The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเพชรบูรณ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Book Maker, 2023-09-12 11:07:10

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเพชรบูรณ์

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเพชรบูรณ์

6. บุญบั้งไฟหนองแจง ประเพณีบุญบั้งไฟวัดหนองแจง นับเป็นประเพณีประจำ�ท้องถิ่น ที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2507 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลากว่า 50 ปีโดยมีที่มาจากการที่ชาวบ้านตำ�บลหนองแจงส่วนใหญ่ อพยพมาจาก หลายจังหวัดในภาคอีสานและมาตั้งรกรากถิ่นฐานที่ตำ�บลหนองแจงจึงได้นำ�ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ มาปฏิบัติด้วย และถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยจะมีการจัดงานบุญบั้งไฟในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “งานบุญเดือนหก” ตามความเชื่อจากตำ�นานพื้นบ้าน “ผาแดงนางไอ่” และเป็นการบูชาพญาแถน โดยใช้พญานาคเป็นสื่อเพื่อขอพรให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ณ วัดหนองแจง ตำ�บลหนองแจง อำ�เภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพที่ 12 ขบวนแห่บุญบั้งไฟหนองแจง (ที่มา: เกาะติดข่าวที่นี่. (2562, พฤษภาคม 11) จาก https://www.tnnthailand.com/news/local/7513/) อ้างอิง เกาะติดข่าวที่นี่. (2562, พฤษภาคม 11). บุญบั้งไฟหนองแจง. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์5, 2565. จากแหล่งที่มาhttps://www. tnnthailand.com/news/local/7513/ สื่อมัลติมีเดีย https://www.youtube.com/watch?v=V5WLEiOES0k 38


7. ประเพณีแห่ต้นผึ้งหรือปราสาทผึ้ง บ้านท่ากกแก ตำ บลตาลเดี่ยว อำ เภอหล่มสัก ประเพณีแห่ต้นปราสาทผึ้งและลอยประทีปไหลเรือไฟ วัดท่ากกแกตำ�บลตาลเดี่ยวอำ�เภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ "ต้นผึ้งหรือปราสาทผึ้ง" เป็นประเพณีดั้งเดิมของคนหล่ม ที่สืบเชื้อสายมาจากวัฒนธรรมล้านช้าง สมัยก่อนมีการทำ�กัน อย่างแพร่หลายแถวพื้นที่ที่คนหล่มอยู่อาศัย วิธีการคือ ชาวบ้านจะนำ�เอาแม่พิมพ์ ซึ่งอาจจะเป็น มะละกอดิบหรือฟักทองดิบแกะสลักเป็นดอกจุ่มลงไปในขี้ผึ้งที่ ต้ม ให้ร้อนจนเหลวจากนั้นก็นำ�มาจุ่มลงในน้ำ�เย็นโดยทันทีขี้ผึ้งก็ จะจับตัวแข็ง และหลุดออกมาเป็นดอกตามลวดลายของแม่พิมพ์ เรียกว่าดอกผึ้งจากนั้นก็จะนำ�ดอกผึ้งดังกล่าวมาประดับกับหยวกกล้วย ที่มีไม้ไผ่เป็นโครง ดัดแต่งเป็นทรงรูปปราสาท ขนาดใหญ่เล็กตาม ความต้องการ แล้วร่วมกันแห่เอาไปถวายให้พระในวัดการแห่ต้นผึ้ง จะทำ�กันในช่วงออกพรรษา หรือทำ�พร้อมกับการทอดกฐินเลย ซึ่งอาจมีพิธีไหลเรือไฟร ่วมด้วย ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อน จะมีการแห่ต้นผึ้งลงเรือไปตามแม่น้ำ�ป่าสัก และอยากถวายวัด ไหนก็นำ�ขึ้นท่าน้ำ�ไปถวายได้ตามที่ญาติโยมต้องการ ภูมิปัญญา ที่แฝงอยู่ในประเพณีนี้คือกระบวนการนำ�เอาขี้ผึ้งไปถวายพระ เพื่อพระจะได้นำ�เอาขี้ผึ้งนั้นไปหล่อเป็นเทียนเพื่อทำ�พุทธบูชา อีกทีหนึ่งโดยพระจะไม่ต้องออกมาหาขี้ผึ้งเองซึ่งอาจจะทำ�ให้ เกิดการผิดศีล ภาพที่ 13 การจัดทำ ปราสาทผึ้ง (ที่มา: สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2559,สิงหาคม 3) จาก https://www.m-culture.go.th /phetchabun/ewt_news.php?nid นอกจากนั้น ยังมีความเชื่อถึงการถวายต้นผึ้งเพื่อเป็นการทำ�บุญถึงบรรพบุรุษ ญาติพี่น้องและเพื่อเป็นการแก้บน อีกด้วยประเพณีงดงามในยามค่ำ� ภาพที่ 14 ขบวนแห่ปราสาทผึ้งไปวัดท่ากกแก (ที่มา: สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2559,สิงหาคม 3) จาก https://www.m-culture.go.th/phetchabun/ewt_news.php?nid =354&filename=index) อ้างอิง ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2563, กันยายน 10). ประเพณีแห่ต้นผึ้งหรือปราสาทผึ้ง ของชาวบ้านท่ากกแก ตำ�บลตาลเดียว อำ�เภอหล่มสัก. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์5, 2565. จากแหล่งที่มา http://123.242.145.13/album/193214/ สื่อมัลติมีเดีย https://www.youtube.com/watch?v=0aHUw4zdh4E วีดีทัศน์งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ไหลประทีปประเพณี ที่มา: วิศัลย์โฆษิตานนท์.ที่มา https://www.facebook.comwisonk สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 39


8. งานประเพณีบุญบั้งไฟพุเตย ตำ บลพุเตย อำ เภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ประวัติความเป็นมา ชาวชุมชนเขตเทศบาลตำ�บลพุเตย อำ�เภอวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยส่วนใหญ่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสาน ตามหลักความเชื่อที่ว่าผู้ที่ทำ�ให้ฝนตกลงมา คือ เทพผู้เป็นใหญ่ ในสรวงสวรรค์ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีการคิดกุศโลบายด้วยการสร้างบั้งไฟ เพื่อจุดขึ้นฟ้าเป็นเสมือนสื่อกลางและทำ�หน้าท ี่ แจ้งข่าวให้เบื้องบนทราบว่าถึงฤดูทำ�การเกษตรแล้ว และ ขอให้ท่านบันดาลฝนให้ตกลงมาเพื่อใช้ประโยชน์ใน การประกอบอาชีพเกษตรกรรมของพี่น้องประชาชนชาวพุเตย ซึ่งนอกจากการสร้างขวัญและกำ�ลังใจแล้วยังก่อให้ เกิดความรักความสามัคคี และความร่วมมือร่วมใจที่เกิดขึ้นในชุมชน ก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็งงานประเพณีบุญบั้งไฟพุเตย จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปีณ บริเวณสนามหน้าสำ�นักงานเทศบาลตำ�บลพุเตย ตำ�บลพุเตย อำ�เภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งจัดอย่างยิ่งใหญ่ต่อเนื่องเป็นประจำ�ทุกปีกิจกรรมภายในงานมีการประกวด ขบวนแห่บั้งไฟประเพณีใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ โชว์การจุดบั้งไฟล้าน บั้งไฟแสน และแข่งขันยิงบั้งไฟสูง ชิงถ้วยพระราชสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีและงานแสดงสินค้า OTOP มหรสพดนตรี ภาพที่ 15 ขบวนแห่งานประเพณีบุญบั้งไฟพุเตย ที่มา: สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2563, กันยายน 10) จาก https://www.mculture.go.th/phetchabun/ewt_news.php?nid=1073&filename=index อ้างอิง สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2564, มกราคม 21). งานประเพณีบุญบั้งไฟพุเตย ตำ�บลพุเตย อำ�เภอวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์5, 2565. จากแหล่งที่มา https://www.m-culture.go.th/phetchabun/ewt_news.php?nid=1073&filename=index สื่อมัลติมีเดีย https://www.youtube.com/watch?v=IBidXD7U7Zc 40


9. บุญแขวนทุงหลวง อ.น้ำ หนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ความเชื่อในตำ�นานพญานาคของถ้ำ�ใหญ่ที่เล่าขานสืบต่อกันมา ชาวบ้านห้วยลาด อำ�เภอน้ำ�หนาว จังหวัดเพชรบูรณ์จึงได้จัดให้มีงานบุญหลวงบุญบั้งไฟเพื่อบูชาพญานาค (พระยาแถน) ในเดือน 8 ของทุก ๆ ปี เพื่อขอให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำ�ไร่ทำ�นาให้ได้ผลอุดมสมบูรณ์อีกทั้ง ยังมีการจัดงานเลี้ยงปี“เจ้าพ่อถ้ำ ใหญ่” ในเดือน 6 เพื่อขอให้เจ้าพ่อได้คุ้มครองปกปักรักษาให้ปลอดภัยและอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งเจ้าพ่อถ้ำ�ใหญ่นั้น ชาวบ้านก็นับถือ หลังจากทำ�พิธีเลี้ยงปีเจ้าพ่อเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะนำ� “ทุง” คือ ผืนผ้าที่ถักทอด้วยด้ายหลากสีมีลักษณะยาว ๆ เป็นฝีมือของชาวบ้านในท้องถิ่น นำ�มาแขวนถวายบริเวณปากถ้ำ�ใหญ่น้ำ�หนาว ถือเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื ่อ ที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองฟ้าและเมืองคน บ่งบอกว่าเป็นสถานที่ที่ผู้คนให้ความยำ�เกรงจึงได้ทำ�พิธีบูชา เพื่อสื่อสาร กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เชื่อมโยงความเชื่อเรื่องผีถ้ำ�หรือผีผู้เป็นใหญ่ ผีฟ้า แถน ทุงยังเป็นสัญลักษณ์บอกเขตให้ผู้คนรับรู้ว่า บริเวณที่ปักทุงนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ และแสดงความหมายว่าพิธีกรรมนั้น ๆ การนำ ทุงไปถวายแก่ผีด้ำ�หรือผีบรรพชนตลอด ทั้งอารักษ์นั้นนอกจากความเชื่อดั้งเดิมแล้วยังได้ สืบทอดส่งต่อสัญลักษณ์นี้เพื่อเป็นการแสดงออก ถึงความเคารพบูชาและศรัทธาในทางพระพุทธ ศาสนาอีกด้วยจนเกิดค่านิยมในการถวายทุงห รื อ “ทานทุง” ในสังคมชาวพ ุทธในท้องถิ ่นก่อเกิด อุดมคติและความเชื่อมั่นในผลานิสงค์ผลบุญจากการ ถวายทุงที่จะเกิดขึ้นทั้งแก่ตนเองแก่บ้านเมืองหรือ แม้แต่วิญญาณของผู้ล่วงลับไปแล้วการแขวน “ทุง” เป็นฮีตครองแบบอย่างลาวล้านช้างของไทหล่ม ภาพที่ 16 การแขวทุงหลวง (ที่มา: สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2560, ธันวาคม 8) จาก https://www.m-culture.go.th/phetchabun/ more_news. อ้างอิง สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2560, ธันวาคม 8). บุญแขวนทุงหลวง อำ�เภอน้ำ�หนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. ค้นเมื่อกุมภาพันธ์5,2565.จากแหล่งที่มา https://www.m-culture.go.th/phetchabun/more_news.php?offset=160&cid=37&filename=index 41


10. งานประเพณีแห่ต้นกระธูป บ้านเนินพัฒนา ตำ บลกองทูล อำ เภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า ชาวบ้านหมู่ 7 บ้านเนินพัฒนา ตำ�บลกองทูล อำ�เภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน จัดทำ�ต้นกระธูป ซึ่งถือเป็นประเพณี เก่าแก่ ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นเวลาหลายร้อยปีตั้งแต่สมัยปู่ย่า ตายาย ในช่วงออกพรรษา ภาพที่ 17 แห่ต้นกระธูป ที่ ม า: สำ �นั กงาน วัฒน ธ ร ร ม จังห วั ด เพ ช รบู รณ์ . (2560, ธันวาค ม 8 ) จ าก https://www.m-culture.go.th/phetchabun/ more_news.php?offset=160&cid=37&filename=index) โดยชาวบ้านจะช่วยกันนำ�ต้นกระธูปนี้ มาตั้งขบวนที่บริเวณด้านหน้าองค์การบริหารส่วนตำ�บลกองทูล เพื่อแห่ไปตามถนนภายในหมู่บ้านก่อนนำ�ไปติดตั้งไว้ที่วัดเนินพัฒนา รวมระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร เพื่อเป็นการบูชา คุณของพระพุทธเจ้า บูชาคุณของพระธรรม และบูชาคุณของพระสงฆ์รวมทั้งยังเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคี ของคนในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วยนายอำ�นวย จันทร์ไทย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 เล่าให้ฟังว่า ก่อนออกพรรษา ประมาณ 10 วัน ชาวบ้านจะใช้เวลาว่างหลังเลิกงานเกษตรร่วมแรงร่วมใจ จัดทำ�ต้นกระธูปตามคุ้มต่าง ๆ จำ�นวน 3ต้น ให้แล้วเสร็จก่อนวันออกพรรษา จากนั้นในวันขึ้น 14 ค่ำ� เดือน 11 ช ่วงเช้าจะร่วมกันทำ�บุญตักบาตร และช่วงสายจัดตั้งขบวนนำ�ต้นกระธูปขึ้นใส่รถอีโก้ง แห่ผ่านชุมชน หมู่บ้าน ก่อนนำ�เข้าไปติดตั้งไว้ภายใน วัดเนินพัฒนา เพื่อประกอบพิธีตามความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อพระพุทธศาสนาซึ่งควรค่าแก่การรักษา นับเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของคนโบราณที่ควรสืบทอดสู่รุ่นลูกหลานต่อไปขณะเดียวกันภายใน ขบวนแห่ต้นกระธูปนี้ นอกจากจะมีผู้นำ�ชุมชนชาวบ้าน ตลอดจนนักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน เข้าร่วมขบวนแห่อย่างสนุกสนานแล้วนั้น ยังมีอีกหนึ่งสีสันที่สร้างรอยยิ้ม และสรา้งความบันเทิงให้แก่ผู้ร่วมขบวนเป็น อย่างมาก นั่นก็คือ นักเรียน จากโรงเรียนผู้สูงอายุตำ�บลกองทูล ที่ต่างพร้อมใจกัน แต่งหน้าทาปาก สวมใส่เสื้อผ้าลายดอก หลากหลายสีสันมาร่วมฟ้อนรำ�นำ�หน้าขบวนแห่ต้นกระธูปในครั้งนี้ด้วยประเพณีต้นกระธูป เป็นประเพณีที ่มีมา อย่างช้านาน ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ ได้คิดค้นมาทำ�เป็นประเพณีที่สืบเนื่อง มารุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่เกิดหมู่บ้านเนินพัฒนา ขึ้นมาก็ประมาณ 30 ปีมาแล้ว และอนุรักษ์ประเพณีมาจนถึงปัจจุบัน อ้างอิง สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์.(2564, มกราคม 21).งานประเพณีแห่ต้นกระธูป บ้านเนินพัฒนา ตำ�บลกองทูล อำ�เภอหนองไผ่ . ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์5, 2565. จากแหล่งที่มา https://www.mculture.go.th/phetchabun/more_news.php?offset=160&cid=37&filena me=index 42


หน่วยที่ 4 ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติ และจักรวาล 1. บุญบั้งไฟ บุญบั้งไฟ นิยมทำ�กันในเดือนหก ถือเป็นประเพณี สำ�คัญที่จะขาดไม่ได้ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสาน มีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำ�ทำ�นาแต่ถ้า ปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึง ถือเป็นงานประเพณีประจำ�ปีที่สำ�คัญของชาวอีสาน พอใกล้ ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วม งานบุญบั้งไฟซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคน ท้องถิ่นเป็นอย่างดี ภาพที่ 1 ประเพณีบุญบั้งไฟพุเตย จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มา: สำ�นักงานเทศบาลตำ�บลพุเตย. (2562, เมษายน 18) จาก https://www.facebook.com 1.1 ที่มาและความหมายของประเพณีบุญบั้งไฟ คำ�ว่า “บั้งไฟ” ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำ�ว่า “บ้องไฟ” ที่ถูกควรเรียกว่า “บั้งไฟ” ดังที่ เจริญชัย ชนไพโรจน์ ได้อธิบายความแตกต่างของคำ�ทั้งสองไว้ว่า บั้ง หมายถึง สิ่งที่เป็นกระบอก เช่นบั้งทิง สำ�หรับใส่น้ำ�ดื่ม หรือบั้งข้าวหลาม เป็นต้น ส่วนคำ�ว่า “บ้อง” หมายถึง สิ่งของใด ๆ ก็ได้ที่มี 2 ชิ้น มาสวมหรือประกอบเข้ากันได้ส่วนนอกเรียกว่าบ้อง ส่วนในหรือสิ่งที่เอาไปสอดใส่จะเป็นสิ่งใดก็ได้เช่น บ้องมีด บ้องขวาน บ้องเสียม บ้องวัว บ้องควาย ดังนั้น คำ�ว่า บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกว่า บั้งไฟ หมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งหางยาวเอาดินประสิวมาคั่วกับ ถ่านไม้ตำ�ให้เข้ากันจนละเอียดเรียกว่า หมื่อ (ดินปืน) และเอาหมื่อนั้นใส่กระบอกไม้ไผ่ตำ�ให้แน่นเจาะรูตอนท้าย ของบั้งไฟเอาไผ่ท่อนอื่นมัดติดกับกระบอกให้ใส่หมื่อโดยรอบ แล้วนำ�ไม้ไผ่ยาวลำ�หนึ่งมามัดประกบต่อออกไป เป็นหางยาว สำ�หรับใช้ถ่วงหัวให้สมดุลกัน เรียกว่า “บั้งไฟ” กล่าวคือการนำ�เอากระบอกไม้ไผ่ เลาเหล็ก ท่อเอสลอน หรือเลาไม้ก็ได้ มาบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ตามอัตราส่วนที่ช่างกำ�หนดไว้แล้วประกอบท่อนหัว และท่อนหางเป็นรูปต่างๆตามที่ต้องการเพื่อนำ�ไปจุดพุ่งขึ้นสู่อากาศจะมีควันและเสียงดัง บั้งไฟมีหลายประเภท ตามจุดมุ่งหมายประโยชน์ในการใช้สอย 1.2 ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับประเพณีบุญบั้งไฟ ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์และเทวโลกอยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำ�ผีฟ้าเป็นตัวอย่าง ที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำ�ให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟ ก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถนชาวอีสานจำ�นวนมากเชื ่อว ่า การจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื ่ออย ่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคาก ได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์ 43


1.3 พิธีกรรมงานบุญบั้งไฟ ในงานประเพณีบุญบั้งไฟ จะมีกิจกรรมหลายอย่าง ตั้งแต่การจัดขบวนแห่บั้งไฟ การเซิ้งบั้งไฟ และการละเล่นต่าง ๆ ที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น เช่น การทอดแหหาปลา การสักสุ่ม ขบวนเซิ้ง แต่งกายสวยงามแบบโบราณ เซิ้งเป็นกาพย์ให้คติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาอันงดงาม บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่จะถูกตกแต่ง ประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง ว่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้อง สับและตัดลวดลายต่าง ๆ นี้ไว้เป็นเวลานานเป็น เดือนแล้วจึงนำ�มาทากาวติดกับลูกบั้งไฟส่วนหัวบั้งไฟ นั้นทำ�เป็นรูปต่าง ๆส่วนมากนิยมทำ�รูปหัวพญานาค อ้าปากแลบลิ้นพ่นน้ำ�ได้แต่ก็มีที่ทำ�เป็นรูปอื่น ๆอยู่ด้วย แต่ก็จะมีความหมายเข้ากับตำ�นานในการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟจะนำ�ไปตั้งบนฐานใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะ นำ�มาเดินแห่ตามประเพณีนั่นเอง ภาพที่ 2 ลักษณะของรถเอ้บั้งไฟล้าน ที่มา: สำ�นักงานเทศบาลตำ�บลพุเตย. (2562, เมษายน 18) จาก https://www.facebook.com 1.4 ประเภทของบั้งไฟ บั้งไฟนั้นมีอยู่หลายชนิดทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่นและบั้งไฟแสน ใช้ดินประสิว 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่น ใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม และบั้งไฟแสนใช้ดินประสิว 10 หมื่น หรือ 120 กิโลกรัม เมื่อตกลงกันว่าจะทำ� บั้งไฟขนาดไหน ก็หาช่างมาทำ� หรือที่มีฝีมือก็ทำ�กันเอง ช่างที่ทำ�บั้งไฟมีความสำ�คัญมากต้องเป็นผู้มีฝีมือใน การคำ�นวณผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตร บั้งไฟก็จะแตกไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำ�หรับไม้ที่จะทำ� เป็นเสาบั้งไฟนั้นต้องเป็นไม้ไผ่ที่มีลำ�ปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้นเพราะมีความหนา และเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกันในหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันจุดบั้งไฟ จะแบกบั้งไฟ ไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำ�จะถูกโยนลงในโคลนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ 1.5 การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟนั้นส่วนใหญ่จะจัดขึ้นใน ภาคอีสานมีหลายที่ส่วนในพื้นที่ของภาคเหนือมีการจัดงานประเพณี บุญบั้งไฟของ ตำ�บลพุเตย อำ�เภอวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ โดยการสนับสนุนขององค์การ บริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากประชากรใน เขตพื้นที่ส่วนใหญ่อพยพมาจากเขตภาคอีสานในหลายสิบปีก่อนหน้า ส่วนภาคใต้ยังสามารถพบการจัดงานบุญบั้งไฟ ในเขตอำ�เภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เป็นการละเล่นของชาวอีสานที่ย้ายถิ่นฐานมา ปักหลักที ่นี ่ตั้งแต ่ พ.ศ. 2518 โดยถือเป็นเพียงพื้นที่เดียวในภาค ใต้ของไทย นอกจากภาคอีสานที่มีการเล่นประเพณีนี้ ภาพที่ 3 ขบวนรำ ส่วนประกอบหนึ่งในขบวนแห่บั้งไฟ ที่มา: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม,การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย, (2563, กันยายน 28) จาก https://travel.trueid.net/detail/MeJLGwlJzvN 44


