The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ebook การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-09-28 06:09:44

ebook การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ebook การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

plant
tissue

''การเ พ า ะ เ ลี้ ย ง culture)

เนื้อเยื่อ''



จัด ทำ โ ด ย
น า ง ส า ว พ า ริม า ห ง ส์ธ น า พ ร
ม . 6 / 6 เ ล ข ที่ 2 5



เสนอ
ค รู ก า ย ทิ พ ย์ แ จ่ม จัน ท ร์





โ ร ง เ รีย น ส่ว น บุ ญ โ ญ ป ถั ม ภ์ ลำ พู น
ภ า ค เ รีย น ที่ 1 ปี ก า ร ศึ ก ษ า 2 5 6 4

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


เป็นความเจริญก้าวหน้าในด้าการเกษตรเกี่ยวกับพืช
ที่มีการพัฒนาเทคนิคในการขยายพันธุ์แบบใหม่
ที่ทำให้ได้พืชต้นใหม่ จำนวนมาก อย่างรวดเร็ว
ในเวลาอันจำกัด โดยมีคุณภาพดีเหมือนเดิม

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การนำเอาส่วนใดส่วน
หนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเนื้อเยื่อเซลล์ หรือเซลล์

ไม่มีผนัง มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ
จุลิทรีย์ และอยู่ในสภาพควบคุมอุณหภูมิ แสงและ
ความชื้นเพื่อให้เซลล์พืชที่นำมาเพาะเลี้ยงนั้น ปราศจาก
เชื้อที่มารบกวนและทำลายการเจริญเติบโตของพืช

พืชที่นิยมนำมาเ
พาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ นิยมใช้กับพืช
ที่มีปัญหาในเรื่องของการขยายพันธุ์

หรือพืชที่มีปัญหาเรื่องโรค
เช่น ขิง กล้วยไม้

หรือพืชเศรษฐกิจ เช่น กุหลาบ ดาวเรือง
ข้าว แครอท คาร์เนชั่น เยอร์บีร่า เป็นต้น

ขั้นตอนกา5รเขัพ้นตาอะเนลี้ยงเนื้ อเยื่ อ

1.การเตรียมอาหาร

คือ การนำธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในการเจริญ
เติบโตและธาตุอาหารรองมาผสมกับวุ้นฮอร์โมนพืช
วิตามินและน้ำตาล ในอัตราส่วนที่เหมาะสม
แล้วนำไปฆ่าเชื้อ ใส่ลงในขวดอาหารเลี้ยง
บางครั้งอาจหยดสีลงไปเพื่อให้สวยงามและสังเกตได้
ชัดเจน

ธาตุอาหารที่พืชต้องการ

• ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
โปรตัสเซียม แคลเซียม แมกนีเซี่ยมและกำมะถัน
• ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุอาหารที่จำเป็นน้อย

เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง

2. การฟอกฆ่าเชื้อส่วน
เนื้ อเยื่ อ

เป็นวิธีการใช้สารเคมีหรือวิธีการต่าง ๆ ที่
ทำ ใ ห้ ชิ้ น ส่ ว น ข อ ง พื ช ที่ นำ ม า เ ลี้ ย ง ใ น อ า ห า ร เ ลี้ ย ง

ปราศจากเชื้อจุ ลินทรีย์ต่าง ๆ

3. การนำเนื้อเยื่อลง
ขวดเลี้ยง

เป็นการนำเอาชิ้นส่วนของพืชที่ ฟอก
ฆ่าเชื้ อแล้ว วางลงบนอาหารเลี้ยงที่ ปลอด
เชื้ อ โดยใช้เครื่ องมือและปฏิ บัติ การในห้ อง

หรือตู้ ย้ายเนื้ อเยื่ อโดยเฉพาะ

4. การนำขวดเลี้ยง
เนื้ อเยื่ อไปเลี้ยง

เป็นการนำเอาขวดอาหารเลี้ยงที่ มีชิ้นส่วนของเนื้ อเยื่ อไป
เลี้ยงไว้บนเครื่องเขย่า เพื่อให้อากาศได้คลุกเคล้าลงไปใน

อาหาร ทำให้แร่ธาตุ, ฮอร์โมนและสารอาหารต่าง ๆ
ช่วยกระตุ้ นให้ เนื้ อเยื่ อที่ นำมาเลี้ยงบนอาหารนั้น
เกิดต้นอ่อนของพืชจำนวนมาก

