The 62nd National Exhibition of Art

Page 1


การแสดงนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 5-28 ตุลาคม 2559 การแสดงนิทรรศการในส่วนภูมิภาค • ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ • ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก • ณ หอศิลปจำ�ปาศรี สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม • ณสำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น • ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี • ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี • ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา หรือ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จังหวัดสงขลา The 62nd National Exhibition of Art At the National Gallery, Bangkok Exhibition will be on view from 5-28 October 2016 Travel Exhibition • The Chiangmai University Art Center, Chiangmai University, Chiangmai Province • The Naresuan University Art Gallery, Naresuan University, Phitsanulok Province • The Art and Cultural University Exhibition Hall, Khonkaen University, Khonkaen Province • Jampasri Art Gallery (The Research Institute of North-Eastern Art and Culture), Mahasarakham University, Mahasarakham • The Princess Galayani Vadhana Institute of Cultural Studies, Prince of Songkhla University, Pattani Province • The Art Gallery, Faculty of Fine Arts, Thaksin University, Songkhla Province • The Eastern Center of Art and Culture, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi Province

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 The 62nd National Exhibition of Art เจ้าของและผู้จัดพิมพ์ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 02 221 3841 Email : su.artcentre@gmail.com เรียบเรียงเนื้อหาและภาพประกอบ : ศรายุทธ ภูจริต แปลภาษา : เมธาวี กิตติอาภรณ์พล ออกแบบและคอมพิวเตอร์กราฟิก : ศุภกานต์ วงษ์แก้ว ถ่ายภาพ : ชัยวัช เวียนสันเทียะ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2559 จำ�นวนที่พิมพ์ 2,500 เล่ม พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์ 45/14 หมู่4 ถนนบางกรวย-จงถนอม ตำ�บลบางขนุน อำ�เภอบางกรวย นนทบุรี 11130


สารบัญ CONTENTS 004

พิธีเปิดนิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 The Opening Ceremony of the 62nd National Exhibition of Art, 2016

010

สารจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร Message from the President of Silpakorn University

012

สารจากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) Message from Krungthai Bank Public Company Limited

014 016

สารจากประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) Message from the Chairman and Managing Director, Esso (Thailand) Public Company Limited

018

ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 Announcement of Silpakorn University on the 62nd National Exhibition of Art, 2016

024 028 038 048

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ His Majesty the King and the National Exhibition of Art

086 120 130

คำ�นำ� Preface

ศิลปินรับเชิญ: ชลูด นิ่มเสมอ Guest Artist: Professor Emeritus Chalood Nimsamer ศิลปินชั้นเยี่ยม ประสิทธิ์ วิชายะ Artist of Distinction: Prasit Wichaya ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-Winning Entries: จิตรกรรม Painting ประติมากรรม Sculpture ภาพพิมพ์ Printmaking สื่อประสม Mixed Media ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected Entries for Exhibition: จิตรกรรม Painting ประติมากรรม Sculpture ภาพพิมพ์ Printmaking สื่อประสม Mixed Media ประวัติศิลปิน Artists’ Profiles ภาคผนวก Appendix


พิธีเปิดนิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ. 2559 THE OPENING CEREMONY OF nd THE 62 NATIONAL EXHIBITION OF ART, 2016


กำ�หนดการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ เปิดงานการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ในวันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เวลา 13.30 น. - พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ผู้แทนพระองค์เดินทางโดยรถยนต์ประเทียบถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ผู้แทนพระองค์ลงจากรถยนต์ประเทียบ ผู้แทนพระองค์ยืนที่ข้างรถยนต์ประเทียบ (ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี/จบแล้ว) - อธิบดีกรมศิลปากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้อำ�นวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป รองอธิการบดี ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ และผู้สนับสนุน รอรับผู้แทนพระองค์ - ผู้อำ�นวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และ ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มอบพวงมาลัย - ผู้แทนพระองค์เข้าภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป - ผู้แทนพระองค์ยืนที่หน้าเก้าอี้ที่จัดไว้ (ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี/จบแล้ว) - ผู้แทนพระองค์นั่งเก้าอี้ - อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร มอบผลงานศิลปกรรมแด่ผู้แทนพระองค์ (จะได้นำ�ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสต่อไป) - อธิบดีกรมศิลปากร มอบสูจิบัตรแด่ผู้แทนพระองค์ (จะได้นำ�ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสต่อไป) - ผู้แทน บริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) มอบผลงานศิลปกรรมแด่ผู้แทนพระองค์ - ผู้แทน บมจ.ธนาคารกรุงไทย มอบสูจิบัตรแด่ผู้แทนพระองค์ - อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวรายงานการจัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 - ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เบิกผู้สนับสนุน คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินเข้ารับเกียรติบัตร ของที่ระลึก และศิลปินผู้ได้รับรางวัล เข้ารับประกาศนียบัตรและเหรียญรางวัล ตามลำ�ดับ - ผู้แทนพระองค์กล่าวเปิดงานการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 - ผู้แทนพระองค์กล่าวเปิดงานการแสดงฯ จบแล้ว (ดนตรีบรรแลงเพลงสรรเสริญพระบารมี) - ผู้แทนพระองค์ลงนามในสมุดเยี่ยม - ผู้แทนพระองค์ชมนิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 - ผู้แทนพระองค์ออกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป - ผู้แทนพระองค์ยืนที่ข้างรถยนต์ประเทียบ (ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี) - ผู้แทนพระองค์กลับ การแต่งกาย: แต่งเครื่องแบบปกติขาว

5


คำ�กล่าวเปิดงาน พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นผู้แทนพระองค์ ในพิธีเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ วันพุธ ที่ 5 ตุลาคม 2559 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าพเจ้ามาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีเปิดการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้มาร่วมในพิธีนี้ และได้ทราบวัตถุประสงค์ของการจัดแสดงศิลปกรรมทั้งขอแสดง ความชื่นชมทุกท่านทุกฝ่ายที่ให้การสนับสนุนการจัดแสดงศิลปกรรมเป็นอย่างดี รวมทั้งศิลปินทุกท่านที่ได้รับรางวัล ศิลปกรรม คือผลงานที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีศิลปะจากความรู้ จินตนาการ ประสบการณ์ สภาพสังคม การเมือง ตลอดจนขนบประเพณีและ วัฒนธรรม ถือเป็นสิ่งมีคุณค่าที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตจิตใจของผู้คน ตลอดจนสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คนไทยทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศิลปินทั้ง หลายควรได้ตระหนักเห็นคุณค่าของศิลปกรรม และช่วยกันธำ�รงรักษาไว้ให้ยั่งยืน การที่มหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติต่อเนื่องมาเป็น ปีที่ 62 จึงนับมีส่วนสำ�คัญในการธำ�รงรักษาศิลปกรรมไว้อย่างน่าชื่นชมยินดี เพราะนอกจากจะได้กระตุ้นให้ประชาชนมีความสนใจในศิลปกรรม และส่งเสริม ศิลปินให้ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยแล้ว ยังจะทำ�ให้ศิลปินได้นำ�ทฤษฎีและหลักการทางศิลปะไปใช้ปฏิบัติอย่างมีหลักวิชาการ เพื่อพัฒนาศิลปะให้เป็น ศิลปะประยุกต์ที่มีความงดงาม หรือเป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้น อย่างในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เครื่องแต่งกาย เป็นต้นอีกด้วย หวังว่าการแสดง ศิลปกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมาย อีกทั้งศิลปินทุกท่านที่ได้ส่งผลงานศิลปะประกวด และที่ได้รับรางวัลจะมีกำ�ลังใจ และตั้งใจพยายามฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ ความชำ�นิชำ�นาญทางศิลปกรรมที่ประจักษ์ดีเด่นยิ่งขึ้น แต่ละคนจะได้เป็นกำ�ลังอันเข้มแข็ง ช่วยกันอนุรักษ์ สืบสาน และสร้างสรรค์ศิลปกรรมของชาติให้ดำ�รงยืนยงอยู่อย่างมีคุณค่าโดยไม่มีวันเสื่อมสลายไป ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ข้าพเจ้าขอเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 62 ณ บัดนี้ ขอให้การจัดแสดงศิลปกรรมดำ�เนินไป โดยราบรื่น สำ�เร็จประโยชน์ตามเป้าหมายทุกประการ และทุกท่านในที่นี้ จงมีสุขภาพอนามัยแข็งแรง พร้อมกับประสบแต่ความสุขความเจริญ และความสำ�เร็จ สมหวังดังปรารถนาทุกเมื่อทั่วกัน

6


คำ�กล่าวรายงาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ในพิธีเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ในวันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 13.30 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ

กราบเรียน พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ผู้แทนพระองค์ นับตั้งแต่การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2505 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำ�เนินทรงเปิดการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผลงานศิลปกรรมฝีพระหัตถ์เข้าร่วมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ มาโดยตลอด จนถึงปัจจุบัน เหล่าผู้บริหาร ผู้สนับสนุน และคณะกรรมการต่างๆที่มีส่วนร่วมในการดำ�เนินงานการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 อีกทั้งคณาจารย์ ศิลปินและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ล้วนต่างมีความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พลอากาศ เอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ. 2559 ในปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยศิลปากรดำ�เนินการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนไทยเกิด ความรู้ ความเข้าใจในศิลปะสมัยใหม่ และเพื่อสนับสนุนให้ศิลปินได้แสดงออกถึงทักษะ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม อันส่งผลให้เกิดการ พัฒนาวงการศิลปกรรมร่วมสมัยให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล โดยแบ่งประเภทของผลงานที่ส่งประกวดออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทจิตรกรรม ประเภท ประติมากรรม ประเภทภาพพิมพ์ และประเภทสื่อประสม ซึ่งผู้ชนะการประกวดจะได้รับเงินรางวัล และเหรียญรางวัลพร้อมประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง อันดับ 2 เหรียญเงิน และ อันดับ 3 เหรียญทองแดงตามลำ�ดับ โดยได้รับความสนับสนุนการประกวด และการจัดแสดงฯจากกรมศิลปากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด มหาชน และธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) บัดนี้ได้เวลาอันควรแล้ว รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร จักได้เบิกผู้สนับสนุน คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินเข้ารับ เกียรติบัตร และของที่ระลึก รวมทั้งศิลปินผู้ได้รับรางวัลเข้ารับประกาศนียบัตร และเหรียญรางวัลตามลำ�ดับ ในโอกาสนี้ กราบเรียน พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ผู้แทนพระองค์เป็นผู้มอบรางวัล และเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62ประจำ�ปี พ.ศ. 2559 เพื่อเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัย ศิลปากร ศิลปินและวงการศิลปะสืบไป

7


คำ�กล่าวเบิกผู้สนับสนุน ศิลปินผู้ได้รับรางวัล และคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน โดยอาจารย์ดร. ปรมพร ศิริกุลชยานนท์ ผู้อำ�นวยการ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในพิธีเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ในวันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 13.30 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร

กราบเรียน พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ผู้แทนพระองค์ ดิฉันอาจารย์ดร. ปรมพร ศิริกุลชยานนท์ ผู้อ�ำ นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขออนุญาตเบิกผู้สนับสนุน คณะกรรมการคัดเลือก และตัดสิน เข้ารับเกียรติบัตร และของที่ระลึก รวมทั้งศิลปินผู้ได้รับรางวัล การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 เข้ารับประกาศนียบัตร และเหรียญรางวัล ดังรายนาม ตามลำ�ดับต่อไปนี้ ผู้สนับสนุน กรมศิลปากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน ศาสตรเมธี นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศาสตราจารย์เกียรติคุณอิทธิพล ตั้งโฉลก ศาสตราจารย์เกียรติคุณดร. สันติ เล็กสุขุม ศาสตราจารย์เกียรติคุณเข็มรัตน์ กองสุข ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง ศาสตราจารย์เดชา วราชุน ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร รอดบุญ

8


ศิลปินผู้ได้รับรางวัล จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประเภทจิตรกรรม รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ไม่มีผู้ได้รับรางวัล อันดับ 2 เหรียญเงิน นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ อันดับ 3 เหรียญทองแดง นางสาวจารุวรรณ เมืองขวา นายณัฐวุฒิ พวงพี นายสิริทัต เตชะพะโลกุล ประเภทประติมากรรม รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง นายประสิทธิ์ วิชายะ อันดับ 2 เหรียญเงิน นายพรสวรรค์ นนทะภา อันดับ 3 เหรียญทองแดง นายสุรชัย ดอนประศรี นางสาวอิสรีย์ บารมี

ผลงานชื่อ “คำ�สอนพระพุทธ หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “กุศโลบายจากธรรมชาติ” ผลงานชื่อ “นัย สองบ้าน หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “ความสุขของชีวิต หมายเลข 6”

ผลงานชื่อ “ชีวิตที่เสียสมดุล” ผลงานชื่อ

“ความทรงจำ�ในวิถีชีวิตชนบทอีสาน”

ผลงานชื่อ “เมล็ดกับเปลือก” ผลงานชื่อ “ชีวิตของอิสรีย์”

ประเภทภาพพิมพ์ รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ไม่มีผู้ได้รับรางวัล อันดับ 2 เหรียญเงิน นายจักรี คงแก้ว นายญาณวิทย์ กุญแจทอง อันดับ 3 เหรียญทองแดง นางสาวจิรนันท์ จุลบท ประเภทสื่อประสม รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง นายวุฒินท์ ชาญสตบุตร อันดับ 2 เหรียญเงิน นางสาวสุนันทา ผาสมวงศ์

อันดับ 3 เหรียญทองแดง นายไชยันต์ นิลบล

ผลงานชื่อ “หน้าผา หมายเลข 2” ผลงานชื่อ “หยดที่จางหายของฤดูฝน” ผลงานชื่อ “แตกพันธุ์”

ผลงานชื่อ “การประกอบสร้างของเปลือกนอกในความจริงเสมือน หมายเลข 3” ผลงานชื่อ “สภาวะของความทุกข์” ผลงานชื่อ “แรงงานและการดิ้นรนสู่ชีวิตใหม่”

ศิลปินชั้นเยี่ยมคนที่ 22 จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 นายประสิทธิ์ วิชายะ 9


สารจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศิลปากรตระหนักถึงความสำ�คัญในการพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยของประเทศให้ก้าวหน้า และเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล เพื่อ สานต่อเจตนารมณ์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดยจัดให้มีการประกวด และการจัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2492 จนถึงปัจจุบันนับเป็นครั้งที่ 62 ด้วยวัตถุประสงค์ในการสนับสนุน ส่งเสริมศิลปินไทยให้มีโอกาสแสดงออกถึงทักษะ ความสามารถเฉพาะตนในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปกรรมแขนงต่างๆ และเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนเข้าชมทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค อันจะส่งผลต่อการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในสุนทรี ยะแห่งความงามในสาขาจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อประสม อีกทั้งยังสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมต่อไป ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอขอบคุณกรมศิลปากร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ที่ให้ความร่วมมือโดยการสนับสนุนพื้นที่จัด แสดงนิทรรศการ รวมทั้ง บมจ. ธนาคารกรุงไทย และบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) ในการสนับสนุนงบประมาณในการประกวด และการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 อันถือเป็นพลังผลักดันที่สำ�คัญในการเพิ่มศักยภาพการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยผ่านการพัฒนารูปแบบ เทคนิค และการแสดงออกถึงแนวความคิดที่หลากหลายปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน แต่ในความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ก็ยังสามารถสะท้อนถึงการผสมผสาน ความร่วมสมัยและความเป็นไทยได้อย่างงดงาม

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

10


Message from the President of Silpakorn University

Silpakorn University has well realized the importance of Thai contemporary art promoting. Therefore, the National Exhibition of Art has continuously been organized since 1949 until present, which has come to its 62nd exhibition this year. It is with the purpose to encourage and inspire Thai artists to create art works and promote them to the national and international level. This will create the understanding of art and aesthetics, as well as enhance the development of Thai contemporary art to international stage. Silpakorn University is honored and thankful to the National Gallery for the exhibition space, the Fine Arts Department, Esso(Thailand) Public Company Limited and Krung Thai Bank Public Company , for appreciating the importance of contemporary art development by giving constant support to the National Exhibition of Art. All of these supports have encouraged the artists to develop their artworks, which represent Thai contemporary uniqueness gracefully and harmoniously.

(Assistant Professor Chaicharn Thavaravej) President of Silpakorn University

11


สารจาก บมจ. ธนาคารกรุงไทย

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ นับเป็นเวทีทางด้านศิลปะที่สำ�คัญระดับประเทศที่สร้างโอกาสแก่ศิลปินไทยมายาวนานตลอดระยะเวลา 62 ปี ยอด ศิลปินของชาติหลายคนได้ถือกำ�เนิดขึ้นจากการประกวดนี้ ด้วยการแข่งขันทางศิลปะนั้นได้ช่วยกระตุ้นการพัฒนาการสร้างสรรค์ของศิลปินอย่างไม่หยุดนิ่ง ทั้ง ยังเป็นกิจกรรมสำ�คัญที่เผยแพร่สุนทรียะแห่งศิลปะสู่ประชาชน ให้มีโอกาสได้เรียนรู้ชื่นชมถึงคุณค่าความดีงามอันจรรโลงจิตใจ นับเป็นปีที่ 14 แล้วที่ธนาคาร กรุงไทย ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนมหาวิทยาลัยศิลปากร ในการดำ�เนินงานของโครงการ ซึ่งตรงกันกับวิสัยทัศน์ของธนาคาร Growing Together กรุงไทย ก้าว ไกล ไปกับคุณ ที่มีพันธกิจ คือ การร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ธนาคารรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นสื่อสะท้อนแนวคิดและแรงบันดาลใจของศิลปินสู่สาธารณชน ผ่านผลงานสร้างสรรค์อันเก่งฉกาจ และขอแสดงความยินดีกับศิลปินที่ได้รับรางวัลและได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดงผลงานทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้

(นายสุพันธุ์ มงคลสุธี) กรรมการธนาคาร ประธานกรรมการ Fine Arts Screening Committee บมจ. ธนาคารกรุงไทย

12


Krungthai Bank Public Company Limited

The National Exhibition of Art has been a remarkable art event of Thailand’s contemporary art competition for 62 years. Many Thai noteworthy artists had been in this competition before. This national stage is to support artist and widely extend art appreciation among people. Our company is proud to be one of supporting. As our mission, “Growing Together”, which focuses on developing economy, society and environment; we realize that wisdom capital is sustainable. Krungthai Bank Public Company Limited is proud to be a part of this National Exhibition of Art which reflects idea and inspiration of the artists publicly through their artistic artworks. Lastly, we would like to congratulate all the award-winning and selected artists for the participating.

(Mr.Supant Mongkolsuthree) Director Chairman of the Fine Arts Screening Committee Krungthai Bank Public Company Limited

13


สารจากประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน)

ศิลปินไทยได้สร้างสรรค์ และจรรโลงคุณค่า ความงดงามแห่งศิลปะแขนงต่างๆ ด้วยความประณีตนับจากอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อสะท้อนภาพชีวิต และ สังคมในวัฒนธรรมไทย อันก่อให้เกิดวิวัฒนาการศิลปกรรมร่วมสมัยของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติดำ�เนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนานจนถึงปัจจุบันนับเป็นครั้งที่ 62 เป็นเสมือนเวทีระดับชาติที่แสดงให้เห็นศักยภาพในการ สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมของศิลปินไทยให้เป็นที่ประจักษ์ถึงทักษะ ความสามารถในการถ่ายทอดแรงบันดาลใจ แนวความคิดผ่านผลงานอันวิจิตรบรรจงใน รูปแบบที่หลากหลายต่อสาธารณชนในระดับนานาชาติ ในนามของบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) ข้าพเจ้ามีความยินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนบทบาทสำ�คัญในการอนุรักษ์ และการสืบสานคุณค่าความงดงามแห่งศิลปะ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริม ให้โอกาสศิลปินไทย พัฒนารูปแบบ และเทคนิคในการสร้างสรรค์ อันถือเป็นการยกระดับมาตรฐานผลงานศิลปกรรมให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 นี้ สามารถก้าวสู่ความสำ�เร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการทุกประการ และผลงาน ศิลปกรรมทีน่ �ำ มาจัดแสดงยังสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้ศลิ ปินรุน่ ใหม่จดุ ประกายความคิดสร้างสรรค์ผลงานทีห่ ลากหลาย ซึง่ ถือเป็นแบบอย่างทีด่ แี ก่ศลิ ปินไทย ในการพัฒนางานสร้างสรรค์ของตนนำ�ไปสู่การพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยสืบไป

(มร. นีล เอ. แฮนเซ็น) ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน)

14


Message from the Chairman and Managing Director Esso (Thailand) Public Company Limited

Thai artists have created impressive and inspiring artwork for many years and in various forms, often portraying cherished Thai contemporary culture and society. This year represents the 62nd edition of the National Exhibition of Art. The exhibition is a significant event as it provides the international community with an opportunity to experience the tremendous skills and creativity of Thai artists.. On behalf of Esso (Thailand) Public Company Limited, I am honored to support this important effort to preserve and recognize the enduring artistic value of Thai cultural heritage in collaboration with Silpakorn University and the National Exhibition of Art. Esso takes great pride in participating in the support of Thai artists to further advance their artistic skills and, help them bring the standard of artwork to an even higher level. I know the 62nd National Exhibition of Art will be a remarkable success, receive enthusiastic support from the public, and serve as an inspiration for a new generation of artists that will create inspiring Thai contemporary art for decades to come.

(Mr. Neil A. Hansen) Chairman and Managing Director Esso (Thailand) Public Company Limited

15


คำ�นำ�

มหาวิทยาลัยศิลปากรดำ�เนินการจัดการประกวด และการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเป็นประจำ�ทุกปีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2559 นี้ นับเป็นครัง้ ที่ 62 เพือ่ คงไว้ซง่ึ การสนับสนุน ส่งเสริมให้โอกาสแก่ศลิ ปินไทยในการสร้างสรรค์ และส่งผลงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อประสม เข้าประกวดในเวทีระดับชาติ อีกทั้งยังนำ�ผลงานรางวัล และผลงานร่วมแสดงมาเผยแพร่ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติให้สาธารณชน ได้รับชมอย่างกว้างขวางทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ.2559 มีศิลปินไทยส่งผลงานเข้าประกวด จำ�นวน 152 คน รวมผลงานทั้งสิ้น 208 ชิ้น จากผลการคัดเลือกและตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะ ปรากฏว่ามีศิลปินได้รับรางวัลประเภทต่างๆ รวมทั้งสิ้น 14 ราย ผลงานจำ�นวน 14 ชิ้น และศิลปินได้รับคัดเลือกผลงานเข้าร่วมแสดงทั้งสิ้น 64 ราย ผลงานจำ�นวน 66 ชิ้น ผลงานดังกล่าวจะมีการจัดแสดงนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 5 – 25 ตุลาคม 2559 หลังจากนั้นจะนำ�ไปจัดแสดง ณ สถาบันศิลปะในส่วนภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยทักษิณ ในโอกาสนี้ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรขอขอบคุณผู้สนับสนุน คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน ศิลปิน และคณะกรรมการทุกท่านที่ ให้การสนับสนุนและความร่วมมือในการดำ�เนินงานจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในครั้งนี้จนประสบความสำ�เร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ

(อาจารย์ ดร. ปรมพร ศิริกุลชยานนท์) ผู้อำ�นวยการหอศิลป์

16


Preface

The National Exhibition of Art has been established continuously to encourage Thai people to learn and understand modern art and submit works for competition. This year, the competition and exhibition of the 62nd National Exhibition of Art 2016 has divided artworks into four categories, which are painting, sculpture, printmaking and mixed media. The exhibition aims to enhance the quality of art creativity and also makes Thai artists become publicly known. This year, 152 artists submitted 208 pieces of works. There are 14 pieces of work selected for award-winning entries, while 66 pieces from 64 artists are selected to showcase together on the exhibition. All award-winning and selected entries will be exhibited at the National Gallery in Bangkok from 5-25 October 2016. Then, they will be exhibited in provincial institutes, which are Chiang Mai University, Naresuan University, Khonkaen University, Mahasarakham University, Thaksin University, Prince of Songkhla University in Pattani and Burapha University. Lastly, Art Centre Silpakorn University would like to express our hearty gratitude to all supporting organizations, the jury committee, participated artists, and all committees, who make this year National Exhibition of Art, successfully complete.

(Dr.Paramaporn Sirikulchayanont) Director of Art Centre, Silpakorn University

17


ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ. 2559 ด้วยมหาวิทยาลัยศิลปากร จะจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ. 2559 โดยมีระเบียบการดังต่อไปนี้ 1. ประเภทศิลปกรรม มี 4 ประเภท คือ 1.1 ประเภทจิตรกรรม (Painting) ได้แก่ ภาพเขียนสีน้ำ� สีฝุ่น สีน้ำ�มันในลักษณะสองมิติ จิตรกรรมในรูปแบบสามมิติ รวมถึงจิตรกรรมแนวจัดวาง (Painting Installation) 1.2 ประเภทประติมากรรม (Sculpture) ได้แก่ รูปปั้น รูปสลัก รวมถึงประติมากรรมแนวจัดวาง (Sculpture Installation) 1.3 ประเภทภาพพิมพ์ (Printmaking) ได้แก่ ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์หิน แม่พิมพ์โลหะ ภาพพิมพ์ประเภทโมโนพริ้นท์ และภาพพิมพ์จาก กระบวนการพิมพ์คอมพิวเตอร์(Digital print, หรือ Computer manipulation) ภาพพิมพ์สามมิติ รวมถึง ภาพพิมพ์แนวจัดวาง (Print Installation) 1.4 ประเภทสื่อประสม (Mixed Media) ได้แก่ ผลงานศิลปกรรมที่ใช้กรรมวิธีทางศิลปะที่แตกต่างกันเช่นจิตรกรรมผสมผสานกับประติมากรรม และ/หรือวัสดุต่างชนิดกัน 2 ประเภทขึ้นไป เช่น วัสดุสำ�เร็จรูป วัสดุเหลือใช้ วัสดุธรรมชาติ วัสดุสังเคราะห์ และวัสดุทางเทคโนโลยี่ รวมถึงงานสื่อประสม ประเภทจัดวาง (Mixed Media Installation) 2. ขนาดของผลงานศิลปกรรม ผลงานศิลปกรรมทุกประเภทต้องมีขนาด กว้าง ยาว สูง แต่ละด้านไม่เกิน 2.80 เมตร รวมกรอบและฐาน 3. ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวด ศิลปินสัญชาติไทย ที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมด้วยความคิดของตนเอง และ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยแสดงผลงาน รวมถึงไม่เคยได้รับ รางวัลหรือร่วมแสดงจากการประกวดใดๆ มาก่อน ศิลปิน 1 ท่าน มีสิทธิ์ส่งผลงานได้ ประเภทละไม่เกิน 2 ชิ้น โดยคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน จะเป็น ผู้พิจารณาผลงานเข้าแสดงและพิจารณาให้รางวัลแก่ผลงานที่มีคุณค่าเหมาะสมตามแต่ละประเภทศิลปกรรมที่กำ�หนดไว้ในข้อ 1 ทั้งนี้หากศิลปินส่งผลงานผิดประเภทคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินมีสิทธิ์ไม่พิจารณาผลงานนั้นๆ 4. การส่งผลงาน ศิลปินจะต้องส่งผลงานด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นนำ�มาส่งต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม ตามกำ�หนดเวลาในข้อ 10 โดยศิลปินจะต้องดำ�เนินการดังนี้ 4.1 กรอกรายละเอียดในแบบพิมพ์ของมหาวิทยาลัย โดยศิลปินจะต้องกรอกชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และรายละเอียดอื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในแบบพิมพ์ด้วยตัวบรรจงตามข้อกำ�หนดของมหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินจะต้องส่งผลงานด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้บุคคลมาส่งแทนโดยแสดงเอกสาร การได้รับมอบฉันทะต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดรับผลงาน 4.2 แนบสำ�เนาบัตรประจำ�ตัวประชาชนของศิลปินผู้ส่งผลงาน พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำ�เนาถูกต้อง 4.3 กรณีเป็นผลงาน 3 มิติ หรือผลงานที่มีการติดตั้ง ศิลปินต้องเตรียมอุปกรณ์สำ�หรับติดตั้งและต้องติดตั้งผลงานให้เป็นที่เรียบร้อย พร้อมแนบ หรือเขียนอธิบายรายละเอียดวิธีการติดตั้งผลงานให้ชัดเจนโดยแนบมาพร้อมกับใบสมัคร กรณีผลงานที่ได้รับการคัดเลือกที่มีเทคนิคเฉพาะทาง ศิลปินจะต้อง มาติดตั้งผลงานด้วยตนเอง โดยทางคณะกรรมการดำ�เนินงานฯ จะดำ�เนินการติดต่อนัดหมายเป็นกรณีไป และศิลปินจะต้องดำ�เนินการติดตั้งผลงานเอง ตามวันและเวลาที่ระบุไว้ในประกาศฯ 4.4 ผู้ส่งผลงานจะต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยตรงก่อนที่จะมีการติดตั้งผลงาน โดยเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้แจ้งพื้นที่ในการติดตั้งผลงานให้ทราบ และจะ ต้องติดตั้งในบริเวณที่กำ�หนดเท่านั้น 4.5 ในการติดตั้งผลงาน ศิลปินไม่มีสิทธิที่จะนำ�ปูน หรือวัสดุถาวร มาติดตั้งในบริเวณรับผลงานไม่ว่าจะเป็นตัวอาคารหรือพื้นถนน พื้นอาคาร หาก ศิลปินฝ่าฝืนและทำ�ให้บริเวณดังกล่าวไม่อยู่ในสภาพเดิม เจ้าหน้าที่รับผลงานสามารถพิจารณาคัดผลงานดังกล่าว “ออก” ได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการคัดเลือก และตัดสิน 4.6 ผลงานที่จะส่งเข้าร่วมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 จะต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงเหมาะสมกับการติดตั้ง การเคลื่อนย้าย การจัด แสดงนิทรรศการและการจัดเก็บ มิฉะนั้นมหาวิทยาลัยฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการนำ�ผลงานไปแสดงฯ ณ ที่ต่างๆ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลงาน 4.7 ศิลปินที่ส่งผลงานจะได้รับสูจิบัตรการแสดงฯ คนละ 1 เล่ม หรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมารับแทนได้โดยมีกำ�หนดการรับสูจิบัตร ภายใน 3 เดือน นับจากวันที่เปิดการแสดงนิทรรศการฯ สามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นมารับสูจิบัตรแทนได้ 5.คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอำ�นวยการ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศิลปะ จากสาขาต่างๆ มาเป็นคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน ดังนี้ 18


1. ศาสตรเมธีนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน กรรมการ 2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณอิทธิพล ตั้งโฉลก กรรมการ 3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม กรรมการ 4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณเข็มรัตน์ กองสุข กรรมการ 5. ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง กรรมการ 6. ศาสตราจารย์เดชา วราชุน กรรมการ 7. ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี กรรมการ 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร รอดบุญ กรรมการ 9. อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรหรือผู้แทน กรรมการ 10. ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขานุการ การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินถือว่าเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้ 6.รางวัล คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน จะตัดสินให้รางวัลแต่ละประเภท โดยกำ�หนดรางวัลดังนี้ รางวัลของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ แบ่งเป็น 3 ประเภทรางวัล ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง เงินรางวัล 150,000.- บาท ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน เงินรางวัล 100,000.- บาท ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง เงินรางวัล 80,000.- บาท ประกาศนียบัตรสำ�หรับศิลปินผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดง คณะกรรมการอาจตัดสินรางวัลในแต่ละประเภท ให้ได้อันดับหนึ่ง อันดับสอง อันดับสามเกินกว่าหนึ่งรางวัล หรืองดรางวัลใดก็ได้ หากคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่มีผลงานใดสมควรที่จะได้รับรางวัล นอกจากนี้คณะกรรมการฯ จะคัดเลือกผลงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าแต่ไม่ได้รับรางวัลเข้าร่วมแสดง อีกจำ�นวนหนึ่ง 7.กรรมสิทธิ์ 7.1 งานศิลปกรรมที่ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยมเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีสิทธิ์ในการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ตามที่เห็นสมควร 7.2 ผลงานศิลปกรรมทุกชิ้นที่ส่งเข้าร่วมแสดงในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานในสูจิบัตร และเอกสารสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสารสนเทศสมัยใหม่ทุกประเภท 8.ศิลปินชั้นเยี่ยม เพื่อเป็นการส่งเสริมประชาชนให้เกิดความสนใจในงานศิลปกรรมร่วมสมัย และกระตุ้นให้ศิลปินไทยมุ่งมั่นสร้างสรรค์งานศิลปะอันมีคุณค่าและให้มี ความก้าวหน้ายิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงกำ�หนดคุณสมบัติของศิลปินผู้ที่สมควรจะได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ดังนี้ 8.1 ศิลปินผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม เหรียญทองครบ 3 ครั้ง ในประเภทเดียวกัน 8.2 ศิลปินผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม เหรียญทอง 2 ครั้ง กับเหรียญเงิน 2 ครั้ง ในประเภทเดียวกัน 9.ศิลปินรับเชิญ มหาวิทยาลัยศิลปากร จะเชิญศิลปินส่งผลงานเข้าแสดงร่วมกับผลงานศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 62 โดยมอบหมายให้คณะกรรมการอำ�นวยการเป็น ผู้คัดสรรและพิจารณา ศิลปิน ซึ่งศิลปินผู้ที่จะถูกรับเชิญจะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 9.1 เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม 9.2 เป็นคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ 9.3 เป็นศิลปินผู้ได้รับรางวัลเหรียญทอง ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง หรือได้รับเหรียญเงินไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และทำ�งานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง 9.4 ศิลปินผู้สร้างชื่อเสียงในประเทศหรือต่างประเทศ และทำ�งานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้คณะกรรมการอำ�นวยการได้ลงมติให้ จัดแสดง ผลงาน “เชิดชูเกียรติศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ” 10.กำ�หนดเวลา 10.1 การส่งงานทุกประเภท วันจันทร์ที่ 16 ถึง วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2559 เวลา 10.00 น. – 16.00 น. ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 10.2 การคัดเลือกและตัดสินผลงาน วันเสาร์ที่ 28 และวันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2559 คัดเลือกและตัดสินผลงานศิลปกรรมทุกประเภท ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 10.3 ประกาศผลการตัดสิน: วันอังคารที่ 8 มิถุนายน 2559 10.4 การแสดงนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร - ตุลาคม 2559 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ 19


