ข้ามไปยังเนื้อหา

เอื้องแปรงสีฟัน

dendrobium-secundum

 

เอื้องแปรงสีฟัน จัดอยู่ในกล้วยไม้กลุ่มสกุล Dendrobium หรือ หวาย มันเป็นกล้วยไม้ที่รู้จักกันดีไม่ว่าจะเป็นนักเล่นกล้วยไม้เก่าหรือใหม่ ด้วยลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนใคร เอื้องแปรงสีฟัน จึงได้รับฉายาหลากหลายมากมาย อาทิเช่น แปรงสีฟันพระอินทร์, เอื้องหงอนไก่, คองูเห่า และ กับแกะ
เมื่อปี ค.ศ. 1825 เอื้องแปรงสีฟัน ได้ถูกตีชื่อลงในระบบพฤกษาศาสตร์เป็นครั้งแรก โดย นาย Carl Blume ซึ่งในครั้งนั้น เอื้องแปรงสีฟัน ยังไม่ได้อยู่ในกลุ่มสกุลของ Dendrobium แต่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Pedilonum แต่พอให้หลัง 4 ปีหลังจากได้จัดกลุ่มให้ เอื้องแปรงสีฟัน แล้ว นาย John Lindley ก็ได้ให้ชื่อใหม่ว่า Dendrobium secundum ซึ่งก็กลายเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ที่ใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบันครับ
ไม่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้นที่เราเรียกเจ้ากล้วยไม้ชนิดว่า เอื้องแปรงสีฟัน ในต่างประเทศเองก็มีชื่อเรียกเจ้ากล้วยไม้ชนิดนี้ว่า Toothbrush orchid ที่แปลได้ว่า เอื้องแปรงสีฟัน เช่นเดียวกับเรา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าด้วยลักษณะรูปร่างของทรงช่อของดอกและลำต้นโดยรวมแล้วคล้ายกับแปรงสีฟันจริง ๆ ก็เป็นได้ครับ


ภาพ : เอื้องแปรงสีฟันเผือก
ในบ้านเรานั้นสามารถพบเห็น เอื้องแปรงสีฟัน ได้เกือบทุกแหล่งป่าไม้ในประเทศไทย ด้วยนิสัยที่สามารถเติบโตได้ดีแม้ภูมิอากาศแห้งแล้ง เอื้องแปรงสีฟัน จึงมีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวางคลอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ของเทืองเขาหิมาลัย จีน พม่า ไทย อินโดจีน และภูมิภาคเอเชีย
ลักษณะดอกของ เอื้องแปรงสีฟัน มีขนาดเล็กกระจุกอยู่บริเวณก้านดอกรูปร่างคล้ายแปรง มีสีสันตั้งแต่ สีชมพูอ่อน ไล่โทนไปหาสีบานเย็นเข้ม แต่บางต้นก็ให้สีสันที่ประหลาดออกไปเช่นสีขาว หรือ ที่เราเรียกกันว่า กล้วยไม้เผือก ซึ่งเป็นสีที่หาพบได้ไม่บ่อยนักในกล้วยไม้แต่ละสายพันธุ์
เอื้องแปรงสีฟัน มักจะให้ดอกบริเวณปลายยอดของลำต้น โดย 1 ลำ สามารถให้ดอกได้ตั้งแต่ 1 – 3 ช่อ ผลิดอกบานในช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน โดยก่อนให้ดอก เอื้องแปรงสีฟันจะทิ้งใบพักตัวในช่วงฤดูหนาวก่อน และเมื่อหลังจากผลิบานดอกแล้ว ก็จะแทงหน่อใหม่ในช่วงฤดูร้อนเข้าฝนพอดี

กอขนาดใหญ่ของ เอื้องแปรงสีฟัน ที่พืชสวนโลก พ.ศ. 2555

การปลูกเลี้ยง เอื้องแปรงสีฟัน
เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่สามารถเลี้ยงได้แม้ในสภาพที่ร้อนอย่างตัวเมืองจึงเป็นกล้วยไม้ที่ไม่ยุ่งยากนักกับวิธีการเลี้ยงครับ ซึ่งผู้ปลูกเลี้ยงสามารถดูแลเอาใจใส่ได้ดังนี้
• ในกรณีกล้วยไม้ขวด เมื่อได้รับ เอื้องแปรงสีฟัน ที่เป็นลูกไม้แล้ว แนะนำให้หนีบขึ้นนิ้วได้ทันทีครับ เนื่องจากกล้วยไม้สกุลหวายมีรากขนาดเล็กและแห้งง่ายเมื่อถูกลมพัด รากอาจแห้งกรอบได้หากไม่หนีบปลูกในกระถางนิ้วด้วยเตรื่องปลูก ซึ่งทำให้ลูกไม้ขาดน้ำตายได้ครับ วิธีการหนีบกล้วยไม้
– ให้ใช้สเฟกนั่มมอส หรือ กาบมะพร้าวที่แช่น้ำทิ้งไว้แล้วอย่างน้อย 2 – 3 คืน เพื่อละลายยางมะพร้าวออกก่อนครับ เพราะยางมะพร้าวจะทำให้ลูกไม้โตช้าได้ครับ เสร็จแล้ว นำสเฟกนั่มมอส หรือ กาบมะพร้าว พันรากไว้ หรือ ประกบราก แล้วใส่ลงกระถางนิ้วเท่านั้นครับ รดน้ำเพียงเวลาเดียว เช่นเช้า หรือ เย็น อย่าให้แฉะจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกไม้เน่าตายได้ครับ หลังจากผ่านไป 1 เดือนหลังจากออกขวด เราก็สามารถให้ปุ๋ยอ่อน ๆ ได้เช่น สูตร 30-20-10 เพื่อเร่งต้นให้โตเร็วขึ้น สลับกับสูตรเสมอ 21-21-21 เป็นต้นครับ
• กรณีได้กล้วยไม้ต้นใหญ่มา เราสามารถนำมาติดเกาะขอนไม้ได้ โดยให้ลำตั้งขึ้นครับ หรือ นำปลูกลงในกระเช้า 4 นิ้วก็ได้ครับ สวยเก๋ไปอีกแบบ

หาก เอื้องแปรงสีฟัน ไม่ยอมให้ดอก ให้ลองสังเกตุดูว่า เรานำกล้วยไม้แขวนไว้ในบริเวณที่ร่มทึบเกินไปหรือไม่ เช่นใต้หลังคาเป็นต้น กล้วยไม้ควรได้รับแสงอย่างพอเพียง โดยเฉพาะ เอื้องแปรงสีฟัน ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ค่อนข้างชอบแสงมากครับ หากได้รับแสงอย่างเต็มที่ เอื้องแปรงสีฟัน จะผลิดอกเบ่งบานได้ถูกต้องตามฤดูกาลอย่างแน่นอนครับ !

เอื้อง สายน้ำผึ้งไทย Dendrobium primulinum

dendrobium-primulinum-1

 

เอื้องสายน้ำผึ้งไทย ( Dendrobium primulinum )
เอื้องสายน้ำผึ้ง เป็นกล้วยไม้ที่มีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวางตั้งแต่ เมืองยูนาน ประเทศจีน พม่า ลาว ไทย และเวียดนาม เติบโตบนความสูงตั้งแต่ 500 – 1000 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่กระนั้นกลับเลี้ยงในสภาพพื้นราบในบ้านเราได้อย่างไม่สะทกสะท้าน
สายน้ำผึ้งไทย ลักษณะโดยทั่วไปคือมีกลีบดอกมีขนาดเล็กสีม่วงอ่อนไปจนถึงเข้ม และที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือ มีปากที่บานขนาดใหญ่ บริเวณปากมีเส้นสีม่วงขีดอยู่ หากมองผิวเผินจะมีลักษณะคล้ายกับเส้นเลือดฝอย บริเวณ ปากของ สายน้ำผึ้งไทย ไม่มีสี ในขณะที่ สายน้ำผึ้งลาว จะมีสีเหลืองอยู่บริเวณที่ปากดอก เอื้องสายน้ำผึ้ง มีกลิ่นหอมที่เย้ายวนให้หลงไหลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะยามบ่าย หากได้เดินผ่าน เอื้องสายน้ำผึ้ง ที่กำลังเบ่งบานอยู่เต็มลำแล้วละก็ เราจะได้กลิ่นหอมนี้โชยอยู่ทั่วบริเวณเลยครับ
ฤดูกาลให้ดอก เอื้องสายน้ำผึ้ง คือ ระหว่างช่วงเดือน กุมภาพันธุ์ – เมษายน โดย เอื้องสายน้ำผึ้ง จะเริ่มทยอยทิ้ง

ใบในช่วงปลายหนาว ระหว่าง พฤศจิกายน – มกราคม และจะพักตัวโดยเหลือเพียงแต่ลำลูกกล้วยไปนาน เมื่อเริ่มเข้าฤดูร้อน ราว ๆ ต้นเดือนกุมภาพันธุ์ หากสังเกตุที่ลำลูกกล้วยก็จะพบว่ามีตุ่มดอกมากมายเกิดขึ้นเรียงราย ตามข้อลำลูกกล้วย ลองสังเกตุกันดูนะครับ
ในฤดูกาลให้ดอกของ เอื้องสายน้ำผึ้ง เรามักจะพบศัตรูกล้วยไม้ที่เรียกว่า เพลี้ยไฟ หรือ ตัวกินสี ไต่อยู่บนดอกของสายน้ำผึ้ง อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งยากแก่การกำจัด ตัวกินสีเหล่านี้คือตัวการสำคัญที่ทำให้ดอกของ เอื้องสายน้ำผึ้ง บานอยู่ได้ไม่ถึงสัปดาห์ สำหรับการป้องกันเพลี้ยไฟ สามารถอ่านบทความเรื่องแมลงศัตรูกล้วยไม้ได้ในหน้าบทความทั่วครับ

