The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิวัฒนาการของการขึ้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเสาดินนาน้อย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by e63161650, 2022-10-23 06:29:59

การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ "เสาดินนาน้อย" พุทธศักราช ๒๕๑๒ – ๒๕๖๕

วิวัฒนาการของการขึ้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเสาดินนาน้อย

การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

เสาดิ นนาน้ อย

๒๕๑๒ – ๒๕๖๕

คำนำ

การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ "เสาดินนาน้อย" พุทธศักราช
๒๕๑๒ – ๒๕๖๕ เป็นการเรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ
เสาดินนาน้อยจากเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ กลายมาเป็นแหล่งท่อง
เที่ยว ซึ่งเนื้อหาภายในหนังสือ E-Books เล่มนี้ ประกอบไปด้วย
บทนำ ความเป็นมาของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน เสาดินนาน้อย คอก
เสือ เด่นปู่เขียว เด่นอีบด ต้นดิ๊กเดียม หญ้าเข็มนาฬิกา แหล่งศึกษา
ทางโบราณคดีเกี่ยวกับมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ลักษณะทาง
ธรณีวิทยา ติดอันดับด้านแหล่งท่องเที่ยว รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวเสาดิน
นาน้อย บทสรุป เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงวิวัฒนาการของเสาดิน
นาน้อยที่กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดน่าน

ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ E-Books เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์
และช่วยส่งเสริมให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้ ได้เกิดการเรียนรู้
และเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อผิดพลาด
ประการใด ในเรื่องการเรียบเรียงเนื้อหาและการใช้คำในหนังสือ E-
Books เล่มนี้ ดิฉันขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ผู้ จั ดทำ



นางสาวเอื้ อมพร
เทิ ดวั ฒนชั ย

รหั สนั กศึ กษา ๖๓๑๖๑๖๕๐

สารบั ญ

เรื่อง หน้า

คำนำ ก
สารบัญ ข
บทนำ ๑
ความเป็นมาของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ๒
เสาดินนาน้อย ๙
คอกเสือ ๑๒
เด่นปู่เขียว ๑๓
เด่นอีบด ๑๔
ต้นดิ๊กเดียม ๑๕
หญ้าเข็มนาฬิกา ๑๖
แหล่งศึกษาทางโบราณคดีเกี่ยวกับมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ๑๗
ลักษณะทางธรณีวิทยา ๒๒
ติดอันดับด้านแหล่งท่องเที่ยว ๒๓
รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวเสาดินนาน้อย ๒๔
บทสรุป ๒๕
บรรณานุกรม ค

บทนำ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเสาดิน
นาน้อย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งหนึ่งของ
จังหวัดน่าน ที่สำคัญเป็นแหล่งศึกษาทางธรณีวิทยาที่มี
วิวัฒนาการของพื้นที่มายาวนานและเป็นแหล่งศึกษาทาง
โบราณคดีเกี่ยวกับมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณเสา
ดินนาน้อย และคอกเสือ ยังมีการค้นพบหลักฐานทางมนุษย
วิทยาจากการค้นพบหลักฐาน แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจเคย
เป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินเก่าอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีจากหลักฐานเอกสารและคำบอกเล่า พบว่า
เสาดินนาน้อยมีวิวัฒนาการขึ้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเสาดิน
นาน้อยในช่วง พ.ศ ๒๕๑๒ - ปัจจุบัน ด้วยสภาพพื้นที่ ที่
สวยงาม สงบร่มเย็น ทางอำเภอนาน้อย จึงให้สถานที่เสาดิน
นาน้อย เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ และด้วยการ
สำรวจและกำหนดเขตพื้นที่ป่าไม้เพิ่มของกรมป่าไม้ ต่อมาจึง
ได้พัฒนาและขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เสาดิน
นาน้อยจึงเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน และ
ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวตลอดเรื่อยมา

ความเป็ นมาของ
อุ ทยานแห่ งชาติ ศรี น
่ าน

เนื่องจากป
ระมาณปี ๒๕๑๒ ร.ต. อนุวัตร อินทรเสน

นายอำเภอนาน้อย ได้ปรับปรุงสถานที่เสาดินนาน้อย เป็น
ที่พักผ่อนหย่อนใจและเปลี่ยนชื่อจาก "เด่นปู่เขียว" และ "เด่น
อีบด" ที่ชาวบ้านเรียกต่อๆกันมา เป็นชื่อใหม่ว่า “เสาดิน”
การจัดให้เป็นสถานที่พักผ่อนและศึกษาสภาพทางแวดล้อม
ธรรมชาติ เสาดินได้รับการปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ของอำเภอนาน้อย จังหวัดน่านในเวลาต่อมา ซึ่งเสาดินนาน้อย
เคยได้เป็นฉากธรรมชาติในการถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่อง
เช่น เมืองแม่ม่าย ตะวันยิ้มแฉ่ง เป็นต้น

วิวัฒนาการของการขึ้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเสาดิน
นาน้อย ไม่ได้บ่งบอกหรือบันทึกไว้ชัดเจน เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ธรรมชาติที่คนในพื้นที่รู้กันอยู่แล้วและมีการแนะนำกันปากต่อ
ปากจนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป หลังจากมีการสำรวจเพื่อ
กำหนดเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ จึงมีการประชาสัมพันธ์ มี
การบันทึกที่ชัดเจนขึ้น เนื่องจากเสาดินน้อยเป็นหนึ่งในแหล่ง
ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ซึ่งมีราย
ละเอียดการตั้งอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ดังนี้

ความเป็ นมาของ
อุ ทยานแห่ งชาติ ศรี น
่ าน

อุทยานแห
่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอนา

หมื่น,อำเภอนาน้อย,อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตามแนวสอง
ฟากฝั่งลำน้ำน่าน จนสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ สภาพเป็น
ป่าที่อุดมสมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน วางตัวในแนวทิศ
เหนือ-ใต้ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็น
แหล่งน้ำที่สำคัญของประชาชนในจังหวัดน่าน มีพันธุ์ไม้ที่
สำคัญหลายอย่าง และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มีจุด
เด่นทางธรรมชาติ ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ได้แก่ เสาดินและ
คอกเสือ ปากนาย แก่งหลวง จุดชมทิวทัศน์ดอยผาชู้ ทิวทัศน์
ทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่าน จุดชมวิวดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์ มี
เนื้อที่ประมาณ ๖๔๐,๒๓๗.๕๐ ไร่ หรือ ๑,๐๒๔.๓๘ ตาราง
กิโลเมตร

ความเป็ นมาของ
อุ ทยานแห่ งชาติ ศรี น
่ าน

ในปี ๒๕๓๕
ได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ ๔๗๕/๒๕๓๒ ลงวันที่

๒๓ มีนาคม ๒๕๓๒ ให้นายสมบัติ เวียงคำ เจ้าพนักงานป่าไม้ ๔
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติเวียง
โกศัย ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้าและป่า
ห้วยสาลี่ ป่าสาลีก ป่าน้ำสา และป่าแม่สาครฝั่งซ้าย ป่าห้วยแม่ขะนิง
และป่าน้ำสาฝั่งขวาตอนบน ท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งมี
พื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔๓๕ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒๗๑,๘๗๕ ไร่
และได้มีคำสั่งที่ ๑๖๒๗/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๒ ให้
สำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติม เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และได้
ใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติแห่งนี้ตามชื่อป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นป่า
ต้นน้ำลำธารและประชาชนโดยทั่วไปรู้จักกันว่า “อุทยานแห่งชาติ
แม่สาคร” และใช้อักษรย่อว่า ที่ กษ๐๗๑๓(มสค) /......ตามหนังสือ
กองอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ ๐๗๑๓/๖๗๔ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม
๒๕๓๓

ความเป็ นมาของ
อุ ทยานแห่ งชาติ ศรี น
่ าน




กรมป่าไม้ได้มีคำสั่ง ที่ ๑๖๒๗/๒๕๓๒ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม
๒๕๓๒ ให้ นายสมบัติ เวียงคำ ไปสำรวจเพิ่มเติมพื้นที่ป่าสงวนแห่ง
ชาติป่าน้ำสา-ป่าแม่สาครฝั่งซ้าย ป่าห้วยแม่ขนิงและป่าน้ำสาฝั่งขวา
ตอนบน ท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เพื่อประกาศกำหนดให้
เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามนัยมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติอุทยาน
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ต่อมาอุทยานแห่งชาติแม่สาครได้มีหนังสือ ที่
กษ ๐๗๑๓ (มสค) /๓๓ ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๔ ว่า เห็น
สมควรได้สำรวจเพิ่มเติมจากพื้นที่เดิมคือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่ง
ขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยงวงและป่าห้วยสาลี
และป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ท้องที่อำเภอเวียงสา
อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เพื่อจัดตั้งเป็น
อุทยานแห่งชาติ

ความเป็ นมาของ
อุ ทยานแห่ งชาติ ศรี น
่ าน

กองอุทยาน
แห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ ๐๗๑๓.๒/๑๕๖๘

ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๔ อนุมัติให้ทำการสำรวจเพิ่มเติมพื้นที่
ป่าดังกล่าว พร้อมทั้งมีหนังสือจังหวัดน่าน ที่ นน ๐๐๐๙/๕๘๕๗ ลง
วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๖ สนับสนุนให้จัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็น
อุทยานแห่งชาติ ต่อมา นายผ่อง เล่งอี้ อธิบดีกรมป่าไม้ ได้อนุมัติให้
จัดตั้งอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตามหนังสือส่วนอุทยานแห่งชาติ ที่
กษ ๐๗๑๒.๐๓/๔๗ ลงวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๓๗ เรื่อง การจัดตั้ง
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ซึ่งพื้นที่ที่ทำการสำรวจเพิ่มมีเนื้อที่ประมาณ
๙๓๔ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๘๓,๗๕๐ ไร่ โดยให้กันพื้นที่ที่ราษฎร
ที่ได้ยึดถือครอบครองเป็นหมู่บ้านใหญ่ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ
ศรีน่าน เนื่องจากมีการสำรวจเพิ่มเติมและได้ย้ายที่ทำการอุทยาน
แห่งชาติใหม่ ทำให้เกิดความสับสนในการเรียกขานติดต่อประสาน
งานกับหน่วยงานราชการอื่น จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอุทยานแห่ง
ชาติศรีน่าน ตามหนังสือส่วนอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ ๐๗๑๒.๓/๔๗
ลงวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๓๗

ความเป็ นมาของ
อุ ทยานแห่ งชาติ ศรี น
่ าน




ในวันศุกร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๘ เวลา
๐๘.๒๒ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช
กุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระตำหนัก
จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปยังท่าอากาศยานกองบัญชาการ
กองทัพอากาศ ดอนเมืองเพื่อประทับเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จ
พระราชดำเนินทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนนายร้อย
พระจุลขอมเกล้า ไปทัศนศึกษาในพื้นที่จังหวัดน่าน ระหว่างวันที่
๑๐ - ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ โดยจะประทับแรม ณ เรือนรับรอง
ค่ายสุริยพงษ์ในการเสด็จครั้งนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงปลูกต้นประดู่ ณ บริเวณเสาดินนาน้อย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงปลูกต้นประดู่

ความเป็ นมาของ
อุ ทยานแห่ งชาติ ศรี น
่ าน

ต่อมาปี ๒๕
๕๐ ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดิน

ป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ และป่าห้วย
งวงและป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลขึ่ง ตำบลส้าน ตำบลน้ำมวบ
อำเภอเวียงสา ตำบลศรีษะเกษ ตำบลเชียงของ ตำบลสถาน อำเภอ
นาน้อย และตำบลบ่อแก้ว ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัด
น่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๔ ตอนที่ ๒๕ ก ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ จัดเป็นอุทยาน
แห่งชาติลำดับที่ ๑๐๔ ของประเทศ

