ผ้าไหมแพรวา

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
กลุ่มวัฒนธรรม :
ภูไท
ผู้สร้างสรรค์ :
วัสดุ :
ไหม
อายุ/ปีที่ผลิต :
2562
รายละเอียดชิ้นงาน

เครื่องมือและอุปกรณ์

  1. หลา ปั่นหลอด (ไน)
  2. หลอด
  3. หลักตีนกง และ กงใส่ไหม
  4. อัก
  5. หลักเฝือ ค้นเครือหูก
  6. กี่ทอผ้า
  7. ฟืม
  8. ไม้เก็บลาย (ขิด)
  9. ไม้เผ่ายกลาย (ไม้ยก)
  10. กระสวย
  11. ไม้ลาย
  12. ไม้เหยียบหูก (ไม้ด้านล่างที่ใช้เท้าเหยียบ)
  13. ไม้คันผัง (ใช้ติดด้านล่างเพื่อให้ผ้าที่ทอแล้วตึง)
  14. ด่างสำหรับฟอกไหม
  15. สีเคมีสำหรับย้อมเส้นไหม

ขั้นตอนในการทอผ้าแพรวา

  1. การเตรียมไหม ไหมที่จะนำมาทอผ้าแพรวานั้นจะต้องเรียบสวย เวลาทอจะได้ไม่กระตุก ครูเตรียมไหมโดยการนำไหมไปฟอกด่าง ทำความสะอาดไหมให้นิ่ม
  2. การฟอกและย้อมสี ต้มนำให้เดือด นำสีที่ต้องการย้อมมาใส่ โดยใช้สี 21 กรัม ต่อไหม 5 ปอย ไหม 1 ปอยมีน้ำหนัก 300 กรัม ใส่น้ำพอท่วมเส้นไหม ต้มประมาณ 30 นาที จากนั้นนำมาล้างน้ำแล้วนำไปตากให้แห้ง
  3. การกวักเข้าอัก นำไหมที่ย้อมสีเสร็จแล้วมาใส่กง เพื่อกรอใส่ในอักหรือกวัก
  4. การค้นเครือหูก การเตรียมเส้นยืน นำไหมมาคัน โดยมีหลักการนับคือ
    2  รอบ  =  4  เส้น
    4  เส้น   =  1  ความ
    10 ความ =  1  หลบ (1 หลบ  = 40 เส้น)
    8 หลบ  ทอ สไบ 1 ผืน
    34-35 หลบ ทอผ้าซิ่นได้  1 ผืน

    หลบ คือ หน้ากว้าง (การนับหลบ ต้องนั่งฝั่งเดียว คือได้ 4 เล่ม ถ้านับ 2 ฝั่งจะได้ 8 เส้น) หน่วยความยาวใช้เป็นเมตร หากต้องการเพิ่มความยาวต้องเริ่มค้นเครือหูกใหม่อีกครั้ง แล้วนับจำนวนหลบเท่าเดิม จากนั้นนำไหมที่ค้นใหม่มาผูกเข้ากับไหมเดิมความยาวของผ้าก็จะเพิ่มขึ้น
  5. การผูกเข้าฝืม คือการนำเส้นยืนเข้าฝืมโดยนำเส้นไหมที่เตรียมไว้มาต่อกับไหมที่อยู่ที่ซี่ฟืมทีละเส้นจนหมดเส้นยืน
  6. การเตรียมไหมเส้นพุ่ง หรือการกรอไหมมาเก็บในหลอดโดยใช้ใน แล้วจึงนำหลอดไปใส่กระสวยเพื่อใช้เป็นไหมตัวพุ่ง
  7. ขั้นตอนการทอเกาะ หรือ เก็บขิด คือ เทคนิคการทำลวดลายบนผ้าโดยการใช้นิ้วก้อย ขิดไหมให้เป็นไปตามลายที่ต้องการเกาะไปจนสุด แล้วเหยียบตะกอฟืมสอดกระสวย จากนั้นจึงกระตุกผ้าให้แน่น ไม้หนึ่งเกาะ 2 เที่ยว เพื่อให้ลายนู้นเด่น
    การทอผ้าแพรวานั้น ลายที่สวยจะอยู่ด้านล่างกี่ ไม่เหมือนผ้ามัดหมี่หรือผ้าอื่นๆ ลายที่สวยจะอยู่ด้านบนกี่เมื่อเกาะครบ 2 เที่ยว แล้วจึงนำไม้เผ่า (ไม้ยก) มาสอดจนสุดหน้าฟืมเมื่อยกลาย ขิดต่อไป ให้เปลี่ยนไม้ลายจากด้านบนลงมาไว้ด้านล่าง ทำไปเรื่อย ๆ จนไม้ลายด้านบนหมด ลงมาอยู่ที่ด้านล่างแล้วจึงนำลายอื่นๆ มาทอต่อไป ซึ่งลักษณะการทำตะกอลายนี้ คือสิ่งที่ครูคำสอนประยุกต์ขึ้นด้วยตนเองทำให้ทอผ้าได้ง่ายและเร็วขึ้น สามารถนำไม้ลายมาทำลวดลายเดิมซ้ำได้ โดยไม้ต้องนับเส้นไหมเพื่อขิดใหม่ทุกครั้ง
ข้อมูลแหล่งที่มา