ปัจจัยการการทิ้งใบของ เอื้องสายน้ำผึ้ง นั้นคืออากาศที่แห้งจัดในช่วงฤดูหนาว แต่หากเรารดน้ำเป็นประจำทุกวันจะพบว่า เอื้องสายน้ำผึ้ง จะชลอการทิ้งใบลง ซึ่งก็เป็นผลดีที่ว่า เอื้องสายน้ำผึ้ง ยังสามารถใช้ใบปรุงอาหารเก็บสะสมได้มากขึ้น และมีผลต่อการให้ดอกในฤดูร้อนที่จะถึง เมื่อ เอื้องสายน้ำผึ้ง ทิ้งใบไปจนหมดแล้ว ในช่วงฤดูใกล้ถึงดอกหรือ ในช่วงกลาง ๆ เดือน มกราคม หรือ ต้น ๆ กุมภาพันธ์ ลองให้น้ำสลับวันดูนะครับ เนื่องจาก หากให้น้ำเป็นประจำแล้ว เอื้องสายน้ำผึ้ง จะแทงตาดอกน้อยกว่า เอื้องสายน้ำผึ้ง ที่ได้น้ำ แบบอด ๆ อยาก ๆ ทั้งนี้เป็นเรื่องปกติของต้นไม้ทั่วไป ที่พอถึงหน้าแล้งต้นไม้มักคิดว่าตัวเองต้องตาย จึงต้องผลิตทายาทให้มากที่สุดนั่นเองครับ ทีนี้ดอกก็พลูเป็นพลุไฟเลยทีเดียว (ปล. ไม่รับรองนะ ต้องลองเอง)

การปลูก เอื้องสายน้ำผึ้ง
เอื้องสายน้ำผึ้ง นั้นเลี้ยงไม่ยากเลยครับ ชอบแสงประมาณ 60-70% เครื่องปลูกควรไม่อุ้มน้ำจนเกินไป การปลูกลงในกระเช้าควรมีเครื่องปลูกเป็นวัสดุเพิ่มความชื้น 30% และที่เหลือเป็นถ่านหรือเศษไม้ก็ได้ครับ สำหรับผมแปะติดกับขอนไม้รองกาบมะพร้าวเพียง 10% เท่านั้น เอื้องสายน้ำผึ้ง ของใครมีดอกแล้วอย่าลืมมาโชว์แบ่งกันชมบ้างนะครับ

สายน้ำครั่ง Dendrobium parishii

dendrobium-parishii

 

สายน้ำครั่ง หรือ สายน้ำครั่งสั้น จัดอยู่ในสกุลหวาย และเป็นหวายของไทยเรานี่เองครับ เขตกระจายพันธุ์ สายน้ำครั่ง นั้นกว้างขวางมากตั้งแต่มลฑลไฮหนานตัดผ่านประเทศไทยยาวลงไปถึงเวียดนามเลยทีเดียวครับ เนื่องจากมีเขตกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางนี่เอง สายน้ำครั่ง จึงเป็นกล้วยไม้ที่พบเห็นได้ทั่วไป ปัจจุบันในประเทศไทย สายน้ำครั่ง มีไม่มากแล้ว จึงมีการลักลอบนำ สายน้ำครั่ง มาจากเพื่อนบ้านของเราเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น สายน้ำครั่ง ที่เห็น ๆ เป็นกล้วยไม้กระสอบนั้นก็ถูกลักลอบนำเข้ามาจากทางเพื่อนบ้านเรานั่นเองครับ
สีสันของ เอื้องสายน้ำครั่งสั้น ตามลักษณะทั่วไปแล้ว สายน้ำครั่ง มีเพียงสีเดียวเท่านั้นคือสีม่วงหรือ สีชมพูอ่อนๆ ไปถึงม่วงเข้ม แต่เราก็ยังพบ สายน้ำครั่ง ที่มีสีสันแปลกตาอีกหลากหลายสีเช่น สีขาวล้วน ปากสีดำกลีบดอกขาว ปากสีแดงพื้นดอกขาว ปากสีส้มพื้นดอกขาว และหูดอกขาวนอกนั้นสีม่วง เป็นต้น สีเหล่านี้เราเรียกว่า Semi alba ซึ่งหมายถึง กึ่งเผือก นั่นเองครับ สายน้ำครั่ง เหล่านี้จะเป็น สายน้ำครั่ง ที่

พิการสี คือไม่สามารถมีสีได้ตามปกติ เหมือน สายน้ำครั่ง ธรรมดา มันจึงพิเศษกว่า สายน้ำครั่ง ทั่วไปแน่นอนว่า ราคาของพวกมันก็พิเศษขึ้นไปด้วยเช่นกัน

ฤดูกาลให้ดอก ของ สายน้ำครั่ง จะอยู่ระหว่างช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ – ต้นเดือนพฤาภาคม และช่วงก่อนให้ ดอกเรามักจะพบว่า สายน้ำครั่ง จะพากันทิ้งใบเหลือแต่ลำว่างเปล่า ไม่ต้องตกใจครับ หากพบว่า สายน้ำครั่ง ทิ้งใบ ให้เตรียมตัวลุ้นดอกกันได้เลย ลักษณะการทิ้งใบจะแตกต่างไปตามแต่วิธีการเลี้ยงของแต่ละคน หากไม่รดน้ำเลย สายน้ำครั่ง จะทิ้งใบไวมาก และทิ้งใบได้ตั้งแต่ต้นปีเลยทีเดียว แต่หากเป็นคนชอบรดน้ำมาก ๆ สายน้ำครั่ง จะ สามารถคงใบอยู่ไว้ได้จนถึงวันมีดอกได้เลย ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าชอบเห็นดอกพร้อมใบหรือว่าดอกอย่างเดียวละครับ

การปลูกเลี้ยงเอื้องสายน้ำครั่ง เนื่องจาก สายน้ำครั่ง เป็นกล้วยไม้เมืองร้อนอยู่แล้ว การปลูกและ การดูแลจึงไม่ยากนัก เราสามารถปลูกโดยการนำไปติดกับขอนไม้ หรือนำลงปลูกกับกระเช้าก็ได้ครับ ปลูกติดขอนไม้ : ให้นำ สายน้ำครั่ง ที่ได้มา มัดติดกับขอนไม้โดยมีกาบ มะพร้าวที่แช่น้ำทิ้งไว้แล้วอย่างน้อย 2 คืน ขั้นระหว่างกลางเป็นดั่ง หมอนรองระหว่างรากกับขอนไม้ กาบมะพร้าวจะช่วงเก็บความชื้น ทำให้รากของ สายน้ำครั่ง แตกตาใหม่เร็วกว่าไม่ใส่อะไรเลยครับ ปลูกลงกระเช้า : เช่นเดียวกับติดขอนไม้ ควรมีเครื่องปลูกบ้าง หาก เป็นกระถางก้นลึกให้ใส่ถ่านลงไปก่อน โดยตัดก้อนถ่านเป็นก้อน

สี่เหลี่ยมเหมือนลูกเต๋า วางให้เป็นระเบียบด้านล่าง แล้วจึงนำกาบมะพร้าว หรือ รากชายผ้า ปลูกหนีบรากของ สายน้ำครั่ง อีกที ที่เราไม่ใช้กาบมะพร้าวทั้งหมดนั้นก็เพราะว่ากระถางก้นลึกจะเก็บความชื้นได้เยอะมาก อาจทำ ให้ สายน้ำครั่ง เน่าได้ในฤดูฝน หรือ ในกรณีที่เรารดน้ำมากเกินไปนั่นเอง

TIP : หากเราได้ออกขวด สายน้ำครั่ง ละก็ ให้ลองนำรากช้ายผ้าปลูกโดยขึ้นกระเช้า 4นิ้ว เลยไม่ต้องหนีบนิ้ว จะพบ ว่า ลูก สายน้ำครั่ง จะเติบโตรวดเร็วกว่า สายน้ำครั่ง ที่หนีบนิ้วมาก ทั้งนี้เนื่องจากเอื้อง สายน้ำครั่ง ชอบเครื่องปลูกที่ มีความชื้นและฮิวมัสสูง มันจึงเติบโตได้ดีกับรากชายผ้าสีดานั่นเองครับ
เมื่อใกล้ถึงฤดูให้ดอก รากชายผ้าจะเก็บความชื้นค่อนข้างสูง ให้ระวังอย่ารดน้ำมากมิเช่นนั้น ดอกจะออกทั้ง ๆ ที่มี ใบติดอยู่ ทำให้ดูไม่สวยงาม ให้เรางดน้ำบ้างวันเว้นวัน ปล่อยแห้งบ้าง เพื่อให้ทิ้งใบไปตามปกติของ สายน้ำครั่ง ทั่วไป ปุ๋ย : ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่แต่ละคนว่าจะให้ขนาดไหนครับ ที่ orchidtropical รดปุ๋ยหลัก ๆ เป็นสูตรเสมอแล้วสลับ กันไป เช่น อาทิตย์ที่หนึ่ง สูตรเสมอ อาทิตย์ที่สอง ตัวกลางสูง อาทิตย์ที่สาม สูตรเสมอ อาทิตย์ที่สี่ตัวท้ายสูง สลับ มั่วไป ๆ มา ๆ บางทีก็ลืมรด กลางสูงสองสัปดาห์ซ้ำกันไปเลยครับ !
***สำคัญที่สุด คือ ถ้าเราขยันให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำไม่ขาดไม่เกิน ไม่ว่าจะเป็น สาย น้ำครั่ง หรือ กล้วยไม้ชนิดได ๆ ก็ตาม ก็จะให้ดอกตรงตามฤดูและพรั่งพลูสวยงามทุกชนิดครับ ไม่เชื่อลองดูได้ครับ ผมได้ทดลองไม่รดปุ๋ยตลอด 1 ปี พบว่ากล้วยไม้ให้ดอกน้อยลง ไม่ตรงฤดูกาล และสีสันอ่อนลง ลำต้นบอบบางลง ต่างจากปีที่รดปุ๋ยเป็นประจำทุกสัปดาห์ ดังนั้น เพื่อน ๆ ที่อยากทดลองงดปุ๋ยแนะนำว่าอย่าเชียวครับ เนื่องจากผม เป็นหนูทดลงอให้แล้ว ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย รดปุ๋ยต่อไปเถอะนะครับ เพื่อดอกไม้ที่สวยงามยามฤดูผลิบาน