5. การย้ายเนื้อเยื่อ
ออกจากขวด

เมื่อกลุ่มของต้นอ่อนเกิดขึ้น
ให้แยกต้นอ่อนออกจากกัน เพื่อนำไปเลี้ยง

บนอาหารเลี้ยงใหม่ จนต้นอ่อนแข็งแรง
ดีแล้ว จึงนำต้นอ่อนที่สมบูรณ์ออกจากขวด

ปลูกในแปลงเลี้ยงต่อไป

ประโยชน์ของการเพาะ
เลี้ยงเนื้ อเยื่ อ



1. เพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมาก

ในเวลาอันรวดเร็ว
2. เพื่อการผลิตพืชที่ปราศจากโรค
3. เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
4. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ต้านทาน
5. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ทนทาน
6. เพื่อการผลิตยาหรือสารเคมีจากพืช
7. เพื่อการเก็บรักษาพันธุ์พืชมิให้สูญพันธุ์

เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่ อพืช


การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย Gottlieb
Haberlandt นักพันธุศาสตร์ชาวออสเตรีย ในปี ค.ศ. 1902
เทคนิคดังกล่าวถูกพัฒนามาตลอดช่วงต้นศตวรรษที่ 19 โดยเริ่ม
จากการเพาะเลี้ยงบางส่วนของพืช เช่น เอมบริโอ และเนื้อเยื่อเจริญ
บริเวณปลายยอดและปลายราก ขณะที่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
อย่างแท้จริงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1934 โดย Roger J. Gautheret

สามารถเพาะต้น Sycamore บนอาหารสังเคราะห์สูตร
Knop's solution แข็งที่เติมน้ำตาลและวุ้นที่ได้จากสาหร่าย
อย่างไรก็ตามในช่วงแรกของการพัฒนากลับพบปัญหาในการทำให้
เนื้อเยื่อพืชมีการพัฒนาเป็นยอด ราก หรือลำต้นตามต้องการ จึงเริ่ม
นำสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชมาใช้โดยตอนแรกมีการใช้น้ำ

มะพร้าวมาผสมกับอาหารสังเคราะห์ ต่อมาจึงเริ่มปรับใช้
สารสังเคราะห์ ในการชักนำให้ เนื้ อเยื่ อพืชมีการเจริญและพัฒนา
เป็นต้นอย่างสมบูรณ์ หลังจากที่มีการปรับใช้สารควบคุมการเจริญ
เติบโตพืชมาใช้ ก็มีการปรับปรุงอาหารสังเคราะห์ โดยการศึกษา
คุณสมบัติของธาตุอาหารพืชหลายๆชนิด สูตรที่เป็นที่นิยมกัน

ได้แก่ Murashige and Skoog (MSO)



ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนั้นต้องทำภายใต้สภาพปลอดเชื้อ โดย
ทำงานในตู้ปลอดเชื้อที่มีการกรองผ่านแผ่นกรองเฮป้า เพื่อป้องกัน

ไม่ให้เกิดการปนเปื้ อนจากเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในอากาศไปเจริญ
เติบโตบนอาหารเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อจะมีการเจริญเติบโตบนอาหาร
สังเคราะห์ในภาชนะปิด ภายในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและแสง

อาหารเพาะเลี้ยงอาจมีการเติบสารควบคุบการเจริญเติบโตพืช
และ[วิตามิน]บางชนิด

ข้อดี / ข้อเสีย
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ




ข้อดี

- สามารถเพิ่มปริมาณพันธุ์พืชที่ต้องการได้ในเวลาอันสั้น
-ต้นกล้าที่ได้มีลักษณะที่สม่ำเสมอ(GENETIC UNIFORMITY)
-ต้นพืชที่ได้ปราศจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
-ผลิตต้นกล้าได้ทั้งปีโดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาศ
หรือฤดูกาลในการเพาะปลูกจึงทำให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี

ข้อดี / ข้อเสีย
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ




ข้อเสีย

- มีขั้นตอนและวิธีการที่ยุ่งยาก
- ต้นทุนสูงกว่าการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีอื่น
- เสี่ยงต่อความเสียหายจากศัตรูพืชเนื่องจากพืชต้นใหม่
ที่ได้มีจำนวนมาก และมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน
ทำให้การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชเกิดได้ง่าย
การแปรปรวนทางพันธุกรรม(SOMATIC VARIATION)

พืชใกล้สูญพันธุ์



คือ ขนุนไพศาลทักษิณ ซึ่งมีเหลืออยู่
เพียงต้นเดียวในพระราชวังไพศาล
ทักษิร ตามโครงการพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
เพื่อเก็บพันธุ์ไว้เผยแพร่ต่อไปโดยมอง
ให้ Central LAB ที่มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์บางเขน กองทัพบกและ
สวนจิตรลดา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ร่วมกัน


Click to View FlipBook Version