เสาดินนาน้อยเมื่อตอนที่กรมป่าไม้ออกสำรวจ

เสาดิ นนาน้ อย
เสาดินนาน้อยเรียกอีกชื่อหน
ึ่งว่า “ฮ่อมจ๊อม” เป็นศัพท์ที่ชาว

บ้านใช้เรียกหย่อมตะกอนที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน เป็นแท่ง หรือ
เป็นกรวย มียอดแหลม โผล่พ้นพื้นดินจากลานโล่งด้านล่าง เกิดจากการ
กัดเซาะพังทะลายของดินเป็นบริเวณกว้างกว่า ๒๐ ไร่ ลักษณะคล้าย
แพะเมืองผีของจังหวัดแพร่ หรือละลุ จังหวัดสระแก้ว โดยมีป่าเต็งรัง
ขึ้นอยู่กระจัดกระจาย ในช่วงฤดูหนาว ป่าเต็งรังบริเวณรอบๆ เสาดินจะ
เปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง แดง ส้ม น้ำตาล ตัดกับสีน้ำเงินเข้มของท้องฟ้า
และจะมีการพังทลายของดินเปลี่ยนแปลงรูปไปทุกๆปี ผลกระทบต่อ
ระบบนิเวศ คือ ตะกอนดินจะไหลลงสู่แม่น้ำลำธาร ทำให้เกิดการตื้น
เขินได้ สวยงามน่าชม เราสามารถเดินชม ได้ทั่วทั้งบริเวณ ซึ่งทาง
อุทยาน จัดให้มี ทางเดิน ชมธรรมชาติ นักท่องเที่ยวมักเดินชมตามเส้น
ทางการเดิน แต่ละจุดของลักษณะของเสาดินนาน้อยจะแตกต่างกันไป
บ้างก็เป็นเหมือนแท่งหิน ผาตัด หรือเสาแหลม การมาเดินชมบริเวณ
เสาดินนาน้อยมีต้นไม้น้อยมาก จึงมีความแห้งแล้ง การมาเดินในช่วง
เวลาที่แดดแรงจึงควรจะต้องเตรียมอุปกรณ์กันแดดอย่างมิดชิดเป็น
อย่างยิ่ง

ลักษณะของเสาดินนาน้อยบางส่วน

เสาดิ นนาน้ อย
เสาดิน อยู่ที่ตำบลเ
ชียงของ ห่างจากตัวเมืองน่าน ๖๐

กิโลเมตร จากอำเภอนาน้อยมีทางแยกไปตามเส้นทางหมายเลข ๑๐๘๓
ประมาณ ๖ กิโลเมตร เป็นเสาดินที่มีลักษณะแปลกตา มีริ้วและร่องที่
เกิดจากการกัดกร่อนโดยทางน้ำมากมาย แหล่งธรณีวิทยาคล้ายเสาดิน
นาน้อยแห่งอื่นในประเทศไทย เช่น แพะเมืองผี ตำบลน้ำชำอำเภอเมือง
จังหวัดแพร่, โป่งยุบ ตำบลท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และ
ละลุ ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เป็นต้น จากหลัก
ฐานทางธรณีวิทยา พบว่าเสาดินนาน้อยเกิดจากการเคลื่อนตัวของ
เปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย (late tertian) ประกอบกับการ
กัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาติ นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่ามีอายุ
ประมาณ ๓๐,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว เคยเป็นก้นทะเลมาก่อน และ
จากหลักฐานการค้นพบกำไลหินและขวานโบราณที่นี่ (ปัจจุบันเก็บ
รักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจ
เคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินเก่า

เสาดินนาน้อย

๑๑

เสาดินนาน้อยเป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง
ธรรมชาติที่สวยงาม แปลกตา ตื่นใจ กับการ
สรรสร้างของธรรมชาติ ซึ่งเสาดินนาน้อยมีสิ่ง
ที่น่าสนใจ ดังนี้

๑๒

คอกเสื อ
คอก
เสือ อยู่ห่างจากเสาดินไปประมาณ ๘๐๐ เมตร มี

ลักษณะเป็นแอ่งลึกจากเนินดินด้านบนลงไปประมาณ ๑๐ เมตร
ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะและพังทลายของดิน และที่คอกเสือมีเรื่อง
เล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยก่อนบริเวณนี้มีเสืออาศัยอยู่มาก และ
เสือเหล่านี้มักจะมาขโมยกัดกิน วัว ควาย และหมูของชาวบ้าน
เป็นอาหาร ทำความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก พวก
ชาวบ้านจึงรวมตัวกันวางอุบายไล่ต้อนเสือให้ตกลงไปในบ่อดิน
แล้วใช้ไม้ปลายแหลม ก้อนหิน ขว้างปาใส่เสือจนตาย จึงเรียก
พื้นที่ในบริเวณนี้ว่า “คอกเสือ” ถึงแม้คอกเสือจะไม่ได้มีบริเวณ
กว้างใหญ่เหมือนเสาดิน แต่ก็มีความงามของกำแพงดินขนาดใหญ่
ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งนักท่องเที่ยวให้ความนิยม และมัก
จะตั้งคำถามถึงความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่สร้างสรรค์สถานที่
อันสวยงามเช่นนี้ไว้ให้เราได้ชื่นชม

