอดปีทำให้ดนิ มี ความสามารถในการอุม้ น้ำ (Field capacity) สูง ปริมาณน้ำ สูงสุดทีด่ นิ ของป่าไม่ผลัดใบ 1 กรัมจะอุม้ น้ำได้อยูท่ ป่ี ระมาณ 0.35 กรัมต่อดินแห้ง 1 กรัม ซึง่ เพียงพอสำหรับต้นไม้จะใช้ ได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง ต้นไม้สว่ นใหญ่บนพืน้ ทีส่ งู จึงมีใบหนา ตลอดทัง้ ปี ในพืน้ ทีต่ ำ่ ทุกอย่างกลับตรงกันข้าม ปริมาณน้ำฝนทีต่ ก ลงสู่พื้นดินมีน้อย อุณหภูมิสูงทำให้อัตราการระเหยเพิ่มขึ้น และความสามารถในการอุม้ น้ำของดินต่ำ (เฉลีย่ ประมาณ 0.2 กรัมของน้ำต่อดินแห้ง 1 กรัม) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ถ้าสาร อินทรียใ์ นดินถูกทำลายจากไฟป่า ดังนัน้ ถึงแม้วา่ ในช่วงปลาย ฤดูฝนดินจะอุม้ น้ำไว้เต็มทีแ่ ต่ปริมาณความชืน้ ดังกล่าวก็ยงั ไม่ เพียงพอสำหรับต้นไม้ทจ่ี ะใช้สำหรับการคายน้ำตลอดฤดูแล้ง ต้นไม้จงึ ทิง้ ใบ ซึง่ เป็นวิธกี ารทีม่ ปี ระสิทธิภาพดีทส่ี ดุ ในการหยุด คายน้ำและรักษาชีวิตไว้ นอกจากระดับความสูง อีกปัจจัยหนึง่ ทีม่ ผี ลอย่างมากต่อ

ลักษณะหรือชนิดของป่าก็คอื การรบกวนจากมนุษย์ การ รบกวนหรือทำลายป่าโดยมากมีผลทำให้ความชืน้ ของดินลดลง การตัดไม้ เลีย้ งปศุสตั ว์และการทำการเกษตรกรรมล้วนเป็น การเปิดพืน้ ทีป่ า่ ทำให้นำ้ ระเหยจากดินมากขึน้ เกิดการชะล้าง หน้าดินสูง ต้นไม้เจริญเติบโตได้นอ้ ยลง ปริมาณสารอินทรีย์ ในดินลดต่ำลงทัง้ จากปริมาณผลผลิตทีล่ ดลงของพรรณไม้ใน พืน้ ทีแ่ ละการทำลายจากการเผาไหม้ของไฟ สิง่ ทีก่ ล่าวมามีผล ทำให้ความสามารถในการอุม้ น้ำของดินลดลง ทำให้มตี น้ ไม้ท่ี ผลัดใบกระจายขึน้ ไปในพืน้ ทีท่ ม่ี คี วามสูงกว่า 1,000 เมตร ซึง่ เคยมีปา่ ดิบขึน้ อยูไ่ ด้ ในทางตรงกันข้ามบริเวณใกล้แหล่งน้ำ เช่น ตามแนวลำธารหรือหุบเขาทีม่ คี วามชืน้ เพียงพอต้นไม้ จากป่าไม่ผลัดใบอาจกระจายลงมาถึงบริเวณพืน้ ทีร่ ะดับต่ำ ๆ ได้ อย่างไรก็ตามในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ป่าดิบที่ เคยขึ้นอยู่ในพื้นที่ต่ำได้ถูกทำลายจากอุตสาหกรรมการทำไม้ ไปจนหมดแล้ว ปัจจัยทางกายภาพอืน่ ๆ เช่น ลักษณะหิน ทิศทางและ ความลาดชันของเขาอาจมีผลต่อชนิดป่าในพืน้ ทีไ่ ด้เช่นกัน แต่ ปัจจัยดังกล่าวมีอทิ ธิพลไม่มากเท่ากับความชืน้ ของดิน

ปาผลัดใบ

ผลผลิตปฐมภูมิ ต่ํา เมื่อตนไมไมมใี บ

น้ําในดิน ไมเพียงพอสําหรับการ

เรือนยอด

คายน้ําในฤดูแลง

นอย ความชื้น ความสามารถ

การสูญเสียน้ําจากการระเหย ในการอุม น้ําของดิน ปริมาณแสงที่ระดับพื้นลาง

ของน้ําและการคายน้ํา ต่ํา

สูง

สูง ปริมาณน้ําฝน อุณหภูมิ

นอย สังคมพืชพื้นลาง

สูง

หญาเปนเชื้อเพลิงที่ดี ระดับความสูงจาก

ทําใหเกิดไฟปา

น้ําทะเล

สารอินทรียใ นดิน

นอย

ต่ํา

ทําลายสารอินทรีย

ปลูกให้เป็นป่า 15


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *************************** *

ตอนที่ 2 ป่าดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ ในขณะทีป่ า่ ดิบหรือป่าไม่ผลัดใบในภาคเหนือของประเทศไทยมักมีลกั ษณะทีเ่ หมือนกันในเกือบทุกที่ ป่าผลัดใบกลับมี ลักษณะทีห่ ลากหลายและสามารถแยกออกเป็นอย่างน้อย 3 ชนิด ในตอนที่ 2 และ 3 นี้ จะนำเสนอลักษณะของป่าชนิดหลัก ๆ ทีพ่ บในภาคเหนือของประเทศไทย ซึง่ เรียบเรียงมาจากงานของ Maxwell and Elliott (2001) “Analysis of the vegetation of Doi Suthep-Pui National Park (ดูขอ้ มูลเพิม่ เติมใน Maxwell, 2004) โดยรายชือ่ พรรณไม้ทอ่ี ยูใ่ นบทนีส้ ามารถดูชอ่ื ไทยได้ จากตารางรายชื่อพรรณไม้ที่ท้ายเล่ม

ลักษณะเฉพาะของป่าดิบ ในภาคเหนือของประเทศไทยมักพบป่าดิบอยูท่ ร่ี ะดับความสูง มากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล หรืออาจต่ำกว่านัน้ เล็ก น้อยในบริเวณใกล้ลำธาร ป่าดิบค่อนข้างเหมือนกันในทุกพืน้ ทีต่ ง้ั แต่ระดับต่ำสุดทีพ่ บจนถึงยอดดอยอินทนนท์ทค่ี วามสูง 2,565 เมตร ทำให้ไม่สามารถแยกออกเป็นกลุม่ ย่อย ๆ ได้ ป่าดิบแตกต่างจากป่าผลัดใบอย่างชัดเจน ชัน้ เรือนยอด หลักหนาและสูงกว่าป่าผลัดใบมาก ส่วนใหญ่สูงกว่า 30 เมตร ชัน้ เรือนยอดหนาทึบนีท้ ำให้แสงส่องลงไปถึงพืน้ ดินได้ เพียงเล็กน้อย ถัดลงมาจากชัน้ เรือนยอดเป็นชัน้ ทีป่ ระกอบ ด้วยต้นไม้ทอ่ี ายุนอ้ ย ไม้ขนาดเล็ก และไม้พมุ่ ป่าชนิดนีม้ กั พบ เถาวัลย์ที่มีเนื้อไม้และพืชในกลุ่มไทรและมะเดื่อขึ้นอยู่ ในป่าชนิดนี้ บนลำต้นและกิง่ ก้านของต้นไม้มกั มีไม้องิ อาศัยอยูม่ าก โดยมีทง้ั ทีเ่ ป็นพืชมีทอ่ ลำเลียงและไม่มที อ่ ลำ เลียง เช่น สาหร่าย มอส เฟิรน์ และไลเคน พืชพืน้ ล่างขึน้ อยูค่ อ่ นข้างหนาแน่นประกอบด้วยลูกไม้ และไม้ลม้ ลุกนานาชนิด บางชนิดเป็นพืชกินซากหรือปรสิต ในพืน้ ทีท่ ถ่ี กู รบกวนอาจพบหญ้าบ้างแต่ไม่พบไม้ไผ่ในป่าชนิด นีเ้ ลย เมือ่ เทียบกับป่าผลัดใบ ป่าดิบมีโอกาสเกิดไฟป่าน้อย มาก แต่เมือ่ เกิดขึน้ จะก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่า เพราะ ต้นไม้ไม่มโี ครงสร้างทีช่ ว่ ยป้องกันอันตรายจากไฟ หลังเกิด ไฟป่าพืชพืน้ ล่างและสัตว์ทอ่ี าศัยบนพืน้ ป่า เช่น นกหรือสัตว์ เลีย้ งลูกด้วยนมขนาดเล็กอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะฟืน้ ตัว กลับมาดังเดิม ป่าดิบมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ต้นไม้ทพ่ี บในป่า นีม้ มี ากกว่าป่าชนิดอืน่ ๆ (พบไม้ตน้ อย่างน้อย 250 ชนิด) ถึง แม้วา่ ไม่มตี น้ ไม้ชนิดใดหรือสกุลใดเด่นเป็นพิเศษแต่ตน้ ไม้หลาย วงศ์จะพบในป่าดิบได้บอ่ ยกว่าป่าชนิดอืน่ เช่น Lauraceae, Fagaceae, Theaceae, Moraceae, Magnoliaceae เป็นต้น ต้นไม้ในชัน้ เรือนยอดส่วนใหญ่เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ชนิด ทีพ่ บบ่อย ๆ ได้แก่ Lindera caudata (Nees) Bth. และ

16

ปลูกให้เป็นป่า

Phoebe laceolata (Wall. ex Nees) (อยูใ่ นวงศ์ Lauraceae ทัง้ คู)่ Artocarpus lanceolata Trec. และไม้รดั ในกลุม่ มะ เดือ่ หรือไทรขนาดใหญ่ เช่น Ficus altissima Bl. และ F. benjamina L. ( Moraceae) ส่วนไม้ในวงศ์กอ่ (Fagaceae) ที่พบบ่อย ได้แก่ Quercus vestita Rehd & Wils., Q. glabricupula Barn., Q. incana Roxb. และ Q. lineata Bl. นอกจากนัน้ ยังพบ Pyrenaria garrettiana Craib (Theaceae), Garcinia mckeaniana Craib (Guttiferae), Casearia grewiifolia Vent. (Flacourtiaceae), Chionanthus sutepensis (Kerr) Kiew (Oleaceae), Elaeocarpus prunifolius Wall. ex C. Muell. (Elaeocarpaceae), Dysoxylum excelsum Bl. (Meliaceae) Ostodes paniculata Bl. (Euphorbiaceae) และ Diospyros martabarica Cl. (Ebenaceae) ในป่าดิบนีป้ ระมาณร้อยละ 27 ของต้นไม้ทพ่ี บมีการทิง้ ใบ ในบางฤดู ส่วนใหญ่เป็นชนิดทีพ่ บทัง้ ในป่าดิบและป่าเบญจ พรรณ ไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ที่พบในชั้นเรือนยอด ได้แก่ Manglietia garrettii Craib, Michelia baillonii Pierre (Magnoliaceae) Melia toosendan Sieb & Zucc. (Meliaceae) และ Morus macroura Miq. (Moraceae) ไม้ผลัดใบบางชนิดพบเฉพาะป่าดิบเท่านัน้ ได้แก่ Acrocarpus fraxinifolius Wight ex Arn. (Leguminosae, Caesalpinioideae), Litsea zeylanica (Nees) Nees (Lauraceae) และพันธุ์ไม้หายากอย่าง Hovenia dulcis Thunb. (Rhamnaceae) ไม้ชน้ั รองในป่าดิบขึน้ ทึบกว่าในป่าผลัดใบ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในร่องเขาริมลำธาร ต้นไม้ในชั้นนี้ ได้แก่ Phoebe lanceolate (Nees) Nees (Lauraceae), Acronychia pedunculata (L.) Miq. (Rutaceae), Sarcosperma arboreum Bth. (Sapotaceae) และ Diospyros glandulosa Lace. (Ebenaceae) ส่วนไม้ผลัดใบทีพ่ บ ได้แก่ Engelhardia spicata Lechen. (Juglandaceae) และ Spondias axillaris Roxb. (Anacardiaceae)


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *****************************

ไม้ขนาดเล็กและไม้พมุ่ (91 และ 22 ชนิดตามลำดับ) มี จำนวนมาก ต้นไม้ทพ่ี บบ่อยได้แก่ Vernonia volkameriifolia DC. (Compositae), Glochidion kerrii Craib (Euphorbiaceae), Debregeasia longifolia (Burm.f.) Wedd. (Urticaceae), Archidendron glomeriflorum (Kurz) Niels. (Leguminosae, Mimosoideae) และ (Lour.) Pers. (Lauraceae) ไม้พุ่มไม่ผลัดใบได้แก่ Psychotria ophioxyloides Wall. (Rubiaceae) และ Phlogacanthus curviflorus (Wall.) Nees (Acanthaceae). ในบริเวณใกล้ ธารน้ำมักพบกล้วยและเตย เช่น Musa itinerans Cheesm. (Musaceae) และ Pandanus penetrans St. John (Pandanaceae) ขึน้ อยู่ ป่าดิบอุดมไปด้วยเถาวัลย์นานาชนิด (เถาวัลย์ทม่ี เี นือ้ ไม้ 78 ชนิด) ชนิดทีพ่ บเฉพาะในป่าดิบได้แก่ Toddalia asiatica (L.) Lmk. (Rutaceae), Ficus parietalis Bl. (Moraceae), Combretum punctatum Bl. (Combretaceae) และ Uncaria macrophylla Wall. (Rubaiceae) ส่วนชนิดที่พบได้บ่อย เช่น Tetrastigma (T. laoticum Gagnep. และ T. obovatum (Laws.) Gagnep.) ในวงศ์ Vitaceae และ Mucuna macrocarpa Wall. (Leguminosae, Papilionoideae) จะพบได้ทง้ั ในป่าดิบและ ป่าเบญจพรรณ หวายเป็นพืชเฉพาะของป่าดิบอีกกลุม่ หนึง่ แต่มี จำนวนค่อนข้างน้อย เช่น Calamus palustris Griff. var. cochinchinensis Becc. และ Plectocomia kerrana Becc. พรรณไม้อกี กลุม่ ทีพ่ บได้มากคือกลุม่ ทีเ่ ติบโตบนต้นไม้ อืน่ จาก 82 ชนิด ทีม่ กี ารบันทึกไว้มที ง้ั ทีเ่ ป็นไม้ตน้ ไม้พมุ่ ไม้เถา และไม้ลม้ ลุก โดยต้นไม้ทเ่ี ป็นพืชอิงอาศัยได้แก่ ไม้ในกลุม่ ไทรซึง่ มักไปขึน้ อยูบ่ นต้นไม้อน่ื เช่น Ficus superba (Miq.) Miq. (Moraceae) และไม้หายากอย่าง Sorbus verrucosa (Decne) Rehd. (Rosaceae) ไม้องิ อาศัย ทีเ่ ป็นไม้พมุ่ ได้แก่ กลุม่ กุหลาบป่า (Rhododendron vietchianum Hk. (Ericaceae)) และกาฝากชนิดต่าง ๆ เช่น Macrosolen cochinchinensis (Lour.) Tiegh., Viscum ovalifolium Wall. ex DC. และ V. orientale Willd. (Loranthaceae) ไม้ลม้ ลุกทีพ่ บส่วนมาก มีอายุหลายปี

และมักผลัดใบในบางฤดู ชนิดทีเ่ ฉพาะกับป่าดิบ ได้แก่ เฟิรน์ ( Lepisorus nudus (Hk.) Ching (Polypodiaceae) และ Davallodes membranulosum (Hk.) Copel. (Davalliaceae) พื ช ในกลุ ่ ม ขิ ง ข่ า (เช่ น Hedychium ellipticum Ham. ex J. Sm.) กล้วยไม้ (เช่น Bulbophyllum bittnerianum Schltr., Coelogyne schultesii Jain & Das. และ Trichotosia dasyphylla (Par. & Rchb.f.) Krzl.) และกลุ่มวงศ์ชาฤาษี (Didymocarpus wattianus Craib และ Aeschynanthus hosseusii Pell. (Gesneriaceae)) บนพืน้ ป่ามีไม้ลม้ ลุกนานาชนิด (พบ 321 ชนิด) ใต้รม่ เงา หนาทึบมักพบเฟิรน์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ Arachnoidea henryi (Christ) Ching และ Tectaria herpetocaulos Holtt. (Dryopteridaceae) และ Diplazium dilatatum Bl. (Athyriaceae) ไม้ดอกที่พบได้บ่อย ได้แก่ Impatiens violaeflora Hk.f. (Balsaminaceae), Ophiorrhiza trichocarpon Bl. และ Geophila repens (l.) I.M. John. (Rubiaceae) และ Pilea trinervia Wight (Utricaceae) พืชในกลุ่มขิง เช่น Globba kerrii Craib, G. villosula Gagnep. และ Zingiber smilesianum Craib (Zingiberaceae) พืชบางชนิดทีข่ น้ึ อยูบ่ นพืน้ ป่าดิบไม่จำเป็นต้องใช้แสงใน การดำรงชีวติ เนือ่ งจากเป็นพืชกินซากหรือเป็นปรสิตเบียนไม้อน่ื เช่น ขนุนดิน ซึง่ เป็นกาฝากเบียนรากต้นไม้ ซึง่ มีลกั ษณะคล้าย เห็ด (เช่น Balanophora abbreviata Bl. และ B. fungosa J.R. & G. Forst.) หรือกระโถนฤาษี (Sapria himalayana Griff. (Rafflesiaceae)) กาฝากเบียนรากเถาวัลย์ Tetrastigma ssp. (Vitaceae) ซึง่ ออกดอกสีแดงจุดเหลืองขนาดใหญ่ พอ ๆ กับจานรองถ้วยกาแฟ มณฑาแดง (Manglietia garrettii Craib (Magnoliaceae)) เป็นหนึง่ ใน พรรณไม้โครงสร้างทีแ่ นะนำให้ปลูก ในพื้นที่ป่าดิบที่ถูกทำลายและอยู่ สูงกว่า 1,000 เมตร

ไม้ต้นและไม้พุ่มในวงศ์จำปีจำปา (Magnoliaceae) เป็นไม้ที่พบเฉพาะ ในป่าดิบ (ถึงแม้วา่ บางชนิดอาจพบในป่าเบญจพรรณด้วย) ไม้กลุม่ นี้ เป็นพืชโบราณทีเ่ ป็นหลักฐานของการกระจายตัวของพืชจากเทือกเขา หิมาลัยมายังภาคเหนือของไทย

ปลูกให้เป็นป่า 17


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *************************** *

ลักษณะเฉพาะของป่าสน บริเวณสันเขาทีม่ คี วามสูง 950-1,900 เมตร และมักมี ไฟป่าจะพบสนสามใบ (Pinus kesiya Roy. ex Gord. (Pinaceae) ขึน้ อยูม่ ากกว่าไม้ไม่ผลัดใบชนิดอืน่ ๆ แต่ใน พืน้ ทีต่ ำ่ กว่านัน้ อาจพบสนสองใบ (Pinus merkusii Jungh & De Vriese) ขึน้ อยูด่ ว้ ย ชัน้ เรือนยอดของป่าดิบผสมสน (EGF-PINE) โปร่งกว่า ป่าดิบทีไ่ ม่มสี นขึน้ ป่าชนิดนีม้ กั พบไม้กลุม่ ก่อ (Fagaceae) ขึน้ ปนอยูด่ ว้ ยโดยเฉพาะ Castanopsis argyrophylla King ex Hk.f., Quercus brandisiana Kurz, Q. leticellata Barn. และ Lithocarpus craibianus Barn ส่วนต้นไม้อน่ื ทีม่ กั พบอยูร่ วมกับสน (เนือ่ งจากต้นสนทำให้ ดินเป็นกรด) ได้แก่ Viburnum inopibatum Craib (Caprifoliaceae), Helicia nilagirica Bedd. (Proteaceae) และ Myrica esculenta B.-H. ex D.Don (Myricaceae) ดินในป่าชนิดนีม้ กั เป็นกรด พืน้ ทีท่ ไ่ี ฟเข้าบ่อยอาจพบ ต้นไม้จากป่าเต็งรังผสมก่อ กระจายตัวเข้ามาในระดับความสูงทีป่ กติไม่พบต้นไม้พวกนีข้ น้ึ อยูไ่ ด้ เช่น Craibiodendron stellatum (Pierre) W. W. Sm. และ Vaccinium sprengelii (D.Don) Sleum (Ericaceae), Anneslea fragrans Wall. (Theaceae) และ Aporusa villosa (Lindl.) Baill. ในพืน้ ทีล่ กั ษณะนี้ พบไม้กอ่ มากขึน้ (Castanopsis armata (Roxb.) Spach, C. tribuloides (Sm.) A. DC., Lithocarpus elegans (Bl) Hatus. ex Soep., L. fenestratus (Roxb.) Rehd. และ Quercus vestita Rehd. & Wils. (Fagaceae) ไม้ตน้ ในป่าดิบผสมสนทีพ่ บทัง้ หมดมี 99 ชนิด ไม้พมุ่ และ เถาวัลย์ในป่าดิบผสมสนนี้มีน้อยกว่าป่าดิบ

สนสองใบ (Pinus merkusii Jungh. et de Vriese) มีใบกระจุกละ 2 ใบย่อย

18

ปลูกให้เป็นป่า

สนสามใบ (Pinus kesiya Roy. ex Gord.) ในแต่ละมัด ของใบมี 3 ใบย่อย

พืชอิงอาศัยทีม่ ที อ่ ลำเลียงทีพ่ บในป่าชนิดนีไ้ ด้แก่ เฟิรน์ กล้วยไม้ ชาฤาษี และกาฝาก (Loranthaceae และ Viscaceae) เฟิรน์ ทีพ่ บ ได้แก่ Drynaria propinqua (Wall. ex Mett.) J.Sm. ex Bedd., Lepisorus subconfluens Ching และ Polypodium argutum (J. Sm. ex Hk. & Grev.) Hk ในวงศ์ Polypodiaceae) กล้วยไม้ทพ่ี บมีหลายสกุล เช่น Bulbophyllum suavissimum Rol., Cleisostoma fuerstenbergianum Kuzl., Coelogyne trinervis Lindl., Dendrobium heterocarpum Lindl., Diploprora championi (Lindl.) Hk. f., Oberonia pachyphylla King & Pantl., Pholidota articulata Lindl. และ Trichotosai dasyphylla (Par. & Rchb.f.) Kezl. กาฝากทีพ่ บได้บอ่ ย ได้แก่ Macrosolen avenis (Bl.) Dans. และ Scurrula ferruginea (Jack) Dans. (Loranthaceae) และ Viscum ovalifolium Wall. ex DC. (Viscaceae) ชาฤาษีทพ่ี บได้ในป่านีไ้ ด้แก่ Didymocarpus kerrii Craib และ D. aureoglandulosus Cl. (Gesneriaceae) พืชพืน้ ล่างประกอบด้วยพืชล้มลุก 263 ชนิด มีทง้ั ทีเ่ ป็น พืชปีเดียว (ร้อยละ 32) และทีอ่ ายุหลายปี (ร้อยละ 68) ไม้ ปีเดียว ได้แก่ Blumeopsis flava (DC.) Gagnep. Anaphalis margaritacea (L.) Bth. & Hk.f. (Compositae), Lobelia nicotianaefolia Roth ex Roem. & Schult. (Campanulaceae) และ Exacum pteranthum Wall. ex Colebr. (Gentianaceae) ส่วนพืชหลายปีได้แก่ Inula cappa (Ham. ex D. Don) DC. (Compositae) Pratia begoniifolia (Wall. ex Roxb.) Lindl. (Campanulaceae), Anthogonium gracile Wall. ex Lindl. (Orchidaceae), Oleandra undulata (Willd.) Ching (Oleandraceae) และ Kuniwatsukia cuspidata (Bedd.) Pic.-Ser. (Athyriaceae)


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *****************************

อุปสรรค ปัญหา ในการฟืน้ ฟูปา่ ดิบ หรือป่าดิบผสมสน เนือ่ งจากป่าดิบมีความหลากหลายของพรรณไม้สงู กว่า ป่าชนิดอืน่ (ดูกรอบ 2.5) การปลูกต้นไม้จงึ ควรมีเป้าหมาย ให้ครอบคลุมชนิดต้นไม้ให้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะทำได้ เพือ่ เป็น จุดเริม่ ของการฟืน้ ฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ต้นไม้ หลายชนิดในป่าดิบมีเมล็ดหรือผลขนาดใหญ่ ซึง่ ต้องอาศัย สัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง แรด หรือวัวป่า ในการกระจายเมล็ด พันธุ์ แต่สตั ว์เหล่านีม้ กั สูญพันธุไ์ ปจากพืน้ ทีแ่ ล้ว หรือเหลือ อยูเ่ ฉพาะบางพืน้ ที่ ดังนัน้ เพือ่ อนุรกั ษ์ตน้ ไม้ในกลุม่ นีไ้ ว้ ควรจะปลูกต้นไม้ทม่ี เี มล็ดขนาดใหญ่ลงไปด้วยเพราะสัตว์ทจ่ี ะ ช่วยกระจายเมล็ดพันธุม์ นี อ้ ยมากในปัจจุบนั ไม้ผลัดใบทีข่ น้ึ ในป่าดิบมักเป็นพรรณไม้โครงสร้างทีป่ ระ สบความสำเร็จในการเร่งการฟืน้ ตัวของความหลากหลายทาง ชีวภาพหลังปลูกป่า (เช่น Acrocarpus fraxinifolius,

Erythrina subumbrans, Gmelina arborea, Hovenia dulcis, Melia toosendan, Spondias axillaris) ไม้ พวกนีส้ ามารถทนทานต่อสภาพร้อนแห้งแล้งหลังการปลูกป่า ได้ดีจึงมีอัตราการรอดสูง ดินของป่าดิบมักมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าดินของป่า ผลัดจึงสามารถให้ปยุ๋ น้อยลงได้แต่วชั พืชในพืน้ ทีม่ กั โตเร็วจึง ต้องกำจัดวัชพืชบ่อยขึน้ ทำให้มคี า่ ใช้จา่ ยสูงกว่าการฟืน้ ฟู ป่าผลัดใบ ป่าดิบในทีส่ งู อาจอยูเ่ หนือระดับตาน้ำทำให้การ รดน้ำต้นกล้าหลังปลูกทำได้ยาก นอกจากนัน้ พืน้ ทีแ่ บบนี้ มักอยูห่ า่ งจากถนนทำให้รถน้ำเข้าไปไม่ได้จงึ ต้องรอให้มฝี นตก ในพื้นที่ก่อนที่จะปลูก สำหรับการฟืน้ ฟูปา่ ดิบผสมสนควรปลูกสนและก่อรวม กับพรรณไม้โครงสร้างชนิดอืน่ ๆ ด้วย เพราะต้นไม้ทง้ั สอง กลุม่ เป็นลักษณะเฉพาะของป่าแบบนี้ และเนือ่ งจากป่าดิบ ผสมสนมักพบในพืน้ ทีท่ ม่ี ไี ฟป่าเข้าได้จงึ ควรให้ความสนใจกับ การทำแนวกันไฟหลังปลูกด้วย

กรอบ 2.1 ทำความรูจ้ กั กับสนพืน้ เมืองทัง้ 2 ชนิดของไทย ต้นไม้พน้ื เมืองของไทยทัง้ 2 ชนิดนีส้ ามารถแยกออกจาก กันได้ไม่ยาก สนสองใบ (Pinus merkusii Jungh. de Vriese) มีใบกลุม่ ละ 2 ใบในขณะทีส่ นสามใบ (Pinus kesiya Roy. ex Gord.) ในแต่ละกระจุกมี 3 ใบ ในภาคเหนือของประเทศไทยมักพบสนสองใบขึน้ อยูร่ ะดับ ต่ำกว่าสนสามใบ (300-1,200 เมตร) และมักพบสนสองใบได้ บ่อยในป่าเต็งรังผสมก่อ หรือในป่าดิบผสมสนทีอ่ ยูต่ ำ่ ๆ ปัจจุบนั ในพืน้ ทีต่ ำ่ มักไม่พบสนสองใบขึน้ อยูแ่ ล้วเนือ่ งจากถูก ทำลายจากการเก็บยางสนและการตัดไม้ ส่วนสนสามใบมัก พบอยูใ่ นป่าดิบผสมสนหรือป่าเต็งรังผสมก่อในทีส่ งู โดยมัก ขึน้ อยูใ่ นระดับความสูงประมาณ 950-1,900 เมตร สนทัง้ สองชนิดชอบขึน้ ในทีแ่ ดดจัดและทนไฟได้ดี มีการ เก็บยางสนจากสนทัง้ สองชนิด โดยทีส่ นสองใบจะให้ผลผลิต ดีกว่าสามารถให้ยางได้ถงึ 40 กิโลกรัมในหนึง่ ปี ความเสียหาย ทีเ่ กิดจากการตัดหรือถากลำต้นเพือ่ เก็บไม้เกีย๊ ะ ซึง่ เป็นเชือ้ ไฟ พบได้บอ่ ยมากในป่าภาคเหนือ ทำให้ตน้ สนอ่อนแอลงและอาจ

ตายได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญทีท่ ำให้ตน้ สนในภาคเหนือลดลง ลมเป็นปัจจัยสำคัญทีช่ ว่ ยกระจายเมล็ดสนในทีท่ ย่ี งั มีแม่ ไม้เหลืออยู่ กล้าไม้ธรรมชาติจะกลับเข้ามาขึน้ ในพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลายไปได้งา่ ย แต่กล้าไม้เหล่านีไ้ ม่อาจขึน้ แข่งกับวัชพืชได้ และถูกทำลายด้วยไฟได้งา่ ย ส่วนในพืน้ ทีท่ ไ่ี ม่เหลือต้นสนอยู่ แล้วควรจะปลูกต้นสนร่วมกับพรรณไม้โครงสร้างด้วย แต่ ไม่ควรปลูกสนเพียงอย่างเดียวเพราะจะไม่คอ่ ยมีสตั ว์เข้ามา อาศัยในพืน้ ที่ การเพาะกล้าต้นสนควรใช้กล้าไม้จากเมล็ด ของแม่ไม้ในธรรมชาติตง้ั แต่ผลยังไม่เปิดออก เก็บผลสีเขียว ทีแ่ ก่เต็มทีไ่ ว้ในทีร่ ม่ จนเปลีย่ นเป็นสีนำ้ ตาล จากนัน้ จึงนำไป ตากแดดจนกระทัง่ ผลเปิดออก เขย่าเมล็ดออกมากำจัดส่วน ปีกของเมล็ดทิง้ ไป แล้วจึงนำไปเพาะในทราย เมือ่ กล้าไม้สงู 3-5 เซนติเมตร จึงย้ายลงไปปลูกและเลี้ยงต่ออีก 1-1.5 ปี หรืออาจขุดกล้าไม้ขนาด 5-10 เซนติเมตร จากป่าธรรมชาติ ในฤดูฝนนำมาเลี้ยงไว้ในถุงปลูกต่อแทนการเพาะเมล็ด (ดู กรอบ 6.1) เมล็ดแห้งของสนสามารถเก็บไว้ได้หลายปี

ปลูกให้เป็นป่า 19


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *************************** *

ตอนที่ 3 ป่าผลัดใบ ภาคเหนือของประเทศไทยมีปา่ ผลัดใบ 3 ชนิดใหญ่ ๆ ซึง่ มีลกั ษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน ได้แก่ ป่าผสมผลัดใบหรือป่า เบญจพรรณ ซึง่ อยูร่ ะหว่างรอยต่อของป่าดิบกับป่าผลัดใบชนิดอืน่ ๆ ป่าผลัดใบผสมไผ่ ซึง่ มักพบในพืน้ ทีป่ า่ สักทีถ่ กู ทำลายจาก การตัดไม้ ส่วนป่าชนิดสุดท้ายคือป่าเต็งรังผสมก่อ พบในพืน้ ทีแ่ ห้งแล้งในทีต่ ำ่

ลักษณะเฉพาะของป่าเบญจพรรณ ป่าเบญจพรรณพบอยูใ่ นช่วงความสูงระหว่าง 800-1,000 เมตร (หรือ 600 เมตรในบริเวณหุบเขาใกล้ลำธาร) อยูร่ ะ หว่างป่าดิบและป่าผลัดใบผสมไผ่ พรรณไม้ในป่าชนิดนีเ้ ป็น ส่วนผสมของพรรณไม้จากป่าทัง้ สอง แต่หลายชนิดพบ เฉพาะในป่าเบญจพรรณเท่านัน้ ชัน้ เรือนยอดมีความสูงตัง้ แต่ 20-30 เมตร และสามารถ พบต้นไม้ใหญ่สงู มากกว่า 30 เมตร เรือนยอดมักปกคลุมทัง้ พืน้ ทีแ่ ต่ไม่หนาแน่นเท่ากับในป่าดิบ พบเถาวัลย์และพืชอิง อาศัยจำนวนมาก มีไผ่ขน้ึ อยูบ่ า้ งแต่นอ้ ยกว่าในป่าผลัดใบ ผสมไผ่ พืน้ ป่าอุดมไปด้วยพืชล้มลุกและลูกไม้ชนิดต่าง ๆ มักไม่คอ่ ยพบหญ้ายกเว้นในบริเวณทีเ่ คยมีไฟเข้า จากต้นไม้จำนวน 217 ชนิดทีพ่ บในป่าเบญจพรรณของ ดอยสุเทพมีเพียงร้อยละ 43 ทีเ่ ป็นไม้ผลัดใบพรรณไม้ใน ป่าเบญจพรรณและป่าผลัดใบผสมไผ่คล้ายคลึงกันมากต้นไม้ 38 ชนิดทีพ่ บได้บอ่ ยหรือมีจำนวนมากในป่าชนิดแรก มีถงึ 21 ชนิด (ร้อยละ 55) ทีพ่ บในป่าชนิดทีส่ องด้วย ต้นไม้ไม่ ผลัดใบขนาดใหญ่ที่จำแนกชนิดได้ง่ายในป่าเบญจพรรณคือ ต้นไม้ในกลุม่ ยาง (Dipterocarparceae) ได้แก่ Dipterocarpus costatus Gaertn. f. และ D. turbinatus Gaetn. f. ซึง่ มีลำต้นสูงใหญ่ ใบค่อนข้างเล็ก ทรงพุม่ รูปร่ม ขนาดใหญ่ ซึง่ แตกต่างไปจากไม้ตระกูลยางใบใหญ่อย่างที่ พบในป่าเต็งรังผสมก่อ ต้นไม้ชนิดอืน่ ทีพ่ บได้บอ่ ยในป่าเบญจพรรณ ได้แก่ Irvingia malayana Oliv. ex Benn. (Irvingiaceae), Mangifera caloneura Kurz (Anacardiaceae), Eugenia albiflora Duth. ex Kurz (Myrtaceae), Lagerstroemia cochinchinensis Pierre (Lythraceae), Spondias pinnata (L.f.) Kurz (Anacardiaceae), Terminalia mucronata Craib & Hutch. (Combretaceae) และ Engelhardia serrata Bl. (Juglandaceae) ส่วนไม้ชน้ั รองทีพ่ บ เช่น Garcinia speciosa Wall. (Guttiferae) และ Scleropyrum pentandrum (Denn.) Mabb. (Santalaceae)

20

ปลูกให้เป็นป่า

ในป่าเบญจพรรณพบเถาวัลย์มากกว่า 60 ชนิด โดย ชนิดทีพ่ บเฉพาะในป่านีไ้ ด้แก่ Securidaca inappendiculata Hassk. (Polygalaceae), Tetrastigma aff. hermandii Planch (Vitaceae) และ Parameria laevigata (Juss.) Mold. (Apocynaceae) ไม้องิ อาศัยทีพ่ บ คือ กล้วยไม้ (เช่น Bulbophyllum congestum Rol. และ B. paropinquum Krzl.) กาฝากเบียนกิง่ เช่น Helixanthera pulchra (DC.) Dans. และ Dendrophthoe pentandra (L.) Miq. (Loranthaceae) และเฟิรน์ เช่น Polypodium subauriculatum Bl. และ Pyrrosia porosa (Wall. ex Presl) Hoven. (Polypodiaceae) พืชพืน้ ล่างประกอบด้วยไม้ลม้ ลุกอย่างน้อย 278 ชนิด และยังมีกล้าไม้ของทัง้ ไม้ตน้ และไม้พมุ่ อีกด้วย ซึง่ พืชพืน้ ล่างของป่าเบญจพรรณนี้พบในป่าดิบและป่าผลัดใบผสมไผ่ ด้วยและมีเพียงไม่กช่ี นิดเท่านัน้ ทีพ่ บเฉพาะในป่าเบญจพรรณ ได้แก่ กล้วยไม้ดนิ 2 ชนิด Tainia hookeriana King & Pantl. และ Tropidia pedinculata Bl. เฟิรน์ 2-3 ชนิด เช่น Microlepia puberula v.A.v. Ros. (Dennstaedtiaceae), Asplenium excisum Presl (Aspleniaceae) และ Tectaria impressa (Fee) Holtt. (Dryopteridaceae) และกาฝากเบียนราก Balanophora laxiflora Hemsl (Balanophoraceae)

อุปสรรค ปัญหา ในการฟืน้ ฟูปา่ เบญจพรรณ ป่าเบญจพรรณมักพบอยูใ่ นบริเวณเนินลาดชันจึงมีปญั หาใน การเข้าถึงและเช่นเดียวกับป่าผลัดใบผสมไผ่ ไผ่กอใหญ่ อาจทำให้ตน้ ไม้ทป่ี ลูกไม่โต จึงอาจต้องตัดถางไผ่ออกบ้าง ป่าเบญจพรรณส่วนมากอยูใ่ กล้แหล่งน้ำ การรดน้ำหลัง ปลูกจึงสามารถทำได้ ไม้ยางขนาดใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์ของ ป่านีก้ ระจายเมล็ดพันธุโ์ ดยใช้ลม ในพืน้ ทีท่ ม่ี แี ม่ไม้อยูอ่ าจ ไม่จำเป็นต้องปลูกเพิ่มแต่ถ้าไม่มีแม่ไม้เหลืออยู่ควรปลูกต้น ยางด้วย กล้าต้นยางโตค่อนข้างช้าจึงควรเก็บเมล็ดเพือ่ เพาะ อย่างน้อย 2 ปีกอ่ นปลูก


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *****************************

ป่าเบญจพรรณ ขวา- ไม้ชั้นรอง เสี้ยวขาว (Bauhinia variegata L., (Leguminosae, Caesalpinioideae)) ออกดอกเดือน มกราคม-มีนาคม ในช่วงทิง้ ใบ

ล่าง- ดอกดินแดง (Aeginetia indica Roxb. (Orobanchaceae)) พืชที่ ไม่มีสีเขียว เป็นปรสิตเบียนรากพืชอื่น ล่าง- ว่านนกคุ่ม (Gomphostemma strobilinum Wall. ex Bth. (Labiatae)) พืชทนร่ม มีใบแบนราบไป กับผิวดิน

บน- ยางปาย (Dipterocarpus costatus Gaertn. f. (Dipterocarpaceae)) สูงพ้นระดับเรือนยอดหลักเป็นเอกลักษณ์ ของป่าเบญจพรรณ

ป่าผลัดใบผสมไผ่ ล่าง- สักปลูกในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยืนไร้ใบในเดือนกุมภาพันธ์

ล่าง- มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib (Leguminosae, Caesalpinioideae)) ไม้มีค่าจากป่าสักเดิม

ภาพเล็กทางขวา- ว่านเปรี้ยว (Boesenbergia longiflora (Wall.) O. K. (Zingiberaceae)) เพิ่มสีสันให้แก่พื้นป่าผลัดใบ ผสมไผ่ในเดือนสิงหาคม ซ้าย- เมื่อต้นสักถูกตัดออก ไผ่เข้ามา แทนที่ หลายชนิดออกดอกพร้อมกันเป็น บริเวณกว้าง

บน- ป่าผลัดใบผสมไผ่ในหุบเขาของแม่สอยใกล้ จอมทองเป็นตัวอย่างของสภาพป่าสักทีผ่ า่ นการทำไม้

ปลูกให้เป็นป่า 21


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *************************** *

ป่าเต็งรังผสมก่อ

ซ้าย- ป่าเปลี่ยนสีในเดือนมกราคม บนกลาง- กล้าไม้ พลวง ((Dipterocarpus tuberculatus (Dipterocarpaceae)) แตกใบในเดือนมีนาคม มักพบในพืน้ ทีแ่ ห้งแล้งที่ เสื่อมโทรม บนขวา-ดอกที่ร่วงหล่นของ เหียง (D. obtusifolius) ขวา- ลูกก่อทรงกลมแบน ของ ก่ อ แพะ (Quercus kerri Craib (Fagaceae)) ก่อทีพ่ บเฉพาะในป่าชนิดนี้

ไม้องิ อาศัยของป่าเต็งรังผสมก่อ เถาพุงปลา (Dischidia major (Vahl) Merr. (Asclepiadaceae)) มีความสัมพันธ์อย่าง ใกล้ชดิ กับมดทีเ่ ข้ามาทำรังในใบทีก่ ลวงเป็นโพรง รากของพืชนี้ แทงเข้าไปในใบของตัวเองเพือ่ ดูดซึมความชืน้ และธาตุอาหาร จากรังมด (กลางซ้าย) และยังพบมดทำรังอยูร่ ะหว่างใบของ กระปอดไม้ (D. nummularia R. Br.)

พืชพืน้ ล่างของป่าเต็งรังผสมก่อ ซ้ายสุด- เอือ้ งใบไผ่ (Arundina graminifolia (D. Don) Hochr. (Orchidaceae)) ในเดือนกันยายน กลาง- ห้อมป่า (Platostoma coloratum (D. Don) A.J. Platon (Labiatae)) บนดอกดินพืชปรสิต (Aeginetia pendunculata Wall. (Oroban-chaceae)) ออกดอกในเดือนมีนาคมหลังไฟ

22

ปลูกให้เป็นป่า


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *****************************

ลักษณะเฉพาะของป่าผลัดใบผสมไผ่ เมือ่ กว่าร้อยปีกอ่ น พืน้ ทีใ่ นภาคเหนือของประเทศไทย ในระดับต่ำกว่า 900 เมตร ถูกปกคลุมด้วยผืนป่าทีอ่ ดุ มไป ด้วยต้นสัก (Tectona grandis L.f. (Verbenaceae)) ไม้มี ค่าทีเ่ คยเป็นสินค้าส่งออกและทำรายได้มหาศาลให้กบั ประเทศ ไทย แต่หลังจากการทำไม้และตัดไม้จากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทัง้ จากบริษทั ต่างชาติในช่วงแรกและบริษทั ของคนไทยในเวลา ต่อมา ทำให้ปา่ มีลกั ษณะเปลีย่ นไป นอกจากป่าสักธรรม ชาติทเ่ี หลืออยูเ่ พียงไม่กแ่ี ห่งตามอุทยานแห่งชาติแล้ว ในพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่มตี น้ ไม้อน่ื ทีไ่ ม่ใช่ไม้สกั เจริญขึน้ มาแทนที่ นอก จากนัน้ ไผ่ซง่ึ เคยมีอยูไ่ ม่มากนักกลับกลายเป็นพืชเด่นและ ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ ป่าผลัดใบผสมไผ่จึงเป็นผลจาก การทำลายพื้นที่ป่าสักเดิมนั่นเอง ถ้าจะดูวา่ พืน้ ทีใ่ ดเคยเป็นป่าสักมาก่อนให้มองหากลุม่ ของ ไม้ทม่ี เี รือนยอดสูงใหญ่ขน้ึ อยูเ่ ป็นกลุม่ ๆ บนดินดีในระดับ ความสูงประมาณ 300-900 เมตร ต้นไม้สว่ นใหญ่ทง้ิ ใบใน ฤดูแล้ง ดังนัน้ ป่าจะค่อนข้างเปิดในช่วงดังกล่าวอาจพบต้น สักหลงเหลืออยูใ่ นพืน้ ที่ (กรอบ 2.2) ด้านล่างมักพบกอไผ่ ขึน้ หนาแน่น หรือพบไม้พมุ่ ขึน้ หนาทึบ เถาวัลย์พบได้ทว่ั ไป และมักพบกล้วยไม้และเฟิรน์ เจริญอยูบ่ นลำต้นและกิง่ ของต้น ไม้ใหญ่ บนพืน้ ป่าส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกทีพ่ กั ตัวในฤดูแล้ง แต่อาจพบหญ้ามากขึ้นในพื้นที่ที่มีไฟเข้า ในป่าไผ่อาจพบไม้ทม่ี เี รือนยอดสูง 20-30 เมตร ต้นไม้ ทีพ่ บในป่าชนิดนีอ้ าจมีมากถึง 180 ชนิด โดยมากกว่าร้อย ละ 70 เป็นไม้ผลัดใบ สักไม่ใช่ไม้เด่นในป่าชนิดนีอ้ กี ต่อไป แต่ยังสามารถพบไม้มีค่าชนิดอื่นที่เฉพาะกับป่าแบบนี้ได้ เช่น Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub. var. kerrii (Craib & Hutch.) Niels. (Leguminosae, Mimosoideae), Dalbergia cultrata Grah ex Bth., Pterocarpus macrocarpus Kurz (Leguminosae, Papilionoideae), Lagerstroemia cochinchinensis Pierre (Lythraceae), Chukrasia tabularis A. Juss. (Meliaceae) และ Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib (Leguminosae, Caesalpinioideae) การทำไม้ทำให้ตน้ ไม้อน่ื ทีไ่ ม่คอ่ ยมีคา่ ทางเศรษฐกิจเติบโตได้มากขึน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ Colona flagrocarpa (Cl.) Craib (Tiliaceae), Schleichera oleosa (Lour.) Oken (Sapindaceae), Terminalia chebula Retz. var. chebula, T. mucronata Craib & Hutch. (Combretaceae) และ Sterculia pexa Pierre (Sterculiaceae) ไม้ชน้ั รองทีพ่ บได้แก่ Vitex canescens Kurz และ V. limoniifolia Wall. ex Kurz (Verben-

aceae), Cassia fistula L. (Leguminosae, Caesalpinioideae), Antidesma acidum Retz., Phyllanthus emblica L. (Euphorbiaceae), Stereospermum neuranthum Kuez และ Oroxylum indicum (L.) Kurz (Bignoniaceae) เถาวัลย์ขนาดใหญ่ซง่ึ เป็นลักษณะเด่นของป่าชนิดนีพ้ บ ถึง 55 ชนิด ประมาณร้อยละ 65 เป็นเถาวัลย์ผลัดใบชนิดที่ พบเฉพาะในป่าไผ่ ได้แก่ Millettia cinerea Bth. และ M. extensa (Bth.) Bth. ex Bak. (Leguminosea, Papilinoideae), Combretum latifolium Bl. (Combretaceae) และ Congea tomentosa Roxb. var. tomentosa (Verenaceae) ป่าผลัดใบผสมไผ่บนดอยสุเทพมีไม้พมุ่ จำนวน 30 ชนิด โดยประมาณร้อยละ 63 เป็นไม้ผลัดใบ ทีพ่ บได้บอ่ ย ได้แก่ Helicters elongata Wall. ex Boj. และ H. hirsuta Lour. (Sterculiaceae), Desmodium gangeticum (L.) DC. และ D. velutinum (Willd.) DC. ssp. velutinum (Leguminosae, Papilionoideae), Sericocalyx quadrafarius (Wall. ex Nees) Brem. (Acanthaceae), Phyllanthus sootepensis Craib และ Sauropus hirsutus Beille (Euphorbiaceae) ไผ่ (Gramineae, Bambusoideae) เป็นไม้ทเ่ี ด่นที่ สุดของป่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ พืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลายมาก ๆ ไผ่ ชนิดทีม่ กั พบในป่านี้ ได้แก่ Dendrocalamus membranaceus Munro, D. nudus Pilg และ Bambusa tulda Roxb. บนดอยสุเทพพบไม้องิ อาศัยของป่าผลัดใบผสมไผ่อย่าง น้อย 38 ชนิด โดยส่วนมากอยูใ่ น 3 กลุม่ ได้แก่ ไทรหรือ มะเดือ่ (Moraceae) ซึง่ ใช้ชวี ติ ในช่วงแรกแบบไม้องิ อาศัย กล้วยไม้ (Orchidaceae) และเฟิรน์ (Pteridophytes) ชนิดทีเ่ ป็นลักษณะเฉพาะของป่านี้ ได้แก่ Ficus microcarpa L.f. (Moraceae) และกล้วยไม้ Cymbidium aloifolium (L.) Sw. (Orchidaceae) นอกจากนีย้ งั มีไม้อวบน้ำ และเฟิรน์ ต่าง ๆ Platycerium wallichii Hk. และ Drynaria bonii C. Chr. (ทัง้ คูเ่ ป็นไม้ผลัดใบในวงค์ Polypodiaceae) และอีกชนิดหนึง่ ทีพ่ บเฉพาะในป่านี้ คือ กา ฝากเบียนกิง่ Scurrula atropurpurea (Bl.) Dans. (Loranthaceae) ในฤดูแล้งระหว่างพฤศจิกายน-เมษายนบนพืน้ ป่าแทบ ไม่มพี ชื ชนิดใดขึน้ อยู่ ไม้ลม้ ลุกกลุม่ แรกทีพ่ บ ได้แก่ พืชใน กลุม่ ขิง (เช่น Globba nuda K. Lar. และ Kaempferia rotunda L. (Zingiberaceae)) กล้วยไม้ (เช่น Geodor-

ปลูกให้เป็นป่า 23


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *************************** *

กรอบ 2.2 ต้นสัก ต้นสักอาจเป็นต้นไม้ทม่ี ผี รู้ จู้ กั มากทีส่ ดุ ในประเทศไทย ต้น ไม้ชนิดนีส้ งั เกตได้งา่ ยจากเปลือกสีทรายทีม่ รี อ่ งถี่ ๆ ตามแนว ของลำต้นพร้อมใบขนาดใหญ่ ได้ผลัดใบชนิดนีเ้ คยมีมากใน ภาคเหนือของประเทศไทย และเป็นสินค้าส่งออกทีส่ ำคัญของ ไทยมาเป็นเวลานาน แต่ปจั จุบนั แทบไม่เหลือไม้สกั ธรรมชาติ ให้เห็นแล้ว ไม้สกั เป็นไม้ทส่ี วยงาม ทนทาน เหมาะสำหรับนำมาใช้ใน งานหัตถกรรมและงานก่อสร้างต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็น คานบ้าน ไม้ปพู น้ื เครือ่ งเรือนไปจนกระทัง่ ใช้ในการทำเรือหรือสะพาน ในช่วงศตวรรษก่อนไม้สกั จำนวนมากได้ถกู ตัดออกมาจากป่า ทัง้ โดยบริษทั ทำไม้ตา่ งประเทศและบริษทั ของคนไทย จนใน ปัจจุบันพื้นที่ป่าสักธรรมชาติเหลืออยู่เพียงแค่ไม่กี่ผืน เช่น ในอุทยานแห่งชาติแม่วงค์และแม่ยม ต้นสักเป็นไม้ทม่ี ศี กั ยภาพในการฟืน้ ตัวได้เอง ถ้าในพืน้ ทีย่ งั มีแม่ไม้หลงเหลืออยูบ่ า้ ง เราจะพบกล้าไม้สกั ธรรมชาติ ขึน้ อยูไ่ ด้ไม่ยาก โดยเฉพาะในทีท่ ค่ี วามชืน้ เพียงพอ ต้นสักไม่ จัดเป็นพรรณไม้โครงสร้างเนือ่ งจากไม้ชนิดนีไ้ ม่สามารถดึงดูด

ใบและผลของสัก (Tectona grandis L.F. (Verbenaceae))

24

ปลูกให้เป็นป่า

สัตว์ทท่ี ำหน้าทีก่ ระจายเมล็ดพันธุเ์ ข้ามาในพืน้ ทีไ่ ด้ อย่างไรก็ ตามการฟืน้ ฟูปา่ ในพืน้ ทีท่ เ่ี คยเป็นป่าสักย่อมไม่สมบูรณ์ถา้ ไม่มี การปลูกต้นสักร่วมด้วย เช่นเดียวกับพืน้ ทีฟ่ น้ื ฟูปา่ ทีม่ วี ตั ถุ ประสงค์เพือ่ ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนาคต แต่ไม่ควร ปลูกต้นสักเพียงอย่างเดียว ต้นสักเป็นไม้มคี า่ เรือนเพาะชำหลายแห่งจึงผลิตกล้าไม้ ชนิดนี้ แต่สว่ นใหญ่จะเป็นพันธุท์ ค่ี ดั เลือกแล้วและมาจากแม่ ไม้ในสวนป่าสัก ในการฟืน้ ฟูปา่ ควรดูให้แน่ใจว่ากล้าไม้ในเรือน เพาะชำดังกล่าวได้มาจากเมล็ดของไม้สกั ธรรมชาติในพืน้ ทีห่ รือ อาจผลิตกล้าไม้สกั เอง โดยเก็บเมล็ดจากต้นสักในธรรมชาติ ทีม่ อี ายุมากกว่า 20 ปี ผึง่ ผลสักให้แห้ง 2-3 วัน จากนัน้ เอาเปลือกบาง ๆ ทีห่ มุ้ เมล็ดอยูอ่ อก แช่เมล็ดข้ามคืนแล้วนำ เมล็ดมาตากแดดในช่วงกลางวัน ทำซ้ำเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ จากนัน้ ฝังเมล็ดลงถาดเพาะห่าง ๆ เพือ่ ให้แน่ใจว่าต้นกล้างอก เต็มทีแ่ ล้วจะไม่บงั แสงเมล็ดทีก่ ำลังงอก วางถาดเพาะให้ได้รบั แสงเต็มที่ เมล็ดจะเริม่ งอกหลังจากเพาะได้ประมาณ 10 วัน และค่อย ๆ ทยอยงอกจนถึงประมาณวันที่ 90 โดยปกติอตั รา การงอกจะสูงกว่าร้อยละ 50 ย้ายต้นกล้าลงถุงเพาะและนำไป เลีย้ งในทีม่ รี ม่ เล็กน้อย กล้าไม้สกั จะโตพร้อมปลูกในเวลา ประมาณ 1 ปี um siamense Rol. ex Dow., Nervilia aragoana Gaud. และ N. plicata (Andr.) Schltr. (Orchidaceae) และ บุก เช่น Amorphophallus macrorhizus Craib (Araceae) ซึง่ ออกดอกในเดือนเมษายนก่อนทีจ่ ะ แตกใบหลังจากฝนแรกในเดือนพฤษภาคมไม้พื้นล่างอื่น ๆ จึงเริม่ ทยอยออกดอก เช่น Curcuma parviflora Wall. (Zingiberaceae), Geodorum recurvum (Roxb.) Alst., Habenaria thailandica Seid. และ Peristylus constrictus (Lindl.) Lindl. (Orchidaceae) และ ไม้เถา Stemona burkillii Prain (Stemonaceae) ประมาณกลางเดือนกรกฏาคมไม้ลม้ ลุกอืน่ ๆ ต่าง เจริญเติบโตเต็มที่ ได้แก่เฟิรน์ หลายชนิด Selaginella ostenfeldii Hier. (Selaginellaceae) และ Aniscocampium cumingianum Presl, Kuniwatsukia cuspidata (Bedd.) Pichi-Ser. (Athyriaceae) และ Dryopteris cochleata (D.Don) C. Chr. (Drypteridaceae) เมือ่ ถึงเดือน สิงหาคมพื้นป่าจะเต็มไปด้วยไม้ล้มลุกหลากหลาย ชนิดซึง่ จะแห้งตายไปและถูกไฟไหม้ในช่วงต้นฤดูแล้ง


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *****************************

อุปสรรค ปัญหาในการฟืน้ ฟูปา่ ผลัดใบ ผสมไผ่ ไผ่เป็นปัญหาสำคัญทีส่ ดุ ในการฟืน้ ฟูพน้ื ทีป่ า่ ผลัดใบผสม ไผ่ เช่นเดียวกับหญ้าชนิดอืน่ ๆ ไผ่เป็นพันธุไ์ ม้ทม่ี คี วามสามารถ ในการแก่งแย่งแข่งขันสูง รากของไผ่มจี ำนวนมากและยึด ครองพืน้ ทีร่ อบ ๆ บริเวณกออย่างหนาแน่น กอไผ่กอ่ ให้เกิด ร่มเงาหนาทึบ ส่วนในช่วงฤดูแล้งใบไผ่จำนวนมากทีท่ ง้ิ ลงสูด่ นิ ทำให้กล้าไม้ทอ่ี ยูใ่ กล้เคียงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เป็นผล ให้ตน้ ไม้ทป่ี ลูกใกล้ ๆ กับกอไผ่โตได้ไม่ดแี ละค่อย ๆ ตายไป ในทีส่ ดุ ดังนัน้ ควรต้องควบคุม ไผ่ทม่ี อี ยูใ่ นพืน้ ทีไ่ ม่ให้มาก เกินไป แต่ไม่ใช่กำจัดจนหมด การฟืน้ ฟูปา่ จึงจะประสบความ สำเร็จได้ (ดูกรอบ 2.3) ส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านมักมีการใช้

ประโยชน์จากไผ่ทง้ั ในรูปของไม้ไผ่และหน่อไม้อยูแ่ ล้ว นับ เป็นการควบคุมจำนวนไผ่ในพืน้ ทีโ่ ดยปริยาย ทำให้ตน้ ไม้ท่ี ปลูกในพืน้ ทีม่ โี อกาสรอดได้มากขึน้ หญ้าขนาดเล็กอืน่ ๆ ในวงศ์ Gramineae ทีเ่ ป็นลักษณะ ของป่าผลัดใบผสมไผ่ ได้แก่ ข้าวนก (Qryza meyeriana (Zoll. & Mor.) Baill. var. granulata (Watt) Duist.) Microstegium vagans (Nees ex Steud.) A. Camus และหญ้าไข่เหาหลวง (Panicum notatum Retz.) ทัง้ หญ้า และไผ่จำนวนมากนีท้ ำให้ไฟเข้าพืน้ ทีไ่ ด้งา่ ย การกำจัดวัชพืช และทำแนวป้องกันไฟโดยเฉพาะรอบ ๆ พืน้ ทีท่ ป่ี ลูกต้นไม้ จึงเป็นสิง่ จำเป็น

กรอบ 2.3 ไม้ไผ่ ไผ่เป็นหญ้าขนาดยักษ์ในวงศ์ Gramineae วงศ์ย่อย Bambusoideae จัดเป็นหนึง่ ในไม้ทโ่ี ตเร็วทีส่ ดุ และนำมาใช้ ประโยชน์ได้มากทีส่ ดุ ในโลก บนโลกมีไผ่มากกว่า 1,400 ชนิด โดยส่วนมากพบในเขตร้อนหรือกึง่ ร้อน ในภาคเหนือของประ เทศไทยพบไผ่มากกว่า 25 ชนิด ไผ่บางชนิดสามารถสูงได้ถงึ 15 เมตร และมีความกว้างของลำถึง 30 เซนติเมตร ต้นไผ่ประกอบด้วยลำต้นใต้ดนิ ทีเ่ รียกว่าเหง้า และส่วน ของลำไผ่ทข่ี น้ึ รวมกันอยูเ่ ป็นกอ กิง่ ไผ่จะแตกออกจากบริเวณ ข้อ แต่ละข้อใบจะแตกออกจากกิง่ ลักษณะของลำไผ่ทเ่ี ป็นข้อ ปล้องและมีชอ่ งว่างอยูภ่ ายในทำให้ตน้ ไผ่มคี วามแข็งแรง ใน ขณะทีเ่ นือ้ ไม้มคี วามยืดหยุน่ สูงทำให้ไม้ไผ่เป็นไม้ทเ่ี หมาะสำหรับ นำมาใช้ทง้ั ในงานก่อสร้างและเป็นวัตถุดบิ สำหรับงานหัตถกรรม ต่าง ๆ หน่อไม้เป็นอีกส่วนหนึง่ ทีม่ กี ารนำมาใช้ประโยชน์อย่าง กว้างขวางและเป็นหนึง่ ในอาหารขึน้ ชือ่ ของแถบเอเซีย ไผ่บางชนิดเมือ่ ออกดอก ไผ่ทกุ ต้นในบริเวณนัน้ จะออก ดอกและผลิตเมล็ดขนาดเล็กออกมาพร้อม ๆ กัน จากนัน้ ต้น เดิมจะค่อย ๆ ตายไป เมล็ดทีถ่ กู ผลิตขึน้ มีจำนวนมากจน กระทัง่ สัตว์ทก่ี นิ เมล็ดไม่สามารถจะกินให้หมดและบางส่วนจะ เจริญเติบโตเป็นต้นไผ่รนุ่ ใหม่ตอ่ ไป

ไผ่แบ่งออกเป็น 2 กลุม่ ใหญ่ คือพวกทีข่ น้ึ เป็นกอ (monopodial) และพวกที่เลื้อยกระจายห่าง ๆ กัน (sympodial) ไผ่ทข่ี น้ึ เป็นกอจะสร้างยอดใหม่อยูช่ ดิ กันทำให้เกิดการเกาะกลุม่ ไผ่กลุม่ นีส้ ว่ นมากมีลำทีแ่ ข็งแรงจึงมักถูกนำมาใช้ประโยชน์ใน การก่อสร้าง ในทางตรงกันข้ามไผ่บางกลุม่ มีเหงาทีย่ าวทำให้สามารถ กระจายไปในดินได้ไกล บนแต่ละข้อของเหง้าจะแตกยอด ออกมาพร้อม ๆ กับการสร้างกลุม่ เหง้าใหม่ ลักษณะดังกล่าว ทำให้ไผ่กลุม่ นีเ้ หมาะสำหรับทีจ่ ะใช้ในการควบคุมการพังทลาย ของดิน แต่ในขณะเดียวกันสำหรับพืน้ ทีป่ ลูกป่า ไผ่ลกั ษณะนี้ อาจรุกเข้ามาในพื้นที่และทำให้กล้าไม้เจริญได้ไม่ดี ถ้าในแปลงปลูกป่ามีไผ่ในกลุม่ ทีส่ องมากต้องควบคุมการ เจริญของไผ่ไม่ให้มากเกินไป การตัดลำไผ่ทง้ิ อาจควบคุม จำนวนไผ่ได้ ในบางครัง้ แต่ถา้ ไม่มกี ารติดตามทีด่ กี ารตัดลำไผ่ อาจกระตุน้ ให้มกี ารเจริญของเหง้ามากขึน้ วิธที ไ่ี ด้ผลกว่าคือ การใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น ไกลโฟเสท (ราวด์อพั ) พ่นทับลง บนกอไผ่ที่ถูกตัดเพื่อให้รากตาย ไผ่จดั เป็นไม้ทเ่ี ป็นลักษณะเฉพาะของป่าผลัดใบผสมไผ่ ดังนัน้ ต้องระวังไม่ให้ไผ่ถกู กำจัดออกจากพืน้ ทีจ่ นหมด

ปลูกให้เป็นป่า 25


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *************************** *

ลักษณะเฉพาะของป่าเต็งรังผสมก่อ ป่าเต็งรังผสมก่อมักพบอยูใ่ นบริเวณทีม่ คี วามชืน้ ต่ำหรือ เสือ่ มโทรมมาก โดยกระจายตัวอยูต่ ง้ั แต่ในบริเวณทีร่ าบจน ขึน้ ไปถึง 800-900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลเฉพาะบริเวณ สันเขาทีม่ หี น้าดินน้อยหรือไม่มหี น้าดินและถูกแทนทีด่ ว้ ยป่า ผลัดใบผสมไผ่ในเขตทีม่ คี วามชืน้ มากกว่าใกล้ทางน้ำ ป่า ชนิดนีเ้ กิดจากการฟืน้ ตัวของป่าทีถ่ กู ไฟเผาทำลายบ่อย ดิน ถูกชะล้างสูงและมีปัจจัยเสริมอื่นที่ทำให้สังคมพืชไม่สามารถ พัฒนาไปเป็นป่าผลัดใบผสมไผ่หรือป่าสักได้ ป่าชนิดนีส้ ามารถแยกออกจากป่าชนิดอืน่ ได้โดยดูจาก ต้นไม้ทค่ี อ่ นข้างเตีย้ (ส่วนมากสูงไม่เกิน 20 เมตร) ขึน้ อยู่ ห่าง ๆ ไม่สม่ำเสมอ พืน้ ป่าปกคลุมไปด้วยหญ้าและกก ไม่ ค่อยพบเถาวัลย์ในป่าชนิดนี้ ในชัน้ ไม้พมุ่ มักพบลูกไม้ของ พรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ไม่พบไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ในป่าเต็งรังผสมก่อ ร้อยละ 80 ของชนิดพรรณไม้ท่ี พบเป็นไม้ผลัดใบที่ทิ้งใบช่วงหน้าแล้งและแตกใบใหม่ในช่วง ก่อนฤดูฝน เมือ่ เทียบกับป่าอืน่ ๆ พรรณไม้ทพ่ี บนีม้ คี วาม หลากหลายต่ำกว่า โดยพบไม้ตน้ เพียงประมาณ 100 ชนิด และมีเพียง 24 ชนิดเท่านัน้ ทีพ่ บบ่อยหรือมีจำนวนมาก ต้นไม้ทเ่ี ป็นเอกลักษณ์ของป่านีแ้ ละสามารถแยกออกจาก กลุม่ อืน่ ได้งา่ ยทีส่ ดุ คือไม้ในกลุม่ ยาง ในสกุล Dipterocarpus ทีม่ ใี บขนาดใหญ่ ผลมีปกี ซึง่ พัฒนามาจากกลีบ เลีย้ ง ในพืน้ ทีป่ า่ เสือ่ มโทรมโดยเฉพาะบริเวณสันเขา ต้นไม้ท่ี พบได้บอ่ ย คือ พลวง (Dipterocarpus tuberculatus Roxb. var. tuberculatus (Dipterocarpaceae) แต่ใน บริเวณไหล่เขาหรือพืน้ ทีท่ ม่ี คี วามชืน้ เพียงพอมักจะพบ เหียง (D. obtusifolius Teijsm. ex Miq. var. obtusifolius) ยางอีกกลุม่ ทีพ่ บได้บอ่ ย คือ เต็งและรัง (Shorea obtusa Wall. ex Bl. และ S. siamensis Miq. var. siamensis) ไม้กอ่ ในวงศ์ Fagaceae เป็นอีกกลุม่ หนึง่ ทีพ่ บได้บอ่ ย ในป่าประเภทนี้ ไม้กลุม่ นีส้ ามารถแยกออกจากต้นไม้อน่ื ได้ ง่ายเมือ่ ติดผล ชนิดทีพ่ บได้บอ่ ย ๆ ได้แก่ Quercus kerrii Craib var. kerrii, Q. aliena Bl., Q. brandisiana Kurz, Lithocarpus elegans (Bl.) Hatus. ex Soep., Castanopsis diversifolia King ex Hk. f. และ C. argyrophylla King ex Hk.f. ชนิดสุดท้ายเป็นหนึง่ ใน ไม้ไม่ผลัดใบไม่กช่ี นิดทีพ่ บในป่านี้ ในพืน้ ทีท่ ไ่ี ฟเข้าบ่อย จะพบไม้ก่อน้อยลงหรือไม่พบเลยแต่ถ้ามีการป้องกัน ไฟไม่ให้เข้าพืน้ ทีอ่ ย่างน้อย 30 ปี ต้นก่อสามารถกลับ มาในพืน้ ทีไ่ ด้อกี ครัง้ (Kafle, 1997 และ Meng, 1997)

26

ปลูกให้เป็นป่า

ต้นไม้อกี ชนิดหนึง่ ทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ของป่านี้ ได้แก่ ปาล์มสิบสองปันนา (Phoenix loureiri Kunth var. loureiri (Palmae)) ปาล์มขนาดเล็กชนิดนีแ้ ตกใบใหม่ได้ดี หลังถูกไฟไหม้ ต้นไม้อน่ื ๆ ทีพ่ บ ได้แก่ Gluta usitata (Wall.) Hou และ Buchanania lanzan Spreng. (Anacardiaceae), Craibiodendron stellatum (Pierre) W. W. Sm. (Ericaceae), Strychnos nuxvomica L. (Loganiaceae), Tristaniopsis burmanica (Griff.) Wils. & Wat. (Myrtaceae) และ Anneslea fragrans Wall. (Theaceae) มีเถาวัลย์เพียง 14 ชนิด ทีพ่ บในป่านีโ้ ดยชนิดทีพ่ บบ่อย ได้แก่พวกทีผ่ ลัดใบในฤดูแล้ง เช่น Spatholobus parviflorus (Roxb.) O.K. (Leguminosae, Papilionodeae), Aganosma marginata (Roxb.) G. Don (Apocynaceae) และ Celastrus paniculatus Willd. (Celastraceae) ป่านีอ้ ดุ มไปด้วยไม้พมุ่ (29 ชนิด) และไม้ขนาดเล็ก (48 ชนิด) ชนิดทีพ่ บได้บอ่ ยได้แก่ Helicteres isora L. (Sterculiaceae), Grewia abutilifolia Vent. ex Juss. (Tiliaceae), Desmodium motorium (Houtt.) Merr. และ Indigofera cassioides Rottl. ex DC. (Leguminosae, Papilionoideae) ; Gardenia obtusifolia Roxb. ex Kurz และ Pavetta fruticosa L. (Rubiaceae), Strobilanthes apricus (Hance) T.And. (Acanthaceae), Premna herbacea Roxb. (Verbenaceae) และ Breynia fruticosa (L.) Hk. f. (Euphorbiaceae)

เป้งดอย (Phoenix loureiri Kunth var. loureiri ) แตก ยอดใหม่หลังจากถูกไฟทำลาย


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *****************************

ไม้เถาทีพ่ บในพืน้ ทีท่ ม่ี ไี ฟเข้า ได้แก่ Dunbaria bella Prain (Leguminosae, Papilionoideae), Solena heterophylla Kour. ssp. heterophylla (Cucurbitaceae) และ Streptocaulon juventas (Lour.) Merr (Asclepiadaceae) จากไม้องิ อาศัย 47 ชนิดทีพ่ บในป่าเต็งรังผสม ก่อบนดอยสุเทพชนิดทโดดเด่นมากทีส่ ดุ ได้แก่ เถาพุงปลา (Dischidia major (Vahl) Merr. (Asclepiadaceae)) ใบ ของพืชชนิดนี้มีลักษณะพองออกเป็นถุงทำให้มดเข้าไปอาศัย สร้างรังอยูไ่ ด้ เศษซากอินทรียท์ ม่ี ดนำเข้าไปในใบนัน้ ทำให้ เถาพุงปลาได้รบั ทัง้ ดิน ธาตุอาหารและความชืน้ ป่าชนิดนีม้ ี กล้วยไม้หลายชนิดบางชนิดค่อย ๆ หายไปจากป่าเนือ่ งจาก มีการเก็บออกมาขายมากเกินไป ชนิดทีพ่ บบ่อย ๆ ได้แก่ Cleisomeria lanata (Lindl.) Kindl., Cleisostoma arieinum (Rchb.f.) Garay, Cymbidium ensifolium (L.) Sw., Dendrobium lindleyi Steud., D. porphyrophyllum Guill., D. secundum (Bl.) Lindl., Eria acervata Lindl., E. pannea Lindl., Rhynchogyna saccata Seid & Garay และ Vanda brunnea Rchb.f. ไม้องิ อาศัยอีกสองชนิดทีพ่ บได้บอ่ ยในป่านี้ ได้แก่ เฟิรน์ Drynaria rigidula (Sw.) Bedd. และ Platycerium wallichii Hk. (Polypodiaceae) บนพืน้ ป่ามักปกคลุมด้วยหญ้าและกกซึง่ ในช่วงหน้าแล้ง จะแห้งกลายเป็นเชือ้ เพลิงสำหรับไฟป่า ตัวอย่างของหญ้าที่ พบได้บอ่ ยในป่าแบบนี้ ได้แก่ Apluda mutica L., Arundinella setasa Trin., Eulalia siamensis Bor, Heteropogon contortus (L.) P. Beauv. ex Roem. & Schult. และ Schizachyrium sanguineum (Retz.) Alst. Sedges กกทีพ่ บคือ Carex continua Cl., Cyperus cuspidatus Kunth, Rhynchospora rubra (Lour.) Mak. และ Scleria levis Retz. นอกจากนัน้ ยัง พบพืชวงศ์ขงิ -ข่า (Zingiberaceae) เช่น Curcuma zedoaria (Berg.) Rosc., Globba nuda K. Lar. และ Kaempferia rotunda L. ส่วนไม้ลม้ ลุกอืน่ ๆ ทีพ่ บ ได้แก่ Barleria cristata L. (Acanthaceae), Platostoma coloratum (D.Don) A. J. Platon (Labiatae), Striga masuria (B.-H. ex Bth) Bth. (Scrophulariaceae) และ Aeginetia indica Roxb. (Orobanchaceae) สองชนิด สุดท้ายเป็นพืชปรสิตเบียนราก นอกจากนัน้ ยังพบพืชพวก ตีนตุก๊ แก Selaginella ostenfeldii Hiern. (Selaginellaceae) และเฟิรน์ Adiantum philippense L., A. zol-

lingeri Mett. ex Kuhn และ Cheilanthes tenuifolia (Burm.f.) Sw. (Parkeriaceae) ในพืน้ ทีท่ ไ่ี ฟเข้าบ่อยและในระดับความสูง 800-900 เมตร อาจพบสนขึน้ ปนอยูก่ บั ไม้ยางและไม้กอ่ เรียกป่าชนิด นีว้ า่ ป่ายางผสมก่อและสน

อุปสรรค ปัญหาในการฟืน้ ฟูปา่ เต็งรังผสมก่อ ป่าเต็งรังผสมก่อมักเป็นพืน้ ทีท่ ผ่ี า่ นการทำไม้ตามด้วย การตัดไม้เพือ่ ใช้ทำฟืน หรือ เลีย้ งสัตว์และมีไฟไหม้พน้ื ที่ บ่อย ๆ ทำให้ดนิ คุณภาพเลวลงเกินกว่าจะใช้ในการเพาะ ปลูก ในพืน้ ทีม่ กั มีตน้ ไม้แกรน ๆ หรือต้นไม้ทแ่ี ตกจากตอ ไม้เดิมหลงเหลืออยูใ่ นพืน้ ที่ เมือ่ จะฟืน้ ฟูปา่ บนพืน้ ทีน่ จ้ี ำนวน กล้าไม้ทป่ี ลูกอาจลดลงเหลือเพียง 200-300 ต้นต่อไร่ เพือ่ ให้ได้ ความหนาแน่นของต้นไม้ทป่ี ลูกรวมกับต้นไม้เดิมไม่ สูงเกินไป สิง่ ทีต่ อ้ งคำนึงถึงเมือ่ เลือกต้นไม้ทจ่ี ะปลูกเสริมใน พืน้ ที่ ได้แก่ 1) ปลูกต้นไม้เพือ่ เพิม่ ความหลากหลายของ ชนิดพันธุใ์ ห้มากขึน้ 2) เสริมต้นไม้ทม่ี ผี ลทีน่ กและสัตว์ปา่ ชอบกิน 3) ปรับปรุงคุณภาพดิน เช่น ปลูกพืชตระกูลถัว่ ในพืน้ ทีต่ ำ่ มักมีประชากรจำนวนมากอาศัยอยู่ ดังนัน้ ความขัดแย้งระหว่างโครงการฟืน้ ฟูปา่ กับประชาชนในพืน้ ทีจ่ งึ เกิดขึน้ ได้งา่ ย ๆ การประสานงานและทำความเข้าใจกับคน ในพืน้ ทีเ่ พือ่ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการฟืน้ ฟูปา่ จึงเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ หญ้าแห้งและใบไม้ทร่ี ว่ งหล่นอยูบ่ นพืน้ เป็นเชือ้ เพลิง อย่างดีของไฟป่า ดังนัน้ การป้องกันไฟหลังปลูกป่าจึงมี ความสำคัญอย่างยิง่ ดินของป่าชนิดนีม้ กั มีลกั ษณะเป็นดิน ดาน ไม่อดุ มสมบูรณ์ และการระบายน้ำไม่ดี การขุดหลุม ปลูกจึงต้องใช้แรงงานมาก ในฤดูรอ้ นพืน้ ดินจะแห้งแล้ง ใน ขณะทีใ่ นหน้าฝนน้ำจะขังเนือ่ งจากการระบายน้ำไม่ดี ซึง่ ทัง้ สองอย่างอาจทำให้กล้าไม้ทป่ี ลูกตายได้ จึงอาจใช้ดนิ วิทยา ศาสตร์ทม่ี ลี กั ษณะเป็นเจลรองก้นหลุมและใช้วสั ดุคลุมโคนต้น เมือ่ ปลูกเพือ่ ลดอัตราการตายของกล้าไม้ ถ้าจำเป็นอาจเช่า รถน้ำมารดน้ำให้แก่กล้าไม้หลังปลูก ควรใส่ปยุ๋ บ่อย ๆ และ มีการปรับปรุงดินก่อนปลูก เช่น รองก้นหลุมด้วยปุย๋ จาก เศษซากพืช ในพืน้ ทีแ่ บบนีว้ ชั พืชมักโตช้ากว่าในพืน้ ทีป่ า่ ดิบ ฉะนัน้ อาจไม่จำเป็นต้องกำจัดวัชพืชบ่อยนัก

ปลูกให้เป็นป่า 27


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *************************** *

กรอบ 2.4 ไม้ยาง ต้นไม้ในวงศ์ Dipterocarpaceae หรือไม้ยางนัน้ มีอยู่ ทัง้ หมดประมาณ 600 ชนิดใน 16 สกุล ส่วนใหญ่พบอยูใ่ นเขต เอเซียใต้หรือเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีเพียง 50 ชนิดเท่านัน้ ทีพ่ บในเขตร้อนของอัฟริกาและอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิง่ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ไม้ยางถือเป็นไม้เด่นในป่าหลายชนิด มีการนำไม้มาใช้ประโยชน์สำหรับประชาชนในพืน้ ทีแ่ ละส่งออก เพื่อการค้า ยางไม้และน้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์หลักทีเ่ ก็บเกีย่ วได้จากไม้ ในวงค์น้ี การเก็บน้ำยางทำได้โดยการเจาะลำต้นให้เป็นโพรง จากนัน้ สุมไฟเนือ้ ไม้ทอ่ี ยูด่ า้ นบนเพือ่ กระตุน้ ให้นำ้ ยางไหลออกมา ยางบางส่วนจะแข็งเป็นก้อน แต่ส่วนที่มีน้ำมันหอมระเหย (oleoresins) อยูม่ ลี กั ษณะเหลวและใสกว่า น้ำมันยางส่วนนี้ สามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของยาแผนโบราณและผลิตน้ำหอม ยางทีไ่ ด้ยงั สามารถใช้เป็นน้ำยาเคลือบได้ ยางแข็งของ พลวง (Dipterocarpus tuberculatus) ยังใช้ในการทำไต้ หมึก และผสมกับน้ำมันยางเพื่อยาเรือหรือภาชนะไม้ไผ่ แทนนิน เป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึง่ ทีไ่ ด้จากไม้ในวงศ์น้ี โดยแทนนินทีไ่ ด้ จากใบและเปลือกของ พลวงถูกนำมาใช้ในการย้อมสีเครือ่ ง หนัง แม้แต่ในพืน้ ทีป่ า่ ทีเ่ สือ่ มโทรมมากยังอาจพบไม้ในกลุม่ ยาง

เหลืออยูใ่ นพืน้ ที่ โดยอาจเป็นต้นทีแ่ ตกใหม่จากตอทีถ่ กู ตัด หรือไม้เดิม นอกจากนัน้ เมล็ดไม้ในกลุม่ นีม้ กั กระจายไป กับลมจึงไม่จำเป็นต้องปลูกเพิม่ ไม้ในวงศ์ยางส่วนใหญ่ไม่ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของพรรณไม้โครงสร้าง (บทที่ 5) เนือ่ งจากโตช้าและไม่ดงึ ดูดสัตว์ทช่ี ว่ ยกระจายเมล็ดพันธุ์ แต่ไม้ในวงค์นเ้ี ป็นองค์ประกอบสำคัญของป่าผลัดใบ ดัง นัน้ ในพืน้ ทีท่ ไ่ี ม่มไี ม้ยางเหลืออยูเ่ ลย ควรจะปลูกไม้ในวงศ์ นีร้ ว่ มกับพรรณไม้โครงสร้างอืน่ ๆ เพือ่ เร่งให้ปา่ ฟืน้ ตัวกลับ ไปมีสภาพคล้ายคลึงกับป่าเดิมได้เร็วขึน้ การเพาะไม้วงศ์ยางจากเมล็ดทำได้ยากเนือ่ งจากไม้ใน กลุม่ นีอ้ อกดอกไม่สม่ำเสมอและเมล็ดไม่มรี ะยะพักตัว ใน ปัจจุบนั ยังไม่มวี ธิ ที จ่ี ะเก็บเมล็ดพันธุข์ องไม้ในกลุม่ นีใ้ ห้อยู่ ได้นานเกิน 2-3 สัปดาห์ การเก็บกล้าไม้จากธรรมชาติมา เลี้ยงในเรือนเพาะชำจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมมากกว่า (ดูกรอบ 6.1) หรืออาจใช้การปักชำกิง่ แต่วธิ นี ม้ี คี า่ ใช้จา่ ย ค่อนข้างสูง และยังอาจทำให้ความหลากหลายทางพันธุ ั นาวิธกี ารปักชำไม้ในวงศ์ กรรมลดลงด้วย นักวิจยั ได้พฒ ยางหลายชนิด ถ้าจะใช้วธิ ดี งั กล่าวสามารถหาข้อมูลเกีย่ ว กับวิธกี ารทีเ่ หมาะสมสำหรับต้นไม้แต่ละชนิดได้

การเก็บน้ำมันยางจากต้น ยางปาย (Dipterocarpus costatus) ทีอ่ ายุนอ้ ยทำให้ตน้ ไม้ตายได้

ไม้ในวงศ์ยาง 2 ชนิดทีเ่ ป็นสัญลักษณ์ของป่าผลัดใบในภาคเหนือของประเทศไทย สามารถสังเกตได้จากใบขนาดใหญ่และผลทีม่ ปี กี D. tuberculatus หรือยางพลวง (ซ้าย) มีใบและผลขนาดใหญ่ที่สุด ถึงแม้ว่าผลของยางพลวงจะมีปีกแต่น้ำหนักของ ผลทำให้ปลิวไปได้ไม่ไกลนัก ยกเว้นเมื่อลมแรงมาก ๆ ผลมักจะแก่ในช่วงเมษายนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงที่มีพายุลมแรงก่อนเข้าสู่ฤดูฝน ส่วน ยางเหียง (D. obtusifolius) มีใบขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย

28

ปลูกให้เป็นป่า


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *****************************

ตอนที่ 4 กลยุทธ์ในการฟืน้ ฟูปา่ แต่ละชนิด ป่าดิบเป็นแบบไหน ถ้าทราบว่าพืน้ ทีท่ ต่ี อ้ งการฟืน้ ฟูเคยเป็นป่าแบบใดมาก่อน จะช่วยให้เราสามารถเลือกชนิดไม้ทจ่ี ะปลูกและวิธกี ารจัดการที่ เหมาะสมได้ดขี น้ึ อย่างไรก็ตามถ้าพืน้ ทีด่ งั กล่าวถูกทำลายมา หลายสิบปีแล้ว การดูวา่ ป่าดัง้ เดิมเป็นชนิดใดอาจทำได้ยาก โดย เฉพาะอย่างยิง่ ถ้ามีไม้เดิมเหลืออยูเ่ พียงไม่กต่ี น้ ในสถานการณ์ นีข้ อ้ มูลจากชาวบ้านในพืน้ ทีจ่ ะมีความสำคัญอย่างยิง่ เป็นต้นว่าสอบถามผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่ในพืน้ ทีเ่ กีย่ วกับต้นไม้ทเ่ี คย มีอยูใ่ นพืน้ ทีก่ อ่ นป่าจะถูกทำลาย ขอให้พาไปสำรวจต้นไม้ท่ี เหลืออยูห่ รือแตกยอดมาจากตอไม้เดิม ในพืน้ ที่ เก็บตัวอย่าง พรรณไม้ทง้ั ใบและดอก เพือ่ นำมาให้นกั พฤกษศาสตร์วนิ จิ ฉัย ชนิด สำรวจป่าในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงทีม่ รี ะดับความสูงเท่า ๆ กัน เก็บตัวอย่างพรรณไม้เพือ่ ระบุชนิด เมือ่ แน่ใจว่าได้ชอ่ื วิทยาศาสตร์ทถ่ี กู ต้องของต้นไม้ทพ่ี บ แล้วให้หาข้อมูลของต้นไม้แต่ละต้นว่าพบในป่าชนิดใด โดย อาจหาจากหนังสือพรรณไม้หรืออินเทอร์เน็ต สำหรับภาคเหนือ ของประเทศไทยหนังสือทีอ่ าจให้ขอ้ มูลได้ดที ส่ี ดุ เกีย่ วกับชนิด พรรณไม้และชนิดของป่าทีพ่ บ ได้แก่ หนังสือของ Maxwell และ Elliott (2001) ซึง่ มีขอ้ มูลเกีย่ วกับต้นไม้ทพ่ี บในอุทยาน แห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และลักษณะของป่าทีพ่ บ ซึง่ เป็นป่าที่ พบได้ในเขตภาคเหนือของไทยจนถึงระดับความสูงประมาณ 1,685 เมตร เมือ่ ได้รายชือ่ พรรณไม้ทอ้ งถิน่ ของป่าทีต่ อ้ งการฟืน้ ฟูแล้ว ให้ตรวจดูวา่ ต้นไม้เหล่านัน้ จัดเป็นพรรณไม้โครงสร้างหรือไม่ (ดูบทที่ 9) ถ้าต้นไม้นน้ั ยังไม่เคยได้รบั การทดสอบว่าเหมาะ สำหรับการเป็นพรรณไม้โครงสร้างหรือไม่ให้ทดสอบด้วยวิธกี าร ทีแ่ นะนำไว้ในบทที่ 5 เพือ่ หาชนิดของต้นไม้ทเ่ี หมาะสม เก็บข้อ มูลต้นไม้ทย่ี งั เหลืออยูใ่ นพืน้ ทีเ่ ริม่ บันทึกชีพลักษณ์เก็บเมล็ด พันธุ์ (บทที่ 6) นำมาเพาะในเรือนเพาะชำและทดลองปลูก ในแปลงทดลอง

ป่าแต่ละชนิดมีสภาพแวดล้อมทีแ่ ตกต่างกัน บางครัง้ จึง ต้องปรับเปลีย่ นวิธกี ารจัดการเพือ่ ให้การฟืน้ ฟูปา่ ทีม่ ปี ระสิทธิ ภาพสูงสุด เช่น จำนวนชนิดต้นไม้ทป่ี ลูก วิธกี ารปลูก ความถีใ่ น การกำจัดวัชพืชและให้ปยุ๋ (ดูรายละเอียดในตอนที่ 3 และ 4) เมือ่ ทราบแล้วว่าป่าทีต่ อ้ งการฟืน้ ฟูเป็นป่าชนิดใดจึงวางแผน ปลูกป่าทีเ่ หมาะสมและปรับวิธกี ารดูแลกล้าไม้ให้เหมาะสมกับชนิด พรรณไม้และป่าทีต่ อ้ งการต่อไป (ดูบทที่ 7)

ป่าทีค่ วรได้รบั การฟืน้ ฟูกอ่ น เนือ่ งจากการฟืน้ ฟูปา่ เป็นเครือ่ งมือสำคัญในการอนุรกั ษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าทีม่ คี วามหลากหลายสูงและ เป็นทีอ่ ยูข่ องสิง่ มีชวี ติ ทีห่ ายากจึงควรได้รบั การฟืน้ ฟูเป็นอันดับ แรก เมือ่ พิจารณาจากจำนวนชนิด ชนิดพันธุห์ ายากและชนิด พันธุเ์ ฉพาะถิน่ แล้วป่าดิบจึงเป็นป่าชนิดทีค่ วรได้รบั การฟืน้ ฟู เร่งด่วนทีส่ ดุ นอกจากนัน้ ป่าดิบในเขตภาคเหนือของประเทศ ไทยยังเป็นป่าชนิดทีม่ อี ยูน่ อ้ ยเนือ่ งจากพบเฉพาะบนพืน้ ทีส่ งู บริเวณยอดเขาเท่านัน้ อย่างไรก็ตามควรให้ความสำคัญกับป่าชนิดอืน่ ๆ ด้วย เช่นป่าเบญจพรรณซึง่ เป็นป่าอีกแบบหนึง่ ทีม่ คี วามหลากหลาย สูงและถูกคุกคามอย่างมาก ป่าชนิดนีพ้ บอยูบ่ ริเวณริมทางน้ำ ในระดับความสูงปานกลาง ซึง่ เป็นพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลายโดยการ สร้างถนนที่มักลัดเลาะไปตามหุบเขาและโครงการก่อสร้าง ต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็นเขือ่ น หมูบ่ า้ น รีสอร์ท หรือสนามกอล์ฟ ซึง่ ล้วนแต่เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งการใช้นำ้ ทัง้ สิน้ ถึงแม้วา่ ป่าผลัดใบผสมก่อจะมีจำนวนชนิดทีน่ อ้ ยกว่าป่า อีกสองชนิดทีก่ ล่าวมา แต่รอ้ ยละ 28 ของพรรณไม้เหล่านัน้ เป็นชนิดทีพ่ บอยูเ่ ฉพาะในป่านี้ ป่าผลัดใบผสมก่อมักขึน้ อยูใ่ น พืน้ ทีต่ ำ่ ทำให้ความเสีย่ งต่อการถูกบุกรุกทำลายเพือ่ ใช้เลีย้ งสัตว์ ไฟป่า การตัดไม้ทำถ่านและฟืน ดังนัน้ ถ้าป่าชนิดนีถ้ กู ทำลาย จนหมดไปจากพืน้ ทีค่ วรได้รบั การฟืน้ ฟูเช่นเดียวกัน

ปลูกให้เป็นป่า 29


ช นิ ด ข อ ง ป่ า ใ น ภ า ค เ ห นื อ *************************** *

กรอบ 2.5 ชนิดป่ากับความหลากหลายทางชีวภาพ ดอยสุเทพ-ปุย ได้รบั การจัดตัง้ เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2524 ครอบคลุมพืน้ ที่ 261 ตารางกิโลเมตร จากฐานข้อ มูลพรรณไม้ 2,220 ชนิดทีพ่ บในดอยสุเทพ-ปุย ซืง่ บรรจุขอ้ มูลต่าง ๆ เช่น ลักษณะของพรรณไม้ ลักษณะพืน้ ทีแ่ ละช่วง ความสูงทีพ่ บทำให้เราสามารถวิเคราะห์คณ ุ ค่าของป่าแต่ละชนิด ทีไ่ ด้กล่าวถึงในบทนีเ้ พือ่ การอนุรกั ษ์ได้ (Maxwell & Elliott, 2001) ด้วยจำนวนพืชมีทอ่ ลำเลียงถึง 930 ชนิดทำให้ปา่ ดิบเป็น ป่าทีม่ คี วามหลากหลายสูงสุดเมือ่ เทียบกับป่าอืน่ ๆ ป่าผลัดใบ ผสมไผ่และป่าเบญจพรรณมีจำนวนพรรณไม้ที่ใกล้เคียงกัน คือ 740 และ 755 ตามลำดับ ส่วนพืน้ ทีเ่ สือ่ มโทรมหรือถูก รบกวนมาก ๆ จำนวนชนิดของพรรณไม้จะน้อยกว่าป่าที่

สมบูรณ์ เช่นป่าผลัดใบผสมก่อและป่าดิบผสมสนซึง่ มี พรรณไม้เพียง 533 และ 540 ชนิดตามลำดับ ในป่าดิบพบพรรณไม้ทข่ี น้ึ อยูเ่ ฉพาะในป่าแบบนีม้ ากที่ สุด ดังนัน้ การลดลงของพืน้ ทีป่ า่ ดิบย่อมหมายถึงการสูญ พันธุข์ องพรรณไม้เหล่านัน้ ด้วย ในทางตรงกันข้ามป่า เบญจพรรณจะพบพรรณไม้ทข่ี น้ึ เฉพาะป่านีน้ อ้ ยเมือ่ เทียบ กับป่าอืน่ ๆ ส่วนป่าเต็งรังถึงแม้มจี ำนวนชนิดอยูไ่ ม่มากแต่ ร้อยละ 28 ของพรรณไม้ทพ่ี บนัน้ มีอยูเ่ ฉพาะในป่าแบบนี้ และไม่พบในป่าชนิดอืน่ ในป่าดิบยังพบพรรณไม้หายากมากกว่าป่าชนิดอืน่ ๆ การฟืน้ ฟูปา่ ดิบเพือ่ ขยายพืน้ ทีอ่ าศัยให้พรรณไม้เหล่านีจ้ งึ เป็นส่วนหนึง่ ทีช่ ว่ ยไม่ให้พรรณไม้เหล่านัน้ สูญพันธุ์

จำนวนชนิดที่จำเพาะต่อชนิดป่า จำนวนชนิดหายากหรือใกล้สูญพันธุ์ (% จากพรรณไม้ทง้ั หมด) (% จากพรรณไม้ทง้ั หมด) 230 (28%) 314 (34%) ป่าดิบ 120 (22%) 141 (26%) ป่าดิบผสมสน 58 (8%) 147 (19%) ป่าเบญจพรรณ 141 (19%) 153 (21%) ป่าผลัดใบผสมไผ่ 150 (28%) 121 (23%) ป่าเต็งรังผสมก่อ ชนิดป่า

จำนวนพรรณไม้ทม่ี ที อ่ ลำเลียง ทีเ่ ฉพาะต่อชนิดป่าและชนิด พรรณไม้ที่หายากหรือใกล้ สูญพันธุใ์ นป่าแต่ละชนิด

ไม้ลม้ ลุก ไม้เถา เถาวัลย์ ไม้ขนาดเล็ก ไม้ตน้ จำนวนพืชมีทอ่ ลำเลียงในป่า แต่ละชนิดทีพ่ บในอุทยาน แห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

แผนภาพด้านล่างแสดงพื้นที่ที่พบป่าชนิดต่าง ๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย EGF = ป่าไม่ผลัดใบหรือป่าดิบ, PINE = ป่าสน , MXF = ป่าผสมผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ, BB-DF = ป่าผลัดใบผสมไผ่ (ป่าสักที่เคยถูกทำลาย), DOF = ป่าผลัดใบผสมก่อ (Maxwell and Elliott (2001))

30

ปลูกให้เป็นป่า


บทที่ 3

การฟืน้ ตัวของป่า - เรียนรูจ้ ากธรรมชาติ **************************** การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของป่า เมล็ด - จุดเริม่ ต้นในการฟืน้ ตัวของป่า ความสำคัญของการกระจายเมล็ดพันธุ์ การงอก ต้นกล้า นิเวศวิทยาของไฟ ผูอ้ ยูร่ อด “นกปิด๊ ตะริวหัวป้อมเตอะเลาะ พืน้ ทีไ่ ม่ดจี งช่วยกันสร้าง” จอนิ โอโดเชา ปราชญ์ชาวกระเหรี่ยง


กลไกการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติของป่า

C A C D

B

C G

E

F

F

H

ในพืน้ ทีป่ า่ ธรรมชาติเมือ่ มีชอ่ งว่างเกิดขึน้ จากต้นไม้ลม้ จะเกิดการเปลีย่ นแปลงแทนทีอ่ ย่างรวดเร็ว ต้นไม้ทอ่ี ยูใ่ กล้เคียง (A) จะเป็นแหล่งผลิตเมล็ดทีส่ ำคัญ (B) สัตว์ทท่ี ำหน้าที่ กระจายเมล็ดยังมีทอ่ี าศัยอยู่ในพืน้ ทีป่ า่ รอบ ๆ (C) ต้นไม้ทก่ี ง่ิ ฉีก (D) หรือหักโค่น (E) แตกยอดขึน้ มาใหม่ (F) และลูกไม้ (G) ซึง่ เคยอยูใ่ ต้รม่ เงาของไม้ใหญ่เจริญ ได้เร็วขึน้ เนือ่ งจากได้รบั แสงเต็มที่ (H) เมล็ดทีฝ่ งั ตัวอยูใ่ นดินมีโอกาสทีจ่ ะงอกขึน้ มาได้ ต่างจากพืน้ ทีท่ ป่ี า่ ถูกทำลายเป็นบริเวณกว้างด้วยน้ำมือมนุษย์ ซึง่ กลไกการฟืน้ ตัว ตามธรรมชาติของป่ามักถูกทำลายไป


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

การฟืน้ ตัวของป่า - เรียนรูจ้ ากธรรมชาติ ในความคิดของหลาย ๆ คน การฟืน้ ฟูปา่ นัน้ เป็นการยืน่ มือเข้าไปยุง่ เกีย่ วกับธรรมชาติโดยไม่จำเป็น เพราะพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลาย สามารถฟืน้ ฟูตวั เองได้ตามธรรมชาติอยูแ่ ล้ว ความจริงข้อหนึง่ ทีอ่ าจถูกลืมนึกถึงก็คอื ป่าทีถ่ กู ทำลายเป็นบริเวณกว้างนัน้ ห่าง ไกลจากสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติมากนัก มนุษย์เรามิได้ทำลายเพียงพื้นที่ป่า แต่เรายังได้ทำลาย กลไกในการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติของป่าด้วย การลดจำนวนลงของสัตว์ใหญ่จากการล่าของมนุษย์ทำให้การกระจายเมล็ดพันธุ์ของไม้เสถียรที่มีเมล็ดขนาดใหญ่แทบไม่ สามารถเป็นไปได้ นอกจากนี้ ไฟป่าซึง่ ส่วนใหญ่เกิดขึน้ จากน้ำมือมนุษย์ยงั เป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีท่ ำลายกล้าไม้ในพืน้ ที่ ไฟป่า ทำให้กลไกการฟืน้ ตัวของป่าหยุดชะงัก และพืน้ ทีส่ ว่ นมากถูกวัชพืชยึดครองและไม่สามารถฟืน้ ตัวกลับมาเป็นป่าได้อกี การฟืน้ ฟู ป่าเป็นความพยายามของมนุษย์ทจ่ี ะแก้ไขปรับเปลีย่ นสภาพที่ “ผิดไปจากธรรมชาติ” ของป่าทีถ่ กู ทำลายให้กลับมาอยูใ่ นความ สมดุลอีกครัง้ ความสำเร็จของการฟืน้ ฟูปา่ ขึน้ อยูก่ บั ความเข้าใจกลไกการฟืน้ ตัวของป่าโดยธรรมชาติ และการพัฒนาวิธกี าร ต่าง ๆ เพือ่ ทดแทนกระบวนการเหล่านัน้ (ดูบทที่ 4 และ 5) ดังนัน้ ในบทนีจ้ งึ กล่าวถึงภาพรวมของการฟืน้ ตัวของระบบนิเวศป่า เขตร้อน โดยอ้างอิงจากข้อมูลงานวิจยั ของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เป็นหลัก

ตอนที่ 1 การเปลีย่ นแปลงแทนทีข่ องป่า นักนิเวศวิทยาถือว่าการฟืน้ ตัวของป่าเป็นรูปแบบหนึง่ ของ “การเปลีย่ นแปลงแทนที”่ ซึง่ เป็นการเปลีย่ นแปลงโครงสร้าง และองค์ประกอบภายในระบบนิเวศเมื่อเวลาผ่านไป โดยมี ลำดับและรูปแบบทีส่ ามารถทำนายได้ กระบวนการดังกล่าว จะหยุดลงเมือ่ ระบบนิเวศเข้าสูส่ ภาวะเสถียร ลักษณะของ ระบบนิเวศขั้นสุดท้ายในแต่ละพื้นที่นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของ ดินและภูมิอากาศเป็นหลัก ในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ซง่ึ มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1,000 มม. ต่อปี ระบบนิเวศขัน้ สุดท้ายมักเป็นป่า พืน้ ทีท่ ถ่ี กู รบ กวนด้วยการตัดไม้ ไฟป่า หรือปัจจัยอืน่ ๆ ทำให้ระบบนิเวศ มีความเสถียรน้อยลง และถอยกลับไป ในขัน้ ของการเปลีย่ น แปลงแทนทีก่ อ่ นเข้าสูส่ มดุลเรียกว่า ”seral stage” การ เปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ หลังจากระบบนิเวศถูกรบกวนนัน้ เกิดขึน้ เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ไม้พมุ่ บดบังแสงทำให้หญ้าไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ต้นไม้ท่ี เติบโตขึ้นทำให้ไม้พุ่มได้รับแสงน้อยลง และเมื่อเวลาผ่านไป ไม้เบิกนำจะถูกแทนที่ด้วยไม้จากระบบนิเวศที่เสถียรกว่า ซึ่ง ต้นกล้าสามารถเจริญอยู่ในร่มเงาของต้นอื่นได้ ดังนัน้ ทุง่ หญ้าทีเ่ กิดจากการทำลายป่าจึงสามารถฟืน้ ตัว กลับมาเป็นป่าซึง่ มีตน้ ไม้หนาทึบเป็นโครงสร้างทีซ่ บั ซ้อนและมี ความหลากหลายของสิง่ มีชวี ติ มากขึน้ ซึง่ เป็นระบบนิเวศทีเ่ สถียร มากขึน้

ความแตกต่างระหว่างไม้เบิกนำ และไม้เสถียร ไม้ตน้ สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุม่ หลักตามช่วงเวลาทีพ่ บ ต้นไม้ชนิดนั้นในลำดับการเปลี่ยนแปลงแทนที่ ไม้เบิกนำ ได้แก่ ต้นไม้ทจ่ี ะเข้ามาเจริญในพืน้ ทีท่ เ่ี คยถูกทำลายก่อนไม้ กลุม่ อืน่ ๆ ส่วนไม้เสถียร ได้แก่ พรรณไม้ทพ่ี บได้ในป่าที่ พัฒนาเต็มทีแ่ ล้วหรือเป็นขัน้ สูงสุดของการเปลีย่ นแปลงแทนที่ ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างไม้ 2 กลุ่มนี้ คือ เมล็ดของไม้เบิกนำสามารถงอกได้ดใี นทีท่ ม่ี แี สงมาก ต้นกล้า จึงไม่สามารถเติบโตในทีร่ ม่ หรือภายใต้รม่ เงาของต้นไม้อน่ื ใน ป่าได้ ในขณะทีเ่ มล็ดของไม้เสถียรจะงอกและเจริญได้ดี ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้อื่น ไม้เบิกนำส่วนใหญ่เริม่ มีผลตัง้ แต่อายุนอ้ ย ให้เมล็ดทีม่ ี ขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดพวกนีถ้ กู พัดพาไปด้วยลมได้งา่ ย ทำให้สามารถกระจายไปได้เป็นระยะทางไกล นอกจากนัน้ ยังสามารถพักตัวอยู่ในพื้นดินได้นานเพื่อรอเวลาจนกระทั่ง เกิดช่องว่างขึ้นในป่าและปริมาณแสงเพิ่มขึ้นจึงจะเริ่มงอก ไม้เบิกนำมักเป็นไม้โตเร็ว แต่เมือ่ ชัน้ เรือนยอดของป่าปิดลง กล้าไม้ของไม้เบิกนำจะไม่สามารถเจริญในพื้นที่ได้อีก

ปลูกให้เป็นป่า

33


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

ไม้เสถียรเป็นไม้ทโ่ี ตค่อนข้างช้าและใช้เวลาหลายปีกอ่ นที่ จะเริม่ ติดดอกออกผล เมล็ดของไม้พวกนีส้ ว่ นมากมีขนาด ใหญ่และต้องอาศัยสัตว์เป็นผู้กระจายเมล็ด เมล็ดไม่มีช่วง เวลาพักตัวแต่อาหารทีม่ อี ยูม่ ากในเมล็ดขนาดใหญ่จะช่วยหล่อ เลีย้ งต้นกล้าในช่วงแรกของการเจริญอยูใ่ ต้รม่ เงาของต้นแม่ซง่ึ อาจมีแสงไม่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต คุณลักษณะ นี้ทำให้ชนิดของพรรณไม้ในป่าเสถียรไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ในความเป็นจริงการแบ่งไม้ทง้ั 2 ชนิดออกจากกันอย่าง เด็ดขาดเป็นไปได้ยาก เนือ่ งจากต้นไม้บางชนิดมีทง้ั ลักษณะ ของไม้เบิกนำและไม้เสถียรอยูใ่ นต้นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ทะโล้ (Schima wallichii (Theaceae)) เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีเมล็ดขนาดเล็กลมสามารถพัดพาไปได้ ต้นไม้ชนิดนีข้ น้ึ ได้ ดีในพื้นที่เกษตรกรรมเก่าที่ระดับความสูงตั้งแต่ 950-1,400 เมตร แต่ในขณะเดียวกันไม้ชนิดนีส้ ามารถพบได้ในป่า สมบูรณ์ทไ่ี ม่เคยถูกบุกรุกด้วย ไม้เสถียรหลายชนิดเมือ่ นำ มาปลูกในพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลาย พบว่าสามารถเจริญเติบโตได้ดี เท่า ๆ กับไม้เบิกนำ (ดูบทที่ 9) ต้นไม้พวกนีส้ ามารถโตใน สภาพที่มีแสงมากและแห้งแล้งได้ แต่สาเหตุที่ต้นไม้กลุ่มนี้ ไม่สามารถกลับเข้ามาเจริญในพื้นที่ได้เนื่องจากไม่มีสัตว์ช่วย พาเมล็ดเข้ามาในพืน้ ที่ ดังนัน้ การเลือกต้นไม้เพือ่ การฟืน้ ฟูปา่ จึงไม่จำเป็นต้อง จำกัดอยู่เพียงไม้เบิกนำเท่านั้น การปลูกไม้เสถียรที่คัดเลือก แล้วร่วมไปด้วยจะทำให้กระบวนการฟืน้ ตัวของป่าเกิดขึน้ ได้ใน ช่วงระยะเวลาสั้นลงกว่าที่เกิดในธรรมชาติ

ทำไมป่าจึงไม่สามารถฟื้นตัวได้เองตาม ธรรมชาติ ถ้าหากป่าไม้มีความสามารถในการฟื้นตัวได้เองอยู่แล้ว ทำไมจึงต้องฟืน้ ฟูปา่ เมือ่ มีตน้ ไม้ลม้ ในป่าเป็นการเปิดช่อง ว่างให้แสงส่องลงถึงพื้นและกระตุ้นให้ลูกไม้ที่เคยอยู่ภายใต้ ร่มเงาของไม้ใหญ่เจริญเติบโตและยึดครองพืน้ ทีใ่ นช่องว่างนัน้ ลูกไม้ทเ่ี จริญเติบโตเร็วทีส่ ดุ เท่านัน้ ทีจ่ ะเป็นผูอ้ ยูร่ อด ใน ขณะทีต่ น้ ทีโ่ ตช้าจะตายไปเนือ่ งจากต้นทีโ่ ตเร็วกว่าบดบังแสง ต้นไม้ทล่ี ม้ ลงจะถูกย่อยสลายโดยปลวกและเชือ้ ราเพือ่ คืนธาตุ อาหารให้แก่ดนิ อีกครัง้ หนึง่ ต้นไม้ทเ่ี ข้ามายึดครองพืน้ ที่ แทนต้นเดิมอาจมีอายุยืนนานเป็นร้อยปีจนถึงวันที่ต้นไม้ต้น ใหม่ลม้ ลงอีกครัง้ กระบวนการต่าง ๆ จึงเริม่ ต้นขึน้ อีกครัง้ เช่นเดียวกับทีเ่ คยเกิดขึน้ ในอดีต การฟืน้ ตัวโดยธรรมชาติในช่องว่างขนาดเล็กของป่าเขตร้อน นั้นเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกันในพื้นที่ป่า

34

ปลูกให้เป็นป่า

ถูกทำลายขนาดใหญ่ กระบวนการเหล่านีเ้ กิดขึน้ ได้ชา้ หรือ อาจไม่เกิดขึน้ เลย พื้นที่ที่ถูกทำลายขนาดใหญ่นั้นอาจเกิดขึ้นจากภัยธรรม ชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด หรือพายุ แต่เหตุการณ์เหล่านีม้ ี โอกาสเกิดขึน้ ไม่บอ่ ยนัก ในปัจจุบนั การทำลายพืน้ ทีป่ า่ เกิด ขึน้ จากน้ำมือมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เช่น การทำไม้ การเกษตร แบบถางแล้วเผา รวมไปถึงการสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ กระบวนการ เมือ่ การรบกวนระบบนิเวศเกิดขึน้ บ่อย ๆ เปลี่ยนแปลงแทนที่จะหยุดอยู่ในขั้นที่ไม่ใช่ระบบนิเวศขั้นสูง สุด (plagioclimax) ในพืน้ ทีแ่ บบนี้ การฟืน้ ตัวของป่าโดย ธรรมชาติอาจไม่เพียงพอทีจ่ ะทำให้ระบบนิเวศกลับมามีสภาพ เหมือนเริ่มแรกได้ เพือ่ ให้พน้ื ทีส่ ามารถฟืน้ ตัวได้ตอ้ งลดปัจจัยทีเ่ ป็นอุปสรรค ของการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ เช่น ต้องมีการปลูกต้นไม้เพิม่ ในพืน้ ทีท่ ไ่ี ม่มเี มล็ดพันธุต์ ามธรรมชาติอยู่ เป็นต้น

อุปสรรคในการฟืน้ ตัวของป่าในพืน้ ทีถ่ กู ทำลายขนาดใหญ่ ในพื้นที่ป่าถูกทำลายจากการตัดไม้หรือเกษตรกรรมซึ่ง มีขนาดใหญ่ การฟืน้ ตัวของป่าขึน้ อยูก่ บั จำนวนเมล็ดพันธุไ์ ม้ ทีเ่ ข้ามาในพืน้ ที่ เมล็ดจะมีโอกาสเจริญเติบโตได้กต็ อ่ เมือ่ เมล็ดนัน้ ตกลงในทีท่ ม่ี สี ภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการงอกของ เมล็ด เมล็ดต้องรอดพ้นจากสัตว์ทก่ี นิ เมล็ดเป็นอาหาร และ เมือ่ เมล็ดเริม่ งอก กล้าไม้จะต้องแข่งขันกับวัชพืชในพืน้ ที่ เพือ่ ให้ได้รบั แสง ความชืน้ และธาตุอาหารทีเ่ พียงพอ นอก จากนี้กล้าไม้จะต้องไม่ถูกทำลายจากไฟป่าหรือปศุสัตว์จึงจะ มีโอกาสเติบโตเป็นไม้ใหญ่ได้ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการฟื้นตัวของป่าไม้ได้แก่ ขาดแหล่งเมล็ดพันธุ์ ขาดสัตว์ทท่ี ำหน้าทีก่ ระจายเมล็ด การทำลายเมล็ด สภาพแวดล้อมทีไ่ ม่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ด หรือกล้าไม้ออ่ น วัชพืช ไฟป่า การทำลายจากปศุสตั ว์


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

ตอนที่ 2 เมล็ด - จุดเริม่ ต้นในการฟืน้ ตัวของป่า ต้นไม้กำเนิดมาจากเมล็ด ความสำเร็จในการฟืน้ ตัวของป่าจึงขึน้ อยูก่ บั แม่ไม้ทใ่ี ห้เมล็ดในบริเวณใกล้เคียง ในพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลายเป็นบริเวณกว้าง ต้นไม้บางชนิดอาจเหลือรอดจากคมขวานและเลือ่ ยหรืออาจมีปา่ ผืนเล็ก ๆ เหลืออยูใ่ นบางจุดซึง่ จะ เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุไ์ ม้ทห่ี ลากหลาย ระยะทางจากแหล่งของเมล็ดไม้มผี ลต่ออัตราเร็วในการฟืน้ ตัวและความหลากหลาย ของชนิดต้นไม้ทจ่ี ะกลับเข้ามาในพืน้ ที่ แม่ไม้มไิ ด้เป็นเพียงแหล่งผลิตเมล็ดพันธุแ์ ต่ยงั เป็นแหล่งดึงดูดสัตว์ทก่ี นิ ผลไม้และช่วย กระจายเมล็ดเข้ามาในพืน้ ทีอ่ กี ด้วย ดังนัน้ การรักษาต้นไม้ทใ่ี ห้ผลในพืน้ ทีป่ า่ ถูกทำลายจึงมีประโยชน์อย่างมากในการส่งเสริม การฟื้นตัวตามธรรมชาติของระบบนิเวศป่า

ไม้ป่าจะให้เมล็ดเมื่อใด การติดดอกออกผลผลของต้นไม้ในป่าเขตร้อนมีความ แตกต่างกันไปตามชนิดของต้นไม้ พืน้ ที่ รวมทัง้ สภาพแวด ล้อมในแต่ละปีตน้ ไม้สว่ นใหญ่ให้ผลปีละครัง้ แต่บางชนิดอาจ ออกผลปีละสองครั้ง บางชนิด เช่น ต้นลาน (Corypha umbraculifera) ติดผลเพียงครัง้ เดียวก่อนตาย (เรียกการติด ผลแบบนีว้ า่ monocarpy) พืชในกลุม่ ก่อและยางหลาย ชนิดมีการออกดอกและติดผลพร้อม ๆ กันทั้งหมดโดยอาจ ออกดอกหลาย ๆ ปีครัง้ หนึง่ พืชต่างชนิดกันจะติดดอกออกผลในช่วงเวลาที่แตกต่าง กัน แต่ถา้ มองในภาพรวม ต้นไม้ในป่าเดียวกันมักติดดอกออก

ผลและกระจายเมล็ดในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในป่าผลัดใบเขตร้อน การศึกษาการเปลีย่ นแปลง ของต้นไม้ในรอบปีนี้เรียกว่า การศึกษาชีพลักษณ์ ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ต้นไม้สว่ นใหญ่ทแ่ี พร่ กระจายเมล็ดด้วยลมจะติดผลและให้เมล็ดในช่วงฤดูแล้งมีเพียง ส่วนน้อยเท่านัน้ ทีต่ ดิ ผลในฤดูฝน โดยจะให้เมล็ดมากทีส่ ดุ ในช่วงปลายฤดูแล้งหรือประมาณเดือนเมษายน ประมาณ ร้อยละ 43 ของต้นไม้ทก่ี ระจายเมล็ดด้วยลมจะให้ผลในช่วง นีซ้ ง่ึ เป็นช่วงทีล่ มแรงทีส่ ดุ ก่อนเข้าฤดูมรสุม (Elliott et al., 1994) ในทางกลับกันพรรณไม้ทต่ี อ้ งอาศัยสัตว์ในการ กระจายเมล็ดพันธุจ์ ะติดผลเพิม่ ขึน้ ในช่วงฤดูฝน โดยมี จำนวนสูงสุดในช่วงปลายฤดูฝน

รูปที่ 3.1 ช่วงเวลาในการติดผลของพรรณไม้ที่กระจายเมล็ดด้วยสัตว์ (283 ชนิด) และพรรณไม้ที่กระจายเมล็ดโดยลม (136 ชนิด) ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ในภาคเหนือของประเทศไทย (แหล่งข้อมูล : ฐานข้อมูล หอพรรณไม้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ J.F.Maxwell)

ปลูกให้เป็นป่า

35


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

รูปที่ 3.2 จำนวนชนิดของพรรณไม้ที่เคย อยูใ่ นป่าซึง่ มีเมล็ดทีม่ ชี วี ติ ทีฝ่ งั อยูใ่ ต้ดนิ จะ ลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากป่าถูกทำลาย

36

แหล่งเมล็ดในพืน้ ดิน

ปัจจัยอืน่ ทีช่ ว่ ยในการฟืน้ ตัวของป่า

พื้นดินของป่าที่ถูกทำลายเป็นแหล่งของเมล็ดพรรณไม้ นานาชนิด การสำรวจจำนวนเมล็ดในดินทำได้โดยเจาะเก็บ ตัวอย่างดินทีร่ ะดับความลึกต่าง ๆ นำมาเกลีย่ ลงบนถาดเพาะ รดน้ำ และนับจำนวนของเมล็ดทีง่ อกขึน้ มา ซึง่ ปกติแล้วจะนับ ในหน่วยของเมล็ดต่อลูกบาศก์เมตรของดิน สำหรับการศึกษา จำนวนเมล็ดพรรณไม้ในดินเพือ่ การฟืน้ ฟูปา่ นัน้ จะศึกษาอยู่ 2 แนวหลัก ๆ คือ การสำรวจจำนวนเมล็ดทีเ่ หลือจากป่าดัง้ เดิม และจำนวนเมล็ดทีก่ ระจายเข้ามาในพืน้ ทีห่ ลังจากการถูก ทำลาย ในการฟืน้ ฟูปา่ บนพืน้ ทีท่ เ่ี คยมีการทำไม้และมีการเข้าไปใช้ ประโยชน์ตอ่ กันเป็นเวลานาน ๆ เมล็ดพันธุจ์ ากป่าเดิมเพียง ส่วนน้อยเท่านัน้ จะงอกและเติบโตขึน้ มาแทนทีไ่ ม้เดิม แม้วา่ เมล็ดไม้บางชนิดอาจสามารถพักตัวอยูใ่ นดินได้นานถึง 2-3 ปี แต่เมล็ดส่วนใหญ่จะหมดความสามารถในการงอกภายใน 2-3 อาทิตย์หรือเพียงไม่กเ่ี ดือน จากพรรณไม้ของภาคเหนือจำนวน 262 ชนิดทีท่ างหน่วย วิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ได้ศกึ ษาพบว่า มีเพียงร้อยละ 5.3 เท่านัน้ ทีม่ ี ระยะพักตัวของเมล็ดนานกว่าหนึ่งปี ดังนัน้ แหล่งเมล็ดพันธุใ์ นดินของพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลายส่วน ใหญ่จงึ มาจากเมล็ดของต้นไม้ทใ่ี ห้ผลในบริเวณใกล้เคียง การ กระจายเมล็ดพันธุจ์ ากป่าใกล้ ๆ เข้ามาในพืน้ ทีจ่ งึ มีความ สำคัญยิ่งสำหรับการฟื้นตัวตามธรรมชาติของระบบนิเวศป่า

ต้นไม้บางชนิดเมือ่ ถูกตัด ตาทีอ่ ยูบ่ ริเวณคอรากจะแตก ยอดขึน้ มาได้อกี ครัง้ (Hardwick et al., 2000) การแตกยอด ใหม่ในลักษณะนี้มักแตกขึ้นมาหลาย ๆ ยอดพร้อม ๆ กัน เรียกว่า “coppicing” สามารถพบได้ทง้ั ในพรรณไม้ทเ่ี ป็นไม้ เบิกนำและไม้เสถียร (de Rouw, 1993) ต้นไม้ทโ่ี ตมาจากตอ ของไม้เดิมนั้นจะมีความทนทานต่อไฟป่าและการถูกกินโดย พวกสัตว์ได้ดกี ว่าต้นกล้าจากเมล็ด อัตราการเจริญเติบโตสูง กว่า เนือ่ งจาก สามารถดึงอาหารสะสมจากรากมาใช้ในการ เจริญได้ทำให้โตพ้นระดับวัชพืชได้เร็ว สามารถเติบโตครอบ คลุมพืน้ ทีไ่ ด้เร็วขึน้ การดูแลตอไม้เดิมในพืน้ ทีจ่ งึ เป็นปัจจัย ที่จะช่วยย่นระยะเวลาในการฟื้นตัวของป่าให้สั้นลง ความสามารถในการแตกยอดขึน้ มาใหม่นแ้ี ตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิด (Miller & Kauffman, 1998) และยังไม่มขี อ้ มูลที่จะบอกได้ว่าต้นไม้ลักษณะใดน่าจะแตกยอดจากต้นเก่า ได้และต้นใดเกิดไม่ได้ แต่ตอไม้ขนาดใหญ่มแี นวโน้มทีจ่ ะ แตกยอดใหม่จำนวนมากและแข็งแรงกว่าตอไม้ขนาดเล็ก (Negreros-Castillo & Hall, 2000) นอกจากนัน้ ตอไม้สงู จะรอดพ้นจากไฟ การถูกกิน และวัชพืช ได้ดกี ว่าตอไม้ทเ่ี ตีย้ เนื่องจากส่วนยอดมักมีความสูงพ้นจากการถูกรบกวน ต้นไม้ที่โตจากตอไม้เดิมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพรรณไม้ ทัง้ หมดทีเ่ คยเติบโตอยูใ่ นระบบนิเวศเท่านัน้ ดังนัน้ ถึงแม้ตน้ ไม้ ดังกล่าวจะเร่งให้เกิดการฟืน้ ตัวของโครงสร้างป่าได้เร็วขึน้ แต่ การกระจายเมล็ดพันธุ์ก็ยังมีความสำคัญในการฟื้นฟูความ หลากหลายของระบบนิเวศป่าเดิม

ปลูกให้เป็นป่า


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

ตอนที่ 3 ความสำคัญของการกระจายเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพรรณไม้ทเ่ี ข้ามาในพืน้ ที่

สัตว์ที่ทำหน้าที่กระจายเมล็ดพันธุ์

เมล็ดทีเ่ ข้ามาในพืน้ ทีน่ น้ั มีทง้ั ทีถ่ กู นำมาพร้อมกับ คน สัตว์ หรือปัจจัยอืน่ ๆ ปริมาณของเมล็ดทีเ่ ข้ามาในพืน้ ทีน่ น้ั ศึกษา ได้โดยการวางที่ดักเมล็ดที่ทราบขนาดแน่นอนไว้ในพื้นที่และ นับจำนวนเมล็ดทีพ่ บต่อตารางเมตรในแต่ละเดือน ซึง่ อาจนับ รวมกันทัง้ หมดหรือแยกตามชนิดต้นไม้ ลักษณะของต้นไม้ (ไม้ตน้ ไม้ลม้ ลุก ฯลฯ) หรือกลไกในการกระจายเมล็ดพันธุ์ ความหนาแน่นของเมล็ดในพื้นที่ขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่าง พืน้ ทีน่ น้ั กับป่าทีอ่ ยูใ่ กล้เคียงและประสิทธิภาพในการกระจาย เมล็ดพันธุ์ เมล็ดทีเ่ ข้ามาในพืน้ ทีจ่ ะมีความหนาแน่นสูงสุดและ มีจำนวนชนิดมากทีส่ ดุ ในบริเวณทีอ่ ยูใ่ กล้กบั ป่าและความหนา แน่นจะลดลงเรือ่ ย ๆ ในบริเวณทีล่ กึ เข้าไปในพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลาย ต้นกล้าทีก่ ลับมาในพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลายส่วนใหญ่จะถูกนำเข้า มาในพืน้ ทีโ่ ดยลม นก ค้างคาว หรือสัตว์ชนิดอืน่ ๆ ถ้าหาก ปริมาณของเมล็ดที่ถูกนำเข้ามาในพื้นที่ลดลงจะทำให้การฟื้น ตัวตามธรรมชาติของป่าเกิดขึน้ ไม่ได้ หรือความหลากหลาย ของต้นไม้ในบริเวณนัน้ ลดลง การกระตุน้ ให้เกิดการนำเมล็ด เข้ามาในพื้นที่มากขึ้นจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อความ สำเร็จในการฟื้นตัวของป่า

ต้นไม้ส่วนมากอาศัยสัตว์ในการกระจายเมล็ดพันธุ์เมล็ด บางชนิดมีลกั ษณะทีท่ ำให้ตดิ กับขนของสัตว์ได้ดี และถูกกระ จายไปโดยติดอยูน่ อกร่างกายสัตว์ (ecto-zoochorous dispersal) แต่ตน้ ไม้สว่ นใหญ่จะสร้างผลทีม่ สี สี ดใสดึงดูดความ สนใจของสัตว์ ผลทีม่ เี นือ้ มากทำให้สตั ว์ชอบกิน เมือ่ สัตว์ กินผลของต้นไม้พวกนี้เข้าไปเมล็ดบางส่วนอาจถูกคายออก ระหว่างทางหรือถูกกลืนลงไปและถ่ายออกมาในพื้นที่ที่ห่าง ไกลออกไป เป็นการกระจายเมล็ดพันธุโ์ ดยเมล็ดอยูใ่ นร่างกาย ของสัตว์ (endo-zoochorous dispersal) สัตว์ที่ช่วยนำพาเมล็ดจากพื้นที่ป่าใกล้เคียงเข้ามาในพื้น ที่ที่ถูกทำลายได้นั้นต้องเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทั้งสองพื้นที่ ซึง่ ตามความเป็นจริงแล้วสัตว์ปา่ ส่วนมากไม่คอ่ ยเข้ามาในพืน้ ทีเ่ ปิด โล่งเนือ่ งจากไม่มที ห่ี ลบภัยจากผูล้ า่ ดังนัน้ เมือ่ เปรียบเทียบกับ ลมแล้ว การกระจายเมล็ดพันธุโ์ ดยสัตว์ปา่ ในพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลาย จึงมีประสิทธิภาพต่ำกว่า นอกจากนัน้ สัตว์สว่ นใหญ่ (ยกเว้น นกและค้างคาว) จะกระจายเมล็ดไปได้ในระยะทางสั้น ๆ เท่านัน้ และเมล็ดบางส่วนอาจถูกทำลายจากรอยกัดหรือน้ำย่อย ของสัตว์ได้ ขนาดของเมล็ดที่สัตว์แต่ละชนิดพาไปได้นั้นขึ้นอยู่กับ ขนาดของปากสัตว์ ในป่าเสือ่ มโทรมเรายัง สามารถพบสัตว์ขนาดเล็ก ได้ค่อนข้างบ่อยแต่สัตว์ ใหญ่ซึ่งสามารถกลืน เมล็ดขนาดใหญ่ได้ทง้ั เมล็ดนัน้ มักถูกล่าจน สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ แล้ว ดังนัน้ เมล็ด ขนาดเล็กจึงมีโอกาสที่จะ ถูกนำกลับเข้ามาในพื้นที่ ที่ถูกทำลายได้ง่ายกว่า เมล็ดขนาดใหญ่

การกระจายเมล็ดด้วยลม ต้นไม้ในภาคเหนือของไทยส่วนใหญ่กระจายเมล็ดโดยสัตว์ มากกว่าโดยลม จากต้นไม้ 475 ชนิดในอุทยานแห่งชาติดอย สุเทพ-ปุย มีเพียงร้อยละ 29 เท่านัน้ ทีใ่ ช้ลมในการกระจาย เมล็ดพันธุ์ โดยพรรณไม้ของป่าเต็งรังผสมก่อประมาณร้อย ละ 44 อาศัยลมในการกระจายเมล็ด ในขณะทีใ่ นป่าไม่ผลัด ใบมีตน้ ไม้เพียงร้อยละ 20 ของชนิดต้นไม้ทง้ั หมด ทีก่ ระจาย เมล็ดด้วยลม เมล็ดทีก่ ระจายไปกับลมนัน้ ส่วนมากมีขนาดเล็ก เบา และ มีปกี ช่วยให้เมล็ดตกช้าและลอยไปได้ไกลขึน้ พรรณไม้พวก นี้ สามารถกลับเข้ามางอกและเจริญในพื้นที่ที่เคยถูกทำลาย ได้งา่ ย ดังนัน้ ถ้าสภาพแวดล้อมในพืน้ ทีม่ คี วามเหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตตามธรรมชาติของเมล็ดนัน้ แล้วก็ไม่จำเป็น ต้องปลูกพืชชนิดนัน้ ลงในพืน้ ทีอ่ กี

ช้างเป็นสัตว์ทม่ี คี วาม สำคัญต่อการฟืน้ ตัวของ ป่าโดยทำหน้าทีน่ ำเมล็ด ขนาดใหญ่เข้ามาในพืน้ ที่

ปลูกให้เป็นป่า

37


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

ในอดีตสัตว์กนิ พืชขนาดใหญ่ เช่น ช้าง แรด วัวป่า และ ควายป่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการนำเมล็ดพันธุจ์ ากบริเวณ ป่าเข้ามาในพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลาย เนือ่ งจากสัตว์พวกนีม้ ปี ากทีใ่ หญ่ พอจะกลืนเมล็ดขนาดใหญ่ได้ทั้งเมล็ดและมีอาณาเขตหากิน กว้างจึงทำให้พวกเมล็ดไปได้ไกล การสูญเสียสัตว์ขนาดใหญ่ เหล่านีไ้ ปจากพืน้ ทีท่ ำให้การกระจายเมล็ดของพรรณไม้ทม่ี เี มล็ด ขนาดใหญ่เกิดขึน้ ไม่ได้ (Corlett and Hau, 2000) นกและค้างคาวเป็นอีกกลุม่ หนึง่ ซึง่ มีความสำคัญต่อการ แพร่กระจายเมล็ดพันธุไ์ ปในระยะทางไกล ๆ นกทีม่ บี ทบาท สำคัญ ได้แก่ กลุม่ นกปรอดซึง่ พบได้มากในป่าไม่ผลัดใบ และมักพบเข้ามาหากินในเขตป่าเสือ่ มโทรมซึง่ อาจห่างจากป่าที่ สมบูรณ์หลายกิโลเมตร (Scott et al., 2000) นกปรอดทำ หน้าทีก่ ระจายเมล็ดของพรรณไม้หลายชนิด (Sanitjan, 2001) ตัง้ แต่เมล็ดขนาดเล็กจนถึงขนาด 14 มิลลิเมตร (Corlett, 1998) เมล็ดทีถ่ กู กินเข้าไปจะอยูใ่ นทางเดินอาหาร ของนกปรอดนานถึง 41 นาที จึงถูกนำไปจากต้นแม่ได้เป็น ระยะทางไกล (Whittaker and Jones, 1994) นกชนิด อืน่ ๆ ทีอ่ าจมีสว่ นช่วยในการนำเมล็ดพันธุเ์ ข้ามาในพืน้ ทีป่ า่ ที่ ถูกทำลาย ได้แก่ นกเอีย้ ง กา นกกางเขน นกแว่นตาขาว นกกาฝาก(Corlett, 1998) นกหลายชนิดในกลุม่ นีเ้ ป็นนกกิน แมลงซึง่ กินผลไม้เป็นอาหารด้วย บางครัง้ ในพืน้ ทีใ่ กล้กบั ป่า ธรรมชาตินกเขาและนกเงือกเป็นกลุม่ ทีม่ คี วามสำคัญในการแพร่ กระจายเมล็ดพันธุ์ ค้างคาวผลไม้เป็นอีกกลุม่ ทีม่ คี วามสำคัญในการกระจาย เมล็ดพันธุค์ า้ งคาวออกหาอาหารเป็นระยะทางไกลและถ่ายเมล็ด ลงระหว่างทาง (Micleburgh and Carroll, 1994) อย่างไร

ก็ตาม การศึกษาเกีย่ วกับบทบาทของค้างคาวในกระบวน การฟืน้ ตัวของป่ายังมีนอ้ ย เนือ่ งจากค้างคาวเป็นสัตว์หากิน กลางคืนและไม่สามารถระบุชนิดได้เมื่อดูจากกล้องส่องทาง ไกลการศึกษาในเรือ่ งของค้าวคาวจึงเป็นหนึง่ ในเรือ่ งทีค่ วรให้ ความสนใจในลำดับต้น ๆ เพือ่ ปรับปรุงเทคนิคในการฟืน้ ฟู ป่า1 สัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมอืน่ ๆ ทีพ่ บอยูใ่ นพืน้ ทีแ่ ละน่าจะ มีบทบาทในการแพร่กระจายเมล็ดระหว่างพื้นที่ป่าธรรมชาติ และพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลาย ได้แก่ หมูปา่ เก้ง เี ห็น และหมูหริง่ ซึง่ สัตว์ในกลุม่ นีต้ า่ งก็เป็นสัตว์หากินกลางคืน ทำให้มขี อ้ มูล เกีย่ วกับความสามารถในการแพร่กระจายเมล็ดของสัตว์พวก นีน้ อ้ ยมาก

พืน้ ทีใ่ นการกระจายเมล็ดพันธุ์ เมล็ดของต้นไม้สว่ นใหญ่จะกระจายอยูใ่ นระยะทางเพียง ไม่กเ่ี มตรจากต้นแม่ จำนวนเมล็ดต่อพืน้ ทีข่ องต้นไม้แต่ละ ต้นจะลดลงอย่างชัดเจนตามระยะทางจากต้นแม่ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของ Clark (1998) ร้อยละ 10 ของเมล็ดอาจแพร่กระจายไปได้ไกลถึง 1-10 กิโลเมตร ข้อมูลเกีย่ วกับเมล็ดทีไ่ ปไกลจากต้นแม่มาก ๆ นี้ ยังมีการ ศึกษาน้อยมากข้อมูลดังกล่าวมีความสำคัญมากสำหรับการฟืน้ ฟู ป่าในพืน้ ทีห่ า่ งไกลจากป่าธรรมชาติมาก ๆ (Hardwick et al., 2000) ในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายในภาคเหนือ หนูเป็นกลุ่ม หลักที่ทำลายเมล็ดพันธุ์ไม้ อัตราการเข้าทำลาย สามารถวัดได้โดยใช้ตะแกรงกันหนูดังภาพ (กล่อง 3.1)

__________________________________________________________________

1

The Chiang Mai Research Agenda for the Restoration of Degraded Forestlands for Wildlife Conservation in Southeast Asia, Part 7 of Elliott, S., J., Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods and V. Anusarnsunthorn (Eds.), Forest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University.

38

ปลูกให้เป็นป่า


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

ตอนที่ 4 - การทำลายเมล็ด เมล็ดที่จะมีโอกาสงอกและเติบโตเป็นไม้ใหญ่ได้นั้นต้อง รอดพ้นจากการทำลายของสัตว์ทอ่ี ยูใ่ นพืน้ ทีเ่ สียก่อน ตลอด ช่วงชีวติ ของต้นไม้แต่ละต้นจะมีการผลิตเมล็ดจำนวนมหาศาล ถึงแม้วา่ การมีตน้ ไม้ในรุน่ ลูกขึน้ มาทดแทนต้นแม่ทต่ี ายลงเพียง ต้นเดียวสามารถทำให้จำนวนประชากรของต้นไม้นั้นคงที่ได้ แต่ตน้ ไม้ตอ้ งผลิตเมล็ดออกมาจำนวนมากเพราะเมล็ดส่วนใหญ่ อาจตกลงในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมหรือถูกทำลายโดยสัตว์ที่กิน เมล็ดก่อนจะมีโอกาสงอก เมล็ดเป็นแหล่งอาหารจำพวกไขมัน และแป้งทีส่ ำคัญของสัตว์ปา่ เมล็ดบางส่วนอาจผ่านระบบทาง เดินอาหารของสัตว์ออกมาโดยไม่ได้รบั อันตราย แต่เมล็ดส่วน ใหญ่จะถูกทำลายทั้งจากการกัดแทะและการย่อย

การทำลายเมล็ดคืออะไร การทำลายเมล็ดโดยสัตว์ หมายถึง การทำลายความ สามารถในการงอกของเมล็ดด้วยการทำลายต้นอ่อนโดยการ กัดแทะหรือการย่อยของสัตว์ เกิดขึน้ ได้ตง้ั แต่เมล็ดยังอยูบ่ น ต้นแม่ อย่างไรก็ตาม สำหรับการฟืน้ ฟูปา่ นัน้ การทำลายเมล็ด โดยสัตว์นม้ี ผี ลต่อเมล็ดทีก่ ระจายเข้ามาในพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลายแล้ว มากกว่า

สัตว์ทท่ี ำลายเมล็ด สัตว์กลุม่ ทีจ่ ะทำลายเมล็ดมากทีส่ ดุ ได้แก่ สัตว์ฟนั แทะ ขนาดเล็กและแมลง โดยเฉพาะอย่างยิง่ มด ในป่าทีถ่ กู ทำลาย ทางภาคเหนือของประเทศไทย สัตวฟันแทะทีพ่ บมากคือกลุม่ หนูชนิดต่าง ๆ (Mus pahari, M. cookie, Rattus bukit, R. koratensis, R. surifer และ R. rattus ) สัตว์กลุม่ นีพ้ บใน พืน้ ทีป่ า่ ถูกทำลายมากกว่าในป่าสมบูรณ์ (Sharp, 1995) ใน พืน้ ทีป่ า่ ทีฟ่ น้ื ตัว เมือ่ เรือนยอดของต้นไม้ปกคลุมพืน้ ททัง้ หมด จำนวนประชากรของสัตว์ฟันแทะจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด (Thaiying, 2003) ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้สัตว์กลุ่มที่ทำลายเมล็ด พันธุไ์ ม้มากทีส่ ดุ ได้แก่ พวกมด (Nepstad et al., 1996 อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกีย่ วกับการทำลาย เมล็ดของมดใน กระบวนการฟืน้ ตัวของป่านัน้ เพิง่ เริม่ มีการศึกษา (Wood, in prep) และยังต้องมีการศึกษาวิจัยพฤติกรรมดังกล่าวในพื้น ที่ป่าถูกทำลายของเอเซียต่อไป

อัตราการทำลายเมล็ดโดยสัตว์ ประมาณร้อยละ 90 ของพรรณไม้ในเขตร้อน ครึง่ หนึง่ ของเมล็ดทีผ่ ลิตขึน้ จะถูกทำลายโดยสัตว์หรือเชือ้ รา การทำ ลายเมล็ดของสัตว์นั้นมีผลต่อการกระจายตัวและจำนวนของ ต้นไม้ พืชเองพยายามปรับทัง้ รูปร่างภายนอกและสารเคมี ภายในเพือ่ ให้ทนต่อการทำลายจากสัตว์มากขึน้ เช่น สร้างพิษ หรือมีเปลือกหุม้ เมล็ดหนา เป็นต้น เมล็ดจะถูกทำลายมากน้อยเพียงใดนั้นไม่สามารถคาด คะเนได้ อัตราการทำลายเมล็ดอาจไม่เกิดขึน้ เลยหรือถูกทำ ลายทัง้ หมด ขึน้ อยูก่ บั ชนิดของต้นไม้ ลักษณะพืน้ ที่ ฤดูกาล ฯลฯ แต่โดยทัว่ ไปแล้ว ในป่าทีถ่ กู ทำลายเมล็ดของพรรณไม้ ส่วนใหญ่มโี อกาสรอดจากการทำลายโดยสัตว์ตำ่ มาก (ดูกรอบ 3.1 และ Hau, 1999)

ปัจจัยทีก่ ำหนดความเปราะบางของเมล็ด ตามทฤษฏีทางนิเวศวิทยาสัตว์จะเลือกทำลายเมล็ดทีเ่ ป็น แหล่งอาหารทีด่ ที ส่ี ดุ นัน่ หมายถึงเมล็ดทีม่ คี ณ ุ ค่าทางอาหาร สูงและหากินได้ง่ายจะถูกทำลายมากที่สุด ขนาดของเมล็ดเป็นปัจจัยสำคัญทีม่ ผี ลต่อการทำลายเมล็ด เมล็ดขนาดใหญ่หมายถึงปริมาณอาหารทีม่ ากขึน้ และหาพบได้ ง่ายกว่าเมล็ดขนาดเล็ก เมล็ดพวกนีม้ กั มีกลิน่ แรงกว่าและเห็น ได้งา่ ยกว่าเมล็ดขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม มีสตั ว์เพียงบาง ชนิดเท่านัน้ ทีก่ นิ เมล็ดขนาดใหญ่ได้ สัตว์ฟนั แทะขนาดเล็ก หลายชนิดไม่สามารถจะกินเมล็ดขนาดใหญ่ได้ ในทางตรงกัน ข้ามเมล็ดขนาดเล็กให้ปริมาณอาหารน้อยกว่าและอาจจะถูก มองข้ามได้งา่ ย สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์ (2003) ซึง่ ศึกษา ผลของขนาดเมล็ดต่ออัตราการถูกทำลายพบว่า ในป่าไม่ ผลัดใบเสือ่ มโทรมเมล็ดทีม่ ขี นาดเล็ก (น้ำหนักน้อยกว่า 0.01 กรัม) จะไม่ถกู ทำลายโดยสัตว์เลย ในขณะทีเ่ มล็ดขนาดใหญ่ (0.2 - 6.2 กรัม) ของพืช 6 จาก 10 ชนิดจะถูกทำลายถึงร้อยละ 63-100

ปลูกให้เป็นป่า

39


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

กรอบ 3.1 การทำลายเมล็ดของไม้ปา่ ในภาคเหนือของไทย การศึกษาผลของการทำลายเมล็ดจากสัตว์ทำได้โดยการ เปรียบเทียบอัตราการงอกของเมล็ดทีว่ างไว้ในกรงตาข่ายทีป่ อ้ ง กันเมล็ดจากสัตว์ฟนั แทะขนาดเล็กกับการงอกของเมล็ดทีอ่ ยู่ นอกกรงตาข่ายในบริเวณใกล้เคียง จากการศึกษาของ Hardwick (1999) ในพืน้ ทีโ่ ล่ง (กว้างประมาณ 50 เมตร) กลางป่าดิบอุทยานแห่งชาติดอย สุเทพ-ปุย พบว่าอัตราการงอกเฉลีย่ ของพรรณไม้ 8 ใน 12 ชนิดลดลงประมาณร้อยละ 50 เมือ่ ไม่ได้รบั การป้องกัน ด้วยกรงตาข่าย เช่น ก่อเดือย (Castanopsis acuminatissima), ค่าหด (Engethardia spicata), ปลายสาน (Eurya acuminata), เหมือดคนตัวผู้ (Helicia nilagirica), หมอนหิน (Hovenia dulcis), นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides), ทะโล้ (Schima wallichii) และ กำยาน (Styrax benzoides) มีเพียงเมล็ดของหม่อนหลวง (Morus macroura) ซึง่ มีขนาดเล็กเท่านัน้ ทีไ่ ม่ถกู ทำลายโดยสัตว์อาจ เพราะขนาดทีเ่ ล็กมากจนสัตว์หาไม่เจอ ในทำนองเดียวกัน สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์ (2003) ได้ ทำการศึกษาอัตราการทำลายเมล็ดในทีว่ า่ งของพืน้ ทีท่ เ่ี กิดจาก ไม้ล้มพบว่าเมล็ดไม้หลายชนิดมีอัตราการถูกทำลาย ร้อยละ 50-100 ได้แก่ กระบก (Irvingia malayana) และ ผีหน่าย (Elaeocarpus prunifolius) ร้อยละ 91 โมลีขน (Reeveช่วงเวลาทีเ่ มล็ดถูกทำลายจากสัตว์เกิดขึน้ มากทีส่ ดุ ในช่วง ก่อนเมล็ดจะงอก เนือ่ งจากสัตว์กนิ เมล็ดส่วนใหญ่ไม่กนิ ต้น อ่อนของพืช ดังนัน้ ยิง่ เมล็ดมีระยะพักตัวอยูใ่ นดินน้อยเท่าไหร่ ความเสีย่ งในการถูกทำลายก็จะน้อยลง (Hardwick, 1999) เปลือกหุม้ เมล็ดเป็นสิง่ สำคัญอย่างมากในการปกป้องเมล็ด จากสัตว์ เมล็ดทีม่ เี ปลือกหนา เหนียว และลืน่ ทำให้สตั ว์ฟนั แทะกัดกินเมล็ดได้ยาก รายงานการศึกษาหลายชิน้ ยืนยันว่า ไม้ปา่ ในเอเซียทีม่ เี ปลือกหุม้ เมล็ดหนาและแข็งมีอตั ราการทำลาย จากสัตว์ต่ำ (เช่น Han, 1999, Vongkumjan, 2003) อย่างไรก็ตาม เมล็ดทีม่ เี ปลือกหนามักมีระยะพักตัวก่อนงอก นาน ซึง่ เพิม่ ช่วงเวลาทีเ่ มล็ดต้องเสีย่ งต่อการถูกทำลายจาก สัตว์ นอกจากนัน้ ในช่วงก่อนงอกเปลือกหุม้ เมล็ดจะอ่อนตัว ลงเพื่อให้ต้นอ่อนสามารถแทงออกมาได้และเป็นช่วงที่เมล็ด ถูกทำลายได้งา่ ย (Vongkumjan, 2003) เมล็ดเปลือกแข็ง ของพรรณไม้หลายชนิดมักถูกทำลายในช่วงเวลาดังกล่าว รูปแบบการกระจายตัวของเมล็ดเป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีม่ ผี ล

40

ปลูกให้เป็นป่า

sia pubescens) ร้อยละ 88 รกฟ้า (Terminalia chebula) ร้อยละ 77 เต็ง (Shorea obtusa) ร้อยละ 73 ตะแบกเลือด (Terminalia mucronata) ร้อยละ 69 สมอ พิเภก (Terminalia bellirica) ร้อยละ 65 เพีย้ ฟาน (Macropanax dispermus) ร้อยละ 63 พิพา่ ย (Elaeocarpus lanceifolius) และ สะเดาช้าง (Acrocarpus fraxinifolius) ร้อยละ 50) มีเพียงเมล็ดขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เท่านัน้ ไม่ถกู ทำลาย เช่น เดือ่ (Ficus spp.) หม่อนหลวง (Morus macroura) กำลังเสือโคร่ง (Betula alnoides) ไข่ปลา (Debregesia longifolia) ส้านเห็บ (Saurauna roxburghii) ปลายสาน (Eurya acuminata) หัวแหวน (Vaccinium sprengelii) พังแหรใหญ่ (Trema orientalis) และอินทนิลน้ำ (Lagerstroemia speciosa) เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม ในพืน้ ทีก่ ารเกษตรเก่าซึง่ มีขนาดใหญ่ Wood และ Elliott, (2004) พบว่าอัตราการทำลายเมล็ด ของพืช 6 ชนิด ได้แก่ มะชัก (Sapindus rarak) ก่อหมุน่ (Lithocarpus elegans) มะกัก (Spondias axiillaris) ทองหลางป่า (Erythrina subumvrans) ซ้อ (Gmelina arborea) และ นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) โดยสัตว์ฟนั แทะ มีไม่มากนัก แต่ 4 ชนิดหลังถูกทำลายโดย มดเป็นส่วนใหญ่ ต่ออัตราการทำลายเมล็ดจากสัตว์ สัตว์ทก่ี นิ เมล็ดมีโอกาสพบ เมล็ดทีก่ ระจายตัวเป็นบริเวณกว้างและมีจำนวนเมล็ดต่อพืน้ ที่ ต่ำได้นอ้ ย (ส่วนใหญ่เป็นเมล็ดทีก่ ระจายด้วยลม) ในขณะที่ เมล็ดทีก่ ระจายอยูเ่ ป็นกลุม่ ๆ (ลักษณะของเมล็ดทีก่ ระจาย โดยสัตว์) ถ้าสัตว์เจอเมล็ดเพียงเมล็ดเดียวโอกาสทีเ่ มล็ดทัง้ กลุม่ จะถูกทำลายมีสงู มาก ส่วนต้นไม้ทอ่ี อกลูกเพียงครัง้ เดียว ปริมาณของเมล็ดทีผ่ ลิตออกมามักมากเกินความสามารถของสัตว์ ทีจ่ ะกินได้ทง้ั หมด จึงมีเมล็ดอีกจำนวนมากทีร่ อดพ้นจาก การทำลายของสัตว์ ในขณะนี้ไม่สามารถจะคาดคะเนถึงผลของสัตว์กินเมล็ด ทีม่ ตี อ่ การฟืน้ ตัวของป่าได้ เนือ่ งจากกระบวนการดังกล่าว ขึน้ อยูก่ บั หลายปัจจัย ทัง้ ลักษณะของสภาพแวดล้อม แหล่ง อาหารอืน่ ๆ ของสัตว์ในพืน้ ที่ ความชอบ และอัตราการกินของ สัตว์กนิ เมล็ดแต่ละชนิด ล้วนเป็นปัจจัยทีต่ อ้ งคำนึงถึงเมือ่ ต้อง การฟืน้ ฟูปา่ ด้วยวิธกี ารหยอดเมล็ดโดยตรง และต้องมีการ ประเมินผลกระทบจากสัตว์กนิ เมล็ดสำหรับแต่ละพืน้ ทีท่ กุ ครัง้


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

ผูก้ ระจายเมล็ดและผูท้ ำลายเมล็ด สัตว์ทช่ี ว่ ยกระจายเมล็ดพันธุข์ นาดเล็กและขนาดกลางเช่น หมูหริง่ (Arctonyx collaris) (ล่าง) ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha) (บน) และนกปรอด หัวตาขาว (Pycnonotus flavescens) (ขวา) สามารถอาศัยอยู่ได้แม้ในพื้นที่ ที่เหลือป่ากระจายอยู่เป็นหย่อม ๆ สัตว์เหล่านี้สามารถนำพาเมล็ดจากป่าที่อยู่ ห่างไกลออกไปเข้ามาในพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลายขนาดใหญ่ได้ การป้องกันไม่ให้สตั ว์ เหล่านีใ้ นพืน้ ทีถ่ กู ล่าจึงเป็นสิง่ จำเป็นสำหรับการฟืน้ ฟูปา่

หนูเชสนัท (Rattus bukit) (ล่าง) มักเป็นผู้ทำลายเมล็ด มากกว่าช่วยในการกระจายเมล็ด พบในพื้นที่ป่าเสื่อม โทรมได้มากกว่าป่าทึบ

สัตว์ที่กระจายเมล็ดพันธุ์ชนิดอื่นได้แก่ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) (บนซ้าย) และ นกแก๊ก (Anthtacoceros albirostris) (บนกลาง) มักไม่ออกจากพื้นที่ป่าสมบูรณ์ จึงไม่ค่อยมีผลต่อการนำเมล็ดเข้าสู่พื้นที่ที่ถูกทำลาย

แรดสุมาตรา กินผลไม้ที่ร่วงอยู่บนพื้นป่าในเวลากลางวัน และนำเมล็ดไปทิง้ ในพืน้ ทีโ่ ล่งเมือ่ ออกไปหากินในทุง่ หญ้า เคยเป็นผู้นำพาเมล็ดที่สำคัญในเขตป่าร้อน แต่ปัจจุบัน สัตว์ชนิดนีไ้ ด้สญ ู พันธุไ์ ปจากภาคเหนือของไทยแล้ว เช่น เดียวกับสัตว์ใหญ่ชนิดอื่น ได้แก่ ช้าง วัวป่า และควาย ป่า ที่มีจำนวนลดลง ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่กระจาย เมล็ดได้อีกต่อไป

ปลูกให้เป็นป่า

41


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

การแก่งแย่งแข่งขัน

ในพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลายในภาคเหนือ มักมีวชั พืช ขนาดใหญ่ขน้ึ ปกคลุมโดยอาจสูงกว่า 2-3 เมตร (ซ้าย) วัชพืชพวกนีม้ ที ง้ั หญ้าและพืช ล้มลุกทีท่ นไฟได้ดี หลายชนิดเป็นพรรณไม้จาก ประเทศอืน่ พืชพวกนีโ้ ตเร็วและยึดครองพืน้ ที่ ได้ดี ทำให้กล้าไม้ในพื้นที่ค่อย ๆ ตายลงทั้งจาก การถูกแย่งน้ำ และสารอาหารที่กล้าไม้ต้องการใน การเจริญเติบโต และทำให้พื้นที่มีความเสี่ยงใน การเกิดไฟป่ามากขึน้

a

b

e

h

f

c

d

g

i

j

วัชพืชที่พบได้บ่อยในพื้นที่ที่ถูกทำลายหลายชนิดมาจากประเทศอื่น เช่น (a) สาบเสือ (Eupatorium odoratum), (b) สาบแมว (Eupatorium adenophorum), (c) ผักกาดช้าง (Crassocephalum crepidioides) และ (e) บัวตอง (Tithonia diversifolia) บางชนิดเป็นพืชในท้องถิน่ เช่น (d) แขม (Saccharum arundinaceum), (f) หญ้าขจรจบ (Pennisetum polystachyon) และ (i) อ้อ (Phragmites vallatoria) ไม้เถา เช่น (g) มันขมิน้ (Dioscorea bulbifera) ขึ้นปกคลุมไม้จนตายในขณะที่ (h) ปิง้ หอม (Clerodendrum fragrans) บดบังไม่ให้กล้าไม้ได้รบั แสงจากด้านบน (j) กูดเกีย๊ ะ (Pteridium aquilinum) วัชพืชทีพ่ บได้ทว่ั โลก

42

ปลูกให้เป็นป่า


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

ตอนที่ 5 - การงอก ช่วงเวลาทีเ่ มล็ดงอกและเจริญเป็นต้นกล้านัน้ เป็นช่วงทีอ่ าจ เกิดอันตรายกับต้นกล้าง่าย เมล็ดพืชต้องได้รบั ความชืน้ และ แสงทีพ่ อเหมาะเพือ่ กระตุน้ ให้เกิดการงอก ต้นกล้าทีเ่ พิง่ งอกมีขนาดเล็ก มีพลังงานสะสมน้อย และความสามารถใน การสังเคราะห์แสงต่ำ จึงเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมและการแก่งแย่งแข่งขันกับพืชอื่นรวมทั้งการ ทำลายจากสัตว์ ในขณะทีพ่ ชื ทีโ่ ตแล้วจะทนทานได้ดกี ว่า

การพักตัวของเมล็ดคืออะไร เมือ่ เมล็ดตกลงสูพ่ น้ื ดินเมล็ดอาจไม่งอกในทันที ถึงแม้วา่ สภาพแวดล้อมจะเหมาะสมต่อการงอกก็ตาม ทัง้ นีเ้ นือ่ ง จากเมล็ดบางชนิดมีชว่ งพักตัวอยู่ การพักตัวของเมล็ดคือ ช่วงเวลาตัง้ แต่เมล็ดหลุดออกจากต้นแม่จนกระทัง่ งอก ใน ช่วงการพักตัวนีเ้ มล็ดจะมีการพัฒนาจนพร้อมทีจ่ ะงอกออกมา เป็นต้นกล้า การพักตัวทำให้เมล็ดสามารถทนกับสิ่งที่เกิดขึ้น ระหว่างการกระจายเมล็ดเพือ่ ไปงอกในสถานทีท่ ม่ี สี ภาพแวด ล้อมเหมาะสมได้

ระยะเวลาในการพักตัวของเมล็ด เมล็ดทีส่ กุ พร้อมกันอาจมีชว่ งพักตัวทีแ่ ตกต่างกันอย่างมาก วิธีที่สะดวกที่สุดในการวัดระยะพักตัวของเมล็ด ได้แก่ การ นับจำนวนวันตัง้ แต่วนั ทีเ่ พาะจนกระทัง่ เมล็ดงอกขึน้ มาครึง่ หนึง่ ของจำนวนเมล็ดทีง่ อกทัง้ หมด ค่านีค้ อื ค่ากลางของระยะ พักตัว (Median length of dormancy; MLD) ตัวอย่าง เช่น เมือ่ เพาะเมล็ด 100 เมล็ดมีเมล็ดทีง่ อก 9 เมล็ด ดังนัน้ ค่ากลางระยะพักตัวจะมีคา่ เท่ากับจำนวนวันนับตัง้ แต่เพาะจน กระทัง่ เมล็ดที่ 5 งอกออกมา เมล็ดของต้นไม้ในเขตร้อนส่วนมากมีระยะพักตัวค่อนข้าง สัน้ จากเมล็ดพรรณไม้จำนวน 262 ชนิดของอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย ร้อยละ 43 ทีม่ คี า่ กลางระยะพักตัวน้อยกว่า 30 วัน ในขณะทีร่ อ้ ยละ 21 มีระยะพักตัวเกิน 100 วัน ต้นไม้ทม่ี คี า่ นีส้ น้ั ทีส่ ดุ ได้แก่ กางขีม้ อด ทองหลางป่า และ ก่อแอบ ซึง่ ทัง้ สามชนิดใช้เวลาเพียง 7 วันเท่านัน้ และเมล็ดที่ มีระยะการพักตัวนานทีส่ ดุ คือ มุน่ ดอย ซึง่ มีคา่ กลางระยะ พักตัว 787 วัน (FORRU, ข้อมูลจากการวิจัย, 2003)

เวลาทีด่ ที ส่ี ดุ สำหรับการงอกของเมล็ด ปัจจัยทีก่ ำหนดระยะเวลาทีเ่ หมาะสมในการงอกนัน้ มีหลาย ปัจจัย เช่น อุณหภูมิ การหลีกเลีย่ งสัตว์ทก่ี นิ ต้นอ่อนเป็น อาหาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในเขตร้อนและแห้งแล้งทีม่ ี ความแตกต่างของฤดูอย่างชัดเจน ความชืน้ ของดินเป็นปัจจัย สำคัญทีส่ ดุ เวลาทีเ่ หมาะสำหรับการงอกของเมล็ดคือช่วงต้น ฤดูฝนเพราะต้นกล้าจะมีเวลาตลอดฤดูฝนในการจะเจริญเติบ โตแทงรากลึกลงในดินเพื่อสะสมพลังงานไว้ก่อนที่ฤดูแล้งจะ มาเยือน ระบบรากทีด่ หี มายถึงโอกาสทีต่ น้ ไม้จะสามารถดึง น้ำจากดินที่ลึกลงไปมาใช้ได้เพื่อให้รอดพ้นจากการขาดน้ำใน หน้าแล้ง อีกเหตุผลหนึง่ ทีเ่ มล็ดมักจะงอกในช่วงฤดูฝนก็ คือ ช่วงนี้ใบไม้ที่ร่วงสะสมอยู่จะมีการย่อยสลายมากขึ้นเพราะมี ความชืน้ เพียงพอ ทำให้มสี ารอาหารถูกคืนกลับสูด่ นิ มากขึน้ สำหรับในพืน้ ทีท่ ม่ี ไี ฟเข้า ไฟเป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีจ่ ะช่วย เปลี่ยนสารอินทรีย์ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมสำหรับเมล็ดทีจ่ ะกระจายออกไปจากต้น แม่แต่ละชนิดแตกต่างกัน โดยปัจจัยทีก่ ำหนดี 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ระยะเวลาทีใ่ ช้ตง้ั แต่ดอกได้รบั การผสมจนกระทัง่ เมล็ดเจริญเต็มทีแ่ ละสิง่ ทีช่ ว่ ยกระจายเมล็ด ระยะเวลาใน การพักตัวของเมล็ดที่แตกต่างกันของพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ นัน้ ทำให้ตน้ ไม้แต่ละชนิดมีชว่ งเวลาในการกระจายเมล็ดทีแ่ ตก ต่างกันไปตลอดทัง้ ปีแต่เมล็ดทัง้ หมดจะงอกออกมาพร้อม ๆ กันในช่วงต้นฤดูฝน (ดูกรอบ 3.2)

ปลูกให้เป็นป่า

43


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

กรอบ 3.2 - ระยะพักตัวของเมล็ดเชือ่ มเวลาในการกระจายเมล็ดพันธุ์ และการงอกของเมล็ดเข้าด้วยกัน พรรณไม้ป่าแต่ละชนิดติดผลและเมล็ดในฤดูกาลที่แตก ต่างกัน แต่เมล็ดของพรรณไม้เกือบทัง้ หมดงอกขึน้ พร้อม ๆ กันในช่วงต้นฤดูฝนซึ่งเป็นผลจากความแตกต่างของระยะ พักตัว จากการศึกษาช่วงฤดูกระจายเมล็ดพันธุแ์ ละการงอกของ พรรณไม้ 262 ชนิด ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย (FORRU, ข้อมูลจากการวิจยั , 2003) พบว่าเมล็ดทีเ่ จริญ เต็มที่จนเก็บได้ในช่วงปลายฤดูแล้งและต้นฤดูฝนจะงอกได้ เร็ว (มากกว่าร้อยละ 90 มีคา่ กลางระยะพักตัวน้อยกว่า 70 วัน) แต่เมล็ดทีแ่ ก่จดั ในช่วงปลายฤดูฝนมีเพียงร้อยละ 48.5 และเมล็ดทีเ่ ก็บได้ในช่วงต้นฤดูหนาวร้อยละ 54.8 เท่านัน้ ที่ งอกได้เร็ว (ค่ากลางระยะพักตัวน้อยกว่า 70 วัน) ส่วน เมล็ดที่เหลือจะอยู่ในระยะพักตัวต่อไปอีกเป็นเวลานานเป็น ผลให้เมล็ดของพรรณไม้ส่วนใหญ่ที่ทำการศึกษา (ร้อยละ 75.8) งอกออกมาในช่วงปลายฤดูแล้งหรือต้นฤดูฝน ทำให้ ต้นกล้ามีโอกาสเจริญเติบโตเต็มทีก่ อ่ นถึงฤดูแล้งและลดช่วง เวลาทีเ่ มล็ดจะต้องพักตัวอยูใ่ นพืน้ ป่าซึง่ เสีย่ งต่อการถูกทำลาย จากสัตว์และต้องดำรงชีวิตอยู่จากอาหารที่สะสมอยู่ในเมล็ด เท่านัน้

พรรณไม้เหล่านีส้ ามารถจัดแบ่งได้ 3 กลุม่ ตามช่วงเวลา ทีเ่ กิดการกระจายเมล็ดและระยะเวลาการพักตัวคือ 1) กลุม่ ทีง่ อกหลังได้รบั ฝนแรก ประกอบด้วยต้นไม้ 17 ชนิด ซึ่งเมล็ดจะสุกในช่วงปลายฤดูแล้งและงอกอย่างรวดเร็วเมื่อ ได้รบั ฝนแรก 2) กลุม่ ทีง่ อกเมือ่ ได้รบั ฝนในปีถดั ไปมี 62 ชนิด เมล็ดในกลุม่ นีจ้ ะสุกในช่วงต้นปลายฤดูฝนถึงฤดูแล้ง และมีระยะพักตัวยาวทำให้เมล็ดไปงอกในฤดูฝนถัดไป 3) มีลกั ษณะแตกต่างไปจาก 2 กลุม่ แรก คืองอกได้อย่างรวด เร็วในช่วงฤดูแล้งหลังเมล็ดสุกในช่วงฤดูตน้ แล้งมีอยู่ 34 ชนิด ซึ่งกลไกที่ทำให้ต้นไม้ในกลุ่มนี้สามารถที่เจริญเติบโต ผ่านฤดูแล้งได้นั้นยังเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาต่อไป ในการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายเมล็ดและการงอกของ พรรณไม้ในปานามา Nancy Garwood (1983) พบรูป แบบทีค่ ล้ายคลึงกันกับป่าของดอยสุเทพ แสดงว่าพรรณไม้ ของป่าเขตร้อนทีม่ ฤี ดูแล้งทีช่ ดั เจนอย่างน้อยจาก 2 พืน้ ที่ ซึง่ อยูค่ นละทวีป มีวธิ กี ารในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลีย่ น แปลงของฤดูแล้งถึงฤดูฝนในแต่ละปีที่คล้ายคลึงกัน

ค่ากลางของระยะพักตัว (MLD)

ฤดูฝน

รูปที่ 3.3 ความสัมพันธ์ระหว่างค่ากลางระยะการพักตัวของเมล็ด และเดือนที่เกิดการกระจายเมล็ดของต้นไม้ในอุทยาน แห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย สี่เหลี่ยมแต่ละแท่งคลอบคลุมร้อยละ 50 ของจำนวนต้นไม้ที่เกิดการกระจายเมล็ดในแต่ละเดือน เส้นขวางในสี่เหลี่ยมแสดงถึงค่ากลางระยะพักตัวเฉลี่ยของแต่ละเดือน ในขณะที่ค่าสูงสุดและต่ำสุดแทนด้วยเส้นตามแนวตั้ง

44

ปลูกให้เป็นป่า


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

ปัจจัยจำเป็นต่อการงอกของเมล็ด การงอกของเมล็ดขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยหลายอย่าง ทีส่ ำคัญที่ สุดได้แก่ ความชืน้ ในดินทีเ่ พียงพอ และแสงทีพ่ อเหมาะ ซึง่ ไม่ได้ขน้ึ กับปริมาณแสงโดยรวมเท่านัน้ แต่ยงั ขึน้ กับช่วงแสงที่ ได้รบั ด้วย ในป่าธรรมชาติกล้าไม้ชนิดใดจะเข้ามาเจริญเติบโตอยูใ่ นช่อง ว่างที่เกิดขึ้นจากไม้ล้มได้นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของชนิด เมล็ดพันธุใ์ นพืน้ ทีเ่ ป็นหลัก รองลงมาได้แก่สภาพแวดล้อม ภายในพืน้ ทีว่ า่ งนัน้ ซึง่ ขึน้ อยูก่ บั ขนาด รูปร่าง และทิศทาง ของพืน้ ทีว่ า่ ง รวมถึงความหนาแน่นและความสูงของหมูไ่ ม้ ทีอ่ ยูร่ อบ ๆ ส่วนเมล็ดของพืชชนิดไหนจะตกลงสูพ่ น้ื ทีว่ า่ งนี้ ขึน้ อยูก่ บั ว่าในบริเวณนัน้ มีตน้ ไม้ชนิดใดบ้างทีก่ ำลังติดผลอยู่ และมีโอกาสทีจ่ ะแพร่กระจายเมล็ด นอกจากนัน้ เมือ่ เมล็ด ตกลงในช่องว่างนีจ้ ะมีเพียงเมล็ดทีช่ อบสภาพแวดล้อมภายใน ช่องว่างเท่านัน้ ทีจ่ ะสามารถเจริญเติบโตอยูไ่ ด้ในขณะทีต่ น้ กล้า อืน่ จะค่อย ๆ ตายไป พืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลายขนาดใหญ่ซง่ึ ถูกปกคลุมด้วยวัชพืชหนา นั้นเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญของกล้าไม้ อุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างกลางวันและ กลางคืน และปริมาณความชืน้ ทีต่ ำ่ กว่าในป่ามากไม่เหมาะ กับการเจริญของกล้าไม้ เมล็ดบางส่วนทีต่ กค้างอยูบ่ นกอหญ้าอาจแห้งตายไปโดย ไม่มโี อกาสสัมผัสกับพืน้ ดิน ในขณะทีเ่ มล็ดทีล่ งไปถึงพืน้ ดิน ใต้รม่ เงาของวัชพืชนัน้ ยังต้องเผชิญกับปัญหาอืน่ ต่อไป ต้น กล้าของไม้เบิกนำหลายชนิด โดยเฉพาะชนิดทีม่ เี มล็ดขนาด เล็กต้องการแสงที่มีอัตราส่วนระหว่างแสงสีแดงต่อรังสีเหนือ แดงค่อนข้างสูงเพือ่ กระตุน้ ให้เกิดการงอก (Pearson et.al., 2003) แต่ชน้ั ของวัชพืชทีป่ กคลุมอยูจ่ ะดูดซับแสงสีแดงมาก กว่าแสงเหนือแดง ทำให้เมล็ดไม่ได้ถกู กระตุน้ ให้งอก และยังให้ปุ๋ยแก่ ต้นกล้าอีกด้วย

ช้างไม่เพียงช่วยกระจาย เมล็ดพันธุ์ เท่านั้น แต่ ยังทำให้เมล็ดไม้บางชนิด งอกได้ดี

การงอกของพรรณไม้ปา่ ส่วนใหญ่จงึ ขึน้ อยูก่ บั ว่าพืน้ ป่านัน้ มีสภาวะแวดล้อมทีเ่ หมาะสมต่อการงอกของเมล็ดหรือไม่โดย ทัว่ ไปแล้ว ทีท่ เ่ี หมาะสมต่อการงอกของเมล็ดต้องมีวชั พืช น้อยและมีปริมาณความชืน้ ทีเ่ พียงพอ เพือ่ กระตุน้ ให้เกิด การงอก เช่น อาจเป็นจอมปลวกเก่า หินทีม่ มี อสปกคลุมพืน้ ดินว่าง หรือขอนไม้ผุ ๆ ขอนไม้ผนุ อกจากให้พน้ื ว่างที่ ปราศจากวัชพืชแล้วยังเป็นแหล่งธาตุอาหารทีส่ ำคัญและมีความ ชืน้ สูง จึงเหมาะอย่างยิง่ ต่อการเจริญของกล้าไม้

สัตว์กบั การงอกของเมล็ด เมล็ดทีถ่ กู กินผ่านระบบย่อยอาหารของสัตว์นน้ั อาจมีผลต่อ อัตราการงอกและความเร็วในการงอก ผลที่เกิดขึ้นอาจมีทั้ง ทีท่ ำให้เมล็ดงอกเพิม่ ขึน้ ลดลงหรือในบางชนิดอาจไม่เกิดผล ใด ๆ เลย สำหรับพรรณไม้ในเขตร้อนส่วนใหญ่ระบบย่อย ของสัตว์ไม่มผี ลต่อการงอก แต่ในชนิดทีต่ อบสนองต่อการ ย่อยนัน้ ส่วนใหญ่จะมีผลในทางเพิม่ การงอกมากกว่ายับยัง้ การ งอก Travaset (1998) พบว่าประมาณร้อยละ 36 ของ พรรณไม้ที่ทดลองมีอัตราการงอกสูงขึ้นเมื่อเพาะหลังจากถูก ย่อยด้วยสัตว์ ในขณะทีเ่ พียงร้อยละ 7 เท่านัน้ ทีอ่ ตั ราการ งอกลดลง นอกจากนัน้ เมล็ดร้อยละ 35 งอกได้เร็วขึน้ ใน ขณะทีร่ อ้ ยละ 13 เท่านัน้ ทีง่ อกช้าลงการตอบสนองของเมล็ด แตกต่างกันอย่างมากในพรรณไม้ตา่ งชนิด ถึงแม้วา่ จะเป็น พรรณไม้จากสกุลเดียวกันหรือแม้กระทั่งต้นไม้ชนิดเดียวกัน จากต่างต้นก็อาจตอบสนองไม่เหมือนกันได้

ปลูกให้เป็นป่า

45


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

ตอนที่ 6 - ต้นกล้า หลังจากเมล็ดงอกอุปสรรคสำคัญในการเจริญเติบโตของ ต้นกล้าในพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลายคือ ไฟ พืน้ ทีม่ กั ปกคลุมด้วย ไม้ลม้ ลุกและหญ้าทีท่ นไฟได้ดี วัชพืชพวกนีโ้ ตเร็วบดบังแสง ส่วนใหญ่ และดึงน้ำจากดินขึน้ ไปใช้จนเหลือเพียงส่วนน้อย เท่านั้นให้กล้าไม้ที่เจริญเติบโตช้ากว่านำไปใช้ อย่างไรก็ตาม กล้าไม้อาจได้รับการช่วยเหลือจากเชื้อราไมคอไรซา ทำให้ มีโอกาสมากขึ้นที่จะต่อสู้จนกระทั่งโตขึ้นพ้นระดับของวัชพืช ในทีส่ ดุ

วัชพืชในป่าที่ถูกทำลาย บนภูเขาในภาคเหนือของประเทศไทยพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลายส่วน ใหญ่มกั ถูกครอบครองโดยพงหญ้าทีอ่ าจสูงถึง 2-3 เมตร เช่น หญ้าคา หญ้าไข่เหาหลวง หญ้ากวางไข่ เลา และหญ้า อืน่ ๆ ในวงศ์ Gramineae เนือ่ งจากหญ้าพวกนีจ้ ะแตก ยอดใหม่จากส่วนทีป่ กคลุมด้วยใบหนาทำให้ไม่ถกู ทำลายจาก ไฟสามารถจะเจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีไฟไหม้บ่อย ๆ ได้

ขอนไม้ผุ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการ งอกของเมล็ดพรรณไม้ เพราะนอกจากจะมี วัชพืชน้อยแล้ว เนือ้ ไม้ทผ่ี ยุ งั มีความชุม่ ชืน้ กล้าไม้สามารถฝังรากลงไปได้งา่ ย

46

ปลูกให้เป็นป่า

วัชพืชทีส่ ำคัญอีกกลุม่ ทีด่ เู ผิน ๆ คล้ายกับพวกหญ้าแต่มลี ำ ต้นเป็นสามเหลีย่ มได้แก่ พวกกก (Cyperaceae) เช่น หญ้า กกเหลีย่ ม หญ้าหัวแดง หญ้าสามคม และกกชนิดอืน่ ๆ วัชพืชหลายชนิดเป็นพรรณไม้ตา่ งถิน่ ทีเ่ ข้ามาเจริญงอกงาม อยูใ่ นประเทศไทย เช่น สาบเสือ และ สาบหมา ซึง่ จัดอยูใ่ น วงศ์เดีย่ วกับพวกเบญจมาศ (Compositae) พืชในวงศ์นเ้ี ข้า มายึดครองพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลาย เนือ่ งจากเมล็ดของวัชพืช พวกนีม้ กั มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และมักมีปยุ ทีช่ ว่ ยให้ลอย ไปกับลมได้ดี หรือมีลักษณะคล้ายขอซึ่งจะติดไปกับขนของ สัตว์ทผ่ี า่ นไปมาในบริเวณนัน้ ได้งา่ ย เช่น พิษนาศน์ สาบแร้ง สาบกา ปืนนกไส้ ผักอิกเป็นต้น วัชพืชอีกชนิดหนึง่ ทีส่ ามารถ พบได้ทว่ั โลก คือ กูดเกีย๊ ะ วัชพืชในกลุม่ เฟิรน์ ซึง่ มักพบ ขึน้ ปกคลุมเนินเป็นลูก ๆ ไม้พมุ่ เช่น เขืองแข้งม้า ปิง้ หอม ปอหยุม่ ยู่ แสดงถึง กระบวนการฟืน้ ตัวของพืน้ ทีท่ ค่ี อ่ ย ๆ เกิดขึน้ ในขณะทีไ่ ม้ เถา เช่น หล้าเครือ และ อัญชัน และเถาวัลย์ พีจ้ น่ั (ทัง้ หมด อยูใ่ นวงศ์ถว่ั Leguminosae, Papilionoideae) อาจยับ ยั้งการฟื้นตัวของป่าโดยการพันทับต้นกล้าไม้ที่เกิดขึ้นใหม่


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

วัชพืชทีย่ บั ยัง้ การฟืน้ ตัวของป่า

ไมคอไรซากับการฟืน้ ตัวของป่า

พืชล้มลุกเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยการแผ่ขยายรากลงไป ในดินพร้อม ๆ กับลำต้นทีเ่ จริญเติบโตปกคลุมพืน้ ดิน พืชโต เร็วพวกนี้ต้องการแสงเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและใช้แสง เกือบทัง้ หมดทีส่ อ่ งลงมา กล้าไม้ทเ่ี จริญเติบโตอยูท่ า่ มกลาง วัชพืชโตเร็วพวกนีม้ กั จะตายเนือ่ งจากขาดแสง ความชืน้ และ ธาตุอาหาร ต้นไม้จำเป็นต้องมีโครงสร้างแข็งแรงพอที่จะรอง รับการเติบโตขึน้ เป็นไม้ทส่ี งู ใหญ่ในอนาคต พลังงานและสาร อินทรียจ์ ำนวนมากถูกนำมาใช้ในการสร้างเนือ้ ไม้หรือโครงสร้าง แข็งภายในลำต้น ทำให้อตั ราการเจริญเติบโตของต้นไม้ชา้ กว่าพืชล้มลุกซึง่ ไม่จำเป็นต้องสร้างเนือ้ ไม้ ต่อเมือ่ กล้าไม้ เหล่านัน้ สูงพ้นระดับทีว่ ชั พืชปกคลุม และรากของมันหยัง่ ลง ไปถึงระดับทีต่ ำ่ กว่าระดับรากของวัชพืชแล้วเท่านัน้ จึงจะสามารถ เจริญเติบโตได้ดกี ว่าพืชล้มลุก อย่างไรก็ตาม กล้าไม้สว่ น มากทีถ่ กู วัชพืชขึน้ คลุมมักตายไปเสียก่อน ในฤดูแล้ง วัชพืชยังเป็นเชือ้ เพลิงของไฟป่าและเป็นอีก สาเหตุหนึง่ ทีย่ บั ยัง้ การฟืน้ ตัวตามธรรมชาติของป่า พืชล้มลุก ส่วนมากมักรอดพ้นจากไฟโดยการพักตัวในรูปของเมล็ด หัว ใต้ดนิ หรือมีสว่ นของตายอดทีไ่ ด้รบั การปกป้อง เช่น หญ้า ปรง หรือ ปาล์มสิบสองปันนา และสามารถแตกยอดขึน้ มา ใหม่หลังถูกไฟไหม้ แต่ยอดของต้นไม้มกั อยูบ่ ริเวณปลายกิง่ ทำให้กล้าไม้และลูกไม้ส่วนมากถูกเผาไหม้ตายไปพร้อม ๆ กับวัชพืชแห้งทีอ่ ยูร่ อบ ๆ

ต้นไม้ในเขตร้อนเกือบทุกชนิดมีความสัมพันธ์ใกล้ชดิ กับ เชือ้ ราทีอ่ าศัยอยูก่ บั รากของมัน ทีเ่ รียกว่า ไมคอไรซา ความ สัมพันธ์นก้ี อ่ ให้เกิดประโยชน์ตอ่ พืชอย่างมาก โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ทำให้ตน้ ไม้มโี อกาสเติบโตแข่งขันกับวัชพืชทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ที่ เดียวกันได้ ไมคอไรซามี 2 กลุม่ หลัก ๆ ได้แก่ เอคโตไมคอไรซา (Ecto-mycorrhizae), (EM) ซึง่ สร้างแผ่นเยือ่ ของราขึน้ มา ห่อหุ้มรากไว้กับพวกเวสซิคูลาอาบัสคูลาไมคอไรซา (VAM) ซึ่งไม่สร้างแผ่นเชื้อรารอบรากพืช ต้นไม้ในเขตร้อนส่วนมาก มีไมคอไรซาแบบทีส่ องอยูใ่ นขณะทีเ่ อคโตไมคอไรซาจะอาศัยอยู่ กับต้นไม้บางวงศ์เท่านัน้ เช่น ไม้ในวงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) วงศ์กอ่ (Fagaceae) วงศ์สน (Pinaceae) และ วงศ์ถว่ั (Caesalpinioideae) เอคโตไมคอไรซา นีเ้ หมาะกับ การเจริญในพืน้ ทีท่ ม่ี ฤี ดูแล้ง คุณประโยชน์สำคัญทีส่ ดุ ทีพ่ ชื ได้จากไมคอไรซา คือ การ เพิม่ อัตราการดูดซึมแร่ธาตุ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ฟอสฟอรัส ซึง่ มักเป็นธาตุทข่ี าดแคลนในดินของเขตร้อน เส้นใยของ เชือ้ รา ซึง่ มีขนาดเล็กกว่ารากพืชสามารถแทรกไปตามช่อง ว่างของดินได้ดกี ว่า ทำให้เข้าถึงธาตุอาหารต่าง ๆ ได้ดขี น้ึ ไมคอไรซาทำให้ต้นไม้โตได้ดีและมีอัตราการรอดสูง ทำให้ พืชทนแล้ง และมีความต้านทานต่อโรคได้ดี และยังเพิม่ อัตราการดูดซึมน้ำของต้นไม้ทม่ี นั อาศัยอยูอ่ กี ด้วย (Janos, 1983) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ต้นไม้มีโอกาสเจริญ เติบโตในสภาพแวดล้อมทีไ่ ม่เหมาะสมในป่าทีถ่ กู ทำลายได้ดขี น้ึ ในป่าทึบการแพร่กระจายของเชือ้ ราทีเ่ ป็นเวสซิคลู าอาบัส คูลาไมคอไรซา เกิดขึน้ โดยตรงจากรากของต้นไม้ตน้ หนึง่ ไป ยังรากของต้นอืน่ โดยทัว่ ไปแล้วความหนาแน่นของสปอร์ เชือ้ ราทีอ่ ยูใ่ นดินค่อนข้างต่ำ การกระจายตัวของสปอร์เกิด ได้ยากเพราะต้องอาศัยสัตว์ฟนั แทะขนาดเล็กทีก่ นิ เชือ้ ราพวก นีเ้ ป็นอาหารและนำสปอร์ไปแพร่กระจายทีอ่ น่ื พร้อมกับมูลของ มัน ต่างจากเชือ้ ราทีส่ ร้างโครงสร้างสืบพันธุเ์ หนือระดับดินที่ ลมสามารถพัดให้ฟุ้งกระจายได้ง่าย ถึงแม้ว่าเราจะสามารถ พบสปอร์ของเชือ้ ราได้ในทุก ๆ ทีร่ วมทัง้ พืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลาย แต่เชื้อราไมคอไรซาที่เหมาะสมกับชนิดของต้นไม้จะมีความ หนาแน่นพอทีจ่ ะเข้าไปเจริญในเนือ้ เยือ่ ของต้นกล้าไม้ทเ่ี กิดขึน้ ใหม่หรือไม่นน้ั ยังต้องมีการศึกษาค้นคว้าต่อไป

ชนิดของวัชพืชกับการฟืน้ ตัวของป่า วัชพืชบางชนิดอาจส่งเสริมให้เกิดการฟืน้ ตัวของป่าได้ดกี ว่า วัชพืชชนิดอืน่ ตัวอย่างเช่น จากการศึกษาของ Adhikari (1996) ในพืน้ ทีร่ กร้างทีป่ กคลุมด้วยวัชพืชต่างชนิดกันของ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พบว่าพืน้ ทีท่ ม่ี สี าบแมว ขึน้ อยูม่ าก จะมีชนิดและความหนาแน่นของกล้าไม้ธรรมชาติสงู ทีส่ ดุ และต้นกล้าเหล่านีย้ งั มีอตั ราการเจริญเติบโตสูงและ อัตราการตายต่ำกว่าในพืน้ ทีท่ ม่ี หี ญ้าคา หรือ กูดเกีย๊ ะขึน้ อยู่ มาก โดยเฉพาะอย่างยิง่ พืน้ ทีท่ ม่ี เี ฟิรน์ ชนิดนีอ้ ยูม่ ากไม้ใหญ่ แทบไม่มโี อกาสกลับเข้ามาขึน้ ในพืน้ ทีน่ น้ั ได้อกี เลย

ปลูกให้เป็นป่า

47


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

หากมีปศุสตั ว์จำนวนมากเกินไป อาจยับยั้งการฟื้นตัวของป่า สัตว์ เหล่านี้อาจกัดกิน เหยียบย่ำต้น กล้าและต้นไม้ขนาดเล็ก

สัตว์กบั ต้นกล้าในพืน้ ทีถ่ กู ทำลาย สัตว์ปา่ ขนาดใหญ่ เช่น ช้าง หรือ วัวป่าทีส่ ามารถทำลาย ต้นกล้าไม้ดว้ ยการกัดกินเพียงครัง้ เดียวค่อนข้างหาได้ยากจึง ไม่ใช่ปัญหาสำคัญสำหรับการฟื้นตัวของป่า แต่สัตว์ที่อาจก่อ ให้เกิดปัญหากับการฟืน้ ตัวของป่าได้มากกว่า ได้แก่ ฝูงวัว ควายของชาวบ้าน ในประเทศเขตร้อนเราสามารถพบฝูงวัวหรือควายของชาว บ้านที่ถูกปล่อยให้หากินอย่างอิสระในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมได้ บ่อย ๆ ความหนาแน่นของสัตว์เหล่านีใ้ นพืน้ ทีม่ ผี ลต่อการ

แต่ในขณะเดียวกันสัตว์พวกนี้ อาจช่วยกระจายเมล็ดพรรณไม้ และกำจัดวัชพืชได้

48

ปลูกให้เป็นป่า

ฟืน้ ตัวตามธรรมชาติของป่า สัตว์ฝงู เล็ก ๆ อาจไม่กอ่ ให้เกิด ผลกระทบในทางลบ หรืออาจจะก่อให้เกิดประโยชน์กบั พืน้ ที่ ก็ได้ แต่ในพืน้ ทีท่ ม่ี วี วั ควาย มากเกินไปจะทำให้เกิดผลเสีย มากกว่าผลดี ประโยชน์สำคัญของการมีปศุสตั ว์อยูใ่ นพืน้ ทีก่ ค็ อื การ กำจัดวัชพืช โดยสัตว์พวกนีท้ ำให้ปริมาณวัชพืชลดลง ลด การแข่งขันกับกล้าไม้และยังอาจทำหน้าทีเ่ ป็นผูก้ ระจายเมล็ด ได้ในลักษณะเดียวกับทีว่ วั ป่าหรือควายป่าทำ นอกจาก นัน้ แอ่งเล็ก ๆ เกิดขึน้ จากรอยเท้าของสัตว์ทเ่ี ป็นแหล่ง สะสมความชืน้ และสารอาหาร และไม่มวี ชั พืช กลาย เป็นพืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสมต่อการงอกของเมล็ดได้ ข้อเสียประ การหนึง่ ทีจ่ ากการมีปศุสตั ว์อยูใ่ นพืน้ ทีท่ ม่ี ี กระบวนการ ฟืน้ ตัวของป่าก็คอื สัตว์พวกนีม้ กั เลือกกินเฉพาะพืชทีม่ รี ส ชาติดหี รือทีก่ นิ ได้งา่ ย ทำให้ในพืน้ ทีเ่ หลือแต่พชื ทีไ่ ม่อร่อย หรือมีหนาม ส่วนพืชทีว่ วั ควายชอบจะค่อย ๆ หมดไปจาก พืน้ ที่ นอกจากนัน้ สัตว์เหล่านีอ้ าจเหยียบย่ำกล้าไม้ และใน เส้นทางทีส่ ตั ว์เดินผ่านบ่อยดินจะถูกอัดแน่นกลายเป็นปัญหา ได้ ปัจจุบนั ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของฝูงสัตว์กบั ผล กระทบทัง้ แง่ดแี ละในแง่เสียต่อการฟืน้ ฟูปา่ ยังไม่ชดั เจนเพราะ ผลกระทบในแต่ละพืน้ ทีย่ งั ขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยอืน่ อีกมากมาย เช่น สภาพแวดล้อมในพื้นที่ ชนิดของสังคมพืช เป็นต้น เพื่อ ทำความเข้าใจและทำนายผลกระทบจากปศุสัตว์ในพื้นที่การ ฟืน้ ฟูปา่ ได้ดขี น้ึ จะต้องมีการศึกษาวิจยั เพิม่ เติมในเรือ่ ง ดังกล่าวในแต่ละพื้นที่ต่อไป


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

ตอนที่ 7 - นิเวศวิทยาของไฟป่า ในเขตร้อนทีม่ ฤี ดูแล้ง ไฟเป็นอุปสรรคสำคัญอีกอย่าง หนึง่ ในการฟืน้ ตัวของป่า ในช่วงปลายฤดูฝนวัชพืชต่าง ๆ ที่ เจริญเติบโตมาตลอดฤดูขึ้นหนาแน่นและอาจมีความสูงเกิน 2 เมตร เมือ่ ย่างเข้าฤดูแล้ง วัชพืชเหล่านีจ้ ะเริม่ แห้งตายและ กลายเป็นเชือ้ เพลิงอย่างดีสำหรับไฟป่า ทุกครัง้ ทีเ่ กิดไฟป่า ลูกไม้ทข่ี น้ึ อยูร่ ะหว่างวัชพืชเหล่านัน้ มักถูกเผาไหม้และตายไป แต่พวกวัชพืชโดยเฉพาะหญ้า สามารถที่จะฟื้นกลับมาอย่าง รวดเร็วเมื่อได้รับฝนในครั้งต่อไป โดยอาจเจริญมาจากราก หน่อ หรือเมล็ดซึ่งฝังอยู่ใต้ดินทำให้ปลอดภัยจากความร้อน ของไฟ วัฏจักรการเจริญของวัชพืชนีท้ ำให้พน้ื ทีเ่ กิดไฟได้ ง่ายและในขณะเดียวกันก็ทำให้ตน้ ไม้ใหญ่หมดโอกาสทีจ่ ะขึน้ ในพื้นที่ได้ การยับยั้งวัฏจักรดังกล่าวจึงเป็นกุญแจสำคัญใน การฟืน้ ฟูปา่ ชนิดนี้

ไหม้บอ่ ยมีจำนวนและชนิดของกล้าไม้ปา่ ลดลง ทัง้ ยังลด ปริมาณของเมล็ดพันธุไ์ ม้ในพืน้ ที่ อาจเพราะไฟทำให้ตน้ ไม้ท่ี ผลิตเมล็ดตายและเมล็ดที่อยู่บนพื้นถูกทำลาย ไฟทำลายสารอินทรียใ์ นดินทำให้ดนิ อุม้ น้ำได้ลดลง พืน้ ดินที่มีความชื้นต่ำไม่เหมาะกับการงอกของเมล็ดพันธุ์ไม้และ ยังทำให้ธาตุอาหารในดินลดลง แคลเซียม โปรแตสเซียม และแมกนีเซียมอาจสูญหายไป จากพื้นที่ในรูปของผงขี้เถ้า หรือเขม่า ในขณะทีไ่ นโตรเจน ฟอสฟอรัส และซัลเฟอร์ จะ สูญเสียไปในรูปของกาซ ไฟยังทำให้ดนิ ถูกกัดเซาะได้มาก กว่าปกติ 3-32 เท่า โดยการทำลายพืชทีข่ น้ึ ในพืน้ ที่ และทำ ลายจุลนิ ทรียท์ อ่ี ยูใ่ นดินโดยเฉพาะอย่างยิง่ เชือ้ ราทีช่ ว่ ย ย่อยสลายสารอินทรีย์ และไมคอไรซา

ไฟป่ากับการงอกของเมล็ด สาเหตุการเกิดไฟป่า ไฟป่าในเขตร้อนทีม่ ฤี ดูแล้งสามารถเกิดขึน้ ได้ตามธรรมชาติ จากฟ้าผ่า แต่การเกิดไฟป่าในลักษณะดังกล่าวมีโอกาส น้อยมาก การเกิดไฟป่าแบบนี้อาจจะห่างกันหลายปีหรืออาจ เป็นสิบ ๆ ปี ซึง่ ช่วงเวลาดังกล่าวเพียงพอทีก่ ล้าไม้ตา่ ง ๆ เจริญเติบโตพอที่จะทนต่อการทำลายจากไฟป่าได้ อย่างไร ก็ตาม สาเหตุของไฟป่าในปัจจุบนั มักมาจากมนุษย์ เช่น ไฟที่ ใช้เตรียมพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งอาจลุกลามเข้าไปในพื้นที่ป่า รอบ ๆ และเผาทำลายต้นไม้ในบริเวณใกล้เคียง ทำให้การ ฟืน้ ตัวของป่าไม่สามารถเกิดขึน้ ได้ บางครัง้ ยังมีการจุดไฟ เผาป่าเพื่อหาเห็ด หรือทำให้เกิดการระบัดของหญ้าเพื่อเลี้ยง สัตว์หรือล่อสัตว์ป่าเข้ามาสำหรับล่าอีกด้วย

ไฟกับการฟื้นตัวของป่า การศึกษาสังคมพืชในพืน้ ทีท่ ม่ี ไี ฟป่าบ่อย ๆ เปรียบเทียบ กับพืน้ ทีท่ ไ่ี ม่มไี ฟเข้าเป็นเวลานาน แสดงให้เห็นว่าการป้อง กันไฟป่าเป็นการเร่งให้ปา่ ฟืน้ ตัวได้เร็วยิง่ ขึน้ Meng (1997) และ Kafle (1997) เปรียบเทียบป่าเต็งรังผสมก่อทีไ่ ด้รบั การป้องกันไฟมา 27-28 ปี กับป่าในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงทีม่ ไี ฟเข้า บ่อย ๆ บริเวณวัดผาลาด อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย (ความสูงประมาณ 520 เมตร) พวกเขาพบว่า พืน้ ทีท่ ม่ี ไี ฟ

ในระบบนิเวศบางแห่งไฟกระตุน้ ให้เมล็ดงอกได้ดขี น้ึ แต่ ในป่ า เขตร้ อ นยั ง ไม่ พ บว่ า ไฟมี ผ ลต่ อ การงอกของเมล็ ด Hardwick (ข้อมูลทีไ่ ม่ได้เผยแพร่) ทดสอบผลของไฟต่อ การงอกของเมล็ดโดยการเผาเมล็ดของพรรณไม้จำนวน 12 ชนิดจากป่าผลัดใบของดอยสุเทพในกระดาษหนังสือพิมพ์ ซึ่งให้ความร้อนในระดับเดียวกับการเกิดไฟป่าที่ไหม้เศษซาก ใบไม้ พบว่า เมล็ดของพรรณไม้ 7 ชนิดตายและอัตราการ งอกของเมล็ดทีเ่ หลือลดลงอย่างเห็นได้ชดั

ไฟป่ากับต้นไม้ในพืน้ ที่ เมือ่ เกิดไฟป่า กล้าไม้และลูกไม้สว่ นใหญ่จะตาย แต่ถา้ กล้าไม้เหล่านีโ้ ตพอโอกาสรอดจากการทำลายของไฟจะสูงขึน้ เมือ่ ต้นไม้โตขึน้ เปลือกหนาทีห่ มุ้ ลำต้นอยูจ่ ะเป็นฉนวนกัน้ ความ ร้อนไม่ให้ทำลายระบบลำเลียงและเนื้อเยื่อเจริญของต้นไม้ ต้นไม้ที่โตพอจะมีอาหารสะสมในระบบ รากช่วยหล่อเลี้ยง ต้นไม้ให้ฟน้ื ตัวได้เร็วขึน้ ถึงแม้สว่ นทีอ่ ยูเ่ หนือดินจะถูกทำลาย จนหมดก็ตาม ขนาดของต้นไม้ทจ่ี ะทนทานต่อการทำลาย ของไฟได้นน้ั แตกต่างกันไปตามชนิดของพรรณไม้ แต่โดย ทั่วไปแล้วต้นไม้มีเส้นผ่าศูนย์กลางคอราก 5-10 เซนติเมตร ขึ้นไปมักจะทนไฟที่มีความรุนแรงปานกลางได้

ปลูกให้เป็นป่า

49


ก า ร ฟื้ น ตั ว ข อ ง ป่ า ********************

ตอนที่ 8 - ผูอ้ ยูร่ อด โดยรวมแล้วการทีต่ น้ ไม้ชนิดต่าง ๆ ของป่าเดิมจะกลับเข้ามาเจริญเติบโตในพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลายเป็นบริเวณกว้าง และมี วัชพืชขึ้นอยู่เนื่องจากการรบกวนอย่างต่อเนื่องของมนุษย์นั้นเป็นไปได้ยากมาก อุปสรรคสำคัญที่ทำให้จำนวนและชนิดพันธุ์ ของพรรณไม้เดิมของพืน้ ทีไ่ ม่สามารถกลับเข้ามาในพืน้ ทีเ่ ดิมได้ คือ ไฟ การสูญเสียลดลง สัตว์ทท่ี ำหน้าทีก่ ระจายเมล็ดพันธุ์ การแข่งขันกับวัชพืชโดยเฉพาะพืชทีม่ าจากต่างถิน่ อย่างไรก็ตาม พรรณไม้บางชนิดสามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านัน้ และ กลับเข้ามาเจริญเติบโตในพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลายได้อกี ครัง้ ตาราง 3.1 แสดงรายชือ่ พรรณไม้ทพ่ี บได้บอ่ ย ๆ ในอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย พรรณไม้เหล่านี้ส่วนใหญ่มีเมล็ดขนาดเล็ก สามารถกระจายไปในพื้นที่ได้ง่ายด้วยลมหรือนกขนาดเล็กเป็นไม้ ผลัดใบทีเ่ จริญเติบโตได้ดใี นหลายระดับความสูง คำถามต่อไปก็คอื เราจะสามารถแก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ ทีย่ บั ยัง้ การฟืน้ ตัว ของป่าได้อย่างไร ซึง่ ในบทที่ 4 จะกล่าวถึงรายละเอียดในเรือ่ งนีอ้ กี ครัง้ ตาราง 3.1 พรรณไม้ทพ่ี บได้บอ่ ยในพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลายทีร่ ะดับความสูง 1,300 เมตร ในภาคเหนือของไทย (FORRU, ข้อมูลงานวิจยั , 2003) (ชีพลักษณ์1 : D ผลัดใบ, E ไม่ผลัดใบ, ED ผลัดใบ/ไม่ผลัดใบ, ขนาดของเมล็ด2 S เล็กน้อยกว่า 0.01 กรัม, M กลาง 0.01-0.2 กรัม และ L ใหญ่มากกว่า 0.2 กรัม, การกระจายเมล็ด3 : W เมล็ดแห้งกระจายโดยลม A ผลมีเนื้อส่วนใหญ่กระจายโดยสัตว์โดยเฉพาะนก)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia odoratissima (L. f.) Bth. Alstonia scholaris (L.) R. Br. var. scholaris Antidesma acidum Retz. Aporusa dioica (Roxb.) M.-A. Aporusa villosa (Lindl.) Baill. Aporusa wallichii Hk. f. Dalbergia cultrata Grah. ex Bth. var. cultrata Dalbergia stipulacea Roxb. Debregeasia longifolia (Burm. f.) Wedd. Dillenia parviflora Griff. var. kerrii (Craib) Hoogl. Engelhardia spicata Lechen. ex Bl. Eugenia albiflora Duth. ex Kurz Ficus hirta Vahl var. hirta Ficus hispida L. f. var. hispida Glochidion sphaerogynum (M.-A.) Kurz Litsea cubeba (Lour.) Pers. Markhamia stipulata (Wall.) Seem. ex K. Sch. Myrica esculenta B. -H. ex D. Don Phoebe lanceolata (Wall. ex Nees) Nees Phyllanthus emblica L. Pterocarpus macrocarpus Kurz Schima wallichii (DC.) Korth. Sterculia villosa Roxb Stereospermum colais (B.-H. ex Dillw.) Mabb. Styrax benzoides Craib Trema orientalis (L.) Bl.