11. การแสดงนิทรรศการในส่วนภูมิภาค - พฤศจิกายน 2559 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ - ธันวาคม 2559 ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก - มกราคม 2560 ณ หอศิลปจำ�ปาศรี สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม - กุมภาพันธ์ 2560 ณ สำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น - มีนาคม 2560 ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี - เมษายน 2560 ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี - พฤษภาคม 2560 ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา หรือ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จังหวัดสงขลา หมายเหตุ : - มหาวิทยาลัยศิลปากรขอสงวนสิทธิ์ ในการคัดเลือกผลงานเพื่อไปแสดงทั้งในกรุงเทพฯ และในส่วนภูมิภาค ในส่วนของผลงานที่ ไม่ได้รับการคัดเลือกให้ไปแสดงฯ เจ้าหน้าที่จะดำ�เนินการติดต่อเพื่อให้มารับผลงานคืนทันที - การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติสัญจรในจังหวัดสงขลาจะสลับการแสดงงานระหว่างสถาบันในทุกปี 12. การรับงานคืน ให้มาติดต่อกับเจ้าหน้าที่หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม หมายเลขโทรศัพท์ 0-3427-3331 ระหว่างเวลา 10.00 น. – 16.00 น. ดังนี้ - ผลงานศิลปกรรมที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดง ให้มาติดต่อรับคืนระหว่างวันจันทร์ที่ 13 ถึง วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2559 - ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดง และไม่ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมแสดงในส่วนภูมิภาค คณะทำ�งานฯจะแจ้งให้ทราบทันทีที่ผลงานกลับมา ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้ให้ไว้ในใบสมัคร และศิลปินสามารถมารับผลงานคืนได้ ในเวลาราชการหลังจากวันที่ได้แจ้งให้ทราบ ภายใน 5 วันทำ�การ - ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดง และได้รับการคัดเลือกให้ร่วมแสดงในส่วนภูมิภาค คณะทำ�งานฯจะแจ้งให้ทราบทันทีที่ผลงานกลับมา ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้ให้ไว้ในใบสมัคร และศิลปินสามารถมารับผลงานคืนได้ใน วันและเวลาราชการหลังจากวันที่ได้แจ้งให้ทราบ ภายใน 5 วันทำ�การ - ส่วนผลงานที่ได้รับการคัดเลือกฯในครั้งนี้ ศิลปินไม่สามารถขอรับผลงานคืนได้จนกว่าสิ้นสุดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร จะระวังรักษาผลงานศิลปกรรมทุกชิน้ ทีส่ ง่ เข้าประกวดอย่างดีทสี่ ดุ ยกเว้น ความเสียหายอันเกิดจากอุปทั วเหตุ ความเสียหายอันเกิดจากโครงสร้างผลงานที่ไม่แข็งแรง หรือ เหตุอันสุดวิสัย ศิลปินที่ประสงค์จะรับผลงานคืน แต่ไม่สามารถมารับคืนได้ตามวันและเวลาที่กำ�หนด กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิทรรศการศิลปะเพื่อนัดหมายวันและเวลา ที่จะ มารับล่วงหน้า การส่งและการรับคืนผลงาน ให้ดำ�เนินการในวันและเวลาที่กำ�หนดในข้อ 10.6 หากผลงานศิลปกรรมชิ้นใดศิลปินผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่มารับคืนภายในวันและ เวลาที่กำ�หนดไว้ ให้ถือว่าศิลปินเจ้าของผลงานชิ้นนั้นยินยอมให้มหาวิทยาลัยศิลปากรมีกรรมสิทธิ์ในผลงานดังกล่าวโดยปริยาย มหาวิทยาลัยศิลปากรมีสิทธิ์ ดำ�เนินการตามที่เห็นสมควร โดยอาจนำ�ผลงานศิลปกรรมทั้งหมด หรือบางส่วน ไปหารายได้เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานหรืออาจนำ�ผลงานไปมอบให้สถาบัน การศึกษาส่วนราชการหรือองค์กรต่างๆตามสมควร

20

ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร


Silpakorn University is holding the 62nd National Exhibition of Art this year, with details and guidelines as follow. 1. Types of Works 1.1 Painting, with techniques such as watercolor, tempera, and oil. 1.2 Sculpture, with techniques such as molding, and casting. 1.3 Printmaking, with techniques such as woodcut, lithograph, etching, monoprint, and digital print. 1.4 Mixed Media Installation, includes work that uses two/ or more types of medias and materials, combines with technological media, and as installation work. 2. Dimensions All works must not exceed 2.8m. (width/length/height) including mounts, frames, and bases. Installation of work must not exceed the size limit. 3. Eligibility Thai citizens with no age limitation are eligible to participate. Works submitted must never been awarded and chosen to exhibit in other art competitions. Each artist can submit 2 pieces of work within each category. 4. Artworks Artist may submit work by himself or transfer the right to other people. Work must be submitted at The Art and Cultural Center Commemorating the 6th Cycle Birthday Anniversary of His Majesty The King Bhumibol Adulyadej, Silpakorn University (Sanamchandra Palace Campus) with these requirements. 4.1 Artist must fill in the application form with full name, contact details, and other information in Thai and English. 4.2 Artist must attach identification copy with certified signature. 4.3 For sculptures and works that need to install, artists must indicate clearly the installation method and install work by themselves. 4.4 Artist must contact the art centre’s officer prior to the installation of work and install work at the indicated space only. All works must have strong and suitable structure to transport, move, install, and store during and after exhibition, otherwise it may not exhibit. Selected works cannot be withdrawn from the exhibition unless the whole exhibition period is over. The university shall bear no responsibility to the damages of work from accidents, unpredicted incidents, and poor structures. 5. Jurors Ten expert jurors in various fields of fine arts are appointed for the 62nd National Exhibition of Art. 1. Distinguished Scholar Nontiwat Chantanapalin Juror 2. Professor Emeritus Ittipol Tangchalok Juror 3. Professor Emeritus Santi Leksukhum Juror 4. Professor Emeritus Khemrat Kongsook Juror 5. Professor Emeritus Preecha Thaothong Juror 6. Professor Decha Warachun Juror 7. Professor Vichoke Mukdamanee Juror 8. Assistant Professor Somporn Rodboon Juror 9. President of Silpakorn University or Representative Juror 10. Director, Art Centre Silpakorn University Secretary

21


6. Rules Selected entries and awards-winning selection by jurors are absolute. Awards Medal prizes of the National Exhibition of Art in each type of work are divided into : - 1st Prize, Gold Medal and 150,000 Baht - 2nd Prize, Silver Medal and 100,000 Baht - 3rd Prize, Bronze Medal and 80,000 Baht The jurors may grant more than one award or none for each medal prize in each type of work, depending on the quality. Works that are not selected for award-winning entries may be selected for participating in the exhibition. Certificate for selected entries will be given to selected artists. The jurors may grant more than one award or none for each prize, depending on the quality. 7. Copyright and Property Rights 7.1 Gold medal, silver medal and bronze medal award-winning works will become the property of Silpakorn University, who reserves the right to promote works in all channels and methods without further approval from the artists. 7.2 All works selected for the awards and exhibition may be used for exhibitions, catalogues, publications, and other promotional purposes. 8. Artist of Distinction To support and motivate Thai artists gain more interest in Thai contemporary art and develop their artistic creativity, Silpakorn University has indicated the qualification of Artist of Distinction as follow : 8.1 Artist who has been awarded with 1st prize, gold medal for 3 times (under the same type of work). 8.2 Artist who has been awarded with 1st prize, gold medal for 2 times and 2nd prize, silver medal for 2 times (under the same type of work). 9. Guest Artist Silpakorn University invites guest artist to participate in the 62nd National Exhibition of Art, in which participation can be in the form of art works for exhibition or article for art catalogue. The managing committees have rights to select the guest artist, who must have any of these qualifications : 9.1 Be the Artist of Distinction 9.2 Be the juror of the National Exhibition of Art 9.3 Be the artist who has been awarded with 1st prize, gold medal not less than once, or 2nd prize, silver medal not less than twice, and still active in art creativity. 9.4 Be famous artist either in the country or abroad, and still active in art creativity. 10. Period of Time 10.1 Submission 21 - 22 May 2016 at The Art and Cultural Center Commemorating the 6th Cycle Birthday Anniversary of His Majesty The King Bhumibol Adulyadej, Silpakorn University (Sanamchandra Palace Campus) 10.2 Selection Date 28 – 29 May 2016 at The Art and Cultural Center Commemorating the 6th Cycle Birthday Anniversary of His Majesty The King Bhumibol Adulyadej, Silpakorn University (Sanamchandra Palace Campus) 10.3 Results Announced 8 June 2016 10.4 Exhibition Period in Bangkok October 2016

22


11. Travel Exhibition The North and the North-eastern - The Chiangmai University Art Center, Chiangmai University, Chiangmai Province - The Naresuan University Art Gallery, Naresuan University, Phitsanulok Province - The Art and Cultural University Exhibition Hall, Khonkaen University, Khonkaen Province - Jampasri Art Gallery (The Research Institute of North-Eastern Art and Culture), Mahasarakham University, Mahasarakham The South and the East - The Princess Galayani Vadhana Institute of Cultural Studies, Prince of Songkhla University, Pattani Province - The Art Gallery, Faculty of Fine Arts, Thaksin University, Songkhla Province - The Eastern Center of Art and Culture, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi Province 12. Collection of Works - Works not selected 13 - 17 June 2016, 10am to 4pm at The Art and Cultural Center Commemorating the 6th Cycle Birthday Anniversary of His Majesty The King Bhumibol Adulyadej, Silpakorn University (Sanamchandra Palace Campus) - Works selected The organizers will contact the artists once works have been returned to Sanamchandra Art Gallery. All returned works must be collected within 5 working days. Collection of works later than period indicated is subject to the property rights of Silpakorn University.

23



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ His Majesty the King and the National Exhibition of Art


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ His Majesty the King and the National Exhibition of Art

ในปี พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำ�เนินทรงเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 และจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 22 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์เป็นประธานในพิธีเปิดการแสดงจนกระทั่งปัจจุบัน


พระราชดำ�รัส เปิดงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ณ หอศิลป กรมศิลปากร วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505

ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้มาเปิดงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ซึ่งกรมศิลปากรกับมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ร่วมกันจัดขึ้นในวันนี้ การทีท่ างราชการได้จดั งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเป็นงานประจำ�ปี และในปีน้ี ก็ได้คัดเลือกงานศิลปะทุกประเภทเข้าแสดง เพื่อผดุงรักษาศิลปะของชาติให้ ถาวรและก้าวหน้ายิ่งขึ้นนั้น เป็นการสมควรยิ่ง ศิลปะของไทยเจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของเราได้พยายาม ค้นคว้าประดิษฐ์ขน้ึ ด้วยความประณีตบรรจง เป็นทีย่ กย่องสืบต่อมาจนทุกวันนี้ จึงขอให้ศิลปินทั้งหลายรักษาสิ่งอันมีค่านี้ไว้ และช่วยกันเสริมสร้าง งานด้านนี้ ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ศิลปกรรมเป็นการแสดงออกถึงจิตใจของชาติ ฉะนั้น ผู้ที่เป็นศิลปิน ไม่ว่าในประเภทใด จึ่งควรได้พยายามศึกษา หาความรู้ ให้กว้างขวาง เพื่อที่จะได้สามารถแสดงจิตใจนั้นได้ดี บัดนี้ ข้าพเจ้าขอเปิดงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 หวังว่างานนี้ จะอำ�นวยประโยชน์อย่างสูงแก่บรรดาศิลปิน และประชาชนผู้สนใจ ในงานนี้ ทั่วกัน

พระราชดำ�รัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานในโอกาสงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 หอศิลป กรมศิลปากร พระราชดำ�รัสพระราชทานเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505: สูจิบัตรงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 (2505) กรุงเทพมหานคร กรมศิลปากร ภาพจาก การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ณ หอศิลป กรมศิลปากร วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505



หกทศวรรษปรมาจารย์ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ The Sixth Decade Commemoration of the National Master Artist Professor Emeritus

ชลูด นิ่มเสมอ CHALOOD NIMSAMER


“หกทศวรรษปรมาจารย์ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ”

โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร

ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ เริ่มต้นศึกษาศิลปะจากโรงเรียนเพาะช่าง ต่อมาเข้าศึกษาที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัย ศิลปากร เป็นศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และบัณฑิตคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์เป็นตัวอย่างให้แก่ศิลปินรุ่นหลังในด้านความมุ่งมั่น มานะ จนกลายเป็นนักบุกเบิกสร้างสรรค์งานศิลปะทุกประเภท ผลงานทุกชุดที่ทำ�ขึ้นเต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์ มีความก้าวหน้าล้ำ�สมัย โดยมีพื้นฐานความคิด จากความเป็นไทย ชนบทไทย และความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ ผลงานในยุคเริ่มต้นของอาจารย์ในสมัยเรียนเป็นผลงานประติมากรรม โดยเฉพาะประติมากรรมเทคนิคปั้นดิน มีทั้งรูปแม่อุ้มลูก รูปครอบครัวที่มี แม่นำ�ขบวนลูกๆไปทำ�งาน ทั้งหมดเป็นงานเรียนตามโจทย์ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้สอน นอกจากนี้ยังมีงานไม้แกะสลักรูปเปลือยหญิงสาวนอนขด ชื่อ “ความบริสุทธิ์แห่งธรรมชาติ” พ.ศ. 2498 มีงานจิตรกรรมสีฝุ่นปิดทองเรื่องราวของวิถีชีวิตคนไทยในชนบทและประเพณีไทย และมีผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ลง บนแผ่นเมโซไนต์ทั้งหมดเป็นผลงานที่ใช้รูปทรงที่เรียบง่ายในธรรมชาติ เนื้อหาเป็นความบริสุทธิ์ และความเรียบง่ายจากธรรมชาติ โดยใช้เรื่องราวที่เกี่ยวกับ ชีวิตประจำ�วันของชาวชนบทไทย การพักผ่อน การทำ�งานของผู้ใช้แรงงาน กรรมกร ชาวนา และประเพณีวัฒนธรรมไทย เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ศาสตราจารย์ศิลป์ได้รับอาจารย์ชลูดเข้าเป็นอาจารย์ประจำ� เมื่อสอนอยู่ได้ประมาณ 2 ปี จึงสอบชิงทุนจาก รัฐบาลอิตาลีไปศึกษาศิลปะที่กรุงโรม 2 ปี ณ L’Accademia di Belle Arti di roma โดยเข้าเรียนที่สาขาประติมากรรมที่อาจารย์จบมา เมื่อผ่านการทดสอบ ศาสตราจารย์หัวหน้าประติมากรรมตรวจแล้วก็ได้ถามว่า “ปั้นได้ขนาดนี้ จะเข้ามาเรียนอีกทำ�ไม?” อาจารย์ชลูดจึงแจ้งศาสตราจารย์ไปว่าอยากเรียนภาพพิมพ์ หลังจากได้รับคำ�แนะนำ�แล้ว อาจารย์จึงสอบเข้าเรียนทางเดคอเรชั่น (Decorazione) ซึ่งมีสอนภาพพิมพ์ในชั้นเรียนปีที่ 3 และได้เรียนภาพพิมพ์เทคนิคร่องลึก หรือ Etching-Intaglio ประกาศนียบัตรที่อาจารย์ได้รับจึงเป็น เดคอเรชั่น นอกจากการไปเรียนภาพพิมพ์แล้ว อาจารย์ยังได้ใช้เวลาว่างไปฝึกหัดทำ�งานเซรามิก ตามสตูดิโอของศิลปินเซรามิก งานเซรามิกนี้เองเป็นงานหนึ่งที่ชอบและทำ�ได้ เมื่อเบื่องานที่ทำ�อยู่เมื่อไรก็จะกลับมาทำ�เซรามิก 30 ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ Master Artist Prof. Emeritus Chalood Nimsamer


เมื่อจบการศึกษาที่โรมและกลับมาสอนที่ศิลปากรในปี พ.ศ. 2501 อาจารย์ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติหลายครั้ง และได้รับยกย่องให้เป็น ศิลปินชั้นเยี่ยม ประเภทจิตรกรรม ในปี พ.ศ. 2502 และต่อมาในปี พ.ศ. 2507 อาจารย์ได้รับทุนจากกระทรวงการต่างประเทศของ สหรัฐอเมริกา อาจารย์มีความุม่งหมายในการศึกษาวิชาภาพพิมพ์หิน (Lithograph) อย่างเข้มข้นที่สุดเพื่อนำ�มาใช้สอนที่ศิลปากร และยังต้องการศึกษาดูงาน จากหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ทันสมัย นอกจากนี้ ข้อสำ�คัญคือ ต้องการเยี่ยมสถานศึกษาศิลปะที่มีชื่อเสียงของอเมริกา เพื่อศึกษาหลักสูตร การเรียนการ สอน รวมถึงพูดคุยกับคณาจารย์คณะผู้สอนและศิลปินที่มีชื่อของเขา สิ่งที่ตอกย้ำ�ความมุ่งมั่นในงานศิลปะภาพพิมพ์ที่อาจารย์ทุ่มเทอย่างหนัก คือ ผลงานที่ อาจารย์ได้ทำ�การทดลองอยู่หลายปี ได้รับรางวัลจาก International Biennial Graphic Art ที่ยูโกสลาเวียปี พ.ศ. 2506 และรางวัลจาก International Biennial of Prints in Tokyo ที่ญี่ปุ่นปี พ.ศ. 2507 เป็นศิลปินภาพพิมพ์ของไทยคนแรกที่ก้าวไปสู่เวทีระดับภาพพิมพ์นานาชาติ ด้านงานจิตรกรรมร่วมสมัย วิถีไทยในศิลปะไทย อาจารย์เริ่มต้นงานจิตรกรรมตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา ภายใต้เรื่องราวของวิถีไทย ชีวิตชาวนา หรือประเพณีของไทย รูปทรงที่เรียบง่ายของ คนและธรรมชาติ หลังจากที่อาจารย์กลับมาจากการศึกษาที่กรุงโรม ผลงานจิตรกรรมของท่านมีลักษณะที่ได้อิทธิพลมาจากศิลปะตะวันตกแบบคิวบิสม์ที่กำ�ลัง เป็นที่นิยมของโลก แต่ท่านยังคงใช้เรื่องราวในแบบวิถีไทย เช่น ภาพแม่ค้าหาบของ แม่ค้าขายขนมไทย และชุดคุณนายลูกอิน จากการค้นคว้าในลักษณะทั้งแนว เรื่องของไทยและใช้รูปแบบประเพณีของไทยเป็นฐานที่มั่นคง อาจารย์จึงได้เปิดภาควิชาศิลปไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2520 และในช่วงเวลาเดียวกัน อาจารย์ได้ผลักดัน ให้เวทีประกวดงานจิตรกรรมบัวหลวงได้เกิดขึ้น และกลายเป็นเวทีสำ�คัญของการศึกษาศิลปะของไทยในช่วงเวลาต่อมาจนบัดนี้ ด้านงานประติมากรรมสลักหินและโลหะ อาจารย์ได้เริ่มทดลองมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นนักศึกษา งานสลักหินของอาจารย์ได้รับความบันดาลใจจากการที่ ได้เดินทางผ่านทางหินกอง จังหวัดสระบุรี แหล่งหินในภาคกลาง ได้เห็นวัสดุที่แข็งแกร่งและมีผิว (Texture) ที่ถูกใจ อาจารย์จึงซื้อหินและเครื่องมือแกะ เริ่มทำ� รูปแรกแล้วก็ติดใจเลยทำ�เรื่อยมา และด้วยความที่อาจารย์เป็นนักค้นคว้าทดลอง มักอ่อนไหวกับการสัมผัสกับวัสดุต่างๆ ต่อมาจึงทดลองการเชื่อมโลหะ (Welding) ได้เห็นลักษณะพิเศษของเหล็ก ผิวอันแข็งแกร่งและลักษณะการเชื่อมต่อซึ่งมีเสน่ห์และสวยงามด้วยตัวเอง นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงไปสู่การใช้โลหะ สร้างเป็นแม่พิมพ์ ร่องรอยโลหะ อัดหมึกลงไป ใช้เป็นแม่พิมพ์แบบคอลโลกราฟ (Collograph) อาจารย์เป็นคนชอบอ่าน ชอบเขียนจดหมาย และจดบันทึกต่างๆ เมื่อครั้งที่อาจารย์ต้องสูญเสียแม่ไป อาจารย์คิดว่าขาดที่พึ่งสำ�คัญ จึงหาตัวแทนที่ ไม่มีตัวตนจริงๆ วันหนึ่งอาจารย์ได้พบกับ “คุณนายลูกอิน” นั่งอยู่บนแท่นไม้ ท่านเป็นสาวใหญ่ รวย มีการศึกษา เมื่อกลับบ้านไปก็ฝันถึงคุณนายลูกอิน เมื่อตื่น จึงเริ่มต้นเขียนจดหมายถึงคุณนายลูกอิน เขียนกันไปนานก็บอกเล่าสารทุกข์สุกดิบ เจออะไรผิดหวังหรือดีใจก็บอกกล่าวให้ท่านรู้ แม้แต่เรื่องศิลปะคุณนายลูก อินก็รับรู้ โดยอาจารย์ได้เขียนรูป “คุณนายลูกอิน” ในลักษณะที่เป็นภาพไทยลงรายละเอียดประณีต แต่งตัวสวย งามสง่า อาจารย์เล่าว่าเป็นเรื่องจินตนาการที่ ประสานความเป็นจริงกับศิลปะ ซึ่งมีลักษณะเป็นการเริ่มต้นแนวคิดแบบ Conceptual Art ของอาจารย์ หลังครบวาระการรับตำ�แหน่งคณบดีในปี พ.ศ. 2522 เป็นช่วงเวลาที่อาจารย์ได้รับการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณเสรีภาพและอิสรภาพ ความเป็น ชนบท ความมี ช ี ว ิ ต ที ่ เ รี ย บง่ า ยบริ ส ุ ท ธิ ์ ข องชาวบ้ า นชาวไร่ ช าวนา เรี ย กร้ อ งให้ อ าจารย์ ก ลั บ มาเป็ น นั ก สร้ า งสรรค์ เ หมื อ นเดิ ม อาจารย์ ก ล่ า วถึ ง งานชุ ด “ประติมากรรมชนบท” ว่า ชาวชนบทชอบความเรียบง่ายของชีวิต และแม้ว่าเขาจะอยู่อย่างขัดสน ความเป็นอยู่อาจไม่ถูกสุขลักษณะ มีการศึกษาน้อยและ ขาดแคลนปัจจัยพื้นฐาน แต่พวกเขากลับมีลักษณะที่พิเศษ มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองโดยเฉพาะ วัตถุต่างๆที่พวกเขาใช้ในชีวิตประจำ�วัน ล้วนแล้วแต่มีการ เปลี่ยนแปลงไปตามวิถีของความเจริญทางวัตถุของโลก แต่ก่อนโลกของชนบทอาจมีเพียงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ มีวัวควาย มีไม้ไผ่ เครื่องจักสาน แต่ปัจจุบันมี รถไถ อุปกรณ์เครื่องยนต์ทำ�นา ถุงพลาสติก กระป๋องใส่อาหาร เชือกพลาสติกหลากสี ด้วยวัสดุดังกล่าวทั้งหมด อาจารย์จึงได้รวบรวมกระป๋องเปล่า เชือก หลากชนิด ซึ่งมีพร้อมอยู่แล้วในชนบทใกล้บ้าน นำ�มาประกอบแขวนเข้ากับขอนไม้ ตอไม้ ทำ�ให้เกิดบุคลิกที่พิเศษ เป็นวิญญาณของชนบท เป็นผลงานแบบ นามธรรมที่มีจิตวิญญาณของชนบทไทยอยู่ด้วย ต่อมาในผลงานชุด “บันทึกประจำ�วัน” ของอาจารย์ชลูด น่าจะเป็นผลงานที่สืบเนื่องและมีที่มาจาก “ประติมากรรมชนบท” อาจารย์เริ่มต้นทำ�งานชุด “บันทึกประจำ�วัน” จากการเริ่มต้นทำ�งานประติมากรรมชนบท แต่หลายชิ้นได้พังสลายไป อาจารย์จึงร่างประติมากรรมบนแผ่นกระดาษด้วยการวาดเส้น บันทึก ความคิดเก็บไว้ เผื่อหากมีเวลาก็จะได้ทำ�จริง อาจารย์เอาสเก็ตช์ประติมากรรมด้วยกระดาษวางไว้รอบๆห้อง ในที่สุดก็คิดที่จะเอามาผูกรวมกัน แขวนด้วยเชือก ไนล่อน แยกไว้เป็นกลุ่มๆ มีทั้งกระดาษสเก็ตช์ผลงาน จดหมาย บันทึกข้อความต่างๆ เอกสารทางราชการ รูปถ่าย และหนังสือ งานชิ้นนี้ก่อตัวขึ้นโดยอัตโนมัติ มาตามสะดวกก่อนและหลังโดยไม่ได้คำ�นึงถึงรูปทรง เริ่มต้นแขวนเพียงไม่กี่ชิ้นในปี พ.ศ. 2522 และได้มีกลุ่มศิลปินมาชวนให้แสดง “งานกระดาษ” ในปี พ.ศ. 2527 ผลงานบันทึกประจำ�วันก็เติบโตเป็นชิ้นใหญ่ และนำ�ออกแสดงได้ งานชิ้นนี้ก็ยังคงเติบโตต่อไปอีก นับเป็นงานแบบ Conceptual Art อีกชิ้นหนึ่งของ อาจารย์ อาจารย์เป็นศิลปินทัศนศิลป์ที่มีจินตนาการข้ามสื่อข้ามสาขาอยู่ตลอดเวลา ในผลงานชุด “บทกวี” นี้เองที่อาจารย์มีความคิดอยากเป็นกวี แต่ไม่ ต้องการเขียนในแบบโคลงกลอน เพราะอาจารย์คิดว่ากวีนิพนธ์ที่ผ่านการรับรู้ทางภาษานั้นมีกำ�แพงภาษากั้นไว้ คนที่ไม่รู้ คนที่ต่างภาษาก็ไม่สามารถเข้าใจภาษา ของกวีนั้นได้ อาจารย์จึงคิดว่าภาษาทางทัศนศิลป์เป็นภาษาของการมองเห็น จึงเป็นภาษาสากลที่ทุกชาติทุกภาษาสามารถรับรู้เข้าใจได้ อาจารย์ฝึกฝนการเขียน บทกวี ด้วยภาษาทางทัศนศิลป์เป็นเวลา 2-3 ปี เป็นกวีที่ไม่มีตัวอักษร ไม่เป็นถ้อยคำ� หรือความหมายทางภาษา มีแต่ความหมายในทางทัศนธาตุ (Visual Elements) เป็นรูปทรง สี การจัดกลุ่ม จังหวะ เว้นวรรค มีความเป็นอิสระ ไม่สามารถอ่านเป็นภาษาได้ ผู้อ่านสามารถใช้จินตนาการอ่านจากรูปทรงที่กำ�หนดไว้ จึงจะเกิดเป็นถ้อยคำ�งดงาม ปลุกให้เกิดจินตนาการของกวีที่มีอยู่ในใจของมนุษย์ที่มีอยู่ก่อนแล้วสำ�หรับมนุษย์ผู้อ่อนโยนทุกคน ผลงานวาดเส้นและจิตรกรรมชุด “ลูกสาว” ปีพ.ศ. 2528 มาจากการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของอาจารย์คือ การมีครอบครัวและกำ�เนิด ลูกสาวในปี พ.ศ. 2518 ลูกสาวในภาพวาดของอาจารย์ ไม่ได้เติบโตขึ้นทางร่างกาย ดูเหมือนจะเป็นลูกสาวแบบอมตะ ไม่มีเด็กทารก เด็กโต หรือแก่ลง หาก แต่เป็นลูกสาวคนเดิมตลอดมา มีเพียงการเปลี่ยนแปลงการแต่งกาย การประดับประดา และสถานที่แปลกตาที่อาจารย์จะพาลูกสาวไป ในช่วงแรก เริ่มต้นจาก ลูกสาวในชุดไทยลาวเสื้อแขนกระบอกสีดำ� เสื้อคอกระเช้า นุ่งผ้าซิ่น ห่มสไบ (พ.ศ. 2528) ในปี พ.ศ. 2530 อาจารย์วาดลูกสาวดูหรูหราขึ้น บ้างอยู่ในเรือนแก้ว บ้างอยู่ในบ้านทรงไทย บ้างอยู่ในซุ้มรูปหยดน้ำ� และอยู่ในท่าทางต่างๆ เช่น กำ�ลังหาบของไปทำ�บุญ กำ�ลังฟ้อนรำ� กำ�ลังทำ�ขนม และเตรียมของไปถวายพระ ในปี 31 ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ Master Artist Prof. Emeritus Chalood Nimsamer


พ.ศ. 2534 - 2535 ลูกสาวอยู่ในทิวทัศน์ชนบท ภูเขา เนินเขา ต้นไม้ ป่าไม้ และแปลงผัก มีหลายภาพ ที่ลูกสาวอุ้มแมว นั่งบนหลังควาย และบางครั้งนอนหลับอย่างมีความสุขกับแม่ ในปีพ.ศ. 2539 - 2540 จิตรกรรมลูกสาวบนกระดาษสาเปลี่ยนแปลงเรื่องราวของภาพในส่วนหลัง เป็นรูปเรขาคณิตชัดเจนขึ้น และมีสัญลักษณ์ในทางพุทธศาสนา ในระหว่างปี พ.ศ. 2547 - 2552 อาจารย์เริ่มให้รายละเอียดในส่วน พื้นหลังมากขึ้นด้วยการใช้วิธีสแตมป์สีแบบโมโนปริ๊นท์ทับซ้อนกันลงไป ภาพลูกสาวอาจารย์ยังคงวาด ต่อๆมาอย่างไม่รู้เบื่อ จำ�นวนงานชุดลูกสาวนับไม่ถ้วน เพราะหลังจากที่อาจารย์เสียชีวิตไปแล้ว ยังค้นพบ อีกนับพันชิ้น และได้หมดสิ้นในปี พ.ศ. 2558 งานประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2524 - 2539) งานประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม ของอาจารย์เริ่มต้นจากการสร้างสรรค์ประติมากรรมขนาดใหญ่เพื่อติดตั้งหน้าอาคารธนาคารกสิกรไทย สำ�นักงานใหญ่(ในช่วงเวลานั้น) ที่ถนนพหลโยธิน ปี พ.ศ. 2524 ชื่อ “องค์สาม” เป็นงานสำ�ริดขัดมัน รูปเงินพดด้วงซ้อนกัน 3 ก้อน ต่อมาอาจารย์สร้าง “อนุสาวรีย์วีรชน พตท.17-18” ที่ จังหวัดเลย ในปี พ.ศ. 2528 ต่อมาในปีพ.ศ. 2536 อาจารย์ได้สร้างงานประติมากรรมขนาดใหญ่ปิดทองคำ�เปลวชื่อ “พระบรมโพธิสมภาร” หน้าอาคารมหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ เป็นรูปทรงต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ แผ่สาขาไปโดยรอบ งานประติมากรรมขนาดใหญ่อีกชิ้นหนึ่งของอาจารย์ที่สร้างชื่อเสียงและเป็นที่วิพากษ์ วิจารณ์ในสังคมศิลปะและสื่อมวลชน คือผลงาน “โลกุตระ” ติดตั้งอยู่หน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในปี พ.ศ. 2534 ได้รับแรงบันดาลใจจากเปลวรัศมีที่อยู่บนเศียรของพระพุทธรูปสุโขทัย ทำ�ให้งานชิ้นนี้ 32 ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ Master Artist Prof. Emeritus Chalood Nimsamer


ได้รับเสียงวิจารณ์ว่า งานชิ้นนี้เหมือนได้เห็นเศียรของพระพุทธรูปจมอยู่ใต้ดิน โดยไม่เข้าใจว่าอาจารย์ ได้ใช้หัวใจของหลักธรรมสูงสุด คือเปลวรัศมีนี้มาแสดงโดยไม่ต้องอาศัยเศียรของพระพุทธรูป ปัจจุบัน ผลงานชิ้นนี้กลับมีผู้ชื่นชอบและเข้าใจในหลักคิดของอาจารย์มากขึ้น นอกจากนี้งานประติมากรรมกลาง แจ้งของอาจารย์ยังมีอีกหลายชิ้น เช่น “อินทรีย์ 5” ณ ธนาคารกสิกรไทย สำ�นักงานใหญ่ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2537) “ทะเลตะวันออก” ณ ทะเลร็อคการ์เด้นบีช จังหวัดระยอง (พ.ศ. 2531) และเงินเจียง ของธนาคารแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2539) จิตกรรมชุด “ธรรมศิลป์” (พ.ศ. 2534 - 2540) อาจารย์เริ่มสนใจศึกษาเรื่องพุทธศาสนา มากขึ้นหลังจากเกษียณอายุราชการ เป็นการศึกษาธรรมะที่โน้มนำ�ไปสู่การปฏิบัติ อาจารย์ฝึกการ กำ�หนดสติ ทำ�สมาธิ พิจารณาสภาวะความเป็นจริงของชีวิตและธรรมชาติ การปฏิบัติในทางจิตนี้เองที่มี ผลเชือ่ มโยงมาสูน่ กั ปฏิบตั ศิ ลิ ปะทำ�ให้เกิดผลงานในชุด “ธรรมศิลป์” มีทง้ั งานจิตรกรรม งานวาดเส้น และ งานประติมากรรม โดยผลงานเหล่านี้ไม่ใช่การแสดงผลในทางธรรมมะโดยตรง หากแต่อาจารย์อาศัย ธรรมะของพุทธศาสนาเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดงานศิลปะขึ้น งานชุด “ธรรมศิลป์” จึงเป็นชีวิตของศิลปินที่ เดินทางมาสูก่ ารปฏิบตั ธิ รรม การฝึกฝนทางจิตด้วยการทำ�สมาธิการกำ�หนดสติเพือ่ พิจารณาความเป็นจริง ของชีวิตและโลก ผลงานศิลปะแต่เดิมทุกคนเข้าใจว่าเป็นของสูง ต้องนำ�มาจัดแสดงบนแท่นเพื่อการยกย่อง แต่งานศิลปะ “แบกะดิน” ปี พ.ศ. 2541 ของอาจารย์นั้นต้องยกลงมาวางบนพื้นแบบติดดิน เพราะ ศิลปะไม่ใช่ของสูง แต่เป็นของสัมผัสได้สำ�หรับผู้คนทุกระดับ นับเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่อาจารย์ชลูด ย้อนกลับมาใช้แรงบันดาลใจจากสภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชนบท อาจารย์ให้ความคิดว่า การเริ่มต้น จากผืนนาไม่ใช่สิ่งต่ำ�ต้อย เป็นสิ่งมีคุณค่าและให้กำ�เนิดสรรพชีวิต ศิลปะกับชีวิตคือสิ่งเดียวกัน ศิลปะ ไม่จำ�เป็นจะต้องเป็นสิ่งสูงส่ง และสิ่งต่ำ�ต้อยใดๆ เป็นสิ่งปกติธรรมดา ด้วยแนวความคิดเช่นนี้ อาจารย์ จึงได้รวบรวมผลงานประติมากรรมที่เคยสร้างไว้ในอดีต มาวางบนพื้นคล้ายพ่อค้าแม่ค้าที่นำ�ผลผลิต ของตนมาวางขายจำ�นวน 100 กว่าชิ้น ต่อมาผลงานชุด “บันทึกศิลปินชนบท” คือสเก็ตช์ทั้งหมด ตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบันมาแขวนรวมกันไว้ เป็นงานที่อยู่ในระยะเวลายาวนานจนเรียกได้ว่าไร้กาลเวลา เพราะได้ ผสมผสานงานทุกยุคทุกสมัย เมือ่ อาจารย์มอี ายุครบ 80 ปี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และบรรดาลูกศิษย์ได้ร่วมกันจัดแสดงงานศิลปะให้ด้วยความยินยอมพร้อมใจของอาจารย์ โดยจัดแสดง ใน 2 หอศิลป์ ได้แก่ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และหอศิลป์คณะจิตรกรรมฯ แบ่งเป็นชุดงาน จิตรกรรม และ งานวาดเส้น ภายใต้ชื่อนิทรรศการที่อาจารย์ตั้งเองว่า “สายธารชีวิต : Stream of Life” เป็นบันทึกศิลปะของอาจารย์ที่เกิดขึ้นจากการทำ�งานศิลปะโดยที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เปรียบเสมือนสายธาร ชีวิตที่เลื่อนไหล ทิ้งร่องรอยไว้ในแต่ละช่วงเวลา เป็นบันทึกของความรู้สึกนึกคิด และประสบการณ์ของ ชีวิตที่มีความกลมกลืนกับสิ่งทั้งปวงในธรรมชาติ และในปี พ.ศ. 2556 ได้รับเชิญจากหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดงานแสดงที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของอาจารย์ ในนิทรรศการที่ชื่อว่า “จิตรกรรมฝาผนังของอาจารย์ชลูด และผลงาน ย้อนหลัง” เป็นชื่อนิทรรศการที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับบุคลิกภาพของอาจารย์ เป็นผลงานที่สร้างขึ้นจาก อดีตมาจนถึงปี พ.ศ. 2556 เป็นภาพวาดขนาดเล็กบนกระดาษสาจำ�นวนมาก ถ่ายทอดอารมณ์ ความ รู้สึกนึกคิด และจินตนาการที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของชีวิต ผลงานที่หนาแน่นโดยรอบนี้ แม้จะถูกติดตั้ง อย่างง่ายๆเพียงกระดาษที่ติดแปะไปบนผนังโดยไม่ต้องใส่กรอบให้สวยหรูใดๆ แต่ทั้งหมดเป็นพลังอัน มหาศาลที่สะกดให้ผู้ชมน้อมเคารพต่อความเป็นศิลปะบริสุทธิ์ที่อาจารย์สร้างขึ้นจนทำ�ให้เรารู้สึกได้ว่า หอศิลป์แห่งนี้แปรเปลี่ยนกลายเป็น “วิหารแห่งศิลปะ” และเป็นความบังเอิญที่นิทรรศการนี้กลายเป็น นิทรรศการครั้งสุดท้ายในชีวิตของอาจารย์ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ด้วยความเคารพศรัทธาในศิลปะ ผลักดันให้อาจารย์เกิดความมุมานะ มุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียร แต่ในส่วนลึกกว่านั้น อาจารย์บอกอยู่เสมอว่า การทำ�งานศิลปะทุกครั้งของอาจารย์ คือส่วนของการสร้างประสบการณ์เพื่อนำ�มาใช้เป็นตัวอย่างในการสอน นักศึกษาที่คับข้องในการทำ�งาน ศิลปะก็มักจะไปเคาะประตูห้องพักส่วนตัวของอาจารย์เพื่อปรึกษาหารือได้อยู่เสมอ “ศิลปินเป็นอย่างไร ศิลปะของเขาก็แสดงออกมาอย่างนั้น โชคดีที่ศิลปะมีความดีงามอยู่ใน ตัวเองอยู่แล้ว การสอนศิลปะจึงเท่ากับเป็นการอบรมคุณธรรมควบคู่กันไปกับการสร้างคุณภาพทางการ สร้างสรรค์ดว้ ยเสมอ ศิลปินทีด่ นี น้ั ไม่จ�ำ เป็นต้องเป็นครู แต่ครูสอนศิลปะ(สร้างสรรค์)ทีด่ ี ควรเป็นศิลปินด้วย”

