หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ


อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ หอพิพิธนิทัศน์ หรือที่รู้จักกันว่า "หอฝิ่น" เป็นพิพิธภัณฑสถานที่เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการในมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดสร้างจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและงบประมาณรัฐบาลญี่ปุ่นในโครงการ JBIC เริ่มดำเนินการจัดสร้างอาคารจัดแสดงและอาคารประกอบอื่นๆ เมื่อ พ.ศ.2543 หอพิพิธนิทัศน์มุ่งหมายเพื่อให้ความรู้ในเรื่องความเป็นมาของฝิ่น ที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณที่จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ หอฝิ่น จัดเสนอเนื้อหาประวัติศาสตร์และพัฒนาการของฝิ่น และสารเสพติดที่ได้จากฝิ่น สงครามฝิ่น ขบวนการค้ายาเสพติด ที่ซับซ้อนอยู่ในทุกส่วนของโลกสารเสพติดอื่น ๆ ผลกระทบของยาเสพติดต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และต่อบุุคคล ผู้เข้าชมได้มีปฏิสัมพันธ์ สัมผัสตระหนักถึงมหันตภัย เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อปัญหาจากฝิ่นและสารเสพติด ได้ครุ่นคิดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้และร่วมกันแก้หรือควบคุมปัญหายาเสพติด ตลอดจนนำความรู่ไปใช้ในชีวิตจริง

ที่อยู่:
ถนนสายริมโขง ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย 57150
โทรศัพท์:
053 - 784444 - 6
วันและเวลาทำการ:
วันอังคาร - วันอาทิตย์ (หยุดทำการวันจันทร์)
ค่าเข้าชม:
ชาวไทย 150 บาท ต่างชาติ 200 บาท
เว็บไซต์:
อีเมล:
hallofopium@doitung.org
ปีที่ก่อตั้ง:
2537
ของเด่น:
นิทรรศการว่าด้วยประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการของสารเสพติดจากฝิ่น รวมถึงขบวนการค้ายาเสพติดผ่านมัลติมีเดียทันสมัย, บ้องฝิ่นที่ทำด้วยกระดูก และงา

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

"พิพิธภัณฑ์ฝิ่น" จุดเริ่มต้นเพื่อการรู้เท่าทันยาเสพติด

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/17/2547

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

Hall of Opium ประวัติศาสตร์"ฝิ่น"สามเหลี่ยมทองคำ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2/16/2547

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

Definitive museum on drug use

ชื่อผู้แต่ง: thanin weeradet | ปีที่พิมพ์: 10/10/2545

ที่มา: Bangkok Post

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"หอฝิ่น" พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเฉลิมพระเกียรติ "สมเด็จย่า"

ชื่อผู้แต่ง: สุทธาสินี จิตรกรรมไทย | ปีที่พิมพ์: 15/07/2548

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การศึกษาโครงการพิพิธภัณฑ์ฝิ่นสามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย

ชื่อผู้แต่ง: ทวีวงศ์ ศรีบุรี | ปีที่พิมพ์: 2536

ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักบริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

หอฝิ่น

หอฝิ่น เกิดขึ้นจากพระราชปรารภของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตร"สามเหลี่ยมทองคำ" อันประกอบไปด้วยดินแดนของประเทศลาว พม่าและไทย ที่ชาวโลกรู้จักเพียงแค่เป็นที่ปลูกฝิ่น ผลิต และค้ายาเสพติดแหล่งใหญ่ อันเป็นเหตุให้เสียชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของประเทศ

จากการแก้ปัญหาเรื่องยาเสพติดของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ โครงการในพระราชดำริของพระองค์ ที่สามารถลดอุปทาน (supply) ของการผลิตและค้าฝิ่นที่ประสบผลสำเร็จอย่างดี จึงทรงมีพระราชดำริที่จะให้ประชาชนได้เรียนรู้เรื่องมหันตภัยอันเกิดจากฝิ่นและสารเสพติดเพื่อลดอุปสงค์ (demand) ของการใช้สารเสพติดทั้งปวงด้วย

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ดำเนินการตามพระราชปรารภโดยจัดสร้างหอฝิ่น ในพื้นที่บริเวณบ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับฝิ่น และสารเสพติดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 โดยตลอดระยะเวลา 6 ปี ของการก่อสร้างก็ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ในหลายมิติจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ที่ให้การสนับสนุนด้านการจัดหางบประมาณ ด้านข้อมูล รูปภาพ วัตถุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการจัดแสดงนิทรรศการ

หอฝิ่นจึงเป็นดอกผลแห่งแรงบันดาลใจในการสืบสานแนวพระราชดำริสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สำเร็จเรียบร้อยสมบูรณ์และเปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้อย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ.2548

หอฝิ่น จัดเสนอเนื้อหาประวัติศาสตร์และพัฒนาการของฝิ่น และสารเสพติดที่ได้จากฝิ่น สงครามฝิ่น ขบวนการค้ายาเสพติด ที่ซับซ้อนอยู่ในทุกส่วนของโลกสารเสพติดอื่น ๆ ผลกระทบของยาเสพติดต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และต่อบุุคคล ผู้เข้าชมได้มีปฏิสัมพันธ์ สัมผัสตระหนักถึงมหันตภัย เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อปัญหาจากฝิ่นและสารเสพติด ได้ครุ่นคิดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้และร่วมกันแก้หรือควบคุมปัญหายาเสพติด ตลอดจนนำความรู่ไปใช้ในชีวิตจริง

หอฝิ่น จึงไม่ได้เป็นเพียงแหล่งเรียนรู้ที่ให้ข้อคิดเท่านั้น ยังเป็นสื่อสัญลักษณ์สะท้อนอานุภาพแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงห่วงใยประชาชาติ และราษฏรไทยที่ต้องเผชิญภัยคุกคามจากยาเสพติดและได้ทรงทุ่มเทความพยายามแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง กระทั่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและองค์การสหประชาชาติ ได้ลบชื่อประเทศไทยออกจากรายนามประเทศที่มีการปลูกฝิ่นอันดับโลกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา

ภายในอาณาเขต 250 ไร่ ของหอฝิ่น นอกจากอาคารที่จัดแสดงนิทรรศการยาเสพติด ที่เป็นหัวใจสำคัญแล้ว ยังมีศูนย์ประชุม และที่พักสำหรับให้บริการประชาชนทั่วไปอีกด้วย

ท่องประวัติศาสตร์อันยาวนานของฝิ่น

ฝิ่น เป็นตัวยาที่ได้จากพืชเก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งในประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติมาเป็นเวลานานนับศตวรรษ โดยมีประสิทธิภาพในการลดความปวด แก้ท้องเสีย และลดอาการไอ และเป็นพืชชนิดเดียวที่อยู่ในยาแก้ปวดทุกชนิดที่ใช้กันจนทุกวันนี้ แต่ด้วยประสิทธิภาพอันทรงพลังในการกล่อมประสาท ฝิ่นจึงถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด เพื่อเสพให้เคลิบเคลิ้มหลุดพ้นจากโลกของความเป็นจริง เกิดเป็นการค้าที่มีผลประโยชน์มหาศาล มีการผลิต การลักลอบค้าฝิ่นที่ทะลักเข้ามาในดินแดนเอเซียและสยามประเทศ ก่อให้เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกทั่วโลก

นอกจากนี้ในหอฝิ่นยังมีเรื่องราวของปัญหายาเสพติดต่าง ๆ ที่เพิ่มความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น การค้ายาเสพติดเพื่อหาเงินทุนสำหรับการซื้ออาวุธและการทำสงครางล่อลวงให้เกิดการฉ้อราษฏร์บังหลวง ตลอดจนพิษภัยจากการสูบฝิ่นและยาเสพติดชนิดอื่น ๆ ตลอดจนรายละเอียดต่าง ๆ ของสนธิสัญญาฝิ่น กฎหมายเกี่ยวกับฝิ่น องค์กรที่แก้ปัญหานี้ มาตรการควบคุมและปราบปรามยาเสพติดและกรณีศึกษาที่นำเสนอทางเลือกและโอกาสที่จะต่อสู้กับความเย้ายวนจากสารเสพติด

นับแต่ก้าวแรกของการเข้าชม ทุกท่านจะได้เดินผ่าน "อุมงคมุข" อุโมงค์แห่งกาลเวลาที่เจาะทะลุเนินเขาเข้าไปยังอาคารขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถมองเห็นจากภายนอก ผนังของทางเดินที่ยาว 137 เมตร แสดงภาพของผู้คนที่กำลังทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากการตกเป็นเหยื่อของความชั่วร้ายของฝิ่นและสิ่งเสพติด

การจัดลำดับและเนื้อหาอย่างเป็นขั้นตอน เข้าใจง่าย ประกอบด้วยแสง สี เสียง เทคนิคต่าง ๆ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ และวีดีทัศน์ตลอดจนการแสดงอุปกรณ์การสูบและขายฝิ่น ซึ่งได้รวบรวมจากหลายประเทศทั่วโลก จะนำผู้เข้าชมนิทรรศการสู่อีกมิติของกาลเวลานำพาสู่การเรียนรู้และชวนขบคิดอย่างแท้จริง

หอฝิ่น ได้รับรางวัล PATA Gold Award ในสาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้จากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (PATA) ในปี พ.ศ. 2547 และรางวัลดีเด่นในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ (the 6th Thailand Tourism Award 2006) จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อ พ.ศ. 2549 และยังเป็นที่กล่าวขวัญว่า เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยและของเอเชีย

ชื่อผู้แต่ง:
ประเสริฐ เทพอินถา

รีวิวของหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ

อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ หอพิพิธนิทัศน์ หรือที่รู้จักกันว่า "หอฝิ่น" เป็นพิพิธภัณฑสถานที่เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการในมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดสร้างจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและงบประมาณรัฐบาลญี่ปุ่นในโครงการ JBIC เริ่มดำเนินการจัดสร้างอาคารจัดแสดงและอาคารประกอบอื่นๆ เมื่อ พ.ศ.2543  หอพิพิธนิทัศน์มุ่งหมายเพื่อให้ความรู้ในเรื่องความเป็นมาของฝิ่น ที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณที่จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ นอกจากนี้ยังให้ความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของฝิ่นและสิ่งเสพติดที่พัฒนาจากฝิ่นชนิดต่างๆ 
 
อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ หอพิพิธนิทัศน์ สร้างขึ้นในพื้นที่ 30 ไร่ ตัวอาคารจัดแสดงเป็นอาคารคอนกรีต สถาปัตยกรรมร่วมสมัย ความสูง 2 ชั้น เชื่อมต่อกับส่วนอุโมงค์ ความยาว 137 เมตร ที่เจาะเนินเขาเข้าไป ลักษณะการใช้สอยพื้นที่ในอาคาร ประกอบด้วย
 
พื้นที่ส่วนจัดแสดง เป็นพื้นที่หลังของอาคาร แบ่งเป็นส่วนต่างๆ 
- อาคารส่วนต้อนรับ (Reception Building) 
-อุโมงค์ (Tunnel) ความยาว 137 เมตร เป็นส่วนต่อจากอาคารต้อนรับซึ่งเจาะภูเขาเข้าไปเป็นทางยาวที่จะไปทะลุยังอาคารอันเป็นส่วนที่จัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานในอาคารที่อยู่อีกด้านหนึ่ง ภายในอุโมงค์จะมีการสร้างบรรยากาศด้วยควันและม่านแสงให้ความรู้สึกเกี่ยวกับความลึกลับ ความหวาดระแวง ความเจ็บปวด อันเป็นความรู้สึกของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 
- ห้องโถงขนาดเล็ก(Transition Lobby) เป็นห้องโถงที่เชื่อมต่อตรงทางออกของอุโมงค์ แสดงถึงการก้าวเข้าไปสู่สามเหลี่ยมทองคำ 
- ห้องโถง (Lobby) ถัดจากห้องโถงขนาดเล็กเป็นห้องโถงอเนกประสงค์   ผนังด้านหนึ่งจำลองไร่ฝิ่นที่กำลังออกดอกสะพรั่ง มีนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับเรื่องสายพันธุ์ของฝิ่น ติดต่อกับห้องโถง เป็นห้องบรรยาย (Auditorium) 
การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยหัวเรื่องต่างๆ เรียงลำดับ ดังนี้ 
 
ปัญจสหัสวรรษแรก (The First 5,000 years) นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของการค้นคว้าและหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับฝิ่นเมื่อ 5,000 ปีมาแล้ว ในดินแดนต่างๆของโลก 5 แห่งได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์และเมดิเตอร์เรเนียน สุเมเรียน อียิปต์ กรีก และโรมัน ยุโรป อเมริกา เอเชีย อินเดียและจีน
 