50

ปลูกให้เป็นป่า

วงศ์ Leguminosae (Mimosoideae) Apocynaceae Euphorbiaceae Euphorbiaceae Euphorbiaceae Euphorbiaceae Leguminosae (Papilionoideae) Leguminosae (Papilionoideae) Urticaceae Dilleniaceae Juglandaceae Myrtaceae Moraceae Moraceae Euphorbiaceae Lauraceae Bignoniaceae Myricaceae Lauraceae Euphorbiaceae Leguminosae (Papilionoideae) Theaceae Sterculiaceae Bignoniaceae Styracaceae Ulmaceae

ระดับความสูง ชีพลักษณ์1 ขนาดของ (เมตร) เมล็ด2

การกระจาย เมล็ด3

350-1525

D

M

W

350-1150 400-1525 475-900 500-1500 500-1400 350-700

D D D D D D

M M M M M L

W A A A A W

500-1400

D

L

W

525-1685 375-1000 850-1650 800-1525 350-1150 350-1525 600-1100 1100-1685 950-1550 1300-1500 550-1550 600-1620 350-900

E D D E E ED D E D E E D D

S M M L S S S M M S L M M

A A W A A A A A W A A A W

600-1620 600-1575 900-1275 600-1650 1050-1500

E D D E ED

M M S L M

W W W A A


บทที่ 4

การเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ **************************

การเร่งให้เกิดการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ ดูแลสิ่งที่มีอยู่ การเพิม่ ปริมาณเมล็ดพันธุใ์ นพืน้ ที่


การปลูกต้นไม้อาจไม่จำเป็นเสมอไป พื้นที่นี้ล้อมรอบด้วย ป่าทีส่ มบูรณ์ทเ่ี ป็น แหล่งของเมล็ดพันธุไ์ ม้ ป่าที่อยู่ใกล้ ๆ เป็นที่ อาศัยให้แก่สัตว์ที่ช่วย กระจายเมล็ด

ตอไม้ทแ่ี ตกยอดใหม่ทำให้การฟืน้ ตัว เกิดได้เร็วขึน้

กล้าไม้และลูกไม้ธรรมชาติ ในพืน้ ทีม่ อี ยูม่ าก

พื้นที่นี้เพิ่งถูกตัดไม้ออกไปและไม่ เคยถูกใช้เป็นพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม ดังนัน้ ในดินจึงยังมีเมล็ดไม้ จากป่าดังเดิมอยู่

บางครัง้ การปลูกต้นไม้อาจไม่ใช่สง่ิ ทีจ่ ำเป็นสำหรับการฟืน้ ฟูปา่ พืน้ ทีป่ า่ ฝนเสือ่ มโทรมในภาคใต้ของไทยทีเ่ ห็นในภาพมีขนาดเล็ก เมล็ดจากพืน้ ทีใ่ กล้เคียง สามารถเข้ามาถึงใจกลางพืน้ ทีไ่ ด้ ดังนัน้ ถ้ามีชนิดต้นไม้ทง่ี อกจากเมล็ด ลูกไม้ หรือตอไม้จำนวนมากพออาจไม่จำเป็นต้องปลูกต้นไม้ อย่างไรก็ตามถ้าจำนวน ชนิดของต้นไม้ทพ่ี บน้อยเกินไปอาจปลูกพรรณไม้โครงสร้างเสริมลงในพืน้ ทีด่ ว้ ย (บทที่ 5)


ก* * า* *ร* เ* *ร่*ง* *ก* *า *ร* *ฟื*้ *น* ตั* * ว* *ต* *า* ม* *ธ* *ร* ร* *ม* *ช* *า *ติ*

การเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ เมือ่ รูจ้ กั ต้นไม้ทำ ให้เข้าใจถึงความหมายของคำว่าอดทน เมือ่ รูจ้ กั หญ้า ทำให้ซาบซึง้ กับคำว่าทรหด - นิรนาม ในบทที่ 3 ได้กล่าวถึงปัจจัยต่าง ๆ ทีย่ บั ยัง้ การฟืน้ ตัวตามธรรมชาติของพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลายขนาดใหญ่ ขัน้ ต่อไปคือการวาง แผนเลือกวิธกี ารทีเ่ หมาะสมเพือ่ ลดข้อจำกัดเหล่านัน้ ซึง่ อาจต้องใช้หลาย ๆ วิธรี ว่ มกันให้มปี ระสิทธิภาพสูงสุด โดยรวม ๆ แล้ว วิธกี ารทัง้ หมดทีใ่ ช้นร้ี วมเรียกว่า “การเร่งให้เกิดการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ (Accelerated Natural Regeneration; ANR)

ตอนที่ 1 - การเร่งให้เกิดการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ การเร่งให้เกิดการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติหมายถึง กิจกรรม ทุกอย่างทีท่ ำขึน้ เพือ่ เพิม่ หรือเร่งกระบวนการฟืน้ ตัวตามธรรม ชาติของป่า ได้แก่ การส่งเสริมการเจริญเติบโตของกล้าไม้ที่ มีอยูแ่ ละทำให้มกี ล้าไม้ในพืน้ ทีม่ ากขึน้ ในขณะเดียวกันก็ ช่วยปกป้องลูกไม้ที่มีอยู่เดิมไม่ให้ได้รับอันตรายจากปัจจัย ต่าง ๆ เช่น การแข่งขันกับวัชพืช สัตว์ หรือไฟป่า เป็นต้น เนือ่ งจากการเร่งให้เกิดการฟืน้ ตัวตามธรรมชาตินน้ั อาศัย กระบวนการทีเ่ กิดขึน้ ตามธรรมชาติจงึ ใช้แรงงานน้อยกว่าการ ปลูกป่าและเป็นวิธีการฟื้นฟูป่าที่ใช้ทุนน้อย อย่างไรก็ตาม วิธกี ารทัง้ 2 ไม่ถอื เป็นการฟืน้ ฟูปา่ ทีแ่ ยกจากกันอย่างเด็ด ขาดเพราะการฟืน้ ฟูปา่ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพนัน้ ต้องอาศัยวิธกี ารทัง้ สองแบบร่วมกัน ในบางพื้นที่การใช้การเร่งให้เกิดการฟื้นตัว ตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว อาจเพียงพอที่จะทำให้ระบบ นิเวศฟืน้ ตัวได้ แต่การปลูกต้นไม้เพือ่ ฟืน้ ฟูระบบนิเวศนัน้ ควรใช้วิธี การเร่งให้เกิดการฟื้นตัวตามธรรมชาติที่เหมาะสม ร่วมด้วยเสมอ

พืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสำหรับการเร่งการฟืน้ ตัวตาม ธรรมชาติ การเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติเหมาะกับพืน้ ทีท่ ม่ี กี ระบวน การฟื้นตัวของป่าตามธรรมชาติอยู่บ้างแล้วไม่มากก็น้อยเช่น มีแม่ไม้ทใ่ี ห้เมล็ดอยูใ่ นพืน้ ทีใ่ กล้เคียง สัตว์ทท่ี ำหน้าทีก่ ระ จายเมล็ดอาศัยอยูร่ อบ ๆ โดยเฉพาะพืน้ ทีท่ ม่ี ลี กู ไม้ธรรม ชาติ มีตอไม้ที่แตกยอดใหม่อยู่จำนวนมากพื้นที่ที่มีลักษณะ ตามทีก่ ล่าวมาจะเหมาะทีส่ ดุ ในการทำการเร่งให้เกิดการฟืน้ ตัว ตามธรรมชาติ การประเมินสภาพเบือ้ งต้นของพืน้ ทีจ่ งึ มี

ความจำเป็นเพราะ ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยในการตัดสินใจว่า การเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติอย่างเดียวเพียงพอสำหรับจะ ทำให้ป่าฟื้นตัวได้ด้วยตนเองหรือไม่และวิธีการแบบใดจะเร่ง ทำให้เกิดกระบวนการดังกล่าวได้ดีที่สุด การประเมินสภาพพืน้ ทีป่ ระกอบด้วย 1) ประเมินศักยภาพของพืน้ ทีใ่ นการฟืน้ ตัวตาม ธรรมชาติของป่า 2) วิเคราะห์วา่ ปัจจัยทีอ่ าจยับยัง้ ไม่ให้ปา่ เกิด การฟื้นตัวตามธรรมชาติ นอกจากการเก็บข้อมูลในภาคสนามแล้วจะต้องมีการเก็บ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชาวบ้านในท้องทีเ่ พือ่ นำข้อมูลทีไ่ ด้มา วิเคราะห์รว่ มกันด้วย ข้อมูลทีต่ อ้ งการ เช่น Ê ลูกไม้และตอไม้เดิมในพื้นที่มีความหนาแน่น เท่าไรและมีการกระจายอย่างสม่ำเสมอทัว่ ทัง้ พืน้ ทีห่ รืออยูเ่ ป็นกลุม่ ๆ เฉพาะบางส่วนของ พืน้ ที่ ป่าในพื้นที่ดังกล่าวถูกทำลายมานานเท่าไหร่ Ê และในช่วงที่ผ่านมามีการใช้พื้นที่อย่างไรบ้าง มีรอ่ งรอยของไฟในพืน้ ทีห่ รือไม่ เช่น ถามชาว Ê บ้านว่าพื้นที่ดังกล่าวมีไฟเข้าบ่อยแค่ไหน Ê มีร่องรอยว่าปศุสัตว์เข้ามาใช้พื้นที่หรือไม่ สอบ ถามชาวบ้านเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ระยะทางจากพื้นที่ดังกล่าวไปยังแม่ไม้ที่ Ê เป็นแหล่งของเมล็ดพันธุ์ สัตว์ทท่ี ำหน้าทีก่ ระจายเมล็ดพันธุ์ เช่น นกและ Ê สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยังมีอยู่ในพื้นที่หรือไม่

ปลูกให้เป็นป่า

53


ก า ร เ ร่ ง ก า ร ฟื้ น ตั ว ต า ม ธ ร ร ม ช า ติ **************************************

จุดเริม่ ตน ไมใช

ความหนาแนนเฉลี่ยของตนไม มากกวา 250 ตน/ไร และ ลูกไม/ตอไมทแี่ ตกยอดใหม สวนใหญสูงกวา 1 เมตร

มีบางสวนของพื้นทีม่ ีความ พื้นทีป่ าอยูในรัศมี 1 กิโลเมตร ไม ใ ช หนาแนนของตนไมมากกวา และยังมีสัตวที่ทาํ การกระจาย ไมใช 250 ตน/ไร เมล็ดอยูมาก ใช ไมใช ปลูกพรรณไมโครงสรางเสริม ใช สวนที่มี สวนทีไ่ มมี รวมกับวิธี ANR ตนไมมาก ตนไม ใช มีตนไมมากกวา 30 ชนิด

ถ้าหากไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องปลูกต้นไม้เพิม่ ในพืน้ ทีห่ รือไม่ แผนผัง ด้านบนเป็นแนวทางที่ช่วยในการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจ ครัง้ สุดท้ายขึน้ อยูก่ บั ข้อมูลทีไ่ ด้จากการสำรวจพืน้ ทีเ่ ป็นหลัก

สามารถปองกันพื้นที่ จากไฟและปศุสตั วได หรือไม

ใช

ไมใช

ปลูกให้เป็นป่า

อยางเดียว เพียงพอทีจ่ ะ ฟนฟูปา ได

ANR

ประสานงานรวมมือกับชาวบานใน ทองถิ่นเกี่ยวกับการปองกันไฟและปศุ สัตวกอนเริ่มใช ANR

ความหนาแน่นของลูกไม้และตอไม้เป็นข้อมูลทีส่ ำคัญทีจ่ ะ บอกได้วา่ การเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียวเพียง พอทีจ่ ะทำให้พน้ื ทีฟ่ น้ื ตัวกลับมาเป็นป่าได้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับขนาดของลูกไม้และตอไม้ทม่ี อี ยูด่ ว้ ย ลูกไม้ที่ต้นสูงแล้วมีโอกาสรอดได้มากกว่าลูกไม้ขนาดเล็ก โดยอัตรารอดของลูกไม้เหล่านีจ้ ะเพิม่ ขึน้ อย่างเห็นได้ชดั เมือ่ มี ความสูงมากกว่าระดับของวัชพืช ดังนัน้ เมือ่ ทำการสำรวจพืน้ ที่ ควรจะเก็บข้อมูลความสูงของลูกไม้เทียบกับความสูงของวัชพืช เช่น วัดว่ายอดไม้อยูส่ งู หรือต่ำกว่ายอดวัชพืชเป็นระยะเท่าไร หรืออาจบันทึกเพียงว่าลูกไม้สงู หรือเตีย้ กว่าวัชพืชก็ได้ โดยทัว่ ไปแล้วถ้าหากความหนาแน่นรวมของลูกไม้และตอ ไม้ทแ่ี ตกยอดใหม่ทม่ี คี วามสูงมากกว่า 1 เมตร มีจำนวนมาก กว่า 250 ต้น/ไร่ (ระยะห่างระหว่างต้นเฉลี่ย 2.5 เมตร) การเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติอาจเพียงพอสำหรับฟืน้ ฟูโครง สร้างของป่านัน้ ได้ ในเวลา 5 ปี ถ้าพืน้ ทีด่ งั กล่าวไม่ได้รบั การ รบกวนจากไฟ ปศุสตั ว์ หรือปัจจัยอืน่ ๆ แต่ในพืน้ ทีท่ ม่ี ี ความหนาแน่นของต้นไม้นอ้ ยกว่านัน้ วิธกี ารนีเ้ พียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอทีจ่ ะทำให้ระบบนิเวศฟืน้ ตัวได้ นอกจากว่าพืน้ ทีด่ งั กล่าวจะอยูต่ ดิ กับพืน้ ทีป่ า่ ทีย่ งั สมบูรณ์และมีสตั ว์ทท่ี ำหน้า ทีก่ ระจายเมล็ดพันธุอ์ ยูม่ าก ถ้าพืน้ ทีน่ น้ั อยูห่ า่ งไกลจากพืน้ ที่ ป่าอืน่ ๆ ต้องมีการปลูกต้นไม้เสริมร่วมด้วย การปลูกต้นไม้ เสริมนัน้ อาจจะแตกต่างกันในส่วนต่าง ๆ ของพืน้ ที่ โดย

54

ใช

ในพืน้ ทีท่ ล่ี กู ไม้และกล้าไม้ธรรมชาติอยูม่ าก เช่น บริเวณใกล้ ชายป่าหรือใกล้ตน้ ไม้ทเ่ี ป็นแม่ไม้อาจไม่จำเป็นต้องปลูกต้นไม้ เพิม่ แต่ในพืน้ ทีท่ ก่ี ล้าไม้ธรรมชาติมโี อกาสเข้ามาในพืน้ ทีไ่ ด้ น้อย เช่น บริเวณใจกลางของพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลายขนาดใหญ่ การปลูกไม้เสริมร่วมกับการเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติอาจ มีความจำเป็น

ข้อจำกัดของการเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ การเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติเป็นวิธกี ารทีใ่ ช้ได้ผลดีกบั พืน้ ทีท่ ป่ี า่ ถูกทำลายซึง่ มีตน้ ไม้เหลืออยูบ่ า้ ง แต่ตน้ ไม้ทม่ี อี ยู่ ในพืน้ ทีล่ กั ษณะนีม้ กั เป็นพรรณไม้เบิกนำทีช่ อบแสง (ดูบทที่ 3 ตอนที่ 1) ซึง่ กระจายเมล็ดด้วยลมและนกขนาดเล็ก พรรณ ไม้เหล่านีเ้ ป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของพรรณไม้นานาชนิดทีม่ อี ยู่ ในป่าทีส่ มบูรณ์เท่านัน้ ดังนัน้ แม้วา่ วิธกี ารนีจ้ ะสามารถทำให้ ต้นไม้กลับมาขึน้ ในพืน้ ทีด่ งั กล่าวและฟืน้ ฟูโครงสร้างของป่าได้ บางส่วน แต่ถา้ ต้องการให้พน้ื ทีน่ น้ั กลับมามีความหลากหลาย ทางชีวภาพในระดับเดิมควรต้องมีการปลูกต้นไม้ทม่ี เี มล็ดขนาด ใหญ่ซง่ึ เป็นพวกไม้เสถียรเสริมเพือ่ ให้ปา่ ทีฟ่ น้ื ตัวจากการเร่งการ ฟืน้ ตัวตามธรรมชาติกลับมาเป็นป่าทีส่ มบูรณ์ได้เร็วขึน้


ก* * า* *ร* เ* *ร่*ง* *ก* *า *ร* *ฟื*้ *น* ตั* * ว* *ต* *า* ม* *ธ* *ร* ร* *ม* *ช* *า *ติ*

ตอนที่ 2 - ดูแลสิง่ ทีม่ อี ยู่ วิธกี ารเร่งให้เกิดการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติของป่าทีม่ กี ารทด ลองและนำมาใช้มากทีส่ ดุ คือการเพิม่ อัตราการรอดชีวติ และการ เจริญเติบโตของไม้ตน้ ทีม่ อี ยูแ่ ล้วในพืน้ ที่ โดยพยายาม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของ กล้าไม้ ลูกไม้ และตอไม้ที่แตกใหม่ และป้องกันอันตรายที่ อาจเกิดขึน้ กับต้นไม้เหล่านัน้

เร่งให้ตอไม้แตกยอดใหม่ ในพืน้ ทีป่ า่ เขตร้อนทางภาคเหนือของประเทศไทยเมือ่ ป่าถูก ทำลายถ้าหากยังมีตอไม้เก่าหลงเหลืออยู่ พื้นที่จะฟื้นตัวได้ ค่อนข้างเร็ว ต้นไม้ทแ่ี ตกยอดจากตอไม้นน้ั เจริญเติบโต ขึน้ เป็นไม้ใหญ่ได้เร็วกว่าลูกไม้หรือกล้าไม้ เพราะต้นไม้ เหล่านีส้ ามารถดึงอาหารทีส่ ะสมไว้ในระบบรากของต้นเดิมมา ใช้ในการเจริญเติบโตได้ นอกจากนัน้ ยังทนทานต่อความ แห้งแล้งได้ดีกว่ากล้าไม้เพราะระบบรากที่แข็งแรง สามารถ แข่งขันกับวัชพืชได้ดี ระดับของยอดทีแ่ ตกใหม่มกั อยูเ่ หนือ ระดับของวัชพืชทำให้ต้นไม้ส่วนใหญ่ที่แตกจากตอเดิมไม่ได้ รับผลกระทบจากไฟหรือถ้าได้รบั ผลกระทบก็จะฟืน้ ตัวได้เร็ว อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกีย่ วกับการกระตุน้ ให้ตอไม้ เกิดการแตกยอดใหม่นน้ั ยังมีนอ้ ยมาก โดยทัว่ ไปจะแนะนำ เพียงว่าตอไม้ตอ้ งได้รบั การดูแล ไม่ควรตัด เผา หรือปล่อย ให้สตั ว์มากัดกิน แต่ยงั ไม่มกี ารศึกษาถึงวิธกี ารทีจ่ ะช่วย เร่งการเจริญของตอไม้ เช่น จะใช้ฮอร์โมนเร่งการแตกยอด หรือไม่ ควรใช้สารเคมีเพือ่ ป้องกันการเกิด เชื้อราหรือการเข้าทำลายของปลวก หรือไม่ การใช้วสั ดุคลุมดินหรือ ใส่ปุ๋ยแก่ตอไม้จะให้ผลเช่นเดียว กั บ เมื ่ อ ใช้ ใ นการปลู ก กล้ า ไม้ ห รื อ ไม่ หรือการตัดแต่งยอดขนาดเล็กที่ อ่อนแอออกจะทำให้ยอดที่เหลือ อยูเ่ จริญเติบโตดีขน้ึ หรือไม่ คำถาม เหล่านีล้ ว้ นแต่ยงั เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งทำ การศึกษาวิจัยต่อไป

ลดการแข่งขันกับวัชพืช การกำจัดวัชพืชเพือ่ ลดการแข่งขันระหว่างหญ้ากับต้นไม้ท่ี มีอยูแ่ ล้วตามธรรมชาติยอ่ มให้ผลดีเช่นเดียวกับการกำจัดวัชพืช ให้แก่กล้าไม้ทเ่ี ราปลูก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงฤดูฝน การกำจัดวัชพืชทำให้กล้าไม้และลูกไม้ขนาดเล็กมีโอกาสเติบ โตได้ดขี น้ึ แต่ในช่วงฤดูแล้งการมีวชั พืชอยูด่ ว้ ยอาจให้ผลดี แก่กล้าไม้เหล่านั้นในแง่ของการให้ร่มเงาและป้องกันไม่ให้ ต้นกล้าแห้งตาย (Hardwick, 2000) อย่างไรก็ตาม การมี วัชพืชอยู่ในพื้นที่จะทำให้ความเสี่ยงของการเกิดไฟป่าสูงขึ้น จึงต้องมีการชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสียดังกล่าวด้วย สำหรับต้นไม้ทแ่ี ตกมาจากตอเดิมการกำจัดวัชพืชอาจไม่จำเป็น นักเนือ่ งจากต้นไม้พวกนีม้ กั มีความสูงมากกว่าวัชพืช และ ในขณะเดียวกันก็มรี ะบบรากทีพ่ ฒ ั นาดีอยูล่ กึ ลงไปจากระดับ รากของวัชพืชที่เป็นไม้ล้มลุกอยู่แล้ว ก่อนกำจัดวัชพืชควรทำเครือ่ งหมายต้นไม้และลูกไม้ในพืน้ ทีด่ ว้ ยเสาหรือเทปสีสด ๆ เพือ่ ให้สงั เกตได้งา่ ยเป็นการ ป้องกันไม่ให้ต้นกล้าเหล่านั้นถูกเหยียบหรือตัดทิ้งโดยไม่ได้ ตัง้ ใจ ในการกำจัดวัชพืชควรเริม่ จากบริเวณรอบ ๆ ต้นของ ต้นไม้ทท่ี ำเครือ่ งหมายก่อน จากนัน้ จึงค่อยทำในพืน้ ทีท่ ่ี เหลือ รอบกล้าไม้ขนาดเล็กควรกำจัดวัชพืชโดยใช้มอื ดึง เพราะการใช้เครือ่ งมือขุดอาจทำให้ระบบรากทีบ่ อบบางเกิดความ เสียหายได้ รายละเอียดวีธกี ารกำจัดวัชพืชทีเ่ หมาะสม สามารถดูได้ทบ่ี ทที่ 7 ตอนที่ 3 การกำจัดวัชพืชโดยการทับ ให้ลม้ เป็นวิธกี ารทีก่ ำลัง ได้รบั ความนิยม

ปลูกให้เป็นป่า

55


ก า ร เ ร่ ง ก า ร ฟื้ น ตั ว ต า ม ธ ร ร ม ช า ติ **************************************

การกำจัดวัชพืชวิธหี นึง่ ทีเ่ หมาะสำหรับการเร่งการฟืน้ ตัวตาม ธรรมชาติ คือการทับวัชพืชให้ลม้ ไปกับดินโดยใช้แผ่นกระดาน กดไปรอบ ๆ โคนต้นไม้แทนการตัดหรือถอนออก วิธกี ารนี้ ไม่ได้ทำให้วชั พืชตายในทันที แต่ทกุ ครัง้ ทีว่ ชั พืชหักล้มไปเมือ่ แตกขึน้ มาใหม่จะต้องดึงอาหารทีส่ ะสมไว้ในระบบรากขึน้ มาใช้ ถ้าหากวัชพืชถูกทำให้ลม้ หลาย ๆ ครัง้ เข้า อาหารทีส่ ะสมไว้จะ หมดไปและวัชพืชจะตายในทีส่ ดุ การทับวัชพืชให้ลม้ นัน้ ยังไม่ รบกวนดินและระบบรากของกล้าไม้ดว้ ย วัชพืชทีล่ ม้ ยังช่วย คลุมดินไว้เป็นการป้องกันไม่ให้เมล็ดวัชพืชทีต่ อ้ งการแสงงอก ได้อีกด้วย วิธีการนี้เหมาะมากในการกำจัดหญ้าและเฟิร์น วิธนี ท้ี ำได้โดยใช้แผ่นกระดานไม้ทม่ี นี ำ้ หนักเบาแต่แข็งแรง (ขนาดประมาณ 5 ซม. x 25 ซม. x 130 ซม.) เลือ่ ยปลายทัง้ สองด้านให้เว้าเป็นครึง่ วงกลมเพือ่ ให้เข้าไปใกล้บริเวณโคนต้นกล้า ได้ดขี น้ึ มัดเชือกติดปลายทัง้ สองด้านโดยให้เชือกมีความยาว พอทีจ่ ะคล้องไหล่ได้เมือ่ วางกระดานกับพืน้ วางแผ่นกระดานนี้ ลงบนวัชพืชแล้วเหยียบโดยทิง้ น้ำหนักตัวทัง้ หมดลงไป ค่อย ๆ ขยับหมุนแผ่นกระดานไปรอบ ๆ ต้นกล้าพร้อมกับเหยียบให้ วัชพืชล้ม (ดูรายละเอียดที่ http://www.fs.fed.us/

ปศุสตั ว์ในพืน้ ที่ ในการตัดสินใจว่าจะลดจำนวนปศุสตั ว์ลง หรือไม่ให้มปี ศุ สัตว์ในพืน้ ทีเ่ ลยนัน้ ต้องคำนึงถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจของปศุสตั ว์ ต่อชุมชนและผลเสียทีฝ่ งู สัตว์อาจทำให้เกิดขึน้ ต่อต้นไม้ทก่ี ำลัง ขึน้ แล้วจึงตัดสินใจ ในประเทศเนปาลชาวบ้านจะไม่ปล่อยให้ปศุสตั ว์เข้าไปหากิน เองในพืน้ ทีป่ า่ ชุมชน แต่ใช้วธิ เี ข้าไปเก็บเกีย่ วพืชอาหารสัตว์ ออกมาให้สตั ว์เลีย้ งทีบ่ า้ น วิธกี ารนีน้ อกจากลดความเสีย่ งที่ ฝูงสัตว์จะทำความเสียหายให้แก่ตน้ ไม้แล้วยังช่วยกำจัดวัชพืช ในป่าด้วย แต่ในอเมริกากลางการทำปศุสตั ว์ถอื เป็นเครือ่ งมือ สำคัญของการจัดการพืน้ ทีใ่ นช่วงแรกของการฟืน้ ฟูปา่ พวกมัน ถูกเรียกว่า “เครือ่ งตัดหญ้ามีชวี ติ ” ทีน่ อกจากจะช่วยควบคุม วัชพืชและทำให้ต้นไม้ที่อายุยังน้อยโตได้ดีขึ้นแล้วยังช่วย กระจายเมล็ดพันธุข์ องไม้เด่นบางชนิดในพืน้ ทีอ่ กี ด้วย

การป้องกันไฟจากพืน้ ที่

psw/publications/documents/other/3.pdf)

วิธกี ารดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการกำจัดหญ้า คา เพื่อเร่งการฟื้นตัวของพื้นที่ป่าในฟิลิปปินส์หลังจากการ ทำไร่เลือ่ นลอย (Sajise, 1972)

ไมคอไรซากับการเจริญเติบโตของต้นไม้ ในบทที่ 3 ตอนที่ 6 ได้กล่าวถึงความสำคัญของไมคอไรซา สำหรับไม้ตน้ ในเขตร้อนไปแล้ว และทำให้เกิดคำถามตาม มาว่าถ้าเราเติมเชื้อไมคอไรซาให้แก่ต้นไม้ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ต้นไม้ดงั กล่าวจะโตดีขน้ึ หรือไม่ ในปัจจุบนั มีการผลิตสปอร์ไมคอไรซาออกขายในเชิงการค้า ซึง่ ปกติจะอยูใ่ นรูปของสปอร์จากราไมคอไรซาหลายชนิดเคลือบ อยูบ่ นวัสดุยดึ อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีการทดสอบว่า ไมคอไรซาจะสามารถทำให้กล้าไม้ธรรมชาติในพืน้ ทีเ่ จริญเติบ โตได้ ด ี ข ึ ้ น หรื อ ไม่ จึ ง เป็ น เรื ่ อ งที ่ ค วรศึ ก ษากั น ต่ อ ไป

56

ปลูกให้เป็นป่า

ดังได้กล่าวไปแล้วในบทที่ 3 ตอนที่ 7 ว่า ไฟเป็นตัวการ สำคัญทีย่ บั ยัง้ การฟืน้ ตัวของป่าในเขตร้อนทีม่ คี วามชืน้ ต่ำ ใน พืน้ ทีท่ ม่ี คี วามเสีย่ งในการเกิดไฟสูง เมือ่ ต้องการเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติการป้องกันไฟจึงเป็นสิง่ ทีจ่ ำเป็น โดยต้อง ถางแนวกันไฟรอบ ๆ พืน้ ทีต่ ง้ั แต่ในช่วงต้นฤดูแล้ง และต้อง มีการระวังไฟและเตรียมพร้อมสำหรับดับไฟจนกว่าจะเข้าฤดู ฝน ซึง่ เทคนิคในการดูแลป้องกันพืน้ ทีจ่ ากไฟป่าจะได้กล่าว โดยละเอียดอีกครัง้ ในบทที่ 7

วิธกี ารอืน่ ทีช่ ว่ ยเร่งการเจริญเติบโตของต้นไม้ การใช้วสั ดุคลุมโคนต้นและการใส่ปยุ๋ ทีใ่ ช้สำหรับการปลูก กล้าไม้ (ดูรายละเอียดในบทที่ 7) สามารถนำมาใช้เพิม่ อัตรา รอดชีวิตและการเจริญเติบโตของต้นไม้ในธรรมชาติได้เช่น เดียวกัน วิธกี ารดังกล่าวใช้กบั ต้นไม้ทอ่ี ายุนอ้ ยและมีขนาด เล็กได้ผลมากกว่าต้นไม้ขนาดใหญ่ เนือ่ งจากต้นไม้ทโ่ี ตแล้ว มักมีระบบรากที่ลึกและแข็งแรงพอที่จะเลี้ยงลำต้นได้อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปยุ๋ หรือคลุมดินให้กบั ลูกไม้ทโ่ี ตแล้วหรือ ต้นทีแ่ ตกใหม่จากตอไม้


ก* * า* *ร* เ* *ร่*ง* *ก* *า *ร* *ฟื*้ *น* ตั* * ว* *ต* *า* ม* *ธ* *ร* ร* *ม* *ช* *า *ติ*

ตอนที่ 3 - การเพิม่ ปริมาณเมล็ดพันธุใ์ นพืน้ ที่ ป่าทีถ่ กู บุกรุกและถูกทำลายมาเป็นเวลานานนัน้ ปริมาณของ ต้นไม้เดิม ต้นกล้า และเมล็ดพันธุท์ ฝ่ี งั ตัวอยูใ่ นพืน้ ดินมักมี ปริมาณน้อยหรืออาจไม่เหลืออยูเ่ ลย ในพืน้ ทีล่ กั ษณะนี้ การฟื้นตัวโดยธรรมชาติจะขึ้นอยู่กับปริมาณเมล็ดไม้ที่เข้ามา ใหม่ในแต่ละปีเป็นหลัก

การสร้างกล่องเป็นโพรงเทียมอาจช่วยดึงดูด ให้คา้ งคาวกินผลไม้เข้ามาอาศัยในพืน้ ที่ ค้างคาวมักจะถ่ายมูลระหว่างบินทำให้ กระจายเมล็ดได้ดี

การนำสัตว์ทช่ี ว่ ยกระจายเมล็ดพันธุก์ ลับมา เราสามารถทีจ่ ะเพิม่ ปริมาณเมล็ดพันธุภ์ ายในพืน้ ทีไ่ ด้ดว้ ย วิ ธ ี ง ่ า ย ๆ โดยการสร้ า งสิ ่ ง ที ่ ล ่ อ ให้ ส ั ต ว์ ท ี ่ ก ระจาย เมล็ดพันธุ์ เช่นนกและค้างคาวกินผลไม้กลับเข้ามา ในพืน้ ที่ จอร์ จ เกล ได้ ศ ึ ก ษาผลของการสร้ า ง คอนเทียมโดยการปักไม้เพื่อให้นกลงเกาะใน พื้นที่แปลงปลูกป่าของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า พบว่ า สามารถเพิ ่ ม ปริ ม าณเมล็ ด อย่ า ง ชั ด เจน (ดู ก รอบที ่ 4.1) และถ้ า หากย้ า ย เสาที ่ ป ั ก ไว้ ไ ปรอบ ๆ พื ้ น ที ่ ก ็ จ ะทำให้ เมล็ดที่นกนำกลับเข้ามานี้กระจายตัวได้ดียิ่งขึ้น การใส่เหยื่อล่อลงบนเสาจะยิ่งดึงดูดสัตว์ได้เพิ่มมากขึ้นแต่ ค่อนข้างเปลืองแรงงาน ในบริเวณด้านล่างของเสาที่ปักควรมี การถางวัชพืชออกเพือ่ เพิม่ อัตราการรอดของต้นกล้าทีง่ อกขึน้ มาใหม่การติดตั้งบ้านนกเทียมในพื้นที่อาจให้ผลในลักษณะ เดียวกัน การสร้างโพรงเทียมเป็นอีกวิธหี นึง่ ทีอ่ าจช่วยดึงดูดสัตว์ ประเภทค้างคาวกินผลไม้ให้เข้ามาในพืน้ ที่ โดยโพรงเทียม นัน้ ต้องมีลกั ษณะทีด่ งึ ดูดค้างคาวชนิดทีต่ อ้ งการได้ดี เช่น สร้างขึ้นจากไม้และมีทางเข้าออกที่พอดีกับตัวค้างคาวชนิดที่ ต้องการ นำไปแขวนไว้กบั ต้นไม้หรือติดตัง้ บนเสาสูง ราย ละเอียดในการทำโพรงเทียมสามารถดูได้จาก http:// www.dnr.state.md.us wildlife/batboxes.html

กล้าไม้ทง่ี อกจากเมล็ด ซึง่ ค้างคาวนำเข้ามา

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบนั ยังไม่เคยมีการศึกษาถึงผลของ โพรงเทียมนี้ต่อการฟื้นตัวของป่า ไม้พมุ่ และต้นไม้ทเ่ี หลืออยูใ่ นพืน้ ทีเ่ ป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ จะช่วยดึงดูดให้สตั ว์ทก่ี ระจายเมล็ดพันธุเ์ ข้ามา ดังนัน้ การ ดูแลรักษาต้นไม้ทม่ี เี หลืออยูจ่ งึ เป็นอีกสิง่ หนึง่ ทีช่ ว่ ยให้ปริมาณ เมล็ ด ที ่ จ ะถู ก นำกลั บ มาในพื ้ น ที ่ เ พิ ่ ม ขึ ้ น ด้ ว ย

ปลูกให้เป็นป่า

57


ก า ร เ ร่ ง ก า ร ฟื้ น ตั ว ต า ม ธ ร ร ม ช า ติ **************************************

สัตว์ใหญ่กบั การกระจายเมล็ดพันธุ์ ตามทีไ่ ด้กล่าวไว้แล้วในบทที่ 3 สัตว์ใหญ่ทท่ี ำหน้าที่ กระจายเมล็ดพันธุใ์ นป่า เช่น ช้าง แรด และวัวป่า ได้สญ ู พันธุไ์ ปจากหลาย ๆ พืน้ ทีท่ พ่ี วกมันเคยอาศัยอยูห่ รือมีจำ นวนลดลงอย่างมาก ถ้าหากเราสามารถนำสัตว์เหล่านี้กลับ มาได้ย่อมหมายถึงการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างคนปลูกต้นไม้ และการใส่ปยุ๋ ไปพร้อม ๆ กัน แต่การนำสัตว์ใหญ่เหล่านี้ กลับเข้ามามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด การนำสัตว์ใหญ่กลับมานัน้ เป็นสิง่ ทีท่ ำได้ยากมีคา่ ใช้จา่ ย สูงและจะคุม้ ค่ากับความพยายามก็ตอ่ เมือ่ ต้นเหตุทท่ี ำให้สตั ว์ เหล่านัน้ สูญพันธุไ์ ด้รบั การแก้ไขแล้ว เช่น ชาวบ้านจะต้อง ไม่ล่าสัตว์เหล่านั้นอีก การปล่อยให้สตั ว์ทเ่ี คยอยูใ่ นสภาพกรงเลีย้ งกลับไปอยูใ่ น ธรรมชาติอาจเกิดปัญหาได้หลายอย่าง เนือ่ งจากสัตว์ เหล่านีม้ กั สูญเสียทักษะทีต่ อ้ งใช้ในการดำรงชีวติ ในป่าไปแล้ว ดังนั้น ก่อนปล่อยจะต้องเตรียมสัตว์ให้พร้อมกับสภาพแวด ล้อมทีจ่ ะอาศัยอยู่ ซึง่ ต้องใช้เวลานาน แม้แต่การย้ายสัตว์ ป่าจากพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ซง่ึ มีประชากรมากมายังทีใ่ หม่กไ็ ม่ใช่เรือ่ ง ง่าย เพราะความเสี่ยงที่สัตว์จะบาดเจ็บหรือตายระหว่างการ จับและขนย้ายนั้นค่อนข้างสูง ทั้งอาจมีผลกระทบต่อจำนวน ประชากรทีเ่ หลืออยูอ่ กี ด้วย ฉะนัน้ ทุกครัง้ ทีม่ โี ครงการ ปล่อยสัตว์กลับคืนสู่ป่าจะต้องมีการติดตามดูแลสุขภาพของ สัตว์และวางแผนการจัดการเพื่อรักษาความหลากหลายทาง

พันธุกรรมในประชากรขนาดเล็กอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญต้อง ป้องกันไม่ให้มีการล่าสัตว์ดังกล่าวในพื้นที่อีก นอกจากปัญหาทางเทคนิคแล้ว ชาวบ้านในพืน้ ทีอ่ าจต่อ ต้านการนำสัตว์ใหญ่มาปล่อย เพราะสัตว์เหล่านีอ้ าจเข้าไป ทำลายพืชผลทางการเกษตร หาอาหารแข่งกับสัตว์เลีย้ ง หรื อ แม้ ก ระทั ่ ง ก่ อ อั น ตรายให้ ก ั บ ประชากรในพื ้ น ที ่ ไ ด้ แม้จะเป็นเรือ่ งยากแต่การปล่อยสัตว์ใหญ่คนื สูป่ า่ อาจประสบ ความสำเร็จได้ เช่น การปล่อยช้างบ้านคืนสูป่ า่ ในภาคเหนือ ของไทย วิธนี จ้ี งึ ยังเป็นอีกทางเลือกหนึง่ ทีอ่ าจนำมาใช้ในการ เร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ สำหรับผูส้ นใจสามารถหา ข้อมูลเพิม่ เติมได้จากเอกสารของ Species Survival Commission of the International Union for the Conservation of Nature (http://iucn.org/themes/ ssc/pubs/policy/reinte.html)

มนุษย์กบั การกระจายเมล็ดพันธุ์ มนุษย์สามารถทำหน้าทีก่ ระจายเมล็ดพันธุไ์ ด้เช่นเดียวกัน วิธกี ารหนึง่ คือ การเก็บเมล็ดของต้นไม้ในป่าใกล้ ๆ เข้ามาปลูก ในพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลาย เราเรียกวิธนี ว้ี า่ “การหยอดเมล็ด” วิธี การนีส้ ามารถเพิม่ ทัง้ จำนวนและชนิดของต้นไม้ในพืน้ ทีไ่ ด้อย่าง รวดเร็วแต่กม็ ขี อ้ จำกัดหลายอย่าง ในสภาพทีร่ อ้ นและแห้ง แล้งของป่าทีถ่ กู ทำลายนัน้ เมล็ดทีถ่ กู หว่านลงบนพืน้ ดินอาจแห้ง ตายในเวลาไม่นานนัก นอกจากนัน้ เมล็ดยังอาจถูกทำลาย

การหยอดเมล็ด ขั้นแรกถางวัชพืชออก จากบริเวณทีจ่ ะปลูก

58

ปลูกให้เป็นป่า

ขั้นต่อไปขุดหลุมเล็ก ๆ รองก้นหลุมด้วยดินป่า


ก* * า* *ร* เ* *ร่*ง* *ก* *า *ร* *ฟื*้ *น* ตั* * ว* *ต* *า* ม* *ธ* *ร* ร* *ม* *ช* *า *ติ* หมดโดยสัตว์ทก่ี นิ เมล็ดพืช เช่น มด หนู หรือ กระรอก ซึง่ เป็นสัตว์ที่มักพบอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก (ดูบทที่ 3 ตอนที่ 4) การปลูกโดยฝังเมล็ดไว้ใต้ดนิ สามารถลดการสูญเสียจาก ความแห้งแล้งหรือสัตว์ที่กินเมล็ดเป็นอาหารแต่ก็ต้องลงแรง เพิม่ ขึน้ เมล็ดทีเ่ หมาะสำหรับการปลูกแบบนีค้ วรมีลกั ษณะ ที่สามารถรอดจากการทำลายของสัตว์ได้ เช่น มีขนาดเล็ก เปลือกหนา (ดูรายละเอียดในบทที่ 3 ตอนที่ 4) อาจทดลอง ใช้สารเคมีทม่ี ฤี ทธิไ์ ล่สตั ว์ เคลือบเมล็ดโดยต้องทดสอบก่อน ว่าสารเคมีนน้ั มีฤทธิเ์ ฉพาะต่อสัตว์และจะไม่ทำให้เมล็ดเสียหาย นอกจากนัน้ อาจต้องเตรียมเมล็ดเพือ่ กระตุน้ ให้เกิดการงอก ทันทีหลังปลูก เช่น แช่นำ้ หรือทำให้เป็นแผลเพราะยิง่ เมล็ด อยู่ในพื้นที่นานเท่าไรยิ่งมีโอกาสถูกทำลายมากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมล็ดทีผ่ า่ นการเตรียมในลักษณะนีต้ น้ อ่อน ย่อมเสีย่ งต่อการแห้งตายสูงขึน้ มดอาจเข้ามากินอาหารสะสม ในใบเลีย้ งมากขึน้ เช่นเดียวกับการเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ แบบอืน่ ๆ เมือ่ ต้องการใช้วธิ หี ยอดเมล็ดต้องมีการทดสอบ เพือ่ หาวิธกี ารทีเ่ หมาะสมสำหรับแต่ละพืน้ ทีด่ ว้ ย ในธรรมชาติ เหยีย่ ว นกฮูก หรือแมวป่า จะช่วยควบคุม ปริมาณของสัตว์ฟนั แทะสัตว์กลุม่ นีน้ บั เป็นเครือ่ งมือทีส่ ำคัญ ของการเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติ การอนุรักษ์สัตว์พวกนี้ จะช่วยลดจำนวนสัตว์ฟันแทะและการเข้าทำลายเมล็ดได้ ภาพด้านล่างแสดงวิธกี ารหยอดเมล็ดเพือ่ เร่งให้เกิดการ ฟืน้ ตัวของป่าคร่าว ๆ เริม่ จากการเก็บเมล็ดในพืน้ ทีป่ า่ ใกล้ กับแปลงทีจ่ ะทำการฟืน้ ฟู เตรียมพืน้ ทีโ่ ดยขุดถางวัชพืชออก เป็นวงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่าง วง 1.5-2 เมตร (ระยะห่างระหว่างวงเพิม่ ขึน้ ได้ถา้ มีลกู ไม้หรือ ตอไม้อยู่ในพื้นที่มากแล้ว) ขุดหลุมเล็ก ๆ รองก้นหลุมด้วยดินจากป่าทีข่ ดุ มาจาก

บริเวณทีเ่ ก็บเมล็ด เพือ่ ให้แน่ใจว่าเมือ่ เมล็ดงอกในดินจะมี จุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับต้นไม้ชนิดนั้นและให้ประโยชน์ เช่น ไมคอไรซาอยู่ด้วย หยอดเมล็ดลงไปหลุมละหลาย ๆ เมล็ด โดยให้มคี วามลึกประมาณสองเท่าของขนาดเมล็ด จากนัน้ กลบ ด้วยดินจากป่าอีกครัง้

ทำอย่างไรถ้าการเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ ไม่ได้ผล วิธกี ารเร่งการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติเป็นวิทยาการทีค่ อ่ นข้าง ใหม่ดงั อาจสังเกตได้วา่ ในหลาย ๆ หัวข้อยังต้องทำการศึกษา วิจยั ต่อไป อย่างไรก็ตามหากเราใช้วธิ กี ารดังกล่าวในพืน้ ทีท่ ่ี เหมาะสมย่อมประสบความสำเร็จได้ในระดับหนึง่ ถึงแม้วา่ ผลทีไ่ ด้อาจไม่สงู เท่าทีค่ าดการณ์ไว้กต็ าม โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งของการฟืน้ ตัวของความหลากหลายทางชีวภาพ อีกรูปแบบหนึง่ ทีอ่ าจทำได้ คือการปลูกกล้าไม้เสริมใน พืน้ ทีเ่ พือ่ สร้างโครงสร้างของเรือนยอดป่าพร้อม ๆ กับการเร่ง การฟืน้ ตัวตามธรรมชาติวธิ นี เ้ี รียกว่า “การปลูกต้นไม้เพือ่ เร่ง การฟืน้ ตัว” ต้นไม้ทป่ี ลูกลงในพืน้ ทีจ่ ะช่วยทำให้การฟืน้ ตัว ของป่าเกิดขึน้ ได้เร็วขึน้ โดยช่วยปรับเปลีย่ นสภาพแวดล้อมของ บริเวณนัน้ ให้ดงึ ดูดนกช่วยกระจายเมล็ดพันธุเ์ ข้ามามากขึน้ ซึง่ แม้แต่ไม้เศรษฐกิจทีเ่ ป็นไม้ตา่ งถิน่ ก็อาจนำมาใช้ในวิธกี ารนีไ้ ด้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในพืน้ ทีท่ ย่ี งั ต้องการเก็บเกีย่ วผลประโยชน์ จากไม้ทป่ี ลูก ไม้เศรษฐกิจเหล่านีส้ ามารถจะตัดสางออกมา ใช้ประโยชน์ได้เมื่อไม้ธรรมชาติในพื้นที่เจริญเติบโตแล้ว (Parrotta et al. 1997) อย่างไรก็ตาม การปลูกต้นไม้เพียงชนิดเดียวอาจทำให้ ความหลากหลายทางชีวภาพฟืน้ ตัวได้ชา้ ดังนัน้ ในบทต่อไปจะ อธิบายและแนะนำเกีย่ วกับ “วิธกี ารพรรณไม้โครงสร้าง” ต่อไป

ขัน้ ตอนสุดท้าย กลบด้วยดินป่า จากนัน้ หยอดเมล็ดลง หลุม ๆ ละหลาย ๆ เมล็ด

ปลูกให้เป็นป่า

59


ก า ร เ ร่ ง ก า ร ฟื้ น ตั ว ต า ม ธ ร ร ม ช า ติ **************************************

กรอบ 4.1 - บทบาทของนกในการฟืน้ ตัวของป่า ด็อกเตอร์จอร์จ เกล และคณะผูว้ จิ ยั จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ตดิ ตัง้ คอนไม้ไผ่สำหรับให้นก เกาะในป่าที่ถูกทำลายบนภูเขาในเขตภาคเหนือ โดยมีทั้งคอนที่อยู่ในแปลงที่ปลูกด้วยพรรณไม้โครงสร้างและแปลงที่ฟื้นตัว ตามธรรมชาติ ติดตามบันทึกว่ามีนกชนิดใดบ้างทีม่ าเกาะบนคอน นับจำนวนเมล็ดทีน่ กถ่ายทิง้ ไว้บริเวณใต้คอนและติดตาม จำนวนกล้าไม้ทเ่ี กิดขึน้ ในบริเวณดังกล่าว (ดู Scott et al, 2000) ในป่าทีถ่ กู ทำลาย การติดตัง้ คอนเกาะเป็นสิง่ ทีช่ ว่ ยดึง ดูดนกหลายชนิดให้เข้ามา ถึงแม้วา่ เราเห็นนกทีเ่ ข้ามาเกาะ บนคอนไม่บอ่ ยนักแต่จำนวนนกทีเ่ ข้ามาใช้คอนต้องมากพอ ทีจ่ ะทำให้ปริมาณเมล็ดในพืน้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ ได้ โดยพบว่าจำ นวนเมล็ดที่ตกอยู่และต้นกล้าที่งอกอยู่ใต้คอนเกาะนั้นมี จำนวนมากกว่าพืน้ ทีค่ วบคุมซึง่ ไม่มกี ารติดตัง้ คอน จำนวนต้นกล้าธรรมชาติทั้งบริเวณใต้คอนเกาะและ พืน้ ทีค่ วบคุมมีไม่มากนัก แสดงว่าอัตราการ รอดของกล้าไม้ธรรมชาติในพื้นที่ค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม พบว่าต้นกล้าทีข่ น้ึ อยูใ่ ต้คอน เกาะนั้นมีอัตราการรอดสูงกว่าในพื้นที่ ควบคุม มากกว่าครึง่ หนึง่ ของต้นกล้า ทีพ่ บใต้คอนเกาะเป็นต้นกล้าของโคลงเคลง (Melastoma malabathricum) ซึง่ เป็นไม้พมุ่ และ พังแหรใหญ่ (Trema orientalis) พืชทัง้ สองชนิดเป็นไม้เบิกนำ สำคัญที่มักพบในป่าที่กำลังเริ่มฟื้นตัวในเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพังแหรซึ่งเป็นอาหารของ นกและสัตว์ปา่ อืน่ ๆ นกจะเข้ามาใช้ คอนเกาะน้อยลงเมือ่ ต้นไม้รอบ ๆ สูงขึน้ จนคลุมคอนซึง่ เป็นปัจจัยทีต่ อ้ ง คำนึงถึงเมื่อทำการฟื้นฟูป่าโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในโครงการที่ใช้ไม้โตเร็วปลูก ในแปลงปลูกพรรณไม้โครงสร้างเพือ่ ฟืน้ ฟูปา่ เรือนยอดของป่าจะปิดสมบูรณ์ภายใน 2-3 ปี ทำให้ สภาพแวดล้อมของพืน้ ทีเ่ ปลีย่ นไป พืน้ ป่าเริม่ โล่งขึน้ ซึ่งเป็นลักษณะของป่าที่มีความสมบูรณ์ ลักษณะพื้นที่ แบบนี้ทำให้นกหลายชนิดซึ่งปกติไม่พบในทุ่งโล่งหรือ ทุง่ หญ้ากลับเข้ามาอาศัยในพืน้ ทีไ่ ด้อกี ครัง้ เช่น

60

ปลูกให้เป็นป่า

กางเขนดง (Lonchura striata) และ นกจับแมลงคอน้ำ ตาลแดง (Cyornis banyumas) การทำคอนเกาะสำหรับนกมีคา่ ใช้จา่ ยทีต่ ำ่ กว่าการเตรียม และปลูกกล้าไม้จากเรือนเพาะชำและยังใช้แรงงานไม่มากนัก ในการติดตัง้ และดูแลเมือ่ เทียบกับแรงงานทีต่ อ้ งใช้ในการปลูก อย่างไรก็ตาม ในพืน้ ทีเ่ สือ่ มโทรมมากการปลูกต้นไม้จะ สามารถคืนความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศป่าได้ ดีกว่าการใช้คอนเกาะเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การใช้คอนเกาะจะใช้ได้ผลดีกับพื้นที่เสื่อมโทรม ไม่มากนักในบริเวณใกล้เคียงจะต้องมีแม่ไม้เหลือ อยูบ่ า้ ง และต้นไม้ทพ่ี บใต้คอนส่วนใหญ่จะเป็น ไม้เบิกนำทีพ่ บในขัน้ แรก ๆ ของการฟืน้ ตัวของ ป่าและมีตน้ ไม้เพียงไม่กช่ี นิดเท่านัน้ ทีต่ าม ธรรมชาติ พ บในป่ า ที ่ ฟ ื ้ น ตั ว มานานแล้ ว ดังนัน้ จึงแนะนำให้ใช้คอนเกาะนีร้ ว่ มกับ การฟืน้ ฟูปา่ ด้วยการปลูกต้นไม้ โดยเฉพาะ ในช่วง 2-3 ปีแรกก่อนทีต่ น้ ไม้จะโตจนสูง กว่าคอน โดยควรสร้างคอนบริเวณชายขอบ ของพื้นที่ปลูกป่าหรืออาจสร้างคอนเป็นแถว เชื่อมระหว่างป่ากับพื้นที่ปลูกป่าเพื่อสร้างทาง เชือ่ มธรรมชาติของพรรณไม้เบิกนำทีน่ กนำเข้ามา George A. Gale, Andrew J. Pierce และ พรรณิภา พัฒนะแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ภาควิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 83 หมู่ 8 ต. ท่าข้าม บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150 email : george.and@kmutt.ac.th


ก* * า* *ร* เ* *ร่*ง* *ก* *า *ร* *ฟื*้ *น* ตั* * ว* *ต* *า* ม* *ธ* *ร* ร* *ม* *ช* *า *ติ*

ดึงดูดสัตว์เข้ามาเพือ่ ฟืน้ ฟูความหลากหลายของผืนป่า ค้างคาว (Cynopterus sphinx) ขนาดกลาง ออก หาผลไม้กนิ ในเวลากลางคืนเป็นระยะทางไกลพร้อมกับ นำเมล็ดไปทิ้งไว้ในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลาย เราจะสามารถ ดึงดูดค้างคาวพวกนีเ้ ข้ามาในพืน้ ทีเ่ พือ่ เร่งการฟืน้ ตัวตาม ธรรมชาติได้หรือไม่

ในพื้นที่ที่ยังมีควายป่า วัวป่า กระทิง (รูปด้านบน) หรือสัตว์ขนาดใหญ่ที่ช่วยกระจาย เมล็ดอยูอ่ าจดึงดูดสัตว์กลุม่ นีเ้ ข้ามาด้วยการขุดแอ่งน้ำหรือทำโป่งเทียม

นกปรอดเหลืองหัวจุก เป็นนกปรอดหนึ่งใน 5 ชนิดที่พบในภาคเหนือ ของไทยออกหากินทัง้ ในป่าและพืน้ ทีท่ ถ่ี กู ทำลายจึงเป็นกลไกสำคัญ ที่ช่วยนำเมล็ดเข้ามา (บทที่ 3 ตอนที่ 3)

นกระวั ง ไพรปากเหลื อ ง ซึ ่ ง หากิ น อยู ่ ใ นพื ้ น ที ่ โ ล่ ง และป่ า ทึ บ กินทั้งแมลงและผลไม้เป็นอาหาร สามารถดึงดูดเข้ามาในแปลง ได้ดว้ ยคอนเทียม

เมื่อเรือนยอดของป่า ปิดลงนกจับแมลงคอสี น้ำตาลแดง (ซ้ายสุด) และ นกกางเขนดง (ซ้าย) ทีอ่ าศัยในป่า สมบูรณ์ชนิดแรก ๆ มัก กลับเข้ามาอาศัยในป่า ที่ได้รับการฟื้นฟู

เพิม่ จำนวนเมล็ดทีส่ ตั ว์นำเข้ามาในพืน้ ทีโ่ ดยการตัง้ คอนเทียม กล่องค้างคาว หรือขุดแหล่งน้ำ หรือทำโป่งเทียม เพือ่ ดึงดูดสัตว์ทช่ี ว่ ยกระจายเมล็ดพันธุเ์ ข้ามาในพืน้ ที่ สิง่ ทีส่ ำคัญทีส่ ดุ คือต้องป้องกันไม่ให้สตั ว์เหล่านีถ้ กู ล่า ----------------------------------------------------------------------------------------รูปด้านบนเป็นส่วนหนึง่ ของงานวิจยั ทีด่ ำเนินการโดยนักวิจยั ทีไ่ ด้รบั การฝึกแล้ว นกทัง้ หมดถูกปล่อยเป็นอิสระหลังจากการถ่ายรูป

ปลูกให้เป็นป่า

61


ก า ร เ ร่ ง ก า ร ฟื้ น ตั ว ต า ม ธ ร ร ม ช า ติ **************************************

กรอบ 4.2 ทดสอบศักยภาพของการหยอดเมล็ด พนิตนาถ ทันใจ (2548) ทดสอบหาพันธุไ์ ม้ทเ่ี หมาะในการหยอดเมล็ดในป่าผลัดใบและป่าดิบในภาคเหนือของไทย โดยเก็บเมล็ด จากแม่ไม้และเพาะเมล็ดครึ่งหนึ่งไว้ในเรือนเพาะชำเมล็ดที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งนำไปปลูกในป่าเสื่อมโทรมในช่วงต้นฤดูฝนโดยวิธีหยอดเมล็ด ทีอ่ ธิบายไว้ในตอนที่ 3 พรรณไม้หลายชนิดมีอตั ราการงอก อัตราการรอด และการเจริญเติบโตในแปลงปลูกสูงกว่าในเรือนเพาะชำ หลังจากหนึง่ ปี กล้าไม้ทเ่ี พาะไว้ในเรือนเพาะชำถูกนำไปปลูกลงในแปลงข้าง ๆ กล้าไม้จากการหยอดเมล็ด จากการติดตามการเจริญเติบ โตของกล้าไม้ทง้ั สองกลุม่ พบว่า กล้าไม้หลายชนิดทีม่ าจากการหยอดเมล็ดโตเร็วกว่า การหยอดเมล็ดมีคา่ ใช้จา่ ยต่ำกว่าการเพาะกล้า ไม้ในเรือนเพาะชำจึงอาจนำวิธีการนี้มาใช้ร่วมกับการปลูกกล้าไม้ได้ พรรณไม้ที่พบว่าใช้วิธีการหยอดเมล็ดปลูกได้ดีจากการทดลองของ พนิตนาถ สำหรับป่าผลัดใบได้แก่ มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa), ตะคร้อ (Schleichera oleosa) และ มะฝ่อ (Trewia nudiflora) ส่วนในป่าดิบเขาชนิดทีใ่ ช้ได้ดคี อื กฤษณา (Aquilaria crassna), สลีนก (Balakata baccata), หว้าขีก้ วาง (Eugenia fruticosa), ซ้อ (Gmelina arborea), เลีย่ น (Melia toosendan), นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides), มะยาง (Sarcosperma arboreum) และ มะกัก (Spondias axillaris)

มะค่าโมง

มะฝ่อ

กฤษณา สลีนก

62

ปลูกให้เป็นป่า


บทที่ 5

การฟืน้ ฟูปา่ ด้วยวิธพี รรณไม้โครงสร้าง * * ** * * * * * * * * * * * * * * * * *

แนวคิดของพรรณไม้โครงสร้าง การคัดเลือกพรรณไม้โครงสร้าง การทดสอบพรรณไม้โครงสร้าง

“ป่าฝนทีถ่ กู ทำลายได้จดุ ประกายแห่งความรูส้ กึ รับผิดชอบในใจของหลาย ๆ คน ให้รักษาสิ่งที่มีอยู่และพยายามสร้างสิ่งที่ถูกทำลายขึ้นมาใหม่” Steve Goosem and Nigel I.J Tucker, “Repairing the Rainforest” 1995


กลไกของวิธีพรรณไมโครงสราง คัดเลือกพรรณไมโครงสราง

ปลูกพรรณไมโครงสราง 20-30 ชนิด : กําจัดวัชพืช ใหปยุ ในชวงเวลา 2 ปแรก

วัชพืชไมไดรบั แสง ตาย ไมใหญ เจริญในพื้นที่ โครงสรางปาไดรบั การฟนฟู (มีชั้นเรือนยอดหลายชัน้ ) การทํางานของกลไกภายในระบบนิเวศไดรบั การฟนฟู - การสะสมของอินทรียสาร - วัฏจักรของธาตุอาหาร - ผลไมและแหลงอาหารอื่น ๆ

ผลในทางบวก

สภาพของพื้นทีเ่ หมาะกับการงอก และการเจริญของกลาไมมากขึ้น

ดึงดูดสัตวทชี่ วยกระจายเมล็ด

ผลในทางบวก เพิ่มจํานวนเมล็ดในพื้นที่ กลาไมที่ไมไดปลูกเขามาเจริญในพื้นที่ การฟนตัวของความหลากหลายทางชีวภาพ

สภาพปาดัง้ เดิมกลับคืนมา


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ*ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า*ง*

การฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง “วิธีการพรรณไม้โครงสร้าง” ได้รับการพัฒนาขึ้นในภาคเหนือของ รัฐควีนสแลนด์ (Goosem และ Tucker, 1995) โดยใช้พรรณไม้ทอ้ งถิน่ หลายชนิดมาช่วยให้การฟื้นตัวของป่าไม้เกิดได้เร็วขึ้น วิธีนี้มีศักยภาพสูงสุด เมื่อใช้ในพื้นที่ที่ยังมีผืนป่าสมบูรณ์หลงเหลืออยู่บ้าง

ตอนที่ 1 แนวคิดของพรรณไม้โครงสร้าง เริม่ จากโครงสร้างของป่า

กลไกการทำงานของพรรณไม้โครงสร้าง

ถึงแม้ความรูเ้ กีย่ วกับการฟืน้ ฟูปา่ จะเป็นศาสตร์ทค่ี อ่ นข้าง ใหม่ แต่มีการพัฒนาวิธีการไปอย่างรวดเร็ว โดยแต่ละวิธี นั้นจะแตกต่างกันไปตามการดูแลพื้นที่ ตั้งแต่การเร่งการฟื้น ตัวของพื้นที่ตามธรรมชาติโดยไม่มีการปลูกไม้เพิ่มเติม (บท ที่ 4) ไปจนถึงการปลูกต้นไม้หลากชนิดทีเ่ คยมีในพืน้ ทีน่ น้ั มา ก่อน เช่น วิธีฟื้นฟูพื้นที่ด้วยกลุ่มพืชที่มีความหลากหลายสูง สุดของ Goosem และ Tucker (1995) วิธพี รรณไม้โครงสร้างเป็นการผสมผสานระหว่างวิธกี ารทัง้ สองแบบสามารถคืนความหลากหลายให้แก่ระบบนิเวศได้มาก กว่าวิธีแรกโดยใช้ทรัพยากรและการลงแรงน้อยกว่าวิธีที่สอง วิธีพรรณไม้โครงสร้างเป็นการฟื้นฟูพื้นที่โดยเลือกปลูก ต้นไม้ที่เป็นโครงสร้างของระบบนิเวศ ผสมผสานกับการเร่ง การฟื้นตัวตามธรรมชาติของพื้นที่ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อ สร้างระบบนิเวศป่าทีส่ ามารถอยูไ่ ด้เองอย่างยัง่ ยืนภายหลังการปลูก เพียงครั้งเดียว วิธีพรรณไม้โครงสร้างเริ่มใช้ครั้งแรกใน การฟื้นฟูป่าฝนเขตร้อนทางตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ (Goosem และ Tucker, 1995) ในปัจจุบนั ได้ถกู ปรับปรุงเพือ่ นำมาใช้กับการฟื้นฟูป่าเขตร้อนซึ่งถูกทำลายในเขตอนุรักษ์ ทางภาคเหนือของประเทศไทย

ในวิธพี รรณไม้โครงสร้าง ต้นไม้ 20-30 ชนิด ซึง่ ได้รบั การ คัดเลือกจะถูกปลูกลงในพืน้ ทีแ่ ละได้รบั การดูแลอย่างใกล้ชดิ ในช่วง 2 ปีแรก ต้นไม้ที่ปลูกต้องสามารถเจริญเติบโตได้ รวดเร็วและบดบังแสงทำให้วชั พืชไม่สามารถเจริญได้และทำให้ เกิดโครงสร้างป่าทีป่ ระกอบด้วยเรือนยอดหลาย ๆ ชัน้ นอก จากนี้ ต้นไม้เหล่านัน้ จะต้องฟืน้ ฟูกระบวนการต่าง ๆ ในระ บบนิเวศ เช่น วัฏจักรของธาตุอาหาร และทำให้สภาพพืน้ ทีม่ ี ความเหมาะสมต่อการงอกและการเจริญของกล้าไม้ธรรมชาติ โดยทำให้พน้ื ทีร่ ม่ และชืน้ มากขึน้ ซึง่ พืน้ ทีป่ า่ ทีช่ น้ื ปกคลุมด้วย เศษซากใบไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและปราศจากวัชพืช นี้เหมาะสมสำหรับกล้าไม้ธรรมชาติจะกลับมางอกและเจริญ เติบโตในพืน้ ที่ การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพนั้นขึ้นอยู่กับ นก ค้างคาว และสัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมขนาดเล็กทีเ่ ข้ามาใน แปลงปลูก ต้นไม้ 20-30 ชนิดทีป่ ลูกนัน้ เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของสังคมพืชในป่าเขตร้อนเท่านัน้ เพือ่ ให้พน้ื ทีฟ่ น้ื ฟูกลับมามี ความหลากหลายใกล้เคียงกับป่าดัง้ เดิม สัตว์ปา่ ต้องนำเมล็ด พันธุข์ องต้นไม้ชนิดต่าง ๆ เข้ามา ต้นไม้ทป่ี ลูกต้องสามารถสร้าง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับกล้าไม้ธรรมชาติพร้อม ๆ กับเป็นแหล่งทรัพยากรที่ดึงดูดให้สัตว์ที่กระจายเมล็ดเข้ามา เช่น ให้ดอกทีม่ นี ำ้ หวานมาก ติดผล หรือเป็นทีท่ ำรัง สัตว์เหล่า นีจ้ ะนำเมล็ดจากป่ารอบ ๆ เข้ามาในแปลงปลูก และกล้าไม้ใน รุน่ ทีส่ องทีส่ ตั ว์นำเข้ามานีเ่ องทีจ่ ะทำให้การฟืน้ ฟูปา่ สมบูรณ์และ ได้ปา่ ทีใ่ กล้เคียงกับสภาพป่าดัง้ เดิม

พรรณไม้โครงสร้างคืออะไร พรรณไม้โครงสร้างเป็นต้นไม้ปา่ พันธุพ์ น้ื เมือง ซึง่ เมือ่ นำ มาปลูกแล้วจะช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวของป่าและเร่งให้ความ หลากหลายทางชีวภาพกลับคืนมาได้เร็วขึ้น

ปลูกให้เป็นป่า 65


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

ลักษณะพรรณไม้โครงสร้าง ต้นไม้ที่จะนำมาใช้เป็นพรรณไม้โครงสร้างนั้นต้องมีคุณ ลักษณะดังนี้ Ê อัตราการรอดสูงเมื่อปลูกในพื้นที่ป่าเสื่อม โทรม Ê โตเร็ว ่ ทีห่ นา กว้าง สามารถบดบังแสงแดด Ê มีทรงพุม ทำให้วชั พืชเติบโตไม่ได้ Ê ออกดอก ติดผล หรือให้ทรัพยากรที่ดึงดูดสัตว์ป่า ได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ พรรณไม้โครงสร้างยังต้องสามารถปลูกและดูแลได้งา่ ย ในเรือนเพาะชำ ต้นไม้ที่ไม่สามารถเพาะได้ย่อมไม่อาจนำมา ใช้ในการปลูกป่าได้ พรรณไม้โครงสร้างจึงต้องมีคณ ุ ลักษณะ ทีเ่ หมาะสมต่อการเพาะเลีย้ งในเรือนเพาะชำด้วย ได้แก่ มี ปริมาณเมล็ดเพียงพอ งอกได้เร็วและพร้อมเพรียงกัน ต้นกล้า ควรเจริญเติบโตจนสามารถนำไปปลูกได้ในเวลาไม่เกิน 1 ปี ในพืน้ ทีท่ ไ่ี ฟป่ามักเกิดขึน้ ในช่วงฤดูแล้ง เช่น ในป่าผลัดใบ การถูกทำลายจากไฟป่าอาจทำให้การปลูกป่าทัง้ หมดล้มเหลว ได้ ไม้ที่ถูกคัดเลือกมาเป็นพรรณไม้โครงสร้างสำหรับพื้นที่ ลักษณะนี้จึงต้องมีคุณลักษณะอีกประการหนึ่ง คือ ทนไฟ และสามารถแตกยอดขึน้ มาใหม่ได้ถงึ แม้วา่ ส่วนทีอ่ ยูเ่ หนือดิน จะถูกเผาไหม้ไปและเหลือเพียงส่วนที่อยู่ใต้ดินเท่านั้น

ตองแตบ (Macaranga denticulata) มีเรือน ยอดทึบ กว้าง ทำให้ วัชพืชถูกบังแสงจน ตายไป หนึง่ ในลักษณะ ทีพ่ งึ ประสงค์ของพรรณไม้ โครงสร้าง

66

ปลูกให้เป็นป่า

คุณลักษณะที่สำคัญต่อการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ พรรณไม้หายากหรือใกล้สญ ู พันธุเ์ ป็นอีกกลุม่ ทีต่ อ้ งให้ความ สำคัญ ถึงแม้ว่าต้นไม้ในกลุ่มนี้อาจขาดคุณลักษณะของ พรรณไม้โครงสร้าง แต่การนำต้นไม้พวกนีม้ าปลูกในพืน้ ทีฟ่ น้ื ฟูจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ ข้อมูลเกี่ยวกับ ชนิดไม้ทใ่ี กล้สญ ู พันธุส์ ามารถดูได้จากฐานข้อมูลของ World Conservation Monitoring Centre:- www.unepwcmc.org/cgi-bin/SaCGI.cgi/trees.exe?FNC= datavase Aindex html. ในพืน้ ทีท่ ส่ี ตั ว์ใหญ่ เช่น ช้าง วัวป่า แรด ซึง่ ทำหน้าทีก่ ระจาย เมล็ดได้สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ การปลูกต้นไม้ที่มีเมล็ดขนาด ใหญ่จะเป็นประโยชน์มาก

พรรณไม้โครงสร้างควรเป็นไม้เบิกนำหรือ ไม้เสถียร ในการฟื้นฟูป่าโดยใช้พรรณไม้โครงสร้างนั้น พรรณไม้ที่ ปลูกจะมีทั้งไม้เบิกนำและไม้เสถียร Goosem และ Tucker (1995) แนะนำว่าอย่างน้อยร้อยละ 30 ของต้นไม้ที่ปลูกควร เป็นไม้เบิกนำ การปลูกไม้เบิกนำและไม้เสถียรไปพร้อมกันใน ครั้งเดียวนี้เพื่อร่นระยะเวลาในการเกิดกระบวนการเปลี่ยน แปลงแทนที่ของระบบนิเวศป่า ไม้เสถียรหลายชนิดสามารถ เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมทีร่ อ้ นและแล้งของป่าเสือ่ มโทรม ได้แต่สว่ นมากไม่สามารถขึน้ ได้เองเนือ่ งจากขาดตัวกลางทีจ่ ะนำ เมล็ดเข้ามาในพืน้ ที่ การสูญพันธุข์ องสัตว์ใหญ่จากพืน้ ทีท่ ำให้ ต้นไม้เหล่านั้นไม่สามารถกลับเข้ามาในพื้นที่ที่ถูกทำลายได้ การปลูกไม้เสถียรบางชนิดร่วมกับไม้ชนิดอื่นจึงสามารถช่วย เร่งกระบวนการฟื้นตัวของป่าที่สมบูรณ์ได้ ไม้เบิกนำเป็นไม้ตน้ ทีโ่ ตเร็วและสามารถสร้างเรือนยอดได้ เร็วทำให้วชั พืชเจริญได้นอ้ ยลง ในขณะทีไ่ ม้เสถียรซึง่ โตช้ากว่า จะสร้างเรือนยอดชั้นที่ 2 อยู่ภายใต้ร่มเงาของไม้เบิกนำทำให้ โครงสร้างและความหลากหลายของป่ามีความสมบูรณ์มากขึน้ ทั้งยังเพิ่มแหล่งอาหารให้แก่สัตว์ป่าอีกด้วย ปกติแล้วไม้เบิก นำมีอายุค่อนข้างสั้นและเริ่มตายเมื่อมีอายุประมาณ 15-20 ปี เมือ่ ถึงเวลานัน้ ไม้ชน้ั ล่างซึง่ เป็นไม้เสถียรจะเจริญเติบโตพร้อม ทำหน้าทีแ่ ทนไม้เบิกนำเช่นเดียวกับไม้ชนิดอืน่ ๆ ทีถ่ กู นำกลับ เข้ามา ตามธรรมชาติ


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ*ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า*ง*

สัตว์ปา่ ทีพ่ รรณไม้โครงสร้างต้องการ ดึงดูดเข้ามาในพื้นที่ ต้นไม้ทกุ ชนิดสามารถดึงดูดนกให้เข้ามาเกาะพักอยูใ่ นพืน้ ทีไ่ ด้ในช่วงระยะเวลาสัน้ ๆ แต่ตน้ ไม้ทใ่ี ห้อาหารหรือทีท่ ำรังจะ สามารถดึงดูดให้สตั ว์ทเ่ี ป็นผูก้ ระจายเมล็ดอยูใ่ นพืน้ ทีไ่ ด้นาน กว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวสัตว์เหล่านั้นจะเพิ่มเมล็ดให้กับพื้น ที่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการฟื้นฟูป่าตามธรรมชาติ ดังนัน้ ต้นไม้ทป่ี ลูกลงไปต้องทำหน้าทีด่ งึ ดูดให้สตั ว์ทก่ี ระจาย เมล็ดเข้ามาในพื้นที่ดังได้อธิบายไว้ในบทที่ 3 การกระจาย เมล็ดระหว่างป่าทีอ่ ยูใ่ กล้เคียงกับป่าปลูกเกิดจากสัตว์ทก่ี นิ ผลไม้ เพียงไม่กช่ี นิดทีอ่ าศัยอยูท่ ง้ั ในป่าธรรมชาติและป่าเสือ่ มโทรม ซึง่ ได้แก่ นกขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเฉพาะนกแซงแซว นกปรอด ค้างคาว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางบาง ชนิด เช่น หมูปา่ เก้ง จากการสังเกตต้นไม้ในพืน้ ทีป่ ลูกป่าทีด่ จู ะดึงดูดสัตว์เหล่า นี้มากที่สุด ได้แก่ ต้นไม้ที่ให้ผลขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เช่น ช้ า แป้ น (Callicarpa arborea), ปลายสาน (Eurya acuminata), มะห้า (Eugenia albiflora), หว้าขี้กวาง (E. fruticosa), เลียงผึ้ง (Ficus abellii), เดื่อปล้องหิน (F. semicordata), เดือ่ (F. subulata), ไคร้ (Glochidion kerrii), แหลบุก (Phoebe lanceolata), มะขามป้อม (Phyllanthus emblica), นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) และ มะกอกพราน (Turpinia pomifera) หรือให้ดอกที่มีน้ำหวาน เช่น ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) ต้นไม้ที่นกเข้ามาอาศัยทำรังในช่วง 5 ปีแรก ได้แก่ Alseodaphne andersonii, สลีนก (Balakata baccatum), เติม (Bischofia javanica), อบเชย (Cinnamomum iners), ลำพูป่า (Duabanga grandiflora), ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans), มะห้า (Eugenia albiflora), เดื่อไทร (Ficus glaberima), เดื่อปล้องหิน (F. semicordata), เดื่อ (F. subincisa), เหมือดคนตัวผู้ (Helicia nilagirica), หมอนหิน (Hovenia dulcis), แหลบุ ก (Phoebe lanceolata), นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides), ก่อตาหมูหลวง (Quercus semiserrata) และ กอกกัน (Rhus rhetsoides) ปริมาณแมลงทีเ่ พิม่ ขึน้ ในพืน้ ทีเ่ ป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีอ่ าจช่วย ดึงดูดนกและสัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมทีท่ ำหน้าทีก่ ระจายเมล็ดและ กินทั้งแมลงและพืชเป็นอาหารเข้ามาในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม

ข้อมูลเกีย่ วกับผลของวิธพี รรณไม้โครงสร้างต่อจำนวนแมลงใน พืน้ ทีย่ งั มีนอ้ ยมาก การศึกษาวิจยั เพิม่ เติมเกีย่ วกับนิเวศวิทยา และโภชนาการของสัตว์ที่กระจายเมล็ดนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญ สำหรับการคัดเลือกพรรณไม้โครงสร้างในอนาคต

การปลูกพรรณไม้โครงสร้าง การฟืน้ ฟูปา่ ด้วยพรรณไม้โครงสร้างแต่ละทีจ่ ะปลูกพรรณ ไม้ 20-30 ชนิด ปนกันแบบสุ่มไม่ต้องเป็นแถวด้วยระยะห่าง ระหว่างต้นเฉลีย่ 1.8 เมตร (ประมาณ 500 ต้นต่อ 1 ไร่ ) ใน พืน้ ทีท่ ม่ี กี ล้าไม้ธรรมชาติอยูบ่ า้ งแล้วจำนวนต้นไม้ทป่ี ลูกจะลด ลงตามส่วน การดูแลกล้าไม้ธรรมชาติในพื้นที่ระหว่างการ เตรียมพื้นที่และการปลูกเป็นสิ่งจำเป็นในการฟื้นฟูป่าด้วยวิธี พรรณไม้โครงสร้าง

การจัดการพืน้ ทีห่ ลังการปลูก ในระยะแรกของการปลูกต้องมีการกำจัดวัชพืชเพื่อลด การแข่งขันระหว่างวัชพืชกับต้นไม้ทป่ี ลูก ต้นไม้จะได้รบั ปุย๋ เพือ่ เร่งการเจริญเติบโตและร่นระยะเวลาสำหรับการสร้างเรือน ยอดทีป่ ดิ ทึบและบดบังวัชพืชไม่ให้ได้รบั แสง กล้าไม้ธรรม ชาติในพืน้ ทีม่ คี วามสำคัญและต้องได้รบั การดูแลเช่นเดียวกับ ไม้ทป่ี ลูก นอกจากนัน้ ควรควบคุมไม่ให้มกี ารล่าสัตว์ในพืน้ ทีเ่ พือ่ อนุรกั ษ์ประชากรของสัตว์ทช่ี ว่ ยกระจายเมล็ด ในพืน้ ที่ ทีม่ ฤี ดูแล้งยาวนานต้องจัดให้มกี ารควบคุมไฟป่าด้วย การป้อง กันไฟป่าเป็นอีกสิง่ ทีจ่ ำเป็นอย่างมาก การวางแผนปลูกและ การจัดการพืน้ ทีจ่ ะอธิบายอีกครัง้ ในบทที่ 7

ข้อจำกัดของวิธพี รรณไม้โครงสร้าง วิธพี รรณไม้โครงสร้างเป็นวิธที ต่ี อ้ งอาศัยปัจจัยเอือ้ อำนวย หลายอย่าง ได้แก่ แหล่งเมล็ดพันธุจ์ ากพืน้ ทีป่ า่ ธรรมชาติ ใกล้ ๆ และสัตว์ทช่ี ว่ ยกระจายเมล็ด หากพืน้ ทีท่ ต่ี อ้ งการฟืน้ ฟู ขาดปัจจัยสำคัญเหล่านีก้ ารฟืน้ ตัวตามธรรมชาติในแปลงปลูก พรรณไม้โครงสร้างย่อมไม่อาจเกิดขึน้ ได้ และต้องปลูกต้นไม้ บางชนิดเพิม่ เติม

ปลูกให้เป็นป่า 67


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

ตอนที่ 2 การคัดเลือกพรรณไม้โครงสร้าง ต้นไม้ทเ่ี ป็นพรรณไม้โครงสร้าง ในขณะนีย้ งั ไม่มรี ายชือ่ ของพรรณไม้โครงสร้างทีส่ ามารถ ใช้ได้ในทุกพื้นที่ มีแต่รายชื่อเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น ได้แก่ พรรณไม้โครงสร้างทีใ่ ช้สำหรับป่าเขตร้อนของรัฐควีนส์แลนด์ ในออสเตรเลียและรายชื่อพรรณไม้โครงสร้างสำหรับป่าใน ภาคเหนือของประเทศไทย (บทที่ 9) ส่วนในพืน้ ทีอ่ น่ื จะต้อง คัดเลือกพรรณไม้โครงสร้างจากพรรณไม้ในพืน้ ทีโ่ ดยใช้หลัก เกณฑ์ตามลักษณะของพรรณไม้โครงสร้าง ซึง่ การคัดเลือกนี้ อาจใช้ข้อมูลทางวิชาการและความรู้ท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมในการ เลือกได้ แต่ตอ้ งมีการศึกษาศักยภาพของต้นไม้เหล่านีใ้ น แปลงปลูกเพื่อยืนยันอีกครั้ง

วิธีเลือกต้นไม้เพื่อทดสอบเป็น พรรณไม้โครงสร้าง ต้นไม้ทน่ี ำมาคัดเลือกเป็นพรรณไม้โครงสร้างนัน้ ต้องเป็น พันธุไ์ ม้ปา่ ในพืน้ ทีแ่ ละต้องเป็นต้นไม้ชนิดทีเ่ หมาะกับชนิดของ ป่าเดิมและระดับความสูงของพืน้ ที่ ข้อมูลเหล่านีส้ ามารถหา ได้จากหนังสือพฤกษศาสตร์ สำหรับป่าในภาคเหนือของ ประเทศไทยอาจใช้หนังสือของ Maxwell และ Elliott (2001) หรือ Gardner และคณะ (2000) ถึงแม้วา่ ลักษณะของผล และดอกทีน่ า่ จะดึงดูดสัตว์ปา่ เข้ามามีบนั ทึกไว้แล้ว แต่ขอ้ มูล ข้อมูลจากภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ สามารถช่วยในการคัดเลือก พรรณไม้ทจ่ี ะนำมาทดสอบ เป็นพรรณไม้โครงสร้างได้

68

ปลูกให้เป็นป่า

เหล่านีจ้ ะต้องได้รบั การยืนยันด้วยการสังเกตและเก็บข้อมูลจาก ต้นไม้ในป่า โดยเก็บข้อมูลเกีย่ วกับการติดดอกออกผลและ สัตว์ที่กระจายเมล็ดจากต้นไม้ที่ทำเครื่องหมายไว้ทุกเดือน การศึกษาชีพลักษณ์ของต้นไม้จะให้ขอ้ มูลสำคัญเกีย่ วกับระยะ เวลาทีเ่ หมาะสมในการเก็บเมล็ดและความสามารถในการดึงดูด สัตว์ของต้นไม้ นอกจากนัน้ การเก็บข้อมูลในพืน้ ทีป่ า่ ยังเป็น โอกาสทีจ่ ะได้สงั เกตข้อมูลเกีย่ วกับลักษณะของเรือนยอด ซึง่ เป็นข้อมูลทีช่ ว่ ยในการตัดสินว่าต้นไม้ชนิดนัน้ มีความสามารถ ในการลดปริมาณแสงในพื้นที่ได้มากแค่ไหน ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ใน ป่าเขตร้อนส่วนใหญ่หาได้คอ่ นข้างยาก แต่สำหรับต้นไม้ใน เขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ข้อมูลบางส่วนมีการตีพิมพ์เผย แพร่อยู่ในคู่มือไม้เศรษฐกิจของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Soerianefara et al. 1994; Lemmens et al., 1995 and Sosef et al. 1998, www.prosea.nl/prosea5.html#5(1) จัดพิมพ์โดย PROSEA) อย่างไรก็ตาม การติดตามการ เจริญเติบโตของกล้าไม้ในเรือนเพาะชำจะให้ข้อมูลที่ดีกว่า โดยมากแล้วต้นไม้ชนิดที่โตได้ดีในเรือนเพาะชำมักจะเจริญ เติบโตได้ดใี นพืน้ ทีป่ ลูกด้วยเช่นเดียวกัน การเก็บข้อมูลทางพฤษศาสตร์พน้ื บ้านจากคนในพืน้ ที่ เป็น อีกทางหนึง่ ทีช่ ว่ ยในการตัดสินใจว่าต้นไม้ชนิดใดน่าจะทำหน้าที่ พรรณไม้โครงสร้างทีด่ ี การเก็บข้อมูลลักษณะนีค้ วรทำกับ ชุมชนทีด่ ำรงชีวติ อยูก่ บั ป่าหรือป่าทีถ่ กู ทำลายโดยเฉพาะชุมชน ทีท่ ำไร่หมุนเวียน เกษตรกรทีท่ ำการเกษตรลักษณะนีม้ กั มี ความรู้เกี่ยวกับชนิดของต้นไม้ที่พบและเจริญได้ดีในทุ่งร้าง การศึกษาลักษณะนี้ต้องระมัดระวังอย่าง มาก เพราะบางครั้งชาวบ้านจะให้ข้อมูล ที่คิดว่านักวิจัยน่าจะพอใจมากกว่าข้อมูล จากประสบการณ์ เ ดิ ม ความเชื ่ อ และ วั ฒ นธรรมเป็ น อี ก ปั จ จั ย หนึ ่ ง ที ่ อ าจ ทำให้ ก ารประเมิ น ค่ า ของต้ น ไม้ ใ น ฐานะพรรณไม้ โ ครงสร้ า งเบี ่ ย งเบนไป ดังนั้น การเก็บข้อมูลจากชาวบ้านจะ สามารถเชื ่ อ ถื อ ได้ ม ากขึ ้ น หากเป็ น ข้ อ มู ล ที ่ ไ ด้ จ ากหลาย ๆ ชุ ม ชนซึ ่ ง มี ลักษณะวัฒนธรรมแตกต่างกัน


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ*ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า*ง* ตารางที่ 5.1 แหล่งข้อมูลพื้นฐานในการเลือกต้นไม้ที่น่าจะนำมาทดสอบเป็นพรรณไม้โครงสร้างในพื้นที่ปลูก

การเก็บข้อมูลใน พืน้ ทีป่ ลูก

พฤกษศาสตร์ พื้นบ้าน

ส่วนมากพบในลักษณะ ของพันธุไ์ ม้ในหนังสือ พฤกษศาสตร์

การสำรวจชนิดต้นไม้ ในพืน้ ทีป่ า่ ใกล้พน้ื ที่ ปลูก

บางครัง้ ไม่สามารถ แยกแหล่งไม้พน้ื เมืองกับ ไม้ตา่ งถิน่ ได้

อัตราการรอดตายสูง และโตเร็ว

ข้อมูลทีเ่ ผยแพร่ทาง อัตราการรอดและ การเจริญของกล้าไม้ วิชาการมีคอ่ นข้าง น้อย บางส่วนมีใน ในเรือนเพาะชำ คูม่ อื ของ PROSEA

การประเมิน อัตรา การรอดและเจริญ ของต้นไม้ทง่ี อกเอง ในไร่รา้ ง

ถามชาวบ้านเกีย่ วกับชนิด ของต้นไม้ที่เจริญได้ดีและ สามารถ พบได้ในพืน้ ที่

เรือนพุม่ หนาบังแสง ได้ดี

หนังสือบางเล่มมีขอ้ มูลเกีย่ วกับโครงสร้าง ของทรงพุม่ ต้นไม้

สังเกตทรงพุม่ ของต้นไม้ในป่าและ วัชพืชทีอ่ ยูใ่ ต้ตน้

ดึงดูดสัตว์ปา่

ข้อมูลเกีย่ วกับลักษณะ ผล ดอกสามารถหาได้ จากข้อมูลทางอนุกรม วิธาน

เก็บข้อมูลเกีย่ วกับ ชาวบ้านมักจะรู้ว่าต้นไม้ ลักษณะของผลและ ชนิดใดทีน่ กชอบ สัตว์ทม่ี ากินผลหรือ ดอกไม้

ลักษณะพรรณไม้ โครงสร้าง

เอกสารวิชาการ

ไม้พน้ื เมืองไม่ใช่พนั ธุ์ ทีป่ รับปรุงพันธุแ์ ล้ว เหมาะกับชนิดป่า และความสูงของพืน้ ที่

งานวิจยั ในเรือน เพาะชำ

ทนไฟ

สำรวจต้นไม้ทร่ี อด ชีวติ ในพืน้ ทีม่ ไี ฟเข้า

ทดลองหาอัตรา การงอกและข้อมูล เกี่ยวกับต้นกล้า

ขยายพันธุไ์ ด้งา่ ย

ไม้เสถียรเมล็ดใหญ่

ชาวบ้านมักจะรู้ว่าต้นไม้ชนิด ไหนแตกยอดขึ้นมาใหม่ หลังจากถูกไฟไหม้

ส่วนมากมีบนั ทึกอยูใ่ น การบรรยายลักษณะใน หนังสือทางพฤกษศาสตร์

สังเกตผลและเมล็ด ของต้นไม้ใน ป่าเสถียร

ปลูกให้เป็นป่า 69


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

ตอนที่ 3 การทดสอบพรรณไม้โครงสร้าง การทดสอบต้นไม้ทจ่ี ะเป็นพรรณไม้ โครงสร้าง

ระยะเวลาในการประเมินผล

เมื่อเลือกต้นไม้ที่น่าจะเป็นพรรณไม้โครงสร้างได้แล้ว ต้องมีการปลูกต้นไม้ที่เลือกในพื้นที่จริงเพื่อทดสอบว่าต้นไม้ เหล่านีม้ คี ณ ุ ลักษณะทีเ่ หมาะสมในการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง ตามทีค่ าดหมายหรือไม่ การทดสอบในลักษณะนีก้ นิ เวลา อย่างน้อยหนึง่ ปี เริม่ จากการเตรียมกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ (บทที่ 6) จากนัน้ ปลูกลงในแปลงทดลองขนาด 1 ไร่ (40 x 40 เมตร) ในอัตราส่วนกล้าไม้ 500 ต้นต่อไร่ อย่างน้อย 3 แปลงเพือ่ ให้ได้ผลทีน่ า่ เชือ่ ถือ ปลูกกล้าไม้ทเ่ี ตรียมไว้ประมาณ 20-30 ชนิด ชนิดละอย่างน้อย 50 ต้น โดยปลูกปนกันในทุก ไร่ (บทที่ 7 ตอนที่ 5) ติดตามดูแลและบันทึกผลในทุกแปลง ทดลอง ตารางที่ 5.2

เมือ่ สิน้ สุดฤดูฝนทีส่ องหลังจากการปลูกป่า (ประมาณ 1 ปีครึง่ ) วัดการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของต้นไม้ทป่ี ลูก ในพืน้ ที่ ตามวิธที อ่ี ธิบายไว้ในบทที่ 7 ตอนที่ 5 ส่วนมากต้นไม้ ทีต่ ายหลังจากการปลูกมักตายในช่วงฤดูแล้งเนือ่ งจากขาดน้ำ ดังนัน้ ในฤดูฝนที่ 2 จะสามารถทราบได้แล้วว่าต้นไม้ตน้ ไหน ตายและต้นไหนสามารถเจริญต่อไปได้ ข้อมูลเกี่ยวกับอัตรา การรอด ความสูง และข้อมูลอืน่ ของต้นไม้ทว่ี ดั นีจ้ ะเป็นดัชนี ทีบ่ ง่ บอกถึงความสามารถในการเจริญของต้นไม้ในพืน้ ทีไ่ ด้เป็น อย่างดี แต่ขอ้ มูลเกีย่ วกับความสามารถในการดึงดูดสัตว์ของ พรรณไม้เหล่านีจ้ ะต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลนานกว่า โดย ต้องมีการเก็บข้อมูลต่อไปอีกอย่างน้อย 5 ปี

เกณฑ์มาตรฐานการเจริญของพรรณไม้โครงสร้างในป่าดิบในภาคเหนือของไทยเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน ทีส่ องหลังจากปลูก (Elliott et al., 2003)

ปัจจัยทีว่ ดั 1 อัตราการรอด (ร้อยละ) ความสูง (เมตร) ความกว้างของทรงพุม่ (เมตร) คะแนนการควบคุมวัชพืช อัตราการรอดหลังถูกไฟ2

ดีเยี่ยม >70 >2.0 >1.8 >1 >70

ดี 50-69 1.5-1.99 1.5-1.79 0.5-1.00 50-69

อยู่ในเกณฑ์ ไม่ผา่ นเกณฑ์ 45-49 <45 1.25-1.49 <1.25 1.0-1.5 <1.0 0.1-0.49 <0.4 45-49 <45

1

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเทคนิคการวัดและคำจำกัดความในบทที่ 7 ตอนที่ 5 วัดเฉพาะเมือ่ เกิดไฟไหม้ขน้ึ ในแปลงโดยไม่ได้ตง้ั ใจเท่านัน้ อย่าจุดไฟเผาแปลงปลูก

2

กล้าไม้ของพรรณไม้โครงสร้าง บางชนิดซึง่ หน่วยวิจยั การ ฟืน้ ฟูปา่ คัดเลือกโดยใช้เกณฑ์ เบือ้ งต้นทีก่ ำหนดไว้

เลีย่ น (Melia toosendan Sieb & Zucc.)

70

ปลูกให้เป็นป่า

นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides D. Don)

มะกอกห้ารู (Spondias axillaris Roxb.)