เอื้องผึ้ง ( Dendrobium lindleyi )

dendrobium-lindleyi

 

เอื้องผึ้ง ( Dendrobium lindleyi Steud)
ในบรรดากล้วยไม้หลากหลายร้อยพันธุ์ชนิด เอื้องผึ้ง เป็น 1 ใน 150 ชนิดของกลุ่มกล้วยไม้สกุลหวายในประเทศไทยที่มีความผูกพันกับท้องถิ่นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาช้านาน
เอื้องผึ้ง จัดอยู่ในสกุลของ Dendrobium ในประเทศไทยนิยมเรียกสกุลนี้ว่า หวาย หรือ เอื้อง ซึ่งนับเป็นสกุลที่ใหญ่ที่สุดของวงศ์กล้วยไม้อีกทั้งยังเป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย
ในปี ค.ศ. 1840 เอื้องผึ้ง ถูกค้นพบครั้งแรกทางภาคเหนือของประเทศพม่า โดย Ernst Gottlieb von Steudel เป็นผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อระบุชนิดนั้นตั้งให้เป็นเกียรติแด่ Sir John Lindley
ด้วยลักษณะกลิ่นหอมหวานอันพิเศษราวกับน้ำผึ้ง เอื้องผึ้ง จึงถูกขนานนามอีกชื่อว่า Honey fragrant ซึ่งกลิ่นของมันได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักสกัดกลิ่น เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหอมอันล้ำค่าในยุคปัจจุบัน

     หากมีโอกาสได้สำรวจป่าไม้ในเมืองไทยในทางภาคเหนือหรือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เราจะพบว่า เอื้องผึ้ง มักขึ้นอยู่บริเวณของป่าดิบแล้ง สูงจากระดับน้ำทะเลราว ๆ 300 – 1,500 เมตร โดยเกาะอยู่กับต้นไม้ตามคาคบสูง
ลักษณะต้นของ เอื้องผึ้ง จะมีผิวลำลูกกล้วยที่คล้ำคือมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะกลมรีและหนา และที่ดูง่ายที่สุด 1 ลำลูกกล้วยจะมีเพียง 1 ใบเท่านั้น
เอื้องผึ้ง จะให้ดอกเร็วกว่าเอื้องคำ ดอก เอื้องผึ้ง จะออกดอกในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ดอกมีกลิ่นหอมแรงในช่วงกลางวัน สีเหลืองสดใส ช่อห้วยย้อยชลงยาวตั้งแต่ 15-40 ซ.ม. มีจำนวนดอกไม่แน่นจนเกินไปและพลิ้วไหวได้ง่ายยามต้องลม ดอกบานเต็มที่ขนาด 2-3 ซ.ม. แรกบานจะมีสีเหลืองอมเขียว ระยะต่อ ๆ มาสีจะเข้มขึ้น จนเป็นสีเหลืองอมส้มแสด
ดอกของ เอื้องผึ้ง บานได้นานสุดราว ๆ 4 – 5 วันนับจากวันที่บานได้เต็มที่แล้ว แต่หากดอกของเอื้องผึ้งถูกน้ำจะบานได้เพียง 2-3 วันเท่านั้น
เอื้องผึ้ง กอขนาดกลางในงานพืชสวนโลกปี 2555 เป็นกล้วยไม้ฟาร์ม
เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงไม่ยาก ทนต่ออากาศร้อน และเป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทย เอื้องผึ้ง จึงเป็นกล้วยไม้อีกชนิดที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในบ้านเรา แต่กลับกันเอื้องผึ้ง ในธรรมชาติ ลดลงไปกว่า 60% ในผืนป่าภาคเหนือ ซึ่งทำให้ประชากรของมันเบาบางลงกว่าแต่ก่อนอย่างน่าตกใจ !

การปลูกเลี้ยง เอื้องผึ้ง
๏ เอื้องผึ้ง ที่เป็นไม้ฟาร์ม หากเป็นไม้ขวด ให้อนุบาลลูกไม้ไว้บนสเฟกนั่มมอส หรือ หนีบใส่กาบมะพร้าวลงบนถ้วนนิ้ว ในแต่ละปี ลูกไม้จะแตกหน่อและมีขนาดใหญ่ขึ้น หากขนาดโตเกินกระถางนิ้วแล้วก็สามารถนำไปติดขอนไม้ หรือ ใส่กระเช้าที่ใหญ่ขึ้นได้เลยครับ
๏ เอื้องผึ้ง ที่เป็นไม้แยกหน่อ เราสามารถนำหน่อ เอื้องผึ้ง ไปแปะติดกับขอนไม้ได้ทันทีครับ แต่ก่อนจะมัดเอื้องผึ้งกับขอนไม้ ให้เราหา กาบมะพร้าว หรือ สเฟกนั่มมอส รองให้ เอื้องผึ้ง สักหน่อย เพื่อให้รากเดินเร็วขึ้น ยึดเกาะได้เร็วขึ้นครับ
ดอกเอื้องผึ้ง ที่ได้รับการบำรุงเลี้ยงเป็นอย่างดีจากฟาร์ม

เทคนิคการเลี้ยง เอื้องผึ้ง
๏ ในช่วงที่ไม่แทงดอก หรือ ช่วงที่ยังเป็นลูกไม้ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตรเสมอ 21-21-21 สลับกับสูตรตัวอื่น ๆ จะเป็นสูตรไดก็ได้ครับ แต่ขยันให้อย่างน้อยให้ได้สัปดาห์ละ 1 ครั้งจะดี
๏ ช่วงหลังฤดูหนาวตั้งแต่เข้ากุมภาพันธ์เป็นต้นไป บางท่านกล่าวไว้ว่า งดน้ำ ไปเลยจะทำให้เอื้องผึ้งให้ดอกดกพรั่งพรูมาก แต่บางท่านก็ให้น้ำจนกระทั่งมีดอกเลยก็มี เทคนิคนี้แล้วแต่ชอบครับ แต่ผมชอบสูตรงดน้ำมากกว่า เพราะดอกออกได้พรูโดนใจมาก แต่มีข้อเสียคือ ลำลูกกล้วยผอมแห้ง พอหลังให้ดอกแล้วต้องรีบขุนใหม่ครับ ซึ่งปกติ เอื้องผึ้ง จะแตกหน่อในช่วงฤดูฝน หากไม่ขุนหลังให้ดอกในช่วงฤดูร้อน หน่อใหม่จะมีน้อย และทำให้ดอกในปีถัดไปน้อยตามครับ !
๏ หากปลูกเอื้องผึ้งแล้วไม่มีดอก แนะนำให้ลองย้ายไปยังจุดที่มีแสงมากขึ้นครับ เอื้องผึ้ง เป็นกล้วยไม้ที่ค่อนข้างชอบแสงมาก ถ้าได้รับแสงน้อย หรืออยู่ใต้ร่มไม้ทึบเกินไป หากดอกไม่ออก ก็จะเริ่มฝ่อและตายครับ
๏ ให้ดอกแต่ช่อห่าง ออกประปรายไม่ดก เป็นสาเหตุเนื่องจากได้รับสารอาหารน้อย น้ำเป็นหินปูน และที่สำคัญคือได้รับแสงน้อยเกินไปครับ

ดอก เอื้องผึ้ง บานสะพรั่งที่ออร์คิดทรอปิคอล

เทคนิคยืดอายุดอก
๏ เอื้องผึ้ง เป็นกล้วยไม้ที่บานสั้น – สั้นมากครับ อาจจะไม่ถึงสัปดาห์ เทคนิคการยืดให้ดอกอยู่กับเรานาน ๆ คือ งดให้น้ำช่วงมีดอกครับ ซึ่งจะทำให้เราได้เชยชมต่อได้อีก 1-2 วัน ครับ

ในช่วงที่มีโอกาสได้เดินทางไปยังอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ในหมู่บ้านอะไรสักอย่างจำไม่ได้ครับ ตอนนั้นผมเห็นชาวบ้านปลูกเอื้องผึ้งติดกับต้นลำไย ซึ่งเป็นเพียงกิ่งต้นลำไยที่ตายแล้วเท่านั้นครับ เอื้องผึ้ง ต้นนั้นได้รับแสงแดด 100% แต่คงเป็นเพราะอากาศเย็นด้วยใบจึงไม่ได้รับความเสียหายจากแสงแดดมากนัก แต่ที่สังเกตุได้ เอื้องผึ้ง ต้นนั้นให้ดอกพรูมาก และยิ่งเป็นกอที่ใหญ่มากด้วยครับ มองดูแล้ว คล้ายลูก บอลขนาดใหญ่ กลม ๆ สีเหลือง สวยงามมากทีเดียวครับ จึงอยากจะแนะนำว่า เลี้ยง เอื้องผึ้ง พยายามให้ได้แสงมาก ๆ เข้าไว้ รับรองว่าดอกพรูสวยงามแน่นอนครับ !