นอกจากนี้ในส่วนของภาคอื่นในประเทศไทยยังมีงานประเพณีบุญบั้งไฟในภาคกลางอีกที่หนึ่ง ในพื้นที่ อำ�เภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์และอำ�เภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานีเนื่องจากชาวบ้านพื้นที่ดังกล่าวร้อยละ 85 เป็นชาวอีสานที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้นำ�วัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟที่ถือเป็น ความเชื่อว่าพระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงทำ�ให้ประเพณีบุญบั้งไฟในอำ�เภอแม่เปิน เกิดขึ้นและได้อนุรักษ์ไว้ เมื่อ พ.ศ.2532 อำ�เภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานีครั้งแรกในปี2521 จนกลายเป็น ประเพณีที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการจัดประเพณีเป็นประจำ�ในช่วงเดือน 6-7 หรือประมาณสัปดาห์ ที่สองของเดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายนของทุกปีซึ่งที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่ และจังหวัด ใกล้เคียงเข้าร่วมงานกันเป็นจำ�นวนมาก 1.6 การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในจังหวัดเพชรบูรณ์ งานประเพณีบุญบั้งไฟพุเตย เกิดจากความร่วมมือกันของชาวชุมชนเขตเทศบาลตำ�บลพุเตย อำ�เภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยส่วนใหญ่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสาน ตามหลักความเชื่อที่ว่าผู้ที่ทำ�ให้ฝนตกลงมาคือ เทพผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ดังนั้นจึงคิดกุศโลบายด้วยการสร้างบั้งไฟขึ้น เพื่อจุดขึ้นฟ้าเป็นเสมือนสื่อกลาง และทำ�หน้าที่แจ้งข่าวให้เบื้องบนทราบว่าถึงฤดูทำ�การเกษตรแล้วและขอให้ท่านบันดาลฝนให้ตกลงมา เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของพี่น้องชาวพุเตย ซึ่งนอกจากการสร้างขวัญและกำ�ลัง ใจแล้วยังก ่อให้เกิดความรักความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจที่เกิดขึ้นในชุมชนก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง งานประเพณีบุญบั้งไฟพุเตย จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปีณ บริเวณสนามหน้าสำ�นักงาน เทศบาลตำ�บลพุเตย ตำ�บลพุเตย อำ�เภอวิเชียรบุรีซึ่งจัดอย่างยิ่งใหญ่ต่อเนื่องเป็นประจำ�ทุกปีกิจกรรมภายในงาน มีการประกวดขบวนแห่บั้งไฟประเพณีใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ มีการจุดบั้งไฟล้าน บั้งไฟแสน และ แข่งขันยิงบั้งไฟสูง ชิงถ้วยพระราชทาน ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและงานแสดง สินค้า OTOP มหรสพดนตรีโดยมี จุดเด่นเอกลักษณ์ขบวนแห่สวยงามและ บั้งไฟเอ้ (นำ�เข้าจากจังหวัดร้อยเอ็ด) มากที่สุดในภาคเหนือชุมชนทำ�บั้งไฟ ตกแต่งสวยงามของกลุ่มเยาวชนตำ�บล ภาพที่ 5 การแข่งขันจุดบั้งไฟล้าน ของเทศบาลตำ บลพุเตย อำ เภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มา: สำ�นักงานเทศบาลตำ�บลพุเตย. (2562, เมษายน 18) จาก https://www.facebook.com) ภาพที่ 4 ริ้วขบวนแห่รถเอ้บังไฟล้าน ขบวนรำ และ ขบวนวิถีชีวิตชาวพุเตย ที่มา: สำ�นักงานเทศบาลตำ�บลพุเตย. (2562, เมษายน 18) จาก https://www.facebook.com อ้างอิง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563, กันยายน 28). มารู้จักงานบุญ บั้งไฟประเพณีขอฝนตำ นาน พระยาคันคาก พญาแถนของชาวอีสานบ้านเฮา. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์11, 2565. จากแหล่งที่มา https://travel.trueid.net/detail/MeJLGwlJzvN. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2553). โครงการทำ นุบำ รุงศิลปวัฒนธรรม ศิลปะการตกแต่งลวดลายบั้งไฟอีสาน. อุบลราชธานี: คณะศิลปประยุกต์และ การออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สารสนเทศท้องถิ่นอีสาน ณ อุบลราชธานี. (2564, มกราคม 26). ลมว่าวพัดมาแล้วมาแล่นเล่นว่าว สะนูกัน. [สื่อมัลติมีเดียชนิด ออนไลน์]. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 11, 2565. จากแหล่งที่มา http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?p=5712 สำ�นักงานเทศบาลตำ�บลพุเตย. (2562, เมษายน 18). ประเพณีบุญบั้งไฟพุเตย. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์11, 2565. จากแหล่งที่มา https://www. facebook.com/TessabanPhutoei/photos/ 2283771285013667 45


2. บุญแขวนทุง (ธง) หลวง ธุง (ธง) ในวัฒนธรรมชาวอีสาน ความหมายของธุง ในที่นี้เป็นความหมาย“ธง” โดยทั่วไปและเลือกขยายความ ประเภทธุงตามที่ปรากฏลักษณะเฉพาะตามแบบของอีสาน ดังนี้ “ธง” นั้น มาจากคำ บาลี-สันสกฤต คือ ธช, ธฺวช แปลตามศัพท์ว่า “ผ้าที่สะบัดไป” หมายถึง ธง ใช้เป็น สัญลักษณ์, เครื่องหมาย, เครื่องแสดง, เครื่องสังเกต ส่วนคำ�ว่า “ธง” ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า “ธง” น. ผืนผ้าสี่เหลี่ยม หรือสามเหลี่ยม โดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทำ�ด้วยกระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มีสำ�หรับ (1) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติตำ�แหน่งในราชการ โดยมีกำ�หนดกฎเกณฑ์ เป็นต้น เช่น ธงชาติธงแม่ทัพนายกอง. (2) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำ�นนขอหย่า ศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง เป็นเรือพยาบาลคนป่วย หรือเรือที ่มีโรคติดต ่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุอันเป็นภัย. (3) เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคาร การค้า และอื่น ๆ. (4) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (5) ใช้เป็นเครื่อง ตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริง. (6) ใช้ถือเข้าขบวนแห่ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556 : 592) สารานุกรมภาษา อีสาน-ไทย-อังกฤษ ของ ปรีชา พิณทอง ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ “ธง” ไว้ว่า “ทุง” น. ธง ธงเรียก “ทุง” ทุงทำ�ด้วยกระดาษเรียก “ทุงกระดาษ” ที่ทำ�ด้วยผ้าเรียกว่า “ทุงผ้า” ที่ทอด้วยผ้า ใช้ไม้ไผ่สาน เรียก “ทุงช่อ” ที่ทำ�เพื่อใช้ในเวลารบ เรียก “ทุงชัย” ในบางพื้นที่ออกเสียงเป็น “ฮุ่ง” (ปรีชา พิณทอง, 2532 : 410) 2.1 ความเชื่อเกี่ยวกับธุง ความเชื่อเกี่ยวกับการนำ�ธุงมาใช้ เชื่อว่า (1) การปักหรือแขวนธุงในเขตงานบุญเป็นการบอกกล่าว หรือเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้คน รวมทั้งสิ่งที่มองไม่เห็นได้รับรู้สถานที่แห่งนี้กำ�ลังมีงานบุญ บางแห่งได้เย็บกระเป๋าติดกับตัวธุงสำ�หรับใส่เงิน ดอกไม้และอื่น ๆ ไว้ด้วยส่วนความเชื่อเกี่ยวกับ การใส่เงินอาจมีแตกต่างกันไปบ้าง เช่น บางแห่ง เชื่อว่าเป็นการส่งเงินให้คนหรือญาติที่ตายไปแล้ว บางแห่งบอกว่าให้กับเจ้ากรรมนายเวร (2) การปัก หรือแขวนธุงเป็นการป้องกันพญามารมารบกวน เขตพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อที่สืบต่อกันมา (3)การปักหรือแขวนธุงเป็นการตกแต่งสถานที่งาน บุญที่สำ�คัญที่เคยยึดถือสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณี ภาพที่ 6 ธุงประดับหอพระ ที่มา: วีณา วีสเพ็ญ และคณะ, 2562 : 3 - 35 สำ หรับความเชื่อที่เกี่ยวกับการถวายธุงให้วัด ส่วนใหญ่เชื่อว่าได้กุศลแรงเพราะธุงถือเป็นของสูงใน พิธีกรรม และมักถูกนำ�มาใช้ตกแต่งในงานบุญที่สำ�คัญเสมอ หากถวายเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ ผู้ตายเชื่อว่าบุญจะถึงและได้บุญมาก ดังนั้นผ้าธุงที่ญาติโยมนำ�มา ถวายวัดจึงมักนิยมเขียน หรือปักชื่อทั้งญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว และชื่อผู้อุทิศ ส่วนกุศลไปให้ดังนั้นจึงมีความเชื่อเกี่ยวกับธุงใน 2 ลักษณะคือการทำ�บุญ เมื่อได้ทำ�บุญด้วยการถวายธุงแล้วจะอยู่เย็นเป็นสุขเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การให้ทานเมื่อให้ทานด้วยการถวายธุงแล้วจะช่วยให้วิญญาณผู้ตายหลุดพ้น จากนรกหรือวิบากกรรม (วีณา วีสเพ็ญ และคณะ,2562 : 31) ภาพที่ 7 ธุงพันหางประดับวัด ที่มา: วีณา วีสเพ็ญ และคณะ, 2562 : 3 - 35 46


2.2 ด้านรูปแบบและประเภทของธุง (ก) ธุงราว (ฮาว) (ข) ธุงชัย (ค) ทุงช่อ (ง) ธุงผจญมาร หรือธุงอุปคุต (จ) ธุงใยแมงมุม เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย ภาพที่ 8 แสดงลักษณะของธุงแบบต่าง ๆ (ที่มา: วีณา วีสเพ็ญ และคณะ, 2562 : 27 - 28 2.3 ความสำ คัญของบุญแขวนธุง (ตุง) หลวง งานบุญประเพณีแต่ละเดือนของชาวอีสานมักจะประดิษฐ์ธุงหลากหลายรูปแบบและสีสันบนผืนผ้ามากมาย หรือเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามความเชื่อตั้งแต่โบราณ ธุงมีความเป็นมา จากเรื่องเล่าเมื่อครั้งในอดีตว่า มีพวกเหล่ามารปีศาจขึ้นไปก่อกวนเทวดาบนสวรรค์จนทำ�ให้เหล่าเทวดาตกใจ กลัวเป็นอย่างมาก ทำ�ให้เจ้าแห่งสวรรค์สร้างธุงขึ้นมา เพื่อให้เหล่าเทวดาได้มองเห็นธุงแล้วเกิดความกล้าหาญ ไม่หวาดกลัวเหล่ามารปีศาจอีกต่อไปธุงจึงเป็นเหมือนตัวแทนในการขับไล่มารร้ายไปจากสวรรค์นั้นเองทำ�ให้ในกาล ต่อมามนุษย์จึงได้ประดิษฐ์“ตุง” เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์การติดต่อสื่อสาร ระหว่างมนุษย์กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว อีกทั้งเพื่อเป็นพุทธบูชาอีกทั้งเป็นปัจจัยการส่งกุศล ให้แก่ตนเองในชาติหน้าจะได้เกิดบนสรวงสวรรค์ต่อไปธุงจึงนับ ได้ว่าเป็นเครื่องสักการะเพื่อใช้พิธีกรรมทางพุทธศาสนาในบุญ เฉลิมฉลองหรือขบวนแห่ต่าง ๆ การประดับประดาในงานพิธี ต่าง ๆ เพื่อความสวยงามตระการตาโดยมีความแตกต่างกันตาม ความเชื่อในการประกอบพิธีกรรมของท้องถิ่นซึ่งโดยทั่วไปตุงจะมี ลักษณะคล้ายกับธงมีความยาวประมาณ 1 – 3 เมตร อาจทอด้วย ผ้าฝ้ายเป็นลายขิด ลวดลายสัตว์คน ต้นไม้หรือพระพุทธรูป เป็นต้น เพื่อถวายแด่พระสงฆ์เป็นพุทธบูชา ภาพที่ 9 ธุงใยแมงมุม เป็นสัญลักษณ์ในการสรงน้ำ พระธาตุยาคู ที่มา: วีณา วีสเพ็ญ และคณะ, 2562 : 31 47


2.4 ตำ นานเกี่ยวกับพญานาคถ้ำ ใหญ่น้ำ หนาว เมื่อนานมาแล้ว บนดินแดนน้ำ�หนาว มีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านนับถือศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเมื่อถึงเดือน 6 ก็จะพากันทำ�บุญใหญ่ที่วัดกันเป็นประเพณีทุกปี ใกล้กับหมู่บ้านแห่งนี้ มีถ้ำ�ขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีทางเดินที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างโลกและเมืองพญานาคที่โลก ใต้บาดาลได้ฉะนั้น เมื่อถึงการทำ�บุญเดือน 6 ของมนุษย์ทุกปีพญานาคและเหล่าบริวารจะแปลงกายเป็นมนุษย์ ทั้งชายและหญิง มีรูปร่างสวยสดและแต่งกายงดงามอย่างยิ่ง มาร่วมทำ�บุญเดือน 6 กับชาวบ้าน โดยแต่ละตนจะถือ ขันทองคำ�ใส่อาหารหวานคาวพากันไปทำ�บุญถวายพระสงฆ์สามเณรที่วัดบ้านธาตุซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของถ้ำ�ใหญ่ ไปประมาณ 500 เมตร ในปีหนึ่งหลังการบุญเสร็จสิ้นปรากฏว่าขันทองคำ�ของพญานาคใบหนึ่งได้หายไป พญานาค และบริวารต่างพากันออกค้นหา และได้สอบถามจากพระสงฆ์สามเณร ชาวบ้านทั้งหมด แต่ก็ไม่มีผู้ใดรู้ว่าใครเป็นผู้ เอาขันทองคำ�ของพญานาคไปซึ่งจริงแล้วมีสามเณรรูปหนึ่งเกิดความโลภ ได้แอบขโมยขันทองคำ�นั้นไป เมื่อพญานาคและบริวารไม่สามารถหาขันทองคำ�คืนได้จึงโกรธเห็นว่าพวกชาวบ้านไม่มีความซื่อสัตย์ จึงประกาศจะไม่มาร่วมทำ�บุญกับชาวบ้านอีกตลอดไป พร้อมกับแปลงร่างกลายเป็นพญานาคพากันเลื้อยหายเข้าไป ในถ้ำ�ใหญ่กลับลงไปใต้บาดาล พลันเกิดเสียงกึกก้องกัมปนาทและพื้นดินสั่นไหว ทั้งพระสงฆ์สามเณรและชาวบ้าน พากันแตกตื่นวิ่งหนีกันอลหม่าน แล้วแผ่นดินบริเวณที่ตั้งของวัดบ้านธาตุก็ได้ยุบตัวลงเป็นหลุมใหญ่ดูดกลืนทั้ง พระสงฆ์สามเณร พร้อมทั้งชาวบ้านอีก 50 ครัวเรือนหายไปหมด ส่วนสามเณรที่เป็นผู้ขโมยขันทองคำ�ไปนั้น ก็ได้วิ่งหนีอย่างสุดชีวิตไปทางถ้ำ�ใหญ่ เพื่อจะหนีขึ้นไปบนถ้ำ�ใหญ่ แต่เมื่อก้าวเข้าไปได้7-8 ก้าว แผ่นดินก็ได้ทรุด ตัวลงอย ่างรวดเร็วเป็นหลุมลึกดูดสามเณรรูปนั้นจมหายลงไปใต้ดิน ซึ่งยังปรากฏร่องรอยของหลุมนั้นอยู่ เรียกว่า “หลุมเณร” หรือ “หลุมหิน” ในปัจจุบัน (วิศัลย์โฆษิตานนท์, 2561, เมษายน 20) 2.5 ตำ นานเกี่ยวกับเจ้าพ่อถ้ำ ใหญ่น้ำ หนาว เล่ากาลเวลาผ่านไปเนิ่นนานชาวบ้านก็ได้เข้ามาตั้งรกราก ใหม่เป็นบ้านห้วยลาดในปัจจุบัน และด้วยความเชื ่อ ในพญานาคของถ้ำ�ใหญ่ที่เล่าสืบต่อกันมาชาวบ้านจึง ได้จัดให้มีงานบุญหลวงบุญบั้งไฟเพื่อบูชาพญานาค (พระยาแถน) ในเดือน 8 ของทุกปีเพื่อขอให้ฟ้าฝนตก ต้องตามฤดูกาลทำ�ไร่ทำ�นาให้ได้ผลอุดมสมบูรณ์ อีกทั้ง จัดงานเลี้ยงปี“เจ้าพ่อถ้ำ ใหญ่” ในเดือน 6 เพื่อขอให้ เจ้าพ่อได้คุ้มครองปกปักรักษาให้ปลอดภัยและอยู่เย็น เป็นสุขซึ่งเจ้าพ่อถ้ำ�ใหญ่นั้นชาวบ้านนับถือว่าคือพญานาค แห่งถ้ำ�ใหญ่น้ำ�หนาวนั่นเอง (สยามรัฐออนไลน์, 2560, พฤศจิกายน 22) ภาพที่ 10 ถ้ำ ใหญ่น้ำ หนาว ที่มา : วิศัลย์โฆษิตานนท์. จากhttps://www. facebook.com/wisonk 2.6 ประเพณีบุญแขวนธุง (ตุง) หลวง บุญแขวนธุง(ตุง) หลวงเกิดขึ้นภายหลังจากทำ�พิธีเลี้ยงปีเจ้าพ่อเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะนำ� ธุงคือผืนผ้าที่ถักทอด้วยด้ายหลากสีมีลักษณะยาวๆเป็นฝีมือของชาวบ้านในท้องถิ่น นำ�มาแขวนถวาย บริเวณปากถ้ำ�ใหญ่น้ำ�หนาว ถือเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื่อที่ เชื่อมโยงระหว่างเมืองฟ้าและเมืองคน บ่งบอกว่าเป็นสถานที่ ที่ผู้คนให้ความยำ�เกรงจึงได้ทำ�พิธีบูชา เพื่อสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่บริเวณ ณ สถานที่แห่งนี้สามารถเชื่อมโยงความเชื่อเรื่องผีด้ำ� หรือผีผู้เป็นใหญ่ ผีฟ้า แถน ทุงยังเป็นสัญลักษณ์บอกเขตให้ผู้คน รับรู้ว่าบริเวณที่ปักทุงนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นสถานที่ประกอบ พิธีกรรมต่าง ๆ และแสดงความหมายว่าพิธีกรรมนั้น ๆ ได้เริ่มขึ้น และจบสิ้นลงแล้ว ภาพที่ 11 แสดงลักษณะการแขนทุง (แขวนธง) หน้าถ้ำ�ใหญ่น้ำ�หนาว ที่มา: สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2560, ธันวาคม 8) จาก https://www.m-culture.go.th/ phetchabun/main 48


การนำ ทุงไปถวายแก่ “ผีด้ำ ” หรือ “ผีบรรพชน” ตลอดทั้งอารักษ์นั้น นอกจากความเชื ่อดั้งเดิม ยังได้สืบทอดส่งต่อสัญลักษณ์นี้ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพบูชาและศรัทธาในทางศาสนาพุทธอีกด้วย จนเกิดค่านิยมในการถวายทุง หรือ“ทานทุง”ในสังคมชาวพุทธในท้องถิ่น ก่อเกิดอุดมคติและความเชื่อมั่นในผลานิสงค์ ผลบุญจากการถวายทุง ที่เกิดขึ้นทั้งแก่ตนเองแก่บ้านเมืองหรือวิญญาณของผู้ล่วงลับไปแล้วการแขวนทุงเป็นฮีตครอง ที่เป็นงานบุญเดือน 8 บุญเข้าพรรษา ตามแบบอย่างของวัฒนธรรมลาวหลวงพระบาง ที่ยังอยู่ในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ของชาวไทหล่มสืบต่อไป ภาพ 12 การแขวนธุงที่ถ้ำ น้ำ หนาว ที่มา : วิศัลย์โฆษิตานนท์. จากhttps://www.facebook.com/wisonk อ้างอิง ปรีชา พิณทอง. (2532). สารานุกรมภาษา อีสาน-ไทย-อังกฤษ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรม. วิทยา วุฒิไธสง. (2564, มกราคม 16). “ตุง” ใน ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 12, 2565. จากแหล่งที่มา https://cac.kku.ac.th/cac2021/1-16/?fbclid วิศัลย์โฆษิตานนท์. (2561, เมษายน 20). “ตำ�นานพญานาคแห่งถ้ำ�ใหญ่น้ำ�หนาว และการแขวนทุงหน้าถ้ำ�”. ใน บันทึกตำ นานเพชรบูรณ์ 16 เรื่อง. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์12, 2565. จากแหล่งที่มา https://wisonk. wordpress.com/2018/04/20/บันทึก-9-ตำ�นานเพชรบูรณ์ วีณา วีสเพ็ญ และคณะ. (2562). “ธุง หรือ ทุง และ ปะคือ? ความหมาย ความสำ�คัญ ในบริบทมรดกทางวัฒนธรรม”. ใน เอกสารประกอบการเสวนาวิชาการ เรื่อง “ธุงผะเหวดอีสาน : พุทธศิลป์แห่งพลังศรัทธา” วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องโถงชั้น 1 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์. สยามรัฐออนไลน์. (2560, พฤศจิกายน 22). ตามรอยตำ นานพญานาค สำ รวจถ้ำ ใหญ่น้ำ หนาว. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์12, 2565. จากแหล่งที่มา https://siamrath.co.th/n/26804 สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2560, ธันวาคม 8). “การแขนทุง (แขวนธง) หน้าถ้ำ�ใหญ่น้ำ�หนาว อ.น้ำ�หนาว”. ใน องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์12, 2565. จากแหล่งที่มา https://www.m- culture.go.th/phetchabun/main. 49