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ*ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า*ง*

เกณฑ์มาตรฐานในการเลือกชนิดพรรณไม้ โครงสร้าง ถ้าหากจะใช้เกณฑ์มาตรฐานในการเจริญเติบโตมาตัดสินว่า ต้นไม้ชนิดใดเหมาะจะเป็นพรรณไม้โครงสร้าง เกณฑ์ทใ่ี ช้นน้ั จะต้องมีความยืดหยุน่ เนือ่ งจากการเจริญเติบโตของต้นไม้ขน้ึ อยูก่ บั ปัจจัยแวดล้อมหลายประการ เช่น ในแต่ละปีสภาพ ภูมอิ ากาศทีแ่ ตกต่างกันอาจส่งผลให้ตน้ ไม้มกี ารเจริญต่างกัน ได้ ดังนัน้ ไม้ทส่ี ามารถเจริญได้ดกี ว่ามาตรฐานในปีนอ้ี าจจะ ไม่ผ่านมาตรฐานนั้นในปีหน้า สำหรับการเพาะกล้าไม้ ต้นไม้ทถ่ี อื ว่าเพาะได้งา่ ยต้อง 1) มีอตั ราการงอกสูงกว่าร้อยละ 40 2) อัตราการรอดสูง กว่าร้อยละ 70 และ 3) สามารถเจริญเติบโตจนมีขนาดที่ เหมาะสมในการปลูกได้ภายใน 1 ปีหลังจากเก็บเมล็ด เกณฑ์มาตรฐานในการเจริญเติบโตของต้นไม้ในพืน้ ทีป่ ลูก

ซึง่ พัฒนาโดยหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ซึง่ แสดงไว้ในตารางที่ 5.2 นัน้ สามารถใช้เป็นเกณฑ์พน้ื ฐานในการประเมินความสามารถ ในการเป็นพรรณไม้โครงสร้างของต้นไม้แต่ละชนิดหลังปลูก ประมาณ 18 เดือน สำหรับการประเมินความสามารถในการ ดึงดูดสัตว์ป่านั้นควรดูจากการให้ผลและดอกหรือการทำรัง ของนกบนต้นภายในเวลา 4 ปี การคัดเลือกพรรณไม้โครงสร้างจำเป็นต้องอาศัยทัง้ ข้อมูล ทีว่ ดั ได้และความคิดเห็นของผูป้ ระเมิน โดยพรรณไม้เพียงไม่ กี่ชนิดเท่านั้นที่จะสามารถเจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์ทั้งหมด แต่อย่างน้อยในพืน้ ทีท่ ป่ี ลูกต้นไม้ไว้ 20-30 ชนิดนัน้ โดยรวมจะ ต้องมีลกั ษณะครบทุกอย่างทีต่ อ้ งการ ตัวอย่างเช่น ต้นไม้โต เร็วเป็นทีต่ อ้ งการ แต่ตน้ ไม้บางชนิดทีโ่ ตช้าแต่สามารถเจริญ อยูภ่ ายใต้รม่ เงาของต้นอืน่ ได้อาจสร้างชัน้ ของเรือนยอดอีกชัน้ เป็นการเพิม่ ทีอ่ ยูใ่ ห้แก่สตั ว์ปา่ ในลักษณะเดียวกันต้นไม้บาง ชนิดทีม่ ที รงพุม่ แคบอาจยังใช้เป็นพรรณไม้โครงสร้างได้ถา้ หาก ต้นไม้นั้นผ่านเกณฑ์อื่นที่ตั้งไว้ได้

เดือ่ (Ficus subulata Bl. var. subulata) เป็นต้นไม้ทด่ี งึ ดูดนกทีท่ ำหน้าทีก่ ระจายเมล็ดเข้ามา ในพืน้ ทีไ่ ด้ดเี พราะจะให้ผลทีม่ เี นือ้ มากหลังจากปลูก เพียง 1 ปี

มะคำดีควาย (Sapindus rarak DC.) เป็นพรรณไม้โครงสร้างทีม่ คี า่ ทางเศรษฐกิจ ผลสามารถนำมาผลิตสบู่และแชมพูได้

ปลูกให้เป็นป่า 71


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

การพัฒนาพรรณไม้ทไ่ี ม่ผา่ นเกณฑ์มาตรฐาน ถ้าหากต้นไม้ทน่ี ำมาทดลองปลูกส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญ เติบโตได้ถึงเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้สำหรับการเป็นพรรณไม้ โครงสร้างสามารถแก้ไขได้ 2 ทาง ทางแรกคือคัดเลือกต้นไม้ ในท้องถิ่นที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถเป็นพรรณไม้โครงสร้าง เพือ่ นำมาทดลองปลูกเพิม่ เติม โดยทบทวนกระบวนการทีใ่ ช้ ในการคัดเลือกอีกครั้ง อีกทางหนึง่ ได้แก่ การบำรุงหรือเร่งการเจริญของต้นไม้ท่ี คัดเลือกไว้แล้วเพื่อให้สามารถเจริญได้ดีพอที่จะผ่านเกณฑ์ มาตรฐาน ถ้าต้นไม้เติบโตได้ไม่ดใี นเรือนเพาะชำอาจปรับปรุง วิธกี ารผลิตกล้าไม้ให้มคี วามสมบูรณ์มากขึน้ เช่น ปรับปรุง วัสดุปลูก เพิม่ ปุย๋ แก่กล้าไม้ เป็นต้น ในพืน้ ทีป่ ลูกอาจบำรุง ต้นไม้เพือ่ ให้เรือนยอดปิดได้เร็วขึน้ เช่น กำจัดวัชพืชให้ถข่ี น้ึ หรือใช้วัสดุคลุมดิน ระบบการให้คะแนนสามารถนำมาช่วยในการคัดเลือกต้น ไม้ทน่ี า่ จะได้รบั การพัฒนาต่อจากกลุม่ ของต้นไม้ทย่ี งั ไม่ประสบ ความสำเร็จในการทดลองปลูกครัง้ แรกได้ เมือ่ เรียงลำดับ ความสามารถในการเจริญของต้นไม้ในกลุม่ นีจ้ ากน้อยไปมากแล้ว ต้นไม้ทม่ี คี ะแนนในการเจริญเติบโตดีกว่าต้นอืน่ ในกลุม่ ควร นำมาทดลองต่อเพือ่ ปรับปรุงให้เจริญเติบโตทัง้ ในเรือนเพาะชำ และแปลงปลูกดีขน้ึ อีก จากตัวอย่างทีแ่ สดงในตารางที่ 5.3 พรรณไม้ทม่ี คี ะแนนอยูใ่ นลำดับ 50% แรกของทุกปัจจัย เช่น ต้นไม้ชนิด A, B และ C ซึง่ มีคะแนนระดับที่ 4-6 ทั้งหมด หรือต้นไม้ทม่ี คี ะแนนรวมของระดับมากทีส่ ดุ น่าจะเป็นชนิดที่ ควรจะมีการทำการทดลองต่อไป ในการเรียงลำดับคะแนนนั้นอาจมีการให้คะแนนสำหรับ

ลักษณะของพรรณไม้โครงสร้างแต่ละอย่างแตกต่างกันโดย การเพิม่ ตัวคูณให้แก่คะแนนสำหรับแต่ละลักษณะแตกต่างกัน ไปตามความสำคัญของลักษณะนัน้ ๆ เช่น อัตราการรอดชีวติ มีความสำคัญมากกว่าความสูงของต้นกล้า ดังนัน้ คะแนนของ อัตราการรอดควรจะคูณด้วย 1.5 หรือ 2 ก่อนทีจ่ ะนำมารวม กับคะแนนทัง้ หมด ปัจจัยทีจ่ ะมีผลต่อตัวคูณแต่ละปัจจัย จะขึน้ อยูก่ บั สภาพของพืน้ ที่ ระยะทางจากป่าธรรมชาติแหล่ง เมล็ดพันธุ์ หรือ คุณภาพในการผลิตกล้าไม้ของเรือนเพาะชำ

คุณค่าของพรรณไม้โครงสร้างในแง่ ไม้เศรษฐกิจ พรรณไม้โครงสร้างนัน้ ถูกคัดเลือกมาให้เหมาะสมกับการ ปลูกเพือ่ อนุรกั ษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ ซึง่ มีการใช้ประโยชน์จากป่าน้อย ดังนัน้ คุณค่าในทางเศรษฐ กิจจึงไม่ได้รับความสำคัญเท่ากับคุณค่าในการรักษาสภาพ ระบบนิเวศ อย่างไรก็ตาม ในพืน้ ทีป่ า่ อนุรกั ษ์สว่ นใหญ่ยงั มี การเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าโดยชุมชนในท้องถิน่ พรรณไม้ โครงสร้างทีเ่ ลือกนำไปปลูกควรจะให้ประโยชน์ในแง่ของผลผลิต ทีไ่ ม่ใช้เนือ้ ไม้แก่ชมุ ชนด้วย อันทีจ่ ริงต้นไม้ทกุ ชนิดล้วนมีคณ ุ ค่าทางเศรษฐกิจไม่ทางใด ก็ทางหนึง่ จากการพูดคุยกับชาวบ้านในภาคเหนือของประเทศ ไทย พบว่าพรรณไม้โครงสร้างให้ประโยชน์ทง้ั ในแง่ของผล ผลิตจากป่าและการรักษาสภาพแวดล้อม เช่น การใช้พชื ดัง กล่าวเป็นสมุนไพร อาหาร เลีย้ งสัตว์ และการรักษาสภาพป่า ต้นน้ำดังรายละเอียดทีแ่ สดงไว้ในบทที่ 9

ตารางที่ 5.3 เลือกพรรณไม้จากกลุม่ ทีย่ งั ไม่ประสบความสำเร็จ : ตัวอย่างของการให้คะแนนเพือ่ คัดเลือกชนิด ของต้นไม้ทจ่ี ะนำมาทดลองเพือ่ ปรับปรุงการเจริญในแปลงปลูก อัตราการรอด ชนิดต้นไม้ เฉลี่ย (%) ลำดับ1 A 60 6 B 42 4 C 55 5 D 40 3 E 35 1 F 39 2 1

เรียงจากคะแนนน้อยไปมาก

72

ปลูกให้เป็นป่า

ความสูง เฉลี่ย (ม.) ลำดับ1 1.3 5 1.4 6 1.1 3 0.9 1 1.1 3 1.0 2

ความกว้างของเรือนยอด คะแนนรวม ของระดับ เฉลี่ย (ม.) ลำดับ1 16 5 1.52 16 6 1.61 13 4 1.48 6.5 2.5 1.20 6.5 2.5 1.20 5 1 0.89


บทที่ 6

เริม่ จากต้นกล้า ******************************** การออกแบบและสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ เก็บเมล็ดพันธุ์ เตรียมผลและเมล็ด เพาะเมล็ด ย้ายกล้า การดูแลกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ การควบคุมคุณภาพ


งานในเรือนเพาะชำ - เริม่ จากเมล็ด

บนซ้าย - เมล็ดของคูน (Cassia fistula) สามารถแกะออก จากฝักได้ง่าย ๆ โดยการใช้มีดพร้ากดฝักให้แตกออกจากกัน บนสุดขวา - วิธีการดังกล่าวสามารถใช้ได้กับผลที่มีลักษณะเนื้อหนา เช่น มะฝ่อ (Trewia nudiflora) การลอกเนื้อผลออกนี้ป้องกันการเข้าทำลาย จากเชื้อราด้วย บน - สำหรับเมล็ด มะกล่ำ (Ormosia sumatrana) วิธีการเร่งการงอก คือ การขลิบเปลือกหุ้มเมล็ดออกด้วยกรรไกรตัดเล็บเป็นหนึ่งในวิธีการ ทำให้เมล็ดเป็นแผล

บน - การเพาะเมล็ดในถาดเพาะทำให้ติดตามอัตราการ งอกง่ายขึน้ ขวา -ทำเครื่องหมายบนถาดเพาะด้วยปากกาหมึกขาว ใช้ใน การนับและติดตามการงอกของเมล็ด


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

เริ่มจากต้นกล้า การวางแผนดำเนินงานของโครงการฟืน้ ฟูปา่ นัน้ สิง่ สำคัญทีต่ อ้ งคำนึงถึงในอันดับแรก ๆ คือ การหากล้าไม้ทม่ี คี ณ ุ ภาพ สำหรับปลูก ถึงแม้วา่ เรือนเพาะชำกล้าไม้ของหน่วยงานราชการและเอกชนอาจมีการผลิตกล้าไม้เศรษฐกิจบางชนิด แต่สว่ นใหญ่ ไม่ได้ผลิตกล้าไม้ของพรรณไม้โครงสร้าง การสร้างเรือนเพาะชำของชุมชนเพื่อเพาะกล้าไม้ของตนเองจึงอาจมีความจำเป็น ถึงแม้ว่าการจัดตั้งเรือนเพาะชำต้องใช้ความพยายามและการลงทุนสูงแต่มีข้อดีกว่าการนำกล้าไม้มาจากเรือนเพาะชำอื่น เช่น Ê

Ê

Ê

Ê

ชุมชนเป็นผูค้ วบคุมการผลิตกล้าไม้ทง้ั หมด ซึง่ รวมไปถึงการเลือกชนิดของพรรณไม้ การ กำหนดคุณภาพและปริมาณของกล้าไม้ที่ผลิต รวมไปถึงค่าใช้จา่ ยในการผลิตด้วย การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการผลิตกล้าไม้จะทำให้ ชุมชนใส่ใจดูแลรักษากล้าไม้นน้ั เป็นอย่างดี เรือนเพาะชำยังเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทัง้ ทาง การศึกษาและสังคมของชุมชน ซึง่ จะช่วยกระตุน้ ให้ชมุ ชนมีสว่ นร่วมในการฟืน้ ฟูปา่ มากขึน้ เรือนเพาะชำกล้าไม้ของชุมชนนัน้ ตัง้ อยูใ่ กล้พน้ื ที่ ปลูกจึงช่วยลดค่าใช้จา่ ยในการขนย้ายกล้าและความ เสียหายทีอ่ าจเกิดขึน้ ระหว่างการขนย้าย

เมือ่ มีการรวมกลุม่ เพือ่ จัดตัง้ เรือนเพาะชำนัน้ สิง่ ทีไ่ ด้นอก เหนือจากกล้าไม้ที่ผลิตก็คือความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านใน ท้องถิน่ ซึง่ ได้ทำงานร่วมกัน ในบทนีเ้ ราจะแนะนำเกีย่ วกับความรูแ้ ละวิธกี ารขัน้ พืน้ ฐาน ที่จำเป็นสำหรับการผลิตกล้าพรรณไม้โครงสร้างในเรือนเพาะ ชำขนาดเล็ก ถึงแม้วา่ วิธกี ารเหล่านีไ้ ด้รบั การพัฒนาขึน้ จาก งานวิจยั ทีจ่ ดั ทำขึน้ ในภาคเหนือของประเทศไทย แต่วธิ ดี งั กล่าวอาจสามารถนำไปปรับใช้ได้กบั ภูมภิ าคแถบนีไ้ ด้โดยเพิม่ การทดลองบางอย่างเพื่อปรับให้วิธีการมีความเหมาะสมกับ พืน้ ทีม่ ากขึน้

เรือนเพาะชำกล้าไม้ของชุมชนไม่ได้ ผลิตกล้าไม้เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการ สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการอนุรกั ษ์ สภาพแวดล้อมไปพร้อม ๆ กันด้วย

ปลูกให้เป็นป่า

75


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

ตอนที่ 1 การออกแบบและสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ เรือนเพาะชำทีด่ ตี อ้ งมีสภาพทีเ่ หมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้และสามารถป้องกันอันตรายต่าง ๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ กับต้นกล้าได้ ในขณะเดียวกันจะต้องเอื้อต่อการทำงานอย่างสะดวกและปลอดภัยของผู้ที่ทำงานในเรือนเพาะชำด้วย

ที่ตั้งเรือนเพาะชำ เรือนเพาะชำควรตัง้ อยูใ่ นสภาพแวดล้อมทีไ่ ม่มกี ารเปลีย่ น แปลงมากจนเกินไป โดยพืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสมควรมีลกั ษณะ Ê เป็นพื้นที่ราบหรือมีความลาดเอียงน้อยระบาย น้ำได้ดี หากชันมากต้องทำการปรับระดับ Ê อยูใ่ นทีก ่ ำบังมีพน้ื ทีร่ ม่ บางส่วน เช่น ร่มเงาของ ไม้เดิม Ê ใกล้แหล่งน้ำสะอาดที่มีน้ำตลอดปีแต่ไม่มี ความเสีย่ งจากน้ำท่วม Ê ใหญ่พอที่จะผลิตกล้าไม้ตามจำนวนที่ต้องการ และสามารถขยายได้ในอนาคต Ê เข้าถึงได้ง่ายด้วยยานพาหนะเพื่อความ สะดวกในการขนย้ายต้นกล้าและวัสดุที่จำเป็น Ê ใกล้แหล่งดินที่จะใช้เพาะกล้าไม้

ขนาดเรือนเพาะชำ ขนาดของเรือนเพาะชำกล้าไม้ขน้ึ กับขนาดของพืน้ ทีป่ ลูก ในแต่ละปี เพราะเป็นสิง่ ทีก่ ำหนดว่าในแต่ละปีตอ้ งผลิต กล้าไม้เท่าไหร่ อีกสิง่ หนึง่ ทีต่ อ้ งคำนึงถึง คือ อัตราการรอด และอัตราการเจริญของกล้าไม้ (การเจริญของกล้าไม้เป็น

ตัวกำหนดระยะเวลาที่กล้าไม้ต้องอยู่ในเรือนเพาะชำ) ตารางในหน้าตรงข้ามแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาด ของพื้นที่ปลูกแต่ละปีและพื้นที่ที่ต้องใช้ในเรือนเพาะชำ การ คำนวณอยูบ่ นพืน้ ฐานของจำนวนเมล็ดทีง่ อกและย้ายลงภาชนะ ปลูก ตัวอย่างเช่นถ้าในแต่ละปีมพี น้ื ทีจ่ ะปลูก 4 ไร่จะต้องใช้ กล้าไม้ประมาณ 2,000 ต้น ซึ่งต้องการพื้นที่ในเรือนเพาะชำ ประมาณ 50 ตารางเมตร

อะไรคือสิง่ จำเป็นสำหรับเรือนเพาะชำ เรือนเพาะชำไม่จำเป็นต้องสร้างจากวัสดุทม่ี รี าคาแพงเรา สามารถนำวัสดุทม่ี อี ยูแ่ ล้วในท้องถิน่ เช่น ไม้เก่า ไม้ไผ่ ทางมะพร้าวหรือใบตองตึงมาปรับใช้เพือ่ สร้างเรือนเพาะชำแบบ ง่าย ๆ ทีร่ าคาไม่สงู นัก สิง่ ทีจ่ ำเป็นสำหรับเรือนเพาะชำได้แก่ Ê พืน ้ ทีร่ ม่ พร้อมโต๊ะยาวสำหรับการเพาะเมล็ดล้อมด้วย ตาข่ายโลหะเพือ่ ป้องกันสัตว์เข้ามาทำลายเมล็ด Ê พืน ้ ทีร่ ม่ สำหรับกล้าไม้ในถุงปลูกก่อนถึงฤดูปลูก (ร่มเงาในส่วนนีค้ วรเอาออกได้ในช่วงทีต่ อ้ งการทำ กล้าให้แกร่งก่อนปลูกในแปลง เช่น ใช้สแลนทำเป็น หลังคา) ้ ทีท่ ำงานในส่วนของการคัดเลือกและเตรียมเมล็ด Ê พืน Ê แหล่งน้ำใช้ตลอดปี Ê ห้องเก็บของทีส ่ ามารถล็อคได้สำหรับเก็บวัสดุ และอุปกรณ์ Ê รัว ้ กันสัตว์ไม่ให้เข้ามาในเรือนเพาะชำ ้ ทีท่ ำงาน ห้องน้ำสำหรับเจ้าหน้าทีแ่ ละผูม้ าเยีย่ ม Ê พืน

การออกแบบเรือนเพาะชำ

ห้องเก็บของที่ล็อคได้ สำหรับ เก็บเครื่องมือและวัสดุปลูก เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเรือนเพาะชำกล้าไม้

76

ปลูกให้เป็นป่า

การออกแบบเรือนเพาะชำอย่างรอบคอบจะทำให้การผลิต กล้าไม้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยต้องคำนึงถึง การใช้และเคลือ่ นย้ายวัสดุอปุ กรณ์ตา่ ง ๆ ในเรือนเพาะชำ เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น พืน้ ทีว่ างกล้าไม้ควรอยูใ่ กล้กบั ทางเข้า ออกเพื่อขนกล้าไม้ไปพื้นที่ปลูกได้สะดวก ส่วนที่เก็บดินและ วัสดุเพาะควรอยู่ใกล้ที่ย้ายกล้า เป็นต้น


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

ตารางที่ 6.1 ขนาดของเรือนเพาะชำกล้าไม้ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ปลูกในแต่ละปี

พืน้ ทีป่ ลูกป่า (ไร่/ปี)1

จำนวนกล้าไม้ ที่ต้องการ

พืน้ ทีเ่ พาะเมล็ด (ตารางเมตร)

1 2 4 20 40

500 1,000 2,000 10,000 20,000

2 4 8 40 80

พื้นที่ดูแลกล้า2 ทีเ่ ก็บของ ทีท่ ำงาน (ตารางเมตร) ห้องน้ำและอืน่ ๆ (ตารางเมตร) 15 7 15 14 15 28 15 140 15 280

พื้นที่เรือนเพาะชำ ทัง้ หมด (ตารางเมตร) 24 33 51 195 375

1

6.25 ไร่ = 1 ha ถ้าหากพื้นที่ในการดูแลกล้าไม้ไม่สามารถที่จะเปิดที่บังแดดในช่วงทำกล้าให้แกร่งได้ ต้องเพิ่มพื้นที่ในส่วนนี้อีกเท่าหนึ่ง

2

แผนผังเรือนเพาะชำ

สิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับเรือนเพาะชำ : 1) ที่เพาะเมล็ดที่มีการป้องกันไม่ให้สัตว์ทำลาย เมล็ด 2) พื้นที่ดูแลกล้าไม้ (ตาข่ายบังแสงไม่ได้แสดงในภาพ) 3) พื้นที่ย้ายกล้า 4) พืน้ ทีเ่ ก็บวัสดุปลูกและห้องเก็บเครือ่ งมือ 5) แหล่งน้ำใช้ทม่ี นี ำ้ ตลอดปี 6) ตัง้ อยูใ่ นพืน้ ทีท่ เ่ี ข้าถึงได้งา่ ย 7) รัว้ กันสัตว์ 8) ทีท่ ำงาน 9) ห้องน้ำ

ปลูกให้เป็นป่า

77


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

อุปกรณ์พน้ื ฐานสำหรับเรือนเพาะชำ 4.

3. 1. 8.

2.

5. 9. 7.

6.

เครือ่ งมือทีจ่ ำเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการปลูกต้นไม้มักเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ราคาไม่แพง โดยอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่แสดงไว้ด้านบนมักมีอยู่ แล้วในชุมชนทีท่ ำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก ซึง่ เครือ่ งมือเหล่านีส้ ามารถนำมาใช้งานในเรือนเพาะชำได้ดว้ ย Ê

Ê

Ê Ê Ê

78

ปลูกให้เป็นป่า

พลัว่ (1) และถัง (2) สำหรับเก็บ ขนย้ายและ ผสมวัสดุปลูก พลัว่ มือ (3) หรือพลัว่ ไม้ไผ่ (4) สำหรับบรรจุ วัสดุปลูกลงในภาชนะปลูก บัวรดน้ำ (5) มีฝกั บัวรูเล็ก ๆ ช้อนหรือพายขนาดเล็กสำหรับย้ายต้นกล้า ตะแกรงร่อน (6) สำหรับเตรียมวัสดุปลูก

Ê

Ê Ê Ê

รถเข็น (7) สำหรับขนย้ายต้นกล้าและวัสดุ ต่าง ๆ ในเรือนเพาะชำ จอบ (8) สำหรับกำจัดวัชพืชและดูแลพืน้ ที่ กรรไกรตัดกิง่ (9) สำหรับตัดแต่งต้นกล้า บันไดและเครือ่ งมือช่างพืน้ ฐานเพือ่ ใช้ในการ ติดตัง้ ตาข่ายบังแสง เป็นต้น


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

ตอนที่ 2 - เก็บเมล็ดพันธุ์ เริ่มจากผลและเมล็ด ในการผลิตกล้าไม้นน้ั ส่วนใหญ่ใช้วธิ เี พาะเมล็ดแต่บาง ครัง้ อาจใช้ทง้ั ผลปลูกโดยตรง เช่น การเพาะพืชในวงศ์กอ่ (Fagaceae) หรือพืชที่มีผลและเมล็ดหลายเมล็ดอยู่รวมกัน ในเปลือกชัน้ ในทีม่ ลี กั ษณะแข็ง (endocarp) ซึง่ เรียกผล ลักษณะนีว้ า่ ไพรีน (pyrene) ตัวอย่างเช่น ในการเพาะ ไพรีนของต้นมะกัก (Spondias axillaris) 1 ผล จะได้ตน้ กล้ามากถึง 5 ต้น การเพาะเมล็ดแบบไพรีนนีอ้ าจเพาะให้ งอกได้ยาก เนือ่ งจากผนังของไพรีนทำให้นำ้ เข้าไปสัมผัส กับเมล็ดด้านในได้นอ้ ย ดังนัน้ ความเข้าใจเกีย่ วกับโครง สร้างของผลและเมล็ดจึงมีความสำคัญในการตัดสินใจเลือก วิธีเพาะที่เหมาะสมสำหรับเมล็ดแต่ละชนิด เมล็ดเป็นส่วนของพืชทีพ่ ฒ ั นามาจากผนังของเซลล์ไข่ใน รังไข่ของดอกหลังจากได้รบั การผสมเกสรแล้ว เนือ่ งจาก เมล็ดเป็นผลผลิตทีไ่ ด้จากการผสมพันธุแ์ บบอาศัยเพศจึงเป็น แหล่งรวมของลักษณะทางพันธุกรรมจากทัง้ ต้นพ่อและต้นแม่ ซึง่ เป็นพืน้ ฐานของความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากร พืช เมล็ดประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ส่วนเปลือก หุ้มเมล็ด เนื้อเยื่อสะสมอาหาร ต้นอ่อนและเปลือกหุ้มเมล็ด ช่วยป้องกันเมล็ดจากสภาพแวดล้อมทีไ่ ม่เหมาะสมและยังมีความ สำคัญต่อการพักตัวของเมล็ด ส่วนอาหารทีส่ ะสมอยูใ่ น ส่วนของเอนโดสเปอร์มหรือในใบเลีย้ งนัน้ จะเป็นแหล่งพลังงาน ให้กบั กระบวนการงอกและต้นอ่อนในช่วงแรก ต้นอ่อนที่ อยูใ่ นเมล็ดประกอบด้วย ยอดอ่อน (plumule) รากแรก เกิด (radicle) และใบเลีย้ ง (cotyledons) ผลเจริญมาจากส่วนผนังของรังไข่ซง่ึ อาจจะจัดออกเป็น กลุม่ ใหญ่ ๆ ได้แก่ ผลเดีย่ ว (ผลทีเ่ กิดจากรังไข่ของดอก เดียว) ผลกลุม่ (ผลทีเ่ กิดจากดอกเดียวซึง่ มีหลายรังไข่ และผลที่เกิดจากแต่ละรังไข่นี้จะรวมกันจนดูเหมือนเป็นผล เดียว) ผลรวม (เกิดจากรังไข่ของช่อดอกทีเ่ บียดกันแน่น รวมกันคล้ายเป็นผลเดีย่ ว) ในแต่ละกลุม่ ยังสามารถแบ่ง ชนิดของผลออกได้อีกหลายแบบ ดังตัวอย่างผลของพรรณ ไม้โครงสร้างบางชนิดทีแ่ สดงไว้ในหน้าที่ 87

การแกะเมล็ดของ มะกัก (Spondias axillaris) ออกจากผลทำได้ค่อนข้าง ลำบาก ดังนัน้ หลังจากล้างส่วน ของเนื้อผลออกไปแล้ว เมล็ดจะถูก เพาะพร้อมกับผลที่มีลักษณะแข็ง และหนา ซึง่ ภายในผลนีม้ เี มล็ด อยูถ่ งึ 5 เมล็ด

ไพรีน

ใบเลี้ยง

เมล็ด

ผลทีม่ ลี กั ษณะคล้ายผลโอ๊คเป็นลักษณะ เฉพาะของพรรณไม้ในกลุ่มก่อสกุล QUERCUS (วงศ์ Fagaceae) เปลือกแข็งหุม้ เมล็ด (เพอริคาร์ป) ต้นอ่อน เมล็ด

กาบหุม้ ผล

ใบเลี้ยง

ปลูกให้เป็นป่า

79


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

ควรเก็บเมล็ดเมือ่ ไหร่

เมล็ดส่วนใหญ่สามารถ เก็บได้โดยใช้กรรไกร ตัดทีต่ ดิ กับไม้ยาว

80

ปลูกให้เป็นป่า

ป่าภาคเหนือของประเทศไทยในแต่ละเดือนจะมีพรรณ ไม้หลายชนิดทีต่ ดิ ผล ดังนัน้ จึงควรออกไปเก็บเมล็ดอย่าง น้อยเดือนละครัง้ ต้นไม้จะติดผลมากทีส่ ดุ ในช่วงปลายฤดู แล้งและปลายฤดูฝน (ดูรปู 3.1) แต่ในช่วงฤดูฝนจำนวนต้น ไม้ทต่ี ดิ ผลมีนอ้ ยลงความถีใ่ นการออกเก็บเมล็ดอาจลดลงได้ สำหรับภาคเหนือของประเทศไทย ข้อมูลการติดผลของ พรรณไม้แต่ละชนิด สามารถศึกษาเพิม่ เติมได้จากบทที่ 9 และ หนังสือของ Maxwell และ Elliott (2001) สำหรับพืน้ ทีอ่ น่ื จะต้องมีการศึกษาชีพลักษณ์ของต้นไม้ในพื้นที่ก่อนเริ่มเก็บ เมล็ด เริม่ จากหาต้นแม่ไม้ทจ่ี ะให้เมล็ดและติดตามการเปลีย่ น แปลงบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากออกดอก เพือ่ หาช่วงเวลาที่ เหมาะสมในการเก็บผล เก็บผลเมือ่ สุกเต็มทีก่ อ่ นทีผ่ ลจะถูก สัตว์กนิ หรือนำไปทีอ่ น่ื เมล็ดทีเ่ ก็บเร็วเกินไปจะไม่สามารถ พัฒนาต่อทำให้ไม่งอก ในขณะทีผ่ ลทีเ่ ก็บช้าเกินไปเมล็ดอาจ ฝ่อไปก่อนได้ สำหรับผลทีม่ เี นือ้ สามารถสังเกตได้วา่ ผลสุกหรือไม่โดย ดูการเปลีย่ นแปลงของสีผล ซึง่ จะเปลีย่ นจากสีเขียวเป็นสีท่ี สดขึน้ เพือ่ ดึงดูดสัตว์ทเ่ี ป็นตัวกระจายเมล็ด เช่น ผลของ นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) ซึง่ เปลีย่ นจากเขียว เป็นแดง ถ้าพบสัตว์เข้ามากินผลไม้จะเป็นสิง่ ทีย่ นื ยันได้แน่ นอนยิง่ ขึน้ ว่าเมล็ดพร้อมทีจ่ ะเก็บได้แล้ว สำหรับผลหรือฝัก ทีม่ ลี กั ษณะแห้งสามารถทีส่ งั เกตได้วา่ สุกเมือ่ ผลเริม่ แตกออก เช่น ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) การเก็บผลโดยการตัดจากบนต้นจะดีกว่าการเก็บผลทีต่ ก อยูบ่ นพืน้ บางครัง้ การปีนต้นไม้เพือ่ ตัดผลอาจมีความจำเป็นแต่ไม่ ควรจะทำตามลำพังและควรมีอปุ กรณ์ปอ้ งกันทุกครัง้ วิธกี าร ทีส่ ะดวกกว่าในการเก็บเมล็ดจากบนต้น คือ ใช้กรรไกรตัดกิง่ ติดกับด้ามไม้ยาว ๆ หรือใช้วธิ กี ารเขย่ากิง่ ให้ผลร่วงแล้วเก็บ เมล็ดจากพืน้ สำหรับต้นไม้ทส่ี งู มาก ๆ การเก็บผลร่วงบนพืน้ ดิน อาจเป็นเพียงทางเดียวทีท่ ำได้ ในกรณีนจ้ี ะต้องตรวจดูให้แน่ใจ ว่าเมล็ดไม่เน่า โดยการผ่าเมล็ดเพือ่ ตรวจดูวา่ ต้นอ่อนข้างใน มีการเจริญดีหรือไม่ และ/หรือ เอนโดสเปอร์มยังแข็งอยู่ หรือ เปล่า (ถ้ามี) อย่าเก็บผลหรือเมล็ดทีม่ รี าขึน้ มีรอยกัดแทะของ สัตว์หรือรอยเจาะของหนอน เก็บเมล็ดหรือผลจากพืน้ เมือ่ ผลทีส่ กุ เต็มทีเ่ ริม่ ตกลงสูพ่ น้ื


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

การเลือกเก็บเมล็ด

การบันทึกข้อมูลการเก็บเมล็ด

ความหลากหลายทางพันธุกรรมเป็นสิง่ จำเป็นต่อสิง่ มี ชีวติ ทีจ่ ะดำรงเผ่าพันธุใ์ ห้อยูร่ อดในสิง่ แวดล้อมทีม่ กี ารเปลีย่ น แปลงตลอดเวลา การรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม ไว้จงึ มีความสำคัญมากในการปลูกป่าเพือ่ อนุรกั ษ์ความหลาก หลายทางชีวภาพ ดังนัน้ ต้นไม้ทป่ี ลูกจึงไม่ควรเป็นต้นไม้ทม่ี สี ายพันธุใ์ กล้ กันจนเกินไป ซึง่ วิธปี อ้ งกันทีด่ ที ส่ี ดุ คือ การเก็บเมล็ดพันธุ์ จากต้นแม่หลาย ๆ ต้นแทนทีจ่ ะเป็นต้นเดียวกัน ถ้าเมล็ดถูก เก็บจากต้นแม่เพียงต้นเดียวหรือไม่กต่ี น้ กล้าไม้ทไ่ี ด้ทง้ั หมด จะคล้ายคลึงกัน เมือ่ โตขึน้ ในแปลงปลูกและผสมกันเองจะทำ ให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมในรุน่ ถัดไปลดลง การผสม ข้ามต้นทีไ่ ม่มคี วามสัมพันธ์แบบเครือญาติในแปลงจะทำให้รกั ษา ความหลากหลายไว้ได้ดกี ว่า แต่จะเกิดเฉพาะในพืน้ ทีท่ ม่ี ตี น้ ไม้ ชนิดนัน้ ขึน้ อยูใ่ นพืน้ ทีใ่ กล้ ๆ ตามธรรมชาติ เท่านัน้ หน่วยงานในระดับนานาชาติหลายแห่ง (FAO, DFSC, IPGRI, 2001) แนะนำว่าในการรักษาความหลากหลายทาง พันธุกรรมในโครงการปลูกป่าควรจะต้อง: 1) เก็บเมล็ดจาก ต้นแม่ซง่ึ ขึน้ อยูใ่ นพืน้ ทีใ่ กล้แปลงปลูก จำนวนมากต้นทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะทำได้ (ควรมาจากต้นแม่ 25-50 ต้น) 2) นำเมล็ดจำ นวนเท่า ๆ กันจากแต่ละต้นมาผสมกันก่อนทีท่ ำการเพาะเพือ่ ให้แน่ใจว่ามีตวั แทนจากต้นแม่ทกุ ต้นเท่า ๆ กัน

ทำเครือ่ งหมายต้นไม้ทเ่ี ก็บเมล็ดเพือ่ ให้สามารถกลับไปยัง ต้นเดิมได้อีก ถ้าไม่สามารถระบุชนิดของต้นไม้ได้ให้เก็บตัว อย่างของใบและผลลงในแผงอัด ทำให้แห้งเพื่อนำไปให้นัก พฤกษศาสตร์ช่วยในการจำแนกชนิด เขียนชื่อวิทยาศาสตร์ หรือชือ่ สามัญ (ถ้าทราบ) วันทีเ่ ก็บ และหมายเลขอ้างอิงลง บนกระดาษและใส่กระดาษนั้นไว้ในถุงที่เก็บเมล็ด บันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม (ตัวอย่างด้านล่าง) โดย บันทึกรายละเอียดทีจ่ ำเป็นเกีย่ วกับเมล็ดทีเ่ ก็บในรุน่ นัน้ และ เมล็ดนั้นได้ผ่านกระบวนการใดบ้างตั้งแต่วันที่เก็บจนกระทั่ง ถึงถาดเพาะ ข้อมูลนีจ้ ะช่วยให้ประเมินได้ดขี น้ึ ว่าทำไมเมล็ด บางรุน่ จึงงอกได้ดใี นขณะทีบ่ างรุน่ ไม่งอก เพือ่ นำข้อมูลดัง กล่าวไปใช้ในการปรับปรุงวิธีการเก็บเมล็ดในอนาคต

จำนวนเมล็ดทีเ่ ก็บ จำนวนเมล็ดที่เก็บขึ้นอยู่กับจำนวนกล้าไม้ที่ต้องการ อัตราการงอก และอัตราการรอดชีวติ ของกล้าไม้ การติดตาม และบันทึกข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ประมาณจำนวนเมล็ดทีต่ อ้ ง การทำได้ถกู ต้องยิง่ ขึน้

ข้อควรระวังในการเก็บเมล็ด การออกเก็บเมล็ดทุกครัง้ ต้องมีการวางแผนและประสาน งานกับผู้ทำหน้าที่เตรียมเมล็ดและเพาะเมล็ดก่อนล่วงหน้า เนื่องจากเมล็ดเสียหายได้ง่ายทั้งจากความแห้งและ/หรือ เชือ้ ราถ้าไม่ได้รบั การดูแลหลังเก็บ ดังนัน้ จึงควรเพาะเมล็ดให้ เร็วทีส่ ดุ หลังจากเก็บเมล็ด อย่าปล่อยเมล็ดตากแดดเพราะ อาจแห้งตาย และไม่ควรทิง้ เมล็ดไว้ในทีช่ น้ื เนือ่ งจากอาจทำ ให้เมล็ดเน่าหรืองอกก่อนเวลาได้

หมายเลขชนิด:

หมายเลขรุน่ : แผ่นบันทึกข้อมูลการเก็บเมล็ด

วงศ์: ชนิด: ชือ่ สามัญ: วันที่เก็บ: ชือ่ ผูเ้ ก็บ: หมายเลขต้นไม้: ขนาดเส้นรอบวง: เก็บเมล็ดจากพืน้ ดิน [ ] หรือเก็บจากต้น [ ] สถานที่เก็บ: ความสูง: ชนิดป่า: จำนวนเมล็ดที่เก็บโดยประมาณ: รายละเอียดการเก็บ/การเคลื่อนย้าย: การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ: วันทีเ่ พาะ: เก็บตัวอย่างพืช [ ] บันทึกสำหรับหอพรรณไม้

ปลูกให้เป็นป่า

81


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

ตอนที่ 3 - เตรียมผลและเมล็ด การเตรียมเมล็ด ปกติแล้วเมล็ดจะถูกแยกออกจากผลและทำความสะอาด ก่อนการเพาะ เพราะถ้าไม่กำจัดส่วนของเนื้อออกไปเมล็ด จะถูกเชือ้ ราทำลายได้งา่ ย วิธกี ารทีใ่ ช้เตรียมเมล็ดนัน้ ขึน้ อยู่ กับลักษณะของผล

เมล็ดดังกล่าวเมื่อนำไปเพาะจะต้องกระเทาะเปลือกหุ้มเมล็ด ให้แตกออก เพือ่ ให้นำ้ สามารถซึมเข้าไปถึงเมล็ดภายในได้ จึงจะเกิดการงอก ในการกระเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดนั้นอาจใช้ คีมหรือมีดกระเทาะเบา ๆ โดยต้องระวังไม่ให้เกิดความเสีย หายกับเมล็ดที่อยู่ภายใน

ผลแห้งที่แตกเมื่อแก่ ผลทีม่ เี นือ้ ใช้มดี ปอกเปลือกและเนือ้ ทีห่ มุ้ เมล็ดออกให้มากทีส่ ดุ จาก นั้นล้างเนื้อที่เหลือออกด้วยน้ำ สำหรับผลที่เนื้อค่อนข้างแข็ง เช่น เลีย่ น (Melia toosendan) ให้แช่ผลไว้ในน้ำ 2-3 วัน เพือ่ ให้เนือ้ นิม่ ลงพอทีจ่ ะแยกเมล็ดออกได้ เมล็ดทีก่ ำจัด เนื้อออกไปด้วยวิธีนี้จะงอกค่อนข้างเร็วจึงควรนำลงถาดเพาะ ทันทีหรือนำไปผ่านกระบวนการเก็บรักษาเมล็ดเลย บางชนิดเมือ่ เอาเนือ้ ออกไปแล้วจะพบเมล็ดทีม่ เี ปลือกแข็ง ทีเ่ รียกว่าไพรีนหรือหน่วยผลหุม้ อยูซ่ ง่ึ ในเปลือกดังกล่าวอาจมี เมล็ดเพียงเมล็ดเดียวหรือมากกว่านัน้ เช่นนางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) และ เลีย่ น (Melia toosendan)

หมายเลขชนิด: หมายเลขรุน่ : แผ่นบันทึกข้อมูลการงอก ชนิด: วันทีเ่ พาะ: การงอก เมล็ดแรก เมล็ดกลาง เมล็ดสุดท้าย

ผลแห้งที่ไม่แตกเมื่อแก่ ผลแห้งบางชนิดเมือ่ แก่จดั จะไม่แตกออกเอง เช่น ฝักคูน (Cassia fistula) จึงต้องตัดให้เปิดออกด้วยมีด กรรไกร หรือเครือ่ งมืออืน่ ๆ เมล็ดของผลแห้งแบบอืน่ ๆ เช่น ผลที่ มีปีก หรือผลแบบลูกก่อ สามารถนำไปเพาะในถาดเพาะได้ ทัง้ ผล อย่างไรก็ตามอาจต้องมีการตัดส่วนทีไ่ ม่จำเป็นออก ก่อนเพาะเมล็ด เช่น ปีกของผลก่วม (Acer spp.) หรือส่วน จุกหรือเปลือกนอกของผลก่อชนิดต่าง ๆ (Quercus spp. และ Castanopsis spp. ในวงศ์ Fagaceae)

จำนวนเมล็ดทีเ่ พาะ: วันที่ จำนวนวันหลังจากเพาะ

จำนวนเมล็ดทีง่ อก: ย้ายกล้าวันที่: จำนวนกล้าที่ย้าย: วันที่

ผลไม้บางชนิดทีม่ ลี กั ษณะแข็งแต่จะแตกเปิดออกเองเมือ่ แก่จดั แบบฝักของพืชตระกูลถัว่ เช่น ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) ผลของพืชพวกนีเ้ มือ่ เก็บมาแล้ว ต้องนำมาตากให้แห้งจนแตกออกเอง จากนัน้ จึงเขย่าให้ เมล็ดร่วงออกมา

จำนวนทีง่ อก

โครงสร้างเมล็ด เปลือกหุม้ เมล็ด (testa)

ยอดแรกเกิด (plumule)

เปอร์เซ็นต์การงอก:

วันที่

จำนวนทีง่ อก

รากแรกเกิด (radicle) ใบเลี้ยง (cotyledons)

82

ปลูกให้เป็นป่า


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

ชนิดผลของต้นไม้ปา่ บางชนิดทีพ่ บในภาคเหนือของประเทศไทย

แหลบุก, ตองหอม (ผลเมล็ดแข็ง)

ตีนเป็ด (ผลแห้งแตก)

ตาเสือทุง่ (ผลแห้งแตก)

ตาเสือ (ผลแห้งแตก)

มะยาง (ผลเมล็ดแข็ง)

รัง (ผลเปลือกแข็ง)

สารภีปา่ (ผลแห้งแตก) ติว้ ขน (ผลแห้งแตก) มะขามแป (ฝักแบบถัว่ )

ก่อตาหมูหลวง (ผลเปลือกแข็ง)

มณฑาป่า, มณฑาดอย (ผลกลุม่ ) ก่อเดือย (ผลเปลือกแข็ง) กางขีม้ อด (ฝักแบบถัว่ )

เครือหว้า, มะเดือ่ ใบใหญ่ (ผลไซโคเนีย) การรู้จักชนิดและประเภทของผลจะทำให้สามารถตัดสินใจเลือกวิธีการ แยกเมล็ดออกจากผลและการเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดได้ดียิ่งขึ้น

ก่อหม่น (ผลเปลือกแข็ง)

ปลูกให้เป็นป่า

83


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

งานในเรือนเพาะชำ - การย้ายกล้า

บนซ้าย - ดินผสมกับเปลือกถั่วลิสงและขุยมะพร้าว เป็นวัสดุปลูกที่เหมาะสำหรับการเจริญของกล้าไม้และระบายน้ำได้ดี บนขวา - ตักต้นกล้าออกจากถาดเพาะด้วยช้อน โดยใช้มอื จับบริเวณใบเพือ่ ไม่ให้เกิดความเสียหายกับลำต้น

ย้ายต้นกล้าใส่ในภาชนะปลูกแล้วกลบด้วยวัสดุปลูกอีกครั้ง กระแทกภาชนะกับพื้นเบา ๆ เพื่อให้วัสดุปลูกอยู่ตัว เติมวัสดุเพิ่มถ้ายังไม่เต็ม

84

ปลูกให้เป็นป่า


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

การเก็บรักษาเมล็ด การเก็บรักษาเมล็ดไว้เป็นเวลานานมักทำให้ความมีชวี ติ ของเมล็ดลดลง ดังนัน้ สำหรับพรรณไม้สว่ นใหญ่การเพาะ เมล็ดทีไ่ ด้มาทันทีจงึ เป็นทางเลือกทีด่ ที ส่ี ดุ อย่างไรก็ตามการ เก็บรักษาเมล็ดอาจมีความจำเป็นด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรกอาจต้องมีการเก็บรักษาเมล็ดของพรรณไม้ โครงสร้างบางชนิดเพื่อส่งเมล็ดดังกล่าวไปยังพื้นที่ที่หาเมล็ด ไม้ชนิดนัน้ ไม่ได้ ประการทีส่ องการเก็บเมล็ดไว้กอ่ นจะช่วยลดระยะเวลา ที่ต้องเลี้ยงกล้าของไม้โตเร็วไว้ในเรือนเพาะชำ เนื่องจากไม้ โตเร็วบางชนิดอาจโตจนมีขนาดไม่เหมาะทีจ่ ะใช้ปลูกตามฤดูกาล ซึง่ กล้าไม้เหล่านีต้ อ้ งได้รบั การตัดแต่งเพือ่ ไม่ให้โตเกินภาชนะ ปลูก การดูแลกล้าไม้พวกนีน้ านเกินความจำเป็นทำให้ตอ้ ง สิ้นเปลืองทั้งพื้นที่และทรัพยากรในเรือนเพาะชำ ดังนั้น การ เก็บรักษาเมล็ดไว้สัก 2-3 เดือนก่อนเพาะจะทำให้ต้นกล้าโต ได้ขนาดพอดีกับฤดูการปลูกและไม่ต้องเลี้ยงต้นกล้านาน เกินไป ประการทีส่ าม ต้นไม้บางชนิดให้ผลมากเพียงบางปีและ อาจไม่ตดิ ผลเลยในปีถดั ไป ดังนัน้ จึงต้องมีการเก็บรักษา เมล็ดของพรรณไม้เหล่านี้ไว้เพื่อใช้เพาะในปีที่ไม่สามารถเก็บ เมล็ดใหม่ได้เพือ่ ให้สามารถผลิตกล้าไม้ของพรรณไม้ได้อย่าง สม่ำเสมอ การเก็บรักษาเมล็ดมีวตั ถุประสงค์หลักเพือ่ รักษาความมี ชีวิตหรือความสามารถในการงอกของเมล็ดไว้ ดังนั้น เมล็ด จึงต้องได้รับการป้องกันจากเชื้อราหรือแมลงที่อาจทำให้เกิด ความเสียหายและต้องเก็บไว้ในสิ่งแวดล้อมที่ลดการหายใจ และกระบวนการต่าง ๆ ของเมล็ด เมล็ดของพืชทีเ่ ป็นแบบ ออร์โทดอกซ์สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานานในพื้นที่เย็นและ แห้ง (หรือแม้แต่ในตู้เย็น) แต่การเก็บเมล็ดของพวกรีคาลซิ แทรนท์จะทำได้ยากกว่า

เมล็ดแบบออร์โทดอกซ์และรีคาลซิแทรนท์ เมล็ดแบบออร์โทดอกซ์สามารถเก็บไว้ได้โดยทำให้แห้ง หรือไว้ทอ่ี ณ ุ หภูมติ ำ่ (สูงกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย) เพือ่ รักษาความมีชีวิตของเมล็ด แต่เมล็ดแบบรีคาลซิแทรนท์จะถูกทำลายได้งา่ ยเมือ่ แห้ง มากเกินไปหรืออยูท่ อ่ี ณ ุ หภูมติ ำ่ เมล็ดพวกนีบ้ างชนิดไม่มี

ระยะพักตัวเลยและเมล็ดมักมีอายุคอ่ นข้างสัน้ ส่วนใหญ่ แล้วถ้าเมล็ดมีความชืน้ ต่ำกว่าร้อยละ 60-70 หรือถูกแช่ แข็งจะถูกทำลายทัง้ หมด โอกาสทีจ่ ะเก็บรักษาเมล็ดพวก นีจ้ งึ เป็นไปได้นอ้ ยมากหรือต้องใช้เทคโนโลยีขน้ั สูงซึง่ ไม่สามารถ ทำได้ในเรือนเพาะชำระดับชุมชน ถ้าต้องการศึกษาหาวิธี เก็บรักษาเมล็ดควรเริม่ จากการสืบค้นข้อมูลเกีย่ วกับเมล็ดของ พืชที่ศึกษาเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นเมล็ดแบบออร์โทดอกซ์

การเก็บรักษาเมล็ดแบบออโทดอกซ์ การเก็บรักษาเมล็ดโดยทำให้แห้งทีอ่ ณ ุ หภูมปิ กติสามารถ เก็บเมล็ดไว้ได้นาน 12-24 เดือน แต่ถา้ ต้องการเก็บไว้นาน กว่านั้นอาจต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำ สำหรับการเก็บรักษาเมล็ด เพือ่ การฟืน้ ฟูปา่ นัน้ มักเป็นการเก็บไว้ในช่วงเวลาสัน้ ๆ จึง ไม่จำเป็นต้องใช้อณ ุ หภูมติ ำ่ การทำให้เมล็ดแห้งโดยการตากแดดติดต่อกันหลาย ๆ วัน จนกระทัง่ เมล็ดมีความชืน้ ระหว่างร้อยละ 5-10 หรือต่ำ กว่านัน้ ความชืน้ ระดับนีจ้ ะลดกระบวนการต่าง ๆ ภายใน เมล็ดและป้องกันการเจริญของเชือ้ รา เพือ่ ตรวจสอบว่า เมล็ดมีความชืน้ ในระดับทีต่ อ้ งการ ให้สมุ่ ตัวอย่างเมล็ด ชัง่ น้ำหนัก แล้วนำไปอบทีอ่ ณ ุ หภูมิ 120-150 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชัว่ โมง จากนัน้ นำเมล็ดมาชัง่ อีกครัง้ ถ้าน้ำหนัก ของเมล็ดลดลงไม่เกินร้อยละ 10 แสดงว่าเมล็ดมีความชืน้ ที่ เหมาะสมแล้ว ตัวอย่างเมล็ดทีน่ ำมาทดสอบนีเ้ มือ่ เสร็จแล้ว ให้แยกทิ้งไป หลังจากเมล็ดแห้งแล้วให้บรรจุลงในขวด โดยใส่เมล็ด ให้เต็มภาชนะบรรจุเพื่อลดปริมาณอากาศ และความชื้นภาย ในขวด การปิดฝาภาชนะให้สนิทมีความสำคัญมากในการ ป้องกันความชืน้ และสปอร์ของเชือ้ ราทีอ่ าจเข้าไปทำลายเมล็ด ถ้าจำเป็นต้องเปิดฝาภาชนะบ่อย ๆ ควรแยกเก็บเมล็ดเป็น ถุงเล็ก ๆ ก่อนใส่ลงในภาชนะเก็บเพือ่ เมล็ดจะได้ไม่ตอ้ ง สัมผัสกับอากาศและความชืน้ ทัง้ หมด นอกจากนี้ อาจใส่ สารดูดความชืน้ เช่น ซิลกิ าเจล ลงในภาชนะเก็บด้วย เก็บเมล็ดไว้ในโหลทีป่ ดิ สนิทพร้อมเขียนป้าย แสดงรายละเอียดของ เมล็ดภายใน

ปลูกให้เป็นป่า

85


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

การทำลายการพักตัวของเมล็ด การพักตัวเป็นกลไกป้องกันเมล็ดระหว่างกระจายตัวและ ทำให้เมล็ดงอกในช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมของปี (ดูบทที่ 3) อย่างไรก็ตามในการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำเรามักต้องการ ให้เมล็ดทัง้ หมดงอกได้เร็วทีส่ ดุ การพักตัวเป็นกลไกทีท่ ำให้ เมล็ดรอดชีวิตในธรรมชาติแต่ในเรือนเพาะชำการพักตัวเป็น สิง่ ทีท่ ำให้ประสิทธิภาพในการผลิตกล้าลดลง ดังนัน้ หลัง จากแยกเมล็ดออกจากผลแล้วอาจต้องใช้วธิ กี ารบางอย่างเพือ่ ทำลายการพักตัว โดยวิธกี ารทีใ่ ช้จะขึน้ กับกลไกการพักตัว ของเมล็ด เมล็ดจะถูกกระตุน้ ให้เริม่ งอกเมือ่ ต้นอ่อนทีไ่ ด้รบั น้ำ ซึง่ ปกติแล้วเปลือกหุ้มเมล็ดที่หนาและไม่ซึมน้ำทำให้กระบวน การดังกล่าวเกิดขึน้ ไม่ได้ ดังนัน้ วิธกี ารง่าย ๆ ทีจ่ ะกระตุน้ ให้เมล็ดงอกได้ คือ การตัดเปลือกหุม้ เมล็ดออกบางส่วน ด้วยมีดหรือกรรไกรตัดเล็บ สำหรับเมล็ดขนาดเล็กอาจทำ

ให้เกิดรอยแผล โดยขัดเมล็ดเบา ๆ ด้วยกระดาษทราย ระหว่างขัดต้องระวังไม่ให้ต้นอ่อนที่อยู่ด้านในถูกทำลายไป ด้วย การแช่เมล็ดในน้ำร้อนหรือกรดซัลฟูริกอาจให้ผลใกล้ เคียงกับการขัดให้เป็นรอย แต่ต้นอ่อนมีโอกาสถูกทำลายได้ มากกว่า เปลือกของเมล็ดพืชบางชนิดนอกจากจะกันน้ำเข้าแล้วยัง แข็งเกินกว่าทีต่ น้ อ่อนจะสามารถแทงทะลุออกมาได้ ใน กรณีนค้ี วรแช่เมล็ดในกรดก่อนเพาะ แต่กรดอาจฆ่าต้น อ่อนทีอ่ ยูภ่ ายในได้ ดังนัน้ ต้องแช่เมล็ดในกรดนานพอทีจ่ ะ ทำลายเปลือกหุ้มเมล็ดแต่ต้องไม่ทำลายใบเลี้ยงและต้นอ่อน การงอกของเมล็ดบางชนิดถูกยับยัง้ โดยสารเคมี การ กระตุน้ ให้เกิดการงอกจึงต้องกำจัดสารดังกล่าวก่อน ถ้า หากสารนั้นอยู่ในบริเวณเนื้อของผลให้ แกะเมล็ดออกจาก ผลทันทีที่เก็บมาเพื่อลดปัญหาดังกล่าว แต่ถ้าหากสารยับยั้ง การงอกอยู่ในเมล็ดจะต้องล้างเมล็ดแล้วผึ่งให้แห้งหลาย ๆ ครัง้

ความหนาแน่นในการเพาะเมล็ด

เพาะเมล็ดห่างเกินไป สิ้นเปลืองพื้นที่และ ทรัพยากรในเรือนเพาะชำ

86

ปลูกให้เป็นป่า

เพาะเมล็ดถี่เกินไปง่ายต่อการเกิดโรค ระบาด กล้าไม้บังกันทำให้ได้รับแสง น้อยและแก่งแย่งธาตุอาหารกัน

เพาะเมล็ดในระยะที่เหมาะสมทำให้อากาศ ถ่ายเทได้ดแี ละลดการแก่งแย่ง


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

ตอนที่ 4 - เพาะเมล็ด การงอกประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขัน้ ตอน เริม่ จากการดูดน้ำเข้าไปในเมล็ดทำให้เมล็ดพองขึน้ และดันเปลือกหุม้ เมล็ด ให้เปิดออก อาหารทีส่ ะสมไว้ในใบเลีย้ งถูกส่งไปยังรากและยอดของต้นอ่อน ซึง่ ค่อย ๆ โตขึน้ ขัน้ สุดท้ายรากและยอดของ ต้นกล้าแทงผ่านเปลือกหุ้มเมล็ดออกมา ซึ่งในการเพาะเมล็ดนั้นจะถือว่าเมล็ดงอกเมื่อสังเกตเห็นต้นหรือรากงอกออกมา การนำกล้าไม้ออกจากถาดเพาะเป็นขัน้ ตอนสุดท้ายของการเพาะเมล็ด ซึง่ ช่วงเวลาทีจ่ ะเริม่ เพาะนัน้ ขึน้ อยูก่ บั ฤดูกาลติดผล ของพืชแต่ละชนิด แต่สำหรับเมล็ดทีถ่ กู เก็บรักษาไว้ เวลาทีเ่ ริม่ เพาะจะขึน้ กับอัตราการเจริญของกล้าไม้และระยะเวลาทีต่ อ้ ง ใช้ในการเจริญเติบโตจนพร้อมปลูก ปัจจัยหลักทีม่ ผี ลต่อการงอกของเมล็ดมี 3 ประการ ได้แก่ ความชืน้ อุณหภูมิ และแสง สภาพแวดล้อมในการเพาะที่ เหมาะสมจะทำให้เมล็ดงอกได้เร็วและพร้อมเพรียงกัน ซึง่ ส่งผลดีตอ่ การดูแลกล้าต่อไป กล้าไม้ทง่ี อกใหม่คอ่ นข้างเปราะบางและ อาจเสียหายได้ง่ายทั้งจากการเกิดโรค การเคลื่อนย้าย การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและสัตว์ที่กินต้นกล้า ดังนั้น ช่วงนีจ้ งึ ต้องดูแลอย่างใกล้ชดิ เพือ่ ป้องกันปัญหาทีอ่ าจเกิดขึน้

วัสดุเพาะทีห่ น่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ แนะนำ ได้แก่ ดินจากป่า 2/3 ส่วนผสมกับขุยมะพร้าว 1/3 ส่วน สำหรับเมล็ดขนาด เมล็ดพันธุท์ ม่ี คี ณ ุ ภาพเป็นสิง่ ทีม่ คี วามสำคัญในการผลิต เล็กทีเ่ ป็นโรคเน่าคอดินได้งา่ ยควรใช้ดนิ ป่าผสมทรายหยาบใน กล้าไม้ เมล็ดทีน่ ำมาเพาะต้องไม่มเี ชือ้ รา รอยกัดแทะจากสัตว์ อัตราส่วนครึง่ ต่อครึง่ ในวัสดุเพาะควรมีดนิ ป่าเป็นส่วนผสม หรือรูจากการเจาะของหนอน แมลง สำหรับเมล็ดขนาดใหญ่ อยูด่ ว้ ยเสมอ เนือ่ งจากดินเป็นแหล่งของเชือ้ ราไมคอไรซาซึง่ วิธที เ่ี ร็วทีส่ ดุ ในการคัดเลือกเมล็ด คือ การแช่เมล็ดลงในน้ำ เป็นประโยชน์ตอ่ การเจริญของต้นกล้า ในการเพาะไม่ตอ้ งใส่ นาน 2-3 ชัว่ โมง จากนัน้ จึงคัดเมล็ดทีล่ อยน้ำออกทิง้ ไป (เมล็ดที่ ปุย๋ ลงในวัสดุปลูก เมล็ดขนาดเล็กและขนาดกลางเมื่อหยอดลงในถาดเพาะ ลอยน้ำมักเป็นเมล็ดที่ ส่วนของต้นอ่อนและใบเลีย้ งถูกทำลาย จึงทำให้กลวงและเบา) การเพาะเมล็ดทีไ่ ม่มคี ณ ุ ภาพนัน้ นอก แล้ว ให้กลบด้วยวัสดุปลูกลึกประมาณ 2-3 เท่าของเส้นผ่า จากจะเสียทั้งเวลาและพื้นที่ในเรือนเพาะชำแล้วยังอาจทำให้ ศูนย์กลางเมล็ด เพือ่ ป้องกันเมล็ดจากสัตว์และกันไม่ให้เมล็ด แห้งจนเกินไป นอกจากนัน้ ยังช่วยกันไม่ให้เมล็ดกระเด็น เกิดโรคระบาดขึน้ ในเรือนเพาะชำอีกด้วย ระหว่างการรดน้ำด้วย ถ้าหากพบปัญหาการเข้าทำลายเมล็ด จากหนูและกระรอกให้คลุมถาดเพาะด้วยตะแกรงลวด วิธเี พาะเมล็ด ถ้าเมล็ดอยูใ่ กล้กนั จนเกินไป กล้าไม้จะอ่อนแอและเกิด การระบาดของโรคได้งา่ ย จึงควรเพาะเมล็ดโดยให้มรี ะยะห่าง นำเมล็ดใส่ลงในถาดเพาะที่บรรจุวัสดุปลูกที่เหมาะสม ประมาณ 1-2 เซนติเมตร (หรือมากกว่านัน้ สำหรับเมล็ดขนาด ถาดควรมีความลึก 6-10 เซนติเมตร และต้องมีรรู ะบายน้ำทีด่ ี ใหญ่) เพือ่ ไม่ให้ตน้ กล้าขึน้ แน่นเกินไป รดน้ำเบา ๆ ทันทีหลัง วัสดุเพาะทีด่ ตี อ้ งช่วยพยุงต้นกล้าระหว่างการเจริญเติบโตโปร่ง จากนำเมล็ดลงถาดเพาะและรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ควรใช้ เพือ่ ให้ระบายน้ำและอากาศได้ดี ถ้าวัสดุปลูกระบายน้ำไม่ดี กระบอกฉีดน้ำหรือฝักบัวทีม่ รี ขู นาดเล็กในการรดน้ำเพือ่ ไม่ให้ น้ำทีข่ งั จะทำให้รากเน่าและเกิดโรคได้งา่ ย การใช้ดนิ เพียงอย่าง ดินแน่น ไม่ควรรดน้ำมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดเชือ้ ราได้ เดียวเป็นวัสดุปลูกมักทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว เพราะดินที่ ง่าย วางถาดเพาะไว้ในที่ร่มเพื่อกันไม่ให้ต้นกล้าและใบไหม้ แน่นเกินไปจะมีผลยับยั้งการงอกและการเจริญของกล้า สำหรับเมล็ดขนาดใหญ่ทม่ี อี ตั ราการงอกสูง เช่น ก่อตา ดังนัน้ วัสดุปลูกทีด่ คี วรมาจากส่วนผสมระหว่างดินป่าและ หมูหลวง (Quercus semiserrata) สามารถเพาะเมล็ดลงใน อินทรียว์ ตั ถุ เช่น ฟางข้าว ขุยมะพร้าว ถุงปลูกถุงละ 1 เมล็ดพร้อมวัสดุปลูกได้เลย

คุณภาพของเมล็ดทีเ่ พาะ

ปลูกให้เป็นป่า

87


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

การป้องกันการเกิดโรคโคนเน่า โรคโคนเน่าเป็นชือ่ รวมทีใ่ ช้เรียกโรคพืชทีเ่ กิดจากเชือ้ โรค ในดินซึ่งเข้าทำลายเมล็ดที่กำลังงอกและต้นกล้าอายุน้อย ถ้า เกิดโรคดังกล่าวในเมล็ดทีง่ อกจะทำให้มลี กั ษณะนิม่ และเปลีย่ น เป็นสีนำ้ ตาลหรือสีดำ จากการศึกษา พบว่า ต้นกล้าทีเ่ พาะจะ มีความเสี่ยงต่อโรคโคนเน่ามากที่สุดในช่วงหลังของการงอก โดยจะเกิดกับส่วนทีอ่ ยูใ่ ต้ดนิ ต้นกล้าทีเ่ ป็นโรคจะมีลกั ษณะ เหมือนถูกบีบบริเวณโคนต้น บริเวณดังกล่าวจะเปลีย่ นเป็น สีนำ้ ตาลในภายหลัง

ถ้าโรคดังกล่าวมีการระบาดมากให้ใช้ยาฆ่าเชื้อราในการ กำจัด ถึงแม้วา่ การใช้สารเคมีอาจไม่ใช่สง่ิ ทีด่ แี ต่ การใช้ยาฆ่า เชือ้ ราเพียงเล็กน้อยเมือ่ มีการระบาดอาจเป็นเพียงทางเดียวทีจ่ ะ สามารถรักษากล้าไม้ในชุดนัน้ ไว้ได้ มิฉะนัน้ อาจต้องรอไปจนถึง ปีหน้าถึงจะได้เก็บเมล็ดอีกครัง้ สำหรับพืชทีเ่ กิดโรคโคนเน่าได้งา่ ย เช่น มะเดือ่ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ จะใช้ทรายผสมกับดินในอัตราส่วน 50 : 50 โดย ไม่ใส่ขยุ มะพร้าว เนือ่ งจากขุยมะพร้าวทำให้กล้าไม้มโี อกาส เกิดโรคโคนเน่าได้มากขึน้ หรืออาจพ่นยากันราลงบนผิวดิน หลังจากนำเมล็ดลงถาดเพาะและพ่นอีกครัง้ หลังจากเพาะเมล็ด แล้วหนึง่ เดือน

โรคโคนเน่า

โรคโคนเน่าเกิดขึ้นจากเชื้อราหลายชนิด โดยสามารถสังเกตอาการของโรคได้จากสีของลำต้นบริเวณ คอรากที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมื่ออาการมากขึ้นใบจะเริ่มเหี่ยว จากนั้นลำต้นจะล้มและกล้าไม้จะตายในที่สุด

88

ปลูกให้เป็นป่า


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

ตอนที่ 5 - ย้ายกล้า การปลูกกล้าไม้

ภาชนะปลูก

การปลูกกล้าไม้อาจทำได้ 2 วิธไี ด้แก่ 1) ปลูกลงแปลง ดิน และ 2) ปลูกลงภาชนะปลูก สำหรับการฟืน้ ฟูปา่ นัน้ วิธี ปลูกในภาชนะมีความเหมาะสมมากกว่า เนือ่ งจากการขุดต้น กล้าออกจากดินและขนย้ายไปยังพื้นที่ปลูกโดยไม่มีอะไรห่อ หุ้มรากนั้นจะทำให้กล้าไม้ตายระหว่างการขนส่ง จากการทด ลอง พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของกล้าไม้ทข่ี นย้ายโดยไม่ ได้อยูใ่ นภาชนะปลูกนัน้ ต่ำกว่ากล้าไม้ทเ่ี พาะในภาชนะปลูกอย่าง มีนยั สำคัญ การปลูกกล้าไม้ในภาชนะปลูกนัน้ จะเพาะเมล็ดในถาด เพาะก่อนทีจ่ ะย้ายลงปลูกในภาชนะทีเ่ ตรียมไว้ เพือ่ เลีย้ งให้ โตได้ขนาดสำหรับการนำไปปลูกในแปลง ภาชนะปลูกช่วย ลดความเสียหายระหว่างขนย้ายต้นกล้าไปยังพืน้ ทีป่ ลูก นอก จากนี้ รากของกล้าไม้ทอ่ี ยูใ่ นดินเดิมจะช่วยลดความเครียด ของพืชทีเ่ กิดขึน้ จากการปลูกลงแปลงอีกด้วย

ภาชนะปลูกต้องมีขนาดใหญ่พอทีก่ ล้าไม้จะพัฒนาระบบ รากอย่างสมบูรณ์นน่ั คือมีความยาวและจำนวนพอเหมาะ มี รูระบายน้ำเพียงพอ น้ำหนักเบา ราคาไม่สงู นักและหาได้งา่ ย ในท้องตลาด ถุงพลาสติกขนาด 9 x 2.5 นิว้ เป็นภาชนะปลูกทีห่ น่วย วิจยั การฟืน้ ฟูปา่ พบว่ามีความเหมาะสมสำหรับการผลิตกล้าไม้ เกือบทุกชนิด ถุงแบบนีแ้ ข็งแรง มีนำ้ หนักเบา และราคาถูก ข้อเสียของการใช้ถงุ ดำเป็นภาชนะปลูก คือ ถุงยุบตัวได้งา่ ย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ระหว่างการขนส่ง ซึง่ อาจทำให้รากของ กล้าไม้เสียหายได้ระหว่างการปลูก นอกจากนี้ รากของต้น กล้าอาจขดงอที่ก้นถุง ซึ่งต้นไม้ที่มีรากคดงอนี้จะล้มได้ง่าย เมื่อมีพายุ นอกจากนี้ รากอาจงอกผ่านรูระบายน้ำลงไปใน ดินใต้ภาชนะปลูกทำให้รากอาจขาดเมือ่ ขนย้ายและเกิดความ เสียหายได้ การแก้ปญ ั หาทีอ่ าจเกิดขึน้ ในการดูแลต้นกล้า ในเรือนเพาะชำจะอธิบายอีกครัง้ ในตอนที่ 7

กระถางดัดราก

ถุงพลาสติก (9 x 2.5 นิว้ ) ราคาถูกแต่ใช้ได้เพียงครัง้ เดียวและอาจทำให้รากงอ

กระถางดัดราก (Root trainers) คือ กระถางพลาสติก ทีม่ สี นั อยูด่ า้ นในตามแนวตัง้ เพือ่ ทำให้รากของกล้าไม้เจริญลง ด้านล่าง ลดการขดงอของราก กระถางดัดรากของ REX เป็นชนิดทีผ่ ลิตในเมืองไทยและสามารถหาได้งา่ ย ในแต่ละ ชุดประกอบด้วยกระถางพลาสติกจำนวน 24 ใบ ทีม่ สี นั ด้าน ในและรูระบายน้ำขนาดใหญ่เหมาะสำหรับควบคุมความยาว ของราก (ตอนที่ 7) ภาชนะปลูกแบบนีก้ นิ พืน้ ทีน่ อ้ ยกว่าถุง พลาสติกและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รูปทรงคงตัวช่วย ป้องกันระบบรากของกล้าไม้ระหว่างขนส่งด้วย

กระถางดัดรากของ REX มีสัน ในแนวตัง้ ด้านในกระถางทำให้ รากงอกลงในแนวดิง่

กระถางดัดรากแบบ หลอดเหมาะกับการ ใช้อากาศควบคุมราก

ปลูกให้เป็นป่า

89


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

การเตรียมวัสดุปลูก วัสดุปลูกทีด่ คี วรมีความพรุนเพือ่ ให้ระบายอากาศและน้ำ ได้ดี ต้องช่วยพยุงรากของกล้าไม้เมือ่ เจริญเติบโตต้องมี อากาศ น้ำ และสารอาหารที่เพียงพอเพราะรากของกล้าไม้ ที่อยู่ในภาชนะจะถูกจำกัดอยู่ในวัสดุปลูกเท่านั้น วัสดุดงั กล่าวจึงต้องสามารถอุม้ น้ำไว้ได้พอสำหรับกล้าไม้ แต่จะต้องไม่มากจนเกินไป ดินจากป่าเพียงอย่างเดียวเป็น วัสดุปลูกทีไ่ ม่ดนี กั เนือ่ งจากดินมักจะแน่นเกินไปทำให้ ระบายน้ำได้ไม่ดีและรากเน่าได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ในการเตรียมวัสดุปลูกควรผสมดินจาก ป่าด้วยทุกครัง้ เนือ่ งจากดินเป็นแหล่งของสปอร์เชือ้ รากลุม่ ไมคอไรซาซึ่งมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ ผสมดินจากป่าเข้ากับอินทรียว์ ตั ถุ เช่น ขีเ้ ถ้าแกลบ ขุย

มะพร้าว เปลือกถัว่ ลิสง ปุย๋ คอกทีห่ มักจากวัสดุในท้องถิน่ หรือทรายหยาบ การผสมดินกับวัสดุเหล่านีจ้ ะเพิม่ ความ พรุน ทำให้ระบายน้ำและอากาศได้ดีขึ้นและทำให้วัสดุปลูก ไม่แน่นเกินไป วัสดุทน่ี ำมาผสมนีค้ วรเป็นสิง่ ทีห่ าได้งา่ ยใน ท้องถิ่นตลอดทั้งปีและมีราคาถูก ร่อนดินและอินทรียว์ ตั ถุดว้ ยตะแกรงหยาบ เพือ่ แยก หินและวัสดุขนาดใหญ่ออก จากนั้นผสมให้เข้ากันด้วยพลั่ว เก็บวัสดุปลูกที่เตรียมแล้วให้มีความชื้นอย่าให้แห้งเกินไป ส่วนผสมของวัสดุปลูกทีพ่ บว่าเหมาะสมกับการเจริญของ กล้าไม้ ได้แก่ ดินจากป่าผสมกับเปลือกถัว่ ลิสง และ ขุย มะพร้าวในอัตราส่วน 2 : 1 : 1 ไม่ควรนำวัสดุปลูกทีใ่ ช้แล้วกลับมาใช้อกี โดยเฉพาะอย่าง ยิง่ วัสดุปลูกทีแ่ ยกออกมาจากกล้าไม้ทไ่ี ม่แข็งแรงหรือเป็นโรค เพราะอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคในเรือนเพาะชำได้

กรอบ 6.1 - การผลิตกล้าไม้โดยไม่ใช้เมล็ด : กล้าไม้ธรรมชาติ การเตรียมกล้าไม้ในเรือนเพาะชำจากการเพาะเมล็ดโดยปกติจะใช้เวลาอย่างน้อย 18 เดือน เพราะต้องรอให้ตน้ ไม้ ติดผลและเมล็ดงอกเป็นเวลานาน ดังนัน้ อีกทางหนึง่ ทีอ่ าจเพิม่ การผลิตกล้าไม้ได้กค็ อื การขุดกล้าไม้ทม่ี อี ยูใ่ นธรรมชาติ มาดูแลในเรือนเพาะชำ โดยปกติแม่ไม้แต่ละต้นจะให้กล้าไม้จำนวนมากซึง่ ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตต่อไปในพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ จะตายก่อนเจริญเป็นไม้ใหญ่ ดังนั้นการขุดกล้าไม้บางส่วนเพื่อมาดูแลต่อในเรือนเพาะชำจึงไม่มีผลต่อการขยายพันธุ์ของ ต้นไม้นน้ั แต่อย่างใด กล้าไม้ทถ่ี กู ขุดจากป่าถ้านำไปปลูกในพืน้ ทีเ่ ปิดทันทีตน้ ไม้มกั จะตาย จึงจำเป็นต้องย้ายกล้าดังกล่าว มาเลี้ยงในเรือนเพาะชำและทำให้แกร่งก่อนนำไปปลูกในแปลงต่อไป เชิดศักดิ์ เกือ้ รักษ์ (2545) ได้ทดลองนำกล้าไม้ธรรมชาติมาใช้ในการผลิตกล้าของพรรณไม้โครงสร้าง พบว่า กล้าไม้ทข่ี ดุ ออกมาจากธรรมชาติควรเป็นต้นทีอ่ ยูใ่ นรัศมี 5 เมตรจากต้นแม่เนือ่ งจากกล้าไม้พวกนีไ้ ม่สามารถแก่งแย่งปัจจัยสำคัญในการ เจริญเติบโตกับต้นแม่ได้และจะตายในทีส่ ดุ การศึกษานี้ แนะนำให้ขดุ กล้าไม้ในช่วงต้นฤดูฝน ขณะทีด่ นิ อ่อนนุม่ เพือ่ ให้รากเสียหายน้อยทีส่ ดุ กล้าไม้ควรมีความสูงไม่ เกิน 20 เซนติเมตร เนือ่ งจากต้นทีโ่ ตกว่านีจ้ ะบอบซ้ำจากการย้ายปลูกมากกว่าและมีอตั ราการตายสูง การตัดแต่งกล้าไม้หลังจากขุดขึน้ มาจะช่วยลดอัตราการตาย และเพิม่ อัตราการเจริญเติบโตของลูกไม้ให้ดขี น้ึ ตัดลำต้น ของกล้าไม้ออกประมาณหนึง่ ในสามหรือหนึง่ ในสอง โดยให้ตดั เฉียงประมาณ 45 องศา เหลือยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ริดใบออกประมาณครึง่ หนึง่ เล็มรากแขนงออกบางส่วนเพือ่ นำกล้าไม้ลงปลูกในถุงดำทีบ่ รรจุวสั ดุปลูกแล้ว ขนาด 9 x 2.5 นิว้ ได้สะดวก วางกล้าไม้ทไ่ี ด้ไว้ในทีร่ ม่ จัด มีแสงประมาณร้อยละ 20 เป็นเวลา 6 สัปดาห์ จากนัน้ จึงเริม่ กระบวนการดูแลและทำกล้าไม้ ให้แกร่งเช่นเดียวกับกล้าไม้ทเ่ี พาะจากเมล็ด วิธีการนี้สามารถย่นระยะเวลาในการผลิตกล้าไม้ได้หลายเดือนหรืออาจถึงหนึ่งปีเมื่อเทียบกับการผลิตโดยเพาะเมล็ดใน เรือนเพาะชำ

90

ปลูกให้เป็นป่า


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

ปริมาณวัสดุปลูกทีต่ อ้ งเตรียม

การบรรจุวสั ดุปลูกลงภาชนะปลูก

การเตรียมวัสดุปลูกให้เพียงพอกับความต้องการเป็นสิง่ สำคัญสำหรับการผลิตกล้าไม้ ถุงพลาสติก (ขนาด 9 x 2.5 นิว้ ) 2,000 ถุง จะต้องใช้ดนิ ป่า 1 ลูกบาศก์เมตร และ อินทรียว์ ตั ถุอกี 1 ลูกบาศก์เมตร ซึง่ สามารถคำนวณ ปริ ม าณของวั ส ดุ ป ลู ก ที ่ ใ ช้ ไ ด้ จ ากสมการด้ า นล่ า ง ปริมาตรของวัสดุปลูกที่ต้องการ = รัศมีของภาชนะปลูก2 x ความสูงของภาชนะปลูก x 3.14159 x จำนวนภาชนะทีใ่ ช้

วัสดุปลูกทีจ่ ะบรรจุลงถุงต้องชืน้ แต่ไม่เปียกมากเกินไป ถ้าแห้งไปให้ฉดี ด้วยน้ำเล็กน้อย สำหรับกล้าขนาดเล็กให้ใส่ วัสดุปลูกให้เต็มถุง จากนัน้ กระแทกเบา ๆ เพือ่ ให้วสั ดุปลูก อยูต่ วั แล้วเติมวัสดุปลูกให้เต็มถุงอีกครัง้ วัสดุปลูกทีบ่ รรจุลง ในถุงนีไ้ ม่ควรให้แน่นเกินไป เพราะจะไปยับยัง้ ความสามารถ ในการงอกของรากและลดการระบายน้ำ แต่ถา้ หลวมเกินไป ก็อาจทำให้ถงุ โค่นล้มได้งา่ ย สำหรับการปลูกพรรณไม้ทม่ี เี มล็ดขนาดใหญ่ให้ใส่วสั ดุปลูก ลงไปประมาณครึง่ ถุง จากนัน้ จึงวางเมล็ดลงไปและกลบด้วย วัสดุปลูกอีกครัง้

ลักษณะของวัสดุปลูก

พืน้ ทีข่ องโพรงหรือรูพรุนในวัสดุปลูกมีความสำคัญ เท่า ๆ กับส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น อนุภาคดิน ช่องว่าง ที่เชื่อมต่อกันอยู่ในดินเป็นท่อส่งอากาศและน้ำให้แก่ ระบบรากของพืช การผสมดินจากป่ากับวัสดุอื่น ๆ เช่น ขุยมะพร้าวหรือเปลือกถั่วลิสง จะทำให้วัสดุปลูก มีรพู รุนมากขึน้

ปลูกให้เป็นป่า

91


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

กรอบ 6.2 - การผลิตกล้าไม้โดยไม่ใช้เมล็ด : การปักชำ กิง่ ชำมักโตจนมีขนาดพร้อมปลูกลงแปลงได้เร็วกว่ากล้าไม้ทเ่ี พาะจากเมล็ด นอกจากนีเ้ มือ่ นำไปปลูกแล้วต้นไม้ทไ่ี ด้จะ ใช้เวลาน้อยกว่าในการเริม่ ให้ผล ซึง่ นับเป็นคุณสมบัตทิ ต่ี รงกับความต้องการของวิธพี รรณไม้โครงสร้าง อย่างไรก็ตามกิง่ ชำมี ลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับต้นแม่ทง้ั หมด ดังนัน้ ในการเตรียมกิง่ ชำควรตัดกิง่ มาจากต้นแม่หลาย ๆ ต้นเพือ่ รักษาความ หลากหลายทางพันธุกรรม วิธกี ารนีเ้ ป็นอีกทางเลือกหนึง่ นอกเหนือจากการใช้กล้าไม้ธรรมชาติในการผลิตกล้าไม้ สำหรับ พรรณไม้ทไ่ี ม่คอ่ ยมีเมล็ดหรือเพาะได้ยาก การผลิตกิง่ ชำเพือ่ การค้าอาจใช้เทคโนโลยีทม่ี รี าคาแพงเพือ่ ผลิตกล้าไม้ให้ได้ ในปริมาณมาก ๆ แต่ในเรือนเพาะชำขนาดเล็กการใช้วธิ กี ารง่าย ๆ อาจประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน เช่น ในหนังสือแนะ นำการผลิตกล้าไม้ดว้ ยวิธกี ารง่าย ๆ ของ Longman และ Wilson (1993) สำหรับประเทศไทย สุภาวรรณ วงศ์คำจันทร์ (2003) นักศึกษาระดับปริญญาเอกได้ทำการวิจยั ปรับปรุงวิธกี ารง่าย ๆ ในการใช้ถงุ พลาสติกเพือ่ การผลิตกิง่ ปักชำโดยได้ให้ คำแนะนำดังนี้ : “เลือกตัดกิ่งที่แตกใหม่ (สีเขียวและเปลือกเรียบ) ขนาดปานกลางจากต้นแม่ไม้หลาย ๆ ต้น โดยใช้กรรไกร ตัดกิง่ ใส่ลงในถุงพลาสติกทีม่ นี ำ้ อยูเ่ ล็กน้อย นำกลับมาที่ เรือนเพาะชำทันที จากนัน้ ตัดกิง่ ให้มคี วามยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร โดยตัดส่วนของกิง่ ทีแ่ ก่เกินไปและยอด อ่อนทิง้ ไป ถ้าต้นไม้ชนิดทีน่ ำมามีตาทุกข้อและมีชว่ ง ระหว่างข้อยาวพอสมควร ให้ตดั กิง่ โดยแต่ละท่อนมีหนึง่ ข้อ แต่ถา้ ช่วงระหว่างข้อสัน้ อาจตัดกิง่ ให้แต่ละท่อนมี 2-3 ข้อ ตัดปลายให้เฉียงทั้งสองด้าน ตัดใบออกประมาณ ร้อยละ 30-50 แช่กง่ิ ทีเ่ ตรียมเสร็จแล้วลงในสารละลาย เบนเลท (benlate 3 กรัม/น้ำ 10 ลิตร) นาน 5-10 นาที เพื่อป้องกันเชื้อรา ในการกระตุน้ ให้กง่ิ ชำออกรากส่วนมากจำเป็นต้องใช้ ฮอร์โมนกระตุน้ ต้นไม้แต่ละชนิดจะตอบสนองต่อฮอร์โมน

ตัดกิง่ ส่วนทีแ่ ก่หรืออ่อนเกินไปทิง้ เลือกเฉพาะกิ่งที่มีข้อซึ่งมีใบหรือตาติดอยู่

92

ปลูกให้เป็นป่า

ต่างชนิดกัน ดังนัน้ อาจต้องทดสอบหาฮอร์โมนทีเ่ หมาะสมสำหรับ ต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนมากฮอร์โมนสำเร็จรูปทีม่ อี อกซิน สังเคราะห์ IBA และ NAA มักมีประสิทธิภาพในการกระตุน้ ให้เกิดราก ฮอร์โมนนีม้ กั อยูใ่ นรูปผงสามารถโรยลงบริเวณรอย ตัดบาง ๆ ตามวิธกี ารใช้ทร่ี ะบุไว้ขา้ งกล่อง ผสมทรายกับขี้เถ้าแกลบในอัตราส่วน 1:1 เป็นวัสดุชำ บรรจุลงในถุงพลาสติกขนาดเล็ก ปักกิ่งที่เตรียมไว้ลงในถุงชำ รดน้ำและกดลงบริเวณโคนกิง่ เบา ๆ ให้วสั ดุชำแน่น นำถุงทีม่ กี ง่ิ ชำบรรจุลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่ (20 x 30 เซนติเมตร) ถุงละ 10 กิง่ เติมน้ำลงไปประมาณ 1 ลิตร แล้วปิดถุงให้แน่นจะทำให้ ในถุงมีความชืน้ ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ เลีย้ งกิง่ ชำไว้ในถุงจนกว่าราก จะงอกและทำหน้าทีด่ ดู น้ำเลีย้ งกิง่ ชำได้ ติดป้ายแสดงชนิดของ กิง่ ชำ วันทีช่ ำ ในแต่ละสัปดาห์เติมน้ำเพิม่ ถ้าหากจำเป็น บันทึกว่า มีกง่ิ ชำงอกรากและแตกยอดกีก่ ง่ิ เก็บกิง่ ทีต่ ายและใบทีแ่ ห้งร่วง ออกจากถุง เมือ่ รากและยอดของกิง่ ชำเจริญเต็มทีแ่ ล้วจึงย้ายกิง่ ชำลงถุงขนาด 9 x 2.5 นิว้ ก่อนดูแลต้นกล้าเช่นเดียวกับกล้าไม้ ทีเ่ ตรียมจากเมล็ด”

ถุงย่อยทีซ่ อ้ นอยูใ่ นถุงใหญ่รกั ษาความชืน้ ได้ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในระหว่างที่รอให้กิ่งชำแตกราก


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

งานในเรือนเพาะชำ : การดูแลกล้าไม้ ด้านล่างและขวา - การตัดแต่งรากเป็นสิ่งที่ จำเป็นเพือ่ ป้องกันไม่ให้รากงอกทะลุลงไปใน ดินด้านล่างภาชนะปลูก และยังช่วยให้ราก ในภาชนะปลูกแตกกิง่ และพัฒนามากขึน้

บน - พืน้ ทีว่ างกล้าไม้ ก่ออิฐหรือใช้ไม้ไผ่ทำเป็นขอบของพืน้ ทีว่ าง กล้าเพือ่ ช่วยพยุงให้ภาชนะปลูกตัง้ อยูไ่ ด้ ล่างซ้าย - การรดน้ำเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทักษะ ใช้ฝักบัวที่มีรูละเอียด เพือ่ ให้ได้หยดน้ำขนาดเล็กจะได้ไม่กระแทกดินจนทำให้ดนิ แน่น ล่างขวา - ใส่ปุ๋ยแบบละลายตัวช้าเช่น ออสโมโค้ท (osmocote) เพื่อเร่งการเจริญของต้นกล้า

ปลูกให้เป็นป่า

93


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

งานในเรือนเพาะชำ - การดูแลกล้าไม้

บนซ้าย - หนอนผีเสื้อกลางคืนบนต้นสลีนก (Balakata baccata) กำจัดได้โดยการเก็บออกด้วยมือหรือใช้ยาฆ่าแมลง บนขวา - กำจัดวัชพืชก่อนทีจ่ ะโตเกินไป กลางขวา - มอสและลิเวอร์เวิร์ตสามารถขึ้นไปคลุมภาชนะได้อย่าง รวดเร็ว กลางซ้าย - ราสนิมบนใบของ หม่อนหลวง (Morus macloura) กำจัดต้นกล้าทีเ่ ป็นโรคหรือฉีดยาฆ่าเชือ้ รา บน - การตัดแต่งต้นกล้าเป็นหนึง่ ในวิธกี ารควบคุมคุณภาพกล้าไม้ ซ้าย - การติดตามการเจริญและการตายของกล้าไม้ทำให้ สามารถพัฒนาการผลิตให้มปี ระสิทธิภาพมากขึน้

94

ปลูกให้เป็นป่า


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

1. เจาะหลุมสำหรับราก 2. ยกต้นกล้าออกจากถาดเพาะโดยจับตรงส่วนใบ 3. วางต้นกล้าลงในหลุมแล้วเติมวัสดุปลูกให้เต็ม 4. กระแทกให้วัสดุอยู่ตัว 5. เติมวัสดุปลูกถ้าจำเป็นโดยเว้นระยะจากปากถุง ประมาณ 1-2 เซนติเมตร (6)

เทคนิคการย้ายกล้า 6.

2.

1.

1.

5.

3.

4.

5.

การย้ายกล้า

การเลีย้ งกล้าไม้

การย้ายกล้า คือ การย้ายกล้าไม้จากถาดเพาะลงสู่ ภาชนะปลูก กล้าไม้ทเ่ี พิง่ งอกนัน้ เปราะบางจึงต้องปฏิบตั ิ อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ลำต้นและไม่ ให้รากแห้ง เวลาทีเ่ หมาะสมสำหรับการย้ายกล้า คือ ช่วง เย็น โดยต้องทำในทีร่ ม่ บรรจุวสั ดุปลูกลงภาชนะแล้วรดน้ำเล็กน้อย จากนัน้ เจาะวัสดุให้เป็นหลุมด้วยช้อนให้ใหญ่พอที่จะใส่รากลงไปได้ โดยไม่ทำให้รากงอ ใช้นิ้วชี้และหัวแม่โป้งจับต้นกล้าบริเวณ ใบเบา ๆ ค่อย ๆ ตักต้นกล้าขึน้ จากถาดเพาะด้วยช้อน วาง รากต้นกล้าลงในหลุมที่เตรียมไว้ แล้วเติมวัสดุปลูกให้เต็ม กระแทกถุงปลูก 2-3 ครั้ง เพื่อให้วัสดุปลูกแน่นและอยู่ตัว มากขึ้น ถ้าวัสดุปลูกน้อยไปให้เติมจนกระทั่งเหลือระยะจาก ปากถุง 1-2 เซนติเมตร กดวัสดุปลูกเบา ๆ เพือ่ ให้มน่ั ใจว่า ต้นกล้าจะไม่ล้มและอยู่กลางภาชนะปลูก

การเลีย้ งกล้าไม้ หมายถึง ช่วงเวลาทีก่ ล้าไม้ได้รบั การ ดูแลในเรือนเพาะชำตัง้ แต่การย้ายลงภาชนะปลูกจนกระทัง่ นำ ไปปลูกในพืน้ ที่ หลังจากย้ายกล้าลงในภาชนะปลูกแล้วต้องวางกล้าไม้ไว้ ในทีร่ ม่ และรดน้ำผสมปุย๋ ยูเรียเจือจาง (ยูเรีย 1 ช้อนชาใน น้ ำ 20 ลิ ต ร) วั น ละ 2 ครั ้ ง เป็ น เวลา 2 สั ป ดาห์ ถ้าใช้ถงุ พลาสติกเป็นภาชนะปลูกจะต้องคอยดูวา่ ถุงตัง้ ดี หรือไม่และต้องวางไม่เบียดกันเกินไป ในช่วงแรกถุงปลูก อาจสามารถวางชิดกันได้แต่เมือ่ ต้นกล้าโตขึน้ ควรขยับถุงปลูก ให้หา่ งจากกัน 1- 2 เซนติเมตร เพือ่ ไม่ให้ตน้ กล้าบดบังแสง กันเอง แยกถุงปลูกออกเป็นแถวโดยใช้ไม้ไผ่กั้น

2.

3.

6.

ปัญหาของการย้ายกล้าลงภาชนะปลูก

4.

1. วัสดุปลูกบรรจุไม่เต็มถุงทำให้ปากถุงพับลง ทำให้นำ้ ลงไปไม่ได้ 2. รากต้นกล้างอทำให้ตน้ ไม้ทไ่ี ด้โค่นล้มง่าย 3. ต้นกล้าไม่อยู่กลางภาชนะปลูก 4. วัสดุปลูกหลวมเกินไป 5. วัสดุปลูกแน่นเกินไป 6. วัสดุปลูกแน่นพอดี 7. ต้นกล้าที่ปลูกอย่างถูกต้อง

7.