เอื้องสายม่วง สายครั่งยาว Dendrobium lituiflorum

dendrobium-lituiflorum

 

เอื้องสายม่วง บางท่านเรียกกันว่า สายครั่งยาว มีแหล่งกระจายพันธุ์ใน ไทย พม่า ลาว และ อินเดีย ขึ้นอยู่บนความสูงที่ระดับ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ในประเทศไทยมีบันทึกไว้ว่าพบ สายม่วง ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในบริเวณป่าดิบและป่าสนเขา สำหรับสีสันของ สายม่วง นั้น มีทั้งสีม่วงเข้มไปจนถึงม่วงอ่อน ๆ บางครั้งเรามักพบ สายม่วง ที่มีปากเป็นสีเหลืองหรือดำ แทนที่จะเป็นสีม่วงเข้มแทน
เช่นเดียวกับเอื้องสายชนิดอื่น ๆ สายม่วง จะผลัดใบทิ้งเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว และพักตัวอยู่อย่างนั้นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงฤดูร้อน ราว ๆ ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน ถึงจะมีดอกให้ชม นับว่าเใช้วลาพักตัวอยู่นานถึง 2 – 4 เดือนเลยทีเดียว
สำหรับ สายม่วง ของผมนั้น จะเริ่มทยอยทิ้งใบในช่วงเดือน 11 และพักตัวยาวไปจนถึงปลายเดือน กุมภาพันธ์ ในช่วงเดือนนี้เอง ที่ สายม่วง เริ่มปรากฏตาดอกเห็นได้ชัดขึ้น ตาดอกนี้จะใช้เวลานานมากทีเดียวกว่าจะกลายเป็นช่อดอกเล็ก ๆ ชูทรวดทรงออกมา เมื่อเริ่มเข้าสู่กลางเดือน มีนาคม สายม่วง จะเริ่มแทงช่อตูมออกมาจากลำแต่ละข้อ และค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้นพร้อมเบ่งบานในช่วงเดือน เมษายน ต้อนรับฤดูกาลแห่งคิมหันต์ ดอกของ สายม่วง นั้นมีกลิ่นหอมเบา ๆ แต่ชวนให้หลงไหลและเย้ายวน
ปัจจัยการทิ้งใบของ สายม่วง นั้น ยังพบด้วยว่าความชื้นและการให้น้ำมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับสายอื่น ๆ หากเราให้น้ำมาก อัตราการทิ้งใบจะช้ากว่ากำหนด และหากไม่ให้หรือปล่อยแห้งเพียงวันถึงสองวัน ไม้สายจะทิ้งใบลง กราว กราว อย่างรวดเร็ว จนน่าตกใจ แต่นั่นก็เป็นข้อดี คือ เราก็จะได้เห็นดอกเร็วขึ้น นั่นเอง

การเลี้ยง เอื้องสายม่วง
จากการเลี้ยงดู สายม่วง หลาย ๆ ต้นพบว่า สายม่วง เป็นหวายที่ไม่ชอบเครื่องปลูกที่อมน้ำไว้มาก และทำให้แฉะตลอดวันอย่าง สเฟกนั่มมอส หรือ รากชายผ้าสีดา นั้นก็เพราะ สายม่วง ชอบแห้งมากกว่าชื้นเสียอีก โดยการทดลองปลูกที่ผ่านมา พบว่า การปลูก สายม่วง ลงในกระถางพลาสติกโดยใช้เครื่องปลูกเป็นรากชายผ้าทั้งหมดนั้น สายม่วงจะเติบโตได้ไม่ค่อยดี และดูไม่ค่อยแข็งแรง เมื่อเทียบกับ สายม่วง ที่ใช้เครื่องปลูกเป็น รากชายผ้า 20% และ ถ่าน 80% ซึ่งได้ผลดีทีเดียว ดังนั้นการปลูก ควรให้เครื่องปลูกที่เป็นวัสดุกับเก็บความชื้นสูงอย่าง สเฟกนั่มมอส กาบมะพร้าว หรือรากชายผ้า ในปริมาณที่ 20-30% และที่เหลือเป็นถ่านหรือเศษไม้แทน ห้ามเด็ดขาดคือ มะพร้าวตุ้ม เพราะมะพร้าวตุ้มจะทำให้รากของ สายม่วง ขาดอากาศหายใจตายได้ครับ *อย่าลืมว่าเป็นรากแบบกึ่งอากาศ ปริมาณของแสงที่ควรได้รับของ สายม่วง นั้นควรอยู่ที่ 40-60% ช่วงเวลาต้องห้ามที่ไม่ควรได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เต็ม ๆ คือช่วง หลัง 11 โมงไปจนถึง บ่าย 2 ครึ่ง เพราะแสงแรงมาก ไม่ว่ากล้วยไม้ต้นไหน ๆ ก็ทนไม่ได้ ยกเว้น ช้างน้าวและจำพวกทนแดดเท่านั้น

 

หวายตะวันตก Dendrobium fytchianum

dendrobium-fytchianum

 

หวายตะวันตก ( Dendrobium fytchianum ) กล้วยไม้ทรงขนาดกลาง มีดอกพลั่งพลูสีขาวปากแดงราวกับถูกแต่งแต้มด้วยเครื่องสำอางชนิดนี้มีชื่อว่า หวายตะวันตก เขาเป็นกล้วยไม้ที่อวดทรงชูดอกได้น่ารักน่าชังชนิดหนึ่งเลยละครับ และชื่อของ หวายตะวันตก นั้นก็มีที่มาจากถิ่นกำเนิดของเขานั่นเอง ในไทยเราก็คงจะพบได้ทางแถบภาคตะวันตกแถว ๆ แถบชายแดนไทยพม่า แต่ที่แม่ค้าพ่อขายทั้งหลายแบกไม้กำมาจำหน่ายคงหาบมาจากทางพม่ามากกว่า เนื่องจากในไทยเรา หวายตะวันตก ในธรรมชาติเหลือลดน้อยลงจนอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้วก็ได้…

อุปนิสัยส่วนตัวของ หวายตะวันตก นั้น ชอบแสงแดดที่ไม่ร้อนแผดเผาไหม้จนเกินไป อุณหภูมิราว ๆ 30 – 34 องศากำลังดีสำหรับเค้าครับ และเนื่องจากเค้าเป็นกล้วยไม้ที่มีรูปทรง ค่อยข้างผอมเพียว ลำของ หวายตะวันตก โดยเฉพาะตรงโคนต้นจะมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับหัวเข็มหมุด ดังนั้น เค้าจึงเป็นกล้วยไม้ที่ไม่ค่อยชอบเครื่องปลูกชื้นแฉะนัก …. ใช่แล้วครับ หวายตะวันตก ชอบที่แห้ง ๆ มากกว่าแฉะ ๆ นักเลี้ยงหลายท่านอาจพบเจอกับปัญหา โคนต้น หวายตะวันตก เน่า หักง่าย นั่นก็เพราะรดน้ำเกินไป เครื่องปลูกชื้นไปหรือแฉะไปนั่นเอง ดังนั้นควรพึงระวัง เนื่องจากน้องนางเดินทางมาจากดินแดนถิ่นแห้งแล้ง อย่าขยันรดน้ำจนเกินไป มิฉะนั้นเจ้าหล่อนจะสำลักตาย

ฤดูกาลให้ดอกของ หวายตะวันตก
เมื่อเข้าหนาวเจ้า หวายตะวันตก จะเริ่มถอดทิ้งเสื้อผ้าเหลือแต่ก้านเปลือยเปล่า จงอย่าตกใจ อาจจะนานหน่อย แต่เมื่อถึงปลายปีราว ๆ ปลายเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ของอีกปี หวายตะวันตก จะเริ่มพากันชูช่ออวดทรงแสนสวยงาม และเมื่อหลังจากทิ้งเครื่องประดับสีขาวตัดแดงแล้วเจ้า หวายตะวันตก จะขอพักตัวด้วยก้านเปลือยเปล่าอีกครั้งจนกระทั่งอากาศเริ่มอุ่นขึ้น เจ้าหล่อนก็จะแทงหน่อเล็ก ๆ ขึ้นมาใหม่ และเจ้าหน่อน้อย ๆ นี่เอง จะกลายเป็นเจ้าสำอางต้นใหม่ที่ให้ช่อในช่วงหนาวของปลายปีที่จะถึงเร็ว ๆ นี้นั่นเอง

ลักษณะดอก : ดอกของ หวายตะวันตก มีพื้นกลีบเป็นสีขาว และแต่งแต้มสีแดงที่ฝีปากราวกับว่าเป็นสาวงามโปะแป้งและทาลิปสติกยังไงยังงั้น แต่บางครั้งเราก็พบว่า ดอกของ หวายตะวันตก บางต้นยังมีปากเป็นสีเหลืองอีกด้วย ดอกจะแทงออกบริเวณลำลูกกล้วยและแตกแขนงออก เหมือนกับหวาย

ตัดดอกทั่วไป แต่ใน 1 แขนงของ หวายตะวันตก จะประกอบด้วยดอกนับสิบช่อ ซึ่งจำนวนจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นในปีนั้น ๆ นั่นเองครับ
*****ดอกของ หวายตะวันตก จะบานอยู่ราว ๆ 1 – 2 สัปดาห์และร่วงโรยไปทิ้งไว้เพียงก้านของลำลูกกล้วยที่ว่างเปล่าเพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารให้กับลำลูกกล้วยที่จะเติบโตใหม่ในไม่ช้าต่อจากนี้

หลักการเลี้ยง หวายตะวันตก
๏ ระวังอย่าอยู่ร่ม หวายตะวันตก ชอบ แสงเยอะ ๆ และแห้ง ๆ
๏ ปุ๋ยสูตรเสมอ บำรุงต้นและหน่อเข้าไว้ เพื่อดอกที่พลั่งพลูปลายปี
๏ อย่าขยันรดน้ำเช้ารดน้ำเย็น ไม่เช่นนั้นอาจสำลักน้ำตายไม่เหลือหลอ
๏ ในฤดูฝนให้หมั่นฉีดพ่นยากันรา สัปดาห์ละครั้ง
๏ เครื่องปลูกหลีกเลี่ยงรากชายผ้าหรือสเฟกนั่มมอส อาจใส่ได้แต่ห้ามมาก
๏ ระวังการปลูก ให้เครื่องปลูกระบายน้ำง่าย และแห้งไวไม่ชื้นแฉะเกิน

เอื้องแววมยุรา Dendrobium fimbriatum

dendrobium-fimbriatum

 

เอื้องแววมยุรา ( Dendrobium fimbriatum Hook )
เมื่อครั้งอดีต เอื้องแววมยุรา ได้ถูกแยกออกเป็นสองชนิด นั่นก็คือ ชนิดที่มีแต้มสีดำตรงบริเวณปาก ชนิดนี้ถูก เรียกในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium fimbriatum var. oculatum และอีกชนิดตามที่นักพฤกษาศาตร์ได้จด บันทึกไว้คือ ชนิดที่ไม่มีแต้มดำบนบริเวณปาก หรือ สีเหลืองล้วน แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่มีเอกสารเล่มไดกล่าวถึงการค้น พบ เอื้องแววมยุรา สีเหลืองล้วนนี้ในประเทศไทยเลยแม้แต่เล่มเดียว
ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1975 Mr. Kamemoto และ Mr. Sagarik ได้ยืนยันถึงสายพันธุ์ ดังกล่าว ว่ามีพบในประเทศไทย ในเอกสารวิชาการชื่อ Orchid of Thailand ได้มีการบันทึกอ้างถึง Dendrobuim gibsonii Lindl. ซึ่งได้ถูกจัดรวมเข้า เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งของ เอื้องแววมยุรา แต่ภายหลังจากปี ค.ศ.1985 เป็นต้นมา ก็ได้ถูกจัดแยกออก เป็นอีกชนิดใหม่ เนื่องจากมีความแตกต่าง ของลักษณะกลีบปาก และลักษณะของกลีบนั่นเอง

ลักษณะทั่วไป ของ เอื้องแววมยุรา เากสังเกตุที่ลำลูกกล้วย จะมีลักษณะยาวเรียวเป็นแท่งโคนลำเล็ก ๆ มีความ ยาวราว ๆ 60-120 ซม. ลำจะมีสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่รีสีเขียวสดเรียงกันเป็นรูปขอบขนาน สลับซ้ายขวา
เมื่อถึงฤดูร้อน ราว ๆ เดือน มีนาคม-มิถุนายน ลำของ เอื้องแววมยุรา ที่ทิ้งใบไปก่อนหน้านี้จะเริ่มแทงดอก โดยดอก ของ เอื้องแววมยุรา จะแทงตรงบริเวณยอดลำ ช่อของดอกจะห้อยยาวลงมา ในหนึ่งช่อ จะให้ดอกประมาณ 10-12 ดอก สีของดอกมีสีเหลืองสด หรือเหลืองอมส้ม ปากมีแต้มสีดำเข้ม หรือบางครั้งอาจพบต้นที่ไม่มีแต้มดำ ริมขอบด้าน นอกของ เอื้องแววมยุรา จะมีลักษณะค่อนข้างแตกต่างจากช้างน้าวคือมีขนหยักเป็นเส้นหยาบ ๆ นั่นเอง

ถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศไทย: ป่าดิบเขา, ป่าดิบแล้ง, ป่าเบญจพรรณ ในภาคเหนือและ ภาคตะวันตก (แนวเทือกเขาตะนาวศรี) (ตัวอย่างสถานที่ ที่พบที่ถูกบันทึกไว้ ในเอกสารวิชาการในช่วงระยะแรกๆ): แม่ฮ่องสอน น่าน ดอยม่อนอังเกตุ ฝาง เชียงดาว สุเทพ, อุ้มผาง กม. ที่๒๘-๓๑(๖๐๐ ม.) ท่าขนุน(๔๐๐ม.) ดอยสะเก็ด

แหล่งกระจายพันธุ์ในภูมิภาค : เมียนม่าร์, ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ หิมาลัย, เนปาล, สิกขิม, ภูฐาน, เขตตะวัน ออกเฉียงเหนือของอินเดีย, เทือกเขาตะนาวศรีเวียตนาม, ลาว, จีนตอนใต้ (มณฑลกวางสี และยูนาน) และมีรายงาน เคยพบในมาลายา

วิธีการปลูกเลี้ยง เอื้องแววมยุรา เอื้องแววมยุรา จัดเป็นกล้วยไม้ทนร้อนอีกชนิดหนึ่งของไทยเรา กล้วยไม้ชนิดนี้จึงสามารถเลี้ยงได้ทุกภูมิภาคใน บ้านเราเลยครับ การเลี้ยงเจ้า เอื้องแววมยุรา นั้นแสนจะง่ายดาย หากเพื่อน ๆ มีประสบการณ์การเลี้ยงเจ้าเอื้องช้าง น้าวแล้วละก็ เจ้านี่ก็แทบจะไม่ต่างกันเลย
หากคุณเพิ่งได้ เอื้องแววมยุรา มาใหม่หมาด ๆ ให้นำกล้วยไม้ของคุณ ปลูกลงในกระเช้า โดยมีกาบมะพร้าวที่แช่ น้ำแล้วอย่างน้อย 1-2 คืนรองที่ระหว่างรากกับกระถาง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ความชื้นแก่ราก ความชื้นนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ แทงรากใหม่ได้อย่างดีเลยละครับ หรือหากจะปลูกติดขอนไม้ก็ให้ใช้กาบมะพร้าวมารองระหว่าง กล้วยไม้กับ ขอนไม้ ก่อนครับ
****สำหรับ เอื้องแววมยุรา นั้น ให้จับลำตั้งขึ้นนะครับ อย่าห้อยหัวลง ไม่งั้นเลือดลงหัวตายแน่ ๆ ครับ
หลังจากปลูกติดกับภาชนะปลูกแล้วให้เลี้ยงในที่ร่มรำไร แสงสว่างเข้าถึงราว ๆ 60 – 70% ก่อน เมื่อรากเดินดีแล้ว ค่อยขยับไปยังบริเวณที่แสงมากกว่าเดิมทีละน้อย ๆ จนกระทั้งให้ได้แสงราว ๆ 80 – 90 % ทั้งนี้ก็เพราะว่า เอื้องแววมยุรา นั้นชอบแสงแดดที่จัด ที่สวน Orchidtropical เรานำ เอื้องแววมยุรา เลี้ยงกลางแจ้ง ท่ามกลางแสง แดดเต็มๆ 100% ตลอดวัน ครับ แต่ใน กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ทางภาคใต้ อากาศอาจจะร้อนกว่าภาคเหนือมาก หน่อย การเลี้ยงควรจะปรับเปลี่ยนจากที่ผมแนะนำมาสักเล็กน้อย โดยแทนที่จะนำเจ้า เอื้องแววมยุรา ปลูกเลี้ยงไว้กลางแจ้ง ก็เปลี่ยนเป็นให้ขยับเข้าร่มแทน โดยเลี้ยงใต้แสลนที่ให้แสงลอดผ่านได้ราว ๆ 70-80% นอกจากแสงจะช่วยทำให้เจ้า เอื้องแววมยุรา เติบโตงอกงามเป็นกอใหญ่สวยแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อการให้ดอกอีกด้วย ยิ่งได้รับแสงมาก โอกาสให้ดอกยิ่งมีมากครับ
การเลี้ยง เอื้องแววมยุรา ในที่ร่มทึบตั้งแต่ 50% ลงไปอัตราการให้ดอกจะลดน้อยลง อาจจะมีดอกบ้าง แต่ดอกที่ได้ จะเป็นช่อพวงสั้น ๆ หรือไม่ก็ไม่ให้ดอกเลยครับ
เทคนิคโดยทั่วไปแล้วก็ไม่มีอะไรมากครับ เพียงแค่เราขยันให้ปุ๋ยทางใบอย่างสม่ำเสมอ พอใกล้ ๆ ฤดูให้ดอก ให้ งดน้ำบ้าง เช่นจากที่เคยรดน้ำทุกวัน ให้ลองงดเป็น วันเว้นวัน หรือ สองวันรดทีปล่อยให้รากแห้ง ๆ เสียบ้าง ทำแบบ นี้จนกระทั่ง เอื้องแววมยุรา แทงตาดอก ถึงจะเริ่มรดน้ำปกติครับ หากรดน้ำทุกวัน เอื้องแววมยุรา จะแทงตาดอกน้อย กว่า รดน้ำสลับวันครับ เป็นเทคนิคเล็ก ๆ ที่ใช้ได้กับหวายไทยเกือบทุกประเภท ลองทดลองกันดูนะครับ

เอื้องคำ Dendrobium chrysotoxum

dendrobium-chrysotoxum-1

 

เอื้องคำ ( Dendrobium chrysotoxum ) ลักษณะทั่วไป: เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย โดยมากพบบนคาคบไม้ ลำต้น โคนเล็กลำลูกกล้วยป่องตรงกลาง เป็นรูปกระสวย สูงประมาณ๑๕-๓๐ ซม. พื้นผิวลำลูกกล้วยมักเป็นร่องหรือ หลายร่อง มีสีเหลือง หรือบางครั้ง สีเหลืองเข้ม เจือน้ำตาลแดง ใบ เกิดที่ปลายรูปไข่ สีเขียวเข้ม มีประมาณ ๒-๕ใบ ใบยาวประมาณ๑๐-๑๕ ซม. ดอก ออกเป็นช่อ จากตาดอกบริเวณส่วนปลายลำลูกกล้วย ก้านดอกแข็ง มักห้อยโค้ง ลง หรือชี้ไปทางด้านข้าง ช่อดอกยาวประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. กลีบดอกสีเหลืองสด มีแต้มสีเหลืองเข้มปนน้ำตาลเรื่อๆ อยู่ส่วนในของ กลีบปากบริเวณสองข้างของแผ่นกลีบปาก ( side lope ) ขนาดดอกประมาณ ๕ ซม. ฤดูดอก กุมภาพันธ์-พฤษภาคม

ถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศไทย: ป่า เบญจพรรณ ป่า ดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ
แหล่งกระจายพันธุ์ ในภูมิภาค: เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย เมียนม่าร์ ลาว จีนตอนใต้ เวียตนาม (ดาลัด เว้ อันนัม)

ในภาคเหนือ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นเทศกาลที่ เอื้องคำ บานได้เหมาะเจาะพอดี หญิงสาวชาว เหนือ จะใช้ดอกของ เอื้องคำ เหน็บไว้ที่ผมมวย หรือบางครั้งก็จะมีการนำ เอื้องคำ และ เอื้องผึ้ง มาใส่พานดอกไม้ถวาย พระ เนื่องจากมีสีมงคลเช่นเดียวกับจีวรของพระสงฆ์
เนื่องจาก เอื้องคำ เป็นกล้วยไม้ที่ชอบแสงมาก จึงขึ้นอยู่ตามคาคบไม้สูงในธรรมชาติ หรือ บริเวณที่ที่มีแสงตก กระทบมาก ๆ ซึ่งจะพบมากตามป่าเขาทางภาคเหนือ ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีให้พบเห็นอยู่บ้างประปราย แต่จะพบเฉพาะ บริเวณที่ที่ห่างไกลชุมชน หรือ หมู่บ้านชาวเขาเท่านั้น ต่างจากอดีตที่พบเห็น เอื้องคำ ได้ทั่วไปตามไหล่ทางขึ้นเขา

เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง มีกระแสฮือฮากันเรื่อง เอื้องคำตาดำ ซึ่งกลาย เป็น เอื้องคำ ที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด หลายคนเล่าว่า ช่วงที่ เจ้าตาดำ เข้ามานี้ สามารถถีบราคาได้หลายพันบาท และในที่สุด เมื่อมีการค้า กล้วยไม้กระสอบกันมากขึ้น เอื้องคำตาดำ จากราคาหลักพัน ก็เหลือ เพียงหลักร้อยในเวลาอันรวดเร็ว และยังมีการนำ เอื้องคำ ธรรมดา นำมาหลอกปนขายในช่วงนั้นอีกด้วย ยุคทองของ เอื้องคำตาดำ ตอน นั้น จึงมีเกลื่อนเต็มท้องตลาด ซึ่งเหล่าผู้ซื้อ ก็ไม่อาจทราบได้ว่าดำแท้ หรือไม่ ได้เพียงแต่รอคอยการให้ดอกของมันเท่านั้น
ลักษณะโดยทั่วไปของ เอื้องคำตาดำ หากดูต้น ลักษณะทั้งหมด จะเหมือน เอื้องคำ ธรรมดาทุกประการ ต่างกันเพียงดอกของเท่านั้น

เอื้องคำตาดำ จะมีลักษณะของดอกที่ใหญ่กว่า ประมาณ ๑.๕ เท่า ของดอกเอื้องคำบ้านเรา มีตาสีดำคล้ำตรง ปากของดอก และเป็นเอื้องคำที่ชอบอากาศเย็นมากกว่า เอื้องคำ ของบ้านเรา แต่บางพื้นที่อย่างเชียงใหม่ และภาค อีสาน ก็ยังสามารถเลี้ยง เอื้องคำตาดำ ได้อยู่ดี นอกจากนี้ยังทราบจากผู้ที่เคยซื้อไม้ป่ามาซึ่งเล่าว่า บางครั้งซื้อ เอื้องคำตาดำ มา ก็มักจะได้ เอื้องคำ ธรรมดาติดมาด้วย แต่ว่า เอื้องคำทางฝั่งพม่าจะดอกใหญ่กว่า เอื้องคำ ทาง บ้านเรามาก และสีก็ดุเดือดกว่า ซึ่งจะจริงหรือไม่นั้นก็ต้องใช้วิจารณยานกันเองนะครับ

การปลูกเลี้ยงเอื้องคำ
การปลูก เอื้องคำ หากต้องการปลูกติดกับขอนไม้ ให้เรานำขอนไม้ที่เราต้องการปลูกติดนั้นมาล้างให้สะอาด เพราะขอนไม้อาจมีไข่แมลงฝังอยู่ หรือปนเปื้อนทราย หลังจากล้างน้ำจนสะอาดแล้วให้นำ กาบมะพร้าวที่ผ่านการ แช่น้ำไว้แล้วอย่างน้อย ๒ วัน มาวางขั้นระหว่าง เอื้องคำ กับ ขอนไม้ แล้วใช้เชือกฝางมัดให้แน่น อย่าใช้ลวด เพราะ ลวดจะบาดลำของ เอื้องคำ หักได้ เหตุผลที่ต้องมีกาบมะพร้าวรองก็เพราะว่า กาบมะพร้าวจะเป็นเครื่องปลูกเพิ่ม ความชื้นให้กับเอื้องคำได้ ทำให้รากแตกใหม่เร็ว และเจริญงอกงามได้เร็วกว่าการติดบนขอนไม้โดยไม่มีอะไรวาง ขั้นเลย

การปลูกลงในกระเช้า ให้ใช้ถ่านรองก้นภาชนะปลูกก่อน แล้วจึงนำกาบมะพร้าวสับชิ้นใหญ่มาวางทับอีกครั้ง แล้วนำ เอื้องคำ นั่งทับอยู่ชั้นบนสุด ให้ใช้เชือกยึดเอื้องคำกับกระเช้าให้แน่น เพื่อให้รากชิดกับเครื่องปลูกมากที่สุด ซึ่งเป็นผลดีคือ รากได้รับความชื้นสม่ำเสมอ ทำให้รากใหม่แตกเร็ว ต้นไม่โครงเครง กล้วยไม้ตั้งตัวเร็วครับ

การให้ปุ๋ย ที่ Orchidtropical จะให้ปุ๋ยไม่เป็นสูตรครับ แล้วแต่ จะประยุคส่วนใหญ่ จะเป็นสูตรเสมอ ๒๑-๒๑-๒๑ เสร็จแล้ว อาทิตย์ต่อไปก็จะใช้ตัวกลางสูงอาทิตย์ต่อจากนี้ก็สูตรเสมอ และต่อจากนี้ก็จะท้ายสูง แล้วกลับไปใช้สูตร เสมออีก วน เวียนอยู่แบบนี้จนกระทั่งมีดอก ซึ่งก็ได้ผลดี ให้ดอกสวย ลำต้น และใบงอกงาม ดีทีเดียวครับ ลองประยุคต์และปรับเปลี่ยนดู นะครับ

ทำไม เอื้องคำ ไม่ออกดอก
หากผู้เลี้ยงพบกับปัญหาเอื้องคำไม่ยอมออกดอก หรือไม่แทงช่อดอกแล้วละก็ ลองเทียบกับปัจจัยเหล่านี้ดูครับว่า ตรงกับการเลี้ยงของท่านหรือไม่
1. ปลูก เอื้องคำ ในที่ร่มรำไร แสงลอดผ่านน้อย เช่นใต้ต้นมะม่วงที่มีใบทึบหนาแน่น ใต้หลังคาโรงรถ ใต้ชายคา บ้าน หรือแขวนไว้ในที่ที่ร่มจัด (ทดสอบโดยการ เอามือยื่นออกไปด้านหน้า แล้วดูว่ามีเงาไหม ถ้าไม่มี คือร่มไป) กรณีนี้ จะสังเกตุเห็นว่าลำ เอื้องคำ ผอมลีบ แตกก่อเก่ง ใบเขียวสวย จนน่านำไปผัดใส่น้ำมันหอย วิธีแก้ไข : ย้ายไปยังที่ที่ได้รับแสงมาก ๆ อย่างน้อย 5-6 ชม และได้รับแสงเช้าและแสงเย็น สำหรับตอน บ่ายจะร้อน เกินไปเอื้องคำอาจทนความร้อนไม่ไหวอาจไหม้เกรียมได้ แสงที่พอเหมาะคือราว ๆ 80%
****เอื้องคำ ที่ได้รับแสงพอเหมาะ ลำจะอวบอ้วน ไม่ลีบผอม
****กรณีกล้วยไม้เคยอยู่ร่มจัด ให้ค่อย ๆ ขยับออกแดด อย่าจับตากแดดเลย ไม่งั้นไม้จะไหม้ ต้องค่อย ๆ ปรับตัว
****แสงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด บางครั้งไม่ต้องใส่ปุ๋ยแต่ขอให้มีแสงเพียงพอรดน้ำเสมอ ก็มีดอกสวยงามแล้วครับ

