พลิกหน้าประวัติศาสตร์! เกิดคลื่นความร้อนพร้อมกันสองขั้วโลก ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตกใจ

 

พลิกหน้าประวัติศาสตร์! เกิดคลื่นความร้อนพร้อมกันสองขั้วโลก ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตกใจ

 

 

โลกประหลาดอีก! เมื่อเกิดคลื่นความร้อนทั้งสองขั้วโลกพร้อมๆกัน นักวิทยาศาสตร์ชี้สัญญาณเตือนภัยของสภาพภูมิอากาศโลก โดยพื้นที่บริเวณแอนตาร์กติก พบอุณหภูมิสูงกว่าปกติที่ 40องศาC ขณะเดียวกัน บริเวณอาร์กติกในขั้วโลกเหนือแตะ 30องศาC เหนือระดับปกติ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

 

ปรากฏการณ์คลื่นความร้อน (Heatwaves) เกิดขึ้นในบริเวณแอนตาร์กติก (Antarctic) ซึ่งเป็นเขตขั้วโลกรอบขั้วโลกใต้ของโลก ด้วยอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาC จากระดับปกติ และในเวลาเดียวกันในบริเวณอาร์กติก (Arctic) ที่เป็นเขตรอบขั้วโลกเหนือ ก็เกิดคลื่นความร้อนแตะระดับ 30 องศาC เหนือระดับปกติ เกิดการละลายของน้ำแข็ง ซึ่งเสมือนว่าเป็นสัญญานเตือนภัยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ปรากฎการณ์ดังกล่าวแสดงการเสื่อมสลายของภูมิอากาศโลกโดยทั่วไปในช่วงเวลานี้ของปี จะเป็นช่วงเวลาที่แอนตาร์กติก จะเย็นลงหลังจากผ่านช่วงเวลาหน้าร้อน แต่สำหรับอาร์กติกจะค่อยๆ ออกจากช่วงฤดูหนาวโดยมีช่วงเวลากลางวันที่นานขึ้น แต่การเกิดภาวะคลื่นความร้อนขึ้นกับขั้วโลกทั้งสองในเวลาเดียวกัน เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในบริเวณขั้วโลก แสดงให้เห็นถึงผลของภาวะโลกร้อนที่ไปรบกวนระบบภูมิอากาศโลก จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ได้เตือนถึงสัญญานของการเปลี่ยนแปลง เช่น การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ที่จะไม่สามารถย้อนคืนสภาพได้อีก แต่ปรากฏการณ์คลื่นความร้อนในทั้งสองขั้วโลก เป็นสัญญานอันตรายที่จะทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย และส่งผลกระทบต่อเนื่อง เร่งให้เกิดการพังทลายของภูมิอากาศ

เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกในเขตอาร์กติกละลายลงน้ำแข็งที่เคยปกคลุมท้องทะเลซึ่งมีสีขาว และสามารถสะท้อนแสงและความร้อนออกไป แต่เมื่อละลายลงทะเลที่มีสีดำจะดูดซับความร้อนเข้ามามากขึ้น ส่งผลให้เป็นการเร่งการละลายของน้ำแข็งให้เร็วยิ่งขึ้น

 

Michael Mann (Director of the Earth System Science Centre) แห่ง Pennsylvania State University ได้แสดงความกังวลต่อระดับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าระดับคาดการณ์


ภาวะโลกร้อนของอาร์กติกและแอนตาร์กติกทำให้เกิดความกังวล และเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เพิ่มขึ้นสามเท่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่าง - ก็เป็นสาเหตุของความกังวลเช่นกัน " เขากล่าว โมเดลต่างๆ ทำงานได้ดีในการคาดการณ์ภาวะโลกร้อนโดยรวม แต่เราได้โต้แย้งว่าความสุดโต่งนั้นเกินการคาดการณ์ของแบบจำลอง เหตุการณ์เหล่านี้ขับเคลื่อนความเร่งด่วนของการดำเนินการเพื่อลดโลกร้อน

จากสถิติข้อมูลคลื่นความร้อนที่มีการบันทึกไว้ พบว่าบริเวณที่มีสภาพอากาศรุนแรงที่สุดคือ บริเวณ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ซึ่งขึ้นสูงถึงเกือบ 50 องศาC

 Mark Maslin ศาสตราจารย์ด้าน Earth System Science แห่ง University College London ได้แสดงความกังวลต่อเรื่องนี้ว่า “ฉันและเพื่อนร่วมงานตกใจกับจำนวนและความรุนแรงของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในปี 2564 ซึ่งไม่คาดคิดมาก่อนที่อุณหภูมิ 1.2 องศาเซลเซียส ตอนนี้เรามีอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในแถบอาร์กติก แสดงให้เห็นว่าเราได้เข้าสู่ช่วงใหม่ของสภาพอากาศที่รุนแรง เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่เราคาดไว้มาก”

นอกจากนี้สำนักข่าว AP ได้รายงานว่า สถานีตรวจอากาศแห่งหนึ่งใน Antarctica ได้รายงานสถิติอุณหภูมิที่สูงที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกมา ที่ 15องศาC ในขณะที่ผลการตรวจวัดจากสถานีอื่นตลอดแนวชายฝั่งซึ่งโดยปกติจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ว่ามีระดับอุณหภูมิสูงถึง 7องศาC เหนือจุดเยือกแข็ง

James Hansen อดีต NASA chief scientist ได้อธิบายและแสดงความกังวลต่อปรากฏการณ์นี้ว่า “ความหนาของน้ำแข็งทะเลโดยเฉลี่ยลดลง ดังนั้นมันจึงสุกงอมสำหรับการสูญเสียน้ำแข็งในทะเลขนาดใหญ่” “ผลกระทบของการปกคลุมของน้ำแข็งในทะเลที่ลดลงคือการเพิ่มความไม่สมดุลของพลังงานของโลกที่เกิดจากการเพิ่มก๊าซเรือนกระจก (GHGs)” “การปกคลุมของน้ำแข็งในทะเลที่ลดลงจะเพิ่มความไม่สมดุลของพลังงานของดาวเคราะห์ เนื่องจากมหาสมุทรที่มืดมิดสะท้อนแสงอาทิตย์น้อยกว่าน้ำแข็งในทะเล”

ข้อมูลอ้างอิง :
https://www.theguardian.com/environment/2022/mar/20/heatwaves-at-both-of-earth-poles-alarm-climate-scientists
https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-10635077/Earths-poles-undergoing-freakish-HEATWAVES-climate-scientists-warn.html

 

ที่มา : https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000029000

 

 

Visitors: 1,227,132