พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้ชม 5,797

[12.5694744, 94.9625749, พระแสงราชศัสตรา]

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

หลวงพิพิธอภัย (หวล) ผู้ถวายพระแสงราชศัสตรา แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ เดิมเป็นดาบประจำตระกูลเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานแก่พระยากำแพงเพชร (นุช) เป็นบำเหน็จเมื่อครั้งไปราชการทัพ หลวงพิพิธอภัย(หวล) บุตรพระยากำแพงเพชร (อ้น) นำฝักดาบทองประจำตระกูลทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกำแพงเพชร เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ พระองค์ทรงรับและพระราชทานให้เป็นพระแสงราชศัสตราประจำแมืองกำแพงเพชร โดยพระยาวิเชียรปราการ ผู้ว่าราชการเมืองกําแพงเพชร เป็นผู้รับพระราชทาน นับเป็นความโชคดีของชาวกำแพงเพชร รวมถึงทายาทพระยากำแพงเพชรตลอดจนชาวไทยทุกคนที่ เรื่องราวของพระแสงราชศัสตราองค์นี้มีการบันทึกไว้อย่างดีในพระนิพนธ์ “เสด็จประพาสต้น”ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดังนี้

ฯลฯ “ วันที่ ๒๖ หมายจะยังไม่ตื่นแต่หมาเข้าไปปลุก ๒ โมงเศษกินข้าวแล้วออกไปแจกของ ให้ผู้ที่มาเลี้ยงดูและรับผู้หญิงผู้ชาย หลวงพิพิธอภัยผู้ช่วย ซึ่งเป็นบุตรพระยากำแพง(อ้น) นำดาบฝักทอง ซึ่งพระพุทธยอดฟ้าพระราชทานพระยากำแพง(นุช) เป็นบำเหน็จมือ เมื่อไปทัพแขก แล้วตกมาแก่พระยากำแพง(นาค) ซึ่งเป็นสามีแพง บุตรีพระยากำแพง(นุช) และแพงภรรยาได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองกำแพงต่มา ๔ คน คือพระยากำแพง(บัว) พระยากำแพง(เถื่อน)พระยากำแพง(น้อย)พระยากำแพง(เกิด) ได้รับดาบเล่มนี้ต่อๆกันมา ครั้งพระยากำแพง(เกิด)ถึงอนิจกรรม ผู้อื่นนอกจากตระกูลนี้มาเป็นพระยากำแพงหลายคน ดาบตกอยู่แก่นายอ้นบุตรพระยากำแพง(เกิด) ซึ่งเป็นบิดาหลวงพิพิธอภัย ภายหลังนายอ้นได้เป็นพระยากำแพง ครั้นพระยากำแพง อ้นถึงแก่กรรม ดาบจึงตกอยู่กับหลวงพิพิธอภัยบุตรผู้นำมาให้นี้ พิเคราะห์ดูก็เห็นจะเป็นดาบพระราชทานจริง เห็นว่าเมืองกำแพงเพชร ยังไม่มีพระแสงสำหรับเมืองเช่นแควใหญ่ ไม่ได้เตรียมมา จึงได้มอบดาบเล่มนี้เป็นพระแสงสำหรับเมือง ให้ผู้ว่าราชการรักษาไว้สำหรับใช้ในการพระราชพิธี แล้วถ่ายรูปพวกตระกูลเมืองกำแพงที่มาหาตั้งต้นคือท่านผู้หญิงทรัพย์ ภรรยาพระยากำแพง(เกิด) อายุ ๙๓ ปีจอ เห็นจะเป็นปีจอ ฉอศก จุลศักราช ๑๑๗๖ ยังสบายแจ่มใส พูดจาไม่หลง เดินได้เป็นต้น กับลูกที่มา ๒ คนคือผึ้ง ซึ่งเป็นภรรยาพระพล(เหลี่ยม) อายุ ๗๓ ปี ลูกคนสุดชื่อ ภู่ เคยไปทำราชการรในวังครั้งรัชกาลที่ ๔ แล้วมาเป็นภรรยาพระยารามรณรง์(หรุ่น)อายุ ๖๔ ปี หลานหญิงชื่อหลาบเป็นภรรยาหลวงแพ่ง อายุ ๖๔ ปี หลานหญิงชื่อเพื่อนเป็นภรรยาพระพล อายุ ๔๖ ปี หลานหญิงชื่อพัน ภรรยาหลวงพิพิธ อายุ ๔๔ ปี ฯลฯ

ลักษณะของพระแสงของเมืองกำแพงเพชรองค์นี้ น้อยคนนักที่จะได้เห็นของจริง ลักษณะจะมีความยาว ๘๘.๕ ซ.ม. มีด้ามเป็นเป็นทองคำยาวถึง ๓๙.๕ ซ.ม ตัวฝากทำด้วยไม้เนื้อหอม ไม่ทราบว่าเป็นไม้อะไร แต่คุณสมชาย ตติยวัฒนสิริ นายช่างประณีตศิลป(พิเศษเฉพาะตัว) ผู้อนุรักษ์กล่าวว่าเป็นเนื้อไม้พิเศษเพราะมีน้ำหนักเบามากและมีกลิ่นหอม หุ้มฝักไม้หอมด้วยทองคำ ตัวฝักยาว ๔๙ ซ.ม.

นับเป็นบุญของผู้เขียนที่ได้รับเชิญจากทางจังหวัดกำแพงเพชรให้โอกาสเข้าร่วมตรวจรับพระแสงราชศัสตราที่ได้นำส่งให้กรมศิลปากรดำเนินการอนุรักษ์ ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ การอนุรักษ์ซ่อมพระแสงฯแล้วเสร็จในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ซึ่งเดิมกำหนดให้เสร็จก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อการเฉลิมฉลอง ระหว่างวันที่ ๑-๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ กำหนดการสมโภชจึงต้องเลื่อนออกไปเป็นวันที่ ๒๙-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ ผู้เขียนและคณะส่วนหนึ่งของกรรมการชมรมทายาทพระยากำแพงเพชร ได้เดินทางไปถึงสำนักช่างสิบหมู่โดยมี นายธนชัย สุวรรณวัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ นายธนิตย์ แก้วนิยม หัวหน้ากลุ่มงานช่างโลหะและช่างศิราภรณ์ พร้อมด้วยนายยงยุทธ วรรณโกวิทย์ นายช่างประณีศิลป ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น หลังจากนั้นคณะข้าราชการจากจังหวัดฯนำโดย นางสาวจารุวัตย์ ศีลพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายรุ่งชัย แพศย์ศกล คลังจังหวัด นางสาวอัจฉรา อ่อนจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัด นายสมัย เชื้อทอง หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร และนายมโน กลีบทอง หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และเจ้าหน้าที่ติดตามพร้อมทั้งสื่อมวลชน เดินทางมาถึงเข้าร่วมประชุมเพื่อการตรวจสอบ สภานภาพของพระแสงราชศัสตรา
เมื่อคณะทั้งหมดได้มาถึงห้องประชุมแล้ว นายยงยุทธ วรรณโกวิทย์ ได้รายงานความเป็นมาและผลการบูรณะพระแสงราชศัสตราอย่างละเอียด ตามที่ผู้เขียนได้จัดไว้ในส่วนของการบูรณะพระแสงราชศัสตราฯแล้ว

 สำหรับประวัติความเป็นมาของพระแสงราชศัสตราองค์นี้ มีความแตกต่างจากพระแสงราชศัสตราประจำเมืองอื่น ๆ ดังได้กล่าวว่าเป็น “หนึ่งในสยาม” ด้วยความแตกต่างที่โดดเด่น คือ 
๑ ) มิใช่ดาบที่สร้างไว้เพื่อพระราชทานโดยตรงแต่เป็นถึงดาบประจำพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ โดยจะทรงเหน็บไว้ข้างพระวรกายขณะออกศึกทุกครั้ง เพื่อใช้ฟันหรือแทงในยามที่ข้าศึกเข้ามา ประชิดตัว 
๒ ) เป็นพระแสงราชศัสตรา หนึ่งเดียวที่มีการบันทึกเรื่องราวความเป็นมาให้เป็นประวัติศาสตร์ที่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา จากพระนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสต้น ของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นบันทึกช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยได้อย่างเป็นหลักเป็นฐาน
๓ ) เป็นพระแสงราชศัสตรา ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระมหาราชโดยตรงถึง ๓ พระองค์ คือ
• พระแสงนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงพระราชทานให้แด่ พระยารามรณรงค์สงคราม ฯ (นุช) 
• พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว-พระปิยะมหาราช ทรงรับพระแสงราชศัสตราองค์นี้จาก หลวงพิพิธอภัย (หวล) และทรงพิเคราะห์อย่างถ้วนถี่แล้วมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าเป็นพระแสงดาบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจริง และได้พระราชทานพระแสงดาบองค์นี้ คืนให้จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อใช้ในการพระราชพิธีสำหรับเมือง โดยพระยาวชิรปราการ ในขณะนั้นเป็นผู้ว่าราชการเป็นผู้รับพระราชทาน ดังนั้น นับว่าเป็นเพียง ๑ เดียวที่เป็นทั้งพระแสงดาบประจำพระองค์และเป็นพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัด 
• พระมหาราชพระองค์ที่ ๓ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวะภูมิพลมหาราช ที่ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บูรณะซ่อมพระแสงราชศัสตราองค์นี้ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
ลักษณะของดาบก็ยังมิใช่ดาบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีอีกด้วย ปัจจุบันพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ณ คลังจังหวัดกำแพงเพชร โดยเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖ นายกฤช อาทิตย์แก้ว ผวจ. กำแพงเพชร ได้อัญเชิญพระแสงราชศัสตรา ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณของข้าราชการ และวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ พิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ หอประชุมศาลากลาง จ. กำแพงเพชร และในวันที่ ๒๙ ถึง ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ทางจังหวัดโดยนายวิทยา ผิวผ่อง ได้ถือโอกาส อันเป็นปีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช จึงจัดให้มีการสมโภชพระแสงราชศัสตราขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร เพื่อเปิดโอกาสให้บรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนได้ชื่นชมพระบารมีของพระแสงราชศัสตรา ทองคำ สมบัติล้ำค่าองค์นี้อย่างใกล้ชิด 

คำสำคัญ : พระแสงราชศัสตรา

ที่มา : https://www.facebook.com/193823697384574/posts/531644820269125/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระแสงราชศัสตรา. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1133&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1133&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,887

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯล้ำค่า ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก  กรุพระเครื่อง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีกรุพระเครื่องมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีพระเครื่องหรือพระพิมพ์นับพันพิมพ์ พระที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร คือ พระซุ้มกอ พระเครื่องที่ศักดิ์สิทธิ์หนึ่งในเบญจภาคีของประเทศไทย เมืองคนแกร่ง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองแห่งนักรบ นักสู้ เป็นเมืองที่ย่ิงใหญ่ในการสงคราม ประชาชนทำสงครามอย่างเข้มแข็ง เจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกคนได้รับพระนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม ซึ่งหมายความว่า มีความกล้าหาญในสนามรบในสงครามราวกับพระราม มีพระยาวชิรปราการ เป็นคนแกร่งแห่งเมืองกำแพงเพชร พระแสงฯ ล้ำค่่า หมายถึง พระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ด้ามและฝักทองคำ) ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในประเทศไทย เป็นสิ่งล้ำค่าและมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร จึงขอเสนอเพิ่มคำขวัญจังหวัดกำแพงเพชร โดยเพิ่มคำว่า "พระแสงฯ ล้ำค่า" ลงในคำขวัญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ และให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเชิดชูมรดกล้ำค่าของจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 17,527

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,441

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 2,988

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ 117 รุ่น ณ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฏรที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อยู่ในบริเวณนั้น ในครั้งนั้นได้มีราษฏรกิโล 2 บ้านกิโล 3 บ้านกิโล 6 และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรได้กราบบังคมทูลของพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้ราษฏรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงทุกข์ของชาวบ้านกำแพงเพชร จึงได้ทรงให้กรมชลประทานดำเนิน “โครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,586

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 5,797

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,478

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 655

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,228

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,797