กุฏิสงฆ์ล้านนาญาณสังวราราม วัดศรีดอนมูล


กุฏิสงฆ์ล้านนาญาณสังวราราม สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2532 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2539 ด้วยความคิดที่พระครูสิริศีลสังวร (ครูบาน้อย) ต้องการสืบสานงานศิลปะฝีมือช่างล้านนาเอาไว้ในงานสถาปัตยกรรมและลวดลายไม้แกะสลักประดับประดาสถาปัตยกรรมแบบล้านนา โดยพระครูได้คัดเลือกช่างพื้นบ้านฝีมือดีมาก่อสร้าง อาคารหลังนี้สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลังโดยใช้เสาไม้สักกลมต้นใหญ่ถึง 72 ต้น พื้นที่ตรงกลาง เป็นศาลารับแขกและผู้มานมัสการ จัดตั้งพระประธานขนาดใหญ่ ด้านข้างศาลายกระดับสูงกว่าชานเชื่อมทางในระดับเสมอกับพื้นที่ตรงกลาง ใช้เป็นที่นั่งรับแขกญาติโยมในเวลาปกติของครูบาทั้งสองท่าน พื้นเรือนที่เชื่อมด้านหลังส่วนที่เชื่อมกับห้องที่พักของพระ จัดตั้งตู้แสดงวัตถุจำนวน 7 ตู้ เป็นตู้ไม้ที่ออกแบบให้เข้ากับอาคารและพื้นที่ในการจัดแสดง ข้าวของส่วนใหญ่ได้จากการบริจาค ของที่มีมากจัดแสดงรวมไว้ในตู้เดียวกัน เช่น ตะเกียงโบราณ ถ้วยชามเขียนสี เงินตราธนบัตรและเหรียญ คัมภีร์ใบลาน เครื่องถ้วยลายคราม น้ำเงิน- ขาว ศิลปวัตถุที่มีอย่างละ 2 ชิ้น จัดแสดงรวมไว้ในตู้เดียวกัน เช่น ขันทองเหลือง เครื่องเขิน พานเงินขันเงิน ดินเผารูปมอม สิงห์ แผงพระพิมพ์ อ่างบัวเคลือบ ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้าม่านโบราณ และเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นเก่า เป็นต้น ส่วนใต้ถุนศาลาทำตู้ไม้ติดกระจกล้อมเสาใหญ่ ใช้เป็นที่จัดแสดง เครื่องใช้พื้นบ้าน เช่น เครื่องมือทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา กระเบื้องมุงหลังคาแบบเก่า เครื่องมือทำนา ส่วนวัตถุขนาดใหญ่เช่น แอก คราด จัดวางภายนอกตู้

ที่อยู่:
วัดศรีดอนมูล หมู่ 8 บ้านศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140
โทรศัพท์:
053-421040
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
watsridonmoon@yahoo.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2539
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของกุฏิสงฆ์ล้านนาญาณสังวราราม วัดศรีดอนมูล

กุฏิสงฆ์ล้านนาญาณสังวราราม สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2532 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2539 ด้วยความคิดที่พระครูสิริศีลสังวร (ครูบาน้อย) ต้องการสืบสานงานศิลปะฝีมือช่างล้านนาเอาไว้ในงานสถาปัตยกรรมและลวดลายไม้แกะสลักประดับประดาสถาปัตยกรรมแบบล้านนา โดยพระครูได้คัดเลือกช่างพื้นบ้านฝีมือดีมาก่อสร้าง และควบคุมงานก่อสร้างด้วยตนเองแบบค่อยเป็นค่อยไปจนแล้วเสร็จ อาคารหลังนี้สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลังโดยใช้เสาไม้สักกลมต้นใหญ่ถึง 72 ต้น การสร้างใช้หารลดระดับพื้นระหว่างพื้นที่ใช้สอยและพื้นที่แนวทางเดินและให้ลมลอดระหว่างระดับเพื่อระบายอากาศ เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่จะทำให้ภายในเรือนไม่ร้อน อากาศถ่ายเทเย็นสบายตลอดปี ใช้งานแกะสลักประดับตกแต่งอาคาร เช่น ลายไม้ เชิงชาย ภายในกุฏิ คอสองและเป็นลวดลายแบบล้านนา เช่น หมากขนัด ดอกพุฒตาล ลายเครือเถา

การแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้งานทำอย่างเรียบง่าย แต่มีประโยชน์ใช้สอยครบถ้วน โดยใช้พื้นที่ตรงกลาง เป็นศาลารับแขกและผู้มานมัสการ จัดตั้งพระประธานขนาดใหญ่ ด้านข้างศาลายกระดับสูงกว่าชานเชื่อมทางในระดับเสมอกับพื้นที่ตรงกลาง ใช้เป็นที่นั่งรับแขกญาติโยมในเวลาปกติของครูบาทั้งสองท่าน พื้นเรือนที่เชื่อมด้านหลังส่วนที่เชื่อมกับห้องที่พักของพระ จัดตั้งตู้แสดงวัตถุจำนวน 7 ตู้ เป็นตู้ไม้ที่ออกแบบให้เข้ากับอาคารและพื้นที่ในการจัดแสดง ข้าวของส่วนใหญ่ได้จากการบริจาค ของที่มีมากจัดแสดงรวมไว้ในตู้เดียวกัน เช่น ตะเกียงโบราณ ถ้วยชามเขียนสี เงินตราธนบัตรและเหรียญ คัมภีร์ใบลาน เครื่องถ้วยลายคราม น้ำเงิน- ขาว ศิลปวัตถุที่มีอย่างละ 2 ชิ้น จัดแสดงรวมไว้ในตู้เดียวกัน เช่น ขันทองเหลือง เครื่องเขิน พานเงินขันเงิน ดินเผารูปมอม สิงห์ แผงพระพิมพ์ อ่างบัวเคลือบ ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้าม่านโบราณ และเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นเก่า เป็นต้น ส่วนใต้ถุนศาลาทำตู้ไม้ติดกระจกล้อมเสาใหญ่ ใช้เป็นที่จัดแสดง เครื่องใช้พื้นบ้าน เช่น เครื่องมือทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา กระเบื้องมุงหลังคาแบบเก่า เครื่องมือทำนา ส่วนวัตถุขนาดใหญ่เช่น แอก คราด จัดวางภายนอกตู้

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 269.
ชื่อผู้แต่ง:
-