Enjoying your free trial? Only 9 days left! Upgrade Now
Home Explore กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่
Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes! Create your own flipbook
View in Fullscreen

กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่

Description: คู่มือกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่

Keywords: รองเท้านารีเหลืองกระบี่

Read the Text Version

No Text Content!

1 คูม่ อื กลว้ ยไม้รองเท้านารีของไทย ฝา่ ยปรับปรุงและพฒั นาพันธกุ รรมพืชและสัตว์ สานกั วิจยั และส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กันยายน 2561 2 คานา กล้วยไม้สกุลรองเท้านารีเป็นกล้วยไม้อีกสกุลหนึ่ง ที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธ์ุจาก แหล่งกาเนิด เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่มีความสวยงาม ดอกบานทนทาน ท้ังรูปลักษณ์และสีสัน แปลกตา จนทาให้ต้องมีการอนุรักษ์ไว้ โดยได้มีการกาหนดให้กล้วยไม้สกุลรองเท้านารีเป็นพืช อนุรักษ์ ในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 1 ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิด สัตว์ปุาและพันธุ์พืชที่กาลังจะสูญพันธ์ุ (Conventional on International Trade in Endangers Species of Wild Fauna and Flora : CITES) ซึ่งควบคุมไม่ให้มีการส่งออกกล้วยไม้รองเท้านารีที่ เกบ็ จากปุา ยกเว้นกรณีที่พืชอนุรักษ์เหล่านี้ ได้มาจากการขยายพันธ์ุเทียม อีกท้ังตามข้อตกลง ภาระงาน และพฤติกรรมการปฏิบัติงานราชการ (Term of Reference: TOR) รอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (ต้ังแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2561) ตามหลักเกณฑ์ และเง่ือนไขตามประกาศคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เร่ืองหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ สาหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังน้ัน ข้อตกลงภาระงานและพฤติกรรมการปฏิบัติราชการสาหรับบุคลากรสานักวิจัยฯ รอบ งบประมาณ 2561 ในการประเมินเลื่อนเงินเดือนและค่าจ้าง ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 จะต้องมีภาระงานเชิงพัฒนาในส่วนของการจัดทาคู่มือการปฏิบัติงาน/การวิจัยสถาบัน/ การสร้างนวัตกรรม/การจัดทาหรือปรับปรุงระเบียบข้อบังคับ จึงได้จัดทาคู่มือกล้วยไม้รองเท้า นารีของไทย ซึ่งเป็นการรวบรวมและเรียบเรียงจากการปฏิบัติงานและการศึกษาค้นคว้าจาก แหล่งต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดาเนินงาน และสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อ ผปู้ ฏิบัติงานและเกษตรกรผทู้ ี่สนใจได้นาไปใช้ตอ่ ไป นายธนวัฒน์ รอดขาว นายอดิศกั ดิ์ การพึ่งตน นางวิไลวรรณ สถาพรศรสี วัสดิ์ สารบญั 3 คานา หนา้ สารบญั สารบญั ภาพ (ก) บทนา (ข) ชนิดกล้วยไม้รองเท้านารี (ง) การจาแนกกล้วยไม้รองเท้านารี 1 ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ 1 กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ 6 การขยายพันธ์ุกล้วยไม้ 11 1. การขยายพันธุ์พืชภายในหอ้ งปฏิบตั ิการ 13 2. การขยายพันธุ์พืชภายนอกห้องปฏิบตั ิการ 15 การปลูกเลีย้ งกล้วยไม้ 15 ปจั จยั ทีเ่ กี่ยวข้องกบั การเจริญเติบโตของกล้วยไม้รองเท้านารี 17 1. โรงเรือน 18 2. แสงสว่าง 21 3. ความชืน้ สัมพทั ธ์ 21 4. อณุ หภูมิ 21 5. การเคลือ่ นที่ของอากาศ 22 6. วัสดปุ ลูกกล้วยไม้ 22 7. ภาชนะปลกู กล้วยไม้ 22 8. น้า 22 การดแู ลรักษา 25 1. การให้น้า 25 2. การให้ปุ๋ย 25 3. การเปลี่ยนเคร่อื งปลกู และกระถาง 26 4. การรักษาความสะอาดภายในโรงเรอื นและต้น 26 ศตั รูและการปูองกนั กาจัด 27 27 27 สารบญั (ต่อ) 4 1. โรคของกล้วยไม้ หน้า 2. ศัตรูของกล้วยไม้ 3. อันตรายจากวชั พืชและตะไคร่ 27 การปูองกันกาจัดศตั รกู ล้วยไม้โดยไม่ใช้สารเคมี 30 บรรณานกุ รม 32 32 34 5 สารบญั ภาพ รูปที่ หนา้ 1 ลักษณะต้น ใบ ดอก ฝัก รองเท้านารีเหลอื งกระบี่ 14 2 ต้นออ่ นกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบีใ่ นสภาพปลอดเช้ือ 16 3 ลกู กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบีท่ ี่ได้จากการออกขวด 20 4 ลกู กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่หลงั ย้ายปลูกในกระถาง 2 นวิ้ 20 5 ต้นกล้ากล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบีพ่ ร้อมให้ดอก ปลกู เลี้ยงในกระถาง 8 20 นิว้ 21 6 ลักษณะโรงเรือนเลีย้ งกล้วยไม้รองเท้านารีเหลอื งกระบี่ 24 7 เครือ่ งปลูกลกู กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ สแฟกน่มั มอส หนิ ภเู ขาไฟ 25 และเพอร์ไลท์ 8 เครือ่ งปลูกกล้วยไม้รองเท้านารเี หลืองกระบี่ อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ หินภเู ขาไฟ เปลือกไม้สน และหนิ เกล็ด 6 กล้วยไม้รองเทา้ นารี กล้วยไม้รองเท้านารี หรอื ทีภ่ าษาอังกฤษเรียกว่า Lady’s slipper หรือ Venus’s slipper มีความหมายว่า รองเท้าแตะของผู้หญิง เน่ืองจากส่วนของกระเป๋าดอก (pouch) มีลักษณะ เหมือนหัวรองเท้ายื่นออกมา (Bechtel et al., 1981 ; Arditti and Ernst, 1992) หรือใน ประเทศมาเลเซียมีภาษาถิ่นเรียกว่า Bunga Kasut ซึ่งแปลว่าดอกไม้ที่มีลักษณะเหมือนรองเท้า (Soon, 1989) กล้วยไม้รองเท้านารีเป็นพืชสกุลหนึ่ง ซึ่งทางวิชาการในสาขาพฤกษศาสตร์ จัดไว้ในวงศ์กล้วยไม้ (Family Orchidaceae) วงศ์ย่อย Cypripedioideae ซึ่งประกอบด้วย 4 สกุล (Genus) คือ Paphiopedilum, Cypripedium, Phragmipedium และ Selenepedium(Soon, 1989 ; Dressler, 1993) สาหรับกล้วยไม้รองเท้านารีที่พบในประเทศไทยทั้งหมดจัดอยู่ใน สกุล Paphiopedilum (ระพี, 2535) ซึ่งในอดีตก่อนปีคริสตศักราช 1886 Paphiopedilum ถูก จัดอยู่ในสกุล Cypripedium ต่อมา Emst Heinrich Pfitzer ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้จัดให้ Paphiopedilum แยกเป็นสกุลใหม่ต่างหาก โดยอาศัยระบบการจาแนกทางสัณฐาน วิทยา และลักษณะการเจริญเติบโต (Cribb, 1987) สาหรับกล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum ซึ่งมีถิ่นกาเนิดอยู่ในเขตร้อน พบในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมี การกระจายพันธุ์นับจากแนวเทือกเขาหิมาลัยลงมาสู่ตอนล่าง (Teob, 1989) ตั้งแต่ประเทศ จีนตอนใต้ อินเดีย พม่า ไทย ปาปัวนิวกินี (Bechtel et al., 1981 ; Soon, 1989) ลาว เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ (ระพี, 2535) และหมู่เกาะโซโลมอน (Cribb, 1987) พบอยู่ใน ธรรมชาติมากกว่า 70 สายพันธ์ุ และลูกผสมอีกหลากหลาย (Teob et al, 1989 ; Braem et al, 1998) สาหรับประเทศไทยที่ค้นพบมี 17 ชนิด(อุไร, 2550) ได้แก่ 1. รองเท้านารีคางกบคอแดง (Paphiopedilum appletonianum var. wolterianum) 7 2.รองเท้านารีม่วงสงขลา หรอื รองเท้านารีคางกบภาคใต้ (Paphiopedilum barbatum) 3. รองเท้านารีฝาหอย (Paphiopedilum bellatulum (Rchb. f. ) Pfitzer) 4. รองเท้านารีคางกบ หรอื รองเท้านารีไทยแลนด์ (Paphiopedilum callosum (Rchb. f. ) Stein ) 8 5. รองเท้านารีดอยตุง (Paphiopedilum charlesworthii (Rolfe ) Pfitzer ) 6. รองเท้านารีเหลืองปราจีน หรือรองเท้านารีเหลืองกาญจน์ หรือรองเท้านารีเหลืองอุดร (Paphiopedilum concolor (Lindl.) Pfitzer) 7. รองเท้านารีเหลอื งกระบี่ (Paphiopedilum exul (Ridl.) Kerch.) 9 8. รองเท้านารีขาวชมุ พร (Paphiopedilum godefroyae (Godef. – Led.) Stein) 9. รองเท้านารีเหลืองตรัง หรือรองเท้านารีเหลืองพังงา (Paphiopedilum godefroyae var. leucochilum (Master) Hallier) 10. รองเท้านารีเหลืองเลย (Paphiopedilum hirsutissimum (Lindl. Ex Hook) Stein var. esquirolei (Schltr.) Cribb) 10 11. รองเท้านารีขาวสตลู (Paphiopedilum niveum (Rchb. f.) Stein) 12. รองเท้านารีเมืองกาญจน์ หรือรองเท้านารีเชียงดาว (Paphiopedilum parishii (Rchb. f.) Stein) 13. รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือรองเท้านารีสุขะกูล (Paphiopedilum sukhakulii Schoser & Senghas) 11 14. รองเท้านารีอนิ ทนนท์ (Paphiopedilum villosum (Ldl.) Pfitz.) 15. รองเท้านารีช่องอ่างทอง (Paphiopedilum x Ang Thong) 16. รองเท้านารีอนิ ซิกเน่ (Paphiopedilum insigne) 17. รองเท้านารีเกาะช้าง (Paphiopedilum x Siamensis) การจาแนกกลว้ ยไมร้ องเทา้ นารี ด้วยเหตุที่รองเท้านารีแต่ละชนิดที่ค้นพบแล้วนั้น บางชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน มากในแต่ละท้องถิ่น การจาแนกระดับสกุลนั้นไม่เพียงพอในการกาหนดลักษณะของรองเท้า นารีให้ถกู ต้อง จงึ มกี ารจาแนกสกุล Paphiopedilum ออกเปน็ สกลุ ย่อย (อุไร, 2550) ดังน้ี 1. สกุลย่อย Brachypetalum เป็นรองเท้านารีที่พบตามซอกผาหินที่เป็น หินปูนดอกค่อนข้างเล็ก กลีบดอกรูปรีถึงค่อนข้างกลม กระเป๋ามักงุ้มลง ขอบเรียบ และมีจานวน โครโมโซม 2n = 26 สกุลย่อยนี้สามารถแบ่งได้เปน็ 2 หมู่ (อุไร, 2550) คือ 12 1.1. หมู่ Brachypetalum พบในเขตร้อนบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ตะวันออก เฉียงเหนือของพม่า เวียดนาม ไทย และตอนเหนือของมาเลเซีย ใบมักเป็นลายแต้ม หรือจุด ดอกสีขาว หรือเหลืองนวล มีจุดปะสีม่วงเข้มบนกลีบ กลีบดอกหนารูปรี กว้าง กระเป๋าเป็นรูปไข่ โล่เป็นรูปไข่จนถึงรูปรีแนวขวาง และมีหยักคล้ายฟันฉลามที่ปลายด้านล่าง 1 หรือ 3 แฉก ทุกชนิดเจริญเติบโตบนหินปูน มี 4 ชนิด ได้แก่ P.bellatulum P.concolor P.godefroyae และ P.niveum (Cribb, 1987) 1.2.หมู่ Parvisepalum พบบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และเวียดนาม ใบ เป็นลายเห็นได้เด่นชัด มีทั้งดอกเดี่ยวและดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกรูปรีกว้างถึง ค่อนข้างกลมมี 2 ชนิด ที่มีเส้นสีม่วงเข้ม และจากลงบนกลีบ กลีบดอกมีหลายสีขึ้นอยู่กับชนิด กระเป๋ารูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดใหญ่และบาง โล่มีหลายรูปแบบท้ังรูปหัวใจ และมีร่องยาวลึก จนถึงรปู ร่างทรงกลม ส่วนใหญ่เกสรตัวผู้เป็นก้อนกลม ทุกชนิดพบเจริญบนพื้นที่ที่มีหินปูน และพืชเฉพาะถิ่นมี 5 ชนิด ได้แก่ P.armeniacum P.delenatii P.malipoense P.micranthum และ P.emersonii (Cribb, 1987) 2. สกุลย่อย Paphiopedilum เป็นรองเท้านารีทีม่ ดี อกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นช่อกลีบ ดอกเป็นแถบ หรือเป็นรูปช้อน ซึ่งมีความยาวมากกว่าสองเท่าของความกว้างของกลีบดอก กระเป๋างมุ้ ลง ขอบเรียบหรอื เว้าลง สกลุ ย่อยนีส้ ามารถแบ่งออกเปน็ 5 หมู่ (อุไร, 2550) คือ 2.1. หมู่ Coryopedilum มีจานวนโครโมโซม 2n = 26 พบแถบหมู่เกาะ บอร์เนยี ว บางชนิดพบที่ฟิลิปปินส์ มีใบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกเป็นแถบยาว มัก บิดเป็นเกลียว ขอบกลีบด้านบนเป็นไฝ และมีขนอ่อนปกคลุมที่ปลายกลีบ กระเป๋ายาวห้อย ลง ด้านในขอบกลีบจะงุ้มเข้า กึ่งกลางโล่มักเป็นรูปขอบขนาน และมีขนอ่อนปกคลุม ด้านล่าง ได้แก่ P.adductum P.glanduliferum P.kalopakingii P.philippinense P.randsii P.rothschildianum P.sanderianum P.stonei และ P.supardii (Cribb, 1987) 2.2. หมู่ Pardalopetalum มีจานวนโครโมโซม 2n = 26 เป็นพวกพืชอิง อาศัย มีใบสีเขียว ลักษณะดอกของพืชในสกุลนี้มักมีรูปร่างคล้ายกัน โดยเฉพาะโล่มักเป็นรูป หัวใจกลับ กลีบดอกเป็นแถบบิดเกลียว ขอบกลีบด้านบนมีจุดสีเข้มหรือมีไฝสีดา ได้แก่ P.haynaldianum P.lowii และ P.parishii (Cribb, 1987) 2.3. หมู่ Cochlopetalum มีจานวนโครโมโซม 2n = 30 – 37 มักพบตาม ชายฝั่งของหมู่เกาะสุมาตราและชวา ดอกเล็ก กาบรองดอกรูปรี กลีบดอกแคบบิดเป็นเกลียว 13 และมีขนปกคลุม กระเป๋ามีจุดปะกระจายทั่ว โล่เป็นรูปค่อนข้างสีเหลี่ยม และมีขนปกคลุมที่ โคน ได้แก่ P.glaucophyllum P.liemianum P.primulinum P.victoria-mariae และ P.victoria- regina (Cribb, 1987) 2.4. หมู่ Paphiopedilum ประกอบด้วยกล้วยไม้รองเท้านารี 10 ชนิด ซึ่งมีดอก เดี่ยว ใบสีเขียวไม่มีลาย มีลักษณะดอกและโล่ที่หลากหลาย มีจานวนโครโมโซม 2n = 26 – 30 ได้แก่ P.barbigerum P.charlesworthii P.druryi P.exul P.fairrieanum P.gratrixianum P.hirsutissimum P.insigne P.spicerianum และ P.villosum (Cribb, 1987) 2.5. หมู่ Barbata มีจานวนโครโมโซม 2n = 28 – 44 ดอกเป็นดอกเดี่ยวมี ใบลาย side – lobes บริเวณปากม้วนเข้า สว่ นใหญ่กลีบดอกมีจุดปะหรือไฝ โล่เป็นรูปพระจันทร์ เสี้ยวและหยักเป็นฟันซี่เล็กๆ 3 ซี่ บริเวณปลายโล่ หรือลักษณะอื่นๆ ที่คล้ายที่กล่าวมา ได้แก่ P.acmodontum P.appletonianum P.argus P.barbatum P.bougainvilleanum P.bullenianum P.callosum P.ciliolare P.dayanum P.fowliei P.hennisianum P.hookerae P.javanicum P.lawrenceanum P.mastersianum P.papuanum P.purpuratum P.sangii P.schoseri P.sukhakulii P.superbiens P.tonsum P.urbanianum P.venustum P.violascens P.wardii และ P.wentworthianum (Cribb, 1987) ส่วนการจาแนกกล้วยไม้รองเท้านารีตามลักษณะของดอก สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (ระพี, 2535) กลุ่มแรกได้แก่ กล้วยไม้รองเท้านารีที่มีรูปลักษณะดอกหากมองด้านหน้า จะมี ลักษณะกลม กลีบกว้าง และใบมีลายสวยงาม กล้วยไม้รองเท้านารีในกลุ่มนี้พบขึ้นตาม ธรรมชาติอยู่ในแถบซึ่งเป็นภูเขาหินปูน เช่น รองเท้านารีฝาหอย (Paphiopedilum bellatulum) รองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor) รองเท้านารีเหลืองตรัง (Paphiopedilum godefroyae) รองเท้านารีขาวสตูล (Paphiopedilum niveum) และรองเท้านารีช่องอ่างทอง (Paphiopedilum niveum) เปน็ ต้น กลุ่มที่สองได้แก่ รองเท้านารีชนิดที่ดอกมีกลีบใบแคบ และบิดเป็นเกลียว เช่น รองเท้านารเี มืองกาญจน์ (Paphiopedilum parishii) รองเท้านารีฟิลิปปิเนนเซ่ (Paphiopedilum philippinense) และรองเท้านารีรอธไชลเดียน่ัม (Paphiopedilum rothschildianum) ซึ่งท้ังสาม ชนิดใบไม่มลี าย 14 กลุ่มที่สามได้แก่ ใบไม่มีลายเช่นเดียวกับกลุ่มที่สอง แต่มีกลีบดอกหนา ผิวดอกเป็น มนั คล้ายเทียนขี้ผ้ึง ดอกมีสีเขียวอมเหลือง หรือเหลือบสีน้าตาลปนเหลือง เช่น รองเท้านารีอิน ทนนท์ (Paphiopedilum villosum) และรองเท้านารีเหลอื งกระบี่ (Paphiopedilum exul) เปน็ ต้น กลุ่มที่สี่ได้แก่ รองเท้านารีใบมีลาย ผิวกลีบดอกมีไฝสีดา หรือสีน้าตาล มีขนที่ไฝ เช่น รองเท้านารีคางกบ (Paphiopedilum callosum) รองเท้านารีคางกบภาคใต้ (Paphiopedilum barbatum) และรองเท้านารีสุขะกลู (Paphiopedilum sukhakulii) เปน็ ต้น ส่วนการจาแนกชนิดของกล้วยไม้รองเท้านารีที่มีถิ่นกาเนิดในไทย โดย ฝุายวิชาการ สมาคมพฤกษชาติแหง่ ประเทศไทยในพระบรมราชปู ถัมภ์ มีดงั นี้ (อไุ ร, 2550) รองเท้านารีในหมู่ Brachypetalum ที่มีถิ่นกาเนิดทางภาคใต้ของประเทศไทยนั้น หลายชนิดมีลักษณะดอกและใบที่ใกล้เคียงกัน คือ รองเท้านารีขาวสตูล รองเท้านารีช่อง อ่างทอง รองเท้านารีขาวชุมพร รองเท้านารีเหลืองพังงา และรองเท้านารีเหลืองตรัง ทั้งนี้อาจ เกิดจากรองเท้านารีเหล่านี้มีถิ่นกาเนิดในบริเวณที่ซ้อนเหลื่อมกันและเกิดการผสมพันธ์ุกันขึ้น หรืออาจเกิดจากรองเท้านารีเหล่านี้กาลังอยู่ในขั้นตอนการแยกชนิด (speciation) จากบรรพ บรุ ุษร่วมกัน อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตอย่างใกล้ชิด โดยไม่นาสีดอกมาพิจารณา พบว่า ลกั ษณะบางอย่างของดอกอาจถกู นามาแยกรองเท้านารีเหล่านีอ้ อกจากกันได้ระดับหน่งึ ดงั น้ี 1. รองเท้านารีขาวสตูล พบว่ารองเท้านารีขาวสตูลที่มีก้านช่อดอกยาวน้ัน โล่มี ขนาดใหญ่ที่ปลายเส้าเกสรและมีแต้มขนาดใหญ่สีเขียวหรือสีเหลืองบนโล่ด้วย แต่โล่จะมีความ กว้างกว่าความกว้างของช่องเปิดที่กระเป๋า 2. รองเท้านารีช่องอ่างทอง มีก้านช่อดอกส้ันกว่ารองเท้านารีขาวสตูลเล็กน้อย มีแต้มสีบนโล่ และมีความกว้างของโล่รองจากรองเท้านารีขาวสตูล แต่โล่ของรองเท้านารีช่อง อ่างทองจะแคบกว่าความกว้างของช่องเปิดที่กระเป๋า เน่ืองจากความกว้างของช่องเปิดกระเป๋า ของรองเท้านารีชนิดน้ีมขี นาดใหญ่ 3. รองเท้านารีเหลอื งพงั งา เป็นรองเท้านารีอีกชนิดหนึ่งที่มีโล่ค่อนข้างกว้าง แต่แต้มสี บนโล่มีขนาดเล็ก ส่วนกระเป๋าคอ่ นข้างยาวเมอ่ื เทียบกับรองเท้านารีสองชนิดแรกทีก่ ล่าวข้างต้น 15 4. รองเท้านารีเหลืองตรัง เป็นรองเท้านารีที่มีลักษณะคล้ายรองเท้านารีเหลือพังงา มาก จนไม่สามารถแยกจากกันได้ จึงถูกจัดเป็นรองเท้านารีพันธุ์เดียวกัน (P. Godefroyae var. leucochilum) แตเ่ รียกชือ่ ต่างกนั ตามแหล่งที่ถกู เก็บรวบรวมมา 5. รองเท้านารีขาวชุมพร เปน็ รองเท้านารีที่ถกู จัดให้เป็นชนิดเดียวกัน (P. Godefroyae) กับรองเท้านารีเหลืองตรังและรองเท้านารีเหลืองพังงา แต่รองเท้านารีขาวชุมพรจะมีโล่แคบ กว่าสองพันธ์ุนั้น และมีช่องเปิดของกระเป๋าแคบที่สุดของรองเท้านารีในหมู่ Brachypetalum นอกจากนี้ช่องเปิดด้านในของกระเป๋าซึ่งโอบเกสรเพศเมียไว้นั้น ยังแคบกว่ารองเท้านารีของ เหลืองตรังและเหลืองพงั งาด้วย นอกจากนี้ รองเท้านารีบางชนิดที่มีถิ่นกาเนิดในประเทศไทยยังมีลักษณะต้นและใบที่ คล้ายกัน จนจาแนกจากกันได้ยากเม่ือไม่มีดอก ซึ่งจากการสังเกตอย่างใกล้ชิดอาจพิจารณา จากลกั ษณะต้นและใบ เพือ่ ใช้ในการจาแนกได้บ้าง ดังน้ี 1. รองเท้านารีเหลืองปราจีนและรองเท้านารีฝาหอย ใบของรองเท้านารีเหลืองปราจีนนั้นมี หลายลักษณะ แต่มีบางต้นที่ใบคล้ายใบของรองเท้านารีฝาหอย ได้แก่ ต้นที่นามาจากแถบ จังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี และมุกดาหาร ซึ่งมีใบปูอมกว้าง มีลายสีเขียวใต้ใบมีจุดประสี ม่วงแดง ปลายใบมน แต่ใบของรองเท้านารีฝาหอยจะบางกว่า มักเป็นลอน มีลายใบเป็นช่วง หา่ งและมีจุดประใต้ใบมากกว่ารองเท้านารีเหลอื งปราจนี 2. รองเท้านารีเหลืองเลยและรองเท้านารีเหลืองกระบี่ รองเท้านารีเหลืองเลยจะมี แผ่นใบแบนมาก และบางกว่ารองเท้านารีเหลืองกระบี่ มีลายใบพอเห็นได้ โคนใบมีลายใบจุด ประสีม่วงแดง ขณะที่ใบรองเท้านารีเหลืองกระบี่ไม่มีลายโคนใบสีชมพูอมแดง และมีหน้าตัด ของใบเป็นรูปตวั วี (V) 3. รองเท้านารีอินทนนท์และรองเท้านารีดอยตุง รองเท้านารีทั้งสองชนิดนี้ ใบมี ลักษณะคล้ายกันมาก ทั้งรูปทรงและจุดประใต้ท้องใบ แต่ต้นและใบรองเท้านารีดอยตุงที่โต เต็มที่มขี นาดเล็กกว่าอย่างเด่นชัด และใบแขง็ กว่าเล็กน้อย 4. รองเท้านารีคางกบ รองเท้านารีสุขะกูล และรองเท้านารีคางกบคอแดง ใบของ รองเท้านารีคางกบมีลายใบหลายแบบ แต่ลายใบที่มีสีเขียวเข้มจะนูนจากผิวใบ ผิวใบลื่นมือ โคนใบอาจมสี ีมว่ งแดงเรือ่ ๆ ส่วนใบของรองเท้านารีสุขะกูลน้ัน มีลักษณะเด่นคือ ผิวใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุมอยู่ท่ัวไปเมื่อลบู จะสากมอื ลายใบมีสเี ขียวอ่อนกว่ารองเท้านารีคางกบ และมีพื้นใบมี สีเขียวอมเหลืองหรือสีเทา ขณะที่รองเท้านารีคางกบคอแดงน้ันมีลายใบคล้ายกับรองเท้านารี 16 คางกบ แต่มีรายเป็นระเบียบมากกว่า บริเวณโคนใบที่หุ้มโคนต้นต่อจากกาบใบจะหนีบเป็น ร่องยาวกว่าโคนใบของรองเท้านารีคางกบ ท้ังยังมีขนาดต้นและใบเล็กกว่ารองเท้านารีคางกบ อีกด้วย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ทัว่ ไป ลาต้น เป็นกล้วยไม้ฐานร่วม (sympodium) คือเจริญเติบโตโดยแตกหน่อใหม่จาก ตาข้างของต้นเดิมเพื่อสร้างช่อดอก ลาต้นส้ันมาก ไม่มีลาลูกกล้วย (ระพี, 2535) ราก ออกจากโคนต้นแล้วแผ่กระจายในแนวราบ มีขนาดใหญ่ สีน้าตาลหรือสีสนิม และมีขนรากปกคลุมอย่างหนาแนน่ (อุไร, 2550) ใบ มีหลายแบบท้ังรูปขอบขนาน (oblong) รูปรี (elliptic) รูปแถบ (linear) ออก สลับกันท้ัง 2 ข้างและซ้อนกัน จานวน 3 – 5 ใบต่อต้น อาจตั้งขึ้นหรือแผ่ขนานไปกับพื้นดิน แผ่นใบหนาเส้นกลางใบพับเป็นร่อง ปลายใบมนเว้า หรือแหลม พื้นใบมีทั้งสีเขียวเป็นมัน เป็น ลายตาราง หรือเป็นลายคล้ายหินอ่อน สีเขียวเข้มสลับกับสีเขียวอมเทาท่ัวทั้งใบ ใต้ใบมีสีเขียว รองเท้านารีบางชนิดมีสีม่วงแดง หรอื จดุ เลก็ ๆ สีมว่ งแดง กระจายท่ัวใบ โคนกาบใบอาจมีสีม่วง แดงเรอ่ื (อบฉันท์, 2549) ดอก ออกที่ปลาย มีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ ก้านดอกอาจยาวหรือสั้น มีสีเขียว ม่วงแดง หรือน้าตาลแดง และมักมีขนปกคลุม กาบรองดอกรูปไข่หรือรูปหอกเรียวแหลม หอ่ หมุ้ รงั ไข่ไว้ มีสเี ขียว น้าตาลแดง หรอื ม่วงแดง และมีขนปกคลมุ อยู่ทั้งสองสว่ น กลีบดอกหนา เป็นมัน ด้านนอกมักมีขนปกคลมุ ด้านในมีสสี ันสวยงาม (อุไร, 2550) กลีบนอกหรือกลีบเลี้ยง (sepal) จะห่อหุ้มกลีบดอกชั้นในไว้ มีขนปกคลุมแบ่ง ออกเป็น 3 กลีบ คือ กลีบนอกบนหรือหลังคา 1 กลีบ อีก 2 กลีบอยู่ด้านล่าง และมักเชื่อม ติดกันเป็นชิ้นเดียวเรียกว่า กลีบนอกล่าง (อไุ ร, 2550) กลีบในหรือกลีบดอก (petal) มีกลีบใน 2 กลีบชี้ออกด้านข้างทั้งสองด้าน อาจ เรียกว่าหู มีขนาดและลกั ษณะเหมอื นกัน อาจเป็นแถบ เรยี วยาว กลม หรอื ปูอม แผ่แบนบิดเป็น คลื่น หรอื งมุ้ งอ กลีบในอีกกลีบหนึง่ ซึง่ อยู่ด้านล่างของดอกได้เปลี่ยนรูปเป็นถุงห้อยลงคล้ายหัว รองเท้าแตะของชาวดัตชเ์ รียกว่า กระเป๋า (pouch) (อไุ ร, 2550) ดอกกล้วยไม้รองเท้านารีเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 2 แห่ง ลักษณะเป็นก้อนเหนียวสีเหลืองติดอยู่ด้านข้างท้ังสองข้างของเส้าเกสร ถัดลงมาตรงกึ่งกลาง 17 ของเส้าเกสรเป็นยอดของเกสรเพศเมียซึ่งคว่าลง ลักษณะเป็นเนิน 3 เนินติดกันปลายเส้า เกสรมีเกสรเพศผู้ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเปลี่ยนรูปเป็นแผ่นปิดอยู่ เรียกว่า โล่ (stam-inode) มี รปู ร่างตา่ งๆ กัน ขึน้ อยู่กับชนิดของรองเท้านารี (อุไร, 2550) ฝัก เป็นฝักแบบฝักแห้งแล้วแตก (Capsule) ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของก้านดอก หลังการผสมพันธุ์ เมื่อแก่มีสีน้าตาลและแตกออกตามแนวยาว ภายในมีเมล็ดคล้ายฝุน ปลิวไปตามลมได้ง่าย (อไุ ร, 2550) 18 กลว้ ยไมร้ องเทา้ นารีเหลอื งกระบ่ี ชือ่ รองเท้านารเี หลืองกระบี่ ชือ่ วิทยาศาสตร์ Paphiopedilum exul (Ridl.) Rolfe สกลุ ยอ่ ย Paphiopedilum หมู่ Paphiopedilum จานวนโคโมโซม 2n = 26 แหล่งท่ีพบ กระจายพันธ์ุในแถบชายฝ่ังตะวันออกและตะวันตกทางภาคใต้ของประเทศไทย เชน่ จงั หวดั กระบี่ ภูเก็ต และพงั งา ซึ่งมีความสงู จากระดบั น้าทะเล 50 เมตร ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ตน้ มีพมุ่ ใบขนาด 30 – 35 เซนติเมตร ใบ รปู แถบ กว้าง 3.0 – 4.0 เซนติเมตร ยาว 30 – 35 เซนติเมตร แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน ไม่มลี าย ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกสีเขียว ยาว 15 – 30 เซนติเมตร มีขนสั้นสีม่วงแดงปกคลุม เม่ือดอกบานเต็มที่มีขนาด 4.5 – 7.5 เซนติเมตร กลับเป็นมันงุ้มาด้านหน้า กลับนอกบนมีสี ขาว กึ่งกลางมีสีเหลืองอมเขียวและแต้มสีน้าตาลเข้ม กลับนอกล่างขนาดใกล้เคียงกับกลับ นอกบน แต่มีสีเขียว กลีบดอกสีเหลืองอมน้าตาล กึ่งกลางกลีบมีเส้นสีน้าตาลเรื่อ โคนกลีบมี แต้มและขนยาวสีน้าตาลเข้มปกคลุม กระเป๋าสีเหลืองอมน้าตาล โล่สีเหลือง รูปทรงคล้ายรูป ไข่หรือหัวใจกลับ ผัวขรุขระ กึ่งกลางมีติ่งเล็กๆ สีเหลืองเข้ม ด้านบนหยักเป็นร่อง ด้านล่าง หยักเป็นเขี้ยว ผลเกิดจากก้านดอก ลักษณะเรียวยาวมีขนปกคลุม ขนาด 5.0 – 7.0 19 เซนติเมตร เป็นผลแห้งแล้วแตก(capsule) ภายในมีเมล็ดเล็กคล้ายฝุน (dust seed) จานวน มาก ฤดดู อก มีนาคม – มิถนุ ายน ลกั ษณะท่ัวไป มีการเจรญิ เติบโตแบบพืชอาศัยบนดินหรือตามซอกผาหิน ชอบความชื้นสูง และแสงคอ่ นค้างมาก เมือ่ ตน้ สมบรู ณ์จะให้ดอกและแตกหน่อได้ดี รปู ท่ี 1 ลักษณะต้น ใบ ดอก ฝัก รองเท้านารีเหลอื งกระบี่ 20 การขยายพันธก์ุ ลว้ ยไม้ การขยายพันธุ์คือการเพิ่มจานวน ซึ่งจานวนที่เพิ่มอาจมีความแตกต่างหรือ เหมอื นเดิมก็ได้การขยายพันธ์ุกล้วยไม้เหมือนกับการขยายพันธุ์พืชอื่นๆ (ครรชิต, 2547) โดย มี 2 วิธีการ คือ 1. การขยายพันธุ์พืชภายในห้องปฏิบัติการ เป็นกระบวนการผลิตต้นพืชใน อาหารสังเคราะห์ที่ปลอดเชื้อ เพื่อให้ได้ต้นที่มีคุณภาพดีและสม่าเสมอ (นพมณี, 2545) ซึ่ง การขยายพันธุ์พืชในสภาพปลอดเช้อื อาจแบ่งเปน็ 2 วิธีคือ 1.1. การเพาะเมล็ด เป็นการนาเอาเมล็ดจากฝักมาเพาะเลี้ยง บนอาหาร วิทยาศาสตร์ในสภาพปลอดเชื้อ เนื่องจากเมล็ดกล้วยไม้มีขนาดเล็กมาก ในฝักหนึ่งๆ มีเมล็ด ต้ังแต่ไม่กี่เมล็ดไปจนถึงนับหมน่ื นบั แสนเมลด็ ขึน้ อยู่กับชนิดของกล้วยไม้และพันธุกรรมของต้น แม่และต้นพ่อ อีกท้ังในเมลด็ กล้วยไม่มีอาหารสะสม ทาให้ในธรรมชาติต้องอาศัยอาหารจาก เชื้อรา ที่อาศัยอยู่ในเมล็ดเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การนาเมล็ดมาเพาะบนอาหาร วิทยาศาสตร์ จะช่วยให้ได้จานวนต้นกล้ามากกว่าการเพาะเมล็ดในธรรมชาติหลายเท่า และมี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (ครรชิต, 2547) การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ จะเริ่มจากทาการคัดเลือก พ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุ โดยคัดเลือกต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีดอกที่เพิ่งบานและพร้อมจะผสม จากนั้นทาการผสมพันธุ์ โดยทาการเด็ดกระเป๋าออก สังเกตที่เกสรเพศผู้ยังสด มีสีเหลืองและ ไม่หมองคล้า ใช้ไม้จ่ิมฟันเขี่ยเกสรเพศผู้ของต้นแม่พันธ์ุออกจากดอก จากน้ันใช้ไม้จ่ิมฟันเขี่ย เกสรเพศผู้ของต้นพ่อพันธ์ุวางบนแผ่นพลาสติกเล็ก ค่อยๆ เขี่ยส่วนที่เป็นละอองเกสรเพศผู้ ลักษณะคล้ายแปูงเปียกสีเหลอื งออกจากก้อนเกสร นามาเกลี่ยบนยอดเกสรเพศเมียของต้นแม่ พันธ์ุให้ทัว่ เขียนปูายระบชุ ่ือ ตน้ พ่อพันธ์ุ และต้นแม่พันธุ์ และวันที่ผสม แล้วติดไว้บนกาบดอก นั้น ต่อมา 1 อาทิตย์ ถ้าผสมติด รังไข่จะมีสีเขียว ยาว และใหญ่ขึ้น สาหรับอายุฝักที่นาไป เพาะเมล็ดน้ัน จะขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ (อุไร, 2550) การเพาะเมล็ดกล้วยไม้สามารถเพาะได้ทั้งเมล็ดจากฝักแก่ และเมล็ดจากฝักอ่อน ข้อดีของการเพาะเมล็ดจากฝักอ่อน คือ ประหยัดเวลาไม่ต้องรอจนฝักแก่ ต้นแม่พันธ์ุไม่โทรม เนื่องจากต้องเลี้ยงฝักนาน และปูองกันปัญหาฝักร่วงก่อนกาหนด ข้อเสียของการเพาะเมล็ด จากฝักอ่อนคือ ต้องรีบเพาะทันที หลังจากตัดฝักจากต้น มิฉะน้ัน ฝักจะเห่ียวหรือเสีย แต่ถ้า เป็นฝักแก่หากเก็บไว้ในที่แห้งและเย็นสามารถอยู่ได้ยาวนานกว่ามาก (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) เมล็ดกล้วยไม้ทัว่ ๆ ไปจะงอกได้ดีในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส ถ้าเมลด็ อ่อนมากต้องให้ได้รับอณุ หภูมิที่ต่าลงระหว่าง 20 – 28 องศาเซลเซียส มิฉะนั้นเมล็ด 21 อ่อนจะมีสีดาและงอกได้น้อย การเพาะเมล็ดที่เกือบแก่หรือเมล็ดร่วน เมื่อเพาะเลี้ยงในสภาพ ปลอดเชื้อเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้ อุณหภูมิที่สูงเกินไปมีผลทาให้เมล็ดไม่งอกและทาให้ต้น อ่อนในขวดเพาะตายได้ โดยมีอาการแบบตายนึ่ง (จริ าพรรณ, 2536) การเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีมักมีความไม่แน่นอน เนื่องจากเมล็ดกล้วยไม้ มีขนาดเล็กมาก เปลือกหุ้มเมล็ดมีลักษณะแข็ง และปกคลุมไปด้วยขนทาให้ยากต่อการเปียก น้า เป็นผลทาให้น้าซึมผ่านเข้าสู่เยื้อชั้นในของเมล็ดได้ยาก (Northen, 1970 ; Van Schude et al, 1986) มีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่า และ/หรือไม่มีความสม่าเสมอ เมล็ดที่ งอกเป็นโปรโตคอร์ม ตลอดจนโปรโตคอร์มทีพ่ ัฒนาไปเป็นยอดและตน้ กล้าทีม่ ขี นาดเลก็ มกั จะ ตายในเวลาต่อมา ปัจจัยที่เหมาะสมในการงอกและการพัฒนาของโปรโตคอร์มขึ้นอยู่กับปัจจัย ต่างๆ เช่น อายุฝัก สารกระตุ้นการเจริญเติบโต ความเป็นกรดเป็นด่างของอาหาร สูตร อาหารสาหรับการเพาะเมล็ด และการพัฒนาของโปรโตคอร์ม (ธีรพล, 2535) อายฝุ กั ของกล้วยไม้รองเท้านารีโดยท่ัวไปที่นิยมนามาเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ คือ ประมาณ 5 – 7 เดือนหลังการผสมเกสร (อุไร, 2550) ฝักอาจแก่เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับ สิง่ แวดล้อม เช่น แสงสว่าง ความชุ่มชื้น และความสมบูรณ์ เป็นต้น (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) ตัวอย่างช่วงอายุฝักของกล้วยไม้รองเท้านารีที่มีความเหมาะสมในการนามาเพาะเลี้ยง ในสภาพปลอดเชือ้ เช่น ฝกั ของกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีนและรองเท้านารีฝาหอย อายุฝัก ระหว่าง 18 – 25 สัปดาห์หลังการผสมเกสร มีเปอร์เซ็นต์การงอกที่สูง และให้โปรโตคอร์มที่มี ขนาดใหญ่ (ธีรพล, 2535 ; เกษนันท์, 2540) รูปท่ี 2 ต้นออ่ นกล้วยไม้รองเท้านารีเหลอื งกระบี่ในสภาพปลอดเชื้อ 1.2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นการนาชิ้นส่วนพืช อาจเป็นเน้ือเยื่อเจริญ เนื้อเยือ่ อวัยวะ เซลล์ หรือเซลล์ที่ไม่มีผนัง มาเลี้ยงในอาหารวิทยาศาสตร์ในสภาพปลอดเชื้อ 22 และอยู่ในสภาวะควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง และความชื้น จนกระทั้งส่วนของพืชเหล่านี้ สามารถเจรญิ เติบโตและพัฒนาเป็นต้นพืชได้ (อรดี, 2533) ในส่วนของกล้วยไม้ชิ้นส่วนที่นิยม นามาเลีย้ ง ได้แก่ เนื้อเยือ่ เจริญ ตายอด ตาข้าง ช่อดอก ใบ และราก เป็นต้น (ครรชิต, 2547) 2. การขยายพันธ์ุพืชภายนอกห้องปฏิบัติการ การขยายพันธ์ุภายนอกห้องปฏิบัติการส่วน ใหญ่เป็นการขยายพันธ์ุแบบไม่อาศัยเพศ เป็นวิธีการที่เหมาะสาหรับการเพิ่มจานวนต้นที่มี ลักษณะที่ดีซึ่งได้ทาการคัดเลือกไว้แล้ว โดยสามารถแยกเป็นวิธีต่างๆ ตามลักษณะการ เจริญเติบโตของกล้วยไม้ (ครรชิต, 2547) ดังน้ี 2.1 การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแตกกอ กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโต แบบประเภทแตกกอ หรือ ซิมโพเดียล คือกล้วยไม้ที่งอกลาต้นใหม่จากส่วนของตาบริเวณฐาน ของลาต้น เชน่ สกลุ หวาย สกุลรองเท้านารี สกุลแคทลียา กล้วยไม้ดิน เป็นต้น (ชมรมกล้วยไม้ บางเลน, 2548) 2.1.1. การตัดแยกลาหน้า ลาหน้าเป็นลากล้วยไม้ที่กาลังเจริญเติบโต เป็น ลาที่จะให้ดอก จึงไม่นิยมตัดแยกลาหน้าไปปลูกใหม่ นอกจากมีความจาเป็นในบางกรณี เช่น กล้วยไม้เจริญเติบโตเป็นกอใหญ่จนเตม็ ล้นกระถางปลูก หรือ เคร่ืองปลูกเน่าเปื่อยผุผัง เป็นต้น วิธีการตัดแยกลาหน้า คือปล่อยให้ลาหน้าเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อใหม่จากตา รอ จนกระทั่งหน่อที่เกิดใหม่มีรากโผล่ออกมาจึงตักแยกไปปลูก โดยใช้มีดหรือกรรไกรตัดแยกลา หนา้ 2 ลาตดิ กัน แล้วจึงทาการแยกไปปลกู ได้เลย (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) 2.1.2. การตัดแยกลาหลัง การตัดแยกลาหลังนอกจากเป็นการขายพันธุ์ เพื่อเพิ่มปริมาณแล้ว ยังทาให้กล้วยไม้มีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นอีกด้วย กล้วยไม้ที่จะทาการตัด แยกลาหลังควรมีลาลูกกล้วยอย่างน้อย 4 ลา วิธีการตัดแยกโดยใช้มีดหรือกรรไกรที่คม สอด เข้าไประหว่างลาลูกกล้วย แล้วตัดส่วนของเหง้าให้ขาดจากกัน ใช้มีดปูายปูนแดง แล้วทาที่ บาดแผลให้ท่ัวเพื่อปูองกันเชื้อโรคเข้าทาลายทางบาดแผล เนื่องจากลาหลังเป็นลาแก่ที่อยู่ใน ระยะฟกั ตวั ถ้ายกไปปลกู เลยรากแก่อาจเสียหายได้ รากใหม่ก็ไม่มีโอกาสเจริญออกมา จึงต้อง ปล่อยถึงไว้ในภาชนะเดิม คอยจนกระทั้งมีการแตกหน่อใหม่ขึ้นมาและเริ่มมีรากงอกออกมาที่ โคนลาพอสมควร จงึ ทาการแยกไปปลกู ในภาชนะใหม่ได้ (สาอางค์, 2546) 2.1.3. การปักชา ใช้กับลาหลังของกล้วยไม้สกุลหวาย โดยทาการตัดชาไว้ ในกาบมะพร้าวหรือวัสดุที่อุ้มความชื้น ลานี้อาจจะแตกหน่อที่โคนหรือแตกตะเกียงที่กลางหรือ ปลายลาก็ได้ เมือ่ ตน้ ใหม่แตกออกมา 1 – 2 ลา ก็ตัดแยกออกปลกู ได้ ตอที่เหลืออยู่ปักชาทิ้งไว้ ต่อไปกอ็ าจแตกตะเกียงได้ใหมอ่ ีก (ครรชิต, 2547) 23 2.1.4. การตัดตะเกียง บางคร้ังตามข้อตรงบริเวณกลางหรือปลายลาต้น กล้วยไม้สกลุ หวาย จะพบการแตกต้นใหม่หรือที่เรียกว่าตะเกียง ตะเกียงที่มีรากติดอยู่สามารถ ตัดออกแล้วนาไปปลูกได้ (ครรชิต, 2547) 2.2. การขยายพันธ์ุกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอ กล้วยไม้ที่มีการ เจริญเติบโตแบบประเภทไม่แตกกอ หรือ แบบโมโนโพเดียม คือ กล้วยไม้ประเภทนี้มีการ เจริญเติบโตทางสว่ นยอดสูงข้ึนไปเรือ่ ยๆ เป็นลาต้นเดีย่ ว กล้วยไม้ประเภทนี้ เช่น สกุลช้าง สกุล เข็ม สกุลแวนด้า สกุลกุหลาบ สกุลม้าวิ่ง สกุลฟาเลนอปซิส เป็นต้น (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) 2.2.1. การตัดยอด ถ้าเป็นพวกข้อที่ส้ัน เช่น สกุลช้าง สกุลแวนด้าใบแบน ยอดที่ตัดต้องมีรากติดไปด้วยอย่างน้อย 1 ราก ถ้าเป็นพวกข้อห่างปล้องยาว เช่น สกุล แวนด้าใบกลม สกุลรีแนนเธอร่า สกุลแมลงปอ ยอดที่ตัดควรมีรากติดไปด้วยอย่างน้อย 2 ราก (ไพรบูลย์, 2521) 2.2.2. การตดั ตะเกียงหรอื แขนง กล้วยไม้ประเภททีไ่ ม่แตกกอจะมีการแตก แขนงจากตาที่อยู่ข้างลาต้นเป็นแขนงหรือตะเกียง สาหรับต้นที่ถูกตัดยอดไปแล้ว จะทาให้ต้นที่ ถูกตัดแตกแขนงหรอื ตะเกียงได้งา่ ยขึ้น การตัดแขนงหรอื ตะเกียงไปปลูกใหม่ ควรเป็นแขนงหรือ ตะเกียงที่เจริญเติบโตพอสมควร มีรากที่แข็งแรง และยาวพอสมควรติดอยู่อย่างน้อย 2 – 3 ราก มีใบ 2 – 3 คู่ โดยการใช้มีดคมๆ ตัดยอดที่มีตะเกียงติดอยู่ตรงบริเวณใต้ตะเกียง ประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร หรือตัดเฉพาะตะเกียงที่มีหน่อติดอยู่ จากนั้นทาด้วยปูนแดง บริเวณบาดแผล ก่อนนาไปปลูกไว้ในที่ร่ม จนกว่าจะตั้งตัวได้ จึงนาไปปลูกไว้ในสภาพปกติ ต่อไป (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) การปลูกเลยี้ งกลว้ ยไม้ กา รป ลูกเ ลี้ย ง กล้ว ยไ ม้ร อ ง เ ท้า น า รีใ ห้เ จ ริญ ง อ ก ง า ม ไ ด้ดีใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ทย นั้น จาเป็นต้องทราบสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีแต่ละชนิด ซึ่งมี ลักษณะความเจริญแตกต่างกัน ดังน้ันในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารี จึงต้องรู้ แหลง่ กาเนดิ ของกล้วยไม้แต่ละชนิด แล้วใช้เครื่องปลูกให้เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมแต่ละ ชนิด จงึ จะทาการปลูกกล้วยไม้สกุลรองเท้านารใี ห้เจริญเติบโตได้ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารีที่มี อยู่ตามธรรมชาติ มีการเจริญเติบโตอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดแรก เป็นกล้วยไม้รองเท้านารีที่ขึ้นอยู่ บนต้นไม้ตามธรรมชาติ ชนิดทีส่ อง เปน็ กล้วยไม้รองเท้านารีที่ขึ้นอยู่ตามแอ่ง หรือซอกหินปูนที่ 24 มีใบไม้ผุๆ ร่วนซุย ทับถมกันมาเป็นเวลานานปี ดั้งนั้น การปลูกก็ต้องอาศัยหลังธรรมชาติการ เจริญเติบโตของกล้วยไม้รองเท้านารีชนิดนนั้ ๆ (ชวลิต, 2546) สาหรับการปลูก กล้วยไม้รองเท้านารี ผู้ที่ปลูกเลี้ยงน้อยๆ ควรปลูกลงกระถางดิน เผา ขนาดที่นิยมคือเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว และเป็นกระถางที่ระบายน้าได้ดี ก่อนปลูกเม่ือนา กระถางดินเผามาแล้วเอาก้อนหินหรือกระถางที่แตกปิดทับรูก้นกระถางเสียก่อน เพื่อปูองกัน ไม่ให้เครือ่ งปลูกร่วงออกมา แล้วใชท้ รายหยาบปิดทับก้อนหินหรือกระถางแตกน้ัน เป็นการรอง ก้นกระถางด้วยทรายใหห้ นาประมาณนวิ้ ครึ่ง แล้วจงึ ใส่เครือ่ งปลูก วิธีการปลูก นาต้นกล้วยไม้ ที่จะปลกู มาจดั รากใหต้ ั้งแผ่ลงบนเครือ่ งปลูก จัดให้ต้นต้ังตรงจากน้ันก็ใส่เคร่ืองปลูกลงไป ควน ให้เหง้าอยู่ระดับผิวดินเคร่ืองปลูกหรือต่ากว่าเล็กน้อย ก็จะช่วยให้การตายลดน้อยลงได้ทาง หนึ่ง การปลูกอย่าใส่เคร่ืองปลูกให้แน่นจนเกินไป เม่ือปลูกเสร็จแล้วใช้กรวดหรือทรายหยาบ หรือก้อนหินเล็กๆ โรยทับบนเคร่ืองปลูกอีกชั้นหนึ่ง เพื่อปูองกันน้ากัดเซาะเคร่ืองปลูกกระเด็น ขึ้นถูกใบ จากน้ันจึงนาไปไว้ในโรงเรือน การรดน้าในตอนแรกควรให้น้าแต่น้อย แล้วจึงเพิ่ม ปริมาณให้มากขึ้นหลังจากกล้วยไม้ฟื้นตวั แล้ว (ไชยา และ ลาวลั ย์, 2534) การปลูกเลี้ยงลูกกล้วยไม้ เป็นการนาลูกกล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดหรือ เพาะเลี้ยงเน้ือเยื่อภายในห้องปฏิบัติการมาทาการออกปลูก โดยการย้ายลูกกล้วยไม้ออกจาก ขวดจะกระทาเม่ือลูกกล้วยไม้ภายในขวด มีการเจริญเติบโตพอสมควร มีใบมีรากดี จึงเอา กล้วยไม้ออกจากขวดเพื่อนาไปปลูกเลี้ยงในกระถางต่อไป ถ้าปล่อยไว้ในขวดเม่ืออาหารของ กล้วยไม้หมดแล้วอาจจะมีราเกิดขึ้นในวุ้นน้ัน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อลูกกล้วยไม้ได้ (สาอางค์, 2546) วิธีการเอาลูกกล้วยไม้ออกจากขวดคือ นาขวดลูกกล้วยไม้ไปวางในโรงเรือนปลูก กล้วยไม้ให้ได้รับแสงน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 7 วัน เพื่อให้ลูกกล้วยไม้ทนต่อ สภาพแวดล้อม (สาอางค์, 2546) จากนั้นทาการเปิดจกุ ขวดออกเอานา้ ใส่ให้เต็มขวด เอาขวด วางลงในภาชนะที่ใส่นา้ เตรียมไว้ให้ขวดจมลงในน้า ทุบก้นขวดให้แตกแล้วเทลูกกล้วยไม้ออกมา แช่ลูกกล้วยไม้ลงในน้าผสมทิงเจอร์ 1 – 2 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรค จากนั้นจึงนาลูกกล้วยไม้ออก ใส่ตะกร้า ผึ่งให้แห้งสักครู่แล้วจึงนาไปปลูกต่อไป ในการออกขวดนี้ ลูกกล้วยไม้ยังอ่อนแอมาก พยายามอย่าให้รากกระทบกระเทือนมาก ถ้ารากพันกันแน่น ไม่ต้องแยกออกให้ปลูกรวมกันไป ก่อน เม่อื โตเต็มที่แลว้ ประมาณ 3 เดือน จงึ แยกออกจะง่ายกว่า (สมศกั ดิ์, 2540) 25 รปู ท่ี 3 ลูกกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ทีไ่ ด้จากการออกขวด รปู ท่ี 4 ลกู กล้วยไม้รองเท้านารีเหลอื งกระบีห่ ลงั ย้ายปลกู ในกระถาง 2 นิว้ รูปท่ี 5 ต้นกล้ากล้วยไม้รองเท้านารีเหลอื งกระบี่พร้อมใหด้ อก