ปลูกให้เป็นป่า

95


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

ตอนที่ 6 - การดูแลกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ การให้แสง หลังจากการย้ายกล้าให้นำกล้าไม้วางไว้ในที่ร่มที่มีแสง ประมาณร้อยละ 50 เพือ่ ป้องกันใบไหม้และเฉา เตรียมพืน้ ที่ โดยใช้ตาข่ายกันแสงติดกับกรอบขนาด 0.5-2.5 เมตร แขวน ไว้เหนือต้นกล้า ตาข่ายกันแดดนีม้ หี ลายเกรดขึน้ อยูก่ บั ปริมาณ ของแสงทีผ่ า่ น สามารถหาซือ้ ได้ทว่ั ไปในร้านอุปกรณ์ทางการ เกษตร แต่ถา้ หากหาซือ้ ไม่ได้หรือราคาแพงเกินไปอาจใช้ วัสดุในท้องถิน่ เช่น ทางมะพร้าว ไม้ไผ่ หรือ แม้กระทัง่ หญ้าแห้งแทนได้ อย่างไรก็ตาม ต้องระวังไม่ให้รม่ เกินไป เพราะถ้ากล้าไม้ได้รบั แสงน้อยกว่าร้อยละ 50 จะทำให้กล้าไม้ ยืดสูงแต่อ่อนแอทำให้เกิดโรคได้ง่าย ถึงแม้วา่ จะย้ายลงภาชนะปลูกแล้ว แต่กล้าไม้ยงั อาจ ตายได้ถา้ อยูก่ ลางแดดหรืออุณหภูมสิ งู เกินไป เพือ่ ลดปัญหา ดังกล่าว จึงควรวางกล้าไม้ในทีร่ ม่ จนกว่าจะถึงเวลาทำให้แกร่ง

การรดน้ำ การรดน้ำเป็นสิง่ ทีส่ ำคัญมากในการดูแลกล้าไม้ในเรือนเพาะ ชำและเป็นงานทีต่ อ้ งการทักษะทีไ่ ด้รบั การฝึก ภาชนะปลูกแต่ ละใบสามารถเก็บน้ำได้ในปริมาณไม่มากนัก ถ้าหากไม่ได้ รดน้ำกล้าไม้นานกว่าหนึง่ วันในช่วงฤดูแล้งกล้าไม้อาจแห้งตาย ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าน้ำมากเกินไปอาจเกิดน้ำขังก่อ ให้เกิดความเสียหายได้เช่นเดียวกัน เรือนเพาะชำกล้าไม้เพือ่ การค้าขนาดใหญ่มกั มีระบบการให้ น้ำแบบฉีดพ่นละอองน้ำซึง่ ต่อกับท่อประปาโดยตรงทำให้ไม่ตอ้ ง ใช้แรงงานมากนัก แต่สำหรับเรือนเพาะชำกล้าไม้ขนาดเล็กที่

รดน้ำเองดีกว่าการใช้ระบบพ่นน้ำด้วยสปริงเกอร์ เนือ่ งจากสามารถประเมินความต้องการน้ำของ กล้าไม้แต่ละชนิดได้ดีกว่า โปรดสังเกตลักษณะ การจัดวางกล้าไม้ในภาพซึง่ ใช้ไม้ไผ่มาช่วยในการ แยกกล้าไม้ เพื่อกันไม่ให้ต้นกล้าบังแสงกันเอง

96

ปลูกให้เป็นป่า

ผลิตพรรณไม้ทห่ี ลากหลายชนิดซึง่ มีความต้องการน้ำแตกต่าง กัน การรดน้ำด้วยมือโดยใช้บัวรดน้ำหรือสายยางที่มีฝักบัวรู ละเอียดจะเหมาะสมกว่าและผู้ที่ทำหน้าที่รดน้ำสามารถตรวจ สอบความชืน้ ของกล้าไม้แต่ละรุน่ แต่ละชนิด เพือ่ ปรับปริมาณ น้ำให้เหมาะสมได้มากขึน้ ในการรดน้ำนัน้ จะต้องประเมินด้วยว่าควรให้นำ้ แก่กล้าไม้ มากน้อยเพียงใด ถ้าหากว่าวัสดุปลูกยังชืน้ อยูอ่ าจไม่จำเป็น ต้องรดน้ำซ้ำ แต่ถา้ ผิวหน้าของวัสดุปลูกเริม่ แห้งแสดงว่า ต้องให้นำ้ แก่กล้าไม้แล้ว ถ้าพบว่าภาชนะปลูกมีมอสหรือ ลิเวอร์เวิรต์ ขึน้ อยูแ่ สดงว่าวัสดุปลูกมีความชืน้ สูงเกินไป ต้อง ลดปริมาณน้ำลง ถอนมอสและลิเวอร์เวิรต์ ทีข่ น้ึ อยูอ่ อกทิง้ เพราะพืชทัง้ สองจะทำให้นำ้ ซึมลงไปด้านล่างน้อยลง สำหรับเรือนเพาะชำกลางแจ้ง การให้นำ้ แก่ตน้ กล้าอาจ แตกต่างกันไปตามฤดูกาล เช่น ในช่วงฤดูฝนอาจไม่ตอ้ งรดน้ำ เลย ในขณะที่ฤดูแล้งอาจต้องรดน้ำต้นกล้าถึงวันละสองครั้ง ดังนัน้ การให้คนเป็นผูค้ วบคุมการให้นำ้ จึงดีกว่าการให้นำ้ อัตโนมัติ การให้นำ้ กล้าไม้ควรทำในตอนเช้าตรูห่ รือตอนเย็น โดย ควรมีการจัดตารางการรดน้ำทีเ่ ป็นระบบ เจ้าหน้าทีท่ ร่ี บั ผิดชอบ ในการรดน้ำกล้าไม้ตอ้ งจดบันทึกวันและเวลาในการรดน้ำทุกครัง้


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

การให้ปยุ๋

ไมคอไรซา

ธาตุอาหารเป็นสิง่ ทีจ่ ำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเพือ่ ให้โตเร็ว กล้าไม้ตอ้ งการไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปรแตสเซียม (K) ปริมาณมาก แมกนีเซียม แคลเซียม และซัลเฟอร์ ในปริมาณปานกลาง และยังต้องได้รบั ธาตุ อืน่ ๆ เช่น เหล็ก ทองแดง และโบรอน เล็กน้อย ธาตุอาหาร เหล่านีอ้ าจมีอยูแ่ ล้วในวัสดุปลูก แต่ถา้ ไม่พอจะต้องเสริม ให้ดว้ ยการใส่ปยุ๋ ทัง้ นี้ อาจส่งตัวอย่างดินเพือ่ วิเคราะห์ ปริมาณธาตุอาหาร และขอคำแนะนำในการใช้ปุ๋ยจากหน่วย ส่งเสริมการเกษตร หรือวิทยาลัยเกษตรกรรมในท้องถิ่น การตัดสินใจว่าจำเป็นต้องให้ปยุ๋ หรือไม่นน้ั ขึน้ อยูก่ บั อัตรา การเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ของกล้าไม้ เช่น กล้าไม้ โตช้าและต้องการเร่งการเจริญเติบโตเพื่อให้ได้ขนาดก่อนถึง เวลาปลูกลงแปลงหรือกล้าไม้ที่แสดงอาการขาดธาตุอาหาร เช่น ใบเหลือง อาจจำเป็นต้องให้ปยุ๋ ปุย๋ ทีห่ น่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ แนะนำให้ใช้ในการผลิตกล้า ไม้ คือ ปุย๋ เม็ดแบบละลายช้า ซึง่ พบว่าสามารถช่วยเร่งการ เจริญของกล้าไม้ได้ดี โดยใส่ปยุ๋ ออสโมโค้ทสูตร 14-14-14 ลงในภาชนะปลูกประมาณ 10 เม็ด (ประมาณ 0.3 กรัม) ต่อถุง ทุก ๆ 3 เดือน หรืออาจใช้ปยุ๋ นิวตริคอตแทนก็ได้ ถึง แม้ปุ๋ยแบบละลายช้าจะมีราคาต่อกิโลกรัมค่อนข้างสูง แต่ การใส่แต่ละครั้งใช้ปริมาณน้อยและใส่เพียงทุก 3-6 เดือน จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของแรงงานลงได้มาก ถ้าไม่ใช้ปยุ๋ แบบละลายช้าอาจใส่ปยุ๋ ธรรมดาแทน (เช่น ปุย๋ ตรากระต่ายสูตร 15:15:15) โดยละลายปุย๋ 3-5 กรัม ลงในน้ำ 1 ลิตร นำไปรดต้นกล้า ทุกครัง้ หลังการใส่ปยุ๋ ให้ รดน้ำเปล่าซ้ำอีกครัง้ หนึง่ เพือ่ ชะล้างปุย๋ ทีต่ กค้างอยูบ่ นใบออก การใส่ปยุ๋ แบบนีต้ อ้ งใส่ปยุ๋ ซ้ำทุก 10 - 14 วัน จึงต้องใช้ เวลาและแรงงานมากกว่าการใช้ปุ๋ยละลายช้า ไม่ตอ้ งให้ปยุ๋ กับกล้าไม้ทโ่ี ตเร็ว เช่น นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) กล้าไม้เหล่านีม้ กั โตจนได้ขนาดก่อน ถึงฤดูปลูกและการให้ปุ๋ยจะยิ่งทำให้กล้าไม้โตจนเกินไป อีก กลุม่ หนึง่ ทีไ่ ม่จำเป็นต้องให้ปยุ๋ ได้แก่ ไม้ในตระกูลถัว่ ซึง่ มี ความสามารถในการตรึงไนโตรเจน เช่น ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) อย่าให้ปยุ๋ เมือ่ ใกล้ถงึ เวลาทำให้กล้าไม้แกร่งเพราะในช่วง นั้นกล้าไม้ไม่ควรจะแตกยอดใหม่ การให้ปยุ๋ มากเกินไปอาจก่อให้เกิดผลเสียกับระบบรากและ ถ้าหากปุ๋ยสัมผัสกับเนื้อเยื่อพืชโดยตรงอาจทำให้เกิดอาการ ไหม้ได้

หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ พบว่า กล้าไม้สว่ นใหญ่ทป่ี ลูก (ยกเว้นพวกก่อ) ในวัสดุปลูกทีม่ ดี นิ จากป่าเป็นส่วนผสม นั้น มีไมคอไรซาเข้าไปเจริญในระบบรากได้เองโดยไม่ต้อง ใส่เชื้อราไมคอไรซาลงไป ในปัจจุบันเริ่มมีหัวเชื้อไมคอไรซา ทัง้ แบบน้ำและแบบเม็ดเข้ามาขายในเมืองไทย แต่ยงั มีราคา แพงในการทดลองเติมเม็ดเชือ้ ไมคอไรซาใส่ลงในภาชนะปลูก ระหว่างการย้ายกล้านั้น หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าพบว่า อัตรา การตายของต้นกล้าสูงขึน้ (อาจเนือ่ งจากรากได้รบั ความ กระทบกระเทือนจากการใส่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว) และไม่มี ผลต่ออัตราการเจริญและการรอดของกล้าไม้เลย จึงยังไม่ แนะนำให้ใช้หัวเชื้อไมคอไรซาในการผลิตกล้าไม้

การควบคุมวัชพืช วัชพืชทีข่ น้ึ อยูร่ อบ ๆ เรือนเพาะชำเป็นแหล่งของแมลง ศัตรูพชื และอาจมีเมล็ดปลิวเข้ามาขึน้ ในภาชนะปลูกได้ จึง ต้องมีการกำจัดก่อนที่วัชพืชจะออกดอก วัชพืชในภาชนะปลูกจะแย่งทัง้ น้ำ อาหาร และแสงจาก ต้นกล้า การกำจัดวัชพืชทีโ่ ตแล้วจากภาชนะปลูกมักก่อให้ เกิดความเสียหายกับระบบรากของกล้าไม้ ดังนัน้ จึงควร ตรวจดูภาชนะปลูกอย่างสม่ำเสมอเพือ่ กำจัดวัชพืชทีพ่ บตัง้ แต่ ยังเล็ก ๆ มอสและสาหร่ายถือว่าเป็นวัชพืชในภาชนะปลูก และต้องกำจัดออกเช่นกัน อย่าใช้ยาฆ่าหญ้าสำหรับกำจัด วัชพืชในเรือนเพาะชำเพราะ อาจทำให้กล้าไม้ เสียหายได้

ความสำเร็จของเรือนเพาะชำ : กล้าไม้ที่สมบูรณ์แข็งแรง พร้อมทีจ่ ะนำไปปลูกในช่วงต้นฤดูฝน

ปลูกให้เป็นป่า

97


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

สาเหตุของโรคในเรือนเพาะชำ โรคพืชเกิดขึน้ จาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1. เชือ้ รา : ถึงแม้วา่ เชือ้ ราบางชนิดอาจมีประโยชน์ แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า รากเน่า และ ใบเป็นจุด (ใบไหม้หรือเป็นสีสนิม) 2. แบคทีเรีย : ส่วนมากไม่เป็นอันตรายต่อพืช แต่ บางชนิดอาจทำให้เกิดโคนเน่า เนือ้ เยือ่ เน่าหรือเฉา 3. ไวรัส : พบได้ในพืชทัว่ ไป มักไม่กอ่ ให้เกิดปัญหา รุนแรงในเรือนเพาะชำ แต่บางชนิดทำให้ใบเป็นจุด

การเฝ้าระวังและควบคุมโรค การตรวจสอบกล้าไม้อย่างสม่ำเสมอมีความสำคัญอย่าง ยิง่ ในการป้องกันการระบาดของโรคในเรือนเพาะชำ ทันทีทม่ี ี การระบาดของโรค ผูด้ แู ลต้องสามารถระบุอาการของโรคพืช ทีพ่ บบ่อยได้ ตรวจดูความสมบูรณ์ของกล้าไม้ทกุ สัปดาห์ ไม่ ควรให้นำ้ แก่กล้าไม้มากเกินไป คอยดูวา่ น้ำระบายได้ดที ง้ั ใน และด้านล่างของภาชนะปลูก จัดวางกล้าไม้ไม่ให้แน่นเกินไป เพือ่ ให้อากาศระบายได้ดี ป้องกันไม่ให้มกี ารติดเชือ้ ระหว่าง กล้าไม้ ใช้นำ้ ยาฆ่าเชือ้ ล้างเครือ่ งมือและถุงมือยางทุกครัง้ ที่ หยิบจับกล้าไม้ ถ้าหากเกิดการระบาดของโรค ให้ตดั ใบทีแ่ สดงอาการ หรือแยกกล้าไม้ออกเพือ่ นำไปเผาทิง้ อย่านำวัสดุปลูกและถุง พลาสติกของกล้าไม้ทเ่ี ป็นโรคมาใช้ใหม่ ถ้าภาชนะปลูกเป็น กระถางทีน่ ำกลับมาใช้ใหม่ได้ ให้ลา้ งด้วยน้ำยาฆ่าเชือ้ แล้วตาก แดดหลาย ๆ วันก่อนนำมาใช้ใหม่ ไม่ควรใช้สารเคมีในการควบคุมโรคเนือ่ งจากมีราคาแพง และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผูใ้ ช้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ถ้า ใช้อย่างไม่ระมัดระวัง หากจำเป็นต้องใช้สารเคมีควบคุมการ ระบาดของโรค สิง่ แรกทีต่ อ้ งทำคือ ดูวา่ พืชถูกทำลายด้วยเชือ้ โรคกลุม่ ใด (เชือ้ รา แบคทีเรีย หรือไวรัส) เพือ่ ทีจ่ ะได้เลือก ใช้สารเคมีได้ถกู ต้อง ตัวอย่างเช่น ไอโพรไดออน (Iprodione) จะฆ่าเชือ้ ราทีท่ ำให้เกิดใบเป็นจุดได้ดี ในขณะที่ บีโนมิล (Benomyl) ฆ่าเชือ้ ราได้หลายชนิด แคปแทนใช้ได้ ผลดีกบั โรคโคนเน่า และต้องอ่านคำเตือน และทำความเข้าใจวิธีการใช้อย่างปลอดภัย ตามทีผ่ ผู้ ลิตแนะนำอย่างเคร่งครัดทุกครัง้

98

ปลูกให้เป็นป่า

การควบคุมศัตรูพชื อืน่ ถึงแม้วา่ แมลงส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอันตรายต่อพืช แต่แมลง บางชนิดอาจกินใบหมดได้ในเวลาสัน้ ๆ หรือทำลายรากทำให้ กล้าไม้ตายได้ ศัตรูพชื ไม่ได้มเี ฉพาะแมลงเท่านัน้ ไส้เดือนฝอย หอยทาก หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยง อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ เช่นเดียวกัน ศัตรูพชื ทีส่ ำคัญได้แก่ พวกทีท่ ำลายใบพืชเช่น หนอนผีเสือ้ และตัก๊ แตน แมลงทีเ่ จาะทำลายลำต้นโดยเฉพาะอย่างยิง่ ด้วง และผีเสื้อกลางคืน พวกที่ดูดน้ำเลี้ยง เช่น เพลี้ย และมวน พวกทีก่ นิ รากเช่น ไส้เดือนฝอย ศัตรูพชื เหล่านีน้ อกจากจะทำ ลายพืชโดยตรงแล้วยังอาจเป็นพาหะของโรคพืชอีกด้วย การตรวจกล้าไม้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผดู้ แู ลสามารถควบ คุมศัตรูพชื ได้กอ่ นทีจ่ ะรุกลามจนกระทัง่ ควบคุมไม่ได้ โดย สามารถกำจัดทัง้ ศัตรูพชื และไข่ได้ โดยการหยิบออกหรือพ่น ยาฆ่าเชือ้ แบบอ่อน ๆ ถ้าไม่สามารถหยุดการแพร่กระจายของศัตรูพชื ได้ให้ฉดี พ่น ด้วยยาฆ่าแมลง โดยเลือกสารเคมีให้เหมาะสมกับชนิดของ ศัตรูพชื เช่น พิรมิ คิ าร์ด (Pirimicard) เหมาะสำหรับการกำจัด เพลีย้ ในขณะทีไ่ พรีทริน (Pyrethrin) มีผลทำลายแมลงได้ หลายชนิด สำหรับปัญหาของวัชพืช ศัตรูพชื และโรคพืชนัน้ การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขหลังการระบาด ศัตรูพชื ไม่ได้มเี พียงสัตว์ขนาดเล็กเท่านัน้ สุนขั หมู ไก่ วัว หรือสัตว์เลีย้ งอืน่ ๆ อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง กับกล้าไม้ในเรือนเพาะชำได้ในเวลาไม่กน่ี าที ดังนัน้ ถ้าใน บริเวณใกล้เคียงมีสตั ว์เลีย้ งอยูจ่ ะต้องมีรว้ั กัน้ ไม่ให้สตั ว์เข้ามา ในเรือนเพาะชำด้วย

ป้องกันเรือนเพาะชำจากศัตรูพชื ทัง้ ขนาดใหญ่และเล็กด้วยการทำรั้วกั้น


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

การคัดกล้าไม้ การคัดกล้าไม้เป็นวิธที ม่ี ปี ระสิทธิภาพในการควบคุมคุณ ภาพ โดยคัดแยกกล้าไม้ตามขนาดและคัดต้นที่เป็นโรคหรือ อ่อนแอออกไปพร้อม ๆ กัน ด้วยวิธนี จ้ี ะมีเฉพาะกล้าไม้ ทีแ่ ข็งแรงสมบูรณ์เท่านัน้ ทีจ่ ะถูกเลือกไปทำให้แกร่งและนำไป ปลูกในแปลง ซึง่ จะช่วยเพิม่ อัตราการรอดหลังปลูกให้สงู ขึน้ นอกจากนี้ เมือ่ ต้องการพืน้ ทีว่ า่ งในเรือนเพาะชำเพิม่ การคัดกล้าไม้ทม่ี ขี นาดเล็กและอ่อนแอออกจะเป็นการเพิม่ พืน้ ที่ ให้กับกล้าไม้ที่เพาะใหม่ซึ่งน่าจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า ควรมีการคัดเลือกกล้าไม้อย่างน้อยเดือนละสองครัง้ โดย อาจตัดแต่งรากและตรวจโรคไปพร้อม ๆ กันเมื่อทำการคัด กล้าและแต่งรากแล้วควรจะล้างมือ ถุงมือ และกรรไกร ตัดกิง่ ด้วยน้ำยาฆ่าเชือ้ บ่อย ๆ เพือ่ ป้องกันไม่ให้มกี าร กระจายของเชื้อโรคระหว่างแปลงวางกล้า กำจัดกล้าไม้ทไ่ี ม่สมบูรณ์ดว้ ยการเผาในพืน้ ทีท่ ห่ี า่ งจาก เรือนเพาะชำ อย่านำวัสดุปลูกหรือถุงพลาสติกจากกล้าไม้ เหล่านัน้ กลับมาใช้อกี บางครัง้ ผูด้ แู ลเรือนเพาะชำอาจไม่ ต้องการคัดกล้าไม้ออกทิ้ง แต่การเก็บกล้าไม้ที่ไม่แข็งแรง ไว้เป็นการสูญเสียทัง้ พืน้ ที่ แรงงาน น้ำ และทรัพยากรอืน่ ๆ ในเรือนเพาะชำซึ่งน่าจะนำไปใช้ในการผลิตกล้าไม้ที่สมบูรณ์ แข็งแรงและมีโอกาสในการรอดหลังปลูกมากกว่า

กล้าไม้ที่ไม่สมบูรณ์ 1. ลำต้นไม่ตั้งตรงเนื่องจากภาชนะปลูกถูกปล่อย ให้ลม้ อยูก่ บั พืน้ ช่วงหนึง่ 2. ใบร่วงอาจเป็นผลมาจากเชือ้ โรค 3. ต้นแคระแกร็นเมื่อเทียบกับต้นอื่นในรุ่นเดียวกัน 4. ถูกทำลายโดยแมลง ควรเผาทิ้งและฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ให้แก่กล้าไม้ที่เหลือ

1

2

5

6

การคัดกล้าไม้ 3

4

5. ลำต้นที่คดงอเป็นอุปสรรคต่อการเจริญ เติบโต 6. ไม่สมดุล ต้นกล้าทีผ่ อมสูงอาจหักได้งา่ ย เมือ่ มีการขนย้ายจึงควรตัดแต่งก่อนนำไปปลูก

จัดเรียงกล้าไม้ตามขนาดจากเล็กไปใหญ่ คัด ต้นทีม่ ปี ญ ั หาทิง้ เหลือเฉพาะต้นทีม่ คี ณ ุ ภาพ

ปลูกให้เป็นป่า

99


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

ตอนที่ 7 - การควบคุมคุณภาพ กล้าไม้ทผ่ี ลิตออกจากเรือนเพาะชำต้องมีคณ ุ ภาพดี เพือ่ ให้สามารถเจริญงอกงามอย่างรวดเร็วเมือ่ ปลูกลงในสภาพ แวดล้อมทีท่ รุ กันดารของพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลาย ความแข็งแรงของกล้าไม้จะช่วยลดความเครียดจากการย้ายปลูกลงแปลง ต้น กล้าที่ตายและการปลูกกล้าซ่อมในพื้นที่เดิมนับเป็นการสูญเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็น

ระบบราก

การสร้างระบบรากทีส่ มบูรณ์

สำหรับกล้าไม้ทป่ี ลูกในแปลงระบบรากมีความสำคัญต่อ การอยูร่ อดมากกว่าส่วนของลำต้น ขณะเดียวกันก็เป็นส่วน ที่จะเสียหายได้ง่ายในระหว่างการปลูก ในช่วงแรกที่ถูกปลูก ลงในแปลง รากต้องเจริญไปในดินทีอ่ ยูร่ อบ ๆ เพือ่ นำน้ำ และธาตุอาหารมาใช้ในการดำรงชีวติ การเจริญเติบโตและ พัฒนาการของรากขึน้ กับลักษณะของภาชนะปลูกและวัสดุปลูก การให้นำ้ รวมไปถึงการควบคุมโรคและศัตรูพชื รากของ กล้าไม้ที่พร้อมลงปลูกในแปลงควรมีลักษณะดังนี้

ถ้าหากรากของกล้าไม้โตจนทะลุภาชนะปลูกลงไปในดิน ด้านล่าง เมื่อมีการย้ายกล้าไม้เพื่อนำไปปลูกรากจะขาดเสีย หาย และทำให้ต้นกล้าเหี่ยวหรืออาจตายก่อนที่จะไปถึงพื้น ทีป่ ลูก การป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายดังกล่าวสามารถ ทำได้ดงั นี้ ้ึ ตรวจบ่อย ๆ ถ้าพบรากทีท่ ะลุออก Ê ยกกล้าไม้ขน มานอกภาชนะปลูกให้ตัดแต่งด้วยกรรไกร สะอาด ๆ (ควรทำในช่วงเย็นเพือ่ ลดการ สูญเสียน้ำ) Ê วางกล้าไม้บนพื้นแข็งที่รากไม่สามารถเจริญ ลงไปได้ Ê วางแผนการผลิตให้กล้าไม้แต่ละชนิดโตได้ ขนาดพอดีกบั ฤดูปลูก

Ê Ê

Ê

Ê Ê Ê

ไม่มีโรคและศัตรูพืช แตกแขนงดีและมีความสมดุลระหว่างจำนวนของ รากขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่พยุงลำต้นและรากฝอย ที่ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและอาหาร ยึดดินในภาชนะปลูกได้ดพี อทีจ่ ะทรงตัวอยู่ ได้เมื่อนำออกจากถุงเพื่อปลูกลงแปลง ไม่คดงอทีก่ น้ ภาชนะ สมบูรณ์พอทีจ่ ะเลีย้ งส่วนของลำต้นได้ และ มีไมคอไรซา

ลักษณะราก ที่ไม่สมบูรณ์

การใช้อากาศกำจัดราก อีกวิธกี ารหนึง่ ทีป่ อ้ งกันไม่ให้รากเจริญออกมานอกภาชนะ ปลูก ได้แก่ “การใช้อากาศกำจัดราก” โดยวางภาชนะปลูก ไว้บนตะแกรงลวดทีล่ มพัดผ่านด้านล่างได้ดี อากาศทีแ่ ห้ง นี้จะทำให้รากที่โตออกมานอกภาชนะปลูกแห้งตายไปเองจึง ไม่ตอ้ งทำการตัดแต่งราก อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการชัง่ น้ำ หนักระหว่างค่าใช้จา่ ยสำหรับการใช้คนตัดแต่งรากกับการสร้าง ชั้นตะแกรงสำหรับวางกล้า ทัง้ การตัดแต่งรากและการกำจัดรากด้วยอากาศต่างเป็น การกระตุน้ ให้รากแตกแขนงได้ดขี น้ึ ทำให้รากในภาชนะมี มากขึ้นและยึดเกาะวัสดุปลูกได้ดี

รากที่พัฒนาไม่สมบูรณ์อาจก่อให้เกิดปัญหาแก่ต้นไม้ในอนาคต 1. รากที่คดงอ และ 2. เจริญแบบไม่สมดุลจะทำให้ต้นไม้ล้มได้ง่ายเมื่อถูกลมพายุ

100 ปลูกให้เป็นป่า


เ ริ่ ม จ า ก ต้ น ก ล้ า ******************

ลักษณะของกล้าไม้ทด่ี ี

การตัดแต่งกล้าไม้

กล้าไม้ทพ่ี ร้อมสำหรับปลูกลงแปลงต้องมีการเจริญของ การตัดแต่งกล้าไม้จำเป็นมากสำหรับไม้โตเร็วทีค่ า้ งอยูใ่ น รากและต้นที่สมดุล โดยที่รากควรมีการเจริญมากกว่าส่วน เรือนเพาะชำเป็นเวลานาน (อาจเนือ่ งจากช่วงเวลาการติดผล) ของลำต้นเพื่อลดอาการเครียดของต้นกล้าระหว่างการปลูก กล้าไม้ทม่ี ขี นาดใหญ่เกินไปนัน้ รากอาจไม่สามารถเลีย้ งลำต้น ลงในพื้นที่และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ได้พอ ทัง้ ยังขนย้ายลำบากและอาจเกิดความเสียหายได้งา่ ย ระหว่างการขนย้าย กล้าไม้บางชนิด เช่น ทองหลางป่า (Erythrina subumความสูงของกล้าไม้ที่พร้อมปลูก brans) และนางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) การตัด ขนาดและความสูงของกล้าไม้มคี วามสำคัญน้อยกว่า แต่งกล้าไม้จะกระตุ้นให้เกิดการแตกกิ่งมากขึ้นซึ่งเป็นผลดี เนือ่ งจากจะทำให้สร้างพุม่ คลุมวัชพืช ความสามารถที่จะแตกกิ่งหรือสร้างยอดใหม่ที่แข็งแรง ต้น สำหรับการฟืน้ ฟูปา่ กล้าทีโ่ ตเร็วบางชนิด เช่น ทองหลางป่า (Erythrina su- ได้ดีและเรือนยอดปิดได้เร็ว ในช่วงหนึง่ เดือนก่อนการปลูกป่าไม่ควรตัดแต่งกิง่ เพราะจะ bumbrans) ซ้อ (Gmelina arborea) นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) และ เลีย่ น (Melia toosendan) เป็นการกระตุน้ ให้กล้าไม้มกี ารเจริญในส่วนของลำต้น เช่น อาจพร้อมปลูกเมือ่ มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร แต่ แตกกิ่งและใบใหม่ในขณะที่กล้าไม้ต้องรับสภาวะเครียดจาก ต้นไม้ ส่วนใหญ่ตน้ กล้าควรจะมีความสูง 40-60 ซม. ก่อน การปลูก ในช่วงแรกหลังปลูกระบบรากอาจยังไม่สามารถหา นำไปปลูก ต้นกล้าขนาดเล็กเกินไป (เล็กกว่า 30 ซม.) จะมี น้ำและอาหารมาเลีย้ งใบทีก่ ำลังแตกใหม่ได้ ดังนัน้ จะต้อง อัตราการตายหลังปลูกสูงกว่าต้นกล้าขนาดใหญ่เนือ่ งจากต้อง ระวังไม่ให้เกิดการเจริญของต้นในช่วงนี้ การตัดแต่งกล้าไม้บางชนิดอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่า แข่งขันกับวัชพืช ในขณะทีต่ น้ กล้าทีโ่ ตเกินไปอาจเสียหาย ผลดีเนือ่ งจากกล้าไม้จะติดเชือ้ ราได้งา่ ย เช่น เลีย่ น (Melia ได้ในระหว่างการขนส่ง toosendan), จำปีปา่ (Michelia baillonii), สลีนก (Balakata baccatum) และ ตองแตบ (Macaranga denticulata) ดังนัน้ ก่อนทีจ่ ะตัดแต่งกล้าไม้ชนิดใดควรเริม่ ทดลอง ตัดแต่งจำนวนน้อย ๆ เพือ่ ศึกษาผลของการตัดแต่งเสียก่อน

การตัดแต่งราก ระหว่างการคัดกล้า ยกกล้าไม้ขึ้นตรวจดูว่ามีรากงอกออกมาจาก ภาชนะปลูกหรือไม่ ถ้ามีให้ตัดทิ้ง เพื่อกระตุ้นให้รากเกิด การแตกแขนงมากขึ้นและยึดดินในภาชนะปลูกไว้ได้ ระหว่าง การตัดแต่งควรล้างกรรไกรตัดกิ่งและมือด้วยน้ำยา ฆ่าเชื้อบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการระบาดของโรค เมื่อ เลิกงานในแต่ละวันให้แกะส่วนประกอบของ กรรไกรตัดกิง่ ออก ล้างเอาดินและเศษพืชออก ให้สะอาด เช็ดให้แห้งก่อนประกอบคืน เก็บ กรรไกรตัดกิ่งไว้ในที่แห้งเสมอ

ปลูกให้เป็นป่า

101


เ* *ริ*่ ม* *จ* *า* ก* *ต้* *น* *ก* *ล้* *า

การทำให้กล้าไม้แกร่ง

การติดตามบันทึกข้อมูล

การทำให้กล้าไม้แกร่ง เป็นกระบวนการเตรียมความ พร้อมแก่กล้าไม้กอ่ นย้ายจากเรือนเพาะชำซึง่ มีสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตไปอยู่ในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลาย ซึง่ มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวติ ถ้าหาก กล้าไม้ไม่แข็งแรงพอที่จะทนสภาพที่ร้อน แห้งแล้ง และ แสงแดดจัดในพื้นที่ปลูกได้ กล้าไม้จะตายหลังจากการปลูก ในช่วงสองเดือนก่อนการปลูกให้แยกกล้าไม้ทจ่ี ะปลูก ออกมาต่างหาก ค่อย ๆ ลดร่มเงาทีใ่ ห้ และความถีใ่ นการ รดน้ำ ในช่วงเดือนสุดท้ายก่อนย้ายต้นกล้าไปแปลงปลูก ควรให้กล้าไม้ได้รับแสงอย่างเต็มที่ ค่อย ๆ ลดการให้นำ้ เหลือเพียงร้อยละ 50 เพือ่ ชะลอ การเจริญเติบโตของลำต้นและกระตุน้ ให้ใบใหม่มขี นาดเล็กลง กล้าไม้ทเ่ี คยได้รบั น้ำเช้า-เย็น ให้ลดการให้นำ้ เหลือเพียงวัน ละครั้งตอนเย็น ส่วนที่เคยได้รับน้ำวันละครั้งให้ลดเหลือวัน เว้นวัน อย่างไรก็ตามถ้าสังเกตเห็นกล้าไม้เริม่ เหีย่ วต้องให้ น้ำทันทีโดยไม่ตอ้ งคำนึงถึงตารางการให้นำ้ ทีว่ างไว้ เนือ่ ง จากถ้าปล่อยให้เหี่ยวจะทำให้กล้าไม้เกิดความเครียดและ อ่อนแอลง

การเรียนรูจ้ ากประสบการณ์ในเรือนเพาะชำจะเกิดขึน้ ได้ก็ ต่อเมือ่ มีการบันทึกทุกกิจกรรมทีด่ ำเนินการและการเจริญเติบโต ของกล้าไม้ไว้โดยละเอียด การจดบันทึกจะช่วยป้องกันไม่ให้ ผูท้ ท่ี ำงานในเรือนเพาะชำทำผิดพลาดในจุดเดิมซ้ำอีก ทัง้ ยัง ช่วยตรวจสอบและติดตามการผลิตกล้าไม้ของเรือนเพาะชำ เพือ่ ใช้เป็นข้อมูลพืน้ ฐานในการวางแผนการผลิตกล้าไม้แต่ละ ชนิดด้วย ติดป้ายระบุชอ่ื ชนิด รุน่ ทีผ่ ลิต และวันเดือนปีทเ่ี พาะ และ ย้ายกล้าใส่ภาชนะปลูก บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาและ เวลาทีเ่ ก็บเมล็ดพันธุ์ วิธกี ารเตรียมเมล็ดทีใ่ ช้ อัตราการงอก อัตราการเจริญเติบโตของกล้าไม้ โรคทีพ่ บ หรือข้อมูลทีเ่ กีย่ ว ข้องอืน่ ๆ ลงในแบบบันทึกข้อมูลดังตัวอย่างในหน้า 81, 82 และด้านล่าง รวมทัง้ จะต้องบันทึกว่ากล้าไม้เหล่านัน้ ถูกนำไป ปลูกที่ไหนและเมื่อไร

หมายเลขชนิด:

หมายเลขรุน่ : ตารางบันทึกการผลิตกล้าไม้

ชนิด: วันย้ายกล้าลงภาชนะปลูก : จำนวนกล้าทีย่ า้ ย : การให้ปยุ๋ : การตัดแต่งต้นกล้า: โรคและศัตรูพชื : ตารางการจำหน่ายต้นกล้า จำนวน ต้น

102 ปลูกให้เป็นป่า

วันที่

สถานทีป่ ลูก

ความสูงเฉลีย่ ของต้นกล้า

แผนการผลิตกล้าไม้ ในเรือนเพาะชำทีผ่ ลิตกล้าไม้ทอ้ งถิน่ หลาย ๆ ชนิด การ วางแผนการผลิตทีด่ มี คี วามสำคัญอย่างมาก เพราะต้นไม้แต่ ละชนิดติดผลในช่วงเวลาต่างกัน และมีอตั ราการเจริญเติบโต ทีไ่ ม่เหมือนกัน แต่จะต้องโตจนได้ขนาดปลูกพร้อม ๆ กันตอน ต้นฤดูฝน ตัวอย่างเช่น กล้าไม้ชนิดทีโ่ ตเร็วซึง่ เก็บเมล็ดมาเพาะ ในเดือนมกราคมอาจโตพร้อมปลูกลงแปลงในเดือน มิถนุ ายน (ต้นฤดูฝน) ถ้าได้รบั ปุย๋ หลังย้ายกล้า แต่ถา้ กล้าไม้โตไม่ทนั จะ ต้องเก็บกล้าดังกล่าวไว้ในเรือนเพาะชำจนถึงฤดูปลูกในปีถดั ไป ซึง่ เมือ่ ถึงเวลานัน้ ต้นกล้าอาจมีขนาดใหญ่กว่าภาชนะปลูกและ จำเป็นต้องได้รบั การตัดแต่งให้มขี นาดเหมาะสม ตารางการผลิตกล้าไม้แต่ละชนิดซึง่ บอกถึงวิธกี ารเพาะเมล็ด และการดูแลต้นกล้า เพือ่ ให้ได้ขนาดสำหรับปลูกในฤดูฝน แรกหรือฤดูฝนทีส่ องหลังการเก็บเมล็ดนัน้ สามารถสร้างขึน้ ได้ จากข้อมูลการเจริญเติบโตของกล้าไม้ชนิดนัน้ ในเรือนเพาะชำ ข้อมูลทีใ่ ช้ในการวางแผนการผลิต ได้แก่ รายละเอียด เกีย่ วกับเวลาทีเ่ หมาะสมในการเก็บเมล็ดพันธุ์ วิธกี ารเตรียม เมล็ดเพือ่ เร่งการงอก ระยะเวลาทีใ่ ช้จากการเพาะจนถึงการ ย้ายกล้า ระยะเวลาทีต่ อ้ งเลีย้ งกล้าไม้จนโตได้ขนาดตามต้อง การ การให้ปยุ๋ การตัดแต่งกล้าไม้ และวิธกี ารอืน่ ๆ ทีใ่ ช้ใน การเร่งหรือชะลอการเจริญของกล้าไม้ ตารางการผลิตกล้าไม้ เป็นสิ่งที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับสถานะการณ์ใน แต่ละปี เช่น ปริมาณเมล็ดทีส่ ามารถหาได้ อัตราการเจริญ เติบโตของกล้าไม้เพือ่ ให้การผลิตกล้าไม้มปี ระสิทธิภาพสูงสุด


บทที่ 7

การปลูกป่า * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * การเลือกพื้นที่ เตรียมปลูก วันปลูกป่า การดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก การติดตามการฟืน้ ตัวของป่า


การเลือกพืน้ ทีป่ ลูกป่าเพือ่ การอนุรกั ษ์

B C

A

C

D

E F

G

ในการเลือกพื้นที่ปลูกป่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการอนุรักษ์นั้นอาจเลือกปลูกพรรณไม้โครงสร้างเพื่อ (A) สร้างทางเชื่อมระหว่างพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ให้แก่สัตว์ป่า (B) ป้องกันการกัดเซาะของดินและโคลนถล่ม (C) อนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำและแหล่งน้ำที่จำเป็นสำหรับสัตว์ป่าบางกลุ่ม เช่น เป็ดน้ำ (D) นาก (E) เสือปลา (F) และแมลงปอ (G)


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

การปลูกป่า “ผู้ปลูกต้นไม้คือผู้รับใช้พระเจ้า สิ่งที่เขาได้สร้างสรรค์ขึ้นจะยังประโยชน์ให้แก่ลูกหลานในรุ่นต่อไป และคนรุ่นหลังจะสรรเสริญในการกระทำของเขา แม้ไม่เคยได้รู้จัก” เฮนรี่ แวน ไดค์ (1852-1933), จากหนังสือ “The friendly tree” การปลูกป่าเป็นกิจกรรมทีไ่ ด้รบั ความนิยมสูงสุดสำหรับการฟืน้ ฟูปา่ ภาพของกล้าไม้ทป่ี ลูกกระจายเต็มพืน้ ทีท่ เ่ี คยรกร้าง หลังงานหนักตลอดทัง้ วันเป็นเหมือนสิง่ ยืนยันให้แก่ผรู้ ว่ มในกิจกรรมปลูกต้นไม้นน้ั ว่า พวกเขาได้มสี ว่ นร่วมในการช่วยให้ปา่ แห่ง นัน้ ฟืน้ ตัวกลับมาอีกครัง้ อย่างไรก็ตาม การปลูกต้นไม้เป็นเพียงจุดเริม่ ต้นของงานฟืน้ ฟูปา่ เท่านัน้ ความสำเร็จของโครงการยังขึน้ อยูก่ บั การดูแลพืน้ ทีห่ ลังการปลูกป่าด้วย การรวบรวมผูค้ นในชุมชนให้มาร่วมกันปลูกป่าอาจไม่ใช่เรือ่ งทีย่ ากนัก แต่การให้ชมุ ชน ดูแลรักษาต้นไม้ทไ่ี ด้ลงแรงปลูกลงไปกลับเป็นสิง่ ทีย่ ากยิง่ การฟืน้ ฟูปา่ ไม่ใช่เพียงการปลูกต้นไม้แต่เป็นกิจกรรมทีต่ อ้ งการความ ต่อเนือ่ ง ถ้าหากต้นไม้ทป่ี ลูกไปนัน้ ไม่ได้รบั การดูแลแผ้วถางวัชพืช ใส่ปยุ๋ และป้องกันไฟแล้ว ต้นไม้ทล่ี งทัง้ แรงและเงินปลูกไป นัน้ อาจไม่สามารถเจริญเติบโตจนเป็นไม้ใหญ่ได้ ในบทนีจ้ ะกล่าวถึงกิจกรรมทีม่ คี วามจำเป็นต่อการฟืน้ ฟูปา่ ทีป่ ระสบความสำเร็จ

ตอนที่ 1 การเลือกพืน้ ที่ พืน้ ทีป่ ลูก

ความไม่ตอ่ เนือ่ งของผืนป่า

ดังทีไ่ ด้กล่าวไปแล้วในบทที่ 3 วิธพี รรณไม้โครงสร้าง นัน้ เหมาะสำหรับการฟืน้ ฟูปา่ ในพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ เช่น อุทยาน แห่งชาติ เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ หรือพืน้ ทีท่ ใ่ี ห้ความสำคัญ กับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหลัก (ถึงแม้ ว่ายังอาจมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าเพื่อใช้ประโยชน์บ้าง) แม้วา่ วิธนี จ้ี ะเป็นวิธกี ารทีค่ มุ้ ค่ากับการลงทุนในระยะยาว แต่ ในช่วงต้นของการฟืน้ ฟูปา่ ด้วยวิธนี ต้ี อ้ งใช้ทง้ั แรงงาน เงินทุน และเวลา ในการดูแลรักษาต้นไม้ในพืน้ ทีป่ ลูก (ดูบทที่ 8) จึง ควรเลือกปลูกในพืน้ ทีท่ จ่ี ะก่อให้เกิดประโยชน์สงู สุดต่อระบบ นิเวศก่อนซึง่ พืน้ ทีด่ งั กล่าว ได้แก่

ความไม่ต่อเนื่องของผืนป่าเกิดจากป่าขนาดใหญ่ที่ถูก แบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ ด้วยถนน สิง่ ก่อสร้าง หรือพืน้ ทีท่ าง การเกษตร เป็นต้น พืน้ ทีป่ า่ ขนาดเล็กทีถ่ กู ตัดขาดออกจาก ผืนป่าใหญ่จะค่อย ๆ มีขนาดเล็กลงเนือ่ งจากการบุกรุกจาก บริเวณชายป่าทั้งจากการตัดไม้และการเผารุกเข้ามาในพื้นที่ ในพื้นที่ลักษณะนี้ประชากรของพืชและสัตว์มีจำนวนไม่มาก ทำให้มคี วามเสีย่ งต่อการสูญพันธุส์ งู ทัง้ จากสายพันธุท์ อ่ี อ่ น แอลงจากการผสมกันเอง (Inbreeding) และการเกิดโรค นอกจากนีถ้ า้ หากมีภยั พิบตั อิ น่ื ๆ เช่น ไฟป่า ประชากรขนาด เล็กนีจ้ ะมีโอกาสสูญพันธุไ์ ด้งา่ ยกว่าประชากรในพืน้ ทีข่ นาดใหญ่ เมือ่ สิง่ มีชวี ติ บางอย่างสูญพันธุไ์ ปโอกาสทีพ่ ชื หรือสัตว์ชนิดนัน้ จะอพยพเข้ามาจากทีอ่ น่ื อาจเกิดได้ยาก เนือ่ งจากพืน้ ที่ ระหว่างป่าแต่ละผืนอาจไม่เหมาะสำหรับสิง่ มีชวี ติ เหล่านัน้ เช่น พื้นที่ป่าสองแห่งถูกคั่นด้วยเมืองหรือพื้นที่เกษตรกรรมทำให้ สัตว์ป่าไม่สามารถอพยพผ่านได้ ยกเว้นพวกนกบางชนิดที่ อาจบินข้ามพืน้ ทีไ่ ด้

Ê Ê Ê

พืน้ ทีท่ เ่ี ป็นทางเชือ่ มระหว่างผืนป่า พืน้ ทีร่ อบ ๆ ต้นน้ำและลำธาร พืน้ ทีท่ ม่ี คี วามเสีย่ งต่อการพังทลายหรือ ถล่มของดิน

ปลูกให้เป็นป่า

105


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

การเกิดความไม่ต่อเนื่องของผืนป่า

ป่าถูกตัดผ่าน ถนน ทางรถไฟ และสายไฟฟ้า ตัดผ่านไปในพืน้ ที่

พื้นที่ระหว่างป่าขยายตัว ป่าถูกบุกรุกจากชุมชนทีเ่ ข้ามา ตัง้ ถิน่ ฐานตามแนวถนน

พื้นที่ป่าถูกแยกออกเป็นผืนย่อย ๆ พืน้ ทีร่ ะหว่างผืนป่า มีขนาดใหญ่กว่าป่าทีเ่ หลือ

ป่าเสือ่ มโทรมลง พืน้ ทีป่ า่ แต่ละผืนค่อย ๆ ลดขนาดลง

พื้นที่ป่าขนาดเล็กสามารถรองรับประชากรของสัตว์แต่ละชนิดได้ไม่มากนัก ทำให้สัตว์เหล่านั้นหมดไปจากพื้นที่ได้ง่าย และเมื่อ สัตว์ชนิดนั้นสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ ไม่สามารถอพยพเข้ามาจากที่อื่นได้ เนื่องจากถูกขวางไว้ด้วยพื้นที่เกษตรกรรมหรืออุปสรรคอย่าง อื่น เช่น ถนน การปลูกป่าเพื่อสร้างทางเชื่อมระหว่างผืนป่าย่อย ๆ นั้นอาจเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้สัตว์ที่กระจายอยู่ในป่า แต่ละหย่อมมีโอกาสทีจ่ ะเดินทางไปยังทีอ่ น่ื ได้

106

ปลูกให้เป็นป่า


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

ทางเชือ่ มสำหรับสัตว์ปา่

การปลูกป่ารักษาแหล่งน้ำ

การผสานพืน้ ทีป่ า่ ขนาดเล็กแต่ละผืนเข้าเป็นผืนใหญ่โดยการ ปลูกพรรณไม้โครงสร้างเพือ่ ให้เป็นทางเชือ่ มระหว่างหย่อมป่านัน้ จะทำให้สัตว์ป่าสามารถอพยพเคลื่อนย้ายระหว่างป่าแต่ละ หย่อมได้อย่างปลอดภัย ทำให้รกั ษาระดับความหลากหลาย ทางพันธุกรรมได้ดี และถ้าสัตว์ชนิดใดหมดไปจากพื้นที่ อาจมีสัตว์จากพื้นที่อื่นอพยพกลับเข้ามาโดยผ่านทางเชื่อมที่ สร้างไว้ได้ และอาจเป็นด่านสัตว์ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ทางเชื่อมในลักษณะนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อไม่มีการล่าสัตว์ใน พืน้ ทีเ่ ท่านัน้ เพราะสัตว์ทเ่ี ข้ามาอยูใ่ นบริเวณทางเชือ่ มนัน้ จะ ถูกล่าได้งา่ ยกว่าในพืน้ ทีป่ า่ ดังนัน้ ถ้ายังมีการล่าสัตว์อยูบ่ ริเวณ ทางเชือ่ มจะกลายเป็นพืน้ ทีท่ ม่ี คี วามเสีย่ งสูงทีส่ ตั ว์จะถูกล่า

การปลูกป่าในพืน้ ทีต่ น้ น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิง่ บริเวณ รอบ ๆ ตาน้ำจะส่งผลดีตอ่ แหล่งน้ำทัง้ ในแง่ปริมาณและ คุณภาพของน้ำ ถึงแม้ว่าต้นไม้จะดึงน้ำบางส่วนออกไปจาก พื้นดินโดยการคายน้ำแต่ในขณะเดียวกันใบไม้ที่ร่วงหล่นลง มาและย่อยสลายจะเป็นแหล่งของสารอินทรีย์ในพื้นที่ทำให้ ดินอุม้ น้ำได้สงู ขึน้ และเก็บน้ำได้มากในช่วงฤดูฝน และ ค่อย ๆ ปล่อยให้ซมึ ออกมาในฤดูแล้งตามวัฏจักรดังกล่าว การฟืน้ ฟูปา่ จึงค่อย ๆ เปลีย่ นลำธารทีเ่ คยแห้งผากในช่วง ฤดูแล้งกลายเป็นลำธารที่มีน้ำไหลตลอดปีได้ การปลูกป่าตามแนวลำธารยังเป็นการสร้างถิน่ อาศัยที่ เหมาะสมให้กับสัตว์บางชนิดตั้งแต่แมลงปอไปจนถึงนากซึ่ง ชอบอาศัยอยู่ในลำธารหรือริมตลิ่ง ในขณะเดียวกันพื้นที่ริม ลำธารนีย้ งั เป็นทีห่ ลบภัยให้แก่สตั ว์ปา่ อืน่ ๆ ในช่วงฤดูแล้ง หรือเมือ่ เกิดไฟป่าขึน้ ด้วย พรรณไม้ทป่ี ลูกบริเวณริมลำธาร ยังช่วยลดการกัดเซาะหน้าดินทำให้ตะกอนดินในลำธารน้อย ลง ลดการตืน้ เขินของแหล่งน้ำ รากทีย่ ดึ เกาะดินไว้จะช่วย ลดความเสี่ยงของการเกิดการพังทลายของตลิ่งและน้ำป่าใน ฤดูน้ำหลาก

ความกว้างของทางเชือ่ ม ความกว้างของทางเชือ่ มระหว่างป่านัน้ ขึน้ อยูก่ บั ชนิดของ สัตว์ สำหรับแมลงและนกขนาดเล็กบางชนิด ทางเชือ่ มทีส่ ร้าง จากต้นไม้ที่ปลูกความกว้างเพียงไม่กี่เมตรก็เพียงพอสำหรับ สัตว์ในกลุ่มนี้ที่จะใช้สำหรับเดินทางไปมาระหว่างผืนป่าได้ แต่สำหรับนกทีห่ ากินบนพืน้ ป่าหรือสัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมขนาด เล็กหรือขนาดกลาง อาจต้องใช้ทางเชือ่ มทีม่ คี วามกว้าง 200300 เมตร จนกระทัง่ ถึง 2-3 กิโลเมตร และสำหรับสัตว์ขนาด ใหญ่ทางเชือ่ มอาจต้องกว้างถึง 10 กิโลเมตรถึงจะได้ผล ใน การสร้างทางเชื่อมนั้นควรเริ่มจากการปลูกต้นไม้เป็นทาง แคบ ๆ แล้วจึงค่อย ๆ ปลูกต้นไม้ขยายความกว้างออกไป และต้องมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ที่เข้ามาใช้ทางเชื่อม ดังกล่าวด้วย

เขตอนุรักษ์ พื้นที่แกนกลาง ทางเชื่อม

เขตกันชน

เขตกันชน

การกำหนดพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์

พื้นที่แกนกลาง ลำธาร

อุทยานแห่งชาติ

พื้นที่กันออก

พื้นที่อนุรักษ์ที่ออกแบบอย่างดีประกอบด้วยพื้นที่ แกนกลางซึง่ ไม่มกี จิ กรรมของมนุษย์เข้าไปรบกวน และพืน้ ทีแ่ นวกันชนเพือ่ ลดความขัดแย้งระหว่าง มนุษย์และสัตว์ป่า หมู่บ้านที่อยู่ก่อนถูกกันออก จากพื้นที่ มีการปลูกป่าเพื่อสร้างทางเชื่อมระหว่างป่า ที่เหลืออยู่ เพื่อให้สัตว์ป่าอพยพเคลื่อนย้ายระหว่าง พื้นที่ได้ ทั้งยังช่วยรองรับประชากรขนาดใหญ่และลด ความเสีย่ งในการสูญพันธุ์

ปลูกให้เป็นป่า

107


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

การปลูกต้นไม้ลดการพังทลายของดิน ดินทีถ่ กู กัดเซาะและพังทลายลงสูแ่ หล่งน้ำจะกลายเป็นตะ กอนทับถม ทำให้แหล่งน้ำตืน้ เขิน และส่งผลให้ความสามารถ ในการรองรับน้ำของพืน้ ทีน่ อ้ ยลงทำให้เกิดน้ำท่วมในฤดูฝนและ ความแห้งแล้งในฤดูแล้ง ในบางพืน้ ทีก่ ารพังทลายของดินอาจ เกิดขึน้ อย่างรุนแรงกินบริเวณกว้างหรือทีเ่ รียกว่าแผ่นดินถล่ม ซึ่งมักเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดความ เสียหายทัง้ ต่อสาธารณูปโภค พืน้ ทีท่ ำกิน ทรัพย์สนิ หรือแม้ กระทัง่ ชีวติ ของคนในชุมชนในท้องที่ พืน้ ทีบ่ นภูเขาทีม่ ลี กั ษณะ ลาดชันเป็นระยะทางยาวมีโอกาสเกิดการพังทลายและแผ่นดิน ถล่มได้ง่าย การปลูกต้นไม้จะช่วยลดความเสีย่ งของการกัดเซาะหน้าดิน และแผ่นดินถล่ม โดยรากของต้นไม้จะช่วยยึดดินไว้ทำให้ อนุภาคของดินอยูก่ บั ที่ ใบไม้ทร่ี ว่ งหล่นลงดินยังช่วยปรับปรุง โครงสร้างของดินให้โปร่งมากขึ้น น้ำฝนจึงซึมผ่านได้มากขึ้น และลดปริมาณน้ำที่ไหลบนผิวดิน เรือนยอดของต้นไม้ช่วย ลดแรงปะทะของเม็ดฝนทีต่ กกระทบพืน้ ดินทัง้ ยังป้องกันไม่ให้

ปัญหาการพังทลายของดินอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืน้ ที่ เกษตรกรรม การฟื้นฟูป่าสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการกัดเซาะ หน้าดินและแผ่นดินถล่ม

108

ปลูกให้เป็นป่า

ดินอัดกันแน่นจนทำให้นำ้ ผ่านไม่ได้ ในเกือบทุกประเทศมี ระบบการกำหนดเขตพืน้ ทีต่ น้ น้ำของตัวเอง พร้อมทัง้ แผนที่ แสดงความเสีย่ งในการเกิดการพังทลายของดินในแต่ละพืน้ ที่ สำหรับประเทศไทยสามารถขอคำปรึกษาได้จากหน่วยงานของ กรมพัฒนาที่ดินเพื่อประเมินว่าการปลูกป่าจะช่วยลดการพัง ทลายของดินในพื้นที่ได้หรือไม่

ลักษณะพืน้ ทีท่ เ่ี หมาะกับการปลูกพรรณไม้ โครงสร้าง บางครัง้ พืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสมในการฟืน้ ฟูปา่ เพือ่ การอนุรกั ษ์ตาม ทีก่ ล่าวมานัน้ อาจหาไม่ได้ ซึง่ อาจเกิดจากข้อจำกัดทางสังคม หรือกฎหมาย ปัญหาสิทธิในการถือครองพืน้ ที่ ความต้อง การพื้นที่เพื่อการเกษตรหรืออาจเข้าถึงได้ลำบากเกินไป จาก ข้อจำกัดดังกล่าวถ้าต้องปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่อาจมีความ สำคัญน้อยกว่านัน้ ยังจะคุม้ ค่าหรือไม่ คำตอบสำหรับคำถามดังกล่าวคือ “อาจจะ” เพราะแม้แต่ ในพืน้ ทีห่ า่ งไกลจากป่าทีส่ มบูรณ์ การปลูกพรรณไม้โครง สร้างก็อาจก่อให้เกิดผลดีได้ การฟืน้ ตัวของความหลาก หลายทางชีวภาพอาจเกิดขึ้นได้ไม่เร็วเท่ากับในพื้นที่ป่าที่อยู่ ใกล้ ๆ แต่คอ่ ย ๆ เพิม่ ขึน้ เช่น สัตว์ทส่ี ามารถเดินทางในระ ยะทางใกล้ได้ เช่น นกหรือค้างคาว อาจเข้ามาอยูใ่ นป่าทีไ่ ด้ รับการฟืน้ ฟูได้ไม่ยากนัก แต่สตั ว์ขนาดใหญ่หรือเมล็ด ขนาดใหญ่ของไม้ปา่ บางชนิดก็ไม่อาจกระจายมาถึงพืน้ ที่ ดังกล่าวได้ นอกจากมีการนำกลับเข้ามาในพืน้ ทีโ่ ดย ตรง ข้อดีประการหนึง่ ของการปลูกพรรณไม้โครง สร้างในทีห่ า่ งไกลจากป่าธรรมชาติกค็ อื พืน้ ทีด่ งั กล่าวจะเป็นจุดเริม่ ต้นของการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ ของระบบนิเวศป่าในบริเวณนัน้ โดยพรรณไม้ ทีป่ ลูกจะค่อย ๆ กระจายเมล็ดพันธุไ์ ปสูพ่ น้ื ที่ ใกล้เคียง นอกจากนัน้ ยังเป็นแหล่งของเมล็ด พันธุ์สำหรับเรือนเพาะชำกล้าไม้ของพื้นที่ใน อนาคตอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แปลงปลูกป่าทีอ่ ยูแ่ ยก โดด ๆ นัน้ จะได้รบั ผลกระทบจากพืน้ ทีข่ อบ ได้งา่ ยและยังอาจเกิดปัญหาเช่นเดียวกับป่าขนาด เล็กดังนัน้ จึงต้องมีการวางแผนการจัดการทีม่ ี ประสิทธิภาพเพือ่ ลดปัญหาต่าง ๆ ทีก่ ล่าวมา


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

กรอบ 7.1 การฟืน้ ฟูภมู ทิ ศั น์ปา่ ไม้ ในการวางแผนปลูกป่า สิง่ หนึง่ ทีส่ ำคัญ คือ การมองถึง สภาพโดยรวมของภูมปิ ระเทศ มิใช่มองเฉพาะพืน้ ทีป่ ลูกเพียง โดด ๆ พืน้ ทีร่ อบข้างไม่วา่ จะเป็นพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม ป่าธรรมชาติ ป่าปลูก แหล่งน้ำ หรือสิง่ ก่อสร้างต่าง ๆ ล้วนมีความสัมพันธ์ เกีย่ วข้องกับพืน้ ทีฟ่ น้ื ฟูปา่ ทัง้ ในแง่นเิ วศวิทยาและสังคมเศรษฐกิจ The World Wide Fund for Nature (WWF) และ The World Conservation Union (IUCN) ได้นำเสนอแนว คิดการฟืน้ ฟูภมู ทิ ศั น์ปา่ ไม้ (Forest Landscape Restoration : FLR) ซึง่ เป็นการนำแนวความคิดในการจัดการพืน้ ทีซ่ ง่ึ มีจดุ ประสงค์เพือ่ ฟืน้ ฟูคณ ุ ค่าทางนิเวศวิทยาของป่าทีถ่ กู ทำลายหรือ ป่าเสือ่ มโทรม พร้อม ๆ กับทำให้มนุษย์มคี วามเป็นอยูท่ ด่ี ขี น้ึ โดยอาศัยความร่วมมือจากผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทุกภาคส่วน การ ฟืน้ ฟูภมู ทิ ศั น์ปา่ ไม้ได้รวมเอาแนวความคิดทีเ่ กีย่ วข้องกับการ พัฒนา การอนุรกั ษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติท่ี หลากหลายเข้าไว้ด้วยกันเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับ มามีความสมบูรณ์เพือ่ เป็นประโยชน์ทง้ั แก่มนุษย์และธรรมชาติ ภูมิประเทศ หมายถึง แผ่นดินที่มีขนาดอยู่ระหว่างพื้นที่ และเขตนิเวศ ซึง่ มีลกั ษณะทางนิเวศวิทยาและสังคมเศรษฐกิจ ทีส่ ามารถแยกออกจากภูมปิ ระเทศทีอ่ ยูใ่ กล้เคียงได้อย่างชัดเจน ภูมทิ ศั น์ปา่ ถูกจัดว่าเป็นพืน้ ทีเ่ สือ่ มโทรมก็ตอ่ เมือ่ ความรุนแรง ของการสูญเสียป่าทำให้พน้ื ทีด่ งั กล่าวสูญเสียศักยภาพในการ ให้ผลผลิตทีเ่ พียงพอหรือการให้ประโยชน์ในแง่มมุ อืน่ แก่มนุษย์ สูญเสีย กลไกการทำงานของระบบนิเวศรวมไปถึงความหลาก หลายทางธรรมชาติ เพือ่ อนุรกั ษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติ การฟืน้ ฟู ภูมทิ ศั น์ปา่ ไม้ ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาพืน้ ทีป่ า่ ทีเ่ หลือ อยู่ โดยหลักการทีส่ ำคัญ คือ การป้องกันไม่ให้เกิดการแบ่ง พืน้ ทีอ่ อกเป็นผืนย่อย ๆ เพือ่ ดำรงไว้ซง่ึ ความหลากหลายทาง ชีวภาพ อย่างไรก็ตามเป็นทีท่ ราบกันดีวา่ การรักษาเฉพาะ พืน้ ทีป่ า่ ไม่สามารถป้องกันการแบ่งพืน้ ทีแ่ ละการลดลงของความ หลากหลายทางธรรมชาติได้ ดังนัน้ การฟืน้ ฟูปา่ จึงเป็นองค์ประกอบทีส่ ำคัญของการ ฟืน้ ฟูภมู ทิ ศั น์ปา่ ไม้ เป็นส่วนทีใ่ ห้ประโยชน์ทง้ั แก่มนุษย์และพืช พรรณสัตว์ปา่ ในพืน้ ทีก่ ารฟืน้ ฟูภมู ทิ ศั น์ปา่ ไม้ คำนึงถึงทัง้ การ อนุรักษ์สภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชุมชนในพื้นที่ เพราะคนในท้องถิน่ เป็นผูท้ ม่ี คี วามสำคัญในการจัดการพืน้ ทีข่ อง ตนเองและชุมชนจะต้องเห็นประโยชน์ทจ่ี ะได้รบั จากป่าก่อนจึง จะชักนำให้เกิดความพยายามที่จะรักษาพื้นที่ดังกล่าวไว้

สิง่ ทีไ่ ด้จากการฟืน้ ฟูภมู ทิ ศั น์ปา่ ไม้ ด้วยการทำงานร่วมกับชุมชนอย่างใกล้ชดิ ผ่านกระบวนการ ให้คำปรึกษา อบรมและแลกเปลี่ยนข้อมูลการฟื้นฟูภูมิทัศน์ ป่าไม้ ควรนำมาซึง่ Ê การฟืน ้ ฟูกลไกการทำงานของสิง่ แวดล้อม เช่น น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้การปลูกป่า ANR และการฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ Ê ชุมชนได้รบ ั สิทธิประโยชน์จากพืน้ ที่ ไม่วา่ จะเป็น แหล่งเก็บเกีย่ วของป่า น้ำสะอาด หรือแม้แต่การ ป้องกันน้ำท่วม Ê รักษาความหลากหลายทางชีวภาพและความ สมบูรณ์ของพืน้ ทีป่ า่ ใกล้เคียง Ê ทำให้เกิดความสมดุลในการ ใช้ประโยชน์จากพืน ้ ที่ ในระดับภูมปิ ระเทศ Ê เพิม ่ ทางเลือกในการจัดการพืน้ ทีใ่ นอนาคต Ê ปรับเปลีย ่ นการจัดการให้เข้ากับการใช้พน้ื ทีแ่ ละ การเปลีย่ นแปลงของระบบนิเวศได้ Ê ป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายพืน ้ ทีป่ า่ เพิม่ ขึน้

หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ตัวอย่างของการฟืน้ ฟู ภูมทิ ศั น์ปา่ ไม้ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ (FORRU) เป็นหนึง่ ในตัวอย่างทีด่ ี ของการประยุกต์แนวความคิดในการฟืน้ ฟูภมู ทิ ศั น์ของป่าไม้โดย ร่วมมือกับชุมชน วางแผนจัดการพืน้ ทีร่ อบ ๆ หมูบ่ า้ นแม่สาใหม่ ฟืน้ ฟูปา่ ต้นน้ำของหมูบ่ า้ นเพือ่ Ê ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเพื่อการอนุรักษ์ Ê ทำให้แหล่งน้ำในหมูบ ่ า้ นมีคณ ุ ภาพดีและปริมาณ สม่ำเสมอ Ê สร้างแหล่งท่องเทีย ่ วเชิงนิเวศในท้องที่ เป็นการ เพิม่ รายได้ให้ชมุ ชน Ê สนับสนุนให้ชาวบ้านปรับเปลีย ่ นระบบการทำ เกษตรกรรมจากการทำไร่ เป็นการทำสวนลิน้ จี่ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าและก่อผลเสียต่อระบบ นิเวศน้อยกว่า ในบริเวณเชิงเขา

ปลูกให้เป็นป่า

109


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

เจ้าของพืน้ ที่

พืน้ ทีป่ ลูกควรมีขนาดและรูปร่างอย่างไร

ในการทำกิจกรรมเพือ่ การอนุรกั ษ์สง่ิ ทีเ่ ราไม่ตอ้ งการให้เกิด ขึน้ คือ ปัญหาในเรือ่ งของสิทธิการถือครองพืน้ ที่ เมือ่ ปลูกป่า บนพืน้ ทีส่ าธารณะผูป้ ลูกควรดำเนินการให้ได้รบั อนุญาตในการ ปลูกต้นไม้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งแผนที่จากผู้มี อำนาจในการตัดสินใจซึง่ ส่วนมากมักเต็มใจให้ความร่วมมือใน โครงการปลูกป่าของชุมชนและองค์กรเอกชนแต่การทำเรือ่ งขอ อนุญาตมักใช้เวลานาน จึงควรเริม่ ปรึกษาหารือในเรือ่ งดัง กล่าวอย่างน้อยหนึง่ ปีกอ่ นวันปลูกป่า ดูให้แน่ใจว่าทุก ๆ หน่วย งานทีเ่ กีย่ วข้องได้เข้ามามีสว่ นร่วมในทุกขัน้ ตอนของการวางแผน การดำเนินงานเพือ่ ให้ทกุ ฝ่ายมีความเข้าใจทีต่ รงกันว่าการปลูกป่า นั้นไม่ได้หมายถึงสิทธิในการครอบครองพื้นที่ตามกฏหมาย สำหรับการปลูกป่าบนพืน้ ทีข่ องเอกชนต้องแน่ใจว่าเจ้าของ ทีด่ นิ และทายาทจะรักษาพืน้ ทีด่ งั กล่าวไว้เป็นป่าตลอดไป การ ปลูกต้นไม้ถอื เป็นการเพิม่ มูลค่าให้แก่ทด่ี นิ เจ้าของทีด่ นิ จึงควรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการปลูกต้นไม้ทั้งหมด

ขนาดของแปลงปลูกในแต่ละปีขน้ึ กับแรงงานทีส่ ามารถ หาได้สำหรับการกำจัดวัชพืชและการดูแลต้นไม้ทป่ี ลูกไว้ใน 2 ปีแรก การคำนวณค่าใช้จา่ ยสามารถดูได้ในบทที่ 8 เมือ่ คำนึงถึงเรือ่ งผลของพืน้ ทีช่ ายขอบพืน้ ทีป่ ลูกควรมี อัตราส่วนระหว่าง พืน้ ทีข่ อบ : พืน้ ที่ ต่ำทีส่ ดุ ดังนัน้ วงกลม จึงเป็นรูปทรงทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ สำหรับการวางแปลงปลูก อย่าง ไรก็ตาม ในทางปฏิบตั กิ ารวางแปลงปลูกในรูปดังกล่าวในพืน้ ที่ ขนาดใหญ่อาจทำได้ยาก ดังนัน้ กฏเกณฑ์คร่าว ๆ สำหรับการ วางแปลงปลูก คือพยายามให้พน้ื ทีม่ คี วามกว้างและยาวเท่า ๆ กันและอย่าวางแปลงแคบยาวนอกจากตัง้ ใจจะสร้างแนวป่าหรือ ทางเดินสัตว์ปา่ เพือ่ เชือ่ มป่าสองผืนเข้าด้วยกัน การฟืน้ ตัวของความหลากหลายทางชีวภาพจะเกิดได้เร็วขึน้ ถ้าแปลงปลูกพรรณไม้โครงสร้างนั้นอยู่ติดหรือใกล้กับป่าที่ มีอยูเ่ ดิม

การฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้

พืน้ ทีเ่ ดิมทีป่ กคลุมด้วยป่าธรรมชาติ

พื้นที่ที่ถูกเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พื้นที่ แต่ป่ายัง สามารถให้ผลผลิตและทำหน้าทีใ่ นทางนิเวศได้

แหล่งข้อมูล: Maginnis, S. and W.J. Jackson (2002)

พืน้ ทีเ่ สือ่ มโทรม-ต้นไม้ถกู ตัดออกไปจนทำให้ผลผลิตจาก ป่าและความสามารถในการทำหน้าทีท่ างนิเวศของภูมทิ ศั น์นน้ั ลดลง

110

ปลูกให้เป็นป่า

พื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟู การฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ฟืน้ ฟูความสามารถในการทำหน้าทีข่ องระบบนิเวศและผลผลิตของพืน้ ที่


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

การสำรวจหาพืน้ ทีป่ ลูกป่า ในการสำรวจเพือ่ หาพืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสมสำหรับโครงการฟืน้ ฟูปา่ นัน้ ผูท้ ม่ี สี ว่ นได้สว่ นเสียทุกฝ่ายควรมีสว่ นร่วมด้วย เพราะการได้ลงสำรวจพืน้ ทีจ่ ริงจะทำให้สามารถหารือในหัวข้อ ต่าง ๆ ทีอ่ าจมีผลต่อการวางแผนและดำเนินงานได้ดขี น้ึ เช่น สิทธิในการถือครองพืน้ ที่ แรงงานทีต่ อ้ งใช้ เป็นต้น นอกจาก นัน้ ยังทำให้เห็นจุดมุง่ หมายของโครงการปลูกป่าชัดเจนขึน้ และ สร้างเสริมให้เกิดความร่วมมือในระยะยาวอีกด้วย แผนทีภ่ มู ศิ าสตร์แสดงพืน้ ทีป่ า่ เข็มทิศ และกล้องถ่าย ภาพเป็นสิง่ ทีม่ คี วามจำเป็นสำหรับการสำรวจพืน้ ทีแ่ ละถ้าหาก สามารถจัดหาหรือยืมเครื่องระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ (GPS) จากหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษามาใช้ร่วมด้วย จะมีประโยชน์อย่างมาก เริม่ ต้นจากการศึกษาในแผนทีเ่ พือ่ ประมาณความสูงของ พืน้ ทีจ่ ากเส้นระดับความสูง เลือกพรรณไม้โครงสร้างทีม่ ี ความเหมาะสมโดยดูจากช่วงระดับความสูงทีพ่ รรณไม้ดงั กล่าว สามารถขึน้ ได้ (บทที่ 9) จากนัน้ ใช้เส้นระดับความสูงประ มาณความชันของพืน้ ที่ เพือ่ ให้ทราบถึงความเสีย่ งในการ เกิดการพังทลายของดิน และความยากง่ายในการทำงานบน พืน้ ทีด่ งั กล่าว ดูวา่ สามารถเข้าถึงได้อย่างไร สังเกตเส้นทาง หรือถนนที่เข้าสู่พื้นที่ กะดูระยะทางที่ต้องขนย้ายกล้าและ อุปกรณ์จากถนนไปยังพื้นที่ปลูก จำไว้ว่าการปลูกป่าและดู แลกล้าไม้จะต้องทำในช่วงฤดูฝน จึงต้องดูด้วยว่าสภาพเส้น ทางดังกล่าวจำเป็นต้องใช้รถขับเคลือ่ นสีล่ อ้ สัตว์ตา่ งหรือ การขนส่งในลักษณะใด เพื่อขนย้ายกล้าไม้และผู้ปลูก สำรวจว่าในพืน้ ทีม่ กี ารฟืน้ ตัวตามธรรมชาติอยูม่ ากน้อย เพียงใด ประมาณความหนาแน่นของกล้าไม้เดิม กล้าไม้ ธรรมชาติ หรือตอไม้ที่แตกยอดใหม่ หน่วยวิจัยฯแนะนำให้ ปลูกพรรณไม้โครงสร้างที่ความหนาแน่นประมาณ 500 ต้น ต่อไร่ ในพืน้ ทีท่ ไ่ี ม่มตี น้ ไม้อยูเ่ ลยแต่ถา้ ในพืน้ ทีด่ งั กล่าวมี ไม้เดิมอยู่เราสามารถลดจำนวนกล้าไม้ที่ปลูกให้น้อยลงได้ โดยต้องป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อกล้าไม้ธรรมชาติและ ไม้เดิมในระหว่างการเตรียมพื้นที่ เก็บตัวอย่างพรรณไม้จากต้นไม้และตอไม้ทแ่ี ตกยอดใน พืน้ ทีเ่ พือ่ นำไประบุชนิดโดยนักพฤกษศาสตร์ ชือ่ ท้องถิน่ หรือชือ่ สามัญของพืชในแต่ละพืน้ ทีม่ กั แตกต่างกันและอาจทำ ให้สับสนได้ จึงควรใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ในการทำงานถ้าต้นไม้

ชนิดใดมีอยูใ่ นพืน้ ทีม่ ากแล้วสามารถตัดออกจากรายชือ่ พรรณ ไม้โครงสร้างที่จะปลูกได้ ต่อไปจึงหันมาจัดการกับวัชพืชในพืน้ ที่ ถ้าวัชพืชมีไม่ มาก แรงงานทีจ่ ำเป็นสำหรับการเตรียมพืน้ ทีจ่ ะน้อยลง ถ้า วัชพืชค่อนข้างสั้นอาจกำจัดโดยการพ่นยาที่ไม่ทิ้งสารพิษตก ค้าง เช่น กลุม่ ไกลโฟเสต (ราวด์อพั ) เพียงครัง้ เดียว แต่ถา้ เป็นหญ้าต้นสูง ๆ จะต้องตัดหญ้าแล้วทิง้ ระยะเวลาหลาย ๆ สัปดาห์ ให้หญ้างอกกลับขึ้นมาก่อนที่จะพ่นด้วยยาฆ่าหญ้า อีกครั้ง ดินเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งให้ความสนใจต่อไปถ้าดินแน่นและแข็ง มาก การเตรียมหลุมปลูกจะต้องใช้แรงงานเพิ่มขึ้นและการ คลุมโคนต้นหลังปลูกอาจจำเป็นเพือ่ ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของ ดิน ถ้าเป็นไปได้ควรส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ทว่ี ทิ ยาลัย เกษตรกรรมหรือหน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดินเพื่อดูว่าควร จะใส่ปุ๋ยมากน้อยแค่ไหนเพื่อให้กล้าไม้ที่ปลูกมีปริมาณธาตุ อาหารที่เพียงพอในการเติบโต สำรวจว่าในพืน้ ทีม่ รี อ่ งรอยของไฟหรือไม่ เช่น ตอไม้ ที่มีรอยไหม้เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าต้องเตรียมการป้องกัน ไฟอย่างไร ปศุสตั ว์เป็นอีกเรือ่ งหนึง่ ทีต่ อ้ งคำนึงถึง ถ้าจำเป็น ควรหารือกันว่าจะกันปศุสัตว์ออกจากพื้นที่ปลูกได้อย่างไร (บทที่ 3 ตอนที่ 6 และ บทที่ 4 ตอนที่ 2) ถ่ายรูปเพือ่ บันทึกสภาพเริม่ ต้นของพืน้ ที่ รูปเหล่านีจ้ ะ กลายเป็นบันทึกประวัตศิ าสตร์ทม่ี คี า่ ในการประเมินความสำเร็จ ของโครงการเมื่อเวลาผ่านไป ถ้าหากมีเครือ่ งระบุตำแหน่งทางภูมศิ าสตร์ ให้ระบุ ตำแหน่งพิกดั ภูมศิ าสตร์ของมุมต่าง ๆ ของพืน้ ทีป่ ลูกและทำ เครือ่ งหมายโดยใช้เสาคอนกรีตหรือเสาโลหะ ใช้เชือกขึง เพื่อกำหนดขอบเขตชั่วคราวของแปลง จากนัน้ ติดตัง้ ป้ายชือ่ โครงการ โดยควรมีแผนทีข่ อง ตำแหน่งขอบเขตของพื้นที่ปลูกและที่อยู่ของผู้ประสานงาน โครงการเพือ่ ให้ชาวบ้านในพืน้ ทีท่ ต่ี อ้ งการให้การสนับสนุนหรือ คัดค้านติดต่อได้ ขัน้ สุดท้ายใช้แผนทีท่ างภูมศิ าสตร์เพือ่ ดูวา่ ผืนป่าธรรม ชาติที่ใกล้ที่สุด ในระดับความสูงใกล้เคียงกับพื้นที่ปลูกอยู่ ในบริเวณใด การนำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดไปยังป่านั้น จะให้ภาพทีช่ ดั เจนของเป้าหมายในการฟืน้ ฟูปา่ ศึกษาว่าป่า ดังกล่าวเป็นป่าแบบใด (บทที่ 2) และมีตน้ ไม้ชนิดใดบ้าง จากนัน้ จึงนำมาเทียบกับรายชือ่ พรรณไม้โครงสร้างทีค่ าดว่าจะ ปลูกอีกครั้ง

ปลูกให้เป็นป่า

111


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

ตอนที่ 2 เตรียมปลูก ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกป่า

ไม้เดิมและลูกไม้ธรรมชาติในพืน้ ที่

ในพืน้ ทีท่ ม่ี ฤี ดูกาลชัดเจน ช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมสำหรับการ ปลูกต้นไม้มากทีส่ ดุ คือ ต้นฤดูฝน เมือ่ ฝนตกอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอ การปลูกต้นไม้ในช่วงฤดูฝนเปิดโอกาสให้กล้า ไม้มเี วลาในการพัฒนาระบบรากทีล่ กึ พอสำหรับนำน้ำมาใช้ใน ช่วงฤดูแล้งแรกหลังปลูก และไม่แห้งตาย ในภาคเหนือของ ประเทศไทยช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูก คือ กลาง เดือนมิถนุ ายนจนถึงกลางเดือนกรกฏาคม

สำหรับต้นไม้ ลูกไม้ กล้าไม้ และตอไม้ทย่ี งั ไม่ตาย สิง่ แรกทีต่ อ้ งทำ คือ ป้องกันไม่ให้ไม้เหล่านัน้ เสียหายจาก กิจกรรมปลูกป่า โดยสำรวจและทำเครือ่ งหมายต้นไม้ทง้ั หมดในพืน้ ที่ โดยใช้ไม้ไผ่ทาสีสด ๆ ปักข้าง ๆ ต้นไม้ทพ่ี บ อย่ามองข้ามต้นกล้าขนาดเล็ก ๆ ที่อาจถูกวัชพืชขึ้นคลุมอยู่ ถางวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นออกเป็นวงกว้างประมาณ 1.5 เมตร วิธีการนี้จะช่วยให้เห็นต้นกล้าได้ง่ายขึ้นและลดความเสี่ยงที่ ต้นกล้าเหล่านัน้ จะถูกทำลายในช่วงกำจัดวัชพืช หรือการ ปลูกป่า และยังเป็นการลดการแข่งขันกับวัชพืช ทำให้ตน้ กล้า เจริญเติบโตได้ดเี ท่า ๆ กับกล้าไม้ทน่ี ำไปปลูก อย่าลืมเน้น ให้ทกุ คนทีท่ ำงานในแปลงปลูกตระหนักถึงความสำคัญของกล้าไม้ ธรรมชาติในกระบวนการฟื้นตัวของระบบนิเวศป่า

การเตรียมพืน้ ทีป่ ลูก วัชพืชในพืน้ ทีต่ อ้ งถูกกำจัดก่อนการปลูกป่า ถ้าวิธกี ำจัดที่ เลือกต้องใช้เวลา เช่น การใช้ยาฆ่าหญ้าพวกไกลโฟเสต อาจต้องเริม่ เตรียมพืน้ ทีป่ ระมาณ 6 สัปดาห์กอ่ นปลูก ใน ภาคเหนือของไทยควรเริม่ ต้นเดือนพฤษภาคม แต่ถา้ กำจัด วัชพืชโดยใช้เครื่องมืออื่น ๆ อาจเตรียมพื้นที่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก่อนการปลูก

ถางวัชพืช

112

ปลูกให้เป็นป่า

ทำเครือ่ งหมายตำแหน่งของไม้ทข่ี น้ึ ตามธรรมชาติใน พื้นที่ให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกล้าไม้ ลูกไม้ และตอไม้ที่ ยังมีชวี ติ จากนัน้ ถางวัชพืชก่อนพ่นยาฆ่าหญ้า


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

การประเมินสภาพพืน้ ทีป่ ลูก

G G

B

H

D

C

G I

A E

D

F

เมื่อสำรวจหาพื้นที่สำหรับปลูกป่า ควรคำนึงถึงความชันของพื้นที่และโอกาสเกิดการพังทลายของดิน (B) ความสะดวกในการเข้าถึง (C) พรรณไม้เดิมใน พื้นที่ (D) วัชพืช (E) และสภาพดิน (F) ในการสำรวจควรสำรวจพื้นที่ป่าธรรมชาติที่อยู่ใกล้เคียงด้วย (H) ใช้แผนที่ภูมิศาสตร์ (A) และ เครื่องระบุพิกัดภูมิศาสตร์ (GPS) (G) เพื่อบันทึกตำแหน่งของแปลงปลูก ขั้นสุดท้ายติดป้าย (I) เพื่อประกาศให้คนในพื้นที่ทราบเกี่ยวกับโครงการ

ปลูกให้เป็นป่า

113


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

การปลูกต้นไม้

การหาอาสาสมัครปลูกป่ามักไม่ใช่เรื่องยาก (บน) กำหนดพื้นที่ปลูกโดยใช้เข็มทิศ เสาโลหะเบา ๆ และเชือก (ซ้าย)

ป้องกันความเสียหายจากการขนย้าย โดยใช้ตาข่ายคลุมกล้าไม้ไว้ระหว่าง ขนส่ง (บน) การขนย้ายกล้าไม้ไปยัง พื้นที่ห่างไกลอาจมีอุปสรรค (ขวา)

นีค่ อื สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ กับแปลงปลูกป่าทีไ่ ม่ มีการควบคุมวัชพืช ต้นกล้าทัง้ หมดตาย ภายใน 1 ปี เพราะถูกเฟิร์นขึ้นปกคลุม กล้าไม้ที่ปลูกลงดินแล้วที่แม่อาว ลำพูน (บน)

ถางวัชพืชรอบ ๆ โคนกล้าไม้ ใส่ปยุ๋ ในฤดูฝนที่ 1 และ 2 หลังปลูก

114

ปลูกให้เป็นป่า

ตัดถุงปลูกเปิดออกด้วย มีดพับ พยายามไม่ให้วสั ดุ ปลูกหลุดออกจากราก (บน) .

.

หลังจากปลูก รดน้ำให้ต้นกล้า 2-3 ลิตรต่อต้น อาจใช้รถขนน้ำถ้าจำเป็น


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

การใช้ยาฆ่าหญ้า ในการเตรียมพืน้ ทีป่ ลูก

วิธีการใช้สารกำจัดวัชพืช

เราสามารถใช้ยาฆ่าหญ้าในการกำจัดวัชพืชเพือ่ เตรียม พืน้ ทีป่ ลูกได้ แต่ตอ้ งตัดหญ้าให้สน้ั กว่าระดับเข่าก่อน ทิง้ เศษ วัชพืชไว้ในแปลงเพือ่ ใช้เป็นวัสดุคลุมโคนต้น วิธนี จ้ี ะลดการ พังทลายของดินและป้องกันสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในดินด้วย ทิง้ ระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ให้หญ้าขึน้ มาใหม่กอ่ น พ่นด้วยไกลโฟเสต (ราวด์อพั )

ฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชในวันที่ไม่มีลมและความชื้นต่ำ เพือ่ ป้องกันการกระจายตัวของสารเคมีไปยังกล้าไม้ธรรมชาติ ในพื้นที่ อย่าฉีดพ่นยาถ้ามีพยากรณ์อากาศว่าฝนจะตกภาย ใน 24 ชัว่ โมง ฝนหรือแม้แต่นำ้ ค้างในช่วง 2-3 ชัว่ โมงหลัง ฉีดพ่นจะทำให้ประสิทธิภาพของสารลดลง ในชุมชนทีท่ ำการเกษตรเป็นอาชีพหลักอาจหาเครือ่ งพ่น ยาขนาดใหญ่ทต่ี ดิ ตัง้ บนรถกระบะได้ไม่ยาก แต่แนะนำให้ ใช้ถงั ติดหลังขนาด 15 ลิตร พร้อมหัวฉีดทีต่ ดิ กับท่อโลหะ ยาวในการฉีดพ่นไกลโฟเซตในการเตรียมพืน้ ทีฟ่ น้ื ฟูปา่ เพราะ ควบคุมได้งา่ ย และลดความเสีย่ งทีส่ ารเคมีจะฟุง้ ไปถูกกล้า ไม้ธรรมชาติในแปลง และยังลดการใช้สารเคมีมากเกิน ความจำเป็นด้วย แต่งตัวให้มดิ ชิด สวมถุงมือยาง รองเท้ายาง ใส่เสือ้ กัน น้ำและกางเกงขายาวหรืออาจใช้ชดุ ยาง (Duport Tyvek 100% spun-bonded polyethylene) และหน้ากากเพือ่ เพิม่ ความปลอดภัย เทไกลโฟเซตเข้มข้น 150 มิลลิลติ ร ลงในถัง 15 ลิตร จากนัน้ จึงเติมน้ำให้เต็ม สำหรับพืน้ ที่ 1 ไร่ ต้องใช้ประมาณ 6-8 ถัง (ใช้นำ้ ยา 900 ถึง 1200 มิลลิลติ ร) ถ้าสารเคมีทใ่ี ช้เข้าตาหรือสัมผัสถูกผิว ให้ลา้ งด้วยน้ำ หลาย ๆ ครัง้ และปรึกษาแพทย์ ตรวจดูทศิ ทางลมและหัน หลังให้ลมเสมอเพื่อให้ละอองยาปลิวไปด้านหน้าไม่ใช่พัดเข้า หาตัว ปัม้ สารเคมีดว้ ยมือซ้ายและถือหัวพ่นด้วยมือขวา ใช้ แรงดันต่ำ ๆ ให้ได้ละอองขนาดใหญ่เพื่อไม่ให้ฟุ้งกระจาย

ไกลโฟเซตทำงานอย่างไร ไกลโฟเซตสามารถกำจัดวัชพืชได้ทกุ ชนิด เป็นสารที่ สลายตัวได้งา่ ยในดิน ทำให้ไม่เกิดการสะสมในสิง่ แวดล้อม เหมือนสารพิษอืน่ ๆ เช่น ดีดที ี สารเคมีชนิดนีจ้ ะซึมผ่านใบ ก่อนถูกลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ รวมทัง้ รากของพืช พืชจะ ค่อย ๆ ตาย สังเกตได้จากสีทค่ี อ่ ย ๆ เปลีย่ นเป็นสีนำ้ ตาลใน 1-2 สัปดาห์ ด้วยวิธนี ว้ี ชั พืชจะตายทัง้ หมด วัชพืชทีข่ น้ึ ใหม่ตอ้ งมา จากเมล็ดเท่านัน้ ซึง่ การงอกจากเมล็ดนีใ้ ช้เวลานานกว่าการ แตกยอดจากต้นหรือเหง้าเดิม กล้าไม้ทป่ี ลูกจึงมีเวลา ประมาณ 6 - 8 สัปดาห์ ในการเจริญเติบโตโดยไม่ตอ้ งแข่ง กับวัชพืช ระยะเวลาดังกล่าว เพียงพอให้รากของกล้าไม้เข้า ครอบครองพื้นที่ที่วัชพืชเคยอยู่มาก่อนได้

การพ่นยากำจัดวัชพืช

รอให้วชั พืชระบัดขึน้ มาอีกครัง้ ก่อนฉีดพ่นด้วยสาร กำจัดวัชพืชทีส่ ลายตัวได้งา่ ย เช่น ไกลโฟเซต (ราวด์อพั ) สวมถุงมือ รองเท้ายางและเสื้อผ้ากันน้ำในการฉีดพ่น

ปลูกให้เป็นป่า

115


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

ค่อย ๆ เดินฉีดน้ำยาให้ทว่ั แปลง โดยเดินเป็นแนวพร้อมฉีด ให้เป็นแถบกว้างประมาณ 3 เมตร ค่อย ๆ กวาดหัวฉีดจาก ด้านหนึง่ ไปอีกด้านหนึง่ อาจเติมสียอ้ มลงไปในน้ำยาเล็กน้อย เพือ่ ให้เห็นได้งา่ ยว่า บริเวณไหนฉีดไปแล้ว กันไม่ให้ฉดี น้ำยา ซ้ำในที่เดิม ไกลโฟเซตมีผลต่อพืชทุกชนิดรวมทัง้ กล้าไม้ และลูกไม้ ด้วย ดังนัน้ จึงต้องระมัดระวังในการฉีดพ่นใกล้ ๆ กล้าไม้โดย พยายามให้หวั ฉีดอยูต่ ำ่ ๆ ป้องกันการฟุง้ กระจาย ถ้าหากพ่น น้ำยาไปถูกกล้าไม้โดยไม่ได้ตง้ั ใจ ให้เด็ดใบทีถ่ กู น้ำยาทิง้ เพือ่ กันไม่ให้ไกลโฟเซตซึมเข้าไปในต้นและลำเลียงไปยังราก หลังจากฉีดพ่นยาให้อาบน้ำและซักเสือ้ ผ้าทีใ่ ส่ให้เร็วทีส่ ดุ ล้างอุปกรณ์ทใ่ี ช้ทง้ั หมด (ถังใส่สาร รองเท้า และถุงมือ) ด้วย น้ำปริมาณมาก ๆ ดูให้แน่ใจว่าน้ำทีล่ า้ งไม่ไปปนเปือ้ นในแหล่ง น้ำดืม่ ปล่อยให้นำ้ ทีล่ า้ งอุปกรณ์คอ่ ย ๆ ไหลซึมลงไปในดิน บริเวณที่ไม่มีพืชขึ้นอยู่และอยู่ห่างจากแหล่งน้ำ

อันตรายจากไกลโฟเซต ถ้าหากละเลยข้อควรปฏิบตั ทิ แ่ี นะนำไว้ในการใช้ไกลโฟ เซตอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผูใ้ ช้และสิง่ แวดล้อม ได้ ก่อนใช้ควรอ่านและปฏิบัติตามวิธีที่แนะนำไว้ข้างกล่อง อย่างเคร่งครัด สารพิษชนิดนีไ้ ม่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลีย้ ง ลูกด้วยนม (รวมทัง้ คน) แต่เป็นพิษต่อปลา ดังนัน้ ห้ามล้าง อุปกรณ์ทเ่ี ปือ้ นไกลโฟเซตในลำธารหรือสระน้ำเด็ดขาด มี รายงานว่าสารนีอ้ าจมีผลต่อจุลนิ ทรียใ์ นดิน อย่างไรก็ตาม

ผลกระทบเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ ต้องนำมาชัง่ น้ำหนักกับผลเสีย ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ กับสภาพแวดล้อมหากการฟืน้ ฟูระบบนิเวศป่า ไม่ประสบความสำเร็จ ไกลโฟเซตจะใช้เพียงครัง้ เดียวในช่วง การเตรียมพืน้ ทีป่ ลูก แต่หลังจากปลูกกล้าไม้แล้วไม่แนะนำ ให้ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืชโดยใช้มือ คนจำนวนมากทีเ่ ข้าไปถางพืน้ ทีด่ ว้ ยมีดพร้าหรือจอบอาจ ก่อให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ได้เช่นกัน แต่ถ้าไม่อยากใช้ สารเคมี การกำจัดวัชพืชในลักษณะนีค้ งเป็นสิง่ ทีห่ ลีกเลีย่ ง ไม่ได้ ขัน้ แรกตัดวัชพืชให้สน้ั ลงก่อน จากนัน้ จึงจะขุดออก ด้วยจอบ ควรเตรียมชุดปฐมพยาบาลไว้เผือ่ กรณีเกิดอุบตั เิ หตุ ด้วย

การขุดรากออก การตัดถางวัชพืชออกจะช่วยเร่งให้เกิดการแตกยอดใหม่ ในการแตกยอดใหม่นั้นวัชพืชจะใช้น้ำและธาตุอาหารจากดิน มากกว่าเมือ่ ไม่ถกู ตัด ซึง่ ทำให้รากของวัชพืชแย่งอาหารจาก พืชทีป่ ลูกมาก ดังนัน้ จึงจำเป็นต้องขุดรากทิง้ ด้วย ถึงแม้จะเป็น งานทีต่ อ้ งใช้แรงงานมากก็ตาม การขุดรากวัชพืชทิง้ ยังเป็น การรบกวนดินและเพิม่ ความเสีย่ งทีจ่ ะเกิดการกัดเซาะหน้าดิน นอกจากนัน้ รากวัชพืชยังอาจพลาดไปถูกกล้าไม้หรือต้นไม้ใน พืน้ ทีอ่ กี ด้วย

ช้าลงอีกนิด อย่าทำลายผลงานทีม่ าจากการทำงานตลอดทัง้ ปีในเรือนเพาะชำระหว่างการขนย้ายกล้าไม้ไปยังพืน้ ทีป่ ลูก ในการขนย้ายควรทำอย่างระมัดระวัง บรรทุกกล้าไม้ขึ้นรถ คลุมด้วยตาข่ายเพื่อไม่ให้ถูกแดดหรือลมมาก เกินไป อย่าวางต้นกล้าซ้อนทับกัน

116

ปลูกให้เป็นป่า


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

จากเหตุผลดังกล่าวและเพือ่ ประหยัดงบประมาณ เรา จึงแนะนำให้ใช้ไกลโฟเซตในการเตรียมพืน้ ทีป่ ลูก แต่ไม่ใช่ สำหรับการกำจัดวัชพืชหลังปลูก (ดูตอนที่ 4)

ไฟ เป็นสิง่ ต้องห้าม ไฟเป็นสิง่ ต้องห้ามสำหรับการเตรียมพืน้ ที่ การเผาหญ้า จะทำลายกล้าไม้ธรรมชาติทม่ี อี ยูแ่ ละกระตุน้ ให้หญ้าและวัชพืช อืน่ ๆ แตกยอดใหม่อกี ด้วย ไฟยังทำลายจุลนิ ทรียท์ ม่ี ปี ระ โยชน์ในดิน เช่น ไมคอไรซาและอินทรียว์ ตั ถุตา่ ง ๆ นอกจาก นัน้ ยังมีความเสีย่ งทีไ่ ฟจะลามไปยังป่าทีอ่ ยูใ่ กล้เคียง อีกด้วย

จำนวนต้นกล้าทีต่ อ้ งนำไปทีแ่ ปลง หลังปลูกป่า จำนวนกล้าไม้ในแต่ละไร่ควรมีประมาณ 500 ต้นต่อไร่ ดังนั้นจำนวนกล้าไม้ที่ต้องใช้ต่อไร่จะเท่ากับ 500 ลบด้วยจำนวนกล้าไม้ธรรมชาติหรือตอไม้เดิมทีม่ ชี วี ติ ใน พื้นที่ จำนวนกล้าไม้ที่ใช้นี้จะใช้ระยะห่างระหว่างกล้าไม้ทั้งที่ ปลูกใหม่และต้นไม้เดิมประมาณ 1.8 เมตร ระยะปลูกที่ใช้นี้แคบกว่าระยะปลูกที่ใช้ในการปลูกป่า เศรษฐกิจ โดยวัตถุประสงค์หลักของการปลูกให้หนาแน่น มากขึน้ นีก้ เ็ พือ่ ให้เรือนยอดของต้นไม้ปกคลุมพืน้ ทีใ่ ห้เร็วทีส่ ดุ ร่มเงาของต้นไม้ทโ่ี ตขึน้ เป็นเครือ่ งมือทีม่ ปี ระสิทธิภาพทีส่ ดุ ใน การควบคุมวัชพืชในพืน้ ทีแ่ ละเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม การ ปลูกกล้าไม้จำนวนน้อยทำให้ต้องกำจัดวัชพืชไปหลายปีและ ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงขึ้น ถ้าจำนวนของกล้าไม้ตอ่ ไร่สงู กว่า 500 ต้น ต้นไม้ชนิดที่ โตช้าจะไม่สามารถโตแข่งกับชนิดทีโ่ ตเร็ว ๆ ได้และค่อย ๆ ตาย ไปเป็นการสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนัน้ ถ้าปลูกกล้าไม้แน่นเกินไปโอกาสทีก่ ล้าไม้ธรรมชาติจะกลับเข้า มาในพื้นที่ได้ก็จะน้อยลง และทำให้ความหลากหลายของ พืน้ ทีฟ่ น้ื ตัวได้ชา้ ลงไปด้วย

ช้างถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมทำไม้ซง่ึ ทำลาย ถิน่ อาศัยของพวกมันเองเป็นเวลานานกว่าร้อยปี ในปัจจุบนั พวกมันสามารถมีสว่ นร่วมในการฟืน้ ฟู พืน้ ทีด่ งั กล่าวโดยการขนย้ายกล้าไม้ไปยังพืน้ ทีท่ ่ี เข้าถึงได้ยาก

ปลูกให้เป็นป่า

117


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

จำนวนชนิดของพรรณไม้โครงสร้างต่อพืน้ ที่ จำนวนชนิดของพรรณไม้โครงสร้างทีป่ ลูกควรอยูร่ ะหว่าง 20-30 ชนิด การปลูกพรรณไม้มากชนิดช่วยเร่งให้ความหลาก หลายทางชีวภาพฟืน้ ตัวได้เร็วขึน้ เพราะต้นไม้แต่ละชนิด ดึงดูดสัตว์ปา่ ทีแ่ ตกต่างกันเข้ามาในพืน้ ที่ อย่างไรก็ตาม การผลิตกล้าไม้มากกว่า 30 ชนิด จะทำให้เกิดความยุง่ ยาก ในการเก็บเมล็ดพันธุ์และการจัดการเรือนเพาะชำและยังไม่ จำเป็นนัก

การลำเลียงกล้าไม้ไปยังแปลงปลูก คัดเลือกกล้าไม้ทแ่ี ข็งแรงทีส่ ดุ จากเรือนเพาะชำหลังจากคัด ขนาดและทำให้แกร่งแล้ว (ดูบทที่ 6 ตอน 7 และ 6 ตามลำดับ) ทำเครือ่ งหมายกล้าไม้ทจ่ี ะติดตามการเจริญเติบโต (ดูตอนที่ 5 ในบทนี)้ จากนัน้ เรียงกล้าไม้ลงในตะกร้าทีแ่ ข็งแรงเพือ่ ขนย้าย ไปยังแปลงปลูกก่อนปลูก 1 วัน

แม้แต่กล้าไม้ที่มีคุณภาพก็อาจเกิดความเสียหายจาก ความร้อนและการสูญเสียน้ำระหว่างการขนย้ายไปยังแปลงปลูก ได้ การเคลือ่ นย้ายภาชนะปลูกอาจก่อให้เกิดความเสียหาย กับระบบรากฝอย ถุงปลูก ส่วนยอดของกล้าไม้อาจถูกทำ ลายได้เช่นกัน ถ้าเรียงกล้าไม้ขึ้นรถไม่ระมัดระวัง มาตรการง่าย ๆ สามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว โดยงดให้นำ้ กล้าไม้ 1-2 วันก่อนขนย้ายเพือ่ กันไม่ให้วสั ดุปลูก อ่อนตัวเมือ่ ขนขึน้ รถ ดูให้แน่ใจว่าภาชนะปลูกตัง้ ตรงชิดกันเพือ่ ป้องกันไม่ให้ถุงปลูกล้มและวัสดุปลูกหกออกมา ถ้าใช้ถุงดำ ในการเพาะกล้า อย่าวางถุงเบียดกันแน่นเกินไปจนเสียรูป และไม่ควรตั้งภาชนะปลูกซ้อนกันเพราะอาจทำให้กิ่งก้านหัก เสียหายได้ ถ้าใช้รถกระบะทีไ่ ม่มหี ลังคาในการขนกล้า ให้คลุม กล้าไม้ดว้ ยตาข่ายพรางแสงเพือ่ ไม่ให้ปะทะลมและป้องกันไม่ให้ กล้าเหีย่ ว ขับช้า ๆ เมือ่ ถึงแปลงปลูกตัง้ กล้าไม้ไว้ในทีร่ ม่ และถ้าเป็นไปได้ให้ รดน้ำต้นกล้าอีกครัง้ ถ้าตะกร้าทีใ่ ช้บรรจุกล้ามีเพียงพอให้ทง้ิ กล้าไม้ไว้ในตะกร้าเลย เพือ่ ความสะดวกในการขนย้ายกล้า เวลาปลูก

อย่า ถือกล้าไม้ในลักษณะนี้ เพราะอาจทำให้ลำต้นเสียหายได้

วิธีถือกล้าไม้ที่ถูกต้อง อย่า วางกล้าไม้ไว้กลางแดดจัด หาร่มเงาธรรมชาติหรือทำทีบ่ งั แดด ชั่วคราวเพื่อป้องกันกล้าไม้เหี่ยว

118

ปลูกให้เป็นป่า


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

เครือ่ งมือพืน้ ฐานสำหรับการปลูกต้นไม้ 3.

1.

2.

4. 5.

6.

7.

8. 1. มีด 2. ถุงมือ 3. ปุย๋ ถัง และถ้วยสำหรับ ตวงปุย๋ 4. ตะกร้าสำหรับการขนย้ายกล้าไม้ 5. จอบขุด 6. กระดาษแข็งสำหรับคลุมโคนต้น 7. ชุดปฐมพยาบาล 8. หลักไม้ไผ่

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมไปพื้นที่ปลูก นำของทีจ่ ำเป็นสำหรับการปลูก ไปยังพืน้ ทีใ่ นวันก่อน ปลูก อุปกรณ์ประกอบด้วยหลักไม้ไผ่ กระดาษแข็งสำหรับ คลุมโคนต้นกล้าไม้แต่ละต้น ปุย๋ 1/2 กระสอบ (ประมาณ 25 กิโลกรัม) ต่อไร่ คลุมของทีเ่ ตรียมไว้ดว้ ยผ้าใบกันฝน

สิ่งที่ต้องทำก่อนวันปลูก ก่อนวันปลูก 2-3 วัน ควรประชุมเตรียมความพร้อมร่วม กับผูร้ บั ผิดชอบโครงการ กำหนดหัวหน้าทีมปลูกป่า สำหรับ ผูท้ จ่ี ะเข้าร่วมในกิจกรรมปลูกป่าแต่ละกลุม่ ซักซ้อมให้แน่ใจ ว่าหัวหน้ากลุม่ รูจ้ กั และคุน้ เคยกับวิธกี ารปลูกป่าทีอ่ ธิบายไว้ใน ตอนที่ 3 และทราบตำแหน่งทีแ่ น่นอนของแปลงปลูกทีร่ บั ผิดชอบ เพือ่ ให้การปลูกป่าเสร็จสิน้ ใน 1 วันควรใช้คนปลูก

ประมาณ 8-10 คนต่อพืน้ ที่ 1 ไร่ ให้หวั หน้ากลุม่ บอกสมาชิก ในกลุม่ เตรียมถุงมือผ้าหนา ๆ มีดพับ (สำหรับกรีดเปิดถุง พลาสติก) ถังและถ้วยสำหรับตวงปุย๋ และจอบหรือพลัว่ เล็ก ๆ (สำหรับกลบหลุมปลูก) ควรแนะนำให้ผทู้ จ่ี ะมาร่วม ปลูกป่าเตรียมหมวกกันแดดและน้ำดืม่ ติดตัวมาด้วย และ ควรใส่เสือ้ แขนยาวกางเกงขายาวเพือ่ ป้องกันการขีดข่วนพร้อม ทั้งใส่รองเท้าที่รัดกุม ประมาณจำนวนคนทัง้ หมดทีค่ าดว่าจะเข้าร่วมในวันปลูก ป่า เตรียมยานพาหนะ เตรียมอาหารและน้ำให้เพียงพอ จัด เตรียมแผนไว้สำหรับกรณีทส่ี ภาพอากาศแย่มาก ๆ ท้ายทีส่ ดุ พิจารณาว่าโครงการและชุมชนจะได้รับประโยชน์หรือไม่ถ้ามี การประชาสัมพันธ์กิจกรรมดังกล่าวให้ผู้อื่นรับรู้ ถ้าใช่ควร ติดต่อสื่อมวลชนท้องถิ่นให้เข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าวด้วย

ปลูกให้เป็นป่า

119


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

ตอนที่ 3 วันปลูกป่า การปลูกป่าไม่ใช่เพียงการนำต้นไม้ปลูกลงในดิน แต่ยงั เป็นโอกาสให้ทกุ ๆ คนได้มสี ว่ นร่วมในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมใน ท้องถิน่ ของตนเอง กิจกรรมนีย้ งั อาจช่วยสร้างจิตวิญญาณของชุมชน นอกจากนัน้ การประชาสัมพันธ์ผา่ นสือ่ ยังช่วยส่งเสริม ภาพพจน์ทด่ี ขี องชุมชนในฐานะผูท้ ม่ี คี วามรับผิดชอบต่อธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม การปลูกป่ายังสามารถใช้เป็นบทเรียนในการสือ่ ไปยังผูท้ เ่ี ข้าร่วมกิจกรรมได้ ไม่ใช่เพียงการเรียนรูท้ จ่ี ะปลูกต้นไม้ แต่เรียนรูว้ า่ ทำไมเราจึงต้องปลูกป่า ใช้เวลาสัน้ ๆ ก่อนเริม่ กิจกรรมเพือ่ สาธิตวิธกี ารปลูกต้นไม้ทถ่ี กู ต้อง บอกวัตถุประสงค์ของโครงการฟืน้ ฟูปา่ ทีจ่ ดั ขึน้ และใช้โอกาสนีใ้ นการเชิญชวนทุกคนให้กลับมาร่วมในกิจกรรมอืน่ ๆ หลังปลูก เช่น การกำจัดวัชพืช ใส่ปยุ๋ หรือการจัด ทำแนวกันไฟ

ระยะห่างระหว่างต้น

การปลูกกล้าไม้ลงในแปลง

ขัน้ แรกของการปลูกต้นไม้ คือ ทำเครือ่ งหมายตำแหน่งที่ จะปลูกต้นไม้แต่ละต้น โดยใช้หลักที่มีความสูงประมาณ 1 เมตร วางหลักให้มรี ะยะห่างประมาณ 1.8 เมตร และใช้ ระยะเดียวกันจากไม้เดิมทีม่ อี ยูใ่ นพืน้ ที่ พยายามอย่าวาง หลักเป็นแนวเส้นตรง การปักหลักแบบไม่เป็นแถวทำให้ป่าที่ ฟื้นฟูมีลักษณะใกล้เคียงธรรมชาติมากกว่า การกำหนดจุด ปลูกนี้สามารถทำได้ทั้งในวันปลูกหรือก่อนปลูก 2-3 วัน

ใช้ตะกร้าขนกล้าไม้ไปวางตามหลักไม้ไผ่แต่ละหลัก ในแต่ละตะกร้าควรมีกล้าไม้หลาย ๆ ชนิดผสมกันเพือ่ ไม่ให้ กล้าไม้ชนิดเดียวกันปลูกอยูต่ ดิ กัน ใช้จอบขุดหลุมประมาณ 2 เท่าของภาชนะปลูกข้าง ๆ หลักไม้ไผ่แต่ละหลัก ถางหญ้า รอบ ๆ ปากหลุมออกไปประมาณ 50 เซนติเมตร ถ้ากล้าไม้อยูใ่ นถุงพลาสติกให้ใช้มดี พับกรีดถุงด้านข้าง ให้เปิดออก ระวังอย่าให้ถกู รากข้างใน แกะถุงออก พยายาม อย่าให้วสั ดุปลูกหลุดออกจากราก วางกล้าไม้ลงในหลุมตัง้ ต้น กล้าให้ตรง กลบดินให้ถงึ ระดับคอรากของกล้าไม้ ถ้ากล้าไม้ ติดเครือ่ งหมายสำหรับติดตามการเจริญเติบโตระวังอย่าให้ปา้ ย ถูกกลบไปด้วย

เตรียมพร้อมสำหรับการปลูกป่า สวมหมวก กันแดด (1) เสือ้ แขนยาว (2) น้ำดืม่ (3) กางเกงขายาว (4) มีดพับหรือคัตเตอร์สำหรับ กรีดถุงพลาสติก (5) รองเท้ารัดกุม (6) ถุงมือ (7) และจอบสำหรับขุดหลุมปลูก (8)

120

ปลูกให้เป็นป่า


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

1. ปักหลักกำหนดจุดปลูก 2. ขุดหลุมขนาดสองเท่าของภาชนะบรรจุกล้าไม้

ใช้ฝา่ มือกดดินรอบ ๆ โคนต้นกล้าให้แน่น เพือ่ ลดช่องว่าง ระหว่างวัสดุปลูกกับดินในแปลง เพือ่ ให้รากกล้าไม้รบั น้ำและ ออกซิเจนจากดินรอบ ๆ ได้เร็วขึน้ จากนัน้ ใส่ปยุ๋ เป็นวงรอบ ๆ โคนต้น โดยให้หา่ งจากต้นกล้า ประมาณ 20 เซนติเมตร ระวังอย่าให้ปยุ๋ ถูกกล้าไม้โดยตรง เพราะอาจเกิดอาการไหม้ ใช้ปยุ๋ 50-100 กรัม (1/2-1 ขีด) ต่อกล้าไม้ 1 ต้น โดยใช้ถว้ ยพลาสติกทีว่ ดั ปริมาตรไว้ลว่ ง หน้าตวงปุ๋ยใส่กล้าไม้แต่ละต้น คลุมโคนต้นกล้าแต่ละต้นด้วยกระดาษแข็ง เส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 40 เซนติเมตร ตรึงกระดาษกล่องไว้ดว้ ยหลัก ไม้ไผ่ ใช้เศษวัชพืชที่ตัดแล้วคลุมบนกระดาษอีกชั้นหนึ่ง

3. นำกล้าไม้ออกจากภาชนะปลูก พยายามให้วัสดุปลูกเกาะติดกับราก

หลังจากปลูกต้นไม้ทง้ั หมดแล้วถ้ามีแหล่งน้ำใกล้ ๆ ควร รดน้ำกล้าไม้แต่ละต้น 2-3 ลิตร หากอยู่ห่างจากแหล่งน้ำ อาจจ้างรถน้ำให้ขนน้ำเข้ามาในแปลงปลูกได้ แต่สำหรับพืน้ ที่ ที่รถเข้าไม่ถึงและไม่มีแหล่งน้ำใกล้ ๆ ควรวางแผนปลูกป่า ในช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอแล้ว สิง่ สุดท้ายทีต่ อ้ งทำก่อนออกจากแปลงปลูกป่า คือ การ เก็บถุงพลาสติก หลักไม้ทเ่ี หลือ กระดาษกล่องและขยะอืน่ ๆ ออกจากพืน้ ที่ หัวหน้าทีมปลูกป่าควรกล่าวคำขอบคุณทุก ๆ คนทีม่ าร่วมกิจกรรมปลูกป่านี้ หรือจัดให้เป็นงานอย่างเป็นทาง การเพือ่ ขอบคุณผูท้ เ่ี ข้าร่วมการปลูกป่าไปพร้อม ๆ กับการ สร้างแนวร่วมสำหรับงานฟื้นฟูป่าในอนาคต

4. วางกล้าไม้ลงในหลุมและกลบด้วยดิน

ปลูกให้เป็นป่า

121


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

6. โรยปุ๋ยเป็นวงห่างจากต้นกล้า ประมาณ 20 เซนติเมตร

5. กดดินรอบโคนต้นกล้าให้แน่น

ปุย๋ ทีเ่ หมาะสำหรับการปลูกกล้าไม้ สำหรับพืน้ ทีบ่ นเขาสูงเราพบว่า ปุย๋ เคมีสตู ร N:P:K 15:15:15 ทีใ่ ช้กนั อยูท่ ว่ั ๆ ไป ช่วยบำรุงต้นกล้าได้ดี การให้ ปุย๋ โดยโรยเป็นวงรอบ ๆ โคนต้นกล้าให้ผลดีกว่าการใส่ปยุ๋ รองก้นหลุม เพราะปุย๋ จะซึมลงไปในดินพร้อม ๆ กับทีร่ าก ของกล้าไม้เจริญเติบโตออกไปยังดินรอบ ๆ หลุม ในพืน้ ทีร่ าบทีด่ นิ ค่อนข้างเลว พบว่าการใช้ปยุ๋ อินทรียอ์ ดั เม็ดทีท่ ำ จากมูลสัตว์ เช่น ปุย๋ โพธิก์ รุณา ให้ผลดีกว่าปุย๋ เคมีเล็กน้อย ทัง้ นี้ อาจเนือ่ งจากปุย๋ ชนิดนีค้ อ่ ย ๆ สลายตัวและซึมลงใน ดินช้ากว่าปุ๋ยเคมีทำให้กล้าไม้ได้รับธาตุอาหารสม่ำเสมอเป็น เวลานาน

วัสดุคลุมโคนต้น การใช้กระดาษกล่องคลุมโคนต้นสามารถเพิม่ อัตราการ รอดชีวติ และการเจริญเติบโตของกล้าไม้ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในพืน้ ทีท่ ด่ี นิ ค่อนข้างแห้ง ดังนัน้ จึงควรใช้วสั ดุคลุม โคนต้นเมือ่ ปลูกป่าในพืน้ ทีป่ า่ ผลัดใบในทีต่ ำ่ หรือในทีท่ เ่ี ป็น ดินลูกรัง เมล็ดวัชพืชส่วนใหญ่จะถูกกระตุ้นให้งอกด้วยแสง การคลุมรอบ ๆ โคนต้นกล้าไว้จะกันไม่ให้เมล็ดวัชพืชได้รับ แสงทำให้วชั พืชขึน้ ไม่ได้ วัสดุคลุมโคนต้นยังทำให้ดนิ เย็นและ ลดการระเหยของน้ำจากผิวดินอีกด้วย

7. วางกระดาษคลุมโคนต้น ตรึงด้วยหลักไม้ไผ่ 8. ถ้าเป็นไปได้รดน้ำกล้าไม้ที่ ปลูก ถ้าไม่มีน้ำควรปลูกเมื่อ มีฝนตก

122

ปลูกให้เป็นป่า


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

ไฟป่า ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2541 ทุก ๆ ปี ชาวบ้านแม่สาใหม่ได้จดั ระบบป้องกัน ไฟป่าทีป่ ระสบความสำเร็จอย่างดีมา โดยตลอด แต่ละบ้านจะส่งสมาชิกใน บ้าน 1 คน เข้าร่วมในการทำแนว กันไฟรอบ ๆ แปลงปลูกประมาณ กลางเดือนมกราคม ในฤดูแล้ง แต่ละครอบครัวจะ ให้สมาชิกเข้าร่วมทีมระวังไฟ 1 คน ทุก ๆ 11 วัน ทีมดังกล่าวประกอบ ด้วยสมาชิก 16 คน ทำหน้าที่ระวัง ไฟและป้องกันมิให้ไฟลามเข้าสู่แปลง ปลูก ในลักษณะนีท้ ง้ั ชุมชนจึงได้มสี ว่ น ร่วมในงานดังกล่าวเท่า ๆ กัน (ดูบทที่ 8)

หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ และเจ้าหน้าทีป่ า่ ไม้ให้การสนับสนุนค่าอาหาร สำหรับทีมระวังไฟ และการประกอบพิธีตามความเชื่อของชุมชน (บน)

เมื่อเริ่มฤดูไฟ ชาวบ้านจะเซ่นไหว้เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยคุ้มครองกล้าไม้ที่ปลูก จากไฟป่า ถ้าการป้องกันไฟประสบความสำเร็จพิธีกรรมเซ่นไหว้เพื่อขอบคุณจะจัด ขึน้ อีกครัง้ หมูทถ่ี กู ล้มนอกจากเพือ่ ยอดเก่าทีต่ าย เป็นของเซ่นไหว้แล้วยังเป็นรางวัล แก่ทีมระวังไฟด้วย ยอดแตกใหม่

ต้นไม้บางชนิดทนการทำลายจากไฟได้ดีกว่าชนิดอื่น นางพญาเสื อ โคร่ ง (Prunus cerasoides) (ขวา) ถูกไฟไหม้หลังปลูกได้ 8 เดือน ต้นเดิมถูกเผาจนตาย แต่กลับแตกยอดขึน้ มาใหม่ใน 3 เดือน

รถดับเพลิงแบบนี้ใช้ได้เฉพาะบริเวณริมถนน (ซ้าย)

ปลูกให้เป็นป่า

123


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

การกำจัดวัชพืชเป็นสิง่ จำเป็น A

B

C

E D

การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ต้นกล้ามีโอกาสรอดมากขึ้นในช่วง 2 ฤดูฝนแรก กระดาษกล่องที่ใช้คลุมโคนต้นสามารถช่วยควบคุม วัชพืชรอบ ๆ โคนต้นกล้าได้ (A) ดึงวัชพืชทีข่ น้ึ ใกล้โคนต้นกล้าด้วยมือเพือ่ ป้องกันไม่ให้รากต้นไม้กระทบกระเทือน (B) พยายามให้กระดาษอยูท่ เ่ี ดิม จากนัน้ ใช้จอบถางวัชพืชทีอ่ ยูร่ อบ ๆ กระดาษกล่องออก (C) และวางเศษวัชพืชทีถ่ างออกมาลงบนกระดาษทีใ่ ช้คลุมโคนต้น (D) จากนัน้ จึงใส่ปยุ๋ (50-100 กรัม) เป็นวงรอบ ๆ กระดาษ (E)

124

ปลูกให้เป็นป่า


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

สัตว์ขนาดเล็กทีอ่ ยูใ่ นดินชอบเข้ามาอยูใ่ ต้วสั ดุคลุมโคน ต้นเพราะดินค่อนข้างเย็น สัตว์เหล่านีจ้ ะช่วยพรวนดินบริเวณ โคนต้นทำให้ดินระบายน้ำและอากาศได้ดี กระดาษแข็งหรือกระดาษลูกฟูกทีใ่ ช้คลุมโคนต้นควรตัด เป็นวงกลมกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร ตรงกลางเจาะรู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-10 เซนติเมตร พร้อมช่อง แคบ ๆ จากรูตรงกลางมาด้านข้าง ช่องข้างนีเ้ ตรียมไว้สำหรับ สวมกระดาษเข้าไปที่รอบโคนต้นกล้า ระวังอย่าให้กระดาษ แข็งชนกับต้นกล้า เพราะอาจทำให้ต้นกล้าเกิดรอยแผลและ ติดเชือ้ ราบริเวณแผลดังกล่าว ปักหลักไม้ไผ่เพือ่ ตรึงให้ กระดาษอยู่กับที่ กระดาษกล่องทีใ่ ช้คลุมโคนต้นนีจ้ ะย่อยสลายไปในเวลา ประมาณ 1 ปีเป็นการเพิม่ สารอินทรียใ์ ห้แก่ดนิ การใส่กระดาษ กล่องซ้ำในปีท่ี 2 ไม่ได้ให้ประโยชน์มากนักจึงไม่มคี วามจำเป็น

การใช้โพลิเมอร์ในการปลูกป่า

เจลนีส้ ามารถหาซือ้ ได้ในร้านขายวัสดุการเกษตรทัว่ ไป ใน ปัจจุบนั กำลังมีการพัฒนาวัสดุทค่ี ล้ายคลึงกันจากของใน ท้องถิน่ เช่น แป้งข้าวจ้าวและแป้งข้าวโพด ในการใช้เจลให้ ผสมเจลกับน้ำตามสัดส่วนที่ผู้ผลิตกำหนด จากนั้นผสมเจล 1-2 ลิตร กับดินก้นหลุมก่อนจะปลูกกล้าไม้

สิ่งที่ต้องทำหลังการปลูกป่า ในวันปลูกป่ามักมีอาสาสมัครมาร่วมกิจกรรมจำนวนมาก และแม้ว่าจะสาธิตวิธีการปลูกที่ถูกต้องก่อนเริ่มปลูกจริงแล้ว ก็มกั มีกล้าไม้บางส่วนทีย่ งั ปลูกไม่เรียบร้อย ดังนัน้ หลังจาก เสร็จสิน้ งานปลูกป่าแล้ว หัวหน้าทีมควรตรวจความเรียบ ร้อยของต้นไม้ทป่ี ลูก แก้ไขข้อผิดพลาดทีเ่ กิดขึน้ เช่น ดูวา่ ต้นกล้าทุกต้นตัง้ ตรง ดินรอบ ๆ ต้นถูกกดให้แน่น เครือ่ งหมาย ของกล้าไม้ไม่ถกู กลบ ตรวจดูวา่ มีกล้าไม้ทถ่ี กู ทิง้ ไว้โดยไม่ได้ ปลูกหรือหลุมทีไ่ ม่มตี น้ กล้าหรือเปล่า เก็บขยะ และวัสดุทเ่ี หลือ ออกจากพื้นที่ให้หมด

โพลิเมอร์เจลทีด่ ดู ซับน้ำได้มาก หรือทีเ่ รารูจ้ กั กันว่าเป็น ดินวิทยาศาสตร์ สามารถช่วยรักษาน้ำให้แก่รากของกล้าไม้ท่ี เพิ่งปลูกและลดความเครียดของกล้าไม้จากการย้ายปลูกได้ บนที่สูงซึ่งดินได้รับน้ำเพียงพอ การใช้เจลไม่มีความจำเป็น แต่ ใ นพื ้ น ที ่ ป ่ า ผลั ด ใบที ่ ด ิ น ไม่ ส มบู ร ณ์ แ ละแห้ ง แล้ ง การใช้เจลรองก้นหลุมร่วมกับกระดาษกล่องคลุมโคนต้นจะ ช่วยลดอัตราการตายของกล้าไม้หลังปลูกได้

กระดาษแข็งสำหรับคลุมโคนต้น 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789 123456789012345678901234567890121234567890123456789

วัสดุคลุมโคนต้นทุ เ่ี ตรียมจากกระดาษกล่องเป็นวัสดุทร่ี าคาถูกและช่วยลดอัตราการ ตายของกล้าไม้หลังปลูกได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่แห้งแล้งและดินไม่ดี วัสดุคลุมโคนต้นช่วยควบคุมวัชพืช ลดค่าใช้จ่ายและแรงงานในการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยรอบ ๆ กระดาษที่ใช้คลุมโคนต้น ถ้าไม่ถูกทำลายระหว่างการกำจัดวัชพืช วัสดุคลุมโคนต้นนี้อยู่ได้ประมาณ 1 ปี

30-40 cm

ปลูกให้เป็นป่า

125


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

ตอนที่ 4 การดูแลกล้าไม้หลังปลูก ในพืน้ ทีป่ า่ ถูกทำลาย กล้าไม้ตอ้ งผจญกับสภาพแวดล้อมทีร่ อ้ นแห้งแล้งภายใต้แสงแดดจัด และการแข่งขันกับวัชพืชที่ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนัน้ ในฤดูแล้งกล้าไม้ยงั เสีย่ งกับการถูกไฟเข้าทำลาย การดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูกอย่างใกล้ชดิ ในระยะ 18 เดือนแรกหลังปลูกจึงมีความสำคัญมากในการช่วยให้กล้าไม้อยู่รอดได้ แม้ว่าการดูแลกล้าไม้จะเป็นสิ่งที่ต้องใช้ เงินมากและเป็นงานหนัก แต่โดยรวมแล้วยังคุม้ ค่ากว่าทีจ่ ะต้องปลูกต้นไม้ใหม่เพือ่ ทดแทนต้นกล้าทีต่ ายไป ถ้าปฏิบตั ติ ามคำ แนะนำทีใ่ ห้ไว้ดา้ นล่าง และกล้าไม้ทป่ี ลูกสมบูรณ์แข็งแรง และได้ผา่ นการทำให้แกร่งมาอย่างดีแล้ว ป่าทีไ่ ด้รบั การฟืน้ ฟูควรจะ สามารถเจริญเติบโตได้เองโดยไม่ตอ้ งดูแลอีกภายในเวลาประมาณ 3 ปี

ความถี่ในการกำจัดวัชพืช

วิธีการกำจัดวัชพืช

ความถีข่ องการกำจัดวัชพืชขึน้ อยูก่ บั ว่าวัชพืชในพืน้ ทีโ่ ต เร็วแค่ไหน ในพืน้ ทีส่ งู วัชพืชเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วใน ฤดูฝน หลังปลูกควรกำจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นกล้าอย่าง น้อย 3 ครัง้ ในช่วงฤดูฝน โดยแต่ละครัง้ ห่างกัน 4-6 สัปดาห์ ในพื้นที่ต่ำ วัชพืชมักโตช้ากว่าและมีน้อยกว่าบนที่สูงมาก ดังนัน้ สามารถลดจำนวนครัง้ ในการกำจัดวัชพืชได้ ควรกลับไปทีแ่ ปลงปลูกบ่อย ๆ เพือ่ ตรวจว่ามีวชั พืชมาก หรือน้อย และควรกำจัดวัชพืชก่อนทีว่ ชั พืชจะโตจนปกคลุม กล้าไม้ที่ปลูก หลังเดือนพฤศจิกายนไม่ควรกำจัดวัชพืชอีก แต่การปล่อยให้วชั พืชโตขึน้ มาคลุมดินก่อนเข้าสูฤ่ ดูแล้งวัชพืชที่ ขึน้ มานีจ้ ะช่วยให้รม่ เงากับกล้าไม้และป้องกันไม่ให้กล้าไม้แห้ง ตายในช่วงฤดูรอ้ นและแล้งทีส่ ดุ ของปี อย่างไรก็ตาม วัชพืช ในพืน้ ทีน่ ้ี อาจเพิม่ ความเสีย่ งทีจ่ ะทำให้เกิดไฟ จึงควรปล่อย ให้มีวัชพืชได้เฉพาะในพื้นที่ที่มีระบบป้องกันไฟที่ดีเท่านั้น ในพืน้ ทีท่ ม่ี คี วามเสีย่ งทีจ่ ะเกิดไฟสูงต้องพยายามไม่ให้มวี ชั พืช ในแปลงปลูกเลย การกำจัดวัชพืชจะต้องใช้แรงงานเท่าไรนัน้ ขึน้ อยูก่ บั ความหนาแน่นของวัชพืชในพืน้ ที่ อย่างไรก็ตามถ้า จะทำงานให้เสร็จในหนึง่ วันต้องใช้คนงาน 3-4 คนต่อไร่ ในการ กำจัดวัชพืช

สวมถุงมือเพือ่ ถอนวัชพืชทีข่ น้ึ ใกล้ ๆ โคนต้นไม้ รวมถึง วัชพืชทีข่ น้ึ ทะลุกระดาษแข็งขึน้ มา พยายามอย่าให้กระดาษที่ ใช้คลุมโคนต้นเสียหาย ใช้จอบถางวัชพืชทีข่ น้ึ รอบ ๆ กระดาษ แข็งโดยขุดรากวัชพืชขึน้ วางซากพืชทีถ่ อนออกมาไว้บน กระดาษรอบ ๆ โคนต้น เศษวัชพืชนีจ้ ะช่วยรักษาโคนต้น เช่นเดียวกับกระดาษแข็งทีค่ อ่ ย ๆ ย่อยสลายไปและช่วยยับยัง้ ไม่ให้เมล็ดวัชพืชงอก พยายามอย่าให้เศษซากวัชพืชไปถูก ต้นไม้ที่ปลูกเพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ ไม่ควรใช้มดี หรือจอบใกล้ ๆ กับต้นไม้ทป่ี ลูกเพราะอาจ พลาดไปถูกต้นไม้ได้ เครือ่ งมือดังกล่าวจะมีประโยชน์สำหรับ การกำจัดวัชพืชระหว่างต้นไม้แต่ละต้นมากกว่า หลังจากการ กำจัดวัชพืชใส่ปยุ๋ ให้กบั ต้นไม้แต่ละต้นทันที

ระยะเวลาในการกำจัดวัชพืช ในช่วงสองฤดูฝนแรกการกำจัดวัชพืชบ่อย ๆ เป็นสิง่ ทีจ่ ำ เป็น ส่วนในฤดูแล้ง โดยปกติแล้วไม่จำเป็นต้องกำจัดวัชพืช ในฤดูฝนปีท่ี 3 อาจลดความถีใ่ นการกำจัดวัชพืชลงได้บา้ ง เพราะพุม่ ของต้นไม้ทป่ี ลูกจะเริม่ โตคลุมพืน้ ที่ และกลายเป็น ชัน้ เรือนยอดของป่า ในฤดูฝนที่ 4 เรือนยอดของต้นไม้ในแปลง ปลูกควรมากพอที่จะยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชได้แล้ว

126

ปลูกให้เป็นป่า

การใส่ปยุ๋ การให้ปยุ๋ แก่กล้าไม้ในสองฤดูฝนแรกหลังการปลูกจะทำ ให้มกี ารเจริญเติบโตดีขน้ึ ทัง้ ในดินเลวและในดินทีส่ มบูรณ์อยู่ แล้ว ปุย๋ ทำให้กล้าไม้สามารถเจริญเติบโตพ้นระดับของวัชพืช ได้เร็วขึน้ และบังแสงทำให้วชั พืชตายไปในทีส่ ดุ ซึง่ จะช่วยลด ค่าใช้จา่ ยในการกำจัดวัชพืชลงได้ ใส่ปยุ๋ ประมาณ 50-100 กรัมต่อต้นทุก ๆ 4-6 สัปดาห์ พร้อม ๆ กับการตัดหญ้าโดย โรยปุย๋ เป็นวงรอบ ๆ ต้นกล้าห่างจากโคนต้นประมาณ 20 เซนติ เมตร หรือถ้าใช้กระดาษกล่องคลุมโคนต้นอยูใ่ ห้ใส่ปยุ๋ รอบ ๆ แผ่นกระดาษ ปุย๋ เคมีสตู ร 15:15:15 ใช้ได้ผลดีในพืน้ ทีส่ งู แต่สำหรับ พืน้ ทีต่ ำ่ ๆ ทีเ่ ป็นดินลูกรังปุย๋ อินทรีย์ จะให้ได้ผลดีกว่า อย่าใส่ ปุย๋ ใกล้โคนต้นเกินไป เพราะอาจทำให้ตน้ กล้าเสียหายหรือตาย ได้กอ่ นใส่ปยุ๋ ควรตัดหญ้าก่อนเพือ่ ให้แน่ใจว่าต้นกล้าจะได้ใช้ ประโยชน์จากปุย๋ เต็มที่ ไม่ใช่วชั พืชทีอ่ ยูโ่ ดยรอบ


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

การป้องกันไฟ ในฤดูแล้งของทุกปีไฟเป็นสิง่ ทีม่ อี นั ตรายทีส่ ดุ สำหรับแปลง ปลูกป่า ถึงแม้วา่ ไฟสามารถเกิดขึน้ ได้เองตามธรรมชาติแต่ ส่วนใหญ่แล้วไฟป่าทีพ่ บมักเกิดขึน้ จากน้ำมือมนุษย์ วิธปี อ้ ง กันทีด่ ที ส่ี ดุ คือ การทำความเข้าใจกับประชาชนว่าไม่ควรจุด ไฟในพืน้ ทีใ่ กล้ ๆ แปลงปลูกป่า อย่างไรก็ตาม แม้จะใช้ความ พยายามมากเท่าใดในการสร้างความตระหนักกับประชาชน ในพืน้ ที่ ไฟก็ยงั มักเป็นปัจจัยทีท่ ำให้เกิดความเสียหายแก่พน้ื ที่ ป่าฟืน้ ฟูเสมอ ถึงแม้หน่วยป้องกันไฟป่าของกรมป่าไม้อาจ ช่วยป้องกันไฟได้บา้ งแต่บางครัง้ เจ้าหน้าทีเ่ หล่านัน้ ไม่อาจทีจ่ ะ เข้าไปในทุกพืน้ ทีไ่ ด้ทนั ท่วงที ดังนัน้ การจัดตัง้ ทีมป้องกันไฟป่า ขึน้ ภายในชุมชนเองจึงมักมีประสิทธิภาพดีกว่า การป้องกัน แปลงปลูกป่าจากไฟป่าประกอบด้วยการทำแนวกันไฟและ จัดทีมเฝ้าระวังไม่ให้ไฟเกิดขึ้นพร้อมทั้งควบคุมไฟไม่ให้เกิด การลุกลามไปในพื้นที่

สำหรับป้องกันไฟขนาดกลางทีเ่ ป็นไฟผิวดิน แต่สำหรับไฟที่ รุนแรงมาก ๆ เศษไม้ทล่ี กุ ไหม้อาจปลิวตกไกลออกไปและ ทำให้เกิดไฟไหม้ในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้ ทำแนวกันไฟกว้างประมาณ 10-15 เมตร รอบ ๆ แปลง ปลูกป่า ก่อนเข้าหน้าแล้งทีอ่ ากาศร้อนและแห้ง (สำหรับทาง เหนือของไทยอยูใ่ นช่วงกลางเดือนมกราคม) วิธที เ่ี ร็วทีส่ ดุ คือ ตัดถางหญ้า ไม้ล้มลุกและไม้พุ่มในพื้นที่ออกจากแนวกันไฟ (ไม่จำเป็นต้องตัดต้นไม้) กองเศษซากพืชทีต่ ดั ออกไว้กลาง แนวกันไฟ ปล่อยทิ้งให้แห้ง 2-3 วัน จากนั้นจุดไฟเผาทิ้ง เตรียมอุปกรณ์ดบั ไฟ เช่น ไม้ตไี ฟ หรือถังพ่นน้ำให้พร้อมเพือ่ ป้องกันไม่ให้ไฟลามไปนอกพืน้ ทีท่ ก่ี ำหนด การชิงเผาแนว กันไฟก่อนที่ฤดูร้อนและแห้งแล้งจะมาถึงช่วยลดโอกาสที่ไฟ จะลามจนควบคุมไม่ได้ เพราะต้นพืชรอบ ๆ พืน้ ทีย่ งั มีความชืน้ มากพอทำให้ติดไฟได้ยาก ถนนและลำธารสามารถทำหน้าที่ เป็นแนวกันไฟได้เช่นเดียวกัน จึงไม่จำเป็นต้องทำแนวกันไฟ ตามแนวถนนหรือแนวลำธาร

การทำแนวกันไฟ แนวกันไฟ คือ แนวพืน้ ทีท่ ต่ี ดั ถางพืชทีอ่ าจไหม้ไฟได้ออก เพือ่ ป้องกันไม่ให้ไฟลามเข้าไปในพืน้ ที่ แนวกันไฟใช้ได้ผลดี

ใช้ไฟสูก้ บั ไฟ (A) ตัดถางพืชออกเป็นสองแนวโดยให้หา่ งกันประมาณ 10-15 เมตร (B) เศษพืชทีต่ ดั แล้วมารวมไว้ตรงกลางระหว่างแนวทัง้ สอง (C) ปล่อยทิง้ ไว้ให้แห้ง 2-3 วัน จากนัน้ จึงเผาทิง้ ระวังอย่าให้ ไฟลามออกนอกแนวกันไฟ (D)

การทำแนวกันไฟ

พืน้ ทีท่ ไ่ี ม่ได้ปลูก A D B

C

แนวกันไฟ

แปลงปลูกป่า

ปลูกให้เป็นป่า

127


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

การช่วยคุมป้องกันไฟ

เมื่อแปลงปลูกป่าถูกไฟไหม้

จัดตัง้ ทีมระวังไฟเพือ่ เตือนภัยแก่ชมุ ชนเมือ่ เห็นไฟป่าชาว บ้านจะได้ชว่ ยกันดับให้ทนั ท่วงที พยายามให้ชมุ ชนมีสว่ น ร่วมในการระวังไฟโดยส่งตัวแทนจากแต่ละบ้านเข้าร่วมทีม ระวังไฟทุก ๆ 2-3 อาทิตย์ การเฝ้าระวังไฟป่าต้องทำทัง้ วัน ทั้งคืนตั้งแต่กลางมกราคมจนถึงกลางเดือนเมษายนหรือจน กว่าฝนจะเริ่มตก เตรียมน้ำใส่ถังน้ำมันเก่าและอุปกรณ์ดับไฟไว้รอบ ๆ แปลงปลูกป่า อุปกรณ์ดบั ไฟประกอบด้วย ถังน้ำสำหรับใส่ หลังพร้อมหัวฉีด ไม้ตสี ำหรับดับไฟ คราดสำหรับกวาดเศษ พืชที่ไหม้ไฟได้ออกจากแนวไฟและชุดปฐมพยาบาล กิ่งไม้ สดสามารถใช้แทนไม้ตไี ฟได้ ถ้ามีลำธารใกล้ ๆ ทีอ่ ยูเ่ หนือ แปลงปลูกป่าอาจต่อท่อลงมาแปลงจะทำให้การป้องกันไฟมี ประสิทธิภาพดียง่ิ ขึน้ การดับไฟด้วยเครือ่ งมือพืน้ ฐานนีท้ ำได้เฉพาะกับไฟผิวดิน ทีไ่ หม้ชา้ ๆ และไม่รนุ แรงนัก แต่ถา้ ไฟไหม้รนุ แรงมาก ๆ และ มีการไหม้ถงึ ยอดไม้จะต้องให้เจ้าหน้าทีด่ บั เพลิงทีม่ คี วามชำนาญ พร้อมอุปกรณ์เสริมเช่น เฮลิคอปเตอร์เข้ามาช่วยจึงควรเตรียม ข้อมูลสำหรับติดต่อเจ้าหน้าทีด่ บั เพลิงไว้ให้พร้อมสำหรับกรณี จำเป็น หน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบในการป้องกันไฟป่าของกรมป่าไม้ ส่วนมากยินดีทจ่ี ะจัดการอบรมการควบคุมไฟป่าและสนับสนุน อุปกรณ์ดบั ไฟป่าให้แก่ชมุ ชน ดังนัน้ ควรติดต่อขอรับการ สนับสนุนจากหน่วยป้องกันไฟป่าในพืน้ ทีล่ ว่ งหน้า

ความสูญเสียอาจไม่ได้เกิดขึน้ กับต้นไม้ทง้ั หมดถ้าต้นไม้ท่ี ใช้ปลูกถูกเลือกมาเนือ่ งจากลักษณะทีท่ นทานต่อไฟ ถึงแม้วา่ ต้นไม้ทกุ ชนิดจะไหม้ไฟ แต่หลายชนิดสามารถแตกยอดใหม่ ขึน้ มาได้อย่างรวดเร็ว โดยส่วนมากจะแตกยอดจากตาบริเวณ คอรากเรียกกระบวนการนี้ว่า คอพพีซซิ่ง (coppicing) ต้นไม้ขนาดใหญ่และอายุมากกว่ามีโอกาสฟืน้ ตัวได้ดกี ว่า ต้นไม้ขนาดเล็ก โดยมากต้นไม้ทม่ี ขี นาดเส้นผ่าศูนย์กลางคอ รากมากกว่า 5 เซนติเมตร มักรอดชีวติ หลังจากถูกไฟผิวดิน ไหม้ ซึง่ พรรณไม้โครงสร้างส่วนใหญ่จะโตถึงขนาดดังกล่าว หลัง 3 ฤดูฝน ดังรายละเอียดในบทที่ 9 ต้นไม้ขนาดเล็กมี โอกาสตายสูงกว่าแต่พรรณไม้โครงสร้างบางชนิดทีม่ เี ส้นผ่าศูนย์ กลางคอรากเพียง 2 เซนติเมตร ก็อาจสามารถรอดชีวติ หลัง จากไฟไหม้ได้ พรรณไม้โครงสร้างทีท่ นไฟได้ดแี ละสามารถฟืน้ ตัวได้ดจี าก ไฟไหม้แม้มอี ายุเพียงปีเดียว ได้แก่ สะเดาช้าง (Acrocarpus fraxinifolius), มะขามแป (Archidendron clypearia), ก่อเดือย (Castanopsis acuminatissima), ก่อใบเลือ่ ม (C. tribuloides), กร่าง (Ficus altissima), มะเดือ่ ปล้อง (F. hispida), มะเดื ่ อ อุ ท ุ ม พร (F. racemosa), ไคร้ (Glochidion kerrii), ซ้อ (Gmelina arborea) , ตาเสือทุง่ (Heynea trijuga), หมอนหิน (Hovenia dulcis), ก่อพวง (Lithocarpus fenestratus), มะขามป้อม (Phyllanthus emblica), นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides), กอกกัน (Rhus rhetsoides) และมะยาง (Sarcosperma arboreum) รอยแผลจากไฟไหม้อาจเป็นทางเข้าของเชือ้ โรคได้งา่ ย จึง ควรตัดกิง่ ทีไ่ ฟไหม้ออกเพือ่ เร่งการฟืน้ ตัว หลังไฟไหม้เถ้าถ่าน สีดำจะดูดซับความร้อนทำให้อุณหภูมิในพื้นที่สูงขึ้นและการ ระเหยของน้ำมากขึ้นซึ่งอาจทำให้กล้าไม้ที่เหลืออยู่แห้งตาย ได้ จึงควรใช้วสั ดุคลุมโคนต้นกล้าไม้เพือ่ ทำให้กล้าไม้รอดได้ มากขึน้

การควบคุมไฟ ไฟขนาดเล็กสามารถควบคุมได้ด้วยเครื่องมือพื้นฐาน เช่น ถังน้ำพร้อมหัวฉีด (A) เตรียมถังใส่น้ำ ไว้ให้พร้อมตามจุดต่าง ๆ รอบ แปลงปลูกป่า A

ลดปริมาณเชื้อเพลิงโดยใช้คราด (B) กวาดต้นพืชทีไ่ หม้ไฟได้ออกจากพืน้ ทีใ่ น ทิศทีไ่ ฟลามไป ตบไฟให้ดบั ด้วยไม้ตไี ฟ หรือกิง่ ไม้สด (C) C

B

128

ปลูกให้เป็นป่า


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

ตอนที่ 5 การติดตามการฟืน้ ตัวของป่า ความจำเป็นของการติดตามผล

การสุ่มตัวอย่างต้นไม้เพื่อติดตามผล

การติดตามผลหลังปลูกป่ามีวตั ถุประสงค์เพือ่ ดูวา่ การ ปลูกต้นไม้ให้ผลตามทีต่ อ้ งการหรือไม่ สำหรับการปลูกป่าเพือ่ การอนุรกั ษ์นน่ั หมายถึงการสำรวจว่าต้นไม้ทป่ี ลูกรอดหรือไม่ เจริญเติบโตเป็นอย่างไร และต้นไม้เหล่านัน้ ช่วยเร่งให้เกิดการ ฟืน้ ตัวตามธรรมชาติของป่าได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทำ ให้มกี ล้าไม้ธรรมชาติกลับมาในพืน้ ทีไ่ ด้มากขึน้ หรือไม่ การติด ตามผลยังทำให้สามารถระบุปญ ั หาทีเ่ กิดขึน้ ในการคัดเลือกชนิด ต้นไม้หรือเทคนิควิธกี ารปลูกและดูแลต้นไม้ในแปลงปลูกได้ ซึง่ ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปสูก่ ารทดลองเพือ่ ปรับปรุงโครง การฟื้นฟูป่าได้ต่อไปในอนาคต

ถ้าต้นไม้ทป่ี ลูกมีจำนวนมาก เราย่อมไม่สามารถติดตาม การเจริญเติบโตของต้นไม้ทง้ั หมดได้ จึงต้องมีการสุม่ ตัวอย่าง ทีจ่ ะใช้ในการศึกษาเพียงบางส่วน โดยอย่างน้อยควรมีตน้ ไม้ ตัวอย่าง 50 ต้น ต่อชนิดไม้ทป่ี ลูกเพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลทีเ่ ชือ่ ถือได้ (ยิง่ มีจำนวนตัวอย่างมากยิง่ ดี) เลือกกล้าไม้ทจ่ี ะติดตามผล แบบสุม่ ติดเครือ่ งหมายตัง้ แต่ในเรือนเพาะชำก่อนจะย้ายกล้า ไม้ไปยังแปลงปลูก ปลูกต้นไม้ทเ่ี ตรียมไว้ให้กระจายไปทัง้ แปลง ปักหลักไม้ไผ่ทาสีไว้ใกล้ ๆ กล้าไม้แต่ละต้นเพือ่ ให้กลับ ไปเก็บข้อมูลกล้าไม้ได้งา่ ย อาจเขียนหมายเลขกล้าไม้ดว้ ย ปากกาทีไ่ ม่ละลายน้ำและเขียนแผนทีค่ ร่าว ๆ รอบต้นกล้าเพือ่ ให้หากล้าไม้ได้ง่ายขึ้น

แปลงควบคุม การทำเครื่องหมายกล้าไม้ แปลงควบคุมคือพืน้ ทีท่ ไ่ี ม่ได้ปลูกต้นไม้ แต่มลี กั ษณะที่ คล้ายคลึงกับแปลงปลูกป่ามากที่สุด เช่น มีระดับความสูง ความชัน ทิศที่ตั้ง การใช้พื้นที่เดิมที่เหมือนแปลงปลูกป่า เมือ่ เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างแปลงปลูกป่ากับแปลงควบคุม จะทำให้ทราบได้วา่ การปลูกต้นไม้เพิม่ ในพืน้ ทีท่ ำให้ความหนา แน่นและความหลากหลายของป่าเพิ่มขึ้นได้ดีกว่าการฟื้นตัว ตามธรรมชาติจริงหรือไม่ ถ้าไม่กไ็ ม่จำเป็นต้องเสียทรัพยากร ไปกับการปลูกต้นไม้ แต่ควรคิดถึงการใช้วธิ กี ารเร่งการ ฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ ตามทีอ่ ธิบายไว้ในบทที่ 4 จะดีกว่า

วิธีการที่ง่ายที่สุดในการติดตามผล หนึง่ ในวิธกี ารติดตามผลง่าย ๆ คือการใช้กล้องบันทึก ภาพการเปลีย่ นแปลงทัง้ ในแปลงควบคุมและแปลงปลูกป่าจาก จุดเดิมทุก 2-3 เดือน ภาพถ่ายสามารถทำให้ผู้อื่นเข้าถึง ข้อมูลได้ง่ายกว่าข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับอัตราการรอด การ เจริญเติบโต ทำให้เห็นภาพรวมของผลจากการฟืน้ ฟูพน้ื ทีไ่ ด้ดี อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการทราบว่าพรรณไม้ชนิดใดเป็นพรรณ ไม้โครงสร้างที่ดีจะต้องมีการติดเครื่องหมายต้นไม้ตัวอย่าง จากแต่ละชนิด และวัดการเจริญเติบโตของต้นไม้เหล่านัน้ เป็นระยะ ๆ

แถบรัดสายไฟทีเ่ ป็นโลหะสามารถนำมาใช้เป็นป้ายหมาย เลขสำหรับต้นไม้ขนาดเล็กได้ดี แถบรัดสายไฟสามารถทำเป็น วงรอบลำต้นของกล้าไม้ได้สะดวก ใช้ทต่ี อกหมายเลขหรือ ตะปูแหลม ๆ เขียนหมายเลขประจำต้นไม้แต่ละต้น จากนัน้ นำไปรัดเป็นห่วงรอบต้นกล้า เหนือระดับกิง่ ทีต่ ำ่ ทีส่ ดุ (ถ้ามี) เพื่อป้องกันไม่ให้หมายเลขถูกฝังระหว่างการปลูก หรืออาจใช้กระป๋องน้ำอัดลมตัดส่วนบนและก้นกระป๋อง ทิ้งไปแล้วตัดให้เป็นแถบแคบ ๆ ใช้ปากกาลูกลื่นหัวแข็ง ๆ เขียนลงบนโลหะเนื้ออ่อนด้านในของกระป๋อง แถบจากกระ ป๋องนีส้ ามารถขดเป็นห่วงรอบต้นกล้าได้เช่นเดียวกัน พยายามให้เครือ่ งหมายทีท่ ำไว้ตดิ อยูก่ บั ต้นไม้ตลอดเวลา สำหรับกล้าไม้ที่เจริญเติบโตเร็วลำต้นจะขยายออกจนกระทั่ง ดันเครือ่ งหมายหลุดออก ถ้ามีการติดตามการเจริญเติบโตบ่อย พอ ผู้สำรวจสามารถเก็บเครื่องหมายที่หลุดออกมาติดกลับ ให้กับกล้าไม้ได้ก่อนที่จะหายไป กระป๋องน้ำอัดลมตัดเป็นแผ่นสีเ่ หลีย่ มเหมาะสำหรับทำ เครือ่ งหมายต้นไม้ขนาดใหญ่ ต้นไม้ทม่ี เี ส้นรอบวงทีค่ วามสูง 1.3 เมตร มากกว่า 10 เซนติเมตร เปลีย่ นเครือ่ งหมายเป็น เครือ่ งหมายถาวร โดยใช้ตะปูยาว 5 เซนติเมตร ตอกแผ่น หมายเลขต้นไม้ลงในเนือ้ ไม้ประมาณ 1/3 ของตะปู เว้นที่ ระหว่างหัวตะปูกบั ต้นไม้ไว้ให้ตน้ ไม้โต เขียนหมายเลขของ ต้นกล้าด้วยปากกาสีเส้นใหญ่ให้มองเห็นได้จากระยะไกล

ปลูกให้เป็นป่า

129


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

การเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ก่อนปลูก ติดหมายเลขทีเ่ ตรียมไว้รอบโคนกล้าไม้ ระวังอย่าให้เครือ่ งหมายถูกฝัง ระหว่างการปลูก หมายเลขทีเ่ ขียนอาจประกอบไปด้วย ข้อมูลเกีย่ วกับชนิด ปีทป่ี ลูก หมายเลขแปลงและหมายเลขต้นไม้ เช่น 98-114-073 อาจหมายถึง ต้นที่ 114 ของชนิดที่ 98 ปลูกในแปลงที่ 3 ของปี 2007 ใช้ระบบให้เหมือนเดิมทุกครัง้ ในการ เขียนหมายเลข

ควรวัดขนาดของต้นไม้ครัง้ แรก 1-2 สัปดาห์ หลังการ ปลูก เพือ่ เก็บข้อมูลเริม่ ต้นสำหรับคำนวนการเจริญ และ สำรวจอัตราการตายหลังปลูกที่เกิดจากการขนย้ายและการ ปลูกทีผ่ ดิ วิธี หลังจากนัน้ ติดตามผลการเจริญเติบโตทุกปี ช่วงปลายหน้าฝนและอาจเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในช่วงปลายฤดู แล้งเพื่อดูว่าต้นไม้ตายในช่วงไหนบ้าง อย่างไรก็ตาม การติดตามผลทีส่ ำคัญทีส่ ดุ คือ การวัด การเจริญของกล้าไม้หลังผ่านไป 2 ฤดูฝน ซึง่ ข้อมูลนัน้ จะ ใช้ในการประเมินศักยภาพของกล้าไม้ชนิดนั้นว่าผ่านเกณฑ์ ของการเป็นพรรณไม้โครงสร้างหรือไม่ (ดูบทที่ 5 ตอนที่ 3) ดังนัน้ หากไม่สามารถวัดการเจริญในช่วงอืน่ ได้อย่างน้อย ควรจะเก็บข้อมูลหลังปลูกต้นไม้ 2 สัปดาห์ และอีกครัง้ หลัง ฤดูฝนที่ 2 ในการเก็บตัวอย่างควรทำงานเป็นคูโ่ ดยให้คนแรกเป็นผู้ วัดขนาดต้นกล้า ส่วนอีกคนหนึง่ ทำหน้าทีบ่ นั ทึกข้อมูลใน หนึง่ วันแต่ละคูส่ ามารถวัดต้นกล้าได้ ประมาณ 400 ต้น เตรียมตารางบันทึกข้อมูลล่วงหน้า โดยในตารางมีหมายเลข ของกล้าไม้ทง้ั หมดทีป่ ลูก นำแผนทีค่ ร่าว ๆ ทีท่ ำตอนปลูก ต้นไม้ไปด้วย นอกจากนัน้ ควรมีสำเนาข้อมูลของการเก็บ ข้อมูลครั้งก่อนติดไปด้วยเพื่อช่วยในการจำแนกชนิดในพื้นที่ ในกรณีที่ป้ายหมายเลขหายไป

การวัดการเจริญของต้นไม้ วัดความสูงของต้นไม้จากคอรากจนถึง (จุดแตกยอดสูงสุด)

130

ปลูกให้เป็นป่า

วัดความกว้างของทรงพุม่ ทีก่ ว้างทีส่ ดุ เพือ่ ประเมิน พื้นที่เรือนยอดและการยึดครองพื้นที่ของกล้าไม้


ก า ร ป ลู ก ป่ า **************

สิ่งที่ต้องเก็บข้อมูล การติดตามผลแบบเร็วทีส่ ดุ คือ การนับจำนวนต้นไม้ท่ี รอดชีวิตและต้นไม้ที่ตาย แต่ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มขึ้น ควรวัดความสูงและ/หรือ เส้นรอบวง (เพือ่ คำนวนหาอัตราการ เจริญเติบโต) ขนาดทรงพุม่ และสุขภาพของกล้าไม้ ในช่วง 1-2 ปีแรก ความสูงของต้นไม้สามารถวัดได้ดว้ ย สายวัดขนาด 1.5 เมตร โดยวัดจากคอรากจนถึงเนือ้ เยือ่ เจริญ บริเวณยอด (ส่วนทีใ่ บอ่อนแตกออกมา) แต่สำหรับต้นไม้ท่ี สูงกว่านัน้ อาจใช้ไม้วดั ทีส่ ามารถยืดได้ (telescopic measuring poles) วัดแทน ไม้วดั แบบนีส้ ามารถยืดได้ถงึ 10 เมตร ถ้าหาซื้อไม่ได้สามารถทำเองได้โดยใช้ท่อพีวีซี ขนาดต่าง ๆ มาซ้อนกัน ถ้าต้องการติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้เมือ่ มีความสูงมาก ๆ อาจใช้การวัดเส้นรอบวงที่ระดับอกแทน (ประมาณ 130 เซนติเมตรจากพืน้ ดิน) เพราะทำได้สะดวก กว่าและสามารถใช้ในการคำนวณอัตราการเจริญเติบโตของ ต้นไม้ได้เช่นเดียวกัน บางครัง้ การใช้ความสูงของต้นไม้มาคำนวณการเจริญเติบโต อาจให้ผลที่ผิดพลาด เพราะยอดของต้นไม้อาจหักหรือถูก

ทำลาย ทำให้ค่าอัตราการเจริญติดลบได้ ถึงแม้ต้นไม้จะยัง เจริญเติบโตดีกต็ าม ในทางตรงกันข้ามการวัดเส้นผ่าศูนย์ กลางคอราก (Root Collar diameter : RCD) หรือเส้นรอบวง ทีร่ ะดับอกจะให้ผลทีแ่ น่นอนมากกว่า สำหรับต้นไม้ทม่ี ขี นาด เล็กให้ใช้เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ในการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางคอ รากด้านทีก่ ว้างทีส่ ดุ และเมือ่ ต้นไม้เติบโตสูงจนมีขนาดเส้นรอบ วงทีร่ ะดับอกมากกว่า 10 เซนติเมตร ให้วดั ทัง้ เส้นผ่าศูนย์ กลางคอรากและเส้นรอบวงที่ระดับอกพร้อมกันในครั้งแรก แล้วจึงวัดเส้นรอบวงที่ระดับอกในครั้งต่อไป ความสามารถในการบดบังแสงและควบคุมการเจริญ เติบโตของวัชพืชเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรมีการติดตามผล เพราะความสามารถดังกล่าวเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับพรรณไม้ โครงสร้าง โดยสามารถวัดออกมาในรูปของความกว้างทรง พุม่ และให้คะแนนการปกคลุมของวัชพืช เพือ่ ช่วยในการ ประเมินว่าต้นไม้แต่ละชนิดมีความสามารถในการครอบครอง พืน้ ทีไ่ ด้มากน้อยเพียงใด ใช้สายวัดวัดจุดทีก่ ว้างทีส่ ดุ ของทรง พุม่ จากนัน้ กะประมาณพืน้ ทีเ่ ป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 เมตรรอบโคนต้น ให้คะแนนวัชพืช 3 ถ้ามีหญ้าขึน้ เต็มพืน้ ที่ 2 ถ้าพืน้ ทีด่ งั กล่าวปกคลุมด้วยวัชพืชและเศษใบไม้ ทีร่ ว่ งจากต้นเท่า ๆ กัน ให้คะแนน 1 ถ้ามีวชั พืชขึน้ อยูเ่ ล็กน้อย และ 0 ถ้าไม่มวี ชั พืชเลย โดยจะต้องให้คะแนนวัชพืชก่อนจะ ตัดหญ้า

การวัดเส้นผ่าศูนย์กลางคอราก เวอร์เนียคาลิปเปอร์เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางคอราก อ่านค่าใน หน่วยของมิลลิเมตร โดยดูจากขีดที่ตรงกับ 0 ของสเกลที่เลื่อนได้ด้านล่าง จากนั้นมองหาตำแหน่งที่ขีด ด้านบนตรงกับขีดของสเกลด้านล่างพอดี เพื่ออ่านค่าหลังจุดทศนิยม ดังตัวอย่างในภาพ ค่าที่อ่านได้ คือ 19.3 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางคอราก มักมีขนาดเล็ก เพื่อให้ค่าที่แม่นยำมากขึ้น อาจวัด 2 ครัง้ ในมุมทีต่ ง้ั ฉากกันแล้วหาค่าเฉลีย่

ปลูกให้เป็นป่า

131


ก า ร ป ลู ก ป่ า *************

การให้คะแนนสุขภาพ

การวิเคราะห์ข้อมูล

การบันทึกข้อมูลสุขภาพของต้นไม้ในแปลงปลูกทุกครัง้ ที่ มีการวัดการเจริญเติบโตจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับ ความแข็งแรงและทนทานของต้นไม้แต่ละชนิดทีป่ ลูกต่อปัจจัย รบกวนต่าง ๆ เช่น ไฟ หรือปศุสตั ว์ เพือ่ ให้งา่ ยกับการวิเคราะห์ ข้อมูลควรบันทึกข้อมูลในรูปของคะแนนสุขภาพสำหรับต้นไม้ แต่ละต้น แต่ในขณะเดียวกันก็ควรบันทึกปัญหาโรค ศัตรูพชื ของต้นไม้แต่ละชนิดเพิม่ เติมด้วย ให้คะแนนระหว่าง 0-3 ในการประเมินสุขภาพโดยรวม ของต้นไม้ โดยคะแนน 0 สำหรับต้นไม้ทีต่ าย พรรณไม้ โครงสร้างบางชนิดเป็นไม้ผลัดใบ ดังนัน้ ต้องระวังอย่าสับสน ระหว่างต้นไม้ทท่ี ง้ิ ใบในฤดูแล้งกับต้นไม้ทต่ี าย อย่าหยุดบันทึก ข้อมูลของต้นไม้ทไ่ี ด้คะแนน 0 เพราะบางครัง้ ต้นไม้เหล่านัน้ อาจแตกยอดใหม่อีกครั้ง เพราะรากที่อยู่ในดินยังมีชีวิตอยู่ ให้คะแนน 1 ถ้าต้นไม้ใกล้ตาย (มีใบ 1-2 ใบ และใบส่วนมาก เปลีย่ นสีหรือถูกแมลงเข้าทำลายอย่างรุนแรง เป็นต้น) ให้ คะแนน 2 สำหรับต้นไม้ที่พบการเข้าทำลายบางส่วนแต่ยังมี ใบทีส่ มบูรณ์อยูบ่ า้ ง และให้คะแนน 3 สำหรับต้นไม้ทส่ี ขุ ภาพ สมบูรณ์เต็มที่หรือเกือบสมบูรณ์

เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้ทป่ี ลูกแต่ละชนิด เพือ่ ดูศกั ยภาพในการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง โดยการวัด ครัง้ ทีส่ ำคัญทีส่ ดุ คือ หลังฤดูฝนที่ 2 หลังจากปลูก (ดูบทที่ 5 ตอนที่ 3) ถ้าต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทาง สถิตทิ เ่ี หมาะสมโดยใช้โปรแกรม Excel สามารถอ่านเพิม่ เติม ได้ในหนังสือของ Dytham (1999) คำนวนร้อยละการรอด ชีวติ ของต้นไม้แต่ละชนิด จากสมการ อัตราการรอดชีวิต = จำนวนต้นไม้ที่ทำเครื่องหมายที่รอดชีวิต x 100 จำนวนต้นไม้ทท่ี ำเครือ่ งหมายทัง้ หมด

ทดสอบความแตกต่างของอัตราการรอดชีวติ ของต้นไม้ แต่ละชนิด โดยใช้ Chi Squared test คำนวณหาค่าเฉลีย่ ของความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางคอรากของต้นไม้แต่ละ ชนิด จากนัน้ จึงใช้ ANOVA ทดสอบเพือ่ ดูวา่ ต้นไม้แต่ละชนิด มีขนาดแตกต่างกันหรือไม่ นอกจากนัน้ อาจคำนวณหาอัตรา การเติบโตสัมพัทธ์ (Relative growth rate : RGR) ของ ต้นไม้แต่ละต้นโดยใช้สูตร

การวัดขนาดต้นไม้ใหญ่ อัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์ = lnH (18 เดือน) - lnH (เมือ่ ปลูก) x 36,500 จำนวนวัน

โดยที่ lnH = ค่าลอการิทมึ ของความสูงต้นไม้ (เซนติ เมตร) อัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์เป็นการประมาณเปอร์ เซ็นต์ขนาดทีเ่ พิม่ ขึน้ ในแต่ละปี โดยคำนึงถึงขนาดเริม่ ต้นที่ แตกต่างกันของกล้าไม้ ดังนัน้ จึงสามารถใช้เปรียบเทียบการ เจริญเติบโตของกล้าไม้ที่มีขนาดต่างกันตอนเริ่มปลูกได้ เปรียบเทียบค่าเฉลีย่ ของ RGR ระหว่างชนิดต้นไม้โดยใช้ ANOVA สมการดังกล่าวสามารถใช้สำหรับเส้นผ่าศูนย์กลาง คอรากและขนาดของทรงพุ่มได้เช่นเดียวกัน

เมือ่ ต้นไม้สงู ใหญ่ขน้ึ อาจใช้การวัดการเจริญ แบบอืน่ เช่นการวัดเส้นรอบวงทีร่ ะดับ อก (130 เซนติเมตร) แทนได้

132

ปลูกให้เป็นป่า


บทที่ 8

การทำงานร่วมกับชุมชน : วางแผนและดำเนินงานโครงการฟืน้ ฟูปา่ * * ** * * * * * * * * * * * * * * *

แรงจูงใจเป็นพื้นฐาน ความร่วมมือเป็นสิง่ สำคัญ การวางแผนเป็นสิ่งจำเป็น “แต่อย่างใดก็ตามการอนุรกั ษืทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึง่ มิได้หมายถึงการเก็บรักษา โดยไม่นำมาใช้ประโยชน์ แต่เป็นการใช้อย่างถูกต้อง โดยวิธที จ่ี ะใช้ทรัพยากรทีเ่ หลืออยูด่ งั กล่าว สามารถอำนวยประโยชน์ไม่เฉพาะทางใดทางหนึง่ แต่สามารถอำนวยประโยชน์ให้ในทุก ๆ ด้าน และยังคงเหลืออยูม่ ากพอทีจ่ ะเป็นทุนให้เกิดขึน้ จากการอนุรกั ษ์ มิได้เป็นประโยชน์ เฉพาะคนทีอ่ ยูใ่ นปัจจุบนั เท่านัน้ แต่ยงั คงสามารถอำนวยประโยชน์ตอ่ ไปชัว่ ลูกชัว่ หลานต่างหาก” สืบ นาคะเสถียร


การฟืน้ ฟูปา่ - วัฒนธรรมทีฟ่ น้ื คืน ที่บ้านแม่สาใหม่ การฟื้นฟูป่าได้กระตุ้นให้จิตวิญญานของชุมชนในหมู่บ้านกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านได้ ปรับพิธีกรรมตามประเพณีดั้งเดิม พร้อมไปกับการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและกิจกรรมชุมชนใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อ ตอบสนองต่อจิตสำนึกเรือ่ งสิง่ แวดล้อมทีเ่ ติบโตขึน้ ในชุมชน Peter Whitbread-Abrutat

ความสนใจจากสือ่ มวลชนก่อให้เกิดการ เคลื่อนไหวในการฟื้นฟูป่าและความภาค ภูมใิ จในมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน (ซ้าย) เจ้าหน้าที่เรือนเพาะชำของหมู่บ้าน เน้ง ถนอมวรกุล มองผ่านกล้องทีวี ระหว่างการถ่ายทำสารคดีของ บีบีซี ทีห่ มูบ่ า้ น

ที่โรงเรียนเด็ก ๆ ร่วมกันก่อตั้งชมรมดูนก (บนและซ้าย) พวกเขา พยายามทีจ่ ะหยุดยัง้ การยิงนกของชาวบ้านและกำหนดเขตห้าม ล่านกขึ้น หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่ กลุ่มเยาวชนพร้อม ๆ กับการสนับสนุนกล้องส่องทางไกล และหนังสือจากโครงการอีเดน

ทุกปีในช่วงปลายฤดูแล้ง ชาวบ้านจะร่วมกันทำพิธเี ลีย้ งผีตามประเพณี ดัง้ เดิมทีช่ ว่ ยป้องกันมิให้ตน้ ไม้ทป่ี ลูกไว้ถกู ไฟเผา หมู เหล้า และ เงินกระดาษ ถูกนำมาใช้เซ่นไหว้ในพิธี Peter Whitbread-Abrutat

ชาวบ้านได้รื้อฟื้นประเพณีการเคารพ ต้นไม้ศกั ดิส์ ทิ ธิใ์ นป่าธรรมชาติผนื สุดท้าย ของหุบเขาแม่สา พิธีกรรมดังกล่าวกระตุ้น เตือนให้ชาวบ้านเห็นถึงความสำคัญของป่า และทำให้อยากรักษาไว้

ชาวบ้าน เจ้าหน้าทีห่ น่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ และ เจ้าหน้าทีป่ า่ ไม้ได้รว่ มกันรับประทานอาหาร และสร้างความสัมพันธ์อนั ดีหลังจากพิธเี ลีย้ ง ผีของหมูบ่ า้ นสำหรับฤดูแล้งทีป่ ลอดจากไฟป่า Peter Whitbread-Abrutat

หมูบ่ า้ นแม่สาใหม่ตง้ั อยูท่ า่ มกลางภูมปิ ระเทศป่าทีห่ ลากหลาย ตัง้ แต่ปา่ ธรรมชาติ ป่าทีไ่ ด้รบั การฟืน้ ฟู พืน้ ทีเ่ กษตร แหล่งน้ำและระบบสาธารณูปโภคของหมูบ่ า้ น ตัวอย่างทีด่ ขี องแนวคิดการฟืน้ ฟู ภูมิทัศน์ป่า (Forest Landscape Restoration) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก International Union for the Conservation of Nature and other organizations (ดู กรอบ 7.1)


ท ำ ง า น กั บ ชุ ม ช น *******************

การทำงานร่วมกับชุมชน : วางแผนและดำเนินงานโครงการฟืน้ ฟูปา่ สำหรับการฟืน้ ฟูปา่ ความรูแ้ ละเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เป็นสิง่ ทีม่ คี วามจำเป็น แต่สง่ิ ทีส่ ำคัญไม่ยง่ิ หย่อนกว่ากันก็คอื การร่วม แรงร่วมใจของชุมชนในพืน้ ทีแ่ ละการประสานงานกับหน่วยงานราชการ ถ้าหากขาดองค์ประกอบทางสังคมทีส่ ำคัญเหล่านีไ้ ป โครงการฟืน้ ฟูปา่ ก็อาจล้มเหลวได้แม้จะดำเนินการโดยใช้ความรูท้ างวิชาการทีด่ กี ต็ าม ถึงแม้หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ จะเป็นหน่วย งานทีเ่ น้นหนักในเรือ่ งการทำวิจยั และเผยแพร่ความรู้ แต่กม็ กี ารทำงานร่วมกับชุมชนอย่างใกล้ชดิ เพือ่ ทดสอบความเป็นไปได้ในการ นำวิธกี ารทีพ่ ฒ ั นาขึน้ มาปรับใช้ในระดับชุมชน ในปีพ.ศ. 2540 หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ได้จดั ตัง้ เรือนเพาะชำชุมชนในพืน้ ทีบ่ า้ น แม่สาใหม่ หมูบ่ า้ นม้งทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และร่วมกับกรรมการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติของ หมูบ่ า้ นในการจัดตัง้ แปลงปลูกป่าสาธิต การทำงานร่วมกับชาวบ้านทีแ่ ม่สาใหม่และหมูบ่ า้ น อืน่ ๆ อีกหลายแห่งทำให้ ได้มโี อกาส เรียนรูแ้ ง่มมุ ต่าง ๆ ของชุมชนรวมถึงการสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรม การทำงานและวัฒนธรรมทีห่ ลากหลาย ในบทนีจ้ ะ เป็นการบอกเล่าถึงประสบการณ์และแนวทางในการจัดการคร่าว ๆ สำหรับการจัดทำโครงการฟืน้ ฟูปา่ ร่วมกับชุมชนสำหรับผูท้ ่ี ต้องการได้ขอ้ มูลในรายละเอียดเพิม่ เติมเกีย่ วกับสังคม ชุมชน และป่าไม้นน้ั สามารถศึกษาเพิม่ เติมได้จาก Regional Community Forestry Training Centre (RECOFT) (www.recoftc.org)

ตอนที่ 1 แรงจูงใจเป็นพืน้ ฐาน ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเป็นแรงจูงใจสำคัญทีท่ ำให้ชาว บ้านเข้ามามีสว่ นร่วมในโครงการฟืน้ ฟูปา่ ผลประโยชน์นน้ั อาจอยูใ่ นรูปของการจ้างงาน ผลิตภัณฑ์จากป่า รายได้จาก นักท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ หรืออืน่ ๆ อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านมักไม่ นึกถึงความสำคัญของการฟื้นฟูป่าในแง่ของการฟื้นฟูสภาพ สิง่ แวดล้อม เช่น การป้องกันการพังทลายหรือแหล่งต้นน้ำ การรักษาไว้ซึ่งประเพณีดั้งเดิมหรือสภาพทางการเมือง

แรงจูงใจทางเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าในบางชุมชนการฟื้นฟูป่าอาจเป็นงานที่ชาวบ้าน อาสาทีจ่ ะเข้ามาทำเอง แต่ในบางชุมชนอาจมองว่าคนทีม่ าทำ งานควรได้รบั ค่าตอบแทน ดังนัน้ ในการวางแผนกำหนดค่า ใช้จา่ ยต้องคิดถึงเงินเดือนสำหรับผูท้ ท่ี ำงานเต็มเวลาให้กบั โครง การ เช่น ผูป้ ระสานงานโครงการ หัวหน้าเรือนเพาะชำ เป็นต้น และค่าจ้างรายวันสำหรับงานเฉพาะ เช่น การกำจัดวัชพืช การทำแนวกันไฟ ถ้าหากการฟืน้ ฟูปา่ นัน้ เป็นกิจกรรมของทัง้ ชุมชน ซึง่ สมาชิกทัง้ หมดมีสว่ นร่วม ค่าตอบแทนควรอยูใ่ นรูป ของเงินสนับสนุนสำหรับโครงการของชุมชนแทน เช่น การปรับ

ปรุงโรงเรียนหรือระบบประปาหมูบ่ า้ น ในโครงการส่วนใหญ่ การจ่ายค่าตอบแทนมักประกอบไปด้วยทัง้ สองส่วน เนือ่ งจาก กิจกรรมบางอย่าง เช่น การปลูกป่าเป็นสิง่ ทีท่ ง้ั ชุมชนต้องทำ ร่วมกัน ในขณะทีง่ านอืน่ เช่น การเก็บเมล็ดพันธุห์ รืองานใน เรือนเพาะชำอาจรับผิดชอบเพียงไม่กค่ี น รายได้สว่ นนีส้ ามารถ ทำให้เศรษฐกิจในหมูบ่ า้ นดีขน้ึ ได้ การจ้างงานจึงเป็นแรงจูงใจ ทีส่ ำคัญทีท่ ำให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในโครงการฟืน้ ฟูปา่ และ ทำให้เห็นว่าการฟืน้ ฟูปา่ เป็นกิจกรรมทีส่ ามารถสร้างรายได้แก่ ชุมชนได้อกี ทางหนึง่ พรรณไม้โครงสร้างหลายชนิดทีห่ น่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ปลูก ให้ผลผลิตทีม่ คี า่ ทางเศรษฐกิจ เช่น เป็นพืชอาหาร สมุนไพร หรือไม้กอ่ สร้าง นอกจากนัน้ บางชนิดยังถูกใช้ในพิธกี รรมตาม ประเพณี (ดูในบทที่ 9) แปลงฟืน้ ฟูปา่ ยังนำสิง่ ทีม่ คี า่ อืน่ ๆ กลับ มาด้วย เช่น ไผ่ ผึง้ เห็ดชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ถ้ามีการดูแลจัดการ ที่ดีสิ่งเหล่านี้จะเป็นแหล่งรายได้ที่ยั่งยืนจากพื้นที่ฟื้นฟูป่าได้ อย่างไรก็ตาม ชุมชนทีจ่ ะสามารถใช้ทรัพยากรเหล่านีไ้ ด้ มักตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ซึ่งตามกฏหมายแล้วไม่สามารถ เก็บเกีย่ วผลผลิตจากป่าได้ กฏหมายป่าชุมชนจะช่วยลดข้อ จำกัดในการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนของชาวบ้านได้ (ในขณะที่ เขียนหนังสือเล่มนี้ กฏหมายดังกล่าวยังเป็นเพียงร่าง พ.ร.บ.)

ปลูกให้เป็นป่า

135


ท* *ำ* ง* *า* น* * กั* *บ* *ชุ* *ม* *ช* น* * จากเหตุผลดังกล่าวหลาย ๆ ชุมชนจึงพยายามจะฟืน้ ฟูปา่ เพือ่ จัดตัง้ เป็นป่าชุมชน เมือ่ พ.ร.บ. ป่าชุมชนได้รบั การประกาศ โครงการฟืน้ ฟูปา่ ยังสามารถสร้างรายได้ในฐานะแหล่งท่อง เทีย่ วเชิงนิเวศ โดยเป็นแหล่งแลกเปลีย่ นเรียนรูส้ ำหรับผูน้ ำ ชุมชนและนักอนุรักษ์ หรือพื้นที่ศึกษาสำหรับนักวิชาการ เป็นพืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสมในการจัดค่าย หรือทัศนศึกษาสำหรับนัก เรียน นักศึกษา นอกจากนีร้ ะบบนิเวศทีห่ ลากหลายจากป่า ทีป่ ลูกยังดึงดูดทัง้ นกและนักดูนกอีกด้วย รายได้ของชุมชน อาจมาจากการบริการทีพ่ กั อาหารหรือสิง่ อำนวยความสะดวก อืน่ ๆ แก่นกั ท่องเทีย่ ว

ประโยชน์ในแง่สง่ิ แวดล้อมกับแรงจูงใจในการ ฟืน้ ฟูปา่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ตระหนักดีถึงความสัมพันธ์ระหว่าง การทำลายป่ากับการพังทลายของดินและปริมาณน้ำ ถึงแม้ ว่าการทำลายป่าในพืน้ ทีส่ งู อาจไม่ได้สง่ ผลทีช่ ดั เจนต่อชุมชนใน พืน้ ทีแ่ ต่มกั ก่อให้เกิดปัญหาแม่นำ้ ตืน้ เขินและน้ำท่วมในชุมชน ทีอ่ ยูท่ า้ ยน้ำ และอาจเป็นจุดเริม่ ต้นของความขัดแย้งระหว่าง ชุมชนในทีส่ งู และทีร่ าบได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นแรง จูงใจให้ชาวบ้านจากชุมชนพืน้ ทีร่ าบเข้ามามีสว่ นร่วมในการฟืน้ ฟูป่าในพื้นที่ทางเหนือน้ำที่อาจห่างออกไปหลายกิโลเมตรได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากการรักษาแหล่งต้นน้ำลำธารเป็นแรง จูงใจหลักในการฟืน้ ฟูปา่ แล้วการทำความเข้าใจระหว่างชุมชน ต้นน้ำและท้ายน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับการส่งเสริม การฟืน้ ฟูปา่ ของป่าหลายอย่างมีความสำคัญต่อวัฒนธรรมพื้นบ้าน ในขณะทีม่ คี วามเชือ่ ว่าป่าและไม้ใหญ่ในป่าเป็นทีส่ งิ สถิตของ สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ การสูญเสียป่าจึงอาจมีผลต่อจิตวิญญาณและ ความมีตวั ตนของชุมชน ความเชือ่ และประเพณีดง้ั เดิมจึง อาจเป็นแรงจูงใจสำคัญในการฟื้นฟูป่า การฟืน้ ฟูปา่ เองยังอาจก่อให้เกิดประเพณีใหม่ ๆ ขึน้ ใน

136

ปลูกให้เป็นป่า

ชุมชน เช่น ชาวบ้านแม่สาใหม่ทข่ี อให้สง่ิ ศักดิส์ ทิ ธิป์ กป้องพืน้ ทีป่ า่ ฟืน้ ฟูของหมูบ่ า้ น และทุกปีเมือ่ ฤดูไฟป่าสิน้ สุดลง ชาว บ้านจะทำพิธีเซ่นไหว้เพื่อขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยรักษา ต้นไม้ทกุ ต้นทีป่ ลูกไว้

การฟืน้ ฟูปา่ กับผลทางการเมือง เหตุผลทางการเมืองอาจเป็นเหตุผลสำคัญเบื้องหลังการ มีสว่ นช่วยในโครงการฟืน้ ฟูปา่ ของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งสิทธิการถือครองทีด่ นิ ตามกฏหมายของไทยชุมชน ใด ๆ ก็ตามทีต่ ง้ั อยูใ่ นพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์มกั ถูกอพยพออกจากพืน้ ที่ ด้วยความเชือ่ ทีว่ า่ ชาวบ้านทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีจ่ ะเป็นผูท้ ำลายทรัพยากร ธรรมชาติของบ้านเมือง การเข้าร่วมในโครงการฟืน้ ฟูปา่ จึง เป็นการส่งสัญญาณให้ผมู้ อี ำนาจได้รบั ทราบว่า ชาวบ้านใน พืน้ ทีส่ ามารถรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อมได้เช่นกัน การฟืน้ ฟูปา่ ช่วยทำให้เสียงเรียกร้องสิทธิในทีอ่ ยูอ่ าศัยใน พื้นที่อนุรักษ์ของชุมชนมีน้ำหนักมากขึ้นและยังช่วยลบภาพ พจน์เดิม ๆ ที่ชาวบ้านมักถูกมองว่าเป็นผู้ทำลายป่าได้ นอกจากนัน้ สำหรับชนกลุม่ น้อยทีอ่ พยพเข้ามาเป็นส่วน หนึง่ ของประเทศ โครงการฟืน้ ฟูปา่ อาจทำให้ชมุ ชนได้รบั การ ยอมรับในทางสังคมมากขึน้ ในระดับท้องถิน่ การฟืน้ ฟูปา่ อาจ นำมาซึง่ ความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าทีท่ อ้ งถิน่

แรงจูงใจทีย่ ง่ั ยืน การฟืน้ ฟูปา่ เป็นกระบวนการทีใ่ ช้เวลานานหลายปี แรงจูง ใจของชุมชนในการร่วมโครงการอาจค่อย ๆ ถดถอยลงเมือ่ เห็น ว่าต้องลงแรงลงมือมากแค่ไหน การสนับสนุนทางการเงินและ เทคนิคความรูต้ า่ ง ๆ อย่างต่อเนือ่ งจึงเป็นสิง่ ทีม่ คี วามจำเป็น อย่างยิ่งในการรักษาแรงจูงใจดังกล่าวไว้ให้เหมือนเดิม การมีสว่ นร่วมของชุมชนในทุกขัน้ ตอนของโครงการตัง้ แต่ การวางแผนการปลูกจนถึงการติดตามประเมินผลเป็นสิ่งจำ เป็นในการสร้างความรูส้ กึ “เป็นเจ้าของ” โครงการให้เกิดขึน้ ใน ชุมชน ความสนใจจากสือ่ มวลชนเป็นอีกส่วนหนึง่ ทีช่ ว่ ยสร้าง กระแสความภาคภูมใิ จซึง่ จะช่วยหล่อเลีย้ งแรงใจในการทำงาน


ท ำ ง า น กั บ ชุ ม ช น *******************

กรอบ 8.1 ความภูมใิ จและการเมือง : แรงจูงใจในการมีสว่ นร่วมของชุมชน ในภาคเหนือของประเทศไทยชาวม้งจากหมูบ่ า้ นแม่สาใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในการ ทดสอบวิธีการพรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำของหมู่ บ้าน โครงการนีเ้ ป็นอีกรูปแบบหนึง่ ของการประสานความต้อง การของงานวิจยั และความต้องการของชุมชนเข้าด้วยกันอย่าง กลมกลืน บ้านแม่สาใหม่ตง้ั อยูใ่ นเขตอุทยานแห่งชาติดอย สุเทพ-ปุย ตามกฏหมายแล้วชาวบ้านจึงไม่มสี ทิ ธิเก็บเกีย่ วผล ประโยชน์จากต้นไม้ทป่ี ลูกขึน้ แล้วอะไรคือแรงจูงใจทำให้เกิด โครงการนีข้ น้ึ จุดประสงค์หนึง่ ของชาวบ้านคือการปรับปรุงภาพพจน์ของ หมูบ่ า้ นในสายตาของสาธารณชนทีม่ กั มองว่าชาวเขาเป็นผูท้ ำลาย ป่า ความภาคภูมใิ จทีช่ าวบ้านแสดงออกอย่างชัดเจนทุกครัง้ ทีม่ ผี ู้ มาเยีย่ มชมป่าทีพ่ วกเขาร่วมมือร่วมใจเปลีย่ นจากแปลงกะหล่ำ ปลีเก่าให้เป็นป่าทีห่ นาทึบภายในเวลาเพียง 3 ปี ปัจจุบนั นอกจากชาวบ้านหันมาให้ความสำคัญกับรายได้จากการทำ สวนลิน้ จีใ่ นบริเวณใกล้หมูบ่ า้ นแล้ว ชาวบ้านยังมีรายได้จาก การท่องเทีย่ วเชิงนิเวศทีค่ อ่ ย ๆ เติบโตขึน้ จากนักท่องเทีย่ วทีเ่ ข้า มาเยีย่ มชมโครงการอีกด้วย แปลงปลูกป่าของหมูบ่ า้ นเป็นส่วนหนึง่ ของโครงการปลูก ป่าเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชทรงครองราชย์ครบ 50 ปี บนพืน้ ทีป่ า่ เสือ่ ม โทรม 8,000 ตารางกิโลเมตรทัว่ ประเทศ ดังนัน้ โครงการนี้ จึงเปิดโอกาสให้ชนกลุม่ ต่าง ๆ ได้แสดงความจงรักภักดี ความ สำเร็จของโครงการปลูกป่าที่บ้านแม่สาใหม่เป็นที่ยอมรับจาก บุคคลทัว่ ไปและได้รบั รางวัลลูกโลกเงินสำหรับการดูแลต้นไม้ จากกรมป่าไม้ในปี พ.ศ. 2543 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสมเด็จ พระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ กรุงเทพมหานคร เนื่องจากหมู่บ้านแม่สาใหม่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ชาวบ้านจึงมีความเสีย่ งทีจ่ ะถูกย้ายออกจากพืน้ ทีเ่ พราะกฏหมาย ของประเทศไทยไม่อนุญาตให้ประชาชนอาศัยอยูใ่ นเขตอุทยาน แห่งชาติ ถึงแม้วา่ ในกรณีของบ้านแม่สาใหม่การใช้กฏหมาย ดังกล่าวมีโอกาสน้อยมาก เพราะหมูบ่ า้ นดังกล่าวเป็นหมู่ บ้านม้งทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในภาคเหนือ แต่ชาวบ้านก็ยงั ต้องการแสดง ให้เห็นว่าพวกเขาสามารถทีจ่ ะสร้างและดูแลป่าในพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ ได้ การฟืน้ ฟูปา่ จึงเป็นทัง้ การทำหน้าทีข่ องคนไทยและแสดงให้ เห็นว่า ชาวบ้านสามารถอยูใ่ นอุทยานแห่งชาติโดยไม่กอ่ ให้ เกิดความเสียหายได้

แรงจูงใจทีส่ ำคัญอีกประการหนึง่ ของการฟืน้ ฟูปา่ ได้แก่ การรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร เมือ่ 30 ปีกอ่ นหมูบ่ า้ นต้องย้ายมา จากทีต่ ง้ั เดิมทีอ่ ยูส่ งู ขึน้ ไปเนือ่ งจากปัญหาการขาดแคลนน้ำทีเ่ กิด จากการทำลายฟืน้ ทีป่ า่ เพือ่ ปลูกพืชผักอืน่ ๆ ดังนัน้ ชาวบ้าน จึงตระหนักดีถึงความสำคัญของการฟื้นฟูป่าในบริเวณต้นน้ำ ชาวบ้านเพาะกล้าพรรณไม้โครงสร้างในเรือนเพาะชำของชุม ชนและปลูกกล้าไม้ดงั กล่าวทุกปี พวกเขาช่วยกันกำจัดวัชพืช ใส่ปยุ๋ ป้องกันไฟและติดตามการเจริญของต้นไม้ทป่ี ลูก นอก จากนัน้ ชุมชนยังได้ตง้ั กฏของหมูบ่ า้ นเพือ่ ป้องกันไม่ให้มกี ารล่า สัตว์และตัดไม้ในพื้นที่โดยกำหนดข้อลงโทษแก่ผู้ที่ละเมิดกฏ ดังกล่าว เรือนเพาะชำและแปลงปลูกป่าของหมูบ่ า้ นได้กลายเป็นแหล่ง เรียนรูส้ ำหรับทัง้ นักเรียนและผูเ้ ข้าอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารรวมทัง้ ตัว แทนจากหลายหมูบ่ า้ นเพือ่ ศึกษาแนวทางในการฟืน้ ฟูปา่ ให้ประสบ ความสำเร็จและสามารถนำไปปรับใช้ในพืน้ ทีอ่ น่ื ต่อไป ชาว บ้านแม่สาใหม่ได้เปลีย่ นแปลงกระหล่ำปลีให้กลายเป็นห้องเรียน เรื่องการฟื้นฟูป่าได้อย่างสมบูรณ์

เด็กหญิงชาวม้งกำลังย้ายกล้าไม้ในเรือนเพาะชำของหมู่บ้านแม่สาใหม่ การปลูกจิตสำนึกของเยาวชนเป็นจุดเริม่ สำคัญของการฟืน้ ฟูปา่ ในอนาคต

ปลูกให้เป็นป่า

137


ท* *ำ* ง* *า* น* * กั* *บ* *ชุ* *ม* *ช* น* *

ตอนที่ 2 ความร่วมมือเป็นสิง่ สำคัญ โครงการฟืน้ ฟูปา่ ส่วนใหญ่เกิดขึน้ จากความร่วมมือของหลาย ๆ หน่วยงาน ชุมชน หน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานทีใ่ ห้ทนุ สนับสนุนและผูใ้ ห้คำปรึกษาทางวิชาการ ซึง่ ล้วนแล้วแต่มคี วามสำคัญไม่ยง่ิ หย่อนไปกว่ากัน ความร่วมมืออย่าง ใกล้ชดิ ระหว่างกลุม่ บุคคลเหล่านีจ้ งึ มีความจำเป็นเพือ่ ให้ทกุ ภาคส่วนได้รบั ประโยชน์สงู สุดและป้องกันการสูญเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็น

ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย

การสร้างความร่วมมือ

ผูท้ ม่ี สี ว่ นได้สว่ นเสีย ได้แก่ ทุกคนหรือทุกกลุม่ บุคคลที่ มีความสนใจในพืน้ ทีท่ จ่ี ะทำการฟืน้ ฟู โดยอาจรวมไปถึงผู้ ที่อาจมีผลต่อความสำเร็จในระยะยาวของโครงการฟื้นฟูป่า เช่น ผูใ้ ห้คำปรึกษาทางวิชาการ ผูใ้ ห้ทนุ หรือหน่วยงาน ราชการด้วย การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในทุกขั้น ตอนของการวางแผนงานและดำเนินการนับเป็นสิง่ ทีส่ ำคัญยิง่ อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นทีแ่ ตกต่างกันของแต่ละภาคส่วน เกีย่ วกับการใช้ประโยชน์จากพืน้ ทีแ่ ละการจัดลำดับความต้อง การของแต่ละฝ่ายอาจเป็นสิง่ ทีห่ ลีกเลีย่ งไม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีความเห็นขัดแย้งกันในเรือ่ งของเทคนิคและวิธกี ารที่ จะเลือกใช้ ดังนัน้ ความสำเร็จของโครงการปลูกป่าใด ๆ จึง ขึ้นอยู่กับการตกลงทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ตั้งแต่ในช่วง เริ่มวางแผนงาน ความขัดแย้งระหว่างผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทัง้ หมดต้องแก้ไข ผ่านการประชุมปรึกษาหารือกันบ่อย ๆ โดยทุกครัง้ จะต้อง มีการบันทึกรายงานการประชุมเพือ่ ใช้อา้ งอิงสำหรับการทำงาน ต่อไป วัตถุประสงค์ของการประชุมในลักษณะนี้ คือ ความชัดเจนของแผนงานทีแ่ ต่ละฝ่ายจะต้องเป็นผูร้ บั ผิดชอบ เพื่อลดความสับสนและซ้ำซ้อนในการทำงาน

ถึงแม้วา่ ผูท้ ม่ี สี ว่ นได้สว่ นเสียแต่ละกลุม่ อาจมีความสนใจ ทีแ่ ตกต่างกัน แต่ทกุ กลุม่ มักมีจดุ มุง่ หมายบางอย่างร่วมกัน การทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละกลุ่มจะทำให้การ วางแผนงานร่วมกันเกิดได้ดขี น้ึ ในขณะทีแ่ ต่ละกลุม่ ก็ยงั สามารถ รักษาจุดยืนของตัวเองไว้ได้ เมือ่ ทราบถึงศักยภาพของแต่ ละกลุม่ แล้วการจัดแบ่งหน้าทีท่ เ่ี หมาะสมให้แต่ละกลุม่ รับผิด ชอบจึงจะเป็นไปได้ การประสานงานเพือ่ เริม่ โครงการเป็นงานทีย่ ากลำบากผูท้ ่ี จะสามารถทำหน้าทีไ่ ด้ดคี วรเป็นบุคคลหรือหน่วยงานทีเ่ ป็นกลาง ซึง่ คุน้ เคยกับผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทุกฝ่าย แต่ไม่ใช่ผทู้ ถ่ี กู มอง ว่าเป็นผูม้ อี ำนาจเหนือกว่าหรือเป็นผูท้ ไ่ี ด้รบั ผลประโยชน์จาก การเข้าร่วมในโครงการ หน้าทีข่ องผูป้ ระสานงาน คือ การ ทำให้แน่ใจว่าทุกความคิดเห็นได้รบั การหารือทุกคนมีความเข้า ใจและเห็นด้วยกับจุดประสงค์ของโครงการ และงานต่าง ๆ มีผรู้ บั ผิดชอบทีเ่ หมาะสม ความร่วมมือของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียจะคงอยูไ่ ด้ถา้ ทุก ฝ่ายยังมองเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการและเชื่อ ว่าสิง่ ทีพ่ วกเขาลงแรงไปนัน้ มีสว่ นทำให้โครงการประสบความ สำเร็จได้ เมือ่ ทุกคนมีความรูส้ กึ ว่าได้มสี ว่ นในการวางแผน การดำเนินงานย่อมก่อให้เกิดความรูส้ กึ ว่าโครงการดังกล่าวนัน้ “ชุมชนเป็นเจ้าของ” (ถึงแม้วา่ ตามกฎหมายพวกเขาอาจไม่ ได้เป็นเจ้าของทั้งพื้นที่และต้นไม้) ซึ่งนั่นเป็นสิ่ง จำเป็นที่จะทำให้การทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย คงอยู่ได้

การวางแผนร่วมกัน - เจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยการ ฟื้นฟูป่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้และชาวบ้านแม่สาใหม่ ร่วม กันตัดสินใจว่าจะใช้พน้ื ทีใ่ ดเป็นแปลงทดสอบพรรณ ไม้โครงสร้างในปี พ.ศ. 2539 ความร่วมมือดังกล่าว ยังพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งตลอดศตวรรษทีผ่ า่ นมา

138

ปลูกให้เป็นป่า


ท ำ ง า น กั บ ชุ ม ช น *******************

ตอนที่ 3 การวางแผนเป็นสิง่ จำเป็น แผนงานของโครงการเป็นสิง่ ทีบ่ ง่ บอกถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฟืน้ ฟูปา่ พืน้ ที่ และวิธกี ารดำเนินงาน เมือ่ ได้รบั ข้อมูล ใหม่ ๆ แผนงานทีว่ างไว้สามารถปรับเปลีย่ นได้ตามความคิดเห็นของผูม้ สี ว่ นร่วม แต่การปรับแผนงานทุกครัง้ ควรได้รบั ความเห็นชอบจากทุกฝ่าย การเขียนและปรับปรุงแผนงานของโครงการช่วยให้ทกุ คนติดตามการดำเนินงานทีจ่ ำเป็นได้วา่ ใคร จะทำอะไร เมือ่ ไหร่ ทีไ่ หน รวมถึงเวลา แรงงาน และงบประมาณทีต่ อ้ งใช้สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ

แผนงานของโครงการ

ตารางแผนงาน - เมือ่ ไหร่

สำหรับโครงการฟืน้ ฟูปา่ แผนงานของโครงการต้องประกอบ ไปด้วยวัตถุประสงค์ทช่ี ดั เจน คำบรรยายลักษณะพืน้ ทีท่ จ่ี ะ ปลูกป่า วิธกี ารทีจ่ ะใช้ฟน้ื ฟูและกำหนดการดำเนินงานใน กิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนัน้ ต้องมีการคำนวณแรงงานทีต่ อ้ ง การและค่าใช้จ่ายสำหรับแต่ละกิจกรรม

หน้าถัดไปเป็นตัวอย่างของตารางแผนงาน เมือ่ เลือกวิธกี าร ทีจ่ ะใช้ได้แล้วต้องกำหนดเวลาทีต่ อ้ งทำกิจกรรมต่าง ๆ ลงไป ในตารางแผนงานโดยระบุชว่ งวันทีจ่ ะทำกิจกรรมด้วย จากนัน้ จึงมอบหมายหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบให้แต่ละกลุม่ ข้อผิด พลาดทีเ่ กิดขึน้ ได้บอ่ ย คือ การประเมินเวลาทีใ่ ช้ในโครงการ น้อยไป ถ้าต้นไม้ทจ่ี ะใช้ปลูกเป็นต้นกล้าทีเ่ พาะเองจะต้อง ดำเนินการสร้างเรือนเพาะชำและเก็บเมล็ดพันธุอ์ ย่างน้อย 18 เดือนถึง 2 ปี ก่อนการปลูก

วัตถุประสงค์ - ทำไม นอกจากวัตถุประสงค์ของโครงการจะเป็นตัวกำหนดกิจกรรม ทุกอย่างทีจ่ ะเกิดขึน้ แล้ว ยังเป็นสิง่ ทีบ่ อกถึงความต้องการร่วม กันของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทัง้ หมดอีกด้วย วัตถุประสงค์ของ โครงการจึงควรประกอบด้วยเหตุผลว่าทำไมจึงต้องฟื้นฟูป่า และผลทีค่ าดว่าจะได้รบั จากโครงการ เช่น ผลผลิตจากป่า น้ำ ผลทางการเมือง เป็นต้น รวมไปถึงผูท้ จ่ี ะได้รบั ประโยชน์จาก โครงการดังกล่าว

พืน้ ทีข่ องโครงการ - ทีไ่ หน รายงานสภาพพืน้ ทีโ่ ดยละเอียดจากการสำรวจ (ดูบทที่ 7 ตอนที่ 1) เป็นสิง่ จำเป็นสำหรับการวางแผนเพือ่ ให้ทกุ คนได้ ทราบถึงขอบเขตพื้นที่ของแปลงปลูกป่าและอาจมีการพูดถึง สิทธิในการถือครองพืน้ ทีด่ ว้ ย ในรายงานส่วนนีค้ วรประกอบ ด้วยแผนที่ (ระบุตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์โดยใช้ GPS หรือแผนที)่ และรูปถ่ายของสภาพเริม่ ต้นของพืน้ ที่

วิธกี าร - อย่างไร

จำนวนคนทีต่ อ้ งการ - ใคร การฟืน้ ฟูปา่ เป็นงานหนักและยากลำบากแต่เป็นสิง่ คุม้ ค่าทีจ่ ะ ทำ การร่วมมือร่วมแรงของคนกลุม่ ใหญ่นอกจากจะทำให้งาน เบาลงแล้วยังเป็นโอกาสให้ชมุ ชนได้มกี จิ กรรมร่วมกันด้วย จำ นวนแรงงานทีม่ เี ป็นปัจจัยสำคัญทีจ่ ะกำหนดขนาดพืน้ ทีท่ ส่ี ามารถ ปลูกได้ในแต่ละปี โครงการฟืน้ ฟูปา่ ขนาดใหญ่มกั ลืมคิดถึงข้อจำกัดเรือ่ งแรงงาน จากชุมชนทีจ่ ะช่วยเรือ่ งการกำจัดวัชพืชและป้องกันไฟ การ ปลูกในแต่ละปีควรทยอยปลูกพืน้ ทีเ่ ล็ก ๆ โดยคำนึงถึงแรงงาน ที่มีซึ่งจะได้ผลดีกว่าการปลูกป่าในพื้นที่ขนาดใหญ่พร้อมกัน ทีเดียว การปลูกและดูแลต้นไม้หลังปลูกโดยเฉพาะการป้องกันพืน้ ที่ จากไฟป่าเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งจัดขึน้ โดยชุมชน เช่น กรรมการหมูบ่ า้ น อาจร้องขอให้แต่ละครอบครัวในหมูบ่ า้ นส่งคนมาร่วมงานในวันที่ มีกจิ กรรมของโครงการทีต่ อ้ งทำ ดังนัน้ ขนาดของพืน้ ทีท่ ป่ี ลูก ในแต่ละปีจงึ ขึน้ อยูก่ บั จำนวนครัวเรือนทีเ่ ข้าร่วมโครงการ เมือ่ ขนาดของชุมชนใหญ่ขน้ึ ย่อมหมายถึงพืน้ ทีป่ ลูกทีข่ ยายขนาด ขึ้นได้และใช้ระยะเวลาที่สั้นลง

ศึกษาวิธกี ารต่าง ๆ ทีม่ อี ยูใ่ นหนังสือเล่มนี้ และบันทึกว่าวิธี การใดทีผ่ มู้ สี ว่ นได้สว่ นเสียเห็นด้วยว่าเป็นวิธกี ารทีเ่ หมาะสมที่ สุดในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของโครงการ โดยต้อง พิจารณาร่วมกับสภาพเริม่ ต้นของพืน้ ทีด่ ว้ ย

ปลูกให้เป็นป่า

139


ท* *ำ* ง* *า* น* * กั* *บ* *ชุ* *ม* *ช* น* * ตาราง 8.1 ตัวอย่างแผนการดำเนินงาน เมือ่ กำหนดวันสำหรับงานแต่ละอย่างแล้วจึงเพิม่ ช่องในตารางสำหรับบันทึก ชือ่ ผูร้ บั ผิดชอบในการจัดแต่ละกิจกรรม ช่วงเวลาเทียบกับ วันปลูกป่า 2 ปีกอ่ นปลูก 18 เดือนก่อนปลูก 12-18 เดือนก่อนปลูก 6 เดือนก่อนปลูก 2 เดือนก่อนปลูก 6 สัปดาห์กอ่ นปลูก 1 เดือนก่อนปลูก 1 วันก่อนปลูก วันปลูกป่า 1-2 วันหลังปลูก 1-2 สัปดาห์หลังปลูก ระหว่างฤดูฝนแรก ปลายฤดูฝนแรก เริ่มฤดูแล้งแรก สิ้นสุดฤดูแล้ง 1 ปีหลังปลูก ฤดูฝนที่ 2 หลังปลูก สิน้ สุดฤดูฝนที่ 2 หลังปลูก ปีตอ่ ๆ ไป

กิจกรรม สำรวจผูท้ มี่ สี ว่ นได้สว่ นเสีย ร่างแผนการดำเนินงาน เริม่ ตัง้ เรือนเพาะชำ เริ่มเก็บเมล็ดพันธุ์และผลิตกล้าไม้ กำหนดพื้นที่ปลูกสำหรับปีแรก ตรวจนับจำนวนกล้าไม้ทพ่ี ร้อมปลูก เตรียมกล้าไม้ทอ้ งถิน่ เสริมจากเรือน เพาะชำอืน่ ๆ ถ้าจำเป็น เริ่มทำให้ต้นกล้าแกร่ง ติดต่ออาสาสมัครที่จะช่วยในการปลูกป่า กำหนดขอบเขตแปลงปลูกทำเครื่องหมายกล้าไม้ธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ และตัดวัชพืช ติดเครือ่ งหมายกล้าไม้ทต่ี อ้ งการติดตาม เตรียมอุปกรณ์ปลูก ใส่ยาฆ่าวัชพืช (ไกลโฟเซต) ถ้าวัชพืชงอกขึน้ มาใหม่ ขนย้ายกล้าไม้และอุปกรณ์ปลูกทัง้ หมดไปยังพืน้ ทีป่ ลูก ประชุมหัวหน้า ทีมปลูกป่า ต้นฤดูฝน (สำหรับภาคเหนือของประเทศไทยคือเดือนมิถนุ ายน) ตรวจสอบคุณภาพการปลูก ปรับปรุงสำหรับต้นที่ปลูกไม่เรียบร้อย เก็บขยะออกจากพื้นที่ปลูก เก็บข้อมูลพืน้ ฐานสำหรับต้นไม้ทจ่ี ะติดตามการเจริญ เช่น ความสูง กำจัดวัชพืชและใส่ปยุ๋ ทุก 4-6 สัปดาห์ ตามความจำเป็น ติดตามการเจริญและการรอดชีวิตของต้นไม้ที่ปลูก ทำแนวกันไฟ เตรียมทีมดับไฟ ติดตามการเจริญและการรอดชีวิตของต้นไม้ที่ปลูก กำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย สำรวจว่าต้องมีการปลูกซ่อมหรือไม่ ปลูกซ่อม -- ถ้าจำเป็น กำจัดวัชพืช ใส่ปยุ๋ --ตามความจำเป็น ติดตามการเจริญและการรอดชีวิตของต้นไม้ที่ปลูก ข้อมูลจากการติดตาม ในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการทำนายความสำเร็จของโครงการได้ดี กำจัดวัชพืชในฤดูฝนถ้ายังจำเป็นจนกว่าเรือนยอดของไม้ทป่ี ลูกจะปิดคลุม พืน้ ที่ ติดตามการกลับเข้ามาในพืน้ ทีข่ องความหลากหลายทางชีวภาพและ ต้นไม้ทป่ี ลูกนานเท่าทีต่ อ้ งการ

แรงงานทีต่ อ้ งใช้ในกิจกรรมของโครงการฟืน้ ฟูปา่ ส่วนใหญ่ จะขึน้ อยูก่ บั ขนาดของพืน้ ทีป่ ลูก พืน้ ทีข่ นาดใหญ่ยอ่ มหมาย ถึงจำนวนแรงงานและวันที่ต้องใช้ในการปลูกและดูแลที่เพิ่ม ขึน้ แต่สำหรับการป้องกันไฟป่า แรงงานทีใ่ ช้จะไม่ได้ขน้ึ อยูก่ บั ขนาดของพืน้ ที่ สำหรับพืน้ ทีข่ นาด 1-50 ไร่ ในแต่ละ

140

ปลูกให้เป็นป่า

รายละเอียด บทที่ 6 ตอนที่ 1 บทที่ 6 ตอนที่ 2 บทที่ 7 ตอนที่ 1

บทที่ 6 ตอนที่ 7 บทที่ 7 ตอนที่ 2 บทที่ 7 ตอนที่ 2 บทที่ 7 ตอนที่ 2 บทที่ 7 ตอนที่ 3

บทที่ 7 ตอนที่ บทที่ 7 ตอนที่ บทที่ 7 ตอนที่ บทที่ 7 ตอนที่ บทที่ 7 ตอนที่ บทที่ 7 ตอนที่

5 4 5 4 5 4

บทที่ 7 ตอนที่ 5 บทที่ 7 ตอนที่ 4-5

วันต้องใช้คนประมาณ 8 คน ในการระวังไฟตลอดช่วงฤดูแล้ง ดังนัน้ ในแปลงปลูกขนาดเล็กการป้องกันพืน้ ทีจ่ ากไฟป่าจึง เป็นกิจกรรมทีต่ อ้ งใช้แรงงานมากทีส่ ดุ สำหรับชุมชนขนาด ใหญ่ความรับผิดชอบดังกล่าวอาจแบ่งเบาลงได้ โดยการกระ จายความรับผิดชอบให้แต่ละครอบครัวในชุมชน ซึง่ จะทำให้ แต่ละบ้านลงแรงน้อยลง