บริเวณคอกเสือ

๑๓

เด่ นปู่ เขี ยว



เด่นปู่เขียว เนื่องจากมีคนชื่อปู่เขียว เป็นหนุ่มในหมู่
บ้านแต หมู่ที่ ๒ ต.เชียงของ อ.นาน้อย ได้รักกับสาวบ้านใกล้ แต่
ถูกญาติผู้ใหญ่กีดกั้น สาวเลยไปแต่งงานกับคนอื่น ปู่เขียวเลย
อกหักจากสาวคนรักเขาเลยเดินเท้าหนีมานั่งตรอมใจอยู่ที่เสาดิน
ซึ่งสมัยนั้นเป็นเสาขนาดใหญ่ประมาณ ๑๐ คนโอบ แต่ปัจจุบัน
เหลือประมาณ ๒ คนโอบ ปู่เขียวเลยนั่งผิงเสาตรอมใจที่นั่น แต่ก็
เกิดเหตุดินพังทลายถล่มลงมาถมตาย คนสมัยก่อนเขานับถือปู่
เขียวมาก เพราะเชื่อว่าปู่เขียวบูชาความรักโดยใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน
คนที่ไม่สมหวังกับความรักเขาจะมาขอให้ปู่เขียวช่วย ในเมื่อท่าน
ไม่สมหวัง ก็ขอให้ลูกให้หลานได้สมหวังในความรัก คนสมัยหลัง
จากได้ฟังบรรยายแล้ว ก็เอาเงินไปเหน็บไว้ตามระหว่างเสา

บริเวณเด่นปู่เขียว

๑๔

เด่ นอี บด



อีบด เป็นหญิงสาวที่สวยที่สุดในหมู่บ้าน หญิงสาววัยรุ่นสมัย
ก่อน ไปเลี้ยงควาย เขาพาควายไปกินโป่งกินหญ้าบริเวณใกล้เสา
ดินนี้พอพลบค่ำก็ขี่ควายกลับบ้าน ผ่านบริเวณเสาดิน ขณะนั้นมี
เสือที่มันล่าสัตว์อื่นไม่ได้ มันก็ซุ่มกินควายชาวบ้านจังหวะนั้นอีบด
ขี่ควายผ่านมาพอดี เสือกระโดนใส่ควาย ควายตกใจ อีบดตกจาก
หลังควาย หัวฟาดพื้นตาย เขาจึงเรียกที่นั่นว่า “เด่นอีบด”

บริเวณเด่นอีบด

ต้ นดิ๊ กเดี ยม ๑๕

ที่เสาดินนาน้อยยังมี “ต้นดิ๊กเดียม” ต้นไม้โบราณที่มีอายุ
กว่า ๒๐๐ ปี ที่ขึ้นอยู่ตรงทางเข้าเสาดินด้วย เป็นอีกหนึ่งสีสันให้
นักท่องเที่ยวได้สนุกกัน หากลูบที่ลำต้นเบาๆ ต้นไม้จะสั่นไหวไป
ทั้งต้นคล้ายมีอาการจั๊กจี้

ต้นดิ๊กเดียม

๑๖

หญ้ าเข็ มนาฬิ กา

หญ้าเข็มนาฬิกา เป็นไอเท็มสุดว้าวของเสาดินนาน้อย หญ้า
ชนิดนี้มีความพิเศษไม่เหมือนใคร ในฤดูแล้ง หญ้าแห้งจะขดตัว
เป็นกระจุก เมื่อถึงฤดูฝน ฝนตกลงมา ขดหญ้าจะคลายตัว และฝัง
ส่วนหัวของหญ้าที่เป็นเมล็ดลงในพื้นดิน เพื่อเจริญเติบโตอีกครั้ง

หญ้าเข็มนาฬิกา

๑๗

แหล่ งศึ กษาทางโบราณคดี เกี่ ยวกั บมนุ ษย์
ในยุ คก่ อนประวั ติ ศาสตร์




๑. ซอกถ้ำโพรงดินมนุษย์ยุคหิน

นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่ามนุษย์ยุคหินเก่า อาศัย
อยู่ในถ้ำโพรงดินแห่งนี้ เนื่องจากมีการพบเครื่องหินโบราณ เครื่อง
มือ เครื่องใช้ ของมนุษย์ยุคหิน

ถ้ำโพรงดินมนุษย์ยุคหิน

๑๘

แหล่ งศึ กษาทางโบราณคดี เกี่ ยวกั บมนุ ษย์
ในยุ คก่ อนประวั ติ ศาสตร์




๒. เครื่องมือหินกะเทาะ

เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๒๕ พบเครื่องมือหิน
กะเทาะ จำนวน ๑๐ ชิ้น ซึ่งพบจากการสำรวจบริเวณเสาดินนาน้อย
มีลักษณะเป็นหินกรวดแม่น้ำ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือหินในกลุ่ม
เครื่องมือสับ-ตัด (Chopper - chopping Tool) ส่วนใหญ่เป็นแบบ
กะเทาะหน้าเดียว โดยพบได้ทั่วไปตามพื้นผิวดินและผนังชั้นดิน
นอกจากนั้น ยังมีการจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากพื้นที่บริเวณเสา
ดินนาน้อย ณ อาคารที่ทำการของเสาดินนาน้อย และนำเสนอเรื่อง
ราวทางด้านธรณีวิทยาของเสาดินนาน้อย

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้มีการศึกษารูปแบบเครื่องมือหิน
กะเทาะ ที่พบจากการสำรวจ ในพื้นที่บริเวณแหล่งโบราณคดีเสาดิน
นาน้อย จำนวน ๒๐๓ ชิ้น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าเป็น
หินทรายและหินควอตไซต์ และได้จัดจำแนกรูปแบบเครื่องมือหิน
ออกเป็นสองลักษณะ ได้แก่ เครื่องมือแกนหิน และเครื่องมือสะเก็ด
หิน

๑๙

แหล่ งศึ กษาทางโบราณคดี เกี่ ยวกั บมนุ ษย์
ในยุ คก่ อนประวั ติ ศาสตร์




ภาพเครื่องมือหินกะเทาะ

๒๐

แหล่ งศึ กษาทางโบราณคดี เกี่ ยวกั บมนุ ษย์
ในยุ คก่ อนประวั ติ ศาสตร์




๓. กำไลหิน

กำไลหิน มีลักษณะเป็นก้อนหินที่ถูกขัดเงาและมีรูอยู่ตรง
กลาง พบตามพื้นผิวดินและผนังชั้นดิน ในบริเวณที่ถูกน้ำเซาะจาก
การศึกษาเปรียบเทียบอายุสมัยของเครื่องมือหิน สันนิษฐานว่าน่าจะ
มีอายุมากกว่า ๑๐,๐๐๐ - ๒๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว

ลักษณะกำไลหิน

๒๑

แหล่ งศึ กษาทางโบราณคดี เกี่ ยวกั บมนุ ษย์
ในยุ คก่ อนประวั ติ ศาสตร์




๔. ซากฟอสซิลปะการัง, หอย

นักธรณีวิทยาสันนิษฐาน​ว่าเคยเป็นก้นทะเล เนื่องจาก
สภาพดินมีโป่ง เค็ม มีดินตะกอนส​ีขาวทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ และที่
สำคัญ​ได้มีการขุดพบซากฟอสซิลปะการังจำนวนมาก

ลักษณะซากฟอสซิลปะการัง, หอย

๒๒

ลั กษณะทางธรณี วิ ทยา







เสาดินนาน้อย เป็นลักษณะธรณีสัณฐานที่เกิดจากการ
ผุพังและกัดกร่อน โดยชั้นตะกอนที่สะสมตัวในสมัยไพลสโตซีนตอน
ปลาย และยังไม่แข็งตัวเป็นหิน ถูกน้ำที่ไหลผ่านชะล้างพัดพาออกไป
จนมีสภาพแวดล้อมเป็นพื้นที่เสื่อมสภาพ การยกตัวของพื้นที่และการ
เกิดรอยเลื่อนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ชั้นตะกอนในบริเวณนี้แตกหัก
ทำให้การผุพังและกัดกร่อนเกิดขึ้นได้ง่าย ประกอบขนาดของตะกอน
ที่สะสมตัวทับถมกันมีขนาดแตกต่างกันมาก คือมีชั้นกรวดและก้อน
หินขนาดใหญ่วางทับอยู่บนชั้นตะกอนเม็ดละเอียด น้ำหนักตะกอนที่
กดทับและตะกอนเม็ดละเอียดที่อยู่ด้านล่างยุ่ยสลายตัวได้ง่าย การผุ
พังทำลายจึงเกิดขึ้นได้ง่าย

ลักษณะทางธรณีวิทยาของเสาดินนาน้อย

๒๓

ติ ดอั นดั บด้ านแหล่ งท่ องเที่ ยว




โดยในเดือนมกราคม พ
.ศ. ๒๕๓๐ รัฐบาลพลเอกเปรม

ติณสูลานนท์ เริ่มประกาศให้ทุกจังหวัดคิดค้นคำขวัญประจำจังหวัดที่
สื่อถึงเอกลักษณ์ จุดเด่น และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น

คำขวัญจังหวัดน่าน : แข่งเรือ ลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรม
วัดภูมินทร์ เสาดินนาน้อย แอ่วดอยภูคา ชิมปลาปากนาย ผ้าลาย น้ำ
ไหลมะไฟจีน รสดี ลิ้นจี่ ชวนลอง ส้มสีทอง เมืองน่าน

จะเห็นได้ว่าครั้งหนึ่ง “เสาดินน้อย” ติดอันดับในคำขวัญของ
จังหวัดน่าน นั่นหมายถึงเป็นสถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวที่
ไม่ควรพลาด

คำขวัญอำเภอนาน้อย : เมืองเสาดิน ถิ่นมะขามหวาน ตำนาน
ดอยผาชู้ เชิดชูพระธาตุพลูแช่

เสาดิน เป็นวรรคในขวัญอำเภอนาน้อย จึงสรุปได้ว่า เสาดิน
นาน้อย เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอด้วย

ปี ๒๕๖๔ ได้จัดอันดับให้เสาดินน้อย เป็นแหล่งท่องเที่ยว ๑ ใน
๒๕ ที่เที่ยวน่าน สุดสโลว์ไลฟ์

ปี ๒๕๖๔ จัดให้อยู่อันดับ ๕ ใน ๑๑ จุด Check in จังหวัดน่าน

ปี ๒๕๖๕ ได้จัดให้เสาดินนาน้อยเป็นหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวใน ๒๖
ที่เที่ยวน่าน ๒๐๒๒ เที่ยวน่าน อยู่ได้นาน ไม่น่าเบื่อ

๒๔รี วิ วสถานที่ ท่ องเที่ ยวเสาดิ นนาน้ อย




เมื่อ วันที่ ๔ ม.ค. ๒๕
๕๘ทางเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ พูด

ถลึงะสลุถานซทึี่ง่ทเ่ปอ็นงเปที่รยาวกทีฏ่เกป็านรณU์ธnรsรeมeชnา
ตTิทhี่เaกิilดaจnาdกกใานรจัยงุบหตวััวดแสลระะพแักง้ทวลคาือย

ของดิน และได้พูดถึงเสาดินนาน้อย ในพื้นที่ของจังหวัดน่านอีกด้วย จะ
เห็นได้ว่า เสาดินนาน้อยกลายเป็นที่รู้จักและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่า
สนใจทางธรรมชาติและโบราณคดี

เมื่อ วันที่ ๕ พ.ค. ๒๕๕๙ เว็บไซต์ ดังวาไรตี้ท่องเที่ยว ได้กล่าว
ถึงความอลังการไม่แพ้ใคร กับ 10 แกรนด์แคนยอนเมืองไทย ซึ่งเสา
ดินนาน้อยก็ถูกหยิบยกมาพูดถึงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีก
ด้วย

เมื่อวันที่ ๒ ก.พ. ๒๕๖๐ จากเว็บไซต์ tripgether ทริปกินเที่ยว
ได้นำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ซึ่งมียอดเข้าชม
สูงถึง ๔๘,๖๒๐ ครั้ง

๒๕๕๘ - ๒๕๖๒ รีวิวจากเว็บไซต์ Tripadvisor (NASDAQ:TRIP)
แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีนักท่องเที่ยวจากหลายๆ
แหล่งที่มาเที่ยวชมเสาดินนาน้อย และได้พูดถึงความมหัศจรรย์ทาง
ธรรมชาติของเสาดินนาน้อย

๒๕๖๑ - ๒๕๖๕ รีวิวจากเว็บไซต์ wongnai ซึ่งมีนักท่องเที่ยว
เป็นจำนวนมากที่ได้เข้าไปเที่ยวชมบรรยากาศในพื้นที่เสาดินนาน้อย
และมีการพูดถึงว่าเป็นสถานที่ ที่มีความน่าสนใจ สวยงาม จึงมีการแนะ
นำต่อๆกันไปเรื่อยๆ

๒๕

สรุ ป

เสาดินนาน้อยหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฮ่อมจ๊อม” เกิดจากการกัด
เซาะพังทะลายของดิน มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน เป็นแท่ง เป็นกรวย
เป็นหลืบ มียอดแหลม โผล่พ้นพื้นดินบนลานโล่ง โดยมีป่าเต็งรังขึ้นอยู่
กระจัดกระจาย ในช่วงฤดูหนาว ป่าเต็งรังบริเวณรอบ ๆ เสาดินจะ
เปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง แดง ส้ม น้ำตาล การเรียกขานจุดต่างตามเรื่องเล่า
ที่ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมา เช่น คอกเสือ เด่นปู่เขียว เด่นอีบด มีพืชพันธุ์
แปลกจากแหล่งอื่น เช่น หญ้าเข็มนาฬิกาและต้นดิ๊กเดียม

นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแล้ว เสาดินนาน้อยยัง
เป็นแหล่งศึกษาทางธรณีวิทยา สันนิษฐานบริเวณเสาดินนาน้อยเคยเป็น
ก้นทะเลมาก่อน และเป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดี เพราะได้ค้นพบ
กำไลหินและขวานโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นของมนุษย์ยุคก่อน
ประวัติศาสตร์ เดิมทีเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และได้พัฒนาจนเป็น
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน

๒๖

สรุ ป

จากการออกสำรวจพื้นที่ป่าเพิ่มเติมของกรมป่าไม้ หลายอำเภอ
ในจังหวัดน่านอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวน เสาดินนาน้อยก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่
ปัจจุบันจึงอยู่ในเขตพื้นของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน
เสาดินนาน้อยเป็นสถานที่ศึกษาทางธรณีวิทยาที่สำคัญ เป็นการ
ท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมี
กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการสิ่ง
แวดล้อมการท่องเที่ยวอย่างดี ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
เป็นการท่องเที่ยวเชิงศึกษาธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ซึ่ง
เปรียบเสมือนห้องสมุดห้องใหญ่ที่เชิญชวนให้มาศึกษานคว้าและช่วย
กันอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

บรรณานุ กรม




วันที่ ๖ ต.ค. ๒๕๕๖ https://www.m-culture.go.th/สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน
วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๕ https://nps.dnp.go.th/parksdetail/สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยาน
แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
อ้างอิง เว็บไซท์อุทยานแห่งชาติ , การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย , กรมทรัพยากรธรณี
อ้างอิง ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๙๖ ง หน้า ๑๔๖ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘
๒๗ ธ.ค. ๒๐๑๗ https://youtu.be/VTf-e-IMGjg ประวัติ "เสาดินนาน้อย" จังหวัดน่าน
๒๔พ.ค. ๒๐๒๐ https://youtu.be/Lh๒๔yW๒j_foประวัติ "เสาดินนาน้อย" จังหวัดน่าน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน https://www.finearts.go.th/nanmuseum/view/๒๔๗๗๑
ปี ๒๕๖๔ เว็บไซต์ https://travel.trueid.net/ ได้จัดอันดับให้เสาดินน้อย เป็นแหล่งท่องเที่ยว ๑
ใน ๒๕ ที่เที่ยวน่าน สุดสโลว์ไลฟ์
ปี ๒๕๖๔ เว็บไซต์ www.chillpainai.com จัดให้อยู่อันดับ ๕ ใน ๑๑ จุด Check in จังหวัดน่าน

เว็บไซต์ https://roijang.com/ ได้จัดให้เสาดินนาน้อยเป็นหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวใน ๒๖ ที่เที่ยว
น่าน ๒๐๒ ๒ เที่ยวน่าน อยู่ได้นาน ไม่น่าเบื่อ

เว็บไซต์ https://th.tripadvisor.com/ ได้จัดให้เสาดินนาน้อย เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอด
นิยมใน จังหวัดน่าน

https://th.tripadvisor.com/Attraction_Review-g2237338-d9594103-Reviews-
Sao_Din_Na_Noi-Na_Noi_Nan_Province.html ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒

https://www.wongnai.com/reviews/f77c93b7dbc44f3bb543baabf7eef619๒๕๖๑-
๒๕๖๕

https://mgronline.com/travel/detail/9590000045191 โดย: MGR Online
https://www.thairath.co.th/content/๔๗๒๕๒๒
https://www.tripgether.com/tag /เสาดินนาน้อย/
https://prawatisastrmeuxngnan/khakhway-praca-canghwad-nan/ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว
แลสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย./คำขวัญประจำจังหวัดน่าน
http://province.m-culture.go.th/nan/file/amphur/noi/01noi.html/ข้อมูลจากหนังสือรู้
เรื่องอำเภอนาน้อย ผู้ประสานวัฒนธรรมอำเภอนาน้อย (นางรัตนา สวัสดิผล นักวิชาการวัฒนธรรม)


Click to View FlipBook Version