เรียบเรียงจากบทความ “หกทศวรรษปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของไทย ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ ชลูด นิม่ เสมอ” ตีพมิ พ์ในหนังสือศาสตราจารย์ เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ สายธารแห่งชีวิต สายธารแห่งศิลปะ (จัดพิมพ์เนื่องในการพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์เกียรติคุณ ชลูด นิม่ เสมอ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรนิ ทราวาส กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม 2558)

33 ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ Master Artist Prof. Emeritus Chalood Nimsamer


“The Sixth Decade Commemoration of the National Master Artist Prof. Emeritus Chalood Nimsamer” by Professor Emeritus Pishnu Supanimit

Prof. Emeritus Chalood Nimsamer started pursuing his art profession at the School of Arts and Crafts, ‘Pohchang Academy of Arts’. He proceeded to further his study at Faculty of Painting and Sculpture, Silpakorn University. He became one of the earlier students of Professor Silpa Bhirasri and also the first graduate of Silpakorn University. With his perseverance, he was regarded as a leading example for succeeding generations— an entrepreneur in every aspects of arts. His earlier works during his undergraduate years were sculptures—mostly clay sculptures—in various figures assigned by his instructor, Prof. Silpa Bhirasri, such as a mother holding a child, and a mother leading her children to work. Also included were a lying nude female wood carving sculpture titled “Purity of Nature”. In 1955, he created gold leaf gilded tempera work and experimented with woodcut techniques on Masonite sheet, all of which were based on Thai rural life and traditions and shaped after natural figures. His art pieces emphasized the purity and simplicity of nature, telling stories of life in Thai rural communities, their leisure activities, labors, farmers, and Thai traditions. 34 ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ Master Artist Prof. Emeritus Chalood Nimsamer


Following his graduation, he was recruited by Prof. Silpa Bhirasri and served as an instructor for two years. He moved on to receive a scholarship from Italian government to attend L’Accademia di Belle Arti di Roma, majoring in sculpture for two years. After passing the test, the head professor of the department of sculpture noticed his outstanding talent and questioned why a great sculptor such as him would seek further study in the field he had already mastered. It was then that he expressed his desire to study printmaking. As suggested, he applied for a diploma program in decorative arts (Decorazione) which offered courses in printmaking in the third year, such as Etching-Intaglio. Moreover, he took interest and found pleasure in ceramic arts at a ceramic artist’s studio during his free time. After graduating from Rome and resumed his teaching profession at Silpakorn University in 1958, he was awarded numerous gold medals from ‘National Art Exhibition’ and was honored as ‘Artist of Distinction’ in Sculpture in 1959. Subsequently in 1964, he was granted another scholarship from United States Department of State which he determined to utilize it to intensively study the art of Lithography, hoping to teach it at Silpakorn University later on. In addition, he visited a number of art centers, modern art museums, and renowned art institutes in the US to observe their curriculum designs and teachings, and to converse with the staff and famous artists. His determination and hard work were paid off when his work earned him awards and recognition from International Biennial of Graphic Arts, Yugoslavia in 1963, and from International Biennial of Prints, Tokyo, in 1964, making him the first Thai printmaker to be recognized internationally. His contribution to Thai contemporary painting began since he was a student, conveying the stories of Thai way of life, farmers, and Thai traditions through simple shapes such as human and natural figures. Upon returning from Rome, although his works were influenced by popular western art at the time—cubism—he maintained the essence of being Thai such as peddlers, sweets sellers, and “Khun Nai Look-In” series. With his long-term studies on Thai traditions and cultures, he consequently started Department of Thai Arts in 1977. In the same year he also initiated ‘Bualuang Painting Competition’ that became a significant art studies center until the present. Inspired by the stone quarry site he came across in Saraburi when he was a student, he began experimenting with stone and iron carving. To work with such hard materials and textures, he had to buy those materials along with proper equipment. Drawn to the beauty of new materials, he eventually branched himself into the art of welding and created collograph printing plates. As a person who loves to read, write letters and journals, after he lost his mother, the only person he had relied on, he sought a substitution. One day he encountered Khun Nai Look-In, a wealthy, sophisticated lady, dreamed about her, and started exchanging letters about general topics, their well-being, and his work of arts. He eventually depicted this lady, which was also titled “Khun Nai Look-In”, all dressed-up in exquisite and elegant ways. Imagination, a combination of reality and art, was the beginning of his conceptual art. After finishing his term as the dean of Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts in 1979, he finally has an opportunity to liberate his body and spirit, and returned to work with his artistic creativity and the simple life in rural areas again, claiming that such simplicity of rural life was portrayed in his work “Rural Sculpture”. Despite their limited accesses to necessities and education, people in the countryside still had and cherished their unique ways of living. Yet, objects and materials used in their daily activities still evolved as time changes. Earlier, it was all about natural environment, cattle, bamboos, 35 ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ Master Artist Prof. Emeritus Chalood Nimsamer


and crafts makers; now there were tractors, harvesting and farming machinery, plastic bags, food cans, and robes in various colors. He had utilized simple materials available around him, for instance, different kinds of robes, empty cans, and logs to create abstract artworks with special features and the spirit of Thai rural communities. Following “Rural Sculpture”, he launched a new work titled “Diary Drawing”. It was likely that this work was a result of his attempt to create the preceding work. While he was working on “Rural Sculpture”, he was also keeping every piece of sketched drafts for future use. After starting with just a humble quantity in 1979, he managed to assemble his scattered drafts, photos, official letters, and books by spontaneously tying them up with nylon robes. In 1984, he was suggested by a group of artists to exhibit his collection of “Paperwork,” and it had grown from a smaller collection to a larger and presentable one, becoming one of his conceptual art works. He has imagination across diverse fields and forms. His “Visual Poetry” series reflected his desire to be a poet without having to put his thoughts in verses. Writing, as he viewed, had language barriers that discriminated those who were illiterate. Therefore, he believed that visual art, something that can be appreciated through visions, was the most relatable and transcendental. He had learned to communicate through visual art for several years. Using visual art to tell stories required neither characters, words, texts, nor semantic meanings; it only required visual elements—figures, shapes, colors, and compositions. Rhythms or rhyme schemes were not of significance for art readers. Readers needed only use imagination to interpret each given shape or form and bring out the best of their imaginative poetic abilities that lived within everyone. Having a family and a daughter in 1975 was the biggest change in his life from which he drew inspiration to create “Daughters,” a series of drawings and paintings in 1985. He did not portray his daughter’s physical development as she was growing up, but the same girl who looked as if she was eternally young. The only variations he had within the series were wardrobe, accessory, and background changes. In 1985, he started out with simple Thai-Laotian costumes and in normal color such as black. Then, in 1987, He gave her a more luxurious look. In these drawings, she was portrayed in different positions and movements such as carrying things on her shoulder, going to make merits, performing a Thai traditional dance, or cooking. He also used Thai traditional houses or a pear-shaped arch as her backgrounds. During 1991-1992, the backgrounds he used were mostly the countryside, mountains, hills, woods, and vegetable gardens. Sometimes she was holding a cat, riding a buffalo, and resting with her mother. In 1996-1997, the paintings of his daughter on Sa paper (Mulberry paper) perhaps changed the storytelling as they seemed to be more geometric and also reflected Buddhism. In 2004-2009, he began to add more details to the background by applying the monoprint techniques. It was evident that he kept creating art pieces of his daughter as a thousand of them were found after he passed away. Sculpture and Environment (1981-1996) : His contribution to sculpture and environment began with the creation of “The Triple,” the huge polished bronze sculpture in the shape resembling a stack of three Thai ancient coins, which was commissioned to be placed in front of Kasikorn Thai Bank headquarter building, Phaholyothin Road, in 1981. In 1985, his following work titled “Heroes Monument PorTorThor 17-18” was installed in Loey. In 1993, he created a huge gold-leaf-gilded sculpture of a Bodhi Tree with growing braches titled “Phra Boromapothi Somparn” which was placed at Huachiew Chalermprakiet University. Another huge and riveting sculpture that was highly successful, yet controversial among art and media communities, was “Lokuttara” that can be found in front of Queen Sirikit National Convention Center (QSNCC). In 1991, it was an inspiration he got the flame-like halo on the Sukhothai-style Buddha image that brought about this work. However, people criticized and misunderstood as it looked as if the head of the Buddha was buried under the ground. In fact, he intentionally used the halo as a representation of the supreme discipline of Buddhism without the presence of Lord Buddha’s head. People nowadays, however, tend to appreciate and understand the concept of this work of art more than they did in the past. Other outdoor sculptures of his creation include “Inthri 5” (1994) at Kasikorn Thai Bank headquarter, “Eastern Sea” (1988) at Rock Garden Beach, Rayong, and “Jiang Money” (1996) at Bank of Thailand, Chiangmai. “Dharma Silpa” painting series (1991-1997) : After his retirement, he became more interested in Buddhist teachings such as meditation, mindfulness, and realization of the truth of life and nature. These mind practices motivated him as an artist to create “Dharma Silpa” art series—a combination of paintings, drawings, and sculptures. This series was not intended as a symbol of Buddhism but rather the work inspired by it. “Dharma Silpa,” therefore, was an illustration of the life of an artist who had turned to Buddhist principles, learning to meditate, be mindful, and concentrate in order to be worldly wise. Artworks were perceived and believed to be so sacred that they needed to be prestigiously exhibited on pedestals. However, Nimsamer viewed it otherwise. In 1998, his work “Sculpture on Sale” was exhibited on the ground since he believed that art was exclusive for just nobles; it was inclusive for people from all ranks. This was derived from his concept of rural life and environment. Never did he consider farms and plantations something lowly. On the contrary, he celebrated them for being the sources of life. Art 36 ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ Master Artist Prof. Emeritus Chalood Nimsamer


and life are equal. Art is common; it’s neither high nor low. Consequently, he gathered over a hundred sculptures he had made in the past and bared them all on the ground like merchants did with their products. Following this work, he also hung his sketches and named the collection “Rural Artist Diary” as they had been parts of every stage of his life and stood the test of time. When he reached the age of 80, he gave Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University, and the students his consent to hold an art exhibition titled “Stream of Life” at the Art Centre and at PSG Gallery at Silpakorn University, displaying his sculptures and drawings. The name of this exhibition was obtained from his endless effort to create art that streamed through times, harmoniously preserving his thoughts and experiences with nature. In 2013, Bangkok Art and Culture Centre (BACC) invited him to hold his biggest lifetime exhibition under the name “Chalood’s Mural Painting-Restrospective,” a simple name like his nature, presenting the works he had done from the beginning to 2013. The exhibited paintings were painted on Sa papers (mulberry papers), conveying his emotions, thoughts, and imagination. Even though these paintings were simply set up on walls without luxurious frames, the fineness of his arts was already powerful enough to captivate the spectators. Not only did this exhibition turn BACC into an “art sanctuary,” it was also Chalood Nimsamer’s very last exhibition. His respect and passion for arts had motivated him to be persistent, determined, and diligent. However, he expressed that the time he devoted for arts was a part of the experiences he intended as exemplary teaching. Thus, his students always knocked on his door, seeking advice from him personally. “Artists reflect themselves in their own artworks. Fortunately, there is a virtue within art itself. To teach art is also to shed lights on moral principles along with creative quality. In fact, a good and virtuous artist does not need to be a teacher, but a good art teacher needs to be an artist.”

Edited from “The Sixth Decade Commemoration of the National Master Artist Prof. Emeritus Chalood Nimsamer”, published in “Prof. Emeritus Chalood Nimsamer, Stream of Life, Stream of Art”, for Prof. Emeritus Chalood Nimsamer Cremation Ceremony at Debsirin Temple, Bangkok, Sunday 27 December 2015 English translation by Puttawan Jenjit 37 ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ Master Artist Prof. Emeritus Chalood Nimsamer



ศิลปินชั้นเยี่ยม ARTIST OF DISTINCTION

ประสิทธิ์ วิชายะ PRASIT WICHAYA


ศิลปินชั้นเยี่ยม ARTIST OF DISTINCTION ประสิทธิ์ วิชายะ การศึกษา - ศิลปบัณฑิต (ทัศนศิลป์) คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศิลปมหาบัณฑิต (ทัศนศิลป์) คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบัน - อาจารย์ประจำ� สาขาประติมากรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประสิทธิ์ วิชายะ นับเป็นศิลปินที่มีผลงานสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทัง้ ในระดับชาติและระดับสากล อีกทัง้ ยังประสบความสำ�เร็จจากเวทีการประกวดในระดับชาติมาอย่างต่อเนือ่ ง ซึ ่ ง ในการแสดงศิ ล ปกรรมแห่ ง ชาติ ครั ้ ง ที ่ 62 ประจำ � ปี พ .ศ. 2559 นี ้ เขาได้ ร ั บ ประกาศนี ย บั ต ร เกียรตินยิ มอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม จากผลงานทีม่ ชี อ่ื ว่า “ชีวติ ทีเ่ สียสมดุล” ส่งผลให้ ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ประเภทประติมากรรม ลำ�ดับที่ 22 ตามเงื่อนไขที่ว่า ศิลปิน ผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม เหรียญทอง 2 ครั้ง และเหรียญเงิน 2 ครั้งในประเภทเดียวกัน ประสิทธิ์ วิชายะ เป็นตัวอย่างศิลปินที่มีความมุมานะตั้งใจพัฒนาผลงาน โดยส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้ง แรก คือ ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม จากผลงานที่มีชื่อ ว่า “ห้วงกระแสกรรม” ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 49 และต่อมาในครั้งที่ 55 เขาได้รับ ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม ผลงานชื่อ “อนุสติจากการจาก ไปของแม่” จากนั้นในปีถัดมายังได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภท ประติมากรรม ผลงานชื่อ “ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อความทุกข์ของปู่” ในครั้งที่ 56 และในการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 57 ได้รับรางวัล ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภท ประติมากรรม ผลงานชื่อ “เรื่องเล่าจากดินแดนที่ราบสูง” สำ�หรับในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้ง ที่ 60 ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม จากผลงานชื่อว่า “บทสนทนาแห่งความหวัง” รางวัลและเกียรติประวัติเหล่านี้ แสดงให้เห็นศักยภาพทางการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นสม่ำ�เสมอและมีพัฒนาการที่น่าสนใจในผลงานแต่ละชิ้น ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ผลงานที่มีชื่อว่า “ชีวิตที่เสียสมดุล” ทำ�ให้เขาได้รับ ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม เป็นผลงานประติมากรรม จากเทคนิคเรซิน ไฟเบอร์กลาส เปลือกไข่และแท่งถ่าน มีรูปร่างเป็นมนุษย์ในอิริยาบถยืนทรงตัวและมี ลักษณะที่เอนเอียง มีแนวความคิดเกี่ยวกับสังคมปัจจุบัน และขนบจารีตที่สังคมเคยยึดถือ นำ�มาสู่ความ มืดบอดอย่างไร้สติในการดำ�รงชีวิตราวกับเป็นภาวะเสียศูนย์ หรือเสียสมดุล ไปจากวิถีที่ควรจะเป็นไปตาม ครรลองคลองธรรม ผลงานชิ้นนี้สื่อให้เห็นถึงความเปราะบางของชีวิตและเตือนตนให้มีสติในการดำ�เนิน ชีวิตได้เป็นอย่างดี

40 ศิลปินชั้นเยี่ยม Artist of Distinction


Prasit Wichaya BA in Visual Art – Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University MFA in Visual Art – Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University Prasit Wichaya is currently works as a fulltime -instructor at the Department of Sculpture, Faculty of Fine and Applied Arts, Mahasarakham University.

Prasit Wichaya is a well-known artist, both nationally and internationally. He also succeeds in winning awards from the National Art Exhibition. This year, in the 62nd National Exhibition of Art, he is honored as the 22nd Artist of Distinction. This honor is for an artist who has been awarded with 1st prize, gold medal for 2 times and 2nd prize, silver medal for 2 times (under the same type of work). Prasit Wichaya is a role model artist for his notable artworks. He has been submitting in the National Exhibition of Art continuously and had made his first achievement in the 49th National Exhibition of Art with a 1st Prize, Gold Medal Award in Sculpture for his artwork titled “Vole of Cercle”. Later in the 55th National Exhibition of Art, he won a 2nd Prize, Silver Medal Award in Sculpture for his “Memoirs to Mother”. In the 56th National Exhibition of Art, he was granted 3rd Prize, Bronze Medal Award in Sculpture for “My Feeling to Grandfather’s Suffering”. In the following year, he won a 2nd Prize, Silver Medal Award in Sculpture for “A Tale from the Plateau” in the 57th National Exhibition of Art. Additionally, in the 60th National Exhibition of Art, he won a 3rd Prize, Bronze Medal Award in sculpture for “Conversation of Hope”. These distinctive prizes well present his artistic talent that grows increasingly and regularly. In the 62nd National Exhibition of Art, his artwork titled “Unbalanced Life” is awarded with a 1st Prize, Gold Medal Award in Sculpture. It is made of resin, fiber glass, eggshell and charcoal in a form of an imbalanced man standing on a sphere. The sculpture represents people in modern time who influenced by desires and greed. They may act differently from those in the past who follows traditional way of life. As a result, their life tends to be more unaware and unbalanced. This artwork well represents the fragility of life and reminding one to mindfully live.

41 ศิลปินชั้นเยี่ยม Artist of Distinction


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 49 ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม ประสิทธิ์ วิชายะ “ห้วงกระแสกรรม” ดินเผาและเรซินใส, 97 x 170 x 144 ซม. 1st Prize, Gold Medal Award in Sculpture Prasit Vichaya “Vole of Cercle” Terracotta and resin, 97 x 170 x 144 cm.

42 ศิลปินชั้นเยี่ยม Artist of Distinction


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 55 ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม ประสิทธิ์ วิชายะ “อนุสติจากการจากไปของแม่” ดินเผา และเชื่อมโลหะ, 70 x 70 x 430 ซม. 2nd Prize, Silver Medal Award in Sculpture Prasit Vichaya “Memoirs to Mother” Ceramic and welding, 70 x 70 x 430 cm.

43 ศิลปินชั้นเยี่ยม Artist of Distinction


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 56 ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม ประสิทธิ์ วิชายะ “ความรู้สึกของข้าพเจ้าต่อความทุกข์ของปู่” ดินเผา, ประกอบไม้, 150 x 150 x 380 ซม. 3rd Prize, Bronze Medal Award in Sculpture Prasit Vichaya “My Feeling to Grandfather’s Suffering” Ceramic, wooden component, 150 x 150 x 380 cm.

44 ศิลปินชั้นเยี่ยม Artist of Distinction


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 57 ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม ประสิทธิ์ วิชายะ “เรื่องเล่าจากดินแดนที่ราบสูง” ดินเผา, ประกอบไม้, เชือ่ มสังกะสี, 200 x 200 x 300 ซม. 2nd Prize, Silver Medal Award in Sculpture Prasit Vichaya “A Tale from the Plateau” Ceramic, wood assembling, fired clay, mesh aluminum, 200 x 200 x 300 cm.

45 ศิลปินชั้นเยี่ยม Artist of Distinction


46 ศิลปินชั้นเยี่ยม Artist of Distinction


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม ประสิทธิ์ วิชายะ “บทสนทนาแห่งความหวัง” ปั้นหล่อ, ดินเผา, เรซิ่นใส, สูง 280 ซม. 3rd Prize, Bronze Medal Award in Sculpture Prasit Vichaya “Conversation of Hope” Casting, molding with resin and clay, 280 cm. high การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม ประสิทธิ์ วิชายะ “ชีวิตที่เสียสมดุล” ไฟเบอร์กลาส, เปลือกไข่, เรซิน และแท่งถ่าน, 93 x 60 x 214 ซม. 1st Prize, Gold Medal Award in Sculpture Prasit Vichaya “Unbalanced Life” Fiberglass, eggshell, resin and charcoal, 93 x 60 x 214 cm. 47 ศิลปินชั้นเยี่ยม Artist of Distinction



ผลงานที่ได้รับรางวัล AWARD-WINNING ENTRIES



จิตรกรรม PAINTING


52 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


จิตรกรรม PAINTING ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม 2nd Prize, Silver Medal Award in Painting

นาย ประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ “คำ�สอนพระพุทธ หมายเลข 1” สีน้ำ�มัน, 260 x 180 ซม. พระพุทธเจ้าตรัสบอก “ดับไฟไหม้บนศีรษะยังไม่เร่งด่วนเท่ารู้ อริยสัจ 4” ทำ�ให้ต้องคิดนึกถึงคำ�กล่าวที่ว่า “เห็นหน้ากันเมื่อเช้า สายตาย สายสุข อยู่สบาย บ่ายม้วย บ่ายยังรื่นเริงกาย เย็นดับชีพนา เย็นอยู่หยอกลูกด้วย ค่ำ�ม้วยดับสูญ” ชีวิตไม่แน่นอนสอนตนให้รีบละบาปบำ�เพ็ญบุญ Mr. Pradit Tungprasartwong “What did the Buddha Teach No. 1” Oil color, 260 x 180 cm. The Buddha once said that even putting out fire on one’s head is less important than learning the Four Noble Truths. This saying, remind me of the impermanence of life and to do merit making.

53 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


จิตรกรรม PAINTING ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม 3rd Prize, Bronze Medal Award in Painting

นางสาว จารุวรรณ เมืองขวา “กุศโลบายจากธรรมชาติ” จิตรกรรมผสม, 195 x 190 ซม. ในวิถีชีวิตของคนไทยแฝงไปด้วยความรู้ภูมิปัญญาต่างๆ มากมาย ที่เป็น ประโยชน์ในการสร้างความสุข ความผูกพันและความสัมพันธ์ระหว่างคนใน สังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ซึ่งหนึ่งในความรู้และภูมิปัญญาที่สืบทอด กันมาจากรุ่นสู่รุ่น คือ กุศโลบาย หรือ อุบาย เช่น เรื่องเล่านิทานและสุภาษิต สำ�นวนไทย ที่เอาไว้สอนลูกสอนหลานให้ปฏิบัติอยู่ในครรลองที่ดี รู้จักแบ่งปัน มีน้ำ�ใจ รักใคร่สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกันฉันพี่น้อง กุศโลบายหรืออุบาย เหล่านั้นถูกปลูกฝังและหยั่งรากลึกอยู่ในแง่คิด วิถีการดำ�เนินชีวิตของคนไทย และประเพณีพื้นบ้าน ได้แก่ การลงแขกทำ�นา การปลูกบ้านเรือน การสร้าง วัดวาอาราม การถ่ายทอดความรู้ทางช่าง ทั้งในการเขียนรูปในงานจิตรกรรม ฝาผนัง เป็นต้น ข้าพเจ้านำ�กระบวนการจากประเพณีเหล่านั้น ทั้งทางเนื้อหาและการปฏิบัติมา ปรับใช้ร่วมกับกระบวนการทางศิลปะ โดยใช้เทคนิคผสมและวัสดุผสม เช่น การเข้าไม้ ทำ�เดือยหางเหยี่ยว การแกะไม้ การปั้นปูนดินสอพอง การติด ประดับกระจก การปิดทอง เพื่อแสดงถึงศรัทธาที่มีต่อภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่ง เป็นคำ�สอนจากบรรพบุรุษของเราผ่านการผสมผสานระหว่างเรื่องราวทาง อุดมคติไปสู่จินตนาการในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ Miss Jaruwan Mueangkhwa “Strategy of Nature (2016)” Mixed technique, 195 x 190 cm. Thai traditional way of life is full of local wisdoms that generate happiness and bond between people tightly. One of those wisdoms is strategy, like folklore or an idiom that teaching young children about how to live a proper life. Some idea of this strategy can be seen in local way of life such as in building a house or a temple, farming, craftsmanship, or even in a Thai traditional painting. This precious way of life and my imagination are presented through this artwork as an appreciation, by woodworking, glass decoration, white clay and gold leaf.

54 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


55 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


56 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


จิตรกรรม PAINTING ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม 3rd Prize, Bronze Medal Award in Painting

นาย ณัฐิวุฒิ พวงพี “นัย สองบ้าน หมายเลข 1” สีน้ำ�มันบนผ้าใบ, 153 x 220 ซม. ในสังคมของวัตถุที่มนุษย์ได้ทอดทิ้งเรื่องราวของความรู้สึก เรื่องราวของ ความสัมพันธ์ จนทำ�ให้มนุษย์ลืมถ้อยคำ�ที่แสดงภาวะของความรู้สึกภายใน และถ้อยคำ�ที่แสดงเรื่องราวของจิตใจ การสร้างภาพอดีต ปัจจุบัน ภาพของ ภาวะเวลา การประกอบกันระหว่างคนกับพื้นที่สิ่งที่ถูกพรากไป เพื่อให้คนเห็น คุณค่าและหาสมดุลของความสุขที่แท้จริงด้วยการสร้างเนื้อหาภาษาและความ หมายในเชิงสัญลักษณ์ Mr. Nattiwut Phuangphi “In Two Homes No. 1” Oil on canvas, 153 x 220 cm. People in consumerist societies live by neglecting feelings and relationship. They seem to forget “words” for explaining their inner feelings and mind. This painting is consisted of human in the past and present, placed with what seem to be taken from them, to question about true happiness in life by using symbols.

57 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


จิตรกรรม PAINTING ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม 3rd Prize, Bronze Medal Award in Painting

นาย สิริทัต เตชะพะโลกุล “ความสุขของชีวิต หมายเลข 6” ดินสอและสีอะครีลิคบนผ้าใบ, 141 x 201 ซม. ความสุขของชีวิตคืออะไร? Mr. Siritat Thechaphalokul “The Happiness of Life No. 6” Pencil and acrylic on canvas, 141 x 201 cm. What is true happiness in human life?

58 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


59 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries



ประติมากรรม SCULPTURE


ประติมากรรม SCULPTURE ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม 1st Prize, Gold Medal Award in Sculpture

นาย ประสิทธิ์ วิชายะ “ชีวิตที่เสียสมดุล” เปลือกไข่, เรซิน, ไฟเบอร์กลาส, แท่งถ่าน, 93 x 60 x 214 ซม. ในสังคมปัจจุบัน มนุษย์เราอาจต้องตัดสินใจ ในบางสถานการณ์ที่ผิดไปจาก ขนบจารีตทีส่ งั คมเคยยึดถือ อันเกิดจากแรงยัว่ ยุของกิเลส ความอยากได้ อยากมี ฯลฯ นำ�มาสูค่ วามมืดบอดอย่างไร้สติในการดำ�รงชีวติ เป็นภาวะเสียศูนย์ เสียสมดุล ไปจากวิถีที่ควรจะเป็นไปตามครรลองคลองธรรม ผลงานชิ้นนี้สื่อให้เห็นถึง ความเปราะบางของชีวิตและเตือนตนให้มีสติในการดำ�เนินชีวิต Mr. Prasit Wichaya “Unbalanced Life” Eggshell, resin, fiberglass, charcoal, 93 x 60 x 214 cm. People in modern time who influenced by desires and greed, may act differently from those in the past who follows traditional way of life. As a result, their life tends to be more unaware and unbalanced. This artwork is to represent the fragility of life and reminding one to mindfully live.

62 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries



64 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


ประติมากรรม SCULPTURE ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม 2nd Prize, Silver Medal Award in Sculpture

นาย พรสวรรค์ นนทะภา “ความทรงจำ�ในวิถีชีวิตชนบทอีสาน” ดินเผาบ้านหม้อ ไม้แกะ, 270 x 140 x 230 ซม. การดำ�รงอยู่ที่เรียบง่าย โดยดำ�เนินไปบนวิถีแบบพอเพียงเป็นการเน้นสังคม เกษตรกรรมแบบอินทรีย์ที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหารที่เป็นสิ่ง จำ�เป็นบนพื้นฐานของการมีชีวิตนำ�มาสู่ร่างกายที่สมบูรณ์และความสงบสุข แห่งจิตใจเมื่อร่างกายแข็งแรง จิตใจก็มีสุข สังคมก็เป็นสุข Mr. Pornsawan Nonthapha “Memory of Northeastern Way of Life” Terracotta and wood, 270 x 140 x 230 cm. A sufficient and simple life in agriculture society is consisted of fruitful organic plant and corps. Therefore, people are perfectly healthy, both physically and mentally.

65 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


ประติมากรรม SCULPTURE ประกาศนียบัตรเกียรตินยิ ม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม 3rd Prize, Bronze Medal Award in Sculpture

นาย สุรชัย ดอนประศรี “เมล็ดกับเปลือก” เชื่อมโลหะ, จัดวางโลหะสำ�เร็จรูป, 245 x 248 x 81 ซม. ข้าพเจ้าต้องการสะท้อนแง่มุมในเรื่องของเมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งได้รับผลกระทบ จากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือที่เรียกว่าการตัด แต่งพันธุกรรม ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างของพืชและผลไม้ โดย ข้ า พเจ้ า นำ � รู ป ทรงของเมล็ ด ผลไม้ ม าสร้ า งสรรค์ เ ป็ น งานประติ ม ากรรมใน ลักษณะขยายขนาด ผสมกับการแทนค่าวัสดุ จากการใช้วัสดุโลหะสำ�เร็จรูป (ฝาครอบเหล็ก) มาสร้างเป็นรูปทรงของเมล็ดพันธุพ์ ชื ทีท่ ะลักออกมา ในลักษณะ การจัดวาง เพื่อเชื่อมประเด็นในเรื่องความผิดปกติของเปลือกกับเมล็ด ซึ่งมี ที่มาจากผลกระทบด้านการตัดแต่งพันธุกรรมนั่นเอง Mr. Surachai Donprasri “ Seeds and Peel ” Welding and metal parts, 245 x 248 x 81 cm. As the genetically modified corps is constantly developing, the more latest and various effects are found in edible plants. The form of metal seeds were enlarged in this sculpture and surrounded by plenty of smaller seeds made from ready-made metal. This artwork is to present the idea of abnormality in modified plants.

66 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


67 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


68 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


ประติมากรรม SCULPTURE ประกาศนียบัตรเกียรตินยิ ม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม 3rd Prize, Bronze Medal Award in Sculpture

นางสาว อิสรีย์ บารมี “ชีวิตของอิสรีย์” ปั้นหล่อไฟเบอร์กลาส, 240 x 120 x 205 ซม. การเฝ้ามองและสำ�รวจความมีชีวิต ด้วยความทุกข์ยากและอ่อนล้าของฉัน การทำ�ความเข้าใจตนเอง การปลอบโยนปล่อยวาง เพื่อนำ�พาตัวตนไปสู่ชีวิต ที่แสวงหาความอิสระจากเหตุแห่งทุกข์ ดังกล่าวข้างต้นนี้เพื่อเป็นแรงบันดาล ใจนำ�เสนอผลงานผ่านรูปทรงและกระบวนการทางประติมากรรมตามทัศนคติ Miss Isaree Baramee “Isaree’s Life” Fiberglass casting and molding, 240 x 120 x 205 cm. I tried to understand the truth of suffering by investigating my wearied life, knowing and comforting myself, eventually, I was inspired by them.

69 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries



ภาพพิมพ์ PRINTMAKING


72 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


ภาพพิมพ์ PRINTMAKING ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทภาพพิมพ์ 2nd Prize, Silver Medal Award in Printmaking

นาย จักรี คงแก้ว “หน้าผา หมายเลข 2” แม่พิมพ์ไม้, 128 x 184 ซม. ในสายตาของข้าพเจ้า หน้าผาหินที่เกิดขึ้นจากมือมนุษย์ เพื่อนำ�หินไปใช้เป็น วัสดุในการก่อสร้างต่างๆ ยังคงเต็มไปด้วยความงามของจังหวะและร่องรอย พื้นผิวที่สวยงามในชั้นหินเต็มไปด้วยความน่าอัศจรรย์ในความยิ่งใหญ่ของ ภูเขาที่สูงตระหง่านในวันวานแต่แล้ววันหนึ่ง ก็แปรสภาพเพื่อการดำ�รงอยู่ของ อีกหลายชีวิต ผลงานของข้าพเจ้าบอกเล่าด้วยร่องรอยเล็กๆ ของพื้นผิวผาหิน โดยให้ความสำ�คัญในทุกๆ รายละเอียดคล้ายกับการวาดเส้นเป็นนัยว่าทุกสิ่งมี ความงามแฝงอยู่เพียงแต่ความงามในบางครั้งก็ต้องใช้ใจที่ละเอียดอ่อนพอที่ จะรับรู้ถึงความงามนั้น Mr. Jakkee Kongkaew “Cliff No. 2” Woodcut, 128 x 184 cm. A man-made cliff for building construction, in my opinion, is full of magnificent rhythm and texture. My printmaking portrays the hidden beauty, which only tender one can see, in the greatness of mountain that provided other life a home.