ท ำ ง า น กั บ ชุ ม ช น *******************

ตาราง 8.2 จำนวนแรงงานทีต่ อ้ งการสำหรับกิจกรรมแต่ละอย่างของการฟืน้ ฟูปา่ ใน 2 ปีแรก แรงงาน ทีต่ อ้ งการสำหรับกิจกรรมทุกอย่าง (ยกเว้นการป้องกันไฟ) จะขึน้ อยูก่ บั ขนาดของพืน้ ที่ (1 ไร่มขี นาด 40 x 40 เมตร)

งานทีข่ น้ึ กับขนาดพืน้ ที่ 4 คน/ไร่1 8 ต้น/คนใน 1 ชัว่ โมง มากกว่า 6 ชัว่ โมง 500 ต้น/ไร่2

เตรียมพื้นที่ ปลูก

จำนวนแรงงาน/ไร่ จำนวนแรงงานทีต่ อ้ งการต่อพืน้ ที่ ปีท่ี 1 ปีท่ี 2 10 ไร่ 1 ไร่ 50 ไร่ ปลูก ดูแล 4 0 40 4 200

กำจัดวัชพืช 4 คน/ไร่ และใส่ปุ๋ย 3 ครัง้ /ปี ติดตามการเจริญ 2 คน/ไร่

10

0

10

100

500

12

12

24

240

1200

4

2

6

60

24

-

4

12

28

48

404

1952

3

(แล้วแต่กำหนด) ขึ้นอยู่กับอัตราส่วน 4 ขอบ : พืน้ ที่ แรงงานที่ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่

แนวกันไฟ (2 ปี)

การป้องกันไฟป่า (ไม่ขน้ึ กับขนาดพืน้ ที)่

ทีมเฝ้าระวัง และทีมดับไฟ

90 วัน; 8 คน/วัน สำหรับพืน้ ที่ 50 ไร่5

ปีท่ี 1

ปีท่ี 2

1 ไร่

10 ไร่

50 ไร่

720

720

1440 1488

1440 44

1440 3392

รวมแรงงานที่ต้องการทั้งหมด 1

ปรับได้ตามปริมาณวัชพืช ลดจำนวนลงในพืน้ ทีท่ ม่ี ไี ม้เดิมหรือตอไม้เหลืออยู่ 3 สามารถลดจำนวนในพืน้ ทีข่ นาดใหญ่ดว้ ยการเก็บข้อมูลเฉพาะจากพืน้ ทีต่ วั อย่างเพียงไม่กไ่ี ร่ 4 ขึ้นอยู่กับรูปร่างและการกระจายตัวของพื้นที่ปลูก-ปรับเปลี่ยนตามพื้นที่ 5 ต้องการการดูแลทั้งกลางวันและกลางคืน 2

เมือ่ วางแผนโครงการฟืน้ ฟูปา่ ผูเ้ กีย่ วข้องต้องตระหนักถึง จำนวนแรงงานที่ต้องการในการปลูกและดูแลกล้าไม้จนกว่า เรือนยอดจะปิดและไม่ต้องการการดูแลอีกต่อไป โดยในการวางแผนงานต้องมีความชัดเจนว่าแรงงานสำหรับ กิจกรรมต่าง ๆ นั้นจะมาจากอาสาสมัครของชุมชนหรือต้อง จ่ายค่าแรงงานให้กบั ผูร้ บั ผิดชอบ ซึง่ ในกรณีหลังค่าแรงจะ เป็นงบประมาณส่วนใหญ่ของโครงการ จากประสบการณ์ของ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ถ้าชาวบ้านเห็นความสำคัญและประโยชน์ ทีจ่ ะได้จากการฟืน้ ฟูปา่ ทัง้ ในระดับบุคคลหรือระดับชุมชนและมี แรงจูงใจในกิจกรรมดังกล่าว ชาวบ้านมักเต็มใจทีจ่ ะอาสา ทำงานเหล่านัน้ เอง เนือ่ งจากการป้องกันไฟเป็นสิง่ ทีใ่ ห้

ประโยชน์แก่ทง้ั ชุมชน โดยรวมแล้วจึงเป็นกิจกรรมทีช่ าวบ้าน เต็มใจทำมากทีส่ ดุ ตาราง 8.2 แสดงการคำนวณแรงงานทีต่ อ้ งการในสองปี แรกหลังการปลูก หลังจากนัน้ แรงงานทีต่ อ้ งการจะลดลงโดย มีความแตกต่างกันไปในแต่ละพืน้ ทีข่ น้ึ อยูก่ บั การปิดของเรือน ยอดและปริมาณวัชพืช ดังนัน้ ตัง้ แต่ปที ่ี 3 เป็นต้นไป การ คำนวณแรงงานสำหรับการกำจัดวัชพืชจึงขึน้ อยูก่ บั สภาพของ แปลงปลูกแต่ละที่ ถ้าชุมชนถือว่างานทุกอย่างของโครงการเป็นของชุมชนและ ทุกครัวเรือนส่งสมาชิกอย่างน้อยหนึง่ คนมาร่วมในทุกกิจกรรม จำนวนวันทีช่ าวบ้านแต่ละครัวเรือนต้องร่วมกันทำงานจะลดลง เมือ่ จำนวนครัวเรือนในชุมชนเพิม่ ขึน้

ปลูกให้เป็นป่า

141


ท* *ำ* ง* *า* น* * กั* *บ* *ชุ* *ม* *ช* น* *

ค่าใช้จา่ ยทีต่ อ้ งเตรียม ค่าใช้จา่ ยในการฟืน้ ฟูปา่ มีความแตกต่างกันขึน้ กับพืน้ ทีใ่ น ที ่ น ี ้ จ ะอธิ บ ายวิ ธ ี ก ารคำนวณค่ า ใช้ จ ่ า ยที ่ เ กิ ด ขึ ้ น ค่าใช้จา่ ยสำหรับเรือนเพาะชำ ประกอบด้วย 1) ค่าก่อ สร้างและอุปกรณ์กอ่ สร้าง 2) วัสดุสน้ิ เปลือง 3) เงินเดือน หรือค่าจ้างรายวันสำหรับผู้จัดการเรือนเพาะชำและผู้ช่วย การสร้างเรือนเพาะชำชุมชนไม่จำเป็นต้องใช้วสั ดุราคาแพง แต่สามารถปรับใช้วสั ดุทม่ี อี ยูใ่ นท้องถิน่ เช่น ไม้ไผ่ เพือ่ ทำ ให้ราคาถูกลง เรือนเพาะชำมีอายุการใช้งานหลายปี ค่าก่อ สร้างจึงเป็นเพียงค่าใช้จา่ ยส่วนน้อยในการผลิตกล้าไม้เท่านัน้ เลือกใช้วสั ดุปลูกทีห่ าได้ในท้องถิน่ เช่น ฟางข้าว หรือปุย๋ หมักทำเอง แทนการใช้ดนิ สำหรับปลูกทีม่ ขี าย ถึงแม้วา่ วัสดุ หลาย ๆ อย่างจะได้มาโดยไม่ตอ้ งซือ้ แต่ตอ้ งไม่ลมื คำนวณ ค่าใช้จา่ ยทีเ่ กิดขึน้ ในการขนย้ายและแรงงานในการขนย้ายด้วย สิง่ เดียวในเรือนเพาะชำทีย่ งั หาวัสดุธรรมชาติทเ่ี หมาะสมมาทด แทนไม่ได้ คือ ถุงหรือภาชนะพลาสติกทีใ่ ช้เพาะกล้า ถุง เพาะกล้านัน้ ใช้ได้เพียงครัง้ เดียวจึงเป็นค่าใช้จา่ ยทีส่ งู สำหรับการ ผลิตกล้าไม้ ผูจ้ ดั การเรือนเพาะชำ ต้องรับผิดชอบในการดูแลดำเนิน งานทัง้ หมดของเรือนเพาะชำรวมถึงการผลิตกล้าไม้คณ ุ ภาพดี สำหรับพรรณไม้ทกุ ชนิดทีต่ อ้ งการ ตำแหน่งนีอ้ าจเป็นตำ แหน่งเต็มเวลาหรือไม่เต็มเวลาขึน้ อยูก่ บั ปริมาณกล้าไม้ทจ่ี ะผลิต ส่วนแรงงานที่ช่วยงานในระยะสั้นอาจได้มาจากการจ้างงาน รายวันหรืออาสาสมัครจากหมูบ่ า้ น งานในเรือนเพาะชำนัน้ หนักเฉพาะบางช่วงโดยช่วงทีห่ นักทีส่ ดุ คือก่อนฤดูปลูก ส่วน ช่วงอืน่ ๆ จะมีงานน้อย ในปัจจุบนั 1 ค่าใช้จา่ ยสำหรับเรือนเพาะชำชุมชนทีผ่ ลิต กล้าไม้ประมาณ 10,000-20,000 ต้น ตกอยูป่ ระมาณ 15,000-20,000 บาท โดยราคาในการผลิตกล้าไม้อยูท่ ่ี 22.50 บาทต่อต้น (รวมทัง้ ค่าวัสดุและแรงงาน) ดังนัน้ ค่าใช้ จ่ายในการเตรียมกล้าไม้สำหรับปลูกพืน้ ที่ 1 ไร่ จะอยูป่ ระ มาณ 1,000-1,250 บาท (ถ้าปลูกกล้าไม้ 500 ต้นต่อไร่) ค่าใช้จา่ ยในการปลูก ดูแล และติดตามการเจริญ ได้ แก่ 1) วัสดุ 2) ค่าแรง และ 3) ค่าขนส่ง วัสดุสำคัญทีใ่ ช้ ปลูกประกอบด้วย ยาฆ่าวัชพืชไกลโฟเซต ปุย๋ หลักไม้ไผ่ และกระดาษกล่องสำหรับต้นไม้แต่ละต้น โดยใช้ไกลโฟเซต

------------------------------------1

ค่าใช้จ่ายในการคำนวณในปี พ.ศ. 2548

142

ปลูกให้เป็นป่า

เข้มข้น 1-1.5 ลิตรต่อไร่ ในการใส่ปยุ๋ แต่ละครัง้ ใช้ปยุ๋ ขนาด 50 กิโลกรัมประมาณครึง่ กระสอบต่อไร่ ดังนัน้ ต้องใช้ปยุ๋ 3.5 ถุงต่อไร่สำหรับใส่ 4 ครัง้ ในปีแรก และ 3 ครัง้ ในปีท่ี 2 กระดาษกล่องที่ใช้สำหรับคลุมโคนต้นสามารถหาซื้อได้จาก ร้านขายของเก่าหรืออาจขอบริจาคจากร้านขายของ หลักไม้ ไผ่อาจซือ้ จากร้าน หรือให้คนงานตัดจากพืน้ ทีป่ า่ เสือ่ มโทรม โดยราคาหลักไม้ไผ่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 250-300 บาทต่อ ไร่ (สำหรับการปลูก 500 ต้นต่อไร่) ค่าแรงเป็นรายจ่ายก้อนใหญ่สำหรับการฟืน้ ฟูปา่ โดยส่วน ทีต่ อ้ งใช้แรงงานมากทีส่ ดุ คือ การเฝ้าระวังไฟ ค่าใช้จา่ ยใน ส่วนนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแรงงานที่ได้จากอาสาสมัคร ต่าง ๆ ซึง่ จะมาทดแทนแรงงานทีต่ อ้ งจ้าง แรงงานในการ ปลูกป่ามักได้รบั ความร่วมมือจากอาสาสมัครจากโรงเรียนหรือ หน่วยงานในพืน้ ที่ ในขณะทีก่ ารระวังไฟอาจดูแลโดยอาสา สมัครทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากกรรมการหมูบ่ า้ น ดังนัน้ แรง งานทีจ่ ะต้องจ้างจริง ๆ จึงเป็นส่วนของการใส่ปยุ๋ และกำจัด วัชพืช ในการคำนวณค่าแรงให้เริม่ จากตัวอย่างการประมาณจำนวน แรงงานทีต่ อ้ งการสำหรับการเตรียมพืน้ ที่ วันปลูก การกำจัด วัชพืชและการใส่ปยุ๋ การติดตามการเจริญของกล้าไม้และ การทำแนวกันไฟในตาราง 8.1 ตัดแรงงานในส่วนทีอ่ าสา สมัครทำได้ออกไป จากนัน้ จึงคำนวณจำนวนวันทีต่ อ้ งจ้าง คนงานสำหรับการดูแลพืน้ ที่ 1 ไร่ในช่วงสองปีแรก คูณด้วย จำนวนไร่ที่ปลูกและค่าแรงรายวันจึงจะได้ค่าใช้จ่ายในการ จ้างงานทีข่ น้ึ กับขนาดของพืน้ ที่ ขัน้ ต่อไปจึงคิดถึงค่าใช้จา่ ยใน การระวังไฟ สำหรับภาคเหนือของประเทศไทยปกติจะต้อง ป้องกันไฟประมาณ 90 วัน ตัง้ แต่กลางเดือนมกราคมจนถึง ปลายเดือนเมษายนตลอด 24 ชัว่ โมง ดังนัน้ ค่าใช้จา่ ยใน ส่วนนี้จึงประมาณได้จากจำนวนคนที่ต้องการในทีมระวังไฟ คูณด้วยจำนวนวันทีต่ อ้ งเฝ้าและค่าแรงรายวัน ส่วนค่าใช้ จ่ายในการขนย้ายกล้าไม้นน้ั ขึน้ อยูก่ บั ระยะทางจากเรือนเพาะชำ ถึงแปลงปลูก โดยรวมแล้วถ้าไม่ตอ้ งเสียค่าใช้จา่ ยในการจ้างคนในการ ระวังไฟ (ให้หาอาสาสมัครจากหมูบ่ า้ นเป็นผูร้ บั ผิดชอบ) ค่า ใช้จา่ ยในการฟืน้ ฟูปา่ ในประเทศไทยจะอยูท่ ป่ี ระมาณ 10,000 บาทต่ อ ไร่ ทั ้ ง นี ้ เป็ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยตั ้ ง แต่ ก ารผลิ ต กล้ า ไม้ วัสดุอปุ กรณ์และแรงงานสำหรับปลูก รวมทัง้ การดูแลติด ตามต้นไม้ทป่ี ลูกในช่วง 2 ปี ถ้าหากสามารถหาอาสาสมัคร มาทำงานในภาคสนามทัง้ หมดได้ ค่าใช้จา่ ยสำหรับต้นไม้และ วัสดุปลูกจะอยูท่ ป่ี ระมาณ 3,500 บาท ต่อไร่


บทที่ 9

พรรณไม้โครงสร้างสำหรับการฟืน้ ฟูปา่ ในภาคเหนือของประเทศไทยและพืน้ ทีใ่ กล้เคียง

****************************


คุณลักษณะทีส่ ำคัญของพรรณไม้โครงสร้าง อัตราการรอดชีวิตและอัตราการเจริญเติบโตสูง เมื่อปลูกในพื้นที่เสื่อมโทรมที่สภาพไม่เหมาะสม สร้างพุ่มและเรือนยอดที่กว้างและทึบเพื่อช่วยควบคุม วัชพืช ต้นไม้ในภาพด้านล่างถ่ายหลังจากปลูกได้ 17 เดือน

สะเดาช้าง Acrocarpus fraxinifolius เลี่ยน Melia toosendan อัตรา สูง 4 เมตร หลังปลูก 17 เดือน รอด >ร้อยละ 90 สูง 5-7 เมตร

ซ้อ Gmelina arborea มีใบขนาดใหญ่ พุม่ ทึบ กว้างกว่า 3 เมตร

มะกัก Spondias axillaris แตกกิง่ ใกล้ พืน้ ดิน ทำให้มเี รือนยอดหลายอัน

ให้ดอกที่มีน้ำหวานมาก ผลกินได้หรือพื้นที่ทำรัง เพื่อดึงดูดสัตว์ที่ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์เข้ามาในพื้นที่ ตั้งแต่อายุน้อย

บน - ดอกของ สะเดาช้าง Acrocarpus fraxinifolius มีน้ำหวาน มาก ดึงดูดสัตว์ทก่ี ระจายเมล็ดเข้า มาในพื้นที่ ซ้าย - ทองหลางป่า Erythrina subumbrans เริ่ม ออกดอกตัง้ แต่อายุ 4 ปี นางพญาเสือโคร่ง Prunus cerasoides ติดดอกออกผล และเป็นทีท่ ำรังของนกตัง้ แต่ปที ่ี 3 หลังปลูก กร่าง (ซ้าย) อาหารสำคัญของสัตว์ทท่ี ำ หน้าทีก่ ระจายเมล็ดพันธุใ์ นแปลงฟืน้ ฟูปา่

ทนไฟ เพาะและดูแลง่ายในเรือนเพาะชำ วิธีง่าย ๆ เพื่อเร่งการผลิตกล้าไม้ เช่น การขลิบเปลือกหุ้มเมล็ดของ มะค่าโมง Afzelia xylocarpa เพื่อลดระยะพักตัวจากนานกว่า 1 ปี เป็นเพียง 19 วัน ทำให้ได้กล้าไม้พร้อมปลูกในเวลาเพียง 14 เดือน

มะกัก S. axillaris ฟื้นตัวได้ดีหลังถูกไฟไหม้ ต้นมะกักในภาพทางขวาถูกไฟไหม้หลังปลูกได้ เพียง 6 เดือน ในฤดูฝนถัดมามีความสูงกว่า 2 เมตร


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

พรรณไม้โครงสร้างสำหรับการฟืน้ ฟูปา่ ในเขตภาคเหนือของ ประเทศไทยและพืน้ ทีใ่ กล้เคียง ข้อมูลพรรณไม้ในบทนีป้ ระกอบด้วยรายละเอียดของต้นไม้จากภาคเหนือของประเทศไทยจำนวน 41 ชนิดทีม่ ศี กั ยภาพใน การใช้เป็นพรรณไม้โครงสร้างโดยพิจารณาจากผลการวิจยั ของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ตัง้ แต่ปี 2537 (รายละเอียดเกณฑ์ใน การพิจารณาสามารถดูได้ใน บทที่ 5 ตอนที่ 1 ) ก่อนทีจ่ ะเลือกใช้พรรณไม้ทแ่ี นะนำไว้ในบทนีเ้ พือ่ การฟืน้ ฟูปา่ ควรสำรวจ ก่อนว่าพรรณไม้เหล่านัน้ เป็นไม้ในท้องถิน่ ของพืน้ ทีท่ ต่ี อ้ งการฟืน้ ฟูหรือไม่ ความสูงของพืน้ ทีอ่ ยูใ่ นระดับความสูงปกติทพ่ี บไม้ นัน้ ขึน้ อยูห่ รือไม่ จนถึงปัจจุบนั หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ได้ทดสอบพรรณไม้จำนวนทัง้ สิน้ 400 ชนิด จากต้นไม้มากกว่า 1,100 ชนิดทีพ่ บในภาคเหนือของประเทศไทย และยังคงดำเนินการทดสอบพรรณไม้ชนิดใหม่เพือ่ หาพรรณไม้โครงสร้างทีเ่ หมาะสม อยูอ่ ย่างต่อเนือ่ ง ต้นไม้ทไ่ี ม่อยูใ่ นรายชือ่ ในหนังสือนีไ้ ม่ได้หมายความว่าไม่ควรปลูกต้นไม้ชนิดนัน้ เสมอไปผูท้ ต่ี อ้ งการคำ ปรึกษาเกีย่ วกับการเลือกชนิดพรรณไม้สามารถติดต่อหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ได้โดยตรง ด้านล่างเป็นคำอธิบายสำหรับราย ละเอียดของพรรณไม้แต่ละชนิด

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

การเพาะกล้าไม้

ข้อมูลนีม้ าจากฐานข้อมูลพรรณไม้ในภูมภิ าค และ หอ พรรณไม้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ข้อมูลจากตัวอย่างพรรณ ไม้ของ J. F. Maxwell) ความสูงเป็นความสูงจากระดับน้ำ ทะเล

สำหรับข้อมูลทัว่ ไปในการเพาะกล้าไม้สามารถดูได้ในบท ที่ 6 ในบทนีจ้ ะนำเสนอเฉพาะวิธที พ่ี บว่ามีประสิทธิภาพสูง สุดสำหรับต้นไม้แต่ละชนิด การเก็บเมล็ดพันธุข์ องไม้ทกุ ชนิด มาจากแม่ไม้อย่างน้อย 10 ต้น ในบริเวณทีใ่ กล้เคียงกับพืน้ ที่ ทีต่ อ้ งการฟืน้ ฟู เพือ่ รักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม

ลักษณะเด่น การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก ด้วยข้อจำกัดของพืน้ ทีล่ กั ษณะทีบ่ รรยายจะเป็นลักษณะ เฉพาะทีเ่ ด่นทีส่ ดุ ของต้นไม้ชนิดนัน้ โดยเป็นข้อมูลทีไ่ ด้จาก ตัวอย่างพรรณไม้ในหอพรรณไม้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำ หรับคำอธิบายคำศัพท์ทางพฤกษศาสตร์สามารถดูได้ในภาค คำอธิบายศัพท์ท้ายหนังสือถ้าต้องการรายละเอียดที่สมบูรณ์ ของพรรณไม้ กรุณาศึกษาในหนังสือพรรณไม้เล่มอืน่ ๆ ประกอบด้วย

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง ข้อมูลในส่วนนีม้ าจากการเก็บข้อมูลจากแปลงปลูกป่าสาธิต ของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ โดยส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเมือ่ หมดฤดู ฝนทีส่ องหลังปลูกกล้าลงแปลง (ดู บทที่ 5 ตอนที่ 3) ข้อมูล การดึงดูดสัตว์ปา่ ทีช่ ว่ ยกระจายเมล็ดพันธุเ์ ข้ามาในพืน้ ทีไ่ ด้จาก การเก็บข้อมูลในแปลงตลอด 7 ปีหลังปลูก

ปลูกและดูแลกล้าไม้ตามวิธกี ารในบทที่ 7 ส่วนในบทนี้ จะเสนอเฉพาะวิธกี ารทีท่ ำให้ตน้ ไม้ชนิดนัน้ เจริญเติบโตได้ดโี ดย ดูขอ้ มูลจากแปลงปลูกป่าสาธิตของหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่

ประโยชน์ นอกจากการฟืน้ ฟูความหลากหลายทางชีวภาพแล้วพรรณ ไม้โครงสร้างส่วนใหญ่ยงั มีประโยชน์ในทางเศรษฐกิจด้วยใน ทีน่ จ้ี ะเสนอข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นไม้แต่ละชนิดทีเ่ คย มีบนั ทึกไว้บางส่วน ซึง่ จะเป็นประโยชน์อย่างยิง่ สำหรับการ ฟืน้ ฟูปา่ ในพืน้ ทีป่ า่ ชุมชน อย่าใช้พรรณไม้เหล่านีเ้ ป็นยาโดย ไม่มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ปลูกให้เป็นป่า

145


พ ร ร ณ ไ ม้ โ ค ร ง ส ร้ า ง ***********************

Acrocarpus fraxinifolius Wight ex Arn. (Leguminosae, Caesalpinioideae)

สะเดาช้าง

ไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ สูงได้ถงึ 60 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางทีร่ ะดับอก 2.4 ม.) ต้นไม้ทอ่ี ายุมากระดับชัน้ เรือนยอดอยู่ ในชัน้ บนสุด มักพบสูงเลยระดับชัน้ เรือนยอดของป่า

พืน้ ทีท่ พ่ี บ ในอินเดียตะวันออก ตอนใต้ของจีน พม่า ไทย ลาว เวียตนาม บอร์เนียว สุมาตราและชวา ในภาคเหนือของไทย พบได้นอ้ ยในป่าดิบ ทีร่ ะดับ 1,000-1,200 ม.

ลักษณะเด่น ต้นไม้ขนาดใหญ่มพี พู อน เปลือก: สีเทาจาง มีรอู ากาศ (lenticel) สีนำ้ ตาล ใบ: ใบประกอบแบบขนนกสองชัน้ 4-14 x 2-7 ซม. รูปไข่ ใบอ่อนสีชมพูมขี นปกคลุม ดอก: ดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงบนกิ่งที่ไม่มีใบ กลีบดอกสีแดง ติดดอก มกราคม-มีนาคม ผล: ฝักสีดำ ยาว และ แบน 8-16 x 1-2 ซม. ในฝักมีเมล็ดสีนำ้ ตาลอ่อน 10-18 เมล็ด รูปไข่ ติดผลกุมภาพันธ์-พฤษภาคม กระจาย เมล็ดด้วยลม

ลักษณะในการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง

หลังปลูก) และมีพมุ่ กว้างกว่า 2 ม. ทำให้บดบังการเจริญ ของวัชพืชได้ดี แต่อตั ราการรอดอยูใ่ นระดับพอใช้ ต้นไม้ ชนิดนี้สามารถฟื้นตัวและแตกยอดใหม่ได้ดีหลังถูกไฟไหม้ (กล้าไม้ทม่ี เี ส้นผ่าศูนย์กลางคอราก >20 มม. ทีถ่ กู ไฟไหม้ หลังปลูกได้ 21 เดือน มีอตั รารอดถึงร้อยละ 70) ดอกมีนำ้ หวานมากเป็นที่ชื่นชอบของนกและกระรอก นกชอบมาเกาะ

การเพาะกล้าไม้ เก็บฝักแก่สดี ำในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน ผึง่ ลมจน ฝักแห้งและแตกออก ขลิบเปลือกหุ้มเมล็ดด้วยกรรไกรตัด เล็บหรือแช่ในกรดซัลฟูรคิ 1-3 นาที เพาะเมล็ดในถาดที่ ได้รบั แสงเต็มที่ ด้วยวิธนี ้ี ค่ากลางระยะพักตัวสามารถลดลง เหลือ 4 วัน อัตราการงอกสูงถึงร้อยละ 50 ระวังการเข้าทำ ลายของหนอนผีเสือ้ และโรคเน่าคอดิน ย้ายกล้าเมือ่ มีใบคู่ แรก ตัง้ ภาชนะปลูกให้ได้รบั แสงเต็มที่ ปกติกล้าไม้จะโต พร้อมปลูก (>30 ซม.) ในฤดูปลูกทีส่ องหลังเก็บเมล็ด (ระ ยะเวลาในเรือนเพาะชำนับจากเริ่มเพาะเมล็ดถึงวันที่ปลูกลง แปลงปลูก 15-16 เดือน) หรืออาจเก็บเมล็ดไว้ทอ่ี ณ ุ หภูมิ ห้องก่อนที่จะนำมาเตรียมและเพาะในเดือนพฤศจิกายน

กล้าไม้สะเดาช้างโตเร็ว (>2 ม. เมือ่ หมดฤดูฝนทีส่ อง

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก อัตรารอดของต้นไม้ชนิดนี้จะเพิ่มขึ้นถ้าใช้กระดาษแข็ง คลุมโคนต้น เพิ่มการกำจัดวัชพืชและให้ปุ๋ยในช่วงฤดูแล้ง

ประโยชน์ ไม้ มีความคงทนเหมาะสำหรับการสร้างบ้าน และ เฟอร์นิเจอร์ ใช้เป็นไม้ฟืน และทำถ่าน ใบเหมาะสำหรับ เป็ น อาหารสั ต ว์ ปลู ก เพื ่ อ เป็ น ไม้ ใ ห้ ร ่ ม สำหรั บ การปลู ก กาแฟ ป้ อ งกั น การพั ง ทลายของตลิ ่ ง และรากช่ ว ยตรึ ง ไนโตรเจนให้ดนิ

146

ปลูกให้เป็นป่า


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib (Leguminosae, Caesalpinioideae)

มะค่าโมง

ไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ สูงได้ถงึ 30 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางทีร่ ะดับอก ถึง 1.5 ม.) ในปัจจุบนั จัดอยูใ่ นสถานะภาพใกล้ สูญพันธุ์ เนือ่ งจากไม้มรี าคาสูงจึงมีการตัดเพือ่ นำไปขายมาก

พืน้ ทีท่ พ่ี บ อินโดจีน ยกเว้น ภาคใต้ของไทยพบได้มากในป่าสัก เสื่อมโทรม หรือ ป่าผลัดใบผสมไผ่ ที่ระดับ 350-500 ม.

ลักษณะเด่น ลำต้นขนาดใหญ่มพี พู อนเล็กๆ เปลือก: สีนำ้ ตาลอ่อน มีรอยแตกลึก ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ ใบย่อย 3-5 คู่ (5-9 ซม. x 4-5 ซม.) มักทิง้ ใบในช่วงมกราคมกุมภาพันธ์ ดอก: ยาว 5-15 ซม. สีแดง มีนาคม-เมษายน ผล: ฝักแบบฝักถัว่ รูปไข่ (ยาว 10-12 ซม.) เปลือกแข็ง เปลีย่ นเป็นสีดำเมือ่ แก่จดั เมล็ดขนาด 2 x 1.5 ซม. สีดำหรือ น้ำตาลเข้ม มีขว้ั ขนาดใหญ่สเี หลือง ติดผลเดือนมิถนุ ายนมีนาคม กระจายเมล็ดโดยสัตว์

ลักษณะในการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง กล้าไม้มะค่าโมงทีป่ ลูกในพืน้ ทีป่ า่ ผลัดใบเสือ่ มโทรมมี อัตราการรอดสูง (>ร้อยละ 80 เมือ่ หมดฤดูฝนทีส่ องหลัง ปลูก) แต่โตค่อนข้างช้า ต้นไม้มพี มุ่ กว้างและหนาทึบยับยัง้ การเจริญของวัชพืชได้ดี และเป็นทีใ่ ห้นกเกาะ ต้นไม้ชนิดนีม้ ี ความสามารถในการตรึงไนโตรเจนจึงเหมาะสำหรับการฟืน้ ฟูปา่ ในทีต่ ำ่ โดยเฉพาะในพืน้ ทีท่ ด่ี นิ มีธาตุอาหารต่ำ

19 วัน กล้าไม้ชนิดนีม้ กั ถูกแมลงกินใบจึงควรตรวจตรา อย่างสม่ำเสมอ กล้าไม้จะโตพร้อมปลูกในฤดูปลูกทีส่ องหลัง เก็บเมล็ด (ระยะเวลาในเรือนเพาะชำนับจากเริ่มเพาะเมล็ด ถึงวันทีป่ ลูกลงแปลงปลูก 14 เดือน) เมือ่ มีความสูงประมาณ 40-50 ซม. เมล็ดสามารถเก็บไว้ทอ่ี ณ ุ หภูมหิ อ้ งได้นาน 1 ปี

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก ใช้กระดาษกล่องคลุมโคนต้นเมือ่ ปลูก กำจัดวัชพืชและ ให้ปยุ๋ เท่าทีจ่ ำเป็น ต้นไม้ชนิดนีเ้ หมาะสำหรับการปลูกแบบ หยอดเมล็ดโดยตรง

ประโยชน์ ไม้เนือ้ แข็งสวยเหมาะสำหรับทำเฟอร์นเิ จอร์ชน้ั ดี งาน แกะสลัก โครงสร้างบ้านและพื้นกระดาน ยางไม้จากเปลือก ใช้ในการย้อมหนัง ตรึงไนโตรเจนได้จงึ เหมาะสำหรับปลูก เพือ่ ปรับปรุงดิน และวนเกษตร หลาย ๆ ส่วนของไม้ชนิดนี้ มีฤทธิท์ างยา

การเพาะกล้าไม้ เก็บเมล็ดจากพืน้ ในเดือนพฤษภาคม ใช้มดี ตัดขัว้ เมล็ด ออก (ระวังอย่าให้ตน้ อ่อนถูกทำลาย) จากนัน้ ใช้มดี เฉือน เปลือกหุม้ เมล็ดด้านตรงข้ามกับทีข่ ว้ั ติดอยู่ แช่เมล็ดในน้ำข้าม คืนก่อนทีจ่ ะเพาะเมล็ดลงในภาชนะปลูกโดยตรง (ถุงละ 1 เมล็ด) เมล็ดจะงอกพร้อม ๆ กันประมาณ 3 สัปดาห์หลัง จากนัน้ อัตราการงอกร้อยละ 60-70 ค่ากลางระยะพักตัว

ปลูกให้เป็นป่า

147


พ ร ร ณ ไ ม้ โ ค ร ง ส ร้ า ง ***********************

Archidendron clypearia (Jack) Niels. (Leguminosae, Mimosoideae)

มะขามแป

ไม้ชน้ั รองทนร่มไม่ผลัดใบ ขนาดเล็ก สูงได้ถงึ 15 ม.

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง

จากศรีลงั กา อินเดีย พม่า ไปจนถึง จีนตอนใต้ อินโด กล้าไม้รอดชีวติ ได้ดเี มือ่ ปลูกในพืน้ ทีป่ า่ ดิบเดิม (มาก จีน มาเลเซีย และ ฟิลปิ ปินส์ ในภาคเหนือของไทยพบมาก กว่าร้อยละ 70 เมือ่ หมดฤดูฝนทีส่ องหลังปลูก) กล้าไม้จะโต ในป่าดิบทีก่ ำลังฟืน้ ตัว ทีร่ ะดับ 1,000-1,650 ม. พบในไร่ ช้า ๆ ในช่วงแรกจากนัน้ อัตราการเจริญเติบโตจะเพิม่ ขึน้ เมือ่ ร้างทีม่ อี ายุมากกว่า 3 ปี ปลูกไป 2-3 ปี เริม่ ติดดอกออกผลในปีท่ี 4 และ ให้ลกู ไม้ รุน่ ทีส่ องหลังปลูกได้ 6 ปี กล้าไม้ใหม่นเ้ี จริญเติบโตได้ดใี ต้ ร่มเงาในแปลงพรรณไม้โครงสร้าง พบกล้าไม้ธรรมชาติชนิด ลักษณะเด่น อืน่ ๆ มาเจริญอยูใ่ ต้ตน้ มะขามแปหลังปลูกได้ 3 ปี ต้นไม้น้ี เปลือก: สีน้ำตาลแดงมีรอยแผลซิกแซกตามลำต้น สามารถตรึงไนโตรเจนได้จึงเหมาะสำหรับการปลูกเพื่อปรับ ใบ: ใบประกอบแบบขนนกสองชัน้ ยาว 15-50 ซม. ใบย่อย ปรุงดินในพืน้ ทีเ่ สือ่ มโทรม ออกตรงข้าม ใบบนมีขนาดใหญ่สดุ 4-7 x 2-3 ซม. ใบแก่สี เขียวเข้ม มีขนด้านล่าง หูใบเป็นสัน/ปีก ดอก: ดอกออก การเพาะกล้าไม้ เป็นช่อใหญ่ ดอกสีขาว หรือ เหลืองจาง ช่วงกุมภาพันธ์มีนาคม ผล: ฝักแบบฝักถัว่ สีนำ้ ตาลส้มเมือ่ แก่ เปลือก เก็บฝักทีแ่ ก่จดั จากต้นแม่ในเดือนพฤษภาคม-มิถนุ ายน บางบิดเป็นเกลียว แตกเห็นเมล็ดรูปไข่ สีดำมันด้านใน (ฝัก แกะเมล็ดออกจากฝัก แช่นำ้ ไว้หนึง่ คืน จากนัน้ เพาะในถาด ละ 6-8 เมล็ด) ติดผลมีนาคม-มิถนุ ายน กระจายเมล็ดด้วย ทีไ่ ด้รบั แสงเต็มที่ อัตราการงอกร้อยละ 50-70 ค่ากลางระ ลม ยะพักตัว 14 วัน ย้ายกล้าเมือ่ มีใบแท้คแู่ รก กล้าไม้จะโต พร้อมปลูกในฤดูปลูกทีส่ องหลังเก็บเมล็ด เมือ่ มีความสูง ประมาณ 30 ซม. (ระยะเวลาในเรือนเพาะชำนับจากเริ่ม เพาะเมล็ดถึงวันทีป่ ลูกลงแปลงปลูก 13-14 เดือน)

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก กล้าไม้ชนิดนีจ้ ะเจริญเติบโตได้ดถี า้ ใช้กระดาษ กล่องคลุมโคนต้น

ประโยชน์ ไม้เหมาะสำหรับงานไม้ เฟอร์นเิ จอร์ ทำรัว้ อุปกรณ์ในครัว ลังไม้ และใช้เป็นไม้ฟนื

148

ปลูกให้เป็นป่า


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

Balakata baccata (Roxb.) Ess. (Euphorbiaceae)

สลีนก

ชือ่ พ้อง : Sapium baccatum Roxb. ไม้ไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ เป็นไม้เบิกนำทีพ่ บได้บอ่ ย สูงได้ถงึ 25 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางทีร่ ะดับอกถึง 60 ซม.)

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

การเพาะกล้าไม้

จากเทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก และภาคเหนือของ อินเดีย จนถึง จีนตอนใต้ พม่า ไทยและต่อไปทางตะวันออก เฉียงใต้ถงึ แหลมมาลายู สุมาตรา และ บอร์เนียว ในภาค เหนือของไทย พบมากในป่าดิบผสมป่าผลัดใบและป่าดิบที่ ระดับ 400-1,350 ม. หรือในระดับความสูงทีต่ ำ่ กว่านัน้ บริเวณลำธาร

เก็บผลทีแ่ ก่จดั (สีมว่ ง) ในเดือนกรกฎาคม แช่นำ้ ไว้ 48 ชัว่ โมง จากนัน้ ล้างเนือ้ ทีต่ ดิ เมล็ดออก ตากเมล็ดให้แห้งจาก นัน้ เพาะในถาดทีไ่ ด้รบั แสงเต็มที่ เมล็ดงอกไม่พร้อมกันจะ ทยอยงอกจนถึงสัปดาห์ท่ี 16 อัตราการงอกร้อยละ 70 ค่า กลางระยะพักตัว 60-70 วัน กล้าไม้คอ่ นข้างเปราะหักง่าย มักถูกทำลายโดยหนอนผีเสือ้ และ โรค bacterial blight ควรมีมาตรการป้องกันทีเ่ หมาะสม ย้ายกล้าเมือ่ มีใบแท้คู่ แรก กล้าไม้จะโตพร้อมปลูกในฤดูปลูกแรกหลังงอก (ระยะ เวลาในเรือนเพาะชำนับจากเริม่ เพาะเมล็ดถึงวันทีป่ ลูกลงแปลง ปลูก 12 เดือน) อย่าตัดแต่งเพราะจะทำให้กล้าตาย

ลักษณะเด่น เปลือก : หนา ขรุขระ มีรอยแตกตามแนวตัง้ สีดำ มีรู อากาศขนาดใหญ่เมือ่ อายุนอ้ ย ใบ : ใบเรียงแบบวนรอบ ใบ เดีย่ ว รูปไข่ ถึงวงรี ด้านล่างสีขาว 8-18 x 3-8 ซม. ดอก : ดอกขนาดเล็ก แยกเพศ ออกเป็นช่อยาว ในช่วงกุมภาพันธ์สิงหาคม ผล : ผลกลม มีเมล็ดแข็งข้างใน เมือ่ สุกมีสมี ว่ ง ดำ 14.9 x 14.3 x 12.1 มม. เนือ้ ในเหนียวสีขาว เมล็ดสีดำ (5.3 x 4.2 x 4.1 มม.) มี 1-2 เมล็ดต่อผล ติดผลเมษายนธันวาคม กระจายเมล็ดโดยกระรอกและนก

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก ลำต้นของกล้าไม้ชนิดนีไ้ ม่แข็งแรงจึงต้องระมัดระวังเป็น พิเศษในระหว่างการขนย้าย การใช้ไม้คำ้ ตอนปลูกจะช่วยลด การตายหลังปลูก อย่าปลูกสลีนกในพืน้ ทีท่ ม่ี รี ม่ เงาปกคลุม เหมาะสำหรับการปลูกแบบหยอดเมล็ดโดยตรง

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง

ประโยชน์

ถึงแม้วา่ อัตรารอดของกล้าไม้จะอยูแ่ ค่ระดับพอใช้ แต่ กล้าไม้ทร่ี อดชีวติ โตเร็วมาก โดยเฉลีย่ จะสูงมากกว่า 3 ม. และมีพมุ่ หนากว้างถึง 2.5 ม. เมือ่ หมดฤดูฝนทีส่ องหลังปลูก ต้นไม้ชนิดนีม้ กั แตกกิง่ แรกทีค่ วามสูงประมาณ 0.5-1.0 ม. ทำให้บงั แสงวัชพืชได้ดแี ละสร้างพืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสมสำหรับให้นก ทำรังหลังปลูกเพียง 2 ปี ผลดึงดูดทัง้ สัตว์เลีย้ งลูกด้วยนม และนกได้ดี กล้าไม้ธรรมชาติของไม้อื่นเริ่มมาขึ้นใต้ร่มของ สลีนกหลังปลูกได้ 4 ปี ต้นไม้ชนิดนีย้ งั ต้องการการวิจยั เพือ่ เพิม่ อัตราการรอดชีวติ หลังปลูก

ต้นไม้ชนิดนีเ้ ป็นไม้เนือ้ อ่อน ไม่ทน จึงเหมาะกับงานก่อสร้าง ชัว่ คราว ทำกล่องหรือลังไม้ ผลรับประทานได้ เปลือกเป็นส่วน ผสมของยา แผนโบราณ หลายชนิด

ปลูกให้เป็นป่า

149


พ ร ร ณ ไ ม้ โ ค ร ง ส ร้ า ง ***********************

Bischofia javanica Bl. (Euphorbiaceae)

เติม

ไม้ขนาดใหญ่พบได้ทว่ั ไป ชอบแสง ไม่ผลัดใบ (หรือทิง้ ใบช่วงสัน้ ๆ) สูงได้ถงึ 35 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางทีร่ ะดับอก ถึง 80 ซม.)

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง

จากเทือกเขาหิมาลัย ถึง จีน อินโดจีน เอเซียตะวันออก มาเลเซีย ทางเหนือของออสเตรเลีย เกาะตองกาและซามัว ในทะเลแปซิฟกิ ในภาคเหนือของไทยพบในป่าดิบ ป่าดิบ ผสมป่าผลัดใบและป่าผลัดใบผสมไผ่ โดยเฉพาะริมธารน้ำ ทีค่ วามสูง 525-1,250 ม.

อัตรารอดของกล้าไม้สงู ร้อยละ 60-80 เมือ่ หมดฤดูฝน ทีส่ องหลังปลูก แต่โตค่อนข้างช้า นกเริม่ เข้ามาอาศัยทำรัง หลังปลูกได้ 5 ปี และเริม่ ติดผลในปีท่ี 6 พบกล้าไม้ธรรม ชาติขน้ึ บริเวณใต้ตน้ เติมทีม่ อี ายุ 6 ปี เมือ่ ถูกไฟไหม้สามารถ รอดชีวติ และแตกยอดใหม่ได้ดี (ต้นไม้ทม่ี เี ส้นผ่าศูนย์กลาง คอราก มากกว่า 20 มม. หลังปลูกได้ 33 เดือน รอดชีวติ หลังไฟไหม้มากกว่าร้อยละ 80)

ลักษณะเด่น เปลือก: บาง แตกเป็นทางยาว เป็นเกล็ดหรือแผ่น สี น้ำตาลแดง ยางสีแดงเข้ม ใบ: ใบเรียงแบบวนรอบ ใบประ กอบ 3 ใบ แบบขนนก แผ่นใบรูปไข่ถงึ รูปรี ไม่มขี น 6.514.5 x 3.5 - 6.5 ซม. ขอบใบซีห่ ยักตืน้ ๆ ในพืน้ ทีต่ ำ่ อาจ เปลีย่ นใบในช่วงกุมภาพันธ์-มีนาคม ดอก: ออกตามซอก ใบ เป็นช่อแตกแขนง จำนวนมากสีเขียว-เหลือง ไม่มกี ลีบ ดอก ขนาดประมาณ 2 มม. กุมภาพันธ์-มีนาคม ผล: ผล เมล็ดแข็ง กลม เมือ่ สุกสีนำ้ ตาลดำ5-10 x 5-10 มม. มี 3-4 พูตอ่ ผล แต่ละผลมี 2 เมล็ด 4.6 x 3.3 มม. ติ ด ผล มิ ถ ุ น ายนกุมภาพันธ์ กระจายเมล็ด โดยสัตว์

การเพาะกล้าไม้ เก็บผลสุกในเดือนตุลาคม (ยิง่ เก็บได้เร็วยิง่ ดี) นำผลใส่ ตะแกรงบี้ให้เมล็ดหลุดออกมาโดยเปิดน้ำผ่าน ตากเมล็ดให้ แห้ง จากนัน้ เพาะเมล็ดลงในวัสดุเพาะ ดิน : ทราย 1:1 โดย ฝังตืน้ ๆ ให้มรี ะยะห่างพอสมควรเพือ่ ป้องกันการเกิดโรค เน่าคอราก เมล็ดงอกไม่พร้อมกันจะทยอยงอกจนถึงสัปดาห์ ที่ 6 อัตราการงอกร้อยละ 80 ค่ากลางระยะพักตัว 26 วัน ย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้คู่แรก การให้ปุ๋ยสำคัญสำหรับกล้าไม้ ชนิดนี้ กล้าไม้มกั ถูกทำลายโดยหนอนผีเสือ้ แมลงสร้างปุม่ ปมตามลำต้นและแมลงทีท่ ำให้ใบม้วนงอ ทำลายต้นกล้าที่ เป็นโรคและพ่นยาต้นทีเ่ หลืออยูถ่ า้ ใส่ปยุ๋ ให้กล้าไม้จะโตพร้อม ปลูกในฤดูปลูกแรก (ระยะเวลาในเรือนเพาะชำนับจากเริม่ เพาะเมล็ดถึงวันทีป่ ลูกลงแปลงปลูก 9 เดือน)

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก เติมเจริญเติบโตดีเมือ่ ใส่ปยุ๋ และใช้กระดาษแข็งคลุมโคน ต้น ดูให้แน่ใจว่ากล้าไม้ไม่ถกู ไม้ทอ่ี ยูใ่ กล้เคียงบดบังแสง

ประโยชน์ ไม้ใช้กอ่ สร้าง ทำคาน ปูพน้ื แกะสลัก และเผาถ่านหรือ ใช้ทำเยือ่ กระดาษ เปลือกใช้ทำสียอ้ มสีแดงและมีแทนนิน

150

ปลูกให้เป็นป่า


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

Castanopsis acuminatissima (Bl.) A. DC. (Fagaceae)

ก่อเดือย

ไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง ทนร่ม สูงได้ถงึ 25 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางระดับอก ถึง 1 ม.)

พืน้ ทีท่ พ่ี บ จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียถึง จีน ไต้หวัน ไทย แหลมมาเลเซีย ชวา ซาบาห์ สุลาเวสี และปาปัวนิวกินี ในภาคเหนือของไทยพบมากในป่าดิบ ป่าดิบผสมสน และป่า ดิบผสมป่าผลัดใบ ทีค่ วามสูง 760-2,100 ม.

ลักษณะเด่น เปลือก: น้ำตาลอมเทา หนา แตกเป็นร่องยาว ใบ: ใบ เดีย่ วเรียงแบบวนรอบ ใบรูปขอบขนานถึงรูปหอก 10-15 x 3-5 ซม. ขอบใบครึง่ บนเป็นหยักตืน้ ๆ จนถึงปลายใบ ใบ ทีโ่ ตเต็มทีส่ เี ขียวอ่อน ด้านล่างมีขนสัน้ ๆ สีขาวเล็กน้อย ดอก: ออกเป็นช่อแน่น สีครีมมีกลิน่ หอม ยาวประมาณ 5 มม. ในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผล: ผลเดีย่ ว เปลือก แข็ง (nut) 8-10 x 7-8 มม. เปลือกนอกคลุมปิดทัง้ ผล (ยาว ประมาณ 1 ซม.) มีหนามสัน้ ๆ กระจายอยูเ่ ป็นกลุม่ ๆ สีนำ้ ตาลอ่อนเมือ่ แก่ ติดผลกันยายน-ตุลาคม กระจายเมล็ดโดย สัตว์

ร้อยละ 50 ค่ากลางระยะพักตัว 13 วัน แต่เมล็ดงอกไม่ พร้อมกันและอาจทยอยงอกไปจนถึงวันที่ 60 ย้ายกล้าเมือ่ มี ใบแท้คแู่ รก กล้าไม้จะโตพร้อมปลูกในฤดูทส่ี องหลังจาก เพาะ (ระยะเวลาในเรือนเพาะชำนับจากเริ่มเพาะเมล็ดถึงวัน ทีป่ ลูกลงแปลงปลูก 21 เดือน)

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก กล้าไม้ชนิดนีเ้ จริญเติบโตดีเมือ่ ใช้กระดาษแข็งคลุมโคน ต้นเวลาปลูก

ประโยชน์ ผลกินได้ ใบสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ ไม้เหมาะสำ หรับก่อสร้างและใช้เป็นไม้ฟนื ในภาคเหนือของไทยใช้กง่ิ ทีต่ ดั ออกมาสำหรับเพาะเห็ด เปลือกมีสารแทนนินใช้เป็นยา ระบายและใช้เคี้ยวกับหมาก

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง กล้าไม้รอดชีวติ ได้ดแี ละโตเร็วเมือ่ ปลูกในแปลง ถ้าคลุม โคนต้น เมือ่ หมดฤดูฝนทีส่ องหลังปลูก อัตรารอดมากกว่า ร้อยละ 80 สูงมากกว่า 2.5 ม. ทรงพุม่ กว้างมากกว่า 1.3 ม. ก่อเดือยเริม่ มีนกเข้ามาอาศัยทำรังหลังปลูกได้ 2.5 ปี ต้น ไม้ชนิดนีแ้ ตกยอดใหม่จากตอเดิมได้ดที ำให้ฟน้ื ตัวได้เร็วหลัง ถูกไฟไหม้

การเพาะกล้าไม้ เก็บผลสีนำ้ ตาลในเดือนตุลาคม แกะเปลือกนอกออกคัด เมล็ดเสียทิง้ โดยแช่เมล็ดในน้ำแล้วคัดเมล็ดทีล่ อยน้ำออก เพาะเมล็ดในถาดเพาะที่วางไว้ในที่มีแสงรำไร อัตราการงอก

ปลูกให้เป็นป่า

151


พ ร ร ณ ไ ม้ โ ค ร ง ส ร้ า ง ***********************

Castanopsis tribuloides (Sm.) A. DC. (Fagaceae)

ก่อใบเลือ่ ม

ไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง ทนร่ม สูงได้ถงึ 18 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางทีร่ ะดับอกถึง 70 ซม.)

พืน้ ทีท่ พ่ี บ ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง จากหิมาลัยถึง จีน พม่า และอินโดจีน ในภาคเหนือของ ไทยพบมากในป่าดิบผสมป่าผลัดใบ และ ป่าดิบผสมสน มัก เป็นชนิดทีอ่ ยูใ่ นการเปลีย่ นแปลงแทนทีข่ น้ั ท้าย ๆ ของป่า ที่ ระดับ 650-1,650 ม.

ลักษณะเด่น เปลือก: เทาเข้มหรือน้ำตาล หนา แตกตามแนวตัง้ ใบ: ใบเดีย่ วเรียงแบบวนรอบ ใบรูปขอบขนานถึงรูปหอก ขอบใบ หยักตืน้ ๆ ในช่วงบนจนถึงปลายใบ ใบด้านบนเป็นมันสีเขียว เข้ม ด้านล่างสีเขียวออกเงินหรือเหลือง 10-16 x 2.5-5.5 ซม. ดอก: ดอกแยกเพศ ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกตัว ผูม้ จี ำนวนมาก มีกลิน่ ดอกเพศเมียขนาดเล็ก ออกเดือน เมษายน-พฤษภาคม ผล: ผลเดีย่ วเปลือกแข็ง ค่อนข้าง กลม สีนำ้ ตาลเมือ่ แก่ 7.2 x 6.4 x 5.9 มม. เปลือกนอกมี หนามแข็งแหลมยาว 3-5 มม. ปกคลุมทัง้ ผล ผลมี 1 เมล็ด ผลติดมากทีส่ ดุ ในช่วงกันยายน-พฤศจิกายน แต่ไม่ตดิ ผล ทุกปี กระจายเมล็ดด้วยชะมดและสัตว์อน่ื

กล้าไม้มอี ตั รารอดชีวติ สูงและโตเร็วพอสมควร เมือ่ ปลูก ในแปลง (อัตรารอดมากกว่าร้อยละ 70) สูงมากกว่า 1.5 ม. ถึงแม้ทรงพุม่ จะค่อนข้างแคบ แต่สามารถควบคุมวัชพืชได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ต้นไม้ชนิดนีเ้ ริม่ ออกดอกตัง้ แต่อายุ 3 ปีหลังจากปลูกและติดผลในปีท่ี 5 แตกยอดใหม่ได้ดหี ลัง ถูกไฟไหม้ และสามารถงอกจากเมล็ดได้ดี ไม้ชนิดนีช้ อบที่ ร่มจึงเหมาะสำหรับการปลูกเสริมใต้ร่มเงาของไม้เดิมในพื้นที่

การเพาะกล้าไม้ เก็บผลสีนำ้ ตาลในเดือนกันยายน แกะเปลือกนอกออก แช่เมล็ดในน้ำแล้วคัดเมล็ดเสียทีล่ อยน้ำทิง้ เพาะเมล็ดใน ถาดเพาะทีว่ างไว้ในทีม่ แี สงรำไร อัตราการงอกร้อยละ 80 ค่ากลางระยะพักตัว 31 วัน แต่เมล็ดงอกไม่พร้อมกันและ อาจทะยอยงอกไปจนถึงวันที่ 80 ย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้คู่แรก กล้าไม้ที่อยู่ในถุงเพาะโตค่อนข้างช้าและต้องเลี้ยงไว้ในเรือน เพาะชำจนถึงฤดูปลูกทีส่ องหลังเพาะ (ระยะเวลาในเรือน เพาะชำนับจากเริ่มเพาะเมล็ดถึงวันที่ปลูกลงแปลงปลูก 22 เดือน) ถ้าต้องการผลิตกล้าไม้ให้เร็วขึน้ ควรทดลองเก็บกล้า ไม้ จ ากธรรมชาติ ม าดู แ ลในเรื อ นเพาะชำ (ดู ก รอบ 6.2)

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก ปลูกในทีร่ ม่ กล้าไม้ชนิดนีเ้ จริญเติบโตดีเมือ่ ใช้กระดาษ แข็งคลุมโคนต้น

ประโยชน์ ไม้ใช้สำหรับก่อสร้างและใช้ทำไม้ฟนื ผลกินได้ ใบเหมาะ สำหรับเป็นอาหารสัตว์ ไม้ทเ่ี ริม่ ผุเหมาะสำหรับเพาะเห็ด

152

ปลูกให้เป็นป่า


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

Elaeocarpus lanceifolius Roxb. (Elaeocarpaceae)

มะมืน่ , พีพา่ ย

ไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง ทนร่ม สูงได้ถงึ 20 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางทีร่ ะดับอก ถึง 40 ซม.)

แล้ว หรือเก็บเมล็ดไว้หลาย ๆ เดือนก่อนจะเพาะ (เก็บไว้ใน ถังทีอ่ ณ ุ หภูมหิ อ้ งไม่ตอ้ งปิดฝา) ย้ายกล้าเมือ่ มีใบแท้คแู่ รก กล้าไม้โตพร้อมปลูกในฤดูปลูกที่สองหลังเพาะ (ระยะเวลา จากยูนานและอินเดีย อินโดจีน ไปจนถึงอินโดนีเซีย ใน ในเรือนเพาะชำนับจากเริ่มเพาะเมล็ดถึงวันที่ปลูกลงแปลง ภาคเหนือของไทยพบมากในป่าดิบทีค่ วามสูง 900-1,550 ม. ปลูก 2-21 เดือน) จะผลิตกล้าไม้ได้เร็วขึ้นถ้าใช้กิ่งปักชำ

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

ลักษณะเด่น

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก

เปลือก : สีเทา บาง สากเล็กน้อย ใบ: ใบเดีย่ ว เรียง การใช้กระดาษแข็งคลุมโคนต้นเวลาปลูกทำให้อตั รารอด แบบวนรอบ รูปรีแคบหรือรูปไข่ 8-17 x 4-7 ซม. หัวท้าย เพิ่มขึ้น เมล็ดมักถูกทำลายโดยสัตว์กินเมล็ด ควรระวัง เรียว ดอก: ดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อกระจายบริเวณ ซอกใบ ยาว 5-12 ซม. กลีบเลี้ยง 5 รูปหอก 4-5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ สีครีมหรือขาว รูปไข่คว่ำ ยาวกว่ากลีบ ประโยชน์ เลีย้ งเล็กน้อย ขอบมีขน ออกเดือนมิถนุ ายน-กรกฎาคม ผล: ไม้เป็นไม้เนือ้ อ่อน ใช้สำหรับการก่อสร้างเล็ก ๆ ใช้ทำ ผลมีเนือ้ เมล็ดแข็ง (แบบ drupe) รูปไข่ สีนำ้ ตาลหรือครีม เมือ่ สุก 3.5 x 2-3 มม. ผลติดตุลาคม-พฤศจิกายน กระจาย กล่องบรรจุชา ทำถ่าน ผลกินได้ เมล็ดโดยสัตว์

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง กล้าไม้มอี ตั รารอดชีวติ สูงและโตเร็วพอสมควร เมือ่ ปลูก ในแปลง (อัตรารอดมากกว่าร้อยละ 80 สูงมากว่า 1.8 ม. หลังฤดูฝนที่ 2 หลังจากปลูก) มีพมุ่ หนากว้างมากกว่า 1 ม. ทำให้ครอบครองพืน้ ทีไ่ ด้เร็ว ผลทีม่ เี นือ้ มากดึงดูดนกและ สัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมหลายชนิด

การเพาะกล้าไม้ เก็บผลสุกที่ตกอยู่บนพื้นในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน แช่ในน้ำข้ามคืนจากนัน้ ขัดเนือ้ ออก ใช้มดี ทำให้เมล็ดเกิด แผล จากนัน้ แช่นำ้ ข้ามคืนอีกครัง้ คัดเมล็ดเสียทีล่ อยน้ำทิง้ เพาะเมล็ดในถาดเพาะทีว่ างไว้ในทีร่ ม่ อัตราการงอกค่อน ข้างต่ำ ร้อยละ 25-50 ค่ากลางระยะพักตัว 250-260 อัตรา การงอกจะเพิม่ ขึน้ ถ้าเพาะจากเมล็ดทีแ่ ก่จดั ทีต่ กอยูใ่ ต้ตน้ นาน

ปลูกให้เป็นป่า

153


พ ร ร ณ ไ ม้ โ ค ร ง ส ร้ า ง ***********************

Erythrina subumbrans (Hassk.) Merr. (Leguminosae, Papilionoideae)

ทองหลางป่า

ไม้เบิกนำขนาดกลาง ผลัดใบ สูงได้ถงึ 25 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางทีร่ ะดับอก ถึง 86 ซม.)

พืน้ ทีท่ พ่ี บ อินเดีย พม่า และอินโดจีนไปจนถึงมาเลเซีย ฟิจแิ ละ ซามัว ในภาคเหนือของไทยพบขึ้นอยู่ประปรายในป่าดิบและ ป่าดิบผสมป่าผลัดใบ ทีค่ วามสูง 500-1,680 ม.

ลักษณะเด่น เปลือก: สีเทา บาง มีปมุ่ สีดำอมน้ำตาลทีป่ ลายเป็น หนาม ใบ: ใบเรียงแบบสลับ ใบประกอบแบบขนนก 3 ใบ ย่อยรูปไข่ ขอบใบเรียบ ใบย่อยใบกลาง 10-14 x 8-12 มม. ดอก: สมบูรณ์เพศ ยาว 4-5 ซม. กลีบดอกสีแดงสด ออกเดือนธันวาคม-มีนาคม ผล: ผลแบบฝักถัว่ สีนำ้ ตาล 15.5 x 1 ซม. เมล็ดสีนำ้ ตาลเข้ม รูปไต 1 x 0.9 มม. ติดผล มีนาคม-เมษายน เมล็ดกระจายโดยลม

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง กล้าไม้ทองหลางป่ามีอตั รารอดชีวติ สูงและโตเร็วเมือ่ ปลูก ลงแปลง (อัตรารอดมากกว่าร้อยละ 80 สูงมากกว่า 2.5 ม. พุม่ กว้าง 2.6-2.8 ม. หลังฤดูฝนที่ 2 หลังจากปลูก) พุม่

กว้างทิง้ ใบในช่วงแล้ง สร้างชัน้ ใบไม้หนาบนพืน้ ป่าทำให้เกิด สภาพทีเ่ หมาะสำหรับการงอกของเมล็ดไม้ ดอก ผล ดึงดูด ให้นกเข้ามาทำรังตัง้ แต่ปที ่ี 4 หลังปลูก ดอกสีสม้ แดงมีนำ้ หวานดึงดูดนกและกระรอกหลายชนิด เมล็ดที่ถูกนำมาโดย สัตว์เหล่านี้ ทำให้พบกล้าไม้ธรรมชาติหลายชนิดงอกอยู่ รอบ ๆ ต้นทองหลางป่าตัง้ แต่ในปีท่ี 5 หลังปลูกต้นไม้นเ้ี ป็น พืชตระกูลถัว่ จึงช่วยเพิม่ ไนโตรเจนให้แก่ดนิ

การเพาะกล้าไม้ เก็บเมล็ดจากฝักทีร่ ว่ งในเดือนมีนาคม แช่เมล็ดในน้ำ ข้ามคืน เลือกเมล็ดเสียทีล่ อยน้ำออกทิง้ นำเมล็ดทีบ่ วมน้ำ แล้วไปเพาะลงภาชนะปลูกโดยตรง วางให้ได้รบั แสงเต็มที่ ครอบด้วยตะแกรงลวดเพือ่ ป้องกันหนูและกระรอก อัตรา การงอกร้อยละ 40-60 ค่ากลางระยะพักตัว 7-14 วัน ใน ช่ ว งปลายหน้ า ฝนระวั ง การเข้ า ทำลายของหนอนม้ ว นใบ (Lepidoptera, Pyralidae) ไม่ตอ้ งให้ปยุ๋ หรือตัดแต่งกล้า ไม้ชนิดนี้ กล้าไม้สามารถนำไปปลูกได้เมือ่ มีความสูง ประมาณ 30 ซม. ซึง่ ปกติจะใช้เวลา 3-4 เดือนหลังจากเพาะ

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก ลำต้นทองหลางป่าทีย่ งั เล็กค่อนข้างเปราะและหักง่ายจึง ต้องระมัดระวังเมือ่ ปลูก การใช้ไม้คำ้ สามารถลดอัตราการ ตายหลังปลูกได้ ต้นไม้ชนิดนีเ้ จริญได้ดขี น้ึ เมือ่ ได้รบั ปุย๋ และใช้ กระดาษกล่องคลุมโคนต้นเวลาปลูก ทองหลางป่าไม่วา่ ต้น เล็กหรือต้นที่โตเต็มที่แล้วถูกทำลายด้วยหนอนเจาะลำต้นได้ ง่าย อย่าปลูกต้นไม้นใ้ี นทีท่ อ่ี าจมีไม้อน่ื มาบดบังแสง

ประโยชน์ กิง่ ของทองหลางป่าแตกรากใหม่ได้งา่ ยจึงนิยมนำมาปลูก เป็นรั้ว ไม้น้ำหนักเบาใช้แกะสลักและทำเครื่องใช้ในครัว ใบ ใช้เลีย้ งสัตว์

154

ปลูกให้เป็นป่า


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

Eugenia fruticosa (DC.) Roxb. (Myrtaceae)

หว้าขีก้ วาง

ชือ่ พ้อง: Syzygium fruticosum ไม้เบิกนำไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถงึ 12 ม.

พืน้ ทีท่ พ่ี บ ในอินเดีย พม่า จีนและ ไทย ในภาคเหนือของไทยพบ ขึน้ ทัว่ ไปในป่าดิบผสมสน ป่าผลัดใบเต็งรัง-ก่อ และป่าผลัด ใบผสมไผ่ ทีค่ วามสูง 350-1,525 ม. ไม้ชนิดนีพ้ บได้บอ่ ย ในพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลายและเป็นหนึง่ ในชนิดทีพ่ บว่ากลับเข้ามา ขึ้นเองในแปลงพรรณไม้โครงสร้างอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป

เอาเนือ้ ออก นำเมล็ดลงแช่นำ้ คัดเมล็ดเสียทีล่ อยน้ำทิง้ เพาะ เมล็ดลงในถาดที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ ย้ายถาดเพาะเข้ามาไว้ ในร่มทันทีเมือ่ เมล็ดงอก ปกติอตั ราการงอกมากกว่าร้อยละ 90 ค่ากลางระยะพักตัว 27-35 วัน ต้นกล้าอายุนอ้ ยถูกทำ ลายโดยเพลี้ยและหนอนผีเสื้อได้ง่าย ย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้คู่ แรก ต้นกล้าจะโตพร้อมปลูกในฤดูปลูกที่ 2 หลังจากเพาะ (ระยะเวลาในเรือนเพาะชำนับจากเริม่ เพาะเมล็ดถึงวันทีป่ ลูกลง แปลงปลูก 14 เดือน)

ลักษณะเด่น การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก เปลือก: สีนำ้ ตาลเข้ม เป็นแผ่นเล็ก ๆ ใบ: ใบเดีย่ ว กล้าไม้โตดีเมือ่ ใช้กระดาษแข็งคลุมโคนต้นเวลาปลูกใน ออกตรงกันข้าม แผ่นใบ 7.5 -11.5 x 3.5 – 6.5 ซม. ก้าน ใบมีสนั เล็ก ๆ ดอก: กลีบดอกสีเขียวเหลือง กลีบเลีย้ งเชือ่ ม ช่วงแรกต้นกล้าโตค่อนข้างช้า แต่ในปีท่ี 4-5 อัตราการเจริญ ติดกันยาว 2-3 มม. เกสรตัวผูว้ งนอกและก้านเกสรตัวเมีย เติบโตจะเพิม่ ขึน้ เหมาะสำหรับวิธกี ารหยอดเมล็ดโดยตรง 2-4.5 มม. ติดดอกมีนาคม-เมษายน ผล: มีเนือ้ แบบ berry ทรงกลมหรือรี เมือ่ สุกสีมว่ งดำ 8 x 13 มม. เนือ้ ฉ่ำน้ำ แต่ ประโยชน์ ละผลมี 1 เมล็ดสีเขียวหรือน้ำตาลอ่อน 8 x 6-7 มม. ติด ผลพฤษภาคม-กรกฎาคม สั ต ว์ ช ่ ว ยกระจายเมล็ ด พั น ธุ ์ ผลเป็นอาหารของทัง้ มนุษย์ และสัตว์ปา่ และใช้หมักทำ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง กล้าไม้มอี ตั รารอดชีวติ และอัตราการเจริญเติบโตในระดับ ยอมรับได้ (อัตรารอดร้อยละ 60-70 สูงมากกว่า 1.6 ม. พุม่ กว้างมากกว่า 1 ม. หลังฤดูฝนที่ 2 หลังจาก ปลูก) ทรง พุม่ ทีห่ นาทึบบดบังแสงได้ดี ทำให้ควบคุมวัชพืชได้ดี มักพบ เก้งและนกโดยเฉพาะในกลุม่ นกปรอดเข้ามากินผล ดอกมี น้ำหวานมากช่วยดึงดูดนกและกระรอก อย่างไรก็ตาม ต้อง ใช้เวลามากกว่า 7 ปีกอ่ นจะเริม่ ออกดอก

การเพาะกล้าไม้ เก็บผลแก่จดั จากโคนต้นแม่ในเดือนพฤษภาคม ลอก

Eugenia albiflora Duth. ex Kurz มะห้ า เป็นไม้ในกลุ่มเดียวกันและมีคุณลักษณะของพรรณไม้โครง สร้างคล้ายคลึงกันเริม่ ออกผลหลังจากปลูกได้ 4 ปี เพาะ และดูแลกล้าไม้ด้วยวิธีการแบบเดียวกับหว้าขี้กวาง

ปลูกให้เป็นป่า

155


พ ร ร ณ ไ ม้ โ ค ร ง ส ร้ า ง ***********************

Ficus species (Moraceae)

ไม้ในกลุม่ มะเดือ่ และไทร

ไม้ในกลุม่ มะเดือ่ และไทรมีทง้ั ทีเ่ ป็น ไม้เถา ไม้พมุ่ ไม้ขนาดเล็ก และไม้ยนื ต้น ไม้ในกลุม่ มะเดือ่ และไทรส่วนใหญ่เหมาะ สำหรับเป็นพรรณไม้โครงสร้าง ยกเว้นชนิดทีเ่ ป็นเถาซึง่ ไม่ควรนำมาปลูกอย่างน้อยในช่วงแรกของการฟืน้ ฟูพน้ื ที่ เนือ่ งจากไม้ ในกลุม่ นีส้ ว่ นใหญ่มลี กั ษณะทีค่ ล้ายกันจึงนำเสนอข้อมูลโดยรวมของทัง้ กลุม่ ไว้ในส่วนนี้

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

ลักษณะเด่น

ไม้ในกลุม่ มะเดือ่ และไทร พืชในสกุลนี้ (มากกว่า 1,000 ชนิด) พบอยูท่ ว่ั ไปในเขตร้อนและกึง่ ร้อนในทวีปอเมริกา แอฟริกา เอเซีย และออสเตรเลีย ในภาคเหนือของไทยพบ ไม้ตน้ ในสกุลนีอ้ ย่างน้อย 35 ชนิดขึน้ อยูใ่ นป่าทุกแบบ แต่ พบอยูใ่ นป่าดิบ (22 ชนิด) มากกว่าป่าผลัดใบ (13 ชนิด) บางชนิดเป็นไม้ขนาดใหญ่โดยเฉพาะกลุม่ ทีเ่ ป็น ไม้รดั พัน เช่น กร่าง (F. altissima) บางชนิดมีขนาดเล็กกว่าพบขึน้ อยู่ บนก้อนหินตามริมลำธาร เช่น สลอดหิน (F. heteroplura) บางชนิดพบขึน้ ในพืน้ ทีป่ า่ ทีถ่ กู ทำลาย เช่น มะเดือ่ ปล้อง (F. hispida), เดือ่ ขน (F. hirta) และ เดือ่ ปล้องหิน (F. semicordata) ในพืน้ ทีท่ พ่ี บไม้กลุม่ นีข้ น้ึ อยูแ่ ล้วไม่จำเป็นต้อง ปลูกเพิ่ม แต่ถ้าไม่มีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติควรปลูกรวมกับ พรรณไม้โครงสร้างอืน่ ๆ ด้วย

ผลของมะเดือ่ และไทรมีลกั ษณะเฉพาะตัวทีต่ า่ งจากพืช ชนิดอืน่ อย่างชัดเจนติดผลบริเวณกิง่ หรือลำต้นเกือบตลอดทัง้ ปี จริง ๆ แล้วผลของมะเดือ่ และไทรเป็นส่วนของฐานรองดอก ที่เจริญหุ้มดอกขนาดเล็กจำนวนมากมายไว้ด้านในโครงสร้าง ทั้งหมดนี้เรียกว่า “ไซโคเนียม” (syconium) ดอกที่อยู่ด้าน ในของผลนีต้ อ้ งอาศัยแมลงทีเ่ รียกว่าแตนไทรช่วยในการผสม เกสร โดยไทรและมะเดือ่ แต่ละชนิดมักพบแตนไทรต่างชนิด กันอาศัยอยู่ แตนไทรเพศเมียจะเข้าไปในผลจากทางด้าน ล่างและวางไข่ในดอกทีเ่ ป็นหมัน (gall flower) พร้อม ๆ กับ ผสมเกสรให้แก่ดอกเพศเมียในผลนั้น แตนไทรเพศผู้จะฟัก ออกจากไข่ก่อนและเข้าผสมพันธุ์กับเพศเมียทันทีที่ออกจาก ไข่แตนไทรเพศเมียทีอ่ อกจากผลมะเดือ่ หรือไทรไปจะนำละออง เรณูตดิ ไปด้วยและนำไปผสมกับดอกในผลของต้นอืน่ เมือ่ เข้าไป วางไข่

ชนิด

วิสยั

T (st) Ficus altissima Bl. F. benjamina L. var. TL (st) benjamina F. callosa Willd. T TL F. fistulosa Reinw. ex Bl. T แตนไทรเพศเมียผสมเกสรให้ F. glaberrima Bl. L มะเดื่อและไทร วางไข่ใน F. hirta Vahl var. hirta F. hispida L. f. var. hispida TL ดอกทีเ่ ป็นหมันแล้วตาย F. microcarpa L.f. T (st) F. racemosa L. T F. semicordata TL B.-H. ex J.E. Sm. LS F. subincisa J.E. Sm. T F. superba (Mig.) Mig. แตนไทรเพศผูไ้ ม่มปี กี ฟักออกจาก ไข่เข้าผสมพันธุก์ บั เพศเมีย ทันทีที่ออกจากไข่ แล้วตาย

156

ปลูกให้เป็นป่า

ถิน่ อาศัย*

การผลัดใบ

ระดับความสูง (เมตร) 350-1050 350-1400

E E

BB-DF MXF MXF EGF

D ED E E E E D D

790-1400 350-1400 450-1200 350-1150 350-1525 350-1050 350-500 MXF โดยเฉพาะริมลำธาร พืน้ ทีถ่ กู ทำลายใน BB-DF, EGE, EGF-PINE 350-1550

E D

พืน้ ทีถ่ กู ทำลายใน MXF, EGE MXF, EGF

EGF พืน้ ทีถ่ กู ทำลายใน BB-DF, MXF, EGE ใกล้ลำธารใน BB-DF, MXF, EGE พืน้ ทีถ่ กู ทำลายใน BB-DF, MXF, EGE พืน้ ทีถ่ กู ทำลายใน BB-DF, MXF ,EGE

825-1400 750-1350

T = ไม้ต้น L= ไม้ต้นขนาดเล็ก (st)= ไม้รัด E=ไม่ผลัดใบ D= ผลัดใบ *ถิ่นอาศัย คำย่อดูคำอธิบายในบทที่ 2


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง* เห็นได้ว่าไม้ในกลุ่มมะเดื่อและไทรและแตนไทรนี้จำเป็นต้อง พึ่งพากันในการขยายพันธุ์ แตนไทรมีอายุสั้นดังนั้นใน บริเวณป่าต้องมีต้นไทรจากทุกชนิดที่กำลังออกผลอยู่ตลอด เวลาเพือ่ ให้แตนไทรเข้าไปวางไข่และผสมเกสรให้กอ่ นทีจ่ ะตาย ลักษณะเฉพาะอีกอย่างของมะเดื่อและไทรคือยางเหนียว สี ขาว ซึ ่ ง เป็ น ลั ก ษณะร่ ว มของไม้ ใ นวงศ์ Moraceae รากขนาดใหญ่ของไม้ในกลุม่ นีม้ กั พบอยูเ่ หนือดิน ส่วนราก ด้านล่างมักมีขนาดเล็ก เหนียว แข็งแรง มีจำนวนมากเป็นร่าง แหแน่น เปลือกของไม้ในกลุม่ นีม้ กั เรียบ สีเทาอ่อนหรือสีนำ้ ตาล การจัดเรียงตัวและลักษณะของใบมีหลายรูปแบบ

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง ลักษณะสองอย่างทีท่ ำให้มะเดือ่ และไทรส่วนใหญ่เหมาะ สำหรับการเป็นพรรณไม้โครงสร้างที่ดี ข้อแรกไม้พวกนี้มีระ บบรากทีแ่ น่นทำให้สามารถรอดชีวติ และเจริญเติบโตได้ดใี นพืน้ ที่ ที่ทุรกันดารและสามารถฟื้นตัวได้เร็วหลังถูกไฟไหม้หรือถูก ตัด ระบบรากยังทำให้ไม้ในกลุ่มนี้สามารถรักษาใบไว้ได้ ตลอดฤดูแล้งโดยหยั่งรากลึกลงไปหาความชื้นในดินชั้นที่ลึก ลงไป คุณลักษณะดังกล่าวทำให้ไม้ในกลุม่ นีเ้ หมาะอย่างมาก ในการป้องกันการพังทลายของดินและช่วยยึดดินริมฝั่งน้ำ

เก็บเมล็ด ต.ค.-มี.ค.

อัตรางอก กรพ. (วัน) (%) 60-90 25-58

การรอด ชีวิต E

พ.ย.-ม.ค.

>80

49-67

E

ส.ค. ธ.ค. - ก.พ.

>90 >60

15 16

E A

ธ.ค. - ม.ค. ก.ย. พ.ค.

70-80 >35 >90

39 19 18

E A E

ส.ค. ก.พ.

74-85 80-90

22 20-27

E E

ธ.ค.- มี.ค. ส.ค.

>80 >70

52 50-60

M E

พ.ย. – ก.พ.

>80

36

M

ข้อทีส่ องมะเดือ่ และไทรเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทช่ี ว่ ยกระจาย เมล็ดพันธุห์ ลายชนิด เช่น นก ค้างคาว ลิง ชะนี ชะมด กระ รอก หมี กวาง และหมูปา่ บางชนิด มะเดือ่ น้อย (F. subincisa) เริม่ ติดผลตัง้ แต่ปแี รกทีป่ ลูก ในขณะทีก่ ล้าไม้ชนิด อืน่ ทีป่ ลูกส่วนใหญ่จะเริม่ ติดผลในประมาณปีท่ี 6 ในระบบ นิเวศเขตร้อนไม้ในกลุม่ นีม้ คี วามสำคัญมาก (keystone species) หน่วยผลของมันช่วยให้สตั ว์ทก่ี นิ ผลไม้สามารถ ดำรงชีวติ อยูไ่ ด้ในช่วงทีผ่ ลไม้ชนิดอืน่ ขาดแคลน ดังนัน้ จึง ช่วยรักษาประชากรของสัตว์ทช่ี ว่ ยกระจายเมล็ดพันธุใ์ นป่าซึง่ มีความสำคัญมากต่อการฟืน้ ฟูความหลากหลายของพรรณไม้ใน ป่า มะเดือ่ และไทรยังทนทานต่อการเข้าทำลายของแมลง ได้ดี

การเพาะกล้าไม้ เก็บผลทีแ่ ก่จดั จากต้นแม่ (สังเกตจากทีน่ กและกระรอก เริม่ เข้ามากิน) เปิดผลมะเดือ่ ออกขูดผลย่อยขนาดเล็ก สีนำ้ ตาลอ่อนออกจากเนือ้ แต่ละผลนีม้ เี มล็ดบรรจุอยู่ 1 เมล็ด นำเมล็ดลงแช่นำ้ คัดเมล็ดเสียทีล่ อยน้ำทิง้ นำเมล็ดทีจ่ มน้ำมา แผ่ลงบนกระดาษผึง่ แดดให้แห้ง 1-2 วัน จากนัน้ จึงหว่าน เมล็ดห่าง ๆ ลงในถาดเพาะทีผ่ สมดินจากป่าและทราย

การเจริญ หมายเหตุ เติบโต A ควบคุมวัชพืช ทนไฟ ดึงดูดสัตว์หลังจาก ปลูก 2-3 ปี E เริ่มติดผลในปีที่ 6 ดึงดูดสัตว์หลังจาก ปลูก 2 ปี เรือนพุม่ หนาคลุมวัชพืชได้ดี A A เริ่มติดผลในปีที่ 6 ดึงดูดสัตว์โดยเฉพาะ พวกทีช่ ว่ ยกระจายเมล็ดได้ดมี าก E ควบคุมวัชพืชได้ดมี าก แต่ตดิ ผลช้า E มักพบขึน้ อยูใ่ นพืน้ ทีท่ ฟ่ี น้ื ตัวตามธรรมชาติ A เริ่มติดผลหลังจากปลูก 3 ปีควบคุมวัชพืช ได้ดี ฟื้นตัวได้ดีหลังไฟ E ติดผลหลังจากปลูกได้ 6 ปี E ควบคุมวัชพืชได้ดมี าก ฟืน้ ตัวได้ดหี ลังไฟ เริม่ ดึงดูดสัตว์ตั้งแต่ปีที่ 2 แต่เริ่มติดผลในปีที่ 4 E ติดผลตัง้ แต่ปที ่ี 3 หลังปลูก E เริ่มติดผลตั้งแต่ปลูกได้ 1 ปี ดึงดูดสัตว์ ได้ดมี าก E เริ่มติดผลตั้งแต่ปลูกได้ประมาณ 4.5 ปี

ผลผ่าตามขวาง ดอก/ผลย่อยใน ผลมะเดื่อ

รูที่แตนไทรตัวเมีย เข้าไปในผลมะเดื่อ ดอกตัวเมีย ดอกที่ตัวอ่อน อาศัยอยู่ ดอกตัวผู้

กรพ. ค่ากลางระยะพักตัว E = ดีเยี่ยม A = น่าพอใจ M = อยู่ในเกณฑ์

ปลูกให้เป็นป่า

157


พ ร ร ณ ไ ม้ โ ค ร ง ส ร้ า ง ***********************

ในอัตราส่วน 1:1 ต้นกล้าของพวกมะเดือ่ และไทรมีขนาด ค่อนข้างเล็กและถูกทำลายจากโรคโคนเน่าได้ง่าย การใส่ดิน ป่าลงในถาดเพาะอาจทำให้เมล็ดได้รบั จุลนิ ทรียท์ ช่ี ว่ ยป้องกัน การเกิดโรคดังกล่าวได้ พ่นยาฆ่าเชือ้ รา เช่น แคบเทน (Captan) ลงบนผิวดินหลังเพาะเมล็ด และอีกครัง้ ประมาณ 1 เดือน หลังจากนัน้ วางถาดเพาะไว้ในทีท่ ม่ี รี ม่ เล็กน้อย อัตราการงอกโดยปกติค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 ค่ากลางระยะพักตัวส่วนใหญ่สน้ั ตัง้ แต่ 15-60 วันขึน้ อยู่ กับชนิด กล้าไม้ของมะเดือ่ และไทรส่วนใหญ่ตอ้ งมีอายุ ประมาณ 5-10 เดือนจึงจะโตพอทีจ่ ะสามารถย้ายลงภาชนะ ปลูกได้ หลังจากย้ายลงถุงปลูกกล้าไม้ในกลุม่ นีเ้ จริญเติบโต ได้เร็วแต่สว่ นใหญ่มกั ต้องรอจนถึงฤดูปลูกทีส่ องหลังจากเพาะ จึงจะนำไปปลูกในแปลงปลูกได้ (ระยะเวลาในเรือนเพาะชำ นับจากเริม่ เพาะเมล็ดถึงวันทีป่ ลูกลงแปลงปลูก 18-22 เดือน) ดั ง นั ้ น ถ้ า ต้ อ งการผลิ ต กล้ า ไม้ ใ ห้ โ ตทั น ปลู ก ภายใน หนึง่ ปีควรใช้วธิ กี ารปักชำกิง่ แทน วิธกี ารทีไ่ ด้อธิบายไว้ใน กรอบที่ 6.2 ใช้ได้ผลดีกบั เดือ่ ขน (F. hirta) และ ไกร (F. superba) (ใช้ IBA 3000 ppm กับชนิดแรกเพื่อเร่งให้ ออกราก ส่วนชนิดทีส่ องใช้ IBA : NAA 2:1 ) (Vongkamjan, 2003) สำหรับชนิดอื่นยังต้องมีการทดลอง เพือ่ หาสูตรฮอร์โมนทีเ่ หมาะสมต่อไป มะเดื่ออุทุมพร Ficus racemosa

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก ในธรรมชาติมะเดือ่ และไทรบางชนิดเริม่ ต้นชีวติ ด้วยการ เป็นพืชอิงอาศัยบนต้นไม้อน่ื เช่น กร่าง (F. altissima) ไม้ ในกลุม่ นีจ้ ดั เป็น “ไม้รดั พัน” โดยเติบโตอยูบ่ นไม้อน่ื แล้ว สร้างรากเป็นโครงข่ายลงมาปกคลุมต้นทีอ่ าศัยอยูจ่ นกระทัง่ ไม้ ต้นนัน้ ตาย เมือ่ ปลูกไม้ในกลุม่ มะเดือ่ และไทรลงในแปลง ฟื้นฟูป่าไม่จำเป็นต้องปลูกไม้นี้บนต้นไม้อื่นเพราะไม้พวกนี้ สามารถขึน้ บนดินได้ดี เพียงแต่ตอ้ งระวังให้ได้รบั แสงทีเ่ พียง พอ ไม้ในสกุล Ficus นี้ส่วนใหญ่แข็งแรงและเจริญเติบโต ได้ดโี ดยไม่ตอ้ งดูแลมาก

ประโยชน์ ไม้มะเดือ่ และไทรส่วนมากไม่ได้ถกู ตัดเพือ่ ทำไม้ซงุ อย่าง ไรก็ตามบางชนิดสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างเบา ๆ ลังไม้ อุปกรณ์ในบ้าน และใช้เป็นไม้ฟนื น้ำยางใช้ทำยาง กาว และ สามารถใช้แทนเทียนในการเขียนลายผ้าบาติคได้ นอกจาก นัน้ ในแพทย์แผนโบราณยังใช้นำ้ ยางปิดแผลอีกด้วยบางชนิด ผลเป็นอาหารของมนุษย์ โดยทัว่ ไปต้นไทรและต้นโพธิ์ (Ficus religiosa) มีความสำคัญในทางวัฒนธรรมและ ศาสนาของประเทศไทยดังนัน้ ต้นไม้พวกนีม้ กั ไม่ถกู โค่น

มะเดื่อปล้อง Ficus hispida

กร่าง Ficus altissima

158

ปลูกให้เป็นป่า

เดื่อไทร Ficus glaberrima


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

Glochidion kerrii Craib (Euphorbiaceae)

ไคร้

ไม้ชน้ั รองขนาดเล็ก ทนร่ม สูงได้ถงึ 7 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางระดับอก ถึง 7 ซม.) หลังถูกไฟไหม้ (ร้อยละ 70 ของต้นไม้ทม่ี อี ายุ 21 เดือน เส้นผ่าศูนย์กลางคอรากมากกว่า 15 มม. สามารถฟืน้ ตัวได้ พบกระจายอยูต่ ง้ั แต่เทือกเขาหิมาลัย อินเดีย จีนทางใต้ หลังมีไฟเข้า) จนถึง พม่า และอินโดนีเซีย ในภาคหนือของประเทศไทย มักพบขึ้นอยู่ในป่าดิบและป่าผลัดใบผสมสนที่ระดับความสูง การเพาะกล้าไม้ 550-1450 ม. เก็บผลแก่จากต้นแม่ในเดือนกันยายนหรือตุลาคม แกะ เมล็ดอออกจากผล เมล็ดมักถูกทำลายโดยแมลงเจาะเมล็ด ลักษณะเด่น ดังนั้นจะต้องคัดเลือกเมล็ดด้วยการลอยน้ำเพื่อแยกเมล็ดที่ เพาะเมล็ดลงถาดทีว่ างไว้ในทีท่ ม่ี รี ม่ บางส่วน เปลือก: บาง เรียบ ลอกเป็นแผ่นขนาดเล็ก สีนำ้ ตาล เสียทุกครัง้ อ่อนถึงเทา ใบ: ใบเดีย่ วออกตรงกันข้ามก้านใบ 1-3 มม. ที่ ปกติอตั รางอกร้อยละ 40-50 ค่ากลางระยะพักตัว 134 วัน ฐานมีหใู บรูปสามเหลีย่ มแคบ ๆ สีขาวติดอยู่ แผ่นใบรูปไข่ ย้ายกล้าเมือ่ มีใบแท้คแู่ รก ต้นกล้าทีอ่ ยูใ่ นถุงเพาะโตค่อน 2.2-9 x 1.4-4.5 ซม. เส้นกลางใบมีขนทัง้ สองด้าน ดอก: ข้างช้า การใส่ปยุ๋ จึงเป็นสิง่ สำคัญ กล้าไม้มกั ต้องเลีย้ งไว้ใน ออกเป็นกระจุกสีเขียวอ่อน ดอกตัวผูเ้ ส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5- เรือนเพาะชำจนถึงฤดูปลูกที่ 2 หลังจากเพาะ (ระยะเวลาใน 5.5 มม. ดอกเพศเมียขนาดประมาณ 2.5 มม. ภายในแบ่ง เรือนเพาะชำนับจากเริ่มเพาะเมล็ดถึงวันที่ปลูกลงแปลงปลูก เป็น 3-4 ช่อง ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ผล: 21-22 เดือน)

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

ผลแห้งแล้วแตก ลักษณะกลมหัวท้ายแบน 7-8 x 3.5-4 มม. สีเลือดหมูเมือ่ สุก เปลือกบาง มี 3-6 เมล็ดต่อผล เมล็ด การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก รูปครึง่ ทรงกลม 3.2-3.3 x 2.2-2.8 x 3-3.1 มีเยือ่ สีสม้ แดง คลุมอยู่ ช่วงเวลาทีอ่ อกไม่แน่นอน แต่มกั พบติดในช่วงเดือน ใช้วิธีการมาตรฐานสำหรับการปลูกและการดูแลกล้าไม้ กันยายน-กุมภาพันธ์ กระจายเมล็ดโดยสัตว์ (บทที่ 7)

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง ถึงแม้ว่าการเจริญเติบโตของไคร้ในแปลงปลูกอาจไม่ดี เด่นเป็นพิเศษ (อัตรารอดร้อยละ 40-50 สูงถึง 75 ซม. หลัง ฤดูฝนที่ 2) และอัตราการเจริญเติบโตใน 2 ปีแรกค่อนข้าง ช้า แต่การเจริญเติบโตจะเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วนับจากปีท่ี 3 เป็นต้นไป ถึงแม้วา่ จะโตช้าในช่วงแรกแต่ตน้ ไม้ชนิดนีย้ งั มี คุณค่าในแง่ของการควบคุมวัชพืชเนือ่ งจากมีเรือนพุม่ หนาทึบ ช่วยเพิ่มโครงสร้างและความหลากหลายของป่าชั้นรอง นอก จากนัน้ ยังสามารถดึงดูดสัตว์เข้ามาในพืน้ ทีไ่ ด้ตง้ั แต่อายุยงั น้อย เพราะเริม่ ติดผลตัง้ แต่ประมาณ 3 ปีหลังปลูก ใต้ตน้ ไคร้ท่ี ปลูกอายุ 5 ปีขน้ึ ไป ในแปลงพรรณไม้โครงสร้างพบกล้าไม้ ธรรมชาติที่กลับมาขึ้นหลายชนิด ไคร้เป็นไม้ที่ฟื้นตัวได้ดี

ประโยชน์ ไม้ฟนื คุณภาพดี

ปลูกให้เป็นป่า

159


พ ร ร ณ ไ ม้ โ ค ร ง ส ร้ า ง ***********************

Gmelina arborea Roxb. (Verbenaceae)

ซ้อ

ไม้เบิกนำ ผลัดใบระยะสัน้ ๆ สูงได้ถงึ 30 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางระดับอก ถึง 64 ซม.)

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง

ตัง้ แต่เนปาล ปากีสถาน อินเดีย ศรีลงั กา และ พม่า ครอบคลุมอินโดจีนไปจนถึงจีนตอนใต้และเวียตนาม ในภาค เหนือของประเทศไทยมักพบขึน้ อยูป่ ระปรายในป่าผลัดใบเต็ง รัง-ก่อ ป่าผลัดใบผสมสน ป่าเบญจพรรณและป่าดิบผสม สน ทีร่ ะดับความสูง 350-1,475 เมตร สามารถพบขึน้ อยูเ่ อง ตามธรรมชาติในพืน้ ทีป่ า่ เสือ่ มโทรม

เป็นหนึง่ ในพรรณไม้โครงสร้างชัน้ ดี กล้าไม้เจริญเติบโต ได้ดแี ละเร็วในแปลงปลูกทัง้ ในพืน้ ทีส่ งู และพืน้ ทีต่ ำ่ (อัตรา รอดร้อยละ 70 สูงถึง 160-180 ซม. หลังฤดูฝนที่ 2) ทรง พุม่ ทีห่ นาทึบช่วยควบคุมวัชพืชได้ดี และยังมีนกเข้ามาทำรัง ในปีท่ี 3 หลังปลูก เริม่ ออกดอกติดผลในปีท่ี 5 หลังปลูก ผลดึงดูดนกและสัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมหลายชนิด ต้นไม้ชนิด นีฟ้ น้ื ตัวได้ดหี ลังไฟไหม้ (ร้อยละ 80 ของต้นไม้ทม่ี อี ายุ 21 เดือน เส้นผ่าศูนย์กลางคอรากมากกว่า 90 มม. สามารถฟืน้ ตัวได้หลังมีไฟเข้า)

ลักษณะเด่น เปลือก: บาง เรียบ สีนำ้ ตาลมีเลนติเซล (ช่องอากาศ) ขนาดใหญ่ สีเปลือกเปลีย่ นเป็นสีเทาและลอกเป็นแผ่นเมือ่ อายุมากขึน้ ใบ: ใบเดีย่ ว ออกตรงกันข้าม ทรงรูปไข่ปลาย แหลม 13-21 x 13-16 ซม. ด้านบนสีเขียวเข้ม มีตอ่ ม 1 คู่ ทีฐ่ านใบ ใบด้านล่างสีเทาเงินมีขนยาวมากมาย ดอก: เป็นช่อ มีดอกจำนวนมาก ดอกเป็นหลอดมี 5 กลีบสีเหลืองยาว 2.54.0 ซม. ติดดอกกุมภาพันธ์-มีนาคมเมือ่ ทิง้ ใบ ผล: ผลมี เนือ้ เมล็ดแข็ง รูปไข่เมือ่ สุกสีเหลืองขนาดเฉลีย่ 26 x 18 มม. ในแต่ละผลมีไพรีนหรือหน่วยเมล็ดทีม่ ชี อ่ งย่อย 4 (บางครัง้ 5) ซึง่ ส่วนมากมีเพียงไม่เกิน 2 ช่องทีม่ เี มล็ดอยู่ เมล็ดยาว 6-9 มม. ติดผลมีนาคม-พฤษภาคม กระจายเมล็ดโดยสัตว์

การเพาะกล้าไม้ เก็บผลสีเหลืองในเดือนเมษายน-มิถนุ ายน แช่ทง้ิ ไว้ใน น้ำหนึง่ คืน จากนัน้ ขูดเนือ้ นำหน่วยเมล็ด ตากแดด 1-2 วัน จากนั้นหย่อนลงในน้ำเพื่อแยกเมล็ดที่เสียและลอยน้ำออก นำหน่วยเมล็ดทีแ่ ห้งแล้วเก็บลงในภาชนะทีป่ ดิ สนิทพร้อมซิลกิ า เจลเก็บไว้ทอ่ี ณ ุ หภูมหิ อ้ งนาน 6 เดือน จากนัน้ จึงนำหน่วย เมล็ดมาเพาะช่วงกลางเดือนตุลาคมในถาดเพาะทีไ่ ด้รบั แสง เต็มที่ ป้องกันอย่าให้สตั ว์กนิ เมล็ดเข้าทำลายอัตรางอกมาก กว่าร้อยละ 60 ค่ากลางระยะพักตัว 15-35 วัน ย้ายกล้า เมือ่ มีใบแท้คแู่ รก ต้นกล้าค่อนข้างเปราะบาง ต่อแมลงเจาะ ลำต้นและหนอนกินใบใช้ยาฆ่าแมลงและตัดส่วนทีถ่ กู กินทิง้ ไป กล้าไม้จะโตพร้อมปลูกในเดือนมิถนุ ายน (ระยะเวลาในเรือน เพาะชำนับจากเริม่ เพาะเมล็ดถึงวันทีป่ ลูกลงแปลงปลูก ไม่ รวมเวลาในการเก็บเมล็ด 8 เดือน)

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก อย่าปลูกต้นไม้ชนิดนีใ้ นทีร่ ม่ การใช้กระดาษแข็งคลุม โคนต้นจะช่วยเพิม่ อัตรารอดให้แก่กล้าไม้ทป่ี ลูกไม้ชนิดนีถ้ กู ทำลายโดยแมลงปีกแข็งได้ง่าย

ประโยชน์ 160

ปลูกให้เป็นป่า

ไม้ซอ้ สามารถใช้เป็นเยือ่ กระดาษไม้อดั ไม้แผ่นบาง และงานแกะสลักไม้ ใช้ทำถ่านและฟืน


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

Heynea trijuga Roxb. ex Sims (Meliaceae)

ตาเสือทุง่

ชือ่ พ้อง: Trichilla connaroides (Wight & Arn.) Bentv. ไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง สูงได้ถงึ 15-20 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางทีร่ ะดับอก ถึง 45 ซม.)

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

การเพาะกล้าไม้

จากอินเดียถึงอินโดจีน จีนตอนใต้ มลายู สุมาตรา บอร์เนียวและฟิลปิ ปินส์ ในภาคเหนือของประเทศไทยพบขึน้ ประปรายในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าไม่ผลัดใบผสม สน ส่วนใหญ่อยูท่ ร่ี ะดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตร

ตัดผลสุก (ผลเริม่ แตก) จากต้นแม่ในเดือนพฤศจิกายน แกะเนือ้ สีขาวทีห่ มุ้ เมล็ดออกล้างเมล็ดให้สะอาด เพาะลงใน ถาดเพาะวางไว้ในทีม่ แี สงรำไร เมล็ดงอกค่อนข้างช้า (ค่า กลางระยะพักตัว 96 วัน) และงอกไม่พร้อมกัน แต่อตั รา การงอกสูง (ร้อยละ 80) กล้าไม้ในระยะแรกโตช้าควรให้ปยุ๋ เพือ่ เร่งการเจริญ ย้ายกล้าเมือ่ มีใบแท้คแู่ รก กล้าไม้เกิดโรค ใบหงิกงอจากไวรัสได้งา่ ย (ถ้าเป็นให้ตดั แต่งกิง่ ทีเ่ ป็นโรคทิง้ ไป) แมลงเจาะลำต้นและหนอนผีเสือ้ กล้าไม้สงู ได้ขนาด ปลูกในฤดูปลูกทีส่ องหลังเก็บเมล็ด (ระยะเวลาในเรือนเพาะ ชำนับจากเริม่ เพาะเมล็ดถึงวันทีป่ ลูกลงแปลงปลูก 20 เดือน)

ลักษณะเด่น เปลือก: มีรอู ากาศ เปลือกสีนำ้ ตาลเข้มแตกเป็นร่อง ตืน้ ๆ ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยออก ตรงกันข้าม แผ่นใบรูปไข่หรือรูปรี 12-22 x 5-9 ซม. ขอบ ใบเรียบหรือโค้ง ใบอ่อนสีแดง ดอก: ดอกขนาดเล็กจำนวน มากสีขาวหรือครีม ออกเป็นช่อใหญ่ทซ่ี อกใบหรือ ปลายกิง่ ติดดอกกุมภาพันธ์-มีนาคม ผล: ผลกลมหรือเป็น 2 พู สี แดงเข้ม (13.4 x 12.2 x 11.8 มม.) เปลือกบางแตกออก เป็นสองซีกเมือ่ แก่ แต่ละซีกมี 1 เมล็ด เมล็ดสีดำเกลีย้ ง (10.4 x 9.6 x 8.9 มม.) มีเนือ้ สีขาวหุม้ ติดผล สิงหาคมพฤศจิกายน กระจายเมล็ดโดยสัตว์

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก ใช้วธิ กี ารมาตรฐานสำหรับการปลูกและการดูแลกล้าไม้

ประโยชน์ ไม้ใช้เป็นไม้ฟนื เปลือกและใบใช้เป็นยาสมุนไพรของไทย ผลกินได้

เป็นพรรณไม้โครงสร้างในระดับทีย่ อมรับได้ หลังปลูก ลงแปลงกล้าไม้มอี ตั รารอดสูงและโตเร็วพอสมควร (อัตรา รอดมากกว่าร้อยละ 70 สูง 1-2 ม. หลังฤดูฝนที่ 2) ไม้ชนิด นีช้ ว่ ยเพิม่ ความสมบูรณ์ให้แก่ไม้ชน้ั รองและสามารถควบคุม วัชพืชได้ดี เริม่ ออกดอกติดผลตัง้ แต่ในปีท่ี 3 หลังปลูก และ จากปีท่ี 6 พบกล้าไม้ธรรมชาติชนิดอืน่ เข้ามาเจริญเติบโตอยู่ บริเวณใต้ตน้ ของตาเสือทุง่ ทีป่ ลูกไว้ตน้ ไม้ชนิดนีฟ้ น้ื ตัวได้พอ สมควรหลังถูกไฟไหม้ (ร้อยละ 67 ของต้นไม้ทม่ี อี ายุ 21 เดือน เส้นผ่าศูนย์กลางคอรากมากกว่า 50 มม. รอดชีวติ หลังถูกไฟป่า)

ปลูกให้เป็นป่า

161


พ ร ร ณ ไ ม้ โ ค ร ง ส ร้ า ง ***********************

Hovenia dulcis Thunb. (Rhamnaceae)

หมอนหิน

ไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่ ทิง้ ใบระยะสัน้ ๆ สูงได้ถงึ 30 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลางระดับอก ถึง 50 ซม.)

