พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ(ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน)


ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน เดิมชื่อว่า ศูนย์สภากาชาดไทย เขาล้าน เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง องค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ที่มีพระราชเสาวนีย์ให้จัดตั้งศูนย์อพยพชาวกัมพูชาที่บ้านเขาล้าน และเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมผู้อพยพในปี 2522 ภายหลังเมื่อผ่านพ้นเหตุการณ์การรับผู้อพยพแล้ว ทางศูนย์ฯ ได้พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยว มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติฯ ที่นำเสนอเรื่องราวพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อผู้อพยพ และเล่าเรื่องราวการอพยพของชาวกัมพูชา นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังเป็นสถานที่ฝึกอบรมยุวกาชาด ลูกเสือ เนตรนารี นักเรียน นักศึกษา พร้อมทั้งมีที่พักไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบริเวณหาดราชการุณย์ ซึ่งเป็นหาดที่อยู่ภายในบริเวณศูนย์ฯ

ที่อยู่:
ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 23110
โทรศัพท์:
0-3952-1621
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2537

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ศาลาราชการุณย์ สถาปัตยกรรมดีเด่นของเมืองตราด

ชื่อผู้แต่ง: ประโยชน์ ชอบรส | ปีที่พิมพ์: 21-06- 2537(หน้า 5)

ที่มา: แนวหน้า

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ(ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน)

ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน เดิมมีนามว่า " ศูนย์สภากาชาดไทย เขาล้าน" เกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทยได้มีพระราชเสาวนีย์ให้สภากาชาดไทย จัดตั้งศูนย์รับผู้อพยพชาวกัมพูชาจำนวนนับแสนคน ณ บริเวณบ้านเขาล้าน ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ในโอกาสที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมผู้อพยพที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2522 
 
ในระยะแรกผู้อพยพทำที่พักอาศัยอยู่ที่ใต้ต้นไม้โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ เช่น ผ้าขาวม้า เป็นเครื่องบังแดดบังฝน ต่อมาได้รับการแจกผ้าพลาสติกเพื่อใช้เป็นที่บังแดดบังฝนในระยะต่อมาได้มีการก่อ สร้างเพิงเป็นที่พักชั่วคราวทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงแฝกและใบจาก พร้อมกันนี้ได้สร้างเพิงชั่วคราวเพื่อใช้เป็นที่ทำการในการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพ รวมทั้งที่พักและหน่วยพยาบาล ในเวลาต่อมาจึงได้สร้างอาคารถาวร ประกอบด้วยสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้า โรงฝึกอบรม โรงเรียน และบ้านพัก
   
ศูนย์สภากาชาดไทย แห่งนี้ได้ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือชาวกัมพูชาอพยพอยู่ 7 ปีเศษ ได้ปิดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 เมื่อปิดศูนย์ฯ ลง สภากาชาดไทยได้ขอให้กองทัพเรือส่งทหารเข้ามาดูแลพื้นที่ กองทัพเรือได้จัดให้ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 3 เข้ามาอยู่ดูแลพื้นที่สถานที่ดังกล่าวถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ ประโยชน์แต่อย่างใด
 
เมื่อปีพ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงมีพระราชดำริให้สภากาชาดไทย จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์สภากาชาดไทยแห่งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา โดยได้พระราชทานแนวทางการพัฒนาไว้ 3 ประการ คือ
 
1. จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานแก่ชาวไทยชายแดนและชาวกัมพูชาอพยพ พระราชทานนามอาคารพิพิธภัณฑ์นี้ว่า"ศาลาราชการุณย์" สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2535 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2537 ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงความเป็นมาและสภาพความเป็นอยู่ของชาวกัมพูชาอพยพ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือของสภากาชาดไทยที่มีต่อผู้อพยพ รวมทั้งสิ่งของที่ผู้อพยพนำติดตัวมา ภาพถ่ายเล่าเรื่องชาวกัมพูชาและศูนย์อพยพในสมัยนั้น มีภาพวาดและหุ่นจำลองแสดงพระราชกรณียกิจด้านมนุษยธรรมแก่ผู้อพยพ
 
2. จัดเป็นสถานที่เข้าค่ายฝึกอบรมเยาวชนทั้งยุวกาชาด ลูกเสือ เนตรนารี นักเรียน นิสิต นักศึกษา ฯลฯ.
 
3. ปรับปรุงพื้นที่ชายหาดให้เป็นสถานที่พักผ่อน สำหรับบุคคลทั่วไป
 
ศาลาราชการุณย์ ซึ่งเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารขนาดเล็ก ออกแบบโดยคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีลักษณะผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและศิลปะสมัยใหม่ โดยเฉพาะส่วนยอดของอาคารเป็นโครงเหล็กรูปหัวเม็ดที่ปิดทับด้วยกระจกสีทองมีขนาดใหญ่โตและสวยงาม ดุจอัญมณี “พลอยเมืองตราด” ที่มีชื่อเสียง ผู้สัญจรไปมาสามารถมองเห็นอาคารได้ชัดเจทั้งกลางวันและกลางคืน มีค่าใช้จ่ายในการสร้าง 24 ล้านบาท 
ความสวยงามนี้ได้เลื่องลือไปไกลจนสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสนอให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2536 
 
ภายใน ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชมธรรมชาติบนเขาล้าน ชมพันธุ์ไม้ป่านานาชนิด เช่น ต้นตีนนก, ต้นหนามกลาย,ต้นตะพรุน, ต้นงิ้วป่า,ต้นสะตอ , ต้นแดงเขา , ต้นเฝ้า, ต้นเลือดควาย, ต้นกำแพงเจ็ดชั้น ฯลฯ สวนไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด 76 จังหวัด จำนวน 972 ต้น ในโครงการ ”พฤกษชาติบูชาพระบรมราชูปถัมภก 6 รอบ “ สภากาชาดไทยจัดขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระบรมราชูปถัมภก ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา เมื่อพ.ศ. 2542 มีสวนสมุนไพรแก้โรค 20 กลุ่มโรค ชมสวนไม้ในพุทธประวัติ บริเวณศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อแดง และสวนป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย 
 
ข้อมูลจาก: 
http://www.redcross.or.th/khaolan/ [accessed 20081119]
ประโยชน์ ชอบรส.ศาลาราชการุณย์ สถาปัตยกรรมดีเด่นของเมืองตราด.แนวหน้า 21 มิถุนายน 2537 หน้า 5
ชื่อผู้แต่ง:
-