2. เอื้องคำ ที่ปลูก เป็นกล้วยไม้ป่า หรือไม้กำ กรณีนี้ ในปีแรก-ปีที่สอง ที่ซื้อมาปลูกเลี้ยง เอื้องคำจะแทงช่อสวยงาม ดี โดยเฉพาะปีแรกที่ได้ไม้มา แต่ภายหลังจากนั้น จะเริ่มสังเกตุเห็นว่า ดอกแทงน้อยลง ที่เป็นแบบนี้เพราะ ช่อ แรกที่เห็นนั้นคือไม้ท้องมาจากป่าแล้วครับ จึงให้ดอกสวยงาม และแน่นอน ก่อนที่กล้วยไม้จะถูกแผ่หลาจำหน่าย เป็นท่อน ๆ มันเคยมีกอใหญ่สวยงาม มีรากแตกเป็นแขนงเต็มต้นไม้ที่มันเกาะ มันจึงสมบูรณ์พูนผลอย่างเต็มที่ กล้วยไม้จึงมีอาหารเพียงพอที่จะให้ดอก หลังจากถูกสับแบ่งขายกล้วยไม้ไม่ได้อยู่เป็นกอแล้ว ถูกแยกเดี่ยว กล้วยไม้จำเป็นต้องตั้งหลักใหม่ มันจึงต้องพักตัวในปีต่อ ๆ มา งดให้ดอก และปรับตัวใหม่ ซึ่งกว่าจะปรับตัวได้ก็ ราว ๆ 3-4 ปีได้ครับ แต่ถ้าให้ปุ๋ยดี มีแสงเพียงพอ กล้วยไม้ก็จะตั้งหลักไว้และให้ดอกได้ตามปกติครับ วิธีแก้ไข : หากได้กล้วยไม้มาแล้ว หลังจากปลูกแตกรากแตกกอดีแล้ว ให้ค่อย ๆ ขยับให้ได้รับแสงมากขึ้น ให้ปุ๋ย ทุกสัปดาห์เพื่อให้กล้วยไม้มีอาหารสะสมเพียงพอที่จะให้ดอกและแตกกอใหม่ได้

เอื้องสายล่องแล่ง ( Dendrobium aphyllum )

dendrobium_aphyllum

 

เอื้องสายล่องแล่ง ( Dendrobium aphyllum)
เอื้องสายล่องแล่ง กล้วยไม้สกุลหวายที่พูดได้เต็มปากเต็มคำว่าเป็นเอื้องสายที่เลี้ยงง่ายที่สุดก็ว่าได้ครับ !
เอื้องสายล่องแล่ง จัดอยู่ในกลุ่มกล้วยไม้สกุลหวาย ( Dendrobium ) เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่พบเห็นได้ทุกภาคพื้นที่ในประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เอื้องสายล่องแล่ง จึงได้รับอีกชื่อหนึ่งว่า เอื้องสายเชียงใหม่ และยังมีอีกหลาย ๆ ชื่อ อาทิเช่น เอื้องสายนกกระจิบ เอื้องสายไหม เป็นต้น
ด้วยลักษณะนิสัยที่ชอบแตกกอง่าย และให้ลำลูกกล้วยที่เรียวยาวเป็นแนวดิ่งลงสู่พื้นดินนั้น เมื่อถึงเวลาให้ดอก เอื้องสายล่องแล่ง มักจะให้ดอกพลูตั้งแต่โคนต้นไปจนถึงปลายสุด ทำให้ เอื้องสายล่องแล่ง ยามให้ดอกนั้น มองดูราวกับผืนม่านขนาดใหญ่ปกคลุมบนยอดไม้สูง สง่า งดงาม อย่างที่หาเปรียบไม่ได้
นอกจากนี้ เอื้องสายล่องแล่ง ยังเป็นกล้วยไม้ที่ชอบร้อนมากอีกเสียด้วย ด้วยนิสัยที่ชอบอากาศร้อนจัดนี่เองทำให้

เอื้องสายล่องแล่ง สามารถผลิดอกบานได้ในทุกภาคพื้นที่ในประเทศไทยเรานั่นเองครับ
เอื้องสายล่องแล่ง มักจะให้ดอกในฤดูร้อนในช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม ดอกของ เอื้องสายล่องแล่ง มีลักษณะเกือบจะคล้ายคลึงกับ เอื้องสายน้ำผึ้ง แต่ต่างกันออกไปตรงที่ เอื้องสายล่องแล่ง ปากของเขานั้นจะเล็กกว่า และไม่บานกว้างออก กลีบสีม่วงของ เอื้องสายล่องแล่ง จะมีขนาดใหญ่กว่า ในขณะที่กลีบของเอื้องสายน้ำผึ้งจะมีขนาดเล็กเรียวและทรงรี สีสันของกลีบ เอื้องสายล่องแล่ง นั้นมีสีม่วง บางครั้งก็เป็นสีม่วงอ่อน ๆ ปากของ เอื้องสายล่องแล่ง มีลักษณะสีครีม ผิวกลีบมองดูอ่อนนุ่มละมุน
ก่อนที่ เอื้องสายล่องแล่ง จะให้ดอกนั้น เอื้องสายล่องแล่ง จะทิ้งใบจนหมดลำต้นหรือลำลูกกล้วย และจะพักตัวยาวนานหลายเดือน แต่ บางครั้งเราก็พบว่า เอื้องสายล่องแล่ง ไม่ทิ้งใบ และให้ดอกได้ ทันทีทั้ง ๆ ที่มีใบอยู่เต็มลำ หรือ มีใบหลงเหลืออยู่บนลำลูกกล้วย ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ เอื้องสายล่องแล่ง ให้ดอกโดยไม่ทิ้งใบนั้นสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะได้รับน้ำมากเกินไปจนทำให้ เอื้องสายล่องแล่ง ไม่มีความจำเป็นต้องทิ้งใบเพื่อลดการ คายน้ำก่อนจะให้ดอกก็เป็นได้


♠ภาพ สายล่องแล่งเวียดนาม กลีบจะเป็นสีเขียวต่างจากของไทยที่กลีบออกชมพู
การปลูกเลี้ยง เอื้องสายล่องแล่ง
เอื้องสายล่องแล่ง เป็นกล้วยไม้ที่ชอบร้อน เลี้ยงง่ายมาก ๆ ครับ เมื่อได้รับ เอื้องสายล่องแล่ง เข้ามาเลี้ยงดูแล้ว ก่อนอื่นให้ตัดรากแห้ง และลำแห้งทิ้งออกเสียให้หมดก่อนแล้ว
– นำ เอื้องสายล่องแล่ง มามัดติดกับขอนไม้ที่เหมาะสม โดยจัดลำให้ห้อยตัวลง หลีกเลี้ยงการมัดติดโดยให้หัวดิ่งลงพื้นตรง ๆ จะดีกว่าครับ เพราะการจับหัวดิ่งลงเลย กล้วยไม้ทรงจะไม่สวยแล้วยังโตช้าด้วยครับ หากเปรียบเป็นเข็มนาฬิกา ผมแนะนำให้ติดตรง 9 นาฬิกา หรือ 3 นาฬิกา ของขอนไม้นะครับ ไม่แนะนำ 6 นาฬิกาครับ เพราะ 6 นาฬิกาจะเป็นการทรมานกล้วยไม้เกินไป อารมณ์เหมือนเราถูกจับห้อยหัวโดยมัดเท้าไว้ครับ
– หาเป็นกระเช้าสี่เหลี่ยม ให้นำวัสดุปลูกเช่น กาบมะพร้าว มารองระหว่าง เอื้องสายล่องแล่ง กับกระเช้าก่อนครับ เพื่อให้ได้รับความชื้นที่พอเพียง เสร็จแล้วมัดให้แน่น แล้วแขวนกระเช้าโดยใช้ลวดเพียงสองขาก็เพียงพอครับ เพื่อให้ลำของ เอื้องสายล่องแล่ง ได้ดิ่งตัวลงมานั่นเองครับ
– รดน้ำวันละ 1 ครั้ง เช้าหรือเย็นก็ได้ครับ ระยะแรกให้แขวน เอื้องสายล่องแล่ง ไว้ในร่มรำไร พ้นแสงแดดจัด เมื่อกล้วยไม้รากเดินดีแล้วจึงค่อย ๆ ขยับเข้าหาแสงแดดที่มากขึ้นเพื่อให้กล้วยไม้ได้ปรุงอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อใช้ ในการผลิดอกในครั้งต่อ ๆ ไปนั่นเองครับ

เอื้องสายหลวง ( Dendrobium anosmum )

den-anosmum

 

เอื้องสายหลวง ( Dendrobium anosmum )
เอื้องสายหลวง Den. anosmum เป็นกล้วยไม้สกุลหวายอีก ชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามโดดเด่นไปจากสกุลหวายชนิดอื่น ๆ เนื่องจาก สายหลวง เป็นหวายที่มำลำต้นเมื่อโตเต็มที่แล้วจะมี ขนาดใหญ่โต ความยาวของลำลูกกล้วยสามารถยาวได้มากกว่า 2 เมตร เมื่อถึงฤดูกาลให้ดอก สายหลวง จะให้ดอกพลั่งพลูตลอด ลำเป็นที่ตรึงตาตรึงใจของนักเลี้ยงหลาย ๆ คน และด้วยรูปร่างที่ ใหญ่มหึมาของกล้วยไม้สกุลหวายชนิดนี้นี่เอง มันจึงได้รับชื่อสม ยานามว่า สายหลวง นั่นเองครับ
ในบรรดาเอื้องสาย สายหลวง นับเป็นเอื้องสายที่มีลักษณะของดอก หลากหลายที่อาจจะแตกต่างกันมากกว่า 10 รูปแบบ ในภาคเหนือเราอาจจะพบกับ สายหลวง ที่มีดอกกลมโต สีชมพูหวานสวยมีตากลมใหญ่เต็มปากหรืออาจจะพบกับ สายหลวง ที่มีปากบานใหญ่ กลีบดอกเล็กในแถบเขาขุนตาน