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง

พบจากเทือกเขาหิมาลัยถึงทางเหนือของประเทศไทย จีน ญีป่ นุ่ เกาหลี ในภาคเหนือของประเทศไทยถือเป็นไม้หายาก (Maxwell, 1994) พบในป่าดิบ โดยเฉพาะบริเวณริมลำธาร ทีร่ ะดับความสูง 1,025-1,325 เมตร

หมอนหินจัดเป็นพรรณไม้โครงสร้างชัน้ เยีย่ ม หลังปลูก ลงแปลงกล้าไม้มอี ตั ราการรอดสูง (มากกว่าร้อยละ 80 หลัง ฤดูฝนที่ 2) และโตเร็ว (สูงมากกว่า 1.5 ม.) มีเรือนยอด กว้างช่วยควบคุมวัชพืชได้ดี และดึงดูดให้นกเข้ามาทำรังในปี ที่ 4 หลังปลูก ต้นไม้ชนิดนีท้ ง้ิ ใบในฤดูแล้งทำให้ทนทานต่อ ความแห้งแล้งได้ดเี มือ่ ถูกฟันหรือถูกไฟไหม้สามารถแตกยอด ใหม่ได้ (ร้อยละ 72 ของต้นไม้ทม่ี อี ายุ 21 เดือน เส้นผ่า ศูนย์กลางคอราก มากกว่า 42 มม. ) ผลแก่และก้านทีม่ เี นือ้ ของหมอนหินเป็นทีช่ น่ื ชอบของนก แต่ตอ้ งใช้เวลาปลูกนาน กว่า 8 ปีจงึ จะเริม่ ออกดอก

ลักษณะเด่น เปลือก: เปลือกหนาสีเทาหรือน้ำตาลแตกเป็นร่องแคบ ๆ ตามยาว ร่องทีแ่ ตกสีแดงอิฐ ใบ: ใบเดีย่ ว เวียนสลับ แผ่น ใบบาง รูปไข่หรือรูปรี 11-14 x 5-9 ซม. ขอบใบหยัก ละ เอียด ดอก: ดอกเป็นช่อกระจุก มีดอกจำนวนมาก สีเขียว ครีม ขนาดเล็ก (2.5 มม.) ติดดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผล: เรียวโค้ง ยาว 2-3 มม. ก้านช่วงบนพองออกมีเนือ้ ชุม่ น้ำ สี เขียวเมือ่ ผลยังไม่สกุ และเปลีย่ นเป็นสีนำ้ ตาลแดงหรือดำเมือ่ ผลสุก ผลแห้งแตก (แบบแคปซูล) เมือ่ สุกสีนำ้ ตาลหรือดำ และจะแห้งเมือ่ แก่จดั 7- 8.5 x 6-7.5 มม. มี 3 พู แต่ละพู มี 1 เมล็ดสีดำเกลีย้ ง (5-6 x 5-6 มม.) ติดผลสิงหาคมกุมภาพันธ์ กระจายเมล็ดด้วยนก โดยเฉพาะอย่างยิง่ นกเปล้า (Hitchcock and Elliott, 1999)

การเพาะกล้าไม้ ตัดผลสีนำ้ ตาล หรือดำ จากต้นแม่ในเดือนตุลาคมพฤศจิกายน (ทันทีทผ่ี ลสุก) แกะเมล็ดออกจากผลแห้ง แช่ เมล็ดลงในน้ำแยกเมล็ดทีล่ อยน้ำออกทิง้ เพาะลงในถาดเพาะ ทันที วางไว้ในทีร่ ม่ (ได้รบั แสงประมาณร้อยละ 25) ป้องกัน ไม่ให้หนูเข้าทำลาย การงอกไม่คอ่ ยแน่นอน แต่เมล็ดมักงอก พร้อมกันทัง้ หมด อัตราการงอกร้อยละ 50-70 ค่ากลาง ระยะพักตัว 45-90 วัน รดน้ำทุกวันและย้ายกล้าเมือ่ มีใบแท้ คูแ่ รก (ดีทส่ี ดุ คือประมาณมกราคมหรือกุมภาพันธ์) ใส่ปยุ๋ บ่อย ๆ กล้าไม้โตเร็วเมือ่ อยูใ่ นถุงปลูกและต้นกล้าสูงได้ ขนาดปลูก (30 ซม.) ในฤดูปลูกแรกหลังเก็บเมล็ด (ระยะ เวลาในเรือนเพาะชำนับจากเริม่ เพาะเมล็ดถึงวันทีป่ ลูกลงแปลง ปลูก 8-9 เดือน)

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก กล้าไม้ชนิดนีโ้ ตได้ดถี งึ แม้ไม่มกี ารดูแลหลังปลูกมากนัก แต่จะยิง่ โตเร็วขึน้ ถ้าได้รบั ปุย๋

ประโยชน์ ไม้เหมาะสำหรับทำเยือ่ กระดาษ ก้านผลทีพ่ องออกใช้เป็นยาแผนโบราณ แก้อาการเมาค้าง

162

ปลูกให้เป็นป่า


พ* * ร* *ร* *ณ* *ไ* ม้* *โ* ค* * ร* *ง* ส* *ร้* *า* ง*

Lithocarpus elegans (Bl.) Hatus. ex Soep. (Fagaceae)

ก่อหม่น

ไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ทนร่ม สูงได้ถงึ 15-20 ม.

จากทางเหนือของอินเดีย เนปาล ปากีสถานและพม่า ไป จนถึงยูนาน อินโดจีน ไทย แหลมมลายู อินโดนีเซียและบอร์ เนียว ในภาคเหนือของประเทศไทยพบได้บอ่ ยในป่าผลัดใบ ผสมไผ่ ป่าเบญจพรรณและป่าไม่ผลัดใบผสมสน ทีร่ ะดับ ความสูง 450-1,450 เมตร พบกลับมาขึน้ ได้ดใี นพืน้ ทีป่ า่ เต็ง รัง-ก่อเสือ่ มโทรมทีม่ กี ารกันไฟ

ลงในถาดเพาะวางไว้ในทีม่ แี สงรำไร ใช้ตะแกรงลวดคลุม เพือ่ ป้องกันการเข้าทำลายของหนู เมล็ดงอกช้าและทยอย งอกจนถึง 270 วัน (ค่ากลางระยะพักตัว 140 วัน) อัตรา การงอกสูงร้อยละ 50-70 ทยอยย้ายกล้าเมือ่ มีใบแท้คแู่ รก กล้าไม้โตช้าในระยะแรกแต่เร่งการเจริญได้โดยให้ปุ๋ย กล้า ไม้สงู ได้ขนาดปลูกในฤดูปลูกทีส่ องหลังเก็บเมล็ด (ระยะ เวลาในเรือนเพาะชำนับจากเริม่ เพาะเมล็ดถึงวันทีป่ ลูกลงแปลง ปลูก 21 เดือน)

ลักษณะเด่น

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก

เปลือก: เปลือกหนา สีเทาหรือน้ำตาล มีรอยแตกตาม ยาว ใบ: ใบเดีย่ ว เวียนสลับ แผ่นใบ รูปไข่หรือรูปรี 10-20 x 4-8 ซม. หนาเหนียว ขอบใบเรียบ ดอก: ออกเป็นกระจุก บนช่อยาวทีต่ ง้ั ขึน้ ดอกตัวผูแ้ ละตัวเมียอยูแ่ ยกช่อบนต้น เดียวกัน ดอกขนาดเล็กสีครีม ออกดอกมีนาคม-ตุลาคม ผล: ผลเปลือกแข็งแบบก่อ อยู่เป็นพวงแน่นไม่มีก้านผล ผลกลมแบน สีนำ้ ตาลเมือ่ แก่ 1.5- 2.5 ซม. กาบหุม้ ผล (capule) มีเกล็ดเล็ก ๆ เป็นวงหุม้ อยูน่ อ้ ยกว่าครึง่ ผล ติด ผล กรกฎาคม-ตุลาคม กระจายเมล็ดโดยสัตว์

ใช้วธิ กี ารมาตรฐานสำหรับการปลูกและการดูแลกล้าไม้ (บทที่ 7) แต่ไม่ตอ้ งใช้กระดาษแข็งคลุมโคนต้นเพราะจะทำ ให้การเจริญเติบโตในแปลงลดลง

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

ประโยชน์ ไม้ทนทานเหมาะสำหรับใช้กอ่ สร้าง นอกจากนัน้ ยังใช้ทำ ฟืน ถ่าน หรือเพาะเห็ดได้

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง กล้าไม้ทป่ี ลูกลงแปลงมีอตั ราการรอดในระดับทีย่ อมรับ ได้และเจริญเติบโตดีมาก (อัตรารอดร้อยละ 56 สูงมากกว่า 2.2 ม. หลังฤดูฝนที่ 2) พุม่ ค่อนข้างแคบแต่หนาทำให้ควบ คุมวัชพืชได้ดี ผล (โดยเฉพาะทีย่ งั ไม่แก่จดั ) เป็นทีช่ น่ื ชอบ ของสัตว์ปา่ เช่น กระรอก หมูปา่ กวาง และสัตว์ทช่ี ว่ ยกระ จายเมล็ดอืน่ ๆ แต่หลังจากปลูก 4 ปีกอ่ หม่นยังไม่ออกดอก

การเพาะกล้าไม้ เก็บเมล็ดทีร่ ว่ งอยูบ่ นพืน้ ในเดือนกันยายน แกะกาบหุม้ ผลออก ใส่ลงในน้ำเพือ่ แยกเมล็ดดี (เมล็ดทีจ่ ม) นำมาเพาะ

ปลูกให้เป็นป่า

163


พ ร ร ณ ไ ม้ โ ค ร ง ส ร้ า ง ***********************

Macaranga denticulata (Bl.) M.-A. (Euphorbiaceae)

ตองแตบ

ไม้เบิกนำขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงได้ถงึ 20 เมตร (เส้นผ่าศูนย์กลางทีร่ ะดับอก 40 ซม.)

พืน้ ทีท่ พ่ี บ

ลักษณะการเป็นพรรณไม้โครงสร้าง

จากหิมาลัยตะวันออกถึง ศรีลงั กาและ อินโดจีน จีนทาง ใต้ ไทย ลาว แหลมมลายู สุมาตรา และชวา ในภาคเหนือ ของประเทศไทยพบได้บ่อยในป่าเสื่อมโทรมและพื้นที่ที่กำลัง ฟืน้ ตัวของป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบผสมไผ่หรือ ตามริมถนนและลำธาร ทีร่ ะดับความสูง 500-1,400 เมตร

ตองแตบเป็นพรรณไม้โครงสร้างทีด่ มี ากเพราะเจริญเติบ โตได้ดใี นพืน้ ทีเ่ สือ่ มโทรมสามารถสูงได้มากกว่า 2.5 ม. หลัง ฤดูฝนที่ 2 และสูงมากกว่า 4 ม. หลังฤดูฝนที่ 4 ใบขนาด ใหญ่ของตองแตบเป็นพุม่ หนาทึบควบคุมวัชพืชได้อย่างมีประ สิทธิภาพ เริม่ ออกดอกได้ตง้ั แต่ปที ่ี 2 หลังปลูก ผลดึงดูด นกได้ดี สมเสร็จชอบกินใบพืชชนิดนี้

ลักษณะเด่น การเพาะกล้าไม้ เปลือก: เปลือกบางสีนำ้ ตาล มีรอยแตกและมีรอยแผล จากใบ ใบ: ใบเดีย่ ว เวียนสลับ หูใบสีแดงก้านใบติดทีด่ า้ น หลังใบ ดอก: ดอกขนาดเล็ก แยกเพศ ดอกตัวผูเ้ ป็นช่อ แยกแขนง ค่อนข้างกลม ในแต่ละช่อแยกเป็นประมาณ 6 กลุม่ ดอกตัวเมียออกเป็นช่อ ออกดอกมีนาคม-สิงหาคม ผล: ผลแห้งแตก (capsule) 3-5 x 5-6 มม. เปลือกเรียบ สีนำ้ ตาล ถึงน้ำตาลเข้มเมือ่ สุก แตกเป็น 2 ส่วนแต่ละช่องมี เมล็ด 1 เมล็ด 3-4 x 3-4 มม. ติดผล กรกฎาคม-ธันวาคม กระจายเมล็ดโดยสัตว์

เก็บผลในเดือนตุลาคมเมือ่ ผลเริม่ แตก ล้างเนือ้ เหนียว ๆ ออกจากเมล็ดแล้วตากแดดให้แห้งประมาณ 2-3 วันจากนัน้ แช่ในกรดซัลฟูรคิ เข้มข้นนาน 2 นาที แล้วล้างกรดออกให้ หมด เพาะลงในถาดกลบด้วยดินตืน้ ๆ วางไว้กลางแดด เมล็ดงอกได้เร็วและงอกพร้อมกัน อัตราการงอกสูงร้อยละ 90 ค่ากลางระยะพักตัว 19 วัน ย้ายกล้าเมือ่ มีใบแท้คแู่ รก ถ้าพบราดำบนต้นกล้าให้กำจัดต้นกล้านั้นทิ้งแล้วพ่นต้นกล้า ทีเ่ หลือด้วยยาฆ่าเชือ้ รา กล้าไม้สามารถปลูกได้เมือ่ สูง ประมาณ 30 ซม. ในฤดูฝนแรกหลังเก็บเมล็ด (ระยะเวลา ในเรือนเพาะชำนับจากเริ่มเพาะเมล็ดถึงวันที่ปลูกลงแปลง ปลูก 19 เดือน)

การปลูกและดูแลกล้าไม้ในแปลงปลูก กล้าไม้ตองแตบดูแลค่อนข้างยาก ต้องระมัดระวังเพือ่ ป้องกันการตายหลังปลูก ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ดขี น้ึ เมือ่ ใช้ กระดาษกล่องคลุมโคนต้น ไม้ชนิดนีไ้ ม่คอ่ ยทนไฟจึงควร ปลูกในพืน้ ทีท่ ม่ี กี ารป้องกันไฟทีด่ เี ท่านัน้

ประโยชน์ ไม้เหมาะสำหรับใช้ในงานก่อสร้างเบา ๆ ระยะสัน้ หรือ ทำลังไม้ ในทุง่ ร้างทีม่ ตี องแตบขึน้ อยูม่ ากดินจะดีขน้ึ และถ้า นำพืน้ ทีด่ งั กล่าวมาปลูกข้าวผลผลิตทีไ่ ด้จะสูงขึน้ ด้วย

164

ปลูกให้เป็นป่า


ภาคผนวก

*********************************

คำอธิบายศัพท์ รายชื่อพรรณไม้ บรรณานุกรม ดรรชนี สถานที่ตั้งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า

ปลูกให้เป็นป่า 177


ความหลากหลายทางชีวภาพ เป้าหมายหลักของการฟืน้ ฟูปา่ ป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 1,300 เมตร อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุยส่วนหนึง่ ของมรดกทางธรรมชาติ ในภาคเหนือของประเทศไทย

นกแก๊ก หนึ่งในสัตว์ ทีท่ ำหน้าทีใ่ นการ กระจายเมล็ดพันธุ์

ซาลาแมนเดอร์ หนึ่งในสัตว์ ใกล้สญ ู พันธุ์ ทีจ่ ะได้รบั ประโยชน์จากการฟืน้ ฟูปา่

หนึง่ ในผีเสือ้ หลากหลายพันธุ์ ของเมืองไทย ส่วนหนึง่ ของ แมลง กลุม่ ของสิง่ มีชวี ติ ทีม่ คี วาม หลากหลายทางชีวภาพสูงทีส่ ดุ

กวางป่า - สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมขนาดใหญ่มี จำนวนทีล่ ดลงจากการล่า

การฟื้นฟูป่ามีวัตถุประสงค์แตกต่างไปจากการปลูกป่าอื่น ๆ โดยเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตที่เคยมีอยู่ในพื้นที่ให้กลับมามีสภาพใกล้เคียงกับที่เคยเป็นมากที่สุด ภาคเหนือของประเทศไทยเป็นทีอ่ ยูข่ องพืชมีทอ่ ลำเลียงกว่า 3,450 ชนิด (ไม้ยนื ต้น 1,116 ชนิด) (ฐานข้อมูลหอพรรณไม้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) นก 383 ชนิด (Round,1988) และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 150 ชนิด (Lekagul and McNeely, 1988) นอกจากนั้น ยังพบสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ เช่น ซาลาแมนเดอร์อาศัยอยู่ด้วย แมลงที่อาศัยอยู่ คาดว่า มีจำนวนมากกว่าหนึง่ หมืน่ ชนิด และมีผเี สือ้ อย่างน้อย 500 ชนิด การทำลายป่าเป็นสาเหตุหลักของการลดลงของสิง่ มีชวี ติ เหล่านี้ ดังนัน้ การฟืน้ ฟูปา่ จึงเป็นทางรอดของสิง่ มีชวี ติ เหล่านี้

178

ปลูกให้เป็นป่า


คำอธิบายศัพท์ Accelerated (assisted) natural regeneration: การเร่งการ ฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ การจัดการเพือ่ ให้กระบวนการเปลีย่ นแปลงแทนที่ ของป่าเกิดเร็วขึน้

Damping off: โรคโคนเน่า โรคในต้นกล้าที่เกิดจากเชื้อราหลาย ชนิดทำให้ตน้ หักและตาย Deciduous: ผลัดใบ ทิ้งใบในบางฤดูกาลหรือบางช่วงของปี

Achene: ผลแห้งเมล็ดล่อน ผลขนาดเล็ก แห้งไม่แตกเมือ่ แก่แต่ละ ผลมี 1 เมล็ด

Dehiscent: แตก (ผล)แตกเปิดออก

Acorn: ผลแห้งเปลือกแข็ง แบบผลก่อ มีกาบหุม้ ผล

Dormancy: ระยะพักตัว ระยะเวลาจากเมล็ดแก่จนถึงเมล็ดงอก

Alternate: เรียงสลับ (ใบ) ติดกับก้านใบไม่ตรงกัน

Drupe: ผลมีเนื้อเมล็ดแข็ง ผลแบบพุทรา เมล็ดอยู่ในหน่วยผล เปลือกแข็ง (pyrene) ที่มาจากเอนโดคาร์ป

Aril: เนือ้ หุม้ เมล็ด เนื้อที่หุ้มติดเมล็ด มักมีสีสดเกิดจากก้านผล Axillary: ซอกใบ ตำแหน่งที่ใบติดกับลำต้น Berry: ผลมีเนื้อเมล็ดมาก ผลเดี่ยวที่พัฒนาจากดอกเดี่ยวมีเมล็ด ภายในจำนวนมาก Biodiversity: ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายของ สิง่ มีชวี ติ ทั้งในระดับพันธุกรรม ชนิด และระบบนิเวศ

Elliptic: รูปรี ลักษณะ(ใบ)ที่กว้างตรงกลาง ปลายทั้งสองด้านเรียว แหลม Embryo: ต้นอ่อน ยอดและรากในเมล็ดที่ยังไม่เจริญเต็มที่ EMR: East Malling Research: EMR หน่วยงานของประเทศ อังกฤษทีร่ ว่ มงานกับหน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ในโครงการของ Darwin

Buttress: พูพอนส่วนที่ยื่นออกมาเป็นแผ่นบริเวณโคนต้นมาจากราก

Endemic: พืชเฉพาะถิ่น ชนิดพันธุ์ที่พบในพื้นที่และอยู่เฉพาะพื้นที่ เดียว

Calyx : วงกลีบเลี้ยง อยู่ชั้นนอกสุดของดอก

Endocarp: เอนโดคาร์ป ผนังชัน้ ในของผลทีม่ าจากรังไข่

Capsule: ผลแห้งแตก ผลมีหนึ่ง ถึงหลายเมล็ดแตกออกเป็นกลีบ เมื่อแก่

Endosperm: เอนโดสเปิร์ม เนื้อเยื่อที่พัฒนามาจากถุงต้นอ่อน เป็น ที่สะสมอาหารของเมล็ด

Climax forest: ป่าเสถียร ป่าขัน้ สุดท้ายที่ไม่ถูกรบกวน ระบบนิเวศ พัฒนาเต็มที่ในทางโครงสร้าง องค์ประกอบของชนิด ดินและ สภาพ แวดล้อมของพืน้ ที่

Entire: เรียบ (ขอบใบ)ไม่มหี ยัก หรือ เว้า

Community forest: ป่าชุมชน ป่าที่มีการจัดการดูแลโดยชุมชน

Epicotyl: เอพิคอตทิล ส่วนของต้นกล้าที่อยู่เหนือใบเลี้ยง Epiphyte: พืชอิงอาศัย พืชที่เจริญเติบโตอยู่บนไม้อื่น แต่ไม่ได้ใช้ อาหารหรือน้ำจากพืชที่ไปอาศัย

Coppicing: การแตกยอดใหม่จากตอเดิม ยอดที่แตกใหม่อาจมีมาก กว่าหนึง่ ยอด

Evergreen: ไม่ผลัดใบ พืชที่มีใบสีเขียวตลอดปี

Corolla: วงกลีบดอก

Exocarp: เอกโซคาร์ป ผนังชัน้ นอกของผลทีม่ าจากรังไข่

Cotyledon: ใบเลีย้ ง ใบจากเมล็ดเป็นส่วนหนึ่งของต้นอ่อน

Exotic: พืชต่างถิน่ ชนิดพันธุ์ที่นำมาจากที่อื่น ไม่ใช่พันธุ์ท้องถิ่น

Cupule: กาบหุ้มผล ส่วนที่เจริญจากฐานของผลเปลือกแข็งมาคลุม ผล เช่น ในไม้กลุม่ ก่อ

Extirpation: การสูญพันธุใ์ นพืน้ ที่ การสูญเสียสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิด หนึง่ ไปจากพืน้ ที่

Cyme: ช่อกระจุก ช่อมีกิ่งแยก เริ่มบานจากกลางหรือปลายช่อก่อน

Extinction: การสูญพันธุ์ การที่สิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งหมดไป จากโลก

ปลูกให้เป็นป่า 179


Fire break: แนวกันไฟ พื้นที่ที่ถางพืชออกเป็นแนวเพื่อป้องกันไม่ ให้ไฟลาม

Imparipinnate: ใบประกอบขนนกปลายคี่ ใบประกอบที่มีจำนวน ใบย่อยเป็นเลขคี่

Forest landscape restoration: การฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้ การจัด การพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายหรือพื้นที่เสื่อมโทรมแบบองค์รวมเพื่อฟื้นฟู กลไกการทำงานและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เพื่อความเป็นอยู่ ทีด่ ขี องมนุษย์ ซึง่ มักรวมถึงการฟืน้ ฟูปา่ ด้วย

Indehiscent: ไม่แตก (ผล)ไม่แตกเปิดออก Indigeous: ท้องถิน่ พืชพืน้ เมืองในท้องถิน่ ตรงข้ามกับ exotic Inflorescence: ช่อดอก กลุ่มของดอกที่เจริญบนก้านเดียวกัน

Forest restoration: การฟื้นฟูป่า เป็นการปลูกป่าชนิดหนึ่งที่เน้น การสร้างให้ปา่ มีลกั ษณะเหมือนป่าดัง้ เดิมของพืน้ ทีม่ ากทีส่ ดุ Framework species method: วิธีพรรณไม้โครงสร้าง การปลูก พรรณไม้ท้องถิ่นที่โตและสร้างเรือนยอดครอบคลุมพื้นที่ได้เร็วดึงดูด สัตว์ที่กระจายเมล็ดและช่วยเร่งการฟื้นตัวของความหลากหลายทาง ชีวภาพ Girth at breast height: GBH เส้นรอบวงทีร่ ะดับอก เส้นผ่าศูนย์ กลางทีร่ ะดับอก เส้นรอบวงของลำต้นทีค่ วามสูง 130 ซม.

Infructescence: ช่อผล กลุ่มของผลที่เจริญมาจากช่อดอก Internode: ปล้อง ช่วงลำต้นระหว่างข้อ Lancecolate: รูปใบหอก (ใบ) กว้างที่สุดตรงกลาง ปลายแหลม Leaf-exchange: ผลัดใบระยะสั้น แตกใบใหม่พร้อม หรือในเวลา ทีใ่ กล้เคียงกับทีท่ ง้ิ ใบ

Genus: สกุล กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่สูงกว่าระดับชนิด

Lenticel: รูอากาศ รูบนลำต้น มักมีขอบแข็งยกสูงจากผิว ใช้แลก เปลี่ยนก๊าซ

Glabrous: เกลีย้ ง ไม่มีขน

Lobe: ลอน ลักษณะหยักโค้งของขอบกลีบดอก กลีบเลี้ยงหรือใบ

Gland: ต่อม อวัยวะสำหรับหลั่งสาร มักเป็นจุดหรือตุ่มนูน อยู่บนผิว หรือฝังอยู่ในเนื้อเยื่อ

Locule: ช่อง ช่องในรังไข่ หรือ ช่องในอับเรณู

Glomerule: ช่อกลุม่ แน่น ช่อดอกที่ประกอบด้วยดอกที่ก้านสั้น ๆ Germination percent: GP อัตราการงอก จำนวนเมล็ดที่งอก หาร ด้วยจำนวนทีเ่ พาะ คูณด้วย 100 Habit: วิสัย ลักษณะรูปแบบการเจริญของพืช เช่น เป็น ไม้ต้น ไม้พุ่ม ฯลฯ

Median length of dormancy: MLD ค่ากลางระยะพักตัว จำนวนวันจากที่เริ่มเพาะเมล็ดจนถึงวันที่เมล็ดงอกได้ครึ่งหนึ่งจากที่ งอกทัง้ หมด Mychorrhiza: ไมคอไรซา เชื้อราที่อาศัยอยู่กับรากพืชในแบบพึ่งพา Nut: ผลเปลือกแข็ง ผลแห้งแบบก่อ มีเพียงเมล็ดเดียว Oblong: รูปรียาว รูปร่างยาวมากกว่ากว้าง กว้างที่สุดช่วงกลาง

Hardening off: การทำกล้าให้แกร่ง การปรับสภาพของกล้าไม้ใน เรือนเพาะชำให้ค่อย ๆ ชินกับสภาพที่จะพบในแปลงปลูก Herbarium: หอพรรณไม้ ที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้แห้งเพื่อ การศึกษา Hemiparasite: กึง่ ปรสิต พืชกาฝากที่ดำรงชีวิตโดยดึงน้ำและแร่ธาตุ จากพืชที่อาศัยอยู่แต่ยังมีเนื้อเยื่อสีเขียวและสังเคราะห์แสงได้ Horticulture Research International: HRI ชือ่ เดิมของ EMR Hypocotyl: ไฮโปฃอตทิล ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ต่ำกว่าใบเลี้ยง และ จะเจริญไปเป็นราก

Obovate: รูปไข่กลับ ส่วนกว้างที่สุดอยู่ด้านบน Obovoid: ทรงไข่กลับ รูปทรง 3 มิติที่ส่วนฐานแคบกว่า Opposite: ออกตรงข้าม การเรียงตัวของใบที่แตกออกจากกิ่งจาก ข้อเดียวกันในทิศตรงกันข้ามกัน Ovary: รังไข่ ส่วนของดอกที่มีไข่ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเมล็ด ต่ออยู่กับ ก้านเกสรตัวเมีย Ovate: รูปไข่ ฐานกว้างกว่าด้านปลาย ส่วนปลายมน Ovoid: ทรงรูปไข่ ส่วนฐานแคบกว่าด้านบน

180

ปลูกให้เป็นป่า


Panicle: ช่อแยกแขนง ช่อดอกที่แตกแขนงจากแกนกลาง มีดอก ย่อยจำนวนมาก

Root collar diameter: เส้นผ่าศูนย์กลางคอราก เส้นผ่าศูนย์ กลางทีว่ ดั จากบริเวณทีล่ ำต้นต่อกับราก

Paripinnate: ใบประกอบขนนกปลายคู่ ใบประกอบที่มีจำนวนใบ ย่อยเป็นเลขคู่

Relative growth rate: RGR อัตราการเจริญเติบโตสั มพัทธ์ ขนาดที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับขนาดเฉลี่ยเดิม เพื่อให้สามารถเปรียบ เทียบระหว่างต้นไม้ทม่ี ขี นาดแตกต่างกันได้

Phenology: ชีพลักษณ์ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ของสิ่งมีชีวิต เช่น ช่วงการออกดอกติดผลของต้นไม้ Pinnate: ใบประกอบขนนก ใบประกอบที่มีใบย่อยออกตามแนว ของก้านใบ Pod: ฝัก ผลของพืชตระกูลถั่วแตกออกข้างเดียวตามแนวยาว Pricking out: การย้ายกล้า การนำต้นกล้าจากถาดเพาะมาปลูก ลงในภาชนะปลูก Primary forest: ป่าสมบูรณ์ (ป่าขั้นสุดท้าย) ที่ไม่ถูกรบกวนและ พัฒนาเต็มทีใ่ นเชิงของโครงสร้างและองค์ประกอบของชนิด Pyrene: หน่วยผล โครงสร้างแข็งในผลแบบ drupe มาจากเอนโด คาร์ป ภายในมีเมล็ดอยู่

Root trainer: กระถางดัดราก ภาชนะปลูกที่ภายในมีสันตามแนวดิ่ง เพื่อบังฃับให้รากเจริญลงด้านล่าง ป้องกันการคดงอของราก Sapling: ลูกไม้ ต้นไม้ที่โตกว่ากล้าไม้ แต่ ยังไม่โตเต็มที่ Saprophytic: กินซาก พืชที่ใช้คาร์บอนและพลังงานที่ได้จากสาร อินทรีย์ที่กำลังย่อยสลาย Seed: เมล็ด ส่วนที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช เจริญ มาจากไข่ทไ่ี ด้รบั การผสม ภายในมีตน้ อ่อน Serrate: จักฟันเลือ่ ย (ขอบใบ) หยักเป็นซี่คล้ายฟันเลื่อย Spike: ช่อเชิงลด ช่อดอกไม่แตกแขนง ดอกย่อยไม่มีก้าน Spiral: เวียนสลับ ลักษณะการติด (ของใบ) ที่ค่อย ๆ เวียนขึ้นไป

Raceme: ช่อกระจะ ช่อดอกที่ดอกย่อยมีก้านยาว ติดอยู่บนแกน กลางทีไ่ ม่แตกแขนง Receptacle: ฐานรองดอก ส่วนปลายของก้านดอกที่ขยายตัวออก ติดกับดอกผลของไม้ในวงศ์มะเดือ่ เป็นส่วนของฐานรองดอก Reforestration: การปลูกป่า การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งรวมไปถึง การปลูกป่าเพื่อการทำไม้ วนเกษตร ป่าชุมชน และการ ฟืน้ ฟูปา่

Stipule: หูใบ แผ่นคล้ายใบติดอยู่บริเวณบานก้านใบ Syconium: ผลแบบมะเดื่อ ลักษณะผลรวมทีถ่ กู ฐานรองดอกหุม้ ไว้ Testa: เปลือกหุ้มเมล็ด ส่วนที่หุ้มและช่วยปกป้องเมล็ดเจริญมาจาก เนื้อเยื่อที่หุ้มรังไข่ Total Nursery time: ระยะเวลาในเรือนเพาะชำ จำนวนเดือน ที่ต้องใช้ในการเตรียมกล้าไม้นับจากเพาะเมล็ดจนกระทั่งพร้อมปลูก (ไม่นับเวลาที่รักษาเมล็ดไว้ก่อนเพาะ) Treelet: ไม้ขนาดเล็ก สูงมากกว่า 5 เมตร เมื่อโตเต็มที่ Trifoliate: ใบประกอบแบบสามใบ มีใบย่อยสามใบ เช่นพืชพวกถั่ว

ปลูกให้เป็นป่า 181


รายชือ่ พรรณไม้ ชือ่ ภาษาไทยในรายชือ่ พรรณไม้นอ้ี า้ งอิงจากหนังสือชือ่ พรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตนิ นั ท์, 2544) และเอกสารของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า Leguminosae, Caesalpinioideae Acrocarpus fraxinifolius Wight & Arn. Rutaceae Acronychia pedunculata (L.) Miq. Parkeriaceae Adiantum philippense L. Orobanchaceae Aeginetia indica Roxb. Gesneriaceae Aeschynanthus hosseusii Pell. Leguminosae, Caesalpinioideae Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib Apocynaceae Aganosma marginata (Roxb.) G. Don Araceae Amorphophallus macrorhizus Craib Compositae Anaphalis margaritacea (L.) Bth. & Hk. f. Athyriaceae Anisocampium cumingianum Presl Theaceae Anneslea fragrans Wall. Orchidaceae Anthogonium gracile Wall. ex Lindl. Euphorbiaceae Antidesma acidum Retz. Gramineae Apluda mutica L. Euphorbiaceae Aporusa villosa (Lindl.) Baill. Leguminosae, Minosoidea Archidendron glomeriflorum (Kurz) Niels. Moraceae Artocarpus lanceolata Gramineae Arundinella setosa Trin. Aspleniaceae Asplenium excisum Presl Balanophoraceae Balanophora abbreviata Bl. Balanophoraceae Balanophora fungosa J.R. & G. Forst. Balanophoraceae Balanophora laxiflora Hemsl Orchidaceae Bulbophyllum propinquum Krzl. Gramineae Bambusa tulda Roxb. Acanthaceae Barleria cristata L. Compositae Blumeopsis falcata (DC.) Gagnep. Euphorbiaceae Breynia fruticosa (L.) Hk. f. Anacardiaceae Buchanania lanzan Spreng. Orchidaceae Bulbophyllum bittnerianum Schltr. Orchidaceae Bulbophyllum congestum Rol. Palmae Bulbophyllum suavissimum Rol. Calamus palustris Griff. var. cochinchinensis Becc. Orchidaceae Cyperaceae Carex continua Cl. Fagaceae Castanopsis tribuloides (Sm.) A. DC. Flacourtiaceae Casearia grewiifolia Vent. Leguminosae, Caesalpinioideae Cassia fistula L. Fagaceae Castanopsis argyrophylla King ex Hk. f. Fagaceae Castanopsis armata (Roxb.) Spach Celastraceae Celastrus paniculatus Willd. Parkeriaceae Cheilanthes tenuifolia (Burm. f.) Sw. Oleaceae Chionanthus sutepensis (Kerr) Kiew Meliaceae Chukrasia tabularis A. Juss. Orchidaceae Cleisomeria lanata (Lindl.) Lindl. Orchidaceae Cleisostoma arietinum (Rchb. f.) Garay

182

ปลูกให้เป็นป่า

สะเดาช้าง กะอวม หญ้าขวาก, กูดหูควาก ดอกดินแดง, ปากจะเข้ ลูกไก่ มะค่าโมง เดื่อดิน, โมกเครือ บุก หนาดดอย กูดเปื๊อย สารภีป่า ว่านพร้าว เม่าสร้อย หญ้าพริกพราน เหมือดโลด ยาเป๊าะ หาด หญ้าคายหลวง เฟิรน์ ทางจาก หนุนดิน,โหราบอน กากหมากตาฤาษี กากหมาก เอือ้ งกีบม้าขาว บงดำ ก้านชัง่ , อังกาบ ผักกาดโคก ครามน้ำ มะม่วงหัวแมงวัน สิงโตกรอกตา เอือ้ งขนตาสิงโต เอื้องสีเที่ยง หวายขริง หญ้าคมบาง ก่อใบเลื่อม กรวยป่า ชัยพฤกษ์, ลมแล้ง ก่อหยุม ก่อหรั่ง กระทงลาย, มะแตก เฟิรน์ ท้องเงิน,โชนผี ข้าวสารสุเทพ เสียดกา คอกว่าง เขาแพะ


Cleisostoma fuerstenbergianum Krzl. Coelogyne schultesii Jain & Das. Coelogyne trinervis Lindl. Colona flagrocarpa (Cl). Craib Combretum latifolium Bl. Combretum punctatum Bl. Congea tomentosa Roxb. var. tomentosa Craibiodendron stellatum (Pierre) W.W. Sm. Curcuma parviflora Wall. Curcuma zedoaria (Berg.) Rosc. Cymbidium aloifolium (L.) Sw. Cymbidium ensifolium (L.) Sw., Cyperus cuspidatus Kunth, Dendrobium porphyrophyllum Guill. Dendrobium secundum (Bl.) Lindl. Dalbergia cultrata Grah ex Bth. Dalbergia velutinum (Willd.) DC. ssp. velutinum Debregesia velutina (Burm. f.) Wedd. Dendrobium heterocarpum Lindl. Dendrobium lindleyi Steud. Dendrocalamus membranaceus Munro Dendrocalamus nudus Pilg. Dendrophthoe pentandra (L.) Miq. Desmodium gangeticum (L.) DC. Desmodium motorium (Houtt.) Merr. Didymocarpus kerrii Craib Didymocarpus wattianus Craib Diospyros glandulosa Lace Diospyros martabaica Cl. Diplazium dilatatum Bl. Dipterocarpus costatus Gaertn. f. Dipterocarpus turbinatus Gaertn. f. Dischidia major (Vahl) Merr. Drynaria bonii C. Chr. Drynaria propinqua (Wall. ex Mett.) J. Sm. ex Bedd. Drynaria rigidula (Sw.) Bedd. Dryopteris cochleata (D. Don) C. Chr. Dunbaria bella Prain Elaeocarpus rugosus Wall. ex C. Muell. Engelhardia serrata Bl. Engelhardia spicata Lechen. Eria acervata Lindl. Eria paniculata Lindl. Eugenia albiflora Duth. ex Kurz Eulalia siamensis Bor Exacum pteranthum Wall. ex Colebr. Ficus benjamina L. Ficus altissima Bl. Ficus microcarpa L.f.

Orchidaceae Orchidaceae Orchidaceae Tiliaceae Combretaceae Combretaceae Verbenaceae Ericaceae Zingiberaceae Zingiberaceae Orchidaceae Orchidaceae Cyperaceae Orchidaceae Orchidaceae Leguminosae, Papilionoideae Leguminosae, Papilionoideae Urticaceae Orchidaceae Orchidaceae Gramineae, Bambusoideae Gramineae, Bambusoideae Loranthaceae Leguminosae, Papilionoideae Leguminosae, Papilionoideae Gesneriaceae Gesneriaceae Ebenaceae Ebenaceae Athyriaceae Dipterocarpaceae Dipterocarpaceae Asclepiadaceae Polypodiaceae Polypodiaceae Polypodiaceae Dryopteridaceae Leguminosae, Papilionoideae Elaeocarpaceae Juglandaceae Juglandaceae Orchidaceae Orchidaceae Myrtaceae Gramineae Gentianaceae Moraceae Moraceae Moraceae

เอือ้ งช่อมะม่วง เอื้องหิน เอื้องหมาก ยาบใบยาว อวดเชือก สะแกวัลย์ เครือออน, ออนแดง ตาฉีเ่ คย กระเจียวขาว ขมิ้นอ้อย จุหลัน กะเรกะร่อน กกรังกาป่า เอื้องจำปา เอื้องแปรงสีฟัน กระพี้เขาควาย หางไหล, เครือบี้ ไข่ปลา เอื้องสีตาล เอือ้ งผึง้ ซางดอย ไม้ซาง กาฝากมะม่วง อีเหนียว ช้อนนางรำ กำปองดินดอกขาว, ชาฤาษี ส้านเต่า กล้วยฤาษี ไข่เต่า โหรากระบือ ยางปาย ยางแดง เกล็ดนาคราช กระแตไต่ไม้ กูดฮอก กระปรอกเล็ก ว่ามีหล่าเด๊าะ ขางครัง่ มะมืน่ , พีพา่ ย ฮ้อยจั่น ค่าหด เต่าทอง ทำทาน มะห้า หญ้ากาย ฉัตรพระอินทร์ ไทรย้อย กร่าง ไทรย้อยใบทู่

ปลูกให้เป็นป่า 183


Ficus parietalis Bl. Ficus superba (Miq.) Miq. Garcinia mckeaniana Craib Garcinia speciosa Wall. Gardenia obtusifolia Roxb. ex Kurz Geodorum recurvum (Roxb.) Alst. Geodorum siamense Rol. ex Dow. Geophila repens (L.) I.M. John. Globba kerrii Craib Globba nuda K. Lar. Globba villosula Gagnep. Glochidion kerrii Craib Gluta usitata (Wall.) Hou Grewia abutilifolia Vent. ex Juss. Habenaria thailandica Seid. Hedychium ellipticum Ham. ex J. Sm. Helicia nilagirica Bedd. Helicteres elongata Wall. ex Boj. Helicteres hirsuta Lour. Helicteres isora L. Helixanthera pulchra (DC.) Dans. Heteropogon contortus (L.) P. Beauv. ex Roem. & Schult. Hovenia dulcis Thunb. Impatiens violaeflora Hk. f. Indigofera cassioides Rottl. ex DC. Inula cappa (Ham. ex D. Don) DC. Irvingia malayana Oliv. ex Benn. Kaempferia rotunda L. Lagerstroemia cochinchinensis Pierre Lindera caudata (Nees) Bth. Lithocarpus craibianus Barn Lithocarpus elegans (Bl) Hatus. ex Soep. Lithocarpus fenestratus (Roxb.) Rehd. Litsea cubeba (Lour.) Pers. Litsea zeylanica (Nees) Nees Lobia nicotianaefolia Roth ex Roem. & Schult. Macrosolen avenis (Bl.) Dans. Macrosolen cochinchinensis (Lour.) Tiegh., Mangifera caloneura Kurz Manglietia garrettii Craib Melia toosendan Sieb. & Zucc. Michelia baillonii Pierre Microlepia puberula v. A. v. Ros. Millettia cinerea Bth. Morus macroura Miq. Mucuna macrocarpa Wall. Musa itinerans Cheesm.

184

ปลูกให้เป็นป่า

Moraceae Moraceae Guttiferae Guttiferae Rubiaceae Orchidaceae Orchidaceae Rubiaceae Zingiberaceae Zingiberaceae Zingiberaceae Euphorbiaceae Anacardiaceae Tiliaceae Orchidaceae Zingiberaceae Proteaceae Sterculiaceae Sterculiaceae Sterculiaceae Loranthaceae Zingiberaceae

มะเดือ่ ขน ไกร มะดะ มะระขี้นก, พะวา กระมอบ ว่านนางตาม ว่านจูงนาง มะลิดนิ ข่าลิง กล้วยคอดำ ว่านขมิน้ ,ว่านดอกเหลือง ไคร้ รักใหญ่ มลาย นางอัว้ ตาเหินไหว เหมือดคนตัวผู้ ขีอ้ น้ ปอเต่าไห้ ปอทับ, ปอปิด กล้วยไม้ หญ้าหนวดฤาษี

Rhamnaceae Balsaminaceae Leguminosae, Papilionoideae Compositae Irvingiaceae Zingiberaceae Lythraceae Lauraceae Fagaceae Fagaceae Fagaceae Lauraceae Lauraceae Campanulaceae Loranthaceae Loranthaceae Anacardiaceae Magnoliaceae Meliaceae Magnoliaceae Dennstaedtiaceae Leguminosae, Papilionoideae Moraceae Leguminosae, Papilionoideae Musaceae

หมอนหิน เทียนดอย, เทียนป่า จุยอาเหมื่อ หนาดคำ, เขืองแผงม้า กระบก ว่านนอนหลับ, ว่านหาวนอน ตะแบก เลือดควาย ก่อ ก่อหม่น ก่อก๋อ, ก่อพวง ตะไคร้ตน้ แหลบุก หางไก่ฟา้ ประทัดทอง ประทัดนวล มะม่วงกะล่อน, มะม่วงป่า มณฑาป่า, มณฑาแดง เลี่ยน จำปีปา่ กูดผี พีจ้ น่ั หม่อนหลวง หมามุย่ ใหญ่ แดง,กล้วยหก


Myrica esculenta B.-H. ex D. Don Nervilia aragoana Gaud. Nervilia plicata (Andr.) Schltr. Oberonia pachyphylla King & Pantl. Oleandra undulata (Willd.) Ching Oroxylum indicum (L.) Kurz Oryza meyeriana (Zoll. & Mor.) Baill. var. granulata (Watt) Duist. Ostodes paniculata Bl. Panicum notatum Retz. Parameria laevigata (Juss.) Mold. Pavetta fruticosa L. Peristylus constrictus (Lindl.) Lindl. Phlogacanthus curviflorus Phoebe aff. pallida (Nees) Nees Phoebe lanceolata (Nees) Nees Phoenix loureiri Kunth var. loureiri Pholidota articulata Lindl. Phyllanthus emblica L. Phyllanthus sootepensis Craib Pilea trinervia Wight Pinus kesiya Roy. ex Gord. Pinus merkusii Jungh & De Vriese Platostoma coloratum (D. Don) A.J. Platon Platycerium wallichii Hk. Plectocomia kerrana Becc. Polypodium argutum (J. Sm. ex Hk. & Grev.) Hk. Polypodium subauriculatum Bl. Pratia begoniifolia (Wall. ex Roxb.) Lindl. Premna herbacea Roxb. Psychotria ophioxyloides Wall. Pterocarpus macrocarpus Kurz Pyrenaria garrettiana Craib Pyrrosia porosa (Wall. ex Presl) Hoven. Quercus brandisiana Kurz Quercus glabricupula Barn. Quercus incana Roxb. Quercus lenticellata Barn. Quercus lineata Bl. Quercus vestita Rehd. & Wils Rhododendron vietchianum Hk. Rhychospora rubra (Lour.) Mak. Sapria himalayana Griff. Sarcosperma arboreum Bth. Sauropus hirsutus Beille Schizachyrium sanguineum (Retz.) Alst.

Myricaceae Orchidaceae Orchidaceae Orchidaceae Oleandraceae Bignoniaceae Gramineae

เม็ดชุนตัวผู้ ว่านพระฉิม แผ่นดินเย็น เอื้องแพนใบเล็ก เถานาคราช เพกา, มะลิดไม้ ข้าวนก

Euphorbiaceae Gramineae Apocynaceae Rubiaceae Orchidaceae Acanthaceae Lauraceae Lauraceae Palmae Orchidaceae Euphorbiaceae Euphorbiaceae Utricaceae Pinaceae, pine Pinaceae, pine Labiatae Polypodiaceae Palmae Polypodiaceae Polypodiaceae Campanulaceae Verbenaceae Rubiaceae Leguminosae, Papilionoideae Theaceae Polypodiaceae Fagaceae Fagaceae Fagaceae Fagaceae Fagaceae Fagaceae Ericaceae Cyperaceae Rafflesiaceae Sapotaceae Euphorbiaceae Gramineae

มะคังดง หญ้าไข่เหาหลวง เครือซูด เข็มใหญ่ เอือ้ งนางตาย ห้อมช้าง สะทิบ ตองหอม, แหลบุก ปาล์มสิบสองปันนา เอื้องลำต่อ มะขามป้อม มะขามป้อมดิน ยมหินสามทาง สนสามใบ สนสองใบ ห้อมป่า ชายผ้าสีดา กำพด กูดอากู กูดผา, เฟิรน์ หางนกยูง สะเดาดิน ส้มกัง้ จันทน์คนั นา ประดู่ เมีย่ งผี กูดหมาก ก่อตาควาย ก่อเรียบ ก่อตลับ ก่อตาคลอย ก่อเทา ก่อแอบ กายอม หญ้าหัวแดง กระโถนฤาษี มะยาง ผักหวานนก หญ้ารังตัก๊ แตน

ปลูกให้เป็นป่า 185


Schleichera oleosa (Lour.) Oken Scleria levis Retz. Scurrula atropurpurea (Bl.) Dans. Scurrula ferruginea (Jack) Dans. Securidaca inappendiculata Hassk. Selaginella ostenfeldii Hier. Sericocalyx quadrafarius (Wall. ex Nees) Brem. Solena heterophylla Lour. ssp. heterophylla Sorbus verrucosa (Decne.) Rehd. Spatholobus parviflorus (Roxb.) O.K. Spondias axillaris Roxb. Spondias pinnata (L. f.) Kurz Stemona burkillii Prain Sterculia pexa Pierre Stereospermum neuranthum Kurz Streptocaulon juventas (Lour.) Merr. Striga masuria (B.-H. ex Bth.) Bth. Strobilanthes apricus (Hance) T. And. Strychnos nux-vomica L. Terminalia mucronata Craib & Hutch. Tetrastigma laoticum Gagnep Tetratstigma obovatum (Laws.) Gagnep. Tainia hookeriana King & Pantl. Tectaria herpetocaulos Holtt. Tectaria impressa (Fee) Holtt. Tectona grandis L. f. Terminalia chebula Retz. var. chebula Thelypteris subelata (Bak.) K. Iw. Toddalia asiatica (L.) Lmk. Trichotosia dasyphylla (Par. & Rchb. f.) Krzl. Tristaniopsis burmanica (Griff.) Wils. & Wat. Uncaria macrophylla Wall. Vitex limoniifolia Wall. ex Kurz Viscum orientale Willd. Vaccinium sprengelii (D. Don) Sleum. Vanda brunnea Rchb. f. Vernonia volkameriifolia DC. Viburnum inopinatum Craib Viscum ovalifolium Wall. ex DC. Vitex canescens Kurz Xanthophyllum virens Roxb. Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub. var. kerrii (Craib & Hutch.) Niels. Zingiber smilesianum Craib

186

ปลูกให้เป็นป่า

Sapindaceae Cyperaceae Loranthaceae Loranthaceae Polygalaceae Selaginellaceae Acanthaceae Cucurbitaceae Rosaceae Leguminodae, Papilionoideae Anacardiaceae Anacardiaceae Stemonaceae Sterculiaceae Bignoniaceae Asclepiadaceae Scrophulariaceae Acanthaceae Loganiaceae Combretaceae Vitaceae Vitaceae Orchidaceae Dryopteridaceae Dryopteridaceae Verbenaceae Combretaceae Thelypteridaceae Rutaceae Orchidaceae Myrtaceae Rubiaceae Verbenaceae Loranthaceae Ericaceae Orchidaceae Compositae Caprifiliaceae Viscaceae Verbenaceae Polygalaceae Leguminosae, Mimosoideae

ตะคร้อ, มะโจ๊ก หญ้าสามคม กาฝาก กาฝาก ชองระอา ผักควา ตีนตัง่ เตีย้ ตำลึงตัวผู้ สาลีจ่ นี เถาพันซ้าย มะกัก มะกอก โปงมดง่าม ปอขาว แคทราย เถาประสงค์ หญ้าแม่มด พญาสามราก แสลงใจ มะเกลือเลือด ถลกบาตร ส้มปูน เอื้องลีลาปากลาย กูด กูดกวาง สัก สมอไทย กูด ผักแปมป่า, เครืองูเห่า สามก้อม ทอเนอะ เขาควายไม่หลูบ ตีนนก, สวอง กาฝากต้นเต็ง หัวแหวน เอื้องสามปอยนก มะโหกโตน, ยาแก้ อูนป่า กาฝากไม้ตาทุม่ คำปาน, ผ่าเสี้ยน ขางขาว แดง

Zibgiberaceae

ข่าหัว


เอกสารอ้างอิงและอ่านประกอบ เอกสารทีม่ เี ครือ่ งหมายดอกจัน (*) มีอยูท่ ห่ี น่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เต็ม สมิตินันทน์. 2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ฉบับแก้ไขเพิม่ เติม พ.ศ. 2544). กรุงเทพ. 810 หน้า หน่ ว ยวิ จ ั ย การฟื ้ น ฟู ป ่ า . 2541. ป่ า เพื ่ อ อนาคต: การปลูกไม้ทอ้ งถิน่ เพือ่ ฟืน้ ฟูระบบนิเวศของป่า. Elliott} S., D. Blalesley และ วิไลวรรณ อนุสารสุนทร. หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ , 2543. เมล็ดและกล้าไม้ยนื ต้นเพือ่ การฟืน้ ฟูปา่ ในภาคเหนือของประเทศไทย. จานิส เคอร์บ,้ี สตีเฟน เอลเลียต, เจ. เอฟ. แม็กเวลล์ เดวิท บาเครสลีย์ และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. 151 หน้า. *Adhikari, B., 1996. Relationships between Forest Regeneration and Ground Flora Diversity in Deforested Gaps in Doi SuthepPui National Park, Northern Thailand. M.Sc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University. Bhumibamon, S., 1986. The environmental and socio-economic aspects of tropical deforestation: a case study of Thailand. Department of Silviculture, Faculty of Forestry, Kasetsart University. 102 pp. *Blakesley, D., S. Elliott and V. Anusarnsunthorn, 1998. Low technology tree propagation and the restoration of natural forest ecosystems. In: Davey, M. R., P. G. Anderson, K. C. Lowe and J. B. Power (eds.); Tree Biotechnology: Towards the Millennium. Nottingham University Press. pp 31-44.

thorn, 2002. Propagating framework tree species to restore seasonally dry tropical forest: implications of seasonal seed dispersal and dormancy. Forest Ecology and Management, 164: 31-38. *Blakesley, D. and T. Marks, 2003. Clonal forestry. In Thomas, B., D. Murphy, and B. Murray (eds.). Encyclopedia of Applied Plant Science. Elsevier. pp 1402-1408. *Blakesley, D. and S. Elliott, 2003. Restoring Northern Thailand’s Highland Forests. ETFRN News, 38: 11-13. *Blakesley, D., G. Pakkad, C. James, F. Torre and S. Elliott, 2004. Genetic diversity of Castanopsis acuminatissima (Bl.) A. DC in northern Thailand and the selection of seed trees for forest restoration. New Forests 27: 89-100. Blate, G., D. Peart and M. Leighton, 1998. Post-dispersal predation on isolated seeds: a com-parative study of 40 tree species in a Southeast Asian rainforest. Oikos, 82: 522538.

*Blakesley, D., V. Anusarnsunthorn, J. Kerby, P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, K. Hardwick and S. Elliott, 2000. Nursery technology and tree species selection for restoring forest biodiversity in northern Thailand. In: Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods and V. Anusarnsunthorn (eds). Forest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University. pp 207-222. *Blakesley, D., S. Elliott, C. Kuarak, P. Navakitbumrung, S. Zangkum and V. Anusarnsun-

ปลูกให้เป็นป่า 187


*Chaiyasirinrod, S., 2001. Effects of Media and Fungicide on Seed Germination and Early Seedling Growth. BSc. Special Project, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University. *Chantong, W., 1999. Effects of forest restoration activities on the bird community of a degraded upland watershed. M.Sc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University.

*Elliott, S., S. Promkutkaew and J. F. Maxwell, 1994. The phenology of flowering and seed production of dry tropical forest trees in northern Thailand. Proc. Int. Symp. on Genetic Conservation and Production of Tropical Forest Tree Seed, ASEAN-Canada Forest Tree Seed Project, pp 52-62.

Clark, J. S., 1998. Why trees migrate so fast: confronting theory with dispersal biology and the paleorecord. Am. Nat. 152 (2): 204224.

*Elliott, S., V. Anusarnsunthorn, N. Garwood and D. Blakesley, 1995. Research needs for restoring the forest of Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc., 43: 179-184.

Corlett, R. T., 1998. Frugivory and seed dispersal by vertebrates in the oriental (Indomalayan) region. Biological Review, 73: 413448.

*Elliott, S., 2000. Defining forest restoration for wildlife conservation. In: Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods and V. Anusarnsunthorn (eds.) Forest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University, pp 13-17.

Corlett, R. T. and Billy C. H. Hau, 2000. Seed dispersal and forest restoration. In: Elliott, S., J., Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods and V. Anusarnsunthorn (eds). Forest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University, pp 317-325. de Rouw, A., 1993. Regeneration by sprouting in slash and burn rice cultivation, Tai rain forest, Cote d’Ivoire. J. Trop. Ecol., 9: 387408. Dinerstein, E. and C. M. Wemmer, 1988. Fruits Rhinoceros eat: dispersal of Trewia nudiflora (Euphorbiaceae) in lowland Nepal. Ecology, 69: 1768-1774. Dugan, P., 2000. Assisted natural regeneration: methods, results and issues relevant to sustained participation by communities. In: Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K Woods and V. Anusarnsunthorn (eds.). Forest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University. pp 195-199. Dytham, C., 1999. Choosing and Using Statistics: A Biologist’s Guide. Blackwell Sceince Ltd, Oxford, U.K. 218 pp. *Elliott, S., K. Hardwick, S. Promkutkaew, G. Tupacz and J. F. Maxwell, 1994. Refor-

188

estation for wildlife conservation: some research priorities. J. Wildlife in Thailand 4(1).

ปลูกให้เป็นป่า

*Elliott, S., P. Navakitbumrung, S. Zangkum, C. Kuaraksa, J. Kerby, D. Blakesley and V. Anusarnsunthorn, 2000. Performance of six native tree species, planted to restore degraded forestland in northern Thailand and their response to fertiliser. In: Elliott S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods and V. Anusarnsunthorn (eds.). Forest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University, pp 244-255. *Elliott, S. and G. Cubitt, G., 2001. The National Parks and Other Wild Places of Thailand. New Holland, London, 176 pp. *Elliott, S., C. Kuaraksa, P. Navakitbumrung, S. Zangkum, V. Anusarnsunthorn and D. Blakesley, 2002. Propagating framework trees to restore seasonally dry tropical forest in northern Thailand. New Forests, 23: 6370. *Elliott, S., P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, V. Anusarnsunthorn and D. Blakesley, 2003. Selecting framework tree species for restoring seasonally dry tropical forests in northern Thailand based on field performance. Forest Ecology and Management, 184: 177-91.


Food and Agriculture Organization of the United Nations, 1997. State of the World’s Forests 1997. FAO, Rome, 200 pp. Food and Agriculture Organization of the United Nations, 2001. State of the World’s Forests 2001. FAO, Rome, 200 pp. Gardner, S., P. Sidisunthorn and V. Anusarnsunthorn, 2000. A Field Guide to Forest Trees of Northern Thailand. Kobfai Publishing Project, Bangkok, 560 pp. Garwood, N. C., 1983. Seed germination in a seasonal tropical forest in Panama: a community study. Ecol. Monog., 53: 159-181. Goosem, S. P. and N. I. J. Tucker, 1995. Repairing the rainforest – theory and practice of rainforest re-establishment in North Queensland’s wet tropics. Wet Tropics Management Authority, Cairns, 71 pp. *Hardwick, K., 1999. Tree colonization of abandoned agricultural clearings in seasonal tropical montane forest in northern Thailand. PhD thesis, University of Wales, Bangor. *Hardwick, K., J. R. Healey and D. Blakesley, 2000. Research needs for the ecology of natural regeneration of seasonally dry tropical forests in Southeast Asia. In: Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods and V. Anusarnsunthorn (eds). Forest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University, pp 165-180.

*Jitlam, N., 2001. Effects of container type and air pruning on the preparation of tree seedlings for forest restoration. MSc. thesis, Biolog y Department, Science Faculty, Chiang Mai University. *Kafle, S. K., 1997. Effects of forest fire protection on plant diversity, tree phenology and soil nutrients in a deciduous dipterocarpoak forest in Doi Suthep-Pui National Park. M.Sc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University. Kammesheidt, L., 1998. The role of tree sprouts in the restoration of stand structure and species diversity in tropical moist forest after slash-and-burn agriculture in Eastern Paraguay. Plant Ecol., 139(2): 155-165. *Karimuna, L., 1995. A comparison of ground flora diversity between forest and plantations in Doi Suthep-Pui National Park. M.Sc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University. *Khopai, O., 2000. Effects of forest restoration activities on the species diversity of ground flora and tree seedlings. MSc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University. *Kopachon, S., 1995. Seed germination and seedling development of dry tropical forest trees: a comparison between dry-seasonfruiting and rainy-season-fruiting species. M.Sc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University.

*Hardwick, K., J. R. Healey, S. Elliott and D. Blakesley, 2004. Research needs for restoring seasonal tropical forests in Thailand: Accelerated natural regeneration. Forest Ecology and Management, 27: 285-302. Hau, C. H., 1999. The establishment and survival of native trees on degraded hillsides in Hong Kong. Ph.D. thesis, The University of Hong Kong. Hitchcock, D. and S. Elliott, 1999. Forest restoration research in northern Thailand, III: Observations of birds feeding in mature Hovenia dulcis Thunb. (Rhamnaceae). Nat. Hist. Bull. Siam Soc., 47: 149-152.

ปลูกให้เป็นป่า 189


*Kopachon, S, K. Suriya, K. Hardwick, G. Pakkad, J. Maxwell, V. Anusarnsunthorn, D. Blakesley, N. Garwood and S. Elliott, 1996. Forest restoration research in northern Thailand: 1. The fruits, seeds and seedlings of Hovenia dulcis Thunb. (Rhamnaceae). Nat. Hist. Bull. Siam Soc., 44: 41-52. *Kopachon, S., K. Suriya, S. Plukum, G. Pakkad, P. Navakitbumrung, J. F. Maxwell, V. Anusarnsuntorn, N. C. Garwood, D. Blakesley and S. Elliott, 1997. Forest restoration research in northern Thailand: 2. the fruits, seeds and seedlings of Gluta usitata (Wall.) Hou (Anacardiaceae). Nat. Hist. Bull. Siam Soc., 45: 205-215. *Kuarak, C., S. Elliott, D. Blakesley, P. Navakitbumrung, S. Zangkum and V. Anusarnsunthorn, 2000. Propagating native trees to restore degraded forest ecosystems in northern Thailand. In: Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods and V. Anusarnsunthorn (eds). Forest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University, pp 257-263. *Kuarak, C., 2002. Factors affecting growth of wildlings in the forest and nurturing methods in the nursery. M.Sc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University. Lamb, D., J. Parrotta, R. Keenan and N. I. J. Tucker, 1997. Rejoining habitat remnants: restoring degraded rainforest lands. In: Laurence, W. F. and R. O. Bierrgaard Jr. (eds.). Tropical Forest Remnants: Ecology, Management and Conservation of Fragmented Communities. University of Chicago Press, Chicago, Il., pp 366-385. Lekagul, B. and J. A. McNeely, 1988. Mammals of Thailand. Darnsutha Press, Bangkok, Thailand, 758 pp. Lekagul, B. and P.D. Round, 2005. A Guide to the Birds of Thailand . Saha Karn Bhaet, Bangkok. 457 pp. Lemmens, R. H. M. J., I. Soeriangara and W. C. Wong (eds), 1995. Plant resources of Southeast Asia No 5(2) Timber Trees: Minor commercial timbers. PROSEA, Bogor, Indonesia.

190

ปลูกให้เป็นป่า

Longman, K. A. and R. H. F. Wilson, 1993. Rooting cuttings of tropical trees. Volume 1 of “Tropical trees: propagation and planting manuals”. Commonwealth Science Council, London. Maginnis, S. and W. J. Jackson (2002). Forest Landscape Restoration Configuration Series, communication material, IUCN Forest Conservation Programme, Gland, Switzerland. *Mannan, A., 1994. The importance of vesicular-arbuscular mycorrhizae (VAM) in deciduous tropical forests. M.Sc. thesis, Biology Department Science Faculty, Chiang Mai University. Martin, G. J., 1995. Ethnobotany: A Methods Manual. Chapman and Hall, London. *Maxwell, J. F. and S. Elliott, 2001. Vegetation and vascular flora of Doi Sutep-Pui National Park, Chiang Mai Province, Thailand. Thai Studies in Biodiversity 5. Biodiversity Research and Training Programme, Bangkok, 205 pp. *Maxwell, J. F., 2004. A synopsis of the vegetation of Thailand. The Nat. Hist. Journal of Chulalongkorn Uni. 4(2): 19-29. *Meng, M., 1997. Effects of forest fire protection on seed dispersal, seed bank and tree seedling establishment in a deciduous dipterocarp-oak forest in Doi Suthep-Pui National Park. MSc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University. Miyawaki, A., 1993. Restoration of native forests from Japan to Malaysia. In Leith, H. and M. Lohman (eds), Restoration of Tropical Forest Ecosystems. Kluwer Academic Publishers, Netherlands, pp 5-24. Nepstad, D. C., C. Uhl, C. A. Pereira and J. M. C. da Silva, 1996. A comparative study of tree establishment in abandoned pastures and mature forest of eastern Amazonia. Oikos, 76 (1): 25-39. *Pakkad, G., 2002. Selecting superior parent trees for forest restoration programs, maximizing performance whilst maintaining genetic diversity. Ph.D. thesis, Graduate School, Chiang Mai University.


*Pakkad, G., C. J. F. Torre, S. Elliott and D. Blakesley, 2004. Genetic variation of Prunus cerasoides D.Don, a framework tree species in northern Thailand. New Forests, 27:189200. *Pakkad, G., S Elliott and D Blakesley, 2004. Selection of Prunus cerasoides D.Don seed trees for forest restoration. New Forests, 28: 1-9. *Pakkad, G., S. Elliott, J. F. Maxwell and V. Anusarnsunthorn, 1999. Morphological database of fruits and seeds of trees in Doi Suthep-Pui National Park. In: Research Reports on Biodiversity in Thailand, The Biodiversity Research and Training Program (BRT), Bangkok. pp 222-228. Pearson, T. R. H., D. F. R. P. Burslem, C. E. Mullins and J. W. Dalling, 2003. Functional significance of photoblastic germination in neotropical pioneer trees: a seed’s eye view. Functional Ecology, 17(3): 394-404. Philachanh, B., 2003. The effects of presowing treatments and mycorrhizal inoculum on the germination and early seedling growth of tree species for forest restoration. M.Sc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University. Round, P. D., 1988. Resident Forest Birds in Thailand. International Council for Bird Preservation Monograph No. 2., Cambridge, U.K. 211 pp. Royal Forest Department of Thailand, 1998. Forestry Statistics of Thailand 1998. Royal Forest Department of Thailand, 2000. Forestry Statistics of Thailand 1999. Sajise, P. E., 1972. Evaluation of cogon (Imperata cylindrica (L.) Beauv.) as a seral stage in Philippine vegetational succession. Ph.D. thesis, Cornell University, Ithaca, New York. Sanitjan, S., 2001. Food plants of birds at Tham Nam Lot, Mae Hong Son Province. Ninth Thailand Wildlife Congress, vol. 1: 2329. Kasetsart University, Bangkok.

*Scott, R., P. Pattanakaew, J. F. Maxwell, S. Elliott and G. Gale, 2000. The effect of artificial perches and local vegetation on birddispersed seed deposition into regenerating sites. In: Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods and V. Anusarnsunthorn (eds). Forest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University. pp 326-337. *Sharp, A., 1995. Seed dispersal and predation in primary forest and gap on Doi Suthep. M.Sc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University. *Singpetch, S., 2001. Propagation and growth of potential framework tree species for forest restoration. MSc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University. *So, N. V., 2000. The potential of local tree species to accelerate natural forest succession on marginal grasslands in southern Vietnam. In: Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K Woods, and V. Anusarnsunthorn (eds.) Forest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University. pp 135-148. Soerianegara, I. and R. H. M. J. Lemmens (eds.), 1994. PROSEA Handbook 5(1): Major commercial timbers. PROSEA, Bogor, Indonesia. Sosef, M. S. M., L. T. Hong, and S. Prawirohatmodjo (eds.), 1998. PROSEA Handbook 5(3): Lesser-known timbers. PROSEA, Bogor, Indonesia. *Thaiying, J., 2003. Effects of forest restoration on small mammal communities. BSc thesis, Biology Department, Chiang Mai University, Thailand. *Toktang, T., 2004. The effects of forest restoration on the species diversity and composition of a bird community in northern Thailand. MSc thesis, Biology Department, Chiang Mai University, Thailand.

ปลูกให้เป็นป่า 191


Traveset, A, 1998. Effect of seed passage through vertebrate frugivores’ guts on germination: a review. Perspectives in plant ecology, evolution and systematics. 1(2): 151-190. Tucker, N. I. J. and T. M. Murphy, 1997. The effects of ecological rehabilitation on vegetation recruitment: some observations from the wet tropics of north Queensland. For. Ecol. Manage., 99: 133-152. *Tucker, N. I. J., 2000. Wildlife colonisation on restored tropical lands: what can it do, how can we hasten it and what can we expect? In: Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods and V. Anusarnsunthorn (eds.). Forest Restoration for Wildlife Conservation. Chiang Mai University. pp 278-295. *Tunjai, P., 2006. Direct seeding as an alternative to tree planting for restoring degraded forest ecosystems: a comparison between deciduous and evergreen forest types. MSc thesis, Biology Department, Chiang Mai University, Thailand. *Vongkamjan, S., 2003. Propagation of native forest tree species for forest restoration in Doi Suthep-Pui National Park. PhD Thesis, Biology Department, Chiang Mai University, Thailand.

192

ปลูกให้เป็นป่า

Whitmore, T. C., 1990. An Introduction to Tropical Rain Forests. Oxford University Press. Whittaker, R. J., and S. H. Jones, 1994. The role of frugivorous bats and birds in the rebuilding of a tropical forest ecosystem, Krakatau, Indonesia. J. Biogeog. 21: 245258. Wilson, E. O., 1988. The current state of biological diversity. In: Wilson, E. O. (ed.), Biodi-versity National Academy Press, Washington DC., pp 3-18. Wilson, E. O., 1992. The diversity of life. Harvard University Press, Cambridge, Massachusetts, 424 pp. *Woods, K. & S. Elliott, 2004. Direct seeding for forest restoration on abandoned agricultural land in northern Thailand. J. Trop. For. Sci., 16(2): 248-259. *Zangkum, S., 1998. The effects of container type and media on growth and morphology of tree seedlings to restore forests. M.Sc. thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University.


ดรรชนีภาษาไทย ก กก 27, 46 กรมป่าไม้ 5, 128 กรรไกรตัดกิ่ง 101 กระดาษกล่องคลุมโคนต้น 121, 124 กระถางดัดราก 89 กระทิง 61 กล้วยไม้ 20, 23, 24, 27 กล้าไม้ธรรมชาติ 28, 90 กวาง 38 ก่อ 26, 79 ก่อแอบ 43 กา 38 กาฝาก 18 การกระจายเมล็ด 19, 34, 37, 38, 41, 48, 67 การกำจัดวัชพืช 25, 27, 55, 56, 65, 67, 112, 116, 117, 124, 126, 135, 139, 142 การเก็บเมล็ด 80, 81, 135 การเก็บรักษาเมล็ด 85 การแก่งแย่งแข่งขัน 42 การขนย้ายกล้าไม้ 114, 116 การคัดกล้าไม้ 9, 101, 118 การคายน้ำ 14, 107 การงอก 43, 66, 82, 86, 87 การเจริญเติบโตของกล้าไม้ 34 การเตรียมเมล็ด 79 การแช่เมล็ด 87 การแช่เมล็ดในกรด 86 การทำให้เมล็ดแห้ง 85 ทำให้เมล็ดเกิดรอยแผล 86, 144 การใช้อากาศควบคุมราก 89, 100 การตัดแต่งกล้า 101 การตัดแต่งราก 93, 100 การติดตามการเจริญเติบโตของกล้าไม้ 69 การติดผลของพรรณไม้ 80 การเตรียมพื้นที่ 67 การแตกยอดใหม่ 36, 55 การทดสอบการงอก 69 การท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ 109, 135, 136 การทำเครื่องหมายกล้าไม้ 129, 130 การทำไม้ 23, 34, 117 การทำลายป่า 3, 4 การทำลายเมล็ด 38, 39, 40, 59 การทำให้ (กล้าไม้) แกร่ง 102, 118 การประเมินสภาพพืน้ ทีป่ ลูก 53, 113 การปลูกต้นไม้ 52-54, 60, 67, 107, 108, 112, 114, 139

การปลูกต้นไม้เพื่อเร่งการฟื้นตัว 59 การปลูกป่า 5, 10, 19 การปลูกเสริม 27, 52 การป้องกันไฟ 25, 27, 123, 127, 128, 134, 135, 139, 140, 141 การปักชำ 28, 92 การเปลี่ยนแปลงแทนที่ 33 การผสมเกสร 79 การพ่นยากำจัดวัชพืช 115 การพักตัวของเมล็ด 44, 86 การพังทลายของดิน การพังทลายของดิน 4, 104, 105, 107, 108, 113, 115, 135 การฟืน้ ตัวของความหลากหลายทางชีวภาพ 65, 67, 108, 110, 118 การฟืน้ ตัวของป่า 32, 33, 35, 39, 47, 49, 53, 112, 113 การฟืน้ ตัวตามธรรมชาติ 53, 111 การฟืน้ ฟูปา่ 3, 5, 135 การฟืน้ ฟูภมู ทิ ศั น์ปา่ ไม้ 109, 110, 134 การมีสว่ นร่วมของชุมชน 135, 136, 139 การย้ายกล้า 84, 89, 95 การรดน้ำ 93, 96 การรดน้ำหลังปลูก 121 การเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติ 6, 53, 65 การล่าสัตว์ 37, 41, 49, 58, 59, 61, 67, 107, 137 การวัดต้นไม้ 131 การวิเคราะห์ข้อมูล 132 การวิเคราะห์ดนิ 111 การศึกษา 27, 137 การสำรวจพืน้ ที่ 139 การสูญพันธุ์ 3 การสูญพันธุเ์ ฉพาะพืน้ ที่ 105, 107 การใส่ปยุ๋ 56, 93, 142 การหยอดเมล็ด 59-62 การอนุรักษ์ฃวามหลากหลายทางชีวภาพ 105 การอนุรกั ษ์สตั ว์ปา่ 109 การอพยพ 107 การออกแบบเรือนเพาะชำ 76-77 การอัดแน่นของดิน 48 กูดเกีย๊ ะ 42, 47, 114 เก้ง 38, 67 เกณฑ์มาตรฐานของพรรณไม้โครงสร้าง 70 เกณฑ์มาตรฐานในการเจริญเติบโต 70, 71 ไกลโฟเซต 25, 115, 142 ข ขนาดของเมล็ด 39 ขนาดชุมชน 140 ขนาดพื้นที่ปลูก 139

ปลูกให้เป็นป่า 193


ขอนไม้ผุ 46 ขิง 17, 23, 27 ค ความชื้นในดิน 14 ความมีชวี ติ ของเมล็ด 85 ความร่วมมือ 138 ความสามารถในการอุม้ น้ำ(ดิน) 15, 107 ความสำคัญทางวัฒนธรรม 134-136 ความหลากหลายทางชีวภาพ 6, 13, 16, 19, 29, 60, 61, 66 ความหลากหลายทางพันธุกรรม 58, 79 ควาย 48 คอน 57, 60, 61, 67 คะแนนสุขภาพ 132 ค่ากลางระยะพักตัว 43, 145 ค่าขนส่ง 142 ค้างคาว 37, 38, 57, 61, 65, 67, 105, 108 ค้างคาวผลไม้ 38, 57, 61, 67 ค่าใช้จา่ ย 139 ค่าใช้จ่ายสำหรับเรือนเพาะชำ 142 ค่าตอบแทน 135 คุณภาพน้ำ 109 เครื่องมือพ้นฐานสำหรับการปลูกต้นไม้ 119 เครือ่ งระบุพกิ ดั ภูมศิ าสตร์ 111, 113 โครงการฟืน้ ฟูปา่ 135, 139 โครงการอีเดน 134 โครงสร้างของทรงพุม่ 69, 130 โครงสร้างเมล็ด 79, 82 ง งานในเรือนเพาะชำ 135 งานวิจัยในเรือนเพาะชำ 69 จ จุลินทรีย์ในดิน 115 ช ชนิดป่า 13 ชะนี 41 ชะมด 38, 41, 67 ชะมดแผงหางปล้อง 41 ช้าง 37, 38, 41, 58, 117 ชาวเขาเผ่าม้ง 9, 135 – 137 ชีพลักษณ์ 80 ฐ ฐานข้อมูลพรรณไม้ 145 ด

194

ปลูกให้เป็นป่า

ดอยอินทนนท์ 16 ดาร์วนิ อินนิธเิ อทีฟ 2, 10 ดินถล่ม 4, 104, 105, 108 ดินวิทยาศาสตร์ 27 ดีดีที 115 ต ตอไม้ 36, 52, 53, 117 ตัวอย่างพืช 81 ตาข่ายกันแดด 96 ตารางการทำงาน 140 ติดตามการเจริญเติบโต 118, 120, 129-131 ถ ถ่าน 29 ถิน่ อาศัยริมลำธาร 107 ถุงพลาสติก 101 ท ทนแล้ง 47 ทางเชือ่ มธรรมชาติ 60 ทางเชือ่ มสำหรับสัตว์ปา่ 104 – 105, 107 ทีท่ ำรัง 144 น นก 37, 38, 57, 60, 65, 105, 108 นกกางเขน 38 นกกางเขนดง 60, 61 นกกาฝาก 38 นกแก๊ก 41 นกเงือก 38 นกจับแมลง 60 นกจับแมลงคอน้ำตาลแดง 60, 61 นกจับแมลงคอสีนำ้ ตาลแดง 61 นกปรอด 38, 41, 61, 67 นกปรอดเหลืองหัวจุก 61 นกระวังไพรปากเหลือง 61 นกแว่นตาขาว 38 นกเอีย้ ง 38 น้ำ 139 น้ำท่วม 4, 107, 108, 136 เนปาล 56 แนวกันไฟ 25, 123, 127, 142 บ บันทึกข้อมูล 102 บัวตอง 42 บ้านแม่สาใหม่ 2, 9, 109, 123, 134, 135, 136, 137, 138 ใบเลีย้ ง 79, 82 ป


ปรง 47 ปรากฏการณ์โลกร้อน 4 ปริมาณน้ำฝน 14 ปลวก 34 ปศุสตั ว์ 6, 48, 53, 54, 56, 111 ป่าชุมชน 10, 56, 135-136 ป่าเต็งรังผสมก่อ 20, 22, 26, 49 ป่าเบญจพรรณ 20 ป่าปฐมภูมิ 54 ป่าผลัดใบ 20 ป่าผลัดใบผสมไผ่ 20 ป่าไม่ผลัดใบ 12, 15, 16, 62, 144 ปาล์มสิบสองปันนา 47 ป่าเสถียร 54, 61, 69 ปุย๋ 8, 27, 65, 93, 97, 102, 111, 114, 119, 121, 122, 126, 142 ปุย๋ คอก 90 ปุย๋ โพธิก์ รุณา 122 ปุย๋ หมัก 142 เป็ดน้ำ 104 เปลือกหุ้มเมล็ด 82 แปลงทดลอง 70 โป่ง 61 ผ ผล ชนิดผล 83 ผลรวม 79 ผลกลุม่ 79 ผลทีม่ ปี กี 82 ผลจากพื้นที่ชายขอบ 110 ผลผลิตจากป่า 135, 136, 139 ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย 111, 138, 139 แผนการผลิตกล้าไม้ 94, 102 แผนงานของโครงการ 110, 139 ไผ่ 16, 20, 23, 25 พ พรรณไม้ใกล้สญ ู พันธุ์ 66 พรรณไม้โครงสร้าง 19, 60, 68, 104, 105, 108, 118, 135, 137, 144, 145 พฤกษศาสตร์พน้ื บ้าน 68, 69 พิรมิ คิ าร์บ 98 พืน้ ทีก่ นั ชน 107 พืน้ ทีต่ น้ น้ำ 107, 137 พืน้ ทีป่ ลูก 104, 113, 139 พื้นที่ปลูกและขนาดเรือนเพาะชำ 77 พืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ 136 เพลี้ย 98

โพรงเทียม 57 ไพรีทริน 98 ไพรีน 79 ฟ ฟิลปิ ปินส์ 56 ฟืน 27, 29, 135 เฟิรน์ 23, 27 ไฟ 6, 18, 25-26, 34, 46-47, 49, 53-56, 66, 69-70, 105, 111, 117, 123, 144 ภ ภาชนะปลูก 89, 91, 142 ม มด 39, 40, 59 มอส 96 มะเดือ่ 144, 156 เมล็ดทีก่ ระจายด้วยลม 35-37 เมล็ดทีก่ ระจายด้วยสัตว์ 35, 105 เมล็ดแบบออโทดอกซ์ 85 เมล็ดรีคาลซิแทรนท์ 85 แม่น้ำตื้นเขิน 136 แมลง 67 แมลงปอ 104, 107 ไมคอไรซา 46, 47, 56, 59, 87, 97, 100, 117 ไม้เถา 46 ไม้เบิกนำ 33, 54, 66 ไม้เสถียร 33, 34, 66, 108 ไม้องิ อาศัย epiphytes 12, 17, 20, 27 ย ยอดอ่อน 79, 82 ยาฆ่ารา 88, 92 ยาฆ่าวัชพืช 25, 115 ยางไม้ 19, 28 ร ร่ม 96, 118 ระยะพักตัว (เมล็ด) 36, 43, 86, 102, 144 ระยะเวลาในเรือนเพาะชำ 145 ระยะห่างระหว่างกล้าไม้ 67, 117 ราก 100 ระบบราก 100 รากคดงอ 89 รากแรกเกิด 79, 82 ราวอัพ 25, 115 เรือนเพาะชำ 75-76 เรือนเพาะชำของชุมชน 75, 137

ปลูกให้เป็นป่า 195


แรงงาน 117, 135, 139-142 แรงจูงใจในการฟืน้ ฟูปา่ 136-137 แรด 38, 41, 58 แรดสุมาตรา 41 โรค 47, 98 โรคโคนเน่า 88 ไร่หมุนเวียน 68 ลิกนิน 47 ลิน้ จี่ 109, 137 วนเกษตร 10 วัชพืช 34, 42, 46, 47, 53-55, 58, 94, 97, 101, 111, 113, 144 วัชพืชต่างถิ่น 42 วัฒนธรรม 136 วัตถุประสงค์ของโครงการ 139 วันปลูกป่า 120 วัวป่า 38, 58, 61 วัสดุคลุมโคนต้น 27, 56, 121-125, 142 วัสดุปลูก 84, 90, 91, 95, 142 วิธกี ารพรรณไม้โครงสร้าง 59, 62-72, 117 ศ เศรษฐกิจ 59, 72, 135, 145 เศษซากใบไม้ 108

สาบเสือ 42, 46 สาบหมา 42, 46, 47 สารอินทรีย์ (ดิน) 15 สิทธิในการถือครองทีด่ นิ 111, 136, 139 เส้นผ่าศูนย์กลางคอราก 131 เส้นผ่าศูนย์กลางระดับอก 145 เสือปลา 104 ห หญ้า 25, 27, 42, 46, 47, 49, 56 หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ 7, 10, 43, 44, 135, 141, 145 หน่อไม้ 25 หนู 38 หนูเชสนัท 41 หมู 38 หมูปา่ 38, 67 หมูหริง่ 38, 41 เห็ด 49 แหล่งเมล็ด 34, 67 แหล่งเมล็ดในพืน้ ดิน 36 อ องค์การพัฒนาเอกชน 136, 138 ออกซิน 92 ออสโมโค้ท 93 อัตราการงอก 145 อัตราการเจริญเติบโต 144 อินทรียว์ ตั ถุ 107 อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 27, 29, 30, 35, 40, 43, 44, 47, 49, 50, 137

ส สถาบันวิจยั พืชสวนนานาชาติ สน 12, 18, 19, 27, 47 สมุนไพร 135 สัก 20-24 สัตว์ทก่ี ระจายเมล็ดพันธุ์ 54, 58, 67, 144 สัตว์ฟนั แทะ 40, 58, 59

ดรรชนีภาษาอังกฤษ ตัวเลขสีเข้มแสดงหมายเลขหน้าทีม่ ขี อ้ มูลรายละเอียดของพรรณไม้ในบทที่ 9 A Acer 82 Acrocarpus fraxinifolius 16, 19, 40, 128 144, 146 Aeginetia indica 21, 27 Aeginetia pendunculata 22 Aeschynanthus hosseusii 12, 17 Afzelia xylocarpa 21, 23, 62, 144, 147 Albizia odoratissima 50, 83 Alseodaphne andersonii 67

196

ปลูกให้เป็นป่า

Alstonia scholaris 50 Amorphophallus macrorhizus 24 Anneslea fragrans 18, 26 Antidesma acidum 50 Aporosa dioica 50 Aporosa villosa 50 Aporosa wallichii 50 Aquilaria crassna 62 Archidendron clypearia 128, 148 Arctonyx collaris 41


Artocarpus lanceolata 16 Arundina graminifolia 22 B Balakata baccata 62, 67, 101, 149 Balanophora spp 17 Balanophora laxiflora 20 Bauhinia variegata 21 Betula alnoides 40 Bischofia javanica 67, 150 Boesenbergia longiflora 21 Breynia fruticosa 26 Buchanania lanzan 26 Bulbophyllum bittnerianum 17 Bulbophyllum congestum 20 Bulbophyllum suavissimum 18 C Callicarpa arborea 67 Casearia grewiifolia 16 Cassia fistula 23, 82 Castanopsis acuminatissima 40, 128, 151 Castanopsis argyrophylla 12, 18, 26 Castanopsis diversifolia 26 Castanopsis spp 82 Castanopsis tribuloides 128, 152 Chionanthus sutepensis 16 Chukrasia tabularis 23 Cinnamomum iners 67 Combretum latifolium 23 Congea tomentosa 23 Corypha umbraculifera 35 Craibiodendron stellatum 18, 26 Crassocephalum crepidioides 42 Curcuma parviflora 24 Cymbidium ensifolium 27 Cynopterus sphinx 61 Cyornis banyumas 60 Cyperus cyperoides 46 D Dalbergia cultrata 23, 50 Dalbergia stipulacea 50 Debregeasia longifolia 40, 50 Dendrocalamus membranaceus 23 Dendrobium heterocarpum 18 Didymocarpus kerrii 18

Didymocarpus wattianus 17 Dillenia parviflora 50 Diospyros glandulosa 16 Diospyros marlabarica 16 Dipterocarpaceae 20, 26, 28, 47 Dipterocarpus costatus 20, 21 Dipterocarpus obtusifolius 26, 28 Dipterocarpus turbinatus 28 Dipterocarpus tuberculatus 22, 26, 28 Dischidia major 22, 27 Dischidia nummularia 22 Drynaria bonii 23 Drynaria propinqua 18 Drynaria rigidula 27 Duabanga grandiflora 67 E ecto-mycorrhizae 47 ecto-zoochorous dispersal 37 Elaeocarpus lanceifolius 40, 153 Elaeocarpus prunifolius 16, 40 Engelhardia serrata 20 Engelhardia spicata 40, 50 Erythrina subumbrans 19, 40, 67, 82, 101, 144, 154 Eugenia albiflora 20, 50, 67 Eugenia fruticosa 62, 155 Eugenia grata 67 Eurya acuminata 40 F Fagaceae 16, 18, 26, 35, 47, 79, 82 Ficus spp. 40, 156 Ficus altissima 16, 128 Ficus glaberima 67 Ficus hirta 50, 92 Ficus hispida 50, 67, 128 Ficus microcarpa 23 Ficus racemosa 128 Ficus semicordata 67 Ficus species 40, 156 Ficus subincisa 67, 71 Ficus superba 17 G Garcinia mckeaniana 16

ปลูกให้เป็นป่า 197


Garcinia speciosa 20 Gardenia obtusifolia 26 Gesneriaceae 18 ปรากฎการณ์โลกร้อน 4 Globba kerrii 17 Globba nuda 23 Glochidion kerrii 16, 67, 128, 159 Glochidion sphaerogynum 50 Gluta usitata 26 Gmelina arborea 19, 40, 62, 101, 128, 160 Gomphostemma strobilinum 21 Gramineae 25, 27, 46 Grewia abutilifolia 26

Markhamia stipulata 50 Melastoma malabathricum 60 Melia toosendan 16, 19, 62, 70, 82, 101, 128, 144, 168 Michelia baillonii see Magnolia baillonii Microstegium vagans 25 Millettia cinerea 23 monocarpy 35 Moraceae 16 Morus macroura 40 Mucuna macrocarpa 17 Mus pahari 39 Myrica esculenta 50

H

N

Helicia nilagirica 18, 40, 67 Heynea trijuga 128, 161 Hovenia dulcis 16, 19, 40, 67, 128, 162

Nyssa javanica 169

I Impatiens violaeflora 12,17 inbreeding 105, 107 Irvingia malayana 20, 40 L Lagerstroemia cochinchinensis 20, 23 Lagerstroemia speciosa 40 Lauraceae 16 Leguminosae 82, 97 Lindera caudata 16 Lithocarpus craibianus 18 Lithocarpus elegans 26, 40, 163 Lithocarpus fenestratus 128 Litsea cubeba 16, 50 Litsea zeylanica 16 Lonchura striata 60 Loranthaceae 18, 23 M Macaranga denticulata 101, 164 Machilus kurzii 128, 165 Magnolia baillonii 16, 101, 128, 166 Magnoliaceae 16, 17 Mangifera caloneura 20 Manglietia garrettii 12, 16, 17, 167

198

ปลูกให้เป็นป่า

O Oroxylum indicum 23 Oryza meyeriana 25 Ostodes paniculata 16 P Pandanus penetrans 17 Panicum notatum 25 Pennisetum polystachyon 42 Phlogacanthus curviflorus 17 Phoebe lanceolata 16, 50, 67 Phoenix loureiri 26 Phragmites vallatoria 42 Phyllanthus emblica 23, 50, 128, 170 Pinaceae 47 Pinus carribea 19 Pinus kesiya 18, 19 Pinus merkusii 18, 19 plagio-climax 34 Platostoma coloratum 22 Platycerium wallichii 23 Polypodium argutum 18 Polypodium subauriculatum 20 PROSEA 68, 69 Prunus cerasoides 40, 62, 67, 70, 80, 82, 101, 123, 128, 144, 171 Pteridium aquilinum 42 Pterocarpus macrocarpus 23, 50 Pyrenaria garrettiana 16


Q

T

Quercus brandisiana 18 Quercus kerrii 22, 26 Quercus semiserrata 67, 87, 172 Quercus spp 82 Quercus vestita 16

Tainia hookeriana 20 Terminalia bellirica 40 Terminalia chebula 23, 40 Terminalia muconata 40 Tetrastigma 17 Theaceae 16 Tithonia diversifolia 42 Trema orientalis 40, 50, 60 Trewia nudiflora 62 Tristaniopsis burmanica 26

R Rattan Palms 17 Rattus bukit 39, 41 RECOFT. See Regional Community Forestry Training Centre Reevesia pubescens 40 Regional Community Forestry Training Centre 135 Rhamnaceae 16 Rhododendron vietchianum 17 Rhus rhetsoides 67, 128, 173 Rhynchospora rubra 46

V Vaccinium sprengelii 18, 40 Vanda brunnea 27 vesicular-arbuscular mycorrhizae 47 Viburnum inopinatum 18 Vitaceae 17 Vitex canescens 23 Viverra zibetha 41

S Saccharum arundinaceum 42 Sapindus rarak 40, 71, 174 Sapria himalayana 12, 17 Sarcosperma arboreum 16, 62, 128, 175 Saurauia roxburghii 40 Schima wallichii 34, 40, 50 Schleichera oleosa 23, 62 Scleropyrum pentandrum 20 Scrophulariaceae 27 Scurrula atropurpurea 23 Selaginella ostenfeldii 24 Shorea obtusa 26, 40 Shorea siamensis 26 Spatholobus parviflorus 26 Spondias axillaris 16, 19, 40, 62, 70, 79, 144, 176 Spondias pinnata 20 Sterculia pexa 23 Sterculia villosa 50 Stereospermum colais 50 Striga masuria 27 Strychnos nuxvomica 26 Styrax benzoides 40, 50

X Xylia xylocarpa 23 Z Zingiberaceae 17, 23, 24, 27

ปลูกให้เป็นป่า 199


หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ดร. สตีเฟน เอลเลียต หรือ ดร. สุทธาธร สุวรรณรัตน์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ : (+66)-(0)53-943346 หรือ 943348 ต่อ 1134, 1135 โทรสาร : (+66)-(0)53-892259 Email : forru@science.cmu.ac.th หรือ stephen_elliott1@yahoo.com หรือที่เวปไซด์ www.forru.org

บน - การฟืน้ ฟูปา่ ไม่ใช่เพียงความฝันอีกต่อไป ปกหลัง - เด็ก ๆ จากบ้านแม่สาใหม่ถอื กล้าไม้ทพ่ี วกเขาช่วยกันเพาะในเรือนเพาะชำของหมูบ่ า้ นอย่างภาคภูมใิ จ

200

ปลูกให้เป็นป่า


ปลูกให้เป็นป่า

“พลิกฟืน้ คืนชีวติ ให้แก่ผนื ป่า การฟืน้ ฟูปา่ ทีถ่ กู ทำลายให้กลับมาเป็นพืน้ ป่าเขตร้อนทีม่ คี วามหลากหลายทางชีวภาพสูง อีกครัง้ นัน้ เป็น สิง่ ทีท่ ำได้ “ปลูกให้เป็นป่า” เป็นหนังสือทีร่ วมรวมผลงานวิจยั ของ หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (FORRU-CMU) ทีเ่ ริม่ มาตัง้ แต่ปี 2537 ซึง่ แสดงให้เห็นว่าวิธพี รรณไม้ โครงสร้างสามารถนำมาประยุกต์ใช้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการฟืน้ ฟูปา่ และระบบนิเวศใน ภาคเหนือของประเทศไทย ในหนังสือประกอบด้วยข้อมูลพืน้ ฐาน เพือ่ ให้ผอู้ า่ นสามารถเข้าใจกลไกการ ฟืน้ ตัวตามธรรมชาติของป่าและวิธใี นการเร่งให้เกิดกระบวนการดังกล่าวได้เร็วขึน้ รวมไปถึงแนวทางใน การคัดเลือกพรรณไม้ทเ่ี หมาะสม การผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ การปลูก และดูแลกล้าไม้ในพืน้ ที่ ป่าที่ถูกทำลาย นอกจากนัน้ ยังเสนอแนะแนวทางในการวางแผนโครงการฟืน้ ฟูปา่ และการทำงานร่วมกับชุมชน ในพืน้ ที่ แนวคิดและเทคนิควิธกี ารต่าง ๆ ทีไ่ ด้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ กับป่าหลากหลายชนิดในพืน้ ทีอ่ น่ื ๆ นอกจากภาคเหนือของประเทศไทย จึงเป็นประโยชน์อย่างยิง่ สำหรับผูท้ ม่ี คี วามสนใจในการฟืน้ ฟูระบบนิเวศป่า เพือ่ การอนุรกั ษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและ สภาพแวดล้อม

หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่

Wildlife Landscapes


หน่วยวิจยั การฟืน้ ฟูปา่ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - บนเส้นทางทีผ่ า่ นมา

2537 หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งเรือนเพาะชำในอุทยานแห่งชาติดอย สุเทพ-ปุย (บน) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ริชมอนเด้ กรุงเทพ เริ่มงานวิจัยเกี่ยวกับการ เพาะและปลูกพรรณไม้ท้องถิ่น 2539 หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ร่วมมือกับบ้านแม่สาใหม่ ในการ จัดตั้งเรือนเพาะชำระดับชุมชน (ซ้าย) และแปลงปลูกป่า (ขวา)

2543 หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าเป็นเจ้าภาพในการจัดการ ประชุมระดับ ภูมิภาคในหัวข้อเรื่อง “Forest Restoration for Wildlife Conservation” (ล่าง) โดยมี ITTO เป็นผูใ้ ห้การสนับสนุน

2540 เจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง จาก ไนเจล ทักเกอร์ ณ ประเทศออสเตรเลีย (บน)

2541-2543 แปลงปลูกป่าได้รับการฟื้นฟูและมีสภาพคล้ายป่าธรรมชาติ (ในภาพด้านบน เป็นแปลงอายุ 7 ปี) กล้าไม้ธรรมชาติ 61 ชนิด กลับมาขึ้นอยู่ในแปลงใต้ร่มเงาของ พรรณไม้โครงสร้างจำนวน 30 ชนิด ทีป่ ลูกไว้ นกเพิม่ จาก 30 ชนิด เป็น 81 ชนิด 2541-2543 หน่วยวิจัยการ ฟืน้ ฟูปา่ ตีพมิ พ์หนังสือ “ป่า เพือ่ อนาคต” และ “เมล็ด และกล้าไม้ยืนต้น” (ซ้าย) ซึง่ รวบรวมมาจากงานวิจยั ทีด่ ำเนินงาน

2543 หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าได้รับ รางวัลดูแลแปลงปลูกป่าจากกรมป่าไม้ (บน) ในปีถัดมาหน่วยวิจัยฯ ได้รับ การคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 15 โครง การวิจัยดีเด่นของ สกว.

2548 BBC มาถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (บน)

2547 พณฯ ท่าน เอลเลียต มอร์เลย์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศอังกฤษ เยี่ยมชมการ ทำงานของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าและบ้านแม่สาใหม่ (บน)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.