3. นวดแผนไทย การนวดแผนไทย หรือ การนวดแผนโบราณ เป็นการนวดชนิดหนึ่งในแบบไทย ซึ่งเป็นศาสตร์บำ�บัดและรักษา โรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย โดยจะเน้นในลักษณะการกด การคลึง การบีบ การดัด การดึง และการอบ ประคบ ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ “นวดแผนโบราณ” โดยมีหลักฐานว่านวดแผนไทยนั้นมีประวัติมาจากประเทศอินเดีย โดยเชื่อ ว่าน่าจะมีการนำ�การนวดเข้ามาพร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และมีการนำ�เข้ามาในประเทศไทยเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏ หลักฐานชัดเจน จากนั้นได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากันกับวัฒนธรรมของสังคมไทย จนเป็นรูปแบบแผนที่เป็น มาตรฐานของไทยและส่งทอดมาจนถึงปัจจุบัน การนวดไทยเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะที่มีมาแต่โบราณ เกิดจากสัญชาตญาณ เบื้องต้นของการอยู่รอด เมื่อมีอาการปวดเมื่อยหรือเจ็บป่วยตนเองหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงมักจะลูบไล้บีบนวดบริเวณดังกล่าว ประเภทของการนวดแผนไทย การนวดแผนไทยหนึ่งในตัวเลือกที่ดีด้านสุขภาพเต็มไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ต่อร่างกาย ผิวพรรณความงาม รวมไปถึงจิตใจด้วย การนวดแผนไทยมีหลากหลายประเภท ดังนี้ 1.นวดน้ำ มันธรรมชาติเป็นการนวดแผนไทยที่มีน้ำ�มันเป็นส่วนประกอบ เป็นน้ำ�มันที่สกัดและมีกลิ่นหอมจาก ธรรมชาติโดยเฉพาะทำ�ให้ผู้ที่เข้ารับการนวดเกิดความผ่อนคลายลดอาการตึงเครียดรู้สึกสดชื่นด้วยกลิ่นหอม ลดอาการนอน ไม่หลับอีกทั้งยังช่วยบำ�รุงผิวและกระชับสัดส่วนอีกด้วย 2.นวดแบบผ่อนคลาย เป็นการนวดดั้งเดิมของการนวดแผนไทย นวดเพื่อบำ�รุงสภาพจิตใจและร่างกาย การนวดลักษณะนี้จะเป็นการนวดที่เข้าไปกระตุ้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายทั้งระบบไหลเวียนโลหิต คลายกล้ามเนื้อ ข้อกระดูกต่าง ๆ 3.นวดฝ่าเท้า เป็นการนวดที่จุดฝ่าเท้า เพื่อปรับสมดุลร่างกายให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำ�งานได้ดีในการหล่อเลี้ยง ออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายช่วยขจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ ขจัดสารพิษต่าง ๆ 4.การนวดสำ หรับนักกีฬา หรือการนวดสปอร์ต เป็นการนวดสำ�หรับการออกกำ�ลังกายที่ใช้แรงและหักโหม มากเกินไปจนก่อให้เกิดอาการทางกล้ามเนื้อต่าง ๆ กระดูกมีปัญหา รวมไปถึงอาการเหนื่อยล้าอีกด้วย 5.นวดแบบจับเส้น เป็นการนวดโดยเน้นเฉพาะจุด ให้ร่างกายได้ผ่อนคลายตามจุดข้อต่อพังผืดหรือรวมไปกับการ อักเสบของกล้ามเนื้อตามจุดต่าง ๆ ด้วย 6.การนวดสลายไขมัน ส่วนใหญ่จะเป็นการนวดแนวการใช้น้ำ�มันอโรมาเป็นส่วนประกอบสำ�คัญเป็นการนวด เพื่อลดไขมันส่วนเกินต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วย 7.การนวดโดยใช้ลูกประคบ เป็นการนวดโดยใช้ลูกประคบสมุนไพรซึ่งก็แล้วแต่สถาบันแต่ละที่ว่าใช้สมุนไพร อะไรบ้างประคบตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อคลายเครียด 8.การนวดสำ หรับโรคเครียด ไมเกรน เป็นการนวดที่เน้นเกี่ยวจุดต่างๆ บนศรีษะช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรน อาการตึงเครียด ลักษณะและกระบวนท่าในการนวด ประกอบด้วย การบีบ การทุบ ตบ สับ การคลึง การถูการหมุน การกลิ้ง การสั่น เขย่า การบิด การลั่นข้อต่อ การยืดดัดตัว การหยุดการไหลเวียนของเลือด ภาพที่ 13 ภาพจุดนวดต่าง ที่มา: วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี.(2564 กันยายน 6) จาก https:// th.wikipedia.org/wiki/ อ้างอิง วิกิพีเดีย.อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 สยามอาชีพ. นวดแผนไทย แนวแผนโบราณ วิธีการนวด. อ้างอิง https://www.siamarcheep.com/นวดแผนไทยแผนโบราณ.html สืบค้นเมื่อวันที่25 มีนาคม 2565 BAIMINTSPA.การนวดแผนไทย จาก https://baimintspa.com/การนวดแผนไทย สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 50


4. บ้านเสายองหิน “บ้านภูผักไซ่” เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำ�บลหินฮาว อำ�เภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ตั้งขึ้นมาประมาณ 200 ปี (ราว พ.ศ.2341) โดยมีนายทองสาเป็นหัวหน้าพาคนจำ�นวน 20 คน อพยพมาจากหลวงพระบางลงมาทางทิศใต้เมื่อถึง บ้านภูผักไซ่มีทำ�เลที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน มีลำ�น้ำ�ไหลผ่าน คือลำ�น้ำ�พุงและมีพื้นที่เพาะปลูกมีภูเขาอยู่ทางทิศตะวันตก จึงได้ ตั้งบ้านเรือนอยู่จำ�นวน 5 ครัวเรือน สำ�หรับชื่อหมู่บ้านเนื่องจากบนพื้นที่ภูเขามีผักไส่ขึ้นอยู่จำ�นวนมาก จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ภูผักไส่” ต่อมาออกเสียงเพี้ยนเป็น “ภูผักไซ่” ดังเช่นในปัจจุบัน ส่วนชื่อตำ บล “หินฮาว” มาจากลักษณะภูมิประเทศของหมู่บ้านที่เป็นสันกำ�แพงยื่นออกมาจากวัดท่าศิลามงคล เป็นแนวยาวไปกลางแม่น้ำ�พุงประมาณ 20 เมตร พระและชาวบ้านได้อาศัยหินดังกล่าวในการเดินลงไปอาบน้ำ�ซักผ้า ในลำ�น้ำ�เมื่ออาบน้ำ�เสร็จก็จะตากผ้าที่เปียกน้ำ�บนราวหิน คำ�ว่า “ราว”ในภาษาถิ่นออกเสียงว่า “ฮาว”จึงเป็นที่มาของชื่อ “หินฮาว” นั้นเอง “เฮียนยองหิน” คำ�เรียกลักษณะเรือนพื้นถิ่นที่สร้างด้วยไม้จริง วางเสาเรือนบนก้อนหินธรรมชาติของคนไทหล่ม อ.หล่มเก่า เป็นลักษณะเด่น เป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพเรือน สภาพแวดล้อมสรรสร้าง รูปแบบทางสถาปัตยกรรม ผังบริเวณเรือนเพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่กับวิถีชีวิตภายในเรือนพักอาศัย (ขนิษฐา ปานศรี, 2558) ลักษณะเรือน เปนเรือนยกพื้นสูงมีใตถุนหลังคาทรงจั่ววางแนวสันหลังคาตามแกนตะวันออก-ตะวันตก มีชานจั่วดานสกัดไมแปนตีแนวนอนซอนเกล็ด ชายคาดานหนาเชื่อมตอดวยหลังคากันซาด (กันสาด) คลุมยาวถึงซาน (ชาน) หนาบาน ในเฮียน (หองนอน) มีหนา ตาง 2 ชอง ไมมีบาน ใชสังกะสีตีปด ไวขั้นได (บันได) 7 ขั้น ขึ้น-ลงดานทิศ ตะวันตกวางพาดบนซาน (ชานแดด)ครัวตอเติมใหม  มีคว ามยาวจากซาน (ชานแดด)จนถึงดานหลังเฮียน หลังคาแบบเพิงลาด เอียงจากฝาเฮียนลงไปทางทิศตะวันตกประมาณ 30องศา มุงดวยไพหญ  าคา ฝาเฮียนใหญไม เปอยตีแนวนอน  ซอนเกล็ด  3ดาน บริเวณซานตีดวยไมไผใชเปนราวแขวนผา (ขนิษฐา ปานศรี, 2558) ภาพที่ 14 บรรยากาศเรือนเสายองหิน ชุมชนภูผักไซ่ ตำ บลหินฮ่าว อำ เภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ (ที่มา: ขนิษฐา ปานศรี, 2558) 51


เรือนที่เป็นเอกลักษณ์ บ้านเรือนของชุมชนภูผักไซ่นิยมสร้างด้วยไม้ยกใต้ถุนสูงตัวบ้านตีปิดด้วยฝาไม้ บางส่วนเป็นระแนงไม้เพื่อระบายอากาศโครงสร้างจะเข้าไม้แบบตอกเข้าลิ่มสลักไม้สอดเข้าลิ่มจะไม่ใช้ตะปูหลังคา เป็นโครงสร้างไม้ทรงจั่วเอกลักษณ์ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือ เสาบ้านที่เป็นไม้เนื้อแข็งตั้งอยู่บนหินจะไม่ได้ สัมผัสพื้นดินโดยตรง เรียกว่า “บ้านเสายองหิน” ตามภาษาท้องถิ่นคำ�ว่า “ยอง” แปลว่า “บน” คำ�ว่าบ้านเสายองหินจึงหมายถึงบ้านที่มีเสาตั้งอยู่ บนหินหินที่นำ�มาใช้เป็นหินจากลำ�น้ำ�ที่ไหลผ่าน หมู่บ้านภูมิปัญญาในการก่อสร้างบ้านเสายองหิน นั้นป้องกันแรงลม และแผ่นดินไหวเพราะมีความ ยืดหยุ่นของตัวเสากับฐานหินป้องกันความชื้นและ ปลวกเพราะเสาบ้านไม่ได้สัมผัสกันพื้นดินโดยตรง ภาพที่ 15 ลักษณะการนำ�เสาเทินไว้บนหิน (ที่มา: พิชัย สดภิบาล (2558, มีนาคม 25) จาก https://lomkaothaigeo.wixsite.com/index/ ban-yong-hin) บ้านยองหิน เป็นบ้านที่สร้างด้วยการตั้งเสา แต่ละต้นของบ้านจะตั้งอยู่บนก้อนหินจะไม่ ฝั่งเสาลงดิน เมื ่อเกิดลมแรงหรือแผ ่นดินไหว จะทนทานได้เพราะมีความยืดหยุ่นกว่าส่วน บ้านที่ฝั่งเสาลงดินจะล้มก่อนส่วนบ้านที่ตั้งบน หินจะไม่สะเทือนถึงบนบ้าน ชาวไทหล่มสร้าง บ้านลักษณะนี้มานานถึงปัจจุบันยังมีให้ชมกัน ในชุมชนภูผักไซ่ ตำ�บลหินฮ่าว อำ�เภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ลักษณะบ้านเสายองหิน นอกจากจะตั้งบนก้อนหินแล้วลักษณะพิเศษ อีกอย่างคือการไม่ใช้ตะปูแต่จะเป็นการ เข้าไม้แบบตอกเข้าลิ่ม สลักไม้สอดเข้าลิ ่ม (ส ่งศักดิ์อ่อนสุวรรณ์,2562, เมษายน 6) ภาพที่ 16 บ้านเสายองหิน บ้านยองหิน หรือ“เฮียนยองหิน” ที่มา: ช่างสถาพร สร้างบ้านพิษณุโลก (2562, กรกฎาคม 5) จาก https://thaihitz.com/ภูมิปัญญาไทลื้อ-บ้านยองหิน) 52


ภาพที่ 17 บ้านเสายองหิน บ้านยองหิน หรือ “เฮียนยองหิน” ที่มา: บ้านไอเดีย.https://www.banidea.com/tai-lue-earthquake-home-safety/ ในการก่อสร้างเริ ่มจากการเอาหินมาวางไว้บริเวณที่กำ�หนด ก้อนหินหรือแผ่นหินที่นำ�มาใช้นั้น เป็นหินจากน้ำ�พุงลำ�น้ำ�ที่ไหลผ่านหมู่บ้านและจากเขาภูผักไซ ่จากนั้นนำ�เสามาตั้งโดยมัดเสาติดกับเทอม (นั่ง-ร้าน) ทำ�แบบเดียวกันทุกเสา รวม 16 เสา วิธีการดังกล่าวช่วยให้เสาเรือนคงทนถาวรไม่ผุกร่อนง่าย ไม่ต้องกังวลกับปัญหาปลวกรบกวน สะดวกในการเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนเนื่องจากเสาเรือนไม ่ได้ถูก ฝังลงในดิน จากนั้นใช้การสอดคานตีลิ่ม (ทำจากไม้ เสาไม้แต่ละเสาต้องใช้ขวานปลอกเปลือกและเจาะรู เพื่อใส่คานและลิ่ม) แล้วอัดให้แน่นโดยไม่ใช้ตะปูก่อนมุงหลังคาตีพื้นและฝา เมื่อสร้างเสร็จส่วนประกอบ ของบ้านยึดโยงกันทำ�ให้บ้านมีความแข็งแรง ปัจจุบันในหมู่บ้านยังคงเหลือบ้านยองหินประมาณ 9 หลัง อ้างอิง ขนิษฐา ปานศรี. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ของพื้นที่กับวิถีชีวิตในเรือนพักอาศัยของชาวไทหล่ม กรณีศึกษา เฮียนยองหิน บ้านแก่งโตน ตำ บลนาซำ อำ เภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์.วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ภาควิชาสถาปัตยกรรม บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ช่างสถาพร สร้างบ้านพิษณุโลก. (2562, กรกฎาคม 5). ภูมิปัญญาไทลื้อ บ้านยองหินเสาเทินบนก้อนหิน หมิ่นเหม่ แต่ทนอยู่มาเป็นร้อยปี.ค้นเมื่อกุมภาพันธ์10,2565.จากแหล่งที่มา https://thaihitz. com/ภูมิปัญญาไทลื้อ-บ้านยองหิน/ พิชัย สดภิบาล. (2558, มีนาคม 25). บ้านยองหิน ภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ที่บ้านภูผักไซ่. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่งที่มา https://lomkaothaigeo.wixsite.com/ index/ban-yong-hin ส่งศักดิ์อ่อนสุวรรณ์. (2562, เมษายน 6). เรือนพื้นถิ่นชุมชนภูผักไซ่ ตำ บลหินฮ่าว อำ เภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำ�ปี2562 53


5. แกงเอาะข้าวเบือ “เอาะ” เป็นอาหารประเภทแกง มีน้ำ�น้อย มีเครื่องเทศสมุนไพรนำ�มาโขลกเป็นเครื่องพริกแกง ได้แก่ พริก ตะไคร้หัวหอม กระเทียม เช่นแกงคั่ว มีเครื่องโขลกพริกแกง โดยนำ�เนื้อสัตว์ลงไปคนกับเครื่องแกงในหม้อ ที่ตั้งไฟให้ร้อนจนเครื่องแกงหอม เติมน้ำ�ลงไปไม่มากนัก ปรุงรสและใส่ผักตามชอบ เอาะ เป็นแกงที่ปรุงด้วยเครื่องแกงเหมือนกับคั่ว เป็นแกงที่มีปริมาณน้ำ น้อย ใส่ข้าวเบือ (ข้าวเหนียวแช่ น้ำ�ให้นิ ่มแล้วโขลกให้ละเอียด ละลายน้ำ�แล้วใส่ใน น้ำ�แกง) มีลักษณะข้นขลุกขลิกจากข้าว อ่อม เป็นแกง ชนิดหนึ่งที่มีน้ำ�น้อยข้นขลุกขลิกไม่ใส่ข้าวเบือ โดยนำ� วัตถุดิบอาหารที่นำ�มาปรุง จะต้มเคี่ยวจนเละจึงทำ�ให้ แกงมีลักษณะน้ำ�ข้นขลุกขลิกโดยไม่ใส่ข้าวเบือ จาก การรวบรวมข้อมูลมีตำ�รับอาหารประเภทแกงน้ำ�น้อย จำ�นวน 11 ตำ�รับ มีดังนี้คั่วไก่บ้าน แกงผักขี้เหล็ก เอาะปลา เอาะไข ่มดแดง เอาะหน่อไม้เอาะผำ� เอาะแมงอิเนี้ยว เอาะหอย อ่อมปลาดุก อ่อมหอย อ่อมผัก ออดปู ภาพที่ 18 แกงเอาะหลามข้าวเบือ ไทหล่ม ที่มา: ใช้ชีวิตให้มีความสุข (2556, สิงหาคม 23) จาก http://oknation.nationtv.tv) “เอาะหลาม” เป็นอาหารพื้นบ้านชาวไทหล่ม ประเภทแกงที่มีน้ำ�น้อย นิยมใช้เนื้อควายแดดเดียว ต้มกับน้ำ�ปลาร้า หนังควายแห้งหรือหนังปอง และผักสดที่มีตามแถวบ้าน เช่น สะค้าน มะเขือ พริก ตำ�ลึง ยอดพริก เป็นต้น เรียกว่า “เอาะหลามเนื้อควาย” นิยมรับประทานกับส้มหมูหรือส้มปลาแกง เอาะหลามอีก แบบหนึ่ง ใส่เนื้อสัตว์ผัก และเห็ดได้ทุกอย่าง สุดแท้แต่ว่าจะสามารถหาผักมาได้มากน้อยขนาดไหน เรียกว่า “เอาะโฮะ” อาหารพื้นบ้านชาวไทหล่มประเภทแกงอีกชนิดหนึ่ง ใส่น้ำ�มาก ตักน้ำ�ซดได้เรียกว่า “เอาะซด” (เพียสิง จะเลินสิน, 2553) วัตถุดิบ 1.เนื้อควายตากแห้ง 3 ชิ้น หั่นเป็นชิ้นเล็กแล้วล้าง หนังควาย แห้ง2แผ่น ปรุงโดยใส่ลงในกองไฟถ่านโดยตรงแล้วขูดส ่วนที ่ไหม้ออก แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วแช ่ในน้ำ� 2. หอมแดง 3 หรือ 4 (เล็ก) ปอกเปลือก 3.หนังหมูทอดกรอบ 1 ชิ้น หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 4. สะค้าน 1 ชิ้น (ไม้หอม) ลอกเปลือกยาว 5 เซนติเมตร ทิ้ง เอาผิวที่หยาบกร้านออกเป็นชิ้นเล็กๆ15 ชิ้น 5. ต้นหอมหัวตรง 3 ต้น 6. ตะไคร้1ต้นเผาขี้เถ้าร้อนๆ ล้างแล้วทุบให้แตก 7. มะเขือม ่วงกลม 7 ลูก 8. พริกขี้หนูสด 7 เม็ด (ใหญ่) 9. ผักตำ�ลึง 1 กำ�(ใบกินได้) 10. หน่ออ่อน (ก้านและใบ) 1 พวงของต้นพริก 11. ใบโหระพาจำ�นวนมาก 12. ผักชีฝรั่งสับ 1 พวง 13. ใบต้นหอมสับจำ�นวนมาก 14. เกลือ ภาพที่ 19 วัตถุดิบในการแกงเอาะหลามข้าวเบือ ไทหล่ม ที่มา: ใช้ชีวิตให้มีความสุข (2556, สิงหาคม 23) จาก http://oknation.nationtv.tv)http://oknation. nationtv.tv 54


วิธีปรุง 1.ใส่น้ำ�ย่านาง 1 1/2 เหยือก (1 1/2 ไพน์ต) ลงในหม้อแล้ววาง บนกองไฟ ใส่เกลือ ตะไคร้บด เนื้อควาย หนังควาย หอมแดง พริกขี้หนู มะเขือยาว รอให้เดือดแล้วจึงเติมพริกลงไปด้วยกระชอนตาข่ายใบเล็ก ปล่อยให้เดือดจนพริกและมะเขือยาวสุก-จากนั้นนำ�ส่วนผสมเหล่านี้ออก โขลกให้ละเอียดแล้วใส่กลับเข้าไปในหม้อ 2.จากนั้นใส่ผักตามลิงและพริกหนุ่มยอดอ่อนชิมและตรวจสอบ ความเค็ม จากนั้นใส่หนังหมูทอดกรอบ ผักชีฝรั่งสับ และใบโหระพา นำ�หม้อออกจากกองไฟ โอนเนื้อหาไปยังชาม ตกแต่งจานด้วยต้นหอมซอย เสิร์ฟกับส้มหมูหรือ ส้ม ป่าเก่ง ภาพที่ 20 การเตรียมผักสดสำ หรับแกงเอาะ หลามข้าวเบือ ไทหล่ม ที่มา: ใช้ชีวิตให้มีความสุข (2556, สิงหาคม 23) จาก http://oknation.nationtv.tv) “แกงเอาะข้าวเบือ” เมนูที่มีส่วนประกอบจำ�นวนมากไม่ว่าจะเป็นพืชผักและสมุนไพรส่วนที่ขาด ไม่ได้คือเนื้อและปลาร้าที่เพิ่มความหอมให้เมนูนี้น่าสนใจขึ้น เมื่อถึงขั้นตอนปรุงอาจจะดูซับซ้อนเห็นได้จากการนำ� เนื้อย่างไฟเตาถ่านให้หอมน่ากิน ช่วงเวลาที่เติมหางหวายในเอาะหลามเพื่อไม่ให้มีรสขม และผักที่เพิ่มเข้าไปในตอน ท้ายไม่ให้สุกจนเกินไป ทำ�ให้ทราบความใส่ใจและพิถีพิถันเพื่อเอาใจคนกินอย่างยิ่งถึงเวลาสำ�หรับผู้ที่สนใจเมนูนี้ได้ ตระเตรียมเครื่องปรุงแล้วลงมือทำ�กันดู ไม่มีสูตรที่แน่นอนสำ�หรับเอาะหลามเพราะไม่มีกฎตายตัวเกี่ยวกับ วิธีการทำ� บางคนใส่ผักสดและเห็ดในปริมาณมากจนเป็นจานเหมือนอ่อมผัก (ผักออ) อ้างอิง ใช้ชีวิตให้มีความสุข. (2556, สิงหาคม 23). วิธีทำ เอาะหลามลาว. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่ง ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/nangnaree/2013/08/23/entry-1 เพียสิง จะเลินสิน. (2553). รับอาหารพระราชวังหลวงพระบาง แปลโดย จินดา จำ�เริญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ผีเสื้อลาว. นันทนา ปรมานุศิษฏ์. (2556). โอชาอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มติชน. สมาคมแม่น้ำ�เพื่อชีวิต. เมนูที่ 3 เอาะหลาม กลุ่มชาติพันธุ์ลาว. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่งที่มา https://www.matichon.co.th/lifestyle/food-travel/news_1072914 55


