ประเพณีแซนโฎนตา

  ประวัติความเป็นมาดาวน์โหลด (1)

ประเพณีแซนโฎนตา คืออีกประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญและปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับพันปีของชาวเขมรพื้นเมืองสุรินทร์ ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ความรัก ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติรวมถึงชุมชนต่างๆ โดยจะประกอบพิธีกรรมตรงกับวันแรม14 ค่ำเดือน10 ของทุกปีเมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 สายเลือดลูกหลานชาวพื้นเมืองเขมรสุรินทร์ที่ไปทำงานหรือตั้งถิ่นฐานที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลหลายหมื่นหรือนับแสนคน ต่างพร้อมใจกันเดินทางกลับมารวมญาติเพื่อทำพิธีแซนโฎนตา ( เส้นไหว้บรรพบุรุษ ) อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันทุกหมู่บ้าน ความเชื่อของชาวเขมร เชื่อว่าเมื่อถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ประตูยมโลกจะเปิด ผีในยมโลกจะเดินทางมาเยี่ยมญาติได้ ชาวเขมรจึงมีการจัดทำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ในตอนเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 และพอรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ก็จะก็จะนำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด เป็นวัน “เบ็นตูจ” โดยเชื่อว่าผีจะออกมาจากยมโลกได้ 15 วัน หลังจากนั้นต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม จากวันเบ็นตูจนับไปอีก 15 วัน(นับจากวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ) จะตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี คือวัน”เบ็นทม”ซึ่งเป็นวันที่ประกอบพิธีแซนโฎนตาดาวน์โหลด

สาเหตุที่ต้องเตรียมตัวทำบุญตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 เพราะผีตายาย หรือผีบรรพบุรุษ ถูกปล่อยมาวันนั้นและเดินทางมาไกลเกิดความเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย เมื่อมาถึงก็จะอยู่ที่วัดรอคอยว่าญาติหรือลูกหลานจะมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้หรือไม่ เมื่อถึงรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ญาติหรือลูกหลานก็จะไปทำบุญที่วัดตอนนี้เองถ้าญาติหรือลูกหลานมาก็จะดีใจและได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมีเงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่เห็นก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญ