มาเที่ยวและทำความรู้จักกับวัดดัง เชียงราย วัดพระธาตุดอยตุง

มาเที่ยวและทำความรู้จักกับวัดดัง เชียงราย วัดพระธาตุดอยตุง

วัดพระธาตุดอยตุง อ.แม่จัน จ.เชียงราย แห่งนี้เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญ เบื้องซ้ายหรือกระดูกไหปลาร้า ที่ซึ่งนำมาจากประเทศอินเดีย ดังที่ตำนานกล่าวเอาไว้ว่าเมื่อ 1,000 กว่าปีล่วงมาแล้วประมาณ ปี พ.ศ. 1454 พระมหากัสสปะเถระพร้อมด้วย กับพระเข้าอชุตราชกษัตริย์ผู้ครอง เมืองโยนกนาคพันธ์ ได้ร่วมกันกับข้าราชบริพารได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ สถิตไว้ที่ดอยแห่งนี้และได้ปักตุงหรือธงบูชาพระบรมสารีริกธาตุเป็นตุงตะขาบ ที่มีความยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอยปล่อยชายตุง ปลิวสะบัดถึงที่ใดให้หมายเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ ดอยนี้จึงได้ชื่อว่าดอยตุง มาจนถึงทุกวันนี้ พระธาตุดอยตุงนั้น เป็นปฐมเจดีย์แห่งล้านนาตุง คือศรีเมือง ขวัญเมือง และยังเป็นเอกลักษณ์ของล้านนาที่สถิตคู่พระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ตลอดมา และต่อมาใน ปี พ.ศ. 2470 ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ ตามศิลปะแบบล้านนาดั้งเดิมและได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบองค์เดิมเอาไว้นั่นเอง

ประวัติความเป็นมาของวัดพระธาตุดอยตุง

วัดพระมหาชินธาตุเจ้า(ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุงตั้งอยู่ที่บริเวณส่วนที่เรียกกันว่า หน้าอกของดอยนางนอน ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ที่เป็นถิ่นอยู่อาศัยของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างออกจากอำเภอเมืองเชียงราย อยู่ประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐาน อยู่บนยอดดอย ที่สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เนื่องจากพระธาตุดอยตุงตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึงประมาณ 2,000 เมตร

ตามตำนานได้เล่าว่า พระธาตุดอยตุงนั้นสร้างขึ้น ในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองนครโยนกพันธุ์(ปัจจุบันนั้นคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูกไหปลาร้า)แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ก็ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้น ไว้บนดอยแห่งนี้ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง(ธง) ที่มีความยาวถึง 1,000 วา ปักไว้บนยอดเขา หากตุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดมห้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์จึงได้พระราชทานทองคำได้ให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกปีลักยู 500 ครอบครัว ดูแลรักษาพระธาตุ ในเวลาต่อมาในสมัยพญามังราย แห่งราชวงศ์มังราย พระมหาวชิรโพธฺเถระได้นำ พระบรมสารีริกธาตุมาถวายทั้ง 50 องค์ พญามังรายจึงได้ให้ สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม และนับจากนั้นเป็นต้นมา พระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้ นี่เอง

รูปแบบสถาปัตยกรรมของ พระธาตุดอยตุง แต่เดิมมีองค์เดียว รูปแบบก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สืบสอง คล้ายกับ พระธาตุดอยสุเทพ เมืองเชียงรายในสมัยก่อนนั้น เป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุง จึงขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุที่ทรุดโทรม และพังทลายลงนับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเจดีย์อีกองค์ ใกล้กันอีกองค์หนี่ง จึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์ ในปัจจุบันพระธาตุ เป็นสีกองขนาดเล็กสององค์มีความสูงที่ประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมมีซุ้มจระนำสี่ทิศอยู่บนดอยสูง แวดล้อมไปด้วยป่ารกคลื้ม ที่เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่าเป็น ที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในเวลาต่อมาเมื่อ ปีพ.ศ. 2470 องค์พระธาตุได้ทรุดโทรมลงมาก  ครูบาเจ้าศรีวิชัย กับประชาชนเมื่องเชียงราย ได้บูรณะขึ้นมาใหม่โดยการสร้างเป็นเจดีย์องค์ ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลื่ยมตามศิลปะแบบล้านนา การบูรณะครั้งหลังสุดนี้มีขั้นเมื่อ ปีพ.ศ. 2516 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมเอาไว้นั่นเอง

ติดตามสถานที่ที่จะพาคุณไปเที่ยวในแบบที่คุณต้องการ http://travel.sanook.com/


ใส่ความเห็น