6. เมี่ยงโค้น เมี่ยงค้น หรือ เมี่ยงโค้น เป็นคำ�เรียกชื่อเมี่ยงของชาวไทหล่ม สันนิษฐานว่าคำ�ว่า “เมี่ยงโค้น” น่าจะแผลงคำ�มาจาก คำ�ว่า “เมี่ยงค้น” ซึ่งหมายถึง การนำ�ใบไม้มาห่อของกินที่ค้นมาจากในครัว หรือสวนครัว (พรรนิภา สมโนชัย, 2541) เมี่ยงโค้นนำ ผักสวนครัวที่มีคุณค่าทางสมุนไพร พื้นบ้านกว่า 10 ชนิด นำ�มาเป็นเครื่องเมี่ยง (ไส้เมี่ยง) หนังหมูเจียวและห่อด้วยใบส้มกบความโดดเด่นของ เมี่ยงโค้นอยู่ที่น้ำ�เมี่ยงที่ปรุงจากปลาร้าหล่มรสชาติเข้มข้น ซึ่งแต่ละบ้านจะมีกรรมวิธีและเคล็ดลับในการนำ�ปลาร้า มาปรุงเป็นน้ำ�เมี่ยงที่มีความแตกต่างกันไป ภาพที่ 21 เมี่ยงค้น หรือ เมี่ยงโค้น ที่มา: อัมรินทร์ชูฤทธิ์, ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565, จาก https://www.77kaoded.com/ news/ เมนูเมี่ยงโค้นนั้นเป็นเมนูเพื่อสุขภาพมีสมุนไพรหลายชนิดที่มีสรรพคุณต้านไวรัส เช่น กระชาย ขิง เป็นต้นสามารถทานได้ทั้งคนต่างถิ่นและลูกค้าชาวต่างชาติที่มีการปรุงน้ำ�เมี่ยงจากสมุนไพรหลายชนิดรวม กันให้มีรสชาติโดยไม่ต้องใส่ผงชูรสเมี่ยงโค้นเป็นอาหารกินเล่นเป็นเมนูสามัคคีสืบทอดมากับคนไทเลยหลาย ชั่วอายุคนเป็นเมนูสร้างมิตรภาพเป็นอาหารกินเล่นคล้ายออเดิบทุกอย่างทั้งหมดในชุดส่วนมากจะเป็นผัก กินคนเดียวไม่อร่อยต้องทานรวมกันหลายคน (3-5 คนขึ้นไป) ส่วนผสม 1. ไส้เมี่ยง 1.1 กล้วยน้ำ�ว้าดิบ 1.2 หอมแดง 1.3 กระเทียม 1.4 ข ่า 1.5 ตะไคร้1.6 พริกขี้หนูสด 1.7ขิง1.8 มะเขือส้ม (มะเขือเครือ)1.9ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะดัน มะเฟือง มะปรางอ่อน 1.10 แคปหมู (หนังหรือมันหมูเจียว) 1.11 เนื้อสัตว์สุก เช่น ปูนา เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมูเนื้อวัว เนื้อปลาร้าฉีก ภาพที่ 22 ส่วนผสมของเมี่ยงค้น หรือ เมี่ยงโค้น ที่มา: สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม, มหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบูรณ์, 2559 : 4 2. ใบเมี่ยง เช่น ใบขนุน ใบส้มเรียง ใบมะยม ใบสีหวด ใบชมพู่ ใบมะม่วงหิมพานต์ในหูกวาง ใบขี้นาก ใบชะพลูคะน้า สลัด ใบหม่อน พลูคาวตามที่สามารถหาได้แต่ที่นิยมคือ ใบส้มกบ 3. น้ำ เมี่ยง 3.1 น้ำ�ตาลอ้อย 3.2 ผงปรุงรส 3.3 น้ำ�มะขามเปียก3.4 น้ำ�ปลาร้าต้มสุก (เข้มข้น) 56


วิธีปรุง 1. ล้างผักทุกชนิดให้สะอาด แล้วพักให้สะเด็ดน้ำ� 2. หั่นทุกอย่างเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็ก ๆ ขนาด 0.5 เซนติเมตร หรือเล็กกว่านี้ 3. ทำ�น้ำ�เมี่ยง โดยต้มน้ำ�ปลาร้าชนิดเข้มข้นที่เตรียมไว้ใส่น้ำ�ตาลอ้อย น้ำ�มะขามเปียก ปรุงรสตามชอบ เคี่ยวด้วยไฟกลาง จนน้ำ�เมี่ยงข้นพอสมควร วิธีรับประทาน วิธีทานเมี่ยงโค้น ใส่สมุนไพรหลายอย่างที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตะไคร้พริกสด กระเทียม หอม ขิง ข่า กล้วย ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวตามฤดูกาล เช่น มะม่วง มะดัน มะเฟือง มะปรางอ่อน ลงไปในใบเมี่ยง เช่น ใบขนุน ใบส้มเรียง ใบมะยม ใบสีหวด ใบชมพู่ ใบมะม่วงหิมพานต์ ในหูกวาง ใบขี้นาก ใบชะพลูคะน้า สลัด ใบหม่อน พลูคาว ตามที่สามารถหาได้แต่ที่นิยมคือใบส้มกบ ซึ่งเป็นพืช พื้นบ้านที่ชาวไทหล่มต้องปลูกติดบ้านไว้ เสมอเมื่อรวมของชิ้นเล็กๆ หลายชิ้น ไว้ในห่อเมี่ยง จะมีขนาดใหญ่ ซึ่งภาษาไทหล่ม เรียกว่า “โค้น” แปลว่า “ใหญ่” อาจทานคู่กับเครื่องเคียงอื่น ตามความชอบ เช่น ขนมเส้น (ขนมจีน) แคปหมู ถั่วลิสงคั่ว ผักเคียง เช่น ผักแพรว สะแน่เป็นต้น ภาพที่ 23 ลักษณะการห่อเมี่ยงโค้นชาวไทหล่ม ที่มา: สำ�นักงาน อ.ส.ท.,การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจาก https://osothoonline.com/phetchabun อ้างอิง สำ�นักงาน อ.ส.ท., การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ชีวิตไทหล่ม จากการสั่งสมและส่งต่อ.ใน อนุสาร อ.ส.ท. [ออนไลน์]. (2563, ตุลาคม 29). ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่งที่มา https://osothoonline.com/phetchabun สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. (2559). เมี่ยงค้น. ใน เอกสารประกอบ การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเพชรบูรณ์” การเก็บ รวบรวมข้อมูลทางด้านวัฒนธรรมเพชรบูรณ์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลทางด้านวัฒนธรรมให้ เป็นระบบ ปีการศึกษา 2559. อัมรินทร์ชูฤทธิ์. (2564, ตุลาคม 12). เลย เมี่ยงโค้น คนเลยสูตรโบราณนับ 100 ปี. 77ข่าวเด็ด ฉบับ วันที่ 21 ตุลาคม 2564. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่งที่มาhttps://www. 77kaoded.com/news/amarin/2181249 AMARINTV: อมรินทร์ทีวี. ตามอำ เภอจาน ตะลุยหาวัตถุดิบทำ เมี่ยงค้น จ.เพชรบูรณ์. [สื่อมัลติมีเดีย ชนิดออนไลน์]. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่งที่มา https://www.youtube. com/watch?v=CvWk8lfsHC4 57


7. ออดอ้อ “ออดอ้อ” หรือ “อ่อดอ้อ” เป็นชื้อของพืชน้ำ�ชนิดหนึ่ง ชื่อสามัญ เรียกว่า “สาหร่ายลอน” หรือ “สาหร่ายไข่หิน” Nostochopsisอยู่ในตระกูลสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำ�เงิน ชนิด Nostochopsis lobatus Wood ในวงศ์Nostochopsidaceae มีลักษณะเป็นก้อนค่อนข้างกลมเล็ก หรือรีรูปไข ่ สีเขียวแก่ ลื่นมือ เส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 0.5 – 2.0 เซนติเมตร ต้นอ่อนมีผิวเรียบ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีผิวขรุขระ เมื่อฉีกออก ดูจะมีลักษณะคล้ายวุ้น สามารถกินได้ สาหร่ายลอนหรือสาหร่ายไข่หิน ในบางท้องถิ ่นเรียกว ่า ไข่หิน หรือ ดอกหิน (ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เห็ดหิน (ภาคกลางและภาคเหนือ) เห็ดลาบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และเห็ดยาควร (ภาคเหนือ) ส่วนในจังหวัดเพชรบูรณ์ เรียกว่า ออดอ้อ หรือ อ่อดอ้อ เป็นกลุ่มเดียวกับ Spirulina เป็นสาหร่ายที่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินเกลือแร่และมีรงควัตถุหลายชนิดที่ สามารถช่วยให้เกิดประโยชน์มากมาย นอกจาก นี้สาหร่ายลอนยังมีซีลีเนียมซึ่งมีสารป้องกัน การเกิดอนุมูลอิสระ และมีแคลเซียมสงู (Peerapornpisal, 2006) ภาพที่ 23 สาหร่ายจากภาคเหนือของประเทศไทย ที่มา: ศรีประภา บุตรดามา และคณะ, 2557 : 64) แหล่งที่พบในจังหวัดเพชรบูรณ์พบมากในบริเวณ บ้านขี้นาคตำ�บลวังบาลอำ�เภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ขึ้นตามนาข้าวที่มีน้ำ�ท่วมขัง ปกติพบในสภาพธรรมชาติจะ มีลักษณะเป็นก้อนวุ้นนิ่ม ค่อนข้างเหลว เมื่อนำ�มาเพาะ เลี้ยงโดยศึกษาสัณฐานวิทยาในวงจรการเจริญเติบโตและ สภาพการเพาะเลี้ยงที่เหมาะสม ทำ�ให้มีการเปลี่ยนรูปร่าง เป็นรูปร่างกลม เนื้อแน่น มีสีเขียวแกมน้ำ�เงิน มีประกาย คล้ายไข ่ปลาคาร์เวีย แต่ไม่มีกลิ่นและรส เริ่มเจริญใน ปลายฤดูฝน สูงสุดในช่วงฤดูหนาว และหมดไปในช่วงต้น ของฤดูร้อน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับทั้งปัจจัยกายภาพ ได้แก่ ระยะเวลาการรับแสงในแต่ละวัน อุณหภูมิของน้ำ� และปัจจัยเคมีได้แก่ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ� ปริมาณออร์โธฟอสฟอรัส แอมโมเนียม ฟอสฟอรัส ภาพที่ 24 ลักษณะของออดอ้อ และวิธีการเก็บอดอ้อ ทั้งหมด ไนเตรท และเหล็กตามลำ�ดับ ที่มา: ทุกทิศทั่วไทย Thaipbs. (2557, ตุลาคม 28). จาก https://www.facebook.com/Tpbslocal/ posts/891245067567466/) 58


การสืบพันธุ์ออดอ้อ หรือ อ่อดอ้อ เปนพืชชั้นต่ำ� ไมมีสวนที่เป็นราก ลําต้นและใบที่แทจริงมีขนาดเล็กมาก มีเซลเดียวไปจนถึงขนาดใหญ ่ที ่มีเซลเปนจํานวนมากการแบงสาหรายสามารถจําแนกตามรูปลักษณะภายนอก หรือดูตามสีซึ่งอาจแบงเปนสาหรายสีเขียว เขียวแกมน้ำ�เงิน สีน้ำ�ตาล และสีแดง สาหรายใชวิธีการสืบพันธุทั้งโดย อาศัยเพศและไมอาศัยเพศ ประโยชน์ของออดอ้อ มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก จากผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายดังกล่าว ทางการแพทย์พบว่ามีสรรพคุณในการรักษาระบบกระเพาะอาหารและลำ�ไส้ รวมทั้งช่วยลดอาการร้อนในช่วยลดคอเลสเตอรอล ได้เนื่องจากมีไขมันเพียงร้อยละ 1.56 และยังมีใยอาหาร ถึงร้อยละ 43 สามารถป้องกันโรคมะเร็งลำ�ไส้ได้นอกจากนี้มี วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 และแร่ธาตุต่าง ๆ อาทิแคลเซียม และเหล็กซึ่งช่วยป้องกันโรคเก๊าต์ตาบอดใน เวลากลางคืนตลอดจนมีกรดอะมิโนที ่จำ�เป็นต ่อร ่างกาย เช ่น เมไทโอนีน ไลซีน โพรลีน ซีรีน ไทโรซีน และอะลานีน เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ภาพที่ 25 ออดอ้อ น้ำยาปู ที่มา : สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. จาก https://www.m-culture.go.th/phetchabun/ewt_news.php?nid=1598&- filename=index ภูมิปัญญาจีนมีความเชื ่อว ่า การบริโภคสาหร ่ายในสกุลนอสตอค รักษาโรคเก๊าต์มะเร็ง ตาบอด ในเวลากลางคืนแผลไฟไหม้น้ำ�ร้อนลวกตลอดจนอาการเจ็บป่วยต่างๆส่วนภูมิปัญญาญี่ปุ่นพบว่าจะช่วยในการลด โคเลสเตอรลและป้องกันการเกิดมะเร็งลำ�ไส้ อ้างอิง ลออรัตน์เวชกุล. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของสาหร่ายไข่หิน Nostochopsis Lobatus Wood em. Geitler. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ภาควิชา พฤกษศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิถีชาวบ้าน. (2557, มิถุนายน 6). วิถีการหาพืชน้ำ ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่าอ่อดอ้อ. [สื่อมัลติ มีเดียชนิดออนไลน์]. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่งที่มา https://www. youtube.com/ watch?v=aPWe21wvWyA ศรีประภา บุตรดามา และคณะ. (2557). สภาวะที่เหมาะสมและคุณค่าทางโภชนาการการเพาะเลี้ยงสาหร่าย ไข่หินและสาหร่ายลอนในการใช้เป็นอาหารปลาสวยงาม. ใน วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง, ปีที่ 8 (ฉบับที่ 1). (2557, มกราคม - มิถุนายน) : 64. Peerapornpisal, P. (2006). Phycology. Department of Biology, Faculty of Science, Chiang Mai University, Chiang Mai. 546 p. [in Thai] Wison Kositanont. (2563, ตุลาคม 11). ออดอ้อ. [สื่อมัลติมีเดียชนิดออนไลน์]. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่งที่มา https://www.youtube.com/watch?v=yo-vqMjLhkY 59


8. ต้มซั้ว ซั้ว หมายถึงชื่อแกงชนิดหนึ่ง มักต้มผักหลายชนิดให้สุกก่อนแล้วจึงนำ�มาหั่นหรือฉีกเป็นชิ้นเล็กๆใส่ลงในหม้อ ต้มใหม่พร้อมกับเครื่องปรุงประสมปลาร้า เช่น ซั้วไก่ซั้วกบ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน,2556) “ต้มซั้ว” เป็นวิธีการปรุงอาหารลักษณะ หนึ่งที ่เน้นความจัดจ้านของรสชาติมีความเผ็ด และเปรี้ยวนำ� รสจะคล้ายๆกับต้มยำ�แต่จะเป็นต้มยำ� ในแบบฉบับของชาวอีสาน คำ�ว่า “ซั่ว หรือ ซว้า” คือวิธีการนำ�เนื้อสัตว์มาต้มหรือย่างให้สุกเสียก่อน แ ล้ ว จึง นำ � เ นื้ อ ที่ ไ ด้ ม า ป รุง ใ ห้ มี ร ส ชาติ ใ ห้ มี ความเปรี้ยวเผ็ด เค็มเป็นหลักโดยใส่ผักเครื่องยำ�หอมๆ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ภาพที่ 26 ต้มซั้วไทหล่ม ที่มา: Jenjira Alinta. (2557, กุมภาพันธ์4) จาก https://jarinya25811.wordpress.com ส่วนผสมไก่บ้านต้มแล้วฉีกเอาแต่เนื้อ 1 ½ ถ้วยตวง(350กรัม) / น้ำ�ปลาร้า 2ช้อนโต๊ะ/ น้ำ�ปลา 1ช้อนโต๊ะ พริกแห้งคั่วป่น 1 ช้อนโต๊ะ / ข้าวคั่วป่น 1 ช้อนโต๊ะ ข่าหั่นแว่น 4 แว่น/ ตะไคร้บุบหั่นท่อน 2 ต้น / หอม หัวแดงบุบ 3 หัว /น้ำ�เปล่า 4 ถ้วยตวง /เกลือ 1 ช้อนชา / คนอร์ซุปหมูก้อน 1 ก้อน / น้ำ�มะขาม 2 ช้อนโต๊ะ / ผักชีฝรั่งซอย 1 ต้น / ใบสะระแหน่ 10 ยอด / ผักแพวซอย 6 ยอด / ต้นหอมซอย 2 ต้น ภาพที่ 27 เครื่องปรุงสำ หรับทำ ต้มซั้วไก่ ที่มา: Jenjira Alinta. (2557, กุมภาพันธ์4) จาก https:// jarinya25811.wordpress.com วิธีปรุง 1. นำ�ไก่บ้านไปล้างให้สะอาด 2. ตั้งหม้อ ใส่น้ำ�สะอาดลงไป ใส่ข่าตะไคร้ทุบ ใส่ใบมะกรูด ใส่เกลือ ผงปรุงรสไก่ 3. พอน้ำ�เดือดก็นำ�ไก่ใส่ลงไปในหม้อทั้งตัว 4. ระหว่างรอไก่สุก ก็ซอยหอมกระเทียมและผักแพว 5. พอไก่สุกก็เอาออกจากหม้อ นำ�ไก่มาเลาะเนื้อออกจากกระดูก แล้วฉีกเนื้อไก่ 6. จากนั้น นำ�เนื้อไก่ที่ฉีกเสร็จแล้ว ใส่หม้อเดิมและน้ำ�ซุปเดิมที่ต้มไก่ไปก่อนหน้านี้รอจน น้ำ�เดือด ปิดแก๊ส 7. ตักใส่ถ้วย และโรยหน้าด้วยหอมแดง กระเทียม และผักแพวซอย 8. ชิมรสแล้วปรุงรสด้วยมะนาว พริกป่น ใครชอบรสเค็มรสหวานก็ใส่น้ำ�ปลาหรือน้ำ�ตาลตาม ใจชอบ 60


สำ หรับต้มซั้วไก่บ้าน อาจเพิ่มข้าวคั่ว น้ำ�ปลาร้า น้ำ�มะขาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ทาน ภาพที่ 28 การต้มซั้วที่มีน้ำ พอสมควร ที่มา: Jenjira Alinta. (2557, กุมภาพันธ์4) จาก https://jarinya25811.wordpress.com ภาพที่ 29 การปรุงรสเปรี้ยวต้มซั้วด้วยมะนาว ที่มา: Jenjira Alinta. (2557, กุมภาพันธ์ 4) จาก https://jarinya25811.wordpress.com อ้างอิง จันทร์แจ ่ม ดวงอุปะ และคณะ. (2560). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารพื้นบ้านไทเลย. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์. วันดีณ สงขลา และวิบูลเพ็ญ ชัยปาณี. (2549). อาหารไทย / วิธีปรุงอาหารไทย ใน สารานุกรมไทย สำ หรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เล่ม 13). กรุงเทพฯ: อม รินทร์พริ้นติ้ง. Jenjira Alinta. (2557, กุมภาพันธ์4). ต้มซั่วไก่บ้าน. [สื่อมัลติมีเดียชนิดออนไลน์]. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่งที่มา https://jarinya25811.wordpress.com/ประเภทต้ม/ต้มซั่วไก่บ้าน/ 61


