ดวงอาทิตย์ (The Sun)

ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต

sun1

ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุก ๆ 1,400 ปี

ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ที่พื้นผิวใช้เวลาประมาณ 25 วัน ที่บริเวณศูนย์สูตร และประมาณ 36 วันบริเวณขั้ว แต่เมื่อลึกลงไปใช้ชั้นหมุนวน จะใช้เวลาประมาณ 27 วัน

ดวงอาทิตย์เป็นวัตถุที่เด่นชัดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ เช่นเดียวกับดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ โดยทั่วไป ดวงอาทิตย์มีความร้อน ส่องแสงได้ด้วยตัวเองมีมวลประมาณ 99.8% ของมวลรวมทั้งหมด มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1,391,000 กิโลเมตร มีมวลประมาณ 332,000 เท่าของโลก ซึ่งถ้าเอาโลกมาเรียงกันตามแนวเส้นศูนย์สูตรจะต้องใช้โลกถึง 109 ดวง และถ้าเอาโลกใส่เข้าไปในดวงอาทิตย์จะใส่โลกเข้าไปได้ถึง 1.3 ล้านโลก

ชาวกรีกเรียกดวงอาทิตย์ว่า Helios ส่วนชาวโรมันเรียกว่า Sol

ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งของแสงสว่าง ความร้อน และพลังงานของระบบสุริยะ แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์เป็นตัวทำให้คงสภาพของระบบสุริยะอยู่ได้

ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยธาตุหลักเพียง 2 ธาตุ คือ ไฮโดรเจน 92.1% และ ฮีเลียม 7.8% ยังมีธาตุอื่นๆ อีกประมาณ 0.1% สัดส่วนของส่วนประกอบจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พลังงานของดวงอาทิตย์ได้จากปฏิกิริยาทางนิวเคลียร์ที่เปลี่ยนไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมในบริเวณแกนกลางของดวงอาทิตย์ โดยขบวนการนิวเคลียร์ฟิวชัน ดวงอาทิตย์ทำการเปลี่ยนไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมด้วยอัตรา 4 ล้านตันต่อวินาที ซึ่งจากอัตรานี้ดวงอาทิตย์จะมีอายุประมาณ 30 พันล้านปี พลังงานที่ปลดปล่อยออกจากดวงอาทิตย์ประมาณ 30 x 1016 วัตต์ หรือประมาณ 3.86 x 1033 ergs/second

ข้อมูลจาก wikipedia.com บอกว่า ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่น ๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว

ดวงอาทิตย์ มิได้ไร้ญาติขาดมิตร ก่อตัวขึ้นครั้งแรก มีดาวนับร้อยดวงเป็นกลุ่มกระจุกดาว (Star cluster) ภายหลังได้กระจัดกระจาย ห่างไกลกันออกไป จึงเหลือเพียงดวงเดียว ทำหน้าที่เป็น ดาวศูนย์กลางระบบสุริยะ

ต้นกำเนิดครอบครัวดวงอาทิตย์ เมื่อ 4.6 พันล้านปี ดวงอาทิตยได้ก่อขึ้น ท่ามกลางกลุ่มกระจุกดาว นับร้อยดวง คล้ายครอบครัวใหญ่ โดยหมุนโคจร ตามกันไปทั้งกลุ่ม ในทางช้างเผือก (Milky way galaxy) ต่อมากลุ่มดาว เหล่านั้น เริ่มถอยห่างไกลกันออกไป และบางดวงอ่อนแรงลง บางดวงแปรขบวนเปลี่ยนทิศทาง จากสนามแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นกลไกในกาแล็คซี่ (Galaxy) รูปแบบการโคจร จึงกระจัดกระจาย ดวงอาทิตย์ จึงห่างไกลจากดวงดวงอื่นๆจากกลุ่มเดียวกัน

sun5

การกำเนิดของดวงอาทิตย์เชื่อว่าเกิดจากการรวมตัวของวัตถุในอวกาศ ในขั้นตอนเริ่มต้นของการเกิด ดวงอาทิตย์อาจเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่าเมฆฝุ่น (dust cloud) ซึ่งได้จากการรวมกลุ่มของฝุ่นและก๊าซด้วยแรงดึงดูด เมื่อเมฆฝุ่นหนาแน่นขึ้นจนไม่มีสภาพของช่องว่างซึ่งเป็นจุดเริ่มของดวงอาทิตย์ เรียกขั้นตอนนี้ว่า เนบิวลา (nebula)