และที่ดูเหมือนจะแปลกที่สุด คงจะเป็น สายหลวง ของภาคใต้บ้านเรา มันมีลักษณะดอกที่พิลึกกึกกือ เมื่อสังเกตุที่ ผิวปากของเจ้า สายหลวง ชนิดนี้ เราจะพบว่ามันมีขนหยุบหยับเต็มไปหมด เมื่อเทียบกับ สายหลวง ปกติ ลำของมันเล็ก เรียว ไม่ต่างอะไรไปจากเอื้องสายอื่น ๆ รูปร่างของลำ ต้นเล็กเพรียว ให้ดอกเพียงกระจุ๋มกระจิ๋มเพียงเล็กน้อยพอหอมปาก หอมคอตรงบริเวณปลายลำเท่านั้น ขนาดของดอกนั้นเล็กกว่า สายหลวง ภาคเหนือ แต่ลักษณะสีสัน ยังคงชมพูหวาน คงเอกลักษณ์ของ เอื้อง สายหลวง อยู่นั่นเอง

เอาละอ่านมาถึงตรงนี้ เราไปดูลักษณะ สายหลวง ที่พบเห็นกันบ่อย ๆ กันเลยดีกว่า เลื่อนเม้าตามลงมาเลยครับ
เอื้องสายหลวงไทย
เอื้องสายหลวงไทย ลักษณะจะคล้ายคลึงกับ เอื้องสายหลวงลาว เป็นอย่างมาก แต่จะมีอีกประเภทหนึ่งที่ดูได้ง่ายคือต้นที่มีลักษณะตาดอกแดงก่ำแบบต้นในภาพ เอื้องสายหลวงไทยโดยทั่วไป จะพบว่า ลักษณะ จงอยปากของดอกกล้วยไม้นั้น จะมีลักษณะแหลมเรียวคล้ายกับช้อนที่มีปลายแหลม ในขณะที่ของลาว จงอยปากจะบานกว้างออก ลำลูกกล้วยของ เอื้องสายหลวงไทย จะมีลักษณะแข็งค่อนข้างเป็นตรง ไม่หักงอ โค้งซิกแซกไปมาเหมือน เอื้องสายหลวงลาว แต่บางครั้งเราก็พบว่า เอื้องสายหลวงลาว ลำตรง ๆ ก็มีเช่นกันครับ เมื่อหัดสังเกตุและลองเลี้ยงไปสักพักแล้ว ผู้เลี้ยงจะเริ่มรู้จุดสังเกตุและเข้าใจในความต่างตรงนี้เองครับ ลองศึกษาดูนะครับ

เอื้องสายหลวงลาว
เอื้องสายหลวงลาว ลักษณะของปากดอกจะบานกว้างออก คล้ายกับทัพพี ครับ ปากของเค้าจะบาน ๆ ตาสีเข้มกลมโต และกลีบดอกผายผึ่งกว่าสายหลวงไทย ลำของเอื้องสายหลวงลาวที่มาจากปาก สังเกตุได้ว่า จะมีลักษณะลำหักงอ เป็น เส้นซิกแซก สลับซ้ายขวาคล้ายกับฟันปลา แต่ก็ไม่เสมอไป บางต้นที่มาจากป่าสมบูรณ์ลำต้นก็จะอวบใหญ่ กลมและตรง คล้ายกับของไทยก็มีครับ

เอื้องสายหลวงใต้
เอื้องสายหลวงใต้ เป็น สายหลวง ที่มีลักษณะแปลกสุดในบ้านเราครับ ลักษณะปากของเค้า จะมีขนปกคลุมอยู่ และปากของเค้า จะห่อเป็นกรวย ไม่คลี่บานออกเหมือน เอื้องสายหลวงลาว และ เอื้องสายหลวงไทย ลำของเค้าจะมีลักษณะเล็กเรียวไม่อวบอ้วน แตกตะเกียงง่าย นอกจากนี้ เอื้องสายหลวงใต้ยังพบว่ามีลักษณะของดอก 2 แบบ ดั่งเช่นภาพด้านบน ด้านซ้ายสุดคือ แบบที่มีลักษณะดอกพื้นขาว และปากม่วง และ แบบถัดมาที่พบได้ทั่วไปตามท้องตลาดคือปากห่อมีขนครับ

นอกเหนือจาก สายหลวง ที่มีลักษณะสีสันทั่วไปแล้ว เรายังพบว่ามี สายหลวง ที่มีลักษณะของดอกพิเศษอีก 2 กลุ่ม คือ ชนิดที่มีสีขาวล้วน หรือ ที่เราเรียกกันว่า เอื้องสายหลวงเผือก และชนิดที่มีตาสีแดง หรือ ม่วง และมีกลีบดอกเป็นสีขาวล้วน เราเรียกชนิดหลังนี้ว่า เซมิอัลบา หมายถึง ลักษณะ ของ กึ่งเผือก ซึ่งเป็นลักษณะทีหาได้ยากที่สุด และมีราคามากที่สุดก็ว่าได้
ภาพ สายหลวงกึ่งเผือก ไม้เมล็ดของคุณชิเนนทร ที่หลุดออกมาเป็นกึ่งเผือกเกือบทั้งชุด

การปลูกเลี้ยง สายหลวง
สายหลวง เป็นหวายที่เลี้ยงไม่ยาก เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่ทนสภาพอากาศร้อนได้ และให้ดอกในพื้นที่ราบได้เมื่อถึง ฤดูกาล การดูแลเจ้า สายหลวง จึงไม่ยุ่งยากนัก โดยปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้

กรณีไม้ออกขวด
– ให้นำลูกไม้ออกขวดนั้น ปลูกลงในสเฟกนั่มมอส หรือ วัสดีที่มีสะสมความชื้นได้ทันที เนื่องจากรากของกล้วยไม้สกุลหวาย จะแห้งได้โดยง่าย หากนำผึ่งในตะกร้าโดยไม่มีเครื่องปลูก จะแห้งตายในที่สุด
– หลังจากนี้ให้ดูแลควบคุมความชื้นให้ดี อย่าให้แฉะจนเกินไป ให้ลูกไม้อยู่บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับ
– ฉีดพ่นปุ๋ยอ่อน ๆ ได้ ใช้สูตรเสมอ สลับกับสูตรตัวหน้าสูง เช่น 21-21-21 สลับกับ 30-20-10
– หลังจากผ่านไป 8 – 9 เดือน ลูกไม้จะโตขึ้นมาก และเริ่มทิ้งใบ อย่าตกใจ เนื่องจากเข้าสู่ฤดูพักตัวก่อนให้ดอก เมื่อพ้นปีแล้ว ลูกไม้ที่ทิ้งใบนี้จะแทงหน่อใหม่ หากกินอิ่มหนำสำราญดี หน่อใหม่จะโตกว่าเดิมหลายเท่าตัว และพร้อมให้ดอกในปีถัดไป
*****ในฤดูฝน พึงระวัง หากฝนตกทุกวัน ลูกไม้อาจจะเน่าตายได้ ให้พ่นยากันราอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์/ครั้ง

กรณีไม้ที่ได้มาเป็นต้นโตแล้ว
– ให้นำ สายหลวง ปลูกติดขอนไม้ หรือ กระเช้าก็ได้ครับ หากปลูกติดขอนให้ห้อยหัว สายหลวง ลง การปลูกติดขอนไม้ต้อง มีกาบมะพร้าวที่แช่น้ำมาแล้วอย่างน้อย 2 คืน มาแปะรองระหว่างรากกับขอนไม้ และมัดให้แน่น ความชื้นจากกาบ มะพร้าวจะช่วยให้รากใหม่แตกเร็วขึ้น และโตเร็วกว่านำ สายหลวง แปะลงบนขอนไม้เปล่า ๆ ครับ
– หากลงกระเช้า ให้จับลำต้นขึ้น ใช้ฟิว หรือ เชือกฝาง บรรจงมัดลำที่ตั้งขึ้น ให้ยึดกับลวดแขวน เครื่องปลูกเป็นมะพร้าวสับ ที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้วอย่างน้อย 2 คืน จะช่วยให้รากแตกตาใหม่เร็วขึ้นครับ
***บางครั้งก็มักได้ยินเรื่อง ฮอโมนเร่งราก ซึ่งก็ได้ผลดีครับ แต่หากน้ำดีปุ๋ยถึงละก็ ไม่จำเป็นเลยเพราะในปุ๋ยที่เราใช้นั้น มีการผสมฮอร์โมนตัวนี้ลงไปเรียบร้อยแล้วละครับ

หลักการขุนให้ สายหลวง ดอกดก
– ไม่มีอะไรมาก แค่ขยันรดน้ำใส่ปุ๋ยเป็นประจำ สายหลวง ก็พรั่งพรูแล้วละครับ สูตรปุ๋ยไม่แน่นอน ส่วนตัวผมใช้ปุ๋ยสูตร 21-21-21 ฉีดพ่นในช่วงที่หน่อใหม่สลับกับตัวหลังสูง เพื่อให้ได้ลำใหม่ที่อวบใหญ่ยาว เวลาให้ดอกจะได้พลู ๆ พอเริ่มดู แล้วว่าลำใหม่โตเต็มที่แล้ว ผมก็จะเปลี่ยนเป็นสูตร ตัวกลางสูง สลับกับสูตรเสมอ เพื่อให้สะสมอาหารพอที่จะแทงดอก ให้ดูเยอะ ๆ ครับ ซึ่งผลออกมาก็คือต้นในภาพบนสุดครับ ใครจะลองทำตามดูก็ได้นะครับ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ !