เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 22,248

[16.4258401, 99.2157273, เอื้องหมายนา]

เอื้องหมายนา ชื่อสามัญ Crape ginger, Malay ginger, Spiral Flag, Wild ginger

เอื้องหมายนา ชื่อวิทยาศาสตร์ Cheilocostus speciosus (J.Koenig) C.D.Specht (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Costus speciosus (J.Koenig) Sm.) จัดอยู่ในวงศ์เอื้องหมายนา (COSTACEAE)

สมุนไพรเอื้องหมายนา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เอื้อง (อุบลราชธานี), เอื้องช้าง (นครศรีธรรมราช), เอื้องต้น (ยะลา), เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง), เอื้องดิน เอื้องใหญ่ บันไดสวรรค์ (ภาคใต้), ซูแลโบ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ชู้ไลบ้อง ซูเลโบ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กู่เก้ง (ม้ง), ชิ่งก๋วน (เมี่ยน), ลำพิย้อก (ลั้วะ), ดื่อเหม้ (ยึ) (ปะหล่อง), จุยเจียวฮวย (จีน) เป็นต้น

ลักษณะของเอื้องหมายนา

  • ต้นเอื้องหมายนา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอ ๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 87-126 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่อินเดียตะวันออกจนถึงคาบสมุทรอินโดจีน 
  • ใบเอื้องหมายนา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมนเรียวเข้าหาก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบ กาบใบอวบเป็นสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงโอบรอบลำต้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-40 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบมีขนนุ่มสั้นคล้ายกำมะหยี่ เส้นใบขนานกับขอบใบ เส้นใบออกจากเส้นกลางใบแต่จะไปสิ้นสุดที่จุดเดียวกัน ทุกส่วนของต้นมีขน ก้านใบมีขนาดสั้นหรือไม่มีก้านใบ
  • ดอกเอื้องหมายนา ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกจะออกที่ปลายของลำต้น ลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร กาบรองดอกเป็นรูปไข่ปลายแหลม ปลายแข็งคล้ายหนาม สีเขียวปนแดง ยาวประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตร ในแต่ละกาบรองรับดอกย่อย 1 ดอก ดอกจะทยอยบายครั้งละ 1-2 ดอก กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ๆ และเป็นสัน 3 สัน ปลายแยกเป็น 3 กลีบ แยกออกเป็น 2 ปาก มีปากด้านบน 2 กลีบ และปากด้านล่าง 1 กลีบ กลีบแยกลึก ส่วนกลีบดอกนั้นมี 3 กลีบ มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อยเป็นสีขาว ดอกมีเกสรเพศผู้ที่ไม่สมบูรณ์เปลี่ยนไปมีลักษณะคล้ายกลีบดอก มีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอก มีขนาดกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูปไข่กลับสีขาว ขอบม้วนซ้อนทับกัน ตรงกลางกลีบด้านในของดอกเป็นสีเหลือง มีขนสีเหลืองปกคลุม เป็นสันตื้น ๆ 3 สันไปยังปลายกลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน ก้านเกสรเพศผู้จะแผ่แบนเป็นแถบ มีขนาดกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร โดยส่วนของปลายจะกว้างประมาณ 6-7 มิลลิเมตร สีเหลืองเข้มและม้วนลงด้านล่าง อับละอองเกสรเพศผู้จะติดอยู่ใต้บริเวณสีเหลือง ขนาดกว้างประมาณ 3.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนเกสรเพศเมียนั้นมี 1 อัน ก้านเกสรเป็นอิสระ ส่วนปลายแทรกอยู่ระหว่างถุงละอองเกสรเพศผู้ ยอดเกสรเพศเมียจะแผ่ออกอยู่เหนืออับละอองเกสรเพศผู้ มีรังไข่ 3 ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม หรือในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 
  • ผลเอื้องหมายนา ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม ผลมีขนาดยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ผลเมื่อแห้งแล้วจะแตก มีเนื้อแข็ง สุกสีแดงสด ปลายยอดมีกลีบเลี้ยง 1 กลีบ หรืออยู่เป็นกระจุกแหลม 3 แฉก กาบหุ้มผลเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดสีดำเป็นมัน 

สรรพคุณของเอื้องหมายนา

  1. ชาวม้งจะใช้เหง้าใต้ดิน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตต่ำ อาการหน้าซีด (เหง้า)
  2. ชาวไทใหญ่จะใช้รากนำมาดองกับเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ราก) หลายพื้นที่ริยมกินหน่ออ่อนและดอกอ่อนเป็นผัก โดยชาวม้งจะนิยมนำมาต้มกินกับไก่เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ตัวเหลือง แก้อาการอ่อนเพลียไม่มีแรง (หน่อ,ดอก)
  3. คนเมืองจะใช้ลำต้นนำไปต้มกิน เชื่อว่าเป็นยาต้านโรคมะเร็ง (ลำต้น)
  4. ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี จะใช้เหง้าเอื้องหมายนาเข้ายาแก้ซางเด็ก (เหง้า)
  5. ลำต้นนำมาย่างไฟคั้นเอาน้ำใช้หยอดหู แก้หูน้ำหนวก (ลำต้น)[4],[8]ส่วนชาวไทใหญ่จะใช้ใบนำไปรมไฟ แล้วบีบเอาน้ำมาหยอดหู รักษาโรคหูเป็นหนอง (ใบ)
  6. ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ใบ) รากใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด (ราก)
  7. รากมีรสขมเมา มีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ (ราก)
  8. ช่วยขับเสมหะ (ราก)
  9. หมอยาบางพื้นที่จะใช้ใบเอื้องหมายนากับใบเปล้าใหญ่ นำมาซอยตากแห้งอย่างละเท่ากัน นำมามวนสูบเป็นบุหรี่เพื่อรักษาริดสีดวงจมูก (ใบ)
  10. ต้นตลอดถึงราก มีสรรพคุณเป็นยาช่วยบำบัดอาการปวดมวนในท้องคล้ายโรคกระเพาะ ถ่ายเป็นเลือด กินอาหารแสลงแล้วจะมีอาการปวดและออกทางทวาร (ต้นตลอดถึงราก)
  11. น้ำคั้นจากลำต้นใช้เป็นยารักษาโรคบิด (น้ำคั้นจากลำต้น)
  12. ช่วยแก้อาการท้องผูกเป็นประจำ (ต้นตลอดถึงราก)
  13. ช่วยในการย่อยอาหาร (ราก)
  14. เหง้านำมาตำพอกบริเวณสะดือเป็นยารักษาโรคท้องมาน (เหง้า)
  15. เหง้าใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสมานแผลภายใน (เหง้า)
  16. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาถ่าย ยาแก้พยาธิ ฆ่าพยาธิ (เหง้า) น้ำคั้นจากเหง้าสดมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง (น้ำคั้นจากเหง้าสด)
  17. รากมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (ราก)
  18. เหง้ามีรสขมเมา มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (เหง้า)
  19. ใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือจะใช้ลำต้นนำมารับประทานสดเป็นยาแก้นิ่ว โดยตัดให้มีความยาวหนึ่งวา แล้วเอาไปย่างไฟคั้นเอาน้ำดื่ม (ลำต้น) ส่วนชาวลั้วะจะใช้ใบเป็นส่วนประกอบในยารักษาโรคนิ่ว ร่วมกับใบของมะละกอตัวผู้ และพืชอื่น ๆ อีกหลายชนิด (ใบ)
  20. ช่วยแก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (เหง้า)
  21. น้ำคั้นจากเหง้าสด ใช้เป็นยารักษาซิฟิลิส (เหง้า)
  22. ต้นตลอดถึงรากมีสรรพคุณเป็นยาสมานมดลูก (ต้นตลอดถึงราก)
  23. เหง้ามีสรพคุณช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เหง้า)
  24. เหง้ามีฤทธิ์ทำให้แท้ง ควรระวังในการใช้ (เหง้า)
  25. เหง้าใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยบำรุงมดลูก (เหง้า)
  26. รากมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ (ราก)
  27. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (เหง้า)
  28. รากใช้เป็นยาขม ฝาดสมาน (ราก)
  29. ใช้รักษาพิษงูกัด (ราก)
  30. รากใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง (ราก)
  31. เอื้องหมายนายังมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการผิวหนังเป็นผื่น มีอาการคันตามผิวหนัง รวมทั้งอาการคันจากพิษหมามุ่ย โดยชาวไทใหญ่จะนิยมตัดลำต้นเอื้องหมายนายาวประมาณ 1 นิ้ว พกใส่กระเป๋าในยามที่ต้องเข้าป่า หรือไปถางไร่เพื่อป้องกันไม่ให้ขนหมามุ่ยติด กล่าวคือ มีความเชื่อว่าถ้ามีก้านเอื้องหมายนาพกติดตัวไว้จะไม่มีคันเมื่อถูกหมามุ่ย (ลำต้น)
  32. เหง้าใช้เป็นยาแก้แผลหนอง อักเสบ บวม ด้วยการนำเหง้ามาต้มเอาแต่น้ำใช้ชะล้างหรือใช้ตำพอกบริเวณที่เป็น (เหง้า)

หมายเหตุ : วิธีการใช้ตาม [3] ในส่วนของเหง้า ให้ใช้เหง้าแห้งครั้งละประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินหรือใช้ตุ๋นกับเนื้อสัตว์กิน[3]

ข้อควรระวังในการใช้เอื้องหมายนา

  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังมดลูก และการใช้สมุนไพรชนิดนี้อาจไปรบกวนรอบประจำเดือนด้วย[10]
  • เหง้าสดมีพิษมาก หากใช้ในปริมาณมากจะทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงอย่างรุนแรง ต้องนำมาทำให้สุกก่อนนำมาใช้
  • ส่วนการรักษาพิษให้กินน้ำข้าวที่เย็นครั้งละ 1 ถ้วย ทุก ๆ 15 นาที จนกว่าอาการท้องร่วงจะหายไป

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเอื้องหมายนา

  • เหง้าพบสาร beta-sitosterol glucoside, cyanophoric substance, dipsgenin, dioscin, fatty acid, gracillin, tigofenin, saponin A, B, C, D
  • เหง้าเอื้องหมายนา มีสาร diosgenin ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง ใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ยาสเตียรอยด์หลายชนิด
  • เหง้าเอื้องหมายนามีสารจำพวก Saponins ซึ่งมีฤทธิ์รักษาอาการอักเสบและข้ออักเสบอย่างเฉียบพลันในหนูใหญ่สีขาวทดลอง ที่เกิดจากการละลายคาร์ราจีนินและฟอร์มาลิน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์รักษาอาการผิวหนังอักเสบมีน้ำเหลือง เนื่องจากการระคายเคืองจากน้ำมันสลอด และแผลผิวหนังอักเสบเนื่องจากการระคายเคืองของใยสำลีในหนูใหญ่สีขาวทดลอง
  • สาร Saponins ในเหง้าเอื้องหมายนา มีผลทำให้มดลูกของหนูใหญ่สีขาวที่ทำให้เป็นหมัน จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อเยื่อบุภายในมดลูก และช่องคลอดของหนูใหญ่สีขาว
  • น้ำคั้นที่ได้จากเหง้าเอื้องหมายนามีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูก ที่แยกจากตัวของหนูใหญ่ หนูตะเถา กระต่าย และคน และมดลูกที่อยู่ในตัวของสุนัขและกระต่าย โดยการทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวมากขึ้น สารสกัดด้วยคลอโรฟอร์ม ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัวได้แรงที่สุดและออกฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อมดลูกโดยตรง ผลึก Saponin D มีฤทธิ์ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกของหนูใหญ่ หนูตะเถา สุนัข กระต่าย และคน ในภาวะที่ระดับฮอร์โมนต่างกันส่วนมดลูกที่แยกจากตัวของคน มดลูกในระยะตั้งท้อง และมดลูกที่อยู่ในตัวของหนูตะเภา สุนัข และกระต่าย จะไวต่อฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกของผลึก Saponin D นี้มาก
  • นอกจากนี้ยังพบสารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากเอื้องหมายนา มีฤทธิ์ยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส และมีฤทธิ์คล้ายกับ acetylcholine ที่กระตุ้นกล้ามเนื้อลำไส้ตรงของกบ และยังเพิ่มความดันโลหิตของสุนัข ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์คล้ายกับ physostigmine แต่จะอ่อนกว่า

ประโยชน์ของต้นเอื้องหมายนา

  1. หน่ออ่อนที่งอกจากต้นในช่วงฤดูฝน สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นอาหารได้ แต่ต้องนำมาต้มให้สุกเสียก่อนเพื่อขจัดกลิ่น เมื่อนำมาต้มหรือลวกแล้วจะใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง แกงส้ม นำมาหั่นแล้วผัดใส่เนื้อหรือใส่แกงเนื้อ เป็นต้น หรือใช้เหง้าซึ่งมีเมือกลื่นรสฝาด และไม่มีกลิ่นเป็นอาหาร[3] ในประเทศอินเดีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์จะใช้หน่ออ่อนใส่แกง และใช้รับปะทานเป็นผัก
  2. ใช้เป็นอาหารสัตว์จำพวก โค กระบือ
  3. ใช้กำจัดหอยเชอรี่ ด้วยการใช้ใบ ดอก และเหง้าเอื้องหมายนามาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วนำไปเทลาดลงบนแปลงนาที่มีการระบาดของหอยเชอรี่ เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีสารแทนนินที่สามารถทำให้ไข่ฝ่อ และหอยเชอรี่ตายได้
  4. ชาวลั้วะจะใช้ใบเอื้องหมายนาเป็นส่วนประกอบในการทำพิธีสู่ขวัญควาย (การขอขมาลาโทษจากควาย เนื่องจากที่ถูกชาวนาดุด่า ทุบตีระหว่างการไถพรวน)[8],[10]ซึ่งในพิธีจะมีการนำต้นเอื้องหมายนามาปักไว้ทั้ง 4 ทิศของพื้นที่นา โดยจะมีประโยชน์ในการช่วงป้องกันวัชพืชของต้นข้าวที่จะมาทำลายต้นข้าว จึงช่วยทำให้ต้นข้าวออกรวงได้ดี นี้จึงเป็นที่มาของชื่อสมุนไพรชนิดนี้ว่า "เอื้องหมายนา"
  5. ชาวไทลื้อจะใช้ทั้งต้นเพื่อประกอบพิธีกรรมก่อนการทำนา (พิธีแฮกข้าว) โดยนำไปมัดติดกับตะแหลวร่วมกับดอกปิ้งแดง แล้วนำไปใส่ไม้ปักไว้ที่ไร่น่าก่อนจะปลูกข้าว เพื่อเป็นการบอกกล่าวเจ้าที่ว่าจะทำการปลูกข้าวในที่นาผืนนั้นๆ โดยเชื่อว่าจะช่วยทำให้ข้าวเจริญงอกงามขึ้น (แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยทำกันแล้ว)
  6. เอื้องหมายนา เป็นดอกไม้ที่นิยมนำมาตัดไว้ประดับแจกันทั้งต้นที่มีช่อดอก เนื่องจากทั้งต้นและกาบประดับมีความสวยงามแปลกตา
  7. ต้นเอื้องหมายนานิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเลี้ยงได้ง่าย

คำสำคัญ : เอื้องหมายนา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เอื้องหมายนา. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1784&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1784&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ตำลึง

ตำลึง

ลักษณะของตำลึงต้น ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น ใบ เดี่ยวสีเขียวรูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน  ดอก สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,268

ข้าวเย็นใต้

ข้าวเย็นใต้

ต้นข้าวเย็นใต้ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย เถาและลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมหรือแบนหรือเป็นก้อน มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบ พบก้อนแข็งนูนขึ้น เสมือนแยกเป็นแขนงสั้น ๆ เหง้ามีความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือเป็นสีเทาน้ำตาล ตามผิวพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกของรากฝอย อาจพบปมของรากฝอยที่พร้อมจะงอกในลักษณะกลมยื่นนูนมาจากบริเวณผิวเหง้า 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,446

ฟักข้าว

ฟักข้าว

ฟักข้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยิ่งมากเถายิ่งใหญ่ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว บนหลังคา (ขอให้มีที่เกาะ) ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,196

มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอม จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีความสูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่ง ลำต้นและกิ่งก้านมีขนแข็งและสากคาย มีสีน้ำตาลแกมสีเหลืองอ่อน เมื่อแก่ลำต้นจะกลวง ที่ตาดอกและใบอ่อนมีขนขึ้นหนาแน่น มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ ป่าโปร่ง และที่โล่งแจ้ง มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,133

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ต้นใบเงิน มีถิ่นที่อยู่ในประเทศนิวกินี ส่วนต้นใบนาก มีถิ่นกำเนิดในเขตมรสุมในเมืองร้อน ใบเงิน ใบทอง และใบนากเป็นพรรณไม้ชนิดเดียวกัน โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบอยู่ในที่ร่มรำไร มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ต้องการแสงแดดเป็นบางเวลา และทั้งใบเงิน ใบทอง และใบนาก ต่างก็มีสรรพคุณทางยาเช่นเดียวกัน 

 

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 13,007

กระเช้าฝีมด

กระเช้าฝีมด

ต้นกระเช้าฝีมดเป็นไม้พุ่ม อิงอาศัยบนคาคบของต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 30-60 ซม. โคนต้นขยายใหญ่เป็นรูปกลมป้อมสีน้ำตาลเทา อวบน้ำ ขนาด ผ่านศูนย์กลาง 15-40 ซม. ภายในเป็นโพรงจำนวนมาก มักเป็นที่ อาศัยของมด ใบกระเช้าฝีมดใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-10 ซม. แผ่นใบหนาอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมน ดอกกระเช้าฝีมดสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามซอกใบ ดอกย่อย ขนาดเล็ก 2-4 เมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น 4 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,511

ข้าว

ข้าว

สำหรับประเทศไทยข้าวที่ปลูกจะเป็นชนิด indica โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้พันธุ์ข้าวยังได้ถูกปรับปรุงและคัดสรรสายพันธุ์มาโดยตลอด จึงทำให้มีหลากหลายสายพันธุ์ทั่วโลกที่มีรสชาติและคุณประโยชน์ของข้าวที่แตกต่างกันออกไป โดยพันธุ์ข้าวไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็คือ ข้าวหอมมะลิ โดยข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงก็คือ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี และข้าวเสริมวิตามิน

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 12,089

ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ จัดเป็นพรรณไม้น้ำหรือพรรณไม้ล้มลุก มีอายุราว 1 ปี ชอบขึ้นตามแอ่งน้ำรกร้างหรือริมน้ำทั่วไป มีลำต้นอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร เลื้อยทอดไปตามผิวน้ำหรือพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขามาก ส่วนรากจะติดอยู่ตามข้อต้น ลำต้นกลมเป็นข้อๆ ภายในของลำต้นกลวง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นไปปลูกลงในแอ่งน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,032

กระเบียน

กระเบียน

ต้นกระเบียน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เรือนยอดค่อนข้างเล็ก ไม่เป็นรูปทรง เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแกมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลหม่น ล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งก้านแข็งแรงหรืออาจมีหนามตรงออกเป็นคู่ที่ข้อ มักขึ้นเป็นกลุ่มหรือขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเป็นรูปไข่กลับ กลม หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบเรียวไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบสั้นมาก มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ อยู่ตรงข้ามกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 4,774

โหราบอน

โหราบอน

โหราบอน จัดเป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีอายุได้หลายปี โหราบอนเป็นพืชที่ไม่มีลำต้น แต่มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก ลักษณะเป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก ใบโหราบอน มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น ก้านใบยาวและอวบน้ำ ก้านใบมีลักษณะตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 2-4 ใบ ในระยะเวลา 1-2 ปี จะมีการแตกใบ 1 ใบ ใบอ่อนมักจะม้วนงอ ส่วนใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,296