ปลูกเลี้ยงในกระถาง 8 นิว้ 26 ปจั จยั ทเ่ี กีย่ วข้องกับการเจริญเติบโตของกลว้ ยไม้รองเท้านารี ด้วยเหตุที่กล้วยไม้รองเท้านารีกาเนิดในสภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่อุดมไปด้วย แร่ธาตุต่างๆ ความชื้น อุณหภูมิ และปริมาณแสงที่พอเหมาะ ณ บริเวณที่อิงอาศัยตามราก ต้นไม้ บนต้นไม้ใหญ่ ซอกหินปูน หรือพื้นดินที่มีซากใบไม้ผุทับถมเป็นเวลานาน เม่ือมีการนา กล้วยไม้รองเท้านารีไปปลูกเลี้ยง จึงควรปรับสภาพให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตด้วย (อุไร, 2550) 1. โรงเรือน หลักการในการพิจารณาสาหรับโรงเรือนกล้วยไม้รองเท้านารีนั้น คือ ประการแรก เพื่อให้ต้นกล้วยไม้ได้อาศัยร่มเงา และเสริมแต่งความชื้นของบรรยากาศ ให้มีลักษณะค่อนข้างสมา่ เสมอ ประการที่สอง สามารถควบคุมปริมาณและแรงจากน้าฝน มิให้กล้วยไม้ต้องตกอยู่ในสภาพแฉะหรือชื้นมากเกินไป กับปูองกันมิให้ถูกแรงกระทบจาก ฝนขณะตกลงมาแรงด้วย ดังนั้นลักษณะและคุณสมบัติของโรงเรือนสาหรับปลูกรองเท้า นารี จึงควรทาหลังคาสองช้ัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติของท้องถิ่นมีอากาศร้อน และชื้น ช้ันบนควรเป็นหลังคาซึ่งมีไว้กรองแสงแดดและความร้อนจากดวงอาทิตย์ ส่วนชั้น ล่างขึงด้วยพลาสติกใสเพื่อปูองกันน้าฝน ถ้าตั้งกระถางกล้วยไม้รองเท้านารีไว้บนพื้น จะต้อง ปูพื้นด้วยทราย อิฐมอญ หรือกระเบื้อง เพื่อปูองกันพื้นโรงเรือนอยู่ในสภาพน้าท่วมขังได้(ระพี, 2535) รปู ท่ี 6 ลกั ษณะโรงเรอื นเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ 2. แสงสว่าง กล้วยไม้แต่ละชนิดแต่ละสกุลต้องการแสงสว่างมากน้อยแตกต่าง กัน สังเกตได้จากธรรมชาติตามปุาที่กล้วยไม้ชนิดนั้นๆขึ้นอยู่ ดังนั้นสภาพที่นามาปลูกเลี้ยงจึง 27 จาเป็น ต้องใช้โรงเรือนที่มีลักษณะการให้แสงสว่างผ่านคล้ายๆ ของธรรมชาติตามความ ต้องการของกล้วยไม้นั้นๆ (ระพี, 2530) เช่น การในการศึกษาความเข้มของแสงที่มีผลต่อการ เจริญเติบโตของกล้วยไม้รองเท้านารี 4 ชนิดคือ กล้วยไม้รองเท้านารีฝาหอย กล้วยไม้รองเท้านารี เหลืองตรัง กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีน และกล้วยไม้รองเท้านารีคางกบ พบว่าความเข้ม ของแสงที่ 30 – 40 เปอร์เซน็ ต์ มีผลทาให้จานวนใบต่อตน้ และความยาวของใบมากที่สุด (พัช รินทร์, 2541) 3. ความชื้นสัมพัทธ์ ปกติกล้วยไม้รองเท้านารี ต้องการความชื้นสูงแต่ไม่ชอบแฉะ คือความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ ในตอนกลางวัน และ 80 เปอร์เซ็นต์ ใน ตอนกลางคืน ความชื้นสัมพัทธ์ ยิ่งมากยิ่งดี จะทาให้เจริญงอกงามและเติบโตได้เร็ว (สมศักดิ์, 2540) 4. อุณหภูมิ กล้วยไม้ในเขตร้อนจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิประมาณ 25- 35 องศาเซลเซียส ปัจจัยที่เกี่ยวกับอุณหภูมิของประเทศไทยไม่เป็นอุปสรรคมากนักในการ ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เนื่องจากความแตกต่างของระดับอุณหภูมิในแต่ละท้องที่มีไม่มากนัก ความแตกต่างของอุณหภูมิเป็นผลมาจากความเข้มของแสงแดด ความชื้นในบริเวณน้ัน และ ลมทีพ่ ัดผ่าน (ครรชิต, 2547) 5. การเคลือ่ นที่ของอากาศ กล้วยไม้แตกต่างจากพืชอื่นคือเจริญเติบโตได้ดีในที่มี ลมอ่อนๆ พัดผ่านโดยเฉพาะกล้วยไม้รากอากาศ ดังนั้นบริเวณที่ปลูกเลี้ยงควรโล่งเพื่อให้ลม พัดผ่านท้ังต้น และรากไม่ควรปลูกบริเวณที่อับลม ซึ่งจะเห็นได้ว่ากล้วยไม้ที่เจริญเติบโตได้ดี มักปลูกเลี้ยงโดยใช้ลวดแขวน มีการใช้เคร่ืองปลูก และภาชนะปลูกที่โปร่งเพื่อให้มีการถ่ายเท อากาศที่ดี (วิทยา, 2526) 6. วัสดปุ ลกู กลว้ ยไม้ เน่ืองจากระบบรากของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีมิใช่รากฝอย เช่นต้นไม้อื่นๆ หากมีแกนรากเล็ก ผิวรากหนาอวบน้า ที่ผิวมีขนละเอียด ซึ่งเป็นลักษณะรากที่ ต้องการอากาศถ่ายเทโดยรอบ และการที่ภายในผิวรากมีลักษณะอวบน้า ย่อม หมายความว่าไม่ต้องการสภาพที่มีน้ามากและเปียกอยู่นาน ดังน้ันคุณสมบัติของเคร่ืองปลูก ควรทีจ่ ะระบายน้าได้ดี มีความทนทานพอสมควร (ระพี, 2535) วัสดุปลูกกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีที่นิยมใช้กันโดยทั่วๆ ไป เช่น อิฐมอญก้อนเล็กๆ ถ่านไม้ กระถางแตก ทรายหยาบ กรวด กาบมะพร้าวใบไม้ผุ เปลือกถ่ัว โฟมเม็ด หินภูเขาไฟ ขีเ้ ถ้าแกลบ เป็นต้น(สมศักดิ์, 2540) คณุ สมบตั ิของวัสดุปลูกทีน่ ยิ มใช้ มีดงั นี้ 6.1. ออสมันด้า เป็นรากเฟิร์นสกุลออสมันด้า(Osmonda spp.) มีลักษณะเป็นเส้น ฝอยสีน้าตาลจนเกือบดา ค่อนข้างแข็ง ข้อดีคือ มีการถ่ายเทอากาศและการระบายน้าดีมาก แม้ว่าอัดกันแน่น จึงไม่มีปัญหาเรื่องให้น้ามากเกินไป เก็บน้าได้ดีประมาณ 140 เปอร์เซ็นต์ ของน้าหนัก ข้อเสีย หาได้ยาก ราคาแพง และใช้งานยากเนือ่ งจากตัดแยกเสียเวลานาน ออสมันด้า 28 ใช้ได้ดีกับกล้วยไม้รากอากาศและกึ่งอากาศทุกชนิด เนื่องจากราคาค่อนข้างสูงจึงนิยมใช้กับ กล้วยไม้ที่มีราคาแพง (ครรชิต, 2541) ในส่วนของปริมาณธาตุอาหารในออสมันด้า มี ปริมาณธาตุอาหาร N:P:K เท่ากับ 0.34 0.0006 และ 0.0425 ตามลาดับ และมีค่า ความเป็นกรด – เบส อยู่ที่ 5.5 (ไพสนธิ์, 2542) 6.2. กาบมะพร้าว กาบมะพร้าวที่นามาใช้จะต้องเป็นกาบมะพร้าวที่แก่จัด และแห้งแล้ว ข้อดี เป็นวัสดุที่ราคาถูกและหาได้ง่าย จึงนิยมใช้ในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นส่วน ใหญ่โดยเฉพาะเพื่อการค้า ข้อเสีย ถ้ารดน้ามากเกินไปกาบมะพร้าวจะอุ้มน้าได้มาก อาจทาให้ รากเน่าเสียได้ มีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นเพียง 1 – 2 ปี ก็จะต้องทาการเปลี่ยนเครื่อง ปลูกใหม่ (ครรชิต, 2541) ในส่วนของปริมาณธาตุอาหารในกาบมะพร้าวสับ มีปริมาณ ธาตุอาหาร N:P:K เท่ากับ 0.35 0.0187 และ 0.5581 ตามลาดับ และมีค่าความเป็น กรด – เบส อยู่ที่ 5.7 (ไพสนธิ์, 2542) 6.3. โฟม เปน็ วัสดเุ หลอื ใช้จากการหอ่ สินค้า ตัดให้มีขนาดพอเหมาะแล้วใส่ใน กระถางแทนเครื่องปลูกอื่นๆ ข้อดีคือ มีน้าหนักเบา ไม่อุ้มน้าแต่ช่องว่างระหว่างก้อน โฟมสามารถเก็บความชื้นได้ดี มีความยืดหยุ่นทาให้ยึดต้นได้ดี รากสามารถแทงผ่านโฟมได้ (ครรชิต, 2547) 6.4. สแฟกนัมมอส นิยมใช้กันมากในต่างประเทศโดยเฉพาะในแถบยุโรป โดยใช้ สแฟกนัมมอสผสมกับออสมันด้าเป็นเคร่ืองปลูกกล้วยไม้ท้ังเล็กและใหญ่ เนื่องจากส แฟกนมั มอสช่วยให้เคร่ืองปลกู อุ้มน้าได้ดขี ึน้ (ระพี, 2530) 6.5. ถ่าน จัดเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง เพราะหาง่าย ราคาไม่ แพง คงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยผุพังง่าย ดูดอมน้าได้ดีพอเหมาะไม่ชื้นแฉะเกินไป ข้อเสียคือ มักจะมีเชื้อรา (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) ถ่านเป็นเคร่ืองปลูกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของรากและต้นกล้วยไม้รองจากออสมันด้า และยังมีข้อดีกว่าคือราคาไม่แพง นักและสะดวกในการใช้ปลูก ถ่านที่นามาใช้เป็นเคร่ืองปลูกน้ันจะต้องแช่น้าสัก 2 คืน เพื่อลด ด่างทีม่ อี ยู่ในถ่านเสียก่อน (สาอางค์, 2546) 6.6. ทรายหยาบและหินขัดหรือหินเกล็ด การปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบราก แบบกึ่งอากาศ นักเลีย้ งกล้วยไม้บางท่านใช้ทรายหยาบและหินขัดหรือหินเกล็ดที่ได้ล้างสะอาด แล้วเป็นเคร่ืองปลูก ในการใช้ทรายหยาบและหินขัดหรือหินเกล็ดปลูกกล้วยไม้นี้อาจใช้ทั้ง 2 อย่างก็ได้ หรืออาจจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่การใช้ทรายหยาบเพียง อย่างเดียวมีข้อเสีย คือเมื่อรดน้าทรายมักจะไหลออกจากกระถางถ้าไม่ระมัดระวัง (สาอางค์, 2546) 6.7. อิฐหักหรือกระถางแตก เป็นเครื่องปลูกที่เก็บความชื้นได้ดี ไม่ย่อย สลาย แต่มีน้าหนักมาก ทาให้ต้องใช้แรงงานมากในการปลูกและเคลื่อนย้าย นอกจากนี้ยังมี 29 ปัญหาเร่ืองตะไคร่น้าขึ้นที่ผิวเครื่องปลูกและรากกล้วยไม้ ถ้าบริเวณที่ปลูกมีความชื้นสูงมาก ทาให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของรากลดลง กล้วยไม้จึงไม้เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นเครื่องปลูกพวกนี้มักใช้กับกล้วยไม้ที่ตั้งอยู่บนพื้นดินเป็นแปลงใหญ่เพื่อช่วยระบายน้า (สาอางค์, 2546) การนาวัสดุปลูกมาทาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีนั้น จะต้องคานึงถึง ปริมาณน้าฝนสูงสดุ ที่รองเท้านารีได้รับด้วย ซึง่ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เครื่องปลูกสาหรับลูกกล้วยไม้ ซึ่งต้องการธาตุอาหารน้อย อาจใช้ส่วนผสมดังนี้ สูตร 1 ขี้เถ้าแกลบ ทรายหยาบ และโฟมหัก ในอัตราส่วน 1:1:2 สูตร 2 ขี้เถ้าแกลบ กาบมะพร้าวสับ และโฟมหัก ในอัตราส่วน 1:1:1 และสูตร 3 ใช้สแฟกนัมมอสเพียงอย่าง เดียว (อไุ ร,2550) เคร่ืองปลูกสาหรับกล้วยไม้ต้นใหญ่ ซึ่งต้องการธาตุอาหารปานกลาง อาจใช้ ส่วนผสมดังน้ี สตู ร 1 อิฐมอญทบุ หินเกลด็ และเปลือกถัว่ ลิสงหัก ในอัตราส่วน 1:1:1 สูตร 2 อิฐมอญทุบ ดินขุยไผ่ และโฟมหัก ในอัตราส่วน 1:1:1 สูตร 3 อิฐมอญทุบ ใบไม้ผุ และหิน เกล็ด ในอัตราส่วน 1:1:1 และสูตร 4 อิฐมอญทบุ ถ่านทบุ และหินเกลด็ ในอัตราส่วน 1:1:1 (อไุ ร,2550) รูปท่ี 7 เครอ่ื งปลกู ลูกกล้วยไม้รองเท้านารีเหลอื งกระบี่ สแฟกนั่มมอส หนิ ภเู ขาไฟ และเพอร์ ไลท์ 30 รปู ท่ี 8 เครือ่ งปลกู กล้วยไม้รองเท้านารีเหลอื งกระบี่ อิฐมอญทบุ ถ่านทบุ หินภูเขาไฟ เปลือก ไม้สน และหนิ เกล็ด 7. ภาชนะปลกู ภาชนะปลูกกล้วยไม้รองเท้านารีควรเป็นกระถางดินเผา เพราะผิว กระถางมีความพรุน อากาศและน้าสามารถผ่านเข้าออกได้ และสามารถเก็บความชื้นได้ดี ทา ให้กระถางและเครือ่ งปลกู เย็น ระบบรากจะเจรญิ เติบโตได้ดี สาหรับกระถางพลาสติกมีน้าหนัก เบา แต่การระเหยของน้าและการไหลเวียนของอากาศมีเพียงบริเวณผิวเคร่ืองปลูกเท่านั้น ทา ให้เคร่ืองปลูกแฉะค่อนข้างนาน ส่วนกระเช้าไม้เหมาะสาหรับรองเท้านารีที่มีรากกึ่งอากาศ นอกจากนี้ควรเลือกใช้ภาชนะที่เหมาะกับต้น ไม่ควรใช้ภาชนะที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะเม่ือ ปลกู ไปนานๆ เครื่องปลกู ด้านล่างกระถางจะมีสภาพเป็นกรด เนือ่ งจากมีการสะสมของเกลือแร่ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อต้นไม้ได้ อาจแก้ไขโดยการใช้เคร่ืองปลูกลึกเพียง 7 – 8 เซนติเมตร เหนือหนิ กรวดหรอื โฟมหัก (อไุ ร, 2550) 8. น้า สาหรับน้าที่จะน้ามาใช้รดกล้วยไม้ได้ดี คือน้าที่สะอาด ไม่ขุ่น ปราศจากเกลือ แร่ที่เป็นพิษแก่กล้วยไม้ละลายปนอยู่ และมีความเป็นกรดเป็นเบสหรือ pH อยู่ระหว่าง 6.0 – 7.0 แต่น้าที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดสาหรับความต้องการของกล้วยไม้ คือ มี pH ประมาณ 6.5 แต่สาหรับน้าที่มี pH ต่ากว่า 5.5 และสูงกว่า 7.0 ขึ้นไป ไม่ควรนามาใช้รดกล้วยไม้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ น้าที่มเี กลือแร่ทีเ่ ป็นพิษละลายปะปนอยู่ด้วย เพราะจะทาให้รากของกล้วยไม้ และลาตน้ ชะงกั การเจรญิ เติบโตได้ (วิทยา, 2526) การดแู ลรกั ษา การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จาเป็นต้องให้น้าและอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตและการ ออกดอกของกล้วยไม้ ในธรรมชาติกล้วยไม้ได้รับน้าอย่างเหมาะสมจากความชื้นในสภาพปุา จากน้าฝนและจากวัสดุที่รากกล้วยไม้เกาะยึดและเจริญอยู่ และในขณะเดียวกัน ก็ได้รับอาหาร 31 จากการสลายตัวของอินทรียวัตถุ (organic matter) บริเวณรอบๆ รากและจากน้าฝน แต่เม่ือ นามาปลูกเลี้ยงในสภาพที่แตกต่างจากธรรมชาติจึงจาเป็นต้องให้น้าและปุ๋ย เพื่อให้ต้นมีการ เจริญเติบโต และออกดอก ดังน้ันการให้น้าและอาหารแก่กล้วยไม้จึงเป็นปัจจัยที่สาคัญในการ ปลกู เลี้ยงกล้วยไม้ (ครรชิต, 2547) 1. การให้น้า เนื่องจากกล้วยไม้รองเท้านารีเป็นกล้วยไม้ที่ไม่ชอบแฉะ และไม่ชอบ ความชื้นสะสมอยู่ในบริเวณเคร่ืองปลูก หรือโคนต้นนานมากเกินควร อย่างไรก็ตาม การให้น้า แม้ว่าจะกระทาสองหรือสามวันต่อคร้ังก็ควรให้น้าสามารถผ่านลงไปถึงด้านล่างได้อย่างท่ัวถึง มิฉะนั้นแล้ว อาจเกิดดารสะสมของเชื้อราขึ้นภายในเคร่ืองปลูก หรือภายในกระถาง เนื่องจาก บางส่วนแห้ง บางส่วนเปียกได้ง่าย การให้น้าไม่ควรใช้กระแสน้าซึ่งแรงมาก ควรให้น้าเป็น ละอองหรือเป็นฝอยละเอียด เพื่อปูองกันเครื่องปลูกกระเด็นและทาให้ต้นซ้า เน่าได้ง่าย (ระพี, 2535) เวลาในการให้นา้ ช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมแก่การให้น้ากล้วยไม้ควรเป็นช่วงเวลาเช้า เนื่องจากเปน็ ช่วงที่เครื่องปลกู ผา่ นเวลากลางคนื มีผลทาให้เคร่ืองปลูกคลายความร้อนซึ่งดูดไว้ ระหว่างช่วงเวลากลางวนั ที่ผ่านมา (ระพี, 2549) 2. การให้ปุ๋ย หากใช้อินทรียวัตถุเป็นเคร่ืองปลูกรองพื้นแล้ว การให้ปุ๋ยเสริมย่อมมี ความจาเป็นน้อยลงมาก หนึ่งถึงสองสัปดาห์อาจให้หนึ่งคร้ัง โดยอาจใช้ปุ๋ยสาเร็จละลาย น้าอ่อนๆ แต่ควรแน่ใจว่าต้นไม้ที่ปลูกมีระบบ รากที่เจริญแข็งแรงมั่นคงดีพอสมควรแล้ว (ระพี, 2535) ปัจจุบันปุ๋ยที่ผลิตขึ้นสาหรับใช้ให้กับกล้วยไม้น้ันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ปุ๋ยน้า และ ปุ๋ย เกล็ด ในการเลือกใช้ปุ๋ยนั้นจะต้องเลือกใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนพอเหมาะกับความต้องการของ กล้วยไม้ เพื่อปูองกนั ปริมาณเกลือแร่ทีไ่ ม่มปี ระโยชน์ที่มอี ยู่ในปุ๋ยมีปริมาณมากเกินไป อันจะทา ให้เกิดอันตรายต่อกล้วยไม้ได้ (ไชยาและลาวัลย์, 2534) เวลาในการให้ปุ๋ย การที่กล้วยไม้จะเจริญเติบโตได้น้ัน จะต้องอาศัยแสงสว่าง อุณหภูมิ และความชื้น แสงสว่างหรือแสงแดดนี้ ช่วยให้รากของกล้วยไม้ดูดปุ๋ยเข้าไปอย่าง เต็มที่ ดังน้ันการให้ปุ๋ยกล้วยไม้ควรให้ในเวลาเช้า แต่ไม่ควรเกิน 10.00 น. เนื่องจากถ้าเกิน ช่วงเวลาดังกล่าวแล้วแสงแดดจัด เม่ือให้ปุ๋ยจึงอาจเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้ และควร คานงึ ถึงสภาพอากาศก่อนการให้ปุ๋ยอีกด้วย ถ้าสภาพอากาศไม่แจ่มใส ครึ้มฝน ไม่มีแสงแดด ก็ ไม่สมควรให้ปุ๋ยแก่กล้วยไม้ เนื่องจากถ้าให้ปุ๋ยแล้วเกิดฝนตก น้าฝนก็จะชะล้างเอาปุ๋ยไปด้วย ทาให้ต้นกล้วยไม้ไมไ่ ด้รบั ประโยชน์จากปุ๋ยทีใ่ ห้ไป (ชวลิต, 2546) 32 3. การเปลีย่ นเคร่ืองปลูกและกระถาง เป็นสิ่งสาคัญสาหรับรองเท้านารี โดยเฉพาะต้น ทีม่ พี ุ่มแน่นกระถางหรอื เครอ่ื งปลูกเสือ่ มคุณภาพ ทาใหก้ ารระบายน้าไม่ดี ต้นเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ดงั น้ันควรเปลีย่ นเคร่อื งปลูกทกุ ๆ ปีจะช่วยใหก้ ล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีข้นึ (อไุ ร, 2550) การเปลีย่ นเคร่อื งปลกู และกระถางควรปฏิบตั ิในช่วงที่รองเท้านารีไม่มีการออกดอก ไม่ควร ปฏิบัติในฤดูออกดอก เพราะจะทาให้ต้นไม่ออกดอกได้ สาหรับขนาดกระถางควรเลือกให้มีขนาด เหมาะสมกับต้น ไม่ใหญ่เกินไป และมีรรู ะบายน้าโดยรอบ นิยมใช้กระถางดินเผา หรือกระเช้าไม้แขวน สาหรับรองเท้านารีรากอากาศหรือรากกึ่งอากาศ ส่วนเครื่องปลูกควรเป็นเคร่ืองปลูกที่ใหม่และ สะอาดด้วย หลังจากเปลี่ยนเคร่อื งปลกู ควรนาไปไว้ในทีม่ แี สงราไรรักษาความชื้นให้สม่าเสมอ จนกว่า ต้นจะแข็งแรง มีรากเพิ่มขึน้ จงึ นาไปเลีย้ งในสภาพปกติ (อไุ ร, 2550) 4. การรักษาความสะอาดภายในโรงเรือนและต้น หม่ันเก็บเศษไม้ ดอกแห้ง และวัชพืช ออกจากกระถาง และพื้นโรงเรือนอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงต่อไป โดยเฉพาะในฤดูฝน ควรโรยปนู ขาวใหท้ ัว่ จะช่วยฆ่าเชือ้ โรคภายในโรงเรอื นได้ (อไุ ร, 2550) ศตั รูและการป้องกันกาจัด การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ว่าจะเปน็ งานอดิเรกหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกเลี้ยง เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจเปน็ การค้าแล้ว อาจมีปัญหาการเข้ารบกวนของโรคและแมลงศัตรูขึ้น ภายในเรือนเลยี้ งได้ ทาให้กล้วยไม้ไม่เจรญิ เติบโตตามทีต่ ้องการ ด้ังนั้นจึงจาเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้อง ศึกษาทราบถึงโรคและแมลงศัตรูและวิธีการปูองกันกาจัด ไว้ด้วยเพื่อจะได้แก้ปัญหาที่มีขึ้นได้ ทันท่วงที (ไชยาและลาวลั ย์, 2534) 1. โรคของกล้วยไม้ โรคกล้วยไม้มีสาเหตุมาจาก รา แบคทีเรีย และไวรัส โรคที่ เกิดจากเชือ้ รามักจะพบส่วนของเชื้อรา ได้แก่ เส้นใย ลักษณะเป็นตุ่มนูนสีดาที่แผลของพืช โรค ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียจะพบส่วนที่เป็นโรคมีลักษณะชุ่มน้า เป็นเมือกเยิ้มและมักมีกลิ่นเหม็น ถ้ามีความชื้นสูงจะเห็นเป็นเมือกเยิ้มสีขาวหรือสีเหลืองขุ่นซึ่งเป็นกลุ่มของแบคทีเรีย โรคที่เกิด จากเชือ้ ไวรสั ต้องวินจิ ฉัยจากอาการของพืช เช่น ใบด่าง ดอกด่าง ใบเรียวเล็ก เป็นต้น เชื้อไวรัส เข้าทาลายพืชทางบาดแผลของต้นพืช และโดยแมลงเป็นพาหะในการถ่ายเชื้อ (อดิศักดิ์ , 2534) โรคกล้วยไม้ที่สาคัญทีพ่ บในประเทศไทยได้แก่ 1.1. โรคเน่าดาหรือโรคยอดเน่าหรือโรคเน่าเข้าไส้ (Black rot) เกิดจาก เชื้อรา Phytophthora palmivora สามารถเข้าทาลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน เข้าทาลายรากทาให้ 33 รากแห้งมีผลทาให้ใบเหลืองและร่วง ถ้าเป็นที่ยอด ยอดจะเน่าเป็นสีน้าตาลหากเป็นรุนแรงเชื้อ จะลามเข้าไปในลาต้น ซึ่งเม่ือผ่าดูจะเห็นในลาต้นมี สีดาเป็นแนวยาว ส่วนอาการที่ดอกบริเวณ ปากดอกและก้านดอก เห่ียวสีน้าตาล ถ้าเป็นรุนแรงดอกจะหลุดร่วงจากช่อ โรคนี้มักแพร่ ระบาดมากในฤดูฝนหรอื ในสภาพอากาศมคี วามชืน้ สูง (ครรชิต, 2547) การปูองกันกาจัด ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง อย่าปลูกกล้วยไม้ให้แน่นเกินไป ไม่ควรรดน้าในตอนเยน็ ใกล้คา่ เนอ่ื งจากความชืน้ สูงโรคนี้จะระบาดรุนแรง ถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่ โตควรตดั ส่วนทีเ่ ปน็ โรคแล้วใช้สารเคมีปูาย เช่น รโิ ดมิลสลับกบั ไดเทน เอม็ 45 และใช้สารเคมี ปูองกันกาจัดเชื่อรา ซึ่งมีชื่อสามัญ เมทาแลกซิล (methalaczy) และแมนโคเซบ (mancozeb) ตามอัตราที่ระบไุ ว้ ฉีดพ่นบริเวณราก ลาตน้ ใบและดอก (ครรชติ , 2547) 1.2. โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม โรคนี้เป็นปัญหามากเพราะกล้วยไม้อาจ แสดงอาการระหว่างการขนส่งได้ เกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis พบที่กลีบดอก กล้วยไม้ โดยเริม่ แรกเปน็ จุด ขนาดเล็กสีน้าตาลอมเหลือง จุดขยายใหญ่มีสีเขียวเข้มคล้ายสนิม โรคนีร้ ะบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนหรอื สภาพที่มนี ้าค้างลงจัด (สาอางค์, 2546) การปูองกันกาจัด รักษาความสะอาดแปลง อย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรย คาต้น เก็บดอกที่เป็นโรคนี้ออกให้หมดและเผาทาลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรคและฉีดพ่น ด้วยสารเคมีประเภทไดเทน เอ็ม 45 ไดเทน เอล เอฟ หรือ มาเนกซ์ โดยในช่วงฤดูฝนควรฉีด พ่นให้ถี่ขึ้น แต่ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับคราบยาที่จะเกิดขึ้นบนกลีบดอก จึงไม่ควรผสมยาจับใบ ลงไป (สาอางค์, 2546) 1.3. โรคใบปืน้ เหลือง เกิดจากเชื้อ Pseudocercospora dendrobii มักเกิดกับใบ ที่อยู่โคนต้น โดยใบจะมีจุดกลมสีเหลือง เม่ือเป็นมาก ๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นเหลืองตาม แนว ยาวของใบ เมื่อพลิกดใู ต้ใบจะเห็นกลุ่มผงสดี า และใบจะเป็นสีน้าตาลหลุดร่วงจากต้น โรค นี้ระบาดมากในช่วงฤดูฝน-ฤดูหนาว โรคใบปื้นเหลืองส่วนมากมักเกิดกับกล้วยไม้สกุลหวาย สาหรับกล้วยไม้สกุลอื่นๆ น้ันพบเห็นโรคนี้เหมือนกันแต่น้อยกว่ากล้วยไม้สกุลหวาย (วิทยา, 2526) การปูองกันกาจัด เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทาลาย และฉีดพ่นด้วยยา ประเภทคาร์เบนดาซิม เช่น มัยซิน ไดเทน เอ็ม 45 หรือ เบนเลท ทุก 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับ ความรนุ แรงของโรค (วิทยา, 2526) 1.4. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Phyllostictina pyriformis เกิดได้ตลอดปีลักษณะ อาการจะแตกต่างกันไป เช่น แวนด้า แผลจะมีลักษณะเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวยตรงกลาง แผลจะมีตุ่มนูนสีน้าตาล เกษตรกรมักเรียกว่าโรคขี้กลาก ในสกุลหวายแผลจะมีจุดกลมสี น้าตาลเข้มหรือสีดา ขอบแผลมีสีน้าตาลอ่อน เกิดได้ทั้งใบบนและใบล่าง (ชมรมกล้วยไม้บาง เลน, 2548) 34 การปูองกันกาจัด รวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทาลาย และฉีดพ่นด้วยยาประเภทคาร์ เบนดาซิม เชน่ มัยซิน ไดเทน เอ็ม 45 หรอื ไดเทน แอล เอฟ (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) 1.5. โรคแอนแทรกโนสหรือโรคใบไหม้ เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp. พบได้ ที่ปลายใบและกลางใบ ลักษณะเป็นแผลสีน้าตาลเป็นวงเรียงซ้อนกันหลาย ๆ ช้ัน และมีกลุ่ม ของเชือ้ ราเป็นสีดาเกิดข้ึนบนวง (ไชยาและลาวัลย์, 2534) การปูองกันกาจัด รวบรวมใบที่เป็นโรคทิ้ง และฉีดพ่นด้วยไดเทน เอ็ม 45 แคบเทน เดอโรซาล (ไชยาและลาวลั ย์, 2534) 1.6. โรคต้นเน่าแห้งหรือโรคราเมล็ดผักกาด เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii พบมากบริเวณรากหรือโคนต้น ซึ่งจะผุเปื่อย ถ้าอากาศชื้นมาก ๆ จะมีเส้นใยสีขาว และมีเม็ด กลม ๆ คล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่ตามโคนต้น บางคร้ังจะแสดงอาการที่ใบทาให้ใบเน่าเป็นสี น้าตาล เมื่ออากาศแหง้ จะเหี่ยวและร่วงตาย ไปในที่สุด มกั ระบาดในฤดฝู น (มาลินี, 2541) การปูองกันกาจัด เก็บรวบรวมใบกล้วยไม้ที่เป็นโรคเผาทาลายทิ้ง และราดทับหรือ ฉีดพ่นด้วย เทอราโซล หรอื ไวตาแวกซ์ (มาลิน,ี 2541) 1.7. โรคเน่าเละ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas gladioli อาการเริ่มแรกจะ เป็นจุดฉ่าน้าขนาดเล็กบนใบหรือหน่ออ่อน ลักษณะเหมือนถูกน้าร้อนลวก ใบจะพองเป็นสี น้าตาลและฉา่ น้า และต้นกล้วยไม้จะเน่าตายท้ังต้น (สมศักดิ์, 2540) การปูองกันกาจัด ตัดหรือแยกส่วนที่เป็นโรคออกนาไปเผาทาลาย ไม่ควรปลูกต้น กล้วยไม้ให้แน่นเกินไป จะทาให้อากาศระหว่างต้นกล้วยไม้ไม่ถ่ายเท เกิดความชื้นสูงซึ่งง่ายต่อ การเกิดโรค และควรปูองกันโดยฉีดพ่นดว้ ยยาปฏิชีวนะ เชน่ แอกริมัยซิน (สมศกั ดิ์, 2540) 1.8. โรคกล้วยไม้ท่ีเกิดจากเชื้อไวรัส พบระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกกล้วยไม้ใน ปัจจุบัน เกิดจากเชื้อไวรัส Tobacco Mosaic Virus Orchid Strain (TMV-O) Cymbidium Mosaic Virus (CyMV) ลักษณะอาการทีป่ รากฏแตกต่างตามชนิดของเช้ือไวรัสและชนิดของกล้วยไม้ โดย มีลกั ษณะที่สังเกตได้ เชน่ ใบด่างสเี ขียวอ่อนสลบั สีเขียวเข้ม ยอดบิด ยอดจะม้วนงอ ช่วงข้อจะถี่ สั้น การเจรญิ เติบโตลดลงแคระแกรน ช่อดอกสั้น แข็งกระด้าง ขนาดดอกเล็ก ถ้าเป็นมากกลีบ ดอกจะมีสซี ีดบริเวณส่วนดอกด่าง และ ดอกมีขนาดเลก็ (สงดั , 2545) การปูองกันกาจัด เชื้อไวรัสแพร่ระบาดได้ง่ายโดยติดไปกับเคร่ืองใช้ต่าง ๆ เช่น มีด กรรไกร ดังนั้น ต้องทาความสะอาดเคร่ืองมือให้สะดวก หม่ันตรวจ กล้วยไม้ถ้าพบอาการ ผดิ ปกติให้แยกออกแล้วนาไปเผาทาลายเพือ่ กาจัดเชื้อ และในปัจจุบันการขยายพันธ์ุโดยวิธีการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทาให้ได้กล้วยไม้ที่ สมบูรณ์ แข็งแรง และปลอดไวรัส จึงช่วยลดปัญหานี้ได้ (สงดั , 2545) 35 1.9. โรคราดา (Sooty mold) เกิดจากเชื้อรา Cladosporium sp. พบราดาข้นปก คลุมผวิ ใบ ลาต้น กาบใบและก้านช่อดอก โดยเชื้อราเจริญอยู่บนหยดน้าเล็กๆ ที่ถูกขับออกมา จากต้นกล้วยไม้ในฤดหู นาว ราดาทาใหล้ ดอตั ราการสังเคราะห์แสงลง (ครรชิต, 2547) การปูองกนั กาจดั กาจัดแมลงที่ขับถ่ายน้าหวานออกมาเลี้ยงราดา ได้แก่ แมลงพวก เพลี้ย โดยฉีดสารปูองกันกาจัดแมลง ซึ่งมีชื่อสามัญ มาลาไธออน และคาร์บาริล และฉีดพ่น ด้วยสารปูองกันกาจดั เชอื้ รา ซึง่ มี่ชื่อสามัญ เบนโนมิล และแมนโคเซบ (ครรชิต, 2547) 2. ศัตรูของกล้วยไม้ ศัตรูของกล้วยไม้เกิดจาดแมลง โดยถ้าเป็นแมลงที่ดูดกินน้า เลี้ยง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแปูง ก็จะพบอาการเห่ียวยอดหงิก ใบลีบเล็กคล้ายอาการ จากโรค แต่ถ้าเป็นแมลงที่ใช้ปากกัดกินจะพบร่องรอยการกัดซึ่งทาให้การวินิจฉัยไม่ยากนัก (ครรชิต, 2547) ศตั รูของกล้วยไม้ที่สาคญั ทีพ่ บในประเทศไทย ได้แก่ 2.1. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็กมีลาตัวยาวประมาณ 0.5-2 มิลลิเมตร รปู ร่างเรียวยาว มกั อยู่บริเวณปากของดอกกล้วยไม้ ระบาดมากในฤดูแล้งหรือช่วง ที่ฝนทิ้งช่วง เพลีย้ ไฟทาลายได้ทั้งในดอกตูมและดอกบาน โดยถ้าทาลายดอกตูมต้ังแต่เริ่มแทงช่อดอกจะทา ให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เปลี่ยน เป็นสีน้าตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ถ้าเข้าทาลาย ในช่วงดอกบานระยะแรกจะเกิดลักษณะสีซีดขาวเป็นทางที่บริเวณกลีบดอก ถ้า มีการระบาด ค่อน ข้างรนุ แรงบริเวณปากจะเป็นแผลสีน้าตาล และมีอาการเห่ียวแห้งจึงเรียกกันว่า ดอกไหม้ หรอื ปากไหม(้ ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) การปูองกันกาจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น คาร์โบซัลแฟน และโมโน โครโตฟอส โดยฉีดพ่นในช่วงเช้า ระหว่าง 8.00-10.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พบเพลี้ยไฟมาก ถ้ามี การระบาดมากควรฉีดพ่นสารเคมี 4-5 วันต่อครั้ง และฉีดติดต่อกัน 2-3 ครั้ง หรือ จนกว่าการระบาดจะลดลง (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) 2.2. แมลงวันดอกกล้วยไม้หรือไอ้ฮวบ เป็นหนอนสีเหลืองลาตัวยาว ประมาณ 0.8-3.0 มิลลิเมตร อาศัยอยู่ที่บริเวณเส้าเกสรโดยเฉพาะที่บริเวณใกล้กับยอด เกสรตัวเมีย มักระบาดในช่วงฤดูฝน หนอนจะเข้าทาลายดอกกล้วยไม้เฉพาะดอกตูมขนาดเล็ก ซึ่งกลีบดอกยังปิดหรือเริ่มแทงช่อดอก ทาให้ดอกตูม ชะงักการเจริญเติบโตหงิกงอ บิดเบี้ยว และต่อมาจะมีอาการเน่าเหลืองฉ่าน้าและหลุดร่วงจากช่อดอก ถ้าเขา้ ทาลายดอกตูมขนาดใหญ่ ทาให้ดอกตูมมี อาการบิดเบี้ยว บริเวณโคนดอกจะมีรอยเน่าช้าสีน้าตาลดา บริเวณแผลที่ช้า มักจะมีราฟสู ีขาวทาให้อาจเข้าใจผดิ ว่ามีเชื้อราเป็นสาเหตุ (สาอางค์, 2546) การปูองกันกาจัด ควรเก็บดอกตูมที่มีอาการเน่าฉ่าน้าหรือที่มีอาการบิด เบี้ยว มาทาลายให้หมด และใช้สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น สารโมโนโครโตฟอส สารคาร์โบซัล 36 แฟน และเมทโธมิล ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน ติดต่อกันจนกว่าการระบาดจะลดลง ฉีดพ่นที่ บริเวณช่อ และเครื่องปลกู ด้วยเพื่อจะได้ทาลายทั้ง หนอนและดักแด้ (สาอางค์, 2546) 2.3. ไรกล้วยไม้ ทาลายกล้วยไม้โดยดูดกินน้าเลี้ยง จากส่วนต่าง ๆ ของ กล้วยไม้ เชน่ ใบข้อหรอื ลาตน้ และดอกระบาดมากในสถานที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ที่ใบมัก พบทีห่ ลังใบ ใบจะมีจุดด่างขาวเล็ก ๆ และมีคราบสีขาวของไรจับ หากระบาดรุนแรงบริเวณผิว ใบจุดยุบลงหากเข้าทาลายที่ข้อหรือลาต้น จะเห็นไรเกาะกลุ่มแน่นเป็นกระจุก ลาต้นเป็นสี น้าตาลหรอื ดาจึงมักเรียกว่า โรคข้อดา จึงทาให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ถ้าทาลายช่อ ไรจุดูด กินน้าเลี้ยงที่ด้านหลงั ของกลีบดอกโดยเฉพาะบริเวณโคน ทาให้กลีบดอกเป็นรอยช้าบุ๋มเป็นจุด สีมว่ งเข้ม ถ้าทาลายตั้งแต่ระยะดอกตูม เม่ือดอกบานแผลจากการทาลายจะเห็นที่บริเวณกลีบ ล่าง และก้านดอก เรียกว่า ดอกหลงั ลาย (สาอางค์, 2546) การปูองกันกาจัด เก็บต้นกล้วยไม้ที่ไม่ต้องการทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของ ไร หากระบาดไม่มากให้ฉีดด้วยกามะถันทุก 4-5 วัน แต่ถ้าระบาดมากควรใช้ ไดโคทอล พ่น ทุก 3-4 วนั (สาอางค์, 2546) 2.4. หนอนกระทูหอม หรือที่ชาวสวนทั่วไปเรียกว่า หนอนหนังเหนียวหรือ หนอนเขียว เป็นหนอนที่เกิดจากผีเสื้อที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spodoptera exigua หนอนชนิดนี้ มีลาตัวสีเขียวหนอน พบระบาดรุนแรงเป็นประจาทั้งปี โดยจะทาลายกัดกินดอกและใบให้ เว้าแหว่งได้ ทาให้ดอกและใบเสียหายเป็นอย่างมาก (สาอางค์, 2546) การปูองกันกาจัด ใช้สารฆ่าแมลงประเภทไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น เฟนวา ลีเรท หรือ เดลต้าเมทริน ถ้าระบาดมากและหนอนดื้อยาใช้สารประเภทไดฟลูเบนซูรอน (สาอางค์, 2546) 2.5. หนอนกระทู้ผกั หรอื ทีเ่ รยี กว่า หนอนรงั เป็นหนอนทีเ่ กิดจากผีเสื้อที่มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Spodoptera litura เป็นแมลงที่สาคัญอีกชนิดหนึ่งสาหรับกล้วยไม้ สามารถ ระบาดได้ตลอดท้ังปีและระบาดได้ท่ัวทุกภาคของประเทศ โดยตัวอ่อนของหนอนจะกัดกินต้น ใบ ยอดอ่อนและดอกทาให้ผล ผลติ เสียหายไม่เปน็ ทีต่ ้องการของตลาด (สาอางค์, 2546) การปูองกันกาจัด ถ้ายังระบาดไม่มากใช้วิธีเด็ดดอกหรือตัดใบทิ้ง และเผา ทาลาย แตถ่ ้ามีการระบาดมากอาจใชส้ ารฆ่าแมลงพวก เมทโธมิลฉีดพ่น (สาอางค์, 2546) 2.6. เพลี้ยหอยและเพล้ียแป้ง ซึ่งอาศัยรวมเป็นกลุ่มตามใต้ใบ จะดูดกิน น้าเลี้ยงทาให้ด้านบนของใบมีจุดสีเหลืองเน่าใบจะเหลืองและเห่ียว ถ้ามีเป็นจานวน มากจะทา ให้กล้วยไม้ชะงักการเจรญิ เติบโต อาการต่อมาจะมีราดาเกิดข้ึนกับใบล่างของลาต้น เพราะ เพลีย้ จะถ่ายมลู ออกมาเป็นอาหารของมด และ เปน็ อาหารของเชือ้ ราดา (มาลินี, 2541) การปูองกันกาจัด การฉีดพ่นด้วยสารคาร์บาริลหรือราดที่เคร่ืองปลูก ถ้า ระบาดมาก ๆ ใช้สารฆ่าแมลงพวกโมโนโครโตฟอส ฉีดพ่น (มาลิน,ี 2541) 37 3. อันตรายจากวัชพืชและตะไคร่ วัชพืชที่นิยมเรียกกันว่า “หญ้า” นั้นมีหลาย ชนิดที่ขึ้นอยู่บนเคร่ืองปลูกกล้วยไม้ ทาให้เกิดการแย่งอาหารและทาให้เคร่ืองปลูกผุเร็วกว่า กาหนด นอกจากน้ันยังพบว่าเป็นแหล่งหลบซ่อนของศัตรูบางชนิดของกล้วยไม้อีกด้วย ส่วน ตะไคร่จะเกิดอยู่บนเคร่ืองปลูกและตามรากกล้วยไม้ ทาให้รากไม่เจริญเติบโต ในบางคร้ังราก จะผุเปื่อยแห้งไป สภาพที่จะทาให้เกิดตะไคร่มาก ได้แก่ โรงเรือนที่มีแสงสว่างน้อย อับทึบ ไม่มี ลมโกรก การให้ปุ๋ยไนโตรเจนทาให้ตะไคร่เจริญได้ดีเพราะตะไคร่ได้รับปุ๋ยด้วย (สงัด, 2545) การปูองกันกาจัด ในกรณีที่แรงงานไม่เพียงพอ ต้องใช้สารเคมีกาจัดแทน สารเคมี หลายชนดิ ที่ใชก้ าจัดวัชพืชในเครือ่ งปลูกโดยไม่ทาอันตรายต่อต้นกล้วยไม้ เช่น ฟายแซน และได ยรู อน (สงดั , 2545) การป้องกนั กาจัดศัตรูกล้วยไม้โดยไมใ่ ช้สารเคมี ในปัจจบุ ันได้มีความพยายามหาวิธีปูองกันกาจัดศัตรูของกล้วยไม้โดยวิธีต่างๆ ที่ไม่ ใช้สารเคมีเพื่อปูองงกันอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และพืช และการสะสมสารพิษใน สภาพแวดล้อม ดังเช่น Chadwick (1994) ได้ศึกษาวิธีการปูองกันกาจัดศัตรูของกล้วยไม้ด้วย วิธีต่างๆ โดยไม่ใช้สารเคมี และสามารถทาให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้เป็นปกติ ซึ่งสามารถ แบ่งเป็นหวั ข้อต่างๆ ดังน้ี (ครรชิต, 2547) 1. การดูแลรักษาความสะอาด พยายามทาโรงเรือนกล้วยไม้ให้สะอาดอยู่เสมอ ใต้โต๊ะกล้วยไม้ไม่ควรมีสิ่งใดอยู่ยกเว้นก้อนหินที่โรยเป็นพื้น ต้นกล้วยไม้ถูกจัดวางอย่างเป็น ระเบียบ ดอกที่เห่ียวแห้ง ใบ กาบใบ ควรเก็บออกให้หมดเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่ของแมลง ราก กล้วยไม้ประเภทแวนด้า จะต้องไม่ให้สมั ผัสกับพืน้ โรงเรือน 2. การควบคุมแมลงอย่างใกล้ชิด ติดแผ่นกาวสีเหลือง เหนือระดับต้นกล้วยไม้ เล็กน้อยเพื่อดูการระบาดของแมลงพวกที่บินได้ เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ใน ตอนกลางคืนก็ทาการตรวจสอบเช่นกัน แต่จะพบพวกที่ทาลายตอนกลางคืน เช่น ตัวทากและ หอยทาก นอกจากนี้มีการหมุนเวียนย้ายที่ปลูกต้นกล้วยไม้จากโต๊ะหนึ่งไปยังอีกโต๊ะหนึ่งซึ่งทา ให้สามารรถตรวจสอบต้นกล้วยไม้แต่ละกระถางได้ เน่ืองจากในบางครั้งอาจจะอยู่ไกลหรือถูก บงั โดยต้นกล้วยไม้อ่นื ๆ 3. การกาจัดแมลง ใช้สารอินทรีย์หรือสารสกัดจากธรรมชาติในการกาจัดหรือไล่ แมลง เช่น สารอินทรีย์ที่มีชื่อทางการค้าว่า Hot Pepper Wax ของ Wilder Agriculture, Pulaski, Pennsylva, U.S.A. สารนี้อยู่ในรูปของเหลวเข้มข้นมีส่วนประกอบของพริก (Capsicum frutescens) และขีผ้ ้งึ พาราฟิน (Paraffin wax) เวลาใช้จะละลายในน้าอุ่นและฉีดพ่นไปยังบริเวณ 38 ใบกล้วยไม้ ขีผ้ ้งึ จะทาให้แมลงไม่สามารถหายใจได้ ส่วนพริกจะทาลายระบบประสาทของแมลง แตส่ ารชนิดน้ีไม่สามารถกาจดั พวกตัวทากและหอยทากได้ 4. การรักษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนอย่างเหมาะสม พยายามรักษา ระดับความชื้นภายในโรงเรือนไม่ให้มีความชื้นที่สูงเกินไป เพื่อปูองกันการเจริญเติบโตของเชื้อ ราหรอื ทาให้เช้อื ราเจริญเติบโตได้ไม่ดี ทาให้สามารถลดการใชส้ ารเคมีในการกาจัดเชื้อราได้ 39 บรรณานกุ รม เกษนันท์ ศรีเกษม. 2539. ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด และการพัฒนาโปร โต คอร์ม ขอ งรองเท้านารีฝาหอย. เชียงใหม่: วิท ยานิพนธ์ปริญญาโท , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 222 น. ครรชิต ธรรมศิริ. 2547. เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง. 283 น. จิตราพรรณ พิลึก. 2536. การเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 82 น. ไชยา และ ลาวัลย์. 2534. กล้วยไมร้ องเท้านารี. นนทบรุ ี: ฐานเกษตรกรรม. 94 น. ชมรมกล้วยไม้บางเลน. 2548. กลว้ ยไม้. กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือ. 192 น. ชลิต พงศ์ศุภสมินธ์ิ. 2532. เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. เชียงใหม่: ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลยั แม่โจ.้ น. 120-124. ธีรพล พรสวัสดิ์ชัย. 2535. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการงอกและการพัฒนาของโป โตคอร์ม ของรองเท้านารเี หลืองปราจนี . เชียงใหม่: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลยั เชียงใหม.่ 160 น. นพมณี โทปุญญานนท์. 2545. การขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการเพาะเลีย้ งเน้อื เยือ่ . เชียงใหม่: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลยั แม่โจ้. 163 น. ไพรบูลย์ ไพรีพ่ายฤทธิ์. 2521. ตารากล้วยไมส้ าหรบั ผเู้ ร่มิ เล่น. กรงุ เทพฯ: อาทรการ พิมพ์. ไพสนธ์ิ ชุ่มมงคล. 2542. ศึกษาวัสดุปลูกต้นอ่อนกล้วยไม้ป่า 4 ชนิด. เชียงใหม่: ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยแมโ่ จ้. พัชรินทร์ พันธ์สีมา. 2541. ความเข้มของแสงท่ีมีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ รองเท้านารี. เชียงใหม่: ปัญหาพเิ ศษปริญญาตร.ี มหาวิทยาลยั แม่โจ้. มาลินี อนพุ ันธ์สกลุ . 2541. คู่มือการปลกู กลว้ ยไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการ หนังสือเกษตรชุมชน มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์. 104 น. ระพี สาคริก. 2530. กลว้ ยไม้. กรุงเทพฯ: สานกั งานส่งเสริมและฝกึ อบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 140 น. . 2535. กล้วยไมร้ องเทา้ นารี: วิธีการปลกู เลี้ยงและปญั หาการ อนรุ ักษธ์ รรมชาติ. กรงุ เทพฯ: โอ เอส. พริน้ ตงิ้ เฮ้าส์. 134 น. 40 . 2549. กลว้ ยไมส้ าหรบั ผ้เู รม่ิ ต้น. พิมพ์ครงั้ ที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทวศิวะ จากัด. 222 น. วิทยา สงคะกุล. 2526. การเพาะเลีย้ งกลว้ ยไมเ้ บือ้ งตน้ . กรุงเทพฯ: ฝาุ ยวิชาการ กรมปุา ไม้. 184 น. สงัด แย้มไทย. 2545. ความสุขฉบับกล้วยไม้ไทย. กรุงเทพฯ: แย้มไทยออคิดส์. 450 น. สมศักดิ์ รักไพบูลย์สมบัติ. 2540. ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จากประสบการณ์. เชียงใหม่: สุรวงศ์บุ๊คเซน็ เตอร์. 414 น. สลิล สิทธิสัจจธรรม และ นฤมล กฤษณชาญดี. 2550. คู่มือกล้วยไม้. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สารคดี. 248 น. สาอาง เนตรนารี. 2546. กลว้ ยไม้. กรุงเทพฯ: อกั ษรสยามการพิมพ์. 160 น. อดิศักดิ์ บ้วนกียาพันธุ์. 2534. โรคพืช. กรุงเทพฯ: วันต้นไม้ประจาปีแห่งชาติ 2534 กองสวน สาธารณะ สานกั สวัสดิการสงั คม. หน้า 115 – 126. อบฉันท์ ไทยทอง. 2549. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์คร้ังที่ 12. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การ พิมพ์. 461 น. อรดี สหวัชรินทร์. 2533. เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 38 น. อุไร จิรมงคลการ. 2550. กล้วยไม้รองเท้านารี. พิมพ์คร้ังที่ 5. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การ พิมพ์. 224 น. Arditti, J. and R. Ernst. 1992. Fundamentals of Orchid Biology. New York: John Wiley and Sons Inc. 681 p. . 1993. Micropropagation of Orchid. New York: John Wiley and Sons Inc. 682 p. Bechtel, H., P. Cribb, E. Launert. 1981. The Manual of Cultivated Orchid Species. MIT Press. p. 433. Braem, G.J., C.O. Baker, M.L. Baker. 1998. The Genus Paphiopedilum Natural History and Cultivation, vol. 1. Botanical Publishers Ins. p. 182. Cribb, P. 1987. The Genus Paphiopedilum. Kew: Royal Botanic Gardens. Portland:Timber Press. Oregon. 314 p. Dresslet, R. L. 1993. Phylogeny and classification of the Orchid Family. Australia: Cambridge University Press. 314 p. 41 Northen, R.J. 1970. Home Orchid Growing. Van Nostrand Reinhold Co. 109 – 114 and 185 – 193 Soon, T. E. 1989. Orchids of Asia. Singapore: Times Offset Pte Ltd. 317 p. Teob, E.S. 1989. Orchid of Asia. Singapore: Times Books International. 317 p. Van Schude, N.F.H., E. Lucke, R. Ernst and J. Arditti. 1986. Paphiopedilum rothschildianum. Amer. Orchid Soc. Bull. 55(6): 579 – 584.