73 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


ภาพพิมพ์ PRINTMAKING ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทภาพพิมพ์ 2nd Prize, Silver Medal Award in Printmaking

นาย ญาณวิทย์ กุญแจทอง “หยดที่จางหายของฤดูฝน” ภาพพิมพ์สีธรรมชาติ จากใบชา คราม น้ำ�ผึ้ง กล่องไม้ และข้อมูลการทำ�งาน, 127x119 ซม. การสร้างฟาร์มโซลาร์เซลล์บนพื้นที่ 2,500 ไร่ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ รอบพื้นที่ไร่ของข้าพเจ้า ถึงแม้จะเป็นเพียงผืนป่าเล็กๆ แต่ก็เป็น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ที่ส่งผลกระทบต่อผืนป่า ที่ข้าพเจ้าได้ประสบอยู่ในขณะนี้ พืชหลายชนิดเริ่มล้มตาย และกำ�ลังสูญพันธ์ไปจากผืนป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ แห่งนี้ ประเด็นสำ�คัญเรื่องการตัดไม้ทำ�ลายป่า การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงต่างๆ ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ส่งผลให้วงจรของฝนเกิดอุปสรรค และปัญหา สิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น ฝนตกน้อยกว่าปกติ ปริมาณฝนตกน้อยลง เกิดฝนทิ้ง ช่วงอย่างรุนแรง ทำ�ให้เกิดภัยแล้งความชุ่มชื้นของผืนดินและอากาศ ฝนกำ�ลัง จางหายไป อย่างน่าใจหาย ผลงาน “หยดที่จางหายของฤดูฝน” กระบวนการสร้างภาพพิมพ์สีธรรมชาติ ชิ้นนี้ เป็นภาพสะท้อนเพื่อตอกย้ำ� เตือนสติ ให้มนุษย์ ได้ตื่นรู้ถึงวิกฤตที่เกิดขึ้น ในขณะนี้และหันกลับมาช่วยกันดูแลการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ อย่างทะนุถนอม เพื่อให้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและผืนป่าผืนโลกนี้ ได้อยู่ควบคู่กับ มนุษยชาติบนผืนโลกใบนี้ได้อย่างยั่งยืน Mr. Yanawit Kunchaethong “The Subsiding Droplets of the Rainy Season” Organic print (indigo,honey,tea),wooden box and process report 127x119 cm. Solar cell installation around my forest is an obvious factor of plant destruction, as it affects and damages my greenery. Moreover, deforestation, greenhouse effect and fuel combustion have been increasing and having a negative influence on cycle of rain and other environmental crisis. Rainfall on a smaller scale, drought, missing rainfall, everything is now in a critical situation. My organic printmaking is to remind people of the environmental protection as we, human, are a part of nature.

74 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


75 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


76 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


ภาพพิมพ์ PRINTMAKING ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ 3rd Prize, Bronze Medal Award in Printmaking

นางสาว จิรนันท์ จุลบท “แตกพันธุ์” ภาพพิมพ์ 3 มิติ, 230 x 155 x 65 ซม. ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก้าวล้ำ�พัฒนาปรับเปลี่ยนโครงสร้างการ ผลิตและรูปแบบให้สอดคล้องเข้ากับสภาวะกระแสนิยมบริโภค วัฒนธรรมและ สังคมปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคของมนุษย์ จึงเป็น แรงบันดาลใจผ่านจิตนาการ การประยุกต์ คิดค้นดัดแปลงพันธุกรรมพืชผัก และผลไม้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ และแทรกซึมความประหลาด ในพื ช ผั ก และผลไม้ ซึ ่ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด ความงาม ความรู ้ ส ึ ก และมุ ม มองใหม่ ใ น ผลงานภาพพิมพ์สามมิติของข้าพเจ้า Miss Jiranan Julrabot “Germination” 3D Printmaking, 230 x 155 x 65 cm. Technology is now developing and adjusting itself to consumerism, contemporary culture and society to meet the demand of people. I am inspired by genetically modified fruit and vegetable which generate changes in nature, consequently, I add some strangeness yet beauty in those edible plants in this artwork.

77 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries



สื่อประสม MIXED MEDIA


80 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


สื่อประสม MIXED MEDIA ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทสื่อประสม 1st Prize, Gold Medal Award in Mixed media

นาย วุฒินท์ ชาญสตบุตร “การประกอบสร้างของเปลือกนอกในความจริงเสมือน หมายเลข 3” สื่อประสม, 280 x 280 x 280 ซม. แนวความคิด ผลงาน “การประกอบสร้างของเปลือกนอกในความจริงเสมือน หมายเลข 3” คือ งานศิลปะในรูปแบบสื่อประสมที่สะท้อนภาพ สังคมร่วมสมัย ที่การแสดงออกซึ่งตัวตนและอัตลักษณ์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์กำ�ลังถูก ขับเคลือ่ นและแปรผันไปตามการปฏิสมั พันธ์ในพืน้ ทีเ่ สมือนของโลกอินเตอร์เน็ต การได้ รั บ การยอมรั บ ในสั ง คมเสมื อ นได้ ก ลายมาเป็ น ปั จ จั ย หนึ่ ง ที่ มี ค วาม สำ�คัญเป็น อย่างยิ่งต่อการดำ�รงชีวิตของปัจเจกชนในยุคสมัยปัจจุบัน ส่งผลให้ ภาพลักษณ์ของบุคคลในสังคมออนไลน์สามารถแปรผันไปได้ ตลอดเวลาเพียงเพือ่ ให้ได้รับการยอมรับในเชิงบวกจากบุคคลอื่นๆในสังคมเสมือน ปรากฏการณ์ ทางสังคมเช่นนี้ก่อให้เกิดค่านิยม ทางสังคมที่บิดเบี้ยวและทำ�ให้ปัจเจกชนเกิด การให้คุณค่ากับภาพลักษณ์ที่ฉาบฉวยไม่มั่นคง อีกทั้งลดทอนสามัญสำ�นึก ในการ ตระหนักรู้ถึงคุณค่าที่แท้จริงแห่งความเป็นมนุษย์ Mr. Wuttin Chansataboot “ The Formation of Shell No. 3 ” Mixed media, 280 x 280 x 280 cm. “The Formation of Shell No.3” is a mixed media artwork that aim to reflect a contemporary society and people identities since social network has influenced people identities especially in a virtual space on the internet. Besides, being accepted in a society has been a crucial part in one’s life and people’s identities on the internet has been changing constantly just to gain those acceptance. This phenomenon leads to an idea of judging one by his or her shell or appearance, moreover, true value of a human being also distorted by this misunderstood idea.

81 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


สื่อประสม MIXED MEDIA ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทสื่อประสม 2nd Prize, Silver Medal Award in Mixed Media

นางสาว สุนันทา ผาสมวงค์ “สภาวะของความทุกข์” สื่อประสม (ถักและตัดวัสดุ), 270 x 280 ซม. ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ต้องการนำ�เสนอ “ความทุกข์” ผลของการเหนี่ยวรั้ง และยึดติดในสภาวะจิตใจของผูส้ ร้างสรรค์ทไ่ี ด้รบั จากประสบการณ์ความทรงจำ� ในอดีต การพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นทีร่ กั เป็นเวลาอันยาวนาน นำ�มาถ่ายทอด ผ่านเส้นสีดำ� ทับซ้อนก่อรูปทรงคล้ายร่างกายมนุษย์มีลักษณะห้อยย้อยจาก เพดานทิ้งน้ำ�หนักลงสู่ส่วนล่างในรูปแบบกึ่งนามธรรม ติดตั้งด้วยรูปแบบ ศิลปะการจัดวางในพื้นที่เฉพาะ เพื่อสื่อความหมายในสภาวะของความทุกข์ สะท้อนผลกระทบจากความผิดพลาดของชีวิตครอบครัว ที่เคยได้รับของตนเอง Miss Sunanta Phasomwong “The State of the Suffering” Mixed media and weaving, 270 x 280 cm. This artwork is to present “the suffering” of my painful separation from beloved one in my childhood that eventually led to family issues. That tragic experience is expressed through black semiabstract weaving in a resembling human form, hanging from ceiling.

82 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


83 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


84 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries


สื่อประสม MIXED MEDIA ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทสื่อประสม 3rd Prize, Bronze Medal Award in Mixed Media

นาย ไชยันต์ นิลบล “แรงงานและการดิ้นรนสู่ชีวิตใหม่” ประกอบสังกะสี เชื่อมโลหะ, 280 x 230 x 165 ซม. มนุษย์ที่อยู่ในชนชั้นแรงงาน ที่ต้องใช้พลังร่างกายอย่างหนักดิ้นรนตรากตรำ� ทำ�งานแลกค่าตอบแทน เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ข้าพเจ้าจึงนำ�เสนองานในรูปแบบ ศิลปกรรมสื่อประสม ที่มีรูปทรงท่าทางของมนุษย์ห่อหุ้มด้วยวัสดุสังกะสีและ ตะกั่ว Mr. Chaiyan Ninlabon “Labor and Struggling to the New Life” Galvanized iron and metal welding, 280 x 230 x 165 cm. Working-class people struggle for a better life by abusing their physical labor exhaustedly. Seeing so, I portray their workinghours by using galvanized iron and lead welding.

85 ผลงานที่ได้รับรางวัล Award-winning entries



ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง SELECTED ENTRIES FOR EXHIBITION


จิตรกรรม PAINTING นาย กนกกร หมื่นโฮ้ง “มนต์ขลัง” สีอะครีลิคบนผ้าใบ, 140 x 280 ซม.

นาย วิทยา หอทรัพย์ “เงาโลกาภิวัตน์” ปากกาเคมี, 105 x 278 ซม.

Mr. Kanokkorn Muenhong “Magical” Acrylic on canvas, 140 x 280 cm.

Mr. Witthaya Hosap “The Globalization Shadow” Chemical pen, 105 x 278 cm.

88 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย จิรวัฒน์ การนอก “หน่วยพลังงานในสนามอารมณ์ หมายเลข 1” สีอะครีลิคบนผ้าใบ, 220 x 170 ซม.

นาย ชัชรินทร์ เชื้อคำ�เพ็ง “พฤติกรรมซ่อนเร้น หมายเลข 2” สีน้ำ�มัน, 200 x 180 ซม.

Mr. Jirawat Kannok “The Emotional Energy Field No. 1” Acrylic on canvas, 220 x 170 cm.

Mr. Chatcharin Chuekampeng “Hidden Behavior No. 2” Oil color, 200 x 180 cm. 89 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


พระ จำ�รัส พินิจกิจ “พุทธศิลป์ผ่านจิตรกรรมสถาปัตยกรรมล้านนา” เทคนิคผสม, 277 x 277 ซม.

นางสาว กาญจนา ชลศิริ “ภาษา” จิตรกรรมจัดวาง, 210x280 ซม.

Phra Jumras Pinichkit “Buddhist Art through Lanna Mural-Architecture” Mixed technique, 277 x 277 cm.

Miss Kanjana Chonsiri “Language” Painting installation, 210x280 cm

90 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


จิตรกรรม PAINTING

นางสาว ณัฐสุรี เตชะวิริยะทวีสิน “ขบวนหน้ากาก หมายเลข 2” สีน้ำ�มัน, 200 x 280 ซม.

นางสาว ณัฐสุรี เตชะวิริยะทวีสิน “หลอน...ร้อน หมายเลข 2” สีน้ำ�มัน, 200 x 250 ซม.

นาย ชุมพล พรหมจรรย์ “กำ�เนิดวัฒนธรรม หมายเลข 1” สีอะครีลิคบนผ้าใบ, 190 x 225 ซม.

นางสาว นภัส กังวาลนรากุล “ใจมนุษย์ หมายเลข 2” ตัดกระดาษ, 120 x 170 ซม.

Miss Natsuree Techawiriyataweesin “Masked Procession No. 2” Oil color, 200 x 280 cm.

Miss Natsuree Techawiriyataweesin “Haunting Hot No. 2” Oil color, 200 x 250 cm.

Mr. Chumpon Promjan “Birth of Culture No. 1” Acrylic on canvas, 190 x 225 cm.

Miss Napat Kangwannarakul “My Mind No. 2” Paper cutting, 120x170 cm.

91 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นางสาว นิลยา บรรดาศักดิ์ “The Family” เย็บ ปักผ้า, 91 x 241 ซม.

นางสาว นอเดียนา บีฮิง “บ้านฉัน หมายเลข 2” จิตรกรรมผสม (เย็บปัก, ทับซ้อนผ้า), 130 x 180 ซม.

Miss Nilraya Bundasak “The Family” Sewing and embroidering, 91 x 241 cm.

Miss Nordiana Beehing “My Home No. 2” Mixed painting (sewing and layering cloth), 130 x 180 cm.

92 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


จิตรกรรม PAINTING

นาย นิโรจน์ จรุงจิตวิทวัส “25 Hours (the Moment of 24 Hours is Never Enough) No.1” สีฝุ่นบนผ้าใบ, 258 x 208 ซม.

นาย เนติกร ชินโย “ความทรงจำ�” เกรยอง หมึกจีนบนกระดาษ, 256 x 144 ซม.

Mr. Niroj Jarungjitvittawat “25 Hours (the Moment of 24 Hours is Never Enough) No.1” Tempera on canvas, 258 x 208 cm.

Mr. Netikorn Chinyo “Memory” Crayon and chinese ink on paper, 256 x 144 cm. 93 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


ว่าที่ ร.ต.หญิง ธิดารัตน์ จันทเชื้อ “แสงสะท้อนของความศรัทธา หมายเลข 1” ฉลุอะครีลิค, 162 x 110 ซม.

นาย พณิช ผู้ปรารถนา “สาระของพื้นที่และเวลากับการ เปลี่ยนแปลง หมายเลข 1” สีน้ำ�มัน, 250 x 210 ซม.

Acting Sub Lt. Thaidarat Chidarat “Reflections of Faith No.1” Perforated acrylic, 162 x 110 cm.

Mr. Panich Phupratana “Place, Time and Change No. 1” Oil color, 250 x 210 cm.

94 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


จิตรกรรม PAINTING

นาย บุญช่วย เกิดรี “ความรู้สึกของข้าพเจ้าที่มีต่อกิเลสใน ใจมนุษย์” เทคนิคผสม, 185 x 241 ซม.

นาย เปจัง มิตรสาธิต “ภาพความทรงจำ�แห่งวิถีชีวิต หมายเลข 2” สีน้ำ�มัน, 150 x 200 ซม.

Mr. Boonchuey Kirdree “My Feelings towards Human Voluptuary” Mixed technique, 185 x 241 cm.

Mr. Pajung Mitsatit “Memory of Life No. 2” Oil color, 150 x 200 cm. 95 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย ฝนธรรม บัวภุชพงศ์ “วิถีชีวิต หมายเลข 1” สีน้ำ�มันและสีอะครีลิคบนผ้าใบ, 145 x 195 ซม.

นาย วีระพงศ์ แสนสมพร “สุนทรียภาพแห่งมิติและโครงสร้าง ของพื้นที่ หมายเลข 18” เทคนิคผสม, 280 x 280 x 150 ซม.

Mr. Fontham Buaphuchphong “Lifestyle No. 1” Oil and acrylic on canvas, 145 x 195 cm.

Mr. Weerapong Sansompong “Aesthetic and Dimensions of Space’s Structure No. 18” Mixed technique, 280 x 280 x 150 cm.

96 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


จิตรกรรม PAINTING

นาย พันธุ์ศักดิ์ แก้วสลับนิล “Reality Matters” สีน้ำ�มันและสีอะครีลิคบนผ้าใบ, 184 x 274 ซม.

นาย พิชญ์ แตงพันธ์ “สัจธรรม” สีน้ำ�มันบนแผ่นทองเหลืองกัดกรด, 170 x 217 ซม.

Mr. Phansak Kaeosalapnil “Reality Matters” Oil and acrylic on canvas, 184 x 274 cm.

Mr. Pitch Tangpun “Truth” Oil on acid etched brass, 170 x 217 cm.

97 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย ศักรินทร์ สุขมานะธรรม “ความงามเบื้องหลัง” สีน้ำ�มันบนผ้าใบ, 185 x 224 ซม.

นาย สันติ สีดาราช “ต่อเติม หมายเลข 3” ประกอบไม้, 180 x 200 ซม.

Mr. Sakarin Sukmanatham “Behind the Beauty” Oil on canvas, 185 x 224 cm.

Mr. Santi Seedarach “Wood Joint No. 3” Wood assembling, 180 x 200 cm.

98 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


จิตรกรรม PAINTING

นาย สีหนาท ลอบมณี “รูปสัญญะแห่งความปรารถนา หมายเลข 1” สีน้ำ�มันบนผ้าใบ, 200 x 250 ซม.

นางสาว สุภาภรณ์ จุลกะ “ดอกไม้ของแม่ หมายเลข 28” สีอะครีลิค, 255 x 250 ซม.

Mr. Sihanat Lobmanee “Appearance of Desire No.1” Oil on canvas, 200 x 250 cm.

Miss Supaporn Chulaka “Mom’s Flower No.28” Acrylic, 255 x 250 cm. 99 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย สุรพันธ์ ขวัญแสนสุข “ชีวิต หมายเลข 1” สีอะครีลิค, 158 x 249 ซม.

นาย สุเมธ จันทร์ฤาชาชัย “จิตใต้สำ�นึก” เทคนิคผสม, 179 x 263 ซม.

ว่าที่ ร.ต.อนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรี “ไตรลักษณ์ หมายเลข 1” เทคนิคผสม, 164 x 276 ซม.

Mr. Surapun Khunsaensuk “Life No. 1” Acrylic, 158 x 249 cm.

Mr. Sumet Chanruechachai “Subconscious No. 1” Mixed technique, 179 x 263 cm.

Acting Sub.Lt.Anurot Chanphosri “Three Characteristics of Existence No. 1” Mixed technique, 164 x 276 cm.

100 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


จิตรกรรม PAINTING

นาย สิทธิศักดิ์ ทองดีนอก “ห้อง” สีอะครีลิคผสมเกรยอง, 240 x 243 ซม.

นาย สุพร แก้วดา “ดูกายเห็นจิต ดูจิตเห็นธรรม” ดินสอไขบนผ้าใบ, 250 x 275 ซม.

Mr. Sittisak Tongdeenok “Room” Acrylic and crayon, 240 x 243 cm.

Mr. Suporn Kaewda “Seeing Mind, Seeing Dhamma” Oil pencil on canvas, 250 x 275 cm.

101 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


ประติมากรรม SCULPTURE นาย ปรีชา บุญโยธา “ชีวิต หมายเลข 1” เชื่อมโลหะ, 160 x 200 x 220 ซม.

นาย ธนารักษ์ ชาวกงจักร์ “ความทุกข์ของการดิ้นรน” เชื่อมโลหะ, 265 x 120 x 175 ซม.

Mr. Preecha Bunyotha “Life No. 1” Welding, 160 x 200 x 220 cm.

Mr. Thanarak Chaokongchak “The Suffering of Struggling” Welding, 265 x 120 x 175 cm.

102 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย สุภัตษร บรรณศรี “บุญมา” ปั้นหล่อเรซิน, 260 x 87 x 236 ซม.

นาย สาธิต เหล่าจิรานุวัฒน์ “สภาวะของการเปลี่ยนแปลง” เชื่อมโลหะ, 160 x 180 x 180 ซม.

Mr. Supatson Bannasri “Boon-ma” Resin molding, 260 x 87 x 236 cm.

Mr. Sa-tid Laojiranuwat “Changing State” Welding, 160 x 180 x 180 cm.

103 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย พิชัย หวังเกษม “ตั้งสติ” เชื่อมเหล็ก, 170 x 100 x 240 ซม.

นาย สมณศักดิ์ บริบูรณ์ “โครงสร้างบ้านเมืองไทย” วัสดุผสม(เหล็ก-ไม้-ปูน), 188 x 65 x 78 ซม.

Mr. Phichai Wangkasem “Compose Oneself” Welding, 170 x 100 x 240 cm.

Mr. Sommanasak Boriboon “Thai Social Structure” Mixed technique (metal, wood and cement), 188 x 65 x 78 cm.

104 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


ประติมากรรม SCULPTURE

นาย บุญเกิด ศรีสุขา “กลมกลืน หมายเลข 3” เชื่อมโลหะทำ�สี, 110 x 230 x 230 ซม.

นาย ศิริพงศ์ สุขุมวาท “ความงามจากร่องรอยการเคลื่อนไหว” หินปูนและอะครีลิค, 40 x 40 x 215 ซม.

Mr. Boonkerd Srisukha “Harmony No. 3” Welding, 110 x 230 x 230 cm.

Mr. Siripong Sukhumwat “The Graceful from Movement” Limestone and acrylic, 40 x 40 x 215 cm.

105 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย สบโชค วงค์นาม “อวิชา (ความไม่รู้)” เทคนิคผสม( ไม้, เชือก, โลหะ, หนัง), 60 x 260 x 165 ซม.

นางสาว นริศรา เกิดโกสุม “ความงามในวัตถุ” ฉลุโลหะด้วยไฟ, 245x245 ซม.

Mr. Sobchoke Wongnam Avidya (Ignorance) Mixed technique (wood, rope, metal and leather), 60 x 260 x 165 cm.

Miss Narissara Kirdkosoom “Beauty in Objects” Perforated metal, 245 x 245 cm.

106 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


ประติมากรรม SCULPTURE

นาย สิทธิกร ขาวสะอาด “พ่อใหญ่ลี” เรซิน ไม้ไผ่ เหล็ก, 225 x 103 x 253 ซม.

นาย สุรสิทธิ์ มั่นคง “พื้นที่แห่งความระทมของคนแรงงาน” เทคนิคผสม (ปั้นหล่อ,เชื่อมโลหะ), 198 x 65 x 155 ซม.

Mr. Sittikorn Khawsa-ad “The Headman of Small Village” Resin, bamboo and steel, 225 x 103 x 253 cm.

Mr. Surasit Mankhong “The Area of Sorrow for Laborer” Mixed technique (welding and casting), 198 x 65 x 155 cm. 107 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย สุวรรณ อุทัยไพศาลวงศ์ “เทคโนโลยี” อะครีลิคเลเซอร์, 60 x 60 x 180 ซม.

นาย อภินันท์ อินทกูล “วัตถุกับความทรงจำ�” ประกอบไม้, 160 x 150 x 236 ซม.

Mr. Suwan Uthaipaisalwong “Technology” Acrylic laser-cutting, 60 x 60 x 180 cm.

Mr. Apinan Intakul “Objects and Memories” Wood assembling, 160 x 150 x 236 cm.

108 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


ประติมากรรม SCULPTURE

นาย อริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ “แย้มกราย” สแตนเลส, 200 x 250 x 270 ซม. Mr. Ariya Kitticharoenwiwat “Blossoming” Stainless steel, 200 x 250 x 270 cm.

109 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


ภาพพิมพ์ PRINTMAKING นาย ญาณวิทย์ กุญแจทอง “ป่าที่ไร้ใบ 59” ภาพพิมพ์สีธรรมชาติ จากคราม น้ำ�ผึ้ง กล่องไม้ และข้อมูลการทำ�งาน, 146 x 125 ซม.

นาย ธีรวุฒิ คำ�อ่อน “งดงามในความไม่สมบูรณ์ หมายเลข 1” แม่พิมพ์แกะไม้, 123x159 ซม.

Mr. Yanawit Kunchaethong “Leafless Forest 59” Organic print (indigo,honey), wooden box and process report, 146 x 125 cm.

Mr. Teerawoot Com-on “Imperfection is Beautiful No.1” Woodcut, 123 x 159 cm.

110 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย ทินกร กาษรสุวรรณ “ท้องทุ่งในชนบท หมายเลข 8” Intaglio, collograph and styrofoam relief, 127x160 ซม.

นาย เทพพงษ์ หงษ์ศรีเมือง “วิถีของคนสร้างบ้าน” แม่พิมพ์แกะไม้, 131x200 ซม.

Mr. Tinnakorn Kasornsuwan “Countryside Field No. 8” ภาพพิมพ์ Intaglio, collograph และภาพพิมพ์โฟมอัด, 127x160 cm.

Mr. Teppong Hongsrimuang “House of Construction Laborer” Woodcut, 131x200 cm. 111 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย บุญมี แสงขำ� “แม่และแมว” Mezzotint, 138 x 108 ซม.

นาย พิชญุตม์ สิรสุนทร “ตัวตน จิตไร้สำ�นึก หมายเลข 12” Photopolymer intaglio, 114 x 96 ซม.

Mr. Boonmee Sangkhum “Mother & Cat” Mezzotint, 138 x 108 cm.

Mr. Pichayut Sirasoontorn “Unconscious Mind Figure No. 12” Photopolymer intaglio, 114 x 96 cm.

112 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


ภาพพิมพ์ PRINTMAKING

นาย อดินันท์ ดามะอู “แสงศาสนา” ภาพพิมพ์โลหะ, 138 x 160 ซม.

นาย มานะชัย วงษ์ประชา “ชนบท 2559” แม่พิมพ์แกะไม้, 182 x 258 ซม.

Mr. Adinan Dama-u “Sacred Light” Etching, 138 x 160 cm.

Mr. Manachai Wongpracha “Countryside 2016” Woodcut, 182 x 258 cm.

113 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย ยุทธ พฤฒาสัจธรรม “บาดแผลของยุคสมัย หมายเลข 10” ภาพพิมพ์แกะไม้ และchine-colle บนไม้อัด, 81 x 120 cm.

นาย ยุทธ พฤฒาสัจธรรม “บาดแผลของยุคสมัย หมายเลข 11” ภาพพิมพ์แกะไม้ และchine-colle บนไม้อัด, 81 x 120 cm.

Mr. Yutt Puektasajatam “Trails and Wounds from the Past No. 10” Woodcut, chine-colle on plywood, 81 x 120 cm.

Mr. Yutt Puektasajatam “Trails and Wounds from the Past No. 11” Woodcut, chine-colle on plywood, 81 x 120 cm.

114 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


ภาพพิมพ์ PRINTMAKING

นาย สุรพงษ์ สมสุข “Life 2016 No.2” แม่พิมพ์โลหะ, 150 x 110 ซม.

นาย ศรัณย์ โลหุตางกูร “Wrap for Life No.1” สกรีนปริ้นท์, 102.5 x 79 ซม.

Mr. Surapong Somsuk “Life 2016 No.2” Etching, 150 x 110 cm.

Mr. Saran Lohutangkul “Wrap for Life No.1” Screen Printing, 102.5 x 79 cm.

115 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


สื่อประสม MIXED MEDIA นาย กฤษกรณ์ บัวเต้า “การล่มสลายของความเชื่อในจิตใจ” สื่อประสม, 280 x 280 x 60 ซม.

นางสาว ณัฐการย์ อธิรัตนมงคล “The Happiness Gathering Space” สื่อประสม, 230 x 250 ซม.

Mr. Kisskon Buatao “Destruction of Beliefs” Mixed media, 280 x 280 x 60 cm.

Miss Natthakan Athiratanamongkol “The Happiness Gathering Space” Mixed media, 230 x 250 cm.

116 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย ณรัชต์ กลิ่นสุดใจ “บัวบาน กลาง พายุ หมายเลข 1” อลูมิเนียมดัด,น้ำ�,ผ้าและเสียง, 250 x 250 x 240 ซม.

นางสาว จิตรกัญญา ไชยบุญทา “ปมของสภาวะภายใน” เส้นด้ายและผ้าบนโครงเหล็ก, 180 x 270 x 100 ซม.

Mr. Narat Klinsudjai “The Blooming Lotus over the Storm No. 1” Aluminum bending ,water, clothes and sound, 250 x 250 x 240 cm.

Miss Chitkanya Chaiboonta “The Crux of Inner State of Mind” Thread and clothes on metal structure, 180 x 270 x 100 cm. 117 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


นาย ณัฐภัทร ดิสสร “ปลาทูเหมือนดั่งยาฝิ่น” สื่อประสม, 280 x 280 x 280 ซม.

นางสาว หทัยรัตน์ รอดแก้ว “วิถีปักษ์ใต้” สื่อประสม (ยางพารา), 250 x 280 x 137 ซม.

Mr.Natthapat Dissorn “Conflict of Interest” Mixed media, 280 x 280 x 280 cm.

Miss Hathairat Rodkeaw “Southern Life” Mixed media (rubber), 250 x 280 x 137 cm.

118 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


สือ่ ประสม MIXED MEDIA

นาย พันธ์ศักดิ์ ธุรันตะวิริยะ “เก็บ” ตัด, ประกอบ, 80 x 20 x 120 ซม. Mr. Pansak Turantaviriya “Bone” Cutting and assembling, 80 x 20 x 120 cm.

นาง เมตตา สุวรรณศร “เส้นใยแห่งความรักจากแม่สู่ ลูกน้อยออทิสติก” สื่อประสม, 260 x 270 x 222 ซม. Mrs. Metta Suwanasorn “The Thread of Love from a Mother to Her Autistic Child” Mixed media, 260 x 270 x 222 cm. 119 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดง Selected entries for exhibition


ประวัติศิลปิน ARTISTS’ PROFILES


ฃื่อ เกิด ที่อยู่ โทร อีเมล การศึกษา

นาย จักรี คงแก้ว 6 เมษายน พ.ศ. 2526 15 หมู่ 4 ตำ�บลนาขา อำ�เภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 86110 089 509 5977 jakkee_k@hotmail.com -วิทยาลัยช่างศิลป์ลาดกระบัง กรุงเทพมหานครฯ -ศิลปบัณฑิต (สาขาภาพพิมพ์)คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -กำ�ลังศึกษาระดับปริญญาโท คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เกียรติประวัติ 2556 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงินประเภทภาพพิมพ์ การประกวด ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 59 -รางวัลชมเชยการประกวดศิลปกรรม มองสิงห์สร้างศิลป์ Outstanding Awards -รางวัลชมเชย การประกวดศิลปกรรมช้างเผือกครั้งที่ 3 โดยบริษัทไทยเบฟเวอร์เรจ จำ�กัด (มหาชน) 2557 -รางวัลที่ 2 โครงการเกษตรศิลป์ 72 ปี “เกษตรศาสตร์” สั่งสม ความอุดมแห่งแผ่นดิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2558 -รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง การประกวดศิลปกรรมอมตะ อาร์ตอวอร์ด -รางวัลเหรียญทองแดง การประกวดศิลปกรรม UOB ครั้งที่ 7 -รางวัลที่ 2 การประกวดศิลปกรรม “กรุงไทย” ของธนาคารกรุงไทย -รางวัลชมเชย การประกวดศิลปกรรมช้างเผือกครั้งที่ 2 โดยบริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำ�กัด (มหาชน) -รางวัลที่ 2 สนับสนุนธนาคารกรุงไทย การประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 2559 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงินประเภทภาพพิมพ์ การประกวดศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 62 -“Honorable Mention” 1st International Print Biennial in Lodz, Poland -ร่วมแสดง International Biennial Print Exhibit: 2016 ROC -รางวัลรองชนะเลิศ การประกวดศิลปกรรมช้างเผือกครั้งที่ 5 โดยบริษัทไทยเบฟเวอร์เรจ จำ�กัด (มหาชน)

ชื่อ จารุวรรณ เมืองขวา เกิด 21 สิงหาคม 2533 ที่อยู่ 164 หมู่ 2 ตำ�บลนาอ้อ ถนนเลย-เชียงคาน อำ�เภอเมือง จังหวัดเลย 42100 โทร 093 359 5153, 080 761 0601 อีเมล ja.210833@hotmail.com การศึกษา -โรงเรียนเลยพิทยาคม -ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาจิตรกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น -กำ�ลังศึกษาปริญญาโท คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงนิทรรศการกลุ่ม 2553 -ร่วมแสดงงานทิวทัศน์และหุ่นนิ่งครั้งที่ 13 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555 -ร่วมแสดงงาน ลุ่มน้ำ�โขงครั้งที่ 1 2556 -ร่วมแสดงงานศิลปะนิพนธ์ครั้งที่ 16 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น -ร่วมแสดงงาน The 13 finalists of the 4th Young Artists Talent Project (Art Exhibition 10-22 May 2013 in Los Angeles,USA ) -ร่วมแสดงงาน (The 4th Young Artists Talent) ของค่ายเยาวชน สร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ประจำ�ปี 2556 ณ หอศิลป์ร่วมสมัย ราชดำ�เนิน 2557 -ร่วมแสดงงาน (8 Years Young Artists Talent) ณ หอศิลป์สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิต พระบรมราชินีนาถ -ร่วมแสดงศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 26 -ร่วมแสดงศิลปกรรม ลุ่มน้ำ�โขงครั้งที่ 3 2558 -ร่วมแสดงศิลปกรรมอมตะ ครั้งที่ 5 -ร่วมแสดงจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครั้งที่ 17 -ร่วมแสดงศิลปกรรมรุ่นเยาว์ครั้งที่ 32 -ร่วมแสดงศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 27 -ร่วมแสดงศิลปกรรมกรุงไทยครั้งที่ 2 2559 -ร่วมแสดงโครงการประชุมสัมมนาร่วมมือสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พิพิธภัณฑ์เกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) -ร่วมแสดงโครงการศิลปะนิพนธ์ยอดเยี่ยม ครั้งที่ 8 ประจำ�ปี 2559 -ร่วมแสดงศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 31 หัวข้อ “พอเพียง..เพียงพอ ชีวิตที่ยั่งยืนบนแผ่นดินไทย” -ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปะนิพนธ์ของนักศึกษา (Fine Arts…วันสุข) 3-31 พฤษภาคม 2559 ของนักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ ภาควิชาจิตรกรรม เกียรติประวัติ 2555 -ได้เข้าร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ART ON FARM ที่จิมทอมป์สันฟาร์ม อำ�เภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 2556 -ได้เข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ประจำ�ปี 2556 (The 4th Young Artists Talent) ได้รับ การคัดเลือกเป็นตัวแทนไปศึกษาดูงานต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 2559 -รางวัลอันดับที่ 3 ระดับประชาชนทั่วไป โครงการจิตรกรรมเพชรยอด มงกุฎ ครั้งที่ 1 -รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 62

121 ประวัติศิลปิน Artists’ Profiles


ชื่อ จิรนันท์ จุลบท เกิด 6 มกราคม 2534 ที่อยู่ 112 หมู่ 3 ต.เกาะหวาย อ.ปากพลี จ.นครนายก โทร 0868683503 อีเมล jirananjul@gmail.com การศึกษา -ศิลปบัณฑิต ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร -กำ�ลังศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงนิทรรศการกลุ่ม 2555 -นิทรรศการ “Tamusil Print Exhibition Represent of Lithography” -นิทรรศการ “Landing” ณ Brown Sugar The Jazz Boutique -นิทรรศการกลุ่ม “ภาพพิมพ์ริมน่าน Rim-Nan” ณ DOB Hualamphong Gallery กรุงเทพฯ -นิทรรศการกลุ่ม “กองแสง” ณ ARTERY Post Modern Gallery -นิทรรศการ “Represent of Lithography by Tama Art University” ณ Musashino Art University 2556 -นิทรรศการ “Little Big Print” หอศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ เกียรติประวัติ 2554 -รางวัลชมเชย โครงการ “RPST YOURS” ครัง้ ที่ 1 สมาคมภาพถ่ายแห่ง ประเทศไทยใน พระราชานูปถัมภ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร 2556 -รางวัลเกียรตินิยมเหรียญทอง “ศิลป์ พีระศรี” การประกวด ศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 30 -รางวัลยอดเยี่ยมศิลปกรรม “นำ�สิ่งที่ดีสูชีวิต” ครั้งที่ 25 -ทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ “มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” 2557 -ร่วมแสดงการประกวดศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 1 “Krungthai Art Awards” -ร่วมแสดงการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 2558 -รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 โครงการตกแต่งตุ๊กตาก๊อดจิแฟมิลี่ “Happy Family” -รางวัลเกียรตินิยมอันดับที่ 3 เหรียญทองแดง การประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 -รางวัลเกียรตินิยมเหรียญเงิน การประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 32 2559 -ร่วมแสดงการประกวดศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 2 “Krungthai Art Awards” -โครงการแลกเปลีย่ นนักศึกษาและเยาวชนประเทศญีป่ นุ่ กับเอเชียตะวันออก JENESYS 2.0 ณ ประเทศญี่ปุ่น

122 ประวัติศิลปิน Artists’ Profiles

ชื่อ เกิด ที่อยู่ การศึกษา

ไชยันต์ นิลบล 3 ตุลาคม 2533 อุบลราชธานี 357 หมู่ที่ 4 ซอย 102/3 ถ.เพชรเกษม แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160 -สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกะบัง


ชื่อ ญาณวิทย์ กุญแจทอง ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ประจำ�ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา -ศิลปบัณฑิต สาขาภาพพิมพ์ (เกียรตินิยมอันดับ2) คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร -ประกาศนียบัตรภาษาญี่ปุ่น Nagoya University ประเทศญี่ปุ่น -ศิลปมหาบัณฑิต (Graphic Design) Aichi University of the Arts ประเทศญี่ปุ่น -ประกาศนียบัตรภาพพิมพ์ (Incisione) Accademia di Belle Arti di Firenze ประเทศอิตาลี

เกียรติประวัติ 2525 -รางวัลที่ 1 การแสดงศิลปกรรมของสำ�นักกลางนักเรียนคริสเตียน -The Citation Prize การแสดงการ์ตูนนานาชาติโยมิอูริครั้งที่ 4 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น -รางวัลชนะเลิศ การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยโดยการสนับสนุนของ ธนาคารกสิกรไทยครั้งที่ 3 2526 -รางวัลชนะเลิศ การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยโดยการสนับสนุนของ ธนาคารกสิกรไทยครั้งที่ 4 -รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง การแสดงจิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่ 7 -รางวัลเกียรติยศ การแสดงศิลปกรรมบาจา 2529 -รางวัลชนะเลิศการแสดงศิลปภาพพิมพ์ขนาดเล็กครั้งที่ 6 คาดาเกส การแสดงนิทรรศการเดี่ยว ประเทศสเปน 2528 -นิทรรศการ “ภาพพิมพ์หนิ ” แกลเลอรี Atelier เมืองเฮกินงั ประเทศญีป่ นุ่ -Purchase Prize การแสดงภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยครั้งที่ 11 2530 -นิทรรศการ “Respiration on Modern Figure” แกลเลอรีคะบูโตยะ พิพิธภัณฑ์ศิลปภาพพิมพ์แห่งเมืองมะจิดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น 2530 -Purchase Prize การแสดงภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยครั้งที่ 12 -นิทรรศการ “Travelling” แกลเลอรี Taller Galeria Fort พิพิธภัณฑ์ศิลปภาพพิมพ์แห่งเมืองมะจิดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมือง Cadaques ประเทศสเปน 2531 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง (ภาพพิมพ์) การแสดง 2531 -นิทรรศการ “Red and Silver” แกลเลอรี Love Collection ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 34 เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น 2545 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน (ภาพพิมพ์) การแสดง 2532 -นิทรรศการ “ไม้ หิน ผ้าไหม” Seven Seas แกลเลอรี กรุงเทพฯ ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 48 2533 -นิทรรศการ “ภาพพิมพ์แกะไม้สีนํ้า” Seven Seas แกลเลอรี กรุงเทพฯ 2546 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง (ภาพพิมพ์) การแสดง 2534 -นิทรรศการ “ภาพพิมพ์และจิตรกรรมสื่อผสม” ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 49 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรุงเทพฯ 2547 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน (ภาพพิมพ์) การแสดง 2535 -นิทรรศการ “Lucky Number” แกลเลอรี West Beth เมืองนาโกยา ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 50 ประเทศญี่ปุ่น 2548 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง (ภาพพิมพ์) การแสดง 2539 -นิทรรศการ “Monoprint by Fabric” แกลเลอรี APA เมืองนาโกยา ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 51 ประเทศญี่ปุ่น 2549 -รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น “กระบวนการสร้างภาพพิมพ์สี 2540 -นิทรรศการ “Path of Monoprint” หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ธรรมชาติ” สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพฯ 2550 -Prize of International Exhibition 1st NBC Tokyo 2542 -นิทรรศการ “อักขระไทย” แกลเลอรี่ APA เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น International Screen Print Biennale,ประเทศญี่ปุ่น 2543 -นิทรรศการ “For Hometown” แกลเลอรี Ideal Space 2554 -รางวัลที่ 4 The 8th Kochi International Triennial Exhibition จังหวัดเพชรบุรี of Print, ประเทศญี่ปุ่น 2544 -นิทรรศการ “ฝนตกดอกไม้บาน” โรสกาเด้นแกลเลอรี จังหวัดนครปฐม 2557 -รางวัลกรุงไทย รางวัลที่ 2 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 60 -นิทรรศการ “ผลิดอก” หอศิลป์ PSG คณะจิตรกรรมฯ 2558 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง (ภาพพิมพ์) การแสดง มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 2548 -นิทรรศการ “ป่าสงวน” แกลเลอรี Syun นาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น -Excellence Prize Awagami International Print Exhibition 2550 -นิทรรศการ “ต้นไม้ใบหญ้า” แกลเลอรี 100 ต้นสน กรุงเทพฯ 2015, ประเทศญี่ปุ่น 2552 -นิทรรศการ “ฤดูกาลบันทึก...เกียวโต” แกลเลอรี Artzone2559 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน (ภาพพิมพ์) kaguraoka เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 62 -นิทรรศการ “ฤดูกาลบันทึก...ไอจิ” พิพิธภัณฑ์ศิลปะมหาวิทยาลัย ศิลปะไอจิ ประเทศญี่ปุ่น ทุนสร้างสรรค์ -นิทรรศการ “Organic print” แกลเลอรี Irohani โอซะกะ ประเทศญีป่ นุ่ 2523 -ทุนมิเซียมยิบอินซอย 2553 -นิทรรศการ“Organic print” แกลเลอรี Orie โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 2524 -เข้ารับพระราชทานทุนภูมิพล (เรียนดี) จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว -นิทรรศการ“Organic print” แกลเลอรี Art-de-Art โอซะกะ -ทุนมูลนิธินริศรานุวัดติวงศ์ ประเทศญี่ปุ่น 2525 -เข้ารับพระราชทานทุนภูมิพล (เรียนดี) จากสมเด็จพระเทพรัตน2555 -นิทรรศการ“พิมพ์จากป่า” แกลเลอรีอาร์เดล เธิร์ดเพลส กรุงเทพฯ ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี 2557 -นิทรรศการ“พิมพ์จากป่าสงวน” หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์ 2526-2530 -ทุนรัฐบาลญีป่ นุ่ เพือ่ ศึกษาภาพพิมพ์ท่ี Aichi University of The Arts มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 2534-2535 -ทุนรัฐบาลอิตาลี เพื่อศึกษาภาพพิมพ์ที่ Accademia di Belle 2558 -นิทรรศการ“Taiwan Tea . Thai Trees” CAM+193 ไทเป Arti di Firenze ประเทศไต้หวัน 2542 -ทุนศิลปินสร้างสรรค์และวิจัยโดยกองทุนมิเซียม ยิบอินซอย คณะจิตรกรร ประติมากรรมและภาพพิมพ์ 2548 -ทุนสร้างสรรค์ ศิลป์ พีระศรี หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร 2556 -ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม (พิมพ์จากป่าสงวน) สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) 2558 -ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม (Taiwan Tea . Thai Trees) สนับสนุนโดยกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไต้หวัน 123 ประวัติศิลปิน Artists’ Profiles


ชื่อ ณัฐิวุฒิ พวงพี 28 มีนาคม 1990 เกิด ที่อยู่ 69/3 หมู่10 ตำ�บลดอนราง อำ�เภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ 31210 โทร 0965716328 อีเมล oocnattiwut@gmail.com www.facebook.com/ooc.nattiwut การศึกษา -ศิลปบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี -ศิลปะมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงนิทรรศการกลุ่ม 2555 -ร่วมแสดงศิลปะร่วมสมัยครั้ง ที่ 29 -ร่วมแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้ง ที่ 58 -ร่วมแสดงโครงการ Art Camp 2012 -ร่วมแสดงโครงการ Creative Project 2556 -ร่วมแสดงนิทรรศการ Imagination & Inspiration from Rice -ร่วมแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 30 -ร่วมแสดงโครงการ Art Camp 2013 -ร่วมแสดงโครงการ Creative Project -ร่วมแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 59 2557 -ร่วมแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 31 เกียรติประวัติ 2558 -รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 Krungthai Art Award -รางวัลรองชนะเลิศอันดับ2 อมตะอาร์ต อวอร์ด 2559 -รางวัลรองชนะเลิศอันดับ2 นิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 5 “สัมพันธภาพและความรัก”

124 ประวัติศิลปิน Artists’ Profiles

ชื่อ ประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ 23 กันยายน 2511 เกิด การศึกษา – วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ลาดกระบัง – ศิลปบัณฑิต ( ประติมากรรม ) คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร – ศิลปมหาบัณฑิต ( จิตรกรรม ) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกียรติประวัติ 2537 -รางวัลพิเศษ การแสดงศิลปกรรมโตชิบา ครั้งที่ 5 -รางวัลชนะเลิศ ภาพเขียนองค์กร (สันนิบาตสหกรณ์) -รางวัลที่ 3 ภาพเขียน หัวข้อวาดหวังสิ่งแวดล้อมของบริษัท Turbora -รางวัลชมเชย การประกวดออกแบบสลากออมสินพิเศษ -รางวัลชนะเลิศ การออกแบบโปสเตอร์ของการไฟฟ้านครหลวง -รางวัลเกียรติบัตร การแสดงศิลปกรรมแห่งประเทศไทย ของบริษัทฟิลลิปมอริส 2542 –รางวัลเกียรติบัตร การแสดงศิลปกรรมแห่งประเทศไทย ของบริษัทฟิลลิปมอริส 2544 -รางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดวาดภาพจิตรกรรมสีน้ำ�มัน ศรีราชา จังหวัดชลบุรี -รางวัลเกียรติบัตร การแสดงศิลปกรรมแห่งประเทศไทย องบริษัทฟิลลิปมอริส 2545 – รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรมการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 48 -รางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 การประกวดจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครั้งที่ 4 ของ บริษัท ชิวเนชั่นจำ�กัด -รางวัลที่ 2 เทคนิค งานจิตรกรรม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดช รัชกาล ที่ 9 โดย บริษัท ไอ. ซี .ซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด (มหาชน) 2546 –รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรรม การแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 49 2547 –รางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 3 จิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครั้งที่ 6 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญ เงิน ประเภท จิตรกรรม การแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 50 2550 –รางวัลศิลปินยอดเยี่ยมประเทศไทย ทุนศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 7 2554 –รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม การ แสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 57 2556 –รางวัลเกียรติ อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 59 2557 –รางวัลสนับสนุน กรุงไทย ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 60 2558 -รางวัลสนับสนุน กรุงไทย ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 -รางวัลที่ 1 ศิลปกรรม กรุงไทยอาร์ต อวอร์ด ครั้งที่ 1 2559 -รางวัลที่ 1 ศิลปกรรม กรุงไทยอาร์ต อวอร์ด ครั้งที่ 2 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62


ชื่อ ประสิทธิ์ วิชายะ ภาควิชาจิตรกรรมคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เกิด ที่อยู่ 227 หมู่20 ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ โทร 081-302 6687 -ร่วมนิทรรศการ โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางศิลปะและ อีเมล Prasit.w@hotmail.com นิทรรศการนานาชาติ ครั้งที่ 10 ณ วิทยาลัยเพาะช่าง การศึกษา -ศิลปบัณฑิต (ทัศนศิลป์) คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์(มทร.รัตนโกสินทร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร 2558 -ร่วมนิทรรศการ โครงการอาร์ท เวิร์กช็อป และนิทรรศการ -ศิลปมหาบัณฑิต (ทัศนศิลป์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปกรรม ครั้งที่ 9 ณ เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กำ�ลังศึกษา ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ -ร่วมนิทรรศการ โครงการแสดงผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิชาเอกประติมากรรม ครั้งที่ 2 ณ Le Ba Dang Art Fundation เมืองเว้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม การแสดงนิทรรศการเดี่ยว -ร่วมนิทรรศการ Green Art Action, TamsuiCostoms Wharf, 2555 -“เรื่องเล่าจากดินแดนที่ราบสูง” ณ ดิโอบีหัวลำ�โพงแกลเลอรี่, ณ New Taipei City,ไต้หวัน กรุงเทพฯ -เวอร์มอนท์สตูดิโอ เซ็นเตอร์ มลรัฐ เวอร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา การเข้าร่วมโครงการศิลปินในพำ�นัก 2556 -“การเดินทาง” ณ หอศิลป์ตาดูไทยยานยนตร์, กรุงเทพฯ 2550 -สถาบันวิจิตรกรรมแห่งชาตินครหลวงเวียงจันท์ สปป.ลาว 2557 -“ความทรงจำ�” ณ ไตเติ้ล อาร์ต สเปซ, กรุงเทพฯ 2551 -สถาบันวิจิตรกรรมแห่งชาติแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว 2558 -“ผู้สูญสิ้นศรัทธา” พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ เจ้าฟ้า, กรุงเทพฯ 2553 -เวอร์มอนท์ สตูดิโอ เซ็นเตอร์ มลรัฐเวอร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา 2555 -เวอร์มอนท์ สตูดิโอ เซ็นเตอร์ มลรัฐเวอร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา การแสดงนิทรรศการกลุ่ม 2552 -ร่วมการแสดงศิลปกรรมไร้กำ�แพง เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เกียรติประวัติ -ร่วมการแสดงศิลปกรรมสถาบันวิจิตรศิลป์กวางจู ประเทศจีน 2546 -รางวัลประกาศเกียรตินยิ มอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภท ประติมากรรม 2553 -เข้าร่วมแสดงศิลปกรรม ‘โครงการ Artist and Designer’s Creation’ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 49 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 2547 -รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประติมากรรมติดตั้งสำ�นักงาน -เข้าร่วมแสดงศิลปกรรม ประติมากรรมขนาดเล็ก ครั้งที่3 ภาควิชา โดยธนาคารกรุงไทย วิจิตรศิลป์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าฯ 2550 -รางวัลทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 7 -ร่วมการแสดงศิลปกรรมการกุศล นครหลวงเวียงจันท์ สปป.ลาว 2551 -รางวัลประกาศเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน -ร่วมการแสดงศิลปกรรม“ครุศลิ ป์สร้างสรรค์งานศิลป์กบั ศิลปินแห่งชาติ” ประเภท ประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54 รุน่ ทีห่ นึง่ ณ สถานกงสุลใหญ่ฯนครลอสแองเจอลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา 2553 -รางวัลประกาศเกียรตินยิ มอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภท ประติมากรรม 2554 -ร่วมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 57 ณ หอศิลปวัฒนธรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 56 แห่งกรุงเทพมหานคร 2553 -รางวัลสนับสนุนการพำ�นักในระยะสั้นเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมของศิลปิน -ร่วมนิทรรศการศิลปะไทย - นอร์ดิก 2011 (Art Exhibition เวอร์มอนท์ สตูดิโอ เซ็นเตอร์ มลรัฐเวอร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา Thai-Nordic 2011) ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2553 -รางวัล“ครุศิลป์สร้างสรรค์งานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ” รุ่นที่หนึ่ง วิทยาเขตสนามจันทร์ ศึกษาดูงานและแสดงผลงาน ณ สถานกงสุลใหญ่ฯนครลอสแองเจอลิส -ร่วมนิทรรศการผลงานวาดเส้น ณ หอศิลปวัฒนธรรม มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554 -รางวัลประกาศเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภท ประติมากรรม 2555 -ร่วมนิทรรศการไทยเท่จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์” ศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 9 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 57 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 2554 -รางวัลชนะเลิศการพำ�นักในระยะสั้นเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมของศิลปิน -ร่วมนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย ไทยไหลนิ่ง (Thai Transience) เวอร์มอนท์ สตูดิโอ เซ็นเตอร์ มลรัฐเวอร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ประเทศสิงคโปร์ 2557 -รางวัลประกาศเกียรตินิยมอันดับ 3เหรียญทองแดง -ร่วมนิทรรศการศิลปะ“ครุ ศิลปะ ๑”ณ แกลเลอรีปาณิศา จ.เชียงใหม่ ประเภท ประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 2556 -ร่วมนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติแห่งเอเชียครั้งที่ 27 2559 -รางวัลประกาศเกียรตินยิ มอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภท ประติมากรรม ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน กรุงเทพมหานคร การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 -ร่วมนิทรรศการ “แผ่นดินแม่” กลุ่มอาจารย์วิชาเอกประติมากรรม ณ แกลเลอรี ปาณิศา จ.เชียงใหม่ 2557 -ร่วมนิทรรศการ โครงการอาร์ท เวิร์กช็อป และนิทรรศการ ศิลปกรรม ครั้งที่ 8ณ เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี -ร่วมนิทรรศการ โครงการ อาร์ท เวิร์กช็อป และนิทรรศการ ศิลปกรรม 2014 ณ เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่ -ร่วมนิทรรศการ “นิทรรศการผลงานศิลปะ ครบรอบ 71 ปี กมล ทัศนาญชลี และเพื่อนศิลปิน” ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน -ร่วมนิทรรศการ ศิลปะ “ครุ ศิลปะ 2” ณ เฮื่อนใจ๋ยอง อ.สันกำ�แพง จ.เชียงใหม่ -โครงการจิตรกรรมร่วมสมัยในภูมิภาคอาเซียน ASEAN Contemporary Painting Project เนื่องในวาระครบรอบ 70 ปี 125 ประวัติศิลปิน Artists’ Profiles


ชื่อ พรสวรรค์ นนทะภา 6 ตุลาคม 2518 เกิด ที่อยู่ 5/5 ต.โนนสูง อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ 46120 การศึกษา -วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม -ศิลปกรรมบัณฑิต (ภาพพิมพ์) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -ศิลปกรรมมหาบัณฑิต(ทัศนศิลป์)คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสาคาม การทำ�งาน -อาจารย์พิเศษ ภาควิชาทันศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม -อาจารย์พิเศษ โปรแกรมศิลปกรรม คณะมนุษย์ศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม -ครูอัตราพิเศษ โรงเรียนศรีสะเกษวิทาลัย ปัจจุบัน -อาจารย์ประจำ�สาขาวิจิตรศิลป์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

ชื่อ สิริทัต เตชะพะโลกุล 22 ธันวาคม 2515 เกิด ที่อยู่ 119 / 235 สินธานีวิลล่า ซ.นวมินทร์ 101 ถ.นวมินทร์ บึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240 ติดต่อ 081-935-9745 อีเมล siritat999@hotmail.com การศึกษา -ปริญญาโทภาควิชานฤมิตศิลป์ สาขากราฟิก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การทำ�งาน -อาจารย์ประจำ�ภาควิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

การแสดงนิทรรศการกลุ่ม 2555 -ร่วมแสดงงาน 7th International Art Workshop ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี -ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย 2556 -ร่วมแสดงผลงาน ศิลปกรรมร่วมสมัย พานาโซนิก -ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยลุ่มน้ำ�โขง ครั้งที่ 2 2557 -ร่วมแสดงผลงาน 9th International Art Workshop ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี -ร่วมแสดงผลงาน 2 HUE Printmaking Workshop ณ เมืองถือเทียนเว้ ประเทศเวียดนาม -ร่วมแสดงศิลปกรรมภาพถ่าย ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ วิจิตรศิลป์ แขวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2558 -ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมกลุ่ม ฮักส์-โฮม-เฮา ณ ฮักส์มอลล์ จังหวัดขอนแก่น -ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมภาพถ่าย โรงการถ่ายภาพเชิงคุณธรรม “วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง” ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การแสดงนิทรรศการกลุ่ม 2536 -นิทรรศการ “จิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 17” โดย ธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ กรุงเทพฯ 2537 -นิทรรศการ “ศิลปกรรมร่วมสมัย ครั้งที่ 16” โดยธนาคารกสิกรไทย ณ หอศิลป์ แห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้ า กรุงเทพฯ -นิทรรศการ “ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 40” ณ หอศิลป์ แห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ -นิทรรศการ “ศิลปกรรมยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1” โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพฯ -นิทรรศการ“นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 16” โดยบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำ�กัด ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ 2538 -นิทรรศการ “ศิลปนิพนธ์ทัศนศิลป์ รุ่นที่ 9” ณ หอศิลป์ แห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ 2540 -นิทรรศการ ”Under Skin & In Love” ณ ซันเดย์ แกลเลอรี่ จตุจักร กรุงเทพฯ 2553 -นิทรรศการ “ผลงานการประกวดตราสัญลักษณ์ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ” ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ 2554 -นิทรรศการ “จิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติฯรางวัลพู่กันทอง” โดยธนาคารกสิกรไทย ณ หอศิลปวัฒนธรรมฯ กรุงเทพฯ 2555 -นิทรรศการ “ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 1” โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ�กัด (มหาชน) ณ หอศิลปวัฒนธรรมฯ กรุงเทพฯ 2556 -นิทรรศการ “ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้ง ที่ 2” โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ�กัด (มหาชน) ณ หอศิลปวัฒนธรรมฯ กรุงเทพฯ -นิทรรศการ จินตภาพและความบันดาลใจจาก “ข้าว” (Imagination and Inspiration Form “Rice”) โดย มูลนิธขิ า้ วไทยฯ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ 2558 -นิทรรศการ “ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้ง ที่ 61” ณ หอศิลป์ ร่วมสมัย ราชดำ�เนิน ถ.ราชดำ�เนิน กรุงเทพฯ -นิทรรศการ “ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้ง ที่ 4” โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ�กัด (มหาชน) ณ หอศิลปวัฒนธรรมฯ กรุงเทพฯ 2559 -นิทรรศการ “ศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 2” โดยธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ณ หอศิลป์ธนาคารกรุงไทย เยาวราช กรุงเทพฯ

เกียรติประวัติ -รางวัลเกียรตินิยมเหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่62 -รางวัลเหรียญทองแดงฐานครูศิลปะโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจร กรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร -รางวัลยอดเยี่ยม ศิลปกรรม ปตท.ครั้งที่31 พอเพียง เพียงพอ ชีวิตที่ยั่งยืนบนแผ่นดินไทย -รางวัลเกียรตินิยม เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 -รางวัลดีเด่น ศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 30 “อนาคตออกแบบได้” -รางวัลเหรียญทองคุรุศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ รุ่นที่ 6 พร้อมศึกษาดูงานที่ สหรัฐอเมริกา -รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 1 -รางวัลดีเด่น ศิลปกรรมดินเผาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 -รางวัลที่ 1 ด้านจิตรกรรมและสื่อผสม ระดับอุดมศึกษาและ ศิลปินอิสระ โครงการศิลปินแห่งชาติสัญจร ค่ายวัฒนธรรมเยาวชน รู้รักษ์แผ่นดินไทยภูมิใจถิ่นกำ�เนิด -ร่วมศึกษาดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 3 เดือน ในโครงการ “ON THE ROAD ACROSS 1998 By Rirkrit Tiavanija -ทุนการศึกษาจากบริษัท TOSHIBA Thiland -ทุนการศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -รางวัลยอดเยี่ยม การประกวดศิลปกรรมหัวข้อ(สมบัติอีสาน) วิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์ -รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง(บาติก) การแข่งขันทักษะวิชาชีพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอาชีวศึกษา

126 ประวัติศิลปิน Artists’ Profiles

การแสดงนิทรรศการเดี่ยว 2555 -“เหนือเกล้า 99.1” ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ

เกียรติประวัติ 2559 -รางวัลที่ 2 ศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 2 โดยธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) 2557 -ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำ�รงตำ�แหน่งทางวิชาการ “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” 2553 -รางวัลสนับสนุน การประกวดตราสัญลักษณ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2549 -รางวัลออกแบบ “Best Innovative Use of the Printing Process Fuji Xerox Gold Award” และ “Innovation in Printing Gold Award” งาน 4th Asian Print Awards Shanghai, China


ชื่อ วุฒินท์ ชาญสตบุตร 7 พฤศจิกายน 2522 เกิด ที่อยู่ 380/237 ศุภาลัย วิลล์ ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 081-667-2884 อีเมล i_created_adamn@yahoo.com เว็บไซต์ www.wuttinchansataboot.com การศึกษา -ศิลปบัณฑิต สาขาภาพพิมพ์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง -Master of Fine Art (Fine Art Media : Film/Video), Slade School of Fine Art, UCL, ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ -กำ�ลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขา ทัศนศิลป์ (Ph.D. in Visual Art), มหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงนิทรรศการ 2556 -Directors Lounge at the contemporary art ruhr (C.A.R.), at Zollverein World Heritage Site, เอสเซน, เยอรมนี -นิทรรศการ Different Wall/ Different Way/ Different Work, ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร -ภาพยนตร์สั้น “Trails” ที่ร่วมสร้างสรรค์กับศิลปิน นิธิภัค สามเสน แสดงเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “Media/Art Kitchen“ ซึ่ง หมุนเวียนไปจัดแสดง ใน 4 เมืองหลวงของ 4 ประเทศในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, จาการ์ตา, กัวลาลัมเปอร์ และมะนิลา -The 11th International Festival Signes de Nuit, ปารีส, ฝรั่งเศส -WNDX Festival 2013, วินนิเพก, แคนาดา -EVA10 : Experimental Video Art Exhibition: Thai-European Friendship, ประเทศไทย -เทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 17 จัดโดย มูลนิธิหนังไทย -The 29th Hamburg International Short Film Festival, ฮัมบูร์ก, เยอรมนี -ภาพยนตร์สั้น “Trails” ที่ร่วมสร้างสรรค์กับศิลปิน นิธิภัค สามเสน แสดงเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “Money after Money” จัดแสดงที่ Eye of Gyre, โตเกียว, ญี่ปุ่น -The 9th Berlin International Directors Lounge 2013, เบอร์ลิน, เยอรมนี 2557 -KLEX 2014/ Kuala Lumpur Experimental film&Video Festival 2014, กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย -“Asia – Vacuumed Cityscape“, Sakaiki (Yotsuya sanchome / Tokyo), ญี่ปุ่น - HBK Film Forum Screening Programme จัดที่ The Braunschweig University of Art (HBK), Braunschweig, เยอรมนี -“Tropical Seasonings”, KLEX Screening Programme at The Athena Cinema in Athens, โอไฮโอ, สหรัฐอเมริกา - KOSMA International Film Festival (KLEX Screening Programme), โซล, เกาหลีใต้ - Filmvirus WILDTYPE, ประเทศไทย -“Home Portrait”, KLEX Screening Programme at School of Media Arts & Design, Linton University College, มาเลเซีย -“Tropical Seasonings” , KLEX Screening Programme at Hallwalls Contemporary Arts Center, Buffalo, นิวยอร์ค, สหรัฐอเมริกา 2558 -Alternative Film/Video Festival 2015 (in International Competition ), เบลเกรด, เซอเบีย -KLEX 2015 / Kuala Lumpur Experimental Film, Video & Music Festival, กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย

2559

-The 7th Edition Celeste Prize 2015’s Finalists Exhibition (Project Prize Winner), มิลาน, อิตาลี -Gei-Dai-Go Art Project, อิบารากิ, ญี่ปุ่น -Asia Film and Video Art Forum, National Museum of Modern and Contemporary Art Korea (MMCA), โซล, เกาหลีใต้ -ARKIPEL Jakarta International Documentary & Experimental Film Festival, จาการ์ตา, อินโดนีเซีย -EVA 12 : Experimental Video Art Exhibition:Thai-European Friendship, ประเทศไทย -การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61, ประเทศไทย -“Impermanence”, KLEX screening programme at ” Copacabana @ Rozenbroek “, organized by PORT ACTIF, เกนต์, เบลเยี่ยม -“Tropical Seasonings”, KLEX Screening at DocLab, ฮานอย, เวียดนาม -“Welcome to the New Age”, screening programme curated by Michael Brynntrup, ชตุทท์การ์ท, เยอรมนี -นำ�เสนอผลงานวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต ที่ Ho Chi Minh City University of Fine Arts, เมืองโฮจิมินห์, เวียดนาม -นำ�เสนอผลงานวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต ที่ New Space Arts Foundation, เมืองเว้, เวียดนาม -การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62, ประเทศไทย -Directors Lounge Screening at “48 Stunden Neukölln”, เบอร์ลิน, เยอรมนี - C.A.R. Network Event, หอศิลป์ Jinsun , โซล, เกาหลีใต้ - KLEX Experimental Shorts Screening Programme, ไทจง, ไต้หวัน - KLEX Experimental Shorts Screening Programme, ไถหนาน, ไต้หวัน - Kinoflow Kísérleti Film Fesztivál, บูดาเปสต์, ฮังการี - ARTROOMS 2016, ลอนดอน, อังกฤษ

เกียรติประวัติ 2555 -ชนะเลิศรางวัลรัตน์ เปสตันยี(ภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยมในประเภท บุคคลทั่วไป) เทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 16 จัดโดย มูลนิธิหนังไทย ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อนุสรมงคลการ 2556 -เข้ารอบสุดท้ายการประกวดภาพยนตร์สั้น ในประเภท International Competition, เทศกาลภาพยนตร์ International Festival Signes de Nuit ครั้งที่ 11ณ เมืองปารีส, ประเทศฝรั่งเศส -เข้ารอบสุดท้ายการประกวดภาพยนตร์สั้น ในประเภท No-Budget Competition, เทศกาลภาพยนตร์ Hamburg International Short Film Festival ครั้งที่ 29 ณ เมืองฮัมบูร์ก, ประเทศเยอรมนี 2558 -เข้ารอบสุดท้ายการประกวดภาพยนตร์สั้น ในประเภท International Competition, เทศกาลภาพยนตร์ Alternative Film/Video Festival 2015 ณ เมืองเบลเกรด, ประเทศเซอเบีย -ชนะเลิศการประกวดศิลปกรรม Celeste Prize 2015 ในประเภท “โครงการศิลปะ” (Project Prize) ณ เมืองมิลาน, ประเทศอิตาลี -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 (เหรียญเงิน) ประเภทสื่อประสม การประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 -ทุนสนับสนุนการศึกษาจากเงินทุนเชิดชูเกียรติอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี 2559 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 (เหรียญทอง) ประเภทสื่อประสม การประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 -ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี โครงการเชิดชูเกียรติศิลปิน ยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16

127 ประวัติศิลปิน Artists’ Profiles


ชื่อ เกิด ที่อยู่ อีเมล โทร

สุนันทา ผาสมวงค์ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 51 หมู่ที่ 5 ต.บก อ. โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ 33250 meen190@gmail.com 098 105 6656

การศึกษา -สาขาวิจิตรศิลป์ คณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวะศึกษาอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี -ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขา วิจิตรศิลป์ (วิชาเอกจิตรกรรม) คณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวะ ศึกษาอุบลราชธานี -ศป.บ.(เกียรตินิยมอันดับ 2) สาขาวิชาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม -ระดับศิลปกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ศป.ม สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม การแสดงนิทรรศการกลุ่ม 2546 -นิทรรศการนำ�เสนอผลงานศิลปกรรม “จินตนาการ สานศิลปกรรม” ประจำ�ปี 2546 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยอาชีวศึกษา อุบลราชธานีวิทยาลัยอาชีวะศึกษาอุบลราชธานี 2553 -นิทรรศการวาดเส้น “ตุ้มเส้น โฮมลาย” ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม -นิทรรศการ Nude Drawing Exhibition ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม -นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ “ศิลปกรรมสร้างสรรค์ ห้าวิชาเอก” ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2554 -นิทรรศการโครงการค่ายดาวเด่นบัวหลวง “ดาวเด่น บัวหลวง 101” ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ กรุงเทพมหานคร -นิทรรศการโครงการค่าย“ค่ายเยาวชนศิลปะร่วมสมัย” ณ หอศิลป์ สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถกรุงเทพมหานคร ประจำ�ปี 2554 2555 -นิทรรศการ ART THESIS EXHIBITION 2555 ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม -นิทรรศการโครงการค่าย“ค่ายเยาวชนศิลปะร่วมสมัย” ณ หอศิลป์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถกรุงเทพมหานคร ประจำ�ปี 2555 2558 -นิทรรศการ 5th ART THESIS EXHIBITION 2015 ณ หอศิลปะวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ตึกโบสถ์) อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม -นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราช ราชดำ�เนินกรุงเทพมหานคร 2559 -ร่วมแสดงศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ กรุงไทย ณ หอศิลป์ธนาคารกรุงไทย กรุงเทพมหานคร -ร่วมแสดงนิทรรศการ “เหลียวหลัง มองหน้า ศิลปะร่วมสมัย CLMTV กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ ไทยเวียดนาม” ณ หอศิลป์พระพิฆเนศวร (2) MSU ART GALLERY คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม จ.มหาสารคาม เกียติประวัติ 2554 -ทุนส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะระดับปริญญาตรี โดยกองทุนมูลนิธิรัฐบุรุษพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประจำ�ปี 2554 2558 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับสาม เหรียญทองแดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี 2558 ประเภทสื่อผสม 2558 -ได้รับคัดเลือกรับทุนส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ ระดับปริญญาโท ในกองทุนมูลนิธิรัฐบุรุษพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประจำ�ปี 2558 2559 -ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนศิลปินไทย สร้างสรรค์ประติมากรรมเทียน นานาชาติ ประจำ�ปี 2559 (UBON INTERNATIONAL WAX FESTIVAL 2016) 128 ประวัติศิลปิน Artists’ Profiles

ชื่อ สุรชัย ดอนประศรี การศึกษา -ศ.บ. (ประติมากรรม) ภาควิชาวิจิตรศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง -ศ.ม. (ประติมากรรม) คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร -กำ�ลังศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานที่ทำ�งาน -อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาประติมากรรม ภาควิชาวิจิตรศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง การแสดงนิทรรศการ 2545 -การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 48 -การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ครั้งที่ 19 2546 -การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ครั้งที่ 20 -การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 49 -การแสดงศิลปกรรม “นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ครั้งที่ 14 ของบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำ�กัด 2547 -ร่วมแสดงการประกวดประติมากรรมขนาดเล็กของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศ ไทย 2548 -การแสดงศิลปกรรม อมตะ อาร์ต อวอร์ด ครั้งที่ 2 2550 -การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 53 2551 -การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54 2554 -การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 57 2555 -การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58 -การประกวดศิลปกรรมธนาคารกสิกรไทย -The 11th Oita Asian Sculpture Exhibition of Japan - การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59 - การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 - การประกวดประติมากรรมในวาระครบรอบ 25 ปี บริษัท ศุภลัยจำ�กัด (มหาชน) -The 12th Oita Asian Sculpture Exhibition of Japan 2559 - การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 เกียรติประวัติ 2545 -ทุนมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ -รางวัลเกียรตินิยมเหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี” การแสดงศิลปกรรม ร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ครั้งที่ 19 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 48 2546 -เกียรติบัตรนักศึกษาดีเด่น สาขาพัฒนาอาชีพ-ศิลปวัฒนธรรม -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 49 -รางวัลยอดเยี่ยม ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป การประกวด ศิลปกรรม “นำ�สิง่ ทีด่ สี ชู่ วี ติ ” ครัง้ ที่ 15 ของบริษทั โตชิบา ไทยแลนด์ จำ�กัด 2555 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 58 -Prize for Excellence, The 11th Oita Asian Sculpture Exhibition of Japan รางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 2 การประกวดประติมากรรมโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น -รางวัลพิเศษ การประกวดศิลปกรรมธนาคารกสิกรไทย -รางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 1 การประกวดประติมากรรมติดตั้ง ณ ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี -รางวัลดีเด่น การประกวดศิลปกรรมอมตะ อาร์ตอวอร์ด ครั้งที่ 5 2559 -รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 62


ชื่อ อิสรีย์ บารมี เกิด 23 มกราคม 2523 อีเมล isaree.brm@gmail.com การศึกษา -ศิลปบัณฑิต คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงนิทรรศการเดี่ยว 2555 -Me Myself & I”, Maya’s Secret Gallery, กรุงเทพฯ การแสดงนิทรรศการกลุ่ม 2544 -ร่วมแสดงนิทรรศการ ประติมากรรมครั้งที่ 5 รำ�ลึกผู้ช่วย ศาสตราจารย์เขียน ยิ้มศิริ -ร่วมแสดงประติมากรรมสัญจรระหว่างภาคประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และสาขาประติมากรรม มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 2545 -ร่วมแสดงผลงานนักศึกษาภาควิชาจิตรกรรม ปีที่ 4 นิทรรศการ เปิดบ้านจิตรกรรม -ร่วมแสดงนิทรรศการมหกรรมประติมากรรมขนาดเล็ก 20 ปี สมาคมประติมากรไทย 2546 -ร่วมแสดงศิลปกรรม ART THESIS EXHIBTION 33RD 2549 -ร่วมแสดงศิลปกรรม THE 8TH OITA ASIAN SCULPTURE EXHIBITION, Oita, Japan 2552 -ร่วมแสดงศิลปกรรม Artitude : Art Exhibition by Fifty Six Degree Artist Group, กรุงเทพฯ 2554 -ร่วมแสดงศิลปกรรม THE 11TH OITA ASIAN SCULPTURE EXHIBITION ,Oita , Japan 2557 -ร่วมแสดงนิทรรศการโชว์ผลงานประติมากรรม บริษัท ศุภาลัย จำ�กัด กรุงเทพฯ 2558 -ร่วมแสดงนิทรรศการ การประกวดศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 2 เกียรติประวัติ 2558 -รางวัลที่ 3 การประกวดศิลปกรรม “อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ครั้งที่ 6 -รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61

129 ประวัติศิลปิน Artists’ Profiles


ภาคผนวก APPENDIX


คำ�สั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ 119 / 2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำ�นวยการ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ. 2559 ด้วยมหาวิทยาลัยศิลปากร กำ�หนดจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ.2559 ฉะนัน้ เพือ่ ให้การดำ�เนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะกรรมการอำ�นวยการ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ.2559 ประกอบด้วยผู้ดำ�รงตำ�แหน่งและผู้มีนามดังต่อไปนี้

1. นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ 2. ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ 3. ผู้แทนบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) 4. ผู้แทน บมจ.ธนาคารกรุงไทย 5. ศาสตรเมธี นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร รอดบุญ 7. อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร 8. รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร 9. คณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 10. ผู้อำ�นวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป 11. คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 12. คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 13. คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 14. คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 15. คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 16. ผู้อำ�นวยการสำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 17. ผู้อำ�นวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 18. ผู้อำ�นวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขงสาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร 19. ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 20. เลขานุการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 21. นางนันทาวดี เกาะแก้ว 22. นายสำ�ราญ กิจโมกข์ 23. นางสาวสมฤดี เพ็ชรทอง 24. นายกฤษฎา ดุษฎีวนิช 25. นายวรรณพล แสนคำ�

ที่ปรึกษา รองอธิบดีกรมศิลปากร ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ

ทัง้ นีใ้ ห้คณะกรรมการอำ�นวยการมีหน้าทีก่ �ำ หนดระเบียบต่างๆในการจัดแสดงงาน และการสรรหาบุคคลร่วมในคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินผลงาน ศิลปกรรมประเภทต่างๆที่ศิลปินส่งเข้าร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ. 2559

สั่ง ณ วันที่ 28

มกราคม พ.ศ. 2559

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร 131


คำ�สั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ 249 / 2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำ�เนินงาน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 ด้วยมหาวิทยาลัยศิลปากร กำ�หนดจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 ฉะนั้น เพื่อให้การดำ�เนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะกรรมการดำ�เนินงาน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 ประกอบด้วยผู้ดำ�รงตำ�แหน่งและผู้มีนามดังต่อไปนี้ 1. รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม ที่ปรึกษา 2. ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประธานกรรมการ 3. อาจารย์โอชนา พูลทองดีวัฒนา กรรมการ ประธานอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ 4. อาจารย์ ดร.ปรมพร ศิริกุลชยานนท์ กรรมการ ประธานอนุกรรมการฝ่ายสูจิบัตร โปสเตอร์ บัตรเชิญ และสิ่งพิมพ์อื่นๆ 5. ผู้อำ�นวยการกองกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร กรรมการประธานอนุกรรมการฝ่ายบริการสถานที่ และรักษาความปลอดภัย 6. ผู้อำ�นวยการกองคลัง มหาวิทยาลัยศิลปากร กรรมการ ประธานอนุกรรมการฝ่ายการเงิน เงินรางวัล และเหรียญรางวัล 7. นายยุทธศักดิ์ รัตนปัญญา กรรมการ ประธานอนุกรรมการฝ่ายรับ-คืนผลงานศิลปกรรม 8. นายกฤษฎา ดุษฎีวนิช กรรมการ ประธานอนุกรรมการฝ่ายนิทรรศการ 9. หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรรมการ ประธานอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ 10. นางสาวดาราพร ครุฑคำ�รพ กรรมการ ประธานอนุกรรมการฝ่ายประเมินผล 11. เลขานุการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรรมการและเลขานุการประธานอนุกรรมการฝ่ายพิธกี าร และเลขานุการ 12. นางนันทาวดี เกาะแก้ว กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 13. นายสำ�ราญ กิจโมกข์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 14. นางสาวสมฤดี เพ็ชรทอง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 15. นายวรรณพล แสนคำ� กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 16. นายรุจฬสวัตต์ ครองภูมินทร์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ คณะกรรมการจักมีหน้าที่ในการดำ�เนินการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 โดยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานภายนอกให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

132

สั่ง ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร


คำ�สั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ 212 / 2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 ด้วยมหาวิทยาลัยศิลปากร กำ�หนดจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ฉะนั้น เพื่อให้การดำ�เนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการ คัดเลือกและตัดสิน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 ประกอบด้วยผู้ดำ�รงตำ�แหน่งและผู้มีรายนามดังต่อไปนี้

1. ศาสตรเมธี นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน 2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อิทธิพล ตั้งโฉลก 3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม 4.ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เข็มรัตน์ กองสุข 5. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง 6. ศาสตราจารย์ เดชา วราชุน 7. ศาสตราจารย์ วิโชค มุกดามณี 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร รอดบุญ 9. อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรหรือผู้แทน 10. ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ เลขานุการ

สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

133


คำ�สั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ 297/ 2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำ�เนินงานฝ่ายต่างๆ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 ตามคำ�สั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ 249/2559 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำ�เนินงาน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 แล้วนั้น เพือ่ ให้การดำ�เนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตัง้ คณะอนุกรรมการดำ�เนินงานฝ่ายต่างๆ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 62 ประจำ�ปี 2559 ประกอบด้วยผู้ดำ�รงตำ�แหน่งและผู้มีนามดังนี้ คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ 1. อาจารย์ ดร.ประติมา นิ่มเสมอ 2. อาจารย์โอชนา พูลทองดีวัฒนา 3. นางสาวดาราพร ครุฑคำ�รพ 4. นายกฤษฎา ดุษฎีวนิช 5. นายชัยวัช เวียนสันเทียะ 6. นายวรรณพล แสนคำ� 7. นายศรายุทธ ภูจริต 8. นายรุจฬสวัตต์ ครองภูมินทร์ 9. นางสาวเมธาวี กิตติอาภรณ์พล คณะอนุกรรมการฝ่ายสูจิบัตร โปสเตอร์ บัตรเชิญ และสิ่งพิมพ์อื่นๆ 1. อาจารย์ ดร. ปรมพร ศิริกุลชยานนท์ 2. นายยุทธศักดิ์ รัตนปัญญา 3. นางนันทาวดี เกาะแก้ว 4. นางสาวสมฤดี เพ็ชรทอง 5. นายกฤษฎา ดุษฎีวนิช 6. นายวรรณพล แสนคำ� 7. นายชัยวัช เวียนสันเทียะ 8. นางสาวเมธาวี กิตติอาภรณ์พล 9. นายศรายุทธ ภูจริต คณะอนุกรรมการฝ่ายบริการสถานที่ และรักษาความปลอดภัย 1.ผู้อำ�นวยการกองกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. นางสาวสุวรรณา เอี่ยมเจริญ 3. นางสาวปัทมา ก่อทอง 4. นางสาวนพภาสร แสงอยู่ 5. นางนันทาวดี เกาะแก้ว 6. นางสาวสมฤดี เพ็ชรทอง 7. นายทวีศักดิ์ สุขนิรันดร์ 8. นายณัฐพงศ์ กองกาไว 9. นายพนม พุ่มดารา 10. นางสาวสายฝน รัตนยัง

134

ที่ปรึกษา ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการและเลขานุการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการและเลขานุการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการและเลขานุการ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ


คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงิน เงินรางวัล และเหรียญรางวัล 1. ผู้อำ�นวยการกองคลัง มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. นางดุษณี คล้ายปาน 3. นางสาวเกษณีย์ วันศรี 4. นายสำ�ราญ กิจโมกข์ 5. นางสาวจิราภรณ์ ทองแกมแก้ว คณะอนุกรรมการฝ่ายรับ-คืนผลงานศิลปกรรม 1. นายยุทธศักดิ์ รัตนปัญญา 2. นายสำ�ราญ กิจโมกข์ 3. นางสาวมินตา วงษ์โสภา 4. นางสาวสมฤดี เพ็ชรทอง 5. นางสาวจิราภรณ์ ทองแกมแก้ว 6. นายเอกพงษ์ สกุลพันธุ์ 7. นางสาวจันจิราจันทร์ผดุง 8. นายกฤษฎา ดุษฎีวนิช 9. นายวรรณพล แสนคำ� 10. นายศรายุทธ ภูจริต 11. นายชัยวัช เวียนสันเทียะ 12. นายรุจฬสวัตต์ ครองภูมินทร์ 13. นายวัยวัฒน์ งามสิงห์ 14. นายเฉลิม กลิ่นธูป 15. นายสิทธิพร กล่ำ�ศรี 16. นางนันทาวดี เกาะแก้ว คณะอนุกรรมการฝ่ายนิทรรศการ 1. นายกฤษฎา ดุษฎีวนิช 2. นายชัยวัช เวียนสันเทียะ 3. นายศรายุทธ ภูจริต 4. นายวัยวัฒน์ งามสิงห์ 5. นายเฉลิม กลิ่นธูป 6. นายสิทธิพร กล่ำ�ศรี 7. นายวรรณพล แสนคำ� คณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ 1. หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. นางกนกรัตน์ พรประเสริฐ 3. นางกัญจราภา แจ่มสวัสดิ์ 4. นายยุทธศักดิ์ รัตนปัญญา 5. นางสาวดาราพร ครุฑคำ�รพ 6. นางนันทาวดี เกาะแก้ว 7. นายศรายุทธ ภูจริต 8. นายชัยวัช เวียนสันเทียะ 9. นายรุจฬสวัตต์ ครองภูมินทร์ 10. นางศรีวรรณ ฤกษ์ชัยรัศมี 11. นางสาวพรพิบูลย์ ขจรบุญ 12. นางสาวกาญจนา จุลโพธิ์ 13. นายธนตุลย์ เบ็งสงวน 14. นางสาวขจี ชิดเชื้อ 15. นางสาวดลนภา พัวพันธ์งาม

ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการและเลขานุการ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการและเลขานุการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการและเลขานุการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการและเลขานุการ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

135


คณะอนุกรรมการฝ่ายประเมินผล 1. นางสาวดาราพร ครุฑคำ�รพ 2. นางสาวปัทมา ก่อทอง 3. นางสาวนพภาสร แสงอยู่ 4. นายพรเพิ่ม เกิดหนุนวงศ์ 5. นายเอกพงษ์ สกุลพันธุ์ 6. นางสาวจุฑารัตน์ เนียมวิรัตน์ 7. นายรุจฬสวัตต์ ครองภูมินทร์ คณะอนุกรรมการฝ่ายพิธีการ และเลขานุการ 1. เลขานุการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. นางสาวปัทมา ก่อทอง 3. นางสาวนพภาสร แสงอยู่ 4. นางลภัสรดา ทองผาสุก 5. นางนันทาวดี เกาะแก้ว 6. นายสำ�ราญ กิจโมกข์ 7. นายเอกพงษ์ สกุลพันธุ์ 8. นางสาวจิราภรณ์ ทองแกมแก้ว 9. นางสาวจันจิรา จันทน์ผดุง 10. นายรุจฬสวัตต์ ครองภูมินทร์ 11. นางสาวเมธาวี กิตติอาภรณ์พล 12. นางเอื้อมพร แผนสมบูรณ์ 13. นางประคิ่น สุกเทพ 14. นางสาวสมฤดี เพ็ชรทอง 15. นางสาวมินตา วงษ์โสภา

ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการและเลขานุการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการและเลขานุการ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ทั้งนี้ ให้คณะอนุกรรมการดำ�เนินงานฝ่ายต่างๆ มีหน้าที่ในการดำ�เนินงานจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 โดยประสานงาน กับหน่วยงานต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานภายนอกให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

136

สั่ง

ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร


ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ผลการตัดสินผลงานศิลปกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ. 2559 ตามประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เรื่อง การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ.2559 ได้เชิญชวนศิลปินส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ไปแล้วนั้น บัดนีค้ ณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินได้พจิ ารณาคัดเลือกและตัดสินผลงานศิลปกรรมทีส่ ง่ เข้าประกวดในครัง้ นีเ้ ป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว และสามารถ สรุปผลรางวัลประเภทต่างๆ ได้ ดังนี้ ประเภทจิตรกรรม รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ไม่มีผู้ได้รับรางวัล รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง นางสาวจารุวรรณ เมืองขวา นายณัฐิวุฒิ พวงพี นายสิริทัต เตชะพะโลกุล ประเภทประติมากรรม รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง นายประสิทธิ์ วิชายะ รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน นายพรสวรรค์ นนทะภา รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง นายสุรชัย ดอนประศรี นางสาวอิสรีย์ บารมี ประเภทภาพพิมพ์ รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ไม่มีผู้ได้รับรางวัล รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน นายจักรี คงแก้ว นายญาณวิทย์ กุญแจทอง รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง นางสาวจิรนันท์ จุลบท ประเภทสื่อประสม รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง นายวุฒินท์ ชาญสตบุตร รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน นางสาวสุนันทา ผาสมวงค์ รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง นายไชยันต์ นิลบล

ผลงานชื่อ “คำ�สอนพระพุทธ หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “กุศโลบายจากธรรมชาติ” ผลงานชื่อ “นัย สองบ้าน หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “ความสุขของชีวิต หมายเลข 6” ผลงานชื่อ “ชีวิตที่เสียสมดุล” ผลงานชื่อ “ความทรงจำ�ในวิถีชีวิตชนบทอีสาน” ผลงานชื่อ “เมล็ดกับเปลือก” ผลงานชื่อ “ชีวิตของอิสรีย์”

ผลงานชื่อ “หน้าผา หมายเลข 2” ผลงานชื่อ “หยดที่จางหายของฤดูฝน” ผลงานชื่อ “แตกพันธุ์” ผลงานชื่อ“การประกอบสร้างของเปลือกนอก ในความจริงเสมือน หมายเลข 3” ผลงานชื่อ “สภาวะของความทุกข์” ผลงานชื่อ “แรงงานและการดิ้นรนสู่ชีวิตใหม่”

ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2559

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร 137


ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ผลการคัดเลือกผลงานศิลปกรรมเข้าร่วมแสดง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ. 2559 ตามประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เรื่อง การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี พ.ศ. 2559 ได้เชิญชวนศิลปินส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ไปแล้วนั้น บัดนี้คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินได้พิจารณาคัดเลือกผลงานศิลปกรรมที่ส่งเข้าประกวดใน ครั้งนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และสามารถ สรุปผลการคัดเลือกผลงานให้เข้าร่วมแสดง ประเภทต่างๆ ดังนี้ ประเภทจิตรกรรม นายกนกกร หมื่นโฮ้ง นางสาวกาญจนา ชลศิริ นายจิรวัฒน์ การนอก พระจำ�รัส พินิจกิจ นายชัชรินทร์ เชื้อคำ�เพ็ง นายชุมพล พรหมจรรย์ นางสาวณัฐสุรี เตชะวิริยะทวีสิน ว่าที่ ร.ต.หญิงธิดารัตน์ จันทเชื้อ นางสาวนภัส กังวาลนรากุล นางสาวนอเดียนา บีฮิง นางสาวนิลยา บรรดาศักดิ์ นายนิโรจน์ จรุงจิตวิทวัส นายเนติกร ชินโย นายบุญช่วย เกิดรี นายเปจัง มิตรสาธิต นายฝนธรรม บัวภุชพงศ์ นายพณิช ผู้ปรารถนา นายพันธุ์ศักดิ์ แก้วสลับนิล นายพิชญ์ แตงพันธ์ นายวิทยา หอทรัพย์ นายวีระพงศ์ แสนสมพร นายศักรินทร์ สุขมานะธรรม นายสันติ สีดาราช นายสิทธิศักดิ์ ทองดีนอก นายสีหนาท ลอบมณี นายสุพร แก้วดา นางสาวสุภาภรณ์ จุลกะ นายสุรพันธ์ ขวัญแสนสุข นายสุเมธ จันทร์ฤาชาชัย ว่าที่ ร.ต.อนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรี ประเภทประติมากรรม นายธนารักษ์ ชาวกงจักร์ นางสาวนริศรา เกิดโกสุม นายบุญเกิด ศรีสุขา นายปรีชา บุญโยธา นายพิชัย หวังเกษม

138

ผลงานชื่อ “มนต์ขลัง” ผลงานชื่อ “ภาษา” ผลงานชื่อ “หน่วยพลังงานในสนามอารมณ์ หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “พุทธศิลป์ผ่านจิตรกรรม-สถาปัตยกรรมล้านนา” ผลงานชื่อ “พฤติกรรมซ่อนเร้น หมายเลข 2” ผลงานชื่อ “กำ�เนิดวัฒนธรรม (01 )” ผลงานชื่อ “ขบวนหน้ากาก หมายเลข 2” และ ผลงานชื่อ “หลอน...ร้อน หมายเลข 2” ผลงานชื่อ “แสงสะท้อนของความศรัทธา หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “ใจมนุษย์ หมายเลข 2” ผลงานชื่อ “บ้านฉัน หมายเลข 2” ผลงานชื่อ “The Family” ผลงานชื่อ “25 hours (The Moment of 24 Hours is Never Enough)” No.1 ผลงานชื่อ “ความทรงจำ�” ผลงานชื่อ “ความรู้สึกของข้าพเจ้าที่มีต่อกิเลสในใจมนุษย์” ผลงานชื่อ “ภาพความทรงจำ�แห่งวิถีชีวิต หมายเลข 2” ผลงานชื่อ “วิถีชีวิต หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “สาระของพื้นที่และเวลากับการเปลี่ยนแปลง หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “Reality Matters” ผลงานชื่อ “สัจธรรม” ผลงานชื่อ “เงาโลกาภิวัตน์” ผลงานชื่อ “สุนทรียภาพแห่งมิติและโครงสร้างของพื้นที่ หมายเลข 18” ผลงานชื่อ “ความงามเบื้องหลัง” ผลงานชื่อ “ต่อเติม หมายเลข 3” ผลงานชื่อ “ห้อง” ผลงานชื่อ “รูปสัญญะแห่งความปรารถนา หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “ดูกายเห็นจิต ดูจิตเห็นธรรม” ผลงานชื่อ “ดอกไม้ของแม่ หมายเลข 28” ผลงานชื่อ “ชีวิต หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “จิตใต้สำ�นึก” ผลงานชื่อ “ไตรลักษณ์ หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “ความทุกข์ของการดิ้นรน” ผลงานชื่อ “ความงามในวัตถุ” ผลงานชื่อ “กลมกลืน หมายเลข 3” ผลงานชื่อ “ชีวิต หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “ตั้งสติ”


นายศิริพงศ์ สุขุมวาท นายสบโชค วงค์นาม นายสมณศักดิ์ บริบูรณ์ นายสาธิต เหล่าจิรานุวัฒน์ นายสิทธิกร ขาวสะอาด นายสุภัตษร บรรณศรี นายสุรสิทธิ์ มั่นคง นายสุวรรณ อุทัยไพศาลวงศ์ นายอภินันท์ อินทกูล นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ ประเภทภาพพิมพ์ นายญาณวิทย์ กุญแจทอง นายทินกร กาษรสุวรรณ นายเทพพงษ์ หงษ์ศรีเมือง นายธีรวุฒิ คำ�อ่อน นายบุญมี แสงขำ� นายพิชญุตม์ สิรสุนทร นายมานะชัย วงษ์ประชา นายยุทธ พฤฒาสัจธรรม นายศรัณย์ โลหุตางกูร นายสุรพงษ์ สมสุข นายอดินันท์ ดามะอู ประเภทสื่อประสม นายกฤษกรณ์ บัวเต้า นางสาวจิตรกัญญา ไชยบุญทา นายณรัชต์ กลิ่นสุดใจ นางสาวณัฐการย์ อธิรัตนมงคล นายณัฐภัทร ดิสสร นายพันธ์ศักดิ์ ธุรันตะวิริยะ นางเมตตา สุวรรณศร นางสาวหทัยรัตน์ รอดแก้ว

ผลงานชื่อ “ความงามจากร่องรอยการเคลื่อนไหว” ผลงานชื่อ “อวิชา (ความไม่รู้)” ผลงานชื่อ “โครงสร้างบ้านเมืองไทย” ผลงานชื่อ “สภาวะของการเปลี่ยนแปลง” ผลงานชื่อ “พ่อใหญ่ลี” ผลงานชื่อ “บุญมา” ผลงานชื่อ “พื้นที่แห่งความระทมของคนแรงงาน” ผลงานชื่อ “เทคโนโลยี” ผลงานชื่อ “วัตถุกับความทรงจำ�” ผลงานชื่อ “แย้มกราย” ผลงานชื่อ “ป่าที่ไร้ใบ 59” ผลงานชื่อ “ท้องทุ่งในชนบท หมายเลข 8” ผลงานชื่อ “วิถีของคนสร้างบ้าน” ผลงานชื่อ “งดงามในความไม่สมบูรณ์ หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “แม่และแมว” ผลงานชื่อ “ตัวตน จิตไร้สำ�นึก หมายเลข 12” ผลงานชื่อ “ชนบท ๒๕๕๙” ผลงานชื่อ “บาดแผลของยุคสมัย หมายเลข 10” และ ผลงานชื่อ “บาดแผลของยุคสมัย หมายเลข 11” ผลงานชื่อ “Wrap for Life No.1” ผลงานชื่อ “Life 2016 No.2” ผลงานชื่อ “แสงศาสนา” ผลงานชื่อ “การล่มสลายของความเชื่อในจิตใจ” ผลงานชื่อ “ปมของสภาวะภายใน” ผลงานชื่อ “บัวบาน กลาง พายุ หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “The Happiness Gathering Space” ผลงานชื่อ “ปลาทูเหมือนดั่งยาฝิ่น” ผลงานชื่อ “เก็บ” ผลงานชื่อ “เส้นใยแห่งความรักจากแม่สู่ลูกน้อยออทิสติก” ผลงานชื่อ “วิถีปักษ์ใต้”

ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2559

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

139


รายชื่อผู้ได้รับรางวัล จากการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 - 61 (พ.ศ. 2492- 2558) ครั้งที่ 1

(11 กุมภาพันธ์ – 10 มีนาคม 2492)

ณ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นางมีเซียม ยิบอินซอย (จิตรกรรม) นายเฟื้อ หริพิทักษ์ (จิตรกรรม) นายเขียน ยิ้มศิริ (ประติมากรรม)

นายจำ�รัส เกียรติก้อง นายสนิท ดิษฐพันธุ์ นายพิมาน มูลประมุข นายสิทธิเดช แสงหิรัญ นายแสวง สงฆ์มั่งมี นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายปิยะ ชวนเสถียร นายชิต เหรียญประชา นายประสงค์ ปัทมานุช

นายสวัสดิ์ ตันติสุข นายสนั่น ศิลากร นายวิชิต เชาวน์สังเกต นายจงกล กำ�จัดโรค นายอำ�นาจ พ่วงเสรี

ครั้งที่ 2

(10 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม 2493)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นางมีเซียม ยิบอินซอย นายเฟื้อ หริพิทักษ์ นายจำ�รัส เกียรติก้อง นายเขียน ยิ้มศิริ นายสิทธิเดช แสงหิรัญ นายแสวง สงฆ์มั่งมี นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายประสงค์ ปัทมานุช นายชิต เหรียญประชา

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ศิลปประยุกต์) (ศิลปประยุกต์) (มัณฑนศิลป์)

(จิตรกรรม) นายสวัสดิ์ ตันติสุข (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) นายทวี นันทขว้าง (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) นายสนั่น ศิลากร (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) นายวิชิต เชาวน์สังเกต (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) นายอำ�นาจ พ่วงสำ�เนียง (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) นายสนิท ดิษฐพันธุ์ (มัณฑนศิลป์) (ประติมากรรม) (มัณฑนศิลป์) (มัณฑนศิลป์)

ครั้งที่ 3

(10 พฤศจิกายน - 10 ธันวาคม 2494)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นางมีเซียม ยิบอินซอย นายทวี นันทขว้าง นายชิต เหรียญประชา นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายสิทธิเดช แสงหิรัญ นายแสวง สงฆ์มั่งมี นายอำ�นาจ พ่วงสำ�เนียง นายประสงค์ ปัทมานุช นายศิลป สังข์สุวรรณ

140

(จิตรกรรม) นางโคลด สารสาสน์ (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) นายสวัสดิ์ ตันติสุข (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) นายเขียน ยิ้มศิริ (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (มัณฑนศิลป์) (ภาพโฆษณา)

(จิตรกรรม) (ศิลปประยุกต์) (ศิลปประยุกต์) (ศิลปประยุกต์) (ประติมากรรม)

ณ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ รางวัลเหรียญทองแดง นางโคลด สารสาสน์ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ นายไพบูลย์ สุวรรณกูฏ นายจงกล กำ�จัดโรค นายบัณจบ พลาวงศ์ นายพินิจ สุวรรณบุณย์ นายประยูร อุรุชาตะ

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (มัณฑนศิลป์) (มัณฑนศิลป์) (มัณฑนศิลป์)

ณ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ รางวัลเหรียญทองแดง นายคิด โกศลวัฒน์ นายบัณจบ พลาวงศ์ นายบุญถึง ฤทธิเกิด นายสุริยะ เพ็ชรพลอย นายสวัสดิ์ ตันติสุข นายจงกล กำ�จัดโรค นายวิชิต เชาวน์สังเกตุ นายล้อม แก้วมงคล มจ.หญิงมารศรี สุขุมพันธุ์ บริพัตร

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (วาดเส้น) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (มัณฑนศิลป์) (มัณฑนศิลป์)


ครั้งที่ 4

(14 มกราคม - 14 กุมภาพันธ์ 2496)

ณ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายทวี นันทขว้าง (จิตรกรรม) นายจำ�รัส เกียรติก้อง (จิตรกรรม) นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ (ประติมากรรม) นายสวัสดิ์ ตันติสุข (จิตรกรรม) นายบัณจบ พลาวงศ ์ (จิตรกรรม) นายสุเชาวน์ ยิ้มตระกูล (จิตรกรรม) นายอำ�นวย หุนสวัสดิ์ (จิตรกรรม) นายสนิท ดิษฐพันธุ์ (จิตรกรรม) นายสิทธิเดช แสงหิรัญ (ประติมากรรม) นายแสวง สงฆ์มั่งมี (ประติมากรรม) นายเขียน ยิ้มศิริ (ประติมากรรม) นายชิต เหรียญประชา (ประติมากรรม) นายล้อม แก้วมงคล (ศิลปประยุกต์)

นายเฟื้อ หริพิทักษ์ (จิตรกรรม) นายประยูร อุลุชาฎะ (จิตรกรรม) นายคิด โกศลวัฒน์ (จิตรกรรม) นายบุญถึง ฤทธิ์เกิด (จิตรกรรม) นายนพรัตน์ ลิวิสิทธิ์ (จิตรกรรม) นายชอบ อุ่นอารีย์ (จิตรกรรม) นายชลูด นิ่มเสมอ (จิตรกรรม) นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ (จิตรกรรม) นายอุดร ฐาปโนสถ (ประติมากรรม) นายบุญถึง ฤทธิ์เกิด (เอกรงค์) นายประสงค์ ปัทมานุช (มัณฑนศิลป์) มจ.หญิงมารศรี สุขุมพันธุ์ บริพัตร (ศิลปประยุกต์) นายอ. อเล็กซานเดอร์ (ศิลปประยุกต์) นายสุภาพ กาฬสีห์ (ศิลปประยุกต์)

ครั้งที่ 5

(30 ธันวาคม 2496 - 31 มกราคม 2497)

ณ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

รางวัลเหรียญทอง นายสวัสดิ์ ตันติสุข (จิตรกรรม)

นายบัณจบ พลาวงศ์ นางสาวปราณี ศรีวิภาต นายประสงค์ ปัทมานุช

ครั้งที่ 6

(5 กุมภาพันธ์ - 5 มีนาคม 2498)

ณ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายนพรัตน์ ลิวิสิทธิ์ นายชลูด นิ่มเสมอ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ นายพิมาน มูลประมุข นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ นายชลูด นิ่มเสมอ นายสวัสดิ์ ตันติสุข นายอังคาร กัลยาณพงศ์ นายประสงค์ ปัทมานุช

นายโสภณ ภุมราพันธุ์ นายเปรื่อง เปลี่ยนสายสืบ นางเสาวภา แสนสุข นางปราณี ตันติสุข นายเอนโตเนียว พี.ด๊อกเตอร์ นายบุรินทร์ วงศ์สงวน นายดิลก สุขวิรัชย์ นายนคร สาครเสถียร หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์

นายประยูร อุลุชาฎะ (จิตรกรรม) นายสวัสดิ์ ตันติสุข (จิตรกรรม) นายชลูด นิ่มเสมอ (เอกรงค์) นายศักดิ์ ควรผดุง (ศิลปประยุกต์)

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (มัณฑนศิลป์)

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (เอกรงค์) (เอกรงค์) (มัณฑนศิลป์)

(จิตรกรรมแบบไทย) (จิตรกรรมแบบไทย) (จิตรกรรมแบบไทย) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (เอกรงค์)

141


ครั้งที่ 7

(25 มีนาคม - 25 เมษายน 2499)

ณ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายทวี นันทขว้าง (จิตรกรรม) นายนพรัตน์ ลิวิสิทธิ์ (จิตรกรรม) นายชลูด นิ่มเสมอ (จิตรกรรม) นายชลูด นิ่มเสมอ (ประติมากรรม) นายชลูด นิ่มเสมอ (เอกรงค์) นายดำ�รงค์ วงศ์อุปราช (เอกรงค์) นายศักดิ์ ควรผดุง (ศิลปประยุกต์)

นายบุญถึง ฤทธิ์เกิด (จิตรกรรม) นายประยูร อุลุชาฎะ (จิตรกรรม) นายแอนโตเนียว พี. ด๊อกเตอร์ (จิตรกรรม) นายแสตนลีย์ เอ. แจ็กสัน (จิตรกรรม) นายอุดม วงษ์พิทักษ์ (จิตรกรรม) นายฮารี คอนโนเวอร์ (จิตรกรรม) นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ (ประติมากรรม) นายนคร สาครเสถียร (ประติมากรรม) นางสุวรรณี นันทขว้าง (มัณฑนศิลป์) ร.ต. ประเชิญ ผ่านบุญเกิด (มัณฑนศิลป์) นางเบอร์นีช เอช. การ์ดอน (มัณฑนศิลป์) นายประหยัด พงษ์ดำ� (มัณฑนศิลป์)

ครั้งที่ 8

(1 - 31 มีนาคม 2500)

ณ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายเฟื้อ หริพิทักษ์ (จิตรกรรม) นายประหยัด พงษ์ดำ� (จิตรกรรม) นายนพรัตน์ ลิวิสิทธิ์ (จิตรกรรม) นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ (ประติมากรรม) นายประหยัด พงษ์ดำ� (ศิลปะตกแต่ง) นายล้อม แก้วมงคล (ศิลปประยุกต์)

หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ นายบุญเลิศ บุญหาญ นายอุดม วงษ์พิทักษ์ นายดำ�รงค์ วงษ์อุปราช นางปราณี ตันติสุข นายนคร สาครเสถียร นายเรืองสุข อรุณเวช นางเบอร์นิช เอส. การ์ดอน นายศักดิ์ ควรผดุง นายภาวาส บุนนาค

ครั้งที่ 9

(15 มีนาคม - 15 เมษายน 2501)

ณ หอศิลป กรมศิลปากร กรุงเทพฯ

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายสมยศ ทรงมาลัย (จิตรกรรม) นายทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ (จิตรกรรม) นายสันต์ สารากรบริรักษ์ (จิตรกรรม) นายเรืองสุข อรุณเวช (ประติมากรรม) นายมานิตย์ ภู่อารีย์ (มัณฑนศิลป์) นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ (มัณฑนศิลป์) นายประหยัด พงษ์ดำ� (เอกรงค์) 142

นายประหยัด พงษ์ดำ� หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ นายมานิตย์ ภู่อารีย์ นายทวี รัชนีกร นายเปรื่อง เปลี่ยนสายสืบ นายนพรัตน์ ลิวิสิทธิ์ นายอนิก สมบูรณ์ นายประหยัด พงษ์ดำ� นายดำ�รง วงศ์อุปราช นายอินสนธิ์ วงศ์สาม นายมานิตย์ ภู่อารีย์ นายอังคาร กัลยาณพงศ์ นายเปอร์ อุลวิช นางสาวมูเรียล เอส.คล๊าก

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (เอกรงค์) (ศิลปประยุกต์) (ศิลปประยุกต์) (ศิลปประยุกต์)

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (มัณฑนศิลป์) (เอกรงค์) (มัณฑนศิลป์) (เอกรงค์) (เอกรงค์) (เอกรงค์) (เอกรงค์)


ครั้งที่ 10

(20 มกราคม - 20 กุมภาพันธ์ 2502)

ณ หอศิลป กรมศิลปากร

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายชลูด นิ่มเสมอ (จิตรกรรม) นายดำ�รง วงศ์อุปราช (จิตรกรรม) นายมานิตย์ ภู่อารีย์ (จิตรกรรม) นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ (ประติมากรรม) นายประหยัด พงษ์ดำ� (เอกรงค์) ครั้งที่ 11 รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญทอง

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (เอกรงค์) (มัณฑนศิลป์) (มัณฑนศิลป์)

(15 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2503) ณ หอศิลป กรมศิลปากร รางวัลเหรียญเงิน

นายดำ�รง วงศ์อุปราช (จิตรกรรม) นายทวี รัชนีกร (จิตรกรรม) นางปราณี ตันติสุข (จิตรกรรม) นายอนันต์ ปาณินท์ (จิตรกรรม) นายสมยศ ทรงมาลัย (ภาพพิมพ์) นายมาโนช กงกะนันทน์ (มัณฑนศิลป์) ครั้งที่ 12

หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ นายสมโภชน์ อุปอินทร์ นายทวี รัชนีกร นายคิด โกศลวัฒน์ นายเรืองสุข อรุณเวช นางเออร์ซูลา เดอร์โนว์ นายมาโนช กงกะนันทน์ นางสาวสมศิลป พจนานนทน์

รางวัลเหรียญทองแดง นายพิชัย นิรันต์ นายเปรื่อง เปลี่ยนสายสืบ นายดนัย ปฏิรูปานุสรณ์ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ นายวีระ โยธาประเสริฐ นายเกวล ชไนบูร นายกัมพล วัฒนานุสิทธิ์ นายเรืองสุข อรุณเวช นายทวี รัชนีกร นางสาววัฒนา พึ่งวิชา นางเบอร์นิช เอส. การ์ดอน

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (มัณฑนศิลป์) (มัณฑนศิลป์)

(14 เมษายน - 14 พฤษภาคม 2504) ณ หอศิลป กรมศิลปากร รางวัลเหรียญเงิน

นายมานิตย์ ภู่อารีย์ (ภาพพิมพ์) นายมานิตย์ ภู่อารีย์ (จิตรกรรม) นายมาโนช กงกะนันทน์ (มัณฑนศิลป์) นายดำ�รง วงศ์อุปราช (จิตรกรรม) นายทวี รัชนีกร (จิตรกรรม) นายพิชัย นิรันต์ (จิตรก รรม) นายชวลิต เสริมปรุงสุข (จิตรกรรม) นายอินสนธิ์ วงศ์สาม (ภาพพิมพ์) นายประหยัด พงษ์ดำ� (ภาพพิมพ์) นายเปรื่อง เปลี่ยนสายสืบ (วาดเส้น)

รางวัลเหรียญทองแดง นางปราณี ตันติสุข นายนพรัตน์ ลิวิสิทธ ิ์ นายสมโภช อุปอินทร์ นายประทีป สว่างสุข นายวีระ โยธาประเสริฐ นายปรีชา อรชุนกะ นายประยุทธ ฟักผล นายอนันต์ ปาณินท์ นายสันต์ สารากรบริรักษ์ นายชุมพล รัตนชัยวรรณ นายสุมน ศรีแสง นายชวลิต เสริมปรุงสุข นายประพันธ์ ศรีสุตา นายอังคาร กัลยาณพงษ์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (วาดเส้น)

143


ครั้งที่ 13

(20 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม 2505)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายมานิตย์ ภู่อารีย์ (ภาพพิมพ์)

นายมานิตย์ ภู่อารีย์ นายสันต์ สารากรบริรักษ์ นายดำ�รง วงศ์อุปราช นายประหยัด พงษ์ดำ� นายนเรศร์ วงษ์สวรรค์ นายสมโภชน์ อุปอินทร์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ภาพพิมพ์) (มัณฑนศิลป์) (มัณฑนศิลป์)

ครั้งที่ 14

(26 มกราคม - 26 กุมภาพันธ์ 2506)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายพิชัย นิรันดร์ (จิตรกรรม) นายสมโภชน์ อุปอินทร์ (จิตรกรรม) นายประหยัด พงษ์ดำ� (ภาพพิมพ์) นายอนันต์ ปาณินท์ (จิตรกรรม) นางสาวพูนสุข ศิลปคุปต์ (จิตรกรรม) นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ (ประติมากรรม) ครั้งที่ 15 รางวัลเหรียญทอง

(4 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม 2507)

รางวัลเหรียญทองแดง นางปราณี ตันติสุข นายอนันต์ ปาณินท์ นายประยุทธ ฟักผล นายอินสนธิ์ วงศ์สาม นายประพันธ์ ศรีสุตา นายวัลลภ ธนะสังข์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (มัณฑนศิลป์)

ณ หอศิลป กรมศิลปากร กรุงเทพฯ รางวัลเหรียญทองแดง นายสันต์ สารากรบริรักษ์ (จิตรกรรม) นายพนม สุวรรณนาถ (จิตรกรรม) นายอวบ สาณะเสน (จิตรกรรม) นายประพัฒน์ โยธาประเสริฐ (จิตรกรรม) นางสาวลาวัณย์ ดาวราย (จิตรกรรม) นายนิพนธ์ ผลิตะโกมล (จิตรกรรม) นายประยุทธ ฟักผล (จิตรกรรม) นายประวัติ เล้าเจริญ (จิตรกรรม) นายสงัด ปุยอ๊อก (จิตรกรรม) นายสันต์ สารากรบริรักษ์ (ประติมากรรม) นายสันต์ สารากรบริรักษ์ (ภาพพิมพ์) นายชุมพล รัตนชัยวรรณ (ภาพพิมพ์) นายสกล ไวยเจตน์ (ภาพพิมพ์) นายประหยัด พงษ์ดำ� (มัณฑนศิลป์) นายสุพจน์ จันทวีระ (มัณฑนศิลป์) นายวัลลภ ธนะสังข์ (มัณฑนศิลป์) นายอังกูร หุตางกูร (มัณฑนศิลป์) นายนเรศร์ วงษ์สวรรค์ (มัณฑนศิลป์)

ณ อาคารพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ ในพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

รางวัลเหรียญเงิน

นายประพัฒน์ โยธาประเสริฐ (จิตรกรรม) นายนิพนธ์ ผลิตะโกมล (จิตรกรรม) นายสมโภชน์ อุปอินทร์ (จิตรกรรม) นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ (ประติมากรรม)

144

ณ หอศิลป กรมศิลปากร กรุงเทพฯ

รางวัลเหรียญทองแดง นายไกรษร ศรีสุวรรณ นายสุพจน์ จันทวีระ นายกำ�จร สุนพงษ์ศรี นายดำ�รง วงศ์อุปราช นายอนันต์ ปาณินท์ นายพิชัย นิรันดร์ นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ นายประหยัด พงษ์ดำ� นายพจน์ สง่าวงศ์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)


ครั้งที่ 16

(22 กรกฎาคม - 22 สิงหาคม 2508)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

ณ วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลเหรียญทองแดง

นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ (ประติมากรรม) นายกำ�จร สุนพงษ์ศรี (จิตรกรรม) นายสันต์ สารากรบริรักษ์ (ภาพพิมพ์) นายธนะ เลาหกัยกุล (จิตรกรรม) นายนิพนธ์ ผลิตะโกมล (จิตรกรรม) นายพจน์ สง่าวงศ์ (ภาพพิมพ์) นายวีระ โยธาประเสริฐ (ภาพพิมพ์)

นายสันต์ สารากรบริรักษ์ นายประวัติ เล้าเจริญ นายบัณฑิต ผดุงวิเชียร นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต นายอำ�นวย หุนสวัสดิ์ นายสมโภชน์ อุปอินทร์ นายพีระ พัฒนพีระเดช นายพจน์ สง่าวงศ์ นายธงชัย รักปทุม นายวิชา ปัญญโรจน์

ครั้งที่ 17

(1-31 มีนาคม 2510)

ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายพนม สุวรรณนารถ นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต นายพจน์ สง่าวงศ์ นายบัณฑิต ผดุงวิเชียร นายประวัติ เล้าเจริญ นายประเทือง เอมเจริญ นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ นายสันต์ สารากรบริรักษ์ นายชัยณรงค์ บุญกานนท์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)

ครั้งที่ 18

(6 มีนาคม - 5 เมษายน 2511)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายทวน ธีระพิจิตร (ภาพพิมพ์) นายบัณฑิต ผดุงวิเชียร (จิตรกรรม) นายธงชัย รักปทุม (จิตรกรรม) นายอนันต์ ปาณินท์ (จิตรกรรม) นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ (ประติมากรรม) นายถกล ปรียาคณิตพงศ์ (ภาพพิมพ์)

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ภาพพิมพ์)

รางวัลเหรียญทองแดง นายนิพนธ์ ผลิตะโกมล นายสมโภชน์ อุปอินทร์ นายธงชัย รักปทุม นายนนทิชัย รัตนคุปต์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ภาพพิมพ์)

ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี รางวัลเหรียญทองแดง นายบำ�รุง สมบูรณ์ นายประเทือง เอมเจริญ นายสมโภชน์ อุปอินทร์ นายสันต์ สารากรบริรักษ์ นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ นายชัยณรงค์ บุญกานนท์ นายประวัติ เล้าเจริญ นายอัลเบอร์โต แปรี่ นายยรรยง ศิริรัตน์ นายวีระ โยธาประเสริฐ

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)

145


ครั้งที่ 19

(25 กันยายน - 25 ตุลาคม 2512)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี รางวัลเหรียญทองแดง

นายอนันต์ ปาณินท์ (จิตรกรรม) นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (จิตรกรรม) นายกมล สุวุฒโท (ภาพพิมพ์) นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต (จิตรกรรม) นายทวน ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายธงชัย รักปทุม (จิตรกรรม) นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน (ประติมากรรม) นายเดชา วราชุน (ภาพพิมพ์) นายถกล ปรียาคณิตพงษ์ (ภาพพิมพ์) นายสัญญา วงศ์อร่าม (ภาพพิมพ์) นายอุดร ศักดาเดช (ภาพพิมพ์)

นายสุรพงษ์ จิตรพันธุ์ นายประเทือง เอมเจริญ นายกมล ทัศนาญชลี นายสมชัย หัตถกิจโกศล นายสมโภชน์ อุปอินทร์ นายบำ�รุง สมบูรณ์ นายถกล ปรียาคณิตพงษ์ นายสันต์ สารากรบริรักษ์ นายพงษ์ศักดิ์ ภู่อารีย์ นายชำ�เรือง วิเชียรเขตต์ นายเกษม พรอนันตระกูล นายทวีไทย บริบูรณ์ นายวีระ โยธาประเสริฐ นายอิทธิพล ตั้งโฉลก นายทวน ธีระพิจิตร นางสาวนพวรรณ โกมลเสน นายรุ่งทิพย์ เตียวตระกูล

ครั้งที่ 20

(3-31 สิงหาคม 2514)

ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายเดชา วราชุน (ภาพพิมพ์) นายอิทธิพล ตั้งโฉลก (ภาพพิมพ์)

นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (จิตรกรรม) นายรุ่ง ธีระพิจิตร นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต (จิตรกรรม) นางสาวลักษมี หงษ์นคร นายสน สีมาตรัง (จิตรกรรม) นายสมชัย หัตถกิจโกศล นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน (ประติมากรรม) นายวระ อิษวาส นายถกล ปรียาคณิตพงศ์ (ภาพพิมพ์) นายกมล สุวุฒโฑ นายทวน ธีระพิจิตร (ภาพพิมพ์) นายอุดร ศักดาเดช (ภาพพิมพ์)

ครั้งที่ 21

(8-27 กันยายน 2525)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายอิทธิพล ตั้งโฉลก (ภาพพิมพ์) นายสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงษ์ (จิตรกรรม) นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต (จิตรกรรม) นายสน สีมาตรัง (จิตรกรรม) นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน (ประติมากรรม) นายกมล สุวุฒโฑ (ภาพพิมพ์) นายเดชา วราชุน (ภาพพิมพ์) นายพิษณุ ศุภนิมิตร (ภาพพิมพ์)

146

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) ‘ (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์)

ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี รางวัลเหรียญทองแดง นายรุ่ง ธีระพิจิตร นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ นายสุกรี วัชรพรรณ นายชวลิต เสริมปรุงสุข นายทวน ธีระพิจิตร นางสาวกัญญา เอ็งเจริญอมร นายถกล ปรียาคณิตพงศ์ นายวาสุเทพ ศักดา นางสาวลักษมี หงษ์นคร

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)


ครั้งที่ 22 รางวัลรางวั เหรียลญทอง เหรียญทอง

(7 - 27 พฤศจิกายน 2517) ณ อาคารเรียนคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลรางวั เหรียลญเงิ เหรีนยญเงิ น

รางวัลรางวั เหรียลญทองแดง เหรียญทองแดง

นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (จิตรกรรม) นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต (จิตรกรรม) นายปรีชา เถาทอง (จิตรกรรม) นายกมล สุวุฒโฑ (ภาพพิมพ์) นายเดชา วราชุน (ภาพพิมพ์) นายสุเมธา สว่าง (ภาพพิมพ์) ครั้งที่ 23 รางวัลเหรียญทอง

นายสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ (จิตรกรรม) นายสน สีมาตรัง (จิตรกรรม) นายประเทือง เอมเจริญ (จิตรกรรม) นายสุรสิทธิ์ เสาว์คง (จิตรกรรม) นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน (ประติมากรรม) นายวิชัย สิทธิรัตน์ (ประติมากรรม) นายชัยนันท์ ชะอุ่มงาม (ภาพพิมพ์) นายนพพงษ์ สัจจวิโส (ภาพพิมพ์) นายพัฒนา ธนาภรณ์ (ภาพพิมพ์) นายสัญญา วงศ์อร่าม (ภาพพิมพ์) นายสุรสิทธิ์ เสาว์คง (ภาพพิมพ์) นายอิทธิพล ตั้งโฉลก (ภาพพิมพ์)

(16 ธันวาคม 2508 – 14 มกราคม 2519) รางวัลเหรียญเงิน

ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลเหรียญทองแดง

นายปรีชา เถาทอง (จิตรกรรม) นายวิโรจน์ เจียมจิราวัฒน์ (จิตรกรรม) นายเข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นายพิทยา จั่นแย้ม (ประติมากรรม) นายสุเมธา สว่าง (ภาพพิมพ์) นายกมล สุวุฒโฑ (ภาพพิมพ์) ครั้งที่ 24 รางวัลเหรียญทอง

(16 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2520) รางวัลเหรียญเงิน

นายชัยนันท์ ชะอุ่มงาม (จิตรกรรม) นายประเทือง เอมเจริญ (จิตรกรรม) นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (จิตรกรรม) นายนพพงษ์ สัจจวิโส (จิตรกรรม) นายวุฒิ วัฒนสิน (จิตรกรรม) นายศราวุธ ดวงจำ�ปา (ประติมากรรม) นายวสันต์ ฮารีเมา (ประติมากรรม) นายพิษณุ ศุภนิมิตร (ภาพพิมพ์) นายพิชัย กรรณกุลสุนทร (ภาพพิมพ์) นายสมพงษ์ อดุลยสารพัน (ภาพพิมพ์) นางสาวศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ (ภาพพิมพ์) ณ อาคารนิทรรศการกระทรวงอุตสาหกรรม

รางวัลเหรียญทองแดง

นายปรีชา เถาทอง (จิตรกรรม) นายผ่อง เซ่งกิ่ง (จิตรกรรม) นายพิษณุ ศุภนิมิตร (ภาพพิมพ์) นายวิชัย สิทธิรัตน์ (ประติมากรรม) นายอิทธิพล ตั้งโฉลก (ภาพพิมพ์) นายเดชา วราชุน (ภาพพิมพ์) นางสาวศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ (ภาพพิมพ์) นายกมล สุวุฒโฑ (ภาพพิมพ์)

นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (จิตรกรรม) นายพิษณุ ศุภนิมิตร (จิตรกรรม) นายมงคล พัวพันสวัสดิ์ (จิตรกรรม) นายรุ่ง ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายสมพงษ์ อดุลยสารพัน (จิตรกรรม) นายอิทธิพล ตั้งโฉลก (จิตรกรรม) นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน (ประติมากรรม) นายพิชัย กรรณกุลสุนทร (ภาพพิมพ์)

147


ครั้งที่ 25

(12 กุมภาพันธ์ - 25 มีนาคม 2522)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป รางวัลเหรียญทองแดง

นายปรีชา เถาทอง (จิตรกรรม) นายสุวิชาญ เถาทอง (จิตรกรรม) นายพิษณุ ศุภนิมิตร (ภาพพิมพ์) นายทวน ธีระพิจิตร (ภาพพิมพ์) นายอิทธิพล ตั้งโฉลก (ภาพพิมพ์) นายกมล สุวุฒโฑ (ภาพพิมพ์) นายเดชา วราชุน (ภาพพิมพ์) นางสาววัชรี วงศ์วัฒนอนันต์ (ภาพพิมพ์) นายถาวร โกอุดมวิทย์ (ภาพพิมพ์)

นางกัญญา เจริญศุภกุล (จิตรกรรม) นางสาวเรณู ธรรมเจริญ (จิตรกรรม) นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (จิตรกรรม) นางสาวราษี ศรบรรจง (จิตรกรรม) นายรุ่ง ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายสมคิด อินท์นุพัฒน์ (จิตรกรรม) นายวิชัย สิทธิรัตน์ (ประติมากรรม) นายประหยัด พงษ์ดำ� (ภาพพิมพ์) นางสาวทัศนีย์ ทีปรักษาพันธุ์ (ภาพพิมพ์)

ครั้งที่ 26

(1 สิงหาคม – 4 กันยายน 2523)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (จิตรกรรม) นางสาวอารยา ราษฎร์จำ�เริญสุข (ภาพพิมพ์)

นายปริญญา ตันติสุข นายปัญญา วิจินธนสาร นายวิโรจน์ เจียมจิราวัฒน์ นายถาวร โกอุดมวิทย์ นายทวน ธีระพิจิตร นายพิษณุ ศุภนิมิตร นายสิทธิพร สายเนตร นายอัศนีย์ ชูอรุณ

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)

ครั้งที่ 27

(9 – 31 มีนาคม 2524)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง (จิตรกรรม) นายสุรสิทธิ์ เสาว์คง (จิตรกรรม) นายประหยัด พงษ์ดำ� (ภาพพิมพ์) นายวันเจริญ จ่าปะคัง (ประติมากรรม) นายสิทธิพร สายเนตร (ภาพพิมพ์) นางสาวอารยา ราษฎร์จำ�เริญสุข (ภาพพิมพ์) นายอาคม ด้วงชาวนา (สื่อประสม)

148

รางวัลเหรียญทองแดง นายนพพงษ์ สัจจวิโส นางสาวเสริมสุข เธียรสุนทร นายสุรสิทธิ์ เสาว์คง นายสุวิชาญ เถาทอง นายเดชา วราชุน นายพิชัย กรรณกุลสุนทร นายวิชัย จิตมาลีรัตน์ นายสุเมธา สว่าง

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลเหรียญทองแดง นายจิระศักดิ์ พัฒน์พงษ์ นายณรงค์ศักดิ์ ธาดาบุษปะ นายปริญญา ตันติสุข นายไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร นายวิทยา ธนะสูตร นายศุภชัย สุกขีโชติ นายศุภศักดิ์ นาคบัลลังก์ นายกมล เผ่าสวัสดิ์ นายประเสริฐ วรณรัตน์ นายสุเทพ นวลนุช นายเทพศักดิ์ ทองนพคุณ นายวิชัย จิตมาลีรัตน์ นายสมชาย อาจสูงเนิน นางสาวอาภรณ์ สิงหเรือง นายวีรพร คชกาญจน์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม)


ครั้งที่ 28

(2-25 เมษายน 2525)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลเหรียญทองแดง

นายเดชา วราชุน (ภาพพิมพ์) นายปริญญา ตันติสุข (จิตรกรรม) นายกมล เผ่าสวัสดิ์ (ประติมากรรม) นายไชยยศ จันทราทิตย์ (ภาพพิมพ์) นางสาวอารยา ราษฎร์จำ�เริญสุข (ภาพพิมพ์) นายถาวร โกอุดมวิทย์ (สื่อประสม) นายรุ่ง ธีระพิจิตร (สื่อประสม)

นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (จิตรกรรม) นายเกียรติศักดิ์ ผลิตาภรณ์ (จิตรกรรม) นายจรูญ บุญสวน (จิตรกรรม) นายแดนสรวง สังวรเวชภัณฑ์ (จิตรกรรม) นายสุรสิทธิ์ เสาว์คง (จิตรกรรม) นายอนันต์ ปาณินท์ (จิตรกรรม) นายอภินันท์ โปษยานนท์ (จิตรกรรม) นายเข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นายเสถียร เสียงสืบชาติ (ประติมากรรม) นายถาวร โกอุดมวิทย์ (ภาพพิมพ์) นายทวน ธีระพิจิตร (ภาพพิมพ์) นายพิษณุ ศุภนิมิตร (ภาพพิมพ์) นางสาวอาภรณ์ สิงหเรือง (ภาพพิมพ์) นายวันเจริญ จ่าปะคัง (สื่อประสม) นายสิทธิพร สายเนตร (สื่อประสม)

ครั้งที่ 29

(6 สิงหาคม - 8 กันยายน 2526)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายพิษณุ ศุภนิมิตร (จิตรกรรม) นายพิทักษ์พล วิสุทธิ์อัมพร (จิตรกรรม) นายชลสินธุ์ ช่อสกุล (ภาพพิมพ์) นายรุ่ง ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายเข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นายสุวิช สถิตวิทยานันท์ (ประติมากรรม) นางสาวนัยนา โชติสุข (ภาพพิมพ์)

นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ นายเข็มรัตน์ กองสุข นายทวน ธีระพิจิตร นายวราวุธ ชูแสงทอง นายสมภพ บุตราช นายไชยยศ จันทราทิตย์ นายพงศ์เดช ไชยคุตร นายพัฒนพงศ์ สังข์แก้ว

ครั้งที่ 30

(2-30 สิงหาคม 2527)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายวิโชค มุกดามณี (จิตรกรรม) นายอำ�มฤทธิ์ ชูสุวรรณ (จิตรกรรม) นายประชิต ไชยสวัสดิ์ (ประติมากรรม) นายวันเจริญ จ่าปะคัง (ประติมากรรม) นางสาวอารยา ราษฎร์จำ�เริญสุข (ภาพพิมพ์) นายชัยมิตร แสวงมงคล (ภาพพิมพ์)

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)

รางวัลเหรียญทองแดง นายจรูญ บุญสวน (จิตรกรรม) นายปริญญา ตันติสุข (จิตรกรรม) นายทวน ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายพิษณุ ศุภนิมิตร (จิตรกรรม) นายสมชาย เถาทอง (ประติมากรรม) นายทวน ธีระพิจิตร (ประติมากรรม) นายดุสิต ฮันตระกูล (ประติมากรรม) นายพัฒนพงศ์ สังข์แก้ว (ภาพพิมพ์) นายไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์ (ภาพพิมพ์) นายกมล ศรีวิชัยนันท์ (ภาพพิมพ์) นายถาวร โกอุดมวิทย์ (ภาพพิมพ์)

149


ครั้งที่ 31

(10 สิงหาคม - 5 กันยายน 2528)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลเหรียญทองแดง

นายสมโภชน์ ทองแดง (จิตรกรรม) นายประสงค์ ธงธวัช (จิตรกรรม) นายปริญญา ตันติสุข (จิตรกรรม) นายเข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นายอภินันท์ โปษยานนท์ (ภาพพิมพ์) นางสาวอารยา ราษฎร์จำ�เริญสุข (ภาพพิมพ์)

นายจรูญ บุญสวน (จิตรกรรม) นายพงษ์ศักดิ์ พุทธเจริญ (จิตรกรรม) นายไกรษร ศรีสุวรรณ (ประติมากรรม) นายญาณพล วิเชียรเขตต์ (ประติมากรรม) นายธงศักดิ์ หงษ์แพง (ประติมากรรม) นายวันเจริญ จ่าปะคัง (ประติมากรรม) นายวสันต์ ฮารีเมา (ประติมากรรม) นายศราวุธ ดวงจำ�ปา (ประติมากรรม) นายอภินันท์ โปษยานนท์ (ประติมากรรม) นายขรรค์ชัย แจ่มมั่งคั่ง (ภาพพิมพ์) นายจุฬาทิตย์ ทองรุ่งโรจน์ (ภาพพิมพ์) นายทวีชัย นิติประภา (ภาพพิมพ์) นางสาวทิพย์ธารา ขำ�วัฒนพันธุ์ (ภาพพิมพ์) นางสาวอาภรณ์ สิงหเรือง (ภาพพิมพ์)

ครั้งที่ 32

(2-31 สิงหาคม 2529) (15-30 กันยายน 2529)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พุทธสถาน จังหวัดเชียงใหม่

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายจิตต์สิงห์ สมบุญ (จิตรกรรม) นายวิโชค มุกดามณี (จิตรกรรม) นายเข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นายวสันต์ ฮารีเมา (ประติมากรรม) นายคามิน เลิศชัยประเสริฐ (ภาพพิมพ์) นายนิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ (ภาพพิมพ์)

150

รางวัลเหรียญทองแดง นายไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง นางสาวเรวดี ใจชุ่ม นายวีรชัย บาลไธสง นายวิสุทธิ์ คงวุธ นายสุรสิทธิ์ เสาว์คง นายกิตติ ฤทธิ์สมบูรณ์ นายจักรพันธ์ วิลาสินีกุล นายเจริญ ว่องปรีชากุล นายปรีชา หวังชิงชัย นายพีระพงษ์ ดวงแก้ว นายจุฬาทิตย์ ทองรุ่งโรจน์ นางสาวนัยนา โชติสุข นายทวีชัย นิติประภา นายธงชัย ยุคันตพรพงษ์ นายสุรสีห์ กุศลวงศ์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)


ครั้งที่ 33

(4-31 สิงหาคม 2530) (15-30 กันยายน 2530)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พุทธสถาน จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลเหรียญทองแดง

นายประสงค์ ลือเมือง (จิตรกรรม) นายเข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นายสุรสีห์ กุศลวงศ์ (ภาพพิมพ์)

นายทวน ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายปริญญา ตันติสุข (จิตรกรรม) นายไพบูลย์ มงคลเสาร์สุข (จิตรกรรม) นางสาวเรวดี ใจชุ่ม (จิตรกรรม) นายจักรพันธ์ วิลาสินีกุล (ประติมากรรม) นายวันเจริญ จ่าปะคัง (ประติมากรรม) นายสมโภชน์ แซ่อั่ง (ประติมากรรม) นายไชยยศ จันทราทิตย์ (ภาพพิมพ์) นายถาวร โกอุดมวิทย์ (ภาพพิมพ์) นายทวีพร แซ่คิว (ภาพพิมพ์) นายปรีชา ปั้นกล่ำ� (ภาพพิมพ์) นายวิจิตร อภิชาติเกรียงไกร (ภาพพิมพ์) นางสาวอารยา ราษฎร์จำ�เริญสุข (ภาพพิมพ์)

ครั้งที่ 34

(3-20 สิงหาคม 2531) (15-30 ตุลาคม 2531)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พุทธสถาน จังหวัดเชียงใหม่

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายประสงค์ ลือเมือง (จิตรกรรม) นายชาติชาย ปุยเปีย (จิตรกรรม) นายอรัญ หงษ์โต (จิตรกรรม) นายสมโภชน์ แซ่อั่ง (ประติมากรรม) นายเข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นายวิจิตร อภิชาติเกรียงไกร (ภาพพิมพ์) นายญาณวิทย์ กุญแจทอง (ภาพพิมพ์)

นายธีระวัฒน์ คะนะมะ นายพยัต ชื่นเย็น นายวัฒนา ทิพยวัฒน์ นายมานพ สุวรรณปิณฑะ นายหริธร อัครพัฒน์ นางจุฑารัตน์ วิทยา นายชัยศักดิ์ ชัยบุญ นายนพฤทธิ์ มิ่งมงคลเมือง นายสุรสีห์ กุศลวงศ์

ครั้งที่ 35

(2-30 สิงหาคม 2527)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายถาวร โกอุดมวิทย์ (ภาพพิมพ์) นายชาติชาย ปุยเปีย (จิตรกรรม) นายเข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นายหริธร อัครพัฒน์ (ประติมากรรม) นายวิจิตร อภิชาติเกรียงไกร (ภาพพิมพ์) นายวิระพงศ์ ภาดรศักดิ์ (ภาพพิมพ์) นายสุรสีห์ กุศลวงศ์ (ภาพพิมพ์)

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)

รางวัลเหรียญทองแดง นายชุมพล อักพันธานนท์ (จิตรกรรม) นายบุญหมั่น คำ�สะอาด (จิตรกรรม) นายรุ่ง ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายสมรรถ สุวรรณพงษ์ (จิตรกรรม) นายสราวุท ตันณีกุล (จิตรกรรม) นายถนอมจิตร์ ชุ่มวงค์ (ประติมากรรม) นายเสวก สงเคราะห์ (ประติมากรรม) นางสาววิมลมาลย์ ขันธะชวนะ (ภาพพิมพ์) นายสมเกียรติ เจริญวิวัฒน์สกุล (ภาพพิมพ์)

151


ครั้งที่ 35

(2-30 สิงหาคม 2527)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลเหรียญทองแดง

นายถาวร โกอุดมวิทย์ (ภาพพิมพ์) นายชาติชาย ปุยเปีย (จิตรกรรม) นายเข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นายหริธร อัครพัฒน์ (ประติมากรรม) นายวิจิตร อภิชาติเกรียงไกร (ภาพพิมพ์) นายวิระพงศ์ ภาดรศักดิ์ (ภาพพิมพ์) นายสุรสีห์ กุศลวงศ์ (ภาพพิมพ์)

นายชุมพล อักพันธานนท์ (จิตรกรรม) นายบุญหมั่น คำ�สะอาด (จิตรกรรม) นายรุ่ง ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายสมรรถ สุวรรณพงษ์ (จิตรกรรม) นายสราวุท ตันณีกุล (จิตรกรรม) นายถนอมจิตร์ ชุ่มวงค์ (ประติมากรรม) นายเสวก สงเคราะห์ (ประติมากรรม) นางสาววิมลมาลย์ ขันธะชวนะ (ภาพพิมพ์) นายสมเกียรติ เจริญวิวัฒน์สกุล (ภาพพิมพ์)

ครั้งที่ 36

(8-30 สิงหาคม 2533) (15-30 กันยายน 2533)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายสิทธิชัย ปรัชญารัติกุล (ภาพพิมพ์) นายสราวุท ตันณีกุล (จิตรกรรม) นายสุพจน์ สิงห์สาย (จิตรกรรม) นายเข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นายธวัชชัย หงษ์แพง (ประติมากรรม) นายเฉลิมศักดิ์ รัตนจันทร์ (ภาพพิมพ์) นายสมเกียรติ เจริญวิวัฒน์สกุล (ภาพพิมพ์)

นายบุญหมั่น คำ�สะอาด นายอรัญ หงษ์โต นายจุมพล อุทโยภาศ นายยงยุทธ พินิจพงศ์ นายหริธร อัครพัฒน์ นายพงษ์ศักดิ์ พุทธเจริญ นางสาววิมลมาลย์ ขันธะชวนะ นายสัมพันธ์ พงษ์บุปผา

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)

ครั้งที่ 37

(6-25 สิงหาคม 2534) (15-30 กันยายน 2534)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายปริญญา ตันติสุข (จิตรกรรม) นายจุมพล อุทโยภาศ (ประติมากรรม) นายธวัชชัย หงษ์แพง (ประติมากรรม) นางสาวกันจณา ดำ�โสภี (ภาพพิมพ์) นายปิติวรรธน์ สมไทย (ภาพพิมพ์) นายวิโชค มุกดามณี (สื่อประสม)

นายธงชัย ศรีสุขประเสริฐ (จิตรกรรม) นายเนติกร ชินโย (จิตรกรรม) นายสมพงษ์ สารทรัพย์ (จิตรกรรม) นายสมรรถ สุวรรณพงษ์ (จิตรกรรม) นายพิทักษ์ สง่า (ประติมากรรม) นายมานพ สุวรรณปิณฑะ (ประติมากรรม) นายอำ�นวย กันทะอินทร์ (ประติมากรรม) นายนที อุตฤทธิ์ (ภาพพิมพ์) นายวรา ชัยนิตย์ (ภาพพิมพ์) นายชัยพร แซ่เล้า (สื่อประสม) นายวีระศักดิ์ พนารมย์ (สื่อประสม)

ครั้งที่ 38

(15 กันยายน - 5 ตุลาคม 2535)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายปริญญา ตันติสุข (จิตรกรรม) นายอำ�นวย กันทะอินทร์ (ประติมากรรม) นายถาวร โกอุดมวิทย์ (ภาพพิมพ์) 152

นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ นายสงกรานต์ สุดหอม นายนรินทร์ รัตนจันทร์ นายปิติวรรธน์ สมไทย นายอมรเทพ มหามาตร

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม)

รางวัลเหรียญทองแดง นายวุฒิกร คงคา (จิตรกรรม) นายสุริยะ มีชัย (ประติมากรรม) นายอดุลย์ บุญฉ่ำ� (ประติมากรรม) นายนิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ (ภาพพิมพ์) นายวิโชค มุกดามณี (สื่อประสม)


ครั้งที่ 39

(15กันยายน - 17ตุลาคม 2536) (19 - 25 กุมภาพันธ์ 2537)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก รางวัลเหรียญทองแดง

นายทินกร กาษรสุวรรณ (ภาพพิมพ์)

นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (จิตรกรรม) นายปริญญา ตันติสุข (จิตรกรรม) นายธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ (ประติมากรรม) นายอดุลย์ บุญฉ่ำ� (ประติมากรรม) นายนิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ (ภาพพิมพ์) นายปิติวรรธน์ สมไทย (ภาพพิมพ์) นายศักดิ์ชัย ดีทุม (สื่อประสม)

นายธงชัย ศรีสุขประเสริฐ (จิตรกรรม) นายจุมพล อุทโยภาศ (ประติมากรรม) นายพิทักษ์ สง่า (ประติมากรรม) นายอมร พิณพิมาย (ประติมากรรม) นายอุดม ฉิมภักดี (ประติมากรรม) นายสิทธิชัย ปรัชญารัติกุล (ภาพพิมพ์) นายชัยพร แซ่เล้า (สื่อประสม)

ครั้งที่ 40

(15 กันยายน - 16 ตุลาคม 2537) (6 - 27 ธันวาคม 2537)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายสุรพงษ์ สมสุข (ภาพพิมพ์) นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (จิตรกรรม) นายปริญญา ตันติสุข (จิตรกรรม) นายหริธร อัครพัฒน์ (ประติมากรรม) นายปิยะ เจริญเมือง (ภาพพิมพ์) นายนฤพนธ์ บูรณะบัญญัติ (สื่อประสม)

นายชัยวุฒิ ร่วมฤดีกูล นายธงชัย ศรีสุขประเสริฐ นายเนติกร ชินโย นายธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ นายสมหมาย มาอ่อน นายทินกร กาษรสุวรรณ นายปิติวรรธน์ สมไทย นางสาวยุพา ชั่งกุล นายอภิชาติ แสงไกร นายศรัณย์ โรจนพนัส

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม)

ครั้งที่ 41

(15 กันยายน - 8 ตุลาคม 2538)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (จิตรกรรม) นายไพโรจน์ วังบอน (จิตรกรรม) นายเข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นายศิริวัฒน์ อื้อฮก (ประติมากรรม) นายวรกรณ์ เมธมโนรมย์ (ภาพพิมพ์) นายชัยพร ระวีศิริ (ภาพพิมพ์)

นางสาวศิริกร อิ่นคำ� (จิตรกรรม) นายทวีศักดิ์ ศรีทองดี (จิตรกรรม) นายวิจิตร อภิชาติเกรียงไกร (ประติมากรรม) นายเจริญ ว่องปรีชากุล (ประติมากรรม) นายธนิต มัชฌิมา (ภาพพิมพ์) นายสุรพงษ์ สมสุข (ภาพพิมพ์) นางสาวยุพา ชั่งกุล (ภาพพิมพ์)

ครั้งที่ 42

(15 กันยายน - 10 ตุลาคม 2539)

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ (ประติมากรรม) นายอนุพงษ์ คชาชีวะ (ภาพพิมพ์)

นายปริญญา ตันติสุข นายพิสิษฐ์ พันธ์เทียน นายไพโรจน์ วังบอน นายธวัชชัย หงษ์แพง นายนภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์ นายวรกรณ์ เมธมโนรมย์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์)

รางวัลเหรียญทองแดง นายธเนศ สนธิ นายวรสิทธิ์ พรมจอม นายไชยยศ กิตติการอำ�พล นายปรีชา ปั้นกล่ำ� นายสุรพงษ์ สมสุข นางสาวยุพา ชั่งกุล

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)

153


ครั้งที่ 43 รางวัลเหรียญทอง

(5 - 28 กันยายน 2540)

รางวัลเหรียญเงิน

ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า รางวัลเหรียญทองแดง

นายไพโรจน์ วังบอน (จิตรกรรม) นายวุฒิกร คงคา (จิตรกรรม) นายศิวดล สิทธิพล (ประติมากรรม) นายชัยพร ระวีศิริ (ภาพพิมพ์) นายสุรพงษ์ สมสุข (ภาพพิมพ์) นายอนุพงษ์ คชาชีวะ (ภาพพิมพ์)

นายสนสิริ สิริสิงห์ นายสุพจน์ สิงห์สาย นางกรธนา กองสุข นายอดิเรก โลหะกุล นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ นายอุดร จิรักษา นายสุพจน์ แสงมณี นายนรเศรษฐ์ โวศยกุล นายยุทธนา นิ่มเกตุ นายสมพงษ์ ลีระศิริ

ครั้งที่ 44

(4-30 กันยายน 2541) (4-26 พฤศจิกายน 2541) (4 ธันวาคม 2541- 12 มกราคม 2542)

ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายแดง บัวแสน (สื่อประสม)

นายปริญญา ตันติสุข นายปรีกมล เชี่ยววานิช นายศิวดล สิทธิพล นายอดุลย์ บุญฉ่ำ� นายอุดม ฉิมภักดี นายธนสาร พัฒนสุทธิชลกุล นางสาววิริยา พูลสวัสดิ์

ครั้งที่ 45

(3-30 กันยายน 2542) (5-30 พฤศจิกายน 2542) (4-30 ธันวาคม 2542)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายแดง บัวแสน (สื่อประสม)

154

นายปริญญา ตันติสุข นายปรีกมล เชี่ยววานิช นายศิวดล สิทธิพล นายอดุลย์ บุญฉ่ำ� นายอุดม ฉิมภักดี นายธนสาร พัฒนสุทธิชลกุล นางสาววิริยา พูลสวัสดิ์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม)

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม)

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์)

รางวัลเหรียญทองแดง นายไพโรจน์ วังบอน นายสนสิริ สิริสิงห์ นายนภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์ นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ นายปิยะ พวงขุนเทียน นางสาวรัศมิ์ระวี ขำ�ดี นายรุ่ง ธีระพิจิตร

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม)

ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น รางวัลเหรียญทองแดง นายไพโรจน์ วังบอน นายสนสิริ สิริสิงห์ นายนภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์ นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ นายปิยะ พวงขุนเทียน นางสาวรัศมิ์ระวี ขำ�ดี นายรุ่ง ธีระพิจิตร

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม)


ครั้งที่ 46

(1-30 กันยายน 2543) (1-30 พฤศจิกายน 2543) (4-30 ธันวาคม 2543)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น รางวัลเหรียญทองแดง

นายนภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์ (ประติมากรรม) นายรุ่ง ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายมงคล เกิดวัน (สื่อประสม) นายโอภาส เจริญสุข (จิตรกรรม) นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ (ประติมากรรม) นายณัฐกมล ตั้งธนะพงศ์ (ภาพพิมพ์) นายทิพเนตร์ แย้มมณีชัย (สื่อประสม)

นายภานุ สรวยสุวรรณ นายศักชัย อุทธิโท นายศักดา ทิพย์วารี นายจิระเดช มีมาลัย นายณภัทร ธรรมนิยา นายศิระ สุวรรณศร นายทินกร กาษรสุวรรณ นายปกรณ์ภัทร์ จันทะไข่สร นายแดง บัวแสน นายทรงไชย บัวชุม

ครั้งที่ 47

(7 - 30 กันยายน 2544) (6 - 28 พฤศจิกายน 2544) (4 - 30 ธันวาคม 2544)

ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายพศุตม์ กรรณรัตนสูตร (ประติมากรรม) นายณภัทร ธรรมนิยา (ประติมากรรม) นายขจรพล เชิญขวัญศรี (ภาพพิมพ์) นายมงคล เกิดวัน (สื่อประสม)

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม) (สื่อประสม)

รางวัลเหรียญทองแดง นายเทอดเกียรติ หวังวัชรกุล นายภาณุพงศ์ ชูอรุณ นายรุ่ง ธีระพิจิตร นางสาววิรัญญา ดวงรัตน์ นายมานพ สุวรรณปิณฑะ นายศิระ สุวรรณศร นายอดิเรก โลหะกุล นายทินกร กาษรสุวรรณ นายแทนวุธธา ไทยสันทัด นายปิยะ เจริญเมือง นายปราการ จันทรวิชิต นายแดง บัวแสน นายทิพเนตร์ แย้มมณีชัย นางยุพา มหามาตร

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม) (สื่อประสม) (สื่อประสม)

155


ครั้งที่ 48

(6-29 กันยายน 2545) (1-30 พฤศจิกายน 2545) (4-30 ธันวาคม 2545) (9-31 มกราคม 2545)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ สำ�นักวิทยบริการ อาคาร A มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รางวัลเหรียญทองแดง

นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ (จิตรกรรม) นายเทอดเกียรติ หวังวัชรกุล (จิตรกรรม) นายอุดร จิรักษา (ประติมากรรม) นายณภัทร ธรรมนิยา (ประติมากรรม) นายญาณวิทย์ กุญแจทอง (ภาพพิมพ์) นายอนุพงษ์ คชาชีวะ (ภาพพิมพ์)

นายไพโรจน์ วังบอน (จิตรกรรม) นายจุมพล อุทโยภาศ (ประติมากรรม) นายชนม์ชนก ไชยเทพ (ประติมากรรม) นายศิวดล สิทธิผล (ประติมากรรม) นายสุรชัย ดอนประศรี (ประติมากรรม) นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ (ประติมากรรม) นายทัสนะ ก้อนดี (ภาพพิมพ์) นายธำ�รงค์ศักดิ์ นิ่มอนุสสรณ์กุล (ภาพพิมพ์) นายปราการ จันทรวิชิต (ภาพพิมพ์) นายวัชระ หวลภิรมย์ (ภาพพิมพ์) นายวุฒิพงษ์ โรจน์เขษมศรี (ภาพพิมพ์) นายแดง บัวแสน (สื่อประสม) นายทายาท สุทธิ์เสงี่ยม (สื่อประสม)

ครั้งที่ 49

(5 - 28 กันยายน 2546) (6 - 30 พฤศจิกายน 2546) (11 - 30 ธันวาคม 2546) (8 - 31 มกราคม 2546) (9 - 28 กุมภาพันธ์ 2547)

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยทักษิณ

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายประสิทธิ์ วิชายะ (ประติมากรรม) นายบุญช่วย เกิดรี (จิตรกรรม) นายขจรพล เชิญขวัญศรี (ภาพพิมพ์) นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ (จิตรกรรม) นายกิตติวัฒน์ อุ่นอารมณ์ (สื่อประสม) นายภานุ สรวยสุวรรณ (จิตรกรรม) นายฉัตรมงคล อินสว่าง (ประติมากรรม) นายพศุตม์ กรรณรัตนสูตร (ประติมากรรม) นางสาวปาริชาติ ศุภพันธ์ (ภาพพิมพ์) นายวุฒิพงษ์ โรจน์เขษมศรี (ภาพพิมพ์)

156

รางวัลเหรียญทองแดง นายทรงวุฒิ แก้ววิศิษฏ์ (จิตรกรรม) นายรุ่ง ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายเนติ วังรัตนกุล (ประติมากรรม) นายปกิต บุญสุทธิ์ (ประติมากรรม) นายสุรชัย ดอนประศรี (ประติมากรรม) นายอุดร จิรักษา (ประติมากรรม) นายญาณวิทย์ กุญแจทอง (ภาพพิมพ์) นายธนวัฒน์ สุริยะทองธรรม (ภาพพิมพ์) นายประสิทธิ์ชัย จรัสชัยวรรณา (ภาพพิมพ์) นางสาวมณี มีมาก (ภาพพิมพ์) นางสาวศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร (ภาพพิมพ์) นายณรัชต์ กลิ่นสุดใจ (สื่อประสม) นายทิพเนตร์ แย้มมณีชัย (สื่อประสม) นางสาวนุชนาฏ ใจกล้า (สื่อประสม) นางสาวเพ็ญแข เพ็งยา (สื่อประสม)


ครั้งที่ 50

(8 ก.ย. - 24 ต.ค. 2547) ณ ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัด นครปฐม (9 - 29 กันยายน 2547) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ (1 - 30 พฤศจิกายน 2547) ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (3 - 30 ธันวาคม 2547) ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (10 - 31 มกราคม 2548) ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (9 - 28 กุมภาพันธ์ 2548) ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายณภัทร ธรรมนิยา (ประติมากรรม) นายตนุพล เอนอ่อน (จิตรกรรม) นายอดิเรก โลหะกุล (ประติมากรรม) นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ (จิตรกรรม) นายรุ่ง ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายมานพ สุวรรณปินฑะ (ประติมากรรม) นายญาณวิทย์ กุญแจทอง (ภาพพิมพ์) นายธีรยุทธ อินทร์แก้ว (ภาพพิมพ์) นายพงศ์ศิริ คิดดี (ภาพพิมพ์) นายสุชาติ สุขนา (สื่อประสม) นายอนุสรณ์ ศิริปิ่น (สื่อประสม) ครั้งที่ 51

(9 ก.ย. - 30 ต.ค. 2548) (9 - 30 พฤศจิกายน 2548) (8 - 30 ธันวาคม 2548) (9 - 31 มกราคม 2549) (6 - 28 กุมภาพันธ์ 2549)

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญทองแดง นายธณฤษภ์ ทิพย์วารี นายนรากร สิทธิเทศ นายจารุพงษ์ พลชัย นายนิรัน แข็งขันธุ์ นายศุภเศรษฐ์ พันธุ นายทินกร กาษรสุวรรณ นายวิสา ห้องล่อง นายทิพเนตร์ แย้มมณีชัย นายประจักษ์ สุปันตี นางสาวเพ็ญแข เพ็งยา

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม) (สื่อประสม) (สื่อประสม)

ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี สำ�นักวิทยบริการ อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา

รางวัลเหรียญเงิน

นายอัฐพร นิมมาลัยแก้ว (จิตรกรรม) นายอนุพงษ์ จันทร (จิตรกรรม) นายวีรพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ (ภาพพิมพ์) นายธุดงค์ สุขเกษม (ประติมากรรม) นายสุชาติ สุขนา (สื่อประสม) นายพศุตม์ กรรณรัตนสูตร (ประติมากรรม) นายพิสิษฐ์ หัตถกรวิจิตร์ (ประติมากรรม) นายอาทิตย์ นันทพรพิพัฒน์ (ภาพพิมพ์)

รางวัลเหรียญทองแดง นายภานุ สรวยสุวรรณ (จิตรกรรม) นายณภัทร ธรรมนิยา (ประติมากรรม) นายมานพ สุวรรณปินฑะ (ประติมากรรม) นายสัญชัย คงกล่อม (ประติมากรรม) นายสุทธิศักดิ์ ภูธรารักษ์ (ประติมากรรม) นายอุทัย นพศิริ (ประติมากรรม) นางสาวชวนชม บุญมีเกิดทรัพย์ (ภาพพิมพ์) นายญาณวิทย์ กุญแจทอง (ภาพพิมพ์) นายทินกร กาษรสุวรรณ (ภาพพิมพ์) นายจีระชน บุญมาก (สื่อประสม) นายปรัชญา ลดาชาติ (สื่อประสม) นางสาวเพ็ญแข เพ็งยา (สื่อประสม)

157


ครั้งที่ 52

(7 กันยายน - 30 ตุลาคม 2549) (9 - 30 พฤศจิกายน 2549) (8 - 30 ธันวาคม 2549) (9 - 31 มกราคม 2550) (6 - 28 กุมภาพันธ์ 2550)

รางวัลเหรียญทอง

ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี สำ�นักวิทยบริการ อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา รางวัลเหรียญเงิน

นายอนุพงษ์ จันทร (จิตรกรรม) นายชัยณรงค์ กองกลิ่น (จิตรกรรม) นายสุวิทย์ มาประจวบ (ประติมากรรม) นายวีระศักดิ์ สัสดี (จิตรกรรม) นายมานพ สุวรรณปินฑะ (ประติมากรรม) นางสาวชวนชม บุญมีเกิดทรัพย์ (ภาพพิมพ์) นายวัชระ หวลภิรมย์ (ภาพพิมพ์) ครั้งที่ 53

(8 กันยายน - 30 ตุลาคม 2550) (2 - 25 พฤศจิกายน 2550) (7 - 28 ธันวาคม 2550) (9 - 31 มกราคม 2551) (6 - 28 กุมภาพันธ์ 2551) (6 - 29 มีนาคม 2551)

รางวัลเหรียญทอง

นายเกียรติอนันต์ เอี่ยมจันทร์ (จิตรกรรม) นายชูศักดิ์ ศรีขวัญ (จิตรกรรม) นายธณฤษภ์ ทิพย์วารีย์ (จิตรกรรม) นายรุ่ง ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายณภัทร ธรรมนิยา (ประติมากรรม) นายนที ทับทิมทอง (ประติมากรรม) นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ (ประติมากรรม) นางสาวปาริชาติ ศุภพันธ์ (ภาพพิมพ์) นางสาวพัดชา แก้วทองตาล (ภาพพิมพ์) นายวีรพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ (ภาพพิมพ์) นายประจักษ์ สุปันดี (สื่อประสม)

ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี สำ�นักวิทยบริการ อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี รางวัลเหรียญเงิน

นายอนุพงษ์ จันทร (จิตรกรรม) นายไชยวัฒน์ กุดาพันธ์ (ประติมากรรม) นายภัฎ พลชัย (ประติมากรรม) นางสาวชวนชม บุญมีเกิดทรัพย์ (ภาพพิมพ์) นายภาณุวัฒน์ สิทธิโชค (ภาพพิมพ์) นายชูศักดิ์ ศรีขวัญ (สื่อประสม) นายตฤณ กิตติการอำ�พล (สื่อประสม)

158

รางวัลเหรียญทองแดง

รางวัลเหรียญทองแดง นายธนฤษณ์ ทิพย์วารีย์ (จิตรกรรม) นายพิเชษฐ บุรพธานินทร์ (จิตรกรรม) นายรุ่ง ธีระพิจิตร (จิตรกรรม) นายสุพจน์ สิงห์สาย (จิตรกรรม) นายสุรพงษ์ สมสุข (จิตรกรรม) นายพิสิษฐ์ หัตถการวิจิตร (ประติมากรรม) นายภุชงค์ บุญเอก (ประติมากรรม) นายมานพ สุวรรณปิณฑะ (ประติมากรรม) นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ (ประติมากรรม) นายชัชวาล อ่ำ�สมคิด (สื่อประสม) นายพรเทพ นิลอ่อน (สื่อประสม) นายพิชิต เพ็ญโรจน์ (สื่อประสม) นางสาววิภาวรรณ เสนาะจิตต์ (สื่อประสม)


ครั้งที่ 54

(4 – 28 กันยายน 2551) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ (4 กันยายน - 26 ตุลาคม 2551) ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม (6 - 25 พฤศจิกายน 2551) ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (9 - 25 ธันวาคม 2551) ณ สำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (8 - 28 มกราคม 2552) ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี สำ�นักวิทยบริการ อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (3 - 28 กุมภาพันธ์ 2552) ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา (6 - 28 มีนาคม 2552) ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นายอัฐพล นิมมาลัยแก้ว (จิตรกรรม) นายอนุพงษ์ จันทร (จิตรกรรม) นายภัฎ พลชัย (ประติมากรรม) นายอภิชาต เอี่ยมวิจารณ์ (จิตรกรรม) นายมานพ สุวรรณปิณฑะ (ประติมากรรม) นายสันติสุข แหล่งสนาม (ประติมากรรม) นายวีรพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ (ภาพพิมพ์) นายชัชวาล อ่ำ�สมคิด (สื่อประสม) ครั้งที่ 55

รางวัลเหรียญทองแดง นายชัยณรงค์ กองกลิ่น นายมนัส เหลาอ่อน นางสาวลำ�พู กันเสนาะ นายภุชงค์ บุญเอก นายชัชวาล วรรณโพธิ์ นายมารุต ถาวรรัตน์ นายเฉลิมพล จั่นระยับ

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม)

(3 – 30 กันยายน 2552) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ (3 กันยายน - 25 ตุลาคม 2552) ณ หอศิลป์สนามจันทร์ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัด นครปฐม (5 - 24 พฤศจิกายน 2552) ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (1 - 24 ธันวาคม 2552) ณ สำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (7 - 27 มกราคม 2553) ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี สำ�นักวิทยบริการ อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (2 - 27 กุมภาพันธ์ 2553) ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา (5 - 27 มีนาคม 2553) ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี (9 – 30 มิถุนายน 2553) ณ หอศิลปะร่วมสมัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัด ชลบุรี

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

รางวัลเหรียญทองแดง

นายเกียรติอนันต์ เอี่ยมจันทร์ (จิตรกรรม) นางสาวเดือนฉายผู้ชนะ ภู่ประเสริฐ (จิตรกรรม) นายพัชรพงษ์ มีศิลป์ (จิตรกรรม) นายวีระศักดิ์ สัสดี (จิตรกรรม) นายวิษณุพงษ์ หนูนันท์ (จิตรกรรม) นายประสิทธิ์ วิชายะ (ประติมากรรม) นางสาวโชติรส เตชะพันธุ์วณิช (ประติมากรรม) นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ (ประติมากรรม) นายมานพ สุวรรณปิณฑะ (ประติมากรรม) นายเกรียงไกร กงกะนันทน์ (ภาพพิมพ์) นายทินกร กาษรสุวรรณ (ภาพพิมพ์) นายศุภโชค สนธิรัตน์ (สื่อประสม) นายวีรพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ (ภาพพิมพ์) นายชัชวาล อ่ำ�สมคิด (สื่อประสม)

159


ครั้งที่ 56

(7-30 กันยายน 2553) (7 กันยายน - 24 ตุลาคม 2553) (7 กันยายน - 24 ตุลาคม 2553) (4 - 23 พฤศจิกายน 2553) (1 - 24 ธันวาคม 2553) (6 - 26 มกราคม 2554) (1 - 26 กุมภาพันธ์ 2554) (4 - 26 มีนาคม 2554) (1 – 20 มิถุนายน 2554)

รางวัลเหรียญทอง

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ณ หอศิลป์วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ ณ หอศิลป์สนามจันทร์ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรจังหวัด นครปฐม ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ณ สำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี สำ�นักวิทยบริการ อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี ณ หอศิลปะร่วมสมัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัด ชลบุรี รางวัลเหรียญเงิน

นายสุพร แก้วดา (จิตรกรรม) นางสาวแก้วสุดา บุตรเนียน (จิตรกรรม) นายเจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ (จิตรกรรม) นางสาวเดือนฉายผู้ชนะ ภู่ประเสริฐ (จิตรกรรม) นายอัฐพร นิมมาลัยแก้ว (จิตรกรรม) นายกิตติ์เมธี พิธิพัฒน์เดชา (ประติมากรรม) นายสิทธิกร ขาวสะอาด (ประติมากรรม) นายอานนท์ สังวรดี (ภาพพิมพ์) นางสาวฉายดนัย ศิริวงศ์ (สื่อประสม) ครั้งที่ 57

(7 – 28 กันยายน 2554) (1 ตุลาคม- 5 พฤศจิกายน 2554) (7 - 26 พฤศจิกายน 2554) (4 - 26 พฤศจิกายน 2554) (1 - 24 ธันวาคม 2554) (4 - 24 ธันวาคม 2554) (6 - 26 มกราคม 2555) (1 - 26 มกราคม 2555)

รางวัลเหรียญทอง

นางสาวจิรัชยา พริบไหว (จิตรกรรม) นายมาตรา บูรณสิน (จิตรกรรม) นายรวีพล ประดิษฐ (จิตรกรรม) นายวิทยา หอทรัพย์ (จิตรกรรม) นายกรัญยศ ขาวพราย (ประติมากรรม) นายประสิทธิ์ วิชายะ (ประติมากรรม) นางสาวสกุณา แซ่เฮ้ง (ประติมากรรม) นางกัญจณา ดำ�โสภี (ภาพพิมพ์) นายชัชวาลย์ วรรณโพธิ์ (ภาพพพิมพ์) นายบุญมี แสงขำ� (ภาพพิมพ์) นายพงศ์ศิริ คิดดี (ภาพพิมพ์) นายมาฆะ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา (สื่อประสม)

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ณ หอศิลปะร่วมสมัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัด ชลบุรี ณ สำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี สำ�นักวิทยบริการ อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา รางวัลเหรียญเงิน

นายสุพร แก้วดา (จิตรกรรม) นายอัฐพร นิมมาลัยแก้ว (จิตรกรรม) นายประสิทธิ์ วิชายะ (ประติมากรรม) นางสาวกมลพันธุ์ โชติวิชัย (ภาพพิมพ์) นางสาวชลพรรษ แก้วใหม่ (สื่อประสม) นางสาวนิสา ศิริแส (สื่อประสม)

160

รางวัลเหรียญทองแดง

รางวัลเหรียญทองแดง นายขจรเดช หนิ้วหยิ่น นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ นายนิวัฒน์ จินดาวงศ์ นายสิทธิโชค วิเชียร นายสุรศักดิ์ แสนโหน่ง นายชัชวาลย์ วรรณโพธิ์ นางสาวพัดชา แก้วทองตาล นายประเสริฐ ยอดแก้ว นางสาวทันยา ศิริวรรณ

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม) (สื่อประสม)


ครั้งที่58 (7-26 กันยายน 2555) (7-26 ตุลาคม 2555) (4-26 ตุลาคม 2555) (4-26 พฤศจิกายน 2555) (1 - 21 ธันวาคม 2555) (4 - 24 ธันวาคม 2555) (6 - 26 มกราคม 2556) (1 - 26 มกราคม 2556) รางวัลเหรียญทอง

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ณ หอศิลปะร่วมสมัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัด ชลบุรี ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ณ สำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี สำ�นักวิทยบริการ อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา

รางวัลเหรียญเงิน

นางสาวกมลพันธุ์ โชติวิชัย (ภาพพิมพ์) นางสาวเดือนฉายผู้ชนะ ภู่ประเสริฐ (จิตรกรรม) นายสุทธิเกียรติ พุ่มพวง (จิตรกรรม) นายสุรชัย ดอนประศรี (ประติมากรรม) นายวารี แสงสุวอ (จิตรกรรม) นางสาวธนิษฐา นันทาพจน์ (สื่อประสม) ครั้งที่ 59

รางวัลเหรียญทองแดง นางสาวคีต์ตา อิสรั่น นายวิทยา หอทรัพย์ นายสันติ หวังชื่น นายสุพร แก้วดา นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ นายทินกร กาษรสุวรรณ นายบุญมี แสงขำ� นายวาฬ จิรชัยสกุล นางสาวพรวิภา สุริยากานต์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม)

(7 – 26 กันยายน 2556) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ (4 - 26 ตุลาคม 2556) ณ หอศิลปะร่วมสมัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี (1 - 26 ตุลาคม 2556) ณ สำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (7 - 26 พฤษจิกายน 2557) ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก (4 - 26 ธันวาคม 2557) ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (6 - 26 ธันวาคม 2557) ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี สำ�นักวิทยบริการ อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (1 - 26 มกราคม 2557) ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นางสาวยามีล๊ะ หะยี (จิตรกรรม) นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ (ประติมากรรม) นายจักรี คงแก้ว (ภาพพิมพ์) นายบุญมี แสงขำ� (ภาพพิมพ์) นางสาวธิดารัตน์ ชุ่มจังหรีด (สื่อประสม)

รางวัลเหรียญทองแดง นางสาวคีต์ตา อิสรั่น นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ นายสุพร แก้วดา นายเทอดทูน คำ�มงคุณ นายอนีส นาคเสวี นายบุญมี แสงขำ� นายวรัญญู ช่างประดิษฐ์ นางสาวหทัยรัตน์ รอดแก้ว นางสาวพรวิภา สุริยากานต์

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม) (สื่อประสม) (สื่อประสม)

161


ครั้งที่ 60

(7 – 26 กันยายน 2557) ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน กรุงเทพฯ (6 – 30 ตุลาคม 2557) ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี (3 - 22 ตุลาคม 2557) ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (3 – 31 ธันวาคม 2557) ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก (2 ธันวาคม 2557 – 30 มกราคม 2558) ณ หอศิลปะร่วมสมัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี (2-28 กุมภาพันธ์ 2558) ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี สำ�นักวิทยบริการ อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (2 - 27 มีนาคม 2558) ณ สำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

รางวัลเหรียญทอง นายสุพร แก้วดา (จิตรกรรม) ครั้งที่ 61

รางวัลเหรียญเงิน นายเกษมสันต์ ยอดสง่า นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ นายบุญมี แสงขำ� นายสุรศักดิ์ สอนเสนา นางเมตตา สุวรรณศร นางสาวสุกัญญา สอนบุญ

(จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์) (ภาพพิมพ์) (สื่อประสม) (สื่อประสม)

นายปริญญา ตันติสุข นางสาวยามีล๊ะ หะยี นางสาวสุจิตรา พาหุการณ์ นายประสิทธิ์ วิชายะ นางสาวกมลพันธุ์ โชติวิชัย

(จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (จิตรกรรม) (ประติมากรรม) (ภาพพิมพ์)

(5 – 25 ตุลาคม 2558) ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน กรุงเทพฯ (4 – 30 พฤศจิกายน 2558) ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (16 ธันวาคม 2558 – 15 มกราคม 2559) ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก (17 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม 2559) ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี สำ�นักวิทยบริการ อาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (10 - 29 มีนาคม 2559) ณ สำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (4 - 29 เมษายน 2559) ณ หอศิลปะร่วมสมัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี (17 พฤษภาคม – 17 มิถนุ ายน 2559) ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวฒ ั นา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี

รางวัลเหรียญทอง

รางวัลเหรียญเงิน

นางสาวธิติพรหม อ่อนเปี่ยม (จิตรกรรม) นายพรสวรรค์ นนทะภา (ประติมากรรม) นายประวีณ เปียงชมภู (ภาพพิมพ์) นายวุฒินท์ ชาญสตบุตร (สื่อประสม)

162

รางวัลเหรียญทองแดง

รางวัลเหรียญทองแดง นายเนติกร ชินโย (จิตรกรรม) นายสันติ หวังชื่น (จิตรกรรม) นายสุวัฒน์ บุญธรรม (จิตรกรรม) นายบุญเกิด ศรีสุขา (ประติมากรรม) นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ (ประติมากรรม) นางสาวกมลพันธุ์ โชติวิชัย (ภาพพิมพ์) นายญาณวิทย์ กุญแจทอง (ภาพพิมพ์) นายบุญมี แสงขำ� (ภาพพิมพ์) นางสาวจิรนันท์ จุลบท (สื่อประสม) นางเมตตา สุวรรณศร (สื่อประสม นางสาวสุนันทา ผาสมวงค์ (สื่อประสม)


163


รายนามศิลปินชั้นเยี่ยมจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 - 62 : พ.ศ. 2492 - 2559 List of Artists of Distinction from the 1st to 62nd National Exhibition of Art : 1949 - 2016 ลำ�ดับ No.

ประเภทศิลปินชั้นเยี่ยม Catagory of Artist of Distinction

ปี Year

จิตรกรรม Painting

พ.ศ.2494 A.D. 1951

1

นางมีเซียม ยิบอินซอย Mrs.Mesiem Yipintsoi

2

นายเขียน ยิ้มศิริ Mr.Khien Yimsiri

ประติมากรรม Sculpture

พ.ศ.2496 A.D.1953

3

นายสิทธิเดช แสงหิรัญ Mr.Sitthidej Saenghiran

ประติมากรรม Sculpture

พ.ศ.2496 A.D.1953

4

13

นายแสวง สงฆ์มั่งมี Mr.Sawaeng Songmangmee นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ Mr.Paitun Muangsomboon นายชิต เหรียญประชา Mr.Chit Rienpracha นายประสงค์ ปัทมานุช Mr.Prasong Padamanuja นายสวัสดิ์ ตันติสุข Mr.Sawasdi Tantisuk นายทวี นันทขว้าง Mr.Tawee Nandakwang นายเฟื้อ หริพิทักษ์ Mr.Fua Haripitak นายชลูด นิ่มเสมอ Mr.Chalood Nimsamer นายมานิตย์ ภู่อารีย์ Mr.Manit Poo-Aree นายอิทธิพล ตั้งโฉลก Mr.Ithipol Thangchalok

ประติมากรรม Sculpture ประติมากรรม Sculpture ศิลปะประยุกต์ Applied มัณฑณศิลป์ Decorative จิตรกรรม Painting จิตรกรรม Painting จิตรกรรม Painting จิตรกรรม Painting ภาพพิมพ์ Print Making ภาพพิมพ์ Print Making

พ.ศ.2496 A.D.1953 พ.ศ.2496 A.D.1953 พ.ศ.2496 A.D.1953 พ.ศ.2496 A.D.1953 พ.ศ.2498 A.D.1955 พ.ศ.2499 A.D.1956 พ.ศ.2500 A.D.1957 พ.ศ.2502 A.D.1959 พ.ศ.2505 A.D.1962 พ.ศ.2522 A.D.1979

14

นายปรีชา เถาทอง Mr.Preecha Thaothong

จิตรกรรม Painting

พ.ศ.2522 A.D.1979

15

17

นายประหยัด พงษ์ดำ� Mr.Prayat Pongdam นายเดชา วราชุน Mr.Decha Warashoon นายถาวร โกอุดมวิทย์ Mr.Thavorn Ko - Udomvit

ภาพพิมพ์ Print Making ภาพพิมพ์ Print Making ภาพพิมพ์ Print Making

พ.ศ.2524 A.D.1981 พ.ศ.2525 A.D.1982 พ.ศ.2535 A.D.1992

18

นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ Mr.Kiettisak Chanonnart

จิตรกรรม Painting

พ.ศ.2538 A.D.1995

19

นายเข็มรัตน์ กองสุข Mr.Khemrat Gongsuk นายอนุพงษ์ จันทร Mr.Anupong Chantorn นายอัฐพร นิมมาลัยแก้ว Mr.Uttaporn Nimmalaikaew นายประสิทธิ์ วิชายะ Mr.Prasit Vichaya

ประติมากรรม Sculpture จิตรกรรม Painting จิตรกรรม Painting ประติมากรรม Sculpture

พ.ศ.2538 A.D.1995 พ.ศ.2551 A.D.2008 พ.ศ.2554 A.D.2011 พ.ศ.2559 A.D.2016

5 6 7 8 9 10 11 12

16

20 21 22 164

รายนามศิลปิน Name


ตารางการส่งผลงานการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 44 - 62 (พ.ศ. 2541 - 2559) จำ�แนกตามประเภทผลงาน จำ�นวนผลงานที่ส่งได้ร่วมแสดง และได้รับรางวัล Table showing the classification of the exhibits, the numbers of the exhibits and the award-winning works from the 44th to the 62nd National Exhibition of Art ครั้งที่ No. จำ�นวนศิลปิน จำ�นวนงานที่ส่ง พ.ศ. Year Participants Entry 44/2541 45/2542 46/2543 47/2544 48/2545 49/2546 50/2547 51/2548 52/2549 53/2550 54/2551 55/2552 56/2553 57/2554 58/2555 59/2556 60/2557 61/2558 62/2559

160 190 158 122 171 194 206 228 199 219 225 213 243 270 225 171 200 174 152

294 339 284 222 305 360 350 360 330 352 347 314 405 458 371 278 293 243 208

จิตรกรรม Painting

ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อประสม Sculpture Print Making Mixed Media

157 182 152 109 164 141 138 200 211 207 195 188 226 280 199 161 144 139 109

33 38 44 35 21 52 56 41 15 45 54 32 50 54 45 26 39 23 29

77 92 58 60 96 134 128 89 72 68 69 80 87 95 101 63 79 58 48

งานที่ได้ร่วมแสดง No. of exhibits

27 27 30 18 24 33 28 30 32 32 29 41 42 29 26 28 31 23 22

93 103 109 103 138 150 88 91 97 97 173 88 108 127 75 61 82 66 66

งานที่ได้รับรางวัล AwardWinning works 15 16 17 18 19 25 21 20 18 22 15 14 21 15 15 14 12 15 14

ตารางการส่งผลงานในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 62 ประจำ�ปี 2559 จำ�แนกตามประเภทผลงาน จำ�นวนผลงานที่ส่ง, ผลงานรับรางวัล และผลงานร่วมแสดง ประเภทงาน จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อประสม รวมทั้งสิ้น

จำ�นวนผลงานทั้งสิ้น ศิลปิน 75 27 30 20 152

ผลงาน 109 29 48 22 208

ผลงานรับรางวัลแห่งชาติ เหรียญทอง 0 1 0 1 2

เหรียญเงิน 1 1 2 1 5

เหรียญทองแดง 3 2 1 1 7

ผลงานร่วมแสดง ศิลปิน 30 15 11 8 64

ผลงาน 31 15 12 8 66

รวมศิลปินและผลงาน ที่ได้จัดแสดงทั้งสิ้น ศิลปิน ผลงาน 34 113 19 19 14 15 11 11 78 158 165





Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.