9. หลาม หลาม หมายถึง เอาของใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก เช่น หลามข้าว, เรียกข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอก ไม้ไผ่แล้วเผาให้สุกว่า ข้าวหลาม ล้นแผ่เลยออกมา เช่น คนไปฟังปาฐกถาล้นหลามออกมานอกห้อง, โดยปริยาย หมายความว่า ใหญ่เกินพอดีเช่น พุงหลาม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2556) การหลาม เป็นการทำ�อาหารให้สุกในกระบอกไม้ไผ่โดยใช้ไม้ไผ่สดๆตัดให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่งแล้วบรรจุอาหาร ที่ต้องการหลามในกระบอกไม้ไผ่นั้นก่อนหลามต้องใช้กาบมะพร้าวห่อใบตองอุดปากกระบอกเสียก่อนแล้วนำ�ไปเผา จนสุก เช่น การหลามข้าวหลาม เป็นต้น (สารานุกรมไทยสำ�หรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว (วันดีณ สงขลา และวิบูลเพ็ญ ชัยปาณี), 2549) หลามเป็นอาหารพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง นิยมทำ�กินกันตามไร่นาที่ไม่มีอุปกรณ์เครื่องครัว มักจะปรุงใน กระบอกไม้ไผ่แล้วนำ�ไปเผาเหมือนเผาข้าวหลามนิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ไก่หมูเนื้อ กุ้ง หอย ปูปลา เป็นต้น และผักชนิดต่าง ๆ ที่หาได้ตามไร่นา กระบอกไม้ไผ่จะใช้ไม้ไผ่เฮียะอายุประมาณ 1 ปี เหตุที่ใช้ไม้ไผ่เฮียะเพราะกระบอกไม้ไผ่เฮียะมีความหนาของ กระบอกบางทำ�ให้อาหารสุกเร็ว และจะได้กลิ่มหอมจาก กระบอกไม้ไผ่ถ้าไม้ไผ่อายุเกิน 1 ปีจะไม่มีกลิ่นหอมของ ไม้ไผ่วิธีการทำ�หลามก็ทำ�ง่าย ๆ คือนำ�เครื่องปรุงทุกชนิด ใส ่ลงไปพร้อมกันในกระบอกไม้ไผ ่เฮียะแล้วนำ�ไปเผาให้ สุกเป็นอันเสร็จกรรมวิธีในการหลามมารับประทานกับข้าว เหนียวร้อน ๆ ภูมิหลังชาวไทหล่มมักมีวิถีชีวิตการทำ� อาหารด้วยการหลามจากไม้ไผ่ นำ�ปลาน้ำ�จืดมาหลาม กินกับข้าวเหนียวหลามหรือข้าวนึ่งนุ่ม ๆ(จันทร์แจ่ม ดวงอุปะ และคณะ, 2560 : 43-46) ภาพที่ 30 การปรุงอาหารด้วยวิธีการหลาม ที่มา : JiRa MoNDay. (2556, กรกฏาคม 22). จากhttp://www.painaidii.com/ review/84365/khum-rua-keaw-10300/ lang/en/) ส่วนผสม ปลาช่อน 200 กรัม/ ก้านทูน 50กรัม/หวาย50กรัม/ตาว50กรัม/สะข่าน 20 กรัม/มะเขือ10กรัม/ผักขี้นาก10กรัม/ผักชีลาว 10 กรัม/ผักชะอม 10 กรัม/พริก 5 เม็ด/หอมแดง 5 หัว/ตะไคร้2 หัว/เกลือ1ช้อนชา/ปลาร้า 100 กรัม ภาพที่ 31 เครื่องปรุงสำ หรับการหลามปลา ที่มา : JiRa MoNDay. (2556, กรกฏาคม 22). จากhttp://www.painaidii.com/ review/84365/ khum-rua-keaw-10300/lang/en/) 62


วิธีปรุง 1. นำ�ปลาช่อนไปล้างให้สะอาด 2. เผาก้านทูนให้สุก (แก้ฝาด) ปอกเปลือกออกนำ�ไปล้างให้สะอาด แช่น้ำ�ทิ้งไว้ 3. ยอดหวายเผาให้สุก (ลดความขม) ปอกเปลือกออกล้างน้ำ�ให้สะอาด ตัดเป็นชิ้นพอคำ� 4. ยอดตาว ปอกเปลือกออกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำ�ไปแช่น้ำ�เพื่อไม่ให้เป็นสีน้ำ�ตาล 5. ใส่ปลาร้าและเกลือเล็กน้อยลงไปในกระบอกไม้ไผ่ทุบพริก หอมแดงและตะไคร้ใส่ลงไป 6. ใส่ไก่ สะข่าน ก้านทูน หวาย ตาวและมะเขือลงไป ใส่น้ำ�พอท่วม นำ�ไปเผาจนทุกอย่างในกระบอกสุก ใส่ผักชีลาว ชะอมและผักขี้นากลงไป พอผักยุบ ยกลงรับประทานได้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหลามประกอบด้วย 1) ไม้ไผ่ ต้องคัดเลือกไม้ที่มีขนาดและอายุกำ�ลังพอดีไม่แก่ หรืออ่อนเกินไปเพื่อให้มีเยื่อเหนียว เมื่อผ่าออกมาแล้วหุ้มติดข้ามหลามสวยงาม 2) ใบตองแห้ง สำ�หรับใช้ทำ�จุกปิด กระบอก 3) เตาเผาทำ�ให้สะดวกในการเผามีลักษณะยกสูงประมาณ 50 เซนติเมตร กว้าง 70 เซนติเมตร ยาว 10 เมตร ก่อด้วยปูนซีเมนต์ส่วนบนเป็นแกนใช้เหล็กแป๊บน้ำ�ยาว 10 เมตร วางตามแนวยาวของเตาสำ�หรับไว้ พิงกระบอก ใช้ดินเหนียวผสมแกลบปั้นหุ้มที่แกนเหล็กนั้น เพื่อให้ความร้อนระอุเสมอกัน สามารถวางกระบอกที่จะ เผาได้ทั้ง 2 ข้างในลักษณะตั้งกระบอกขึ้นหัวจุกชนกัน 4) เชื้อเพลิงที่ใช้เผา ประกอบด้วยเปลือกไม้ไผ่ที่ปอกจาก กระบอกที่สุกแล้ว และถ่าน อัตลักษณ์ที่โดดเด่นหลามปลาเป็นการปรุง อาหารโดยการบรรจุอาหารในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำ�ไป เผาให้สุก และมีกลิ่นหอมดีชาวบ้านมักหลามปลาก้าง ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ตามแหล่งน้ำ�ตามลำ�ห้วยบนภูเขา น้ำ�เย็น ไหลตลอดปีนำ�มาปรุงเป็นกับข้าวใส่ในกระบอกไม้ไผ่ แล้วนำ�ไปเผาไฟ แทนการหุงต้มจากเตาถ่านจะมีกลิ่น หอมน่ารับประทาน การหลามปลาต้องใส่ปลาในขั้นตอน สุดท้ายเพราะเนื้อปลาจะเละ ภาพที่ 32 หลามปลาช่อน ที่มา : JiRa MoNDay. (2556, กรกฏาคม 22). จากhttp://www.painaidii.com/review/84365/ khum-rua-keaw-10300/lang/en/) อ้างอิง จันทร์แจ่ม ดวงอุปะ และคณะ. (2560). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารพื้นบ้านไทเลย. เลย: มหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์. วันดีณ สงขลา และวิบูลเพ็ญ ชัยปาณี. (2549). อาหารไทย / วิธีปรุงอาหารไทย ใน สารานุกรมไทยสำ หรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เล่ม 13). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง. JiRa MoNDay. (2556, กรกฏาคม 22). ปลาช่อนเผาในกระบอกไม้ไผ่. [สื่อมัลติมีเดียชนิดออนไลน์]. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่งที่มา http://www.painaidii.com/review/84365/khum-rua- keaw-10300/ 63


10. มะขามกวน การกวนเป็นการถนอมอาหาร โดยการนำ�เอาผักผลไม้หรือธัญพืช ธัญพืช หมายถึง เมล็ดข้าวชนิดต่างๆ มาผสม กับน้ำ�ตาล ใช้ความร้อนเคี่ยว กวนจนปริมาณน้ำ�ตาลลดลงและผสมเป็นเนื้อเดียวกันการใส่น้ำ�ตาล อาหารชนิดนี้เก็บได้ นาน เนื่องจาก มีน้ำ�ตาลสูงประมาณ 75 % (โดยหมัก) สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้การกวนมี2 วิธี คือใส่น้ำ�ตาลแต่น้อยใช้กวนผลไม้เพื่อทำ�แยม เยลลี่ เป็นต้น และการกวนโดยใช้น้ำ�ตาลมาก เช่น การกวนผลไม้แบบแห้ง เช่น กล้วยกวน สับปะรดกวน ทุเรียนกวน เป็นต้น (ธีรวินทฉิมมา, 2553: 33 - 34) การแปรรูปมาจากมะขามเป็นมะขามกวน ซึ่งเป็นเมนูขนมหวานจากจังหวัดเพชรบูรณ์แต่เป็นที่ชื่นชอบของ คนอีสานนิยมทานเล่นและบางคนก็นิยมกินกับข้าวเหนียว มะขามกวนมีรูปแบบ 2 ประเภท คือแบบแห้งที่สามารถเก็บ ได้นานและแบบน้ำ�ที่มีการเพิ่มน้ำ�กะทิลงไปวัตถุดิบส่วนผสมหลัก คือ มะขาม โดยมะขามจัดเป็นผลไม้ที่พบได้ทุกภาค ในประเทศไทยแต่จังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องมะขามคงต้องยกให้กับจังหวัดเพชรบูรณ์อีกทั้งมะขามกวนเพชรบูรณ์ก็ยังได้รับ ความนิยมทั่วประเทศ ภาพที่ 33 มะขามกวน ของฝากจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มา: banana_kingkanoksol (2564, พฤษภาคม 15) จาก https://www.kaidee.com/ product-361904485) ส่วนผสม ประกอบด้วย มะขามแกะเมล็ดแล้ว 3 กิโลกรัม (มะขามหวาน) /มะพร้าวขูด 8 กิโลกรัม / มะพร้าวทึนทึกซอยละเอียด2กิโลกรัม /น้ำ�ตาลทราย 4กิโลกรัม /แบะแซ 2 กิโลกรัม /เกลือป่น 50กรัม /นมข้น หวาน 1 กระป๋อง/น้ำ�สำ�หรับคั้นกะทิ4 กิโลกรัม วิธีทำ 1. คั้นกะทิด้วยน้ำ� 4 กิโลกรัม แยกหัวกะทิ2 กิโลกรัม หางกะทิ2 กิโลกรัม 2. นำ�หัวกะทิตั้งไฟเคี่ยวให้แตกมัน พักไว้ 3. นำ�หางกะทิมาตั้งไฟและใส่มะขามลงไป ต้มให้เดือดแล้วบดละเอียด 4. นำ�มะขามที่บดกับหางกะทิตั้งไฟและคอยเติมมะพร้าวซอย คนให้เข้ากัน 5. กวนไปเรื่อย ๆ เติมหัวกะทิทีละน้อย เติมน้ำ�ตาลทีละน้อย จนหมดใส่แบะแซคนให้เข้ากัน 6. เติมนมข้น เกลือ 7. แล้วกวนต่อไปจนได้ที่คือ มะขามร่อนไม่ติดกระทะใช้ได้ 8. ปล่อยให้เย็น แล้วนำ�มาบรรจุหีบห่อ ตามต้องการ สูตรนี้ใช้เวลากวนประมาณ 5 ชั่วโมง จะได้มะขาม กวน 12 กิโลกรัม 64


เทคนิคการกวน 1. เมื่อเริ่มกวนให้ใช้ไฟปานกลาง พอเริ่มงวดให้ลดไฟอ่อน ต้องคอยคนตลอดเวลาและระวังอย่าให้อาหารไหม้ ติดกระทะ ถ้าไหม้ต้องเปลี่ยนกระทะทันที 2. การกวนกับน้ำ�ตาลอย่างเดียว เช่น มะละกอกวนเส้น จะได้อาหารกวนที่ตกผลึก แข็งไม่ใส ถ้าใส่น้ำ�มะนาว เป็นส่วนผสมด้วยขณะกวน จะได้อาหารกวนใส เหนียวและน้ำ�ตาลไม่ตกผลึก (ก) เริ่มกวนระยะแรก (ข) มะขามกวนที่กวนจนได้ที่ ภาพที่ 34 การกวนมะขาม ที่มา: banana_kingkanoksol (2564, พฤษภาคม 15) จาก https://www.kaidee.com/pro-uct-361904485 คุณค่าทางโภชนาการ สำ�หรับมะขามกวนเป็นขนมหวานที่นิยมของคนภาคอีสานปัจจุบันชาวบ้านนำ� มะขามเปรี้ยวมาแปรรูปเป็นมะขามกวน ผลิตภัณฑ์ที่ ได้มีรสแปลกไปจากเดิม รสชาติอร่อย เปรี้ยวหวาน มันกำ�ลังดีเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคแถมยังมีประโยชน์มากโดยมะขามกวนมีส่วนประกอบของน้ำ�ตาลหัวกะทิ เนื้อมะพร้าวและนมข้นหวานซึ่งเป็นอาหารที่ให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้พลังงานส่วนรสที่มีความ เปรี้ยวของมะขาม มีสารที่ช่วยระบายท้องมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอ่อน ๆ จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำ�งานปกติ อ้างอิง ธีรวินทฉิมมา. (2553). การวิเคราะหธุรกิจแปรรูปมะขามหวานในจังหวัดเพชรบูรณ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และทรัพยากร. banana_kingkanoksol. (2564, พฤษภาคม 15). มะขามกวน. ใน Kaidee แหล่งซื้อขายของออนไลน์ใน ประเทศไทย. [สื่อมัลติมีเดียชนิดออนไลน์]. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่งที่มา https:// www.kaidee.com/product-361904485 Chefoldschool. (2563, พฤศจิกายน 11). บ่ายมะขาม (มะขามกวน) เมนูขนมหวานขวัญใจคนอีสาน. [สื่อมัลติมีเดียชนิดออนไลน์]. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์10, 2565. จากแหล่งที่มา https://chefoldschool. com/2020/11/11/บ่ายมะขาม-มะขามกวน-เมนู/ 65


หน่วยที่ 5 งานชั่งฝีมือดั้งเดิม ผ้าทอ เป็นสัญลักษณ์ของคนในแต่ละชุมชนแสดงถึงเชื้อชาติเผ่าพันธุ์และความแตกต่างทางวัฒนธรรม ผ้าทอยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำ รงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนถึงตายและมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมการทอผ้าเริ่มจากการสานมนุษย์เริ่มสานต้นหญ้าอ่อนเพื่อใช้ใส่วัสดุสิ่งของและต่อมากลายเป็น เสื่อตะกร้าและพัฒนามาเป็นวิธีการต่อต้นพืชเพื่อเป็นเส้นที่ยาวและทำ ให้เหนียวขึ้น สามารถรับน้ำ หนักได้มากขึ้น จนกระทั่งมีการคิดค้นวัสดุการทอจากพืชมาเป็นเส้นใย เช่น ฝ้าย รู้จักวิธีการทออย่างง่ายคือการนำฝ้ายมาผูกกับหิน เป็นเส้นยืนและใช้เส้นพุ่งเข้าไปเวลาทอ ในอดีตเด็กผู้หญิงทุกคนจะถูกฝึกหัดให้รู้จักการทอผ้าและเย็บปักถักร้อยซึ่งเป็นสิ่ง ที่จำ เป็นในการดำรงชีวิต ในชุมชนภาคเหนือผ้าทอยังคงบทบาททางสังคมและวัฒนธรรมนอกจากบทบาททางการค้ายังมี การใช้ผ้าในประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ดังนั้นการสืบทอดความคิด ความเชื่อ แบบแผนทางสังคมจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่น ใหม่และพัฒนาศักยภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเพื่อการดำ รงอยู่ของวัฒนธรรมควบคู่กับ การพัฒนาเป็นอาชีพและรายได้ของคนในชุมชน (krupaewka.ผ้าทอและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มา : https://krupaewka. wordpress.com/2012/05/27/ความสำคัญของผ้าพื้นเมือง/ สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565) วีดีทัศน์ เสน่ห์ผ้าทอ สู่ถนนสายวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ (ที่มา : วิศัลย์ โฆษิตานนท์. ที่มา https://www.facebook.com/wisonk สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565) 1. ผ้ามัดหมี่ เพชรบูรณ์ ลวดลายผ้ามัดหมี่พื้นเมืองเพชรบูรณ์ ผ้ามัดหมี่เป็นผ้าพื้นเมืองของเพชรบูรณ์ มีลักษณะลวดลายแตกต่าง จากผ้ามัดหมี่ของพื้นเมืองอีสาน ลักษณะผ้ามัดหมี่ของอีสานลวดลายค่อนข้างใหญ่ ส่วนลายมัดหมี่ของเพชรบูรณ์นั้น เป็นลายค่อนข้างเล็ก อาศัยความละเอียดความเพียรพยายามในการทำ มากกว่าลายมัดหมี่ของอีสาน ด้วยเหตุที่ ผ้ามัดหมี่ของเพชรบูรณ์มีความยากลำ บากในการทำ รวมทั้งลายต่าง ๆ มักจะเป็นลายเล็ก ๆ ดังนั้นถ้าจะดูความสวยงาม ของผ้ามัดหมี่พื้นเมืองเพชรบูรณ์จะต้องใช้ความสังเกตจึงจะเห็นความสวยงามความละเอียดของลายได้ถ้าจะเปรียบเทียบ ความงามผ้ามัดหมี่อีสานกับผ้ามัดหมี่เพชรบูรณ์แล้วก็คงจะพอเทียบได้กับความงามของหญิงสาวสองประเภทคือ ประเภทที่หนึ่ง “สวยพิศ” อีกประเภทหนึ่ง “สวยผาด” สรุปแล้วก็คือสวยทั้งสองคน คนที่สวยพิศนั้นเปรียบเหมือน ผ้ามัดหมี่ของเพชรบูรณ์ ส่วนคนที่สวยผาดนั้นเปรียบเหมือนผ้ามัดหมีของอีสาน 66


ผ้ามัดหมี่เป็นผ้าที่มีขบวนการในการทำ ค่อนข้างจะยากดังนั้นการนำ ไปใช้จึงเลือกโอกาสพอสมควรโอกาสที่ นิยมนุ่งผ้ามัดหมี่มีดังนี้ งานบวช งานแต่ง งานไปทำ บุญทุกชนิด เช่น ขึ้นบ้านใหม่ตักบาตรวันเข้าพรรษาออกพรรษา ฯลฯ เป็นต้น ผู้หญิงที่นิยมนุ่งผ้ามัดหมี่จะมีอายุระหว่าง 15-16 ปี ไปจนถึงวัยชราถือว่าเป็นการแต่งกายตามประเพณี ลายมัดหมี่การวางลายจะวางตามแนวยืนคือวางลายตามความยาวของผ้าลวดลายผ้ามัดหมี่ที่ทอขึ้นของ ชาวบ้านจังหวัดเพชรบูรณ์นั้น ได้สืบทอดกันมาจากมรดกวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ลายของผ้าเกิดจาก สิ่งที่พบเห็นใกล้ตัว จากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และจากจินตนาการของบรรพบุรุษ ลวดลายมักจะเป็นลายเรขาคณิต ที่ไม่ซับซ้อนนัก (ก) ลาย : หมี่หน้าต่าง (ข)ลาย : หมี่ล่าย (ค) ลาย : หมี่คมห้า (ง) ลาย : พั่วดอกจิก 67


(จ) ลาย : พอพาน (ฉ) ลาย : ลายไข่มุดแดง (ช) ลาย : ลายหมากจับ (ซ) ลาย : ลายกอตะไคร้ (ฌ) ลาย : ลายกระจับสาย (ญ) ลาย : ดางแห ภาพที่ 1 แสดงลักษณะลายผ้าทอมัดหมี่ เพชรบูรณ์ ที่มา : สำ นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์, ม.ป.พ. : 16 - 22 อ้างอิง : สำ นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (ม.ป.พ.) สืบสานงานศิลป์อัตลักษณ์ผ้าถิ่น เพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : สำ นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. 68


2. ซิ่นหมี่คั่นน้อยไทหล่ม ซิ่นหมี่คั่นน้อยไทหล่ม เป็นผ้าซิ่นเอกลักษณ์ของไทหล่ม (“ไทหล่ม” คือคนพื้นเพ หรือเชื้อสายจาก ชาว อ.หล่มเก่า. อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์) โดยชาวไทหล่มนั้น มีบรรพชนสืบเชื้อมาจากลาวล้านช้าง ซึ่งมีสำ เนียงพูด (ปาก) แบบลาวหลวงพระบาง และชาวเวียงจันทน์ สำ เนียงพูด (ปาก) เช่นนี้ยังพบกลุ่มชนลาวครั่งที่จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม กลุ่มลาวแง้วในจังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดพิษณุโลก และ กลุ่มไทเลยจึงสันนิษฐานได้ว่าเดิมน่าจะอาศัยอยู่ในดินแดนแคว้นถิ่น บริเวณระหว่างลาวล้านช้างหลวงพระบาง และล้านช้างเวียงจันทน์ ซึ่งการเคลื่อนย้ายถิ่นของลาวล้านช้างหลวงพระบางนั้นเข้ามายัง พื้นที่ปัจจุบันอยู่หลายรอบจำ นวนครั้งคนไทหล่มมีวิถีชนที่เรียบง่าย ครองตนอยู่ในศีลธรรมยึดปฏิบัติตามจารีตธรรมเนียมปฏิบัติ แบบลาวล้านช้างรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยเฉพาะ ภาษาพูดการแต่งกายและความเชื่อต่าง ๆ ของบรรพชนแบบลาว ล้านช้างไว้สืบทอดถึงปัจจุบันซิ่นหมี่น้อยของชาวไทหล่มทอขึ้นมา เพื่อใช้ในชีวิตประจำ วัน และใช้ในพิธีกรรมเหตุที่เรียกว่าซิ่นหมี่น้อย หมี่คั่นน้อยเพราะเป็นซิ่นที่มีการทอในลักษณะการคั่นของเส้นด้าย พุ่งเป็นห้อง ๆ สลับกับมัดหมี่ลวดลายเล็ก ๆ น้อย ๆ ในอดีตนิยมทอ ใช้กันเองหลังจากว่างจากการทำ ไร่ทำ นาซิ่นหมี่น้อยนี้ถือว่าเป็นซิ่น ชั้นครูเลยก็ว่าได้เพราะในหนึ่งผืนนี้ต้องมีครบสามองค์ประกอบ ประกอบด้วย หัวซิ่น ตัวซิ่น ตีนซิ่น ซึ่งหลักองค์ประกอบดังรายละเอียด ต่อไปนี้ ภาพที่ 1 ภาพซิ่นหมี่คั้นน้อยไทยหล่ม (ที่มา : กลุ่มทอผ้าไทหล่มบ้านหวาย. (2564, ธันวาคม 13) จาก https://www. facebook.com) 1. หัวซิ่นแบบชาวไทหล่ม นั้นมีทั้งหมด 3 แบบ โดยทั้งสามแบบนี้จะนิยมทอด้วยสีแดงเป็นหลัก - มัดย้อมใช้เทคนิคการมัดย้อมหัวซิ่นทำ จากไหมฝ้ายโดยทอเป็นผ้าขาวนำ มามัดเป็นดอกยุ้มมัดเป็น กลุ่มดอกน้อยคั่นเป็นห้องสลับคั่นกับสีขาว หรือบางช่างทออาจมีการแต้มสีคั่นห้องเพิ่มเติมชาวไทหล่มเรียก หัวซิ่นชนิดนี้ว่า “หัวคัดซ้าย” “หัวดอกคัดซ้าย” “หัวป่องซ้าย” ตามแต่ชุมชนนั้นเรียก หัวซิ่นชนิดนี้ถือว่าเป็น เอกลักษณ์ของชาวไทหล่มเลยทีเดียว - หัวซิ่นคั่นใช้เทคนิคการทอคั่นเป็นห้องสลับกับพื้นสีแดง เป็นหัวซิ่นที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มวัฒนธรรมล้านช้าง - หัวคั่นขิดเป็นหัวซิ่นที่มีการทอขึ้นโดยใช้เทคนิคการขิดลาย โดยหัวซิ่นของชาวไทหล่มจะขิดดอก ค่อนข้างเล็กและถี่สลับสีกันไปเรื่อย ๆ 69


