เรื่องเล่าชุมชน |

วัดเขาเหลือ, จ.ราชบุรี 23 ก.ย. 64

วิหารแกลบ สถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา

     วิหารแกลบ เป็นอาคารเครื่องก่อขนาด 3 ห้อง ลักษณะหลังคาเป็นจั่วลาดลงเล็กน้อย ด้านหน้าและด้านหลังมีมุขยื่น ส่วนของหลังคาทั้งหมดฉาบปูนเรียบ เครื่องลำยองเป็นปูนปั้นเรียบ ยอดจั่วและหางหงส์ปั้นเป็นรูปดอกบัวตูม หน้าบันก่ออิฐถือปูนเรียบ ผนังด้านหน้ามีประตูตรงกลาง ด้านหลังทึบ ด้านข้างมีซุ้มหน้าต่างด้านละ 3 ซุ้ม แต่มีหน้าต่างจริงเพียงช่องเดียว ฐานอาคารเป็นฐานบัวลูกฟักแอ่นโค้งคล้ายท้องเรือสำเภา เป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ฝาผนังด้านในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ค่อนข้างลบเลือนแต่ยังพอมองเห็นว่าเป็นภาพเรื่องพระพุทธประวัติเทพชุมนุม และภาพยักษ์ เจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังวิหารแกลบ ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ก่ออิฐถือปูนขนาดค่อนข้างใหญ่ ฐานเจดีย์เป็นฐานบัวลูกฟักซ้อนกัน องค์ระฆังย่อมุม มีบัลลังก์รองรับปล้องไฉนและส่วนยอดกรม [1]

-------

[1] วิหารแกลบวัดเขาเหลือ, จาก http://arit.mcru.ac.th/e-chayaratchaphuri/index.php?option=com_content&view=article&id=161วิหารแกลบ ค้นเมื่อ 23 ก.ย. 64.

เรื่องเล่าชุมชน