พรรณไม้ในอุทยานพฤกษศาสตร์


เอื้องแปรงสีฟัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium secundum (Blume) Lindl.
วงศ์ : ORCHIDACEAE
———————————————————————————————————————————————–
เป็นกล้วยไม้ที่รู้จักกันดีไม่ว่าจะเป็นนักเล่นกล้วยไม้เก่าหรือใหม่ ด้วยลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนใคร
เอื้องแปรงสีฟัน จึงได้รับฉายาหลากหลายมากมาย อาทิเช่น เอื้องสีฟัน เอื้องหงอนไก่ เอื้องแปลงสีฟันพระอินทร์
คองูเห่า
เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเป็นแท่งกลม ใบ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-4 ซม. ยาว 6-15 ซม. ทิ้งใบในช่วงแล้ง ดอก ออกดป็นช่อยาว 6-12 ซม. ดอกเรียงแน่นเป็นแถวอยู่ด้านบน บานเต็มที่กว้าง 0.5-0.7 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีชมพูเข้ม กลีบปากมีแต้มสีเหลือง มีบางต้นที่ดอกเป็นสีขาว แต่หายากมาก
พบทุกภาคตามป่าผลัดใบและป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 300-1,600 เมตร ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน

หิ่งหาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crotalaria quinquefolia L.
วงศ์ : FABACEAE
———————————————————————————————————————————————–
บางพื้นที่เรียกชื่อแตกต่าง
กันอาทิ หิ่งห้อย , มะหิ่ง หรือรางจืดตัวเมีย เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ตำต้นตรงสีเขียวอ่อนมีขนอ่อ
นๆ เท่าที่เห็นสูงราวๆ 1 เมตร หรือไม่เกิน 1.5 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม
สรรคุณทางยาอย่างมหาศาล คือ ราก ฝนน้ำดื่มแก้ยาพิษ ยาสั่ง ยาเมา หากเอารากไปต้มดื่มน้ำก็ขับ
ปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ยิ่งถ้าผสมเกลือเล็กน้อย และมะนาวจึงจะดีขึ้นไปอีก เป็นยาบำรุงกำลังว่ากันว่า กระตุ้นทางเพศได้ดีนักแล

กะเรกะร่อนสองสี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbidium bicolor Lindl.
วงศ์ : ORCHIDACEAE
———————————————————————————————————————————————–
บางพื้นที่มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กะเรกะร่อนด้ามข้าว กระด้ามผี นุงทุ่งทอง
เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ขึ้นเป็นกอแน่น ใบ รูปแถบ กว้าง 3-3.5 ซม. ยาว 40-50 ซม. ดอกออกเป็นช่อห้อยลง
ยาว 50-70 ซม. จำนวน 14-30 ดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5-3 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีครีม มีแถบตามยาว
สีแดงเข้ม กลีบปากสีแดงเข้ม มีแต้มสีครีมที่กลางกลีบ พบทั่วประเทศตามที่ชื้นในป่าผลัดใบหรือป่าดงดิบ ออกดอกช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน

อินทนิลน้ำดอกสีขาว