ขณะเดียวกัน โครงสร้างการ ก่อตัวขึ้น ของดวงอาทิตย์ วัตถุดิบมวลสาร (Mass) ส่วนหนึ่งได้จาก แหล่งกำเนิดซึ่งประกอบด้วย กลุ่มรังสี -ก๊าซ ฝุ่นหมอก ที่เรียกว่า เนบิวล่า (Nebula) เหลือจากการรวมตัว ของ ดวงอาทิตย์ ได้ถูกแรงโน้มถ่วง ของดวงอาทิตย์เอง สะสมในรัศมีกว้างใหญ่ ซึ่งหมุนเป็นแผ่นจานกลม (Disk) รอบๆ ต่างเริ่มรวมตัวกันไปด้วย จากระยะเวลายาวนาน มวลสสารเหล่านั้น กลายเป็นก้อนกลม ใหญ่โตขึ้นตามลำดับ เป็น ดาวเคราะห์หิน (Terrestrial Planets) ดาวเคราะห์ก๊าซ (Jovian Planets) และ ดาวเคราะห์น้อยต่างๆ ในแถบดาวเคราะห์น้อย

หลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ผ่านสภาพการเป็นดาวยักษ์แดงแล้ว อุณหภูมิจากปฏิกิริยาการหลอมฮีเลียมที่เพิ่มสลับกับลงภายในแกน ก็จะเป็นตัวการให้ผิวดวงอาทิตย์ด้านนอกผละตัวออกจากแกน เกิดเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ แล้วอันตรธานไปในความมืดมิดของอวกาศ และเป็นวัสดุสำหรับสร้างดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป ส่วนแกนที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนจัดและมีแสงจางมาก ก่อนจะดับลงกลายเป็นดาวแคระดำ จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือชีวิตของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลาง

โครงสร้างของดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีมวลคิดเป็นร้อยละ 99 ของระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีรูปทรงเกือบเป็นทรงกลม โดยมีความแบนที่ขั้วเพียงหนึ่งในเก้าล้าน ซึ่งหมายความว่าความแตกต่างของเส้นผ่านศูนย์กลางที่ขั้วกับเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตรมีเพียง 10 กิโลเมตร จากการที่ดวงอาทิตย์มีเฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมา ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็ง ทำให้อัตราเร็วของการหมุนรอบตัวเองในแต่ละส่วนมีความต่างกัน เช่นที่เส้นศูนย์สูตรจะหมุนเร็วกว่าที่ขั้ว ที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์มีคาบการหมุนรอบตัวเอง 25 วัน ส่วนที่ขั้วมีคาบ 35 วัน แต่เมื่อสังเกตบนโลกแล้วจะพบว่าคาบของการหมุนรอบตัวเองที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์คือ 28 วัน

ดวงอาทิตย์มีความหนาแน่นมากที่สุดบริเวณแกน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงาน และมีค่าน้อยลงเกือบเป็นรูปเอ็กโพเนนเชียลตามระยะทางที่ห่างออกมาจากแกน และแม้ว่าภายในดวงอาทิตย์นั้นจะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถศึกษาภายในได้ผ่านทางการใช้คลื่นสะเทือนในดวงอาทิตย์

ส่วนแกนของดวงอาทิตย์สันนิษฐานว่ามีรัศมีเป็น 0.2 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ ความหนาแน่นประมาณ 150,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 150 เท่าของความหนาแน่นของน้ำบนโลก อุณหภูมิประมาณ 13,600,000 เคลวิน ตลอดชีวิตส่วนใหญ่ของดวงอาทิตย์ ภายในแกนจะมีปฏิกิริยาฟิวชันลูกโซ่ โปรตอน-โปรตอน ซึ่งเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม พลังงานที่ได้นี้ทำให้ส่วนที่เหลือของดวงอาทิตย์สุกสว่างและเปล่งแสง

ทุก ๆ วินาที จะมีนิวเคลียสของไฮโดรเจน 3.4×1038 ตัว ถูกแปรรูปเป็นฮีเลียม ผลิตพลังงานได้ 383×1024 จูล หรือเทียบได้กับระเบิดไตรไนโตรโทลูอีน (TNT) ถึง 9.15×1019 กิโลกรัม พลังงานจากแกนของดวงอาทิตย์ใช้เวลานานมากในการขึ้นสู่พื้นผิว อย่างมากเป็น 50 ล้านปี อย่างน้อยเป็น 17,000 ปี เพราะโฟตอนพลังงานสูง (รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา) ถูกดูดกลืนไปในพลาสมา แล้วเปล่งพลังงานออกมาสลับกันเรื่อย ๆ ทุก ๆ ระยะไม่กี่มิลลิเมตร

sun3
ภาพประกอบโครงสร้างของดวงอาทิตย์

เขตแผ่รังสีความร้อน
ในส่วนของเขตแผ่รังสีความร้อน (radiation zone) ซึ่งอยู่ในช่วง 0.2 ถึง 0.7 ส่วนของรัศมีดวงอาทิตย์ ในชั้นนี้ไม่มีการพาความร้อน (convection) เพราะอัตราความแตกต่างของอุณหภูมิเทียบกับระยะความสูงน้อยกว่าอัตราการเปลี่ยนอุณหภูมิตามความสูงแบบอะเดียแบติก (adiabatic lapse rate) พลังงานในส่วนนี้ถูกนำออกมาภายนอกช้ามากดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนแล้ว

เขตพาความร้อน
ในส่วนของเขตพาความร้อน (convection zone) ซึ่งอยู่บริเวณผิวนอกที่เหลือ เป็นส่วนที่พลังงานถูกถ่ายเทผ่านแท่งความร้อน (heat column) โดยเนื้อสารที่ร้อนและมีพลังงานเริ่มต้นจากด้านล่าง แล้วไหลขึ้นด้านบนจนถึงผิว จากนั้นถ่ายเทความร้อนและกลับลงไปใหม่ แท่งความร้อนสามารถสังเกตได้จาก “เกล็ด” บนภาพถ่ายผิวดวงอาทิตย์

โฟโตสเฟียร์
ในส่วนของโฟโตสเฟียร์ (photosphere) แปลว่า ทรงกลมแห่งแสง ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็นดวงอาทิตย์ แสงสว่างที่เปล่งในดวงอาทิตย์นั้นเกิดจากอิเล็กตรอนชนกับอะตอมไฮโดรเจนเกิดเป็น H- เหนือชั้นนี้ แสงอาทิตย์ก็จะถูกปลดปล่อยออกมา และมีอุณหภูมิต่ำลงตามความสูงที่มากขึ้น จนทำให้สังเกตเห็นรอยมัวตรงขอบดวงอาทิตย์ในภาพถ่าย (ดังภาพถ่ายด้านบน)

sun4

บรรยากาศของดวงอาทิตย์ ประกอบด้วย 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นอุณหภูมิต่ำสุด (temperature minimum) โครโมสเฟียร์ (chromosphere) เขตเปลี่ยนผ่าน (transition region) โคโรนา (corona) และเฮลิโอสเฟียร์ (heliosphere) ตามลำดับจากต่ำไปสูง

ชั้นแรก ชั้นอุณหภูมิต่ำสุด มีอุณหภูมิประมาณ 4,000 เคลวิน และหนา 500 กิโลเมตร ชั้นถัดไปคือโครโมสเฟียร์ ซึ่งแปลว่ารงคมณฑล หรือทรงกลมแห่งสี เหตุที่เรียกชื่อนี้ก็เพราะเห็นเป็นแสงสีแวบขณะเกิดสุริยุปราคา ชั้นนี้หนา 2,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิติดลบถึง -100,000 องศาเซลเซียส ชั้นต่อไปเป็นเขตเปลี่ยนผ่านซึ่งอุณหภูมิอาจติดลบถึงล้านเคลวิน และยิ่งต่ำขึ้นไปอีกในชั้นโคโรนา ทำให้สิ่งนี้เป็นปัญหาคาใจนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการต่อเชื่อมทางแม่เหล็ก (magnetic connection) ชั้นที่เหลือชั้นสุดท้ายคือ เฮลิโอสเฟียร์ หรือสุริยมณฑล คือชั้นที่อำนาจของลมสุริยะสามารถไปถึง ซึ่งอาจมากกว่า 20 หน่วยดาราศาสตร์ (20 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์)

ชั้นผิวนอกสุดของดวงอาทิตย์แสดงให้เห็นถึง ความเร็วในการหมุนที่แตกต่างกัน บริเวณที่เป็นศูนย์สูตรจะใช้เวลาหมุน 25.4 วัน ส่วนบริเวณขั้วจะใช้เวลาหมุน 36 วัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวเกิดเนื่องจากว่าดวงอาทิตย์เป็นวัตถุที่มีสถานะไม่เป็นของแข็ง ความแตกต่างของการหมุนน่าจะเกิดขึ้นกับส่วนของโครงสร้างภายในด้วย ส่วนที่เป็นแกนกลางของดวงอาทิตย์มีการหมุนในลักษณะที่เป็นของแข็ง

พื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า photosphere มีอุณหภูมิประมาณ 5800 K และความดันประมาณ 340 เท่าของพื้นโลกที่ระดับน้ำทะเล มีจุดดับ (sunspots) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ คือประมาณ 3800 K จุดดับอาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 50,000 กิโลเมตร สาเหตุของการเกิดยังมีความซับซ้อนและไม่เข้าใจถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็ก

บริเวณที่เรียกว่า chronosphere วางตัวอยู่เหนือชั้น photosphere พลังงานจากภายในดวงอาทิตย์ถูกส่งผ่านบริเวณนี้ ส่วนบริเวณที่อยู่เหนือ chronosphere เรียกว่า corona เป็นส่วนนอกสุดของบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ซึ่งขยายตัวออกสู่บรรยากาศเป็นระยะทางหลายล้านกิโลเมตร แต่จะสามารถสังเกตเห็นได้เฉพาะเมื่อเกิดสุริยุปราคา (eclipse) อุณหภูมิบริเวณ corona ประมาณ 1,000,000 K

สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์มีความเข้มสูงมากและมีความซับซ้อนมาก ส่วนของ magnetosphere หรืออาจเรียกว่า heliosphere ขยายออกไปจนถึงดาวพลูโต

นอกจากแสงสว่างและความร้อนที่ได้จากดวงอาทิตย์แล้ว ดวงอาทิตย์ยังปลดปล่อยอนุภาคขนาดเล็กที่มีประจุ เซ่น อิเลคตรอนและโปรตอน ซึ่งเรียกกันว่า ลมสุริยะ (solar wind) ซึ่งแพร่กระจายออกไปในระบบสุริยะด้วยความเร็วประมาณ 450 กิโลเมตรต่อวินาที ลมสุริยะและอนุภาคพลังงานสูงที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ สามารถไปรบกวนตั้งแต่ระบบสายไฟฟ้าจนถึงระบบสื่อสารคลื่นวิทยุ หรืออาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า aurora borealis ลมสุริยะยังมีผลต่อความยาวของดาวหาง

ดวงอาทิตย์ซึ่งเชื่อว่ามีอายุประมาณ 4.5 พันล้านปี ได้ใช้ไฮโดรเจนไปครึ่งหนึ่งแล้ว และจะยังคงสามารถปลดปล่อยพลังงานได้อีกประมาณ 5 พันล้านปี ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นฮีเลียมจะหลอมกลายเป็นธาตุที่มีน้ำหนักสูงขึ้น ขนาดของดวงอาทิตย์ก็จะขยายขึ้นด้วย ซึ่งอาจขยายใหญ่มาถึงโลกได้ เรียกดวงอาทิตย์ช่วงนี้ว่า ดาวยักษ์แดง (red giant) หลังจากนั้นจะเกิดการหดตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็น ดาวแคระขาว (white dwarf) ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการเกิดของดวงดาว และต้องใช้เวลาอีกเป็นพันพันล้านปีในการทำให้มันเย็นตัวลง

sun2

ดวงอาทิตย์จัดเป็นดาวฤกษ์รุ่นที่ 3 ซึ่งสันนิษฐานกันว่า ก่อตัวขึ้นโดยอิทธิพลของมหานวดาราที่อยู่ใกล้ ๆ เพราะมีการค้นพบธาตุหนัก เช่น ทองคำและยูเรเนียมในปริมาณมาก ซึ่งธาตุเหล่านี้อาจเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดดูดความร้อนขณะที่เกิดมหานวดารา หรือการดูดซับนิวตรอนในดาวฤกษ์รุ่นที่สองซึ่งมีมวลมาก

ปัจจุบันและอนาคตของดวงอาทิตย์ ตามการศึกษาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ว่าด้วยวัฏจักรดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,570 ล้านปี ในขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในลำดับหลัก ทำการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม โดยทุก ๆ วินาที มวลสารของดวงอาทิตย์มากกว่า 4 ล้านตันถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดวงอาทิตย์ใช้เวลาโดยประมาณ 1 หมื่นล้านปีในการดำรงอยู่ในลำดับหลัก

sun6

เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของดวงอาทิตย์หมดลง วาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็มาถึง (คือการพ้นไปจากลำดับหลัก) โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มพบกับจุดจบคือการแปรเปลี่ยนไปเป็นดาวยักษ์แดงภายใน 4-5 พันล้านปี ผิวนอกของดวงอาทิตย์ขยายตัวออกไป ส่วนแกนนั้นยุบตัวลงและร้อนขึ้นสลับกับเย็นลง มีการหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนและออกซิเจนที่อุณหภูมิราว 100 ล้านเคลวิน จากสถานการณ์ข้างต้นดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์จะกลืนกินโลกให้หลอมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน แต่จากรายงานวิจัยฉบับหนึ่ง[7]ได้ศึกษาพบว่าวงโคจรของโลกจะตีตัวออกห่างดวงอาทิตย์เพราะมวลของดวงอาทิตย์ได้สูญเสียไป จนแรงดึงดูระหว่างมวลมีค่าลดลง แต่ถึงกระนั้น น้ำทะเลก็ถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาผลาญจนระเหยสิ้นไปในอวกาศ และบรรยากาศโลกก็อันตรธานไปจนไม่เอื้อแก่ชีวิตต่อมาได้มีการค้นพบ ว่าดวงอาทิตย์นั้นจะสว่างขึ้น 10 เปอร์เซนต์ ทุก ๆ 1000 ล้านปี ถึงตอนนั้นโลกก็ไม่อาจจะเอื้อ ต่อสิ่งมีชีวิตไปก่อนแล้ว เวลาของสิ่งมีชีวิตบนโลก จึงเหลือแค่ 500 ล้านปีเท่านั้น

มวล (กิโลกรัม)
มวล (โลก=1)
1.989 x 1030
332,830
รัศมีตามแนวศูนย์สูตร (กิโลเมตร)
รัศมีตามแนวศูนย์สูตร (โลก =1)
695,000
108.97
ความหนาแน่นเฉลี่ย (กรัม/ลูกบาศก์เซ็นติเมตร) 1.410
คาบการหมุนรอบตัวเอง (วัน) 25-36*
แรงดึงดูดที่พื้นผิวบริเวณศูนย์สูตร (เมตร/วินาที2) 2.78
อุณหภูมิที่พื้นผิวเฉลี่ย (เซลเซียส) 6,000
ส่วนประกอบของบรรยากาศ  
ไฮโดรเจน
ฮีเลียม
อื่นๆ
92.1%
7.8%
0.1%

วีดีโอยูทูป สารคดีความรู้ เรื่องดวงอาทิตย์ The Sun

วีดีโอยูทูป ท่องจักรวาล ความลับดวงอาทิตย์

วีดีโอยูทูป สุดยอดสารคดี ท่องจักรวาล ตอน ดวงอาทิตย์ และ ความลับที่คุณอาจยังไม่รู้ HD

วีดีโอยูทูป How Big Is The Sun?

————————————————————————————————–
data sources:
http://www.sunandstar.net
http://th.wikipedia.org
http://www.geol.science.cmu.ac.th/

ใส่ความเห็น