มีดสองคม (Dark and Bright Hallway) จัดแสดงโดยแยกด้านคุณประโยชน์ของฝิ่น 
 
ประจิมสู่บูรพา (Journey from west to east) เป็นการจำลองฉากท่าเรือพาณิชย์ที่ประเทศอังกฤษ และร้านน้ำชาแบบอังกฤษ การติดชาที่นำเข้าจากจีน ที่นำไปสู่การขาดดุลทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลระหว่างอังกฤษที่มีต่อจีน จากท่าเรือเป็นสะพานที่ไปยังท่าเรือจอดเรือลำที่ 1 แสดงสภาพของสินค้าที่มากับเรือ เป็นสินค้าจากอังกฤษ ส่วนกราบเรืออีกด้านหนึ่งเป็นสินค้าจากจีน ในลำเรือส่วนที่ 2 แสดงถึงการเป็นเรือขนถ่ายสินค้า นำฝิ่นที่ปลูกในอินเดียไปขายในจีน
 
ศึกยาฝิ่น (The Opium War) ภายในห้องแบ่งการจัดแสดงเป็น 4 ส่วน เล่าถึงเหตุการณ์สำคัญและสงครามฝิ่นที่ก่อให้การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในจีน ได้แก่ 
- กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสงครามฝิ่นได้แก่ จักรพรรดิเต๋ากวง(The Dao-quang Emperor) หลินเจ๋อสวี (คอมมิชชั่นเนอร์ลิน) (Lin Aexu) ผู้ว่าการกวางสี (เติ้งเถิงเจิ้น) (Deng Tingzhen) และบุคคลสำคัญของอังกฤษ ได้แก่ สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย (Queen Victoria) เซอร์จอห์น บาวริ่ง (Sir John Boering) ดอกเตอร์วิลเลียม จาร์ดีน(Dr.William Jardine) เซอร์เจมส์ แมทเธอร์สัน (Sir James Matheson) 
- หุ่นจำลองเหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ได้แก่ การทำลายสวนสี่ฤดูในจีนโดยกองกำลังทหารอังกฤษ การต่อต้านและการทำลายฝิ่นที่หูเหมิน(Humen) โดยจีน การลิดรอนสิทธิและผลกระทบด้านความเป็นอยู่ของชาวจีนหลังสงครามฝิ่น 
- เก๋งจีนจัดแสดงภาพประวัติศาสตร์ แผ่นปลิวโฆษณา และหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านฝิ่นของชาวจีน รวมทั้งตู้จัดแสดงอาวุธ เครื่องแต่งกายในสมัยราชวงศ์ชิงอันเป็นระยะเวลาที่เกิดสงครามฝิ่น 
- ฉากจำลองป้อมปืนบริเวณชายฝั่งของจีนเพื่อคอยตรวจตราความเคลื่อนไหวของกองกำลังทหารเรือของอังกฤษ 
 
ด้านนอกและผนังเหนือสะพานติดตั้งภาพและคำบรรยายที่เกี่ยวข้องกับสงครามฝิ่น บริเวณสะพานเล็กอีกด้านหนึ่งติดตั้งโทรทัศน์ขนาด 25 นิ้ว 4 เครื่อง ฉายภาพเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับสงครามฝิ่นถัดจากสะพานเป็นช่องกระจกที่มองผ่านจากเมืองจีนสู่เมืองไทยซึ่งจะเป็นส่วนต่อไปยังนิทรรศการชั้น 2 
 
ฝิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Opium in Southeast Asia) เป็นส่วนจัดแสดงชั้นที่ 3 ต่อเนื่องกับชั้นที่ 2 จัดแสดงวัตถุและคำบรรยายพร้อมภาพประกอบเกี่ยวกับฝิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
 
ฝิ่นในสยาม (Opium in Siam) จัดแสดงด้วยการจำลองสภาพสยามในอดีตสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 การจัดแสดงในส่วนนี้เป็นการจัดทำฉากจำลองโรงน้ำชาจีน (Opium Den) เยาวราช มีผู้คนนอนสูบฝิ่น ถัดจากฉากจำลองดังกล่าวเป็นส่วนจัดแสดงอื่นๆประกอบด้วย 
- ประวัติที่เกี่ยวกับฝิ่นในสยาม 
- โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่เกี่ยวข้องกับฝิ่น อาทิ เป้ง หมอนสำหรับคนสูบฝิ่น ตะเกียง กล้องสูบฝิ่น ตลับยาสูบฝิ่น ฯลฯ 
- พระพุทธเสฏฐมุนีจำลอง พระพุทธรูปประธานในศาลาการเปรียญวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งสร้างขึ้นจากกลักใส่ฝิ่นที่เป็นทองเหลือง 
- ฉากจำลองการเคี่ยวฝิ่นในบริเวณโรงต้มฝิ่น 
 
ปฏิบัติการทางเภสัชวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 (19th Century Lab) ห้องจัดแสดงส่วนนี้เป็นการจำลองห้องปฏิบัติการทางเภสัชวิทยาในโรงพยาบาล ที่จัดแสดงวิวัฒนาการของเข็มฉีดยา บรรจุภัณฑ์เกี่ยวกับยา และเรื่องราวเกี่ยวกับการนำฝิ่นไปสกัดเป็นเฮโรอิน และมอร์ฟีน ซึ่งในทางการแพทย์ใช้มอร์ฟีนเพื่อเป็นยาระงับความเจ็บปวดสำหรับทหารในการทำสงคราม
 
ถัดจากส่วนจัดแสดงนี้ เป็นพื้นที่ห้องสามเหลี่ยม แบ่งส่วนจัดแสดงเป็น 2 ส่วนได้แก่
- มาตรการควบคุมและปราบปรามการค้าและการลักลอบใช้ฝิ่น (International Prohibition) 
- อาชญากรรม การฉ้อโกง และสงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 20 (20th century : Crime, Corruption and Wars) เกี่ยวกับการฉ้อโกงของรัฐบาลยุคต่างๆ รวมทั้งคดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับฝิ่นและยาเสพติด เรื่องราวเกี่ยวกับสงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 20 
 
แหล่งซุกซ่อน (Hide - out Gallery) จัดแสดงในเรื่องการซุกซ่อนยาเสพติดตามที่ต่าง ๆ ในสัมภาระ ร่างกาย 
ผลร้ายของยาเสพติด (Effects of opium/opiates) เป็นส่วนจัดแสดงที่มุ่งแสดงให้เห็นความทุกข์ทรมานอันส่งผลกระทบทางด้านสังคมและตัวผู้เสพยา 
 
กรณีศึกษา (Case study) เป็นการนำกรณีศึกษาเกี่ยวกับครอบครัวที่ติดยาเสพติดในประเทศไทย 
เหยื่อ (Gallery of Victim) จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเอดส์และผู้ตกเป็นเหยื่อ แสดงให้เห็นครอบครัวในอดีตที่มีความสุขก่อนตกเป็นเหยื่อความเลวร้ายอันเกิดจากยาเสพติดและโรคร้าย 
 
หลอกตัวเอง หลอกคนอื่น (Gallery of Excuses) จัดแสดงโดยใช้ผนังพิมพ์ภาพถ่ายเหยื่อของยาเสพติด เพื่อสื่อให้ผู้เข้าชมได้เห็นถึงการแก้ตัว แก้ต่าง กล่าวโทษกันไปมาต่อกรณีการติดยาเสพติด ในที่สุดอาจนำความตายมาสู่ผู้เสพยานั้น 
 
ความตายและการคืนชีพ (Gallery of Dead and Recover) บนผนังจะติดตั้งภาพถ่ายดารา และศิลปินที่มีชื่อเสียงที่เสียชีวิตเนื่องจากการใช้ยาเสพติด และกลุ่มบุคคลที่เลิกจากยาเสพติดและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขประสบความสำเร็จในชีวิต 
 
ห้องคิดคำนึง (Hall of Reflection & Action) เป็นห้องที่ให้ผู้ชมได้รับรู้ถึงคุณและโทษของยาเสพติด และการปฏิบัติตนในแนวทางที่ถูกต้อง 
 
ข้อมูลจาก: กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. นามานุกรมพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย ภาคเหนือ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2546. หน้า 23.
ชื่อผู้แต่ง:
-