2.ตัวซิ่น ใช้เทคนิคการมัดหมี่คั่น เป็นวิธีการมัดเส้นด้ายให้เกิดลวดลายสลับกับเส้นด้ายที่ไม่มีลวดลาย ก่อนนำ ไปย้อมสี(มีลักษณะเป็นหมี่คั่นน้อยสลับคั่นระหว่างหมี่ลายหลักคั่นด้วยการทอด้วยด้ายที่ไม่มีลวดลาย และคั่นสลับกับหมี่ลายประกอบเป็นเช่นนี้ทั้งผืนด้วยลักษณะรูปแบบการมัดหมี่คั่นจึงเรียกว่าหมี่คั่นน้อย) การมัด หมี่คั่นน้อยของไทหล่มนี้จะพบว่า การมัดหมี่ประกอบกันลวดลายหมี่หลาย ๆ ลายอันเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ลวดลายหมี่ที่บรรพชนสรรสร้างคิดประดิษฐ์บรรจงมัดหมี่เล็ก ๆ เรียกลายหมี่โบราณดั้งเดิม (ซึ่งลวดลายหมี่เช่นนี้ก็ พบในชนอื่นเช่นกันแต่แตกต่างที่หมี่คั่นน้อยไทหล่มประกอบด้วยลวดลายมัดหมี่ลักษณะตัวเล็ก ๆ หลาย ๆ ลาย) ซึ่งการวางห้องของหมี่คั่นจะมีลายมัดหมีหลัก หมี่รอง หมี่ประกอบ คั่นสลับกันไป ประกอบด้วย ลายนาค ลายนาคน้อย ลายปราสาท ลายต้นผึ้ง (เผิ้ง) ลายหมากจับ ลายหงษ์ ลายขาเปีย ลายเอี๊ยะ ลายหมี่ตุ้ม เป็นต้น เรียกว่าตัวซิ่นมัดหมี่ ตามวัสดุที่นำ มามัด เช่น ไหมมัดหมี่ ฝ้ายมัดหมี่ เป็นต้น ซิ่นหมี่คั่นน้อยไทหล่มจะนิยมมัดหมี่ ลวดลายเล็ก ๆ อันโดดเด่นของอัตลักษณ์แตกต่างจากกลุ่มชนเช่นกันการทอการมัดลายหมี่แฝงสะท้อนแสดง ให้ประจักษ์ว่าบรรพชนไทหล่มนั้นมีวิถีชนแบบไทหล่มว่าเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนมีแบบความละเมียดละไมและมี ความพากเพียรวิริยะอุตสาหะและมีน้ำ อดน้ำ ทนเพียรพยายามนั่นเองสีของตัวซิ่นมัดหมี่ที่นิยมคือสีน้ำ ตาล เข้มเรียกว่า สีเม็ดมะขาม สีม่วง เรียกสีม่วงเม็ดหมากปราง เป็นต้น นอกจากตัวซิ่นหมี่แล้วก็ยังนิยมทำตัวซิ่น เป็นตัวซิ่นก่อมหรือซิ่นเข็นด้วยเช่นกัน 3. ตีนซิ่นของชาวไทหล่มนั้นเป็นตีนซิ่นที่เป็นริ้วเล็ก ๆ ลวดลายเกิดจากการวางลายทางเส้นยืน จะมีเอกลักษณ์โครงสร้างการวางแบบการวางสีเฉพาะตัวแบบชาวไทหล่มโดยตีนซิ่นของชาวไทหล่มนั้น แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้ - ตีนฟืม หรือ ตีนแหก เป็นตีนที่นิยมทอกันในปัจจุบันเพราะทอครั้งเดียวแล้วสามารถแยกออกได้ สองตีนนิยมใช้ฟืม 5 - 6 หรบ ในการทอ - ตีนคั่นเป็นตีนที่มีการทอน้อยเป็นตีนซิ่นที่มักทอเมื่อด้ายทางเครือเหลือซึ่งไม่สามารถทอผ้าซิ่นได้ เต็มผืนจึงนิยมทอเป็นตีนซิ่นเก็บไว้แต่ข้อเสียของตีนชนิดนี้จะต้องมีการนำ มาต่อประกบกันทำ ให้ตีนซิ่นนั้น มี 2 ตะเข็บ หากฟืมแคบอาจมี 3 ตะเข็บใน 1 ผืน - ตีนและเป็นตีนซิ่นที่มีการวางสีและลายแบบเฉพาะตัวเนื่องจากเป็นการทอที่ไม่ใช้ฟืมในการบังคับด้ายโดย จะมีแต่ตะกอหน้าหลังทำ หน้าที่ยกด้ายสลับไปมาเท่านั้นโดยจะใช้กระสวยทำ การงัดด้ายให้เข้ามาชิดกัน ตีนชนิดนี้มีการทอน้อยมากในปัจจุบัน เพราะทอได้จะช้าเนื่องจากทอครั้งเดียวด้ายแค่เส้นเดียวซึ่งต่างจาก ตีนฟืมที่สามารถแหกออกได้สองฝั่ง อ้างอิง กลุ่มทอผ้าไทหล่มบ้านหวาย. (2561, ธันวาคม 13). ซิ่นหมี่คั่นน้อยไทหล่ม. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 5, 2565. จากแหล่งที่มา : https://www.facebook.com/1024130190951277/posts/4114329205264678/) 70


3. ผ้าซิ่นมุก การทอผ้าของจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นการทอด้วยกี่กระตุก วัสดุที่ใช้ในการทอได้แก่ ฝ้าย ไหม และค้าสำ เร็จรูปจากใยประดิษฐ์อื่น ๆ ลักษณะของผ้าที่พบเป็นการทอด้วยการมัดหมี่และการทอยกดอกหรือ ภาษาท้องถิ่นเรียว่า “การเก็บขิด” ลวดลายบนผืนผ้าที่พบมีทั้งลวดลายดั้งเดิมและลวดลายประยุกต์ (พิพิธภัณฑ์ ผ้ามหาวิทยาลัยนเรศวร,2551) ผ้าทอเพชรบูรณ์แบ่งตามเขตภูมิศาสตร์วัฒนธรรมในแต่ละเขตจะมีลักษณะเฉพาะ ตัวที่โดดเด่นสวยงามในเขตอำ เภอหล่มเก่าและอำ เภอหล่มสักมีลักษณะเด่นที่สี และเทคนิคการทำลวดลายที่ เป็นเอกลักษณ์คือวัตถุดิบจะใช้ฝ้าย และสีที่ย้อมใช้สีธรรมชาติซึ่งจะใช้สีที่นุ่มนวลมีสีคราม สีน้ำตาล เป็นต้น เทคนิการทำ ลวดลายจะใช้การมัดหมี่และใช้ด้ายต่างสีส่วนในเขตตอนล่างมีลักษณะคล้ายกับภาคอีสานจะมี หลากสีและโครงสร้างของผ้าที่ใช้เป็นผ้านุ่งจะต่างกัน (หอมรดกไทย,2554) ซึ่งผ้าทอพื้นบ้านในแต่ละอำ เภอต่าง ๆ นั้นเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันชาวบ้านในตำ บลบ้านติ้วได้มีการพัฒนาการทอผ้าพื้นบ้านจากผ้ามุกลายดั้งเดิมมาเป็นผ้ามุก ลายดอกพิกุล อีกทั้งทอผ้าพื้นบ้านแบบไม่มีลวดลาย และผ้าขาวม้าเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้านอกจากนั้นจากการสำ รวจข้อมูลเบื้องต้น ทางกลุ่มสตรีสหกรณ์ ทอผ้ามุกมีความต้องการที่จะอนุรักษ์ลวดลายดั้งเดิมให้อยู่คู่จังหวัดตลอดไปและต้องการพัฒนาผ้าทอพื้นบ้านให้มี ลวดลายที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้นจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาผ้าทอพื้นบ้านลวดลายดั้งเดิมเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นผสมผสานกับเทคนิคการทอผู้ในปัจจุบันของกลุ่ม ฯ เพื่อคิดค้นและพัฒนาลวดลาย ประยุกต์ใหม่ ๆ ให้มีความโดดเด่น สวยงาม เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นบ้านและสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันการผลิตและจำ หน่ายผ้าทอพื้นบ้านทั้งภายในจังหวัดเพชรบูรณ์ ผ้ามุก เป็นผ้าทอยกดอกแบบ 3 ตะกอ มีลายเล็ก ๆ คล้ายเม็ดมุกใช้ด้ายสีขาวคัดลายสำ หรับพื้นผ้าจะใช้สีตามที่ ต้องการ ผ้ามุกของกลุ่มฯ มีวิธีการทอตามภูมิปัญญาของ ชาวบ้านที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษและได้รับ คัดเลือกให้เป็นผ้าประจำ จังหวัดเพชรบูรณ์และได้รับ การคัดสรรสุดยอด 1 ตำ บล 1 ผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ในปี 2544 ปัจจุบันมีการทอผ้ามุกสีต่าง ๆ มากมาย ภาพที่ 2 ผ้ามุก ที่มา : กลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้ามุก-บ้านติ้ว. (2558, มิถุนายน 23) จาก https://www. facebook.com อ้างอิง : นภาลัย บุญทิม และคณะ. (2558). ลวดลายผ้าทอพื้นบ้านใน ต.บ้านติ้ว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์. ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 2 “งานวิจัยเพื่อพัฒนา 71


4. ผ้าราชวัตร ซิ่นราชวัตร เป็นที่นิยมในเขตอำ เภอตอนบนลวดลายเกิดจากการใช้ด้ายสองสีลักษณะลวดลายเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสลับกันคล้ายตาหมากรุก ภาพที่ 3 ผ้าราชวัตร (ที่มา : ผ้าทอพื้นเมืองไทหล่ม หล่มสไตล์. (2565, มกราคม, 13) จาก https://www.facebook.com) อ้างอิง : สำ นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (ม.ป.พ.). สืบสานงานศิลป์อัตลักษณ์ผ้าถิ่นเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : สำ นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. 72


หน่วยที่ 6 การละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 1. การเล่นแม่นางด้ง แม่นางกวัก การเล่นแม่นางด้ง มีมาแต่สมัยโบราณ คนรุ่นเก่าได้เล่าต่อกันว่านิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือกันว่า เป็นวันปีใหม่ของไทย โดยจะเล่นกันในตอนกลางคืน ที่วัดหรือที่บ้านก็ได้ การเล่นแม่นางด้งนี้จะนิยมเล่นกันทั่วไป ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะอำ เภอหล่มเก่า อำ เภอหล่มสัก อำ เภอเมืองเพชรบูรณ์ อำ เภอศรีเทพ ตลอดทั้ง อำ เภอใกล้เคียง ลักษณะเครื่องแต่งกาย ในการเล่นแม่นางด้ง ผู้จับกระด้งส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุจะแต่งกาย ตามแบบชาวบ้านไม่มีแบบแผนที่แน่นอน บางครั้งก็แต่งกายยุคปัจจุบัน หรือในบางโอกาสจะสวมเสื้อแขนสาม ส่วน นุ่งผ้าถุงยาว หรือไม่ก็นุ่งโจงกระเบน วิธีการเล่นเริ่มทำ การแสดงจะมี พิธียกครูเสียก่อนมีผู้จับกระด้ง 2 คน โดยจับกระด้งคว่ำลงและจะมีผู้กล่าวนำ เชิญ แม่นางด้งเข้าสิงสู่กระด้งเมื่อเริ่มเข้ากระด้ง ที่อยู่ในมือของผู้จับกระด้งก็จะสั่นแรงขึ้น เรื่อย ๆ สักครู่เมื่อกระด้งหยุด ถ้าต้องการ ถามเรื่องอะไรหรือทำ นายทายทักอะไร ก็จะถามแม่นางด้ง เช่น ปีนี้ปลูกข้าวจะได้ ผลดีหรือไม่เป็นต้น หรือไม่ชายหนุ่มก็ถาม เกี่ยวกับเรื่องของความรัก เช่น เขารักใคร หรือใครแอบชอบเขากระด้งก็จะสั่นและไป หาผู้หญิงคนนั้น ภาพที่ 1 การเล่นแม่นางด้ง แม่นางกวัก ที่มา : นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ ). (2556, กันยายน 6) จาก : https://www.gotoknow.org/ posts/122072) อ้างอิง นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ ).( 2556,กันยายน 6). การเล่นแม่นางด้ง แม่นางกวัก. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 5, 2565. จากแหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/122072 73


2. การแสดง ผีตาโม่ อ.หล่มเก่า ตาโม่ เป็นชื่อของคนในสมัยโบราณประมาณ 200 ปีเศษ จากคำ บอกเล่าของคุณตาผอง จันทเสนา คุณยายบุรี กระทู้ และคุณตาศึกษา สุพัฒน์ ตรีถัน อดีตประธานสภาวัฒนธรรมอำ เภอหล่มเก่าอีกหลายท่าน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตรงกันว่า.... สมัยเป็นเด็กท่านเคยถูกหลอกมาแล้วท่านบอกว่า “คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังต่อกันมาว่าตาโม่เป็นชื่อ ของคนโบราณ ที่มีรูปร่างสูงใหญ่ หน้าตาดุ น่ากลัว เวลาแกเดินไปที่ไหนก็มักจะหลอกล่อผู้คนให้ตื่นตกใจกลัว จนร้องให้ และเมื่อมีเทศกาลงานบุญที่ไหน แก่ก็มักจะแต่งตัวเป็นผีทำ ให้น่ากลัวโดยนำ เอาวัสดุท้องถิ่น เช่น หวด มวยนึ่งข้าว มาสวมหัว ใช้กระบวยตักน้ำกะลามะพร้าว มาทำ เป็นหู เป็นตา ใช้สีดินหม้อมาป้ายตามตัว ตามแขน ขา สวมเสื้อผ้าขาดกะรุ่งกะริ่ง เอากะโหลกกะลอ มาแขวนรอบเอว เพื่อให้เกิดเสียงดังเวลาแกเดิน ไปตรงไหนสุนัขจะเห่าหอนผู้คนพากันหวาดกลัวเป็นอกสั่นขวัญแขวนจนกระทั่งตาโม่เสียชีวิตลง” ผีตาโม่ก็เป็น ที่กล่าวขวัญถึงและติดตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้คนอย่างมิรู้ลืม ผีตาโม่เป็นภูมิปัญญาของคนโบราณที่ได้หยิบยกขึ้นมาเพื่อใช้เป็นกุศโลบายในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่มีนิสัยขี้อ้อน งอแง ดื้อรั้น ชอบร้องไห้ เอาแต่ใจตัวเอง ผู้ใหญ่ก็จะขู่ว่า หยุดนะเดี๋ยว ผีตาโม่จะมากินตับเด้อเด็ก ๆ จะพากันกลัวและหยุดพฤติกรรมที่ไม่ดีทันทีทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าผีตาโม่หน้าตาเป็นอย่างไร ผีตาโม่จึงเปรียบเสมือนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปราบปรามความชั่วร้ายทำ ให้คนประพฤติดีประพฤติชอบ ผีตาโม่จะสิ่งสถิตอยู่ตามบ้านเรือน ป่าเขาลำ เนาไพร และทุกหนทุกแห่งผีตาโม่จะมาเมื่อมีคนเรียกหาถ้าไม่มีใครเรียก ร้องให้มาช่วยก็จะไม่มาผีตาโม่ไทหล่ม มีลักษณะแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) ผีตาโม่ที่เป็นหุ่นใหญ่ 2) ผีตาโม่ที่ใช้คนแสดง (สวมชุดผีตาโม่ และสวมหน้ากาก) 3) ผีตาโม่ที่ใช้คนอ้วนแสดง จะมีการวาดหน้าตาลงบนพุงสวมหน้ากาก ลักษณะเฉพาะของผีตาโม่ไทหล่มคือ 1. ตัวสูงใหญ่อ้วนท้วน 2. ตาโตเท่ากำ ปั้น 3. จมูกโตกลมใหญ่คล้ายกระบวยตักน้ำ 4. ปากใหญ่เท่ากระด้ง 5. ลิ้นห้อย ยาวแดง เหมือนเปรต 6. เขี้ยยาว แหลมคม ขาววาววับเป็นประกาย 7. เขาเหมือนเขาควาย 8. หูห้อย ยาวลงมา คล้ายกระชอนปลาร้า 9. แต่งชุดดำสลับด้วย ลวดลายเศษผ้า 10. มีการโชว์ศิลปะการวาดบนหน้ากากที่หลาก หลายอารมณ์ 11. มีกะโหล กะลอ กระดิ่ง แขวนรอบเอว เพื่อให้ เกิดเสียงดังเวลาเดิน หรือเต้น 12. มือถืออาวุธ 13. เสียงร้องเหมือนควายถูกเชือด ภาพที่ 2 ผีตาโม่ไทหล่ม (ที่มา: วิศัลย์ โฆษิตานนท์. ที่มา : https://www.facebook.com/wisonk สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565.) 74


คุณลักษณะของศิลปะการแสดง ผีตาโม่ มีคุณลักษณะของศิลปะการแสดง คือ เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่สนุกสนานด้วยท่าเต้นหลากหลาย ตามจังหวะเสียงดนตรีใช้เป็นแนวร่วมของขบวนแห่งานประเพณีต่าง ๆ เช่นงานประเพณีบุญบั้งไฟ งานบุญเลี้ยง ปีแห่เจ้าพ่อ งานอุ้มพระดำ น้ำจังหวัดเพชรบูรณ์ และร่วมขบวนแห่งานประเพณีวัฒนธรรมไทหล่มขนมเส้นหล่มเก่า เครื่องดนตรีที่ใช้ ประกอบด้วย มีกลองปั้ง แคน ฆ้อง ฉาบ ฉิ่ง กะลอ จะใช้สำ หรับเต้นแบบดั้งเดิม และการเต้นแบบประยุกต์จะเน้นการใช้เครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น วงโปงลาง วงพิณแคน มีการประดิษฐ์ท่าเต้น ให้เหมาะสม และเข้ากับจังหวะเพลงอย่างสนุกสนาน ลักษณะการเต้นของผีตาโม่ มี 2 แบบ โดยมีผู้แสดง 10 คน ขึ้นไปหรือไม่จำกัดจำ นวนผู้แสดงเพราะยิ่งมี ผู้แสดงมากจะยิ่งดูสวยงามมากขึ้น ดังนี้ 1. การเต้นแบบดั้งเดิม การเต้นแบบนี้ใช้เต้นในขบวนแห่งานประเพณีบุญบั้งไฟ และผีตาโม่ไทหล่ม เครื่องดนตรีที่ใช้ มีกลองปั้ง แคน ฆ้อง ฉาบ ฉิ่ง กะลอ 2. การเต้นแบบประยุกต์ เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะสมัยใหม่ กับศิลปะแบบดั้งเดิม เครื่องดนตรีที่ใช้ เน้นการใช้เครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น วงโปงลาง วงพิณแคน มีการประดิษฐ์ท่าเต้นให้เหมาะสม และเข้ากับจังหวะ เพลงอย่างสนุกสนาน ภาพที่ 3 การแสดงผีตาโม่ (ที่มา : นางสาวพัชรี อมฤทธิ์. (2562, กุมภาพันธ์, 12) จาก https://paizpatcharee.wordpress.com/) อ้างอิง สำ นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (๒๕๖๕, กุมภาพันธ์, ๑๗.) การแสดง ผีตาโม่ อ.หล่มเก่า ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 5, 2565. จากแหล่งที่มา https://www.m-culture.go.th/phetchabun/ewt_news. php?nid=127&filename=index 75


