11. ต้นกระดังงา

        หากต้องการให้วงศ์ตระกูลมีชื่อเสียงโด่งดัง ต้นกระดังงา ก็คือต้นไม้มงคลตามความเชื่อของคนโบราณที่ปรารถนาให้ลูกหลานมีชื่อเสียงก้องกังวานไปไกล มีลาภยศสรรเสริญ มีเงินทอง ผู้คนทั่วไปนับหน้าถือตา เพราะชื่อ “กระดังงา” เป็นชื่อที่มีความหมายที่ดี และคนก็เชื่อกันว่า เสียงที่ดังนั้นไพเราะเพราะพริ้งดังก้องไปถึงสรวงสวรรค์เลยล่ะ

       นอกจากเรื่องชื่อเสียงโด่งดังแล้ว คนไทยยังเชื่อกันว่า กระดังงาเป็นต้นไม้ที่ช่วยเสริมเสน่ห์ให้สมาชิกในบ้านให้เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป และมีชีวิตที่หอมหวลเหมือนกับกลิ่นหอมของดอกกระดังงา บ้านไหนที่คิดจะปลูกกระดังงาควรปลูกในวันพุธ ไว้ทางทิศตะวันออกของตัวบ้าน เพื่อให้แสงอาทิตย์สาดส่อง จะช่วยให้ชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว เพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่ตัวบ้าน และครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบ้าน

กระดังงาไทย ชื่อสามัญ Cananga, Ylang-Ylang, Ilang-Ilang (อิลาง-อิลาง)

กระดังงาไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)

สมุนไพรกระดังงาไทย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กระดังงา (ยะลา, ตรัง), กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (ภาคกลาง), สะบันงา สะบันงาต้น (ภาคเหนือ) เป็นต้น

images-1

ลักษณะของกระดังงาไทย
         ต้นกระดังงาไทย จัดเป็นไม้เลื้อยทรงพุ่มขนาดกลางและใหญ่ ลักษณะเป็นพุ่มทรงโปร่ง ออกดอกตลอดทั้งปี ลักษณะการแตกกิ่งก้านจะลู่ลงด้านล่าง บางชนิดจะเป็นเถาเลื้อยลำต้นสูงประมาณ 15-25 เมตร เปลือกต้นเกลี้ยงมีสีน้ำตาลและสีเทา โคนต้นมีปุ่มเล็กน้อยแตกกิ่งสาขามาก เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ต้องการพื้นที่ในการปลูกมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและการเพาะเมล็ด มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเซียเขตร้อนในแถบของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอินโดนีเซีย
ใบกระดังงา เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบคล้ายรูปวงรีหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่น สีขาว มีความกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 13-20 เซนติเมตร
ดอกกระดังงาไทย ออกดอกเป็นช่อกระจุก ที่บริเวณซอกใบหรือตามปลายกิ่ง กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว ดอกมีกลิ่นหอมแรง หนึ่งดอกจะมีกลีบ 6 กลีบ ดอกจะแบ่งเป็น 2 ชั้น ๆละ 3 กลับ ลักษณะของดอกจะเรียวยาว ม้วนบิดไปบิดมา ดอกมีขนาดประมาณ 3-5 นิ้ว ที่กลางดอกมีจุดเล็ก ๆ สีขาว
ดอกกระดังงา

       สมุนไพรกระดังงาไทย กับความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดที่ปลูกต้นกระดังไว้ประจำบ้านจะช่วยทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง เนื่องจาก “กระดัง” คือการทำให้เกิดเสียงดังไปไกล นอกจากนี้ก็ยังเชื่ออีกว่า เสียงดังเหมือนกับนกการะเวกในสมัยพุทธกาลที่มีเสียงดังไพเราะและก้องไกลทั่วสวรรค์ ดังนั้นบางคนจึงเรียกกระดังงาว่า การะเวก

images-2

สรรพคุณของกระดังงา
ใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก)
ใช้เป็นยาชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ทำให้ชุ่มชื่น (ดอก)
ดอกใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ดอก)
ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (ดอก)
ช่วยแก้อาการไข้เนื่องจากโลหิตเป็นพิษ (ดอก)
ดอกใช้ปรุงเป็นยาหอม ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะได้ (ดอก)
ช่วยบำรุงประสาทและช่วยสงบประสาท (น้ำมันหอมระเหย)
ช่วยแก้อาการซึมเศร้า กระวนกระวายใจ (น้ำมันหอมระเหย)
ช่วยลดความดันโลหิตได้ (น้ำมันหอมระเหย)
ช่วยแก้หอบหืดได้ (น้ำมันหอมระเหย)
ช่วยแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น)
ช่วยขับลม (น้ำมันหอมระเหย)
เปลือกต้นรสเฝื่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือกต้น,เนื้อไม้,น้ำมันหอมระเหย)
ช่วยแก้ปัสสาวะพิการได้ (เปลือกต้น,เนื้อไม้)
ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคได้ (น้ำมันหอมระเหย)
ดอกกระดังงาจัดอยู่ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดเกสรทั้ง 7” (สัตตะเกสร) และ “พิกัดเกสรทั้ง 9” (เนาวเกสร)

images
          ดอกกระดังงามีปรากฏในตำรายาแผนโบราณ ชื่อคัมภีร์มหาโชติรัตน์ ยาชื่อมาลาสันนิบาต ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ลมจุกคอ แก้อาการแน่นหน้าอก แก้จุกเสียกและแก้สะอึก (ดอก)
ประโยชน์ของกระดังงา
คนไทยโบราณมีการใช้ดอกกระดังงามาทอดกับน้ำมันมะพร้าวเพื่อใช้ทำเป็นน้ำมันใส่ผมได้ (ดอก)
น้ำมันหอมระเหยที่สกัดมาจากดอก หรือ Cananga oil หรือ Ylang-ylang oil ถูกนำมาใช้ในทางยาเป็น Aromatherapy (น้ำมันหอมระเหย)
น้ำมันหอมใช้ปรุงเป็นน้ำหอม หรือนำไปปรุงขนมและอาหารได้ (น้ำมันหอม)
มีการใช้น้ำมันหอมระเหยจากดอกมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง หรือทำเป็นเครื่องหอมต่าง ๆ (น้ำมันหอมระเหย)
ประโยชน์กระดังงาไทย เปลือกสามารถนำมาทำเป็นเชือกได้