3. รำกลองปั้ง “รำกลองปั้ง” สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รำ เสื้อแขบลาน” ที่มาของคำ ว่า รำกลองปั้ง เป็นเพราะ เครื่องดนตรีหลักที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงชุดนี้คือกลองพื้นบ้าน ชาวไทหล่ม เรียกกลองชนิดนี้ว่า “กลองปั้ง” มีลักษณะเป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30-60 เซนติเมตร ความยาวของตัวกลอง 40 - 100 เซนติเมตร ขึงด้วย หนังสัตว์ทั้งสองหน้าตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็งใช้ขึ้นหน้า ด้วยเชือกหนัง เรียกอีกชื่อว่า “กลองตุ้ม” ใช้ประสม ในวงดนตรี ประกอบหมอลำ ร่วมกับ แคน ในกระบวนแห่ ร่วมกับกลองเส็ง ผางฮาด กลองหาง ฉิ่ง แส่ง ลักษณะของ เสียงที่เกิดจากการตี คือ “ปั้ง ปั้ง ปั้ง” จะเรียกการแสดง ประกอบการบรรเลงกลองชนิดนี้ว่า รำกลองปั้ง นั่นเอง ความเป็นมารำ เสื้อแขบลาน มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2369 มาแล้ว เริ่มตั้งแต่ครูบาเง้า ดำ รงตำ แหน่ง เป็นเจ้าคณะจังหวัดหล่มสัก และท่านได้เดินทางไปเวียงจันทน์เมืองหลวงของประเทศลาว ท่านนำ เอาประเพณี รำ เสื้อแขบลานมาให้ชาวตำ บลบ้านติ้ว อำ เภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ก่อตั้งขึ้นมาก่อนจะมีบุญบั้งไฟเกิดขึ้น ชาวบ้านติ้วหรือตำ บลใกล้เคียง ในวันเพ็ญเดือนแปดของทุกปีชาวบ้านติ้ว บ้านโสก บ้านตาลเดี่ยว และบ้านสักหลง ที่อาศัยลำ น้ำ ห้วยขอนแก่นทำ มาหากินพอถึงเดือนแปดหลวงพ่อเหง้าจะสั่งกำ นันผู้ใหญ่ทุกหมู่ของตำ บลชาวบ้านติ้ว ให้เตรียมขึ้นตัดเอายอดใบลานมาตากแดดให้แห้งแล้วเตรียมไม้สองอันมาประกบกันเข้าหยักเป็นเขี้ยวหมาตาย ปะใส่ใบลานยัดเป็นรูปออกมา แล้วใช้หัวขมิ้นมาฝนหรือมาตำ ให้ละเอียดแล้วทำ เป็นสีเหลืองย้อมใบลานหยัก เป็นเขี้ยวหมาตายให้ดูสวยงาม เตรียมตัดเสื้อแขนยาวย้อมหม้อฮ่อมทำ เป็นสีดำ เตรียมเย็บติดกับใบลานที่หยัก เป็นเขี้ยวหมาตาย เตรียมเอาไม้ไผ่มาสานเป็นนิ้วมือยาวประดับสีให้สวยงามเหมือนกัน เตรียมเอาไว้ไปรำต้อนรับ บุญบั้งไฟ ต้อนรับเจ้าพ่อที่เล่นบุญบั้งไฟและต้อนรับนางเทียมร่างทรงเจ้าพ่อมเหศักดิ์ ที่เป็นเจ้าฟ้าตาไฟที่มาดูแล ปกปักษ์รักษาชาวบ้านติ้วหรือตำ บลใกล้เคียง ที่อาศัยทำกินที่ลำ น้ำ ห้วยขอนแก่นนี้ เพื่อให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล รำ เสื้อแขบลาน เปรียบเสมือนองค์รักษ์ของเจ้าพ่อ มเหศักดิ์ และเจ้าพ่อผาแดง ก่อนท่านจะลงมาช่วยชาวบ้าน ต้องได้นำ รำ เสื้อแขบลานไปรำ อัญเชิญ มีกลอง ฆ้อง ฉาบ ใส่ผ้าถุงลายมุก 1 ชั้น 2 ชั้น แต่ในสมัยก่อนใส่ผ้าถุงลายงูดิน ใส่เสื้อแขนยาวสีดำ มีผ้าสีแดงโพกหัว ภาพที่ 5 การรำแขบลาน (ที่มา: วิศัลย์ โฆษิตานนท์. ที่มา : https:// www.facebook.com/wisonk สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565.) ภาพที่ 4 ตัวกลอง และหน้ากลอง ของกลองปั้ง ที่มา: อังคณา จันทร์แสงศรี, 2561: 72-73 76


เสื้อแขนยาวสีดำ เปรียบเสมือนนางสนม ผ้าโพกหัวสีแดงเปรียบเสมือนคนรับใช้ของเจ้าพ่อมเหศักดิ์ เจ้าพ่อผาแดง ใส่แว่นตาดำ เปรียบเสมือนปิดบังความมืด เจ้าพ่อมเหศักดิ์เวลาท่านมาทรงร่างนางเทียมท่านจะ หลับตาตลอดจะไม่ลืมตา ถ้าลืมตาไฟจะไหม้โลกท่านว่าอย่างนั้น กระดิ่งแขวนเอวเปรียบเสมือนเสียงกระดิ่งม้า ของท่านจะขี่ลงมาโลกมนุษย์ ก่อนเจ้าพ่อลงมาทรงร่างของนางเทียมนั้น ชาวบ้านติ้วหรือตำ บลใกล้เคียงต้องเตรียม หามบั้งไฟ รำ เสื้อแขบลาน กลอง ฆ้อง ฉาบ หัวโขน มีชาวบ้านมากมายหลายตำ บลพากันแห่ไปตำ หนัก หรือหอเจ้าพ่อ พากันไปรำ อยู่บริเวณรอบ ๆ หอท่าน จะลงมาทรงร่างของนางเทียมถ้าท่านเข้าร่างนาง เทียมแล้วชาวบ้านทุก ๆ หมู่บ้านก็เตรียมหาม บั้งไฟออกเดินทางจากตำ หนักเจ้าพ่อเดินออกหน้า มีสมุนเดินเคียงข้างสามคนจากนั้นก็มีเสื้อแขบลาน รำ ตามหลังมีหัวโขนและชาวบ้านติ้วบ้านอื่น ๆ รำ ตามเพลงมาตลอดทางสมัยก่อนถ้าชาวบ้าน ทุกบ้านทำ ไม่ถูกใจเจ้าพ่อท่านหรือไม่ทำ การ เลี้ยงปี ท่านว่าจะให้แห้งแล้งเพราะฉะนั้นชาวบ้าน ทุก ๆ ตำ บลทุกหมู่บ้านกลัวความแห้งแล้งฟ้าฝน ไม่ตกต้องตามฤดูกาลจึงทำ ให้ชาวบ้านนับถือกัน มาจนทุกวันนี้ ภาพที่ 6 การรำแขบลาน จังหวัดเพชรบูรณ์ (ที่มา : อีสานร้อยแปด.ที่มา https://esan108.com/ การฟ้อนแขบลาน (แถบลาน). ต่อจากนั้นรำ เสื้อแขบลานก็สูญหายไป ในปี พ.ศ.2538 ก็มีผู้ใหญ่คำ มวล โคบุต หมู่ 2 ตำ บลบ้านติ้ว ได้มาปรึกษากับคุณพ่อสลิด แก้วขาว ว่าจะฟื้นฟูประเพณีเก่าแก่โบราณมาให้ลูกหลานได้รักษาไว้ ได้รู้ได้เห็น ประเพณีเก่าแก่โบราณที่ไม่เคยเห็น อยากจะให้มีรำ เสื้อแขบลานเหมือนอย่างเก่าที่ทำ เอาไว้เวลามีบุญบั้งไฟ คุณตาสลิด แก้วขาว จึงได้จัดหานางรำ เสื้อแขบลานประมาณ 25 คน มาฝึกสอนกันที่หมู่ 2 ตำ บลบ้านติ้ว อำ เภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ คุณตาสลิด แก้วขาว จึงสืบทอดมาถึงลูกหลานชาวบ้านติ้ว บ้านห้วยไร ่สืบไว้ จนถึงทุกวันนี้ อ้างอิง อังคณา จันทร์แสงศรี. (2561). นาฏยลักษณ์รำ เสื้อแขบลาน ตำ บลบ้านติ้ว อำ เภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. สำ นักงานวัฒนธรรม จังหวัดเพชรบูรณ์.การแสดงแขบลาน จาก https://www.youtube.com/watch?v= 5u6iErgkHoQ สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565. วีดีทัศน์ : การแสดงรำแขบลาน (ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=5u6iErgkHoQ) 77


4. ดนตรีพื้นบ้าน (ตุ๊บเก่ง) ตุ๊บเก่ง เป็นดนตรีพื้นบ้านของเพชรบูรณ์ที่มีมายาวนาน แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าการเล่น ดนตรีตุ๊บเก่งมีมาตั้งแต่เมื่อไร แต่นักดนตรีตุ๊บเก่งบ้านป่าเลาซึ่งเป็นแหล่งวัฒนธรรมสำคัญของเพชรบูรณ์ก็ยืนยันได้ว่า การเล่นดนตรีตุ๊บเก่งมีมายาวนานนับร้อยปี และปัจจุบันยังคงมีดนตรีตุ๊บเก่งในพื้นที่ตำ บลป่าเลา เพียง 2 วง ได้แก่ วงดนตรีตุ๊บเก่ง ของ สงวน บุญมา วงดนตรีตุ๊บเก่ง ของ สอน บุญเรือง วงดนตรีตุ๊บเก่งจะเกิดขึ้นในระยะใด หรือสมัยใดไม่ชัดเจนเพราะผู้ที่ให้ข้อมูลที่ละเอียดเกี่ยว กับดนตรีตุ๊บเก่งนี้ก็หาได้ยากส่วนมากจะเป็นคนมีอายุ สูงมากแล้วความทรงจำ เลอะเลือนข้อมูลที่ได้มา จึงน้อยมากแม้ว่าดนตรีตุ๊บเก่งจะเป็นดนตรีพื้นบ้าน ของจังหวัดเพชรบูรณ์ก็ตามจากหลักฐานที่ได้จากการ ศึกษาพบว่านักดนตรีที่บรรเลงในวงตุ๊บเก่งล้วนแต่เป็น ผู้สูงอายุทั้งสิ้น มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป รุ่นหนุ่มสาว หาเล่นยากมากทั้งนี้น่าจะเป็นไปตามค่านิยมของ คนรุ่นใหม่ที่มองว่าดนตรีไทยเดิมหรือดนตรีพื้นบ้านเป็น สิ่งที่ล้าสมัยหันไปนิยมเครื่องดนตรีที่เป็นดนตรีสากล เป็นส่วนใหญ่จึงหาผู้สืบสานได้น้อยลงทุกที ภาพที่ 7 การแสดงดนตรีตุ๊บเก่ง (ที่มา : https://www.facebook.com/วงดนตรีพื้นบ้าน ตุ๊บเก่ง ตำ บลป่าเลา อำ เภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565.) การฝึกดนตรีตุ๊บเก่ง จากการสัมภาษณ์ นายสงวน บุญมา หัวหน้าวงดนตรีตุ๊บเก่งบ้านป่าเลาพอสรุปได้ว่าการเรียนรู้การเล่น ดนตรีตุ๊บเก่งมักจะใช้การถ่ายทอดแบบโบราณคือถ่ายทอดแบบจดจำ เป็นรายบุคคลถ่ายทอดแบบตัวต่อตัวใครจำ ได้มากเท่าไร ก็สามารถเล่นบทเพลงต่าง ๆ ได้มากเท่านั้นลักษณะของทำ นองเพลงก็มีลักษณะของใครของมัน เพราะต่างก็จดจำ มาจากครูของตน แล้วยึดเป็นแบบแผนในการถ่ายทอดไปยังลูกหลานอีกครั้งหนึ่งแต่ปัจจุบัน ผู้ที่จะรับการถ่ายทอดก็หาได้ยาก เนื่องจากไม่เป็นที่นิยมดังเช่นเมื่อก่อนผู้ที่จะฝึกดนตรีชนิดนี้มักจะเป็นสมาชิก ในครอบครัวของนักดนตรีเอง การฝึกการถ่ายทอดจะต้องรอให้ครูท่านนั้นว่างจากการงานเสียก่อนจึงจะมีเวลา ผู้รับการถ่ายทอดจะต้องอาศัยการจำจากครูเป็นบทเพลงที่สอนโดยไม่มีกฏเกณฑ์ที่แน่นอน สรุปได้ว่าในการถ่ายทอด จะถ่ายทอดด้วยสายตา เสียง มือ เท่านั้น ไม่มีการบันทึกในรูปตัวโน้ตเหมือนดนตรีสากลทั่วไป นักดนตรีและเครื่องดนตรี วงดนตรีตุ๊บเก่งมีเครื่องดนตรีที่ประกอบวงดนตรีตุ๊บเก่ง ประกอบด้วย ปี่แต้ 1 เลา กลอง 2 หน้า (กลองตุ๊บเก่งหรือกลองแขก 2 หน้า) จำ นวน 2 ลูก ฆ้องโหม่ง 2 ลูก ฆ้องกระแต 1 ลูก รวม 6 ชิ้น มีนักดนตรีรวมทั้งวง 5 คน เครื่องดนตรีที่เป็นตัวนำ หลักของเสียง คือ ปี่แต้ ดังนี้ 1. เครื่องเป่า ใช้นักดนตรี 1 คน ทำ หน้าที่เป่า เครื่องเป่าที่ใช้บรรเลง เรียกว่า ปี่แต้ ปี่แต้ เป็นเครื่องดนตรี ที่ไม่มีขาย ดังนั้น นักดนตรีที่เป่าปีแต้ จำ เป็นต้องผลิตขึ้นเองในการทำ ปี่แต้ ต้องใช้ความประณีตในการทำ 78


2. เครื่องตี ใช้นักดนตรี 4 คน ทำ หน้าที่ แตกต่างกัน คือ กลองตุ๊บเก่ง (กลองแขก มี 2 หน้า) ใช้นักดนตรี 2 คน โดยใช้กลอง 2 หน้า คนละ 1 ใบ ฆ้องโหม่ง ใช้นักดนตรี 1 คน ฆ้องกระแต ใช้นักดนตรี 1 คน (ก) ปี่แต้ (ข) ฆ้อง (ค) กลอง ภาพที่ 8 เครื่องดนตรีตุ๊บเก่ง ที่มา : https://www.facebook.com/วงดนตรีพื้นบ้านตุ๊บเก่ง ตำ บลป่าเลา อำ เภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565) แต่เดิมนั้น การเล่นดนตรี “ตุ๊บเก่ง” นิยมเล่นทั้งงานที่เป็นงานมงคลเป็นการฉลอง การแต่งงาน งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ และแสดงในงานศพ (เพื่อแสดงความโศกเศร้า) ต่อมามีการเล่นดนตรีหลากหลายชนิดประกอบ กับการเล่นดนตรีตุ๊บเก่งมีน้อยลงการเล่น ก็พลอยหดหายไปคงเหลืออยู่เฉพาะงานศพ เท่านั้น ภาพที่ 9 การแสดงดนตรีตุ๊บเก่ง ที่มา : รายการไทยโชว์. (2553, พฤษภาคม, 9) จาก : https://khomsunwannawat.blogspot.com/ 2010/05/9.html) อ้างอิง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. (ม.ป.พ.) ดนตรีพื้นบ้าน (ตุ๊บเก่ง) ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 15, 2565. จากแหล่งที่มา http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performing-arts/236-performance/312-----m-s วีดีทัศน์ การแสดงดนตรีตุ๊บเก่ง ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=k7CkbOtRFUE 79


5. แข่งเรือลาพรรษา อำ เภอหล่มเก่าเป็นอำ เภอที่อยู่เหนือสุดของจังหวัดเพชรบูรณ์ ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดเป็นทิวยาวครอบคลุมพื้นที่อำ เภอ มีพื้นที่ราบเป็นส่วนน้อย ซึ่งเป็นไร่นาและที่อยู่อาศัย อำ เภอหล่มเก่า เดิมชื่อ “เมืองลม” หรือ “เมืองหล่ม” เป็นเมืองเล็ก ๆ ในสมัยสุโขทัย เจ้าเมืองคนแรกชื่อ “ปู่เฒ่า” เชื้อสาย เวียงจันทน์ ได้อพยพถิ่นฐานมาอยู่บ้านหนองขี้ควาย คือบ้านหินกลิ้ง ตำ บลหล่มเก่า ในปัจจุบัน ต่อมาชาวเมือง เวียนจันทน์ และหลวงพระบาง ได้ติดตามมาอยู่ด้วยกันมากขั้น จึงรวมกันตั้งหมู่บ้านเป็นเมืองหล่ม ยกเจ้าปู่เฒ่า ขึ้นเป็นเจ้าเมืองหล่ม จากนั้นได้ปกครองต่อกันมาอีก 5 เจ้าเมือง จนถึงสมัยพระสุริยวงษาเดชชนะสงคราม เห็นว่าที่ตั้งเมืองไม่เหมาะสมจึงอพยพผู้คนไปตั้งเมืองใหม่ที่บ้านโพธิ์ ปัจจุบัน คือ อำ เภอหล่มสัก และขนานนามเมือง ใหม่นี้ว่า “หล่มสัก” และเมืองหล่มเดิม จึงได้ชื่อว่า “หล่มเก่า” ให้ขึ้นอยู่กับอำ เภอหล่มสัก จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2476 ได้มีการยุบมณฑลเพชรบูรณ์ อำ เภอหล่มเก่า จึงมีฐานะเป็นอำ เภอหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ มาจนถึงทุกวันนี้ อำ เภอหล่มเก่าตั้งอยู่บริเวณสองฝากฝั่งลำ น้ำ ป่าสัก และลำ น้ำ พุง โอบล้อมด้วยป่าเขาลำ เนาไพร พร้อมธรรมชาติอันสมบูรณ์จึงหล่อหลอมให้คนหล่มเก่ามีวิถีชีวิตที่สันโดษรักธรรมชาติโอบอ้อมอารีพอใจ ในสิ่งที่ตนมีโดยเฉพาะวัฒนธรรมประเพณีที่มีมาแต่ดั่งเดิมจะเห็นได้จากงานประเพณีของชาวหล่มเก่าคู่บ้านคู่เมือง มาตั้งแต่ ปู่ ย่า ตา ยาย ช่วงเทศกาลออกพรรษาของทุกปีจะเป็นช่วงฝนตกชุก น้ำ ในแม่น้ำ ลำ คลองจะมาก จนปริ่มเต็มฝั่ง ชาวพุทธศาสนิกชน ของอำ เภอหล่มเก่า จะพากันไปทำ บุญปฏิบัติธรรมที่วัด และมีการละเล่น เพื่อความสนุกสนานครื้นเครง หรือช่วยกันจัดทำ กระทงจนถึงเวลาค่ำ มืดเพื่อร่วมลอยกระทงด้วยมีน้ำ มาก ถือเป็นการบูชาพระแม่คงคาเวลากลางคืนแต่สมัยก่อนการคมนาคมของประชาชนชาวอำ เภอหล่มเก่า จะใช้ทางน้ำ ซึ่งสะดวกกว่าการเดินทางบกเพราะผู้ที่อยู่อาศัยอีกฝั่งหนึ่งที่ไม่มีวัดจะต้องข้ามฟากโดยใช้เรือ จึงมีเรือเป็นจำ นวนมากจออยู่ที่บริเวณท่าน้ำ ของวัดที่อยู่ริมน้ำ โดยเฉพาะวัดทุ่งธงไชยเมื่อมีการทำ บุญ ตักบาตรเรียบร้อยแล้วยังนำ การละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ มาเล่นที่บริเวณวัดและเห็นว่ากิจกรรมยังไม่เพียงพอ จึงพากันจัดแข่งเรือ ซึ่งในตอนแรก ๆ จะเป็นกลุ่มของเด็กหนุ่ม ๆ ที่ประสงค์จะแข่งเรือ เพื่ออวดสาว ๆ และเพื่อความสนุกสนาน ต่อมาก็มีการแข่งเรือระหว่างคุ้มวัดและหมู่บ้านซึ่งหมู่บ้านใดได้ชัยชนะ ก็นับเป็นเกียรติประวัติ หมู่บ้านที่แพ้ก็พยายามไปฝึกฝนเพื่อเอาชัยชนะในปีต่อ ๆ ไปถือเป็นจริงเป็นจังเรื่อยมา และการแข่งขันก็จัดแปลก ๆ ออกไปเช่นแข่งเรือใช้คนหนุ่มเป็นฝีพายแข่งเรือใช้สาวสาว เป็นฝีพายชนิดของเรือก็มีการกำ หนดขนาดแบบและจำ น ว น ฝี พ า ย ส่ ว น ร า ง วั ล ก็ เ ป็ น เ พี ย ง ธง 1 ผืน ช่อดอกไม้ ขนมที่เหลือการตักบาตรพระมอบให้เท่านั้น ภายหลังต่อมาด้วยที่การแข่งเรือสนุกสนาน น่าตื่นเต้น การละเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ ที่บริเวณวัด จึงลดลงกลายเป็นว่า ในเทศกาลออกพรรษาตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีหลังจากพระ ภิกษุสงฆ์ได้จำ พรรษามาเป็นเวลา 3 เดือน นอกจาก มีการทำ บุญปฏิบัติธรรม ลอยกระทงในตอนกลาง คืนในตอนกลางวันจะมีการแข่งเรือ เรือ จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ. 2498 นายชาติ บุญนุ่ม ครูใหญ่โรงเรียน วัดทุ่งธงไชยสมัยนั้นได้ปรึกษาหารือกันกับกำ นัน ผู้ใหญ่บ้านในตำ บลหล่มเก่าตลอดทั้งครูอาจารย์ ภาพที่ 10 ประเพณีแข่งเรือยาวอำ เภอหล่มเก่า ที่มา : สำ นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2559, สิงหาคม, 3) จาก : https://www.m-culture.go.th/phetchabun/ ewt_news.php?nid=358&filename=index) 80


ในกลุ่มโรงเรียนหล่มเก่า ได้เริ่มจัดงานแข่งขันเรือยาวในเทศกาลออกพรรษาประจำ ปีขึ้น ในระยะเริ่มแรกได้หาเรือ ที่มีความยาวพอสมควร ซึ่งบรรจุฝีพายได้สิบกว่าคน นำ มาแข่งขันกันประมาณ 9 ลำ ด้านพิธีกรรม ประเพณีแข่งเรือยาวอำ เภอหล่มเก่า จะเป็นประเพณีที่คาบเกี่ยวระหว่างข้างขึ้นเดือนสิบเอ็ด และแรมเดือนสิบเอ็ด ส่วนมากจะเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด พอถึงวันงานชาวบ้าน พระภิกษุสงฆ์ และสามเณรจะช่วยกันทำ เรือไฟปล่อยที่แม่น้ำ และเป็นโอกาสที่ชาวบ้านได้มีโอกาสรวมญาติกัน ในช่วงเช้าจะมีการประกอบการกุศลโดยการไปทำ บุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร แล้วมีการเลี้ยงญาติโยมที่มาทำ บุญ พอสายประมาณ 09.00 น. ชาวบ้านจะได้สนุกสนานร่วมกันในขบวนการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า ประเพณีแข่งเรือยาวอำ เภอหล่มเก่าได้สืบสร้างมรดกความเชื่อจากการปฏิบัติและจากอุบายที่มีอยู่ในประเพณี ความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะทำ ให้เกิดพลังในการแข่งขันและได้รับชัยชนะ จากทีมที่เข้าร่วมแข่งขันที่สะท้อน ให้เห็นถึงความสามัคคี ความเอื้ออาทร ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ของคนในสังคมชุมชนนั้น ๆ ภาพที่ 11 ประเพณีแข่งเรือยาวลาพรรษา (ที่มา : http://www.lomkaohospital.com/th/images/magazine/sarasook/sarasook4in.pdf) สถานที่จัดงานประเพณีแข่งเรือยาวอำ เภอหล่มเก่า จะจัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี บริเวณลำ น้ำ พุง หน้าวัดทุ่งธงไชย หมู่ที่ 11 ตำ บลหล่มเก่า อำ เภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ในเทศกาลออกพรรษา อ้างอิง สำ นักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์. (2559, สิงหาคม, 3) แข่งเรือลาพรรษา ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 15, 2565. จาก แหล่งที่มา https://www.m-culture.go.th/phetchabun/ewt_news.php?nid=358&filename=index) สื่อมัลติมีเดีย https://www.facebook.com/watch/?v=908863732873126 81


6. การเส็งกลอง การเส็งกลองเป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอำ เภอหล่มสัก ซึ่งมีมาแต่โบราณ มักนิยมเล่นในช่วงเทศกาล เข้าพรรษา - ออกพรรษา ซึ่งมีการเส็งกลอง 2 ลักษณะ คือ จัดเส็งกลองร่วมกับงานบุญบั้งไฟ โดยเชื่อว่าการเส็งกลอง เพื่อเป็นการเชื้อเชิญเทวดา มนุษย์โลก และภูตผีมาร่วมทำ บุญบั้งไฟ โดยพร้อมเพียงกันจนเป็นการนัดหมาย ช่างกลองตามบ้านต่าง ๆ ให้นำกลองมาเส็งแข่งกัน เพื่อประกวดในเรื่อง “ความดัง” กลองที่ตีได้เสียงดังที่สุด คือมีเสียงทุ้ม กลาง แหลม ครบถ้วนจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน ลักษณะกลอง ที่จะนำ มาเส็งทำ มาจากไม้ประดู่ เจาะให้กลวงและบาง มีลักษณะเรียว หลังกลองจะเป็นหนังวัว ส่วนฆ้อนที่ใช้ตี ทำ มาจากไม้ข่อยหรือไม้หม่อนส่วนมี่จะใช้ตีจะนำ ตะกั่วมาหุ้มรอบเพื่อรักษาหนังหน้ากลอง และฆ้อนมีน้ำ หนักจะตีได้ดัง วิธีเส็งกลอง จะนำกลอง 2 ใบ มาวางตั้ง 1 ใบ วางแนวนอน 1 ใบ โดยมือซ้ายจะตีใบนอนมือขวา จะตีใบตั้ง จะมีจังหวะช้าๆ ปานกลาง และเร็ว ภาพที่ 12 การแสดงเส็งกลอง (ที่มา : สำ นักงานการท่องเที่ยวและกีฬา.https://kanchanaburi.mots.go.th/news_view.php?nid=160) อ้างอิง จ.เพชรบูรณ์. (ม.ป.พ.) ประเพณีการเส็งกลอง ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 15, 2565. จากแหล่งที่มา : https://sites.google. com/site/phetchaboonna/prapheni-wathnthrrm/prapheni-kar-seng-klxng) สำ นักงานการท่องเที่ยวและกีฬา.ประวัติประเพณี เส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง. จากแหล่งที่มา : https:// kanchanaburi.mots.go.th/news_view.php?nid=160 82


7. แข่งเรือทวนน้ำ หน้าวัดไตรภูมิ ประเพณีการแข่งเรือทวนน้ำ ในลำ น้ำ ป่าสักหน้าวัดไตรภูมิ ในตัวเมือง เพชรบูรณ์นั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ ที่มีต่อเนื่องกันมานานหลายร้อยปีมา แล้วโดยถือว่าเป็นกิจกรรมสำ คัญอัน หนึ่งของงานประเพณีอุ้มพระดำ น้ำ ของเมืองเพชรบูรณ์ ที่จะจัดขึ้นในวัน แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ภาพที่ 13 ประเพณีการแข่งเรือทวนน้ำ ที่มา : วิศัลย์ โฆษิตานนท์. https://www.facebook.com/wisonk สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565. การแข่งเรือทวนน้ำ ของเมืองเพชรบูรณ ์จะมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนการแข่งเรือทั่ว ๆ ไป คือ เรือแข่ง จะต้องพายแข่งกันทวนน้ำ ท่ามกลางกระแสน้ำ ที่ไหลเชียวกราก รุนแรงของลำ น้ำ ป่าสัก ทำ ให้ฝีพายทุกลำ ที่แข่งกัน จะต้องออกแรงการจ้วงพายหนักและเร็วขึ้นเป็น 2 เท่าโดยจะต้องเอาชนะความแรงของกระแสน้ำ เพื่อนำ พาเรือ ฝ่าสายน้ำ ไปข้างหน้า ฝีพายจึงต้องมีการฝึกซ้อมกำลังกันมาเป็นอย่างดี มิฉะนั้น เรืออาจจะไม่เดินหน้าหรือก็อาจ จะถูกกระแสน้ำ พัดให้ไหลถอยหลังไป จังหวะการจ้วงพายของฝีพายตามระยะทางการแข่งขันก็จะต้องลงพาย กันอย่างหนักและเร่งเครื่องกันเต็มกำลังกันตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเส้นชัยกันเลยทีเดียว โดยจะไม่มีจังหวะ การพายที่จะมีการผ่อนมีการเร่งตามระยะทางที่พายไปเหมือนอย่างกับสนามแข่งขันเรือยาวในที่อื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ระยะทางลำ น้ำ ในการแข่งเรือทวนน้ำ จึงมีระยะสั้นกว่าการแข่งเรือในที่อื่น ๆ นั่นคือจะมีความยาว ของการแข่งขันเพียงประมาณ 400 เมตรเท่านั้นเอง ที่มาของการแข่งเรือทวนน้ำ นั้น ก็มาจากการประกอบ พิธีอุ้มพระดำ น้ำ ที่ในสมัยก่อน เมื่อมีการจัดงานประเพณี ผู้คนเพชรบูรณ์จากตำ บลหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำ ป่าสักจะพายเรือมาตามลำ น้ำ มาร่วมพิธีกันตั้งแต่เช้าพิธีอุ้มพระดำ น้ำ จะประกอบพิธีขึ้นบริเวณ “วังมะขามแฟบ” ที่เป็นวังน้ำอยู่เหนือน้ำจากวัดไตรภูมิขึ้นไป ฉะนั้นทุกคนที่ไปร่วมพิธีก็จะต้องร่วมกันอัญเชิญ “พระพุทธมหา ธรรมราชา” จากวัดไตรภูมิ แล้วพายเรือทวนน้ำขึ้นไปยังบริเวณที่จะประกอบพิธี เมื่อเสร็จพิธีก็จะพากันอัญเชิญ องค์พระกลับมาประดิษฐานยังวัดไตรภูมิดังเดิม แต่ผู้คนที่อุตส่าห์พายเรือกันมาจากแต่ละหมู่บ้านไกลๆ ก็ยังไม่กลับบ้านและมีการเลี้ยงฉลอง นำ อาหารที่เตรียมมาจากบ้านแต่ละคนมาแลกเปลี่ยนกันกิน อันเป็นการพบปะสังสรรค์กัน เป็นธรรมดาของคนไทย งานเลี้ยงก็ต้องมีสุราเข้ามาร่วมด้วยเมื่อบางคนคะนองได้ ที่ก็จะมีการละเล่นสนุกสนานกัน จึงได้มีการท้าทายพายเรือแข่งกัน โดยจะพายทวนน้ำ เลียนแบบสถานการณ์เมื่อ ตอนเดินทางไปประกอบพิธีในช่วงเช้า โดยจะใช้เรือที่แต่ละคนพายมาร่วมพิธีซึ่งก็คือเรือหาปลาธรรมดา ๆ นั่นเอง 83


ภาพที่ 14 การแข่งขันเรือทวนน้ำ ประเพณีอุ้มพระดำ น้ำ ที่มา : http://hotelandresortthailand.com/read/?p=33305 การแข่งเรือยาวในลำ การแข่งเรือยาวในลำ น้ำ ป่าสักหน้าวัดไตรภูมิของเมืองเพชรบูรณ์ นอกจากจะเป็นการแข่งพายทวนน้ำ ป่าสักหน้าวัดไตรภูมิของเมืองเพชรบูรณ์ นอกจากจะเป็นการแข่งพายทวนน้ำแล้ว ยังมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนที่อื่น ๆ อีก นั่นคือ เนื่องจากลำ ยังมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนที่อื่น ๆ อีก นั่นคือ เนื่องจากลำ น้ำ ป่าสักที่ใช้เป็นสนามแข่งกันนี้ เป็นช่วงต้นแม่น้ำ ป่าสักที่ใช้เป็นสนามแข่งกันนี้ เป็นช่วงต้นแม่น้ำ จึงมีความแคบมาก คนดูและกองเชียร์จึงนั่งดูนั่งเชียร์กันใกล้ชิดกับเรือและฝีพายมาก เรียกได้ว่าตะโกนเชียร์อยู่ ข้างหูกันได้เลย นอกจากนั้นการแข่งขันจะเน้นที่ความสนุกสนานและอนุรักษ์ประเพณีมากกว่าการเอาชนะกัน อย่างจริงจัง เพราะไม่สามารถวัดฝีมือการพายได้ตามหลักเกณฑ์การแข่งเรือทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้เพราะลำ น้ำ ที่ใช้แข่งขัน นอกจากจะแคบแล้ว ยังมีข้อจำ กัดอื่นอีกหลายอย่าง เช่น ต้องพายเรือลอดสะพาน ซึ่งถ้าปีไหนน้ำ มากเรือ จะลอดสะพานไม่ได้ ก็จะพายแข่งกันเพียงแค่จากสะพานมายังเส้นชัย ซึ่งจะเป็นระยะทางที่สั้นมาก และเนื่องจาก การจัดงานยึดถือปฏิทินทางจันทรคติ ซึ่งถ้าปีไหนมีเดือน 8 ถึง 2 ครั้ง การจัดงานที่จะจัดกันในเดือน 10 จึงทำ ให้ การจัดงานล่าช้าตามออกไปด้วย ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่ปริมาณน้ำ ในแม่น้ำ ป่าสักลดน้อยลงไปมากจนบางครั้ง ถึงกับทำ ถึงกับทำ ให้ใบพายต้องขูดกับท้องลำ ให้ใบพายต้องขูดกับท้องลำ น้ำ เลยก็มี และที่สำ เลยก็มี และที่สำคัญคือ ลำ คัญคือ ลำ น้ำ ที่ใช้แข่งขันกันนี้มีความโค้ง ทำ ที่ใช้แข่งขันกันนี้มีความโค้ง ทำ ให้เกิดการได้ ให้เกิดการได้ เปรียบเสียเปรียบกันในสายน้ำ ที่จะต้องพายกัน ทั้งในด้านระยะและความแรงของกระแสน้ำแม้กระนั้นก็ดี ประเพณีการ แข่งเรือ ทวนน้ำก็ไม่ได้ขาดอรรถรส ความสนุกสนานในการแข่งขันและการเชียร์ลงไปแต่ประการใดเลย กลับเป็นการ แข่งขันที่มีเรือเข้าร่วมแข่งกันเป็นจำ นวนมากที่สุดในจังหวัด คือประมาณ 30-40 ลำ ในทุก ๆ ปี และชาวเพชรบูรณ์ ต่างก็รอคอยให้ถึงวันที่จะมีการแข่งเรือเพื่อจะได้ไปร่วมงานกันอย่างสนุกสนานและปราศจากการพนัน ประเพณีการแข่งเรือ ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของคนโบราณที่มีอานิสงส์ในการสร้างความรัก ประเพณีการแข่งเรือ ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของคนโบราณที่มีอานิสงส์ในการสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน หมู่บ้านไหนที่มีเรือแข่งไว้ประจำ หมู่บ้าน ผู้คนในหมู่บ้านนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์กัน อย่างอบอุ่นและเหนียวแน่น พวกผู้ชายผู้ใหญ่ก็จะทำ หน้าที่ดูแลซ่อมเรือ แต่งเรือและพิธีกรรมต่างๆ พวกแม่บ้าน ก็มีหน้าที่ทำ กับข้าว จัดเตรียมอาหารสำ หรับกองเชียร์และฝีพายทั้งตอนซ้อมและตอนแข่งขันบรรดาหญิงสาว ก็จะมาเชียร์เป็นกำลังใจให้หนุ่ม ๆ ของตน พวกวัยรุ่นหนุ่ม ๆ ที่เป็นฝีพายก็จะได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้แสดงออก ได้ฝึกการทำ งานร่วมกันอย่างเป็นทีม ฝึกความอดทนและได้ออกกำลังกาย สุขภาพแข็งแรงไปในตัว และกลุ่มสุดท้าย ก็คือเด็กๆ เยาวชน ก็จะได้เห็นแบบอย่างที่ดีของการทำ งานร่วมกันเพื่อส่วนรวมของผู้ใหญ่อันเป็นการปลูกฝังสำ นึก สาธารณะไปตั้งแต่ต้น 84


การแข่งเรือทวนน้ำ เป็นกีฬาพื้นบ้าน ช่วยเสริมบรรยากาศให้งานประเพณีอุ้มพระดำ น้ำ ครึกครื้นขึ้นเป็นประเพณีที่แสดงออกถึง ความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตที่ผูกพัน กับสายน้ำ ป่าสักมาเนิ่นนานของชาวเพชรบูรณ์ จึงเป็นมรดกที่คนเพชรบูรณ์ควรจะเรียนรู้ ภาคภูมิใจ และร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่แผ่นดินเพชรบูรณ์ ตลอดไปชั่วกาลนาน การแข่งเรือทวนน้ำ เป็นกีฬาพื้นบ้าน ช่วยเสริมบรรยากาศให้งานประเพณีอุ้มพระดำ น้ำครึกครื้นขึ้นเป็นประเพณี ที่แสดงออกถึงความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ป่าสักมาเนิ่นนาน ของชาวเพชรบูรณ์ จึงเป็นมรดกที่คนเพชรบูรณ์ควรจะเรียนรู้ ภาคภูมิใจ และร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่แผ่นดิน เพชรบูรณ์ตลอดไปชั่วกาลนาน การแข่งเรือทวนน้ำ เป็นกีฬาพื้นบ้าน ช่วยเสริมบรรยากาศให้งานประเพณีอุ้ม พระดำ น้ำครึกครื้นขึ้น เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตที่ ผูกพันกับสายน้ำ ป่าสักมาเนิ่นนานของชาวเพชรบูรณ์ จึงเป็นมรดกที่คนเพชรบูรณ์ควรจะเรียนรู้ ภาคภูมิใจ และ ร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่แผ่นดินเพชรบูรณ์ตลอดไปชั่วกาลนาน ภาพที่ 15 การแข่งขันเรือทวนน้ำ ที่มา : http://hotelandresortthailand.com/read/ ?p=33305 อ้างอิง จังหวัดเพชรบูรณ์. (ม.ป.พ.) แข่งเรือทวนน้ำ หน้าวัดไตรภูมิ ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 15, 2565. จากแหล่งที่มา : https://aimwikablog.wordpress.com/ สื่อมัลติมีเดีย : https://www.youtube.com/watch?v=SXkz7z-vlDw 85


หน่วยที่ 7 นาฏศิลป์สร้างสรรค์สะท้อนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 1. การแสดงชุด : เส็งกลอง ล่องโคม สมมาพ่อขุนผาเมือง แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้สร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากประเพณีเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง อำ เภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดขึ้นเพื่อเคารพสักการะและเผยแพร่ประวัติ เกียรติคุณของพ่อขุนผาเมือง ปูชนียบุคคลของชาติไทย โดยจะจัดขึ้น ในปลายเดือนธันวาคม ถึงต้นมกราคมของทุกปี ซึ่ง ภายในงานจะมีการแข่งขันเส็งกลองซึ่งเป็นการละเล่นของชาวอำ เภอหล่มสักมาแต่โบราณ นอกจากนี้ยังมีการล่อง โคมไฟเพื่อเป็นการถวายเป็นพุทธบูชาแก่พ่อขุนผาเมือง และมีการบวงสรวงดวงพระวิญญาณพ่อขุนผาเมืองเป็น ประจำ ทุกปี เพื่อถือว่าเป็นการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ซึ่งเป็นประเพณีที่อยู่คู่ชาวอำ เภอหล่มสักมาช้านาน การเส็งกลอง เป็นการละเล่นพื้นบ้านซึ่งมีมาแต่โบราณโดยเชื่อว่าการเส็งกลองเพื่อเป็นการเชื้อเชิญเทวดา มนุษย์โลกและภูตผี มาร่วมทำ พิธีโดยพร้อมเพียงกันโดยให้ช่างกลองตามบ้านต่าง ๆ ให้นำกลองมาเส็งแข่งขัน กันเพื่อประกวดในเรื่อง “ความดัง” กลองที่ตีได้เสียงดังที่สุด คือ มีเสียงทุ้ม เสียงกลาง เสียงแหลม ครบถ้วน จะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน การล่องโคมไฟ การล่องโคมไฟเป็นการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และเทวดา ซึ่งคนสมัยโบราณมีความเชื่อว่าคนเรา เกิดจากธรรมชาติและเทวดาเป็นผู้สร้างมนุษย์ ในงานสำคัญงานเทศกาลจึงมีการล่องโคมไฟเพื่อบูชาพ่อขุนผาเมือง ซึ่งลักษณะโคมไฟหรือโคมลอย ที่ลอยขึ้นไปในอากาศทำจากกระดาษบางสีต่าง ๆ ต่อเป็นทรงกลม ทรงรี และ รูปเหลี่ยมต่าง ๆ มีปากรับลมคาร์บอนไดออกไซด์จากเตาความร้อน ส่วนการประกวดโคมลมนั้นจะดูที่ความสูง และความนานในการลอยอยู่ในอากาศ เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านของชาวอำ เภอ หล่มสัก คณะกรรมการจัดงานจึงกำ หนดให้มีการประกวดล่องโคมไฟขึ้น โดยให้แต่ละตำ บลในเขตอำ เภอหล่มสัก ส่งเข้าแข่งขันโคมไฟ โดยกำ หนดแข่งขันในวันที่ 29 ธันวาคม ของทุกปี การบวงสรวงดวงพระวิญญาณพ่อขุนผาเมือง พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณพ่อขุนผาเมืองนั้น ถือได้ว่า เป็นการทำความเคารพและสักการะบูชาอย่างสูงส่ง ชาวอำ เภอหล่มสัก และชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ร่วมใจกัน เพื่อรำลึกถึงพระเกียรติของวีรกษัตริย์ นอกประวัติศาสตร์ พระผู้ร่วมก่อตั้งชาติไทย ผู้ทรงร่วมสถาปนาราอาณาจักร สุโขทัยเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งในช่วงเช้าของการจัดงานหรือในพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณพ่อขุน ผาเมืองจะมีการตีกลองสะบัดไชย กลองใหญ่ กลองยาว ซึ่งถือได้ว่าเป็นการำลึกถึง พ่อขุนผาเมืองและสดุดีความ กล้าหาญของพ่อขุนผาเมืองที่ทรงก่อตั้งชาติไทยและปกป้องเมืองราด (อำ เภอหล่มสักในปัจจุบัน) ให้อยู่คู่ชาวไทย และชาวอำ เภอหล่มสัก จนถึงปัจจุบัน แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดง คณะผู้สร้างสรรค์ต้องการนำ เสนอให้เห็นถึงประเพณีเส็ง กลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมืองของชาว อำ เภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจะนำ เสนอในรูปแบบนาฏศิลป์ พื้นบ้านอีสาน เนื่องจากชาวอำ เภอหล่มสักส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวลาวจากนครหลวงเวียงจันทน์ อพยพมาอาศัยอยู่ ณ ที่นี่ โดยมีชื่อเรียกว่า “ชาวลาวหล่ม” หรือ “ชาวไทหล่ม” โดยแบ่งช่วงการแสดงออก เป็น 3 ช่วงการแสดง ดังนี้ 86


ช่วงที่ 1 : พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณพ่อขุนผาเมือง โดยจะสื่อให้เห็นถึงบรรยากาศงานบุญมีการจัดเตรียมเครื่องบูชาบวงสรวงที่ชาวบ้านไทหล่มได้นำ มาบูชา พ่อขุนผาเมือง เมื่อถึงประเพณีเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมืองในทุก ๆ ปี และพิธีอัญเชิญดวงพระวิญญาณ พ่อขุนผาเมือง ช่วงที่ 2 : การกล่าวถึงประวัติ งานบุญเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง โดยจะมีการฟ้อนรำตามเนื้อร้องที่กล่าวถึงประวัติ งานบุญเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง ช่วงที่ 3 : การแข่งขันเส็งกลอง โดยจะแสดงให้เห็นถึงการเทียบเสียงกลองยาวสองเสียงเพื่อการแข่งเส็ง ยกแรก เส็งแข่งกัน โดยใช้จังหวะ โบราณ จบยกแรก สลับกับดนตรีแถบ และเป็นการแข่งขันยกที่สอง ใช้การแข่งขันตีกลอง โดยทำ นองกลองต่างจาก ยกแรกให้ฝ่ายชนะ เสียงเพราะกว่าอย่างเห็นได้ชัด หลังจากเส็งเสร็จแล้ว เป็นดนตรีกลองยาวสื่อให้เห็นถึงความสนุกสนาน แบบกลองยาวอีสานของชาวไทหล่ม 87


Click to View FlipBook Version